You are on page 1of 10

ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

3. ไฟฟ้ำเบื้องต้นสำหรับ
ระบบกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ำขนำดเล็ก
3.1 ไฟฟ้ำเบื้องต้น

แรงดัน กระแส และกำลังไฟฟ้ำ


ไฟฟ้าเป็นรูปแบบพลังงานที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สามารถผลิต ณ ตาแหน่งหนึ่งและส่งไปใช้งาน ณ
ตาแหน่งอื่นได้ เพียงการเปิด/ปิดสวิตช์สามารถทาให้เกิดแสงสว่าง ความร้อน หรือ เกิดการหมุนของมอเตอร์
ได้ แรงขับ เคลื่อนให้เ กิดการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าเรียกว่า แรงดันไฟฟ้ำ (V) ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่
เรียกว่า กระแสไฟฟ้ำ (I) ผลคูณของแรงดันและกระแสไฟฟ้าเรียกว่า กำลังไฟฟ้ำ (P) ซึ่งใช้นับอัตราการ
ใช้/การผลิตพลังงาน

กำลังไฟฟ้ำ (P) = แรงดันไฟฟ้ำ (V) x กระแสไฟฟ้ำ (I)


แรงดันไฟฟ้ำ (V) = กำลังไฟฟ้ำ (P) / กระแสไฟฟ้ำ (I)
P กระแสไฟฟ้ำ (I) = กำลังไฟฟ้ำ (P) / แรงดันไฟฟ้ำ (V)

V I

รูปที่ 3.1 สามเหลี่ยมกาลังไฟฟ้า

ควำมต้ำนทำน
การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้านอกจากเคลื่อนที่ตามปริมาณแรงดันไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ ค่ำ
ควำมต้ำนทำนของวัสดุที่กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปด้วย วัสดุ เช่น ทองแดง เป็นต้น จะมีค่าความต้นทานต่า
กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านได้สะดวก เรียกวัสดุเหล่านี้ว่า ตัวนาไฟฟ้า จึงมีการนามาทาเป็นสายไฟฟ้า วัสดุที่มี
ความต้นทานสูง เช่น พลาสติก ยาง กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยาก เรียกวัสดุเหล่านี้ว่า ฉนวน จึงมีการนามา
สร้างเป็นฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 23
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

ไฟฟ้ำกระแสตรงและไฟฟ้ำกระแสสลับ
เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิด กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจาก
ขั้วบวกภายในแหล่งกาเนิด ผ่านจากขั้วบวกจะไหลผ่านตัวต้านหรือโหลดผ่านตัวนาไฟฟ้าแล้ว ย้อนกลับเข้า
แหล่งกาเนิดที่ขั้วลบวนเวียนเป็นทางเดียวเช่นนี้ตลอดเวลา รูปแบบของไฟฟ้ากระแสตรงที่เห็นได้ชัดเจนคือ
แบตเตอรี่ เมื่อนาโหลดมาต่อกับขั้วแบตเตอรี่จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากขั้วบวก (+) ไปยังขั้วลบ (-) ถ้านา
แบตเตอรี่มาต่ออนุกรมกัน (ขั้วลบลูกที่หนึ่งต่อกับขั้วบวกลูกที่สอง) เมื่อวัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้วบวกลูกที่
หนึ่งกับขั้วลบลูกที่สอง แรงดันไฟฟ้าจะเพิ่มเป็นสองเท่า (แรงดันไฟฟ้าลูกที่หนึ่งบวกแรงดันไฟฟ้าลูกที่สอง)
แต่ความจุทางไฟฟ้า (Ah) เท่าเดิม แต่ถ้านาแบตเตอรี่มาต่อขนานกัน (ขั้วลบลูกที่หนึ่งต่อกับขั้วลบลูกที่สอง
ขั้วบวกลูกที่หนึ่งต่อกับขั้วบวกลูกที่สอง) เมื่อวัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้วบวกลูกที่หนึ่งกับขั้วลบลูกที่ ส อง
แรงดันไฟฟ้าจะมีค่าเท่าเดิม แต่ความจุทางไฟฟ้า (Ah) จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

ไฟฟ้ากระแสสลับ คือไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลตลอดเวลา อัตราการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหล


เรียกว่า ความถี่ เครื่องกาเนิด ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนา และเครื่องกาเนิดไฟฟ้าแบบซิงโครนัสเป็นรูปแบบของ
ไฟฟ้ากระแสสลับที่เห็นได้ชัดเจน ข้อดีของไฟฟ้ากระแสสลับ คือ สามารถผลิตแรงดันไฟฟ้าสูงๆ ได้ เช่น 220
V 380 V ในขณะที่ไฟฟ้ากระแสตรงส่วนมากจะมีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 12 V 24 V 60 V หรือ 120 V การ
ผลิตแรงดันไฟฟ้าสูงๆ มีข้อดี คือ ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลในระบบจะลดลง ส่งผลให้ความสูญเสียที่เกิดขึน้
ในสายไฟฟ้าลดลงไปด้วย ดังนั้นในระบบสายส่งกาลังไฟฟ้าทั่วไปหรือในระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าจึงเลือก
รูปแบบไฟฟ้ากระแสสลับ

ตัวอย่ ำ งที่ 6.1 จงคานวณปริม าณกระแสไฟฟ้ าที่ เ กิ ดขึ้นจากการใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 12 V และไฟฟ้า


กระแสสลับ 220 V จ่ายให้กับหลอดไส้ขนาด 40 W จานวน 5 หลอด
วิธีทา
1) กรณีไฟฟ้ากระแสสลับ 220 V
กระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (A) = กาลังไฟฟ้าของโหลด (W) / แรงดันไฟฟ้า (V)
= (40 x 5) / 220
= 0.91 A
2) กรณีไฟฟ้ากระแสตรง 12 V
กระแสไฟฟ้ากระแสตรง (A) = กาลังไฟฟ้าของโหลด (W) / แรงดันไฟฟ้า (V)
= (40 x 5) / 12
= 16.7 A

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 24
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

รูป คลื่นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ ผลิตได้จ ากเครื่องก าเนิดไฟฟ้ามีลักษณะรูปร่างดังแสดงในรูป ที่ 3.2


เรียกว่า ไซน์เวฟ (Sine Wave) เมื่อนาโหลดมาต่อที่ขั้วทั้งสองของเครื่องกาเนิดไฟฟ้า จะเกิดกระแสไฟฟ้า
ไหลระหว่างขั้วทั้งสอง โดยรูปคลื่นของกระแสไฟฟ้าจะมีลักษณะเดียวกัน คือ ไซน์เวฟ และมีการเริ่มต้นและ
การสิ้นสุดของรูปคลื่นทั้งสองเกิดขึ้น ณ ตาแหน่งเดียวกัน อธิบายได้ด้วยความถี่ไฟฟ้า ซึ่งความถี่ไฟฟ้าคือ
จานวนของครั้งของการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของรูปคลื่นในหนึ่งวินาที เช่น เกิดรูปคลื่นในรูปที่ 3.2 จานวน
50 ครั้งใน 1 วินาที ดังนั้นระบบไฟฟ้าดังกล่าวมีความถี่ไฟฟ้า 50 Hz (เฮิร์ต) ถ้าโหลดที่นามาต่อกับขั้วทั้ง
สองของเครื่องกาเนิดไฟฟ้าเป็นประเภทความต้านทาน เช่น หม้อหุงข้าว กระติกน้าร้อน หลอดไส้ เตารีด ฮีท
เตอร์ เป็นต้น รูปคลื่นแรงดันไฟฟ้ากับรูปคลื่นกระแสไฟฟ้าจะเกิดขึ้นและการสิ้นสุด ณ ตาแหน่งเดียวกัน ดัง
แสดงรูปที่ 3.2 ซึ่งเราจะเรียกรูปคลื่นลักษณะนี้ว่า “อินเฟส” (In phase)

รูปที่ 3.2 รูปคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับเมือ่ ต่อกับโหลดประเภทความต้านทาน

ถ้าโหลดที่นามาต่อกับขั้วทั้งสองของเครื่องกาเนิดไฟฟ้าเป็นประเภทตัวเก็บประจุ เช่น คาปาซิเตอร์รัน (เค


ปรัน) เป็นต้น รูปคลื่นกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นก่อนรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้า 90 องศา ดังแสดงรูปที่ 6.3 ซึ่งเราจะ
เรียกรูปคลื่นลักษณะนี้ว่า “นาหน้า” (Leading)

รูปที่ 3.3 รูปคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับเมือ่ ต่อกับโหลดประเภทตัวเก็บประจุ


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 25
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

ถ้าโหลดที่นามาต่อกับขั้วทั้งสองของเครื่องกาเนิดไฟฟ้าเป็นประเภทขดลวดเหนี่ยวนา เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า


หม้อแปลงไฟฟ้า บัสลาส เป็นต้น รูปคลื่นกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นหลังรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้า 90 องศา ดังแสดง
รูปที่ 6.4 ซึ่งเราจะเรียกรูปคลื่นลักษณะนี้ว่า “ล้าหลัง” (Lagging)

รูปที่ 3.4 รูปคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับเมือ่ ต่อกับโหลดประเภทขดลวดเหนี่ยวนา

กำลังไฟฟ้ำจริงและกำลังไฟฟ้ำปรำกฎ
กาลังไฟฟ้าปรากฎ คือ กาลังไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้โหลดประเภทความต้านทานต่อระหว่างขั้วแรงดันไฟฟ้า
(V) ที่ทาให้เกิดประแสไหลในปริมาณ (A)

กาลังไฟฟ้าปรากฎ (VA) = กระแสไฟฟ้า (A) x แรงดันไฟฟ้า (V)

อย่างไรก็ตามในความเป็นในวงจรไฟฟ้ ากระแสสลับจะไม่มีเฉพาะไฟฟ้าที่ปรากฎเท่านั้น (โหลดประเภท


ความต้านทาน) แต่ยังประกอบไปด้วยโหลดทั้งประเภทตัวเก็บประจุ และขดลวดเหนี่ยวนา ดังนั้นจึงมี แฟค
เตอร์ที่สาคัญเพิ่มเข้ามา คือ เพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power factor: PF) ที่รวมกันเป็นกาลังไฟฟ้าจริง (Real
power)

กาลังไฟฟ้าจริง (W) = กระแสไฟฟ้า (A) x แรงดันไฟฟ้า (V) x เพาเวอร์แฟคเตอร์ (cos)

กาลังไฟฟ้าเสมือน (VAR) เป็นกาลังไฟฟ้าสูญเสียเนื่องจากโหลดประเภทตัวเก็บประจุและขดลวดเหนี่ยวนา


ในระบบบไฟฟ้าที่ดี กาลังไฟฟ้าเสมือนควรเข้าใกล้ 0

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 26
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

กาลังไฟฟ้าปรากฎ (VA) กาลังไฟฟ้าเสมือน (VAR)


กาลังไฟฟ้าจริง (W)

รูปที่ 3.5 สามเหลี่ยมกาลังไฟฟ้า

กรณีของโหลดประเภทความต้านทาน แรงดันไฟฟ้าอินเฟสกับกระแสไฟฟ้า ดังแสดงในรูปที่ 3.2 ในกรณีนี้


เพาเวอร์แฟคเตอร์เท่ากับ 1 กาลังไฟฟ้าปรากฎเท่ากับกาลังไฟฟ้าจริง กรณีที่โหลดประกอบไปด้วยโหลด
ประเภทตัวเก็บประจุและขดลวดเหนี่ยวนา ดังแสดงในรูปที่ 3.3 และรูปที่ 3.4 ซึ่งรูปคลื่นกาลังไฟฟ้าครึ่ง
แรกอยู่ด้านบวก และครึ่งหลังอยู่ด้านลบ ในกรณีนี้เฟาเวอร์แฟคเตอร์เท่ากับ 0 ดังนั้นจึงไม่มีกาลังไฟฟ้าจริง

กรณีที่ โ หลดประกอบไปด้วยโหลดประเภทความต้านทาน ตัวเก็ บ ประจุและขดลวดเหนี่ยวนา จะเกิ ด


เพาเวอร์แฟคเตอร์ 2 กรณี คือ กรณีเพาเวอร์แฟคเตอร์นาหน้า (PF > 1) หมายความว่าในระบบมีโหลด
ประเภทตัวเก็ บประจุม ากกว่าประเภทขดลวดเหนี่ยวนา และกรณีเ พาเวอร์แฟคเตอร์ล้าหลัง (PF < 1)
หมายความว่าในระบบมีโหลดประเภทตัวเก็บประจุน้อยกว่าประเภทขดลวดเหนี่ยวนา

กำรปรับแก้เพำเวอร์แฟคเตอร์
เมื่อเพาเวอร์แฟคเตอร์เท่ากับ 1 แสดงว่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จ่ายให้เฉพาะโหลดประเภทความต้านทาน
ไม่มีพลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับโหลดประเภทตัวเก็บประจุและขดลวดเหนี่ยวนา (กาลังไฟฟ้าเสมือน) การ
ปรับแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์ คือ การทาให้เพาเวอร์แฟคเตอร์เข้าใกล้ 1 ซึ่งจะเป็นการลดกาลังไฟฟ้าสูญเสีย
จากโหลดประเภทตัวเก็บประจุและขดลวดเหนี่ยวนา ซึ่งในทางปฏิบัติติดาเนินการได้โดยการนาตัวเก็บประจุ
ต่อขนานกับโหลดประเภทขดลวดเหนี่ยวนา ดังนั้นการลดกาลังไฟฟ้าเสมือนในระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าจึง
เป็นเรื่องที่จาเป็น ซึ่งจะเป็นการป้องกันการทางานเกินพิกัดของระบบกังหันน้า (Overload) ค่าตัวเก็บประจุ
ที่นามาต่อเพื่อแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์คานวณได้จาก

ค่าตัวเก็บประจุ (uF) = กระแสไฟฟ้า (A) x sin ()


6.3 x แรงดันไฟฟ้า (V) x ความถี่ไฟฟ้า (Hz)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 27
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

ตัวอย่ำงที่ 3.2 ระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาด 2.5 kW 220 V 50 Hz จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้บ้านเรือนใน


หมู่บ้านจานวน 100 หลัง แต่ละหลังใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 20 W (ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ระบุจาก
ผู้ผลิตคือ 0.5) จงคานวณค่าตัวเก็บประจุที่ต่อขนานกับหลอดไฟฟ้าในแต่ละหลังเพื่อแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์
ให้เป็น 1

วิธีทา
กระแสไฟฟ้าที่ใช้โดยแต่ละหลอด (A) = กาลังไฟฟ้า (W)
แรงดันไฟฟ้า (V) x เพาเวอร์แฟคเตอร์
= 20
220 x 0.5
= 0.182 A

ค่าตัวเก็บประจุ (F) = กระแสไฟฟ้า (A) x sin (  )


6.3 x แรงดันไฟฟ้า (V) x ความถี่ไฟฟ้า (Hz)
= 0.182 x 0.87
6.3 x 220 x 50
= 2.27 uF

ดังนั้นค่าตัวเก็บประจุที่ต่อขนานกับหลอดไฟฟ้าเพื่อแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์ให้เป็น 1 คือ 2.27 uF

3.2 ภำระทำงไฟฟ้ำ (โหลด)


โหลดในระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กประกอบด้วย โหลดทางกล เช่น ปั๊มชัก เครื่องบด เป็นต้น และ
โหลดทางไฟฟ้า (ภาระทางไฟฟ้ า ) ในคู่มื อ เล่ม นี้จ ะกล่าวถึง โหลดทางไฟฟ้าเท่ านั้น โดยแยกออกได้ 2
ประเภท คือ โหลดประเภทใช้มอเตอร์ เช่น เครื่องปั่นผลไม้ ตู้เย็น พัดลม เครื่องเจียร สว่าน เป็นต้น และ
โหลดไม่ใช้มอเตอร์ เช่น หลอดไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1) หลอดไฟฟ้ำ
เป็นอุป กรณ์พื้นฐานที่ใช้งานในระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ปลอไฟฟ้าที่นามาใช้งานในปัจจุบัน
ประกอบ 3 ประเภท คือ หลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และหลอดตะเกียบ ซึ่งหลอดไฟแต่ละชนิดมีข้อดี
ข้อเสียแตกต่างกัน ในการเลือกใช้จะต้องคานึง ถึง ความเหมาะสม ของลักษณะการติดตั้ง และบริเวณที่
ต้องการให้แสงสว่าง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 28
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

หลอดอินเคนเดสเซนต์ (หลอดไส้) ประกอบด้วยเส้นลวดตังสเตนเล็กในหลอดไฟ ที่จะให้แสงสว่างออกมา


เมื่อมีกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่เหมาะสมไหลผ่าน ดังแสดงในรูปที่ 3.6 ข้อดีของหลอดไส้ คือ ราคาถูก และ
หาได้ง่ายอย่างไรก็ดีอายุการใช้งานของหลอดไส้จะสั้นกว่าหลอดชนิดอื่น และมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยน
พลังงานต่า โดยประมาณ 8-12% ของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้หลอดเท่านั้นที่เปลี่ยนเป็นแสงสว่าง ส่วนที่
เหลือจะเปลี่ยนไปเป็นความร้อน

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดผอม) แสงสว่างจากหลอดหลอดฟลูออเรสเซนต์เกิดจากการเคลื่อนอิเลคตรอ


นจากขั้วหลอดแต่ละข้างผ่านก๊าซอากอนที่บรรจุอยู่ภายในหลอด ทาให้เกิดแรง UV ขึ้นอยู่ในหลอด เมื่อ
ปะทะกับสารฟลูออเรสเซนต์ที่เคลือบอยู่ที่ผิวหลอด ทาให้เปลี่ยนไปเป็นแสงที่มองเห็น การใช้งานหลอด
ฟลูออเรสเซนต์จะต้องมีอุปกรณ์ประกอบคือ บัสลาส ที่ทาหน้าที่ควบคุมปริมาณกระแสที่ผ่านไปยังขั้วหลอด
และทาให้เกิดแรงดันไฟฟ้าสูงที่ไส้หลอด ภายหลังมีการพัฒนาบัสลาสอิเลคทรอนิกส์มาใช้งานแทนบัสลา
สแบบแกนเหล็ก ซึ่งสามารถทางานที่ความถี่สูงได้ ส่งผลให้สมรรถนะและอายุการใช้งานของหลอดเพิ่มขึ้น

หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)
เป็นหลอดไฟฟ้าที่พัฒนาในช่วงหลังและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีหลักการทางานเหมือน
หลอดฟลูออเรสเซนต์ แต่ทาให้สั้นลงโดยการม้วนหรือพับหลอด และใส่บัสลาสอิเลคทรอนิกส์ไว้ที่ฐานของ
ขั้วหลอด

1) หลอดไส้ 2) หลอดตะเกียบ 3) หลอดผอม

รูปที่ 3.6 หลอดไฟฟ้าประเภทต่างๆ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 29
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

ตำรำงที่ 3.1 เปรียบเทียบข้อดีของเสียของหลอดไฟฟ้าแต่ละชนิด


ชนิด ข้อดี ข้อเสีย
หลอดไส้ ราคาถูก หาได้ง่าย ป ร ะ สิ ท ธิ ภา พ ต่ า โ ด ย เ ฉ พ า ะ ช่ ว ง
ไม่เสียเนื่องจากแรงดันไฟฟ้าต่า แรงดันไฟฟ้าต่า
เพาเวอร์แฟคเตอร์ = 1 อายุการใช้งานสั้น (<1,000 ชั่วโมง)
หลอดผอม ราคาต่า หาได้ง่าย ขนาดใหญ่กว่าหลอดชนิดอื่น
ประสิทธิภาพสูง บัสลาสต์แยกกับหลอด
อายุใช้งานยาว (>5,000 ชั่วโมง) เพาเวอร์แฟคเตอร์ต่า
ไม่เหมาะกับการเปิดปิดบ่อย
สตาร์ทติดช้า
หลอดตะเกียบ ประสิทธิภาพสูง (เมือ่ แรงดันและความถี่ ราคาสูง
ไฟฟ้าคงที่) ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานขึ้นอยู่
สวมกับขั้วหลอดไส้ทั่วไปได้ กับแรงดันและความถี่ไฟฟ้า
บัสลาสต์รวมอยู่ในหลอด ไม่เหมาะกับการเปิดปิดบ่อย
อายุการใช้งานยาว (>8,000 ชั่วโมง)

2) มอเตอร์ไฟฟ้ำ
การนามอเตอร์ไฟฟ้ามาใช้งานในระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าจะต้องคานึงถึงกระแสไฟฟ้าช่วงสตาร์ท ซึ่งจะมี
ค่าสูงกว่ากระแสไฟฟ้าช่วงทางานปกติประมาณ 4-6 เท่า และกระแสไฟฟ้าช่วงมอเตอร์ทางานหนักก็ต้อง
คานึงถึงเช่นกัน เช่น การใช้กับไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะต่างกันระหว่างช่วงเวลาที่ใช้กับเวลาที่ไม่ใช้ เป็นต้น
ดังนั้นการนามอเตอร์มาใช้งานจะต้องคานึงถึง

ขนำดของมอเตอร์
เนื่องจากกระแสไฟฟ้าช่วงสตาร์ทของมอเตอร์จะมีค่าสูงกว่ากระแสไฟฟ้าช่วงทางานปกติ ดังนั้น ในช่วงเปิด
สวิตช์ จะเกิดแรงบิดที่มอเตอร์สง่ ผลให้แรงดันไฟฟ้าของระบบจะลดลง กรณีที่มอเตอร์ที่นามาใช้มีขนาดใหญ่
บางครั้งอาจจะสตาร์ทไม่ได้เลยเนื่องจากมีแรงบิดไม่พอ ดังนั้นขนาดของมอเตอร์ที่จะนามาใช้งานจะต้องไม่
เกิน 10% ของพิกัดกาลังระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้า

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 30
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

ตัวอย่ำง 3.3 จงคานวณขนาดกาลังมอเตอร์ไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถนามาใช้งานในระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้า


ขนาด 2.5 kW ได้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อระบบผลิตไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้าตก)
วิธีทา
ขนาดกาลังมอเตอร์ไฟฟ้า (W) = พิกัดกาลังระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้า (W) x 0.1
= 2500 x 0.1
= 250 W
ชนิดของมอเตอร์
มอเตอร์ที่ใช้งานในเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น สว่าน เครื่องตัด ไขควงไฟฟ้า จะเป็น ยูนิเวอร์เซลมอเตอร์
ซึ่งมีขนาดเล็กกระทัดรัด และง่ายในการสตาร์ท ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้งานขนาด 200 W ขึ้นไปส่วนใหญ่จะ
เป็น มอเตอร์เหนี่ยวนำ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้เป็นเครื่องกาเนิดไฟฟ้าในระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาด
เล็ก การใช้มอเตอร์เหนี่ยวนาต้องใช้ตัวเก็บประจุประกอบด้วย เพื่อช่วยในการสตาร์ทและปรับแก้เพาเวอร์
แฟคเตอร์ ซึ่งแยกออกตามชนิดของตัวเก็บประจุที่นามาต่อ ดังแสดงในตารางที่ 3.2

ตำรำงที่ 3.2 ชนิดของมอเตอร์และการใช้งาน


ชนิด คุณสมบัติ การใช้งาน
มอเตอร์สตาร์ท แรงบิดสตาร์ทสูง เครื่องบด คอมเพรสเซอร์ (ตู้เย็น)
มอเตอร์รัน เพาเวอร์แฟคเตอร์สูง หินเจียร พัดลม สว่าน
แรงบิดสตาร์ทต่า
มอเตอร์สตาร์ทและรัน สมรรถนะสูง เลื่อย เครื่องไสไม้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 31
ไฟฟ้าเบื้องต้นสาหรับระบบกังหันน้าผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

บันทึก
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 32

You might also like