You are on page 1of 2

สภาพการเหตุการณ์ก่อน 6 ตุลาคม 2519

สภาพทางการเมืองไทยก่อน 6 ตุลาคม 2519 นับเป็นสภาพการณ์ที่กล่าวได้ว่า ความตึงเครียดทางการ


เมืองอันเกิดจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสุดขั้ว คือขวาจัดและซ้ายจัด ถึงจุดสูงสุด ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
และอำานาจทางการเมืองของผู้นำาทางการเมือง และผู้นำาทางทหารก็อยู่ในลักษณะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนัก
วิชาการโดยเฉพาะนักรัฐศาสตร์สามารถคาดการณ์ได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยคงอยู่ได้ไม่นาน การยึดอำานาจโดย
ทหารคงจะเกิดขึ้นเป็นแต่ระจังหวะและหาความชอบธรรมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะยังมีมวลชนที่จับกลุ่มและจัดตั้ง โดย
เฉพาะศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทีจ่ ะเป็นตัวค้านการยึดอำานาจ
ถ้ามองดูเหตุการณ์ก่อน 6 ตุลาคม 2519 ซึง่ เต็มไปด้วยการเรียกร้องทางการเมืองและความขัดแย้งต่างๆ
ทั้งในแง่ผลประโยชน์และอุดมการณ์ แต่ก็ไม่สามารถหาข้อยุติลงได้ในระบบที่เป็นอยู่ ก็จะพบว่าสภาวะอันนี้
สอดคล้องกับทฤษฎีการพัฒนาการเมืองและความผุกร่อนทางการเมือง (political development and
political decay) ของ ซามูเอล ฮันติงตัน ทีว่ ่า ถ้าอัตราการจำาเริญทางการเมืองมีสูง(political
modernization) มีสูง กล่าวคือความตื่นตัวทางการเมือง ซึ่งออกมาในแง่ของการแสดงออกและการเรียกร้อง
ทางการเมือง แต่ระดับการพัฒนาการเมือง (political development) ซึ่งได้แก่การจัดตั้งสถาบันการเมืองขึ้น
มาจัดระเบียบการมีส่วนร่วมหรือความจำาเริญทางการเมืองดังกล่าวมีตำ่า นำาไปสู่ความผุกร่อนทางการเมือง ซึ่ง
ได้แก่ความวุ่นวายและล้มของระบบ

ความจำาเริญทางการเมือง + + ความผุกร่อน

การพัฒนาการเมือง - - ความวุ่นวายทางการเมือง
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ความนำา
6 ตุลาคม 2519 เป็นจุดดำาทางประวัติศาสตร์ไทย เพราะเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง โหดเหี้ยม ทารุณ มีการ
แขวนคอ ทำาทารุณกรรมศพ เผาศพหรือคนที่ตายไม่สนิทในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะอธิบายด้วยเหตุผลกลโดก็ตาม ก็
ไม่สามารจะหลีกเลี่ยงสัจธรรมได้ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม เป็นเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลด น่าสังเวช และไม่ควรจะ
ให้เกิดขึ้นอีก คนไทยต้องฆ่ากันเอง ลักษณะการทารุณผิดมนุษย์ ความเสียหายทีเกิดขึ้นในแง่ชีวิตและเลือดเนื้อ
เป็นสิ่งที่มากมายอยู่แล้ว แต่ความเสียหายทางขวัญและกำาลังใจ โดยเฉพาะทางจิตวิทยาของคนไทยจำานวนมากนั้น
คำานวณออกมาด้วยตัวเลขไม่ได้เลย วิธีที่ดีที่สุด คือ การถือเอา 6 ตุลาคม 2519 เป็นบทเรียนอันแพงลิ่วของ
ประชาชนไทย และทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาอีก
สาเหตุของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
มองจากโครงสร้าง
1.ระบบพ่อขุนของจอมพลสฤษดิ์
2.การคุกคามจากพลังฝ่ายซ้าย
3.การแตกแยกของคนในชาติ
เหตุผลดังกล่าวมาเบื้องต้นจะเป็นความจริงหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำาคัญ จุดสำาคัญอยู่ที่ว่าผู้นำา
การเมืองไทย มีความรู้สึกเช่นนั้น ดังนั้น จึงต้องรีบทำาการโดนด่วนเมื่อโอกาสอำานวย
สภาพเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เริม่ ต้นมาจากการเข้าประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งบวชเป็นเณร
มาจากสิงคโปร์ เพื่อเข้ามาบวชพระที่วัดในกรุงเทพฯ ก่อนหน้านั้นจอมพลประภาสก็ได้พยายามเข้ามา แต่ถูกนิสิต
นักศึกษาและประชาชนต่อต้านจึงทำาไม่สำาเร็จ ในกรณีของจอมพลถนอมนั้น นำาไปสู่การประท้วงของนิสิต
นักศึกษาและประชาชน ในการประท้วงนั้นได้มีการแสดงการแขวนคอ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีผู้ถูกจับต้องสงสัยว่ามี
การกระทำาผิดกฎหมายที่นครปฐมและถูกแขวนคอตายที่นครปฐม การแขวนคอที่ลานโพธิ์เป็นการล้อเลียน
ทางการเมือง ซึ่งแสดงให้เห็นความไม่มีขื่อมีแปของกฎหมาย แต่ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ภาพการแขวนคอล้อเลียน
นั้นมีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับภาพของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์หนึ่ง ซึง่ เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
อย่างอุกอาจ จึงได้เกิดการชุมนุมประท้วงของกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลสุดท้ายก็เกิด
เหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้มีการปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีการต่อสู้กัน
ด้วยอาวุธปืนจนเสียชีวินไปไม่น้อย การยึดอำานาจหรือการต่อสู้กันด้วยความรุนแรงทางการเมืองนั้น ย่อมจะนำาไป
สู่การเสียชีวิตและเลือดเนื้อแต่ที่ตระหนักและสังเวชใจ คือ วิธีการอันทารุณที่กระทำาต่อนิสิตนักศึกษาโดยการ
แขวนคอ การเผาโดยใช้ยางรถยนต์เป็นเชื้อ การรุมฆ่า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นจุดด่างดำาในประวัติศาสตร์ ซึ่งคนรุ่น
หลังต้องจดจำาเพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก
ในเย็นวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั่นเอง ก็ได้มีการยึดอำานาจทางการเมืองขึ้น นำาโดยพลเอกสงัด ชะลออยู่
เป็นหัวหน้า มีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2517 และมีการตั้งนายกรัฐมนตรีพลเรือนขึ้นมาบริหารประเทศ
คือ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นการสิ้นสุดระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ และเป็นการสิ้นสุดของ
รัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยการต่อสู้ของภาคประชาชนที่รวมตัวกันล้มระบบเผด็จการทหาร

You might also like