You are on page 1of 4

บทนำ

การสกัดดีเอ็นเอจากเนื้อเยื่อพืช
การสกัดดีเอ็นเอจากพืชโดยการใช้เนื้อเยื่อพืชที่ให้ปริมาณดีเอ็นเอดีที่ ดีคือ การสกัดจากใบสดของพืช ใน
ระยะใบที่กําลังเจริญเติบโตจะมีปริมาณดีเอ็นเอมากที่สุด ส่วนใบอ่อนมากจะมีปริมาณดีเอ็นเอนน้อยเกินไป และที่
ใบแก่จ ะมี ป ริม าณดีเอ็น เอที่มีคุณ ภาพต่ ำ เนื่องจากมีการปนเปื้ อนของสารบางชนิด ที่ พืช สั งเคราะห์ ขึ้น ซึ่งการ
ปนเปื้อนของสารเหล่านี้ นอกจากทำให้ความเข้มข้นและคุณภาพของดีเอ็นเอลดลง ยังขัดขวางการทำปฏิกิริยาของ
เอนไซม์ต่าง ๆ ต่อดีเอ็นเอ

หลักการสกัดดีเอ็นเอ
หลักการสกัดดีเอ็นเอประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. การทำให้เซลล์แตก ทำได้โดยการใช้สารจำพวก detergent เช่น sodium dodecyl sulfate (SDS) เพื่อ
ทำใหเผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ และเยื้อหุ้มนิวเคลียแตกออก
2. การย่ อ ยโปรตี น และอาร์ เอ็ น เอ ทำได้ โ ดยการใช้ protease และ RNase จากนั้ น จึ ง ใช้ ฟี น อลหรื อ
คลอโรฟอร์มในการตกตะกอนโปรตีน
3. การตกตะกอนดีเอ็นเอ ทำได้โดยการใช้ 70% isopropanol หรือ absolute athanal แช่เย็น จากนั้นทำ
การละลายดีเอ็นเอด้วย TE buffer และเก็บดีเอ็นเอไว้ที่ -20 องศาเซลเซียส

ปัญหาที่พบในการสกัดดีเอ็นเอ
1. ดีเอ็นเออาจถูกย่อยสลายด้วย nuclease ที่อยู่ภายในเซลล์พืช
2. การปนเปื้อนของพอลิแซคคาไรด์
3. ฟีนอลอาจทำลายโมเลกุลของดีเอ็นเอ และขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ตัดจำเพาะ

การตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของดีเอ็นเอ
1. วิธีวัดค่าการดูดกลืนแสง อาศัยหลักการที่บริเวณไนโตรจีนัสเบสสามารถดูดกลืนแสงช่วงอัลตาไวโอเลตได้ดี
ในช่วงความยาวคลื่น 260 นาโนเมตร ซึ่งใช้ในการหาปริมาณดีเอ็นเอและวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ได้
2. วิธีอิเล็กโตรริซิส อาศํยหลักการที่หมู่ฟอสเฟตมีประจุเป็นลบ สามารถเคลื่อนที่ภายใต้สนามไฟฟ้าได้ สารที่
มีป ระจุ ที่แตกต่างกัน จะเคลื่ อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน ซึ่งอัตราการเคลื่ อนที่ยังขึ้นอยู่กับขนาด
รูปร่างโมเลกุล แรงเคลื่อนไฟฟ้าและตัวกลางที่ใช้ โดยตัวกลางที่นิยมใช้ คือ วุ้นอะกาโรส (agarose gel)
และสามารถย้อมสีด้วยสารเรืองแสงอุตตร้าไวโอเลต เช่น เอธิเดียมโบรไมด์ (ethidium bromide) ซึ่งใน
ปัจจุบันนิยมใช้ SYBR Safe และ Gel Star เป็นต้น
รูปที่ 1 การตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของดีเอ็นเอด้วยวิธีอิเล็กโตรโฟริซิส
แหล่งที่มา: https://cz.onlinecheap.ru/category?name=protein%20gel%20electrophoresis

เครื่องหมายทางพันธุกรรม
เครื่องหมายทางพันธุกรรม คือ ลักษณะหรือตัวบ่งชี้ที่มีความเฉพาะเจาะจง สามารถนำมาใช้แยกความ
แตกต่างทางพันธุกรรม และสามารถถ่ายทอดลักษณะนั้นๆไปยังรุ่นลูกได้ เครื่องหมายทางพันธุกรรมที่มีการใช้กัน
มากในงานปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์ แ ละการศึ ก ษาความหลากหลายทางพั น ธุ ก รรม ได้ แ ก่ morphological markers,
biological marker และ molecular marker และในปั จ จุ บั น มี ก ารพั ฒ นา molecular marker หรื อ DNA
Markers ซึ่ ง เป็ น เครื่ อ งหมายโมเลกุ ล ที่ ใ ช้ บ่ ง บอกความแตกต่ า งของสิ่ ง มี ชี วิ ต ในระดั บ ดี เอ็ น เอ (กลุ่ ม วิ จั ย
เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร, สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ, กรมวิชาการเกษตร, 2563)

รูปที่ 2 VC 1kb DNA Ladder


แหล่งที่มา:
https://www.vivantechnologies.com/index.php?option=com_content&view=article&id=896:vc-
1kb-dna-ladder&catid=31:dna-ladders-a-markers&Itemid=46
ตัวอย่างการสกัดดีเอ็นเอจากพืชชนิดอืน่ ๆ
Jeeraporn et al. (2021) ได้ทำการสกัดดีเอ็นเอจากมันสำปะหลังเพื่อทำการเปรียบเทียบวิธีที่ประหยัด
รวดเร็ว และปลอดภัย ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธี SDS/NaCl + PVP, วิธี SDS/NaCl และ วิธี CTAB
พบว่า การสกัดด้วยวิธี CTAB มีการใช้สารละลายอินทรีย์ที่เป็นอันตราย และมีหลายขั้นตอนจึงใช้เวลาในการสกัด
นาน ส่วนวิธี SDS/NaCl + PVP เป็นวิธีที่พัฒนามาจากวิธี SDS/NaCl ซึ่งให้ผลลัพธ์ดี เป็นวิธีที่ประหยัด ปลอดภัย
เนื่องจากไม่ต้องใช้ไนโตรเจนเหลว และเหมาะกสำหรับการวิเคราะห์ระดับโมเลกุล ดีเอ็นเอที่สกัดได้มีความบริสุทธิ์
แถบดีเอ็นเอคมชัดสมบรูณ์เมื่อทดสอบด้วยวิธีอิเล็กโตรโฟริซิส
วันชัย เย็นเพชร และคณะ (2553) ได้ทำการสกัดดีเอ็นเอจากใบสดของข้าวโพดในระยะที่ยังไม่เจริญเต็มที่
โดยใช้สารละลาย CTAB เพื่อช่วยในการบดตัวอย่าง จากนั้นทำการสกัดตามขั้นตอน พบว่า ตะกอนของดีเอ็นเอมีสี
ขาว เมื่อตากดีเอ็น เอให้ แห้ งและลายละด้วย TE buffer และนำไปตรวจวัดค่าการดูดกลืนแสง พบว่า ดีเอ็นเอมี
อัตราส่วน A260/A280 1.58-1.92 ซึ่งดีเอ็นเอที่สกัดได้นั้นมีความบริสุทธิ์ และมีปริมาณดีเอ็นเออยู่ในช่วง 55-150 นา
โนกรัมต่อไมโครลิตร เมื่อนำไปตรวจปริมาณด้วยวิธีอิเล็กโตรโฟริซิส พบว่าดีเอ็นเอมีขนาด 200 bp และ 220 bp
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร, สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ, กรมวิชาการเกษตร. (2563). การ
พัฒนาเทคนิคการตรวจสอบดีเอ็นเอพืชอย่างรวดเร็ว. [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]
https://www.doa.go.th/biotech/wp-content/uploads/2020/09/KM.pdf
วันชัย เย็นเพชร, ชบา จำปาทอง, & ศานนท์ สุขสถาน. (2553). การสกัดดีเอ็นเอจากข้าวโพดในระดับเล็กสำหรับ
ทำพีซีอาร์. การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการวิจัยแม่บทข้าวโพดและข้าวฟ่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ครั้งที่ 4: เรื่องการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดและข้าวฟ่างเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Kansup, J., Kumchoo. T., Chanroj. V., Ngorian. S., & Amawan. S., Wongtiem. P. (2021). A Rapid,
Economical and Hazardous Organic Solvent Free Method for DNA Extraction from
Cassava. Thai Agricultural Research Journal, 39(2), 189-201.
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2021.16

You might also like