You are on page 1of 27

บทที่ 1

ความรู้พ้น
ื ฐานทางอิเล็กทรอนิกส์

ชีวิตประจำวันเราเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตลอดเวลา ตัง้ แต่


ตื่นนอนด้วยเสียงนาฬิกาปลุก อาบน้ำผ่านเครื่องทำน้ำอุ่น อุ่นอาหารด้วย
เครื่องไมโครเวฟ ดูข่าวผ่านมือถือหรือทีวี ฟั งวิทยุ ทำงานผ่านด้วยเครื่อง
คอมพิวเตอร์ เป็ นต้น จึงเห็นได้ว่าอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทสำคัญใน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเรา กล่าวได้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีทุก
แขนงเกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นในโรงงานควบคุม
การผลิตด้วยระบบแขนกลอัตโนมัติซึ่งสัง่ การโดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ การ
ทหารก็มีอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว สอดส่องข้าศึก หรือทางการเกษตร
ก็มีอุปกรณ์ทุ่นแรงในการเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือตรวจสอบคุณภาพผลิต หรือ
แม้แต่ระบบให้น้ำอัตโนมัติ ตรวจสอบการรบกวนของแมลงเป็ นต้น

1.1 กระแสไฟฟ้ า (Electric Current)


1.1.1 กระแสไฟฟ้ า (Electric Current, I ) หมายถึง การเคลื่อนที่
ของประจุสุทธิไปในทิศทางเดียวกันต่อหนึ่งหน่วยเวลา ภายในตัวนำประจุ
ลบคืออิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ในทิศทางเดี่ยวกันเมื่อได้รับสนามไฟฟ้ า E ดัง
รูป 1.1 (ก) เกิดเป็ นกระแสประจุลบเคลื่อนที่ตรงกันข้ามกับสนามไฟฟ้ า ใน
ทำนองเดียวกันประจุบวกจะมีการเคลื่อนที่ตามทิศของของสนามไฟฟ้ า ดัง
ภาพที่ 1.1 (ข) สมัยก่อนยังไม่ค้นพบทฤษฏีอิเล็กตรอนจึงไม่มีใครรู้ชัดว่า
กระแสไฟฟ้ าเกิดจากประจุชนิดใดเคลื่อนที่ จึงมีการนิยามทิศการไหลของ
กระแสไฟฟ้ าเป็ นทิศเดี่ยวกับการไหลของประจุบวก ถึงแม้ต่อมามีการค้นพบ
อิเล็กตรอนภายหลัง แต่ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการกำหนดทิศของกระแส
เราเรียกทิศการไหลของกระแสไฟฟ้ าแบบนีว้ ่ากระแสสัญนิยม
(conventional current)

(ก) การเคลื่อนที่ของประจุลบในสนามไฟฟ้ า

(ข) การเคลื่อนที่ของประจุบวกสมมุติในสนามไฟฟ้ า
ภาพที่ 1.1 แสดงการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้ าภายใต้สนามไฟฟ้ า
ปริมาณของกระแสไฟฟ้ ามีหน่วยเป็ น แอมแปร์ ใช้สัญญาลักษณ์ A
คำนวณได้ดังนี ้
dQ
I=
dt 1.1

เมื่อ
Q คือ ประจุไฟฟ้ า มีหน่วยเป็ น คูลอมบ์ (C)

t คือ เวลา มีหน่วยเป็ น วินาที (s)

1.1.2 ความหนาแน่นกระแส (current density, J ) คือปริมาณ


ของกระแสไฟฟ้ าต่อหน่วยพื้นที่ภาคตัดขวาง ดังภาพที่ 1.2
ภาพที่ 1.2 ความหนาแน่นกระแส

สำหรับเส้นลวดที่มีพ้น
ื ที่หน้าตัดขวาง A ความหนาแน่นกระแส J มี
2
หน่วยเป็ นแอมแปร์แปต่อตารางเมตร A/m สามารถหาได้จากสมการที่ 1.2
I
J=
A 1.2

เมื่อ A คือ พื้นที่หน้าตัดที่กระแสเคลื่อนที่ผ่าน มีหน่วยเป็ น ตาราง


2
เมตร (m )
I คือ ปริมาณกระแสไฟฟ้ า มีหน่วยเป็ น แอมป์ แปร (A)

ตัวอย่างที่ 1.1 กระแสคงตัวขนาด 2 A ไหลผ่านเส้นลวดซึ่งมีรัศมี 2 mm


เป็ นเวลา 30 s จงคำนวณหา
ก) ประจุที่เคลื่อนที่ผ่านเส้นลวด
ข) ความหน้าแน่นของกระแสไฟฟ้ า
วิธีทำ
dQ
I=
ก) จากสมการ dt
C
∴Q=I . t=2( A ).30 (s)=60 A . s=60 . s=60C
s
I
J=
ข) จากสมการ A
2( A ) 1
∴J= 2 2
= −6
A /m 2
π 2 (mm ) 2 πx 10

1.2 ความต้านทาน (Resistance)


วงจรอิเล็กทรอนิกส์จะใช้ตัวต้านทานในการจำกัดปริมาณของกระแส
ไฟฟ้ าซึ่งวัสดุแต่ละประเภทจะให้ค่าความต้านทานมากน้อยแตกต่างกันไป
เช่นวัสดุฉนวนจะให้ค่าความต้านทานที่สูงทำให้กระแสไฟฟ้ าไม่สามารถไหล
ผ่านได้ ในขณะที่วัสดุตัวนำจะให้ค่าความต้านทานที่ต่ำทำให้มีกระแสไหล
ผ่านตัวนำได้ดี ค่าความต้านทานใช้อักษรย่อ R มีหน่วยเป็ นโอห์ม () โดย
ค่าความต้านทานของตัวต้านทานจะขึน
้ อยู่กับปริมาณต่อไปนี ้ 1. สภาพการ
ต้านทานของวัสดุ () 2. ความยาวของวัสดุ (l) 3. พื้นที่หน้าตัดของวัสดุ
(A)
1.2.1 สภาพการต้านทานของวัสดุ (Resistivity, ) เป็ นค่าความ
ต้านทานเฉพาะตัวของวัสดุชนิดหนึ่งๆ มีหน่วยเป็ นโอห์มเมตร (-m) ดังนัน

วัสดุแต่ละชนิดก็จะมีค่าแตกต่างกันออกไป ดังแสดงในตารางที่ 10.1
ตารางที่ 1.1 ค่าสภาพต้านทานของวัสดุ ที่อุณหภูมิ 20C
วัสดุ  (-m)
-8
ทองแดง 1.72 x 10
-8
อะลูมิเนียม 1.83 x 10
-8
เงิน 1.47 x 10
-8
ทอง 2.44 x 10
-
เหล็ก 11.00 x 10
8

16
แก้ว 10
20
ยาง 10
1.2.2 ความยาวของวัสดุ (Length, l) ซึง่ นำมาทำเป็ นตัวต้านทาน
จะส่งผลต่อค่าความต้านทาน เมื่อวัสดุชนิดเดียวกันมีความยาวไม่เท่ากัน
วัสดุที่มีขนาดยาวกว่าจะมีความต้านทานสูงกว่า ดังภาพที่ 1.3

ภาพที่ 1.3 วัสดุที่มีความยาวแตกต่างกัน

ความต้านทานจะแปรผันตรงกับความยาวของวัสดุ ดังสมการที่ 1.3


R  l 1.3

1.2.3 พื้นที่หน้าตัดของวัสดุ (Area, A) เมื่อตัวต้านทานเป็ นวัสดุ


ชนิดเดียวกันมีความยาวเท่ากันแต่มีพ้น
ื ที่หน้าตัดไม่เท่ากันจะส่งผลต่อความ
ต้านทาน โดยวัสดุที่มีพ้น
ื ที่หน้าตัดน้อยกว่าจะมีค่าความต้านทานสูงกว่า ดัง
ภาพที่ 1.4
ภาพที่ 1.4 วัสดุที่มีพ้น
ื ที่หน้าตัดแตกต่างกัน

ความต้านทานจะแปรผันตรงกับพื้นที่หน้าตัดของวัสดุ ดังสมการที่ 1.4


R  1/ A 1.4

ความต้านทานของวัสดุชน
ิ ้ หนึ่งๆ คำนวณได้ดังสมการที่ 1.5
l
R= ρ
A 1.5

1.3 แรงดันไฟฟ้ า (voltage)


1.3.1 แรงดันไฟฟ้ า (voltage, V) คือพลังงานที่ใช้ในการดัน
ประจุไฟฟ้ าให้เคลื่อนที่ และเกิดเป็ นกระแสไฟฟ้ า หรือเรียกว่าความต่างศักย์
ไฟฟ้ า

ภาพที่ 1.5 แสดงการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้ า

เมื่อสองบริเวณมีศักย์ไฟฟ้ าไม่เท่ากัน ประจุจะได้รับแรงดันไฟฟ้ าทำให้


เคลื่อนที่จากตำแหน่งศักย์สงู ไปยังศักย์ต่ำ หน่วยของแรงดันไฟฟ้ า คือ โวลต์
(Volt) ใช้อักษะย่อ V แรงดัน 1 V หมายถึงแรงดันไฟฟ้ าซึง่ ให้กับประจุ 1
คูลอมบ์แล้วทำให้เกิดพลังงาน 1 จูลในการเคลื่อนที่
W
V=
Q 1.6
เมื่อ V คือ แรงดันไฟฟ้ า หน่วย โวลต์ (V)
W คือ พลังงาน หน่วย จูล (J)
Q คือ ประจุไฟฟ้ า หน่วย คูลอมบ์ ( Ω )

1.3.2 กฎของโอห์ม (Ohm’s law) กล่าวไว้ว่า กระแสไฟฟ้ าที่ไหล


ในวงจรไฟฟ้ าจะแปรผันโดยตรงต่อแรงดันไฟฟ้ าและแปรผกผันต่อความ
ต้านทานไฟฟ้ า ดังสมการ
V
I=
R 1.7

เมื่อ V คือ แรงดันไฟฟ้ า หน่วย โวลต์ (V)


I คือ ปริมาณกระแสไฟฟ้ า หน่วย แอมแปร์ (A)
R คือความต้านทานไฟฟ้ าในวงจร มีหน่วยเป็ นโอห์ม ( Ω )

กำลังงาน (Power) หมายถึงอัตราการทำงานต่อเวลา ดังสมการที่


1.8

W
P=
t 1.8

เมื่อ P คือ กำลังงาน หน่วย วัตต์ (W)


W คือ งาน หน่วย จูล (J)
t คือ เวลา หน่วย วินาที (s)

1.4 การใช้งานมัลติมิเตอร์
มัลติมิเตอร์ (Multimeters) คือ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้ าที่สามารถวัด
ปริมาณไฟฟ้ าได้หลายปริมาณแต่วัดได้ทีละปริมาณโดยสามารถตัง้ เป็ นโวลท์
มิเตอร์ แอมป์ มิเตอร์ หรือ โอห์มมิเตอร์ และเลือกไฟฟ้ ากระแสตรง (DC)
หรือไฟฟ้ ากระแสสลับ (AC) มัลติมิเตอร์บางชนิดมีคณ
ุ สมบัติการวัดเพิ่มเติม
เช่น วัดค่าความจุ วัดความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ เป็ นต้น การ
แสดงผลของมัลติมิเตอร์แบ่งออกเป็ น 2 แบบ คือ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
(Analog Multimeters) กับ มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeters)
1.4.1 ส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์แบบเข็ม รุ่น Sunwa YX-
360TRD

ภาพที่ 1.6 แสดงส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์

ภาพที่ 1.7 แสดงส่วนประกอบหน้าปั ดแสดงสเกลต่างๆ


การใช้งานของสเกลต่างๆ
(1) สเกลหน่วยวัดโอห์ม () เป็ นสเกลสำหรับวัดค่าความต้านทาน
(2) สเกลหน่วยวัดแรงดัน (V) และปริมาณกระแสไฟฟ้ า (A)
ไฟฟ้ ากระแสตรง
(3) สเกลเอชเอฟอี (hFE) เป็ นสเกลใช้สำหรับทรานซิสเตอร์ เพื่อใช้อ่าน
ค่าอัตราขยายกระแสตรงจากการวัด
(4) แถบเงาทำด้วยโลหะมันวาว ช่วยในการอ่านค่าให้เที่ยงตรง โดย
สังเกตจากเข็มมิเตอร์กับเงของเข็มมิเตอร์ทับกันพอดี จึงเป็ นการอ่านค่าที่ถูก
ต้องและแม่นยำที่สุด
(5) สเกลแรงดัน (V) ไฟฟ้ ากระแสสลับ
(6) สเกลดีบี (dB) เป็ นสเกลสำหรับอ่านค่าเมื่อใช้วัดค่าอัตราขยายที่มี
หน่วยเป็ นเดซิเบล

1.4.2 ข้อควรระวัง
(1) อย่าให้มัลติมิเตอร์มีการกระทบกระเทือนอย่างแรงเพราะจะทำให
เครื่องมือวัดชำรุดเสียหาย 
(2) ควรวางมัลติมิเตอร์ในตำแหน่งราบ (แนวนอน) ขณะใช้งานและเลิก
ใช้งาน 
(3) ก่อนทำการวัดทุกครัง้ ต้องแน่ใจว่าเลือกย่านการวัดถูกต้องเสมอ 
(4) ตัง้ ค่าสเกลสูงสุดของย่านการวัดขณะวัดจุดที่ไม่ทราบค่าแน่นอน 
(5) ห้ามใช้ย่านวัดโอห์มวัดค่าแรงดันไฟตรงหรือแรงดันไฟสลับ 
(6) เมื่อวัดแรงดันไฟตรงต้องใช้สายวัดให้ถูกขัว้ +- เสมอ 
(7) เมื่อเลือกย่านวัดโอห์มไม่ควรให้ปลายสายวัดแตะกันนานเกินไป 
(8) เมื่อเลิกใช้งานควรถอดสายวัดออกและปรับสวิตช์เลือกย่านไปที่
OFF 
(9) ไม่ควรให้มัลติมิเตอร์เกิดการเกินสเกล (Overload)
(10) ควรจัดเก็บมัลติมิเตอร์ให้อยู่ในเครื่องห่อหุ้ม (Case) เสมอ

1.4.3 การวัดความต้านทาน
เมื่อต้องการวัดค่าความต้านทานให้ตงั ้ สวิตช์ของมัลติมิเตอร์ไปที่ย่าน
ความต้านทาน  ซึ่งมีลำดับขัน
้ ตอนการในการศึกษาวิธีการวัดดังต่อไปนี ้
(1) โครงสร้างเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์ในมัลติมิเตอร์ ประกอบด้วย
แบตเตอรี่ (ถ่านไฟฉาย) 2 ชุด คือชุดแบตเตอรี่ 3 V (1.5 V x 2) ใช้กับย่าน
วัด  ย่าน x1, x10, x100 และ x1k ส่วนชุดแบตเตอรี่ 9 V ถูกต่ออนุกรม
ร่วมกับชุด 3 V เพื่อใช้งานย่านวัด  ย่าน x 10k แบตเตอรี่ ทัง้ 2 ชุด ต่อ
อนุกรมร่วมกับตัวต้านทานปรับค่าได้ 0  ADJ และต่ออนุกรมร่วมกับชุดขด
ลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ โครงสร้างเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์ในมัลติมิเตอร์
แสดงดังภาพที่ 1.8

ภาพที่ 1.8 โครงสร้างเบื้องต้นย่านวัดโอห์มของมิเตอร์

(2) สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขว
ั ้ บวก (+) สายวัดสีดาเสียบเข้าที่ขว
ั ้ ลบ (-
COM) ของมิเตอร์ การวัดความต้านทานใช้สายวัดทัง้ สองไปวัดค่า
(3) ก่อนนำโอห์มมิเตอร์ไปใช้วัดตัวต้านทานทุกครัง้ และทุกย่านที่ตงั ้
วัดโอห์ม ต้องปรับแต่งเข็มชีข
้ องมิเตอร์ชค
ี ้ ่า 0 ก่อน โดยปรับที่ปุ่ม 0 ADJ
ขณะช็อตปลายสายวัดดำแดงเข้าด้วยกัน

(ก) การช็อตสายวัดเพื่อปรับ 0 พอดี (ข) การวัดความต้านทาน


ภาพที่ 1.9 การใช้มัลติมิเตอร์

(4) สามารถนำโอห์มมิเตอร์ไปวัดค่าความต้านทานได้อย่างถูกต้อง
ค่าที่อ่านออกมาได้จากโอห์มมิเตอร์คือค่าความต้านทานของตัวต้านทานนัน

การวัดค่าความต้านทานด้วยมัลติมิเตอร์แสดงดังภาพที่ 1.8 การอ่านค่าและ
การใช้สเกลย่านวัดแสดงในตารางที่ 1.2
ตารางที่ 1.2 แสดงการอ่านค่าความต้านทาน
ย่านการวัดที่ การอ่านค่า
เลือก
X1 อ่านโดยตรง
X10 x10
X100 X100
X1k X1 กิโลโอห์ม
X10k X10 กิโลโอห์ม

(5) เมื่อนำโอห์มมิเตอร์ไปวัดค่าความต้านทานในวงจรต้องปิ ดสวิตซ์ไฟ


ของวงจรทุกครัง้

1.4.4 การวัดกระแสไฟฟ้ ากระแสตรง

การนำมัลติมิเตอร์ไปใช้ในการวัดกระแสไฟฟ้ า ต้องปรับมัลติมิเตอร์ให้
เป็ นแอมมิเตอร์ก่อน โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตำแหน่งช่วงการวัด
กระแสไฟฟ้ ากระแสตรง (DCA) ที่มี 4 ช่วงการวัดคือ 0-50µA, 0-2.5mA, 0-
25mA, 0-0.25A ดังนัน
้ เราต้องใช้มัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้ าเหมือนกับหลัก
การวัดของแอมมิเตอร์ทุกขัน
้ ตอน ซึ่งมีหลักการในการวัดดังต่อไปนี ้
(1) เลือกตำแหน่งที่ต้องการวัดกระแสไฟฟ้ า และตรวจสอบทิศทางการ
ไหลของกระแสไฟฟ้ า
(2) เสียบสายวัดมิเตอร์สีดำที่ขว
ั ้ ลบ (-) และสายวัดสีแดงที่ขว
ั ้ บวก (+)
เข้ากับมัลติมิเตอร์
(3) ตัง้ ช่วงการวัดที่เหมาะสม ในกรณีที่ทราบค่ากระแสในวงจร ควรตัง้
ช่วงการวัดให้สูงกว่าค่ากระแสที่ทราบ แต่ในกรณีที่ไม่ทราบค่ากระแสใน
วงจร ควรตัง้ ช่วงการวัดที่สูงๆ (0-0.25A) ไว้ก่อน แล้วค่อยปรับช่วงการวัด
ใหม่ ก่อนปรับช่วงการวัดใหม่ต้องเอาสายวัดออกจากวงจรทุกครัง้ และต้อง
แน่ใจว่าค่าทีจ
่ ะวัดได้นน
ั ้ มีค่าไม่เกินช่วงการวัดที่ปรับตัง้ ใหม่
(4) นำสายวัดมิเตอร์ไปต่อแทรกหรือต่อแบบอนุกรม โดยใช้หัววัดแตะ
บริเวณที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้ าไหลเข้าทางขัว้ บวกของมัลติ
มิเตอร์ หากเข็มวัดตีเกินสเกลต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจากวงจรทันที
แล้วเลือกช่วงการวัดที่สูงขึน
้ จากนัน
้ ทำการวัดค่าใหม่

ภาพที่ 1.10 แสดงใช้มัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้ า

(5) อ่านค่ากระแสไฟฟ้ าที่ไหลในวงจร ซึง่ การอ่านต้องสัมพันธ์กับช่วง


ที่ตงั ้ ไว้

ตารางที่ 1.3 แสดงการคำนวณหาค่ากระแสไฟฟ้ าในช่วงการวัดต่างๆ

ช่วงการ สเกลที่ใช้ ค่าที่วัดได้


วัด อ่าน
50 A 0 - 50 อ่านค่าจากสเกลที่ใช้อ่านโดยตรง มี
หน่วยเป็ น A
2.5mA 0 - 250 ค่าที่อ่านได้หารด้วย 100 mA
25mA 0 – 250 ค่าที่อ่านได้หารด้วย 10 mA
0.25A 0 - 250 ค่าที่อ่านได้หารด้วย 1000 mA
(250mA (อ่านค่าได้โดยตรง มีหน่วยเป็ น mA)
)

1.4.5 การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ ากระแสตรง


ในการนำมัลติมิเตอร์ไปใช้ในการวัดความต่างศักย์ ต้องปรับมัลติมิเตอร์
ให้เป็ นโวลท์มิเตอร์ก่อน โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตำแหน่งช่วงการ
วัดความต่างศักย์ไฟฟ้ ากระแสตรง (DCV) ซึ่งมี 7 ช่วงการวัดคือ 0-0.1V, 0-
0.5V, 0.2.5V, 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V ดังนัน
้ เราต้องใช้มัล-ติมิ
เตอร์วัดความต่างศักย์เหมือนกับหลักการวัดของโวลท์มิเตอร์ทุกขัน
้ ตอน ซึง่
มีหลักการในการวัดดังต่อไปนี ้
1. เลือกตำแหน่งที่ต้องการวัดความต่างศักย์ และตรวจสอบทิศทางการ
ไหลของกระแสไฟฟ้ า
2. เสียบสายวัดมิเตอร์สีดำที่ขว
ั ้ ลบ (- COM) และสายวัดสีแดงที่ขว
ั้
บวก (+) เข้ากับมัลติ-มิเตอร์
3. ตัง้ ช่วงการวัดให้สูงกว่าความต่างศักย์ของบริเวณนัน
้ โดยหมุนสวิทช์
บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตำแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ ากระแสตรง (DCV)
4. นำสายวัดมิเตอร์ไปต่อขนานหรือต่อคร่อมวงจร โดยใช้หัววัดแตะกับ
จุดที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้ าไหลเข้าทางขัว้ บวก (+) ของมัลติ
มิเตอร์เสมอ ถ้าวัดสลับขัว้ เข็มวัดจะตีกลับต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจาก
วงจรทันที จากนัน
้ ทำการสลับหัววัดให้ถูกต้อง
5. อ่านค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ า ซึง่ การอ่านต้องสัมพันธ์กับช่วงการวัดที่
ตัง้ ไว้ดังตารางที่ 1.4

ภาพที่ 1.11 แสดงการใช้มัลติมิเตอร์วัดความต่างศักย์ไฟฟ้ ากระแสตรง


1.3.5 การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ ากระแสสลับ (ACV)
ในการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ ากระแสสลับขัว้ ต่อสายวัดของมิเตอร์ยังคง
ใช้ที่ขว
ั ้ บวก (+) และขัว้ ลบ (-COM) เหมือนการวัด แรงดันไฟตรง แต่ขณะ
วัดแรงดันไม่ต้องคำนึงถึงขัว้ บวก, ลบ เพราะแรงดันไฟสลับไม่มีขว
ั ้ ตายตัว ขัว้
สลับไปสลับมาตลอดเวลา

ภาพที่ 1.12 การใช้ต่อมิเตอร์เพื่อวัดแรงดันไฟสลับ


ตารางที่ 1.4 แสดงการคำนวณหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ าในช่วงการวัดต่างๆ

ช่วงการวัด สเกลที่ใช้อ่าน ค่าที่วัดได้


0.1 V 0 - 10 ค่าที่อา่ นได้หารด้วย 100
V
0.5 V 0 - 50 ค่าที่อา่ นได้หารด้วย 100
V
2.5 V 0 - 250 ค่าที่อา่ นได้หารด้วย 100
V
10 V 0 - 10 อ่านค่าได้โดยตรง หน่วย
เป็ น V
50 V 0 - 50 อ่านค่าได้โดยตรง หน่วย
เป็ น V
250 V 0 - 250 อ่านค่าได้โดยตรง หน่วย
เป็ น V
1000 V 0 – 250 ค่าที่อา่ นได้คณ
ู ด้วย 4 V
0 – 50 ค่าที่อา่ นได้คณ
ู ด้วย 20 V
0 – 10 ค่าที่อา่ นได้คณ
ู ด้วย 100 V

1.5 การใช้งานออสซิลโลสโคป
ออสซิลโลสโคปเป็ นเครื่องมือวัดที่แสดงรูปคลื่นสัญญาณเป็ นภาพปรากฏ
บนจอภาพ LCD สามารถนำไปใช้วัดแรงดันไฟฟ้ า, มุมต่างเฟส, ความถี่และ
เวลาของสัญญาณรูปคลื่น ซึ่งเป็ นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ค่าต่างๆ ของ
วงจรไฟฟ้ าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างยิ่ง
1.5.1 ส่วนประกอบของเครื่องออสซิโลสโคป รุ่น DS1102D
ออสซิโลสโคปประกอบไปด้วยจอแสดงภาพ และปุ ้มปรับตัง้ ค่าการแสดงของ
กราฟ แสดงดังภาพที่ 1.13 และหน้าที่ของปุ ่มต่างๆแสดงในตารางที่ 1.5
ภาพที่ 1.13 ส่วนประกอบด้านหน้าของออสซิลโลสโคป

ภาพที่ 1.14 ส่วนประกอบด้านหลังของออสซิลโลสโคป

ภาพที่ 1.15 โพรบวัดสัญญาณ


ตารางที่ 1.5 แสดงหน้าที่ปุ่มต่างๆ ของออสซิลโลสโคป
ชื่อ หน้าที่
LCD display จอแสดงผลแบบ LCD, TFT Color, ความละเอียด
320x234
Function keys ปุ ่ม F1-F5 มีความสัมพันธ์กับระบบการทำงานที่แสดง
อยู่ทางด้านซ้ายของจอแสดงผล
Variable knob หมุนตามเข็มนาฬิกา: เพิ่มค่าหรือเลื่อนไปยัง
พารามิเตอร์ถัดไป
หมุนทวนเข็มนาฬิกา: ลดค่าหรือเลื่อนไปยัง
พารามิเตอร์ก่อนไป
Vertical position เลื่อนรูปคลื่น ขึน
้ หรือ ลง
knob
Volt/Div knob ปรับตัง้ สเกลแนวตัง้ เพิ่มขึน
้ หรือ ลดลง
Horizontal เลื่อนรูปคลื่น ซ้าย หรือ ขวา
position knob
Menu key ประกอบด้วย
ปุ ่ม Acquire ปุ ่ม Cursor ปุ ่ม Display
ปุ ่ม Auto set ปุ ่ม Hardcopy ปุ ่ม Help
ปุ ่ม Save/Recall ปุ ่ม Utility ปุ ่ม Run/Stop
ปุ ่ม Measure
ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับปุ ่ม Function keys (F1-F5)
โดยจะแสดงอยู่ทางด้านซ้ายของจอแสดงผล
Trigger level ปรับตัง้ ระดับการทริก: เพิ่มขึน
้ หรือ ลดลง
knob
ชื่อ หน้าที่
Horizontal menu ปรับตัง้ การแสดงในแนวนอน
key
Trigger keys ปรับตัง้ การทริก
Time/Div knob ปรับตัง้ สเกลแนวนอน ละเอียด หรือ หยาบ
EXT TRIG ช่องรับสัญญาณการทริกจากภายนอก
terminal
Ground terminal ช่องต่อกราวด์ของเครื่อง
CH2 terminal ช่องรับสัญญาณของ CH2
CH1/CH2/MATH CH1/CH2 key: สำหรับปรับตัง้ แสดงในแนวตัง้ และ
key โหมดคับปลิง้ สำหรับแต่ละแชนแนล
MATH key: สำหรับการคำนวณแบบ Math
CH1 terminal ช่องรับสัญญาณของ CH1

Probe เอาท์พุทสัญญาณสี่เหลี่ยม 2Vp-p สำหรับการชดเชย


compensation โพร๊บ หรือ การสาธิต
output
USB port ทำให้การส่งข้อมูลรูปคลื่น, ภาพที่แสดงบนจอภาพ
และการปรับตัง้ ที่แผง สะดวกมากขึน

Power switch เปิ ด/ปิ ด ออสซิลโลสโคป
ที่มา: (คู่มือการใช้งาน Digital storage oscilloscope รุ่น GDS-1052-U)

1.5.2 การอ่านค่าจากออสซิลโลสโคป
เมื่อทำการวัดจอ LCD จะแสดงกราฟคลื่นสัญญาณ โดยแกน y ของ
กราฟเป็ นแรงดัน (Volt) และแกน x เป็ นเวลา (Time) มาตราส่วนของแกน
แรงดันถูกกำหนดโดยปุ ่มควบคุม Y แอมปลิไฟเออร์ (volt/cm) ค่าแรงดันที่
นิยมวัดค่า คือ แรงดันพีค-ทู-พีค (VPP) แอมปลิจูดของแรงดัน (Vp) มีค่าเป็ น
Vpp
Vp =
ครึ่งหนึ่งของแรงดันพีค-ทู-พีค 2 ดังแสดงในภาพที่ 1.16

ภาพที่ 1.16 คลื่นสัญญาณเอซี Y แอมปลิไฟเออร์: 2V/cm ฐานเวลา:


5ms/cm

ค่าแรงดันยังผล Vrms (Effective value หรือ Root-mean-square) มีความ


สัมพันธ์กับแรงดันดังนี ้
VP
Vrms = √ 2 = 0.707 VP 1.9

การคำนวณค่าแรงดันจากกราฟ สามารถคำนวณได้จากสมการที่ 1.9


ค่าแรงดันจากกราฟ = ระยะทางเป็ น cm × แรงดัน/cm
1.10
โดยที่กราฟ 1 ช่องมีระยะ เท่ากับ 1 cm ดังนัน
้ ค่าแรงดัน VP จากกราฟใน
ภาพที่ 1.16 นับได้ 3.6 ช่อง ดังนัน
้ มีระยะ 3.6 cm หาค่า VP และ VPP ได้
ดังนี ้
V p =3.6cm×2V /cm=7.2 V
V PP =2×7. 2=14 . 4 V
และ หาค่าความต่างศักย์ยังผล Vrms ได้ดงั นี ้
14 .4
V rms = =10 .18
√2 V
1.5.3 การวัดคาบเวลา และความถี่ 
คาบเวลา (Period, T) หมายถึง ระยะเวลาของหนึง่ ช่วงคลื่น
สัญญาณ
ความถี่ (Frequency, f) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของรูปคลื่นทัง้
ด้านบวกและด้านลบใน
หนึ่งรอบต่อเวลา 1 วินาที (1 Hz = 1 รอบ/วินาที)
สัญญาณที่ต้องการวัดทุกชนิดจะเป็ นสัญญาณซึ่งต้องกลับซ้ำรูปเดิมใน
ช่วงระยะเวลาที่ แน่นอน ดังนัน
้ การวัดคาบเวลาของจำนวนสัญญาณในหนึ่ง
วินาที คือ ความถี่หรืออัตราซ้ำของสัญญาณนั่นเอง รูปคลื่นของสัญญาณอาจ
แสดงบนจอภาพได้ในลักษณะเต็มคาบหลาย ๆ คาบ หรือแม้แต่บางส่วนของ
คาบก็ได้ ขึน
้ อยู่กับการปรับค่าสวิตช์ปรับฐานเวลาหรือ Time Base ของ
์ ัวคูณฐานเวลาของสวิตช์
สัญญาณกวาดภาพ (TIME/DIV.) และสัมประสิทธิต
TIME/DIV. มีหน่วยเป็ น mS/cm หรือ S/cm
สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้กค
็ ือ ตัวหมุนปุ ่มปรับช่วงเวลาของสัญญาณกวาดภาพ
(Time variable control) ให้อยู่ในตำแหน่งไม่ขยาย คือ หมุนทวนเข็ม
นาฬิกามาจนสุด ค่าที่อา่ นได้จึงจะถูกต้อง
1
T =LT c =
f 1.11
เมื่อกำหนดให้
T    =  คาบเวลา (หน่วยเป็ น second)
L    =  ความยาวของช่วงสัญญาณในหนึ่งคาบเวลา (หน่วยเป็ น
cm.)
f     =  ความถี่ของรูปคลื่นสัญญาณ (หน่วยเป็ น Hz)
์ ัวคูณฐานเวลาของสวิตช์ TIME/DIV. (หน่วย
Tc  =  สัมประสิทธิต
เป็ น S/cm)
จากกราฟในภาพที่ 1.16 อ่านค่าความยาวของช่วงสัญญาณ ได้ 10 ช่อง ดัง
นัน ์ ัวคูณฐานเวลา (TC ) ไว้เป็ น 5
้ มีค่าเป็ น 10 cm และตัง้ ค่าสัมประสิทธิต
ms/cm ดังนัน
้ อ่านค่าคาบเวลา (T) และความถี่ (f) ได้ดังนี ้

T = LTc = (10cm)(5mS/ cm) = 50 mS = 0.05 S


1 1
f= = = 20
T 0.05 Hz

สรุปท้ายบท
dQ
I=
1. ปริมาณกระแสไฟฟ้ า dt มีหน่วยเป็ นแอมแปร์ (A)
I
J=
2. ความหนาแน่นกระแส
2
A มีหน่วยเป็ นแอมแปร์ต่อตารางเมตร (A/m )
3. แรงดันไฟฟ้ า V =IR มีหน่วยเป็ นโวลต์ (V)
4. การใช้มัลติมิเตอร์วัดความต้านทานใช้การวัดแบบต่อคร่อมตัวต้านทาน
ในกรณีที่ใช้ความต่าง
ศักย์ไฟฟ้ าในวงจรใช้มัลติมิเตอร์ต่อขนานกับตำแหน่งที่วัดนัน
้ ๆ หากใช้
มัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้ า
ให้นำไปต่อแบบอนุกรมกับวงจร ค่าที่ได้จากมิเตอร์เป็ นค่ายังผล
5. ออสซิโลสโคปใช้วัดรูปสัญญาณไฟฟ้ าโดยใช้หัวต่อขนานกับวงจรที่
ต้องการวัดสัญญาณ
แรงดันพีคทูพีค VPP ค่าแรงดันจากยอดคลื่นถึงท้องคลื่น
แรงดันพีค VP = VP/2
V PP VP
แรงดันยังผล Vrms = 2 √ 2 = √ 2 = 0.707 VP

คำถามท้ายบท

1. กระแสคงตัวขนาด 4 mA ไหลผ่านเส้นลวดซึ่งมีรัศมี 2 mm เป็ นเวลา 5


s ถ้าเส้นลวดนีม
้ ีความต้านทาน 50 k จงคำนวณหา
ก) ประจุที่เคลื่อนที่ผ่านเส้นลวด
ข) ความหน้าแน่นของกระแสไฟฟ้ า
ค) ความต่างศักย์ของเส้นลวด
จากภาพใช้ตอบคำถามข้อ 2 - 4

ภาพที่ 1.17 ภาพประกอบคำถามข้อ 2 - 4

2. ในการวัดความต้านทานของตัวต้านทานชนิดหนึ่งวัดครัง้ ที่ 1 ใช้ย่านความ


ต้านทาน x 1 เข็มขึน
้ ที่ตำแหน่งเลข 1 อ่านค่าได้..........................วัดซ้ำอีก
ครัง้ โดยเปลี่ยนเป็ นย่านความต้านทาน x100 เข็มขึน
้ ที่ตำแหน่งเลข 4 อ่าน
ค่าได้.......................... ถามว่าควรเลือกย่านการวัดย่านใดจึงจะเหมาะสม
3. อ่านค่ากระแสไฟฟ้ า

ยานการวัดไฟ ตำแหน่งของ ค่าที่อา่ นได้


ตรง เข็ม
2.5 1
10 2
50 3

4. อ่านค่าความต่างศักย์

ยานการวัดไฟ ตำแหน่งของ ค่าที่อา่ นได้


กระแสตรง เข็ม
0.1 μA 1
50 μA 2
25 mA 3

5. เครื่องออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณไฟฟ้ าได้ดังรูป โดยปรับค่า Volt/Div =


0.5 v/cm, Time/Div=2 ms/cm และ หัววัดโพรบปรับคาลดถอน
สัญญาณ (Probe Setting) ไวที่ x10 จงหาค่า T VPP และ Vrms

ภาพที่ 1.18 ภาพประกอบคำถามข้อ 5

You might also like