You are on page 1of 2

การเมืองพม่าในสมัยอาณานิคมอังกฤษ

ที่มาและความสำคัญ
พม่ามีเส้นทางการค้าและมีการทำเกษตรกรรม โดยมีดินแดนติดกับอินเดียและจีน พ่อค้าจากอินเดียได้เข้าไปทำ
การค้าในประเทศ ผ่านเส้นทางการค้าของพม่า พม่าจึงได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในด้านของศาสนา
และมีราชวงศ์โก้นบอง1 ปกครองพม่าอยู่ในขณะนั้น และอำนาจสูงสุดอยูท่ ี่พระมหากษัตริย์ ในเวลาต่อมาพม่าได้ทำการยึด
ดินแดนแคว้นอัสสัมของประเทศอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานั้นอังกฤษกำลังล่าอาณานิคมอินเดียอยูเ่ ช่นกัน จึงมีความขัดแย้งกันกับ
อังกฤษ และสงครามระหว่างพม่ากับอังกฤษจึงเกิดขึ้น
สงครามพม่า - อังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปีค.ศ.1824 เป็นสงครามทีอ่ ังกฤษมีความต้องการครอบครองดินแดนของ
อินเดีย ซึ่งพม่าทำการครอบครองแค้วนอัสสัมของอินเดียอยู่ จึงทำให้เกิดปัญหาระหว่างพม่าและอังกฤษ โดยในสงครามนี้
อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ทำให้อังกฤษได้ครอบครองแคว้นอัสสัม, กะจาร์, มณีปุระ และไจอินเตีย ซึ่งสงครามในครั้งนี้สิ้นสุดลงในปี
ค.ศ.1826 โดยมีการทำสนธิสัญญารานตะโบ2 ระหว่างกัน ในสนธิสัญญาฉบับนี้ได้กล่าวว่า อังกฤษจะรวมเมืองยะไข่และตะนาว
ศรี ที่เป็นเมืองท่าที่สำคัญของพม่ามาเป็นสิทธิ์ของอังกฤษ พม่าไม่มีสิทธิ์เรียกคืนกลับได้ และต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับดินแดนทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือ
สงครามพม่า – อังกฤษครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปีค.ศ.1852 สงครามนี้เกิดจากอังกฤษต้องการเมืองพะโคและหงสาวดี
ซึ่งมีพระเจ้าแสรกแมงเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดินอยู่ ในเวลาต่อมาอังกฤษได้เรียกค่าปรับจากพม่า พร้อมมีคำสั่งให้ทำหนังสือ
ขอโทษ เหตุเนื่องจากแม่ทัพพม่าประจำเมืองพะโค กล่าวว่าคนของอังกฤษทำผิดระเบียบและเป็นฆาตรกร อังกฤษเห็นว่าการ
กล่าวหานี้เป็นการไม่ให้เกียรติกับอังกฤษ แต่พม่ากลับนิ่งเฉยในคำสั่งนี้ อังกฤษจึงเข้าโจมตีพม่า ยึดเมืองพะโค, พะสิน, หงสาวดี
, เมาะตะมะ และย่างกุ้ง ในเวลาต่อมาพระเจ้าแสรกแมงได้สวรรคต และมีพระเจ้ามินดงเป็นกษัตริย์องค์ต่อมา ในขณะนั้น
อังกฤษได้เข้าไปโจมตีเมืองมานดะเล แต่พระองค์ไม่เห็นด้วยกับการทำสงคราม จึงได้ทำการส่งบาทหลวงอิตาลีมาขอสงบศึก
อังกฤษจึงขอให้พม่ารับรองการรวมเมืองพะโค แต่พระเจ้ามินดงปฏิเสธที่จะทำสนธิสัญญาทุกฉบับไม่วา่ จะเรื่องใดก็ตาม ทำให้
สงครามหยุดลงโดยไม่มีสนธิสัญญาระหว่างกัน
สงครามพม่า - อังกฤษครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในปีค.ศ.1885 เป็นสงครามทีส่ ิ้นสุดลงโดยอังกฤษได้รวมเมืองของพม่าทั้งหมด
เป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดีย3 และมีราชวงศ์โก้นบองปกครองประเทศเป็นราชวงศ์สุดท้าย สงครามครั้งนี้เกิดจากพม่าเรียก
ค่าปรับจากอังกฤษเป็นจำนวนเงินหลายล้านรูปี อังกฤษจึงยื่นข้อเสนอ ให้พม่าลดค่าปรับ อำนวยความสะดวกในการค้ากับจีน
และให้อังกฤษควบคุมนโยบายต่างๆของพม่า แต่พม่าปฏิเสธข้อเสนอนี้ อังกฤษจึงยกทัพออกไปยังพม่าตอนเหนือ พม่าจึงมีการ
วางแผนตั้งรับในการทำสงครามกับอังกฤษ พยายามที่จะปิดทางฝั่งแม่น้ำอิรวดีแต่ไม่ทันการณ์ กองทัพอังกฤษได้เคลื่อนทัพ
มาถึงก่อน และมีการต่อต้านจากพม่าน้อย ทำให้อังกฤษเป็นฝ่ายชนะในที่สุด

1 ราชวงศ์โก้นบอง (ราชวงศ์คองบอง/ราชวงศ์อลองพญา) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ราชวงศ์สุดท้ายของพม่าก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ


2 สนธิสัญญารานตะโบ (สนธิสัญญายันดาโบ) คือ สนธิสัญญาสันติภาพที่ยุติสงครามพม่า - อังกฤษครั้งที่ 1 ถูกลงนาม ณ เมืองรานตะโบของพม่า
3 บริติชอินเดีย คือการปกครองของพระมหากษัตริย์อังกฤษในอนุทวีปอินเดีย หรือการปกครองส่วนพระองค์ในอินเดีย
กินหวุน่ มินจี4 จึงเสนอให้พม่าไปขอเจรจากับอังกฤษ แต่อังกฤษต้องการให้พม่ายอมรับทุกเงื่อนไขโดยไม่มีการปฏิเสธ เสนาบดี
พม่าจึงยอมแพ้ต่อการเจรจาในครั้งนี้ หลังจากนัน้ พระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัต ทั้งสองพระองค์ก็ถูกเนรเทศไปยังอินเดีย
อังกฤษจึงทำการรวมเมืองพม่าตอนเหนืออย่างเป็นทางการ และประกาศให้พม่าเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย

พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปีค.ศ.1886 อังกฤษปกครองพม่า โดยนับพม่าเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย


มีเมืองหลวงอยู่ที่ย่างกุ้ง เป็นอีกยุคที่เศรษฐกิจพม่าเจริญรุ่งเรือง ส่งผลให้โครงสร้างรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น รวมไปถึง
ระบบราชวงศ์ถูกล้มล้าง และมีการแยกศาสนากับการเมือง ซึ่งเดิมทีพระสงฆ์จะได้รับการสนับสนุน และได้รับการรองรับ
สถานะทางกฎหมายจากราชวงศ์ ทำให้องค์กรทางศาสนาสามารถเข้ามามีบทบาททางการเมืองได้ นอกจากนี้ อังกฤษยังเข้ามา
จัดการกับระบบการศึกษาของพม่า โดยจัดให้ระบบการศึกษาต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา รวมถึงจัดให้โรงเรียนมีการสอน
ภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งในการเรียนจะไม่มีการกล่าวถึงศาสนาและวัฒนธรรมของทางพม่า ทำให้พม่าตอนเหนือเกิดการต่อต้าน
อังกฤษขึ้นในปีค.ศ.1890 อังกฤษจึงทำการปราบปราม สั่งให้ผู้คนอพยพลงไปทางตอนใต้ของพม่า พร้อมทั้งนำผู้คนที่สนับสนุน
อังกฤษเข้ามาอยู่แทน ทำให้การต่อต้านนี้สิ้นสุดลง

4 กินหวุ่นมินจี เป็นอัครมหาเสนาบดีในช่วงรัชสมัยพระเจ้ามินดง - พระเจ้าธีบอ

You might also like