You are on page 1of 13

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม

เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 1

การประยุกต์ผลของสนามแม่เหล็กต่อตัวนาที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน

1. แกลแวนอมิเตอร์
แกลแวนอมิเตอร์เป็นเครื่องวัดไฟฟ้าประกอบด้วยขดลวดที่ หมุนได้รอบแกน มีลักษณะเป็ น
ขดลวดสี่เหลี่ยมที่มีแกนหมุน ปลายข้างหนึ่งของแกนหมุนอยู่ติดสปริงก้นหอยและเข็มชี้ขดลวดเคลื่อนที่นี้หมุน
อยู่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ดังรูป แกลแวนอมิเตอร์มีหลักการทางานดังนี้

เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบ ทาให้ระนาบของขดลวดหมุน และ


สปริงก้นหอยบิด จนกระทั่งโมเมนต์ของแรงบิดกลับของสปริงก้นหอยเท่ากับโมเมนต์ของแรงคู่ควบที่กระทาบน
ขดลวด ขดลวดก็จะหยุดหมุน ซึ่งมีผลให้เข็มชี้หยุดนิ่งด้วย
มุมเบนของเข็มชี้ทาให้ทราบค่าของโมเมนต์ของแรงคู่ควบ ซึ่งนาไปหาค่าของกระแสไฟฟ้าที่ ผ่าน
ขดลวดได้ ถ้าทราบขนาดของสนามแม่เหล็ก (B) จานวนรอบ (N) ของขดลวด พื้นที่ระนาบ (A) ของขดลวด
และมุมระหว่างระนาบของขดลวดกับสนามแม่เหล็ก จะพบว่าโมเมนต์ของแรงคู่ควบที่กระทาต่อขดลวดขึ้นกับ
กระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวด หลักการนี้นาไปใช้สร้างเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าที่มีค่า น้อย ซึ่งเรียกว่า แกลแวนอ
มิเตอร์ ที่สามารถนาไปดัดแปลงเป็นแอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์ได้
ขดลวดของแกลแวนอมิเตอร์มักทาด้วยลวดทองแดงอาบน้ายาเส้นเล็ก ๆ พันรอบกรอบที่ติดบน
แกนที่สามารถหมุนได้คล่อง ซึ่งจะใช้วัตถุที่มีความแข็งมาก เช่น ทับทิม เป็นฐานรองรับการหมุนที่ปลายทั้งสอง
ของแกนหมุนเพื่อลดแรงเสียดทาน ส่วนสปริงก้นหอยติดกับแกนหมุน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิด
โมเมนต์ของแรงคู่ควบที่บิดกรอบให้หมุนไปเล็กน้อย ทาให้เข็มชี้ที่ติดอยู่กับกรอบเบนตามไปด้วย โดยมุมที่เข็มชี้
เบนไปแปรผันตรงกับขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวด เพราะแรงบิดกลับของสปริงก้นหอยจะมีค่าเพิ่มขึ้น
ตามมุมที่เข็มชี้เบน ดังนั้นเข็มจะเบนจนกระทั่งโมเมนต์ของแรงบิดกลับของสปริงก้นหอยเท่ากับโมเมนต์ของ
แรงคู่ควบ เข็มชี้จึงหยุดนิ่งที่มุม ๆ หนึ่ง และเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าในขดลวด แรงบิดกลับของสปริงก้นหอยจะ
ทาให้ขดลวดกลับมาอยู่ที่ตาแหน่งเริ่มต้น
การสร้างสเกลเพื่ออ่านกระแสไฟฟ้า ทาได้โดยผ่านกระแสไฟฟ้าที่ทราบค่าเข้าขดลวดแล้วแบ่งขีด
สเกลตามกระแสไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ นั้น

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 2

2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลัง งานไฟฟ้าเป็นพลัง งานกล ประกอบด้วย
ขดลวดทองแดงเคลือบน้ายา ที่พันรอบแกนสี่เหลี่ยมซึ่งติดอยู่กับแกนหมุนในสนามแม่เหล็ก ปลายทั้งสองของ
ขดลวดต่อกับขั้วของแบตเตอรี่ เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ขดลวดจะเกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบกระท าให้
ขดลวดหมุนรอบแกนหมุน

พิจารณาขดลวด ABCD ขณะที่ระนาบของขดลวดวางตัวขนานกับสนามแม่เหล็กดังรูป ก โดย


ลวด AB อยู่ใกล้ขั้วเหนือ และ CD อยู่ใกล้ขั้วใต้ โมเมนต์ของแรงคู่ควบที่เกิดขึ้นจะหมุนขดลวดทวนเข็มนาฬิกา
เมื่อขดลวดหมุนไป 1/4 รอบหรือ 90 องศา ขณะนี้ระนาบของขดลวดจะตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก แรงที่กระทา
ต่อขดลวดจะอยู่ในแนวขนานกับระนาบ ABCD และผ่านแกนหมุนดังรูป ข โมเมนต์ของแรงคู่ควบที่กระทาต่อ
ขดลวดจึง มีค่าเป็นศูนย์ แต่ขดลวดจะหมุนไปอีกเล็กน้อยอันเป็นผลเนื่องจากความเฉื่อยของขดลวด และ
โมเมนต์ของแรงคู่ควบก็จะเพิ่มค่าจนระนาบของขดลวดขนานกับสนามแม่เหล็กอีกครั้ง โมเมนต์ของแรงคู่ควบที่
เกิ ด ขึ้ น จะท าให้ ข ดลวดหมุ น ตามเข็ ม นาฬิ ก า ดั ง รู ป ค นั่ น คื อ ขดลวดจะหมุ น จนระนาบขดลวดขนาน
สนามแม่เหล็กอีก
เพื่อให้ขดลวดหมุนอย่างต่อเนื่องทิศเดียว จึง มีอุปกรณ์สาหรับเปลี่ยนทิศของกระแสไฟฟ้าใน
ขดลวด ประกอบด้วยตัวทาสลับที่หรือคอมมิวเทเตอร์ และแปรง ดังรุป 46 คอมมิวเทเตอร์ทาด้วยโลหะตัวนา
รูปทรงกระบอกผ่าซีก วางสัมผัสปลายของตัวนาที่เรียกว่า แปรง สังเกตการหมุนของขดลวด ขณะกระแสไฟฟ้า
ผ่านแปรงและคอมมิวเทเตอร์ได้ดังนี้

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 3

ในรูป ก กระแสไฟฟ้าในขดลวดผ่ านตามแนว ABCD ทาให้เกิด โมเมนต์ ของแรงคู่ ค วบหมุ น


ขดลวดตามเข็มนาฬิกา เมื่อขดลวดหมุนไปจนระนาบของขดลวดตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก ความเฉื่อยจะทาให้
ขดลวดหมุนต่อไปอีกเล็กน้อย มีผลทาให้แปรง P และ Q เปลี่ยนตาแหน่งจาก x และ y ไปสัมผัสกับคอมมิวเท
เตอร์ y และ x ตามลาดับ ทาให้กระแสไฟฟ้าในขดลวดมีทิศตามแนว DCBA โมเมนต์ของแรงคู่ควบที่เกิดขึ้น
ในตอนนี้จะทาให้ขดลวดหมุนในทางเดิมต่อไป ดังรูป ข เพราะทิศของกระแสไฟฟ้าในขดลวดเปลี่ยนทุกครั้งที่
ระนาบขดลวดตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก ดังนั้นขดลวดจึงหมุนทางเดียวตลอดเวลา
จะเห็นว่ามอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงนี้มีขดลวดเพียงระนาบเดียว จึงใช้คอมมิวเทเตอร์ 1 คู่ ถ้า
พิจารณาในขณะที่ระนาบของขดลวดตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก โมเมนต์ของแรงคู่ควบจะมีค่าเป็นศูนย์ แต่
ขดลวดจะหมุนต่อไปได้อีกเนื่องจากความเฉื่อย ดังนั้นตาแหน่งที่ระนาบของขดลวดตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กจึง
เป็นตาแหน่งที่ มอเตอร์มีโมเมนต์กระทาน้อยที่สุด ดังนั้นเพื่อให้โมเมนต์ของแรงคู่ควบที่กระทาต่อขดลวดมีค่า
มากขึ้น จึงต้องเพิ่มขดลวดในระนาบอื่นอีก โดยอาจใช้ตั้งแต่ 3 ระนาบขึ้นไป

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 4

กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาและแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา

กระแสเหนี่ยวนา จากการศึกษาเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนา จะทาให้เกิดสนามแม่เหล็กหรือฟ


ลักซ์แม่เหล็กรอบลวดตัวนานั้น ในทางกลับกันฟลักซ์แม่เหล็กก็น่าจะทาให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นบ้างซึ่งความคิด
นี้ Michael Faraday นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบ และสรุปผลว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็ก
ณ บริเวณใดการเปลี่ยนฟลักซ์แม่เหล็กนี้จะเหนี่ยวนาให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในตัวนาที่วางอยู่ในบริเวณนั้น
เรียกผลที่เกิดขึ้นว่า การเหนี่ยวนาแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Induction) และเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิด
จากวิธีการนี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา
1. กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดขึ้นบนเส้นลวดตัวนาที่เคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็ก
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ภายในลวดตัวนามีอิเล็กตรอนอิสระอยู่เป็นจานวนมาก เมื่อให้ลวดตัวนานี้
เคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับฟลักซ์แม่เหล็ก จะมีผลทาให้อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ภายในลวดตัวนาเคลื่อนที่ด้ วย
ดังนั้นจึงเกิดแรงกระทาต่ออิเล็กตรอนให้เคลื่อนที่จากปลาย A ไปปลาย B ดังรูปหรือเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นใน
ลวดนี้ในทิศจาก B ไป A เรียกกระแสที่เกิดขึ้นจากการนี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา

จากการเกิดกระแสไฟฟ้าผ่านจาก B ไป A จึงเสมือนกับมีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลาย A
กับ B ถ้าต่อลวดตัวนานี้ให้ครบวงจร ปลายทั้งสองของลวดตัวนาจะทาหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมี
แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา
จากการทดลองและทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง พบว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา และแรงเคลื่อนไฟฟ้ า
เหนี่ยวนา จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับ
1. อัตราเร็วของลวดตัวนา
2. ขนาดของสนามแม่เหล็ก
3. ความยาวของเส้นลวด
การหาทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดในเส้นลวดตัวนาเมื่อต่อครบวงจร หาได้จาก กฎการ
กามือขวา คือ ให้กามือขวาจาก v ไปยัง B นิ้วหัวแม่มือชี้ตั้งฉากกับนิ้วทั้ง สี่ จะแสดงทิศของกระแสไฟฟ้า
เหนี่ยวนาในเส้นลวด

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 5

2. กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดในขดลวดตัวนา
ในการศึกษาเรื่องกระแสเหนี่ยวน าถ้ าพิจ ารณาขดลวดตัวนาเป็น ขดลวดรู ป สี่เหลี่ย มมุ ม ฉาก
เคลื่อนที่ตัดฟลักซ์แม่เหล็ก

ให้ขดลวด PQRS หมุนรอบแกน XY ในทิศทวนเข็มนาฬิกา เมื่อเราพิจารณาลวดตัวนา PQ และ


RS จะเห็นว่า ลวด PQ และ RS เคลื่อนที่ตัดฟลักซแม่เหล็กในทิศลงและขึ้นตามลาดับจะเกิดกระแสไฟฟ้า
เหนี่ยวนา I ดังรูป 2 โดยทิศของกระแสไฟฟ้าจะอยู่ในทิศจาก P ไป Q และจาก R ไป S ตามลาดับ สาหรับลวด
ส่วน PS และ QR นั้นเคลื่อนที่ขนานกับทิศสนามโดยไม่ตัดฟลักซ์แม่เหล็กจึงไม่เกิดกระแสเหนี่ยวนาบนลวด
ส่วนนี้ แต่เนื่องจากลวด PS และ QR เป็นตัวนาที่ต่อกับส่วน PQ และ RS กระแสเหนี่ยวนาบน PQ และ RS จึง
ผ่านจาก S ไป P และ Q ไป R ด้วยถ้าต่อวงจรภายนอกครบวงจร

ถ้านาขดลวดตัวนาขดหนึ่ง ต่อเข้ากับแอมมิเตอร์ที่สามารถวัดกระแสค่าน้อยๆได้และนาขดลวด
ตัวนานี้เคลื่อนเข้าใกล้แท่งแม่เหล็กแล้วดึงออกพบว่า ขณะที่ขดลวดตัวนาเคลื่อนที่เข้าหาและออกห่างจากแท่ง
แม่เหล็ก จะมีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้นซึ่งสังเกตได้จากการหมุนของเข็มชี้ของแอมมิเตอร์ ส่วนในขณะที่
ขดลวดตัวนาอยู่นิ่งจะไม่มีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนานี้เกิดขึ้น ในทานองเดียวกัน ถ้าให้ขดลวดตัวนาที่ ต่ อ กั บ
แอมมิเตอร์อยู่กับที่ แล้วเคลื่อนแท่งแม่เหล็กเข้าใกล้แล้วดึงออกจะพบว่ามีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้น ใน
ขณะที่แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เท่านั้น ส่วนในขณะที่แท่งแม่เหล็กหยุดนิ่งจะไม่เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเช่นกัน

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 6

3. กฎของฟาราเดย์
มีใจความว่า “เมื่อมีฟลักซ์แม่เหล็กที่มีค่าเปลี่ยนแปลงผ่านขดลวดตัวนา จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า
เหนี่ยวนาเกิดขึ้นในขดลวดตัวนานั้น

เราสามารถใช้กฎของฟาราเดย์อธิบายการเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาในขดลวดสี่เหลี่ยมซึ่งหมุน
ตัดฟลักซ์แม่เหล็กในแนวตั้งฉากกับทิศสนามแม่เหล็ก โดยเริ่มพิจารณาจาก เมื่อระนาบของขดลวดอยู่ในแนว
เดียวกับสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์ที่ผ่านขดลวดมีค่าเป็นศูนย์และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่าน
ขดลวด เมื่อขดลวดหมุนจากตาแหน่งเริ่มต้นระนาบของขดลวดจะทามุมกับสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์แม่เหล็กที่
ผ่านขดลวดจะมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีค่าสูง สุดเมื่อระนาบของขดลวดตั้ง ฉากกับสนามแม่เหล็ก สรุปก็คือ
ในช่วงการหมุนของขดลวดที่ระนาบขดลวดกวาดมุมไป 90 องศาจากตาแหน่งเริ่มต้นนี้ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่าน
ขดลวดจะมีค่าเปลี่ยนแปลงจากค่าศูนย์ถึงค่าสูงสุด ดังนั้นจะเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาขึ้นในขดลวด
4. การหาทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาในขดลวด
เราจะศึ ก ษาว่ า ถ้ า ให้ข ดลวดอยู่ กับ ที่ และมี ฟ ลั ก ซ์ แ ม่ เหล็ ก ที่ เ ปลี่ ยนแปลงผ่ า นขดลวด จะมี
กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาเกิดขึ้นในขดลวดหรือไม่ และทิศ ของกระแสเหนี่ยวนาในขดลวดจะมีทิศอย่างไรขดลวด
ตัวนา P วางอยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าดังรูป ก ถ้าสนามแม่เหล็กในบริเวณขดลวดมีค่าสม่าเสมอเท่ากับ B 1

ดังรูป ข ต่อมาเพิ่มกระแสไฟฟ้า ทาให้สนามแม่เหล็กสม่าเสมอมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น B ดังรูป ค และ ง


2

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 7

สนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับ B = B
2 − B1 ดังรูป แสดงว่าฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวด P
มีค่าเปลี่ยนแปลงทาให้เกิดกระแสเหนี่ยวนาในขอลวด P นี้

และกระแสเหนี่ยวนาจะทาให้เกิดสนามแม่เหล็กซึ่งมีทิศตรงข้ามกับ ดังรูป ก ในทานองเดียวกัน


ถ้าสนามแม่เหล็กมีค่าลดลง ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา ดังรูป ข

เราทราบแล้วว่า กระแสไฟฟ้าเป็นผลมาจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับสนามไฟฟ้า ดังนั้น


เราจึงอาจเขียนรูปใหม่ดังนี้

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 8

แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาในมอเตอร์และเครื่องกาเนิดไฟฟ้า

เราสามารถนาความรู้เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาไปอธิบายผลที่เกิดขึ้นในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด
เช่นมอเตอร์ไฟฟ้า แบลลัสต์ในวงจรฟลูออเรสเซนต์ เป็นต้น เมื่อให้กระแสไฟฟ้าเข้ามอเตอร์ กระแสไฟฟ้านี้จะ
ทาให้เกิดโมเมนต์แรงคู่คู่ควบ ทาให้ขดลวดหมุนขณะที่มอเตอร์หมุนจะทาให้ ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดมีค่า
เปลี่ยนแปลงและเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนา ซึ่งมีทิศทางตรงข้ามกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าเดิม จึงเป็นผลทาให้
กระแสไฟฟ้าที่ผ่านมอเตอร์ขณะหมุนด้วยอัตราเร็วคงตัว มีค่าน้อยกว่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านมอเตอร์ขณะเริ่มหมุน
แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาในกรณีนี้เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าต้านกลับ

1. เครื่องกาเนิดไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าขณะต่อสายไฟจากขั้ว D.C. มีทิศเดียวเรียก กระแสไฟฟ้านี้ว่า กระแสตรง แต่
สาหรับกระแสไฟฟ้าที่ต่อสายไฟจากขั้ว A.C. จะมีทิศสลับไปมา เรียกกระแสไฟฟ้านี้ว่า กระแสสลับ
พิจารณาเครื่องกาเนิดไฟฟ้ากระแสตรงขณะระนาบของขดลวดอยู่ที่ตาแหน่งต่าง ๆ ในช่วงเวลา
จาก 0 ถึง T เมื่อ T เป็นคาบที่ใช้ในการหมุนขดลวดตัวนาครบหนึ่งรอบ กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิด ขึ้น ใน
ช่วงเวลาดังกล่าว จะเป็นดังรูป

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 9

ขณะที่ระนาบขดลวด PQRS ตั้งฉากกับทิศของสนามแม่เหล็ก ทิศความเร็วของขดลวดอยู่ในแนว


เดียวกับทิศของสนามแม่เหล็กจึงไม่มีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนา เกิดขึ้นในขดลวด ต่อมาทิศของความเร็วเริ่มทามุม
กับทิศของสนามแม่เหล็ก กระแสไฟฟ้าเริ่มมีและมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีค่ามากที่สุด เมื่อทิศของความเร็วตั้ง
ฉากกั บ ทิ ศ ของสนามแม่ เ หล็ ก ซึ่ ง ต าแหน่ ง นี้เ ป็ น ต าแหน่ ง ที่ ร ะนาบขดลวด PQRS อยู่ ใ นแนวเดี ย วกั บ ทิศ
สนามแม่ เ หล็ ก และเมื่ อขดลวดหมุ นต่ อไปอี ก กระแสไฟฟ้ า เหนี่ ยวนาก็จ ะมี ค่ า ลดลงและเป็ นศู นย์อีกครั้ง
เนื่องจากระบบมีคอมมิวเทเตอร์และแปรงจึงทาให้ทิศของกระแสไฟฟ้าที่ออกจากเครื่องกาเนิดไฟฟ้ามีเพียงทิศ
T T
เดียว ดัง นั้นกราฟของกระแสไฟฟ้าในช่วง ถึง T จึง เหมือนกับช่วง 0 ถึง ส่วนเครื่องกาเนิดไฟฟ้า
2 2
กระแสสลับ กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาในช่วงเวลาจาก 0 ถึง T จะเป็นดังรูป

T
ในช่วง 0 ถึง กราฟระหว่างกระแสไฟฟ้ากับเวลาของกระแสสลับจะเหมือนกับกระแสตรง แต่
2
T
ในช่วงเวลา ถึง T กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาของเครื่องกาเนิดไฟฟ้ากระแสสลับจะกลับทิศถ้าต่อตัวต้านทาน
2
กับเครื่องกาเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ กราฟระหว่างกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานกับเวลา และความต่างศักย์
ระหว่างปลายทั้งสองของตัวต้านทานกับเวลา จะเป็นดังนี้

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 10

กราฟระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับกับเวลาในช่วงเวลา 0 ถึง จะเหมือนกับกราฟ


ในช่วง T ถึง 2T ดังนั้นช่วงเวลา 0 ถึง T จึงเป็นเวลาหนึ่งคาบของการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ ถ้าเครื่องกาเนิด
ไฟฟ้ากระแสสลับหมุนด้วยความถี่ 1 รอบต่อวินาที ไฟฟ้ากระแสสลับจะมีความถี่ 1 เฮิรตซ์
2. การผลิตไฟฟ้ากระแสสลับในระบบ 3 เฟส
เมื่อนาตัวต้านทานไปต่อกับเครื่องกาเนิดไฟฟ้ากระแสสลับพบว่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่า นตัวต้านทาน
กับเวลาและความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายทั้งสองของตัวต้านทานกับเวลา จะมีลักษณะดังกราฟ

จากการศึกษาหลักการของเครื่องกาเนิดไฟฟ้าหรือไดนาโมกระแสสลับ เป็นการผลิตไฟฟ้าโดยใช้
ขดลวดหมุนตัด ฟลักซ์แม่เหล็ก แต่เนื่องจากหมุนขดลวดซึ่งมีขนาดใหญ่จะไม่สะดวก จึงอาจใช้แท่งแม่เหล็ก
หมุน เพื่อให้ฟลักซ์แม่เหล็กตัดขดลวดตัวนา ตัวนา ซึ่งกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาที่เกิดขึ้นภายในลวดตัวนาสามารถ
ต่อสายไฟออกไปทันที ไม่ต้องมีแหวนลื่นหรือแปรง ตัวอย่างก็คือเครื่องกาเนิดไฟฟ้าของรถจักรยาน และ
รถยนต์ เป็นต้น
สาหรับเครื่องกาเนิดไฟฟ้าสลับที่ใช้งานตามโรงไฟฟ้า จะมีขดลวดตัวนาอยู่ 3 ชุด โดยแต่ละชุด
วางทามุม 120° ซึ่งเรียกเครื่องกาเนิดไฟฟ้าแบบนนี้ว่า เครื่องกาเนิดไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งมีลักษณะดังรูป

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 11

เครื่องกาเนิดไฟฟ้า 3 เฟส ประกอบด้วยชดลวดเหมื อนกัน ทุก ประการ วางอยู่บนด้านของ


สามเหลี่ยมด้านเท่าตรงกลางมีแท่งแม่เหล็กถาวรอยู่ โดยแกนหมุนอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยมพอดี การ
เปลี่ยนแปลงของ ฟลักซ์แม่เหล็กเนื่องจากการหมุนแท่ง แม่เหล็ก ทาให้เกิดการเหนี่ยวนาแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่
ขดลวดทั้งสามผลก็คือ เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนาขึ้นในขดลวดทั้ง สาม แต่จะมี เฟส
ต่างกัน 120° ตามมุมระหว่างระนาบทั้งสาม จึงทาให้ค่าสูงสุดของความต่างศักย์ของ ขดลวดแต่ละชุดเกิดขึ้นไม่
พร้อมกัน ซึ่งสามารถเขียนกราฟระหว่างความต่างศักย์กับเวลาของขดลวดแต่ละชุดได้ดังรูป

เมื่อพิจารณาการต่อสายออกจากขดลวดทั้งสามชุด ดังรูป

ในเครื่องกาเนิดไฟฟ้า 3 เฟส ถ้าโยงจุด B, D F เข้าด้วยกัน แล้วต่อสายดิน จึงมีศักย์ไฟฟ้าเป็น


ศูนย์เทียบกับพื้นดิน เรียกว่า สายกลาง (N) ส่วนสายที่เหลือของแต่ละชุดอีก 3 เส้น จะเป็นสายที่มีศักย์ไฟฟ้า
แตกต่างกับดินเรียกว่า สายมีไฟฟ้า (L)

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 12

การผลิตและการส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า นิยมส่งแบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 3 สาย แต่


สาหรับไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนนั้นเป็นไฟฟ้าเฟสเดียว ซึ่งอาจได้จากการต่อสายมีไฟสายใดสายหนึ่งของไฟฟ้า
3 เฟส กับสายกลาง ไฟฟ้าเฟสเดียวนี้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกาลังไม่มากนัก ถ้าเป็นพวกมอเตอร์ไฟฟ้า
สลับขนาดใหญ่ที่ใช้กันตามโรงงานมักจะใช้ไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งในกรณีนี้จะต่อสายไฟทั้ง 3 สาย ของไฟฟ้า 3 เฟส
ที่มีความต่างศักย์เหมาะสมกับตัวมอเตอร์ไฟฟ้าสลับได้เลย
ข้อดี ของการผลิตและการส่งไฟฟ้า 3 เฟส คือ การส่งกาลังไฟฟ้าจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ทา
ให้ไม่ต้องใช้สายไฟใหญ่มาก เป็นการประหยัดและลดการสูญเสียได้มาก นอกจากนี้ชุมชนต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้ากัน
คนละเฟส เมื่อเกิดไฟฟ้าดับในเฟสใดเฟสหนึ่ง ชุมชนที่ใช้ไฟฟ้าเฟสอื่นยังมีไฟฟ้าใช้ตามปกติ
3. การส่งกาลังไฟฟ้าและการสูญเสียกาลังไฟฟ้าในสายไฟ
ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าจะถูกส่งมาในรูปของไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อความสะดวกและประหยัด
นอกจากนี้ยังต้องคานึงถึงค่าของความต่างศักย์ไ ฟฟ้าของเครื่องกาเนิดด้วย เพราะขณะกระแสไฟฟ้าผ่าน
สายไฟฟ้าที่มีความต้านทานจะเกิดความร้อนขึ้นในสายไฟนั้น ซึ่งทาให้มีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นเพื่อลด
การสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในรูปของความร้อน จึงต้องมีการคานึงถึงความต่างศักย์ที่เหมาะสมดังตัวอย่าง การส่ง
พลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า
ถ้าส่งกาลังไฟฟ้าด้วยความต่างศักย์สูงๆ จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าได้ แต่ถ้าความ
ต่างศักย์สูงมากเกินไป อาจก่อให้เกิดการลัดวงจรระหว่างสายไฟของไฟฟ้า 3 เฟส ได้เนื่องจากอากาศรอบๆ
สายไฟ จะถูกสนามไฟฟ้าจากสายไฟทาให้กลายเป็นตัวนาได้ นอกจากนี้เวลาฝนตกอาจทาให้มีไฟฟ้ารั่วลงมา
ตามเสาไฟที่เป็นโลหะได้ ดังนั้นค่าความต่างศักย์ที่เหมาะสม สาหรับการส่งกาลังไฟฟ้าคือ 230,000 โวลต์แล้ว
จะมีการลดความต่างศักย์ลงที่สถานีย่อยไฟฟ้าเหลือ 69,000 โวลต์แล้วส่งไปตามชุมชนต่างๆ ซึ่งจะมีการลด
ความต่างศักย์ลงอีกให้เหลือ 220 โวลต์โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า หม้อแปลงไฟฟ้า

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (Electricity and Magnetism) 13

 ตัวอย่างการคานวณแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาในมอเตอร์และเครื่องกาเนิดไฟฟ้า

ตัวอย่าง 1 ถ่ า นไฟฉายมี ค วามต้ านทานภายใน 1 โอห์ ม มี แ รงเคลื่ อ นไฟฟ้า 4.5 โวลต์ ต่ อ กั บ มอเตอร์
กระแสตรงซึ่ ง ขดลวดมี ค วามต้ า นทาน 2 โอห์ ม ขณะที่ ข ดลวดหมุ น ด้ ว ยอั ต ราเร็ ว คงที่ วั ด
กระแสไฟฟ้าได้ 0.3 แอมแปร์ จงหาแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาต้านกลับของมอเตอร์

ตัวอย่าง 2 ถ่ า นไฟฉายมี ค วามต้ า นทานภายใน 1 โอห์ ม มี แ รงเคลื่ อ นไฟฟ้ า 5 โวลต์ ต่ อ กั บ มอเตอร์


กระแสตรงซึ่งขดลวดไม่มีความต้านทาน ขณะขดลวดหมุนด้วยอัตราเร็วคงตัววัดกระแสไฟฟ้าได้
2 แอมแปร์ จงหาแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนาต้านกลับของมอเตอร์

ตัวอย่าง 3 เครื่องกาเนิดไฟฟ้าอันหนึ่งสามารถส่งกาลังไฟฟ้าได้ 30 กิโลวัตต์ ด้วยความต่างศักย์ 1000 โวลต์


ถ้าส่งกาลังไฟฟ้าผ่านสายไฟยาว 500 เมตร ซึ่งมีความต้านทาน 0.2 โอห์ม เป็นเวลานาน 20
วินาที จงหาพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียไปในรูปของความร้อนภายในสายไฟ

ตัวอย่าง 4 เครื่องกาเนิดไฟฟ้าอันหนึ่งสามารถส่งกาลังไฟฟ้าได้ 0.3 เมกะวัตต์ ด้วยความต่างศักย์ 600 กิโล


โวลต์ ถ้าส่งกาลังไฟฟ้าผ่านสายไฟยาว 500 เมตร ซึ่งมีความต้านทาน 0.2 โอห์ม เป็นเวลานาน
20 วินาที จงหาพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียไปในรูปของความร้อนภายในสายไฟ

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล

You might also like