You are on page 1of 27

เรื่องการตรวจวัดวิตามินซีในน้ำผลไม้

อย่างง่ายด้วยเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า
ที่มาและความสำคัญ
การตรวจวัดวิตามินซีนั้นมีหลากหลายวิธี แต่ก็จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ
ที่มีราคาสูงและต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวัด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำขั้วไฟ
ฟ้ากลาสสิคาร์บอนแบบเปลือย มาทำการตรวจวัดวิตามินซีด้วยเทคนิคแอม
เพอโรเมตรี ซึ่งเป็นการตรวจวัดที่ง่ายและมีต้นทุนในการวิเคราะห์ต่ำ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการตรวจวัดวิตามินซีอย่างง่ายที่สามารถนำไปประยุกต์ตรวจวัด
ได้จริง
เพื่อศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตรี
สมมติฐาน
การตรวจวัดวิตามินซีด้วยเทคนิคแอมเพอโรเมตรีบนขั้วไฟฟ้า
กลาสสิคาร์บอนสามารถตรวจวัดได้รวดเร็ว และสามารถประยุกต์ใน
การตรวจวัดวิตามินซีในน้ำผลไม้ได้จริง
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น : วิตตามินซีในน้ำผลไม้
ตัวแปรตาม : เทคนิคแอมเพอโรเมตรีบนขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอน
ตัวแปรควบคุม : ชนิดของผลไม้, ปริมาณน้ำ
วิธีการวิจัย (ขั้นตอนการทำ)
สารเคมีที่ใช้ในการ

27.4%
น้ำปราศจากไอออน ทดลอง
2.4%
กรดฟอสฟอริก
11.9%
วิตามินซี
27.4%

วิตามินซี
ไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต
11.9% กรดแอล-แอสคอร์บิก หรือ แอสคอร์เบต เป็นวิตามินที่พบใน
อาหารและอาหารเสริมต่าง ๆ ใช้ป้องกันและรักษาโรคลักปิด
ลักเปิด เป็นสารอาหารจำเป็นที่ใช้ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและผลิต

46.4%
สารสื่อประสาทบางอย่างโดยอาศัยเอนไซม์

โซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต ไดโฮเดรต
เป็นสารอิมัลซิฟายเออร์ และบัฟเฟอร์ในอาหาร,สี
ย้อม,ผ้าไหม,การวิเคราะห์ทางเคมี,ในอุตสาหกรรมการ
โซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต ไดโฮเดรต เคลือบเงา เซรามิกซ์ สารลดแรงตึงผิว
46.4%
เครื่องมือและอุปกรณ์

เครื่อง DY2013 POTENTIOSTAT เครื่องกวนสารด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า


- ขั้วไฟฟ้าทำงานกลาสสิคาร์บอน
ระบบขั้วไฟฟ้า 3ขั้ว - ขั้วไฟฟ้าอ้างอิงเป็นซิลเวอร์/ซิลเวอร์คลอไรด์
- ขั้วไฟฟ้าช่วยเป็นสแตนเลสสตีล
ตรวจวัดด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตรี
เติมสารละลายมาตรฐานวิตามินซีความเข้ม
ข้น 0.57 มิลลิโมลาร์ ละลายในสารละลายความ
เข้มข้น 0.1 โมลาร์ของฟอสเฟตบัฟเฟอร์pH
ตั้งแต่ pH 4–pH 8 ปริมาณ 5 มิลลิลิตร ลงใน
เซลล์ทางเคมีไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วยระบบขั้ว
ไฟฟ้า 3 ขั้วไฟฟ้า
การหาค่าศักย์ไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อการตรวจวัดวิตามินซีด้วย
เทคนิคแอมเพอโรเมตรี
ทำการหาค่าศักย์ไฟฟ้าโดยใช้สารละลายอิเล็กโตรไลต์ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์
ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 6.0 ปริมาตร 5 มิลลิลิตร เติมลงในเซลล์เคมีไฟฟ้าที่มีระบบ
ขั้วไฟฟ้า 3 ขั้วไฟฟ้า
ตั้งค่าศักย์ไฟฟ้าการตรวจวัดของขั้วไฟฟ้าทำงาน 0.25 0.35 0.40 0.45 0.50 และ
0.60 โวลต์ตามลำดับ โดยสารละลายจะถูกกวนตลอดเวลาของการตรวจวัดวิตามินซี
เมื่อสัญญาณ เบสไลน์(baseline) นิ่งที่เวลา 400 วินาที เติมสารมาตรฐานวิตามินซี
ปริมาตร 20 ไมโครลิตร ลงในเซลล์เคมีไฟฟ้า ด้วยไมโครปิเปต ดังภาพที่ 2 และเติมอีก 2
ครั้ง ที่เวลา 500 วินาที และ 600 วินาที หยุดการตรวจวัดที่เวลา 700 วินาที ทำการวัด
ความสูงของกระแสไฟฟ้าเมื่อกระแสนิ่งในแต่ละขั้น
หาค่าเฉลี่ยของความสูงของกระแสของแต่ลศักย์ไฟฟ้าของการตรวจวัด
วิตามินซีด้วยเทคนิคแอมเพอโรเมตรี
การศึกษาช่วงของความสัมพันธ์ที่เป็นเส้นตรงตรวจวัดวิตามินซี
ด้วยเทคนิคแอมเพอโรเมตรี
ตั้งค่าศักย์ไฟฟ้าทำงานเท่ากับ 0.5 โวลต์โดยใช้สารละลายอิเล็กโตรไลต์ความเข้มข้น 0.1 โม
ลาร์ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 6.0 ปริมาณ 5 มิลลิลิตร ตลอดการทดลองสารละลายจะถูกกวน เมื่อ
สัญญาณเบสไลน์นิ่งที่เวลา 400 วินาที จะทำการเติมสารมาตรฐานวิตามินซีปริมาณ 5 ไมโครลิตร
และเติมครั้งถัดไปทุก 100วินาที อีก 4 ครั้งเติมปริมาตร 10 ไมโครลิตร ต่อทุก 100วินาที จำนวน
5 ครั้ง และเติมปริมาตร 20 ไมโครลิตร ทุก 100 วินาที จนถึงจุดที่ความสูงของกระแส คงที่จึงหยุด
เติมสารละลายมาตรฐานวิตามินซี
การหาขีดจำกัดในการตรวจวัด และขีดจำกัดใน
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เติมสารละลายอิเล็กโตรไลต์ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 6.0 อิ
เล็กโตรไลต์ปริมาตร 5 มิลลิโมลาร์ใส่ในเซลล์เคมีไฟฟ้าระบบ 3 ขั้วไฟฟ้า
ตรวจวัดด้วยเทคนิคแอมเพอโรเมตรี ที่ 0.5 โวลต์สารละลายจะถูกกวนตลอดการตรวจ
วัด เมื่อสัญญาณเบสไลน์นิ่งที่เวลา 300 วินาที เติมสารละลายอิเล็กโตรไลต์ความเข้มข้น
0.1 โมลาร์ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 6.0 ปริมาตร 10 มิลลิลิตร (สารละลายแบลงค์) และครั้ง
ถัดไปทุก 100 วินาที อีกจำนวน 9 ครั้ง
จากนั้นวัดความสูงของกระแสสัญญาณแบลงค์ และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
สัญญาณกระแส และนำ 3 เท่าของ SD แทนค่า y ในสมการเส้นตรงของช่วงความ
สัมพันธ์ที่เป็นเส้นตรงของการตรวจวัดวิตามินซี เพื่อคำนวณหาค่าขีดจำกัดการตรวจวัด
การเตรียมตัวอย่างและการตรวจวัดวิตามินซีในตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ น้ำมะนาวสดคั้นจากผลมะนาวสด และน้ำส้มบรรจุกล่อง 100%
ตรวจวัดวิตามินซีในตัวอย่างโดยเติมสารละลายอิเล็กโตรไลต์ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์
ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 6.0 ที่เป็นเส้นตรงของการตรวจวัดวิตามินซี เพื่อคำนวณหาค่าขีดจำกัด
การตรวจวัดปริมาตร 5 มิลลิลิตร ลงในเซลล์เคมีไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วย 3 ขั้วไฟฟ้า ตั้งค่า
ศักย์ไฟฟ้าที่ขั้วไฟฟ้ทำงานเท่ากับ 0.5 โวลต์ตลอดการทดลองกวนสารละลายตลอดเวลา
เมื่อสัญญาณเบสไลน์นิ่งที่เวลา 400 วินาที เติมน้ำผลไม้ที่เตรียมไว้ปริมาณ 50 ไมโครลิตร
จากนั้นเติมสารละลายมาตรฐาน วิตามินซีความเข้มข้น 10 มิลลิโมลาร์ปริมาตร 10 ไมโครลิตร
จำนวน 3 ครั้ง ทุกๆ 100 วินาที

(ทำซ้ำอีกจำนวน 2 ซ้ำต่อตัวอย่าง)
ผลการวิจัย
1. การตรวจวัดด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตรีเพื่อศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยาทาง
เคมีไฟฟ้า และ pH ของสารละลายอิเล็กโตรไลต์ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ที่เหมาะสมต่อการ
ตรวจวัดวิตามินซี
ผลการวิจัย
2. การหาค่าศักย์ไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อการตรวจวัดวิตามินซีด้วยเทคนิคแอ
มเพอโรเมตรี
ผลการวิจัย
3. การศึกษาช่วงของความสัมพันธ์ที่เป็นเส้นตรงของการตรวจวัดวิตามิน
ซีด้วยเทคนิคแอมเพอโรเมตรี
ผลการวิจัย

4. การหาขีดจำกัดในการตรวจวัด (Limit of detection; LOD) และขีด


จำกัดในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Limit of quantitative; LOQ)
ผลการวิจัย
5. การตรวจวัดวิตามินซีในตัวอย่าง
อภิปรายผลการวิจัย
ในงานวิจัยได้ทำการตรวจวัดวิตามินซีด้วยขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอน ซึ่งวิธี
การตรวจวัดง่าย และไม่ยุ่งยากในการประยุกต์ตรวจวัดในตัวอย่างน้ำผลไม้ โดย
สภาวะที่เหมาะสมในการตรวจวัด จะใช้สารละลายอิเล็กโตรไลต์ฟอสเฟตบัฟเฟอร์
pH ที่ใช้ในการตรวจวัดให้ผลของกระแสในการตรวจวัดสูงสุด คือ pH 6.0 ตรงกับ
งานวิจัยของ Razmi & Bahadori (Razmi & Bahadori, 2021) ซึ่งใช้เทคนิค
เคมีไฟฟ้าในการตรวจวัดวิตามินซีเช่นเดียวกัน
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการตรวจวัดวิตามินซีอย่างง่ายด้วยเทคนิคแอมเพอโรเมตรีตรวจวัด
ทางเคมีไฟฟ้าที่ศักย์ไฟฟ้า 0.5 โวลต์มีขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอนเป็นขั้วไฟฟ้าทำงาน
สามารถตรวจวัดได้ในช่วงของความสัมพันธ์ที่เป็นเส้นตรงอยู่ในช่วง 10-266 ไมโครโม
ลาร์ด้วยความไวในการตรวจวัด 4.78 ไมโครแอมแปร์ต่อมิลลิโมลาร์ และสามารถ
ประยุกต์ตรวจวัดวิตามินซีได้ในตัวอย่างน้ำผลไม้
ข้อเสนอแนะ
จากงานวิจัยพบว่ายังสามารถตรวจวัดวิตามินซีตัวอย่างที่เป็นน้ำผลไม้ได้ดี
แนวทางในการพัฒนาการตรวจวัดตัวอย่างควรนำตัวอย่างชนิดอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ใน
การตรวจวิตามินซีต่อไป
สมาชิกในกลุ่ม
1. น.ส.กัญญาวีร์ วิเชียร เลขที่ 5
2. น.ส.สุทิมา สุขขี เลขที่ 10
3. น.ส.นัทธชนันท์ ดีหนองเป็ด เลขที่ 13
4. น.ส.นันทวัน ศักดิ์ภู่ เลขที่ 14
5. น.ส.ธนิสร หิรัญคำ เลขที่ 17
6. น.ส.ปราณฑิญาน์ ชำนาญพล เลขที่ 18
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2
Thank You!

You might also like