You are on page 1of 130

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

โลกได้บันทึกเหตุการณ์การสูญเสีย
ผู้นำ�ของแต่ละประเทศมาแล้วอย่างนับไม่ถ้วน
การลอบสังหารผู้นำ�นับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์
ที่ใช้เพื่อเปลี่ยนทิศทางทางการเมือง
ให้สายลมพัดเอาความได้เปรียบกลับมาสู่ฝั่งตนอีกครั้ง
โดยไม่สนใจว่าชีวิตหนึ่งหรือมากกว่านั้น
จะต้องถูกจบลงอย่างไร้ความยุติธรรม
เชื่อแน่ว่าคำ�ว่า “ผู้นำ�คนสุดท้ายที่ถูกลอบสังหาร”
จะไม่มีทางเกิดขึ้นในเร็ววันแน่นอน
1/142 หมู่ 9 ถ.วงแหวนรอบนอก ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140
โทรศัพท์ 0-5302-1320 โทรสาร 0-5302-1321
ไขแฟ้มลับคดีสังหารผู้นำ�โลก
โดย ธีระวุฒิ ปัญญา
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำ�การลอกเลียนไม่วา่ ส่วนหนึง่ ส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รบั อนุญาต
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
ธีระวุฒิ ปัญญา
ไขแฟ้มลับคดีสังหารผู้นำ�โลก.--กรุงเทพฯ : กู๊ดไลฟ์, 2556.
128 หน้า
1. การลอบสังหาร. I. ชื่อเรื่อง.
364.1524
ISBN : 978-616-292-184-1
จัดพิมพ์โดย บริษัท แฮปปี้บุ๊ค พับลิชชิ่ง จำ�กัด
8 ถนนรามอินทรา แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
โทรศัพท์ 0-5302-1320 โทรสาร 0-5302-1321
Homepage : http://www.happybookpublishing.com

พิมพ์ที่ บริษัท โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จำ�กัด


520-530 ซอยเพชรเกษม 4 ถนนเพชรเกษม
แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600

จัดจำ�หน่ายโดย บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำ�กัด


108 หมู่ที่ 2 ถนนบางกรวย-จงถนอม
ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
โทรศัพท์ 0-2423-9999 โทรสาร 0-2449-9561-3
Homepage : http://www.naiin.com
ราคา 120 บาท

•ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์• พลเอกกิตติ รัตนฉายา ภาณุพงศ์ ศักดาทร อ.ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ นายแพทย์ปรีชา สิริจิตราภรณ์


•บรรณาธิการบริหาร• ภัทระ ฉลาดแพทย์ •รองบรรณาธิการบริหาร• ไอรดา ฉลาดแพทย์ •ผูช้ ว่ ยบรรณาธิการบริหาร• ภานุศร เครือปัญญาดี
•บรรณาธิการ• ธีร์ ฉลาดแพทย์ •ผู้อำ�นวยการฝ่ายผลิต • ปณิชา เครือปัญญาดี •ผู้จัดการฝ่ายผลิตและบรรณาธิการ•
สุกฤตา พลอยเหลี่ยม •ผู้ช่วยบรรณาธิการ• ภัทรธิดา ชัยเพ็ชร •กองบรรณาธิการ• นพมาศ วรรณวงค์ กฤษฎา แสงฉาย
•ฝ่ายกราฟิกและรูปเล่ม• กราฟิก เฮ้าส์ บุค๊ เวิรม์ พับลิชชิง่ นพดล ปัญญาคำ� ทฤฒมน ยศน้อย •การตลาด กิจกรรมพิเศษ• วาสนา ขัดศรี
จารุวรรณ สุดสงวน วรพล ไฝแดง
คำ�นำ�นักเขียน

“การลอบสังหาร” มักจะนำ�มาซึ่งความสยดสยอง น่ากลัวแฝงความ


รุนแรงอย่างทีเ่ ราคาดไม่ถงึ นอกจากนัน้ การลอบสังหารมักจะมีประเด็นทีถ่ ก
เถียงกันมากตามมาหลายๆ ประเด็น อย่างเช่น ใครเป็นคนลงมือ? ผูบ้ งการ
เป็นใคร? ทำ�อย่างไร? ทำ�ไปเพื่ออะไร? และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งหมดนี้
ล้วนสับสนปนเปอยู่ในปมสังหารทั้งสิ้น
ทีผ่ า่ นมาในอดีตทัง้ การลอบสังหารจอห์น เอฟ เคนเนดี การลอบสังหาร
อับราฮัม ลินคอล์น หรือแม้แต่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ล้วนมีประเด็นหลายอย่าง
ที่น่าสนใจแทบทั้งสิ้น
สำ�หรับนักประวัตศิ าสตร์แล้ว การลอบสังหารอาจจะเป็นเหมือนด้านมืด
ของประวัติศาสตร์ แต่สำ�หรับผู้คนธรรมดาอย่างเราๆ นั้นเป็นเหมือนเรื่อง
ที่น่าติดตามและน่าค้นหาคำ�ตอบเสียมากกว่า เพราะความจริงที่ซ่อนอยู่มัก
จะสร้างความประหลาดใจอย่างไม่คาดคิด
เรื่องราวการลอบสังหารที่ผู้เขียนจะเล่าต่อไปนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ
ประวัติศาสตร์อันเลวร้ายที่ผ่านมาเช่นกัน โดยเป็นการลอบสังหารบุคคล
สำ�คัญระดับโลก ซึ่งล้วนส่งผลให้ประวัติศาสตร์โลกเปลี่ยนไป เพราะหาก
พวกเขายังมีชีวิต แน่นอนว่าคงมีอะไรแตกต่างไปจากทุกวันนี้อย่างแน่นอน
แม้ว่าการลอบสังหารจะเป็นเรื่องราวที่เลวร้าย แต่ก็ย้ำ�ให้เราเห็นว่า
สิ่งที่ไม่คาดคิดอาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเราก็ต้อง
พิจารณาให้ถ่องแท้ มองดูทุกด้าน ทุกมุม เพื่อที่จะหาความจริงแห่งการ
ลอบสังหารนัน้ แม้จะมีบางเหตุการณ์เช่นกันทีย่ งั เป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้
เพราะมีการบิดเบือนความจริง แต่อย่างไรเสียสักวันหนึ่งความจริงก็ต้อง
ปรากฏแน่นอน
แล้วคนทั้งโลกก็จะรู้เองว่าความจริงนั้นเป็นเช่นไร!!!

ธีระวุฒิ ปัญญา
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของมนุษย์ ทำ�ให้เราเห็นว่าเกิดความ
ขัดแย้งอยูท่ กุ ช่วงเวลา ซึง่ ส่วนใหญ่มกั จะแก้ไขความขัดแย้งเหล่านัน้ ด้วยการ
เจรจาประนีประนอมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกๆ ฝ่าย แต่เมื่อใดก็ตามที่
การประนีประนอมนั้นใช้ไม่ได้ผล นั่นย่อมจะลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง
ในการแก้ปัญหา
“การลอบสังหาร” ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่อยู่บนเส้นทางของความ
รุนแรง ซึ่งจะมีเป้าหมายคือการเอาชีวิตฝ่ายตรงข้ามให้ดับสิ้นไป โดยวิธี
การในการลอบสังหารนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายแบบ ทั้งซุ่มยิง ลอบวาง
ยาพิษแกล้งว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือแม้แต่เดินเข้าไปเฉยๆ แล้วสังหารเลยก็มี
ทั้งหมดนี้ล้วนเรียกว่าการลอบสังหารแทบทั้งสิ้น
การลอบสังหารนัน้ อาจเกิดได้กบั คนทุกระดับชัน้ แต่การลอบสังหารอัน
เป็นทีก่ ล่าวขวัญกันมากก็คอื การลอบสังหารบุคคลสำ�คัญระดับโลก ซึง่ มักจะ
เป็นเรือ่ งทีพ่ ดู ถึงกันมาจนปัจจุบนั อย่างการลอบสังหารจอห์น เอฟ เคนเนดี
การลอบสังหารอับราฮัม ลินคอล์น หรือการสิ้นพระชนม์อย่างมีเงื่อนงำ�ของ
เจ้าหญิงไดอานา เป็นต้น
การลอบสังหารบุคคลระดับโลกเหล่านี้มักจะมีประเด็นที่น่าสนใจ
ซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งจำ�ต้องใช้เวลาในการค้นหาความจริงนั้นๆ
หนังสือเล่มนี้ได้นำ�เรื่องราวการลอบสังหารบุคคลระดับโลกมาเล่าสู่
กันฟัง เพื่อจะทำ�ให้เห็นประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ที่น่าจะเป็นสาเหตุของการ
ลงมือ เป็นการกระตุน้ ให้ผอู้ า่ นมีความรูส้ กึ เฉลียวใจทุกครัง้ เมือ่ เกิดเหตุการณ์
เช่นนีข้ นึ้ ให้รวู้ า่ การมองบางสิง่ หรือบางเหตุการณ์นนั้ จำ�เป็นต้องมองหลายๆ
ด้าน เพื่อที่จะได้เข้าถึงความจริงทั้งหมด

บรรณาธิการ
สารบัญ
การลอบสังหาร 9
ที่ผ่านมาในหน้าประวัติศาสตร์

อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) 17


ประธานาธิบดีผู้ลบล้างระบบทาส

มูฮัมหมัด อันวาร์ อัล ซาดัต 29


(Muhammad Anwar Al-Sadat)
ประธานาธิบดีผู้รักในสันติภาพ

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) 38


กับแผนลับ 20 กรกฎาคม

อินทิรา คานธี (Indira Gandhi) 48


นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กแห่งอินเดีย

เจมส์ การ์ฟิลด์ (James Garfield) 58


ประธานาธิบดีคนที่ 20 ของสหรัฐฯ
มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) 69
มหาบุรุษแห่งอินเดีย

นายพลอูออง ซาน (U Aung San) 77


ตำ�นานนักต่อสู้แห่งพม่า

จอห์น เอฟ เคนเนดี (John Fitzgerald Kennedy) 86


ประธานาธิบดีที่โลกไม่เคยลืม

วิลเลียม แมกคินลีย์ (William McKinley) 96


ประธานาธิบดีสุภาพบุรุษ

ไดอานา สเปนเซอร์ (Diana Spencer) 107


เจ้าหญิงแห่งเวลส์

เซียร์อูร์ ราห์มาน (Ziaur Rahman) 117


ผู้สิ้นชีพด้วยมือของเพื่อนรัก

สรุป 126
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 9

การลอบสังหาร
ที่ผ่านมาในหน้าประวัติศาสตร์
10 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ในหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น ในวงการการเมือง วงการทหาร หรือ


วงการอะไรก็ตามทีเ่ กิดความขัดแย้งขึน้ มา ทัง้ ทีเ่ ป็นความขัดแย้งทีแ่ สดงออก
มาและความขัดแย้งที่อยู่ลึกๆ ข้างใน มักจะมีหนทางแก้ปัญหาด้วยกัน
หลายๆ วิธี หนึ่งในนั้นก็คือ “การลอบสังหาร” (Assassination)
การลอบสังหารอาจจะฟังดูเป็นเรื่องเหี้ยมโหด อำ�มหิต เป็นหนทาง
มืดที่ใช้ในการแก้ปัญหาจนไม่มีใครอยากที่จะพูดถึง แต่ความเป็นจริงนั้นมัน
ก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อย่างที่เราปฏิเสธไม่ได้
ดังเหตุการณ์ที่ยังพูดถึงกันมากก็คือ การกลุ้มรุมแทง จูเลียส ซีซาร์
(Julius Caesar) โดยมี มาร์คุส บรูตุส (Marcus Brutus) เป็นผู้จัดแจง
ให้เกิดเหตุการณ์นี้ เช่นเดียวกับการลอบสังหารฟาโรห์ Amenemhat ที่ 1
แห่งอียิปต์ ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่มีปริศนาแห่งการจูงใจที่ค่อนข้างซับซ้อน
มาจนถึงทุกวันนี้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 11

นอกจากนั้นยังมีการลอบสังหารผู้มีชื่อเสียงในจักรวรรดิโรมัน อย่าง
Cicero และอีกหลายสิบชีวิตที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับการลอบสังหาร ใน
ประเทศจีนเองก็มีการลอบสังหารฮ่องเต้มาแทบจะทุกรัชสมัย จนกระทั่งมี
การสร้างกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ เพื่อป้องกันองค์ฮ่องเต้ เช่น
- เมื่อเข้าเฝ้าต้องยืนอยู่เบื้องล่างและอยู่ในระยะห่างจากฮ่องเต้มาก
- การเข้าเฝ้าต้องมีการสะบัดชายเสื้ออย่างแรงเสียก่อน เพื่อแสดง
ความบริสุทธิ์ใจของผู้เข้าเฝ้าว่าไม่ได้พกพาอาวุธไว้ในชายเสื้อ
- การเสวยอาหารก็ต้องมีต้นห้องคอยชิมทุกจาน ทุกประเภทก่อน
เพื่อป้องกันการใส่ยาพิษในอาหาร ฯลฯ
ในยุคหลังซึ่งเป็นยุคที่กษัตริย์และจักรพรรดิเสื่อมอำ�นาจลง อำ�นาจ
ทางการเมืองทรงอำ�นาจยิง่ กว่า การครองอำ�นาจทางด้านการเมืองนัน้ จึงเป็น
ที่ปรารถนาของใครหลายๆ คน ทั้งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ล้วนเป็น
ตำ�แหน่งที่สร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
ผู้ ค นมากหน้าหลายตาต้องการครอบครองอำ �นาจที่ เ หนื อ คนทั้ ง
ประเทศเอาไว้ ตามปกติก็ต้องต่อสู้โดยระบบการเมืองคือ “การเลือกตั้ง” ผู้
ชนะก็จะได้รับตำ�แหน่งดังกล่าว แต่ก็มีบางคนหรือบางกลุ่มเหมือนกันที่หัน
มาใช้วิธีทางลัดคือการลอบสังหารเป็นอาวุธทางการเมืองเพื่อให้ได้อำ�นาจที่
ต้องการมา โดยเราจะเห็นได้จากหลายๆ เหตุการณ์ทมี่ กี ารลอบสังหารบุคคล
สำ�คัญทางการเมืองอย่างเช่น
12 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

- ค.ศ. 1812 นายกสเปนเซอร์ เพอร์ซิวัล (Spencer Perceval)


นายกรัฐมนตรีคนแรกของอังกฤษ เสียชีวิตจากการถูกลอบยิง
- ค.ศ. 1865 ประธานาธิบดีอบั ราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)
ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ผูย้ กเลิกระบบทาส ได้ถกู นายจอห์น วิลค์ส
บูธ ผู้สนับสนุนระบบทาส ลอบยิงในขณะที่นั่งชมละครในโรงละครแห่งหนึ่ง
บนที่นั่งชั้นพิเศษ
- ค.ศ. 1881 ประธานาธิบดีเจมส์ อับราม การ์ฟลิ ด์ (James Abram
Garfield) ถูกลอบยิงทีส่ ถานีรถไฟ แม้จะไม่เสียชีวติ ในทันที แต่ภายหลัง 11
สัปดาห์ก็เสียชีวิตอยู่ดีเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว ซึ่งชาร์ลส์ จูเลียส กีโต
(Charles Julius Guiteau) มือปืนในเหตุการณ์นใี้ ห้การว่าเป็นเรือ่ งของความ
แค้นส่วนตัวเท่านั้น
- ค.ศ. 1897 นายกรัฐมนตรีสเปน อันโตนิโอ คาโนวา เดล คาสติญโญ่
(Antonio Canova Del Castil o) ถูกลอบยิงจนถึงแก่ความตาย โดยมือปืน
นักอนาธิปไตยชาวอิตาเลียน
ทัง้ หมดนีล้ ว้ นเป็นการลอบสังหารบุคคลสำ�คัญแทบทัง้ สิน้ แม้จะมีการ
ยืนยันถึงสาเหตุและแรงจูงใจในการลงมือแล้ว แต่หลายคนยังเชือ่ ว่าความจริง
มีมากกว่านั้น เป็นความจริงที่ซ่อนเร้นไว้ด้วยปริศนามากมาย เพราะการ
สังหารผูน้ �ำ และบุคคลสำ�คัญระดับประเทศเหล่านีย้ อ่ มไม่อาจทำ�ได้โดยบุคคล
ธรรมดาเพียงไม่กี่คนเท่านั้นแน่
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 13

นอกจากนีห้ ากคิดในแง่วา่ การทีบ่ คุ คลเหล่านัน้ เสียชีวติ ไป ผลประโยชน์


ก้อนใหญ่ก็จะไร้ซึ่งเจ้าของและกลายเป็นของฟรีที่มือใครยาวย่อมได้เปรียบ
ย่อมจะเห็นได้วา่ สาเหตุสำ�คัญในการลงมือลอบสังหารแต่ละครัง้ นัน้ น่าจะเป็น
เรื่องผลประโยชน์มากกว่าความแค้นเคืองส่วนตัวเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น
เป็นการกำ�จัดคนคนเดียวทีห่ ากสำ�เร็จก็จะได้สงิ่ ตอบแทน
มากมาย หากล้มเหลวก็หลบซ่อน เพื่อรอโอกาสครั้งใหม่!!!
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปนั้น จึงทำ�ให้การลอบสังหารเปลี่ยนไปด้วย
ทั้งเรื่องของวิธีการ ทั้งเรื่องจุดประสงค์แอบแฝงที่ซ่อนเอาไว้ ซึ่งหากจะว่า
ไปการลอบสังหารในยุคนี้มีความแตกต่างจากยุคสมัยอื่นๆ คือ
1. การลอบสังหารในยุคสมัยนีม้ กั จะเกิดขึน้ ถีใ่ นบางประเทศทีม่ คี วาม
ขัดแย้งรุนแรงจนรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้ อย่าง อิรกั เลบานอน รัสเซีย
และกลุ่มประเทศเอเชียใต้ อาทิ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และศรีลังกา
เป็นต้น
2. การลอบสังหารมักจะมีความเกีย่ วโยงกับกลุม่ ก่อการร้ายต่างๆ ซึง่
จะมีทงั้ ระดับสากล ระดับกลาง และระดับท้องถิน่ จุดประสงค์หลักๆ ก็เพือ่
หวังผลทางการเมืองเป็นสำ�คัญ และอาจจะมีผลประโยชน์ทางด้านอืน่ ร่วมด้วย
ก็ได้
14 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

3. การลอบสังหารในสมัยนี้ มีการเตรียมการวางแผนที่รอบคอบมาก
ทีเดียว นอกจากนัน้ อาวุธยุทโธปกรณ์กจ็ ะมีทเี่ หมาะสมสำ�หรับการใช้ในแต่ละ
พื้นที่อีกด้วย ส่วนผู้ที่ลงมือนั้นก็ได้รับการฝึกฝนมาอย่างชำ�นาญ บางคนก็มี
ประสบการณ์ปฏิบตั กิ ารลอบสังหารมาก่อนด้วย ทำ�ให้โอกาสการลอบสังหาร
ประสบความสำ�เร็จมีมากกว่ายุคก่อนหน้านี้มากนัก
อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว การลอบสั ง หารสมั ยใหม่ ยั ง มี ข้ อ แตกต่ า งจากการ
ลอบสังหารสมัยเก่าอีกหลายอย่าง แต่หลักๆ ก็มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อนี้
ซึ่งทำ�ให้การลอบสังหารมีประสิทธิภาพและมีความน่ากลัวมากยิ่งขึ้น
บางประเทศหรือบางพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงมากมักจะมีการป้องกันการ
ลอบสังหารที่เข้มแข็งเป็นที่สุด อย่างเช่นมีการให้ผู้สุ่มเสี่ยงใส่เสื้อเกราะ
ไม่ให้ออกไปที่โล่งแจ้ง
อาจมีการปกปิดหน้าตาและรูปร่างด้วยวิธกี ารต่างๆ หรือบางครัง้ หาก
สถานการณ์อันตรายจริงๆ ก็อาจต้องเดินทางด้วยรถหุ้มเกราะหรือรถกัน
กระสุนเลยทีเดียว
โดยการลอบสังหารนัน้ หากมองหาสาเหตุกจ็ ะพบว่า มักมาจากต้นตอ
3 ข้อนี้คือ
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 15

1. เพื่ออำ�นาจ
การลอบสังหารโดยส่วนมากก็เพื่อ “อำ�นาจ” (Power) ล้วนๆ ไม่
ว่าทางใดก็ทางหนึง่ และความตายของฝ่ายหนึง่ ก็ยอ่ มจะเพิม่ อำ�นาจให้แก่อกี
ฝ่ายหนึง่ เป็นหลักการชิงอำ�นาจด้วยกระบอกปืนเสียงของประชาชนให้เหลือ
เพียงทางเลือกเดียวเท่านั้น
ไม่ตอ้ งไปดูไกลถึงเมืองนอกเมืองนา แค่ดนิ แดนเล็กๆ อย่างเมืองไทย
เราเอง ยามใดก็ตามที่เข้าสู่ฤดูกาลการหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นการเลือก ส.ส.
ส.จ. กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ย่อมจะมีข่าวการลอบสังหารแถมท้ายมาด้วย
ยิง่ หากเป็นการเลือกส.ส.ยิง่ ไม่ตอ้ งพูดถึง มีการลอบสังหารกันเป็นว่าเล่น ซึง่
เกินครึ่งมักจะจับตัวผู้กระทำ�ผิดไม่ได้ สาเหตุก็เป็นเพราะการช่วงชิงอำ�นาจ
ในระหว่างการเลือกตั้งนั่นเอง
สำ�หรับในหลายประเทศการลอบสังหารเช่นนีม้ กั จะมีไม่บอ่ ยนัก ทีเ่ ห็นก็
จะเป็นการสังหารบุคคลสำ�คัญหลังรับตำ�แหน่งแล้ว ทั้งประธานาธิบดี หรือ
นายกรัฐมนตรี หรือผู้นำ�ประเทศในรูปแบบการปกครองต่างๆ มักจะเป็น
เป้าหมายหลักในการลอบสังหาร เพือ่ หวังจะให้มกี ารเปลีย่ นแปลงทางการเมือง
และการปกครอง
16 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

2. เพื่อผลประโยชน์
ผลประโยชน์มักเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร ที่ใดมีผลประโยชน์มักจะ
มีการช่วงชิงเกิดขึ้น ทำ�ให้โอกาสที่จะเกิดการลอบสังหารนั้นมีมากขึ้นตาม
ซึ่งผลประโยชน์นั้นก็มีอยู่หลายระดับ ทั้งผลประโยชน์แห่งชาติ (National
Interest) ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ผลประโยชน์ของกลุ่ม
(Group Interest) หรือผลประโยชน์สว่ นตัว (Self-interest) โดยผลประโยชน์
แต่ละแบบล้วนเป็นชนวนให้เกิดการลอบสังหารได้แทบทั้งสิ้น
3. เพื่อสนองความต้องการส่วนตัว
การลอบสังหารบางครั้งก็เกิดขึ้นด้วยเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคน ซึ่ง
เรามักจะคาดไม่ถึงก็เป็นได้ เช่น เกิดจากความอยากดัง ความบ้า หรือมี
ความรู้สึกเกลียดขี้หน้าขึ้นมาเฉยๆ โดยไม่มีสาเหตุอื่นใด การลอบสังหาร
ด้วยสาเหตุเหล่านีแ้ ม้จะดูแปลกก็จริง แต่กม็ หี ลายครัง้ ทีเ่ กิดขึน้ จริงเหมือนกัน
เพียงแต่ไม่มากเท่าไรนัก
การลอบสังหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะอยู่ในเงามืดและมี
ปริศนาซ่อนเร้นอยู่มากมาย แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธความมีตัวตนของมัน
ไปได้ ซึง่ อย่างหนึง่ ทีต่ อ้ งรูก้ ค็ อื ตราบใดทีม่ กี ารช่วงชิงอำ�นาจและผลประโยชน์
อยู่มิรู้จบ แน่นอนว่าการลอบสังหารนั้นก็จะยังอยู่คู่สังคมมนุษย์ต่อไปอย่าง
ไม่ต้องสงสัย
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 17

อับราฮัม ลินคอล์น
(Abraham Lincoln)
ประธานาธิบดีผู้ลบล้างระบบทาส
18 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

หากเอ่ยชื่อของ “อับราฮัม ลินคอล์น” (Abraham Lincoln) อเมริกันชน


ย่อมรู้จักกันดี เพราะเป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐฯ และยังเป็นผู้
ทีล่ ม้ เลิกระบบทาส นำ�พาประเทศมหาอำ�นาจเข้าสูโ่ ลกเสรีอย่างเต็มตัว เป็น
แบบอย่างให้หลายๆ ประเทศยกเลิกระบบนีต้ ามมาด้วย จนทุกวันนีส้ ว่ นใหญ่
ต่างเดินบนเส้นทางแห่งเสรีนิยมเป็นส่วนมาก
ซึ่งหากมองย้อนไปว่าถ้าวันนั้นความคิดในการเลิกทาสไม่แวบเข้ามา
ในหัวของชายผู้นี้ เชื่อได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ในโลกอาจยังตกอยู่ในระบบทาสก็
เป็นได้ ลองนึกภาพตัวเราเองต้องสวมโซ่ตรวน สวมเสือ้ ผ้าก็สกปรก ร่างกาย
ก็สกปรก อีกทั้งอาหารที่กินก็สกปรก นึกแค่นี้ก็รับตัวเองไม่ได้แล้ว
ซึง่ การพลิกโลกให้หมุนอยูใ่ นฝ่ายเสรีภาพครัง้ นัน้ เขาเอง
ต้องแลกมาด้วยชีวิตของตัวเองเลยทีเดียว
ลินคอล์นเป็นหนึง่ ในผูน้ �ำ คนสำ�คัญของโลกทีต่ กเป็นเหยือ่ ของการลอบ
สังหาร ซึ่งแม้จะจับตัวผู้กระทำ�ผิดและลงโทษไปเรียบร้อยแล้ว
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 19

แต่หลายๆ คนยังคิดว่ามีเงือ่ นงำ�อีกหลายอย่างทีซ่ อ่ นเร้นอยู่ และเชือ่


ว่ายังมีกลุ่มคนที่มีอิทธิพลสูงในขณะนั้นที่อยู่เบื้องหลังแผนการนี้ด้วย ไม่ใช่
เพียงแค่คนธรรมดาสามัญที่จับได้เหล่านี้
ในปีค.ศ. 1860 เป็นช่วงที่ลินคอล์นเข้าดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดี
ในช่วงเวลาดังกล่าวมีความขัดแย้งทางด้านกฎหมายการใช้ทาส โดยพวก
ฝ่ายใต้ถือว่าการใช้แรงงานทาสเป็นเรื่องถูกกฎหมาย ส่วนพวกฝ่ายเหนือถือ
เป็นเรือ่ งผิดกฎหมาย ทีเ่ ป็นเช่นนัน้ ก็เพราะดินแดนฝ่ายใต้สว่ นใหญ่เป็นพืน้ ที่
เกษตรกรรม จำ�เป็นต้องมีแรงงานทาสไว้ทำ�งาน ส่วนดินแดนฝ่ายเหนือนั้น
ทำ�การอุตสาหกรรมเสียเป็นส่วนใหญ่จึงไม่มีความจำ�เป็นในการใช้ทาสนัก
ชนวนความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อเขาเข้ารับตำ�แหน่งประธานาธิบดีแล้ว
เกิดความคิดทีจ่ ะยกเลิกระบบทาสทัว่ ประเทศ ซึง่ ในขณะนัน้ พวกฝ่ายใต้ออก
มาต่อต้านอย่างรุนแรงและเปิดเผย จนกระทั่งมีการตั้งกลุ่มพันธมิตรจากรัฐ
ต่างๆ ทีไ่ ม่เห็นด้วย เรียกว่า “สมาพันธ์” หรือ “ฝ่ายใต้” (The Confederacy)
โดยมีการแต่งตั้งให้เจฟเฟอร์สัน เดวิส ดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดี ส่วน
นายโรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี ดำ�รงตำ�แหน่งนายพล
ความขัดแย้งเริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดปีค.ศ. 1861 ก็เปิด
สงครามระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้อย่างเต็มตัว การต่อสูเ้ ป็นไปอย่างดุเดือด
ต่างผลัดกันเสียผลัดกันได้ สุดท้ายก็เป็นฝ่ายเหนือทีน่ ำ�โดยลินคอล์นเป็นฝ่าย
ได้รับชัย
20 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ซึ่งแม้สงครามจะหยุดลง แต่หารู้ไม่ว่าแผนการร้ายกลับกำ�ลังจะเริ่ม
ขึ้น!!!
ว่ากันว่าตัวของลินคอล์นเองก็รู้ว่ามีผู้ประสงค์ร้ายต่อเขา ซึ่งในขณะ
นั้นดูเหมือนจะมากกว่าหนึ่งกลุ่มด้วยซ้ำ� ทั้งศัตรูภายนอกที่หวังจะกลับมา
อีกครั้ง และศัตรูภายในที่แอบแฝงอยู่ จึงทำ�ให้เขาครุ่นคิดอย่างหนักตลอด
เวลาว่าจะจัดการกับศัตรูเหล่านีอ้ ย่างไรดี เกิดเป็นความเครียดสะสมจนเป็น
ฝันร้ายแม้แต่แมรีภรรยาของเขาก็ยังรู้สึกว่าผิดปกติ
จนกระทัง่ ล่วงเลยมาถึงวันศุกร์ที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1865 ซึง่ เป็นวันแห่ง
การลอบสังหาร ทางลินคอล์นและภรรยาได้เดินทางไปโรงละครฟอร์ด เธียเตอร์
เพื่อจะชมละครเรื่อง “อาวร์ อเมริกัน เคาซิน” (Our American Cousin)
ทีจ่ ดั ขึน้ เป็นเกียรติแก่ลนิ คอล์น โดยครัง้ นัน้ ได้ถกู กำ�หนดให้นงั่ ชมในทีน่ งั่ พิเศษ
ที่สุด
แม้ทนี่ งั่ ดังกล่าวจะมีประตูหลังทีท่ ะลุเข้าไปได้ แต่กถ็ กู ปิดสนิท อีกทัง้
ยังมีนายทหารคอยประจำ�การอยู่ จึงเป็นเรือ่ งยากทีใ่ ครจะใช้เส้นทางดังกล่าว
ลอบเข้ามาสังหารลินคอล์นได้ แต่นั่นเป็นข้อยกเว้นสำ�หรับผู้ที่รู้ทุกซอกทุก
มุมของโรงละครแห่งนี้อย่าง “จอห์น วิลค์ส บูธ” นักแสดงที่มีชื่อเสียงที่สุด
คนหนึ่งในขณะนั้น
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 21

ซึง่ ชายผูน้ เี้ องเป็นผูท้ ลี่ งมือลัน่ ไกสังหารลินคอล์นในเวลาต่อมา โดยอ้าง


เหตุผลว่าเพราะต้องการให้ผคู้ นจดจำ�ชือ่ ของเขาไปตลอดกาลในฐานะฆาตกร
ผู้สังหารประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา นามว่า “อับราฮัม ลินคอล์น”
โดยพื้นฐานแล้วบูธเองก็เกลียดชังลินคอล์นอยู่เป็นทุนเดิมอยู่ก่อน
แล้ว เพราะเขาเป็นคนฝ่ายใต้ที่สนับสนุนในการใช้ระบบทาส ซึ่งตรงข้าม
กับลินคอล์น ยิ่งเมื่อฝ่ายใต้แพ้สงครามเขาก็ยิ่งเกลียดลินคอล์นเข้าไปใหญ่
จนอยากที่จะสังหารชายผู้นี้ด้วยมือของตนเอง การที่รู้ว่าลินคอล์นมีกำ�หนด
มาเยือนโรงละครแห่งนี้นับว่าเป็นโอกาสทองอย่างที่หาไม่ได้อีกแล้ว
บูธจึงวางแผนที่จะลงมือสังหารชายที่เขาเกลียดชังที่สุดอย่างไม่รีรอ
อีกทั้งด้วยฐานะทางการแสดงของเขาเองก็ช่วยให้การลงมือครั้งนี้มันง่าย
ยิ่งขึ้น
ซึ่งวันและเวลาดังกล่าวบูธได้ลงมือสังหารลินคอล์นได้สำ�เร็จดังที่ตั้ง
เป้าหมายเอาไว้อย่างง่ายดาย สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเขาวางแผนการ
มาดีและยังรู้ทางหนีทีไล่เป็นอย่างดีด้วย นอกจากนั้นนายทหารที่ท�ำ หน้าที่
เฝ้าประตูหลังก็ทำ�งานหละหลวมไม่ประจำ�หน้าที่ดังที่ควรเป็น
ปฏิบัติการลอบสังหารในครั้งนั้นบูธได้จ่อยิงลินคอล์นที่ศีรษะชนิด
เผาขน โดยอาวุธสังหารคือปืนสั้นเดอริงเจอร์ สิ้นเสียงปืนลินคอล์นก็ล้มฟุบ
ลงไป แม้จะเป็นเพียงกระสุนนัดเดียวแต่ก็อันตรายมากเพราะมันเข้าไปใน
ศีรษะพอดี โดยมีทิศทางวิ่งเข้าทางหลังหูซ้ายแล้วไปทะลุออกทางตาขวา
22 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

หลังจากทีถ่ กู ยิงลินคอล์นไม่ได้เสียชีวติ ในทันที เขาได้รบั การช่วยเหลือ


โดยย้ายไปทำ�การรักษาที่บ้านหลังหนึ่งที่ไม่ไกลจากโรงละครมากนัก เวลา
ผ่านไปร่วม 7 ชั่วโมงหลังจากการลอบสังหาร ด้วยพิษบาดแผลที่รุนแรง
สุดท้ายลินคอล์นก็ทนต่ออาการบาดเจ็บไม่ไหวสิ้นใจไปในที่สุด
ส่วนทางด้านจอห์น วิลค์ส บูธหลังจากทำ�การลอบสังหารก็มีความ
พยายามจับตัวเขา แต่ด้วยความแข็งแรงของร่างกาย ประกอบกับการ
เตรียมการที่ดี ทำ�ให้อาศัยช่วงที่ชุลมุนหลบหนีไปได้โดยใช้ม้าที่เตรียมเอาไว้
ตะบึงหายไปในความมืด
การลอบสังหารครั้งนั้นเกิดจากความเกลียดชังเพียงอย่างเดียวจริงๆ
หรือ?
หากดูกันตามนี้ก็ดูเหมือนว่าทั้งหมดเกิดขึ้นจากความเกลียดชังของ
ผูช้ ายคนหนึง่ สูผ่ ชู้ ายอีกคนหนึง่ เท่านัน้ แต่ความจริงแล้วยังมีอะไรทีซ่ อ่ นเร้น
มากกว่านัน้ อีก เพราะในระหว่างทีก่ ารลอบสังหารอับราฮัม ลินคอล์นดำ�เนิน
ไปอยู่นั้น ก็ยังมีแผนการลอบสังหารอีกแผนหนึ่งดำ�เนินไปพร้อมๆ กัน
หลุยส์ เพน พร้อมกับ เดวิด อี เฮอโรด์ เพื่อนร่วมสาบานของบูธก็
ได้ลงมือลอบสังหารเช่นกัน โดยเป้าหมายก็คอื “รัฐมนตรีตา่ งประเทศ ซีเวิรด์ ”
คนผู้นี้ถือว่ามีชื่อเสียงมากในขณะนั้น จากผลงานการซื้อแคว้นอลาสกามา
เป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ในตอนนั้นเขาเพิ่งประสบอุบัติเหตุตกรถม้า ส่งผล
ให้ตอ้ งนอนรักษาตัว ซึง่ ถือว่าเป็นเรือ่ งดีมากสำ�หรับเพนและเฮอโรด์ทจี่ ะลงมือ
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 23

ก่อนที่จะลงมือทั้งสองได้ดูลาดเลาจนแน่ใจ แต่เฮอโรด์เกิดกลัวเสีย
ก่อนจึงหนีกลับไป ทิ้งให้เพนต้องปฏิบัติการเพียงลำ�พัง โดยเพนได้แอบ
เข้าไปในคฤหาสน์ของซีเวิร์ดหมายจะดับชีพเป้าหมายในทันที แต่ปรากฏ
ว่าพบกับเฟรดเดอริกลูกชายของซีเวิร์ดเสียก่อน ทั้งสองต่อสู้กันอย่างพัลวัน
แต่สุดท้ายเป็นฝ่ายเพนที่ได้โอกาสเอามีดกระหน่ำ�แทงอีกฝ่ายจนหมดสติ
แทนที่เพนจะรีบหนีออกไปกลับมุ่งหน้าไปยังห้องของซีเวิร์ดหมายจะ
สังหารให้ได้ แต่ภารกิจก็ตอ้ งล้มเหลวลงเมือ่ พอไปถึงห้อง ลูกชายอีกคนของ
ซีเวิร์ดพร้อมด้วยผู้ดูแลชาวผิวสีได้มาเจอเสียก่อน
ทัง้ สองฝ่ายต่างต่อสูก้ นั ทางฝ่ายเพนรูว้ า่ ตนเองคงทำ�ภารกิจไม่ส�ำ เร็จ
แน่จึงได้หลบหนีไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นภายหลังยังมีการเปิดเผยว่ามี
การวางแผนลอบสังหารรองประธานาธิบดี แอนดรูว์ จอห์นสัน ด้วยเช่นกัน
แต่จอร์จ แอตเซอโรดท์มอื สังหารเกิดกลัวไปเสียก่อนจึงไม่ได้ลงมือปฏิบตั กิ าร
หลังจากการลอบสังหารทั้ง 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกันได้สิ้นสุดลง นั่น
ก็เป็นเวลาแห่งการไล่ล่ามือสังหารและผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด ซึ่งในครั้งนั้น
มีผู้ถูกจับและถูกกันตัวเป็นพยานเป็นจำ�นวนหลายคนทีเดียว แต่คนที่ยอม
ตายแต่ไม่ยอมมอบตัวก็คือ “จอห์น วิลค์ส บูธ” นั่นเอง
จากการหนีตายอย่างทุลกั ทุเลเป็นระยะทางไกล ในทีส่ ดุ ก็มาจนตรอก
ทีโ่ รงนาแห่งหนึง่ ในระหว่างทีเ่ จ้าหน้าทีล่ อ้ มจับเขาอยูน่ นั้ ก็เกิดการยิงต่อสู้ ไม่
นานก็เกิดไฟไหม้โรงนาอย่างไม่มใี ครคาดคิด เจ้าหน้าทีพ่ ยายามทีจ่ ะบุกเข้าไป
24 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

จับเป็นบูธให้ได้ แต่เขาก็ยงิ ต่อสูอ้ ย่างสุดชีวติ ในระหว่างนัน้ จ่าสิบเอกบอสตัน


คอร์เบตต์ หนึ่งในทีมไล่ล่าก็ได้ลั่นไกจนกระสุนเจาะเข้ากะโหลกของบูธ
แม้กระสุนดังกล่าวจะไม่ทำ�ให้เขาตายในทันที แต่สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไป 2
ชั่วโมงเขาก็ตายอยู่ดี เพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว
หลังจากเหตุการณ์สงบลง ผู้ร่วมขบวนการคนอื่นๆ ต่างก็ได้รับโทษ
หนักเบาตามที่ศาลตัดสินแตกต่างกันไป แต่นั่นยังไม่จบเรื่องของปฏิบัติการ
ลอบสังหารครั้งนี้ เพราะมีการตั้งข้อสงสัยกันอยู่หลายประเด็น ดังนี้
• จ่าสิบเอกบอสตัน คอร์เบตต์ตัดสินใจยิงบูธเพื่ออะไร?
ในการไล่ลา่ ครัง้ สุดท้ายนัน้ เกิดเหตุการณ์ทจี่ า่ สิบเอกบอสตัน คอร์เบตต์
ยิงจอห์น วิลค์ส บูธ ทั้งๆ ที่คำ�สั่งในตอนนั้นคือให้พยายามจับเป็นเพื่อเค้น
ความจริง ซึ่งในการปฏิบัติการครั้งนั้นมีผู้สั่งการเป็นระดับนายร้อยและนาย
พันทีเดียว การที่ทหารมียศเพียงจ่าสิบเอกทำ�การโดยพลการนั้นเป็นเรื่องน่า
สงสัย เหมือนว่าต้องการปิดปากบูธไม่ให้พูดในสิ่งที่ไม่ควรพูด
อีกทั้งในระหว่างที่ทำ�การล้อมจับที่โรงนาแห่งนั้นก็เกิดไฟไหม้ขึ้น
หมายจะเผาบูธทั้งเป็น ราวกับว่าไม่ต้องการเห็นเขารอดชีวิตได้เลย ทั้งหมด
นีเ้ ชือ่ ได้ระดับหนึง่ ว่าน่าจะเป็นแผนการฆ่าปิดปากเสียมากกว่า เพราะหากบูธ
รอดชีวิตไปได้ในวันนั้น ความจริงหลายๆ อย่างอาจจะปรากฏขึ้นและทำ�ให้
ทั้งโลกตะลึงกว่าทุกวันนี้ก็เป็นได้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 25

• จดหมายขู่และแรงจูงใจในการลอบสังหาร
จากหลักฐานเป็นจดหมายขู่เอาชีวิตถึง 80 ฉบับ ที่พบบริเวณโต๊ะ
ทำ�งานของลินคอล์น ทำ�ให้คาดเดาได้ว่าเจ้าตัวเองก็รู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเป็น
เป้าหมายของการลอบสังหาร แต่ก็ทำ�อะไรไม่ได้มากกว่าการคอยป้องกัน
เท่านั้น ซึ่งดูจากอาการที่ตื่นกลัวและวิตกกังวลของเขาก่อนเกิดเหตุก็น่าจะ
เป็นการสนับสนุนเรื่องนี้ได้ดี
นอกจากนั้นหากพูดถึงเรื่องแรงจูงใจที่ทำ�ให้เกิดการลอบสังหารครั้งนี้
โดยเบื้องต้นคนทั่วไปเชื่อว่าเป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของ จอห์น
วิลค์ส บูธเพียงผู้เดียว โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการสร้างชื่อให้กับตนเอง
และเกลียดชังในตัวลินคอล์นเท่านั้น
แต่หากมาย้อนดูพนื้ เพของชายผูน้ แี้ ล้วก็ไม่สอดคล้องเท่าไร เพราะเป็น
เพียงนักแสดงทีไ่ ม่ชอบยุง่ เรือ่ งการเมือง แม้เขาจะสนับสนุนฝ่ายใต้แต่แท้จริง
เขาเป็นคนฝ่ายเหนือ ซึ่งดูแล้วหากฝ่ายใต้ชนะเขาก็ไม่ได้ประโยชน์หรือเป็น
ที่ยอมรับของคนฝ่ายใต้แต่อย่างไร จึงเชื่อได้ว่าการลงมือลอบสังหารครานั้น
อาจจะเป็นการว่าจ้างเสียมากกว่า และหากดูจากผู้ร่วมขบวนการและการ
วางแผนย่อมเชือ่ ได้วา่ เป็นองค์กรทีใ่ หญ่ และมีผมู้ อี �ำ นาจคอยหนุนหลังเป็นแน่
• การตายอย่างปริศนาของลาฟาเอตต์ เบเกอร์
“ลาฟาเอตต์ เบเกอร์” เป็นชายผู้หนึ่งที่หลงใหลในเรื่องราวการลอบ
สังหารครัง้ นัน้ เป็นผูท้ พี่ ยายามเปิดโปงความจริงทีซ่ อ่ นเร้นให้ออกมาสูส่ ายตา
ของสาธารณชน จนมีการเขียนเป็นหนังสือขึน้ มาโดยมีรายละเอียดและข้อมูล
ในเชิงลับมากมาย
26 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ซึง่ หลังจากนัน้ ไม่นานนักเบเกอร์กลับตายอย่างปริศนาด้วยยาพิษ แม้


ภรรยาของเขาจะออกมากล่าวหาว่าเป็นฝีมอื ของคนในรัฐบาล เพราะสามีของ
เธอไปพบข้อเท็จจริงบางอย่างในคดีดังกล่าวจากสมุดบันทึกของบูธ
ซึง่ ก็สอดคล้องกับการที่ “โรเบิรต์ ลินคอล์น” ได้เผาเอกสารบางส่วน
ของผูเ้ ป็นพ่อ โดยให้เหตุผลว่าเพือ่ ประโยชน์สขุ ของสาธารณชน นอกจากนัน้
ยังระบุว่าในเอกสารดังกล่าวมีหลักฐานว่าคนในรัฐบาลของลินคอล์นบางคน
ทรยศต่อประเทศชาติ การที่โรเบิร์ตเผาเอกสารเหล่านี้เสียก็เพื่อยุติเรื่องราว
ทั้งหมด และยังเป็นการช่วยให้ชีวิตของตนเองและครอบครัวปลอดภัยด้วย
• ชายที่ชื่อ “เอ็ดเวิร์ด สแตนตัน” (Edward Stanton)
นายพลเอ็ดเวิร์ด สแตนตัน นั้นถือว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทอย่างมาก
ในรัฐบาลของลินคอล์น และเป็นส่วนผสมสำ�คัญที่ทำ�ให้ฝ่ายเหนือเกิดความ
สำ�เร็จเหนือพวกฝ่ายใต้ แต่ในเบื้องลึกแล้วทั้งสองต่างมีความขัดแย้งกันมา
โดยตลอด เพราะนายพลผู้นี้นิยมความรุนแรงมากกว่าการเจรจา ต่างจาก
ลินคอล์นที่นิยมการเจรจามากกว่าความรุนแรง
ยิง่ หลังจากทีฝ่ า่ ยเหนือชนะสงครามดูเหมือนว่าความขัดแย้งของคนทัง้
สองจะมากขึน้ เมือ่ ทางลินคอล์นเสนอให้ทางฝ่ายใต้มสี ทิ ธิป์ กครองตนเองและ
สนับสนุนจากรัฐบาลกลางเพียงรัฐบาลเดียวเท่านั้น ไม่มีการแยกสองรัฐบาล
แต่ทางนายพลสแตนตันกลับไม่เห็นด้วย
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 27

ในวันทีม่ กี ารลอบสังหารลินคอล์นทีโ่ รงละครนัน้ ทางนายพลสแตนตัน


ก็ปฏิเสธการเข้าชมละครเรือ่ งดังกล่าวพร้อมกับบุคคลในคณะรัฐบาลอีก 14 คน
ทั้งๆ ที่เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติต่อลินคอล์นแท้ๆ โดยแต่ละคนต่าง
ให้เหตุผลที่ไม่น่าเชื่อถือเท่าไร จึงเชื่อได้ว่าคนเหล่านั้นอาจจะรู้ถึงแผนลอบ
สังหารครั้งนี้ล่วงหน้าแล้ว จึงไม่อยากจะเอาตัวเองไปเสี่ยงในสถานการณ์ดัง
กล่าว
• การลงมือและการหลบหนีที่น่าสงสัยของจอห์น วิลค์ส บูธ
ในการลงมือลอบสังหารลินคอล์นนั้นแม้ว่าจะมีการเตรียมการเป็น
อย่างดี แต่จะให้สมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ ต้องมีคนในคอยช่วย ซึง่ การทีจ่ อห์น วิลค์ส บูธ
ผ่านการตรวจตราของเจ้าหน้าทีแ่ ล้วเข้าไปสังหารลินคอล์นในระยะประชิดได้
ย่อมทำ�ให้เห็นว่าคงมีเจ้าหน้าทีบ่ างคนคอยเปิดทางให้ หลังจากนัน้ ก็ปล่อยให้
หลบหนีไปอย่างง่ายดาย
ส่วนการไล่ล่าบูธก็ทำ�ไปอย่างส่งๆ มีการเปิดช่องทางให้หนีอย่างเห็น
ได้ชัด โดยผู้สั่งการใหญ่ในครั้งนั้นก็คือ นายพลเอ็ดเวิร์ด สแตนตัน ซึ่งไม่
ค่อยถูกกับลินคอล์นอยู่แล้ว แม้กระทั่งในการล้อมจับกุมที่โรงนาก็มีความ
พยายามลอบสังหารบูธ เพือ่ ต้องการปิดปากอย่างเห็นได้ชดั ทำ�ให้เห็นว่าบูธ
เป็นเพียงหมากตัวหนึง่ ในกระดานเท่านัน้ เมือ่ หมดประโยชน์กเ็ พียงแต่กำ�จัด
ทิ้งไป
28 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ปริศนาของการลอบสังหารอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่


16 ของสหรัฐฯ นั้นยังมีอีกมาก ล้วนเป็นปมประเด็นที่หากนำ�มาขบคิดแล้ว
ยังไม่มีคำ�ตอบทั้งนั้น ซึ่งมาถึงวันนี้ก็กว่า 100 ปีแล้วยังมีผู้ที่คอยตามหา
ความจริงเรื่องนี้มาโดยตลอด เพื่อหวังจะให้พบความจริงที่ซ่อนเอาไว้ใน
ประวัติศาสตร์ให้สมกับคำ�ว่า
ความจริงย่อมไม่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา!!!
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 29

มูฮัมหมัด
อันวาร์ อัล ซาดัต
(Muhammad Anwar Al-Sadat)
ประธานาธิบดีผู้รักในสันติภาพ
30 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

“มูฮัมหมัด อันวาร์ อัล ซาดัต” (Muhammad Anwar Al-Sadat) หรือ


ที่รู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่า “อันวาร์ ซาดัต” บุรุษผู้นี้เป็นอดีตประธานาธิบดี
ของอียปิ ต์ ซึ่งในยุคสมัยของเขานั้นประเทศอียิปต์ถือว่าทรงอิทธิพลสูงสุดใน
แถบดินแดนตะวันออกกลาง แต่ในขณะเดียวกันก็มคี วามขัดแย้งกับอิสราเอล
อย่างรุนแรงเช่นกัน
ซาดัตนั้นเป็นผู้ที่ฝักใฝ่ในเรื่องของสันติภาพมากกว่าสงครามมาโดย
ตลอด เมือ่ เขาได้ขนึ้ ดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดีกเ็ ริม่ มีการเจรจาสานความ
สัมพันธ์ทดี่ กี บั ประเทศทีม่ คี วามขัดแย้งอยู่ โดยเฉพาะอิสราเอล ซึง่ ถือว่าเป็น
ประเทศที่เป็นศัตรูสำ�คัญของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มาอย่างยาวนาน
การที่ประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดยอมสานสัมพันธ์กับศัตรูหมายเลขหนึ่ง
ทำ�ให้หลายกลุ่มประเทศต่างเกิดความไม่พอใจ ยิ่งซาดัตได้เดินทางไปเยือน
อิสราเอลในปีค.ศ. 1977 และปีต่อมาเขาก็ได้รบั รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ร่วมกับนายเมนาเฮม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล นั่นยิ่งทำ�ให้ความไม่
พอใจปะทุแรงยิ่งขึ้นไปอีก
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 31

สุดท้ายก็นำ�พามาสู่เหตุการณ์ลอบสังหารในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.


1981 ถือเป็นจุดจบของชายผู้นี้ แต่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสันติภาพใน
ภูมิภาคนี้ก็ว่าได้
• เหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1981
วันดังกล่าวเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ลอบสังหารขึ้นโดยในขณะนั้นมีพิธี
สวนสนามของทหารนับหมืน่ นายเนือ่ งในวันครบรอบ 8 ปีของการยุตสิ งคราม
ระหว่างอียิปต์และอิสราเอลที่ยาวนานมากกว่า 30 ปี
พิธีการได้ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ท่ามกลางสายตาของประชาชนนับ
หมืน่ คู่ ผูท้ มี่ าเป็นประธานในพิธดี งั กล่าวก็คอื ประธานาธิบดีอนั วาร์ ซาดัตนัน่ เอง
ในขณะนัน้ บุรษุ ผูน้ ไี้ ด้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพของดินแดนตะวันออก
กลางก็ว่าได้ ซึ่งมีอีกหลายประเทศที่กำ�ลังพิจารณาเอาแบบอย่างอยู่
ในการทำ�พิธคี รัง้ นัน้ ได้มแี ขกและเจ้าหน้าทีค่ นสำ�คัญเข้าร่วมงานอย่าง
มากมาย อาทินายออสนี่ มูบารัค รองประธานาธิบดี นายอบู กาซาลา
รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย นายพลอับเดล รับนาบี ฮาเฟซ เสนาการ
ทหาร รวมไปถึงบรรดาทูตานุทูตของประเทศต่างๆ
เมื่อพิธีการดำ�เนินไปเพียงไม่นานก็เกิดเรื่องที่ใครๆ ก็คาดไม่ถึงขึ้น
เมื่อคอมมานโดจำ�นวน 6 คนได้ปรากฏตัวขึ้นในพิธี โดยทั้งหมดนั่งมาบน
รถจี๊ปเคลื่อนมาพร้อมขบวนพาเหรด ซึ่งในขณะนั้นทุกคนเพียงคิดว่านั่นเป็น
ส่วนหนึ่งในพิธีการเท่านั้น แต่เมื่อรถจี๊ปคันดังกล่าวมาหยุดที่หน้าปะรำ�พิธี
ของซาดัต ทุกคนก็เริ่มสงสัย แต่ก็ไม่คิดอะไรกันมากเพราะต่างคิดว่าเป็น
เพียงเหตุการณ์รถเสียธรรมดา
32 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

หลังจากนัน้ ไม่นานทหารคนหนึง่ ก็ลงมาเปิดกระโปรงรถ พร้อมกันนัน้


ทหารอีก 3 คนก็เปิดฉากโจมตีใส่ปะรำ�พิธโี ดยการขว้างระเบิดจำ�นวน 3 ลูก
เข้าใส่ เกิดเสียงกึกก้องสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว
ต่อจากนั้นฝ่ายมือสังหารในคราบคอมมานโดก็ต่างพากันระดมยิ่งเข้า
ใส่ปะรำ�พิธีอย่างไม่ยั้ง เป้าหมายก็คือประธานาธิบดีซาดัตนั่นเอง จากนั้นก็
ตะโกนพร้อมกันซ้ำ�ๆ ไปว่า “ขอให้อียิปต์จงเจริญ ซาดัตจงพินาศ!!!”
เมือ่ เสียงสงบลงร่างของผูต้ ายและได้รบั บาดเจ็บก็เกลือ่ นกลาดไปหมด
หนึ่งในนั้นก็คือร่างของประธานาธิบดีซาดัต ที่อยู่ในลักษณะเลือดท่วมตัว
ร่างกายไม่ไหวติง ต่อจากนัน้ ไม่นานทัง้ เฮลิคอปเตอร์และรถพยาบาลได้น�ำ ตัว
คนเจ็บทัง้ หมดส่งโรงพยาบาลในกรุงไคโรโดยด่วน สำ�หรับประธานาธิบดีซาดัต
ก็ถูกนำ�ตัวส่งโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน เป็นที่น่าเสียดายที่แม้จะมีความ
พยายามรักษาตามหลักการแพทย์อย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจยื้อชีวิตของบุรุษ
เหล็กแห่งอียิปต์ผู้นี้ได้
จากการชันสูตรศพพบว่าประธานาธิบดีซาดัตถูกกระสุนไรเฟิลเจาะ
เข้าที่หน้าอกด้านซ้ายเป็นรูใหญ่ 2 นัด นอกจากนั้นก็มีกระสุนเจาะเข้าส่วน
ต่างๆ ของร่างกายอีกหลายแห่ง ซึ่งดูจากสภาพศพแล้วหากรอดชีวิตมาได้
ก็ถือว่าเป็นเรื่องปาฏิหาริย์
เหตุการณ์ในครั้งนั้นนอกจากจะทำ�ให้ประธานาธิบดีซาดัตถึงแก่ชีวิต
แล้ว ยังทำ�ให้บุคคลสำ�คัญที่ยืนใกล้ๆ กับเขาต้องเสียชีวิตไปอีก 3 คนและ
บาดเจ็บถึง 22 คนทีเดียว
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 33

หลังจากเสียงปืนของฝ่ายลอบสังหารสงบลงบ้าง กองกำ�ลังรักษาความ
ปลอดภัยก็เข้ามาประจำ�การ ทั้งสองฝ่ายต่างยิ่งต่อสู้กัน ปรากฏว่าฝ่ายทีม
ลอบสังหารตายไป 3 คน หนึง่ ในนัน้ คือหัวหน้าทีมทีม่ ยี ศระดับพันตรีทเี ดียว
ส่วนอีก 3 คนที่เหลือนั้นยอมมอบตัวและถูกจับกุมไปดำ�เนินคดีต่อไป
• ประธานาธิบดีซาดัตหลับตาลง แต่สันติภาพกำ�ลังตื่นขึ้นอย่างเต็ม
ตัว!!!
เหตุการณ์ดงั กล่าวทำ�ให้ประเทศอียปิ ต์ตกอยูใ่ นความวุน่ วาย ประชาชน
แตกตื่นกลัวว่าจะมีการก่อวินาศกรรมอย่างอื่นๆ ตามมาอีก ทางกระทรวง
มหาดไทยอียปิ ต์จงึ ทำ�การประกาศภาวะฉุกเฉินไม่ให้มกี ารชุมนุมหรือออกจาก
บ้านหากไม่จ�ำ เป็น ทัง้ ทหารและตำ�รวจต่างออกมาตรวจตรากันอย่างเข้มงวด
ตลอด 24 ชั่วโมง
แต่ด้วยความรักและเคารพที่ประชาชนมีต่อประธานาธิบดีซาดัต
ทำ�ให้เกิดการรวมตัวกันของประชาชนจำ�นวนนับหมื่นบริเวณนอกทำ�เนียบ
ประธานาธิบดี เพื่อเป็นการแสดงความเสียใจต่อโศกนาฏกรรมในครั้งนี้
ในขณะเดียวกันทางรัฐสภาของอียิปต์ได้แต่งตั้งนายซูพี อาบูทาเล็บ
ประธารัฐสภาให้ด�ำ รงตำ�แหน่งประธานาธิบดีเป็นการชัว่ คราว ซึง่ ได้มกี ารคาด
หมายว่าผูท้ จี่ ะรับตำ�แหน่งสำ�คัญนีต้ อ่ ไปก็คอื รองประธานาธิบดีออสนี่ มูบารัค
ไม่นานหลังจากนั้นทางรองประธานาธิบดีออสนี่ มูบารัคก็ได้ประกาศทาง
โทรทัศน์ว่าจะดำ�เนินรอยตามประธานาธิบดีซาดัต อย่างแน่นอน นั่นทำ�ให้
อียิปต์ยังคงดำ�เนินตามเส้นทางสันติภาพตามเจตนารมณ์ของประธานาธิบดี
ผู้ล่วงลับ
34 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

พิธีศพของประธานาธิบดีซาดัตถูกจัดอย่างสมเกียรติในวันเสาร์ที่ 10
ตุลาคม ค.ศ. 1981 ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ท่ามกลางความเสียใจ
อย่างยิ่งของประชาชนและผู้คนทั่วโลก
• มีข่าวลับเตือนออกมาก่อนที่ประธานาธิบดีซาดัตเสียอีก!!!
หลังจากข่าวการเสียชีวิตของประธานาธิบดีซาดัตแพร่สะพัดออกไป
ก็สร้างความเสียใจให้ผู้คนจำ�นวนมาก แต่ก็มีคนบางกลุ่มเช่นกันที่ดีใจกับ
เหตุการณ์ในครั้งนี้ บางแห่งถึงกับเฉลิมฉลองมีงานรื่นเริงทีเดียว คนเหล่านี้
เป็นพวกอาหรับหัวรุนแรงที่เกลียดชังประธานาธิบดีซาดัตอย่างมาก เพราะ
ไปสถาปนาความสัมพันธ์กับอิสราเอล การตายของประธานาธิบดีซาดัต
ถูกยกมาเป็นตัวอย่างของผู้ทรยศให้ชาวอาหรับคนอื่นๆ ไม่กล้าทำ�ตาม
อันทีจ่ ริงก่อนทีจ่ ะเกิดเหตุการณ์ลอบสังหารในครัง้ นี้ ได้มรี ายงานจาก
หน่วยข่าวกรองว่ามีกลุ่มก่อการร้ายกำ�ลังวางแผนลอบสังหารประธานาธิบดี
ซาดัตอยู่ ทางสหรัฐฯ ซึง่ เป็นผูเ้ ชือ่ มความสัมพันธ์ระหว่างอียปิ ต์และอิสราเอล
ก็หวังจะให้แผนการกระชับความสัมพันธ์ครัง้ นีเ้ ป็นไปได้ดว้ ยดี โดยทุม่ เงินกว่า
500 ล้านบาทเพื่อป้องกันเหตุร้ายดังกล่าว
ทั้งมีการส่งเฮลิคอปเตอร์หุ้มเกราะมาให้ใช้ นอกจากนั้นยังส่งหน่วย
ซีไอเอมาสอดแนมหาข่าวตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ในยาม
ที่ต้องเดินทางด้วยเครื่องบินก็ต้องใช้เครื่องบินแบบพิเศษที่สามารถตรวจจับ
วัตถุอันตรายต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ� เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ถึงกับ
เอ่ยปากบอกว่าประธานาธิบดีซาดัตเป็นหนึง่ ในคนทีไ่ ด้รบั การคุม้ ครองทีด่ ที สี่ ดุ
ในโลก
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 35

แม้ว่าในขณะนั้นสหรัฐฯ เองก็ระแคะระคายเรื่องการเตรียมการลอบ
สังหารครั้งใหญ่เหมือนกัน ซึ่งก่อนหน้าว่ากันว่าประธานาธิบดีซาดัตเคยถูก
ลอบสังหารมาแล้วหลายครั้งเช่นกัน แต่ด้วยการคุ้มครองที่เข้มงวดและข่าว
กรองที่แม่นยำ�ทำ�ให้หลุดรอดมาได้ทุกครั้งไป นั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้
ประมาทในการคุ้มกันครั้งนี้ก็เป็นได้
อีกสาเหตุหนึง่ ทีท่ �ำ ให้การคุม้ กันครัง้ นีผ้ ดิ พลาดก็นา่ จะมาจากวิธกี ารที่
มือสังหารเลือกใช้ โดยทีผ่ า่ นมาจะใช้ปฏิบตั กิ ารแบบซุม่ เงียบ ทำ�งานในทีม่ ดื
มากกว่าที่แจ้ง ใช้คนน้อยเน้นประสิทธิภาพ เป็นการต่อสู้ด้วยแผนการและ
มันสมองเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ครั้งนี้แผนการไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย เพียงใช้
อาวุธหนักเข้าถล่มปะรำ�พิธีอย่างรุนแรงที่สุดเท่านั้น
ส่วนมือสังหารทีใ่ ช้กเ็ ป็นทหารทีแ่ ฝงตัวเข้าไปได้งา่ ย มีความชำ�นาญใน
พื้นที่และอาวุธที่ใช้ นอกจากนั้นดูเหมือนว่าทุกคนเตรียมตัวมาพลีชีพใน
ปฏิบัติการครั้งนี้เพื่อให้งานสำ�เร็จ
ในวันเกิดเหตุทางประธานาธิบดีซาดัตก็มีการป้องกันตัวเองด้วยการ
สวมเกราะป้องกันตัวและมีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยูร่ ายล้อม แต่นนั่ ก็ไม่
พอทีจ่ ะหยุดแผนการทีบ่ า้ ระห่ำ�เช่นนีไ้ ด้ เกราะที่สวมใส่อยูน่ ั้นไม่อาจป้องกัน
อาวุธหนักเหล่านี้ อีกทัง้ หน่วยรักษาความปลอดภัยก็มกี ารทำ�งานทีช่ า้ เกินไป
ปล่อยให้ผกู้ อ่ การร้ายลงมือได้อย่างสะดวกเกิน หากสามารถโต้ตอบได้เร็วกว่า
นี้ย่อมจะลดความสูญเสียได้มากกว่าแน่นอน
36 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

สาเหตุการลอบสังหารในครานีเ้ ป็นทีแ่ น่ชดั ว่าเป็นฝีมอื ของกลุม่ อาหรับ


หัวรุนแรงที่ต่อต้านพวกยิว ชนิดที่ว่าอยู่ร่วมโลกกันไม่ได้ทีเดียว การที่
ประธานาธิบดีซาดัตยอมคบหากับอิสราเอลก็เหมือนว่ายอมเป็นมิตรกับมาร
ร้ายทีเดียว ส่วนทางสหรัฐฯ เองก็ตอ้ งยอมรับว่าบุคคลสำ�คัญของสหรัฐฯ ในครา
นั้นหลายคนก็มีเชื้อชาติยิวผสมอยู่ด้วย การลงมือครั้งนี้ก็เพื่อเป็นตัวอย่างให้
ผูน้ �ำ อาหรับหลายประเทศเห็นเป็นแบบอย่างว่าผูท้ ที่ รยศจะมีสภาพเป็นเช่นไร
นอกจากนั้นยังมีการวิเคราะห์ไปถึงเรื่องของรัสเซียที่เสียผลประโยชน์
อีกด้วย เพราะก่อนหน้านี้อียิปต์เป็นพันธมิตรกับรัสเซีย สนิทสนมจนรัสเซีย
ยกกองทหารมาประจำ�การทีน่ เี่ ป็นจำ�นวนมาก เรียกได้วา่ พวกรัสเซียสามารถ
หาผลประโยชน์บนดินแดนอียิปต์ได้อย่างอิ่มหนำ�สำ�ราญ
เมื่อประธานาธิบดีซาดัตขึ้นครองอำ�นาจจึงทำ�การขับไล่พวกรัสเซีย
ออกไป แต่ครั้นจะขับไล่ดื้อๆ ย่อมเกิดปัญหาแน่ เพราะรัสเซียต้องไม่ยอม
สูญเสียบ่อเงินบ่อทองอย่างอียิปต์แน่นอน ทางประธานาธิบดีซาดัตจึงหันไป
คบหากับสหรัฐฯ เพื่อใช้วิธีคานอำ�นาจแทน ซึ่งการยอมจับมือกับอิสราเอล
ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทางอียิปต์ในขณะนั้นต้องการทำ�เพื่อเอาใจสหรัฐฯ เช่นกัน
สำ�หรับเหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดีซาดัตนั้นหลายคนเชื่อว่า
ส่วนหนึง่ เกิดจากการสนับสนุนของรัสเซีย เพราะหากไม่มปี ระธานาธิบดีซาดัต
โอกาสที่พวกเขาจะกลับมาหาผลประโยชน์ในประเทศนี้ยังเปิดกว้างอยู่
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 37

การลอบสั ง หารประธานาธิ บ ดี ซ าดั ต นั้ น อาจจะไม่ ส ลั บ ซั บ ซ้ อ น


ซ่อนเงื่อนเหมือนบุคคลสำ�คัญท่านอื่นๆ ก็จริง แต่นี่ก็ถึงเป็นการสะท้อนให้
เห็นว่าสนามการเมืองนั้นก็มีอันตรายไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าสนามรบเลย
ดังนั้นผู้ใดที่คิดจะเล่นการเมือง ก็ต้องหัดเตรียมใจไว้ได้
เลยว่าท่านกำ�ลังจะเดินเข้าสู่สนามรบ!!!
38 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(Adolf Hitler)
กับแผนลับ 20 กรกฎาคม
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 39

หากมีสถิติวัดกันว่าผู้นำ�คนไหนในโลกที่ถูกลอบสังหารมากครั้งที่สุด เชื่อว่า
ชื่อของ “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์” ผู้นำ�แห่งโลกนาซีเยอรมันน่าจะติดอันดับต้นๆ
ทีเดียว นั่นเป็นเพราะนโยบายทางการเมืองและการทหารที่แข็งกร้าว ทำ�ให้
ฝ่ายตรงข้ามเลือกที่จะลงมือลอบสังหารผู้นำ�แห่งชาติเยอรมันผู้นี้เสีย
แต่การลอบสังหารครัง้ ใดก็คงไม่ระทึกขวัญและซ่อนเร้นแบบ “แผนลับ
20 กรกฎาคม” (20 July Plot) ซึ่งเป็นแผนลอบสังหารที่ยังพูดถึงมาจน
ปัจจุบันนี้
ความคิดในการต่อต้านฮิตเลอร์นั้นเกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นตั้งแต่ค.ศ.
1938 ซึ่งหัวเรือในช่วงแรกนั้นก็เป็นคนในกองทัพเยอรมันอย่างพลโทฮันส์
โอสเตอร์ พลเอกลุดวิค เบค และจอมพลเออร์วิน ฟอน วิทเซลเบน โอส
เตอร์ รวมไปถึงพลเมืองที่ทรงอำ�นาจอย่างคาร์ล โกแอร์เดแลร์ อดีตนายก
เทศมนตรีไลป์ซิก และเฮลมุท เจมส์ กรัฟ ฟอน มอลท์เคอ ผู้เป็นลูกชาย
ของหลานวีรบุรุษสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
40 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

คนเหล่านี้ต่างเห็นตรงกันว่าแนวคิดและวิธีการของฮิตเลอร์นั้นล้วน
เป็นสิ่งที่ทำ�ให้ชาติเยอรมันจมดิ่งไปในความหายนะแทบทั้งสิ้น แต่สุดท้าย
มันก็เป็นแค่แผนการเท่านั้น เพราะคนในกลุ่มบางคนต่างไม่เห็นด้วยกับการ
สังหารฮิตเลอร์ เพราะเกรงกลัวต่ออำ�นาจของชายผู้นี้ สุดท้ายพลโทฮันส์
โอสเตอร์ พลเอกลุดวิค เบค และจอมพลเออร์วิน ฟอน วิทเซลเบน โอส
เตอร์ ต้องระงับแผนดังกล่าวชั่วคราว
• กลุ่มต่อต้านฮิตเลอร์รุ่นสอง
กลุ่มต่อต้านฮิตเลอร์รุ่นแรกล้มเหลวไปอย่างไม่เป็นท่าเพราะความ
ขลาดกลัวต่อฮิตเลอร์ แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ เมื่อปีค.ศ. 1941 ได้มีกลุ่มสมคบ
คิดกลุม่ ใหม่เกิดขึน้ มา โดยการนำ�ของพันเอกเฮนนิง ฟอน เทรสคคอว์ นาย
ทหารผูน้ เี้ ป็นทหารใต้บงั คับบัญชาของจอมพลเฟดอร์ ฟอน บอค การร่วมใจ
ต่อต้านฮิตเลอร์ครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นรูปเป็นร่างมากกว่าครั้งแรก แต่ก็ยัง
ไม่อาจเข้าถึงตัวฮิตเลอร์ได้ เพราะดูเหมือนว่าฮิตเลอร์เองก็เริม่ ระแคะระคาย
จึงมีการคุ้มกันที่แน่นหนามากยิ่งขึ้นไปอีก
แต่อย่างไรเสียเพียง 1 ปีให้หลังพลเอกโอสเตอร์และพันเอกเทรสคคอว์
ก็สามารถสร้างเครือข่ายของกลุม่ ต่อต้านฮิตเลอร์ได้อย่างเข้มแข็งกว่าแต่กอ่ น
ทีส่ �ำ คัญกว่านัน้ ก็คอื การได้พลเอกฟรีดริช ออลบริตช์ หัวหน้าสำ�นักงานใหญ่
กองทัพเยอรมันทีเ่ บนด์แลร์บล็อกในใจกลางกรุงเบอร์ลนิ มาเป็นพวก จากนัน้ ก็
เริม่ มีการปฏิบตั กิ ารลอบสังหารฮิตเลอร์ ซึง่ ได้ทำ�การลอบสังหารไปถึง 2 ครัง้
แต่ก็ไม่ประสบความสำ�เร็จ
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 41

แม้ในตอนนัน้ แผนการลอบสังหารยังห่างไกลกับคำ�ว่า “ความสำ�เร็จ”


อยู่มาก แต่ฝ่ายต่อต้านฮิตเลอร์ก็ยังคงไม่ถอดใจกลางคัน เพราะทุกคนเห็น
พ้องต้องกันว่าหากปล่อยให้ฮิตเลอร์ใช้มาตรการแข็งกร้าวนำ�พาประเทศไป
เรื่อยๆ ย่อมจะสร้างศัตรูมากกว่ามิตร ซึ่งหนึ่งในศัตรูที่น่ากลัวในขณะนั้นก็
คือ “รัสเซีย”
สำ�หรับรัสเซีย ถือว่าเป็นมหาอำ�นาจของโลกในขณะนั้น การที่จะ
ไปท้าทายรัสเซียทั้งที่เยอรมันเองยังไม่พร้อมนั้นย่อมต้องพบกับความสูญเสีย
อย่างหนักแน่นอน ทางเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้ก็คือการเปลี่ยนตัวผู้นำ� โดย
การลอบสังหารฮิตเลอร์เสีย แล้วแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมเข้ารับตำ�แหน่งแทน
ต่อมาทางกลุ่มได้รับนายทหารเสนาธิการหนุ่ม พันโทเคลาส์ เชงค์
กรัฟ ฟอน สเตาฟ์เฟนแบร์ก เข้าร่วมปฏิบัติการด้วย ซึ่งคนผู้นี้เป็นพวก
อนุรักษ์นิยมทางการเมือง มีแนวคิดชาตินิยมเยอรมันอย่างเข้มแข็ง ซึ่งครั้ง
หนึ่งเขาได้เคยให้ความเห็นว่า
“การไม่สังหารฮิตเลอร์นั้นเป็นความชั่วร้ายทางศีลธรรม
ที่ยิ่งใหญ่ เป็นความผิดที่มหันต์!!!”
ในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 1943-1944 เป็นช่วงที่ทั้งพันเอกเทรสคคอว์
และพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์กมีความกระหายที่จะสังหารฮิตเลอร์เป็นอย่างยิ่ง
ได้มอบหมายให้มอื สังหารเข้าไปใกล้ชดิ ฮิตเลอร์ จากนัน้ ให้ท�ำ การสังหารด้วย
ระเบิดมือหรือปืนพกก็ได้ แต่ปรากฏว่าความพยายามทั้ง 4 ครั้งต้องพบกับ
ความล้มเหลวอย่างน่าเสียดาย
42 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ความล้มเหลวในการลอบสังหารครั้งนี้ทำ�ให้การวางแผนและโอกาส
ในการลอบสังหารครั้งต่อไปยากยิ่งกว่าที่เคยเป็น เพราะฮิตเลอร์ระมัดระวัง
ตัวมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังไม่ยอมปรากฏตัวตามที่สาธารณะเหมือนแต่ก่อน
นอกจากนั้นพวกเกสตาโป ซึ่งเป็นตำ�รวจลับที่รับใช้ฮิตเลอร์ก็เริ่มที่จะรู้เรื่อง
นี้บ้างแล้วและพยายามจะจับกุมผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด
ในระหว่างนั้นเองทางหัวหน้าของเกสตาโปอย่าง ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์
ได้ถกู ชักชวนเข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านฮิตเลอร์ แม้วา่ ชายผูน้ จี้ ะไม่ยอมรับ
ข้อเสนอนี้ แต่กไ็ ม่จบั กุมผูส้ มคบคิดทัง้ หมด ปล่อยให้เห็นแผนการนัน้ ดำ�เนิน
ไป โดยตนเองเอาหูไปนาเอาตาไปไร่แทน เชื่อว่าลึกๆ แล้วชายผู้นี้มองเห็น
ผลประโยชน์ก้อนโตหลังจากฮิตเลอร์ตายอย่างแน่นอน
• ปฏิบัติการ 20 กรกฎาคม
ก่อนแผนการ 20 กรกฎาคมจะเกิดขึน้ ได้มคี วามพยายามลอบสังหาร
ฮิตเลอร์กอ่ นหน้านัน้ โดยเริ่มจากการทีพ่ นั เอกสเตาฟ์เฟนแบร์กได้รับแต่งตัง้
เป็นหัวหน้าเสนาธิการของพลเอกฟรอมม์ทกี่ องบัญชาการกองทัพหนุนทีเ่ บนด์
เลอร์สทราเซอในใจกลางกรุงเบอร์ลิน ตำ�แหน่งนี้ทำ�ให้เขาได้ร่วมประชุมกับ
ฮิตเลอร์ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุดแล้ว
ในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 เป็นครั้งแรกและโอกาสแรกใน
การสังหารฮิตเลอร์ของพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์ก โดยในขณะนั้นได้เข้าร่วม
ประชุมพร้อมกันกับฮิตเลอร์ ซึ่งเขาได้เตรียมกระเป๋าเอกสารที่บรรจุระเบิด
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 43

ไปด้วย หมายจะตายพร้อมกัน นอกจากนั้นยังมีการพ่วงเป้าหมายสำ�คัญ


อย่างไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และแฮร์มันน์ เกอริง เข้ากับการสังหารครั้งนี้ด้วย
แต่สดุ ท้ายก็ตอ้ งล้มเลิกแผนดังกล่าวไป เพราะฮิมม์เลอร์ไม่ได้เข้าร่วมประชุม
แต่ในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 โอกาสครั้งที่สองก็มาถึง เมื่อ
พันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์กได้รับเชิญไปประชุม ซึ่งครั้งนี้มีแผนที่จะเอาระเบิด
ซุกไว้ในกระเป๋าเอกสารอีกครัง้ จากนัน้ ก็จะหาโอกาสถอนตัวออกมาระหว่าง
การประชุม เมื่อเกิดระเบิดขึ้นก็จะหนีกลับไปที่กรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าร่วมกับ
ผู้ก่อการคนอื่น จากนั้นก็จะเริ่มแผนการควบคุมประเทศเยอรมันในทันที
ตามแผนนัน้ พลโทฮันส์ โอสเตอร์และพลเอกลุดวิค เบค จะได้รบั การ
แต่งตัง้ ให้เป็นประมุขของรัฐ คาร์ล ฟรีดริช เกอดีเลอร์ จะเป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนจอมพลเออร์วนิ ฟอน วิทเซลเบน โอสเตอร์ ก็จะกลายเป็นผูบ้ ญั ชาการ
ทหารสูงสุด แต่แผนการทั้งหมดก็ต้องล้มเลิกเนื่องจากการลอบสังหารครั้ง
นั้นเกิดล้มเลิกกลางคัน
สาเหตุเป็นเพราะว่าฮิตเลอร์ได้เดินออกจากห้องประชุมไปในช่วงเวลา
สำ�คัญพอดี แม้ครั้งนัน้ ทัง้ ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และแฮร์มนั น์ เกอริง จะเข้าร่วม
ประชุมด้วยก็ตาม หากไม่สามารถสังหารฮิตเลอร์ได้ การลอบสังหารดังกล่าว
ก็ถือว่าประสบความล้มเหลวอยู่ดี
44 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ก่อนหน้าวันปฏิบัติการ 20 กรกฎาคม เพียง 2 วันได้มีข่าวเล็ดลอด


ออกมาว่า ทางเกสตาโปทราบถึงเรือ่ งความพยายามในการลอบสังหารฮิตเลอร์
ซึ่งในขณะนั้นผู้ร่วมขบวนการทุกคนอาจจะถูกจับกุมได้ทุกเวลา ดังนั้นจึงไม่
อาจจะรอช้าได้อีกแล้ว จึงได้มีการวางแผนลอบสังหารอีกครั้งโดยมีเงื่อนไข
ว่าครั้งนี้ต้องทำ�จริงๆ และต้องสำ�เร็จด้วย เพราะไม่เช่นนั้นก็หมายถึงชีวิต
ของทุกคน
ในเวลา 10.00 น. ของวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 ทางพันเอก
สเตาฟ์เฟนแบร์กก็ได้รบั เชิญให้เข้าประชุมร่วมกับฮิตเลอร์อกี ครัง้ หนึง่ ครัง้ นีเ้ ขา
ก็ยงั ใช้แผนเดิมโดยการบรรจุระเบิดเอาไว้ในกระเป๋าเอกสาร ซึง่ ไม่ตอ้ งตรวจค้น
การประชุมเริม่ ขึน้ ในเวลา 12.30 น. เมือ่ การประชุมเริม่ ไปได้เพียงเล็ก
น้อยก็ได้ขอตัวไปเข้าห้องน้ำ� ซึ่งความจริงแล้วเขาได้แอบไปจุดชนวนระเบิด
ต่างหาก ซึ่งกว่าที่จะระเบิดก็ต้องใช้เวลานาน 10 นาที เมื่อกลับมาเข้าห้อง
ประชุมพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์กก็แอบเอาระเบิดทีจ่ ดุ ชนวนแล้วใส่ไว้ในกระเป๋า
เอกสารตามเดิมโดยไม่มีใครทันสังเกต
ระหว่างการประชุมก็มนี ายทหารผูห้ นึง่ ได้บงั เอิญวางกระเป๋าเอกสารที่
มีระเบิดไว้ใต้ที่นั่งของฮิตเลอร์พอดี นั่นจึงนับว่าโชคเข้าข้างอย่างที่สุด เวลา
ผ่านไปไม่กี่นาทีหลังจากนั้นก็มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น
กริ๊ง! กริ๊ง! กริ๊ง! กริ๊ง! กริ๊ง!... กริ๊ง!
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 45

เป็นเสียงโทรศัพท์ที่มาถึงพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์กที่จำ�ต้องออกไปรับ
สายข้างนอก ซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่งในแผนการที่จะเปิดโอกาสให้เขาได้หลบออก
จากห้องประชุมนั้นเสีย ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผนทุกประการ
จากข้อสันนิษฐานพบว่าก่อนทีร่ ะเบิดจะเกิดระเบิดขึน้ นัน้ มีนายทหาร
คนหนึง่ ได้ยา้ ยกระเป๋าเอกสารไปด้านข้างโดยผลักมันไปไว้หลังขาโต๊ะประชุม
จึงทำ�ให้ระบิดทำ�งานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
หลังจากการระเบิดแล้ว ทหารคนดังกล่าวได้เสียขาและตายไปในทีส่ ดุ
ในการระเบิดครั้งนั้นส่งผลให้นายทหาร 3 นายและนักเขียนชวเลขเสียชีวิต
ด้วย ส่วนฮิตเลอร์และผูร้ ว่ มประชุมคนอืน่ ๆ รอดชีวติ มาได้ราวกับปาฏิหาริย์
• ผลพวงของความล้มเหลว
หลังจากทีเ่ สียงระเบิดดังขึน้ ใครๆ ต่างคิดว่าฮิตเลอร์ไม่นา่ จะรอดจาก
การระเบิดครัง้ นี้ เช่นเดียวกับพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์กทีเ่ มือ่ ได้ยนิ เสียงระเบิด
และควันโขมงลอยออกมาก็แน่ใจว่าฮิตเลอร์สนิ้ ชีพแล้วแน่นอน จึงได้บนิ กลับ
ไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อดำ�เนินการตามแผนต่อไป
ระหว่างทีพ่ นั เอกสเตาฟ์เฟนแบร์กยังเดินทางไปไม่ถงึ นัน้ ก็มขี า่ วเรือ่ ง
การลอบสังหารฮิตเลอร์ไปถึงกรุงเบอร์ลินเสียก่อน นอกจากนั้นยังได้มีการ
แจ้ง รายละเอียดอีกว่าฮิตเลอร์ยงั คงมีชวี ติ อยู่ แต่พอพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์ก
เดินทางมาถึงกลับได้รับการยืนยันว่าฮิตเลอร์ตายแล้ว
46 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ดังนั้นจึงเกิดความสับสนในเรื่องข้อเท็จจริงของข่าวดังกล่าว ไม่นาน
ความสับสนก็กลายเป็นความชุลมุนครั้งใหญ่ เมื่อกองทหารฝ่ายต่อต้าน
ฮิตเลอร์และฝ่ายสนับสนุนฮิตเลอร์ลงมือห้ำ�หัน่ กันอย่างอย่างดุเดือด ต่างฝ่าย
ต่างหมายที่จะเอาชัยในสมรภูมินี้ให้จงได้
การต่อสูเ้ ป็นไปอย่างยืดยือ้ แต่ทา้ ยทีส่ ดุ แล้วฝ่ายนาซีของฮิตเลอร์กไ็ ด้
รับชัยชนะ ผูร้ ว่ มต่อต้านจำ�นวนมากถูกสังหารในสนามรบ ส่วนผูท้ รี่ อดมาได้
ก็ถกู สัง่ ให้ประหารชีวติ ในภายหลังรวมทัง้ ตัวของพันเอกสเตาฟ์เฟนแบร์กด้วย
เช่นกัน นอกจากนัน้ ก็มอี กี จำ�นวนมากทีถ่ กู ตัดสินให้รบั โทษอย่างอืน่ เป็นการ
ยุติการทำ�รัฐประหารที่ล้มเหลวในครั้งนั้น เหตุการณ์ครั้งนั้นยิ่งทำ�ให้ฮิตเลอร์
ตระหนักถึงความจงรักภักดีที่ผู้อื่นมีต่อตนเองมากยิ่งขึ้น
ต่อมาฮิตเลอร์มีความคิดที่จะให้สมาชิกทุกคนของกองทัพบกทำ�การ
สาบานเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อตนอีกครั้ง หลังจากนั้นก็ได้กำ�หนดให้
ทำ�ความเคารพต่อตนแบบใหม่ โดยให้ยนื ตรง ยืดอก ยืน่ แขนออกไป พร้อม
กับพูดเสียงดังว่า “ไฮล์ ฮิตเลอร์” ซึ่งมีความหมายว่าฮิตเลอร์จงเจริญ!!!
ในการลอบสังหารฮิตเลอร์นนั้ ยังมีอกี หลายเหตุการณ์ทนี่ า่ ติดตามและ
สร้างความระทึกใจให้ผรู้ บั รู้ แต่สงิ่ หนึง่ ทีส่ ะท้อนออกมาจากการกระทำ�เหล่า
นัน้ ก็คอื มีคนจำ�นวนมากทีเ่ กลียดชังบุคคลผูน้ ี้ ไม่ใช่เพียงแต่คนนอกประเทศ
เท่านั้น แม้คนที่อยู่ในประเทศก็มีหลายๆ กลุ่มที่เกลียดชังเขาเป็นอย่างมาก
นั่นเป็นเพราะแนวทางการปกครอง และความเชื่อของเขานั้นเข้าขั้นสุดโต่ง
และบังคับให้ผู้อื่นเห็นตามด้วยอย่างปฏิเสธไม่ได้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 47

ซึ่งบั้นปลายชีวิตของบุรุษแห่งนาซีผู้นี้ก็ต้องจบลงด้วยการโค่นอำ�นาจ
อยูด่ ี เพราะไม่มชี าติใดหรือผูใ้ ดทีน่ ยิ มความคิดในรูปแบบนี้ ซึง่ ถือว่าเป็นการ
ฝืนกฎของธรรมชาติที่ว่า...
มนุษย์ทุกคนหากต้องการอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสุข
ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นด้วย
48 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

อินทิรา คานธี
(Indira Gandhi)
นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็ก
แห่งอินเดีย
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 49

เมือ่ พูดถึงเรือ่ งการเมืองและการต่อสูเ้ พือ่ ประชาชนในอินเดีย ชือ่ ของ “อินทิรา


คานธี” มักจะเป็นชือ่ แรกๆ ทีใ่ ครหลายๆ คนคิดถึง เพราะเธอนัน้ เป็นเหมือน
สัญลักษณ์แห่งเสรีภาพในดินแดนที่เต็มไปด้วยการแบ่งชนชั้นและศาสนา
อินทิรา คานธี หรือชื่อเดิมว่า “อินทิรา ปรียาทาสินี เนรูห์” (Indira
Priyadarsini Gandhi) เธอนัน้ เป็นบุตรีของเยาว์หราล เนรูห์ นายกรัฐมนตรี
คนแรกของอินเดีย ภายหลังที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ซึ่งต่อมาเธอก็เจริญ
รอยตามผูเ้ ป็นพ่อโดยลงเล่นการเมืองจนได้รบั ความไว้วางใจจากประชาชนให้
ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัยในเวลาต่อมา
การที่เธอก้าวมาไกลถึงขนาดนี้ได้ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมา
จากบารมีของผู้เป็นพ่อ แต่อีกส่วนหนึ่งนั้นก็มาจากความสามารถของเธอ
เช่นกัน ด้านการศึกษาของเธอนั้นก็จบถึงวิทยาลัยซัมเมอร์วิลล์ (Somerville
College) เมืองออกซ์ฟอร์ด
50 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ก่อนทีเ่ ธอจะเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวก็เคยไปช่วยงานทีอ่ อฟฟิศ


และร่วมเดินทางไปต่างประเทศกับผู้เป็นพ่อบ่อยครั้ง สมัยที่ท่านยังคงดำ�รง
ตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีของอินเดีย จนกระทัง่ เมือ่ ผูเ้ ป็นพ่อสิน้ ไปเธอก็ตดั สินใจ
เข้ามาเล่นการเมือง ซึ่งในตอนนั้นเธอได้ถูกเย้อหยันต่างๆ นานา
ทั้งว่าเธออาศัยบารมีของพ่อโดยไม่ใช้ความสามารถใดๆ หรือมองว่า
เธอเป็นเพียงหุน่ เชิดของนักการเมืองบางคนเท่านัน้ ต่อให้ได้ต�ำ แหน่งทางการ
เมืองก็คงอยู่ไม่นานแน่ๆ
แต่สดุ ท้ายเธอก็สามารถพิสจู น์ตนเองได้วา่ เธอมีความสามารถทางด้าน
การเมืองไม่น้อยกว่าผู้เป็นพ่อเลย
บนเส้นทางการเมืองของอินทิรา คานธีกถ็ อื ว่ามีทงั้ สุขและทุกข์ปะปน
กันไปทั้งได้ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีของอินเดียถึง 2 สมัย ทั้งโดนสภา
สูงของอัลลาฮาบัดจับได้ว่าเธอทุจริตระหว่างการเลือกตั้งและถูกให้ออกจาก
ตำ�แหน่งในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถกล่าวได้ว่าเธอเป็นส่วน
หนึ่งของการเมืองอินเดียในยุคหลังอย่างแท้จริง
แต่ในชีวติ บัน้ ปลายของเธอไม่ได้สงบสุขอย่างทีห่ ลายๆ คนคิด เพราะ
เธอถูกลอบสังหารจากคนใกล้ตัวอย่างองครักษ์ของเธอจนเป็นข่าวที่โด่งดัง
และสั่นสะเทือนไปทั้งโลก และนั่นก็คือการปิดฉากชีวิตหนึ่งในวีรสตรีแห่ง
อินเดียผู้นี้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 51

• 31 ตุลาคม 1984 วันปลิดชีพนางอินทิรา คานธี


เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาประมาณ 9 โมงเช้า ที่บ้านพักประจำ�
ตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดีย วันนั้นนางคานธีปรากฏตัวในชุดส่าหรีสีส้ม
พร้อมๆ กับเหล่าองครักษ์และนักข่าวที่มารอสัมภาษณ์
นางคานธีเดินนำ�ขบวนอย่างช้าๆ โดยมีจุดหมายอยู่ที่สำ�นักงานที่อยู่
ไม่ไกลออกไป ขณะทีต่ า่ งฝ่ายต่างก็ท�ำ หน้าทีข่ องตนเองอย่างเคร่งครัดอยูน่ นั้
พวกเขาเดินผ่านโรงเก็บรถจนกระทัง่ ไปถึงหน้าประตูทเี่ ปิดออกไปสูส่ �ำ นักงาน
ดังกล่าว
ขณะทีป่ ระตูเปิดออกนัน้ ก็มชี ายผูห้ นึง่ ออกมาทักทายเธออย่างเป็นปกติ
นอกจากนั้นด้านขวามือก็มีชายอีกคนหนึ่งยืนถือปืนอย่างมั่นคง ซึ่งใครๆ ก็
ดูออกว่าชายทั้งสองคนนั้นเป็นองครักษ์ที่คอยรักษาความปลอดภัยให้แก่นาง
คานธี แต่ในขณะที่ต่างฝ่ายต่างชุลมุนกันอยู่นั้นจู่ๆ ก็มีเสียงดังขึ้นมา
ปัง! ปัง! ปัง!
เสียงปริศนาดังกล่าวก็คอื เสียงปืนทีด่ งั ติดกัน 3 นัดซ้อน ทีอ่ อกมาจาก
กระบอกปืนขององครักษ์ที่ทักทายเธอก่อนหน้านี้ไม่กี่วินาทีนั่นเอง ไม่นาน
ร่างกายทีห่ อ่ หุม้ ด้วยส่าหรีสสี ม้ ก็เซไปทางซ้ายด้วยแรงกระแทกของกระสุนปืน
จากนั้นก็เกิดเสียงตามมาอีกครั้ง
ปัง! ปัง! ปัง! ปัง! ปัง!
52 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

เสียงปืนปริศนาชุดที่สองนี้ออกมาจากปากกระบอกปืนขององครักษ์
อีกคนหนึง่ ทีย่ นื ถือปืนอยูท่ ปี่ ระตูนนั่ เอง การยิงครานีเ้ รียกว่าชุดใหญ่กว่าครัง้
แรก กระสุนกระแทกร่างของนางคานธีจนล้มคว่ำ�ลงไป ส่าหรีสสี ม้ สวยตอนนี้
กลายเป็นสีเลือดดูน่าสยดสยอง
ผู้คนที่ตามเธอมาในขณะนั้นต่างตื่นตระหนกและแตกกระจายกันไป
คนละทิศคนละทาง เหลือเพียงแต่หน่วยคุ้มกันที่ตามเธอมาตั้งแต่คราวแรก
หนึ่งในนั้นเมื่อตั้งสติได้ก็ล้มคว่�ำ เอาตัวบังกระสุนที่คนร้ายทั้งสองหมายจะยิง
กระหน่ำ�ซ้ำ� ซึ่งเขาก็ต้องแลกมาด้วยการถูกยิงที่ต้นขาถึง 3 นัดแทน
ร่างของนางอินทิรา คานธีในขณะนัน้ แทบจะพรุนเหมือนรังผึง้ กระสุน
หลายสิบนัดเจาะทะลุร่างที่ไร้สติ แม้จะมีลมหายใจเหลืออยู่บ้างแต่มันก็เริ่ม
แผ่วเบาลงไปเรื่อยๆ นั่นแสดงให้เห็นว่าเวลาของเธอน้อยลงไปทุกที
ทางด้านมือสังหารในคราบองครักษ์ผู้ที่ลงมือยิงเป็นคนแรกนั้นตกใจ
มาก ถึงกับทิง้ ปืนลงบนพืน้ แล้ววิง่ ไปดึงแขนเพือ่ นร่วมก่อเหตุนไี้ ปหลบทีต่ ยู้ าม
อย่างรวดเร็ว คิดหมายเอาเองว่าที่นั่นน่าจะปลอดภัยมากที่สุดแล้ว ในขณะ
เดียวกันนายดิเนสบัส หัวหน้าหน่วยคุ้มกันนางคานธีก็ออกคำ�สั่งในทันทีว่า
“ตามจับพวกมันมาให้ได้ พวกมันยิงท่านนายกฯ!!!”
เมือ่ สิน้ เสียงคำ�สัง่ บรรดาเหล่าทหารทีอ่ ยูใ่ นสังกัดต่างพากันล้อมตูย้ าม
ทีส่ องคนร้ายซ่อนอยู่ จากนัน้ ไม่นานก็เปิดฉากยิงกระหน่ำ� มือสังหารทัง้ สอง
แทบไม่ทันได้ร้องสักคำ� ร่างของทั้งสองก็นอนจมกองเลือด อยู่บริเวณตู้ยาม
แห่งนั้นในทันที
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 53

ทางฝ่ายนายดิเนสบัส หัวหน้าหน่วยคุ้มกันก็รีบพาร่างของนางคานธี
ที่อ่อนระทวยลงไปทุกขณะไปส่งยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ทางหน่วยแพทย์
พยายามทีจ่ ะช่วยยือ้ ชีวติ เธออย่างเต็มที่ แต่ปรากฏว่าเลือดออกมาก จำ�เป็น
ต้องการเลือดกรุป๊ โอเนกาทีฟมาเติมให้เธออย่างเร่งด่วน แต่ในโรงพยาบาลดัง
กล่าวเกิดขาดแคลนเลือดกรุ๊ปนี้อย่างมาก
ดังนัน้ จึงส่งนางคานธีไปยังโรงพยาบาลอีกแห่งหนึง่ ซึง่ อยูห่ า่ งออกไป 4
กิโลเมตร เมื่อมาถึงโรงพยาบาลแห่งที่สอง ทางหน่วยแพทย์ได้ทำ�การรักษา
โดยการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ซึ่งการผ่าตัดนั้นดำ�เนินไปนานหลายชั่วโมงจน
กระทั่งถึงเวลาประมาณบ่ายสองโมงครึ่ง สัญญาณหัวใจและคลื่นสมองของ
เธอก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดเธอก็จากไปอย่างสงบ เป็นอันจบตำ�นาน
หญิงเหล็กแห่งอินเดียผู้นี้ไป
• เหตุการณ์ลุกลามหลังการตายของนางคานธี
หลังจากทีก่ ารเสียชีวติ ของนางอินทิรา คานธีถกู ประกาศออกมาอย่าง
เป็นทางการให้ประชาชนชาวอินเดียรับรู้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ต่างก็ออกมา
ร่ำ�ไห้ กิจการงานต่างๆ ก็พากันปิดไปตามๆ กัน จนเมืองหลวงมีสภาพไม่
ต่างจากเมืองร้าง
สำ�หรับบางคนทีร่ กั และเคารพในตัวนางคานธีอย่างมากและสุดซึง้ ไม่
ได้แสดงออกเพียงการร้องไห้เท่านัน้ บางคนพยายามฆ่าตัวตายตามเธอไป ทัง้
แขวนคอตัวเอง เผาตัวเอง บ้างก็ตกตะลึงกับข่าวทีเ่ กิดขึน้ จนเกิดอาการช็อก
เสียสติ หรือบางคนก็ถึงกับตายในทันทีก็มี
54 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ซึง่ แตกต่างจากชาวซิกข์ทไี่ ด้ยนิ ข่าวการเสียชีวติ ของนางคานธี ต่างก็


พากันออกมากระโดดโลดเต้นดีใจกันอย่างออกหน้าออกตา ประหนึ่งว่าเป็น
งานเฉลิมฉลองก็ไม่ปาน ทำ�เอาชาวฮินดูทกี่ �ำ ลังโศกเศร้ากับข่าวของนางคาน
ธีอยู่นั้นเปลี่ยนอารมณ์จากโศกเศร้ามาเป็นอาฆาตแค้นแทน
เหตุการณ์หลังจากนี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์เลวร้ายสุดๆ เมื่อมีการแบ่ง
ฝ่ายกันอย่างชัดเจนระหว่างชาวฮินดูและชาวซิกข์ มีการต่อสู้กันอย่างเอา
เป็นเอาตาย ซึง่ แทบทุกครัง้ ฝ่ายชาวฮินดูจะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะมีจ�ำ นวน
มากกว่า โดยความขัดแย้งครัง้ นัน้ กระจายไปทัว่ มากกว่า 30 หัวเมือง บ้านเรือน
ร้านค้าและข้าวของทีเ่ ป็นของชาวซิกข์ถกู เผาทำ�ลายเป็นจำ�นวนมาก ชาวซิกข์
บางคนก็ถูกจับโกนผม โกนหนวด โกนเคราเสีย
จากเหตุการณ์ความขัดแย้งในครัง้ นัน้ คาดการณ์ได้วา่ มีชาวซิกข์ทตี่ อ้ ง
สังเวยชีวติ ไปมากกว่า 2,000 คนทีเดียว ส่วนคนทีเ่ หลือก็ตา่ งพากันหลบหนี
ไปซ่อนตัวยังบริเวณที่รัฐบาลจัดไว้ให้ ซึ่งความรุนแรงในครั้งนั้นถึงกับมีการ
ออกประกาศภาวะฉุกเฉินขึ้นแทบทั่วประเทศ
• เมื่อหนึ่งในสองโจรยังไม่ตาย!!!
หลังจากที่หน่วยคุ้มกันนางคานธีกระหน่ำ�ยิงสองมือสังหารบริเวณ
ตู้ยาม ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากบริเวณที่นางคานธีถูกยิงมากเท่าไร ปรากฏว่ามือ
สังหารหนึ่งในสองคนที่เป็นคนที่ยิงกระสุนรัวใส่นางคานธีเป็นคนที่สองนั้น
ยังไม่ตาย ซึ่งหลังจากที่อาการดีขึ้นจนพอให้การได้ก็ได้เล่าถึงรายละเอียด
ต่างๆ ว่า
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 55

ตัวเขานัน้ ชือ่ ว่า “สัตวันต์” ส่วนเพือ่ นอีกคนทีร่ ว่ มลงมือและยิงกระสุน


ใส่นางคานธีเป็นคนแรกนั้นชื่อว่า “บีน ซิงค์” เขาเล่าต่อไปอีกว่าการที่เขา
ตัดสินใจร่วมลงมือลอบสังหารในครัง้ นีเ้ พราะบีน ซิงค์เป็นคนชักชวน โดยได้
บอกเหตุผลที่ลงมือว่าเพราะไม่พอใจใน “ปฏิบัติการบลูสตาร์” (Blue Star)
ของรัฐบาลที่ทำ�ให้ชาวซิกข์ต้องตายเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าว
นัน้ มาจากการสัง่ การของนางคานธี การสังหารนางคานธีกเ็ ท่ากับแก้แค้นให้
เพื่อนๆ ชาวซิกข์ที่ตายไปในเหตุการณ์ครั้งนั้น
เมื่อทางเจ้าหน้าที่ถามถึงผู้ที่บงการอยู่เบื้องหลังแผนการลอบสังหาร
ครั้งนี้ ทางสัตวันต์ตอบแต่เพียงว่า “ผมไม่รู้จริงๆ ว่าใครบงการ บีน ซิงค์
บอกกับผมว่ามีคนต่างชาติให้การสนับสนุนอยู่ก็เท่านั้น”
คำ�ให้การของสัตวันต์นนั้ ทำ�ให้การสืบสวนมาถึงทางตัน เพราะชายคน
นีไ้ ม่รอู้ ะไรเลย เป็นแค่พวกปลายแถวทีถ่ กู หลอกใช้ให้มาทำ�งานอีกที ซึง่ จาก
การวิเคราะห์วธิ กี ารลอบสังหารและการหลบหนีแล้วเห็นได้วา่ ทำ�ไปอย่างไม่มี
แบบแผน เป็นแผนที่ไร้ประสิทธิภาพที่สุด แต่ที่ประสบความสำ�เร็จก็เพราะ
หน่วยคุ้มกันนั้นไร้ประสิทธิภาพมากกว่าเท่านั้น
• ความคลั่งแค้นของชาวซิกข์ ชนวนการลอบสังหาร
แม้การสอบสวนนายสัตวันต์จะได้ข้อมูลไม่มากนัก แต่ก็ทำ�ให้รู้ไว้
อย่างหนึง่ ว่าสาเหตุทแี่ ท้จริงของการลอบสังหารครัง้ นีก้ ค็ อื “การแก้แค้นของ
ชาวซิกข์จากปฏิบัติการบลูสตาร์”
56 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

สำ�หรับศาสนาซิกข์นั้นเป็นศาสนาที่นับถือ “ศรี คุรุ นานัก เดว ยิ”


เป็นพระศาสดา โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1469 ซึ่งหลักธรรมคำ�สอนของ
ศาสนาซิกข์นั้นจะเน้นให้เห็นถึงความเป็นจริงเป็นพื้นฐาน เรียบง่าย และ
ศรัทธาในพระเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
แต่ความขัดแย้งนัน้ เกิดขึน้ ในยุคหลัง โดยจาร์เนล ซิงห์ บินดรานเวล
ผู้นำ�ศาสนาซิกข์นั้นกล่าวว่า “ชาวซิกข์มีอำ�นาจอธิปไตยและเป็นชุมชนที่
ปกครองตนเอง” คำ�พูดดังกล่าวเป็นการแสดงตนอย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการ
อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลอินเดียอีกต่อไป ส่งผลให้รัฐบาลไม่พอใจ
และเกรงว่านัน่ จะกลายเป็นโอกาสทีท่ ำ�ให้ศตั รูส�ำ คัญอย่างปากีสถานใช้หาผล
ประโยชน์ได้
ดังนั้นการยุติเรื่องนี้อย่างฉับไว รวดเร็ว และตรงประเด็นที่สุดจึงถือ
เป็นหนทางทีเ่ ลีย่ งไม่ได้เสียแล้ว นางอินทิรา คานธีเองก็ระแวดระวังในเรือ่ งนี้
เช่นกัน ซึง่ ต่อมาในเดือนมิถนุ ายน ค.ศ. 1984 จึงได้มกี ารสัง่ การให้ปฏิบตั กิ าร
บลูสตาร์ (Operation Blue Star)
ปฏิบัติการดังกล่าวนั้นมีอยู่ว่าจะใช้กำ�ลังทหารเข้าโจมตีวิหารทองคำ�
(Harimandir Sahib) ของชาวซิกข์ที่ตั้งอยู่ ณ เมืองอมริตสาร์ ซึ่งถือว่า
เป็นเมืองทีเ่ ป็นฐานทีม่ นั่ ของชาวซิกข์ การโจมตีดงั กล่าวทำ�ให้เกิดการต่อสูก้ นั
อย่างดุเดือด แต่สุดท้ายฝ่ายซิกข์ก็ได้รับความพ่ายแพ้และมีผู้เสียชีวิตหลาย
พันคนทีเดียว
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 57

ฝ่ายชาวซิกข์ทอี่ ยูใ่ นเหตุการณ์นนั้ ระบุวา่ การโจมตีในครัง้ นัน้ มีมากกว่า


การต่อสู้ มีทั้งการข่มขืน ทารุณกรรม เผาทำ�ลายห้องสมุดของชาวซิกข์
และทำ�ลายสถานที่ประกอบศาสนกิจ จึงทำ�ให้ชาวซิกข์ทั่วโลกต่างออกมา
ประณามการโจมตีครั้งนั้นกันถ้วนหน้า ชาวซิกข์ส่วนหนึ่งจึงเก็บความแค้น
ไว้ในใจรอที่จะแก้แค้นในวันข้างหน้า
การลอบสังหารนางอินทิรา คานธีในครัง้ นีอ้ าจจะเรียกได้วา่ เป็นผลมา
จากความขัดแย้งทางศาสนาทีม่ มี าแต่เดิม เมือ่ มีเหตุการณ์ใดมากระตุน้ ย่อม
จะทำ�ให้ความขัดแย้งนั้นปะทุขึ้นมาอีก ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้ผู้น�ำ ทุก
ท่านเห็นว่า...
การขจัดความขัดแย้งภายในประเทศสำ�คัญยิ่งกว่าการ
จัดการกับข้าศึกภายนอกประเทศมากนัก
58 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

เจมส์ การ์ฟิลด์
(James Garfield)
ประธานาธิบดีคนที่
20 ของสหรัฐฯ
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 59

ชือ่ ของ “เจมส์ การ์ฟลิ ด์” อาจจะไม่คอ่ ยรูจ้ กั สำ�หรับคนทัว่ ไปนัก แต่ชายผูน้ ี้
เป็นถึงประธานาธิบดีคนที่ 20 ของประเทศมหาอำ�นาจอย่างสหรัฐฯ ทีเดียว ใน
ช่วงทีก่ าร์ฟลิ ด์ด�ำ รงตำ�แหน่งนัน้ เป็นเพียงช่วงเวลาสัน้ ๆ ไม่กเี่ ดือน หลังจากนัน้
เขาก็ต้องสิ้นชีพด้วยการถูกลอบสังหาร ซึ่งหากจะว่าไปการ์ฟิลด์ก็ไม่ได้เสีย
ชีวติ ในทันทีทมี่ กี ารลอบสังหาร เขาต่อสูก้ บั ความเจ็บปวดจากกระสุนทีฝ่ งั ใน
ร่างกายนานเกือบ 2 เดือนทีเดียวกว่าจะสิ้นลม
หากดูประวัติของชายคนนี้ก็จะเห็นว่าเขาเป็นคนที่ต้องต่อสู้อะไร
มากมายกว่าจะขึ้นมาถึงตำ�แหน่งนี้ได้ เจมส์ การ์ฟิลด์มีชื่อเต็มว่า “เจมส์
อับรัม การ์ฟลิ ด์” (James Abram Garfield) เกิดเมือ่ วันที่ 19 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1831 ที่ตำ�บลออเรนจ์ รัฐโอไฮโอ
ด้วยวัยเพียง 16 ปีการ์ฟิลด์ก็เริ่มทำ�งานหลายๆ อย่าง เป็นคนคอย
คุมลาบนฝั่ง เป็นคนลากเรือโยงที่อยู่ในคลองแคบๆ แม้งานที่ทำ�จะหนัก
แต่เขาก็หาเวลาเรียนหนังสือเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตนเองอยู่เสมอ เพราะเชื่อ
ว่าความรู้จะเป็นสิ่งที่ทำ�ให้คนพัฒนาขึ้นได้ในอนาคต กระทั่งในที่สุดเขาก็
สามารถเรียนจบในระดับมหาวิทยาลัย
60 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

เส้นทางของการ์ฟิลด์เริ่มจะอยู่ในขาขึ้นบ้างเมื่อได้เข้ารับราชการ
ทหาร ต่อมาเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองก็ได้รับความดีความชอบเลื่อนยศ
เป็นถึงระดับนายพล จากนัน้ เขาก็เริม่ หันเหเข้าสูเ่ ส้นทางการเมืองอย่างเต็มตัว
โดยได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาสูงแห่งรัฐโอไฮโอ และต่อมาก็เป็นตัวแทน
ของพรรครีพลับลิกันเข้าชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดี สุดท้ายก็ได้รับตำ�แหน่ง
ประธานาธิบดีสมดังที่ตั้งใจเอาไว้
• วันที่ดูธรรมดากลายเป็นวันลอบสังหาร
เหตุการณ์การลอบสังหารนัน้ เกิดขึน้ หลังจากทีก่ าร์ฟลิ ด์รบั ตำ�แหน่งได้
ประมาณ 4 เดือนเท่านัน้ ตอนนัน้ เป็นเช้าของวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1881
เวลาประมาณ 9.00 น. ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงทีอ่ ากาศร้อนอบอ้าว ทางการ์ฟลิ ด์
จึงมีแผนที่จะเดินทางกลับชนบทเพื่อหวังจะคลายความร้อนได้บ้าง โดย
กำ�หนดว่าจะเดินทางด้วยรถไฟ
ทางการ์ฟลิ ด์และคณะเดินทางมาถึงสถานีรถไฟโปโตแม๊คในเวลา 9.20
น. ซึ่งตามกำ�หนดแล้วรถไฟจะออกเวลา 9.30 น. นั่นจึงทำ�ให้การ์ฟิลด์
มีเวลาเล็กน้อยในการเดินผ่อนคลายและทักทายบุคคลสำ�คัญที่ตามมาส่งใน
ครั้งนั้น
ในระหว่างที่การ์ฟิลด์เดินผ่านออกไปยังชานชาลาอย่างสบายอารมณ์
นั้น จู่ๆ ก็มีเสียงปืนดังขึ้นมาสองนัดซ้อน
ปัง! ปัง!
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 61

กระสุนสองนัดนัน้ มุง่ หมายจะใช้สงั หารการ์ฟลิ ด์ในทันที ซึง่ นัดแรกถูก


เข้าบริเวณข้างหลังอย่างจัง ส่วนนัดที่สองนั้นแค่เฉียดๆ แขน เมื่อกระสุน
กระทบร่างกายการ์ฟิลด์ก็รู้ตัวทันทีว่าตนเองกำ�ลังตกเป็นเหยื่อของการลอบ
สังหารครั้งนี้ ร่างกายที่สูงใหญ่ก็เริ่มควบคุมไม่ได้ ซวนเซไปมา มือทั้งสอง
ข้างก็พยายามคว้าอากาศหมายพยุงตัวยืนให้ได้ แต่สดุ ท้ายก็ไม่ไหวเขาล้มลง
บนพื้นอย่างแรง
ในช่วงเวลาไม่กวี่ นิ าทีทเี่ กิดขึน้ นัน้ ทำ�ให้ผทู้ อี่ ยูใ่ นเหตุการณ์ทงั้ หมดพา
กันตะลึงงัน ทำ�อะไรไม่ถกู แต่สงิ่ ทีท่ กุ คนจดจำ�ได้กค็ อื รูปร่างหน้าตาของมือ
สังหารในครัง้ นัน้ ทีเ่ ป็นชายรูปร่างผอมบาง เดินโซเซ หนวดเครารุงรัง แต่งตัว
ซอมซ่อ หากมองในเวลาปกติคงคิดว่าเป็นคนบ้ามากกว่ามือสังหารเป็นแน่
ในขณะนัน้ ดูเหมือนว่าเจ้าหน้าทีจ่ �ำ หน่ายตัว๋ รถไฟจะเป็นผูท้ มี่ สี ติดกี ว่า
คนอืน่ จึงกระโจนเข้าล็อกคอชายผูเ้ ป็นมือสังหารนัน้ เวลาไม่นานตำ�รวจประจำ�
สถานีรถไฟก็มาถึง จึงจัดการใส่กุญแจมือชายคนดังกล่าวอย่างแน่นหนา
มือสังหารผู้นั้นหาได้ดิ้นรนและพยายามหลบหนีไม่ แต่กลับพูดออกมาด้วย
เสียงอันดังว่า
“ผมเองที่เป็นคนยิง ผมต้องการให้ถูกจับ จากนี้ไปผมจะได้เป็น
ประธานาธิบดีแล้ว”
จากนั้นก็หันหน้ามายังตำ�รวจที่จับตัวเขาอยู่แล้วพูดเชิงสั่งการว่า
“นำ�ผมไปขังที่ห้องชั้น 3 ที่อยู่ด้านเหนือของเรือนจำ�ได้แล้ว นายพลเชอร์
แมนกำ�ลังรอรับผมอยู่ ทำ�ตามที่ผมสั่งแล้วตำ�แหน่งอธิบดีกรมตำ�รวจจะเป็น
ของคุณ”
62 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ในขณะนั้นผู้คนที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างก็ไม่ได้ใส่ใจในคำ�พูดดังกล่าว
แต่นั่นก็ทำ�ให้ทุกคนประเมินชายผู้นี้ในได้ว่าเขาเป็นคนที่มีสติไม่สมประกอบ
เท่าไรนัก ไม่นานชายคนดังกล่าวก็ถูกส่งตัวไปกองบัญชาการตำ�รวจ ส่วน
ประธานาธิบดีการ์ฟิลด์ก็ถูกส่งไปรักษายังโรงพยาบาลเป็นการด่วน
กระสุนทัง้ สองนัดทีม่ อื สังหารยิงนัน้ นัดหนึง่ พลาดเป้า ส่วนอีกนัดหนึง่
เข้าเป้าอย่างจังตรงกลางหลัง ซึง่ แม้กระสุนนัดนัน้ จะไม่ได้ท�ำ ให้การ์ฟลิ ด์เสีย
ชีวติ ในทันทีกจ็ ริง แต่อย่างไรเสียก็ตอ้ งทำ�การรักษาด้วยการผ่าเอากระสุนเจ้า
ปัญหานีอ้ อกเสียก่อน ซึง่ นัน่ ไม่ใช่เรือ่ งง่ายเลยเพราะแม้รวู้ า่ กระสุนจะฝังตัวอยู่
บริเวณกระดูกสันหลัง แต่กย็ งั ไม่รแู้ น่ชดั ว่าตำ�แหน่งของมันอยูต่ รงไหน จึงไม่
สามารถผ่าออกมาได้
นายแพทย์ประจำ�ตัวของการ์ฟลิ ด์ได้ให้ความคิดเห็นในเรือ่ งนีว้ า่ การ
ที่กระสุนฝังตัวอยู่บริเวณกระดูกสันหลังนั้นจะทำ�ให้การ์ฟิลด์รู้สึกเจ็บปวด
ทรมานเป็นอย่างมาก และความจริงก็ไม่น่ารอดชีวิตจากคืนแรกที่ถูกยิงได้
แต่ก็เหมือนปาฏิหาริย์ที่เขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกนานถึง 11 สัปดาห์
ในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1881 เวลา 22.35 น. เป็นเวลาทีป่ ระเทศ
สหรัฐฯ ได้สูญเสียประธานาธิบดีคนที่ 20 ที่ชื่อ “เจมส์ การ์ฟิลด์” ไปอย่าง
ไม่มวี นั กลับ ข่าวการอสัญกรรมได้ถกู เผยแพร่ไปทัว่ โลก สร้างความโศกเศร้า
ให้อเมริกนั ชนทัว่ ทัง้ ประเทศ ต่อมาก็มจี ดหมายแสดงความเสียใจอย่างสุดซึง้
จำ�นวนมากจากทั่วประเทศส่งมาถึงภรรยาของเขา
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 63

นัน่ แสดงให้เห็นว่าประธานาธิบดีผนู้ เี้ ป็นทีร่ กั ของชาวอเมริกนั มากเพียง


ใด แม้ว่าจะเข้ารับตำ�แหน่งเพียงไม่กี่เดือนก็ตาม โดยทุกคนเชื่อว่าชายผู้นี้
จะนำ�พาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแน่นอน และเขาอาจจะกลายเป็น
ประธานาธิบดีคนสำ�คัญระดับเดียวกันกับอับราฮัม ลินคอล์น หรือจอร์จ
วอชิงตันก็เป็นได้ หากว่าไม่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้เสียก่อน
• ฆาตกรที่เสียสติ!!!
ทางด้านตำ�รวจเมือ่ จับตัวมือลอบสังหารประธานาธิบดีการ์ฟลิ ด์มาได้
แล้วก็ทำ�การสืบสวนกันอย่างเข้มข้น โดยทราบภายหลังว่าผู้ที่ลงมือในครั้งนี้
ชื่อว่า “ชาร์ล ยูเลียส กุยติว” ในขณะนั้นเขามีร่างกายซูบผอม พูดจาใหญ่
โต ไม่เกรงกลัวใคร คล้ายคนเสียสติ
จากการสืบประวัตแิ ล้วพบว่าแต่กอ่ นเขาเป็นคนทีพ่ ดู จาฉะฉาน โน้มน้าว
ใจคนเก่ง ซึ่งในอดีตก็ทำ�งานหลากหลายอาชีพ ทั้งเป็นนักเขียน นักเดิน
ขายประกัน เจ้าของโรงพิมพ์ ภายหลังเลือกที่จะเป็นนักต้มตุ๋น สุดท้ายก็
ต้องตกงาน ไม่มีรายได้ เดินเตะฝุ่นไปวันๆ ด้วยความผิดหวังในชีวิตซ้ำ�ๆ
ซากๆ จึงทำ�ให้จติ ใจของเขาแปรปรวน จากคนมีสติกก็ ลายเป็นคนเสียสติไป
สาเหตุของการลอบสังหารประธานาธิบดีการ์ฟิลด์นั้นเกิดมาจากครั้ง
หนึ่งเขาได้นั่งคิดจินตนาการไปว่า ตนเองมีความสามารถที่เก่งกล้า เมื่อลง
คะแนนเสียงสนับสนุนการ์ฟิลด์ก็ได้เป็นถึงประธานาธิบดี แต่ตนเองกลับไม่
เคยได้รับการตอบแทนจากชายผู้นี้เลยแม้เพียงสักครั้งเดียว
64 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

เมื่อคิดได้อย่างนั้นนายกุยติวผู้นี้ก็เริ่มทวงบุญคุณกับการ์ฟิลด์ ซึ่งเขา
พยายามวิง่ เต้นขอตำ�แหน่ง โดยอ้างถึงการสนับสนุนของเขาทีท่ �ำ ให้การ์ฟลิ ด์
ได้เป็นประธานาธิบดีอย่างทุกวันนี้ แต่ก็ไร้ความหมายเมื่อการ์ฟิลด์ไม่เคย
ตอบรับความต้องการของเขาเลย
นอกจากนัน้ เขายังมีความพยายามติดต่อบุคคลสำ�คัญคนอืน่ ๆ อย่าง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมาชิกรัฐสภาคนอื่นๆ โดย
แนะนำ�ตัวเองว่ามีความสามารถเหมาะสำ�หรับการทำ�หน้าที่สำ�คัญอย่าง
เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำ�ออสเตรเลีย กงสุลประจำ�ฝรั่งเศส ซึ่งก็ได้รับ
การเมินเฉยอีกเช่นกัน
ความพยายามของนายกุยติวถูกมองว่าเป็นความวุน่ วายจนเกินเหตุใน
สายตาของผูอ้ นื่ สุดท้ายเจ้าหน้าทีป่ ระจำ�ทำ�เนียบขาวก็ได้รบั คำ�สัง่ ไม่ให้ชาย
ผูน้ เี้ ข้ามาอีกเป็นการถาวร นัน่ จึงยิง่ สร้างความเครียดแค้นขึ้นมาในจิตใจเขา

• เมื่อตัดสินใจที่จะสังหารประธานาธิบดี
สำ�หรับการ์ฟิลด์ในสายตาของนายกุยติวแล้วคือคนที่อกตัญญูและไม่
เหมาะสมที่จะดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกต่อไป สุดท้ายเขาก็
ตัดสินใจที่จะสังหารชายผู้นี้เสีย การเตรียมการลอบสังหารในครั้งนั้นเริ่มต้น
จากการทีเ่ ขาไปยืมเงินญาติคนหนึง่ มา 15 ดอลลาร์ จากนัน้ ก็ไปซือ้ ปืนรีวอล
เวอร์บลูด็อก ขนาด 44 ม.ม. พร้อมกระสุน แล้วก็ซ้อมมือจนแน่ใจว่าคล่อง
พอที่จะสังหารคนได้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 65

หลังจากการเตรียมพร้อมขั้นตอนต่างๆ แล้วนายกุยติวก็ติดตาม
ความเคลือ่ นไหวของการ์ฟลิ ด์หลายสัปดาห์เพือ่ หาโอกาสลงมือ ซึง่ เขาได้เล่า
ว่าเขามีโอกาสที่จะลงมือสังหารถึง 4 ครั้ง แต่ก็ล้มเลิกไปเพราะนั่นยังไม่ใช่
โอกาสดีที่สุดที่เขาต้องการ
จนกระทั่งมาถึงวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1881 เขารู้กำ�หนดการเดิน
ทางของการ์ฟลิ ด์ในตอน 9 โมงเศษๆ โดยรถไฟทีส่ ถานีโปโตแม๊ค เขารูด้ วี า่ นี่
เป็นโอกาสงามที่หาได้ยาก จึงรีบตื่นตั้งแต่ตีห้าเพื่อจะมาจัดการการลอบ
สังหารให้เรียบร้อยเสียที
ในแผนการนัน้ กุยติวจัดแจงนัง่ รอการ์ฟลิ ด์อยูใ่ นห้องพักผูโ้ ดยสารหญิง
ซึ่งห้องนี้จะเป็นห้องที่ผู้โดยสารทุกคนต้องผ่านไปสู่ชานชาลา เมื่อถึงเวลา 9
โมงเศษๆ การ์ฟิลด์ก็มาตามนัด กุยติวก็ชักปืนที่เตรียมมายิงใส่เขาอย่างไม่
ลังเล
• แรงจูงใจของชายที่ไร้สติ
หากจะถามถึงสาเหตุทที่ �ำ ให้เกิดการลอบสังหารครัง้ นี้ หลายๆ คนยัง
มุ่งประเด็นไปที่สภาพจิตที่ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ของนายกุยติวที่ คิดเครียด
แค้นการ์ฟิลด์ที่ไม่ให้งานเขาทำ� ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ
กระทั่ ง มี การพบจดหมายฉบับหนึ่ง ที่กุย ติ ว เขี ย นขึ้ น แล้ ว ส่ งไปยั ง
ทำ�เนียบขาว ก่อนทีจ่ ะเกิดเหตุการณ์ลอบสังหารครัง้ นี้ โดยเขาได้ชแี้ จงเหตุผล
ที่ลงมือเอาไว้ว่า
66 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

“การตายของประธานาธิบดีถือว่าเป็นเรื่องวิปโยคก็จริง แต่นั่นก็เป็น
เหตุทำ�ให้พรรครีพลับลิกันมีความแน่นแฟ้นสามัคคีกันมากยิ่งขึ้น ในระยะ
ยาวก็จะทำ�ให้พรรคมีความมั่งคงและอยู่ยืนยงต่อไป... ในความเป็นจริงผม
ไม่ได้มีเจตนาร้ายต่อประธานาธิบดีมากกว่านี้เลย...”
เมื่อมีการวิเคราะห์ดูแล้วทำ�ให้เห็นถึงเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่นายกุยติว
ตัดสินใจทำ�การลอบสังหารครัง้ นี้ นัน่ คือเขายังให้ความสำ�คัญในเรือ่ งการเมือง
อีกด้วย โดยหวังให้พรรครีพลับลิกนั ทีเ่ ขาสนับสนุนอยูน่ นั้ มีความเป็นปึกแผ่น
มัน่ คงมากกว่าทีเ่ ป็นอยู่ ซึง่ ในขณะนัน้ คนทัว่ ไปก็รวู้ า่ พรรครีพลับลิกนั มีปญั หา
ความขัดแย้งภายในอยู่ นายกุยติวเชือ่ ว่าการตายของการ์ฟลิ ด์จะแก้ไขปัญหา
ในเรื่องนี้ได้อย่างดีที่สุด

• จุดจบของนายกุยติว
หลังจากการก่อเหตุนายกุยติวก็ถกู ส่งไปทีเ่ รือนจำ�วอชิงตันเพือ่ รอการ
ขึ้นศาลและการตัดสินต่อไป ในระหว่างนั้นเขาถือว่าเป็นคนดังมากทีเดียว
เพราะมีนกั ข่าวมาขอสัมภาษณ์ไม่เว้นแต่ละวัน โดยเขาเองก็ชนื่ ชอบทีต่ นเอง
ได้กลายเป็นคนสำ�คัญ แต่นนั่ กลับทำ�ให้บรรดาผูค้ มุ ทัง้ หลายเกิดอาการหมัน่
ไส้และเกลียดชังเขายิ่งกว่าเดิม จนมีบางคนถึงกับพูดว่า
“น่าจะมีใครสักคนเอาปืนมายิงหัวเจ้าหมอนีห่ น้าเรือนจำ�สักครัง้ คงจะ
ดีไม่น้อย”
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 67

ซึ่งคำ�พูดนั้นก็กลายเป็นจริงในเวลาต่อมา เมื่อนายทหารคนหนึ่งชื่อ
เมสัน เอาปืนยิงนายกุยติวขณะที่กำ�ลังให้สัมภาษณ์นักข่าว แต่ยังโชคดีที่
กระสุนนั้นเฉียดศีรษะของกุยติวไปนิดเดียว
ซึ่งเมื่อรู้ตัวว่าจะถูกยิงเขาก็ทิ้งตัวลงนอนราบเพื่อหลบลูกกระสุน นั่น
จึงนับว่าเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้เกลียดชังเขามากเพียงใด
หลังจากเหตุการณ์ทนี่ ายกุยติวนอนรอคำ�ตัดสินอยูใ่ นเรือนจำ�นานกว่า
11 เดือน วันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1881 เขาก็ได้ถูกเบิกตัวเพื่อฟังคำ�
พิพากษา โดยทางขณะลูกขุนได้ลงความเห็นพร้อมเพรียงกันว่าโทษของชาย
ผู้นี้มีเพียงสถานเดียวเท่านั้นคือ
ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ!!!
แต่ดูเหมือนว่านายกุยติวไม่ยี่หระต่อคำ�ตัดสินดังกล่าว อีกทั้งยังออก
อาการภูมิใจเสียด้วยซ้ำ� โดยวันที่เขาถูกประหารนั้นเขาได้หวีผมเรียบร้อย
ขัดรองเท้าเงาวับ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ ไม่เหมือนคนที่
กำ�ลังจะถูกประหาร แต่เหมือนคนที่กำ�ลังจะขึ้นไปรับรางวัลสำ�คัญบางอย่าง
มากกว่า ในวันนั้นเรียกได้ว่าที่นั่งดูการประหารของเขาถูกจับจองด้วยราคา
ที่สูงเป็นประวัติศาสตร์ทีเดียว
สุดท้ายนายชาร์ลยูเลียส กุยติว ก็ได้ถกู แขวนคอทีค่ กุ วอชิงตัน ในวัน
ที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1882 เป็นอันสิ้นสุดเรื่องราวทั้งหมด
68 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ในกรณีการถูกลอบสังหารของประธานาธิบดีเจมส์ การ์ฟิลด์ ทำ�ให้


เห็นว่าแม้เราจะไม่สามารถจะทำ�ให้ทุกคนรักเราได้ แต่ก็จงทำ�ดีกับทุกคน
จงทำ�ดีตอ่ ผูอ้ นื่ ให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำ�ได้ ย่อมเป็นหนทาง
เดียวที่ทำ�ให้ทุกคนเห็นความดีในตัวเรา
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 69

มหาตมะ คานธี
(Mahatma Gandhi)
มหาบุรุษแห่งอินเดีย
70 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

หากจะพูดถึงชายที่ชื่อ “มหาตมะ คานธี” (Mahatma Gandhi) นั้นมี


หลากหลายมุมมองที่เราสามารถพูดถึงเขาได้ ทั้งเรื่องการเมือง คมความ
คิด การใช้ชีวิต การต่อสู้ด้วยหลักการโดยปราศจากการใช้กำ�ลัง และอื่นๆ
อีกมากมาย ตามประวัติแล้วมหาตมะ คานธี มีชื่อเต็มๆ ว่า “โมหันทาส
กะรัมจันท คานธี” (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดวันที่ 2
ตุลาคม ค.ศ. 1869 ในแคว้นคุชราตทางทิศตะวันตกของอินเดีย
บุคคลผู้นี้ถือว่าเป็นผู้นำ�และนักการเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดผู้หนึ่ง
ของชาวอินเดีย ถือเป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างให้คนยุคหลังในหลายๆ ด้าน
แต่ใครจะคิดว่าคนเช่นนี้จะมีผู้เกลียดชังอย่างมากจนถึงขั้นฆาตกรรมได้
เหตุการณ์นเี้ กิดขึน้ ช่วงเย็นๆ ประมาณ 5 โมงของวันที่ 30 มกราคม
ค.ศ. 1948 เวลานั้นท่านได้เดินออกมาจากบ้านพักพีร์ลา เศรษฐีนัก
อุตสาหกรรมชื่อดังของอินเดีย ระหว่างการเดินนั้นท่านต้องให้หลานสาวทั้ง
2 คนคอยประคองโดยตลอดเนื่องจากสุขภาพไม่ค่อยสู้ดี
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 71

พอเดินออกมาได้นิดหน่อยก็มีประชาชนมายืนรอท่านกว่า 500 คน
ซึ่งคนเหล่านี้จะมาร่วมสวดมนต์พร้อมกับท่านทุกๆ เย็น เมื่อผู้คนเห็นก็
พากันหลีกทางให้ท่านเดินไปก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคารพอย่างสูง
เหตุการณ์เหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายๆ กันทุกวันอยู่แล้ว แต่ที่เริ่มต่างไปคือ
มีเสียงดังขึ้นมา ปัง! ปัง! ปัง!
นั่นเป็นเสียงปืนที่ดังมาจากปืนพกกระบอกหนึ่ง ซึ่งเจ้าของนั้นเป็น
ชายหนุ่มผู้ที่ยืนจังก้าอยู่ และเป้าหมายในการยิงครั้งนี้อยู่ที่มหาตมะ คานธี
ซึง่ กระสุนทีย่ งิ ออกไปทัง้ 3 นัดนัน้ พุง่ เข้าร่างกายของท่านคานธีอย่างจัง นัดแรก
นัน้ ถูกบริเวณสะโพกขวา ส่วนอีกสองนัดทีเ่ หลือนัน้ ถูกบริเวณอกและท้อง พอ
สิน้ เสียงปืนร่างของท่านก็ลม้ ฟุบลงกับพืน้ ผ้าห่มสีขาวทีใ่ ส่อยูน่ นั้ ถูกย้อมด้วย
เลือดจนกลายเป็นสีแดงฉาน
หลังจากสิ้นเสียงปืนเพียงไม่กี่วินาที ผู้คนก็เริ่มแตกตื่นกับเหตุการณ์
ดังกล่าว บางคนวิ่งหนีด้วยความกลัว บางคนก็วิ่งไปมาเหมือนทำ�อะไร
ไม่ถูก แต่มีหนุ่มชาวอเมริกันผู้หนึ่งตั้งสติได้จึงกระโจนเข้าใส่มือปืนทันที
เพื่อไม่ให้หนีไปได้
เมือ่ ผูค้ นเห็นเช่นนัน้ ก็เริม่ มีสติกลับคืนมา พากันรุมทำ�ร้ายโจรชัว่ คนนัน้
อย่างเต็มที่ ส่วนหนุ่มอเมริกันผู้นั้นก็ถูกกันตัวออกไปยังที่ปลอดภัย การรุม
ประชาทัณฑ์ดำ�เนินไปได้เพียงครู่สั้นๆ เท่านั้นก็ต้องจบลง เพราะเจ้าหน้าที่
ได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์และจับกุมมือปืนเอาไว้ เพือ่ ทำ�การสืบสวนต่อไป
72 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ทางด้านมหาตมะ คานธี อยู่ในสภาพแน่นิ่งจมกองเลือด แต่ท่านก็


ยังรูส้ กึ ตัวอยู่ ปากของท่านไม่ได้โอดครวญเพราะความเจ็บปวดเลย แต่กลับ
พยายามยกมือขึน้ พนมและหลับตาช้าๆ เหมือนว่าท่านต้องการอโหสิกรรมให้
แก่การกระทำ�ของมือปืนคนดังกล่าว
จนเมื่อผู้ใกล้ชิดเห็นท่าจะไม่ดีจึงช่วยกันย้ายร่างที่บอบบางของท่าน
ไปยังเฉลียงบ้านพีร์ลา จากนั้นทีมแพทย์ก็ได้เข้ามาทำ�การรักษากันอย่างเร่ง
ด่วนและสุดความสามารถ เวลาผ่านไปประมาณ 25 นาที ลมหายใจของ
ท่านก็เริ่มผ่อนลงเบาๆ และที่สุดแล้วก็นิ่งสงบไปตลอดกาล
เหตุการณ์หลังมหาตมะ คานธีสิ้นลม
หลังจากนั้นไม่นานทางสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุโทรทัศน์ต่างออกมาให้ข่าว
การเสียชีวิตของท่าน ประเทศอินเดียทั้งประเทศเหมือนอยู่ในสภาวะแช่แข็ง
บ้านเรือน ห้างร้านปิดสนิท รถราก็หยุดวิ่ง ประชาชนต่างพากันมาชุมนุม
บริเวณกลางถนนเพือ่ ฟังข่าวนีอ้ กี ครัง้ เพราะยังไม่เชือ่ ว่าเหตุการณ์นจี้ ะเกิดขึน้
จริงๆ
แต่หลังจากมีการประกาศการเสียชีวติ ของมหาตมะ คานธีซ�้ำ ๆ หลาย
ครั้งก็ทำ�ให้ชาวอินเดียรู้ว่านี่เป็นเรื่องจริง ต่างพากันร้องไห้และสลดใจกับ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความโศกเศร้านั้นปกคลุมไปทั่วประเทศอินเดีย
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 73

ทางด้านบ้านพีรล์ า ซึง่ เป็นทีท่ ศี่ พของมหาตมะ คานธีตงั้ อยูต่ า่ งมีผคู้ น


จำ�นวนมากพากันหลั่งไหลมาเป็นจำ�นวนมาก เพื่อสักการะมหาบุรุษผู้เป็น
ที่รักของชาวอินเดีย ศพของท่านนั้นถูกห่อหุ้มด้วยผ้าสีขาวผืนใหญ่ นอนอยู่
ท่ามกลางกองบุปผชาติที่ตกแต่งอย่างสวยงามให้สมเกียรติ
ทางเมืองบอมเบย์เมือ่ ได้ยนิ ข่าวการเสียชีวติ ของมหาตมะ คานธีกเ็ กิด
การฆ่าฟันครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวฮินดู ทำ�ให้มีผู้เสียชีวิตและ
ผู้บาดเจ็บนับหลายร้อยคน จนเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต้องออกมาระงับเหตุ
เป็นการด่วน จากนั้นรัฐบาลอินเดียประกาศให้มีการไว้ทุกข์นาน 13 วัน
ตัวแทนจากประเทศต่างๆ ต่างแสดงความเสียใจต่ออินเดียอย่างล้นหลาม
วันเสาร์ที่ 31 มกราคม 1948 เวลา 16.00 น. เป็นกำ�หนดการที่
จะประกอบพิธีฌาปนกิจศพของมหาตมะ คานธี ในพิธีการดังกล่าวนั้นมี
ทั้งข้าราชการและประชาชนเข้าร่วมงานกันมากมาย ทุกคนต่างแสดงความ
เสียใจกับการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของมหาบุรุษผู้นี้ ส่วนบางคนนั้นก็
สาปแช่งผู้ที่ลอบสังหารครั้งนี้อย่างสาสมใจ
คำ�สารภาพจากมือปืน!!!
พิธฌี าปนกิจศพของมหาตมะ คานธีนนั้ เสร็จสิน้ ไป พร้อมทัง้ การแสดง
ความเศร้าโศกของคนทั่วอินเดีย และทางกฎหมายนั้นก็ดำ�เนินต่อไปตาม
ระเบียบ จากการสืบสวนทำ�ให้ทราบว่ามือปืนที่เป็นผู้ลั่นไกสังหารมหาตมะ
คานธีนั้นชื่อ “นาถูราม โคทเส”
74 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

หนุ่มน้อยผู้นี้เป็นชาวฮินดู เผ่ามาราติ ว่ากันว่าชนเผ่านี้ส่วนใหญ่


นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ชอบใช้ความรุนแรง นอกจากนั้นยังมีตำ�แหน่งเป็น
เลขานุการของพรรคฮินดูมหาสภา อีกทั้งยังทำ�หน้าที่เป็นบรรณาธิการของ
หนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า “โลกฮินดู” อีกด้วย หลังจากที่หนุ่มน้อยคนนี้ถูกจับก็
ให้การอย่างหนักแน่นว่า
“สิ่งที่ผมทำ�นั้น มันถูกต้องที่สุดแล้ว”
หนุ่มฮินดูผู้นี้ได้ให้เหตุผลที่ก่อเหตุอุกอาจครั้งนี้ว่า เขาไม่เห็นด้วย
กับนโยบายของคานธี เพราะขัดต่อประโยชน์ของชาวฮินดู นอกจากนั้นยัง
กล่าวหาคานธีว่าเป็นต้นเหตุทำ�ให้มีการแบ่งแยกอินเดียให้กลายเป็นอินเดีย
กับปากีสถานอย่างทุกวันนี้ ซึ่งหากดูตามนโยบายหลักของมหาตมะ คานธี
แล้วมันหาใช่อย่างนั้นเลย โดยมีดังนี้
“อันตัวของข้าพเจ้าทำ�งานเพื่อประเทศอินเดีย ผู้ที่ยากจนที่สุดก็ต้อง
รู้สึกว่านี้เป็นประเทศของเขาเช่นกัน จะต้องไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ ไม่มี
สูงหรือต่ำ� อินเดียต้องอยู่ด้วยการประสานประโยชน์ซึ่งกันและกัน อินเดีย
ต้องไม่มีคำ�สาปแช่งและการแตะต้องไม่ได้ ผู้หญิงและผู้ชายต้องเท่าเทียม
กัน นั่นคืออินเดียในฝันของข้าพเจ้า”
ที่ผ่านมานั้นท่านได้เสียสละทรัพย์และตนเองให้แก่ประเทศนี้ไปเป็น
จำ�นวนมาก ซึง่ หลังจากทีป่ ระเทศนีไ้ ด้รบั เอกราชมาก็เกิดความแตกแยกทาง
ด้านศาสนา โดยเฉพาะชาวมุสลิมกับชาวฮินดู ที่นับวันก็ดูเหมือนจะรุนแรง
ขึ้นไปแทบทุกที
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 75

เรื่องนี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งของอินเดียก็ว่าได้ ซึ่งท่าน
เองก็เห็นถึงความสำ�คัญในข้อนี้ เพราะหากปล่อยให้มีความขัดแย้งเหล่านี้
ภายในประเทศย่อมเป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะทำ�ให้อนิ เดียเจริญรุง่ เรืองในวันข้างหน้า
ได้
สุดท้ายท่านจึงตัดสินใจลงมาแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยการเจรจากับ
ฝ่ายมุสลิมเพือ่ ให้เกิดการปรองดองขึน้ และดูเหมือนจะมีทที า่ ไปได้ดว้ ยดี แต่
ก็มกี ลุม่ ชาวฮินดูหวั รุนแรงจำ�นวนหนึง่ ทีไ่ ม่เห็นด้วยกับการกระทำ�นัน้ พวกเขา
เลือกทีจ่ ะต่อสูก้ บั ชาวมุสลิมจนตายไปข้างหนึง่ แทนทีจ่ ะเจรจาปรองดองกัน
ด้วยสันติภาพ
การกระทำ�ของท่านในสายตาของพวกเขานั้นคือการทรยศต่อฮินดู
ดีๆ นี่เอง ดังนั้นจึงวางแผนที่จะกำ�จัดบุคคลผู้นี้เสีย ซึ่งหากว่ากันตามจริง
แล้วการลอบสังหารมหาตมะ คานธีครัง้ นีไ้ ม่ใช่ครัง้ แรก ก่อนหน้านีก้ ม็ คี วาม
พยายามจะดับลมหายใจของท่านมาแล้ว โดยการปาระเบิดเข้าไปในกลุ่ม
ประชาชนที่กำ�ลังสวดมนต์พร้อมกับท่าน
แต่ยงั โชคดีทมี่ อื ระเบิดดังกล่าวนัน้ ไม่มคี วามแม่นยำ�พอ การลอบสังหาร
ครั้งนั้นจึงทำ�ให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำ�นวน 9 คน ส่วนมหาตมะ คานธีนั้น
รอดตายมาอย่างหวุดหวิด
76 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

หลังจากนัน้ แทนทีท่ า่ นจะลดการปรากฏตัวต่อทีส่ าธารณะทีต่ กเป็นเป้า


หมายได้ง่าย อย่างการเข้าร่วมพิธีสวดมนต์กับผู้คนจำ�นวนมากทุกวันตอน
เย็น เพราะอาจจะมีผู้ไม่หวังดีแอบแฝงเข้ามาทำ�ร้ายได้ง่าย ท่านกลับไม่ได้
สนใจในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นเลย ยังคงดำ�เนินชีวิตไปอย่างเป็นปกติที่สุด
ท่านมีความพยายามที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นระหว่างชาว
มุสลิมและชาวฮินดู แต่ก็ดูเหมือนว่ายังมีข่าวการเข่นฆ่าระหว่างทั้งสองกลุ่ม
นีต้ ลอดเวลา กระนัน้ ท่านก็ไม่เคยลดละความพยายามนีเ้ ลย จึงยิง่ ทำ�ให้เป็น
ที่ไม่พอใจอย่างมากสำ�หรับชาวฮินดูหัวรุนแรงทั้งหลาย จนนำ�มาซึ่งการลอบ
สังหารที่ทำ�ได้สำ�เร็จ เป็นอันจบชีวิตของมหาบุรุษผู้ต่อสู้เพื่อสันติภาพและ
ความปรองดองของอินเดีย
สำ�หรับมหาตมะ คานธีนั้นถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ต่อสู้เพื่อ
สันติภาพอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่มีความพยายาม อดทน มุ่งมั่น แม้ว่าที่ผ่าน
มาจะเห็นความสำ�เร็จอยู่เลือนรางมากก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ท�ำ ให้หยุดหรือ
ล้มเลิกสิ่งที่ทำ�อยู่ ทำ�ให้เรารู้ว่า
บางทีความสำ�เร็จนั้นไม่ได้สำ�คัญไปกว่าการได้ทำ�ในสิ่งที่
เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริงและยั่งยืน!!!
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 77

นายพลอูออง ซาน
(U Aung San)
ตำ�นานนักต่อสู้แห่งพม่า
78 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

เมื่อพูดถึงนักสู้เพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศพม่า หลายคนอาจจะคิดถึง
“นางออง ซาน ซูจี” เท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วยังมีอีกผู้หนึ่งคือ “นายพล
ออง ซาน” (Aung San) หรือ “อู ออง ซาน” (U Aung San) ท่านเป็น
นักการเมืองและนักปฏิวตั ขิ องพม่าทีไ่ ด้รบั การยอมรับนับถือมาจนถึงทุกวันนี้
ซึ่งอีกสถานะหนึ่งนั้นก็คือ บิดาของนางออง ซาน ซูจีนั่นเอง
แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งที่นายพลผู้นี้ได้เสียชีวิตไปด้วยวัย 32
ปีเท่านั้น และสาเหตุการเสียชีวิตก็มาจากการลอบสังหาร ซึ่งนั่นถือว่าเป็น
ความสูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศพม่า จนว่ากันว่าหากนายพลออง ซาน
ไม่ด่วนตายไปเสียก่อน ประเทศพม่าในตอนนี้คงมีความเจริญทัดเทียมกับ
ประเทศไทยในปัจจุบันทีเดียว
เหตุไม่คาดคิดระหว่างการประชุมสภาของพม่าเมื่อวันที่
19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 79

ในช่วงเวลาดังกล่าวนายพลออง ซาน ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี


ของพม่า เป็นช่วงเวลาที่คณะของเขากำ�ลังประชุมในห้องเลขาธิการสภาที่
นครย่างกุ้ง ซึ่งการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด แต่ก็อยู่ภายใต้มิตรไมตรี
อันดีต่อกัน
ทันใดนั้นก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น เมื่อมีกลุ่มคนร้ายเข้ามาในห้องดัง
กล่าว จากนั้นก็พากันกราดกระสุนไปยังนายพลออง ซานและพรรคพวก
อย่างไม่ยั้ง
ปัง! ปัง! ปัง! ปัง!
การยิงกันอย่างอุกอาจเช่นนี้ทำ�ให้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว
บรรดาทหารทีร่ กั ษาการณ์อยูต่ า่ งพากันวิง่ เข้ามายังทีเ่ กิดเหตุ ภาพทีเ่ ห็นเป็น
ภาพแรกก็คอื กลุม่ คนร้ายจำ�นวนหนึง่ กำ�ลังกราดยิง่ ไปทัว่ ห้องเลขาธิการสภา
ทหารทัง้ หมดจึงพากันล้อมจับอย่างรวดเร็ว กลุม่ คนร้ายเมือ่ เห็นเช่นนัน้
ต่างก็ยอมวางอาวุธโดยง่าย ไม่มีใครคิดยิงต่อสู้เลย ซึ่งเมื่อจัดการกับผู้ร้าย
กลุ่มนี้แล้ว หัวหน้าทหารก็รีบเข้าไปในห้องดังกล่าวทันที แต่ดูเหมือนว่าจะ
สายเกินไปเสียแล้ว เพราะนายพลออง ซานและพรรคพวกต่างนอนจมกอง
เลือด ซึ่งจากการตรวจสอบในขณะนั้นมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คนด้วยกัน
ดังต่อไปนี้
1. นายพลออง ซาน นายกรัฐมนตรี
2. อูบาวิน พี่ชายของนายพลออง ซาน
80 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

3. มทาบาเดง หัวหน้าเผ่ากะเหรี่ยง
4. ตะขึนมยา เพื่อนผู้ร่วมกู้ชาติมากับนายพลออง ซาน
5. อุบาโซ นักดนตรี นักศิลปะ และนักอักษรศาสตร์
ข่าวการสังหารหมู่ที่น่าสยดสยองครั้งนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วประเทศ
พม่าอย่างรวดเร็ว ซึง่ เมือ่ ชาวพม่าได้ทราบข่าวนีต้ า่ งก็พาการร้องไห้โศกเศร้า
ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป บ้านเรือน ร้านค้า รถรา พากันหยุดชะงักไป
หมด นอกจากนั้นทางรัฐบาลเองก็ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในเวลาต่อมา
ภายหลังพิธีศพของนายพลออง ซานและคณะได้ถูกจัดขึ้นอย่าง
สมเกียรติ และได้ฝังไว้ในสุสานหลวง ซึ่งที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุศพของวีรบุรุษ
ของชาติเท่านัน้ การตายของนายพลออง ซานและคณะนับว่าเป็นการสูญเสีย
ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศพม่า
• ความจริงถูกเปิดเผย ผู้บงการถูกเปิดโปง
ทางด้านพิธีศพของนายพลออง ซานและคณะถูกจัดไปตามประเพณี
ส่วนทางกฎหมายก็ดำ�เนินไปเช่นกัน โดยหลังจากจับกลุ่มมือสังหารทั้งหมด
ที่มี 9 คนแล้วก็มีการสืบสวนหาผู้บงการในปฏิบัติการลอบสังหารครั้งนี้อีก
จากการบีบเค้นอย่างหนึง่ สุดท้ายกลุม่ มือสังหารก็เผยความจริงทีซ่ อ่ น
อยู่ว่า แท้ที่จริงแล้วผู้ที่บงการในเรื่องนี้ทั้งหมดก็คือชายผู้มีชื่อว่า “อู ซอ”
ชายผู้นี้ไม่ใช่บุคคลธรรมดา แต่เป็นบุคคลระดับสูงของพม่าทีเดียว โดยมี
ตำ�แหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเมียวชิต พรรคการเมืองขนาดใหญ่พรรคหนึ่งของ
พม่า
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 81

นอกจากนั้นแล้วชายผู้นี้ยังเคยดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีของพม่า
มาแล้ว 1 สมัย ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการยกย่องในสังคมพม่าในขณะนั้น
ซึ่งเพราะเหตุนั้นจึงมีคำ�ถามตามมาว่า ทำ�ไมชายผู้มีความรู้ความสามารถ
เช่นนี้ จึงเลิกเส้นทางที่เลวร้ายและมืดมิดดังกล่าว?
ทางด้านคดีความนัน้ เมือ่ ทุกอย่างกระจ่างชัดว่าใครเป็นผูท้ ำ� ใครเป็น
ผูส้ งั่ การ ทางศาลก็ได้ตดั สินให้นายอู ซอและพรรคพวกถูกประหารชีวติ ด้วย
การแขวนคอ ซึ่งในการพิจารณาครั้งนั้นใช้เวลาเพียง 37 วันเท่านั้น
เพราะหลักฐานมีพร้อมมูลอยูแ่ ล้ว นอกจากนัน้ ยังต้องการแสดงออกถึง
ความยุตธิ รรมและต้องการให้บา้ นเมืองสงบโดยเร็วทีส่ ดุ ไม่อยากให้ผสู้ นับสนุน
นายพลออง ซานออกมาประท้วงจนเกิดเรื่องวุ่นวายตามมาภายหลังได้
• สาเหตุของการฆาตกรรมสะเทือนโลก!!!
การลอบสังหารครัง้ นีถ้ อื ว่าเป็นเรือ่ งอุกอาจอย่างมาในขณะนัน้ เพราะ
การสังหารบุคคลระดับผูน้ �ำ ประเทศ หากไม่ส�ำ เร็จย่อมหมายถึงชีวติ ตัวเอง รวม
ไปถึงครอบครัวด้วย การทีน่ ายอูซอตัดสินใจสัง่ การในครัง้ นัน้ มีสาเหตุมาจาก
ความแค้นส่วนตัวและผลประโยชน์ทขี่ ดั กันล้วนๆ ไม่เกีย่ วกับประเทศชาติเลย
ที่มาของความขัดแย้งครั้งนี้คงต้องย้อนไปก่อนสมัยที่จะเกิดสงคราม
เอเชียบูรพา ในตอนนั้นประเทศพม่าอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งตอน
แรกๆ ก็ปกครองกันดี แต่มาภายหลังนัน้ ประชาชนชาวพม่าเริม่ ลุกฮือกันขึน้
ต่อต้าน ทางฝ่ายอังกฤษเองจึงแก้เกมด้วยการแต่งตั้งรัฐบาลของพม่าเองขึ้น
ซึ่งลึกๆ แล้วก็ยังคอยรับคำ�สั่งจากฝ่ายอังกฤษอยู่ดี โดยในขณะนั้นรัฐบาล
พม่าหลอกๆ นั้นนำ�โดย “อู ซอ”
82 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ในขณะนั้นชาวพม่าหลายๆ คนก็รู้ว่าแม้จะมีรัฐบาลเป็นของตนเอง
แต่อย่างไรเสียประเทศพม่าก็ยังอยู่ในมือของอังกฤษอยู่ดี ทางอังกฤษเลยให้
สัญญาว่าหากรัฐบาลพม่าที่ตั้งขึ้นมานี้ทำ�งานได้ดี ฝ่ายอังกฤษจะคืนเอกราช
ให้ในภายหลัง ซึง่ ความจริงแล้วเป็นเพียงสัญญาเพือ่ ซือ้ เวลาเท่านัน้ ใครๆ ก็
รู้ว่าประเทศพม่ามีทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นอังกฤษจึงหวังจะกอบโกยเสีย
ก่อนแล้วจึงจากไป ซึ่งชาวพม่าก็จำ�ต้องยอมรับสัญญานี้อย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่ดี
ต่อมาเมื่อเกิดสงครามเอเชียบูรพาขึ้น ทำ�ให้อำ�นาจถูกเปลี่ยนมือ
เมื่อทางญี่ปุ่นส่งกำ�ลังเข้ามาบุกพม่าและขับไล่กองทัพอังกฤษออกไป ซึ่ง
เหตุการณ์นี้ส่งผลให้รัฐบาลหุ่นของอู ซอต้องล้มครืนลงอย่างไม่เป็นท่า
แต่เมือ่ สงครามบูรพาสิน้ สุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของประเทศญีป่ นุ่ จึง
ทำ�ให้อำ�นาจนั้นเปลี่ยนมืออีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายอังกฤษได้กลับมาเรืองอำ�นาจใน
ประเทศพม่าอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ง่ายอย่างครั้งก่อน เพราะ
ชาวพม่าที่นำ�โดยนายพลออง ซานได้พากันลุกฮือครั้งใหญ่ เพื่อเรียกร้อง
ประชาธิปไตยให้กับดินแดนแห่งนี้
“เซอร์ เรยินัลต์ คอร์มันสมิธ” ข้าหลวงใหญ่ประจำ�ประเทศพม่าใน
ครั้งนั้นได้เป็นตัวแทนฝ่ายอังกฤษไปเจรจากับฝ่ายของนายพลออง ซาน ซึ่ง
ผลก็เป็นไปตามคาด การเจรจาล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ทางนายพลออง ซาน
เรียกร้องแต่ประชาธิปไตยในพม่าเพียงอย่างเดียว
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 83

ซึ่งทางอังกฤษก็ได้แก้ลำ�โดยการไปเจรจากับอู ซอแทน อู ซอดำ�รง


ตำ�แหน่งเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่อย่างเมียวชิตอยู่ นอกจากนั้นก็ยัง
เคยเป็นผู้นำ�ในรัฐบาลหุ่นเชิดของอังกฤษมาก่อน ทางอังกฤษคิดว่ามาทาง
นี้น่าจะง่ายกว่า ซึ่งก็เป็นไปตามที่อังกฤษคาดการณ์เอาไว้ อู ซอยอมตกลง
โดยง่ายดาย
แต่สงิ่ ทีค่ าดไม่ถงึ ก็คอื ความต้องการประชาธิปไตยของชาวพม่าทีแ่ รง
กล้ามากกว่าครั้งใด ในขณะนั้นแทบไม่มีใครที่จะสนับสนุนอู ซอเลย ต่าง
หันเหพากันมาสนับสนุนนายพลออง ซานกันอย่างล้นหลาม ทำ�ให้แผนการ
ครอบครองพม่าด้วยรัฐบาลหุน่ เชิดล้มเหลวไม่เป็นท่า จนทำ�ให้เซอร์ เรยินลั ต์
คอร์มันสมิธต้องพ้นจากตำ�แหน่งไป
ผู้ที่เข้ามารับตำ�แหน่งข้าหลวงใหญ่ประจำ�ประเทศพม่าคนใหม่ก็คือ
“เซอร์ฮิวเบิร์ตแลนด์” การเข้ามาของข้าหลวงคนนี้ทำ�ให้อำ�นาจในพม่านั้น
เกิดการเปลี่ยนขั้ว เพราะแทนที่เขาจะสนับสนุนอู ซอตามเดิม เขากลับหัน
ไปสนับสนุนนายพลออง ซานแทน ให้ความเคารพและการตัดสินใจของชาว
พม่ามากขึ้นนั่นเป็นประเด็นเริ่มต้นที่ทำ�ให้อูซอเกิดความเกลียดชังในตัวของ
นายพลอองซาน และรอวันที่จะแก้แค้นอยู่ ซึ่งเหตุการณ์นั้นยังไม่จบเท่านี้
เพราะยังมีความขัดแย้งครั้งใหญ่ตามมาและความขัดแย้งครั้งที่สองนี้ นำ�มา
ซึ่งความเครียดแค้นอย่างสุดหยั่ง!!!
84 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ทางอังกฤษคืนเอกราชให้แก่ประเทศ
พม่าอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานนักก็มีการจัดให้มีการเลือกตั้ง
อย่างเป็นทางการขึ้นมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1947 แน่นอนว่าทั้งนายพล
ออง ซานและอู ซอต่างหมายมั่นปั้นมือจะขึ้นดำ�รงตำ�แหน่งผู้นำ�ของพม่า
อย่างเต็มตัว
เมือ่ การเลือกตัง้ สิน้ สุดลงผลการเลือกตัง้ นัน้ เป็นไปอย่างทีห่ ลายคนคาด
ไว้ ด้วยการสนับสนุนของชาวพม่าในครัง้ นัน้ ทำ�ให้พรรคของนายพลออง ซาน
ได้ที่นั่งในสภาถึง 173 ที่นั่งจาก ทั้งหมด 234 ที่นั่ง ส่วนพรรคของอู ซอ
นั้นได้ที่นั่งเพียงหยิบมือเดียว เป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของนายพลออง ซาน
แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุดของอู ซอเช่นกัน
ความพ่ายแพ้ครัง้ นีท้ �ำ ให้อู ซอเห็นความจริงทีว่ า่ ตัวเขาและพรรคพวก
ไม่สามารถกลับมายิ่งใหญ่ในประเทศพม่าได้อีกแล้ว หากว่ายังมีนายพล
ออง ซานขวางลำ�อยูอ่ ย่างนี้ ซึง่ หากจะต่อสูบ้ นเวทีการเมืองในขณะนัน้ ต้อง
ยอมรับว่ามีแค่คำ�ว่า “แพ้” กับ “แพ้” เท่านั้น ทางออกเดียวของเรื่องนี้ก็
คือการลอบสังหารนายพลออง ซานเสีย
แผนการได้ถกู ตระเตรียมเอาไว้ สำ�หรับมือสังหารทัง้ 9 คนและเมือ่ ถึง
เวลาก็ท�ำ งานได้ตามเป้าหมายทีต่ งั้ เอาไว้ แต่นา่ เสียดายทีไ่ ม่สามารถหลบหนี
ออกมาได้ ซึง่ หลังการจากจับกุมมือสังหารเหล่านีก้ ซ็ ดั ทอดมายังอู ซอเต็มๆ
และทั้งหมดก็ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอทั้งหมด เป็นอัน
สิ้นสุดเรื่องนี้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 85

การเดินทางบนเส้นทางประชาธิปไตยของนายพลออง ซานนั้น แม้


จะสั้นเกินไปสำ�หรับคนคนหนึ่งแต่ก็ถือว่าสร้างประโยชน์ให้คนหมู่มากไม่ใช่
น้อย ทำ�ให้ทุกคนรู้จักคุณค่าที่แท้จริงของคำ�ว่าประชาธิปไตยและเสรีภาพ
แม้ว่าการสูญเสียนายพลออง ซานในขณะนั้นยังไม่ใช่บทสรุปของ
ประชาธิปไตยในพม่า เพราะรัฐบาลทหารได้เข้ามายึดการปกครองต่อจากนัน้
อีกหลายสิบปี แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้คนชาวพม่าต่างก็พยายามเรียกร้อง
ประชาธิปไตยมาโดยตลอด จนกระทัง่ มาถึงทุกวันนีด้ เู หมือนว่าผลสำ�เร็จแห่ง
ความพยายามอย่างยาวนานเริ่มผลิดอกออกผลมาบ้างแล้ว ด้วยการนำ�ของ
บุตรสาวอันเป็นที่รักของนายพลออง ซานที่ชื่อว่า
ออง ซาน ซูจี!!!
86 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

จอห์น เอฟ เคนเนดี


(John Fitzgerald Kennedy)
ประธานาธิบดีที่โลกไม่เคยลืม
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 87

ว่ากันว่าการลอบสังหารจอห์น เอฟ เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของ


สหรัฐฯ นั้นเป็นเหตุการณ์ที่มีปมและปริศนามากที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง นั่น
อาจเป็นเพราะว่าเขาเป็นผู้มีชื่อเสียงและอิทธิพลต่ออเมริกันชนมากเกินไป
ซึ่งในขณะนั้นหากใครคิดจะเป็นใหญ่เหนือกว่าชายผู้นี้คงเป็นไปได้ยาก
นอกจากนัน้ ยังมีการพูดถึงประเด็นความขัดแย้งภายในประเทศ ระหว่าง
เคนเนดีกบั คนบางกลุม่ ทีค่ รองอำ�นาจมาก่อน เมือ่ ความคิดเห็นมาตรงกันจึง
เกิดความขัดแย้งขึน้ และรุนแรงถึงขัน้ วางแผนลอบสังหารทีเดียว ซึง่ เรือ่ งเหล่า
นี้ยังคงเป็นเครื่องหมายคำ�ถามมาจนถึงทุกวันนี้
“จอห์น เอฟ เคนเนดี” มีชอื่ เต็มๆ ว่า “จอห์น ฟิตซ์เจอรัลด์ เคนเนดี”
(John Fitzgerald Kennedy) หรือที่เพื่อนสนิทมักจะเรียกชื่อย่อของเขาว่า
เจ เอฟ เค เป็นลูกคนที่ 2 จากทั้งหมด 9 คนของโจเซฟ แพทริก เคนเนดี
คหบดีใหญ่อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำ�สหราชอาณาจักร ด้าน
การศึกษาก็จบขั้นสูงสุดจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
88 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ชีวิตที่ผ่านมานั้นถือว่ามีประสบการณ์ที่หลากหลายจากงานที่ทำ� ซึ่ง
สุดท้ายก็ตดั สินใจหันเหชีวติ มาสูเ่ ส้นทางการเมืองอย่างเต็มตัว จนสุดท้ายได้
รับตำ�แหน่งเป็นถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 35
แต่น่าเสียดายช่วงที่ชีวิตรุ่งโรจน์สุดๆ นั้นต้องมาเจอมรสุมชีวิตครั้ง
ใหญ่โดยถูกลอบสังหารและเสียชีวิตในครั้งนั้นไป
เที่ยงวันของวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ณ เมืองดัลลัสตาม
กำ�หนดการแล้วในเช้าวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ประธานาธิบดีเคน
เนดีต้องนั่งรถออกจากเมืองฟอร์ทเวิร์ธพร้อมทั้งแจ็คกี้ ภรรยาสุดที่รัก โดย
ต้องไปกล่าวคำ�ปราศรัยระหว่างมื้อกลางวันที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส
ระหว่างทางนัน้ ทัง้ สองข้างทางมีผคู้ นเดินทางมาแสดงการต้อนรับอย่าง
เนืองแน่นมืดฟ้ามัวดิน บางคนก็ปรบมือ บางคนก็โบกมือ คนทีค่ ลัง่ ไคล้เข้าสุดๆ
ถึงกับตะโกนโห่ร้องด้วยความปลาบปลื้มยินดีเป็นที่สุด ในขณะนั้นเองเขาก็
รู้สึกปลาบปลื้มใจไม่ต่างกันสั่งให้ลดประทุมลงเพื่อให้ประชาชนทั้งสองข้าง
ทางได้เห็นเขาและภรรยาอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาพที่เห็นในขณะนั้นแสดงให้เห็นว่าชาวดัลลัสนั้นรักในตัวประธานา-
ธิบดีผนู้ มี้ ากเพียงใด แต่ใครจะรูไ้ ด้วา่ ก็ยงั มีผทู้ เี่ กลียดชังมากขนาดทีส่ ามารถ
ลงมือสังหารเขาได้เช่นกัน ใครคนนั้นที่ว่ากำ�ลังซ่อนตัวในโรงเรียนเท็กซัส
ชั้น 6 เพื่อเตรียมการลอบสังหารเขาอยู่
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 89

ในขณะที่รถของประธานาธิบดีเคนเนดีเลี้ยวจากบริเวณเมนสตรีท
พลาซ่า ผ่านหน้าร้านคลังหนังสือ เสียงปืนก็ดังขึ้น ปัง! ปัง!
กระสุนนัดแรกนั้นทะลุเข้าไปบริเวณคอของเคนเนดี ทำ�ให้เลือดไหล
ออกมา แต่นั่นยังคงไม่สามารถปลิดชีพของเขาได้ในทันใด แต่กระสุนนัดที่
สองนัน้ น่ากลัวยิง่ กว่าเพราะเจาะเข้าไปบริเวณแสกหน้าจังๆ จนสมองกระจาย
ออกมาทันที กระสุนนัดนีน้ บั ว่าเป็นกระสุนนัดทีป่ ลิดชีพเคนเนดีอย่างแท้จริง
ว่ากันว่าในขณะที่กระสุนนัดแรกยิงโดนบริเวณคอ หากเขาก้มหลบ
ลงคงจะไม่ต้องดับชีวิตอย่างนี้ แต่เนื่องด้วยวันนั้นเขาได้สวมแถบรัดเอวเพื่อ
บรรเทาความเจ็บปวดจากโรคทางเดินอาหารและภาวะกระดูกพรุน ทำ�ให้ล�ำ
ตัวยังคงตัง้ ตรงแม้โดนกระสุนนัดแรกไปแล้ว และนัน่ กลายเป็นเป้านิง่ อย่างดี
สำ�หรับกระสุนนัดที่สอง
แจ็คกี้ผู้เป็นภรรยาเมื่อเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ตกใจกลัวอย่างมาก
ผู้คนเริ่มที่จะแตกตื่นมากขึ้นเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่พยายามนำ�ตัวเคนเนดีส่ง
โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว แต่ด้วยบาดแผลที่ฉกรรจ์เกินไปทำ�ให้เขาทน
พิษบาดแผลไม่ไหว สิ้นใจในเวลาต่อมา
90 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

• เผยตัวมือสังหารปริศนา!!!
หลังจากเหตุการณ์สงบลงพร้อมกับการจบชีวติ ของประธานาธิบดีคนที่
35 ของสหรัฐฯ ฝ่ายสืบสวนก็รบี เร่งหาตัวมือสังหารเพือ่ จะนำ�ตัวมารับโทษ จาก
การสืบพยานทำ�ให้ได้ขอ้ มูลสำ�คัญว่าพบควันปืนจากหน้าต่างชัน้ 6 หน้าต่าง
บานขวาสุด ที่โรงเรียนเท็กซัส ตรงข้ามตึกดีลลีย์พลาซ่าขณะที่เกิดเหตุ
เมื่อเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวอย่างละเอียด ทำ�ให้เจอหลักฐานสำ�คัญ
ซ่อนอยู่ในห้องเก็บหนังสือคือปืนไรเฟิลแบบเล็งยิงระยะไกล!!!
การทำ�งานเป็นไปอย่างรวดเร็วน่าเหลือเชือ่ เพราะหลังจากนัน้ เพียง 1
ชัว่ โมงเท่านัน้ ตำ�รวจสามารถจับตัวผูต้ อ้ งสงสัยทีซ่ อ่ นตัวอยูใ่ นโรงภาพยนตร์
ชายผูค้ นนีม้ ชี อื่ ว่า “ลี ฮาร์วยี ์ ออสวาลด์” (Lee Harvey Oswald) ซึง่ คำ�ถาม
ที่ตามมาติดๆ ก็คือชายคนนี้เป็นใคร? แล้วเขามีเหตุจูงใจอะไรที่ตัดสินใจ
ลงมือในครั้งนี้?
จากการสืบประวัตพิ บว่านายลี ฮาร์วยี ์ ออสวาลด์ ผูน้ เี้ ป็นอเมริกนั ชน
ที่เคยเป็นนาวิกโยธินมาก่อน ซึ่งหลังจากที่ปลดระวางแล้วก็เดินทางมุ่งหน้า
เข้าสู่ประเทศรัสเซีย บางคนก็บอกว่าเขาเป็นสายลับของสหรัฐฯ ที่ถูกส่งไป
สอดแนมในรัสเซีย บางคนก็ว่าเขาคลั่งไคล้ในลัทธิคอมมิวนิสต์จนเข้าร่วม
อย่างเต็มตัว แต่ความจริงจะเป็นเช่นไรนั้นไม่มีใครรู้ได้
เมือ่ เข้าไปอยูใ่ นรัสเซียเขาก็ได้สร้างครอบครัวกับสาวรัสเซียคนหนึง่ ชือ่
“มารนา” และมีลูกด้วยกันคนหนึ่ง ภายหลังมีความวุ่นวายในรัสเซียเกิดขึ้น
ครอบครัวของออสวาลด์ก็ได้ย้ายกลับมาอยู่ในสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 91

ซึ่งจากการสอบปากคำ�ภรรยาของเขา ทำ�ให้รู้ว่านายออสวาลด์ผู้นี้
เป็นคนที่วิกลจริต มีความคิดรุนแรง ชื่นชอบในลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นที่สุด
ซึง่ สาเหตุการสังหารเคนเนดีในครัง้ นีก้ ม็ าจากการทีเ่ คนเนดีแสดงตัวเป็นศัตรู
กับลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างออกหน้าออกตา ซึง่ นัน่ เป็นการท้าทายทีเ่ ขาให้อภัย
ไม่ได้เลย
• ลี ฮาร์วีย์ ออสวาลด์ มือสังหารหรือแพะรับบาป!
นายออสวาลด์เมื่อถูกจับก็ดูเหมือนว่าจะยอมรับทุกข้อกล่าวหาที่ทาง
ฝ่ายเจ้าหน้าที่ยื่นมาทั้งหมด ซึ่งทำ�ให้เรื่องทั้งหมดจบลงด้วยความรวดเร็ว
แต่ความราบรื่นเกินนั้นทำ�ให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องต่างๆ บวกกับความเร่งรีบ
ในการดำ�เนินคดีของเจ้าหน้าที่ทำ�ให้เกิดข้อสงสัย จนเชื่อได้ระดับหนึ่งว่าน่า
จะเป็นการจัดฉากขึ้นมา!!!
หนึ่งในประเด็นที่น่าสงสัยก็คือการที่นายออสวาลด์ถูกจับในครั้งนี้ มี
หลักฐานทีด่ ตู นื้ เขินเกินไป เพียงแค่ปนื ไรเฟิล ภาพถ่ายขณะเขายืนถือปืนไรเฟิล
และเอกสารเผยแพร่คอมมิวนิสต์เท่านั้น
ซึ่งไม่น่าจะเพียงพอ แม้ว่านายออสวาลด์จะยอมรับก็ตาม แต่นั่นก็
เป็นเพียงข้อกล่าวอ้าง หาใช่สิ่งที่พิสูจน์มาแล้วเป็นอย่างดี ส่วนคณะลูกขุน
เองก็เหมือนตามน้ำ�ไปด้วย เชื่อว่านายออสวาลด์ทำ�ผิดจริงๆ ทั้งๆ ที่หลัก
ฐานยังอ่อนอยู่มาก
92 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

นอกจากนัน้ หลังจากนายออสวาลด์ถกู จับได้ไม่นานนัก ก็เกิดเหตุการณ์


ที่ไม่น่าเชื่ออีกครั้ง ในวันที่เจ้าหน้าที่พานายออสวาลด์ออกมาแถลงข่าวต่อ
หนังสือพิมพ์ ขณะนัน้ มีผคู้ นรายล้อมอย่างเนืองแน่น ในช่วงทีเ่ ดินทางเข้าไป
ยังศาลนั้น ก็มีเสียง ปัง!
เป็นเสียงของลูกปืนที่ทะลุผ่านร่างนายออสวาลด์ ท่ามกลางการ
คุ้มครองของตำ�รวจดัลลัสกว่า 70 คน ไม่นานนายออสวาลด์ก็เสียชีวิตลง
มือปืนที่ยิงนั้นคือ “นายแจ๊ค รูบีย์” โดยเขาให้เหตุผลว่าต้องการกำ�จัดคน
ฆ่าประธานาธิบดีเคนเนดี และเป็นการปกป้องเกียรติให้เคนเนดีดว้ ย ไม่นาน
นักนายแจ๊คผูน้ กี้ ช็ งิ ยิงตัวตายในคุก ระหว่างทีเ่ จ้าหน้าทีร่ วบรวมหลักฐานเพือ่
ยื่นฟ้องศาล เป็นอันสิ้นสุดคดีลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไปอย่างไม่
น่าเชื่อ
• จิม แกร์ริสัน (Jim Garrison) ผู้มองหาแต่ความจริง
อัยการจิม แกร์รสิ นั (Jim Garrison) เป็นอีกผูห้ นึง่ ทีไ่ ม่เคยเชือ่ ว่าการ
สังหารประธานาธิบดีเคนเนดีเป็นเพียงความโกรธแค้นและเกลียดชังของ
ชายคนหนึ่งเท่านั้น เขาเชื่อว่ายังมีอะไรที่ซ่อนเร้นไปมากกว่านั้นอีก ทั้งนาย
ลี ฮาร์วีย์ ออสวาลด์ และนายแจ๊ค รูบีย์ล้วนเป็นเพียงหมากตัวหนึ่งในการ
ลอบสังหารครั้งนี้เท่านั้น
แกร์ริสันได้ลองค้นหาหลักฐานเพิ่มเติมและดูหลักฐานเก่าที่มีให้
ละเอียดมากกว่าเดิม ซึ่งทำ�ให้เขาพบตัวละครตัวใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
เพิ่มขึ้นดังนี้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 93

“เคลย์ แอล ชอร์” นักธุรกิจชื่อดังจากนิวออร์ลีนส์ นอกจากนั้นยัง


ดำ�รงตำ�แหน่งประธานหอการค้าแห่งนิวออร์ลีนส์อีกด้วย ขณะนั้นเขาเป็น
คนว่าจ้างทนายความให้กับออสวาลด์ต่อสู้คดีในครั้งนั้น
“เดวิด เฟอร์ร”ี คนผูน้ ถี้ อื ว่าเป็นอาจารย์ของออสวาลด์ในครัง้ ทีอ่ ยูใ่ น
วงการทหาร โดยมีตำ�แหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยบินของกองทัพอากาศ
“วิลเลียม กาย บานิสเตอร์” เป็นผูท้ ถี่ กู ระบุวา่ เคยติดต่อกับออสวาลด์
สมัยอยู่ในรัสเซีย โดยเป็นอดีต FBI มีหน้าที่จัดหาข่าวและหานกต่อเข้ามา
ทำ�งานให้ FBI
แกร์รสิ นั เชือ่ อย่างหนักแน่นว่าทุกชือ่ ทีก่ ล่าวมานีล้ ว้ นมีความเกีย่ วข้อง
ในคดีลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดีแน่นอน แต่อาจจะเป็นเพียงคนอีก
กลุม่ หนึง่ ทีร่ บั คำ�สัง่ มาจากผูบ้ งการตัวจริงอีกที นอกจากนัน้ เขายังได้ชใี้ ห้เห็น
ข้อพิรุธต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. วิถกี ระสุน หากสังเกตจากรอยกระสุนจะเห็นได้วา่ ทิศทางของกระสุน
ทีเ่ จาะร่างประธานาธิบดีเคนเนดีนนั้ มาจากคนละทางทีน่ ายออสวาลด์อยู่ ยิง่
ได้เห็นภาพถ่ายรถยนต์ของอับราฮัม ซาปรูเดอร์ ทีบ่ นั ทึกนาทีสงั หารเอาไว้ยงิ่
ทำ�ให้แน่ใจยิง่ ขึน้ ว่าวิถกี ระสุนทีย่ งิ เคนเนดีไม่ใช่ของนายออสวาลด์ นอกจาก
นั้นยังมีผู้เห็นว่ามีควันจางๆ ซึ่งน่าจะมาจากกระบอกปืนที่ยิงอยู่บริเวณ
เนินดินที่อยู่ตรงกันข้ามกับที่ถูกระบุว่าเป็นบริเวณที่นายออสวาลด์ซุ่มยิง
94 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

2. คำ�ให้การทีผ่ ดิ เพีย้ น ส่วนหนึง่ ของคำ�ให้การของนายออสวาลด์ระบุ


ว่าเขาได้สังหารตำ�รวจคนหนึ่งหลังฆ่าเคนเนดี แต่มีพยานเห็นว่าตำ�รวจคน
ดังกล่าวนั้นถูกชายลึกลับคนหนึ่งที่ตามหลังนายออสวาลด์มาเป็นคนสังหาร
ซึง่ หลังจากนัน้ ชายคนดังกล่าวก็หายตัวไป ทิง้ ให้นายออสวาลด์อยูต่ ามลำ�พัง
3. การตายของพยาน ในเหตุการณ์ดังกล่าวมีพยานคนหนึ่งซึ่งเป็น
พนักงานรถไฟ สังเกตเห็นกลุ่มคนแปลกหน้ามาเดินบริเวณที่เกิดการลอบ
สังหารก่อนครึ่งวัน และในวินาทีที่เกิดการลอบสังหารนั้นตัวเขาก็เห็นแสงไฟ
ออกมาจากบริเวณแถวๆ นัน้ ซึง่ คำ�ให้การของเขาก็ไม่ได้ถกู สนใจแต่อย่างใด
นอกจากนั้นพยานคนดังกล่าวยังเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุอย่างมีเงื่อนงำ�
4. สถานทีล่ งมือลอบสังหาร มีการให้ขอ้ สังเกตว่าบริเวณทีร่ ะบุวา่ เป็น
จุดลอบสังหารนัน้ เป็นบริเวณทีอ่ บั เกินไป เป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะยิงจากมุมนัน้ ยิง่
จากการชันสูตรศพพบว่ากระสุนเข้าเป้าทุกนัด นัน่ ยิง่ เชือ่ ว่าไม่อาจจะยิงจาก
จุดนั้นได้เลย
5. คำ�ให้การนักโทษ ในเหตุการณ์นั้นยังมีพยานอีกกลุ่มหนึ่งเป็น
นักโทษในเรือนจำ�ดัลลัส ที่ตั้งอยู่เยื้องกับโรงเรียนเท็กซัสระบุว่า เห็นคน 1-2
คนอยูต่ รงหน้าต่างชัน้ ล่างของอาคารเดียวกัน ทีส่ �ำ คัญในช่วงทีเ่ กิดการยิงนัน้
ก็มีควันปืนออกมาด้วย
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 95

6. การชันสูตรศพของเคนเนดี มีขั้นตอนการทำ�ที่ไม่ละเอียดเกินไป
ทัง้ ทีเ่ ป็นคดีทอี่ ยูใ่ นความสนใจของประชาชน อีกทัง้ ยังเป็นบุคคลสำ�คัญระดับ
ประเทศอีกด้วย
การสืบสวนของจิม แกร์ริสันนั้นเป็นความพยายามที่เหนื่อยเปล่า
เพราะดูเหมือนว่าจะสืบไปทางไหนก็เจอแต่ทางตันทัง้ นัน้ เหมือนมีผมู้ อี ทิ ธิพล
คอยบงการไม่ให้เขาเข้าไปถึงความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ได้ สุดท้ายก็ต้องยอม
จำ�นนต่อสิ่งเหล่านี้และเลิกราไปในที่สุด
คดีการลอบสังหารจอห์น เอฟ เคนเนดีนั้นถือว่าเป็นคดีที่ยังคงเป็น
ปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ ซึง่ ต้องรอการพิสจู น์อกี ต่อไป แต่สงิ่ ทีไ่ ม่ตอ้ งรอการ
พิสูจน์ก็คือเลือดความรักชาติที่อยู่ในร่างชายผู้นี้ ผู้ที่ยอมพลีตนเพื่อประเทศ
ชาติอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย สมดังคำ�กล่าวตอนหนึ่งของเขาที่พูดเอาไว้ว่า
จงอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถาม
ตัวท่านเองว่าท่านจะทำ�อะไรให้ประเทศชาติ!!!
96 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

วิลเลียม แมกคินลีย์
(William McKinley)
ประธานาธิบดีสุภาพบุรุษ
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 97

วิลเลียม แมกคินลีย์ (William McKinley) ประธานาธิบดีคนที่ 25 ของ


มหาอำ�นาจแห่งโลกเสรีอย่างสหรัฐฯ นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่ตกเป็นเหยื่อของการ
ลอบสังหาร สาเหตุนนั้ ก็มาจากความขัดแย้งทางด้านความคิดกับคนบางกลุม่
กลายเป็นหนึ่งความสูญเสียครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของ
ประเทศนี้
หากย้อนไปดูประวัตขิ องชายผูน้ แี้ ล้วจะเห็นว่าเป็นผูห้ นึง่ ทีท่ ำ�งานด้วย
ความมุ่งมั่นมาโดยตลอด เขาถือกำ�เนิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1843
ในเมืองเล็กๆ ในรัฐโฮไฮโอ ในวัย 18 ปีก็ได้เริ่มทำ�งานเป็นครูและทำ�งาน
ในกองไปรษณีย์ เมือ่ เกิดสงครามกลางเมืองขึน้ เขาก็ได้สมัครเป็นทหาร ด้วย
การทำ�งานมุ่งมั่นทำ�ให้ได้เลื่อนยศเป็นถึงพันตรี ภายหลังก็หันเหมาทำ�งาน
เป็นทนายความ
จุดพลิกผันชีวิตของแมกคินลีย์เกิดขึ้นเมื่อเขาได้รับตำ�แหน่งสมาชิก
รัฐสภาและผู้ว่าการรัฐโอไฮโอ ด้วยการทำ�งานที่มุ่งมั่นและบุคลิกที่สุภาพ
ทำ�ให้ได้ดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดีคนที่ 25 ของสหรัฐฯ ในเวลาต่อมา
98 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

แมกคินลีย์นั้นเป็นผู้ที่มีท่าทางสุภาพเรียบร้อย เป็นที่น่านิยมและ
น่านับถือจึงได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีที่มีความเป็นสุภาพบุรุษสูงผู้หนึ่งใน
ประวัตศิ าสตร์ จึงได้รบั โอกาสในการดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดีถงึ 2 สมัย
แต่น่าเสียดายอย่างที่การดำ�รงตำ�แหน่งสมัยที่ 2 นั้นเขาอยู่ได้นานเพียงไม่กี่
เดือนก็ต้องถูกลอบสังหารจนเสียชีวิตไป

• 6 กันยายน ค.ศ. 1901 วันมหาวิปโยค


โดยเหตุการณ์การลอบสังหารนัน้ เกิดขึน้ ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1901
ณ รัฐบัฟฟาโล ขณะนั้นมีการออกร้านแสดงสินค้าครั้งใหญ่ ในงานดังกล่าว
มีการประดับประดาห้างร้านต่างๆ ดูสวยงามน่าดูชม ประชาชนจำ�นวนมาก
ก็พากันหลั่งไหลเข้ามาในงานเรือนหมืนเรือนแสนทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นครั้ง
ประวัติกาลของที่นั่นเลยทีเดียว
ตามกำ�หนดการในเวลา 16.00 น. ประธานาธิบดีวลิ เลียม แมกคินลีย์
จะเดินทางมาพบประชาชนบริเวณดังกล่าว โดยจะใช้เวลาเพียง 10 นาที
เท่านัน้ นัน่ เป็นโอกาสทีห่ าได้ยากทีค่ นธรรมดาทัว่ ไปจะได้ใกล้ชดิ ประธานาธิบดี
เช่นนี้ จึงไม่แปลกทีผ่ คู้ นจะหลัง่ ไหลมาในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเท่าตัว แต่ใน
ขณะเดียวกันนั่นก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำ�หรับการลงมือลอบสังหารเช่นกัน
เมื่อเวลา 16.00 น. มาถึงประตูวิหารเทมเปิลมิวสิคก็ได้เปิดขึ้น เพื่อ
ให้ผคู้ นเข้าไปในลักษณะแถวเรียงสอง ซึง่ จะเปลี่ยนเป็นแถวเรียงหนึง่ ในภาย
หลัง เมื่อเข้าไปสัมผัสมือกับประธานาธิบดีแมกคินลีย์
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 99

ในขณะนั้นทุกอย่างเหมือนจะเป็นไปได้ด้วยดี ทุกคนได้โอกาสจับมือ
กับประธานาธิบดีทีละคนๆ จนเวลาผ่านไปประมาณ 7 นาที ก็เกิดเรื่องไม่
คาดคิดขึ้นเมื่อชายผู้หนึ่งเดินเข้าขอจับมือกับแมกคินลีย์ แต่แทนที่เขาจะยื่น
มือขวากลับยื่นมือซ้ายออกไปแทน พร้อมทั้งกล่าวออกมาอย่างสุภาพว่า
“ขอประทานโทษด้วยขอรับ ที่ต้องจับมือซ้ายแทน”
แมกคินลียก์ ไ็ ม่ได้ใส่ใจอะไรก็ยงั คงจับมือไปตามปกติดว้ ยความยิม้ แย้ม
แจ่มใสแม้ว่าจะเป็นมือซ้ายก็ตาม เวลาผ่านไปอีกประมาณ 2-3 นาที ก็มี
ชายอีกคนหนึ่งเดินเข้ามาทำ�ท่าเหมือนจะขอจับมือซ้ายอีก ซึ่งแมกคินลีย์ก็
มิได้ตำ�หนิหรือรังเกียจอะไร ยิ่งเห็นมือด้านขวาของเขาพันด้วยผ้าเช็ดหน้า
ผืนใหญ่ ก็คิดในใจว่ามือข้างขวาอาจจะได้รับบาดเจ็บอะไรสักอย่าง จึงไม่
สะดวกในการจับมือขวา
แต่เป็นเรื่องที่ผิดคาดมหันต์ เพราะที่มือขวาไม่ว่างนั้นเป็นเพราะจับ
ปืนอยู่นั่นเอง โดยเขาเอาผ้าเช็ดหน้าห่อคลุมไว้ไม่ให้เป็นที่สังเกต เมื่อเข้า
ใกล้ได้ระยะทำ�การก็มีเสียงดัง
ปัง! ปัง!
นั่ น เป็ น เสี ย งปื น ที่ ถู ก ลั่ นไกโดยมื อ สั ง หารที่ ป ลอมตั ว มาในคราบ
ประชาชน กระสุนทัง้ สองนัดนัน้ ทำ�หน้าทีข่ องมันได้อย่างแม่นยำ�ทีส่ ดุ นัดแรก
นั้นเข้าไปบริเวณแผ่นอก ส่วนนัดที่สองนั้นเข้าบริเวณช่องท้อง สภาพของ
แมกคินลียใ์ นขณะนัน้ เหมือนว่าวสายป่านขาดล่องลอยโซเซไปอย่างไร้ทศิ ทาง
100 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

แม้เห็นอย่างนั้นเจ้ามือปืนคนนั้นก็ยังไม่สาสมใจและต้องการให้แน่ใจ
ว่าเป้าหมายสิน้ ชีพแน่นอน เตรียมจะเหนีย่ วไกซ้ำ�อีกชุดหนึง่ แต่หน่วยรักษา
ความปลอดภัยได้เข้าไปกระแทกมือปืนปริศนาผูน้ นั้ จนหน้าหงายลงไปคลุกฝุน่
ที่พื้น จากนั้นก็เป็นการรุมประชาทัณฑ์ครั้งใหญ่ ทั้งมือ ทั้งเท้า ทั้งด้ามปืน
ถูกส่งไปยังร่างกายของมือปืนอย่างไม่ปราณี ขณะนัน้ ฝ่ายมือปืนก็รอ้ งออกมา
เต็มเสียงว่า
“หน้าที่ของผมเสร็จสิ้นแล้ว”
คำ�พูดดังกล่าวยิ่งทำ�ให้ผู้คนต่างพากันรุมทำ�ร้ายมากยิ่งขึ้น ทางแมก
คินลียแ์ ม้จะได้รบั บาดเจ็บอยูก่ พ็ ยายามส่งเสียงให้หยุดทำ�ร้ายมือปืนเสีย ช่าง
เป็นแบบอย่างของสุภาพบุรุษตามที่ผู้คนยกย่องไม่ผิดเพี้ยน
คำ�ขอร้องของแมกคินลีย์นั้นได้บอกล่าวไปยังเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง ซึ่ง
ภายหลังเขาและพรรคพวกช่วยกันตัวมือปืนรายนั้นออกจกฝูงชนได้ จากนั้น
ก็รีบจับขึ้นรถตำ�รวจแล้วส่งตัวไปยังกองบัญชาการตำ�รวจ พร้อมทัง้ มีการจัด
เวรยามให้เข้มแข็งกว่าเดิม เพราะเกรงว่าผู้คนที่ไม่พอใจจะทำ�การบุกเข้าไป
ทำ�ร้ายเขาอีก
ทางด้านประธานาธิบดีแมกคินลีย์เองหลังจากถูกยิงก็อยู่ในสภาพไม่
ค่อยดีนัก เจ้าหน้าที่จึงรีบนำ�ตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ในการผ่าตัดช่วย
เหลือนัน้ เป็นไปได้ยากยิง่ เพราะไม่สามารถค้นหากระสุนทีบ่ ริเวณช่องท้องพบ
แต่ก็ยังมีข่าวดีบ้างที่อาการของประธานาธิบดีแมกคินลีย์นั้นดีขึ้นเป็นระยะๆ
ซึ่งในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1901 ก็มีการประกาศออกมาว่าอาการของ
แมกคินลียน์ นั้ ดีขนึ้ มากแล้ว จึงทำ�ให้ประชาชนทีเ่ ป็นห่วงคลายความกังวลไป
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 101

แต่รุ่งเช้าของวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1901 กลับมีข่าวร้ายออก


มาว่าอาการของแมกคินลีย์นั้นทรุดลงอย่างหนัก จากสาเหตุโลหิตเป็นพิษ
ซึ่งในขณะนั้นได้หมดสติไป สุดท้ายทุกคนก็ได้รับข่าวเศร้าที่คาดไม่ถึงคือ
ประธานาธิบดีแมกคินลีย์ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ
หลังจากข่าวนีแ้ พร่สะพัดไปตามสือ่ ต่างๆ ไม่นานผูค้ นชาวอเมริกนั ต่าง
พากันแสดงความเศร้าเสียใจอย่างสุดซึง้ บางคนก็ถงึ กับร้องไห้ฟมู ฟาย บางคน
ก็ถึงกับนิ่งไม่ไหวติง แต่ไม่ว่าอย่างไรทุกคนต่างคิดเหมือนกันว่า มือปืนที่
ลัน่ ไกผูน้ นั้ ช่างน่ารังเกียจเป็นทีส่ ดุ และต้องการชำ�ระโทษคนผูน้ โี้ ดยเร็วให้จงได้
เหตุการณ์หลังการเสียชีวติ ของประธานาธิบดีแมกคินลียท์ �ำ ให้แผ่นดิน
สหรัฐฯ สั่นสะเทือนและวุ่นวายไม่ใช่น้อย ต่อมาไม่นานนักจึงมีการแต่งตั้ง
รองประธานาธิบดีธโี อดอร์ รูสเวลต์ขนึ้ มาดำ�รงตำ�แหน่งแทน เพือ่ รักษาความ
สงบของบ้านเมืองไม่ให้เกิดความวุ่นวายไปมากกว่านี้อีก
ลีออน เอฟ โคลก๊อซ นามของมือปืนผู้ลั่นไก
ชือ่ ของ ลีออน เอฟ โคลก๊อซ กลายเป็นชือ่ ทีโ่ ด่งดังเป็นทีร่ จู้ กั กันทัว่ โลก
เพียงแค่ชวั่ ข้ามคืน ในฐานะผูส้ งั หารประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 25 วิลเลียม
แมกคินลีย์ ซึ่งมีการย้อนไปดูประวัติของชายผู้นี้ทำ�ให้พบว่าชายวัย 28 ปีผู้
นี้มีเชื้อสายมาจากชาวโปแลนด์ เกิดในปีค.ศ. 1873 ที่เมืองดีทรอยต์ โดย
เป็นลูกของเจ้าหน้าที่โรงงานเย็บจักร
102 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

พอโตขึ้นเขาและพี่น้องอีก 5 คนก็เจริญรอยตามผู้เป็นพ่อโดยทำ�งาน
ในโรงงานเย็บจักรแห่งนั้น ภายหลังต่างช่วยกันเก็บเงินก้อนหนึ่งซื้อที่ดินเปิด
ร้านขายของชำ�และขายสุรา ซึ่งก็ไปได้ดีในระดับหนึ่ง ในวัยเด็กนั้นโคลก๊อซ
ผูน้ เี้ ป็นคนทีข่ ยัน มุง่ มัน่ ทำ�งาน มีความรูส้ กึ อ่อนไหว อ่อนโยน ไม่ชอบความ
รุนแรง ชอบแต่สิ่งสวยๆ งามๆ
เชื่อกันว่าหลังจากที่เขาล้มป่วยอย่างหนักในปีค.ศ. 1898 จิตใจของ
เขาก็เริม่ ไม่เหมือนเดิม เขาเริม่ ทีจ่ ะนอนซมอยูก่ บั บ้าน กินและนอนกลายเป็น
กิจวัตรหลักของชีวิต จนกระทั่งในปีค.ศ. 1900 เมื่อเขาได้อ่านเรื่องของการ
ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าฮัมเบิร์กที่ 1 ในเมืองมอนซ่า ประเทศอิตาลี ผู้ที่
ลงมือนัน้ เป็นชาวอานาคิสต์ เหตุการณ์นนั้ ทำ�ให้เขาเกิดความประทับใจอย่าง
ยิง่ แม้จะอ่านหลายๆ รอบก็ยงั ไม่รสู้ กึ เบือ่ ดูเหมือนว่าเป็นสิง่ ทีเ่ ขากำ�ลังตาม
หามาโดยตลอด
ความคิดและความฝันของโคลก๊อซนัน้ ดูเหมือนจะไปไกลกว่าทีค่ นอืน่ ๆ
และตนเองคาดคิดเสียแล้ว ซึ่งต่อมาเขาก็ตัดสินใจออกจากบ้านโดยมีเงิน
ติดตัวเพียง 40 ดอลลาร์เท่านั้น จุดมุ่งหมายของเขาคือการเข้าฟังปาฐกถา
ของเอมา โกลด์แมนที่เมืองชิคาโก
ซึง่ หลังจากนัน้ เขาก็ได้เทีย่ วต่อทีเ่ มืองบัฟฟาโล ทีน่ นั่ เขาได้หาห้องเช่า
ถูกๆ อยู่และซื้อปืนรีวอลเวอร์ .32 มม. ต่อมาเขาได้เข้าไปชมงานที่เมือง
บัฟฟาโล
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 103

ซึง่ เป็นงานทีจ่ ดั ขึน้ อย่างยิง่ ใหญ่และทีส่ ำ�คัญประธานาธิบดีแมกคินลีย์


ยังมีหมายกำ�หนดการเข้าเยีย่ มชมงานและพบประชาชนอีกด้วย โดยเขาหวัง
ที่จะได้พบปะประธานาธิบดีผู้นี้สักครั้ง
แต่ ก็ น่ า เสี ย ดายที่ ภ รรยาของประธานาธิ บ ดี แ มกคิ น ลี ย์ เ กิ ด ป่ ว ย
กะทันหันไม่สามารถมาร่วมงานได้ จึงเลื่อนไปเป็นวันที่ 6 กันยายนแทน
ซึง่ โคลก๊อซก็มาแต่เช้าเพือ่ จะได้สมั ผัสมือกับประธานาธิบดีแมกคินลียเ์ ป็นคน
แรกๆ แต่ก็ต้องผิดหวังอีกครั้งเพราะไม่เจอเขา จนทำ�ให้โคลก๊อซเกิดความ
รู้สึกรำ�คาญใจและบ่นออกมาว่า
“มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ที่คนเพียงคนเดียวจะต้องมาร่วม
ประกอบพิธีหลายอย่างพร้อมๆ กันอย่างนี้”
นั่นแสดงให้เห็นถึงความไม่พึงพอใจของโคลก๊อซในตัวประธานาธิบดี
แมกคินลีย์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเขาได้กลับเข้ามารอแมกคินลีย์อีกครั้งในช่วง
บ่าย ซึง่ คราวนีเ้ หมือนโชคจะเข้าข้างเขาบ้างแล้ว เมือ่ ได้พบแมกคินลียต์ ามที่
ต้องการ แต่สงิ่ ทีไ่ ม่คาดคิดก็คอื เขาใช้ปนื ทีเ่ ตรียมมาด้วยยิง่ แมกคินลียใ์ นระยะ
เผาขน ซึง่ แน่นอนว่าเขาไม่พลาดเป้าเลยสักนัด และต่อมาไม่กวี่ นั ประธานาธิบดี
แมกคินลีย์ก็สิ้นใจลงที่โรงพยาบาล
104 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

• แรงจูงใจของชายที่ใกล้บ้าเต็มที
การลอบสังหารประธานาธิบดีแมกคินลีย์นั้น หากดูกันผิวเผินก็น่าจะ
เป็นเรือ่ งของความไม่พอใจของคนใกล้บา้ ทีม่ องว่าการกระทำ�ของผูม้ อี �ำ นาจ
บางคนนัน้ สร้างความลำ�บากและรำ�คาญแก่ตนเอง แต่กม็ ผี สู้ งั เกตว่าการลอบ
สังหารครั้งนีอ้ าจจะเป็นเรื่องใหญ่กว่าทีค่ ดิ ก็เป็นได้ และผูท้ อี่ ยูเ่ บือ้ งหลังเรื่อง
เลวร้ายนี้ก็คือ “พวกอานาคิสต์”
“พวกอานาคิสต์” เป็นพวกทีไ่ ม่ปรารถนาการปกครองใดๆ ไม่ตอ้ งการ
ให้มีกฎหมายหรือสิ่งใดๆ มาบังคับชีวิต ซึ่งในความเป็นจริงแล้วย่อมเป็นไป
ไม่ได้อย่างแน่นอน สังคมเช่นนั้นย่อมเป็นสังคมที่วุ่นวายเป็นที่สุด
ในขณะนั้นมีข่าวในทางลับออกมาว่าพวกอานาคิสต์นั้นมีแผนการ
จะโค่นล้มรัฐบาลต่างๆ ถึง 6 ประเทศด้วยกัน โดยหนึ่งในแผนการนั้น
ก็คือสังหารประธานาธิบดีของประเทศเป้าหมาย ซึ่งเป็นไปได้อย่างมากว่า
มหาอำ�นาจอย่างสหรัฐฯ จะเป็นหนึ่งในเป้าหมายการลงมือ นั่นก็ทำ�ให้
สอดคล้องกับการลอบสังหารประธานาธิบดีแมกคินลีย์ในครั้งนี้
นอกจากนัน้ จากคำ�ให้การของนายโคลก๊อซก็ท�ำ ให้ทราบแน่นอนว่าเขา
ก็เป็นพวกที่คลั่งแนวคิดแบบอานาคิสต์อย่างมาก โดยเขาได้พูดออกมาว่า
“ใช่ ผมเป็นชาวอานาคิสต์ ไม่ศรัทธาต่อการปกครองใดๆ ทั้งสิ้น
สำ�หรับประธานาธิบดีนั้นก็เป็นศัตรูของคนชนชั้นกรรมกรอย่างพวกเรา”
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 105

การเปิดเผยตัวว่าเป็นพวกอานาคิสค์อย่างเต็มตัวนั้น ทำ�ให้รัฐบาลไม่
ยอมอยูเ่ ฉยกับเรือ่ งนี้ ได้มกี ารปราบปรามพวกอานาคิสต์ครัง้ ใหญ่ทวั่ ประเทศ
แต่ส่วนใหญ่ก็เพียงแค่จับเท่านั้น เมื่อไม่มีหลักฐานก็ปล่อยไป ยิ่งในรายของ
เอมา โกลด์แมน ผูต้ อ่ ต้านรัฐบาลมาโดยตลอดและเป็นผูท้ โี่ คลก๊อซนับถือเป็น
อย่างมาก และถูกโยงใยว่าเป็นคนสัง่ ให้โคลก๊อซไปลอบสังหารประธานาธิบดี
แมกคินลีย์
โดยคนผู้นี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษ เขาจึงตัดสินใจมอบตัวเพื่อแสดง
ความบริสุทธิ์ ซึ่งภายหลังก็ถูกปล่อยตัวออกมาเพราะไม่มีหลักฐานมากพอ
สุดท้ายแล้วคดีดงั กล่าวได้ถกู ตัดสินว่าเป็นการกระทำ�ของโคลก๊อซเพียงผูเ้ ดียว
เป็นการกระทำ�ที่เกิดจากความชื่นชอบในระบบอานาคิสต์เป็นการส่วนตัว
เท่านั้น ไม่มีใครหรือองค์กรใดให้ความร่วมมือทั้งสิ้น
เมือ่ คดีดงั กล่าวนัน้ มีหลักฐานพร้อมมูล ก็ถงึ คราวทีจ่ ะตัดสินความผิด
ของชายผู้นี้ โดยวันที่ตัดสินนั้นเป็นวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1901 ซึ่งเป็น
วันที่ 4 หลังจากมีพิธีฝังศพประธานาธิบดีแมกคินลีย์เสร็จสิ้นลง
คำ�พิพากษาเป็นไปอย่างรวดเร็วเหมือนได้เตรียมการกันมาก่อนแล้ว
เพียง 8 ชัว่ โมงก็ทำ�การตัดสินให้ประหารชีวติ นายโคลก๊อซเสียด้วยการจับให้
นั่งเก้าอี้ไฟฟ้า ก่อนที่จะทำ�การประหารนั้นเขาได้ตะโกนออกเป็นครั้งสุดท้าย
ว่า
106 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

“การฆ่าประธานาธิบดีในครัง้ นี้ เป็นเพราะว่าท่านเป็นศัตรูของกรรมกร


ชั้นดีอย่างพวกผม ไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียใจเลย”
เรื่องราวการลอบสังหารประธานาธิบดีแมกคินลีย์เป็นอีกเรื่องราว
หนึ่งที่ยังมีผู้พูดถึงมาจนทุกวันนี้ เพราะท่านเป็นผู้หนึ่งที่ชาวอเมริกันรักมาก
เนื่องจากนโยบายหลายๆ อย่างนั้นเอื้อประโยชน์ให้ผู้คนชั้นล่างได้มีชีวิตที่ดี
ขึ้น ซึ่งอุดมคติของท่านนั้นเคยกล่าวเอาไว้ว่า “กินให้อิ่ม อยู่อย่างสบาย”
นอกจากนัน้ ในอีกมุมหนึง่ เรือ่ งราวของประธานาธิบดีแมกคินลียท์ �ำ ให้
เราเห็นว่าคนดีอาจจะไม่ใช่คนที่ผู้อื่นรักก็เสมอไป แต่อย่างไรเสียก็ต้องทำ�ใน
สิ่งที่ดีต่อไป เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าความดีที่ทำ�นั้นถูกต้องที่สุดแล้ว
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 107

ไดอานา สเปนเซอร์
(Diana Spencer)
เจ้าหญิงแห่งเวลส์
108 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ผู้หญิงหลายคนมักจะใฝ่ฝันว่าขอให้มีโอกาสสักครั้งในชีวิต ที่จะได้ดำ�รง
ตำ�แหน่งเป็นเจ้าหญิงแต่งงานกับเจ้าชาย และใช้ชีวิตอย่างหรูหรามีความสุข
ภาพการเป็นเจ้าหญิงมักถูกมองว่าเป็นสิง่ ทีเ่ ลิศหรู สุขสบาย แต่ความจริงแล้ว
ตำ�แหน่งเจ้าหญิงนั้นมีอะไรมากกว่านั้น และอาจจะไม่พบความสุขอย่าง
ยาวนานเสมอไป
เรื่องราวของเจ้าหญิงไดอานา น่าจะเป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งว่าแท้ที่
จริงแล้วการเป็นเจ้าหญิงนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย ยิง่ ในวาระสุดท้ายของพระชนม์ชพี
ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ครัง้ ใหญ่ จนทำ�ให้ตอ้ งสิน้ พระชนม์ดว้ ยอุบตั เิ หตุ แต่
หลายคนมองว่านัน่ ไม่ใช่อบุ ตั เิ หตุธรรมดา ทัง้ หมดล้วนเป็นการจัดฉากให้เป็น
อุบัติเหตุเสียมากกว่า
แท้จริงเป็นเช่นไรยังเป็นเรื่องที่ต้องตามกันต่อไป!!!
เจ้าหญิงไดอานา หรือพระนามเดิม ไดอานา สเปนเซอร์ (Diana Spencer)
ทรงถือกำ�เนิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 เป็นธิดาของท่านเอิร์ล
สเปนเซอร์ที่ 8 โดยอยู่ในตระกูลขุนนางที่เก่าแก่อย่างตระกูลสเปนเซอร์
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 109

เมือ่ ทรงเจริญวัยได้ 20 พรรษา พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชาย


ชาลส์แห่งราชวงศ์อังกฤษ ณ มหาวิหารเซนต์พอล กรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ ในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เหตุการณ์ครัง้ นัน้ ถูกถ่ายทอดสด
ไปทัว่ โลก โดยว่ากันว่ามีผรู้ บั ชมการถ่ายทอดสดมากถึง 750 ล้านเลยทีเดียว
ต่อมาเจ้าหญิงไดอานาได้ให้ก�ำ เนิดพระโอรสทัง้ สองพระองค์คอื เจ้าชาย
วิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี รัชทายาทลำ�ดับที่สองและสามแห่งราชบัลลังก์
อังกฤษ ภายหลังพระองค์ทรงได้หย่าร้างกับพระสวามีด้วยสาเหตุส่วน
พระองค์ ซึ่งนั่นเชื่อกันว่าน่าจะเป็นสาเหตุการสิ้นพระชนม์ที่ยังเป็นปริศนา
ในเวลาต่อมา
• อุบัติเหตุที่นำ�ไปสู่การสิ้นพระชนม์
อุบัติเหตุในครั้งนั้นถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำ�คัญและเป็นปริศนาอย่าง
มาก โดยเหตุการณ์นั้นเริ่มจากตอนเช้าของวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1997
แหล่งข่าวแจ้งว่าพบเจอเจ้าหญิงไดอานาที่สนามบินในกรุงปารีส จากนั้นได้
เสด็จขึ้นรถเมอร์ซีเดส เบนซ์ สีดำ�รุ่น E600 รุ่นปี 1997 ออกจากสนามบิน
อย่างรวดเร็ว โดยจุดหมายนั้นคือการไปพบโดดี อัลฟาเยด ที่อพาร์ตเมนต์
กลางกรุงปารีส
สำ�หรับ “โดดี อัลฟาเยด” ผู้นี้เป็นทายาทมหาเศรษฐี เจ้าของห้าง
สรรพสินค้าแฮร์รอดส์ ซึ่งหลังจากเจ้าหญิงไดอานาทรงหย่าร้างกับเจ้าชาย
ชาลส์ ทั้งคู่หันมาคบหาสนิทสนมกัน จนทำ�ให้ทางราชวงศ์อังกฤษมีความ
ไม่พอใจในพฤติกรรมของทั้งคู่
110 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

ในช่วงบ่ายของวันดังกล่าวทัง้ เจ้าหญิงไดอานา นายโดดีและองครักษ์


ไปช็อปปิง้ ในย่านถนน “ชองเอลีเซ่” ท่ามกลางช่างภาพทีร่ มุ ถ่ายภาพทำ�ให้ทรง
รำ�คาญไม่ใช่น้อย จึงเสด็จกลับที่ประทับ จากนั้นในช่วงค่ำ�เจ้าหญิงไดอานา
ทรงอยู่ในงานเลี้ยงอันหรูหราของนายโดดี พร้อมกับพระสหายสนิท
เหตุการณ์สำ�คัญนัน้ เกิดขึน้ หลังจากงานเลีย้ งเลิก เวลาเทีย่ งคืนเศษๆ
เจ้าหญิงไดอานาเสด็จออกจากโรงแรมเพื่อกลับที่ประทับพร้อมกับนายโดดี
บรรดาช่างภาพอิสระทีซ่ มุ่ ตัวอยูเ่ พือ่ คอยจับภาพของพระองค์กเ็ ริม่ เคลือ่ นไหว
ขับรถตาม
ทางด้านเจ้าหญิงไดอานาเมื่อทรงทราบว่ามีนักข่าวติดตามจึงทรง
พยายามหลบหนีการตามล่าของคนเหล่านี้ ในขณะนั้นรถพระที่นั่งวิ่งด้วย
ความเร็วประมาณ 126 กิโลเมตรต่อชัว่ โมงทีเดียว พอมาถึงบริเวณถนนลอด
อุโมงค์ Pont De L’ Alma ใต้แม่น้ำ�เซน รถพระที่นั่งเกิดเสียหลักพุ่งชน
กับแผงราวเหล็กกัน้ อุโมงค์อย่างแรง แล้วหมุนตัวพุง่ ชนแผงเหล็กอีกด้านหนึง่
จากนั้นก็เกิดหม้อน้ำ�ระเบิดอย่างรุนแรงตามมา
เหตุการณ์ครัง้ นัน้ ทำ�ให้นายอองรี ปอลคนขับรถพระทีน่ งั่ และนายโดดี
เสียชีวิตในทันที ส่วนทางด้านเจ้าหญิงไดอานาและนายเทรเวอร์ เรสยอนส์
องครักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยเจ้าหญิงไดอานามีบาดแผลฉกรรจ์ที่
พระพักตร์และมีพระโลหิตไหลในปัปผาสะมาก
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 111

หลังจากเกิดเหตุไม่กี่นาทีรถพยาบาลก็มารับผู้บาดเจ็บทั้งหมดไป
เมื่อไปถึงโรงพยาบาลอาการของเจ้าหญิงไดอานาไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ทรง
เสียพระโลหิตมากโดยเฉพาะบริเวณพระปัปผาสะพระโลหิตไหลไม่หยุด จน
กระทั่งเวลาแห่งการรักษาล่วงไปถึงตี 4 ของอีกวันหนึ่งพระองค์ทรงทนไม่
ไหวสิน้ พระชนม์ดว้ ยพระอาการพระโลหิตไหลในพระปับผาสะและสูญเสียพระ
โลหิตมาก ส่วนนายเทรเวอร์ เรสยอนส์องครักษ์ของพระองค์นั้นรอดชีวิต
อย่างหวุดหวิด
ในวันรุ่งขึ้นทางสำ�นักพระราชวังบักกิงแฮมได้ออกแถลงการณ์ยืนยัน
การสิ้นพระชนม์อย่างเป็นทางการอีกครั้ง ยังความโศกเศร้ามาให้ทุกคนที่
ได้ยินข่าว บุคคลสำ�คัญของแต่ละประเทศต่างออกมาแสดงความเสียใจใน
เหตุการณ์ครั้งนี้
• อุบัติเหตุหรือการลอบสังหาร?
การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอานานั้นยังไม่จบเพียงเท่านั้น เพราะ
มีผสู้ งั เกตเห็นความผิดปกติหลายๆ อย่าง ทำ�ให้คดิ ในอีกมุมหนึง่ ได้วา่ นัน่ น่า
จะเป็นการลอบสังหาร โดยทำ�ให้เป็นเหมือนเกิดอุบัติเหตุก็ได้เช่นกัน โดย
เฉพาะหนังสือพิมพ์ในประเทศอังกฤษได้พดู ถึงข้อพิรธุ ต่างๆ ไว้อย่างมากมาย
โดยพอสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. การเปลีย่ นเส้นทางไปจากเดิม หลังจากทีอ่ อกจากโรงแรมทัง้ เจ้าหญิง
ไดอานาและนายโดดีเพื่อนชายคนสนิทตั้งใจจะเดินทางไปยังอพาร์ตเมนต์
ของฝ่ายชาย แต่ระหว่างทางกลับเปลี่ยนเส้นทางไปยังอุโมงค์ Pont de
L’Alma อย่างไม่มีเหตุผล
112 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

2. วิทยุสอื่ สารเกิดขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ มีการรายงานว่าระหว่าง


ที่เกิดอุบัติเหตุนั้นวิทยุสื่อสารของตำ�รวจในกรุงปารีส ไม่สามารถใช้การได้
อย่างไม่รสู้ าเหตุ นัน่ จึงทำ�ให้การช่วยเหลือหลังจากเกิดอุบตั เิ หตุท�ำ ได้ชา้ และ
ไม่สามารถรักษาพระชนม์ชีพของเจ้าหญิงไดอานาไว้ได้ทัน
3. กล้องวงจรปิดเกิดขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ อันที่จริงแล้วใน
อุโมงค์ที่เกิดเหตุนั้นมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ แต่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น
ปรากฏว่ากล้องวงจรปิดบริเวณนั้นเกิดชำ�รุดโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำ�ให้ไม่
สามารถเห็นภาพเหตุการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงกลายเป็น
ปริศนาในเวลาต่อมา
4. มีพยานยืนยันว่าได้ยินเสียงปืน มีพยานบางคนยืนยันว่าขณะเกิด
อุบัติเหตุครั้งนั้น ได้ยินเสียงปืนบริเวณที่เกิดเหตุ
ทั้งหมดนี้เป็นการหยิบยกข้อมูลที่มาปรากฏมาตั้งข้อสงสัย ซึ่งหลาย
ประเด็นนัน้ ก็ตอบได้ แต่กม็ อี กี หลายประเด็นทีย่ งั ไม่สามารถหาหลักฐานใดๆ
มายืนยัน ทำ�ให้สิ่งเหล่านี้ยังคงคิดได้ทั้งสองมุม คืออาจจะเป็นอุบัติเหตุก็ได้
หรือเป็นการลอบสังหารก็ได้
• หลักฐานที่สร้างความพิศวง
นอกจากข้อสงสัยข้างต้นแล้ว การเกิดอุบตั เิ หตุครัง้ นีย้ งั มีหลักฐานและ
เหตุการณ์บางอย่างที่สร้างความพิศวง เพราะยังหาคำ�ตอบไม่ได้ว่าจริงหรือ
เท็จ นอกจากนั้นยังดูไม่เข้ากับที่ทางตำ�รวจสรุปว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุ ซึ่งก็มี
อยู่หลายอย่างดังนี้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 113

1. จดหมายลับของเจ้าหญิงไดอานา
ได้มีการพบจดหมายของเจ้าหญิงไดอานาที่เขียนไว้ก่อนสิ้นพระชนม์
ซึ่งได้ถูกนำ�มาเปิดเผยเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 โดยข้อความส่วนหนึ่ง
นั้นระบุว่า
“สมาชิกระดับสูงในราชวงศ์อังกฤษ มีแผนการที่จะสังหารพระองค์
โดยวางแผนให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ด้วยการตัดสายเบรก!!!”
ซึง่ นายพอล เบอร์เรลล์ อดีตมหาดเล็กของเจ้าหญิงไดอานา ได้ยนื ยัน
ว่าเจ้าหญิงได้เขียนไว้ 10 เดือนก่อนทีจ่ ะเกิดอุบตั เิ หตุดงั กล่าวจริง เมือ่ ปรากฏ
จดหมายฉบับนี้ขึ้นมาทางนายไมเคิล เบอร์กีส เจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์ได้
ร้องขอให้ตั้งกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้
2. มีการสรุปว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุมาจากคนขับรถเมา
ในการสอบสวนของเจ้าหน้าทีต่ ำ�รวจของฝรัง่ เศส สรุปว่าส่วนสำ�คัญที่
ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดมาจากการที่นายอองรี ปอล คนขับรถพระที่นั่ง
มีอาการมึนเมาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำ�ให้ขับรถเร็วและเกิดอุบัติเหตุอย่าง
ที่เห็น ซึ่งหลังจากเกิดเหตุได้นำ�เลือดของนายคนนี้ไปตรวจพบว่ามีปริมาณ
แอลกอฮอล์ที่สูงกว่าปกติมาก
แต่จากคำ�ให้การพยานแวดล้อมทีพ่ บเจอกับนายอองรีกอ่ นเกิดเหตุนนั้
ทุกคนต่างก็ลงความเห็นว่าเขายังอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีอาการหรือทีท่าที่ดู
เมามายอย่างที่ระบุ
114 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

หนึง่ ในนัน้ ก็คอื นายเทรเวอร์ เรสยอนส์องครักษ์ของเจ้าหญิงซึง่ ใกล้ชดิ


นายอองรีมากกว่าใครในขณะเกิดเหตุ เขาได้ให้การว่านายอองรีไม่มีท่าทาง
ที่ดูว่าเมามายเลย นั่นจึงเป็นสองความเห็นที่ยังขัดแย้งกันอยู่
3. รถเฟียตและมอเตอร์ไซค์ปริศนา
ระหว่างทีเ่ กิดเหตุนนั้ มีพยานบางคนเห็นว่ามีรถเฟียตและมอเตอร์ไซค์
อย่างละคัน กำ�ลังขับขี่อย่างบ้าคลั่ง ซึ่งหลายคนคิดว่าจะเกี่ยวกับการเกิด
อุบัติเหตุครั้งนี้ แต่พอแจ้งเจ้าหน้าที่ตำ�รวจทราบก็ดูเหมือนว่าไม่มีใครสนใจ
หรือติดตามรถต้องสงสัยทั้งสองคันนี้เลย
4. เอกสารลับจาก CIA
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอานา ทาง CIA ได้นำ�
เอกสารลับฉบับหนึ่งออกมาเผย โดยเชื่อว่าจะมีส่วนเชื่อมโยงกับการเกิด
อุบัติเหตุในครั้งนั้น โดยมีส่วนที่สำ�คัญดังนี้
- ทางสหรัฐและหน่วย MI-6 ของอังกฤษมีความพยายามจะผูกโยง
นายโดดีเข้ากับข้อมูลการค้าโคเคนของหน่วยปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐ
หรือ DEA ลักษณะเหมือนยัดข้อหาให้
- รถเมอร์ซีเดส เบนซ์ สีดำ�รุ่น E600 รุ่นปี 1997 คันเกิดเหตุนั้น
เคยถูกขโมยและนำ�มาคืนอย่างน่าสงสัย ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็ค
ทรอนิกส์ภายในรถให้สามารถควบคุมจากภายนอกได้ดว้ ยสัญญาณวิทยุ และ
นั่นอาจจะเป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ก็ได้
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 115

- มีการกล่าวถึงรถเฟียตในบางตอนด้วย นักวิเคราะห์เชื่อว่าการที่
เจ้าหญิงไดอานาได้รณรงค์ต่อต้านการวางระเบิด และพยายามให้ประเทศ
ต่างๆ ร่วมลงนามด้วยเพือ่ เป็นสัญญา นัน่ น่าจะเป็นชนวนการลอบสังหารใน
ครัง้ นี้ เพราะสหรัฐฯ ถือว่าเป็นประเทศทีใ่ ช้ระเบิดระดับต้นๆ ของโลก เท่าที่
ผ่านมาแม้ไม่ได้ขัดขวางโครงการนี้แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนเช่นกัน การที่ลดการ
ใช้ระเบิดลงย่อมทำ�ให้ประสิทธิภาพทางการทหารของสหรัฐฯ นั้นลดลงด้วย
ซึ่งหลายฝ่ายคงไม่ยอมแน่ๆ
5. การสอบปากคำ�เจ้าฟ้าชายชาลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ
ทีผ่ า่ นมากระแสการต่อต้านเจ้าหญิงไดอานาจากราชวงศ์องั กฤษ เกีย่ ว
กับการคบหาดูใจกับนายโดดีนนั้ ออกมาเรือ่ ยๆ ซึง่ นัน่ อาจจะเป็นชนวนในการ
ก่อเหตุได้เหมือนกัน ซึง่ ครัง้ หนึง่ ทางหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ซันเดย์ ไทมส์
ของอังกฤษรายงานว่า
เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ ถูกเจ้าหน้าทีต่ �ำ รวจสอบ
ปากคำ�นานหลายชัว่ โมงทีพ่ ระตำ�หนักคลาเรนซ์ หลังจากการสิน้ พระชนม์ของ
เจ้าหญิงไดอานา อดีตพระชายาของพระองค์ ซึ่งภายหลังก็ไม่มีการเปิดเผย
รายละเอียดในการให้การ นั่นแสดงให้เห็นว่าประเด็นที่เจ้าหญิงไดอานาถูก
ลอบสังหารโดยคนของราชวงศ์นั้นมีความเป็นไปได้เช่นกัน
116 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

แม้จะมีทฤษฎีหรือข้อสันนิษฐานมากมายที่เกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์
ของเจ้าหญิงไดอานาเกิดขึ้นมาภายหลัง แต่มักจะถูกเจ้าหน้าที่บิดเบือนไป
หมด โดยจะเน้นย้ำ�ให้เห็นทุกครั้งว่าเป็นเรื่องของอุบัติเหตุล้วนๆ
นายโมฮัมหมัด อัลฟาเยด พ่อของนายโดดี เป็นอีกผู้หนึ่งที่ไม่เชื่อ
ว่าการตายของเจ้าหญิงไดอานาและลูกชายของเขาเป็นเพียงอุบตั เิ หตุ ทีผ่ า่ น
มาได้รวบรวมหลักฐานต่อสู้มาโดยตลอด ครั้งหนึ่งเขาเคยแถลงว่าทางการ
อังกฤษลอบสับเปลี่ยนตัวอย่างเลือดของนายอองรี พอล เพื่อให้นายอองรี
กลายเป็นแพะขี้เมาที่ต้องรับผิดทั้งหมด โดยอ้างว่าทั้งหมดเป็นการสั่งการ
จากราชวงศ์และทางการอังกฤษทีไ่ ม่ตอ้ งการให้เจ้าหญิงไดอานาแต่งงานใหม่
กับชาวมุสลิมอย่างนายโดดี
แต่นั่นก็ยังไม่สำ�เร็จ ภายหลังนายโมฮัมหมัด อัลฟาเยด ได้ตัดสินใจ
ยุติการค้นหาความจริงในเรื่องนี้ เพราะเห็นแก่พระโอรสทั้งสองของเจ้าหญิง
ไดอานาเป็นการหยุดการสืบค้นปริศนาไปชั่วขณะหนึ่ง
แม้การสิน้ พระชนม์ของเจ้าหญิงไดอานานัน้ ยังคงเป็นปริศนาทีร่ อวันไข
แต่อย่างไรเชือ่ ว่าภาพเจ้าหญิงทีแ่ สนดีนนั้ ยังคงติดตาตรึงใจผูค้ นทัว่ โลกไปนาน
เท่านานแน่นอน!!!
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 117

เซียร์อูร์ ราห์มาน
(Ziaur Rahman)
ผู้สิ้นชีพด้วยมือของเพื่อนรัก
118 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

“เซียร์อูร์ ราห์มาน” (Ziaur Rahman) อดีตประธานาธิบดีของประเทศ


บังกลาเทศนับว่าเป็นผู้หนึ่งที่ตกเป็นเหยื่อของการลอบสังหาร ท่ามกลาง
ความวุ่นวายทางการเมืองและสงครามแบ่งแยกดินแดน แต่ที่น่าเศร้ายิ่งกว่า
นัน้ ก็คอื ผูท้ บี่ งการปฏิบตั กิ ารลอบสังหารในครัง้ นีก้ ลับเป็นเพือ่ นรักทีเ่ คยร่วม
เป็นร่วมตายกันในสนามรบมาก่อน
เมือ่ ย้อนไปดูประวัตขิ องคนผูน้ แี้ ล้ว เขาเกิดในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ.
1936 ทีเ่ มืองโบกราแคว้นเบงกอลตะวันออก เมือ่ เติบใหญ่กเ็ ข้าสูว่ งการทหาร
โดยผ่านการรบมาอย่างโชกโชน จนได้รบั สมญานามว่า “วีรบุรษุ สงครามของ
ชาวเบงกาลี” ด้วยผลงานการรบทีเ่ อกอุ ทำ�ให้ชอื่ ของราห์มานเป็นทีร่ จู้ กั ของ
ผู้คนอย่างรวดเร็วในยุคสมัยนั้น
สงครามสร้างวีรบุรุษที่ชื่อว่า “เซียร์อูร์ ราห์มาน”
เดิมทีบงั กลาเทศนัน้ เป็นดินแดนส่วนหนึง่ ในปากีสถาน โดยในตอนนัน้
เรียกกันว่า “ปากีสถานตะวันออก” เป็นดินแดนทีม่ ชี าวเบงกอลอาศัยอยูเ่ กิน
ครึ่ง เป็นชนชาติที่มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 119

ในตอนนั้นอำ�นาจทางการทหารนั้นอยู่ในปากีสถานตะวันตกเสียเป็น
ส่วนใหญ่ ทำ�ให้ชาวเบงกอลมีอำ�นาจทางการทหารที่น้อยมาก แต่อย่างไร
เสียพื้นที่ทั้งหมดนั้นก็ตกอยู่ในอำ�นาจของอังกฤษเช่นเดียวกันหมด การ
เปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่เกิดขึน้ เมือ่ ปากีสถานได้รบั เอกราชและแยกตัวออกจาก
อินเดียอย่างเป็นทางการ
ในปีค.ศ. 1958 ชาวเบงกอลเริ่มต้องการอำ�นาจในกองทัพมากยิ่งขึ้น
กว่าทีม่ ี แต่รฐั บาลปากีสถานปฏิเสธอย่างไม่ใยดี ทำ�ให้ในปีค.ศ. 1971 บังกลาเทศ
ได้ประกาศแยกตัวออกจาปากีสถานอย่างเต็มตัว นั่นเป็นการประกาศ
สงครามแบ่งแยกดินแดนชัดๆ ต่อมาจึงเกิดสงครามนองเลือดขึน้ ทัว่ ประเทศ
สำ�หรับนายราห์มานแล้วช่วงเวลาสงครามนี้กลายเป็นช่วงเวลาที่เขา
เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยได้เข้ากับฝ่ายปากีสถานตะวันออกในฐานะนาย
พันตรีแห่งกรมเบงกอล เขาถือว่าเป็น 1 ใน 3 กำ�ลังหลักในการทำ�สงคราม
ครัง้ นัน้ เคียงคูพ่ นั ตรีซาฟิอลู าและพันตรีมชู าร์ราฟ ซึง่ สุดท้ายทัง้ สามก็สามารถ
ปลดปล่อยบังกลาเทศจากร่มเงาการปกครองของปากีสถานเป็นผลสำ�เร็จ
หลังจากที่การต่อสู้จบลง การแก่งแย่งชิงดีภายในประเทศนั้นกำ�ลัง
เริ่มขึ้น มีการทำ�รัฐประหารหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งทำ�ให้สถานะของนาย
ราห์มานในขณะนั้นไม่ค่อยมั่นคง กล่าวคือบางครั้งก็อยู่ในฐานะผู้ปกครอง
แต่หากถูกรัฐประหารก็จะกลายเป็นเชลยไป หากมีการรัฐประหารด้วยฝ่าย
ของตนเองอีกทีก็จะกลับมาเป็นผู้ปกครองอีกทีหนึ่ง
120 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

นั่นจึงทำ�ให้นายราห์มานรู้ว่าเขาไม่สามารถใจอ่อนกับศัตรูได้อีกต่อ
ไป แม้ว่าผู้นั้นจะเคยเป็นสหายร่วมรบกันมาก่อนก็ตาม เขาได้ทยอยกำ�จัด
ศัตรูทางอำ�นาจไปทีละคนสองคน จนในที่สุดก็สามารถขึ้นดำ�รงตำ�แหน่ง
ประธานาธิบดีได้อย่างเต็มตัวในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1977
ทันทีที่เขาเข้ารับตำ�แหน่งท่ามกลางความวุ่นวายก็ประกาศให้มีการ
เลือกตั้งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 เลย เพื่อให้ประชาชนได้มีอำ�นาจ
ตัดสินใจในการเลือกผู้นำ�ของตนเอง เป็นหลักการปกครองประเทศโดยการ
ฟังเสียงของประชาชน
เมื่อเวลาแห่งการเลือกตั้งมาถึงประชาชนทุกคนก็เข้าไปทำ�หน้าที่ของ
ตนเองอย่างดี ซึ่งผลการเลือกได้ออกมาว่า นายราห์มานได้รับคะแนนเสียง
สูงสุดเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้จัดตั้งพรรคชาตินิยม
บังกลาเทศขึ้นมา โดยเขารับตำ�แหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและดำ�รงตำ�แหน่ง
ประธานาธิบดีของบังกลาเทศไปด้วย
หลังจากนัน้ ก็มกี ารให้สญั ญาว่าจะมีการยกเลิกกฎอัยการศึก และเน้นย้�ำ
ให้สมาชิกสภาทุกคนทำ�หน้าที่ของตนเองเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งใน
ตอนนัน้ พรรคชาตินยิ มบังกลาเทศของเขาได้เป็นรัฐบาล โดยมีทนี่ งั่ ในสภาถึง
207 ที่นั่งทีเดียว
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 121

30 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 วันดับชีวิตราห์มาน


ในวันธรรมดาวันหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเหตุการณ์ไม่ธรรมดากำ�ลังจะ
เกิดขึ้น ขณะนั้นมีคนร้ายกลุ่มหนึ่งได้บุกเข้าไปในบ้านพักของรัฐบาลในเมือง
จิตตะกอง ซึ่งมีประธานาธิบดีราห์มานและคณะพักผ่อนอยู่ ไม่นานคนร้าย
กลุ่มนี้ก็กระหน่ำ�ยิงอย่างหนัก ทั้งคนของคณะรัฐบาล องครักษ์ ทหารยาม
รวมไปถึงประธานาธิบดีราห์มานล้วนสิ้นชีพในเวลาอันรวดเร็ว
เหตุการณ์ในครั้งนั้นถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่อุกอาจอย่างที่สุด เป็นการ
ใช้อำ�นาจเถื่อนอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง เท่านั้นยังไม่พอกลุ่มคนร้ายเหล่านี้
ยังเข้ายึดสถานีวทิ ยุกระจายเสียงในเมืองจิตตะกอง จากนัน้ ก็ท�ำ การประกาศ
ยึดอำ�นาจอย่างเต็มตัว และสั่งให้คณะรัฐบาลที่หลงเหลือทั้งหมดยอมจำ�นน
แต่โดยดี
การกระทำ�ที่บ้าระห่ำ�ในครั้งนี้มี “พลตรีมูฮัมหมัด อาบุล มันซูร์”
แห่งกองพลทหารราบที่ 24 ของบังกลาเทศ ซึ่งนายพลผู้นี้ถือว่าเป็นหนึ่ง
ในเพื่อนรักของประธานาธิบดีราห์มานนั่นเอง แต่ด้วยเหตุผลกลใดจึงทำ�ให้
เพื่อนรักสองคนนั้นต้องมาฆ่าฟันจนถึงขั้นเอาชีวิตกันเช่นนี้?
หลังจากคำ�ประกาศนัน้ ออกมาทำ�ให้ทกุ คนในบังกลาเทศรูแ้ ล้วว่าบ้านเมือง
เข้าสู่วาระแห่งการรัฐประหารอีกครั้ง นายอับดุล ซัตตา รองประธานาธิบดี
บังกลาเทศ วัย 70 ปีในขณะนัน้ ประกาศตนขึน้ ดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดี
แทนในทันที พร้อมทั้งประกาศ ณ กรุงดักกาให้ฝ่ายกบฏนั้นยอมจำ�นน
122 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

จากนัน้ ก็ได้ก�ำ หนดเส้นตายในทันที ซึง่ ก็มกี ารเลือ่ นเส้นตายหลายครัง้


จนยุติที่เวลา 6.00 น. ของวันที่ 1 มิถุนายน
ทางพลตรีมนั ซูรน์ นั้ ก็งดั ไม้เด็ดขึน้ มาว่า จะสังหารตัวประกันทัง้ หมดที่
มีหากทางฝ่ายรัฐบาลในขณะนัน้ ทีน่ �ำ โดยนายอับดุล ซัตตาใช้ความรุนแรงเข้า
มาปราบปราม จากนัน้ ได้พยายามยืน่ ข้อเสนอให้ฝา่ ยรัฐบาลเข้ามาแก้ปญั หา
ของประเทศร่วมกัน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่น นั่นแสดงให้เห็น
ว่าท่าทีของฝ่ายกบฏเริ่มอ่อนลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
ฝ่ายรัฐบาลเองได้ทำ�การวิเคราะห์เหตุการณ์แล้วว่า การก่อกบฏของ
พลตรีมันซูร์ในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ทำ�เพียงลำ�พัง ไม่ได้มีหน่วยงานอื่นๆ ใน
กองทัพให้ความช่วยเหลือเลย ส่วนบุคคลที่พลตรีมันซูร์ได้กล่าวอ้างถึงว่าจะ
ได้รบั ตำ�แหน่งสำ�คัญหากว่าการรัฐประหารนีส้ ำ�เร็จนัน้ ต่างก็ไม่รเู้ รือ่ งและไม่
ได้สนับสนุนการกระทำ�ครั้งนี้เช่นกัน
นั่นจึงทำ�ให้ฝ่ายรัฐบาลเห็นว่าฝ่ายกบฏนั้นโดดเดี่ยวอย่างเป็นทางการ
แล้ว ซึง่ การยืน่ เส้นตายถึงเวลา 6.00 น. ของวันที่ 1 มิถนุ ายนนัน้ เป็นโอกาส
สุดท้ายทีท่ างคณะรัฐบาลมอบให้ หากว่าฝ่ายกบฏยังดือ้ ดึงย่อมต้องมีการต่อสู้
กันอย่างรุนแรงแน่นอน แน่นอนว่าผู้ที่พ่ายแพ้ในที่สุดก็คือฝ่ายกบฏที่นำ�โดย
พลตรีมันซูร์นั่นเอง
เมื่อเวลา 6.00 น. ของวันที่ 1 มิถุนายนมาถึง ดูเหมือนทางฝ่าย
กบฏจะปฏิเสธโอกาสสุดท้ายของตนเองไป และพร้อมจะสู้ตาย!!!
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 123

ทางรัฐบาลก็ไม่มีทางเลือกได้ส่งทหารจำ�นวนมากเข้าปิดล้อม และ
โจมตีทงั้ ทางบกและทางอากาศ การต่อสูเ้ ป็นไปอย่างดุเดือด ทัง้ สองฝ่ายต่าง
เข้าห้�ำ หัน่ กัน แต่ดว้ ยฝ่ายรัฐบาลทีม่ กี ำ�ลังและจิตใจทีเ่ ข้มแข็งมากกว่า อีกทัง้
มีการวางแผนทีด่ ี สุดท้ายก็สามารถจัดการกับฝ่ายกบฏได้อย่างราบคาบ ส่วน
พลตรีมนั ซูรก์ ถ็ กู สังหารระหว่างการเข้าจับกุม เป็นอันว่าสิน้ สุดการรัฐประหาร
ในครั้งนี้ บ้านเมืองก็เข้าสู่ความเป็นอธิปไตยอีกครั้ง
หลังจากนั้นได้มีความพยายามค้นหาร่างที่ไร้วิญญาณของประธานา-
ธิบดีราห์มาน และได้พบที่หลุมศพฝังตื้นๆ ใกล้กับโรงเรียนช่างกลแห่งหนึ่ง
สภาพศพนัน้ ถูกยิงด้วยกระสุนจนพรุนทัง้ ตัว ตัง้ แต่หวั จรดเท้า จากนัน้ ได้นำ�
ศพไปตั้งเอาไว้ที่รัฐสภาในกรุงดักกา ซึ่งในเวลาต่อมาก็มีชาวบังกลาเทศเข้า
มากราบไว้และทำ�ความเคารพจำ�นวนเรือนแสนทีเดียว
เหตุผลเพราะความยิ่งใหญ่เกินไป!!!!
เหตุการณ์การก่อรัฐประหารครัง้ นีน้ นั้ สาเหตุนนั้ มาจากความไม่พอใจ
ระหว่างพลตรีมันซูร์กับประธานาธิบดีราห์มาน ซึ่งในอดีตทั้งสองเป็นสหาย
ร่วมรบกันมาอย่างโชกโชน โดยสาเหตุความขัดแย้งในครั้งนี้ก็เริ่มมาจาก
เหตุการณ์ก่อนหน้านี้
ก่อนหน้านี้ทางนายพลมันซูร์ โดนคำ�สั่งย้ายจากการเป็นผู้บัญชาการ
กองพลที่ 24 ประจำ�เมืองจิตตะกอง ให้ไปดำ�รงตำ�แหน่งผู้อำ�นายการ
วิทยาลัยกองทัพบกที่ดักกา นั่นทำ�ให้ทางนายพลมันซูร์ไม่พอใจอย่างยิ่ง
เพราะนั่นเป็นการลิดรอนอำ�นาจทางการทหารที่ตนเองเคยมี ซึ่งทำ�ให้เกิด
ความไม่พอใจขึ้นมา
124 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

นั่นถือว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้นายพลมันซูร์เกิดอาการไม่ชอบหน้า
ประธานาธิบดีราห์มานอย่างทีส่ ดุ จึงก่อให้เกิดการรัฐประหารขึน้ ซึง่ ระหว่าง
นั้นจะสังเกตได้ว่าบรรดาหน่วยต่างๆ ในกองทัพต่างไม่ให้ความร่วมมือกับ
นายพลมันซูร์ นั่นก็เป็นเพราะเขาถูกตัดอำ�นาจไปมากจนไม่มีใครยอมฟังอีก
ต่อไปแล้ว
นอกจากนัน้ ยังมีอกี เหตุผลหนึง่ ก็คอื “ความอิจฉาริษยา” ทีพ่ ลตรีมนั ซูร์
มีต่อประธานาธิบดีราห์มาน โดยทั้งสองเริ่มเข้าสู่วงการทหารพร้อมกัน แต่
ฝ่ายหนึ่งได้ก้าวไปถึงตำ�แหน่งประธานาธิบดี เป็นที่รู้จักและนับหน้าถือตา
ของประชาชนทั่วไป ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นแม้จะมียศทางทหารที่สูงขึ้น แต่ก็
ยังเป็นนายทหารเช่นเดิม
ในทางกลับกันทางฝ่ายประธานาธิบดีราห์มานก็มที ที า่ อิจฉาพลตรีมนั ซูร์
เหมือนกัน โดยดูได้จากการที่ประธานาธิบดีราห์มานทำ�การตัดอำ�นาจทาง
ทหารของเขาเสีย เพือ่ ไม่ให้เติบโตไปมากกว่านี้ เป็นการป้องกันการยึดอำ�นาจ
ในวันข้างหน้า
แม้ว่าทางด้านการเมืองนั้นพลตรีมันซูร์จะไม่ได้มีชื่อเสียงกว้างไกล
เหมือนประธานาธิบดีราห์มาน แต่ในทางทหารเขาก็ถือว่าเป็นที่นับถือของ
นายทหารทุกระดับมากเช่นกัน นอกจากนั้นเขายังเคยเป็นกองพลเกียรติยศ
หนึ่งในห้ากองพลที่ผ่านสงครามกู้ชาติมาแล้ว ดังนั้นกองกำ�ลังในการนำ�ของ
นายพลมันซูร์ย่อมมีประสิทธิภาพสูงกว่าปกติ
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 125

เหตุผลที่สำ�คัญอีกข้อหนึ่งที่ประธานาธิบดีราห์มานเลือกลดทอน
อำ�นาจของพลตรีมันซูร์นั่นก็เพราะว่า ดินแดนแถบนั้นไม่ใช่ดินแดนแห่ง
ประชาธิปไตยร้อยเปอร์เซ็นต์ การที่จะใช้กำ�ลังทหารเพื่อยึดครองประเทศ
นั้นเป็นเรื่องที่หลายประเทศในแถบนั้นยังทำ�กันอยู่ ประธานาธิบดีราห์มาน
เกรงว่า หากปล่อยให้พลตรีมันซูร์มีอำ�นาจทหารอยู่ในมือมากเกินไป สักวัน
หนึ่งเขาอาจจะคิดครองตำ�แหน่งประธานาธิบดีของประเทศนี้ก็เป็นได้
หากดูตามนี้จะเห็นว่าไม่ว่าเหตุผลจะเป็นข้อใด ก็ล้วนแต่ทำ�ให้ทั้ง
สองคนขัดแย้งกันได้ทงั้ สิน้ อาจเป็นเพราะว่าทัง้ สองยิง่ ใหญ่จนเกินไปสำ�หรับ
ประเทศเล็กๆ อย่างนี้ จึงทำ�ให้อยู่กันด้วยความลำ�บากและไม่ไว้วางใจซึ่ง
กันและกัน ดังคำ�ที่ว่า
เสือสองตัว อยู่ถ้ำ�เดียวกันไม่ได้!!!
แต่สุดท้ายเสือสองตัวก็ตายทั้งคู่ ไม่มีใครได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
จากสงครามและความขัดแย้งครั้งนี้เลย นั่นทำ�ให้เห็นว่าความไว้วางใจเป็น
เรื่องสำ�คัญสำ�หรับคนที่ต้องร่วมงานกัน หากขาดสิ่งนี้แล้วย่อมจะมีแต่ความ
ระแวงและขัดแย้งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด!!!
126 ไ ข แ ฟ้ ม ลั บ ค ดี สั ง ห า ร ผู้ นำ� โ ล ก

สรุป
ธี ร ะ วุ ฒิ ปั ญ ญ า 127

เรือ่ งราวการลอบสังหารทีก่ ล่าวมาในหนังสือเล่มนี้ คงชีใ้ ห้ผอู้ า่ นเห็นแล้วว่าใน


โลกใบนี้ ใช่จะเป็นอย่างทีเ่ ราคิดเสมอไป เพือ่ ผลประโยชน์มนุษย์เราสามารถ
ทำ�ได้ทกุ อย่าง รวมทัง้ การลอบสังหารผูอ้ นื่ ซึง่ เมือ่ เหตุการณ์เกิดขึน้ เราก็ตอ้ ง
รู้จักไตร่ตรองให้ดี จะทำ�ให้เห็นว่าแท้ที่จริงเป็นเช่นไร หากในอนาคตเกิด
การลอบสังหารบุคคลสำ�คัญขึ้นมาอีก เชื่อว่าผู้อ่านคงจะเป็นผู้ที่มองอย่าง
พิจารณาจนนำ�มาซึ่งความจริงได้เป็นแน่
ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่แต่การลอบสังหารเท่านั้น การใช้ชีวิตในแต่ละ
วันเองเราก็ต้องรู้จักพิจารณาทุกสิ่งรอบตัวให้มาก แล้วจะทำ�ให้เรารู้ว่าอาจมี
อะไรซ่อนอยู่มากกว่าสิ่งที่เห็นและเรารับรู้มาก็เป็นได้
บรรณานุกรม
ดาณุภา. ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด แผนฆาตกรรมปริศนา.สำ�นักพิมพ์ มา
ยิก.ทัพอักษร การพิมพ์: กรุงเทพฯ.
พูนศักดิ์ ศักดานุวัฒน์. แผนสังหารรัฐบุรุษ เบื้องหลังฆาตกรรม
สะเทือนโลก. สำ�นักพิมพ์หอสมุดกลาง 09. โรงพิมพ์เจริญกิจ: กรุงเทพฯ.
http://americancivilwar.com/south/jeffdavi.html
http://gigadeen.exteen.com/20100606/entry
http://writer.dek-d.com/cammy/story/viewlongc.php
?id=205702&chapter=202
http://www.artsmen.net/content/show.php?Category
=mythboard&No=3612

You might also like