You are on page 1of 17

บทที่ 1

ความรู้พื้นฐานทางฟิ สิ กส์
(Fundamental knowledge in Physics)

ฟิ สิกส์ ( Physics ) มาจากภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า “เป็ นธรรมชาติ” วิชาฟิ สิกส์เป็ น


วิชาที่ศึกษาความเป็ นไปของธรรมชาติ เป็ นการศึกษาที่มีพืน้ ฐานมาจากการสังเกต การรวบรวม
ข้อมูล การทดลอง และการคิดหาเหตุผล วิชาฟิ สิกส์เป็ นพืน้ ฐานที่สาคัญทางวิทยาศาสตร์ท่ีม่งุ หา
กฎเกณฑ์ต่างๆ สาหรับอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น กลางวัน กลางคืน รุ ง้ กินนา้
ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง การเกิดพายุ การเกิดจันทรุปราคา สุรยิ ุปราคา การเกิดแผ่นดินไหว เป็ นต้น ความรู ้
ในวิช าฟิ สิ กส์ส่วนหนึ่งได้ม าจากการสังเกตและการวัดโดยเครื่องมื อต่างๆ แล้วนามาวิเคราะห์
แปลความหมายจนถึ งการสรุ ป เป็ น หลักการและกฎเกณฑ์ และความรู อ้ ี กส่วนหนึ่ งได้ม าจาก
แบบจ าลองทางความคิ ด ซึ่ ง น าไปสู่ ก ารสร้า งทฤษ ฎี เพื่ อ อธิ บ ายปรากฎการณ์ ในธรรมชาติ
กฎเกณฑ์และทฤษฎีท่ไี ด้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ และยืนยันโดยผลการทดลอง

1.1 ฟิ สิกส์กับการประยุกต์ด้านต่างๆ
วิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ คื อ วิ ช าที่ เน้ น ศึ ก ษ าเกี่ ย วกั บ สิ่ ง ต่ า งๆ ปรากฏ การณ์ ใน ธรรม ชาติ
แบ่งได้เป็ น 2 สาขา ได้แก่
1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็ นการศึกษาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

2. วิ ท ยาศาสตร์ก ายภาพ เป็ น การศึ ก ษาเกี่ ย วกับ สิ่ ง ไม่ มี ชี วิต แบ่ ง ออกเป็ น อี ก หลายแขนง เช่ น
ฟิ สิกส์ เคมี ธรณีวิทยา ดาราศาสตร์ เป็ นต้น วิชาฟิ สิกส์ เป็ นวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง
ซึ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ฟิ สิกส์เป็ นศาสตร์ท่ีได้จากการทดลอง ( Experimental science) ความรู พ้ ืน้ ฐานของวิชา
ฟิ สิกส์ ได้แก่ กลศาสตร์ ความร้อน แสง เสียง ไฟฟ้า แม่เหล็ก ฟิ สิกส์อะตอมและฟิ สิกส์นิวเคลียร์
นอกจากนีค้ วามรูท้ างฟิ สิกส์ยงั มีสว่ นเกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาอื่นๆ ได้แก่
ฟิ สิกส์กบั เคมี วิชาเคมีเป็ นการศึกษาปฏิกิรยิ าในระดับโมเลกุลและระดับอะตอมซึ่งเกิดขึน้
ระหว่างอิเล็กตรอนในอะตอม จาเป็ นต้องอาศัยความรู พ้ ืน้ ฐานในด้านฟิ สิกส์อะตอมและฟิ สิกส์
2

นิ วเคลี ย ร์เพื่ อ ใช้ศึก ษาโครงสร้า งอะตอมและอะตอม รวมทั้ง การศึก ษาพัน ธะเคมี นอกจากนี ้
ในการทดลองทางเคมี ยัง ต้อ งอาศัย เทคนิ ค เครื่อ งมื อ ที่ พัฒ นาขึ น้ ด้ว ยความรู จ้ ากฟิ สิ ก ส์ เช่ น
แมสสเปกโตรมิเตอร์ เครื่องวัดความนาไฟฟ้าของสารละลาย เครื่องวัดความเป็ นกรด-เบส เป็ นต้น
ฟิ สิ ก ส์ กั บ ชี ว วิ ท ยา วิ ช าชี ว วิ ท ยาอาศั ย ความรู ้พื ้ น ฐานของวิ ช าฟิ สิ ก ส์ แ ละเคมี
ในการศึกษาระบบและกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมี ชีวิต เนื่องจากสิ่งมี ชีวิตประกอบขึน้ มาจาก
อะตอมและโมเลกุลของสารต่างๆ อะตอมเหล่านีย้ ่อมมีอนั ตรกิริยาระหว่างกัน เช่น ปรากฏการณ์
เคลื่ อ นย้า ยมวล ปรากฏการณ์ เคลื่ อนย้ายประจุในระดับ เซลล์ การถ่ า ยโอนพลัง งาน เป็ น ต้น
และกระบวนการทางฟิ สิ ก ส์ในระดั บ อวัย วะอี ก ด้ว ย เช่ น การล าเลี ย งของน ้า ภายในต้น ไม้
การสัง เคราะห์แสง การหายใจ การเคลื่ อ นไหวของกระดูก และกล้ามเนื ้อ เป็ น ต้ น นอกจากนี ้
เครื่องมือที่ใช้ในวิชาชีววิทยา เช่น กล้องจุลทรรศน์ เครื่องเขย่าสาร เครื่องเหวี่ยงตะกอน เครื่องวัด
ความดันโลหิต เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าจากหัวใจและสมอง เป็ นต้น ต้องอาศัยหลักการในวิชาฟิ สิกส์
ฟิ สิกส์กบั การพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ ความรูด้ า้ นคอมพิวเตอร์อาศัยความรูพ้ นื ้ ฐาน
จากวิชาฟิ สิกส์ของแข็ง อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้ากระแส ฯลฯ ในการสร้างไมโคร
โพรเซสเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อ่นื ๆ ที่เป็ นส่วนสาคัญของคอมพิวเตอร์ นอกจากนัน้ ยัง
พัฒนาอุปกรณ์และทฤษฎีใหม่ๆ ทางคอมพิวเตอร์ ยังต้องอาศัยความรูท้ างทฤษฎีกลศาสตร์
ควอนตัม
ฟิ สิกส์กบั การพยาบาลและการแพทย์ การพยาบาลและการแพทย์เป็ นวิชาที่เน้นการศึกษา
ด้านชีววิทยาของมนุษย์ กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึน้ ภายในร่างกายสามารถอธิบายได้ดว้ ย
หลักการทางฟิ สิกส์ เช่น สายตาสัน้ สายตายาว การส่งกระแสประสาท คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ
ระบบหมุนเวียนโลหิต เป็ นต้น นอกจากนีเ้ ครื่องมือเครื่องใช้ทางการพยาบาลและการแพทย์ เช่น
เครื่องเอกซ์เรย์ อัลตราซาวด์ เครื่องกระตุน้ หัวใจ มีดผ่าตัดเลเซอร์ เครื่องวัดความดันโลหิต
เครื่องวัดคลื่นหัวใจ กล้องไฟเบอร์ออบติกส์ตรวจระบบทางเดินอาหาร เป็ นต้น
ฟิ สิ ก ส์กั บ วิ ศ วกรรมศาสตร์ วิ ช าวิ ศ วกรรมศาสตร์ไ ด้น าเอาหลั ก การทางฟิ สิ ก ส์ม า
ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อความเป็ นอยู่ของมนุษ ย์ เช่ น การออกแบบ การสร้างเครื่องมื อ
เครื่องใช้ เครื่องจักรกล โครงสร้างอาคาร เป็ นต้น

1.2 ระบบหน่วยระหว่างชาติ
ปริมาณต่างๆ ที่วดั จะต้องมีหน่วยที่เหมาะสมกากับ ปั จจุบนั มีระบบหน่วยซึ่งประเทศต่างๆ
ได้ ต ก ล งกั น ที่ จ ะ ใช้ ร่ ว ม กั น เป็ น ม าต รฐ า น ส าก ล เรี ย ก ว่ า ระ บ บ ห น่ วย น าน าช า ติ
3

( International systemof units หรื อ System international d  unites ) มี อั ก ษรย่ อ ว่ า หน่ ว ยเอสไอ
( SI units ) ซึ่ ง เป็ นที่ ย อมรับ ให้ ใ ช้โ ดยมติ ก ารประชุ ม นานาชาติ ว่ า ด้ว ยมาตรฐานชั่ ง ตวง วั ด
(Conference on weights and measures )

ระบบนีแ้ บ่งหน่วยออกเป็ น 3 ประเภท ดังนี ้

1. ห น่ ว ย มู ล ฐ าน ( Base units ) ระบ บ ห น่ วยระห ว่ า งป ระเท ศ ก าห น ด ขึ ้ น จาก ห น่ วย


มูลฐาน 7 หน่วย
ตารางที่ 1.1 หน่วยมูลฐาน
ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์
ความยาว เมตร ( Meter ) กm
มวล กิโลกรัม ( Kilogram ) ก kg
เวลา วินาที ( Second ) หs
กระแสไฟฟ้า แอมแปร์ ( Ampere ) กA
อุณหภูมิ เคลวิล ( Kelvin ) ดK
ปริมาณสาร โมล ( Mole ) ก ด mol
ความเข้มของการส่องสว่าง แคนเดลา ( Candela ) ด cd

ทีม่ า: Halliday, Resnick, & Walker (2001, p.2)

นิยามของหน่วยมูลฐาน
เมตร ( m ) คื อ หน่ วยของความยาวที่ เท่ า กับ 1,650,763.73 เท่ า ของความยาวคลื่ น ใน
สุญ ญากาศของการแผ่รงั สีท่ีสมนัยกับการเปลี่ยนแปลงระหว่างระดับ 2 p กับ 5d ของอะตอม
10 5

คริปตอน −86
กิ โลกรัม ( kg ) คื อ หน่ ว ยมวล ซึ่ ง เท่ า กับ มวลมู ล ฐานส าหรับ นานาชาติ ข องกิ โลกรัม
ทาด้วยโลหะผสมแพลทตินมั และอิริเดียม และเก็บไว้ท่ีส ถาบันมาตรฐานชั่งตวงวัดที่เมืองแซฟเรอ
( Savres ) ประเทศฝรั่งเศส
วินาที ( s ) คือ หน่วยของระยะทางเท่ากับ 9,192,631.770 เท่าของคาบของการแผ่รงั สีท่สี ม
นัยกับการเปลี่ยนแปลงระดับไฮเปอร์ไฟน์สองระดับของอะตอมซีเซียม −133 ในสถานะพืน้
แอมแปร์ ( A) คือ หน่วยของกระแสไฟฟ้าซึ่งถ้ารักษาให้คงอยู่ในตัวนา 2 เส้นที่มีความ
ยาวอนัน ต์ มี พื ้น ที่ ภ าคตัด ขวางเล็ ก มากจนไม่ จ าเป็ น ต้อ งค านึ ง ถึ ง และวางอยู่ข นานห่ างกัน
4

1 เมตร ในสุญ ญากาศแล้วจะทาให้เกิดแรงระหว่างตัวนาทั้งสองเท่ากับ 2 10−7 นิวตันต่อความ


ยาว 1 เมตร
เคลวิ น ( K ) คื อ หน่ ว ยของอุณ หภู มิ ท างอุ ณ หพลศาสตร์ ซึ่ ง เท่ า กั บ 1/ 273.16 ของ
อุณหภูมิทางอุณหพลศาสตร์ของจุดร่วมสามสภาวะของนา้
โมล ( mol ) คือ ปริม าณของสารที่ระบบประกอบด้วยองค์ประกอบมูลฐาน ซึ่งมี จานวน
เท่ากับจานวนอะตอมใน 0.012 กิโลกรัม ของคาร์บอน −12 เมื่อใช้โมล ต้องระบุองค์ประกอบมูล
ฐาน ซึ่งอาจเป็ น อะตอม โมเลกุล ไอออน อิเล็กตรอน อนุภ าคอื่นๆ หรือกลุ่ม ของอนุภ าคตามที่
กาหนด
แคนเดลา ( cd ) คือ หน่วยของความเข้ม แห่งการส่องสว่างในทิศทางที่กาหนดให้ของ
แหล่งกาเนิดซึ่งแผ่รงั สีเอกรงค์ดว้ ยความถี่ 540 1012 เฮิรตซ์ และมีความเข้มการแผ่รงั สีในทิศทาง
นัน้ เท่ากับ 1/ 683 วัตต์ต่อสเตเรเดียน

2. หน่วยเสริม ( Supplementary units ) มี 2 หน่วย ดังแสดงในตารางที่ 1.2


ตารางที่ 1.2 หน่วยเสริม
ปริมาณ ชื่อหน่วยเสริม สัญลักษณ์
มุมเชิงระนาบ ( Plane angle) เรเดียน ( Radian ) พ rad
มุมเชิงของแข็ง ( Solid angle ) สเตอเรเดียน ( Steradian ) ห sr

นิยามของหน่วยเสริม
เรเดียน ( rad ) คือ มุมเชิงระนาบระหว่างเส้นรังสีสองเส้นซึ่งตัดเส้นรอบวงของวงกลมออกเป็ นส่วน
โค้ง และมีความยาวเท่ากับรัศมีนนั้
สเตอเรเดียน ( sr ) คือ มุมเชิงของแข็ง ซึ่งเมื่อยอดแหลมอยู่ ณ จุดศูนย์กลางทรงกลมจะตัดพืน้ ผิว
รูปทรงกลมออกเป็ นปริมาณที่เท่ากับพืน้ ที่รูปสี่เหลี่ยมจตุรสั ที่มี ดา้ นยาวเท่ากับรัศมีของรูปทรงกลม
นัน้

3. หน่ วยอนุ พันธ์ ( Derived units ) เป็ นหน่วยผสมซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวเนื่องกัน


หน่ วยนีม้ ี จ านวนมาก มี ช่ื อและสัญ ลักษณ์ตั้ง ขึน้ เฉพาะ ชื่ อและสัญ ลักษณ์ของหน่ วยอนุพัน ธ์
กาหนดโดย องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ดังแสดงในตารางที่ 1.3
5

ตารางที่ 1.3 ตัวอย่างหน่วยอนุพนั ธ์


ปริมาณ ชื่อหน่วยอนุพันธ์ สัญลักษณ์
พืน้ ที่ ตารางเมตร ก m2
ปริมาตร ลูกบาศก์เมตร ก m3
ความถี่ เฮิรตซ์ ก Hz
ความหนาแน่น กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก kg  m−3

อัตราเร็ว ความเร็ว เมตรต่อวินาที ก m  s −1

ทีม่ า: Sears, Zemansky, & Young (1982, p.930)

ตารางที่ 1.3 ตัวอย่างหน่วยอนุพนั ธ์ (ต่อ)


ปริมาณ ชื่อหน่วยอนุพันธ์ สัญลักษณ์
ความเร็วเชิงมุม เรเดียนต่อวินาที ก rad  s −1
แรง นิวตัน กN
ความดัน ปาสคัล, นิวตันต่อตารางเมตร ก Pa, N  m ก
−2

งาน พลังงาน ปริมาณความร้อน จูล กJ


กาลัง วัตต์ กW
ปริมาณไฟฟ้า ประจุไฟฟ้า คูลอมบ์ กC
ศักย์ไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า โวลต์ กV
ความจุไฟฟ้า ก ก
ความต้านทานไฟฟ้า ฟารัด กF
ความนาไฟฟ้า โอห์ม ก
ฟลักซ์แม่เหล็ก ฟลักซ์การเหนี่ยวนาแม่เหล็ก ซีเมนต์ กS
ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก เวเบอร์ ก Wb
ความเหนี่ยวนา เทสลา กT
อุณหภูมิเซลเซียส เฮนรี กH
ฟลักซ์การส่องสว่าง องศาเซลเซียส กC
ความสว่าง ลูเมน ก lm

ทีม่ า: Sears, Zemansky, & Young (1982, p.930)


6

คาอุปสรรค ( Prefixes )
คาอุป สรรคเป็ น คาที่ใช้เป็ น ชื่ อและสัญ ลักษณ์ของพหุคูณ ของหน่วยเอสไอ สัญ ลัก ษณ์ของค า
อุปสรรคคาหนึ่งๆ นั้นใช้ผสมกับสัญ ลักษณ์ของหน่วยโดยตรง จะทาให้เกิดเป็ นสัญ ลักษณ์ของ
หน่วยใหม่ ซึ่งสามารถยกกาลังเป็ นบวกหรือลบ ดังตารางที่ 1.3
ตารางที่ 1.3 ตัวอย่างของคาอุปสรรค
เลขยกกาลัง ชื่อคาอุปสรรค สัญลักษณ์
1012 เทอรา (tera-) T
109 จิกะ (giga-) G
106 เมกะ (mega-) M
103 กิโล (kilo-) k
102 เฮกโต (hecto-) h
101 เดคะ (deka-) da
100 หน่วยหลัก -
10-1 เดซิ (deci-) d
10-2 เซนติ (centi-) c
10-3 มิลลิ (milli-) m
10-6 ไมโคร (micro-) 
-9
10 นาโน (nano-) n
10-12 พิโค (pico-) p

นอกจากนีย้ งั สามารถใช้คาอุปสรรคผสมกับสัญลักษณ์ของหน่วยอื่นๆ กลายเป็ นสัญลักษณ์เชิง


ประกอบ (Compound Unit ) ขึน้ ได้ เช่น
(10 m)
−2 3
1 cm3 = = 10−6 m3

(10 s )
−1
1  s −1 = −6
= 106 s −1

และ 1.4 104 อาจเขียนเป็ น 14 k  N


2416 Pa อาจเขียนเป็ น 2.416 k  Pa
5.2  10−8 s อาจเขียนเป็ น 52 ns
สั ญ ลั ก ษณ์ ข องหน่ ว ย ควรเขี ย นด้ ว ยอั ก ษรตั ว พิ ม พ์ เ ล็ ก นอกจากหน่ ว ยที่ ไ ด้ จ าก
วิสามานยนามให้เขียนตัวแรกด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่น
7

m เมตร
s วินาที
A แอมแปร์
J จูล
เวเบอร์
Wb
หน่วยเชิงประกอบที่ได้จากการคูณระหว่างหน่วย อาจเขียนแสดงได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี ้
N .m N m Nm
หน่วยเชิงประกอบที่ได้จากการหารระหว่างหน่วย อาจเขียนแสดงได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี ้
m
m/s ms −1
s

ตัวอย่างที่ 1.1 จงแปลงจาก 36 km / h ให้เป็ น m/s

วิธีทา แปลงบนจาก 36 กิโลเมตร ให้เป็ นเมตร = 36  103 m

(1)
แปลงล่างจาก 1 ชั่วโมง ให้เป็ นวินาที = 60  60 = 3,600 s

( 2)
นาสมการ (1) =
36  103 m
= 10 m / s
( 2) 3,600 s

ตัวอย่างที่ 1.2 จงแปลงจาก 2 km / cm3 เป็ น m / m 3

2  103 m
วิธีทา แปลงบนจาก = 2  109 m / m3 (ลูกบาศก์เมตร = กว้าง  ยาว  สูง)
10−6 m3

(1)
10−6
แปลงล่างจาก = 10−6 m3
1
( 2)
(1) 2  10 m
9
นาสมการ = = 2  1015  m / m3
( 2) 10−6 m3
8

1.2 เลขนัยสาคัญ (Significant figures)


การใช้เครื่ องมือวัดสิ่ งของต่างๆ นั้นเนื่ องจากลักษณะของสเกลที่ใช้ในการวัดมีค่า
ความละเอียดที่แตกต่างกันและในขณะเดียวกันถ้าให้คนหลายคนใช้เครื่ องมือวัดชนิดเดียวกันวัด
สิ่ งของชนิดเดียวกันย่อมได้ค่าที่วดั มีลกั ษณะความละเอียดหรื อจุดทศนิยมที่แตกต่างกัน ในทาง
ฟิ สิ กส์จึงได้มีการกาหนดเลขนัยสาคัญขึ้นมา เพื่อที่จะทาให้การอ่านค่าสเกลจากเครื่ องมือวัดที่ได้
เป็ นไปตามมาตรฐานเดียวกันและถูกต้องตรงกัน ดังนั้นความหมายของเลขนัยสาคัญก็คือ ตัวเลขที่
ใช้บอกค่า ความละเอียดที่ได้จากการบันทึกที่ถูกต้องของเครื่ องมือวัด

1.2.1 หลักการนับจานวนนัยสาคัญ
1) จานวนตัวเลขยกเว้นศูนย์จะนับนัยสาคัญหนึ่งตัว เช่น 2.2 มีเลขนัยสาคัญสองตัว
คือ 2 และ 2 หรื อ 1.23 มีเลขนัยสาคัญสามตัว คือ
1, 2 และ 3 เป็ นต้น
2) ในกรณีที่เป็ นเลขศูนย์จะแบ่งวิธีการพิจารณาได้ดงั นี้
- เลขศูนย์ถา้ อยูท่ างด้านขวามือเราจะนับเป็ นนัยสาคัญทุกตัว เช่น 1.00 มี
เลขนัยสาคัญ 3 ตัว คือ 1, 0 และ 0 หรื อ 5.10 มีนยั สาคัญสามตัว คือ 5, 1
และ 0 เป็ นต้น
- เลขศูนย์ถา้ อยูร่ ะหว่างจานวนเต็มใด ๆ จะนับเป็ นนัยสาคัญ เช่น 1.02 มี
เลขนัยสาคัญ 3 ตัว คือ 1, 0 และ 2 เป็ นต้น
- เลขศูนย์ถา้ อยูท่ างด้านซ้ายมือเราไม่นบั เป็ นนัยสาคัญ เช่น 0.1 มีเลข
นัยสาคัญหนึ่งตัว คือ 1 หรื อ 0.001 มีเลขนัยสาคัญ 1 ตัวเช่นกัน คือ 1
เป็ นต้น
3) ในกรณีที่เป็ นเลขยกกาลัง ( a × 10n ) นับเป็ นจานวนนัยสาคัญเฉพาะตัวเลขที่
อยูห่ น้าเลขยกกาลัง ( a ) เช่น 12×10 มีเลขนัยสาคัญสองตัว คือ 1 และ 2
5

หรื อ 1.05×10 มีเลขนัยสาคัญสามตัวคือ 1, 0 และ 5 เป็ นต้น


6

4) จานวนเต็มใดๆ ที่ไม่สามารถระบุจานวนนัยสาคัญได้ชดั เจนแน่นอน เช่น


100 มีเลขนัยสาคัญสามตัว (หากเขียนในรู ปนี้) หากต้องการให้มีเลข
นัยสาคัญแค่สองตัว จะต้องเขียนตามข้อ 3 คือ 1.0 × 102 แต่ถา้ ต้องการให้มี
เลขนัยสาคัญหนึ่งตัว สามารถเขียนได้เป็ น 1 × 102
9

1.2.2 การบวกและลบเลขนัยสาคัญ
หลังจากที่ได้ขอ้ มูลที่บนั ทึกได้จากเครื่ องมือวัดแล้ว ในขั้นตอนต่อไปเมื่อนาข้อมูล
มาบวก หรื อลบกันจะมีหลักในการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการบวกหรื อลบเลขนัยสาคัญโดย
ผลลัพธ์ ที่ได้จะต้องมีจานวนจุ ดทศนิ ยมเท่ากับเลขที่มีจุดทศนิยมน้อยที่สุด หรื อมีค่าความ
ละเอียด น้อยสุ ดอย่างเช่น สมมุติว่าข้อมูลแรกบันทึกได้ 1.213 และข้อมูลตัวที่สองได้ 1.25
เมื่ อ น ามาบวกกัน ตามหลัก เลขนัย ส าคัญ เราจะได้ 2.463 แต่ ตามหลัก ของการบวกเลข
นัยสาคัญเราจะต้องตอบเท่ากับจานวนจุดทศนิยมเท่ากับเลขที่มีจุดทศนิยมน้อยที่สุด จึงต้อง
ใช้การประมาณค่า คือถ้าตัวเลขนั้นมีค่ามากกว่าหรื อเท่ากับ 5 ให้ปัดขึ้น แต่หากมี ค่าน้อย
กว่า 5 ให้ปัดทิ้ง ดังนั้น เราจะได้เท่ากับ 2.46 นัน่ เอง
1.2.3 หลักในการคูณและหารเลขนัยสาคัญ
หลักในการคูณและการหารเลขนัยสาคัญนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจานวนนัยสาคัญเท่ากับเลขที่
มีนยั สาคัญน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น
2.0 × 2 = 4
หรื อ 2 × 100 = 2  102

1.3 ค่าความคลาดเคลื่อนในการวัด (Error of measurement)


เมื่อเราใช้เครื่ องมือในการวัดนั้น เนื่องจากค่าที่ได้จากการวัดอาจจะคลาดเคลื่อนไปจากค่า
ความเป็ นจริ ง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากตัวของผูว้ ดั เอง หรื ออาจเกิดจากความผิดปกติของเครื่ องมือ
วัด เราสามารถที่จะคานวณหาค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนในการวัดได้จาก

ค่าที่ได้ - ค่าจริ ง
ค่า % ความคลาดเคลื่อนในการวัด =  100 %
ค่าจริ ง

ตัวอย่างที่ 1.2 ชไมพรต้องการวัดความยาวของวัตถุอนั หนึ่งซึ่งทราบความยาวจริ งเท่ากับ 19


เมตร แต่ในทางปฏิบตั ิเขาวัดได้ 20 เมตร จงหาค่าร้อยละของความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น
วิธีทา
ค่าที่ได้ - ค่าจริ ง
% ความคลาดเคลื่อนในการวัด =  100 %
ค่าจริ ง
19 − 20
=  100 %
20
10

= 5%

บทสรุป

ฟิ สิ กส์และปรากฏการณ์ต่างๆในชีวิตประจาวันที่เกี่ยวข้องกับเรามากที่สุดคือการ
ได้ใช้เครื่ องมือที่มีความหลากหลายในการวัดปริ มาณต่างๆ ในฟิ สิ กส์ เครื่ องมือวัดแต่ละ
ชนิ ดก็จะมีหน่ วยในการวัดที่แตกต่างกัน ฟิ สิ กส์จะพิจารณาหน่ วยได้สองแบบ คือ หน่ วย
มูลฐาน และหน่วยอนุพทั ธ์ ซึ่งหน่วยอนุพทั ธ์เป็ นหน่วยที่นาหน่วยมูลฐานมาผสมผสานกัน
เพื่ อให้ก ารวัดปริ ม าณต่างๆ มี ความถูก ต้องและตรงกันเป็ นสากล ระบบหน่ วยที่ ใช้เป็ น
มาตรฐานนี้ เรี ย กว่ า ระบบ SI เมื่ อ มี ก ารใช้เครื่ อ งมื อ วัด และบัน ทึ ก ค่ าก็ จ ะสามารถเกิ ด
ความผิดพลาดในเรื่ องของการบันทึกค่าความละเอียดที่ไม่ตรงกันได้ จึงมีการ กาหนดหลัก
ของเลขนัยสาคัญขึ้นมาเพื่อเป็ นหลักในการบันทึกค่าความละเอียดของสเกลเครื่ องมือวัดแต่
ละชนิด และสามารถบอกความสามารถในวัดของเครื่ องมือชนิ ดนั้นได้ ซึ่งจะมีหลักในการ
เขี ย นและอ่ านค่ าเลขนัย ส าคัญ โดยใช้เลขสิ บ ยกก าลังในการช่ วย และสามารถใช้ ก าร
คานวณเพื่อหาค่าความคลาดเคลื่อนจากการวัดออกมาเป็ นค่าร้อยละของความคลาดเคลื่อน
11

กิจกรรมการทดลอง
12

แบบบันทึกกิจกรรมการทดลอง
เรื่ อง การวัดและความคลาดเคลื่อน
วันที่………เดือน ………..….…พ.ศ. 25……….สาขาวิชา.......................กลุ่มเรี ยน ………
ผูร้ ่ วมงาน ………………………………………………รหัส ……………………………..
ผูร้ ่ วมงาน ………………………………………………รหัส ……………………………..
ผูร้ ่ วมงาน ………………………………………………รหัส ……………………………..
ผูร้ ่ วมงาน ………………………………………………รหัส ……………………………..
ผูร้ ่ วมงาน ………………………………………………รหัส ……………………………..

วัตถุประสงค์
1. สามารถใช้เครื่ องมือวัดปริ มาณทางฟิ สิ กส์ได้อย่างถูกต้อง
2. สามารถบันทึกผลการทดลองตามหลักเลขนัยสาคัญได้อย่างถูกต้อง
3. สามารถคานวณค่าปริ มาณทางฟิ สิ กส์ตามหลักเลขนัยสาคัญได้อย่างถูกต้อง

วัสดุและอุปกรณ์ การทดลอง
1. เวอร์เนียคาลิปเปอร์
2. ไมโครมิเตอร์
3. ไม้บรรทัด
4. ไม้โปรแทรกเตอร์
5. แผ่นกระดาษ A4
13

6. เหรี ยญ 10 บาท และ 1 บาท


วิธีการทดลอง
1. ใช้ไม้โปรแทรกเตอร์วดั ความกว้างและความยาวของแผ่นกระดาษ A4 จานวน 5 ครั้ง
บันทึกผล โดยระบุความคลาดเคลื่อนด้วย
2. คานวณความกว้างและความยาวที่เป็ นค่าตัวแทนความกว้างและความยาวของ
แผ่นกระดาษ บันทึกผล
3. คานวณหาพื้นที่ของแผ่นกระดาษ โดยใช้หลักการคานวณเลขนัยสาคัญ บันทึกค่า
พื้นที่เป็ นค่าที่ 1
4. ทดลองซ้ าตั้งแต่ขอ้ 1-3 บันทึกค่าพื้นที่เป็ นค่าที่ 2
5. นาค่าพื้นที่ท้ งั 2 ค่า มาคานวณหาเปอร์เซ็นต์ความแตกต่าง บันทึกผล
6. ใช้เวอร์เนียคาลิปเปอร์ในการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกปิ งปอง จานวน 3 ครั้ง
บันทึกผลการทดลอง โดยระบุความคลาดเคลื่อนด้วย
7. ใช้ไมโครมิเตอร์วดั ความหนาของเหรี ยญ 1 บาท และ 10 บาท จานวนอย่างละ 3 ครั้ง
บันทึกผลการทดลอง โดยระบุความคลาเคลื่อนด้วย
8. ใช้ไม้บรรทัดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหรี ยญ 10 บาท และคานวณหาปริ มาตรของ
เหรี ยญดังกล่าว พร้อมแสดงวิธีการคานวณ พร้อมระบุความคลาเคลื่อน

ผลการทดลอง
ตอนที่ 1
ครั้งที่วดั ความกว้าง ความยาว ความกว้าง ความยาว
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 2
(………..) (………….) (………….) (………….)
1
2
3
4
5

วิเคราะห์ ผลการทดลอง
คานวณค่าตัวแทนของความกว้าง = …………………………………...........................
14

แสดงการคานวณ …………………………………………………..................................
………………………………………………………………...........................................
คานวณค่าตัวแทนของความยาว = ………………………………….............................
แสดงการคานวณ …………………………………………………..................................
………………………………………………………………...........................................
คานวณค่าพื้นที่ = ………………………………….....................................................
แสดงการคานวณ ค่าเปอร์เซ็นความแตกต่าง……………………………….....................

ผลการทดลอง
ตอนที่ 2

ครั้งที่วดั เส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนาเหรี ยญ ความหนาเหรี ยญ เส้นผ่าศูนย์กลาง


ลูกปิ งปอง 1 บาท 10 บาท เหรี ยญ10 บาท
(………..) (………….) (………….) (………….)
1
2
3

เฉลี่ย

วิเคราะห์ ผลการทดลอง
คานวณค่าตัวแทนของความหนา = …………………………………………….........
คานวณค่าตัวแทนของความยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง = ……………………………......
คานวณค่าปริ มาตร = …………………………………………………………….......

สรุปผลการทดลอง
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
15

แบบฝึ กหัด

1. จงหาค่าของ 5 พิโคเมตรในหน่วยของเมกะเมตร
2. 10 นาโนเมตร มีค่าเท่ากับกี่มิลลิเมตร
3. รถยนต์คนั หนึ่งวิ่งด้วยความเร็ ว 72 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง จงหาความเร็วของรถยนต์ใน
หน่วยเมตรต่อวินาที
4. ระยะทางจากกรุ งเทพฯไปยังลพบุรีมีค่าเท่ากับ 180 กิโลเมตร จงหาระยะทางในหน่วย
มิลลิเมตรและนาโนเมตร
5. จานวนเลขนัยสาคัญของจานวนต่อไปนี้มีค่าเท่ากับเท่าไรตามลาดับ 17, 522.0,
2.22222, 0.00012345, 1.25558  104
6. เชือกสองเส้นยาวเส้นละ 45.76 และ 0.124 เซนติเมตร ถ้านาเชือกทั้งสองมาวางต่อกัน
จะได้ความยาวเท่าไรตามหลักนัยสาคัญ
7. กล่องรู ปทรงสี่ เหลี่ยมมีความกว้างเท่ากับ 2.1 เมตร ยาว 1.25 เมตร สูง 1 เมตร จงหา
พื้นที่และปริ มาตรของกล่องนี้ตามหลักนัยสาคัญ
8. จากการทดลองวัดความยาวของวัตถุชนิดหนึ่งพบว่าค่าที่ได้จากการทดลอง
คลาดเคลื่อนไปจากค่าจริ ง 0.35 เซนติเมตรถ้าค่าจริ งเท่ากับ 100 เซนติเมตร จงหาค่า
ร้อยละของความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น
16
17

เอกสารอ้างอิง
ก่องกัญจน์ ทั รากาญจน์ และธนกาญจน์ ทั รากาญจน์ , จุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552).
ฟิ สิ กส์ 1 ตัวอย่างและ จทย์พร้ อมคาเ ลย. กรุ งเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ าควิชาฟิ สิ กส์, จุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2549). ฟิ สิ กส์ 1. กรุ งเทพฯ:
สานักพิมพ์แห่งจุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวี ฉิมอ้อย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . (2541). ฟิ สิ กส์ พืน้ ฐานระดับมหาวิทยาลัย 1.
กรุ งเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
ปรเมษฐ์ ปัญญาเหล็ก, มหาวิทยาลัยศรี ปทุม. (2553). ป ิบัติการฟิ สิ กส์ 1. กรุ งเทพฯ: โรง
พิมพ์มหาวิทยาลัยศรี ปทุม.
สมพงษ์ ใจดี. (2541). ฟิ สิ กส์ มหาวิทยาลัย 1. กรุ งเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุ ชาติ สุ าพ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2558). ฟิ สิ กส์ ทวั่ ป. กรุ งเทพฯ:
สานักพิมพ์ทริ ปเพิล้ เอ็ดดูเคชัน่ .
อนุกรรมการปรับปรุ งหลักสู ตรวิทยาศาสตร์ ( 2543). ฟิ สิ กส์ เล่ม 1. กรุ งเทพฯ. สมาคมวิทยาศาสตร์
แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัม ์
สุ มาลี เทียนทองดี. (2561). การสอนฟิ สิ กส์ แบบเพียร์ . กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยราช ฏั
สวนสุ นนั ทา.
Fraser, G. (2006). The New Physics for the Twenty-First Century. Cambridge:
Cambridge University Press.
Giambattista, A., Richardson, B.M., and Richardson, R.C. (2007). College Physics 2nd
ed. Boston: Mc Graw Hill.
Serway, R. A., and Jewett, J. W. (2014). Physics for Scientists and Engineers with
Modern Physics 9th ed. Belmont: Brooks/Cole-Thomson Learning.
Serway, R.A., Vuille, C., and Hughes, J. (2015). College Physics 10th ed. Stamford: Cengage
Learning.
Thornton, T.S., and Rex, A. (2013). Modern Physics for Scientists and Engineers 4th ed.
Boston: Brooks/Cole- Cengage Learning.
Young, H.D., and Freedman, R.A. (2016). Sear’s & Zemansky’s University Physics
with Modern Physics 14th ed. Essex: Pearson Education Limited.

You might also like