You are on page 1of 9

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม

เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 1

กฎของโอห์มและความต้านทานไฟฟ้า

1. กฎของโอห์ม
กฎของโอห์มกล่าวสรุปว่า “เมื่ออุณหภูมิคงตัว กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนาโลหะจะแปรผันตรงกับ
ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายทั้งสองของตัวนานั้น โดยอัตราส่วนของความต่างศักย์กับกระแสมีค่าคงตัว
เรียกว่า ความต้านทาน”
ให้ V คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้า หน่วย โวลต์ (V)
I คือ กระแสไฟฟ้า หน่วย แอมแปร์ (A)
R คือ ความต้านทานไฟฟ้า หน่วย โอห์ม (Ω)
จะได้สมการกฎของโอห์ม ดังนี้
V = IR
2. กราฟตามกฎของโอห์ม
ตามกฎของโอห์มเมื่อนาข้อมูล V กับ I มาเขียนเป็นกราฟ จะได้กราฟเป็นเส้นตรงผ่านจุดกาเนิด
(0,0)
2.1 กราฟความต่างศักย์กับกระแส (กราฟ V-I)
V (V )

I (A )
จากกราฟจะได้ว่า ความต้านทานไฟฟ้าเท่ากับความชันเส้นกราฟ
- ความชันกราฟมาก ค่าความต้านทาน R มาก
- ความชันกราฟน้อย ค่าความต้านทาน R น้อย
2.2 กราฟกระแสกับความต่างศักย์
I (A )

V (V )
จากกราฟจะได้ว่า ส่วนกลับของความต้านทานไฟฟ้าเท่ากับความชันเส้นกราฟ
- ความชันกราฟมาก ความต้านทาน R น้อย
- ความชันกราฟน้อย ความต้านทาน R มาก

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 2

 ตัวอย่างการคานวณกฎของโอห์มและความต้านทาน

ตัวอย่าง 1 แท่งทองแดงมีกระแสไหลผ่าน 5 มิลลิแอมแปร์ เมื่อต่อกับความต่างศักย์ 10 โวลต์ แท่งทองแดง


นี้มีค่าความต้านทานกี่โอห์ม

ตัวอย่าง 2 นาแท่งทองแดงต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้า 20 โวลต์ จะมีประแสไหลผ่าน 5 แอมแปร์ ถ้านาแท่ง


ทองแดงนี้ต่อกับความต่างศักย์ 10 โวลต์ จะมีกระแสไหลผ่านกี่แอมแปร์

ตัวอย่าง 3 นาแท่งโลหะอันหนึ่งต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้า ถ้าความต่างศักย์ระหว่างปลายทั้งสองของแท่ง


โลหะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของเดิม กระแสที่ไหลผ่านแท่งโลหะในครั้งหลังเป็นกี่เท่าของครั้งแรก

ตัวอย่าง 4 การทดลองตามกฎของโอห์มได้กราฟระหว่างความต่างศักย์กับกระแส ดัง รู ป จงหาค่าความ


ต้านทานของตัวนาโลหะ
V (V )

10

I (A )
2

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 3

ตัวอย่าง 5 การทดลองตามกฎของโอห์มได้กราฟระหว่างกระแสกับความต่างศักย์ ดัง รูป จงหาค่าความ


ต้านทานของตัวนาโลหะ
I (A )

V (V )
10

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 4

ความต้านทานของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

1. ตัวต้านทาน (resistor)

ตัวต้านทานมีหน้าที่จากัดกระแสไฟฟ้าในวงจรให้เหมาะสมกับการใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด


คือ
- ตัวต้านทานค่าคงตัว (fixed resistor)
- ตัวต้านทานแปรค่า (variable resistor)

ตัวต้านทานแบบแปรค่าจะสามารถปรับค่าได้ตามความต้องการของเรา นิยมใช้ในวงจรที่ต้องการ
ควบคุมกระแสไฟฟ้า เช่น วงจรควบคุมความสว่างของหลอดไฟ หรือวงจรปรับความดัง-ค่อยของเครื่องเสียง
สาหรับตัวต้านทานแบบค่าคงตัว สามารถอ่านค่าความต้านทาน จากแถบสีได้ดังนี้
1 2 3 4

- แถบที่ 1 บอกตัวเลขตัวเลขตัวแรก (A)


- แถบที่ 2 บอกตัวเลขตัวเลขตัวที่สอง (B)
- แถบที่ 3 บอกตัวเลขชี้กาลัง (C)
- แถบที่ 4 บอกความคลาดเคลื่อน (D)
ซึ่งค่าความต้านทานจากแถบสีอ่านค่าได้ดังนี้
R = AB 10C  D%

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 5

แถบสีต่างๆ กาหนดเป็นตัวเลขได้ดังนี้

เปอร์เซนต์
สี แทนเลข สี
ความคลาดเคลื่อน
ดา 0 ทอง ±5
น้าตาล 1 เงิน ±10
แดง 2 ไม่มีสี ±20
ส้ม 3
เหลือง 4
เขียว 5
น้าเงิน (ฟ้า) 6
ม่วง 7
เทา 8
ขาว 9

2. แอลดีอาร์ (light dependent resistor, LDR)

เป็ น ตั ว ต้ า นทานที่ ค วามต้ า นทานขึ้ นกั บ ความสว่ า งของแสงที่ ต กกระทบ แอลดี อ าร์ มี ค วาม
ต้ า นทานสู ง ในที่ มื ด แต่ มี ค วามต้ า นทานต่ าในที่ ส ว่ า งจึ ง เป็ น ตั ว รั บ รู้ ค วามสว่ า ง (light sensor) ในวงจร
อิเล็กทรอนิกส์สาหรับควบคุมการปิด-เปิดสวิชต์ด้วยแสง
3. เทอร์มีสเตอร์ (thermistor)

เป็ น ตั ว ต้ า นทานขึ้ น อยู่ กั บ อุ ณ หภู มิ ข องสภาพแวดล้ อ ม เทอร์ มี ส เตอร์ แ บบ NTC (negative


temperature coefficient) มีความต้านทานสูงเมื่ออุณหภูมิต่า แต่มีความต้านทานต่าเมื่ออุณหภูมิสูง เทอร์มี
สเตอร์จึงเป็นตัวรับอุณหภูมิ (temperature sensor) ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด
4. ไดโอด (diod)
เป็นตัวนาไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ทางเดียว ทาจากสารกึ่งตัวนาพวกเจอร์เมเนียม
หรือซิลิกอน ในวงจรไฟฟ้าแทนไดโอดด้วยสัญลักษณ์

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 6

I I = 0

1 2
จากรูป ถ้าต่อไดโอดแบบรูปที่ 1 จะมีกระแสไหลในวงจร แสดงว่าไดโอดมีความต้านทานน้อยแต่
ถ้าต่อแบบรูปที่ 2 จะไม่มีกระแสไหลในวงจร แสดงว่า ไดโอดมีความต้านทานสูงมาก จากสมบัตินี้เราจึง ใช้
ไดโอดในการบังคับทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าและใช้แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงได้
 ตัวอย่างการคานวณการแนค่าความต้านทานจากแถบสี

ตัวอย่าง 1 จงอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบค่าคงตัว จากแถบสีต่อไปนี้

ตัวอย่าง 2 จงอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบค่าคงตัว จากแถบสีต่อไปนี้

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 7

สภาพต้านทานไฟฟ้า

ตามกฎของโอห์มเป็นการหาค่าความต้านทานของตัวนาโลหะซึ่งพิจารณาจากความต่างศักย์ V และ
กระแส I โดยไม่คานึงว่าตัวนาโลหะนั้นทามาจากสารชนิดใด
ในที่นี้จะเป็นการหาความต้านทานไฟฟ้าของตัวนาโลหะ โดยพิจารณาจากชนิดของโลหะซึ่งมีสภาพ
ต้านทานไฟฟ้าต่างกัน ความยาวโลหะและพื้นที่หน้าตัดของโลหะ
ให้ R คือ ความต้านทานไฟฟ้า หน่วย โอห์ม (Ω)
L คือ ความยาว หน่วย เมตร (m)
A คือ พื้นที่หน้าตัด หน่วย ตารางเมตร (m2)
จากการทดลองตัวนาโลหะ โดยอุณหภูมิมีค่าคงตัว พบว่า
- ความต้านทานแปรผันตรงกับความยาว (เมื่อพื้นที่หน้าตัดคงตัว)
R  L
- ความต้านทานแปรผกผันกับพื้นที่หน้าตัด (ความยาวคงตัว)
1
R 
A
การคานวณความต้านทาน หาได้ดังนี้
L
R = 
A
โดย ρ คือ ค่าคงที่การแปรผัน หรือสภาพต้านทานไฟฟ้า หมายถึง ปริมาณการต่อต้านการไหลของ
กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสมบัติเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิด ในระบบเอสไอบอกหน่วยเป็น “โอห์มเมตร (Ω.m)”
- สารที่มีสภาพต้านทานไฟฟ้าต่า ประจุไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ผ่านได้ง่าย
- สารที่มีสภาพต้านทานไฟฟ้าสูง ประจุไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ผ่านได้ยาก
โดยสภาพต้านทานไฟฟ้ามีค่าคงตัวเมื่ออุณหภูมิคงตัว และสารแต่ละชนิดจะมีสภาพต้านทานไฟฟ้า
ต่างกัน ดังตาราง (20 องศาเซลเซียส)

สาร สภาพต้านทานไฟฟ้า สาร สภาพต้านทานไฟฟ้า


เงิน 1.6 10−8 นิโครม 9.8 10−7
ทองแดง 1.8 10−8 เจอร์เมเนียม 0.46
อะลูมิเนียม 2.7 10−8 ซิลิกอน 2.5 103
แพลทินัม 10.6 10−8 แก้ว 1010 − 1014
แมงกานิน 4.4 10−7 ไมกา 1011 − 1015
คอนสแตนแตน 4.8 10−7 พีวีซี 1014 − 1018

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 8

 ตัวอย่างการคานวณสภาพความต้านทานไฟฟ้า

ตัวอย่าง 1 ลวดทองแดงยาว 1 เมตร มีพื้นที่หน้าตัด 1.8 ตารางมิลลิเมตร จงหาความต้านทานของลวดนี้ใน


หน่วยโอห์ม (กาหนดสภาพความต้านทานไฟฟ้าของทองแดงเท่ากับ 1.8 10−8 โอห์ม.เมตร)

ตัวอย่าง 2 แท่งโลหะยาว 2 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศุนย์กลาง 1.4 เมตร จงหาความต้านทานของแท่งโลหะนี้


ในหน่วยโอห์ม (สภาพต้านทานของแท่งโลหะเท่ากับ 1.54 10−8 โอห์ม.เมตร)

ตัวอย่าง 3 A และ B เป็นลวดตัวนาทาจากสารต่างชนิดกัน โดยสภาพต้านทานไฟฟ้าของ A เป็น 2 เท่าของ


B ความยาวของ A เป็น 3 เท่าของ B พื้นที่หน้าตัดของ A เป็น 4 เท่าของ B จงหาว่าความ
ต้านทานของ A เป็นกี่เท่าของ B

ตัวอย่าง 4 A และ B เป็นลวดตัวนาทาจากสารต่างชนิดกัน โดยสภาพต้านทานไฟฟ้าของ A เป็น 2 เท่าของ


B ความยาวของ A เป็น 3 เท่าของ B เส้นผ่านศูนย์กลางของ A เป็น 4 เท่าของ B จงหาว่าความ
ต้านทานของ A เป็นกี่เท่าของ B

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล


เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30204 ฟิสิกส์เพิ่มเติม
เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) 9

ตัวอย่าง 5 แท่งโลหะยาว 2 เมตร มีพื้นที่หน้าตัด 0.4 ตารางมิลลิเมตร ถ้านาปลายทั้งสองแท่งโลหะนี้ไปต่อ


กับความต่างศักย์ไฟฟ้า 10 โวลต์ จงหากระแสไฟฟ้าที่ไ หลผ่านแท่ง โลหะในหน่วยแอมแปร์
(สภาพต้านทานไฟฟ้าของแท่งโลหะเท่ากับ 2 10−7 โอห์ม.เมตร)

ตัวอย่าง 6 ลวดทองแดงเส้ น หนึ่ ง ถู ก ยื ด ออกให้ มี ค วามยาวเป็ น 3 เท่ า ของเดิ ม ความต้ า นทานของ


ลวดทองแดงในครั้งหลังเป็นกี่เท่าของครั้งแรก

ตัวอย่าง 7 ลวดอะลูมิเนียมเส้นหนึ่งถูกยืดออกให้มีพื้นที่หน้าตัดลดลงเป็นครึ่งหนึ่งของเดิม ความต้านทาน


ของลวดอะลูมิเนียมในครั้งหลังเป็นกี่เท่าของครั้งแรก

ตัวอย่าง 8 แท่งเหล็กถูกยืดออกให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางลดลงเป็นครึ่งหนึ่งของเดิม ความต้านทานของแท่ง


เหล็กในครั้งหลังเป็นกี่เท่าของครั้งแรก

© นายสมประสงค์ จาปาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนพุทธิรงั สีพิบูล

You might also like