You are on page 1of 118

การพยายามกระทาความผิด

มาตรา 80
มาตรา 81
มาตรา 82
ข้อความทัว่ ไป
ขั้นตอนของกระทาความผิดที่กระทาลงโดยเจตนา
1. คิดที่จะกระทาความผิด หลัก
2. ตกลงใจที่จะกระทาความผิด หากยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
3. ตระเตรียมกระทาความผิด กฎหมายยังไม่ลงโทษ
ข้อยกเว้น
4. ลงมือกระทาความผิด ความผิดที่เกี่ยวกับ ความมั่นคงของรัฐ
5. ความผิดสาเร็จ และความผิ ด ที่ เ ป็ น ภยั น ตรายต่ อ
ประชาชน กฎหมายให้การตระเตรียม
การมีความผิดแล้ว
การตระเตรียมการทีเ่ ป็นความผิด
1. การตระเตรียมการในการกระทาความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้มีความผิด
1.1 กรณีให้การตระเตรียมการนั้นมีความผิดในตัวเอง เช่น
มาตรา 107 วรรคสาม ตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์
มาตรา 108 วรรคสี่ ตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์
มาตรา 109 วรรคสาม ตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือเพื่อฆ่าผู้สาเร็จ
ราชการแทนพระองค์
มาตรา 110 วรรคสี่ ตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท
หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์
การตระเตรียมการทีเ่ ป็นความผิด
1. การตระเตรียมการในการกระทาความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้มีความผิด
1.2 กรณีให้การตระเตรียมการนั้นมีความผิดเท่ากับความผิดสาเร็จ
มาตรา 128 ตระเตรียมการกระทาความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร (มาตรา
119 – มาตรา 127)

1.3 กรณีให้การตระเตรียมการนั้นมีความผิดเท่ากับการพยายามกระทาความผิด
มาตรา 219 ตระเตรียมการในการวางเพลิงเผาทรัพย์ตามมาตรา 217 และมาตรา 218
การตระเตรียมการทีเ่ ป็นความผิด
2. การตระเตรียมการเพื่อลงมือกระทาความผิดฐานหนึ่ง ที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดอีก
ฐานหนึ่ง เช่น
มาตรา 114 ตระเตรียมการเพื่อเป็นกบฏ
มาตรา 135/2(2) ตระเตรียมการเพื่อก่อการร้าย
มาตรา 209 ความผิดฐานเป็นอั้งยี่
มาตรา 210 ความผิดฐานเป็นซ่องโจร
มาตรา 215 ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
มาตรา 289(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทาความผิดอย่างอื่น
การพยายามกระทาความผิด
มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำควำมผิดแต่กระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอด
แล้วแต่การกระทานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยำยำมกระทำควำมผิด
ผู้ใดพยำยำมกระทำควำมผิด ผู้นั้นต้องระวำงโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมำย
กำหนดไว้สำหรับควำมผิดนั้น
มาตรา 81 ผู้ใดกระทำกำรโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่กำร
กระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพรำะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทาหรือ
เหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทาต่อ ให้ถือว่ำผู้นั้นพยำยำมกระทำควำมผิด แต่ให้ลงโทษไม่เกิน
กึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมำยกำหนดไว้สำหรับควำมผิดนั้น
ถ้ำกำรกระทำดังกล่ำวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยควำมเชื่ออย่ำงงมงำย ศำลจะไม่
ลงโทษก็ได้
การพยายามกระทาความผิด
มาตรา 82 ผู้ใดพยำยำมกระทำควำมผิด หำกยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้
ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับกำร
พยำยำมกระทำควำมผิดนั้น แต่ถ้ำกำรที่ได้กระทำไปแล้วต้องตำมบทกฎหมำยที่บัญญัติ
เป็นควำมผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับควำมผิดนั้น ๆ
การพยายามกระทาความผิด ตามมาตรา 80
หลักเกณฑ์
1. ผู้กระทำต้อง มีเจตนำ กระทำควำมผิด และ
2. ผู้ก ระท ำจะต้ อ งกระท ำกำรเพื่ อ ให้บ รรลุ ต ำมเจตนำ อั น เป็ น กำรกระท ำที่ เ ลยขั้ น
ตระเตรียม กล่ำวคือถึงขั้นลงมือกระทำควำมผิดแล้ว และ
3. ผู้กระทำกระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้ว แต่กำรกระทำนั้นไม่บรรลุผล
1. มีเจตนากระทาความผิด
ฎีกาที่ 1022/2503 (ฎน, หน้า 1078) วางหลักว่า
"การที่จะลงโทษบุคคลฐานพยายามฆ่าคนนั้น จะต้องได้รับความว่า
จาเลยมีเจตนา กระทาการเพื่อการฆ่า เพียงแต่จาเลยถือปืนส่ายไปมาต่อหน้าคน
หมู่มาก แล้วกระสุนลั่นออกไปโดยไม่ได้จ้องยิง ผู้ใด คดีมีทางส่อให้วินิจฉัยได้ว่า
จาเลยประมาทเลินเล่อ ทาให้ปืนลั่นออกไปโดยไม่มีเจตนาจะเหนี่ยวไกลั่นกระสุน
ปืน จึงจะลงโทษจาเลยฐานพยายามฆ่าคนไม่ได้ "
1. มีเจตนากระทาความผิด
ฎีกาที่ 5/2529 (ฎส.2, หน้า 1) ใช้ปืนจ้องนานประมาณ 15 วินาที แต่ก็ไม่ได้
ลั่นไกปืน คือ ถ้าจะยิงก็ยงิ ได้แต่ไม่ยิง ฟังว่าเป็นการขู่เท่านั้น (ดูมาตรา 392 ด้วย)
ฎีกาที่ 3916/2534 (ฎส.8, หน้า 196) ใช้อาวุธปืนจีที่ขมับผู้เสียหายพร้อมกับ
พูด ว่ากูจะฆ่ามึงทิ้ง ถ้ามึงไปถึงกิ่งอาเภอเมื่อไรกูจะฆ่าเมื่อนั้น แสดงว่าที่ใช้ปืนจี้
ไม่ได้ตั้งใจจะยิง
1. มีเจตนากระทาความผิด
ฎีกาที่ 1133/2556 อาวุธปืนเป็นอาวุธที่สามารถทาอันตรายถึงชีวิตได้ในระยะไกล
หากจาเลยเลยมีเจตนาฆ่าและกระทาได้โดยผู้เสียไม่รู้ตัว ก็ไม่จาเป็นที่จาเลยจะต้องปรากฏ
ตัวให้ผู้เสียหายและคนที่เล่นสะบ้าด้วยกันเห็นด้วย การเดินเข้าไปใช้อาวุธปืนจ้องผู้เสียหาย
ในระยะ 2 –3 เมตร พฤติการณ์ที่จาเลยใช้ปื้นจ้องในระยะใกล้และพูดกับผู้เสียหายต่อหน้า
คนอื่นหลายคนโดยไม่ยิงทันที แม้จะฟังว่าจาเลยเอานิ้วสอดไปไว้ในโกร่งไกปืน หากจาเลยมี
เจตนาฆ่า ย่อมมีช่วงเวลาเพียงพอที่จะเหนี่ยวไกยิงผู้เสียหายได้ก่อนที่ อ. จะพูดห้ามและ
ผลักจาเลย การที่จาเลยไม่ได้ยิงปืน แต่กลับถือปืนวิ่งออกจากลานบ้านที่เกิดเหตุไปที่ถนน
ห่างออกไป 15 – 20 เมตรแล้วจึงยิงปืนขึ้นฟ้า 1 นัด แสดงให้เห็นว่า จาเลยมีจุดประสงค์อื่น
มากกว่าเอาชีวิตผู้เสียหาย จาเลยเพียงแต่ต้องการแสดงให้ผู้เสียหายเห็นว่าจาเลยมิได้เกรง
กลัวผู้เสียหายและน้องชายเท่านั้น จาเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
1. มีเจตนากระทาความผิด
ฎีกาที่ 950/2552 กระสุนปืนที่จาเลยใช้ยิงผู้เสียหายไม่ได้บรรจุเม็ดตะกั่ว
บรรจุ เ ฉพาะดิ น ปื น อั ด ด้ ว ยกระดาษเท่ า นั้ น จ าเลยทราบดี ว่ า ไม่ ส ามารถท าให้
ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายแก่กาย การกระทาของจาเลยจึงถือ
ไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
1. มีเจตนากระทาความผิด
ฎีกาที่ 182/2532 จาเลยใช้ปืนยิงโจทก์ร่วมด้านหน้าซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 3
เมตรโดยยิงไปที่ขา 3 นัด ถูกขาโจทก์ร่วม 1 นัด แล้วจาเลยไม่ได้ยิงต่ออีก ถือว่า
จาเลยมีเจตนาทาร้ายโจทก์ร่วมเท่านั้น มิได้มีเจตนาฆ่าด้วย โจทก์ร่วมถือไม้เป็น
อาวุธไปที่หน้าบ้านจาเลยพร้อมกับ ส. และร้องท้าทายจาเลยให้ออกมาตีกัน แล้ว
โจทก์ร่วมเดินเข้าหาจาเลย จาเลยตกใจเกรงว่าโจทก์ร่วมจะเข้ามาทาร้าย จึงวิ่งไป
เอาอาวุธปืนสั้นของสามีที่เก็บไว้ที่หัวนอนแล้วยิงไปที่ขาโจทก์ร่วม 3 นัด จาเลยเป็น
หญิง โจทก์ร่วมมีไม้เป็นอาวุธและมากับ ส. ถือว่าจาเลยยิงโจทก์ร่วมเพียงเพื่อยับยั้ง
มิให้โจทก์ร่วมเข้ามาทาร้ายจาเลยเท่านั้น การกระทาของจาเลยจึงเป็นการป้องกัน
ตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จาเลยหยิบอาวุธปืนของกลางมาใช้เพื่อป้องกันตัว
โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าจาเลยมีเจตนาครอบครองอาวุธปืนดังกล่าว
1. มีเจตนากระทาความผิด
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเจตนา
1. ต้องพิจารณาด้วยว่าผู้กระทามีเจตนาใด
2. เจตนารวมถึงเจตนาประสงค์ต่อผลด้วย
ฎีกาที่ 1270/2526 จาเลยขับรถยนต์บรรทุกดินลูกรังสูงเกินกาหนด พอถึงจุดตรวจ ตารวจได้เป่านกหวีด
และให้สัญญาณหยุด จาเลยกลัวถูกจับจึงเร่งเครื่องยนต์หลีกเครื่องหมายจราจร พุ่งเข้าใส่ตารวจที่ยืนอยู่ แต่ตารวจ
กระโดดหลบเสียทัน ดังนั้นจาเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ารถยนต์คันที่จาเลยขับพุ่งเข้าใส่เช่นนั้นจะต้องชนตารวจที่ยืนอยู่ใน
ถนนถึงแก่ความตายได้ เลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ตามมาตรา 289,80
3. เจตนาอย่างไร ก็พลาดเช่นนั้น ซึ่งอาจมีการพยายามกระทาความผิดโดย
พลาดได้ (ทั้งนี้ ต้องมีผลร้ายเกิดขึ้น)
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักในทางตารา
2.1 หลักความใกล้ชิดต่บผล (The Proximity Rule)
หากผู้กระทาได้กระทา “ขั้นสุดท้าย” (last act) ซึ่งจะต้องกระทาเพื่อให้
ความผิดสาเร็จถือว่าการกระทานั้นใกล้ชิดต่อผลเป็นการลงมือกระทาความผิดแล้ว
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักในทางตารา
2.2หลักความไม่คลุมเครือ (The Unequivocal Rule)
การกระทานั้นชี้ให้เห็นได้อย่างปราศจากความสงสัยตามสมควรว่า มุ่งหมาย
ต่อผลอย่างใด โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยคารับสารภาพ
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักในทางตารา
2.3 หลักความเป็นภยันตรายของการกระทานั้น (The Criterion of Danger)
การกระท านั้ นเป็นภยั นตรายโดยตรงต่ อ ผลประโยชน์ ซึ่ง กฎหมายให้ ก าร
คุ้มครอง หลักนี้ถือว่าการกระทาที่จะเป็นการลงมือเข้าขั้นพยายามได้หรือไม่นั้น
ต้องพิจารณาถึงการใกล้ชิดต่ออันตราย การที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่
หลวงและระดับของความรู้สึกหวาดกลัวในภยันตรายนั้นในความรู้สึกของชุมชน
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักในทางตารา
2.4 หลักการกระทาขั้นตอนที่สาคัญ (The Substantial Step Rule)
หากผู้ ก ระท ามีเ จตนากระท าหรือ ไม่ ก ระท าอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง ซึ่ง เป็ น การ
กระทาขั้นตอนที่สาคัญ (substantial step) เพื่อให้บรรลุถึงการกระทาความผิด ถือ
ว่าผู้กระทามีการลงมือกระทา
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักตามแนวของศาลไทย
ฎีกาที่ 1203/2491 โจทก์ฟ้องว่า จาเลยสมคบกันขนย้ายข้าวสารออกนอกเขตกักกันข้าว
โดยมิได้มีหนังสืออนุญาตให้นาออกได้ ขอให้ลงโทษ แต่พยานโจทก์เบิกความว่า เวลาเข้าจับ
หัวเรือบรรทุกข้าวกับเรือยนต์ที่จูงเรือบรรทุกข้าวกาลังบ่ายหน้าออกนอกเขต ยังมิทันนาข้าว
ออกนอกเขต ศาลชั้ น ต้ น เห็ น ว่ า ข้ อ เท็ จ จริ ง ต่ า งกั บ ฟ้ อ ง จึ ง พิ พ ากษายกฟ้ อ ง ศาลอุ ท ธรณ์
พิพากษายืน
ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ขณะถูกจับยังมิทันได้นาข้าวออกนอกเขตกักกันข้าว แต่เมื่อจาเลยมี
เจตนาและการขนย้ายได้กระทาลงจนใกล้ชิดกับผลสาเร็จแล้ว ก็ลงโทษฐานพยายามได้ ไม่ใช่
เรื่องข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง จาเลยได้ยับยั้งไม่นาข้าวออกนอกเขตแล้ว หรือว่าข้อเท็จจริงยังฟัง
ไม่สนิทว่า จาเลยได้มีเจตนาจะนาเรือบรรทุกข้าวสารออกนอกเขต ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย
ข้อเท็จจริงนี้ จึงพิพากษายกคาพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักตามแนวของศาลไทย
ฎีกาที่ 7508/2562 จาเลยตะโกนเรียกชื่อ ค. หลายครั้ง ที่หน้าบ้านเพื่อจะขอซื้อสุรา
จากนั้นจาเลยงัดหน้าต่างบ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้วลักลอบเข้าไปในยามวิกาลโดยคาดว่า
ไม่มีบุคคลใดอยู่บ้านถือได้ว่าจาเลยมีเจตนาจะลักทรัพย์ผู้เสียหาย เมื่อจาเลยเข้าไปในบ้านได้
แล้ว จาเลยเดินลงไปที่ชั้นล่างซึ่งเป็นบริเวณร้านขายของชาทันที แม้จาเลยจะยังไม่ได้แตะต้อง
ตัวทรัพย์ก็ตาม การกระทาของจาเลยถือว่าใกล้ชิดต่อผลที่จะเอาทรัพย์ไปได้ ถือว่าอยู่ในขั้นลง
มือกระทาความผิดแล้วเพียงแต่กระทาไปไม่ตลอดเพราะมีผู้มาพบจาเลยก่อนที่จาเลยจะลัก
ทรัพย์ของผู้เสียหายไป จาเลยมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน
โดยเข้าทางช่องทางซึ่งทาขึ้นโดยไม่ได้จานงให้เป็นทางคนเข้า ตามมาตรา 335 (1) (4) (8) วรรค
สอง ประกอบ มาตรา 336 ทวิ, 80
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักตามแนวของศาลไทย
ฎีกาที่ 7562/2540 ขณะที่จาเลยทั้งสองถูกจับพร้อมของกลางคงเหลือเวลาอีกเพียง 3
วั น ก็ จ ะถึ ง ก าหนดวั น เลื อ กตั้ ง ส.ส. นั บ ว่ า เป็ น ระยะเวลาที่ ใ กล้ ชิ ด กั บ วั น เลื อ กตั้ ง มากแล้ ว
ประกอบกับลักษณะธนบัตรของกลางที่จาเลยทั้งสองจัดทาขึ้นเป็นชุดพร้อมที่จะนาไปแจกจ่าย
หรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งดังกล่าวได้ตามบัญชีรายชื่อหัวคะแนนแต่ละหมู่บ้านบัญชี รายชื่อ
แกนนา บัญชีรายชื่อผู้รับผิดชอบแต่ละตาบลในอาเภอบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง (ส.ส.13) ของ
อาเภอ ตารางแสดงจานวนหมู่บ้าน ตลอดจนข้อมูลหน่วยเลือกตั้งตาบลต่าง ๆ ในอาเภอในเขต
เลือกตั้ง ดังนั้น ที่จาเลยทั้งสองรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งแสดงว่าจาเลยทั้งสองมีเจตนาจะให้ทรัพย์สิน
เพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งจะให้แก่ผู้สมัคร และจาเลยทั้งสองก็ได้เตรียมจัดหา
ทรั พ ย์ สิ น คื อ ธนบั ต รชนิ ด ราคา 100 บาท และชนิ ด ราคา 20 บาท รวมทั้ ง ของกลางต่ า ง ๆ
ดังกล่าว แล้วจาเลยทั้งสองได้ลงมือดาเนินการตามเจตนาข้างต้นโดยนาธนบัตรมาเย็บติดกัน
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักตามแนวของศาลไทย
ฎีกาที่ 7562/2540 เป็นชุดมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุดบรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเล
เสร็จพร้อมที่จะนาไปให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ทันที่ การกระทาของจาเลยทั้ง
สองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทาที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดาเนินการนาธนบัตร
ของกลางไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้ง
ให้แก่ผู้สมัครที่จาเลยทั้งสองให้การสนับสนุน เป็นการกระทาที่ใกล้ชิดต่อความผิดสาเร็จที่จะ
เกิดขึ้น ถือว่าการกระทาของจาเลยทั้งสองพ้นขั้นตระเตรียมการเข้าสู่การลงมือกระทาความผิด
แล้ว หากแต่ไม่สาเร็จเพราะเจ้าพนักงานตารวจจับจาเลยทั้งสองได้เสียก่อนมิฉะนั้นแล้วจาเลย
ทั้ ง สองก็ จ ะกระท าความผิ ด ต่ อ ไปได้ ส าเร็ จ จ าเลยทั้ ง สองย่ อ มมี ค วามผิ ด ฐานพยายามให้
ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครดังที่โจทก์ฟ้อง
แล้ว และธนบัตรของกลางกับของกลางอื่นถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทา
ความผิด ศาลย่อมมีอานาจสั่งให้ริบ ตามมาตรา 33(1)
2. กระทาถึงขั้นลงมือกระทาความผิด
หลักความใกล้ชิดต่อผล (The Proximity Rule)
1. หากผู้กระทาได้กระทา “ขั้นสุดท้าย” (last act) ซึ่งจะต้องกระทาเพื่อให้
ความผิดสาเร็จถือว่าการกระทานั้นใกล้ชิดต่อผลเป็นการลงมือกระทาความผิดแล้ว
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ตัวอย่าง
1. ฆ่าด้วยปืน ขั้นสุดท้ายคือ ลั่นไกปืน
2. ฆ่าด้วยการวางยาพิษ ขั้นสุดท้ายคือ วางยา
3. แจ้งความเท็จด้วยการส่งจดหมาย ขั้นสุดท้าย คือ ส่งไปรษณีย์
4. การกระทาความผิดโดยอ้อม เช่น หลอกให้ผู้ไม่มีเจตนาในการกระทา
ความผิด (innocent agent) กระทา ถือว่า ขั้นสุดท้ายคือ การหลอก
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ตัวอย่าง
ฎีกาที่ 2143/2536 (ฎส.10, หน้า 92) จาเลยเอายาเบื่อหนูใส่ในโอ่งน้าดื่มของ
ผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายทราบเสียก่อนจึงไม่ยอมดื่มน้า
ดังกล่าว จาเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าตามมาตรา 288 ประกอบกับมาตรา 80
และมีความผิดฐานปลอมปนเครื่องอุปโภคบริโภคตามมาตรา 236 ด้วย ลงโทษตาม
มาตรา 288, 80 อันเป็นบทหนักตามมาตรา 90 ข้อสังเกต การกระทาของจาเลย
น่าจะถือว่าเป็นการพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289 (4) , 80 แต่
โจทก์ฟ้องจาเลยตามมาตรา 288, 80 เท่านั้น
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ตัวอย่าง
ฎี ก าที่ 7037/2547 (ฎน, หน้ า 1556) กระบอกฉี ด ยาที่ ไ ม่ มี เ ข็ ม ฉี ด ยาก็
สามารถฉีดของเหลวเข้าสู่ร่างกายกระบือทางปากหรือทวารได้ จาเลยมีกระบอกฉีด
ยาบรรจุสารพิษไว้และจาเลยกาลังจับเชือกที่ผูกกระบือ ในลักษณะที่พร้อมจะลงมือ
ฉีดสารพิษใส่เข้าไปในตัวกระบือ การกระทาของจาเลยใกล้ชิดต่อผลแห่งการทาให้
เสียทรัพย์ ถือว่าลงมือกระทาแล้วแต่กระทาไปไม่ตลอด เพราะเจ้าของกระบือมา
พบและขัดขวางเสียก่อน จาเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทาให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็น
ปศุสัตว์ตามประมวลกฎหมายอายามาตรา 359 (2), 80
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ข้อที่ต้องจา
“ใกล้ชิด” นี้ ไม่คานึงระยะเวลา และ ไม่คานึงถึงการ
กระทาของผู้เสียหายเอง
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. แดงต้องการฆ่าดาจึ งเอายาพิษผสมในน้าส่งให้ดาดื่ม แต่ดาเห็น
ขาวกระหายน้ าพอดี จึ ง ส่ ง น้ าให้ ข าวดื่ ม แต่ ข าวไม่ ทั น ดื่ ม ก็ ท าน้ านั้ น หก
เสียก่อน
2. แดงต้องการฆ่าดาซึ่งเป็นสามี จึงซื้อยาพิษมาใสในขวดเกลือไว้
เพื่อจะผสมในอาหารเย็น แต่ดากลับบ้านมาก่อนเวลาและนาขวดเกลือ
บรรจุยาพิษมาโรยอาหารกิน
หลักความใกล้ชิดต่อผล
2. แม้ว่ามิใช่การกระทาใน “ขั้นสุดท้าย” จริง ๆ ในแง่ของผู้กระทาก็อาจถือ
ว่าเป็นการลงมือกระทาความผิดได้ หากเป็นการกระทาที่เป็น “ส่วนหนึ่ง” ของ
การที่ประสงค์จะกระทาติดต่อกันจนใกล้ชิดต่อผล
กรณีนี้เป็นการขยายหลักการ “กระทาขั้นสุดท้ายออกไป”
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ตัวอย่าง
1. ทยอยวางยาพิษให้ผู้ตายกินวันละมื้อ กินครบ 7 วันถึงตาย ถือว่าลงมือ
ตั้งแต่วางยามื้อแรก
2. จ้องปืนขึ้นเล็ง แม้ยังไม่ทันได้ลั่นไกปืน ก็เป็นการลงมือแล้ว
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ตัวอย่าง
ฎีกาที่ 147/2504 การที่จาเลยยกปืนที่พร้อมจะยิงได้จ้องไปทางตารวจซึ่ง
กาลังกอดปล้าจับกุมพวกของจาเลยโดยเจตนาที่จะยิง แม้ยังมิทันขึ้นนกปืนก็ตามก็
เป็นพยายามกระทาผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานผู้กระทาการตามหน้าที่แล้ว เพราะการ
ลงมือยิงได้เริ่มต้นขึ้นแล้วตั้งแต่ยกปืนที่พร้อมจะยิงขึ้นเล็งไปยังเป้าหมาย
การขึ้ น นกแล้ ว สั บ ไกเป็ น ขั้ น สุ ด ท้ า ยที่ ท าให้ ก ารยิ ง ส าเร็ จ การลงมื อ ยิ ง ได้
เริ่มต้นขึ้นแล้วตั้งแต่ยกปืนที่พร้อมจะยิงได้เล็งไปยังเป้าหมายโดยเจตนาที่จะยิง แม้
มิทันขึ้นนกปืนเพื่อสับไกก็เป็นพยายามกระทาผิดแล้ว
หลักความใกล้ชิดต่อผล
นอกจากนี้ยังมีหลักในทางตาราอธิบายว่า “หากเป็นการกระทาที่ใกล้ชิดกับ
การกระทาขั้นสุดท้ายจริง ๆ” ก็ถือว่า “ใกล้ชิดต่อผล” เช่นกัน (penultimate act)

ดังนั้น สรุปว่า การกระทาของผู้กระทา เป็น


last act
penultimate act
ก็ถือว่าเป็นการใกล้ชิดต่อผล และเป็นพยายามกระทาความผิดได้
หลักความใกล้ชิดต่อผล
คาพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ
ฎีกาที่1154/2533 จาเลยกับพวกประสงค์จะพาผู้เสียหายออกไปนอกประเทศ
เพื่อการรับจ้างให้เขาทาเมถุนกรรม แต่ถูกจับกุมเสียก่อนที่ท่าอากาศยานฯ ขณะที่
จาเลยกาลังเข้าแถวขอรับบัตรเลขที่นั่งในเครื่องบิน สาหรับจาเลยและผู้เสียหาย การ
กระทาของจาเลยกับพวกดังกล่าวจึง เป็นขั้นสุดท้ายของการดาเนินการพาผู้เสียหาย
ทั้ งสองออกไปจากประเทศเพื่อการรั บจ้า งให้ เขาท าเมถุนกรรม เป็นการกระท าที่
ใกล้ชิดต่อความผิดสาเร็จที่จะเกิดขึ้น จึงต้องถือว่าการกระทาของจาเลยกับพวกพ้น
ตระเตรียมการ เข้าสู่การลงมือกระทาความผิดแล้ว หากไปยังไม่สาเร็จเพราะมีถูกจับ
ได้เสียก่อนเช่นนี้ ย่อมเป็นความผิดฐานพยายามหาหญิงออกไปจากประเทศไทยเพื่อ
รับจ้างให้ทาเมถุนกรรมตามฟ้อง
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ตัวอย่าง
ฎีกาที่ 1647/2512 จาเลยมาพบผู้เสียหายที่บ่อน้า ผู้เสียหายพูดกับจาเลยเรื่องทา
ร้ายหลานชายผู้เสียหายซึ่งเป็นใบ้ จาเลยไม่พอใจผู้เสียหายและพูดว่า เดี๋ยวยิง ผู้เสียหาย
ท้าให้ยิง จาเลยจึงควักปืนออกมาปากกระบอกเพิ่งพ้นจากเอวยังไม่ทันหันมาทางผู้เสียหาย
ก็ถูกผู้เสียหายแย่งไปได้ การที่จาเลยชักปืนออกมาเป็นเพียงเตรียมการเอาปืนออกมา
เท่านั้นยังไม่ถึงขั้นลงมือ การที่จาเลยเพียงแต่ควักปืนยังไม่พ้นจากเอว จาเลยอาจทาท่าขู่ก็
ได้ พฤติ ก ารณ์ ยั ง ไม่ พ อฟั ง ว่ า จ าเลยมี เ จตนาจะฆ่ า การกระท าของจ าเลยจึ ง ยั ง ไม่ เ ป็ น
พยายามกระทาความผิดตามมาตรา 80
ฎีกาที่ 1786/2518 จาเลยชักปืนลู กซองสั้นจากเอว แต่ ยังมิทั นยกปืนจ้องไปทาง
ผู้เสียหายก็ถูกตีปืนหลุดมือ การลงมือยังไม่เริ่มต้น ไม่เป็นพยายามฆ่าคน
หลักความใกล้ชิดต่อผล
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้บันทึกไว้ท้ายฎีกาว่า
"... รู้สึกว่าศาลเคร่งครัดมากในการวินิจฉัยว่าการเริ่มลงมือพยายามฆ่าคนโดยใช้ปืนยิง การเริ่มลง
มือคือเริ่มการที่จะนาไปสู่ผลสาเร็จโดยไม่มีการหยุดยั้งในระหว่างนั้น ไม่มีการพักเป็นตอนๆซึ่งน่าจะได้แก่
เริ่มจับปืนเพื่อชักออกมาแล้วก็ยิงได้ติดต่อกันไป ไม่ต้องชักออกมาง้างนกเสียก่อนจึงจ้องยิง ถ้ารอจ้องยิงจึง
จะเป็นการเริ่มพยายามแล้ว ก็เห็นจะไม่ทันจับหรือแย่งปืนไปได้ก่อนที่จะลั่นไก"
คดีในศาลต่างประเทศถือว่า เพียงจาเลยดึงปืนออกมาพ้นจากกระเป๋า แม้ว่าจะยังมิทันได้เล็งไปที่
ผู้เสียหายก็เป็นการลงมือฆ่าแล้ว ศาลฎีกาของไทยถือว่าต้องมีการจ้องปืนไปที่ผู้เสียหายก่อน จึงจะมีการลง
มือ แม้ว่าจะยังไม่ขึ้นนกปืนเพื่อสับไกก็ตาม การวินิจฉัยเช่นนี้ก็คงเพื่อให้เป็นไปตามหลักที่ว่าการลงมือนั้น
คือการกระทาที่ใกล้ชิดต่อผลสาเร็จจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาของไทยก็มิได้ไปไกล
ถึงกับถือว่าจะต้องเป็นการกระทาขั้นสุดท้าย คือการลั่นไกปืน เพียงแต่จะต้องมีการเล็งปืนไปที่ผู้เสียหาย
ก่อนเท่านั้น แต่ละประเทศมองปัญหานี้ต่างกันก็เพราะเป็นนโยบายของแต่ละประเทศนั้นเองในการที่จะ
กาหนดว่าถึงจุดใดที่กฎหมายควรจะก้าวเข้าไปเกี่ยวข้องได้
หลักความใกล้ชิดต่อผล
กรณีท่ไี ม่ถือว่าเป็นการลงมือ
ฎีกาที่ 2650/2534 ตารวจจับจาเลยได้พร้อมรถยนต์ของกลางซึ่ง จอดอยู่ที่
ริมฝั่งแม่น้าที่เชื่อมติดประเทศลาว แต่ได้ความว่า น้าในแม่น้ามีระดับสูงรถยนต์ไม่
สามารถขับแล่น ข้ามไปได้ การกระทาของจาเลยจึงอยู่ในขั้นตระเตรียมการและ
ยังไม่เข้าถึงขั้นพยายามนารถออกนอกราชอาณาจักร
ข้อสังเกต หากจาเลยได้เตรียมพาหนะ เช่น แพ ไว้ริมแม่น้าแล้ว และจาเลย
ได้ เ ล่ น รถยนต์ ม าจอดที่ ริ ม แม่ น้ าโขงถื อ ได้ ว่ า จ าเลย "ลงมื อ " กระท าความผิ ด
เพราะเป็ น การกระท า "ขั้ น สุ ด ท้ า ย " ในการลั ก ลอบน ารถยนต์ ออกไปนอก
ราชอาณาจักรแล้ว
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
การไม่บรรลุผลอาจเกิดจากเหตุ 2 ประการคือ
1. กระทาไปไม่ตลอด
2. กระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่บรรลุผล
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. จาเลยยกปืนที่บรรจุกระสุนซึ่งพร้อมที่จะยิงได้ จ้องไปยังผู้เสียหายโดยมี
เจตนาที่จะยิง แต่มีอุปสรรคมาขัดขวางโดยมีผู้ร้องห้ามและเข้าไปกอดจาเลย
ไว้ จาเลยจึงยิงผู้เสียหายไม่สาเร็จ

เป็นการกระทาไปไม่ตลอด จาเลยก็มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายแล้ว
(ฎีกาที่ 1746/2518)
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
2. จ าเลยน าส าเนาระเบี ย นแสดงผลการเรีย นที่จ าเลยท าปลอมขึ้น แนบไป
พร้อมใบสมัครและใบขึ้นทะเบียนนักศึกษา ส่งไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์
ของจาเลยในการใช้หลักฐานปลอมดังกล่าวสมัครเข้าเป็นศึกษาโดยมุ่งประสงค์
ให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อว่าสาเนาระเบียนแสดงผลการเรียนดังกล่าวเป็นเอกสาร
อันแท้จริง แต่พนักงานไปรษณีย์ได้ทาหายไประหว่างนาส่ง
เป็นการกระทาไปไม่ตลอด จาเลยก็มีความผิดฐานพยายามแจ้งข้อความเท็จ
แก่เจ้าพนักงานตามมาตรา 137 ,มาตรา 80 (เทียบ ฎีกาที่ 1489/2552)
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
3.จ าเลยยิ ง ปื น ตรงไปทางผู้ เ สี ย หาย แต่ ก ระสุ น ปื น ไม่ ถู ก ผู้ เ สี ย หาย เพราะ
ผู้เสีย หายหลบเสียก่ อนนั้ นเป็น การกระทาไปตลอดแล้ว หากแต่ไม่บรรลุผล
ตามที่เจตนาเท่านั้น จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าคน
เป็นการกระทาไปตลอดแล้ว หากแต่ไม่บรรลุผลตามที่เจตนาเท่านั้น จึงเป็น
ความผิดฐานพยายามฆ่าคน (ฎีกาที่ 864/2502 )
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
4. แดงต้องการฆ่าดา จึงยิงปืนไปยังดา ดาถูกปืน แต่แพทย์รักษาช่วยชีวิตไว้ได้

เป็นการกระทาไปตลอดแล้ว หากแต่ไม่บรรลุผลตามที่เจตนาเท่านั้น จึงเป็น


ความผิดฐานพยายามฆ่าคน (ฎีกาที่ 864/2502 )
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
5. แดงต้องการฆ่าดา จึงวางยาพิษไว้ในยาแก้หวัด รอเวลาดาป่วยเป็นหวัดแล้ว
หยิบยาพิษนั้นมากิน ปรากฏว่าขาวมาหยิบยากิน ขาวถึงแก่ความตาย
แดงมีความผิดใดบ้าง
ความผิดต่อดา
ความผิดต่อแดง
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
6. Mr. John ทารายงานตรวจสอบหลักฐานอันเป็นเท็จส่งไปให้เจ้าพนักงาน เจ้า
พนักงานได้รับไว้แล้ว แต่เนื่องจาก Mr. John ทาเป็นภาษาอังกฤษ เจ้าพนักงาน
จึงไม่เข้าใจความหมาย
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
7. แดงต้องการลักร่มของดา จึงหลอกขาวว่า ร่มของดาที่วางอยู่เป็นของแดง
วานให้ ข าวหยิบให้ ขาวไม่ เชื่อ จึง ถามด าก่อน จึงรู้ว่าแดงโกหก เช่นนี้ แดงมี
ความผิดอย่างไร
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
8. แดงใช้ปืนจ่อหัวดา แล้วสั่งให้ดาใช้ไม้ตีหัวขาว
8.1 เพียงแต่สั่งให้ดาใช้ไม้ตีหัวขาว แดงมีความผิดอย่างไร
8.2 ดาใช้ไม้ตีหัวขาวจนหัวแตก แดงมีความผิดอย่างไร
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทาไม่
บรรลุผล
ข้อพิจารณา
1. การใช้ Innocent Agent ให้กระทาความผิดนั้น ถือว่าผู้ใช้เป็นผู้ลงมือ
กระทาความผิดนั้น และจะต้องรับโทษฐานพยายามเมื่อได้มีการใช้เกิดขึ้นแล้ว
โดยถือว่าเมื่อมีการใช้ก็เป็นการกระทา "ขั้นสุดท้าย" (last act) แล้ว
2. การใช้ให้ผู้อื่นกระทาความผิดตามมาตรา 84 นั้น การกระทาเพียงแต่
ใช้เท่านั้นไม่ถือว่าเป็นการพยายามกระทาความผิด จะถือว่าเป็นการพยายาม
กระทาความผิดนั้นได้ ต่อเมื่อผู้ถูกใช้ได้ลงมือกระทาความผิดนั้นแล้ว
ผลของการพยายามกระทาความผิดตามมาตรา 80
มาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า
“ผู้ใดพยายามกระทาความผิด ผู้นั้นต้องระวังโทษสองในสาม
ส่วนของโทษที่กฎหมายกาหนดไว้สาหรับความผิดนั้น”
ตัวอย่าง ระวางโทษจาคุก 7 ปี
ระวางโทษจาคุกตลอดชีวิต
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
มาตรา 81 ผู้ ใ ดกระท าการโดยมุ่ ง ต่ อ ผลซึ่ ง กฎหมายบั ญ ญั ติ เ ป็ น
ความผิด แต่การกระทานั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะ
เหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทาหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทาต่อ ให้ถือ
ว่าผู้นั้นพยายามกระทาความผิด แต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่
กฎหมายกาหนดไว้สาหรับความผิดนั้น
ถ้าการกระทาดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทาไปโดยความเชื่ออย่าง
งมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
หลักเกณฑ์
1. ผู้กระทาจะต้องมีเจตนากระทาความผิด และ
2. ผู้กระทาจะต้องกระทาการเพื่อให้บรรลุผลตามเจตนาอันเป็นการ
กระทาที่เลยขั้นตระเตรียม กล่าวคือถึงขั้นลงมือกระทาความผิดแล้ว และ
3. ผู้กระทากระทาไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทา
นั้นไม่บรรลุผล
4. การกระทานั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัย
ซึ่งใช้ในการกระทาหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทาต่อ
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ความแตกต่างระหว่างมาตรา 80 และมาตรา 81
การไม่บรรลุผลตามมาตรา 80 เกิดขึ้นโดยเหตุบังเอิญ และอาจเกิดจาก
ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทาหรือวัตถุที่มุ่งหมายกระทาต่อ หรือเพราะเหตุอื่น ๆ
ก็ได้
การไม่บรรลุผลตามมาตรา 81 นั้น เกิดขึ้นอย่างแน่แท้เด็ดขาด และเกิด
เฉพาะจากปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทา หรือวัตถุที่มุ่งหมายกระทาต่อเท่านั้น
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังนี้
1. แดงใช้ ปื น ที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ก ระสุ น บรรจุ อ ยู่ เ ลยยิ ง ด า โดยเข้ า ใจผิ ด คิ ด ว่ า มี
กระสุนบรรจุอยู่พร้อมแล้ว
2. แดงใช้ปืนบรรจุกระสุนปืน 7 นัด ยิงดา ปรากฏว่า กระสุนปืนนัดแรกด้าน
จึงมีคนเข้าคว้าปืนมาจากแดงได้
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ฎีกาที่ 980/2502 จาเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัด ยิงโจทก์ร่วม กระสุน
นัดแรกด้านไม่ระเบิดออก ซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพ หรือเพราะเหตุ
บังเอิญอย่างใดก็ได้ ไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้วกระสุนก็ต้องระเบิดออกและอาจเกิด
อันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หากเป็นการแน่แท้ว่าจะไม่สามารถกระทาให้ผู้ถูกยิง
ได้รับอันตรายจากการยิงของจาเลยเช่นนั้น กรณีจึงต้องปรับด้วยมาตรา 80 ไม่ใช่
มาตรา 81 และถ้ า หากไม่ มี ผู้ อื่ น ไม่ เ ข้ า มาขั ด ขวางจ าเลยไว้ ไ ด้ ทั น ท่ ว งที เช่ น นี้
จาเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่ในนั้นต่อไปอีกก็ได้ จึงยิ่ง
เห็นชัดว่าไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทาผิด ไม่สามารถจะกระทาให้วันรู้
ผลได้อย่างแน่แท้ ตามมาตรา 81
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ฎี ก าที่ 711/2513 จ าเลยใช้ ปื น ยิ ง ผู้ เ สี ย หายแต่ ก ระสุ น ปื น ไม่ ลั่ น จะเป็ น เพราะ
คุณภาพของกระสุนปืนนั้นไม่ดี หรือเพราะเหตุใดก็ตาม การกระทาของจาเลยเป็น
การพยายามตามมาตรา 80
ฎี ก าที่ 783/2513 กระสุ น ปื น เคยใช้ ยิ ง มาก่ อ น 3 ครั้ ง แล้ ว กระสุ น ด้ า น จ าเลย
นามาใช้ยิงผู้เสียหายอีกโดยเข้าใจว่ายังใช้ได้อยู่ แต่กระสุนก็ด้านอีก ถือว่าการที่
กระสุนไม่ระเบิดออกนี้เป็นแต่เพียงการที่เป็นไปไม่ได้โดยบังเอิญ หาเป็นการแน่
แท้ว่าจะไม่สามารถทาให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจาเลยไม่ ต้องปรับ
ด้วยมาตรา 80
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ฎี ก าที่ 4402/2530 จ าเลยขว้ า งลู ก ระเบิ ด ใส่ ผู้ เ สี ย หายโดยมี
เจตนาฆ่า แต่ลูกระเบิดไม่เกิดการระเบิด เพราะยังไม่ได้ถอด
สลักนิรภัย เมื่อปรากฏว่า ลูกระเบิดดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ใช้
การระเบิดได้ และหากระเบิดขึ้นจะมีอานาจทาลายล้างสังหาร
ชีวิตมนุษย์ จาเลยมีความผิดตามมาตรา 288, 80 ไม่ใช่มาตรา
288, 81
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ฎีกาที่ 1446/2513 จาเลยใช้ปืนยิงตรงที่ที่ผู้เสียหายเคยนอน
แต่กระสุนปืนไม่ถูกเพราะผู้เสียหายรู้ตัวเสียก่อนจึงย้ายไปนอน
เสี ย ที ร ะเบี ย ง การที่ ผู้ เ สี ย หายรู้ ตั ว แล้ ว หลบไป ไม่ อ ยู่ ใ นที่ ที่
จาเลยเข้าใจ ถือได้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญ และผู้เสียหายก็ยังคงอยู่
บนเรือนนั่นเอง ดังนี้การกระทาของจาเลยหาใช่เป็นเรื่องไม่
สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามมาตรา 81 ต้องปรับด้วย
มาตรา 80
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ฎีกาที่ 107/2510 จาเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายในระยะใกล้เพียงวาเดียว
บาดแผลเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณ รอบ ๆ
แผลเป็นรอยบวม บาดแผลไม่ลึก เนื่องจากติดกับกระดูกหน้าแข้งและที่หน้า
แข้งที่ตรงกับ แผลได้บุ๋มเข้าไปเพียงเล็กน้อย รักษาอยู่ 4 วันก็กลับบ้านได้
แสดงว่าบาดแผลมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เห็นได้ว่าปืนที่จาเลยใช้ยิงมีกาลัง
น้ อ ยมาก ดั ง นี้ ค วามผิ ด ของจ าเลยจึ ง ต้ อ งปรั บ ด้ ว ยมาตรา 81 โดยถื อ ว่ า
จาเลยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่ไม่สามารถบรรลุผลได้
อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทาผิด จาเลยย่อมมีความผิด
ตามมาตรา 288, 81
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ฎีกาที่ 107/2510 อาวุธปืนแก๊ปของกลางเป็นอาวุธที่สามารถทาอันตรายแก่ชีวิตและ
วัตถุได้ การที่กระสุนปืนไม่ลั่นเมื่อสับนกปืนนั้นสามารถเกิดขึ้นกับอาวุธปืนได้ หากดินปืนมี
ความชื้ น หรื อ เปี ย กชื้ น เพราะประกายไฟซึ่ ง เกิ ด จากนกปื น สั บ ไปที่ แ ก๊ ป ปื น ไม่ ส ามารถ
ลุกลามไปติดเนื้อดินปืนในลากล้องเพื่อส่งเม็ดตะกั่วที่บรรจุอยู่ออกไปทางปากกระบอกปืน
ได้ แสดงว่าในวันเกิดเหตุหากดินปืนที่บรรจุอยู่ในลากล้องอาวุธปืนของกลางแห้ง ไม่เปียก
ชื้น กระสุนปืนก็ต้องลั่นส่งเม็ดตะกั่วที่บรรจุอยู่ในลากล้องออกมาใส่ใบหน้าผู้เสียหายเป็น
อันตรายต่อชีวิตได้ การกระทาของจาเลยจึงเป็นการลงมือกระทาความผิดไปตลอดแล้ว แต่
การกระทาไม่บรรลุผลอันเป็นการพยายามกระทาความผิดตามมาตรา 80 หาใช่การกระทา
นั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนของกลางอัน
เป็นปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทาตามมาตรา 81 แต่อย่างใดไม่
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 980/2502 ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนอยู่
พร้อมแล้ว
• ฎี ก าที่ 107/2510 จ าเลยใช้ ปื น ยิ ง ในระยะใกล้ เ พี ย งวาเดี ย ว ผู้ เ สี ย หายมี บ าดแผลเป็ น
วงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณรอบๆแผลเป็นรอยบวม บาดแผล
ไม่ ลึก เนื่อ งจากติ ด กั บ กระดู ก หน้ า แข้ ง และที่ห น้า แข้ งที่ต รงกั บ แผลได้ บุ๋ ม เข้ า ไปเพีย ง
เล็กน้อย บาดแผลนี้รักษาอยู่ 4 วันก็กลับบ้านได้ แสดงว่าบาดแผลมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งเห็นว่าปืนที่จาเลยใช้ยิงมีกาลังน้อยมาก ฎีกาที่ 77/2555 และ ฎีกาที่ 2249/2554 ก็
ตัดสินทานองเดียวกัน
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 980/2502 ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนอยู่
พร้อมแล้ว
• ฎี ก าที่ 107/2510 จ าเลยใช้ ปื น ยิ ง ในระยะใกล้ เ พี ย งวาเดี ย ว ผู้ เ สี ย หายมี บ าดแผลเป็ น
วงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณรอบๆแผลเป็นรอยบวม บาดแผล
ไม่ ลึก เนื่อ งจากติ ด กั บ กระดู ก หน้ า แข้ ง และที่ห น้า แข้ งที่ต รงกั บ แผลได้ บุ๋ ม เข้ า ไปเพีย ง
เล็กน้อย บาดแผลนี้รักษาอยู่ 4 วันก็กลับบ้านได้ แสดงว่าบาดแผลมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งเห็นว่าปืนที่จาเลยใช้ยิงมีกาลังน้อยมาก
• ฎีกาที่ 1361/2514, ฎีกาที่ 281/2517, ฎีกาที่ 1480/2520, ฎีกาที่ 77/2555 และ ฎีกาที่ 2249/2554
ก็ตัดสินทานองเดียวกัน คือ บาดแผลแสดงถึงประสิทธิภาพของปืน
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 1720 / 2513 จ าเลยขว้ า งระเบิ ด ขวดขนาดเท่ า กล่ อ งไม้ ขี ด ไฟไปยั ง
กลุ่ ม คนที่ ก าลั ง ชกต่ อ ยวิ ว าทกั บ พวกของจ าเลยโดยเจตนาฆ่ า เป็ น เหตุ ใ ห้
ผู้ เ สี ย หายซึ่ ง เป็ น บุ ค คลภายนอกได้ รั บ บาดเจ็ บ เพราะถู ก สะเก็ ด ระเบิ ด เมื่ อ
ปรากฏว่าระเบิดขวดที่จาเลยขว้างไปนั้นไม่อาจทาให้ผู้ที่ถูกสะเก็ดระเบิดถึงแก่
ความตายได้เพราะวัตถุระเบิดนั้นมีกาลังอ่อน ดังนี้ต้องถือว่าการกระทาของ
จาเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทา
ความผิดตามมาตรา 81
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 1720 / 2513 จ าเลยขว้ า งระเบิ ด ขวดขนาดเท่ า กล่ อ งไม้ ขี ด ไฟไปยั ง
กลุ่ ม คนที่ ก าลั ง ชกต่ อ ยวิ ว าทกั บ พวกของจ าเลยโดยเจตนาฆ่ า เป็ น เหตุ ใ ห้
ผู้ เ สี ย หายซึ่ ง เป็ น บุ ค คลภายนอกได้ รั บ บาดเจ็ บ เพราะถู ก สะเก็ ด ระเบิ ด เมื่ อ
ปรากฏว่าระเบิดขวดที่จาเลยขว้างไปนั้นไม่อาจทาให้ผู้ที่ถูกสะเก็ดระเบิดถึงแก่
ความตายได้เพราะวัตถุระเบิดนั้นมีกาลังอ่อน ดังนี้ต้องถือว่าการกระทาของ
จาเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทา
ความผิดตามมาตรา 81
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 5997/2560 จาเลยใช้ระเบิดขว้างปาใส่หน้ารถ ย่อมเล็งเห็นได้ว่าน่าจะเป็นอันตรายแก่
ผู้เสียหายที่ 1,3 และผู้โดยสารอื่นในรถ จาเลยรู้อยู่ว่าระเบิดใช้งานได้ อันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อ
แสดงให้เห็นถึงเจตนาฆ่า แต่การกระทาไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
• โจทก์และโจทก์ร่วมไม่นาสืบว่า ระเบิดมีอานุภาพร้ายแรงถึงขนาดที่ทาอันตรายแก่ชีวิตหรือไม่ โดย
โจทก์มีเศษเทปกาวสีดาเก็บได้จากถนนที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานตรวจสอบแล้วพบเขม่าดินปืนติดอยู่
ที่เศษเทปกาวของกลางเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้วัตถุระเบิดมาเป็นของกลาง พยานหลักฐานโจทก์ยัง
มีข้อสงสัยตามสควรว่าระเบิดที่จาเลยขว้างมีอนุภาพร้ายแรงสามารถทาอันตรายแก่ชีวิตหรือไม่
เช่นนี้ฟังได้เพียงว่า วัตถุระเบิดของจาเลยซึ่งใช้ในการกระทามีอานุภาพไม่ร้ายแรงเพียงพอที่จะทา
อันตรายแก่ชีวิตได้ ย่อมทาให้การกระทาของจาเลยเป็นความผิดตาม ม.288 ประกอบ ม. 81
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 2848/2559 วัตถุระเบิดเป็นอาวุธซึ่งปกติมีอานุภาพในการทาลายสูง การที่จาเลยที่ 2 ใช้ระเบิดขว้างใส่
ผู้เสียหายได้ความว่า ระเบิดดังกล่าวบรรจุก้อนหินและเศษโลหะหลายชิ้น หากเกิดระเบิดก้อนหินกับเศษ
โลหะอาจถูกอวัยวะสาคัญของร่างกายย่อมทาอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกับระเบิดชนิดอื่น ๆ การที่
จาเลยทั้งสองร่วมกันใช้วัตถุระเบิดขว้างใส่ผู้เสียหายและเกิดระเบิดขึ้นถูกผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทาไปโดย
ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจทาให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แม้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเพียงมีบาดแผล
บริเวณหนังตาขวาและต้นแขนขวาขนาด 2 คูณ 3 ซม. หลายแผล ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของ
แพทย์ก็เป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพของดินระเบิดที่เป็นปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทามีอนุภาพไม่
ร้ายแรงเพียงพอที่จะทาอันตรายต่อชีวิตได้ หาใช่เป็นเพราะจาเลยทั้งสองมีเจตนาเพียงต้องการทาร้าย
ร่างกายผู้เสียหายไม่ และการที่วัตถุระเบิดที่เป็นปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทามีอานุภาพไม่ร้ายแรงเพียงพอที่จะ
ทาอันตรายต่อชีวิตได้ดังกล่าวย่อมทาให้การกระทาของจาเลยทั้งสองไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ หา
ใช่เป็นเพราะจาเลยทั้งสองไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายไม่
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 6265/2555 อาวุธปืนที่จาเลยที่ 1 ใช้ยิงรถเป็นเพียงอาวุธปืนแก๊ป ยาวประจุปาก เมื่อ
พิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าจาเลยที่ 1 ยิงในขณะที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับรถสวนมา หาก
อาวุธปืนของกลางมีอานุภาพร้ายแรงจริงน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงมาก แต่จาก
รายงานการตรวจพิ สู จ น์ ส ภาพรถบรรทุ ก ปรากฏความเสีย หายเพี ย งมี ร่ อ งรอยถู ก ยิ ง ด้ ว ย
กระสุ น ปื น 8 รอย รอยยุ บ แต่ ล ะรอยดั ง กล่ า วไม่ ลึก มาก คงมี แ ต่ ค รอบพลาสติ กของกรอบ
กระจกหน้าข้างขวาด้านในเพียงแห่งเดียวที่มีรูทะลุค่อนข้างลึก และมีกระจกบังลมหน้ารถแตก
จากกระสุนปืน ส่วนบุคคลที่นั่งอยู่ในรถไม่ได้รับอันตรายจากกระสุนปืนเลย แสดงว่าอาวุธปืน
ของกลางไม่มีอานุภาพร้ายแรงนัก การกระทาของจาเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
ผู้อื่นที่ไม่สามารถบรรลุผลได้แน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทาความผิด
ตามมาตรา 81 วรรคแรก
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 6265/2555 การที่จาเลยที่ 2 ใช้ให้จาเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงรถบรรทุกดังกล่าวถือได้ว่า
เป็นพฤติการณ์ที่อาจเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดการกระทาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นได้ เมื่อการ
กระทาของจาเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นที่ไม่สามารถบรรลุผลได้แน่แท้ เพราะ
เหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทา จาเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทาความผิดฐาน
ดั ง กล่ า ว ซึ่ ง เป็ น ความรั บ ผิ ด ทางอาญาตามความผิ ด ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการใช้ ตามมาตรา 87
วรรคแรก

การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 4166/2547 การพฤติการณ์ของจาเลยนับแต่จูงผู้เสียหายไปที่ที่นอน ถอดกางเกง
ผู้เสียหายออกและใช้อวัยวะเพศของจาเลยยัดใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเจ็บ
แต่ร้องไม่ออกเพราะจาเลยใช้มือบีบคอไว้ ซึ่งจาเลยทาอยู่นาน ผู้เสียหายเจ็บจนกระทั่งมี
น้าสีขาวออกมาจากอวัยวะเพศของจาเลย อากัปกิริยาเช่นนี้ของจาเลยเห็นได้ชัดเจนว่า
จาเลยเจตนาชาเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทาชาเราแล้ว แต่ที่การกระทาไม่บรรลุผล
เป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กเนื่องจากเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 8 ปี เป็น
เหตุ ใ ห้ จ าเลยไม่ ส ามารถสอดใส่ อ วั ย วะเพศของตนล่ ว งล้ าเข้ า ไปในอวั ย วะเพศของ
ผู้เสียหายได้ จาเลยจึงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทาชาเราผู้เสียหาย หาใช่เจตนา
เพียงกระทาอนาจารไม่
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ตัวอย่างตามมาตรา 81
• ฎีกาที่ 4166/2547 การพยายามกระทาชาเราที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ ตาม
มาตรา 81 ต้ อ งเป็ น กรณี ที่ เ กี่ ย วกั บ ปั จ จั ย หรื อ วั ต ถุ ซึ่ ง ใช้ ใ นการกระท าผิ ด ไม่ ส ามารถ
บรรลุ ผ ลได้ อ ย่ า งแน่ แ ท้ เช่ น หญิ ง ไม่ มี ช่ อ งคลอด ผิ ด ปกติ ม าแต่ ก าเนิ ด ซึ่ง อย่ า งไร ๆ
อวั ย วะเพศชายก็ ไ ม่ ส ามารถสอดใส่ อ วั ย วะเพศของตนเข้ า ไปในอวั ย วะเพศของหญิ ง
ดังกล่าวได้ แต่สาหรับในกรณีของจาเลยที่ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปใน
อวัยวะเพศของผู้เสียหาย มิได้เกิดจากความผิดปกติที่ช่องคลอดของผู้เสียหาย แต่เป็น
เพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กตามธรรมชาติในวัยเด็กเล็ก ที่มีอายุเพียง 8 ปี
การกระทาของจาเลยจึงไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทาผิดไม่สามารถบรรลุผลได้
อย่างแน่แท้ตามความหมายในมาตรา 81
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ผลของการพยายามกระทาความผิดซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
1. ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่ง ของโทษที่กฎหมายกาหนดไว้สาหรับความผิด
นั้น ซึ่งหมายความว่าจะลงโทษน้อยเพียงใดก็ได้ แต่ขั้นสูงจะต้องไม่เกินกึ่งหนึ่ง
ผู้สนับสนุนในการพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ ก็
รับโทษสองในสามส่วนของโทษถึงหนึ่งของโทษทั้งหมด เช่น โทษของความผิด
สาเร็จคือ 6 ปี กึ่งหนึ่งคือ 3 ปี สองในสามของ 3 ปี คือ 2 ปี
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ผลของการพยายามกระทาความผิดซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
2. ศาลอาจจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ หากการกระทาซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่
แท้นั้นได้กระทาไปโดยความเชื่ออย่างมงาย เช่น ก. โกรธ ข. และต้องการฆ่า
ข. ให้ตาย ก. จึงไปปรึกษากับ ค. ซึ่งเป็นหมอผี หมอผีมอบหนังควายชิ้นหนึ่ง
มาให้ ก. โดยให้ทองเวทมนต์คาถาเสกเป่าให้หนังควายเข้าไปในท้อง ข. ก. ทา
ตาม เช่นนี้ ถือว่าเป็นการพยายามกระทาความผิด ซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเชื่ออย่างงมงาย ซึ่งศาลอาจจะไม่ลงโทษก็ได้
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ถาม
การขาดองค์ประกอบภายนอกจะถือว่าเป็นความผิดฐานตาม
ตามมาตรา 81 หรือไม่
ตอบ
มี 2 ความเห็น
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ความเห็ น แรก ถื อ ว่ า การพยายามกระท าความผิ ด ตามมาตรา 81 ก็ เ ป็ น
เช่นเดียวกับมาตรา 80 คือ องค์ประกอบภายนอกของความผิด จะต้องมีอยู่ครบถ้วน
เสียก่อน หากความจริงปรากฏว่าขาดข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบภายนอกของ
ความผิดไปแล้ว ผู้กระทาก็ไม่ต้องรับผิดฐานพยายาม ไม่ว่าจะพยายามตามมาตรา 80
หรือมาตรา 81
ฎีกาที่ 7144 / 2545 วินิจฉัยว่า ชายข่มขืนเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี ซึ่งตายไป
แล้วโดยคิดว่าหญิงสลบ ชายไม่ผิดมาตรา 277 วรรคสอง เพราะเด็กไม่มีสภาพเป็น
บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ความเห็นที่สอง ถือว่า การขาดองค์ประกอบ ผู้กระทามีความผิดฐานพยายามตาม
มาตรา 81 ได้ โดยถือว่าเป็นการไม่บรรลุผลอย่างแน่แท้ เหตุที่ผู้กระทาต้องรับผิดเพราะผู้
กระทาได้มีเจตนากระทาโดย “มุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ”แล้ว จึงควรต้อง
ลงโทษผู้กระทา
ฝ่ายที่สองนี้มีความเห็นว่ามาตรา 81 มิได้ขึ้นต้นเช่นเดียวกับมาตรา 80 แต่ใช้ความ
ว่า “ผู้ใดกระทาการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ” จึงมิได้อยู่ภายใต้หลัก
ทั่ ว ไปของการพยายามกระท าความผิ ด ตามมาตรา 80 ที่ ว่ า จะต้ อ งมี อ งค์ ป ระกอบอยู่
ครบถ้วนบริบูรณ์เสียก่อน และจะสังเกตได้จากความในตอนท้ายของมาตรา 81 ที่ว่า “ให้
ถื อ ว่ า ผู้ นั้ น พยายามกระท าความผิ ด ” ซึ่ ง แสดงว่ า ไม่ ใ ช่ ก ารพยายามกระท าความผิ ด
โดยทั่วไปตามมาตรา 80
การพยายามกระทาความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้
ความเห็ น ที่ส อง ฝ่ า ยนี้มีค วามเห็ น ต่ อ ไปอีก ว่า การเอาปืนยิงคนที่ต ายแล้ วด้ วย
เจตนาที่จะฆ่าเพราะเข้าใจว่ามีชีวิตอยู่นั้น ไม่ใช่การลงมือกระทาความผิด เพราะเป็นการ
ขาดองค์ประกอบของความผิดจึงเป็นการพยายามกระทาความผิดไม่ได้ตามหลักทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ผู้กระทาก็ต้องมีความผิดตามมาตรา 81 เพราะกฎหมายบัญญัติว่า “ให้ถือว่า
ผู้นั้นพยายามกระทาความผิด”
กรณีที่องค์ประกอบของความผิดมีครบถ้วน แต่การกระทาไม่บรรลุผลเพราะปัจจัยที่
ใช้ในการกระทา เช่น ปืนที่ตนไม่รู้ว่าไม่มีลูก ยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาจะฆ่า สายที่ 2 นี้มี
ความเห็นว่า แม้การกระทาดังกล่าวจะเป็นการพยายามกระทาความผิดตามมาตรา 80 ก็
ตาม แต่ก็มีมาตรา 81 บัญญัติไว้แล้ว ก็ถือว่าผู้กระทารับผิดตามมาตรา 81 และไม่ต้องรับผิด
ฐานพยายามฆ่าตามมาตรา 80 อีกต่อไป
การพยายามกระทาความผิด
การยับยั้งหรือกลับใจ
การยับยั้งหรือกลับใจ
มาตรา 82 ผู้ใดพยายามกระทาความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่
กระทาการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล ผู้
นั้นไม่ต้องรับโทษสาหรับการพยายามกระทาความผิดนั้น แต่ถ้าการที่
ได้กระทาไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้อง
รับโทษสาหรับความผิดนั้น ๆ
การยับยั้งหรือกลับใจ
หลักเกณฑ์
1. ผู้กระทาจะต้องลงมือกระทาความผิดแล้ว
2. ความผิดที่กระทายังไม่สาเร็จผลตามที่ผู้กระทาเจตนา
3. ผู้กระทายับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
1.ผู้กระทาจะต้องลงมือกระทาความผิดแล้ว
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังนี้
1. แดงต้องการฆ่าดา จึงพกปืนไปที่บ้านดา เมื่อไปถึงเห็นดากินข้าว
กั บ ด.ช. ขาว ลู ก ชาย อายุ เ พี ย ง 3 ขวบ แดงสงสารจึ ง ล้ ม เลิ ก
ความตั้งใจ
2. หากข้อเท็จจริงเป็นว่า ขณะแดงจ้องปืนจะยิงดา ฟ้าเดินผ่านมา
แดงจึ ง ลดปื น ลง เมื่ อ เห็ น ว่ า ฤกษ์ ยิ ง ผ่ า นไปแล้ ว จึ ง เก็ บ ปื น แล้ ว
เลื่อนวันมาฆ่าดาเป็นพรุ่งนี้แทน
1.ผู้กระทาจะต้องลงมือกระทาความผิดแล้ว
ข้อสังเกต
มาตรา 219 บัญญัติให้การตระเตรียมการวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น
ตามมาตรา 217 และมาตรา 218 ผู้ตระเตรียมการต้องระวางโทษเท่ากับ
พยายาม
ดังนั้น การลงมือกระทาความผิดแล้ว ยังได้รับประโยชน์ตามมาตรา
82 เมื่อตระเตรียมการแล้วยับยั้งไม่ลงมือกระทาความผิด ก็น่าจะได้รับ
การยกเว้น ด้วย ด้วยเหตุที่ว่า การลงมือแล้ว ร้ายแรงกว่ายังได้รับ การ
ยกเว้น ตระเตรียมการก็ควรได้รับการยกเว้นเช่นกัน
2. ความผิดที่กระทายังไม่สาเร็จผลตามที่ผู้กระทาเจตนา
ลองพิจารณาความผิดดังนี้
มาตรา 284 ผู้ ใ ดพาผู้ อื่ น ไปเพื่ อ การอนาจาร โดยใช้ อุ บ าย
หลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กาลังประทุษร้าย ใช้อานาจครอบงาผิดคลองธรรม
หรือใช้วธิ ีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ต้องระวางโทษ...
มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ใน
เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสานักงานในความครอบครอง
ของผู้อื่น....
2. ความผิดที่กระทายังไม่สาเร็จผลตามที่ผู้กระทาเจตนา
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังนี้
แดงเข้าไปในบ้านของนายดาเพื่อลักทรัพย์ แต่ยังไม่ทันแตะต้อง
ทรัพย์ของนายดา แดงเกิดสงสารนายดาจึงเลิกล้มไปไม่ลักทรัพย์ดา
และเดินออกมาจากบ้าน
แดงมีความผิดใด และต้องรับโทษอย่างไร
2. ความผิดที่กระทายังไม่สาเร็จผลตามที่ผู้กระทาเจตนา
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังนี้
1. แดงมีความผิดตามมาตรา 364 สาเร็จแล้ว และมีความผิดฐานพยายามลัก
ทรัพย์ในเคหสถานตามมาตรา 335(8), 80 เพียงเท่านี้ต้องลงโทษดาตามมาตรา 335,
80
โทษตาม 364 คุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
โทษตามมาตรา 335 ระวางโทษจาคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000
บาท ถึง 100,000 บาท ระวางโทษ 2/3 ก็ยังหนักกว่าความผิดตามมาตรา 364 ต้อง
ลงโทษตามมาตรา 335(8), 80
2. ความผิดที่กระทายังไม่สาเร็จผลตามที่ผู้กระทาเจตนา
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังนี้
2. การที่แดงยังไม่ทันแตะต้องทรัพย์ของดา เท่ากับเป็นการยับยั้งไม่กระทาการ
ไปโดยตลอด
ด้วยเหตุนี้ แดงได้รับประโยชน์จากมาตรา 82 ไม่ต้องรับโทษสาหรับความผิด
ฐานลักทรัพย์ แต่ยังคงต้องรับผิดตามมาตรา 364 เนื่องจากเป็นความผิดสาเร็จตั้งแต่
แดงได้เข้าไปในบ้านของดาแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 82 ที่ว่า “... แต่ถ้าการที่ได้
กระทาไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสาหรับ
ความผิดนั้น ๆ”
2. ความผิดที่กระทายังไม่สาเร็จผลตามที่ผู้กระทาเจตนา
ข้อสังเกต
ความผิดที่ไม่มีการพยายามกระทาความผิด เช่น ความผิดฐานไม่
ช่วยผู้ที่ตกอยู่ในภยันตรายตามมาตรา 374 ก็ไม่มีกรณียับยั้งหรือกับใจ
เช่นกัน
ตัวอย่าง แดงไม่ช่วยดาซึ่งกาลังจมน้าทั้ง ๆ ที่เเดงช่วยได้ แดงผิด
ตามมาตรา 374 เป็นความผิดสาเร็จทันทีที่ไม่ช่วย แม้ต่อมาจะเกิดสงสาร
ดาและช่วยอุ้มขึ้นมาจากน้าจนน้าปลอดภัย แดงก็ไม่ได้รับประโยชน์ตาม
มาตรา 82
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
แยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ
ก. ผู้กระทายับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด
ตัวอย่าง
(1) ก. ต้องการฆ่า ข. ก. ยกปืนเล็งไปยัง ข. แล้ว ก. เกิด
สงสาร ข. จึ ง ยั บ ยั้ ง ไม่ ยิ ง ข. เช่ น นี้ ถื อ ว่ า เป็ น การยั บ ยั้ ง เสี ย เองไม่
กระทาการให้ตลอด
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
แยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ
ก. ผู้กระทายับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด
ตัวอย่าง
(2) ก. ต้องการฆ่า ข. โดยเอายาพิษให้ ข. กิน ก. เอายา
พิ ษ ผสมในอาหารและว่ า อาหารนั้ น ไว้ บ นโต๊ ะ อาหารที่ บ้ า นของ ข.
ก่อนที่ ข. จะมากินอาหาร ก. เกิดสงสารจึงเตือน ข. ให้รู้ว่าเป็นยาพิษ
หรือเอาไปเททิ้งเสีย
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
(3) ฎีกาที่ 508/2529 จาเลยท้าทาย ธ. ให้มาสู้กัน และวิ่งไล่แทง
จนถึงหน้าบ้าน ธ. จึงหยุดไล่ ต่อมาจาเลยถือปืนยาวเมื่อใกล้ถึงตัว ธ. ก็
จ้องปืนมายัง ธ. โดยนิ้วมือสอดเข้าไปในโกร่งไกปืน ธ. วิ่งหนี จาเลยไม่ได้
วิ่งตาม โดยกลับใจเอาปืนมาจ้อง ว. แทน ทั้งที่มีโอกาสจะยิง ธ. ได้ จึงเป็น
การยับยั้งเสียไม่กระทาให้ตลอด แม้จาเลยจ้องปืนไปทาง ว. ว. พูดว่าไม่
เกี่ยวและหลบไปทางหลังบ้าน จาเลยก็เดินไปทางหนึ่งโดยไม่ตามเข้าไปยิง
ว. ทั้งที่มีโอกาสจะยิงได้ จึงเป็นการยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด
จาเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานพยายามฆ่า ธ. และ ว.
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
(4) ฎีกาที่ 5089/2542 สามีมีเจตนาฆ่าภริยา และใช้มีดโต้ฟันภริยา
ไปแล้ ว ต่ อ มาทิ้ ง มี ด โต้ แ ล้ ว ร้ อ งไห้ เ ข้ า ไปสวมกอดภริ ย า โดยพู ด ว่ า รั ก
ภรรยามาก หากไม่รักก็คงฆ่าภริยาไปแล้ว สามีมีความผิดฐานพยายามฆ่า
การทิ้งมีดโต้และเข้าสวมกอดไม่เป็นการยับยั้งตามมาตรา 82 แต่อย่างใด
หมายเหตุ จะถือเป็นการยับยั้งตามมาตรา 82 จะต้องเป็นกรณี เงื้อมีดโต้
จัดฟันแล้ว แต่สงสารจึงไม่ฟัน
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
(5) ฎีกาที่ 1218/2530 จาเลยชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุ 4 ปีเศษ
ไปดูการ์ตูนที่บ้านจาเลยแล้วพาไปนอนบนกระดาน ถอดกางเกงผู้เสียหาย
และจ าเลยออก แล้ ว จ าเลยใช้ อ วั ย วะเพศดั น ไปตรงอวั ย วะเพศของ
ผู้เสียหายเพียงครั้งเดียว บริเวณอวัยวะเพศของผู้เสียหายไม่มีบาดแผล
จาเลยไม่ได้กระทาซ้าต่อไปเพื่อให้สาเร็จความใคร่ ทั้ง ๆ ที่จาเลยมีโอกาส
ที่จะกระทาได้ นับได้ว่าเป็นการยับยั้งเสียเองไม่กระทาให้ตลอด จาเลยจึง
มีความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทาชาเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี ตาม
มาตรา 277 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 80, 82
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
(5) ฎีกาที่ 1218/2530 ข้อสังเกต
1.จาเลยก็ไม่ต้องรับโทษสาหรับการพยายามกระทาความผิดฐานกระทาชาเราเด็ก
คงมีค วามผิดเท่ าที่ต้องตามกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด คือกระท าอนาจารตาม
ม.279
2. ข้อเท็จจริง ผู้เสียหายไม่มีช่องคลอด ผิดปกติแต่กาเนิด อันเป็นเหตุประกอบให้
เห็ น ว่ า โดยสภาพวั ต ถุ ที่ มุ่ ง หมายกระท าต่ อ ท าให้ ก ารกระท าของจ าเลยไม่ ส ามารถ
บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ แต่ศาลวินิจฉัยว่า การที่จาเลยหยุดกระทาต่อผู้เสียหายนั้น ไม่
ปรากฏว่าเพราะได้เห็นหรือทราบข้อเท็จจริงอันนี้ จึงเป็นการยับยั้งเสียเองเข้าตาม ม. 82
แต่การที่ศาลปรับใช้ ม.80, 82 น่าจะไม่ตรงตามข้อเท็จจริง น่าจะเป็น 81, 82
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
ข. ผู้ ก ระท ากลั บ ใจแก้ ไ ขไม่ ใ ห้ ก ารกระท านั้ น บรรลุ ผ ล หมายความว่ า
ผู้กระทาได้กระทาการไปตลอดแล้ว แต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทาซึ่งได้ทาไป
ตลอดแล้วนัน้ บรรลุผล
ตัวอย่าง
ก. ต้องการฆ่า ข. จึงใช้ปืนยิง ข. ในป่าลึก ปรากฏว่ากระสุนถูก ข. บาดเจ็บ
ก. เกิดสงสาร ข. จึงพา ข. ไปรักษาจนหาย เช่นนี้ถือว่า ก. กลับใจแก้ไขไม่ให้การ
ยิงของ ก. นั้นบรรลุผล (ความตายของ ข.) หรือ ก. ต้องการฆ่า ข. จึงเอายาพิษ
ผสมในอาหารให้ ข. กิน ข. กินยาพิษเข้าไปแล้ว ก. สงสาร ข. จึงเอายาถอนพิษให้
ข. กิน ข. ไม่ตาย
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการยับยั้งและกลับใจ
(1) หากยับยั้งไม่กระทาการให้ตลอด อาจใช้กับกรณีตามมาตรา 81 ได้ด้วย
(2) การยับยั้งและการกลับใจแก้ไขนั้น ไม่น่าจะมีได้พร้อม ๆ กัน
(3) กรณีที่แดงยิงดาแล้ว กระสุนนัดแรกไม่ถูกดาเพราะดาหลบทัน แดงสงสาร
จึงไม่ยิงอีก ทั้ง ๆ ที่แดงสามารถยิงดาได้ และมั่นใจว่าหากยิงอีกจะต้องถูก ดาตายแน่
ๆ เช่นนี้ แดงได้กระทาการทุกอย่างที่จาเป็นต้องกระทาเพื่อให้ดาตายแล้ว เพียงแต่ดา
โชคดีกระสุนไม่ถูกตัวเท่านั้น ไม่เป็นการยับยั้ง เพราะได้กระทาการไปตลอดแล้ว และ
ไม่เป็นการกลับใจ เพราะดามิได้ถูกยิง กรณีจะเป็นเรื่องกลับใจได้ดาจะต้องถูกยิงและ
แดงพาไปรักษาจนหาย
3. ยับยั้งเสียเองไม่กระทาการให้ตลอด หรือกระทาไป
ตลอดแล้วแต่กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทานั้นบรรลุผล
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการยับยั้งและกลับใจ
(4) หากแดงเล็งจะยิงดาแล้ว แต่เกิดเปลี่ยนใจยิงไปทางอื่น เช่นนี้ เป็นยับยั้งได้
(5) การใช้ Innocent Agent ให้กระทาผิดก็มีการยับยั้งได้
ตัวอย่าง
แดงต้องการลักร่มของดา จึงขอให้ขาวให้ส่งร่มของดามาให้ โดยหลอกว่าเป็นร่มของแดง
เอง เพียงเท่านี้ก็ถือว่าแดงพยายามลักร่มของดาแล้ว หากขณะขาวกาลังจะหยิบร่มของดา แดง
ร้องบอกขาวว่า "ไม่เอาแล้ว" ขาวจึงไม่ทันได้หยิบร่มของดา เช่นนี้ถือว่าแดงยับยั้งเสียเอง แต่
หากขาวแตะต้องร่มจนเคลื่อนที่แล้ว ต้องถือว่าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สาเร็จแล้ว แม้แดงจะ
ร้องบอกขาวให้เอาร่มกลับไปคืนไว้ที่เดิม แดงก็ไม่ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 82
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
หลักเกณฑ์มีดังนี้
4.1 เป็นการยับยั้งหรือกลับใจโดยตั้งใจหรือโดยเจตนา
4.2 เป็นการยับยั้งหรือกับใจโดยสมัครใจ
4.3 เป็นการยับยั้งหรือกลับใจเป็นเหตุให้การกระทาความผิดไม่
บรรลุผล
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
4.1 เป็นการยับยั้งหรือกลับใจโดยตั้งใจหรือโดยเจตนา
เช่น แดงต้องการฆ่าดา โดยให้ยาพิษดากิน แดงเกรงว่าดาจะไม่
ตายจึงเอายาพิษกรอกปากดาอีกจานวนหนึ่งซึ่งความจริงสิ่งนั้นคือยา
ถอนพิษ แต่แดงเข้าใจว่าเป็นยาพิษ ดารอดตายได้เพราะยาถอนพิษนั้น
เช่นนี้ไม่ถือเป็นการกระจายตามมาตรา 82
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
4.2 เป็นการยับยั้งหรือกลับใจโดยสมัครใจ
กล่าวคือ ผู้กระทาได้ยับยั้งเลยกลับใจทั้ง ๆ ที่เขาตระหนักดีว่า
หากกระทาต่อไปก็จะบรรลุผล
หลักสาคัญอยู่ตรงที่ว่า ผู้กระทาได้ยับยั้งหรือกลับใจ “ด้วยความ
สมัครใจ” ของตนเองอย่างแท้จริงหรือไม่เท่านั้น
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
ฎีกาที่ 203/2502 จาเลยเข้าขู่เอาเงิน เจ้าทรัพย์ทักขึ้น จาเลยจึงว่าเจ้าทรัพย์เป็น
พวกเดียวกันให้หยุดปล้น ดังนี้ เป็นการยับยั้งเสียเองไม่ต้องรับโทษฐานพยายามปล้น
คดีนี้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นการยับยั้งตามมาตรา 82 โจทก์จึงฎีกาว่าจาเลยมิได้ยับยั้ง
ด้วยความคิดที่สุจริตแห่งจิตของตนโดยแท้ แต่ที่ไม่ได้กระทาต่อไปเพราะกลัวความผิด
เนื่องจากเอันเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้กระทาต่อไป จาเลยจึงมีความผิดฐานพยายาม
ศาลฎีกาเห็นว่าการที่พวกจาเลยมิได้กระทาไปจนบรรลุผลสาเร็จ เพราะเห็นว่า
ผู้ เ สี ยหายเป็ น พวกเดีย วกั น จึ ง หยุด การกระท าเสีย นั้น เป็น การยับ ยั้ง เสีย เอง หาใช่
เพราะมี อุ ป สรรคอื่น ขั ด ขวางไม่ ดั ง นั้ น ศาลอุ ท ธรณ์ ไ ด้ พิ พ ากษาให้ ย กฟ้ อ งโจทก์ จึ ง
ถูกต้องแล้ว"
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
ฎีกาที่ 203/2502 ข้อสังเกต คดีนี้ ไม่ปล้นต่อให้สาเร็จ เพราะรู้จักกันเลยไม่ทา
มิใช่เกิดจากอุปสรรคในการปล้น ดังนั้นหากข้อเท็จจริงเป็นว่า ที่ล้มเลิกไม่ปล้นให้
สาเร็จ เพราะตระหนักดีว่าการกระทาผิดของตนนั้นมีผู้ล่วงรู้เสียแล้ว เช่นนี้อ้างมาตรา
82 ไม่ได้
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
ฎีกาที่ 1451/2531 จาเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาดักยิง ศ. เมื่อ ส. ขับรถ
ปิกอัพมาถึงที่เกิดเหตุ จาเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็น ศ. เพราะไม่รู้จักกันมาก่อน จึงจ้องปืน
เล็งไปยัง ส. โดยมีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ ส. โบกมือให้ทราบว่าตนมิใช่ ศ.
จาเลยที่ 1 จึงไม่ได้ยิง ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการลงมือกระทาความผิดแล้วแต่กระทา
ไปไม่ตลอด จาเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามมาตรา 289 (4), 80 โดยที่ศาลฎีกา มิไ ด้
วินิจฉัยว่าเป็นการยับยั้งโดยสมัครใจหรือไม่
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
4.3 การยับยั้งหรือกลับใจตามมาตรา 82 ซึ่งจะทาให้ไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้อง
เป็นเหตุให้การกระทานั้นไม่บรรลุผล
คือ หากไม่ยับยั้งหรือกลับใจ การกระทาจะบรรลุผล
หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า แม้ไม่มีการยับยั้งหรือกลับใจ ก็จะมีผู้อื่นช่วยเหลือ
ผู้เสียหาย ทาให้การกระทาไม่บรรลุผลอยู่นั่นเอง เช่นนี้ แม้ผู้กระทาจะยับยั้งหรือกลับ
ใจ ก็จะไม่มีผลเป็นการยกเว้นโทษตามมาตรา 82 แต่อย่างใด
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
ตัวอย่าง
(1) ก. ยิง ข. ในที่ชุมนุมชน ก. เกิดสงสารจึงพา ข. ผู้ถูกยิงไปส่งโรงพยาบาล
และแพทย์ที่โรงพยาบาลช่วยรักษาจนหาย หากปรากฏว่า แม้ ก. จะไม่พาไปรักษา
พลเมืองดีหรือตารวจในบริเวณนั้นก็จะต้องพา ข. ไปส่งโรงพยาบาลอยู่นั่นเอง เช่นนี้
แม้ความจริง ก.
(2) ก. หลอก ข. ไปในป่าลึก แล้วยิง ข. บาดเจ็บ ก. เกิดสงสารจึงพา ข. ไปหา
แพทย์รักษาจนหาย เช่นนี้ ก. ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 82 เพราะหาก ก. ไม่พา ข.
ไปรักษา ข. คงจะต้องตายเนื่องจากในป่าลึกเช่นนั้นคงไม่มีใครมาพบและพา ข. ไป
รักษาเหมือนดังเช่นที่ ก. ได้กระทา
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
ฎีกาที่ 3688/2541 วินิจฉัยว่า ใช้มีดแทงโดยมีเจตนาฆ่า การที่ไม่แทงซ้า และ
ช่วยพาผู้เสียหายลงจากตึกที่เกิดเหตุไปรักษาพยาบาล ไม่เป็นการ "ยับยั้ง" ไม่กระทา
การให้ตลอด หรือ "กลับใจแก้ไข" ไม่ให้กระทาการบรรลุผลตามมาตรา 82
ข้อสังเกต
(1) การไม่แทงซ้า ไม่ถือเป็นการยับยั้ง เพราะแทงแล้ว เป็นกระทาไปตลอดแล้ว
(2) การช่วยพาไปรักษา ศาลฎีกาไม่ถือว่าเป็นการ "กลับใจแก้ไข" เพราะเป็น
การแทงกันในที่ชุมชน แม้จาเลยไม่พาไปรักษา ก็จะผู้อื่นพาไปอยู่นั่งเอง
4. การยับยั้งหรือกลับใจจะต้องเป็นไปโดยสมัครใจ
(3) หากแม้เป็นการแทงในป่าลึก และผู้กระทากลับใจพาผู้เสียหาย
มารักษาพยาบาลในเมือง แต่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายในที่สุด ก็ไม่เป็น
การกลับใจ เพราะจะเป็นกลับใจได้ จะต้องไม่บรรลุผล
การยับยั้งหรือกลับใจ
ผลของการยับยั้งหรือกลับใจ
1. ผู้กระทาไม่ต้องรับโทษสาหรับการพยายามกระทาความผิดนั้น
2. แต่ถ้าการที่ได้กระทาไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็น
ความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสาหรับความผิดนั้น
การยับยั้งหรือกลับใจแก้ไขนั้น ลบล้างเฉพาะโทษในความผิดฐาน
พยายาม ส่วนความผิดอื่นๆ ที่กระทาไปจนสาเร็จแล้วนั้น การยับยั้งหรือ
กับใจไม่มผี ลลบล้างโทษได้
การยับยั้งหรือกลับใจ
ตัวอย่าง กรณียับยั้ง
แดงต้องการฆ่าดา แดงจ้องปืนเล็งไปที่ดาแล้ว แต่เกิดสงสารจึงยับยั้งไม่ยิงดา
(1) แดงผิดฐานพยายามฆ่าดา
(2) แต่แดงไม่ต้องรับโทษฐานพยายามฆ่าโดยผลของมาตรา 82
(3) แดงต้องรับโทษในความผิดที่ได้กระทาไปแล้ว ซึ่งอาจเป็นความผิดดังนี้
ก) ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพา
อาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน
ข) อาจผิดฐานพกพาอาวุธปืนโดยเปิดเผยโดยไม่มีเหตุสมควรตามมาตรา 371
ค) อาจผิดฐานทาให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็นตาม ม.392
การยับยั้งหรือกลับใจ
นายแดงกาลังจุดเชื้อเพลิงที่จะใช้เผาบ้านของนายดา นายแดงผิดฐานพยายาม
วางเพลิงเผาโรงเรือนตามมาตรา 218(1) ประกอบด้วยมาตรา 80 หากนายแดงยับยั้งเสียเองโดย
การดับเชื้อเพลิงเสียก่อน นายแดงก็ไม่ต้องรับโทษในความผิดดังกล่าว แต่ต้องรับโทษในความผิด
ที่ ก ระท าไปแล้ ว คื อ รั บ โทษในความผิ ด ฐานตระเตรี ย มวางเพลิง เผาโรงเรื อ นตามมาตรา 219
ประกอบด้วยมาตรา 218(1)
ฎี ก าที่ 508 / 2529 ศาลฎี ก าตั ด สิ น ว่ า จ าเลยไม่ ต้ อ งรั บ โทษในความผิ ด ฐาน
พยายามฆ่า จาเลยคงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และ
พกพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การยับยั้งหรือกลับใจ
ตัวอย่าง กรณีกลับใจแก้ไข
แดงต้องการฆ่าดา แดงใช้ปืนยิงไปที่ดาถูกดาบาดเจ็บ แดงเกิดความสงสารจึงพาดาไป
รักษาจนหาย ผลคือ
(1) แดงผิดฐานพยายามฆ่าดา
(2) แต่แดงไม่ต้องรับโทษฐานพยายามฆ่าโดยผลของมาตรา 82
(3) แดงต้องรับโทษในความผิดที่ได้กระทาไปแล้ว ซึ่งได้แก่
ก) ความผิดฐานทาร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ถ้าดาได้รับอันตรายสาหัสก็ผิด
ฐานทาร้ายรับอันตรายสาหัสตามมาตรา 297
ข) แดงอาจผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ม.371 ม.392
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
1. ความผิดบางฐาน กฎหมายลงโทษการพยายามกระทาความผิดเท่ากับ
ความผิดสาเร็จ เช่น มาตรา 108,109,128,130,131, และความผิดบางฐาน เช่น
มาตรา 132 กฎหมายถือว่าการพยายามกระทาความผิดเป็นความผิดเช่นเดียวกับ
ความผิดสาเร็จแล้ว ทั้งนี้เพราะบุคคลที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองตามมาตรา
ต่างๆ เหล่านี้ เป็นบุคคลสาคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ รวมทั้ง
เกี่ยวข้องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ กฎหมายจึงวางโทษการพยายามกระทา
ความผิดบุคคลเหล่านี้ไว้สูง เพื่อให้มีผลเป็นการข่มขู่มิให้ผู้ใดกระทาความผิดแม้ใน
ขั้นพยายามก็ตาม
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
2. ความผิดบางฐาน กฎหมายไม่ลงโทษฐานพยายาม เช่น การพยายาม
กระทาความผิดลหุโทษ ผู้กระทาไม่ต้องรับโทษ (ดูมาตรา 105) การพยายามทา
แท้งไม่ต้องรับโทษ(ดูมาตรา 304)
3. การกระทาโดยประมาท จะมีการพยายามกระทาความผิดไม่ได้ ทั้งนี้
เพราะการกระทาโดยประมาท ผู้กระทาไม่มีเจตนาที่จะให้เกิดผลดังเช่นที่เกิดนั้น
ขึ้ น เมื่ อ ไม่ มี เ จตนาก็ ไ ม่ มี พ ยายาม เพราะการพยายามกระท าความผิ ด นั้ น จะ
เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทามีเจตนา
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
4. ความผิดที่เป็นการกระทาโดยละเว้น เช่น154,146,157,162(3),168,169,
170, 171, 216 และความผิดตามมาตรา 374 ไม่มีการพยายามกระทาความผิด
ส่วน การกระทาโดยงดเว้น ตามมาตรา 59 วรรคท้าย เป็นการกระทาที่ต้อง
มีผลเกิดขึ้น จึงมีการพยายามกระทาความผิดได้
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
5. การพยายามกระทาความผิด จะได้มีก็เฉพาะตัวเนื้อหาของความผิด
เนื้อหาของความผิด การใช้ให้กระทาความผิด(มาตรา 84) การสนับสนุนกระทา
ความผิด(มาตรา 86) มิใช่ตัวเนื้อหาของการกระทาความผิดนั้นเอง เพราะผู้ใช้
แล้วผู้สนับสนุนมิได้เป็นผู้ลงมือกระทาความผิดนั้นเอง เพียงแต่ใช้หรือช่วยเหลือ
ผู้กระทาความผิดเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การใช้หรือการสนับสนุน จึงมีการพยายาม
กระทาความผิดไม่ได้ การเป็นตัวการตามมาตรา 83 ก็จะมีการพยายามเป็น
ตัวการไม่ได้เช่นเดียวกัน
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
6. ในกรณี ที่ ก ฎหมายถื อ ว่ า การพยายามกระท าความผิ ด มี ผ ลเท่ า กั บ
ความผิดสาเร็จเช่น มาตรา 132 เช่นนี้ จะมีพยายามซ้อนพยายามไม่ได้
ตัวอย่าง ก. ต้องการฆ่า ข. ประมุขของรัฐต่างประเทศซึ่งเดินทางมาเยือน
ประเทศไทย ก.จ้องปืนไปที่ ข. และทาท่าจะยิง ได้ถูกตารวจจับได้เสียก่อน ก. มี
ความผิดฐานพยายามฆ่าประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ซึ่งการพยายามฆ่าดังกล่าวมี
ผลเช่นเดียวกับความผิดสาเร็จ (ดูมาตรา 132) หาก ก. ยังไม่ทันได้ลงมือฆ่า ข.
เช่น เพียงแต่วางแผนเตรียมหาปืนใช้ยิง ข. เช่นนี้ จะถือว่าการกระทาของ ก. ซึ่ง
อยู่ในขั้นตระเตรียมนั้นมีผลเสมือนการพยายามกระทาความผิดมิได้ หาถือเช่นนั้น
ก็เท่ากับว่าเป็น "พยายาม" ซ้อน "พยายาม" ซึ่งเป็นไปไม่ได้
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
7. ในกรณีที่กฎหมายถือว่าการตระเตรียมเป็นความผิด เช่น มาตรา
107, 108 และ 109 เช่นนี้จะถือว่าการกระทาก่อนถึงขั้นตระเตรียมเป็นการ
พยายามตระเตรียม และรับโทษสองในสาม เช่น สองในสามของมาตรา 107
วรรคสามเช่นนี้ไม่ได้
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
8. ความผิดที่ไม่ต้องมีเจตนาในผลสุดท้ายที่เกิดขึ้น เช่น ความผิดฐาน
ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามมาตรา 290 จะมีการพยายามกระทาความผิด
มิได้ เพราะการพยายามเป็นเรื่องของการกระทาโดยเจตนา
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
9. กรณีผลของการกระทาความผิด ทาให้ผู้กระทาต้องรับโทษหนักขึ้น
หากผลยังไม่เกิดผู้กระทาก็ไม่ต้องรับโทษหนักขึ้น และไม่ผิดฐานพยายามด้วย
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
10. บรรดาที่ผลหรือข้อเท็จจริงใดเป็นเงื่อนไขแห่งความผิดนั้น หากผล
นั้นหรือข้อเท็จจริงนั้นไม่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นความผิดเลย ดังนั้น ความผิดเหล่านี้
ไม่มีการพยายามกระทาความผิด
เช่น
- มาตรา 137
- มาตรา 188
- มาตรา 264
- มาตรา 292
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
11. ความผิ ด ฐานยั ก ยอกตามมาตรา 352 โดยสภาพไม่ น่ า จะมี ก าร
พยายามกระทาความผิดได้
เหตุผลเพราะผู้กระทาความผิดครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ในเวลากระทา
ความผิด หากพิสูจน์ได้ว่ามีเจตนาทุจริตเมื่อใดก็เป็นเบียดบังไปด้วย จึงเป็น
ความผิดสาเร็จทันที
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
12. ความผิดอาญาโดยทั่ วไป ผู้ กระท าจะเริ่มรั บ ผิดเมื่อ การกระทาเข้ าขั้ นลงมือ หรือ
พยายามตามมาตรา 80 อย่างไรก็ตาม การกระทาก่อนเข้าขั้นพยายามนั้น ผู้กระทาก็อาจจะต้อง
รับผิดในทางอาญา เช่น
(1) ตระเตรียมบางกรณี
(2) สมคบเป็นอังยี่ หรือซ่องโจร ตามมาตรา 209,210
(3) การใช้ให้กระทาความผิดตามมาตรา 84
(4) การกระทาที่แสดงว่ากาลังจะไปกระทาความผิดซึ่งจาต้องใช้วิธีการเพื่อความ
ปลอดภัยตามมาตรา 46
(5) การริบทรัพย์สินของบุคคลซึ่งมีไว้เพื่อใช้ ในการกระทาความผิดตาม ม. 33 (1)
ข้อสังเกตบางประการเกีย่ วกับการพยายามกระทาความผิด
13. การกระทาความผิดสาเร็จฐานหนึ่ง อาจเป็นการลงมือกระทาความผิดอีกท่านหนึ่ง
เช่น
(1) บุกรุกเข้าไปลักทรัพย์ในบ้าน แต่ยังไม่ได้แตะต้องทรัพย์ เป็นบุกรุกสาเร็จและพยายาม
ลักทรัพย์ในเคหสถาน
(2) เอามีดกรีดกระเป๋ากางเกงเพื่อลักทรัพย์ ยังไม่ได้เอาทรัพย์มาครอบครอง เป็นทาให้
เสียทรัพย์สาเร็จและพยายามลักทรัพย์
(3) เอายาพิ ษ ใส่ ใ นจานอาหาร เป็ น ความผิ ด ฐานปลอมปนตามมาตรา 236 อั น เป็ น
ความผิดสาเร็จ และขณะเดียวกันก็เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า ม.289(4)
(4) เผาที่ น อนบนเตี ย งในห้ อ งนอนเป็ น ความผิ ด ส าเร็ จ ตามมาตรา 217 และใน
ขณะเดียวกันก็เป็นความผิดฐานพยายามวางเพลิงเผาโรงเรือนตาม ม.218(1) ด้วย

You might also like