You are on page 1of 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง ความเป็นกรดเป็นด่าง

หัวข้อเรื่อง
ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)

สาระสำคัญ
ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) การวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง เครื่องมือและอุปกรณ์ วิธีการวัดค่าความ
เป็นกรดเป็นด่าง ระดับของค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

วัตถุประสงค์ เพื่อให้
1. นักศึกษาทราบถึงความสำคัญของค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. นักศึกษาทราบถึงหลักการและวิธีการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
3. นักศึกษาสามารถวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างได้อย่างถูกต้องตามหลักการและวิธีการ
4. นักศึกษาสามารถแปรความหมายและปรับปรุงคุณภาพน้ำได้ตามหลักและวิธีการ

เนื้อหา
1.1 ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
ความเป็นกรดเป็นด่าง หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่า “พีเอช” เป็นหน่วยวัดที่แสดงให้ทราบว่าน้ำ หรือ
สารละลายนั้นมีคุณสมบัติเป็นกรด หรือด่าง ค่าที่แสดงไว้คือปริมาณความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนที่มีอยู่ในน้ำ
หรือสารละลาย ระดับความเป็นกรดเป็นด่างที่มีค่าอยู่ระหว่าง 1-14 ซึ่งค่ากึ่งกลาง “7” แสดงถึงความเป็นกลาง
ของสารละลายนั้น หากว่าค่า พีเอชน้อยกว่า 7 แสดงว่าสารละลายนั้นมีสภาพเป็นกรด และถ้าค่าพีเอช
มากกว่า 7 ก็แสดงว่าสารละลายนั้นมีสภาพเป็นด่าง
แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป มีค่าพีเอช ระหว่าง 5 – 9 ซึ่งความแตกต่างนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของภูมิ
ประเทศ และสภาพแวดล้อมหลายประการ เช่น ลักษณะพื้นดิน และหิน ปริมาณน้ำฝน ตลอดจนการใช้ประโยชน์
ที่ดิน ปกติพบอยู่เสมอว่าระดับพีเอช ของน้ำผันแปรไปตามคุณสมบัติของดิน ดังนั้นในบริเวณที่ดินมีสภาพเป็นกรด
ก็จะทำให้น้ำมีสภาพเป็นกรดตามไปด้วย นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตทั้งในดินและน้ำ เช่น จุลินทรีย์และแพลงตอนพืช
สามารถทำให้ค่าพีเอช ของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดเป็นด่าง มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของ
สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ อุทร ฤทธิลึก (2553) กล่าวถึง ช่วงพีเอชที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไว้ดังนี้
ต่ำกว่า 4.0 เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ มีผลให้ปลาตายได้
4.0 – 6.5 ปลาบางชนิดทนอยู่ได้ แต่ให้ผลผลิตต่ำ มีการเจริญเติบโตช้า การสืบพันธุ์หยุดชะงัก
6.5 – 9.0 เป็นช่วงที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

9.0 – 11.0 ไม่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิต หากปรากฎว่าสัตว์น้ำต้องอาศัยอยู่เป็นเวลานาน


จะให้ผลผลิตต่ำ
สูงกว่า 11.0 เป็นพิษต่อปลา
ในแหล่งน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอช ในช่วงกลางวัน และกลางคืน เนื่องจากแพลงตอนพืช
และพืชน้ำ ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในขบวนการสังเคราะห์แสงตอนกลางวัน ทำให้ค่าพีเอช สูงขึ้น และค่อย ๆ ลดลง
ตอนกลางคืน เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมาจากระบบการหายใจของสิ่งมีชีวิตในน้ำ น้ำที่มีค่าความ
เป็นด่าง (Alkalinity) ต่ำ และมีปริมาณแพลงตอนพืชมาก จะมีค่าพีเอชสูงถึง 9 - 10 ในตอนบ่าย แต่ถ้าน้ำมีค่า
ความเป็นด่างสูง การเปลี่ยนแปลงพีเอชมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงค่าพีเอช แม้จะอยู่ในช่วงที่สูง
มาก หากเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ นับว่ายังไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ แหล่งน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของ
สัตว์น้ำ ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงของพีเอชเกินกว่า 2 หน่วยในรอบวัน
1.2 การวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
การวั ด ค่ า ความเป็ น กรดเป็ น ด่ า ง (pH) สามารถทำได้ 2 วิ ธ ี คื อ วิ ธ ี เ ที ย บสี (Colorimetric
Method) และวิธีไฟฟ้า (Electrometric Method)
1.2.1 วิธีการเทียบสี (Colorimetric Method)
การวัดพีเอชโดยการเทียบสีเป็นวิธีที่ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับน้ำสะอาด
น้ำไม่มีสีหรือไม่มีความขุ่นหรือตะกอนแขวนลอย เป็นต้น
หลักการเทียบสี คือการเปรียบเทียบสีของตัวอย่างน้ำกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าพีเอช
เมื่อใส่อินดิเคเตอร์จำนวนเท่ ากันลงในสารละลายทั้ง 2 ในทางปฏิบัติที่นิยมกันอีกแบบคือ ใช้กระดาษวัดพีเอช
สีที่เกิดขึ้นจะนำมาเปรียบเทียบกับแถบสีต่าง ๆ ที่รู้ค่าพีเอช ค่าที่วัดได้จากกระดาษวัดพีเอชมักไม่ถูกต้องและ
ละเอียดเพียงพอจึงนิยมใช้ในการทดสอบในเบื้องต้นเท่านั้น
การใช้ช ุดทดสอบความเป็นกรดเป็นด่าง (pH Test) หรือ test kit เป็นชุดทดสอบสำเร็จรูป
ที่ใช้งานได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว มีความแม่นยำในระดับหนึ่ง ในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
มีวิธีการวัดดังนี้
1. ใส่น้ำตัวอย่างลงในหลอดทดลอง 5 มิลลิลิตร
2. หยดสารละลาย จำนวน 2 หยด พลิกไปมา 3 ครั้ง
3. นำมาเทียบสีกับแผ่นเทียบสี ดังภาพที่ 3.1

ภาพที่ 3.1 ชุดทดสอบความเป็นกรดเป็นด่าง ( pH Test)


ที่มา: เทิดพันธุ์ นิ่มสกล (2565)

1.2.2 วิธีไฟฟ้า (Electrometric Method)


1) หลักการวัดพีเอช คือการวัดสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของสารละลายที่มีน้ำเป็นตัว
ทำละลาย (Aqueous Solution) โดยวัดความต่างศักย์ (Potential) ที่เกิดขึ้นระหว่างอิเล็กโทรดอ้างอิง
(Reference Electrode) กับอิเล็กโทรดตรวจวัด (Sensing Electrode) ค่าความต่างศักย์ที่เกิดขึ้นจากจำนวนของ
ไฮโดรเจนอิออน (H+) อิเล็คโทรดจะเปลี่ยนความต่างศักย์ที่เกิดจากอิออน (Ionic Potential) ให้เป็นค่า ความต่าง
ศักย์ไฟฟ้า (Electronic Potential) และขยายให้มีความต่างศักย์สูงขึ้นด้วยเครื่องวัดพีเอช (Potentiometer)
2) เครื่องมือและอุกรณ์ เครื่องวัดพีเอช (pH Meter) เป็นเครื่องมือทางไฟฟ้าที่ใช้ว ัดพีเอช
ของสารละลายโดยหลักการวัดค่าความต่างศักย์ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ อิเล็คโทรด และตัวเครื่อง
1. อิเล็กโทรด ทำหน้าที่ภาคตรวจรับ ในปัจจุบันเป็นอิเล็กโทรดรวม (Combined
Electrode) ซึ่งออกแบบไว้ให้สะดวกในการโดยรวมอิเล็กโทรดอ้างอิงและอิเล็กโทรดตรวจวัดมาอยู่ด้วยกัน
อิเล็กโทรดตรวจวัดทำจากแก้วพิเศษที่ยอมให้ไฮโดรเจนอิออนผ่าน ส่วนใหญ่ออกแบบเป็นรูปกระเปาะภายในบรรจุ
บัฟเฟอร์เอาไว้ อิเล็กโทรดอ้างอิงทำหน้าที่ให้ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่ขั้วตรวจวัดเกิดครบวงจรโดย KCI ชนิด
อิ่มตัวที่อยู่ในอิเล็กโทรดอ้างอิงซึมผ่านมาเป็น salt bridge เชื่อมกับอิเล็กโทรดวัด
2. ตัวเครื่อง (Potentiometer) ทำหน้าที่ 3 ประการคือ
2.1 ปรับความต่าศักย์ให้กับอิเล็กโทรดอ้างอิงให้มีค่าต่างศักย์เป็นศูนย์
2.2 แปลสัญญาณจากความต่างศักย์ของอิออนของิเล็กโทรดให้เป็นค่าต่าง
ศักย์ทางไฟฟ้า
2.3 ขยายสัญญาณของความต่างศักย์ทางไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้นอย่างเพียงพอ
ให้เข้มหรือตัวเลขอสดงออกทางมิเตอร์

ภาพที่ 3.2 พีเอชมีเตอร์


ที่มา : https://www.ponpe.com/ph-meter.html
การวัดพีเอช ในปัจจุบันสามารถวัดได้ทั้งในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ pH meter
แบบปากกา ที่มีการใช้งานง่าย สะดวกแก่การพกพา และค่าที่อ่านได้มีความเที่ยงตรง แต่การใช้ pH meter ควร
มีการสอบเทียบค่า pH (Calibrate pH meter) ด้วยสารละลาย บัฟเฟอร์ ที่มีความเข้มข้นมาตรฐาน 4.01 หรือ
7.01 (ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละรุ่น) ก่อนทำการวัดค่า เพื่อให้ได้ค่าที่มีความเที่ยงตรง เนื่องจากอิเล็กโทรด จะ
เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เนื่องจากของเหลวในอิเล็กโทรดยิ่งเสื่อมลงไปเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน

ภาพที่ 3.3 การวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ด้วย pH meter แบบปากกา


ที่มา : เทิดพันธุ์ นิ่มสกล (2565)

You might also like