You are on page 1of 12

รายงาน

วิชา 01420114 ปฏิบัติการฟิสิกส์ II


เรื่อง แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา

จัดทาโดย
นางสาวสุกานดา จงสกุลธรรม
6020500438 หมู่ 730

เสนอ
คณาจารย์โครงการจัดตั้งภาควิชาฟิสิกส์
คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน
กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาและแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา

กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กจะถูกแรงแม่เหล็ก (magnetic force) หรือ แรงลอเรนซ์


(Lorentz force) กระทาโดยที่

F=qv x B

เมื่อ q = ประจไฟฟ้าและเวกเตอร์

F = แรงที่เกิดขึ้นกับประจุ

v = ความเร็ว

B = สนามแม่เหล็ก

ภายในตัวนาไฟฟ้าจะมีอิเล็กตรอนอิสระ ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ง่ายเมื่อมีแรงมากระทา ถ้านาลวด


ตัวนาเส้นหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v ในทิศตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก B อิเล็กตรอนอิสระจะถูกแรงแม่เหล็ก F
ผลักดันให้เคลื่อนที่ให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในเส้นลวด

กระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนาเกิดจากฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดตัวนามีการเปลี่ยนแปลง เรียกการ
ทาให้เกิดกระแสไฟฟ้าลักษณะนี้ว่า "การเหนี่ยวนาแม่เหล็กไฟฟ้า" (electromagnetic induction) และเรียก
กระแสไฟฟ้าที่เกิดจากวิธินี้ว่า "กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา (induced current)

สนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงสามารถเหนี่ยวนาให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งเป็นไปตามกฎของฟราเดย์ และ


กระแสเหนี่ยวนานี้มีทิศทางการไหลเป็นตามกฎของเลนซ์

การผลิตกระแสด้วยวิธีการเหนี่ยวนา

ไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ทั้งที่ใช้ทั่วไปตามบ้านเรือน หรือสถานที่ต่างๆ นั้น แทบทั้งหมดจะถูกผลิต


ขึ้นจากหลักการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีการเหนี่ยวนา ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบนี้ เรา
มักจะคุ้นกับชื่อของไดนาโม
ไดนาโม คือ เครื่องกาเนิดไฟฟ้าด้วยวิธีการเหนี่ยวนาทางไฟฟ้า ซึ่งอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อขดลวดเคลื่อนที่
ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก จะเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาขึ้นในขดลวดนั้น
รูปร่างหน้าตาของไดนาโมมีหลายแบบ แต่หลักการเดียวกันคือ ทาอย่างไรก็ได้ให้ขดลวดเคลื่อนที่ตัดผ่าน
สนามแม่เหล็ก (ซึ่งเป็นไปตามกฎการเหนี่ยวนาของไมเคิล ฟาราเดย์)

เมื่อนาขดลวดตัวนาต่อกับแอมมิเตอร์ที่สามารถวัดกระแสไฟฟ้าค่าน้อยๆ ได้ และนาขดลวดนี้เคลื่อนที่


เข้าใกล้หรือออกห่างแท่งแม่เหล็ก จะพบว่าขณะที่ขดลวดตัวนาเคลื่อนนั้น จะมีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้น
ซึ่งสังเกตได้จากการเบนของเข็มชี้ของแอมมิเตอร์ แต่ขณะที่ขดลวดตัวนาอยู่นิ่ง จะไม่มีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา
เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเป็นผลที่ได้จากแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เมื่อฟลักซ์
แม่เหล็กผ่านที่ขดลวดตัวนามีค่าเปลี่ยนแปลง จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้นในขดลวดตัวนา
ซึ่งเป็นผลให้มีกระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนานั้น ไมเคิล ฟาราเดย์ ได้ทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา และฟลักซ์แม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลง และสรุปได้ว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า
เหนี่ยวนาที่เกิดขึ้นในขดลวด เป็นสัดส่วนกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดนั้น เมื่อ
เทียบกับเวลา ข้อความนี้เรียกว่า กฎการเหนี่ยวนาของฟาราเดย์ (Faraday’s Law of Induction) เรียกสั้นๆ
ว่า กฎของฟาราเดย์ ซึ่งเป็นกฎพื้นฐานของไฟฟ้าและแม่เหล็ก

การเคลื่อนที่ขดลวดทองแดงตัดฟลักซ์แม่เหล็ก

จากการศึกษาเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนา จะทาให้เกิดสนามแม่เหล็กหรือฟลักซ์แม่เหล็ก
รอบลวดตัวนนานั้นในทางกลับกันฟลักซ์แม่เหล็กก็น่าจะทาให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นบ้างซึ่งความคิดนี้ Michael
Faraday นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบและสรุปผลว่า “ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ฟลักซ์แม่เหล็ก ณ
บริเวณใดการเปลี่ยนฟลักซ์แม่เหล็กนี้จะเหนี่ยวนาให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในตัวนาที่วางอยู่ในบริเวณนั้น” เรียก
ผลที่เกิดขึ้นว่า การเหนี่ยวนาแม่เหล็กไฟฟ้า ( electromagnetic induction ) และเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิด
จากวิธีการนี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา
กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดขึ้นบนเส้นลวดตัวนาที่เคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็ก

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ภายในลวดตัวนามีอิเล็กตรอนอิสระอยู่เป็นจานวนมาก เมื่อให้ลวดตัวนานี้


เคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับฟลักซ์แม่เหล็ก จะมีผลทาให้อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ภายในลวดตัวนาเคลื่อนที่ด้วย
ดังนั้นจึงเกิดแรงกระทาต่ออิเล็กตรอนให้เคลื่อนที่จากปลาย A ไปปลาย B ดังรูป1 หรือเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นใน
ลวดนี้ในทิศจาก B ไป A เรียกกระแสที่เกิดขึ้นจากการนี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา

จากการเกิดกระแสไฟฟ้าผ่าจาก B ไป A จึงเสมือนกับมีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลาย A กับ B


ถ้าต่อลวดตัวนานี้ให้ครบวงจร ปลายทั้งสองของลวดตัวนาจะทาหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมี
แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา จากการทดลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พบว่า
กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา และแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับ

1. อัตราเร็วของลวดตัวนา

2. ขนาดของสนามแม่เหล็ก

3. ความยาวของเส้นลวด

การหาทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดในเส้นลวดตัวนาเมื่อต่อครบวงจร หาได้จาก กฎการกามือ


ขวา คือ “ให้กามือขวาจาก ไปยัง นิ้วหัวแม่มือชี้ตั้งฉากกับนิ้วทั้งสี่ จะแสดงทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาใน
เส้นลวด”
กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดในขดลวดตัวนา

ในการศึกษาเรื่องกระแสเหนี่ยวนาถ้าพิจารณาขดลวดตัวนาเป็นขดลวดรูปสี่เหกลี่ยมมุมฉาก เคลื่อนที่
ตัดฟลักซ์แม่เหล็ก

รูป 2 ขดลวดตัวนาเคลื่อนที่ตัดฟลักซ์แม่เหล็ก

ให้ขดลวด PQRS หมุนรอบแกน XY ในทิศทวนเข็มนาฬิกา เมื่อเราพิจารณาลวดตัวนา PQ และ RS


จะเห็นว่า ลวด PQ และ RS เคลื่อนที่ตัดฟลักซแม่เหล็กในทิศลงและขึ้นตามลาดับจะเกิดกระแสไฟฟ้า
เหนี่ยวนา I ดังรูป 2 โดยทิศของกระแสไฟฟ้าจะอยู่ในทิศจาก P ไป Q และจาก R ไป S ตามลาดับ สาหรับ
ลวดส่วน PS และ QR นั้นเคลื่อนที่ขนานกับทิศสนามโดยไม่ตัดฟลักซ์แม่เหล็ก จึงไม่เกิดกระแสเหนี่ยวนาบน
ลวดส่วนนี้ แต่เนื่องจากลวด PS และ QR เป็นตัวนาที่ต่อกับส่วน PQ และ RS กระแสเหนี่ยวนาบน PQ และ
RS จึงผ่านจาก S ไป P และ Q ไป R ด้วยถ้าต่อวงจรภายนอกครบวงจร
ถ้านาขดลวดตัวนาขดหนึ่ง ต่อเข้ากับแอมมิเตอร์ที่สามารถวัดกระแสค่าน้อยๆได้และนาขดลวดตัวนานี้
เคลื่อนเข้าใกล้แท่งแม่เหล็ก แล้วดึงออกพบว่า ขณะที่ขดลวดตัวนาเคลื่อนที่เข้าหาและออกห่างจากแท่ง
แม่เหล็ก จะมีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการหมุนของเข็มชี้ของแอมมิเตอร์ ส่วนในขณะที่
ขดลวดตัวนาอยู่นิ่งจะไม่มีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนานี้เกิดขึ้น

ในทานองเดียวกัน ถ้าให้ขดลวดตัวนาที่ต่อกับแอมมิเตอร์อยู่กับที่ แล้วเคลื่อนแท่งแม่เหล็กเข้าใกล้แล้ว


ดึงออก จะพบว่ามีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้นในขณะที่แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เท่านั้น ส่วนในขณะที่แท่ง
แม่เหล็กหยุดนิ่งจะไม่เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเช่นกัน

กฎของฟาราเดย์

มีใจความว่า “เมื่อมีฟลักซ์แม่เหล็กที่มีค่าเปลี่ยนแปลงผ่านขดลวดตัวนาจะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้น
ในขดลวดตัวนนานั้น”

เราสามารใช้กฎของฟาราเดย์ อธิบายการเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาในขดลวดสี่เหลี่ยม ซึ่งหมุนตัดฟ


ลักซ์แม่เหล็กในแนวตั้งฉากกับทิศสนามแม่เหล็ก โดยเริ่มพิจารณาจาก เมื่อระนาบของขดลวดอยู่ในแนว
เดียวกับสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์ที่ผ่านขดลวดมีค่าเป็นศูนย์และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่าน
ขดลวด เมื่อขดลวดหมุนจากตาแหน่งเริ่มต้นระนาบของขดลวดจะทามุมกับสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์แม่เหล็กที่
ผ่านขดลวดจะมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีค่าสูงสุดเมื่อระนาบของขดลวดตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก สรุปก็คือ
ในช่วงการหมุนของขดลวดที่ระนาบขดลวดกวาดมุมไป 90 องศาจากตาแหน่งเริ่มต้นนี้ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่าน
ขดลวดจะมีค่าเปลี่ยนแปลงจากค่าศูนย์ถึงค่าสูงสุด ดังนั้นจะเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาขึ้นในขดลวด
การหาทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาในขดลวด

เราจะศึกษาว่าถ้าให้ขดลวดอยู่กับที่ และมีฟลักซ์แม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงผ่านขดลวด จะมีกระแสไฟฟ้า


เหนี่ยวนาเกิดขึ้นในขดลวดหรือไม่ และทิศของกระแสเหนี่ยวนาในขดลวดจะมีทิศอย่างไรขดลวดตัวนา P วาง
อยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าดังรูป 5 ก. ถ้าสนามแม่เหล็กในบริเวณขดลวดมีค่าสม่าเสมอเท่ากับ ดังรูป 5 ข.
ต่อมาเพิ่มกระแสไฟฟ้า ทาให้สนามแม่เหล็กสม่าเสมอมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น ดังรูป 5 ค. และ ง.

รูป 5 แสดงการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนา

สนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับ = ดังรูป 6 แสดงว่าฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวด P มีค่า


เปลี่ยนแปลงทาให้เกิดกระแสเหนี่ยวนาในขอลวด P นี้ และกระแสเหนี่ยวนาจะทาให้เกิดสนามแม่เหล็กซึ่งมีทิศ
ตรงข้ามกับ ดังรูป 7 ก. ในทานองเดียวกันถ้าสนามแม่เหล็กมีค่าลดลง ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา ดังรูป 7
ข.
เราทราบแล้วว่า กระแสไฟฟ้าเป็นผลมาจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับสนามไฟฟ้า ดังนั้นเราจึง
อาจเขียนรูปใหม่ดังนี้

รูป 8 แสดงทิศของกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าต้านกลับในมอเตอร์กระแสตรง

เราสามารถนาความรู้เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาไปอธิบายผลที่เกิดขึ้นในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด
เช่นมอเตอร์ไฟฟ้า แบลลัสต์ในวงจรฟลูออเรสเซนต์ เป็นต้น เมื่อให้กระแสไฟฟ้าเข้ามอเตอร์ กระแสไฟฟ้านี้จะ
ทาให้เกิดโมเมนต์แรงคู่คู่ควบ ทาให้ขดลวดหมุนขณะที่มอเตอร์หมุนจะทาให้ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดมีค่า
เปลี่ยนแปลงและเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา ซึ่งมีทิศทางตรงข้ามกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าเดิม จึงเป็นผลทาให้
กระแสไฟฟ้าที่ผ่านมอเตอร์ขณะหมุนด้วยอัตราเร็วคงตัวมีค่าน้อยกว่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านมอเตอร์ขณะเริ่มหมุน
แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาในกรณีนี้เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าต้านกลับ

กาหนดให้ E คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าของแหล่งกาเนิด

e คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าต้านกลับ

I คือ กระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวดทั้งหมด
R คือ ความต้านทานของขดลวด

r คือ ความต้านทานภายในของแหล่งกาเนิด

จาก I =

จะได้ I =

กฎของเลนซ์

จากกฎของฟาราเดย์ แสดงให้เห็นว่า emf เหนี่ยวนาและการ


เปลี่ยนแปลงฟลักซ์มีเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ตรงข้ามกัน ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นความจริงทางฟิสิกส์ที่
รู้จักกันรูปของ กฏของเลนส์ ซึ่งกล่าวว่า " ขั้วของ emf เหนี่ยวนาซึ่งทาให้เกิดกระแสจะผลิตฟลักซ์แม่เหล็กซึ่ง
มีทิศตรงข้ามกับการเปลี่ยนฟลักซ์แม่เหล็กผ่านพื้นที่ปิดเนื่องจากวงกระแส (a current loop)" นั่นคือ กระแส
เหนี่ยวนามีแนวโน้มที่จะรักษาฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านวงจรไม่ให้เปลี่ยนแปลง (เป็นไปตามกฎการอนุรักษ์
พลังงาน)
-เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปทางด้านขวา ดังรูป (a) ฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านพื้นที่ล้อมรอบด้วยวงจร
จะมีค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา กฏของเลนส์แสดงให้เห็นว่ากระแสเหนี่ยวนามีทิศซึ่งทาให้ฟลักซ์แม่เหล็กที่มันผลิต
ออกมาต่อต้านเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กภายนอก เนื่องจากฟลักซ์แม่เหล็กภายนอกมีทิศเพิ่มขึ้นในทิศที่พุ่ง
เข้าไปในกระดาษ ถ้ากระแสเหนี่ยวนาต้องการต้านการเปลี่ยนแปลงนี้ มันจะต้องผลิตฟลักซ์แม่เหล็กที่มีทิศพุ่ง
ออกจากกระดาษ ดังนั้น กระแสเหนี่ยวนาจะต้องมีทิศทวนเข็มนาฬิกา (สามารถใช้กฎมือขวาในการหาทิศได้)
-เมื่อแท่งตัวนาเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ดังรูป (b) ฟลักซ์แม่เหล็กภายนอกที่ผ่านพื้นที่ปิดของลูปจะลดลง
ตามเวลา เนื่องจากฟลักซ์แม่เหล็กมีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษ กระแสเหนี่ยวนาต้องมีทิศตามเข็มนาฬิกา ถ้า
กระแสเหนี่ยวนาต้องการที่จะผลิตฟลักซ์แม่เหล็กที่มีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษเช่นกัน

a) เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าหาห่วงตัวนาที่หยุดนิ่งกระแสเหนี่ยวนามีทิศดังรูป (b) กระแส


เหนี่ยวนาที่เกิดทาให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งมีทิศไปทางซ้ายต้านการเพิ่มขึ้นของฟลักซ์แม่เหล็กจากภายนอก
ทางด้านขวามือที่เพิ่มขึ้น (c) เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ออกจากห่วงตัวนาที่หยุดนิ่งกระแสเหนี่ยวนามีทิศดังรูป
(d) กระแสเหนี่ยวนาที่เกิดทาให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งมีทิศไปทางขวาต้านการเพิ่มขึ้นของฟลักซ์
แม่เหล็กจากภายนอกทางด้านขวามือที่ลดลง

ต่อไปพิจารณากรณีที่แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าหาห่วงโลหะ เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปทางขวาเข้า
หาห่วง ดังรูป (a) ฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งพุ่งผ่านลูปมีค่าเพิ่มขึ้นเทียบกับเวลา ในการหักล้างการเพิ่มขึ้นของฟลักซ์
แม่เหล็กทางด้านขวากระแสเหนี่ยวนาจะต้องสร้างฟลักซ์ที่พุ่งไปทางด้านซ้ายดังรูป (b) ดังนั้นกระแสเหนี่ยวนา
จะมีทิศทางดังแสดงในรูป นั่นคือเส้นสนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแสเหนี่ยวนาต่อต้านการเคลื่อนที่ของแท่ง
แม่เหล็ก คล้ายกับว่าขั้วแม่เหล็กผลักกัน สรุปได้ว่า พื้นผิวทางด้านซ้ายของลูปกระแสเป็นขั้วเหนือและผิว
ด้านขวาเป็นขั้วใต้ ถ้าแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปทางซ้ายออกห่างห่วงดังรูป (c) ฟลักซ์แม่เหล็กที่เคลื่อนที่ผ่าน
พื้นที่ปิดมีทิศไปทางขวามือลดลงเมื่อเทียบกับเวลา ขณะนั้นกระแสเหนี่ยวนาในลูปมีทิศดังรูป (d) เนื่องจากทิศ
ของกระแสแบบนี้ทาให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กในทิศทางเดียวกับ ฟลักซ์แม่เหล็กจากภายนอก ในกรณีนี้ ผิว
ด้านซ้ายของลูปเป็นขั้วใต้และผิวด้านขวามือของลูปเป็นขั้วเหนือ

เพื่อให้เข้าใจกฎของเลนส์ให้พิจารณาตัวอย่างที่แท่งตัวนาเคลื่อนที่ไปทางด้านขวาของรางขนานโดยมี
สนามแม่เหล็กจากภายนอกขนาดสม่าเสมอพุ่งผ่านรูป (a) แท่งตัวนาเคลื่อนที่ไปทางด้านขวาของรางตัวนาที่
ขนานกัน โดยมีสนามแม่เหล็กจากภายนอกขนาดสม่าเสมอพุ่งผ่าน ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านพื้นที่ปิดของลูปจะ
เพิ่มขึ้นตามเวลาจากกฏของเลนส์พบว่ากระแสเหนี่ยวนาต้องมีทิศทวนเข็มนาฬิกา รูป(b)เมื่อแท่งเคลื่อนที่ไป
ทางด้านซ้ายกระแสเหนี่ยวนาจะมีทิศตามเข็มนาฬิกา กฎของเลนส์ เป็นกฎสาหรับใช้ดูทิศของแรงเคลื่อนไฟฟ้า
เหนี่ยวนา หรือกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดขึ้นในวงจรปิด กล่าวได้ว่า "ทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาหรือ
แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดขึ้นในวงจรปิดหนึ่งเมื่อฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านวงจรนั้นเปลี่ยนแปลง จะมีทิศที่จะ
ทาให้มันสร้างสนามแม่เหล็กหรือฟลักซ์แม่เหล็กให้คงเดิมเสมอ" เช่น
เอกสารอ้างอิง
https://sites.google.com/site/slfkjfwdoifjpoergr/krasae-fifa-heniyw-na-laea-raeng-kheluxn-fifa-
heniyw-na

http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=
2531&Itemid=3

https://sites.google.com/site/xsfdzfcsaf/home/raeng-kheluxn-fifa-heniyw-na-ni-mxtexr-laea-
kheruxng-kaneid-fifa

http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/physics4_2_1/lesson2/more4_2_/item2_18.ph
p

You might also like