You are on page 1of 10

AIC Tech School > Electronics > อุปกรณ์ อิเลคทรอนิกส์

ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

ทรานซิสเตอร์ คืออะไร
ทรานซิสเตอร์ เป็ นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่ถกู พัฒนาขึ ้นมาใช้ งานแทนหลอดสุญญากาศซึง่ มีคา่ สูญเสียต่ำและประสิทธิภาพสูง
กว่ามาก ทรานซิสเตอร์ สามารถประยุกต์ใช้ งานได้ หลายอย่าง เช่น ใช้ ขยายสัญญาณ (Amplifier) ทำหน้ าที่เป็ นสวิตช์ชิง
(Switching) กำเนิดสัญญาณใช้ รักษาแรงดันไฟฟ้าให้ คงที่ เป็ นต้ น

หน้ าที่หลักของทรานซิสเตอร์ คือ “ขยายกระแสไฟฟ้า” โดยการควบคุมกระแสไฟฟ้าอินพุตส่วนน้ อยบริ เวณขาเบส(Base : B)


แล้ วทำให้ เกิดกระแสไฟฟ้าเอาต์พตุ ส่วนใหญ่บริ เวณขาคอลเล็กเตอร์ (Collector : C)นัน่ เอง
ทรานซิสเตอร์ เป็ นอุปกรณ์ สารกึ่งตัวนำชนิด 2 รอยต่ อ (Bipolar Junction Transistor ; BJT) มีขาใช้ งานจำนวน 3
ขา คือ
 ขาเบส (Base ; B)
 ขาอิมิตเตอร์ (Emitter ; E)

 ขาคอลเล็กเตอร์ (Collector ; C)

แบ่ งตามโครงสร้ างของสารกึ่งตัวนำมี 2 ชนิด คือ


1. ทรานซิสเตอร์ ชนิด PNP
2. ทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN

ทรานซิสเตอร์ ชนิด PNP ให้ สังเกตสัญลักษณ์ ลูกศรที่ (ขา E จะชีเ้ ข้ า)


สัญลักษณ์

วงจรเทียบเท่ าเปรียบเสมือนมีไดโอด 2 ตัวชนกันที่ขาแคโทด

โครงสร้ างทรานซิสเตอร์ ชนิด PNP


ทรานซิสเตอร์ NPN ให้ สังเกตสัญลักษณ์ ลูกศรที่ (ขา E จะชีอ้ อก)

สัญลักษณ์

วงจรเทียบเท่ าเปรียบเสมือนมีไดโอด 2 ตัวชนกันที่ขาแอโนด

โครงสร้ างทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN

การให้ ไบแอสกับทรานซิสเตอร์
การไบแอสหรือการจัดแรงดันไฟฟ้าให้ เหมาะสม เพื่อให้ ทรานซิสเตอร์ ทำงาน ต้ องป้อนแรงดันไฟฟ้า 2 ชุด คือ ชุดแรกจ่าย
ไบแอสตรงให้ กบั ขาเบส(B)กับขาอิมิตเตอร์ (E) และชุดที่สองจ่ายไบแอสกลับที่ขาคอลเล็กเตอร์ (C)เทียบกับขาอิมิตเตอร์ (E)
โดยที่แรงดันไฟฟ้าไบแอสกลับนี ้มีคา่ หลายโวลต์ หรื อสูงกว่าแรงดันไฟฟ้าที่ขาเบส (B)เมื่อเทียบกับขาอิมิตเตอร์ (E)
การให้ ไบแอสทรานซิสเตอร์ ชนิด PNP
เป็ นการให้ ไบแอสแก่ทรานซิสเตอร์ ชนิด PNP เมื่อปรับค่าแรงดันไฟฟ้า VEE ต่ำกว่าค่าแรงดันไฟฟ้าคัต – อิน (ต่ำกว่า 0.7 โวลต์
สำหรับสารกึ่งตัวนำชนิดซิลิกอน) จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านรอยต่อระหว่างขาเบส(ฺB) กับอิมิตเตอร์ (E) ถึงแม้ วา่ รอยต่อนี ้จะ
ได้ รับแรงดันไฟฟ้าไบแอสกลับก็ตาม ส่วนรอยต่อระหว่างขาเบส (Bฺ )กับคอลเล็กเตอร์ (Cฺ ) ซึง่ ได้ รับไบแอสกลับนันจะไม่
้ มีกระแส
ไฟฟ้าไหลผ่าน เหมือนกับไดโอดที่ได้ รับไบแอสกลับ
เมื่อปรับแรงดันไฟฟ้า VEE ให้ สงู กว่า 0.7 โวลต์ จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านรอยต่อระหว่างขาเบสกับอิมิตเตอร์ เรี ยกว่า  กระแส
ไฟฟ้าเบส (IB)  ไหลผ่านออกจากขัวบวกของแบตเตอรี
้ ่ ผ่านรอยต่ออิมิตเตอร์ กบั เบส ออกทางขาเบสไปยังขัวลบของแบตเตอรี
้ ่
ดังนัน้ แรงดันไฟฟ้าไบแอสกลับที่ตกคร่อมระหว่างขาอิมิตเตอร์ กบั คอลเล็กเตอร์ จึงมีแรงเพียงพอที่จะผลักให้ โฮลและ
อิเล็กตรอนให้ ข้ามรอยต่อไปได้ จึงเกิดกระแสไฟฟ้าอีกชุดหนึง่ ไหลผ่านตามค่าแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้ ระหว่างขาเบสกับขาคอล
เล็กเตอร์ เรี ยกกระแสไฟฟ้านี ้ว่า กระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ (IC)  และผลรวมของกระแสไฟฟ้าเบส (IB) กับกระแสไฟฟ้าคอล
เล็กเตอร์ (IC) จะมีคา่ เท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขาอิมิตเตอร์ (IE) นัน่ คือ IE= IB +IC

การให้ ไบแอสกับทรานซิสเตอร์ ชนิด PNP


การให้ ไบแอสทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN
การจ่ายไบแอสให้ กบั ทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN จะใช้ หลักการเดียวกับการให้ ไบแอสทรานซิสเตอร์ ชนิด PNP คือ จ่ายไบแอสตรง
ให้ กบั ขาเบส และขาอิมิตเตอร์ ส่วนขาคอลเล็กเตอร์ กบั ขาเบสจะจ่ายแรงดันไฟฟ้าไบแอสกลับ เมื่อค่าแรงดันไฟฟ้า VEE มากกว่า
ค่าแรงดันไฟฟ้าคัต – อิน จะมีกำลังมากพอ ที่จะผลักโฮลที่อยู่ในเบสให้ ไหลผ่านรอยต่อระหว่างขาเบสกับขาอิมิตเตอร์ เข้ าไปยัง
อิมิเตอร์ (ขัวลบ
้ VEE)จากนันจะถู
้ กศักย์ไฟฟ้าลบจากขัวลบของ
้ VEE ดึงดูดให้ วิ่งไปยัง VEE และจากปรากฏการณ์นี ้จึงเกิดกระแส
ไฟฟ้าเบส (IB) ทำให้ ศกั ย์ไฟฟ้าบวกค่าสูงของ VCC มีกำลังสูงพอที่จะผลักโฮลในเบสให้ ผ่านรอยต่อเข้ าไปในอิมิตเตอร์ และถูก
ศักย์ไฟฟ้าลบจากแบตเตอรี่ VCC ดึงดูดให้ วิ่งออกจากขาอิมิตเตอร์ ผ่าน VEE เข้ ามายังขัวลบของ
้ VCC

เมื่อโฮลในเบสถูกผลักออกไปเข้ าอิมิตเตอร์ จะทำให้ เบสขาดโฮล จึงแสดงอำนาจของประจุไฟฟ้าลบดึงดูดประจุไฟฟ้าบวกจาก


VCC ให้ เคลื่อนที่ออกจากขัวบวกของ
้ VCC ผ่านมาทางขาคอลเล็กเตอร์ ผ่านรอยต่อระหว่างคอลเล็กเตอร์ กบ ั เบส เพื่อมาแทนที่โฮล
ในเบสที่ขาดไป แต่ก็ถกู ผลักต่อให้ เลยเบสไปที่อิมิตเตอร์ และถูกศักย์ไฟฟ้าลบจาก VCC ดึงดูดให้ เข้ ามายังขัวลบ
้ จึงเกิดเป็ นกระ
แสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ (IC) ซึง่ มีทิศทางตรงข้ ามกับทรานซิสเตอร์ ชนิด PNP

การให้ ไบแอสกับทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN


สภาวะการทำงานของทรานซิสเตอร์
สภาวะการทำงานของทรานซิสเตอร์ สามารถแบ่งตามสภาวะการทำงานได้ 3 สภาวะ คือ
1. สภาวะไม่นำกระแสไฟฟ้า (Cut Off) คือ สภาวะที่ไม่จ่ายแรงดันไฟฟ้าไบแอสตรงให้ กบั ขาเบส และขาอิมิตเตอร์
(VBE) กระแสไฟฟ้าเบสจึงหยุดไหล จึงทำให้ กระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ หยุดไหลด้ วยเรี ยกอีกอย่างว่า  ย่ านคัตออฟ

2. สภาวะนำกระแสไฟฟ้า (Conduction) คือ สภาวะที่กระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ สามารถที่จะไหลได้ จึงทำให้ กระแส


ไฟฟ้าเบสควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ ได้ เรี ยกอีกอย่างว่า  ย่ านทำงาน
3. สภาวะอิ่มตัว (Saturation) คือ สภาวะที่กระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ ไม่เปลี่ยนแปลงสูงขึ ้น หรื อมีคา่ คงที่ แม้ วา่ กระแส
ไฟฟ้าเบสจะมีคา่ เพิ่มสูงขึ ้นถึงจุด ๆ หนึง่ ก็ตาม เราเรี ยกอีกอย่างว่า  ย่ านอิ่มตัว

แสดงสภาวะการทำงานของทรานซิสเตอร์ NPN (วงจรอิมิตเตอร์ ร่วม)


วัดทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์ ดจิ ติ อล
1. ปรับสวิตช์ของมัลติมิเตอร์ ไปที่ย่านวัดไดโอด ( Diode Test )

2. ค้ นหาตำแหน่งของขาของทรานซิสเตอร์ ที่จะวัด ในการวัดสาธิตใช้ ทรานซิสเตอร์ เบอร์    2N3904   มีตำเหน่งขาเรี ยง  E   B 


C  ตามรู ป
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
1) วัดขา  B กับขา E  วัดได้ แรงดันตกคร่ อม 0.649V

ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
2) วัดขา  B  กับขา  C   วัดได้ แรงดันตกคร่ อม 0.628V
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
3)  สลับสายวัดขา  B กับขา E  แสดงค่ า OL

ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
4) สลับสายวัด  B  กับขา  C    แสดงค่ า OL

ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
3.   พิจารณาผลการวัดขา B กับขา E และวัดขา B กับขา C ใช้ หลักการเดียวกัน  ถ้ าทรานซิสเตอร์ ดีจะแสดงค่าที่มลั ติมิเตอร์
0.6-0.7V  1 ครัง้ และแสดงค่า OL  1 ครัง้ ถ้ าทรานซิสเตอร์ ที่เสียในลักษณะ(ขาด)จะวัดค่าขึ ้น OL ทุกครัง้ และ ทรานซิสเตอร์
ที่เสียลักษณะ(ซ๊ อต)จะวัดแล้ วขึ ้น 000V  ทุกครัง้
4. วัดขา E และขา C และสสับสายวัดอีกครัง้ ถ้ าทรานซิสเตอร์ ดีจะแสดงค่า OL ทุกครัง้ ทรานซิสเตอร์ ที่เสียลักษณะซ๊ อตจะวัด
แล้ วขึ ้น 000V ทุกครัง้
5. ทรานซิสเตอร์ ที่ดี ผลการวัดขา B กับขา C วัดขา B กับขา E และวัดขา C กับขา E ผลที่ได้ ในการวัดต้ องดีหมด

การหาขาทรานซิสเตอร์ ด้ วยมัลติมิเตอร์ ดจิ ติ อล


ในการสุม่ วัดถ้ าเป็ นทรานซิสเตอร์ NPN สายวัดสีแดงจะเป็ นขา B
1. การวัดที่ได้ คา่ แรงดันตกคร่อม มากกว่ า จะเป็ นขา E เช่น วัดค่าได้ 0.649V
2. การวัดที่ได้ คา่ แรงดันตกคร่อม น้ อยกว่ า จะเป็ นขา C  เช่น วัดค่าได้ 0.628V
“ในการวัดสาธิตใช้ ทรานซิสเตอร์ เบอร์     2N3904 ถ้ าเป็ นทรานซิสเตอร์ เบอร์ อื่นจะได้ ค่าแรงดันตกคร่ อมแตกต่ าง
จากนี้”
แต่หลักการยังเหมือนเดิมคือวัดขา B กับขา E ได้ แรงดันตกคร่อมมากกว่าแรงดันตกคร่อมขา B กับขา C ที่เป็ นเช่นนี ้เพราะรอย
ต่อ PN ระหว่างขา B กับขา E ได้ รับการไบแอ๊ สมากกว่า
วัดทรานซิสเตอร์    NPN เบอร์    2N3904   สายวัดสีแดง เป็ น ขา B  สายวัดสีดำเป็ นขา E ข้ อที่ต้องจำ แรงดันตกคร่ อมขา B-
E มากกว่ าขา B-C

ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
วัดทรานซิสเตอร์    NPN เบอร์    2N3904   สายวัดสีแดง เป็ น ขา B  สายวัดสีดำเป็ นขา C ข้ อที่ต้องจำ แรงดันตกคร่ อมขา B-
E มากกว่ าขา B-C

ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
ขอบคุณข้ อมูลดี ๆ จาก
หนังสืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิ กส์และวงจร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิ ชาชีพ (ปวช.)
www.123ne.blogspot.com

www.electronicsbasicss.blogspot.com

www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com

You might also like