You are on page 1of 8

หน้ า 1

รายวิชา LW 012502 กฎหมายอาญา ภาคความผิด กลุ่มที่ 3

ชื่อ – นามสกุล นางสาวสุชาวดี ศรีเมือง รหัสประจำตัวนักศึกษา 623270365-2


ความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง (มาตรา 326-331)

หมิ่นประมาทผู้อื่น

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

มาตรา 326 มีหลักเกณฑ์คือ


1.ใส่ความ
ใส่ความ คือแสดงพฤติการณ์อันเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วหรือกำลังเกิดขึ้นอยู่ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงถึงความ
- ประพฤติเสื่อมเสียในทางประเวณี เช่น กล่าวหาเขาในทางชู้สาวว่าหญิงเป็นเมียน้อยชาย หรือคำด่าว่า “มึงเป็นเมียน้อย
สารวัตร อย่ามาทำใหญ่ให้กูเห็นนะ” ต่อหน้าบุคคลที่สาม หรือด่าว่า เป็นลูกอีกะหรี่ มีความหมายเข้าใจโดยทั่วไปว่าเป็นคนสำ
ส่อนทางเพศ หรืออาจใช้ถ้อยคำที่มีความหมายพิเศษที่ทำให้เข้าใจความหมายเป็นหมิ่นประมาทได้
- ประพฤติชั่วหรือทุจริตในหน้าทีก่ ารงาน เช่น กล่าวว่า คนขายชาติ หรือกล่าวว่า ผู้วา่ ราชการจังหวัดประพฤติอย่างคนไร้
ศีลธรรมมีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างฆ่านักข่าว ใช้อำนาจในทางที่ผิด
- ฐานะทางการเงินที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น กล่าวว่า ออกเช็คจ่ายเงิน 1 ล้านบาท ไม่มีเงินธนาคารงดจ่ายเงิน ทำให้เข้าใจว่าฐานะ
การเงินไม่น่าเชื่อถือ
ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม เป็นการพูดหาเหตุร้ายหรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
ข้อความที่ไม่เป็นหมิ่นประมาท ได้แก่ ข้อความที่ไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง เช่น กล่าวว่า “โจทก์ร่วมเป็นบุคคลวิกลจริต
ไม่สามารถทำงานได้ เป็นคนบ้าเหมือนหมาบ้า” เป็นถ้อยคำที่เลื่อนลอยไม่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง หรือใส่ความผู้อื่นว่าเป็น
“ผีปอบ” เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่เป็นหมิ่นประมาท
2. “ผู้อื่น”
จะต้องระบุได้ว่าใส่ความใคร หากไม่ระบุผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรงก็ต้องให้ได้ความว่าหมายถึงใครโดยเฉพาะซึ่งบุคคล
ทั่วไปนั้นทราบได้โดยไม่ต้องสืบเสาะหาเพิ่มเติม โดยผู้ที่ถูกใส่ความอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องเจาะจงตัวได้ว่ากล่าวถึงใคร หากไม่ระบุหรือยืนยันได้แน่นอน เช่น กล่าวว่า แพทย์ใจทราม
ในโรงพยาบาลศิริราชไม่รู้ว่าหมายถึงแพทย์คนใด ไม่เป็นหมิ่นประมาท
3.ต่อบุคคลที่สาม
มีบุคคลที่สมได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทนัน้ เช่น ส่งจดหมายหมิ่นประมาท น ให้ ส อ่านเอง
เมื่อ ส ทราบข้อความก็ครบองค์ประกอบ หรือหากมีการเขียนจดหมายหมิ่นประมาท ว แล้วส่งลงทะเบียนถึง ว โดยตรง แต่มี
คนอ่านจดหมายนั้นไม่เจตนาใส่ความ ว ต่อบุคคลที่ 3 เว้นแต่จะเล็งเห็นผลได้ว่าจะมีคนเปิดอ่านก่อน แต่หากจดหมายไม่ถึง
หรือคนอ่านไม่เข้าใจ ข้อความก็เป็นพยายามหมิ่นประมาทได้
หน้ า 2

4.ทำให้เสียชื่อเสียง
ข้อความที่น่าจะทำให้ผู้อนื่ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังนั้น ไม่ใช่ผลของการกระทำแต่เป็นพฤติการณ์แห่ง
การกระทำนั้นเอง จะเสียหายอย่างไร ศาลจะวินจิ ฉัยเอง

มาตรา 328 ถ้าความผิดหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ

มาตรา 328 มีหลักเกณฑ์คือ


1.การโฆษณา
คือการเผยแพร่ไปสู่ประชาชน เช่น ให้สัมภาษณ์ หรือเขียนบทความหมิ่นประมาทเขาทางหนังสือพิมพ์
2.การใช้แอปพลิเคชั่น LINE
เป็นการแจ้งข่าวเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเท่านั้นยังไม่ถึงกับกระจายข่าวไปสูส่ าธารณชน และหากเมื่อผิดหมิ่นประมาท
แล้วจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
3.การปิดประกาศโฆษณาหมิ่นประมาท
เป็นความผิดต่อเนื่องจนกว่าจะปลดออก อายุความร้องทุกข์นับตั้งแต่ปลดป้ายออก และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรา
328 แล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทตามมาตรา 326 อีก

หมิ่นประมาทผู้ตาย

มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนัน้ เป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตาย เสีย


ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง

มาตรา 327 มีหลักเกณฑ์คือ


1.ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สาม
2.และการใส่ความนั้นเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง

เหตุยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษ

มาตรา 329 แสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสีย ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลพึงควร


กระทำ

มาตรา 329 มีหลักเกณฑ์คือ


1.การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต คือเชื่อว่าเป็นความจริงแม้จะเข้าใจผิดก็ได้รับความคุ้มครอง หรือมีเหตุอันควรให้
เชื่อเช่นนั้น ดังนั้นการใส่ความโดยรู้อยู่วา่ เป็นเท็จ ไม่ใช่การแสดงความเห็นโดยสุจริต
2.ป้องกันตนหรือส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรม
เช่น มีเหตุประทัดระเบิดใกล้เวทีปราศัยของจำเลย มีคนบาดเจ็บ ทำให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้งด้วย ไม่ว่า
ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยเข้าใจหรือไม่ แต่มีเหตุให้จำเลยเชื่อว่าเป็นความจริง การแสดงความคิดเห็น หรือข้อความของ
หน้ า 3

จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต เพื่อแสดงว่าจำเลยรู้ว่าเป็นการกระทำของผู้ใด หรือกลุ่มใดอันเป็นการปรามไม่ให้เกิด


เหตุการณ์เช่นนี้อีก เป็นการป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรม ตามมาตรา 329(1)
หรือภริยาไม่จดทะเบียนของชายกล่าวกับหญิงที่มีความสัมพันธ์กับชายว่า “คุณเป็นข้าราชการจะแย่งผัวฉัน ดูซิว่าจะผิดไหม?”
เพราะหญิงนั้นมีความสัมพันธ์ทำนองชู้สาวกับชายจริง เป็นการกล่าวด้วยความหึงหวง โดยสุจริตโดยชอบธรรม เพื่อป้องกัน
ส่วนได้เสียตามคลองธรรมตามมาตรา 329(1) ไม่เป็นหมิ่นประมาท
3.แสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
เช่น ผู้ว่าการท่าอากาศยานตอบหนังสือของกองทัพอากาศว่า โจทก์ถูกปลดเพราะต้องหาว่าลักทรัพย์ เป็นการกระทำ
โดยสุจริตตามหน้าที่
4.ติชมด้วยความเป็นธรรม ตามวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ
การติชมด้วยความเป็นธรรม หมายถึง การติชมตามความรู้สึกของคนทั่วๆไปโดยสุจริต เช่นติชมการทำงานของ
องค์กรสาธารณะหรือนายอำเภอที่มีพฤติการณ์ไม่สุจริตตามความเข้าใจทั่วๆไป
เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งอื่นใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ดังนั้น หากความ
คิดเห็นหรือข้อความที่แสดงออกมาต้องด้วยสาระสำคัญของเหตุยกเว้นความผิดแล้ว ไม่ว่าผู้ใส่ความผู้อื่นจะแสดงความคิดเห็น
หรือข้อความด้วยวิธีการอย่างไร ก็เป็นสิทธิอนั ชอบธรรมที่จะกล่าวหรือแสดงความคิดเห็นหรือข้อความเช่นว่านัน้ ได้
เช่น ประชาชนย่อมมีสิทธิรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องแท้จริง การที่หนังสือพิมพ์เสนอข่าวไม่ใช่เป็นการสร้างเรื่องขึ้นเอง ในการ
ปกป้องทรัพยากรของชาติ เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมตามมาตรา 329(3) ไม่เข้าความผิด
ฐานหมิ่นประมาท
5.แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมในศาลหรือในการประชุม

มาตรา 330 พิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริได้และห้ามพิสูจน์เรื่องส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

มาตรา 330 มีหลักเกณฑ์คือ


1.ข้อที่ว่า ยิง่ จริงยิ่งหมิ่นประมาท หมายความว่า ยิ่งเป็นความจริง ยิ่งเสียหายมาก ดังนั้น หากไม่เกิดประโยชน์อะไรก็ไม่ควรให้
พิสูจน์
2.การห้ามพิสูจน์ความจริงนั้นกฎหมายใช้คำว่า “และ” ฉะนัน้ แม้เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้าการพิสูจน์จะเป็นประโยชน์แก่
ประชาชนก็สามารถพิสูจน์ความจริงได้ เช่น กล่าวว่า พระเข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา(เรื่องส่วนตัว) แต่ถ้าเป็นความจริงก็เป็น
ประโยชน์แก่ประชาชน
3.มาตรา 330 เป็นเรื่องพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงและไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เป็นความผิดแต่ไม่
ต้องรับโทษ เมื่อยกเว้นโทษตามมาตรา 330 แล้วก็ไม่ต้องวินิจฉัยว่าไม่มีความผิดตามมาตรา 329

มาตรา 331 คู่ความหรือทนายความ

มาตรา 330 มีหลักเกณฑ์คือ


1.คู่ความและทนายความซึ่งแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดี
2.เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
หน้ า 4

ความผิดเกี่ยวกับเพศ

ข่มขืนกระทำชำเรา

มาตรา 276 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราโดยขู่เข็ญใช้กำลังให้อยู่ในสภาวะไม่อาจขัดขืนได้ให้เข้าใจว่าเป็นคนอืน่


ทำให้เข้าใจว่ามีอาวุธปืนหรือระเบิดหรือทำโดยกระทำอันเป็นการโทรมหญิง หรือโทรมชาย โทษหนัก
หากกระทำความผิดระหว่างคู่สมรส รับโทษน้อยลง

มาตรา 276 มีหลักเกณฑ์คือ


1.กระทำชำเรา หมายความว่า กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศชายล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ
หญิง ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรืออาจขยายไปถึงการใช้ปากอมอวัยวะเพศชาย เป็นการล่วงล้ำอย่างหนึ่ง
ดังนั้น การใช้นิ้วสอดเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายหรือการใช้ลิ้นเลียอวัยวะเพศหญิง เป็นเพียงกระทำอนาจาร
เท่านั้น ยังไม่เป็นการกระทำชำเรา
2.การกระทำสำเร็จเมื่อของลับของฝ่ายชายผ่านเข้าในช่องสังวาสของหญิง แม้ล่วงล้ำเข้าไปเพียง 1 องคุลี หรือเยื่อพหมจารีไม่
ขาดหรือน้ำอสุจิยังไม่เคลื่อนก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จ แต่ถ้าผ่านเข้าไปไม่ได้ แม้อสุจิเคลื่อน เยื่อพรหมจารีขาด ก็เป็นเพียง
พยายาม
3.กระทำแก่ทวารหนักเป็นข่มขืนกระทำชำเราได้ แต่ต้องมีการล่วงล้ำไปจึงจะเป็นความผิดสำเร็จ
4.การข่มขืน หมายถึง การบังคับจ ฝ่าฝืนความยินยอมหรือไม่อาจขัดขืนได้ แม้จะไม่ได้พูดหรือมีอาวุธมาขู่เข็ญผู้เสียหาย แต่
ตามพฤติการณ์หญิงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือกลัว เช่น ถูกฉุดเข้าไปนป่าไม่มีทางขอความช่วยเหลือได้จึงจำต้องยอม ไม่ถือว่า
หญิงยินยอม
5.การโทรมหญิง ผู้ลงมือกระทำชำเราต้องมากกว่า 1 คน ผลัดเปลี่ยนกันทำอย่างน้อย 2 คน คนละครั้ง ถ้าคนเดียวข่มขืน
ชำเราอีกคนใช้ปืนขู่แต่ไม่ได้ชำเรา ไม่เป็นการโทรมหญิง แต่ทั้ง 2 คน เป็นตัวการตามมาตรา 276,83
6.การพยายามข่มขืนกระทำชำเรา เพียงแค่นอนกอดก่ายหรือปลดกระดุมกางเกงขึ้นคร่อมหน้าอกหญิง ยังไม่เป็นพยายาม
ฐานนี้ หรือจับหญิงไว้ไม่ให้ดิ้น นั่งคร่อมตรงท้องน้อย แต่หญิงและชายซึง่ นุ่งกางเกงในอยู่ยังไม่เป็นพยายามข่มขืนกระทำชำเรา
ถอดกางเกงผู้เสียหายออกและใช้อวัยวะเพศของจำเลยยัดใส่อวัยวะเพศผู้เสียหาย ผู้เสียหายเจ็บแต่ร้องไม่ออกเพราะ
จำเลยใช้มือบีบคอไว้ ซึ่งจำเลยทำอยู่นาน ผู้เสียหายเจ็บจนกระทั่งมีน้ำสีขาวออกมาจากอวัยวะเพศของจำเลย เช่นนี้ถือว่า
จำเลยมีเจตนาชำเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่ไม่สามารถล่วงล้ำเข้าไปได้ จึงมีความผิดฐานพยายามข่มขืน
กระทำชำเรา
การจะเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงนัน้ ผู้กระทำจะต้องใช้อวัยวะเพศของตนเองกระทำใน
ลักษณะใกล้ชิดพร้อมที่จะใช้อวัยวะเพศสอดใส่กับอวัยวะเพศหญิงผู้ถูกกระทำ
หน้ า 5

กระทำชำเรา

มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตนเอง โดยจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม หากยังไม่เกิน


13 ปี ต้องรับโทษหนักขึ้น

มาตรา 277 มีหลักเกณฑ์คือ


1.การข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีหรือภริยาที่ผู้ถูกกระทำเป็นเด็ก ผู้กระทำไม่มีความผิดมาตรานี้ การกระทำชำเราต่อเด็ก
มาตรานี้ไม่ต้องคำนึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ แม้หญิงสมัครใจก็เป็นความผิด
2การกระทำชำเรานัน้ เป็นการกระทำถึงขั้นใช้อวัยวะเพศของชายล่วงล้ำ เข้าไปในอวัยวะเพศของหญิง การกระทำชำเราจึง
รวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว
3.การนับอายุผู้เสียหาย หากเข้าใจว่าเด็กหญิงอายุกว่า 15 ปีแล้วเท่ากับไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของควมผิด ยกเป็น
ข้อแก้ตัวว่าขาดเจตนาเพราะสำคัญผิดได้

ความผิดอนาจาร

มาตรา 278 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายโดยบุคคลนั้นอยูใ่ นภาวะไม่สามารถขัดขืน


ได้ เหตุฉกรรจ์ ตามวรรคสอง (ใช้วัตถุอนื่ ล่วงล้ำ)

มาตรา 278 มีหลักเกณฑ์คือ


1.อนาจาร ได้แก่ การกระทำให้อับอายขายหน้าทางเพศ ไม่หมายความเฉพาะเพื่อความใคร่หรือการประเวณีเท่านั้น แม้ไม่ได้
ทำด้วยความใคร่ แต่ทำด้วยความแค้นหรือความโกรธก็เป็นอนาจรได้ เช่น สามีโกรธหญิงจึงจับแก้ผ้าหญิงให้คนดูกลางถนน
2.การใช้กำลังประทุษร้าย ได้แก่ ใช้แรงกายภาพ แต่ไม่ต้องถึงกับออกแรงใช้กำลังมากมายแต่อย่างใด การจับต้องเนื้อตัวหรือ
กอดหญิงก็เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายได้ ไม่ต้องถึงกับทุบตีหรือทำร้ายอย่างอื่น
3.อนาจารกับกระทำชำเรา เป็นกรรมเดียวกัน การฉุดหญิงเพื่อข่มขืนกระทำชำเราแต่หยิงขัดขืนจึงทำร้ายเอา เป็นกรรม
เดียวกับการอนาจาร การกระทำชำเราหากไม่ใช้อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปาก ก็เป็นเพียงอนาจาร

มาตรา 279 กระทำอนาจารเด็กไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

มาตรา 280 อนาจารแล้วได้รับอันตรายสาหัส ตาย

มาตรา 280 มีหลักเกณฑ์คือ


การกระทำอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 280 นั้น จะต้องได้ความว่าผลของความตายของผู้ถูกกระทำ
อนาจารเกิดจากการกระทำอนาจาร
หน้ า 6

ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

ความผิดฐานลักทรัพย์

มาตรา 334 ลักทรัพย์

มาตรา 334 มีหลักเกณฑ์คือ


1.เอาไปจากการครอบครอง กล่าวคือ ขณะเอาไปต้องมีผู้อื่นครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ และมีการแย่งไปจากการครอบครองนั้น
- ครอบครองอยู่กับตัว เช่น ธนบัตรในกระเป๋า
- ให้ผู้อื่นยึดถือไว้แทน เช่น ให้คนถือกระเป๋าให้โดยเจ้าของเดินตามไปด้วย เจ้าของกระเป๋าเป็นผู้ครอบครอง
- ให้ดูแลทรัพย์ชั่วคราว ไม่ใช่ฝากทรัพย์จงึ ไม่มีการมอบการครอบครอง เช่น วานให้เฝ้าบ้านโดยไม่ได้มอบกุญแจห้องเก็บทรัพย์
ให้ หรือลูกโคติดฝูงโคของผู้อื่นไป เลยบอกให้ดูไว้ก่อนเดี๋ยวจะให้คนมาเอา ไม่มีการมอบการครอบครอง ผู้นั้นปฏิเสธว่าไม่มีโค
ติดฝูงมา เป็นลักทรัพย์
- การครอบครองตามลักษณะของทรัพย์ เช่น การดูแลสัตว์โดยปล่อยห้เที่ยวหากินเอง ปล่อยกระบือไว้ตามทุ่งหญ้า ไม่ใช่เพลิด
ไปจนพ้นจากการติดตาม ถือว่าเจ้าของมีการครอบครองอยู่ จำเลยเอาไปเป็นลักทรัพย์
2.ทรัพย์สินหาย ใครครอบครอง ทรัพย์สินหาย เป็นเรื่องที่ทรัพย์หลุดพ้นไปจากความยึดถือของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดย
ไม่ได้ตั้งใจไม่ใช่เรื่องสละการครอบครอง ผู้ใดเก็บเอาทรัพย์ไปโดยรู้หรือควรรู้ว่าทรัพย์นนั้ เจ้าของกำลังติดตามหรือจะติดตาม
เพื่อเอาทรัพย์คืน เป็นลักทรัพย์ ถ้าไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรูก้ ็เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย
3.ทรัพย์ของผู้ตายใครครอบครอง กรรมสิทธิ์ของทรัพย์ย่อมตกแก่ทายาทและผู้เอาไปย่อมรู้ดีว่า เขาต้องตามหาผู้ที่เอาไปจาก
คนตาย จึงเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์และการครอบครองได้
4.กรณีไม่มีการแย่งการครอบครอง อาจเป็นเพราะเจ้าของเขาไม่หวงแหน หรือสละการครอบครองแล้ว เช่น ของที่เขาโยนทิ้ง
แล้ว เลือดสุกรที่โรงฆ่าสัตว์ตามปกติเขากวาดทิ้ง ใครเอาไปไม่ถือว่าลักทรัพย์ หรือฝากนาฬิกาให้เก็บเอาไว้(มอบการ
ครอบครองแล้ว) เมื่อมาทวงคืนก็บอกว่าไม่ได้ฝาก ดังนี้ ไม่เป็นลักทรัพย์แต่เป็น ยักยอก
5.การเอาไป ได้แก่ การเคลื่อนที่ทรัพย์ อาจทำด้วยวิธีต่างๆโดยไม่จำเป็นต้องจับต้องตัวทรัพย์นั้น เช่น ล่อสัตว์ให้ตามมา ต่อท่อ
น้ำมันหรือแก๊สให้ไหลมาเองหรือใช้ให้ผู้ที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงพาของไป
หากมีการพาเอาทรัพย์เคลื่อนที่ออกจากที่ทุกจุด แม้เพียงเล็กน้อยเท่าใดก็เป็นความผิดสำเร็จ เช่น ล้วงกระเป๋า
ได้ธนบัตรเอาออกมานอกกระเป๋าแล้ว พอดีเจ้าของทรัพย์ตบกระเป๋าถูกมือจำเลย ธนบัตรร่วงหล่นลงที่เท้าเจ้าทรัพย์ เป็น
ความผิดลักทรัพย์สำเร็จ หรือไล่กระบือเคลื่อนที่จากเดิมไปตามทิศทางที่ต้องการแล้ว แม้ยังไม่พ้นรั้วบ้านก็เป็นลักทรัพย์สำเร็จ
ถ้าทรัพย์ติดตรึงอยู่กับสิ่งอื่นต้องแยกทรัพย์นั้นก่อน เช่น กระชากสร้อยขาดจากกัน แต่เจ้าทรัพย์กุมไว้ได้ทนั ที เป็น
เพียงการแยกทรัพย์ ยังไม่ทันได้เคลื่อนที่ทรัพย์ ลักทรัพย์ยังไม่สำเร็จจึงเป็นเพียงพยามวิ่งราวทรัพย์หรือพยายามชิงทรัพย์
เท่านั้น
แต่ถ้ามีการเคลื่อนที่ทรัพย์หลังจากแยกทรัพย์แล้ว เป็นความผิดสำเร็จ เช่น การตัดผลมะพร้าวจากต้นหรือถอน
ต้นหอมจากท้องร่องหรือหักกิ่งลำไยจากต้น เป็นการแยกทรัพย์ แต่หากควบคุมทิศทางได้ เช่น ใช้มือปลิดมะพร้าวโยนใส่เข่ง
หรือนำมาผูกติดกันวางบนทางมะพร้าวหรือเอากิ่งลำไยที่หักแล้วใส่เข่ง เป็นการพาทรัพย์เคลื่อนที่แล้ว เป็นลักทรัพย์สำเร็จ
6.ทรัพย์ หมายถึง วัตถุมีรูปร่างและต้องเคลื่อนที่ได้
7.ทรัพย์ของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่มีเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่ทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ หรือเจ้าของเขาทิ้งแล้ว
หน้ า 7

8.การเอาไปชั่วคราว เช่น จำเลยเอาไม้ปูพื้นเรือนของโจทก์ร่วม 8 แผ่นไปปูบนร่องสวนเพื่อใช้จัดงานศพชั่วคราว ไม่ได้มี


เจตนาเอาไปเลย ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

ความผิดฐานลักทรัพย์ เหตุฉกรรจ์

มาตรา 335 (1)-(12) ในเวลากลางคืน ทำร้ายเครื่องคุ้มครองทรัพย์ ลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน เคหสถานราชการ

มาตรา 335 ทวิ ลกทรัพย์พระพุทธรูป วัตถุบูชาในทางศาสนาอันเป็นทีเ่ คารพสักการะ


หน้ า 8

ขณะที่ครูสมชาติกำลังคุยอยู่กับนักเรียนนอกห้องเรียน นายสมหมายตรงเข้าไปชี้หน้าด่าครูสมชาติว่า “อ้ายครูชาติหมา เอาเด็ก


นักเรียนทำเมีย” จงวินจิ ฉัยว่านายสมหมายจะมีความผิดฐานใด มีเหตุยกความผิดหรือยกเว้นโทษประการใดหรือไม่

หลักกฎหมายที่เกีย่ วข้อง ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 326 กำหนดว่า ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูก


เกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ

มาตรา 328 กำหนดว่า ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี


ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎไม่ว่าด้วยวิธใี ด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร
กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอนื่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา 330 วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่น


ประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 393 กำหนดว่า ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่ง


หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

วินิจฉัย

การที่นายสมหมายตรงเข้าไปชี้หน้าด่าครูสมชาติว่า “อ้ายครูชาติหมา เอาเด็กนักเรียนทำเมีย” คำด่าที่กล่าวว่า “อ้าย


ครูชาติหมา…” นั้นเป็นการดูหมิ่นผู้อนื่ หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย คำว่า ชาติหมาเป็น
ความรู้สึกนึกคิดขอคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นไปได้จึงไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นอย่างใด และข้อความใดจะ
เป็นการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ต้องถือตามความคิดของบุคคลธรรมดาผู้ได้เห็นได้ฟัง ดังนั้น คำกล่าว
“อ้ายครูชาติหมา…” นั้นเป็นการกล่าวด้วยวาจาและเป็นการกล่าวแบบซึ่งหน้า แต่เมื่อข้อเท็จจริงมีบุคคลที่สามคือนักเรียนได้
ยินสิ่งที่นายสมหมายด่าครูสมชาติด้วย นายสมหมายจึงผิดฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาทตามมาตรา 393 ประกอบมาตรา 328
ส่วนคำกล่าวว่า “เอาเด็กนักเรียนมาทำเมีย” เป็นการหมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยทำให้
ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น โดยคำกล่าวว่าดังกล่าวนั้นอาจเป็นความจริงหรือเป็นความเท็จก็ ได้ยอ่ มถือได้วา่ ใส่ความแล้ว
ดังนี้ การที่สมหมายด่าครูสมชาติต่อหน้านักเรียน ถือเป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สาม ความผิดฐานหมิ่นประมาทถือว่าสำเร็จ
แล้วตามมาตรา 326
ดังนั้นนายสมหมายมีความผิดฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาทครูสมชาติตามมาตรา 393 ประกอบมาตรา 328 และ
มาตรา 326
อย่างไรก็ตามในกรณีหมิ่นประมาทนัน้ ผู้ถูกหาว่ากระทำความผิดสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อที่ว่าหมิ่นประมาทนัน้ เป็น
ความจริง ผู้นั้นก็ไม่ต้องรับโทษ กล่าวคือ หากนายสมหมายพิสูจน์ได้ว่าสิง่ ที่ตนกล่าวไปนัน้ เป็นความจริง คือการที่ครูสมชาตินั้น
เอาเด็กนักเรียนทำเมียจริง นายสมหมายก็ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 300 วรรคแรก

You might also like