You are on page 1of 21

Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 1

Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)



An Overview of Drug Discovery and Design
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้จะเป็นภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดของวิชานี้ เดี๋ยวแต่ละหัวข้อจะมีสอนละเอียดอีกที แต่คาบนี้ก็จะ
ช่วยให้เรารู้ว่าเนื้อหาที่จะได้เรียนในคาบต่อๆไปมันอยู่ตรงจุดไหนของการค้นหาและพัฒนายาตัวหนึ่งๆออกมา ช่วยให้เห็นว่า
กระบวนการหลักๆทั้งหมดในการที่จะค้นหาและพัฒนายามันมีอะไรบ้าง และทำให้เรารู้ว่าวิชาต่างๆที่เราเรียนมาเมื่อปีก่อนหน้า
มันสัมพันธ์กับ Drug Discovery ยังไง
วัตถุประสงค์ของคาบนี้ คือ อยากให้รู้ว่ากระบวนการในการค้นหาและพัฒนายามีอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนมีข้อดีหรือ
ข้อเสียยังไง และถ้ามีข้อมูลเบื้องต้นมาของสารชนิดหนึ่งมาให้ เราควรตัดสินใจได้บ้างว่าอยากจะพัฒนามันต่อไหม หรือควรปล่อย
สารนี้ไป
กิจกรรมในคาบ: ตอบคำถามว่าการที่จะได้ยามา 1 ตัว มันต้องผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง ตั้งแต่เริ่มออกแบบ หรือค้นพบยา จนยา
ออกสู่ตลาด และให้แสดงตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัด และแต่ละขั้นตอนต้องใช้องค์ความรู้อะไรบ้างจากวิชาที่เราเคยเรียน
คำตอบจากเพื่อนๆ+อาจารย์:
1. ตั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมายของยาก่อน
โดยควรรู้ก่อนว่าจะทำยาที่เกี่ยวกับโรคไหน อาการโรคมีอะไรบ้าง (pathology) รู้กลไกหรือ pathway ที่เกี่ยวข้อง
(pharmacology) แล้วนำมาตั้งเป้าหมายว่าอยากได้ยาที่รักษาอะไร ผ่านกลไกไหนของร่างกาย
เช่น ถ้าต้องการทำยาลดความดัน อาจตั้งเป้าหมายว่าต้องการลดความดันให้ได้เท่าไหร่ แล้วอยากให้ยาใช้กลไกไหน
เพื่อที่จะลดความดัน
2. ค้นหายา
- จากสมุนไพร
- จาก Receptor Profile ในกรณีที่เรารู้โครงสร้างยาแล้ว
- กรณีที่เราไม่มีข้อมูลอะไรเลย เช่น ไม่เคยรู้โครงสร้างมาก่อน ไม่รู้ receptor รู้แต่วิธีวิเคราะห์ยา อาจลองทดสอบ
เพื่อดูผลทางคลินิก หรือเลียนแบบจากสารที่เป็น endogenous ligand หรือสารที่มีอยู่แล้วในร่างกาย (ปัจจุบัน
นิยมใช้เป็นสารโมเลกุลใหญ่ หรือพวก biomolecule ส่วนสารโมเลกุลเล็กก็มีใช้เหมือนกัน เช่น acetylcholine ที่
มีอยู่แล้วทั่วไปในร่างกาย)
- High throughput screening (HTS) หากมี database มากจะสามารถ screen ให้ได้สารออกมาได้
3. คัดเลือกสารหรือโครงสร้างที่เหมาะจะนำมาทำยา และพัฒนาโครงสร้างยาเพิ่มเติม โดยใช้
- Drug - like coupling
- เราใช้ HTS เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องสุ่มสังเคราะห์สารออกมา แต่จะใช้ database หรือข้อมูลทางสถิติในอดีตต่างๆมา
ช่วย หรือดูจากโครงสร้างว่าแบบไหนจะสามารถออกฤทธิ์ได้
- เมื่อได้สารมาส่วนหนึ่งก็อาจนำมาทดสอบฤทธิ์ทาง in vitro ผ่าน cell แล้วดูว่าตัวไหนดีที่สุด
- ดูผลทาง pharmacokinetic และ pharmacodynamics แล้วนำไปปรับปรุงโครงสร้าง เช่น พัฒนาการละลาย ดูด
ซึมยา metabolism drug interaction เป็นต้น
4. ทดลองทาง preclinical study (ทำในสัตว์ทดลอง), clinical study (ทำในคน)
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 2
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

5. พัฒนาสูตรตำรับ (formulation)
6. ขึ้นทะเบียนยา
7. ออกวางขายในตลาด

The irony of innovation


ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีต่างๆได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่าง
มาก อีกทั้ง target หรือเป้าหมายยาที่
ใช้ได้ก็มีมากขึ้นอย่างชัดเจน แต่ยอดขาย
ยาทั่วโลกกลับไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่คาดหวัง
ไว้ และยาที่ถูก FDA approved ในช่วง
ปี 2004 – 2012 กลับน้อยกว่าในช่วง
ก่อนปี 2000 หรือก็คือในช่วงปัจจุบันมี
ยาที่ขึ้นทะเบียนลดลง

เราจึงสงสัยว่าทำไมมันจึงเกิดเหตุการณ์แบบข้างบน เมื่อดูจากการทำยาใหม่ๆจะเห็นว่าจากการที่โรคในปัจจุบันมีความ
สลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และยาใหม่ๆก็มักจะทำเป็นยาโมเลกุลใหญ่ จึงอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้มียาที่ถูกขึ้นทะเบียนลดลง
ในการพัฒนายาหนึ่งตัวตั้งแต่เริ่มจนยาออกสู่ตลาดจะใช้เวลาประมาณ 10 – 15 ปี ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็สูง หากดู
ปริมาณจำนวนสารที่ยังเหลืออยู่ในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนายา จะพบว่าเริ่มต้นที่ขั้น Drug discovery จะมีจำนวนสารที่
นำมาพัฒนา 5,000 – 10,000 ตัว แต่เมื่อทำการพัฒนาไปเรื่อยๆ ผ่านขั้นตอนต่อๆไปมากขึ้น จำนวนสารที่ยังไปต่อได้ก็เริ่ม
น้อยลงๆ
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 3
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

สิ่งที่น่าสนใจคือ จากสาร 10,000 ตัว หากพัฒนาต่อไปจนเหลือใช้เป็นยาได้อยู่ 1 ตัว แล้วถ้าเราสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้น
อีก เช่น ให้ได้สารมาเป็นแสนตัว ที่จริงมันก็ยังไม่จำเป็นเสมอไปว่าเราจะได้ยาเพิ่มขึ้นอีก เพราะขึ้นอยู่ว่าสารแสนตัวนั้นมันมี
ความหลากหลายมากขนาดไหน หากแสนตัวที่ได้มามีความคล้ายกันหมด หากเจอว่าสารหนึ่งในนั้นไม่มีฤทธิ์ มันก็อาจจะไม่มี
ฤทธิ์ทั้งกลุ่มเลยก็ได้ แต่ถ้ามีความหลากหลายมาก ก็ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะได้สารมีฤทธิ์มาทำเป็นยาได้ ดังนั้นในการสังเคราะห์สาร
ความหลากหลายจึงสำคัญ โดยเราก็ต้องมาคิดอีกว่าจะสังเคราะห์ยังไงให้มันหลากหลาย
ความล้มเหลวในการพัฒนาสารหนึ่งๆ มักเจอตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนถึงการทำ preclinical study โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่
ทำให้ไม่สามารถพัฒนาสารนั้นๆเป็นยาต่อได้เกิดจากคุณสมบัติทาง pharmacokinetic ของสารนั้นๆ เนื่องจากในช่วงแรก
ของการพัฒนา เรามักทดสอบสารผ่าน cell จึงยังไม่เจอปัญหาอะไร พอศึกษามาจนถึงขั้น preclinical study ที่เริ่มทำใน
สัตว์ทดลอง เราจึงเริ่มเจอปัญหาพวกการดูดซึมต่างๆ จึงต้องหยุดพัฒนาสารนั้นๆต่อ ส่วนการพัฒนาจาก preclinical ไปจนถึง
clinical ก็ยังพบว่าจำนวนสารที่ไปต่อได้ลดลงไปเกือบ 50 เท่า เนื่องจากมีปัญหาว่าสารนั้นยังใช้ในคนไม่ได้ เนื่องจากความ
แตกต่างทางสรีระระหว่างในสัตว์กับในคน แม้สารจะใช้ในสัตว์ได้ แต่ก็อาจจะใช้ในคนไม่ได้ เช่น หนูมี CYP isoform ที่ไม่
เหมือนกับคน ดังนั้นเราจะต้องมี model ที่ดีในการ extrapolate จากผลการทดลองของสัตว์ให้ใช้กับในคนได้
ในการพัฒนายา จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ยาโมเลกุลเล็ก และยาโมเลกุลใหญ่ ซึ่งทั้งสองกลุ่มก็มีความ
แตกต่างหรือความยากในการพัฒนาที่ไม่เหมือนกัน (โดยครั้งนี้เราจะเน้นที่ยาโมเลกุลเล็ก)

Discovery of small-molecule drugs

เริ่มจากสารที่มีในธรรมชาติ โดยเริ่มใช้จาก crude ก่อน


แล้วจึงหาว่าสารสำคัญเป็นตัวไหน ต่อไปก็นำสารนั้นมา
สังเคราะห์ และพัฒนาโครงสร้างให้ออกฤทธิ์ดีขึ้น

เป็นการสังเคราะห์สารอย่างมีเหตุมีผล เนื่องจากเรามี
เป้าหมายยาที่ต้องการชัดเจน จึงมีหลักการและเหตุผล
ในการหาสารที่จะมาออกฤทธิ์ตรงเป้าหมายที่เรา
ต้องการ (ซึ่งคาบนี้เราก็จะมาโฟกัสที่เรื่องนี้กัน)
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 4
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

Creation of a new drug

หัวข้อเนื้อหาที่เราจะเรียนของวันนี้อยู่ในสไลด์นี้หมดละ slide ที่เหลือก็จะเป็นพวกรายละเอียดปลีกย่อยไป


Discovery (Therapeutic concept to molecule) เป็นการพัฒนายา
1. Therapeutic concept ต้องรู้ก่อนว่าเราจะทำยารักษาอะไร เช่น จะทำยาลดความดัน
2. Target selection ก็ต้องรู้ว่ามี target อะไรที่ยาไปออกฤทธิ์ได้ เลือก target หรือเป้าหมายยาที่เราต้องการก่อน เป็น
ขั้นตอนที่สำคัญ
3. Target validation เพื่อดูว่า target ที่เราเลือกมามันใช่ได้จริงมั้ย เพราะบางกรณีเราได้ศึกษาทาง biochem มาอย่าง
ดีว่าถ้า block ที่ pathway นี้ มันจะช่วยลดอาการนี้ๆได้ แต่พอเราลองมา validate โดยหาสารมา block จริงๆมัน
อาจจะไม่ได้ผลอย่างที่เราศึกษามาก็ได้ เราจึงต้องให้ความสำคัญและให้เวลากับขั้นตอนนี้ เพื่อไม่ให้เราลงทุนกับขั้นตอน
ถัดๆไปอย่างเสียเปล่า
4. Lead finding ทำการหาสารที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เป้าหมายยาที่เราเลือกไว้ สารที่มีฤทธิ์จะถูกเรียกว่า Lead
compound
5. Lead optimization เนื่องจาก Lead compound ที่เราได้มายังมีคุณสมบัติที่อาจจะยังไม่ดีเพียงพอ จึงทำการ
ปรับปรุงโครงสร้างให้ออกฤทธิ์ดีขึ้น มีความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ค่าทาง Pharmacokinetic รวมถึงความเป็นพิษก็
ต้องผ่านด้วย สารที่ผ่านการค้นหาและปรับปรุงมาจนถึงขั้นนี้จะเรียกว่า Candidate drug ซึ่งจะถูกนำไปศึกษาพัฒนา
ผ่านทางการวิจัยใน Preclinical และ Clinical ต่อไป
Development (Molecule to registered product)
6. Preclinical development สารที่ผ่านขั้นตอนนี้จะถูกเรียกว่า Investigational new drug (IND)
7. Clinical development สารที่ผ่านขั้นตอนนี้จะถูกเรียกว่า New drug application (NDA)
8. Regulatory approval จดทะเบียนยา (Registration)
9. Product ได้ผลิตภัณฑ์ออกมาวางขาย
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 5
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

เมื่อยาออกวางขายตามท้องตลาดแล้ว ก็ต้องมีการติดตามหลังการขาย (Post marketing) เพื่อให้มั่นใจว่ายายังมี
ประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย

รูปนี้ก็จะคล้ายกับรูปก่อนหน้า แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ เมื่อเราได้ target มาแล้ว ก่อนที่เราจะได้ Hit หรือ Lead


compound สิ่งที่สำคัญก็คือวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือ assay เพื่อดูว่าสารต่างๆเหล่านี้มันจับกับ target ได้จริง ถ้าเราได้
เป้าหมายมาแต่ไม่รู้วิธีที่จะ assay มัน ก็ถือว่าเป็น target ที่ยังไม่ดีพอ ดังนั้นเราจึงต้องรู้วิธีการ assay ของเป้าหมายเราด้วย

Drug target discovery -> Target identification & validation เกี่ยวกับการเลือก drug target

เป้าหมายยาในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นที่พวก Enzymes และ G-protein coupled receptors (GCRs)


ตัวอย่าง Enzymes ที่เป็นเป้าหมายของยา : Acetylcholine esterase, Tyrosine kinase (ในยามะเร็ง), COX-1/COX-2 (ใน
NSAIDs, -coxib) หรือพวกที่ชื่อลงท้ายด้วย -ase
ตัวอย่าง GCRs ที่เป็นเป้าหมายของยา : 5-HT3 (Serotonin receptor), GABA receptor, Muscarinic acetylcholine
receptor, Opioid receptor
การศึกษาในปัจจุบัน จาก human genome project พบว่า human genome ที่ถูกใช้เป็น target ยามีเพียง
ประมาณ 20 – 50% ของ human genome ทั้งหมด แสดงว่ายังมี target ยาอีกมากมายที่รอเรามาเจอและเอาไปพัฒนาให้ได้
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 6
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

เป็น target ยาใหม่ๆต่อไป แต่จากเทคโนโลยีในปัจจุบันจึงทำให้มักทำแต่ยาซ้ำๆ ไม่ค่อยเห็นยาที่มี target ใหม่ๆเท่าไหร่ แต่ใน
อนาคตก็น่าจะมียาใหม่ๆที่มี target ใหม่ออกมาก็ได้
ในการหา drug target หรือเป้าหมายยา หลักๆจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Target identification และ Target
validation ส่วนวิธีหลักๆในการหาเป้าหมายยาก็จะแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่
1. Molecular approach (ระดับโมเลกุล)
Target identification: ใช้พวก Genomics, Proteomics, Metabolomics หรืออื่นๆ เพื่อหาว่าเป้าหมายยาที่เป็นไปได้มี
อะไรบ้าง
Target validation: ถ้าเป็นในเซลล์จะนิยมใช้การทำ overexpression เช่น ถ้าเราต้องการศึกษา nicotinic acetylcholine
receptor เราก็จะทำให้เซลล์นั้นมัน overexpress ส่วนของ receptor นั้นเยอะๆ เพื่อที่เราจะได้ใช้เป็นตัวแทนในการทดสอบ

2. Systems approach
Target identification: ดูเป็นระบบเลย คือดูที่ตัวคนไข้หรือสัตว์ทดลอง แล้วจึงมาหาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไร
Target validation: ในสัตว์ทดลองจะใช้การ Knockout gene ออกไป เช่น ถ้าเรานำสัตว์ทดลองมา Knockout gene ของ
DPP4 ออกไป มันก็จะไม่ express gene ของ DPP4 ออกมา เราก็จะได้ model สัตว์ทดลองที่ไม่มี DPP4 เหมือนการที่
สัตว์ทดลองได้รับยา DPP4 inhibitor

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ target มันจะไม่เคยถูก validate เต็มๆ จนกว่าจะถูกนำไปใช้ในคนไข้ เพราะถึงแม้ว่าเราจะ


validate จนมั่นใจแล้วว่ามันใช้ได้ แต่ด้วยลักษณะทางสรีระวิทยาของคนไข้ก็จะแตกต่างจากคนปกติ และด้วยกลุ่มประชากรที่
ใช้ยาก็มีมากมายและแตกต่างกัน ผลทีได้รับจากการใช้ยาจึงไม่เหมือนกัน ดังนั้นการใช้ยารักษาใดๆ เราจะเห็นผลของยาจริงๆก็
ต่อเมื่อถูกใช้โดยคนไข้แล้วเท่านั้น
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 7
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

รูปหน้าที่แล้วเดี๋ยวเราจะได้เรียนกันในครั้งต่อไป คร่าวๆคือสิ่งที่เราจะใช้ในการหาเป้าหมายยาได้จะเป็นพวก
Genomics จะเป็นระดับยีน ซึ่งดูกันที่ DNA จากนั้นมันก็จะค่อยๆเกิดการ Transcriptomics เพื่อที่จะเป็นโปรตีน ส่วน
Metabolomics ก็จะเกี่ยวข้องกับการเกิด Metabolism ก็คือมันจะมีชื่อที่บอกที่มาที่ไปของแต่ละอัน

รูปนี้แค่เอามาให้ดูว่ามันใช้วิธีไหนได้บ้าง ให้เห็นภาพรวมเฉยๆ
หลังจากเราได้เป้าหมายยาแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ รู้ว่าสารที่จะออกฤทธิ์ที่เป้าหมายยาเรามันเป็นอะไรได้บ้าง
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 8
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

Hit & lead identification
Hit compound ตาม definition หมายความว่าเป็น Primary active compound หรือเป็นสารตัวแรกๆที่เรารู้ว่ามัน
active โดยสารมันจะจับกับเป้าหมายเราได้จริง ไม่ใช่การจับแบบ random ถ้าเราเรียกสารว่า Hit compound ส่วนใหญ่
สารนั้นจะมาจากการ screen ว่ามันมีฤทธิ์ แล้วได้ threshold เกินกว่าค่าที่เราตั้งไว้
Lead compound คือ สารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา แต่ฤทธิ์อาจจะยังไม่ได้ดีมาก ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาโครงสร้าง
ต่อไป โดยตัว Lead compound นี้มีที่มาได้หลายอย่าง เช่น มาจากการ search literature แล้วเจอว่ามันมีฤทธิ์ หรืออาจจะ
ผ่าน screen มาก็ได้เหมือนกัน
จะเห็นว่านิยามของสองคำนี้มีนคล้ายๆกัน บางคนเลยเรียกรวมไปเลยว่า Hit to lead compound แต่ก็เน้นว่า Hit คือ
จะผ่านการ screen มา ส่วน lead นี่คือยังไงก็ได้ ไม่เจาะจงเท่า Hit แต่คือทั้งสองคำนี้มันหมายถึงสารที่มีฤทธิ์นะ
Hit identification

พวก Hit กับ Lead compound ถึงจะเห็นว่ามันมีฤทธิ์แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้นำไปทำเป็นยาได้เลยซะทีเดียว เพราะมักจะ


เจอปัญหามากมาย เช่น DMPK (Drug Metabolism and Pharmacokinetics) ยังไม่ผ่าน IC50 ยังไม่ได้ LogP ยังไม่โอ เจอ
Drug interaction ฯลฯ จึงมีค่ามากมายที่เราต้องทดสอบก่อนที่จะไปถึงจุดสุดท้ายของการคิดค้นยาซักตัว
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 9
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

การ screen จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ Binding assay และ Functional assay
Binding assay คือจะดูการจับของสารกับเป้าหมายยาที่เราสนใจ ถ้าเราวัด response ได้ เราก็จะรู้ว่ามันจับได้ดีหรือไม่ดี
Functional assay คือดูว่าเมื่อสารจับแล้วเข้าไปในเซลล์ได้แล้ว มันก็ควรจะมีสัญญาณต่างๆเกิดขึ้น เช่น receptor ที่เป็น
ionotropic ก็คือจะมีไอออนผ่านเข้าเซลล์ ถ้าเราวัดไอออนที่ผ่านเข้าเซลล์ได้ เราก็จะรู้ได้ว่าสารมันมี response ต่อเซลล์ยังไง
บ้าง เน้นดู response ที่เกิดขึ้นในเซลล์เป็นหลัก
ในการ screen สาร ถ้ามันมีสารเยอะมาก (เหมือนที่บอกไปตอนแรกๆว่าเราเริ่มทำที่สารจำนวน 5 พันถึง 1 หมื่นสาร
เลย) ดังนั้นในการ screen เราจำเป็นจะต้อง screen สารครั้งละมากๆได้
Source
- High throughput screening (HTS) นิยมใช้อันนี้ ตอนนี้ที่คณะวิทย์ม.เรามีเครื่อง Excellent Center เป็น robot เอาไว้
screen แบบ HTS ได้
- อาจจะใช้ Computer modeling มาช่วย screen สารที่น่าจะจับกับ receptor อันนั้นออกมา
หลักการของ Hit identification คือ ต้องการสารที่เป็น right compound นอกจากสารจะจับเป้าหมายได้แล้ว ยังต้อง
เป็นสารที่ใช่ เพื่อที่จะได้พัฒนาต่อไปได้ด้วย
Lead identification

จากรูปคือ เมื่อได้ Hit มาแล้ว จะถูกเปลี่ยนมาเป็น Lead ซึ่งก็ยังต้องการการ optimize ต่อไป แต่อย่างที่บอกไปเมื่อกี้
ว่าบาง textbook ก็จะเรียกรวมว่าเป็น Hit to lead identification เลย ไม่ได้แยกย่อย
ใช้รูปประกอบเป็นรูปเดิมว่าเพื่อบอกว่ายังไงมันก็ยังคงต้องถูกพัฒนาต่อไป โดนการพัฒนาข้ามผ่านพวกนี้ไป เรียกว่า
เป็นการ optimization
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 10
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

ในการ identified เราอาจจะใช้
- Molecular modeling/ virtual screening แบ่งเป็น
Target based virtual screening รู้เป้าหมายยาที่แน่นอนแล้ว โดยอาจทำ docking ก็ได้
Ligand based virtual screening เรายังไม่มีโครงสร้างสามมิติของเป้าหมายยานั้นๆเลย ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้คือหา
pharmacophore ของมัน หรือทำ QSAR

- Combinatorial chemistry
เป็นวิธีที่ทำให้ได้สารทีละมากๆ โดยการสังเคราะห์สารของวิธีนี้จะมีความเป็นระบบระเบียบมากกว่าการสังเคราะห์ปกติ
เพราะสารเหล่านี้จะมี building blocks เช่น ถ้ามี A B C D E เค้าก็จะนำทุกตัวมา cross กัน ทำให้ได้สารจำนวนค่อนข้างมาก
และครบในการเปลี่ยนแปลงทุกหมู่ฟังก์ชั่น
ถ้าเปรียบเทียบกับแบบ random ก็จะเห็นว่าแบบ Combinatorial มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างเป็นระบบ
มากกว่า จึงทำให้ได้สารจำนวนมากกว่า แต่มันก็มีข้อเสียคือ หาก building blocks เราไม่ดี ก็อาจทำให้สารทุกตัวใน library ไม่
มี drug like property ไปเลยก็ได้ ความสามารถในการเป็นยาของทั้ง library อาจจะแย่มากไปเลย เช่น สังเคราะห์มาหมื่นสาร
อาจจะใช้ได้จริงแค่ 10 สาร ก็คือได้แต่ mass ออกมา

สไลด์นี้เราไม่ใช้นะ เพราะเนื้อหามันเป็นของพวก
โมเลกุลใหญ่ ไม่ค่อยได้ใช้ในสารโมเลกุลเล็กที่เราเน้น
เรียนกันคาบนี้
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 11
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

Hit-to-lead approaches

- Hit evolution มีโครงสร้างที่แน่นอนแล้ว จะดู SAR แล้วนำมาพัฒนา modified เฉพาะบางส่วนที่จำเป็นเท่านั้น


- (Bio)isosteric replacements
Chemical isostere คือ โครงสร้างที่แทนที่แล้วยังมีคุณสมบัติทางเคมีคงเดิม เช่น มี MW ใกล้เคียงกับของเดิม
Bioisostere คือ มีความจำเพาะเจาะจงกว่าเล็กน้อย โครงสร้างที่แทนที่แล้วจะต้องมีฤทธิ์ คล้ายเดิมอยู่
ดังนั้น ไม่ใช่ทุก target ที่จะสามารถใช้โครงสร้างตัวเดียวกันมาเป็น isostere แทนกันได้ ขึ้นกับเฉพาะ target นั้นๆ
เท่านั้น ตัวอย่างเช่น indole ring เป็น isostere กับ thiophene pyridine และ phenyl แต่การที่จะเป็น Bioisostere หรือไม่
จะต้องนำโครงสร้างไปแทนที่แล้วนำไปทดสอบฤทธิ์อีกที แต่มันก็เป็นหลักการเบื้องต้นในการไกด์ว่าเราจะสามารถเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างยังไงได้บ้าง และมีการใช้ค่อนข้างเยอะในกรณีที่สารที่เราพัฒนามามันติดปัญหาที่ pharmacokinetic เราก็สามารถ
ลองเอาหลักการนี้มาช่วยแก้ได้
- Hit fragmentation
คือ การเอาสารมาตัดแบ่งเป็นแต่ละส่วน แล้วนำมารวมกันใหม่ เรียกว่าเป็น Fragment-based techniques
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 12
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

Fragment-based techniques

Fragment expansion
นำตัวที่ตัดมาได้ไปต่อกับตัวอื่น

Fragment linking/merging
นำตัวที่ตัดมาได้มา link กันเอง

Fragment Self – assembly


มีประโยชน์ค่อนข้างมาก โดยจะมีโปรตีนที่
เราสนใจเป็น catalyst หรือตัวเร่ง แล้วโยน
ทุกตัวลงไปด้วยกัน แล้วให้มัน link กันเอง
ใน target แล้วค่อยแยกมันออกมา

Fragment Self – assembly


ทำให้ได้สารที่รู้แน่ๆว่ามันจะจับกับ target นั้น แต่จะมีประโยชน์เฉพาะกรณีที่เรารู้จริงๆว่ามันจับกันได้จริง รู้โครงสร้าง
target (โครงสร้าง receptor) และพวกมันก็ต้องอยู่ในบริเวณใกล้ๆกันทั้งหมด เพราะถ้าอยู่ห่างกันเกินไปก็ไม่สามารถสร้างพันธะ
ใหม่มาต่อกันได้

Lead optimization เพื่อให้คุณสมบัติๆของสารดีขึ้น

สิ่งที่เราต้องการ
- ปรับปรุงความแรงให้เพิ่มขึ้น
- ปรับปรุงความเฉพาะเจาะจงให้เพิ่มขึ้น
- ปรับปรุง metabolic stability ให้
เพิ่มขึ้น

ขั้นตอนต่างๆ ก็มีมากมาย เช่น


- หา pharmacophore
- ดู SAR
- Modified functional group ต่างๆ

Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 13
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

จากรูป เมื่อเราได้ Lead compound มา เราก็จะนำมาผ่านกระบวนการต่างๆทาง medchem แบบที่เราเคยเรียนกัน


มา เพื่อให้ค่าต่างๆทาง Biology (ค่าทาง pharmacodynamics), DMPK, และ Safety มันดีขึ้น เพื่อที่สุดท้ายสารจะได้เข้าสู่
Clinical Candidate ทดสอบใน preclinical กันต่อไปได้
Lead compound properties สารที่จะเป็น Lead compound ควรมีคุณสมบัติยังไงบ้าง

- ค่าทาง pharmacokinetics จะต้องดี


- Rule of 5 (Lipinski's rule of five) จะเป็นการคัดกรองว่าสารนั้นๆมีแนวโน้มว่าจะเป็นยาได้หรือไม่ โดยถ้า
เป็นไปตามนี้ก็สามารถนำมาพัฒนาเป็นยาต่อได้
• MW < 500
• Log P < 5
• H - bond donor < 5
• H - bond acceptor < 10
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 14
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นไปตามนี้เท่านั้น เพราะอย่างพวกยาโมเลกุลใหญ่ก็ไม่ผ่านซักข้อเลยแต่ก็ยังมีใช้เป็นยา
หรืออย่างสารพวก peptide ก็ตกเกณฑ์ตามนี้เช่นกัน
- Caco-2 cell monolayers จะดูการ absorption ว่าสารมันผ่านเข้าออกเซลล์ได้ดีมั้ย ถ้าผ่านได้ ก็มีแนวโน้มว่า
จะสามารถใช้ยาได้โดยไม่เกิดปัญหาอะไรในเรื่องของการ absorb
- Metabolism
- PK
- Safety profile
- Off target assays โดยถ้าสารไปจับ target สะเปะสะปะไปทั่ว (มี off – target) ก็จะมีโอกาสเกิดพิษได้มากขึ้น
ดังนั้น selectivity จึงสำคัญ และต้องทำการทดสอบด้วย
- hERG assay ระยะหลังมีการทดสอบหัวข้อนี้มากขึ้น มันเป็น K channel ตัวหนึ่ง หากไปยับยั้งจะทำให้เกิด QT
prolongation จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจมาก ยาตัวหลังๆที่ออกมาใหม่จึงแนะนำให้ทดสอบหัวข้อนี้
ไปเลยตั้งแต่แรก เพื่อที่จะได้ตัดยาตัวที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจออกไปเลยแต่เนิ่นๆ
- ความเป็นพิษต่อระดับยีนและความเป็นพิษต่อตับ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการทดลองก่อนด้วย
Drug discovery phase

รูปนี้จะเป็นภาพรวมของทั้ง drug discovery process ในส่วนแรก (Drug discovery phase) เราจะเห็นว่า จากที่เรา
ได้ target มาแล้ว เราก็จะต้องทำการ screen สารที่เตรียมไว้เป็น library ซึ่งในขั้นตอนนี้เราอาจจะใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการ screen สารให้เหลือลดลงก่อนก็ได้เช่นกัน ก่อนที่เอาไปทดสอบในเซลล์ต่างๆ เมื่อเราได้สารที่มาเป็น Lead
compound มาแล้ว เราก็ยังคงต้องพัฒนาหรือ optimize สารต่อไป โดยเรา optimize เพื่อแก้ไขปัญหา DMPK ความแรง
ความเฉพะเจาะจง เพื่อให้ได้สารที่เป็น drug candidate จะได้เข้าสู่การทดลอง preclinical หรืออื่นๆต่อไป
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 15
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

Drug Development
ขั้นตอนตอนไป คือ Drug Development มี 3 ขั้นตอน
- Preclinical development
- Clinical development
- Regulatory

ขั้น Preclinical development


ข้อมูลจากส่วนนี้ยิ่งมากก็ยิ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาใน
คน อย่างไรก็ตามสรีระก็ยังมีความแตกต่างกัน ต้องดูว่าโมเดลที่ใช้
นั้นสามารถแปรผลซึ่งกันและกันได้หรือไม่

- ทำในสัตว์ทดลอง (ต้องเลือกโมเดลที่ใช้ เช่น ทดลองยา


กระดูกพรุน เลือกหมาพันธุ์ beagle เป็นตัวแทน เพราะ
กระดูกมีความเปราะบาง แต่หลังๆ มีพวก ethic เยอะ
บางที่อาจเลือกปลามาทดลองแทน รู้สึกว่าไม่โหดร้ายไป)
- เพื่อดูความ safety หากปลอดภัยในสัตว์ทดลอง อาจ
ปลอดภัยในคน ,ดูความสัมพันธ์ PK/PD, ดู dose เวลาที่
ออกฤทธิ์
- เป็นข้อมูลสนับสนุนการทำ clinical trail โดยศึกษา
ความเป็นพิษ (ดูขนาด max dose)

ขั้นตอน Clinical development


- ทำใน pahse 1 (คนปกติไม่มี
โรค), 2 (ผู้ป่วย), 3 ในผู้ป่วนจำนวนมาก โดยจำนวน
คนจะค่อยๆเพิ่มขึ้นในแต่ละ pahse
- phase 4 ทำการติดตาม หลังจากออกสู่ตลาดแล้ว
- ยาส่วนใหญ่แล้วมาตกที่ phase 2 เรื่อง efficacy
เพราะยาไม่มีฤทธิ์ หรือ safety โดยเฉพาะผลต่อ
หัวใจ จึงมีการตรวจ hERG Assay
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 16
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

ขั้นการสร้างตำรับ

- การเลือก API มาสร้างเป็น Dosage form ต้องขึ้นกับคุณสมบัติ

- ข้อมูลที่ต้องรู้ เข้ากันได้ไหม ทนความร้อน โดนความร้อนได้ไหม จึงต้องรู้


คุณสมบัติทางเคมี ทางกายภาพ ความคงตัว สารเจือปน การเสี่อมสลาย
สารอื่น การ assay

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน
- เก็บข้อมูลต่างๆเพื่อประกอบการขึ้นทะเบียน ได้แก่ ข้อมูลด้านคุณภาพ
ข้อมูลความปลอดภัย ข้อมูลประสิทธิภาพ

การพัฒนายาโมเลกุลใหญ่
- เช่น GLP1 , ฮอร์โมน
- มักเป็นสารธรรมชาติในร่างกายเรา จึงไม่ต้องหา target
identification and validation, ไม่ต้องหา lead finding and
optimization
- ข้อจำกัด คือ เป็นรูปร่าง 3 มิติ เป็น primary secondeary, tertiary
หากเปลี่ยนแปลงอะมิโนแอซิดตัวเดียวอาจผลต่อการออกฤทธิ์และ
คุณสมบัติเปลี่ยนแปลง จึงทำให้การพัฒนาโครงสร้างยาก
- ข้อดี ลดขั้นตอนการหา lead compound มีความพิษน้อย ไม่ค่อยเกิด
reactive metabolites เพราะเป็นสารในร่างกายเรา เป็น peptide ถูก
metabolize ง่าย
- ปัญหา ต้องดูเรื่อง Yield, consistency, quality control, unstable
หากเปลี่ยนวิธีผลิตอาจได้สารหน้าตาเปลี่ยนไป คิวซีจึงต้องตรวจสอบ
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 17
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

Case study
ตัวอย่าง Januvia (sitagliptin) เป็น DPP-4 Inhibtor ช่วยเพิ่มระดับ GLP1 (ยา GLP1 ได้จากพัฒนาจากน้ำลายของ
gilamonster) โดยเริ่มแรกจะต้องดู target ของ GLP-1 ก่อน

เมื่อสาร GLP1 ในร่างกายของเราเพิ่มส่งผล ดังต่อไปนี้


- ลดความอยากอาหาร ลด Gastric emptying
- เพิ่มการหลั่ง insulin, ลดการหลั่ง Glucagon ที่ตับอ่อน
จึงคิดว่าน่าจะเป็น target ดังนั้น จึงลองฉีด GLP1 พบว่าลดระดับกลูโคสใน
เลือด และลดนน.ได้

ศึกษาการทำงานของ DPP4 จะไปตัดสายของ GLP ได้


สายDi-peptide
โดย DPP4 จะ selective ที่ตำแหน่ง 2 เป็น Alanine
หรือ Proline ในสาย GLP1

เมื่อเห็นว่า GLP1 มีประโยชน์จึงทำ


- GLP-1 mimetic แต่เมื่อเป็น peptide ต้องทำในรูปยา
ฉีดเท่านั้น บริหารไม่สะดวก จึงต้องหา DPP-4 inhibitor
ที่สามารถทำเป็นยากินได้
เมื่อได้ผลจึง validate โดยใช้หนูที่ knock out ยีนที่
express DPP-4 ออก ส่งผลให้ระดับ GLP-1 สูงขึ้น ซึ่ง
เทียบเท่ากับการให้สารโมเลกุลเล็กๆ block DPP-4 จึง
คิดว่า DPP-4 เป็นเป้าหมายยาได้ โดย DPP-4 inhibitor
เป็นสารที่จะออกฤทธิ์ได้
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 18
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

เมื่อรู้ว่าใช้ DPP-4 Inhibitor ได้ ต่อมาศึกษาดูผลข้างเคียง โดย


จะดูว่า DPP-4 ตัด Peptide ไหนได้บ้าง โดยการศึกษาทำใน
- in vitro ในเซลล์พบว่าตัดเอนไซม์ต่างๆมากมาย แต่ทำใน in vitro ไม่ได้
เกิดผลข้างเคียงใดๆ และเมื่อทำใน in vivo ก็ไม่ได้มีผลข้างเคียงอะไรใน
สัตว์ทดลอง จึงคิดว่าเป็นเป้าหมายยาต่อไป

ประวัติความเป็นมาของ DPP-4 inhibitor


- เริ่มตั้งแต่ 1999 จนในปี 2002 Novatis ได้ทำยามาคู่กัน ได้แก่
NVP-728 และ LAF237 แต่พบว่ามีไซยาไนด์ (-CN) อยู่ ซึ่งทำ
ให้ Poor pharmacokinetic จึงคิดว่าไม่น่าสนใจ จึงไม่ได้ไปสู่
Clinical phase ต่อ

-ปี 2000 มี lead identification ที่ทำในบริษัทของเค้า ที่


น่าสนใจคือ 2 chiral center 2 ตัวเป็นแบบ Diasteriomer
พบว่าฤทธิ์เท่ากัน (ความสามารถในการจับเอนไซม์
เท่ากัน) แต่พบว่ามีพิษต่างกัน จึงหยุดพัฒนา

แล้วความมีพิษต่างกันยังไงล่ะ?
พบว่าในหนูและหมาเกิดพิษต่างกันมาก
โดยหากเป็น DPP-4 selective จะไม่มีพิษ
แต่หากเป็น DPP8/9 selective พิษจะ
เพิ่มขึ้น ดังนั้นความเป็นพิษมาจากส่วน
off-target จึงต้องมี selectivity ซึ่งเป็น
ส่วนสำคัญด้วยในการพัฒนายา
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 19
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

บริษัทนี้จึงทำพัฒนายา 2 ส่วน
- ส่วนแรก คือ High throughput screening (HTS) ซึ่งใช้ระยะ
เวลานาน ดังนั้นระหว่างที่รอ จึงทำอีกส่วน โดย planว่าจะ
review สารทั้งหมดที่เคยมีคนทำอยู่และค่อยๆปรับปรุง
โครงสร้างไป เพื่อให้ได้ข้อมูลไปใช้ตอน HTS เสร็จ จึงทำคู่กันไป
โดยช่วงแรกทำแบบไม่รู้ crystals structure ก่อน พอรู้
crystal structure ก็เก็บเป็น Back up ไว้ เพื่อที่ว่าถ้าตัวนี้ fail
ยังมีตัว Back up ไว้อยู่

- Review สารทั้งหมดที่เคยมีคนทำอยู่ ได้แก่


NVP-728 มีไซยาไนด์ (-CN) อยู่ ซึ่งทำให้ Poor
pharmacokinetic และยังไปทำปฏิกิริยากับ
OH ของ Serine ใน DPP-4 จึงไม่เอา จึงทำเป็น
thiazolidine ring แม้ว่าจะมี potency แย่กว่า
แต่ไม่มี -CN จึงใช้ ring นี้เป็น lead compound

- พัฒนาลองแทนที่ –NH เพื่อเพิ่ม potency (ค่า IC50


ลดลง)
- thiazolidine ring ตำแหน่ง x เป็น S จะถูก
metabolize ง่าย จึงเปลี่ยนเป็น CH2, -CHF เพื่อทน
ต่อการถูก metabolize
- จาก series ที่ทำมาตัวที่ดีที่สุด คือ ตัวที่ 23 แต่
พบว่า ไม่ selective เกิดพิษ จึงเก็บไว้เป็นความรู้
หยุดพัฒนาตัวนี้
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 20
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

- ศึกษาดูความแตกต่าง DPP-4 และ DPP-8 พบว่า
Proline ตำแหน่ง P1 ทั้งคู่ปริมาณเท่ากัน แต่
Glutamate ตำแหน่ง P2 ของ DPP-4 มากกว่า
DPP8
- จึงลองเพิ่มหมู่ acid ตำแหน่ง 2 เพื่อเพิ่ม
selective แต่ข้อเสีย Poor PK เพราะแตกตัวง่าย
จึงดูดซึมน้อยลง

- ในขณะเดียวกันจาก HTS ได้ 2 ตัวที่น่าสนใจ ตัว


หนึ่ง B-amino acid Proline amide และ ตัวสอง B-
amino piperazine แล้วพบว่าเมื่อแทน Fluoro
substitution ฤทธิ์จะดีขึ้น ทำไมต้อง F เนื่องจาก
พื้นที่เล็กจึงเหมาะสำหรับตัวเล็กมาเติม จึงปรับปรุงได้
ฝั่งซ้าย

- B-amino acid Proline amide จึงเพิ่ม selective


ต่อโดยเพิ่ม acid แทน amide ของโครงสร้าง
หลังจากนั้นจึงเติม F และเปลี่ยน acid เป็น glycolic
ฤทธิ์ก็ดีขึ้น แต่ Poor PK จึงเอาตัวที่สอง B-amino
piperazine มาพัฒนาดีต่อดีกว่า
Drug Discovery, Design and Development (4D) กิ่ง 090 หมวย 103 21
Midterm ครั้งที่ 1 : An Overview of Drug Discovery and Design (16/08/60)

- ตัวที่สอง B-amino piperazine เปลี่ยน isomer S
เป็น R ฤทธิ์ดีขึ้น ลองปรับเปลี่ยนตำแหน่ง F เรื่อยๆ แล้ว
ลองปรับขนาดให้เล็กลง(ใหญ่เกินไปอาจไม่สามารถนำมา
ทำยา) แต่ก็ยัง Poor PK อยู่ เนื่องจากสาเหตุจาก
Piperazine ที่ถูก metabolize ง่าย จึงทำเป็น fusing 5
or 6 membered ring

- fusing 5 or 6 membered ring บน Piperazine ก็


พบว่าถูก metabolize ลดลง ทำไปเรื่อยๆ แล้วเค้าเลือก
ตัวที่ 5 เป็น Precinical candidate แต่พบพิษหัวใจ จึง
ตัดทิ้ง ลองดูตัวอื่นที่ยังใช้ได้ นั่นคือ Sitagliptin (ตัวที่ 47)
แล้วลองใส่ Phenyl ใน sitagliptin พบว่าฤทธิ์เพิ่มแต่
selective ลดลง จึงกลับไปใช้ sitaglipting เป็นตัว
พัฒนาต่อไป

- กระบวนการอื่นๆ คิดถึงการพัฒนาสารสังเคราะห์ ตำรับ


กระบวนการผลิต Preclinical และ clinical ต่อไป

You might also like