You are on page 1of 264

ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความรู้เบื้องต้น

ศิวพล ชมภูพันธุ์
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อหนังสือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : ความรู้เบื้องต้น
ผู้เขียน ศิวพล ชมภูพันธุ์
จัดทำ�โดย ศิวพล ชมภูพันธุ์
ISBN 978-616-406-576-5
ราคา 270 บาท
ออกแบบปก โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.

พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2559

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data

ศิวพล ชมภูพันธุ์
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : ความรู้เบื้องต้น.-- กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี., 2559.
264 หน้า.
1.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. I. ชื่อเรื่อง.
327
ISBN 978-616-406-576-5

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537


ห้ามลอกเลียนแบบหรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ ยกเว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

พิมพ์ท ี่ หจก. โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.


177 หมู่ 1 ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
โทร. 02-497-8491 โทรสาร. 02-497-8490
WacharinPrint.com WacharinPP@gmail.com
สารบัญ
สารบัญ

คานา
คานิยม
คาขอบคุณ
บทนา 1
บทที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎีและวิธีการศึกษา 5
บทที่ 2 ความเข้าใจพื้นฐานในการศึกษาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 39
บทที่ 3 ทฤษฎีการเมืองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 61
บทที่ 4 ทฤษฎีสัจนิยม (Realism) 85
บทที่ 5 ทฤษฎีเสรีนิยม (Liberalism) 115
บทที่ 6 ทฤษฎีมาร์กซ์ (Marxism) 147
บทที่ 7 สานักอังกฤษกับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 167
(The English School and International Relations)
บทเกริ่นนา ทฤษฎีหลังปฏิฐานนิยมในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 189
(Post-positivism in International Relations)
บทที่ 8 ทฤษฎีสรรสร้างนิยม (Constructivism) 193
บทที่ 9 ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยม (Poststructuralism) 213
บทที่ 10 ทฤษฎีสตรีนิยม (Feminism) 231
บทส่งท้าย 242
รายการหนังสืออ้างอิง 245
คำ�นำ� คำนำ

เมื่อผู้เขียนได้เริ่มต้นชีวิต “นักเรียนรัฐศาสตร์” อย่างเป็นทางการที่สานักรัฐศาสตร์


ริมน้าเจ้าพระยา ก็มีโอกาสได้เรียนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น หรือที่เราเรียก
กันว่า PO 271 กับรองศาสตราจารย์ ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ ซึ่งผู้เขียน (ในฐานะเด็กที่เลือก
เรียนสาขาการเมืองการปกครองเป็นวิชาเอก) รู้สึกประทับใจการสอนของท่านที่ปูพื้นฐานวิชา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างดีเยี่ยม และเป็นการเปิดโลกให้ผู้เขียนได้เริ่มรู้จักกับ
“ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ถึงว่าจะเป็นระดับพื้นฐานก็ตาม จากนั้ นเป็นต้นมา
ผู้เขีย นก็ เริ่มหลงเสน่ห์วิชากลุ่มนี้ในฐานะ “วิชาโท” เรื่อยมา (แม้ จะไม่เรีย นไปตามแบบ
แผนการศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยกาหนดอย่างเป็นทางการก็ตาม กล่าวคือ ผู้เขียนเลือกที่จะ
ลงเรียนเฉพาะวิชาที่ตนสนใจเท่านั้น ) แต่กระนั้น ผู้เขียนก็ยังมิได้มีโอกาสทาความรู้ จั ก กั บ
“ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” อย่างจริงจังและลึกซึ้งเสียที แต่ก็คิดไว้อยู่เสมอว่า
วันหนึ่งจะต้องทาความรู้จักมักคุ้นให้ได้ จนเมื่อผู้เขียนได้ศึกษาในระดับมหาบัณฑิตและลงมือ
ค้นคว้างานต่างๆและค้นหาทฤษฎีที่เหมาะสมกับการทาวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนก็ได้กลับมาเปิด
โลกทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกครั้งถึงแม้จะยากลาบากในระดับหนึ่ง เนื่องด้วย
เอกสารส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษที่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะในการแปลและทาความ
เข้าใจ แต่ผู้เขียนก็ถือว่าเป็นการฝึกฝนตนเองให้สมกับ “นักเรียนรัฐศาสตร์” อีกขั้นหนึ่งและ
พบว่าทฤษฎีที่เคยรู้จักอย่างผิวเผินเมื่อครั้งยังเยาว์นั้นได้เดินทางมาไกลจากที่เคยรู้จัก เป็น
อาณาจักรใหญที่น่าค้นหาและตื่นตาสาหรับผู้เขียนอย่างมาก
จาก “นักเรียนรัฐศาสตร์” ได้ก้าวมาทาหน้าที่ “ผู้บรรยายรัฐศาสตร์” ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2555 ในฐานะอาจารย์ พิ เ ศษที่ ส านั ก วิ ช าการระหว่ า งประเทศ คณะรั ฐ ศาสตร์ แ ละรั ฐ
ประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปี พ.ศ. 2557 ในฐานะอาจารย์ประจาหลักสูตร
รัฐศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้อีกทั้งภาระหน้าที่ บรรยายหลาย
วิชาแต่หนึ่งในวิชาหลักคือ “วิชาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ส่งผลให้ผู้เขียนต้อง
ค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเตรียมการบรรยายให้กับ “นักเรียนรัฐศาสตร์ ” รุ่นลูกศิษย์ การค้นคว้า
ทีม่ ากขึ้นและหนักขึ้นทาให้ผู้เขียนได้อ่านและศึกษาแนวคิด ทฤษฎีต่างๆที่น่าสนใจเป็นจานวน
มากและมีความปรารถนาให้นักเรีย นของผู้ เขียนได้มีโ อกาสเขาถึงงานเช่นนี้บ้าง หากแต่มี
อุปสรรคทางภาษาเป็นปราการสาคัญต่อการเข้าถึงความรู้ อันมหาศาลประกอบกับภาระใน
วิชาอื่นๆที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตของพวกเขา
ผู้เขียนตั้งใจเรียบเรียงและรวบรวมตารา “ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”
เล่มนี้ขึ้นมาจากเอกสารประกอบการสอนและคาบรรยายของผู้เขียนในห้องเรียน อีกทั้งยัง
ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอีกจานวนหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์ของตาราเล่มนี้คือการเป็น
“บทสารวจเบื้องต้น” (A survey) และ “บทแนะนาเบื้องต้น” (An Introduction) ของวิชานี้
ในโลกวิชาการภาษาไทยให้กั บนัก ศึก ษาระดับปริญญาตรี และผู้สนใจศึก ษาความสัมพัน ธ์
ระหว่างประเทศที่นับวันจะมีแต่การเปลี่ย นแปลงตามไปแรงเหวี่ย งของกระแสเศรษฐกิ จ
การเมือง สังคมและวัฒ นธรรมที่ แปลงรูปและปรับโฉมจากอดีตไปอย่างไม่เห็นเค้าเดิม สัก
เท่าไร
อย่างไรก็ตาม ด้วยเนื้อหาและขอบเขตของการศึกษาทฤษฎีความสั มพันธ์ระหว่าง
ประเทศนั้นมีขอบเขตที่กว้างและการพัฒนาองค์ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยัง
มีการนาเสนอแนวทาง กรอบคิดตลอดจนทฤษฎีใหม่ๆอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนจึงได้เลือก
นาเสนอทฤษฎีจานวนหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมศึกษาโดยหวังว่าจะเป็นการปูพื้นฐานและสร้างความ
เข้าใจทางทฤษฎีอันเป็นเครื่องมือนาทางสาคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน
ปัจจุบันที่มีความซับซ้อนขึ้น ตลอดจนสามารถนาแนวคิดและทฤษฎีไปประยุกต์ใช้และอธิบาย
ปรากฎการณ์ต่างๆในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในระดับโลกได้ ทั้งนี้ผู้สนใจ
ศึกษาเพิ่มเติมสามารถต่อยอดการศึกษาค้นคว้าของตนได้จากผลงานต่างๆที่ผู้เขียนได้รวบรวม
ไว้ในบรรณานุกรม
ผู้เขีย นหวังเป็นอย่า งยิ่งว่ า ตาราเล่มนี้จ ะเป็ น ประโยชน์กั บผู้ ที่ ส นใจการศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากมีคาติชมประการใด ท่านสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นกั บผู้เขีย นได้โ ดยตรงที่ siwa_ball@hotmail.com ผู้เขีย นขอน้อมรับ ไว้ เพื่ อ น าไป
ปรับปรุงแก้ไขให้ตาราเล่มนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากมีข้อผิดพลาดประการใดในตาราเล่มนี้ ผู้เขียน
ขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

ด้วยมิตรภำพและจิตคำรวะ
ศิวพล ชมภูพันธุ์
สวนดอก, ลำปำง
คืนวันส่งท้ำยปี 2558
คำ�นิยม คำนิยม

ดังที่ อาจารย์ ศิวพล ชมภูพันธุ์ ได้ระบุไว้ว่าเอกสารทางวิชาการเล่มนี้เรียบเรียง


ขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการนาเสนอ “แนวคิดและทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”
ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะสาขาวิชาเป็นหลัก โดยนาเอาแนวคิดและ
ทฤษฎีมาเป็นเครื่องมือในการอธิบาย ทาความเข้าใจ ตีความหรือทานายปรากฎการณ์ต่างๆ
การนาเสนอจะเป็นการวิพากษ์แนวคิดกระแสหลักในวงวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ที่เน้นรัฐเป็นตัวแสดงหลัก ตามมาด้วยแนวคิดและทฤษฎีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อตีความลักษณะ
ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและรัฐมิได้เป็นตัวแสดงหลักที่
สาคัญอีกต่อไป ดังนั้น ผู้เขียนจึงพยายามหาคาตอบว่า เราจะอธิบายสัมพันธ์ของการพึ่งพา
อาศัยกันทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ บรรษัทข้ามชาติ บทบาทของ
องค์การระหว่างประเทศ ประเด็นสิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียมกันทางเพศ สิทธิมนุษยชน กลุ่ม
ศาสนา การก่อการร้าย และอื่นๆ ได้อย่างไร

งานศึกษาเล่มนี้ได้พยายามตอบคาถามตามประเด็นต่างๆ ดังกล่าวจากการค้นคว้า
เอกสารและบทความภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่เนื่องด้วยเอกสารอ้างอิงที่เป็นตาราภาษาไทย
มีจานวนค่อนข้างน้อยอันสะท้อนให้เห็นว่าสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยังขาดแคลน
ผลงานใหม่ๆและนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ ที่มีความอุตสาหะ มานะบากบั่นและทุ่มเทเพื่อจัดทา
เอกสารทางวิชาการในด้านนี้ให้กับนัก ศึก ษาระดับปริญญาตรีได้ ใช้ประโยชน์ ในการปู พื้ น
ฐานความรู้ก่อนศึกษาค้ นคว้าด้วยตนเองในระดับบัณฑิตศึกษาต่อไป งานวิชาการเล่มนี้จึง
นับว่ามีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็น
อย่างยิ่ง

รศ.ดร.โกสุมภ์ สำยจันทร์

สำนักวิชำกำรระหว่ำงประเทศ คณะรัฐศำสตร์และรัฐประศำสนศำสตร์

มหำวิทยำลัยเชียงใหม่
คำขอบคุณ คำ�ขอบคุณ

ตลอดช่วงที่ผู้เขียนได้ใช้เวลาชีวิตของตนหายไปกองหนังสือและเอกสารจานวน
หนึ่งจนสามารถผลิตตาราเล่มนี้ สู่โลกได้ ผู้เขียนมีคาขอบคุณ ใครหลายคนที่มีส่วนผลักดันให้
ตาราเล่มนี้สาเร็จเป็นรูปเล่มที่เป็นแรงใจ แรงสมองต่อผู้เขียนมาโดยตลอด
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านที่ให้คาแนะนาที่เป็นประโยชน์ในการ
เขียนตาราเล่มนี้ ท่านแรก รองศำสตรำจำรย์ ดร.โกสุมภ์ สำยจันทร์ แห่งคณะรัฐศาสตร์และ
รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ครู” ของผู้เขียนและผู้ดูแลวิทยานิพนธ์ระดับ
มหาบัณฑิตที่คอยบอกผู้เขียนตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนของท่านว่า “ครูอยากเห็นบอลเขียนตารา
ครูว่าบอลทาได้” จนวันที่ให้ท่านช่วยอ่านต้นฉบับท่านก็บอกว่า “บอลทาขายเลยนะ ขายได้
แน่นอน” ความเมตตาและคาแนะนาของท่านเป็นพลัง ผลักดันที่ทาให้ตาราเล่มนี้สาเร็จ อีก
ท่านหนึ่ง คือ ผู้ช่วยศำสตรำจำรย์ ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ แห่งภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ คณะรั ฐ ศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ที่ ใ ห้ ผู้ เ ขี ย นได้ เ ข้ า พบและกรุ ณ าอ่าน
ต้นฉบับและให้คาแนะนาที่เป็นประโยชน์อย่างมากจนเกิดแรงกระตุ้นให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
และจัดระบบความคิดในการเรียบเรียงตาราให้ออกมาอย่างสมบูรณ์
ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทางวิชาการหลายท่าน อาจารย์นรุตม์ เจริญศรี ที่คอยส่ง
เอกสารหลายชิ้นและคาแนะนาที่ดีมากมาโดยตลอด อาจารย์พิชญ์อาภา พิศุทธเสรณี ที่ให้
กาลังใจผู้เขียนตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ คุณฑภิพร สุพร สาหรับบทความดีดีหลายชิ้น ขอบคุณ
กาลังใจจาก “พี่ป๋อง พี่เจมส์ พี่โอ พี่เกิ้ล พี่ตาล พี่มิ้ม พี่นนท์ พี่แตง รองโน้ต ” และอาจารย์
ผู้ร่วมงานทุกท่านในวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้เขียนคงพูดได้อย่างเต็มปาก
ว่าคงไม่สามารถพบเจอความสุข ความอุ่นใจจากการทางานเช่นนี้จากที่ใดได้อีกแล้ว อีกทั้งพี่
เหนือ พี่มิ้ม เรวัตร ที่เคยร่วมงานกับผู้เขียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สาหรับกาลังใจก้อนโต
ขอบคุณน้องๆและลูกศิษย์หลายคน อดิศักดิ์ สายประเสริฐ (อู๋) วัชรพล เพชรทรัพย์
(แบงค์ตุ้ย) ชวิศา มณีโกศล (ปุ้ย) ทักษพร แสงสนิท (ฟ้า) นารถฤดี โลจัตสาห์กุล (เตยหอม)
พัชรพร มาลา (บิวตี้) นันทวัฒน์ ใสบาล (โอ้ต) กลวัชร สง่าจิตร (เอก) ที่ช่วยจัดหาเอกสาร
ช่วยเรียบเรียงและแปลเอกสารบางส่วนซึ่งแบ่งเบาภาระไปได้มาก ขอบคุณลูกศิษย์ทั้ง “สิงห์
ขาว” มช. และ “สิงห์ไพร” แม่โจ้ที่เป็นนักเรียนที่ดีและกระตุ้นความคิดของผู้เขียนในการ
สอนอยู่เสมอ
ท้ายนี้ ขอขอบคุณบุคคลสาคัญที่สุดในชีวิตคือ “พ่อ” และ “แม่” และครอบครัว
“ชมภูพันธุ”์ ที่ปูพื้นฐานชีวิตที่แข็งแกร่งและเป็นกาลังใจอันสาคัญให้กับผู้เขียนเสมอมา
ขออุทิศทุกความดีอันเกิดจากหนังสือเล่มนี้แด่

พ่อ แม่ พี่แอน


และ
ครูบาอาจารย์ทุกท่านในชีวิต
Why is no
International Theory?

Martin Wight
บทนำ

โลกาภิวัตน์ (Globalization) กลายเป็นคาคุ้นหูและคุ้นชินในปัจจุบัน บ้างก็ตีความ


ว่ า นี่ คื อ ยุ ค สมั ย ของการเปลี่ ย นผ่ า นของโลกทั้ ง ทางด้ า นการเมื อ ง เศรษฐกิ จ สั ง คมและ
วัฒนธรรมที่โลกแต่ละส่วนล้วนเชื่อมโยงติดต่อกันด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
บ้างก็ให้นิยามว่าเป็นการกระชับแน่นระหว่างเวลากั บสถานที่ บ้างก็ให้ความหมายว่า เป็น
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนานในประวัติศาสตร์ผ่านการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน
ทั้งในระดับชุมชน ระดับรัฐ และเคลื่อนย้าย โยงใยกับรัฐอื่นๆจนเกิดปฏิสัมพันธ์ ข้ามพรมแดน
ในลักษณะที่เราเรียกว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” (International Relations) ที่มี
ส่วนก่อร่างสร้างโลกอย่างที่เรารู้จักในปัจจุบัน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคืออะไร มีความสาคัญอย่างไร หรือหากเรารับรู้และ
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้วจะเกิดประโยชน์กับเราอย่างไร คาถามเหล่านี้ล้วนมี
ค าตอบที่ แ ตกต่ า งกั น ไปตามมุ ม มองและประสบการณ์ ข องแต่ ล ะคน หลายคนคิ ด ว่ า
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องไกลตัวจากชีวิตประจาวัน มองว่าความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศเป็นเรื่องระดับสูงของผู้นาของรัฐ นักการเมือง นักการทูต ที่เป็นตัวละครสาคัญที่ทา
ให้โลกดาเนินไปอย่างที่ต้องการดังปรากฎตามสื่อ ต่างๆ การมองเช่นนี้มิได้ผิดแต่อาจทาให้เรา
มองไม่เห็นมิติอื่นๆที่กว้างออกไป แต่ถึงมองออกไปกว้างขึ้น และก้าวข้ามจากประเด็นเรื่อง
ระดับสูงแล้ว ก็อาจเกิดคาถามต่อว่า “มองกว้างและไกลออกไป แล้วเราจะได้ประโยชน์หรือ
เข้าใจอะไรจากโลกใบนี้เพิ่มเติมอย่างนั้นหรือ”
ก่อนตอบคาถามนี้ ให้ลองพิจารณาประเด็นที่ ผู้เขียนจะยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ เมื่อ
พูดถึงคาว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” แล้ว หลายคนมีภาพอยู่ในใจหลายภาพซึ่ง
แน่นอนว่า หลายคนคิดถึงภาพสงคราม การสู้รบ ความขัดแย้งหรือความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ
เช่น ภาพการก่อวินาศกรรมอาคาร World Trade Center ของสหรัฐอเมริกาในปี 2001 หรือ
9/11 ภาพเหตุการณ์สงครามสหรัฐอเมริกาและกองกาลังพันธมิตรบุกอิรักในปี 2003 รัสเซีย
ยึดครองดินแดนแหลมไครเมียของยูเครนในปี 2014 หรือภาพการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของ
เกาหลีเหนือเพื่อข่มขวัญเกาหลีใต้ หรือเรื่องใกล้ตัวประเทศไทย ดังเช่น กรณีพิพาทเรื่อ งเขต
แดนระหว่างไทยและกั ม พูช าที่เ รื้อรั งมาร่ ว มครึ่ง ศตวรรษ ในอีก มุมหนึ่ง เราจะเห็ น ภ าพ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในมิติ ของความช่วยเหลือ การเจรจา การประชุม หรือความ
ร่ ว มมื อ ก็ เ ป็ น ได้ เช่ น ภาพการเจรจาของบรรดาประเทศสมาชิ ก ในที่ ป ระชุ ม ใหญ่ แ ห่ ง

1
1
International Relations Theory: An Introduction

สหประชาชาติ การประชุมผู้นาทางด้านเศรษฐกิจชั้นนาระดับโลกหรือ G-8 ในมุมของการให้


ความช่วยเหลือจะเห็นได้จาก ภาพของการที่ นานาประเทศให้ความช่วยเหลือชาวเนปาลซึ่ง
ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี 2015 หรือภาพเหตุการณ์ที่ประเทศในยุโรปเปิดพรมแดน
เพื่อรับผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ประเทศของตน เรื่องที่กล่าวมานี้อาจจะดูเป็นข่าว
ใหญ่ที่ปรากฎตามสื่อทั่วไปและอาจมองว่า “ไกลตัว” เกินไปสาหรับเรา
ลองขยับเรื่องราวให้เข้ามาใกล้ตัว อีกสักนิดในช่วงเวลาไม่นานมานี้ เราจะพบเห็น
ความตื่นตัวของการรั บรู้ ความสัม พั นธ์ระหว่างประเทศ นั่นคือ บรรยากาศของการเข้ า สู่
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) ที่จะบูรณาการความร่วมมือระหว่าง 10 ชาติ
สมาชิกเข้าด้วยกัน อีกทั้งสถาปนา 3 เสาหลัก (3 pillars) อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและ
ความมั่นคงแห่งอาเซียน (ASEAN Political and Security Community: APSC) ประชาคม
เศรษฐกิ จ อาเซี ย น (ASEAN Economic Community: AEC) และประชาคมสั ง คมและ
วัฒนธรรมอาเซียน (ASEANSocio-cultural Community: ASCCC) ซึ่งสามเสาหลักนี้จะเป็น
เสมือนแกนกลางในการสร้างความร่ว มมือ ทั้ง ในระดับ ภู มิภ าค ระดับประเทศและระดั บ
ประชาชน อีกทั้งมิควรลืมว่าอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ
รัฐบาลเองก็พยายามกระตุ้นให้ประชาชนคนไทยเห็นความสาคัญของการรวมตัวและความ
ร่วมมือดังกล่าวที่จะส่งผลต่อระดับประชาชนด้วยไม่ว่าจะด้วยเรื่องการค้าขาย การศึกษา การ
ประกอบอาชีพ รวมทั้งความเคลื่อนไหวทางสังคมหลายประการอันเป็นผลมาจากการข้าม
พรมแดนซึ่งกันและกัน
ทีนี้ ลองนึกภาพการใช้ชีวิตประจาวันและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องและใกล้ตัวเรามาก
ขึ้น “เรา” ในฐานะที่เป็น “ประชาชน” คนไทยคนหนึ่งเป็นพนักงานของบริษัทที่มีนายทุน
จากญี่ปุ่นเป็นผู้ประกอบการ พนักงานคนไทยคนนี้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อดังของเกาหลีใต้
พอถึงมื้อกลางวันเราเดินไปรับประทานอาหารจานด่วนเจ้าดังที่เรียกกันติดปากว่า Fast Food
ซึ่ ง มี สั ญ ชาติ อ เมริ ก า ตกเย็ น กลั บ ถึ ง บ้ า น ผู้ ห ญิ ง บางคนก็ เ ฝ้ า รอดู ภ าพยนตร์ ซี รี ย์ จ าก
ต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นของอังกฤษ เกาหลีหรือไต้หวัน พนักงานชายหนุ่มหลายคนเข้าผับจิบ
เบียร์สัญชาติเยอรมันเพื่อรอดูฟุตบอลนัดสาคัญของทีมโปรดของพวกเขาจากอังกฤษหรือ
บราซิลตามแต่โอกาส พอได้เงินโบนัสประจาปี ก็อาจชวนเพื่อนๆแบกเป้ไปเที่ยวเวียดนามและ
พบเจอผู้คนหลายสัญชาติระหว่างการเดินทาง เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่อง “ใกล้” แต่ “ไกล” จาก
สิ่งที่เราคุ้นเคยในความหมาย “ระหว่างประเทศ” ที่กล่าวไปข้างต้น แต่เราไม่สามารถปฏิเสธ
เรื่อง “ระหว่างประเทศ”และ “ระดับโลก” ที่วนเวียนอยู่ในชีวิตประจาวัน

22
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ดังที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่า งประเทศเป็นเรื่องที่มีความ


หลากหลายทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับรัฐ หรือแม้แต่ระดับประชาชนอีก ทั้งมี ตัว
แสดงที่หลากหลายมากกว่าในอดีต เราจะเห็นได้ว่านอกจากรัฐแล้ว องค์การระหว่างประเทศ
บรรษัทข้ามชาติที่ผลิตสินค้าออกมจาหน่ายให้กับผู้คนในโลก กลุ่มก่ อการร้าย หรือแม้กระทั่ง
กลุ่มศาสนา ก็ล้วนแล้วแต่มีความสาคัญที่กาหนดความเป็นไปของโลกแทบทั้งสิ้น หากเปรียบ
ความสัมพันธ์ระหว่ างประเทศเป็ นภาพยนตร์ สัก เรื่องแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ย่อมมี ฉ ากที่
หลากหลายและซับซ้อนอีก ทั้งตัวแสดงจานวนมากที่มีบุคลิก ลักษณะแตกต่างกั นไป ดังนั้น
กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงมิได้เป็นเรื่องไกลตัวเราอีกต่อไปเพราะตัวเราเองก็
คือตัวละครตั ว หนึ่ง ในโลกแห่ ง ความสั ม พั นธ์ ระหว่ างประเทศ หากแต่เราเข้ าใจและรั บ รู้
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่ามันคืออะไรแล้ว การรับรู้ดังกล่าวก็มิต่างอะไรกับการอ่านข่าว
จากสื่ อ ดั ง นั้ น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศที่ ก ล่ า วไปข้ า งต้ น จึ ง เป็ น ลั ก ษณะของ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะปรากฎการณ์หรือในชีวิตประจาวันของเรา (IR as
Phenomena or IR as daily life)
คาถามประการถัดมาคือ “เราจะสามารถเข้าใจถึงที่มาหรือเหตุผลรวมทั้งอนาคต
ของเหตุการณ์ต่างๆในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างไร” การกาเนิดความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศในฐานะสาขาวิชาทางวิชาการ (IR as Academic Subject) จึงได้ถือกาเนิด
ขึ้นเพื่อทาหน้าที่ตอบคาถามนี้ รวมทั้ง อธิบายความเป็นไปในโลกโดยการอาศัย เครื่องมื อ
จานวนหนึ่งและวิธีการในการพิจารณาปรากฎการณ์ แล้วสร้างคาอธิบายเพื่อทาความเข้าใจ
ตีความหรือทานายเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งเครื่องมือดังกล่าวนั้นเป็นที่มาของการสร้างและ
ศึ ก ษา “แนวคิ ด และทฤษฎี ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ” (International Relations
Theory and Concepts) ซึ่ ง ก็ มี ห ลากหลายกั น ไปแล้ ว แต่ มุ ม มองของนั ก วิ ช าการที่ ส ร้ า ง
เครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมา
อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
และรัฐมิได้เป็นตัวแสดงหลักที่สาคัญอีกต่อไป หากยังสัมพันธ์กับการพึ่งพาอาศัยทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน ความร่วมมือข้ามชาติ บทบาทขององค์การระหว่าง
ประเทศ ประเด็นสิ่งแวดล้อม ประเด็นความเท่าเทียมกันทางเพศ กลุ่มศาสนา การก่อการร้าย
และอื่ น ๆด้ ว ยเหตุ นี้ เ อง นั ก วิ ช าการบางกลุ่ ม เริ่ ม ที่ จ ะใช้ ค าว่ า “International Studies”
“World Politics” หรื อ “Global Politics” มากกว่ า ค าดั้ ง เ ดิ ม อย่ าง International
Relations” แต่ในที่นี้ผู้เขียนยังคงใช้คาว่าความสัมพันธ์ระหว่า งประเทศเพื่อดาเนินเนื้อหา
ภายในเล่ม

33 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

เพื่อทาความเข้าใจเบื้องต้น คาว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในภาษาอังกฤษ


จะใช้คาที่แตกต่างกั นไปคือ International Relations (IR) และ international relations
(ir) ซึ่งมีนัยยะที่แตกต่างกัน กล่างคือ “ir” จะหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะ
“ปรากฎการณ์ ” (ir as phenomena) ส่ ว นค าว่ า “IR” เป็ น ความหมายในเชิ ง ที่ เ ป็ น องค์
ความรู้ (IR as Body of Knowledge) (จุลชีพ, 2557:11-14)
อนึ่ง เนื่องจากตาราเล่มนี้เรียบเรียงขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการนาเสนอ “แนวคิด
และทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ในฐานะเครื่องมือ นาทางการอธิบาย ทาความ
เข้าใจ ตีความหรือทานายปรากฎการณ์ต่างๆหนังสือเล่มนี้จึงเรียงลาดับเนื้อหา ดังนี้
บทที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎีและวิธีการศึกษา เป็นการนาเสนอ
ความเป็นมาของ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ในฐานะสาขาวิชาและองค์ความรู้ที่ได้รับ
การสถาปนาอย่างเป็นทางการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตลอดจนความหมายของแนวทาง
การศึกษาและทฤษฎี พัฒนาการของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่นาไปสู่การเกิดวิ
วาทะหรือข้อถกเถียงในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
บทที่ 2 แนวคิดพื้นฐานในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในบทนี้ผู้เขียน
ได้นาเสนอคาศัพท์ที่สาคัญเช่น รัฐ อานาจอธิปไตย สภาวะอนาธิปไตย อานาจ ระบบระหว่าง
ประเทศ ระดับและหน่วยการวิเคราะห์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทาความเข้าใจเบื้องต้นต่อการ
เข้าใจทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กล่าวคือ นักคิดในแต่กลุ่มทฤษฎีมีมุมมอง การ
ตีความหรือแม้กระทั่งการสร้างคาอธิบายต่อคาศัพท์เหล่านี้ที่แตกต่างกันไป
บทที่ 3 ทฤษฎีการเมืองของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นาเสนอแนวคิดและ
ทฤษฎี ก ารเมื อ งของนั ก คิ ด นั ก ปรั ช ญาตะวั น ตกที่ ส าคั ญ เช่ น Thucydides, Nicolo
Machiavelli, John Locke, Immanuel Kant, Karl Marx เป็นต้น แนวคิดของนักปรัชญา
ดังกล่าวล้วนมีผลต่อนักคิดในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และได้รับการหยิบยืม
เพื่อไปรากฐานทางความคิดของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแต่ละกลุ่ม
บทที่ 4 – 10 เป็นการนาเสนอทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยแบ่งเป็น
ส านั ก ตามลั ก ษณะส านั ก หรื อู ป แบบ “–ism” ในแต่ ล ะบทประกอบด้ ว ยแนวคิ ด ส าคั ญ
พัฒนาการของแนวคิด สมมติฐาน ตัวอย่างผลงานของนักวิชาการที่สาคัญในกลุ่มทฤษฎี

44
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 1 บทที่ 1
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : ทฤษฎีและวิธีการศึกษา
ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ : ทฤษฎีและวิธีกำรศึกษำ

1.1 กำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

กำรศึกษำวิชำควำมสัม พัน ธ์ร ะหว่ ำ งประเทศ (International Relations: IR)


เป็ น สาขาวิ ช าหนึ่ ง ของการศึ ก ษารั ฐศาสตร์ (Political Science) จั ด เป็ น องค์ ค วามรู้ ด้ า น
สังคมศาสตร์ (Social Science) ซึ่งเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสังคม เดิม
เรี ย กว่ า การเมื อ งระหว่ า งประเทศ ( International Politics) ต่ อ มาจึ ง เปลี่ ย นเป็ น
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งเป็นชื่อเรียกที่ครอบคลุมมิติการศึกษากว่ าการเมืองระหว่าง
ประเทศ และวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยังมีลักษณะเป็นการศึกษาแบบสหวิทยาการ
(inter-disciplinary) ที่อาศัยองค์ความรู้จากสาขาวิชาต่างๆมาประยุกต์ เช่น ประวัติศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา ภูมิศาสตร์ มาทาให้สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมี ความ
ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยังสามารถแยกการศึกษาเป็น
สาขาย่อย (subfield) หลายด้าน ได้แก่ การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics)
องค์ ก ารระหว่ า งประเทศ (International Organizations) เศรษฐกิ จ การเมื อ งระหว่ า ง
ประเทศ (International Political Economy) ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หรือการทูต (History of International Relations or Diplomatic History) หรือการศึกษา
ที่เป็นการเฉพาะเจาะจง ได้แก่ อาณาบริเวณศึกษา (Area Studies) ซึ่งอาจจะเป็นการศึกษา
ลักษณะทั้งภูมิภาคหรือรายประเทศ เช่น ยุโรปศึกษา เอเชียใต้ศึกษา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศึกษา จีนศึกษา รัสเซียศึกษา เป็นต้น หรืออาจจะเน้นศึกษาเฉพาะประเด็นที่สนใจ (Issues)
เช่น เพศสภาพ (Gender) สันติภาพและความมั่นคงศึกษา (Peace and Security Studies)
โลกาภิวัตน์ (Globalization) การพัฒนาระหว่างประเทศ(International Development)
ความรุ น แรงในระดั บ ระหว่ า งประเทศ (Violence in International Relations) สิ ท ธิ
มนุษยชน (Human Rights) หรือยุทธศาสตร์ศึกษา (Strategic Studies) เป็นต้น
การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศในฐานะสาขาวิ ช า (discipline) ทาง
สังคมศาสตร์เริ่มต้นอย่างเป็นทางการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดเมื่อ ปี ค.ศ.1919 โดย
นับการจัดตั้ง Woodrow Wilson Chair of International Politics ที่มหาวิทยาลัยอะเบอ
ริสวิท (Aberyswyth) เพื่อเป็นศูนย์ก ลางในการศึกษาหาแนวทางป้องกั นการเกิดสงคราม
และเสริมสร้างสันติภาพให้บังเกิดขึ้นในโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง องค์ความรู้
ในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ได้รับการพัฒนาและขยายพรมแดนของวิชาไปยังพื้นที่

55 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ต่างๆ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศมหาอานาจที่ไม่เพียงแค่สามารถกาหนด
ทิศทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก แต่ยังมีส่วนสาคัญในก่อร่างสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์
ต่างๆ ในส่วนของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางอเมริกาก็ถือได้ว่าเป็นสานัก
ที่ทรงอิทธิพลต่อการศึก ษาในสาขาวิชานี้ โดยให้ความสาคัญกั บ ปรากฎการณ์ทางสั ง คมที่
เกิ ด ขึ้ น จริ ง เป็ น ความรู้ ที่ ส ามารถพิ สู จ น์ ท ดลองได้ ด้ ว ยวิ ธี ก ารเชิ ง ประจั ก ษ์ แ บบอย่ า ง
วิทยาศาสตร์ ดังที่เราเรียกว่า พฤติก รรมนิย ม (behavioralism) ซึ่งเน้นการเก็ บข้อมูลและ
วิเคราะห์ข้อมูลในระดับพฤติกรรมมนุษย์โดยการตั้งสมมติฐานล่วงหน้าว่ามนุษย์มี ความเป็น
เหตุผล รัฐจึงเปรียบเสมือนมนุษย์ซึ่งย่อมแสดงบทบาทและพฤติกรรมอย่า งเป็นเหตุเป็นผล
ด้ ว ยเช่ น กั น แนวทางการศึ ก ษาแบบอเมริ ก าจึ ง เป็ น แนวทางที่ ท รงอิท ธิ พ ลต่ อ การศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในหลายพื้นที่ของโลกรวมทั้งไทยเองเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็น
แหล่งบ่มเพาะนักวิชาการไทยจานวนหนึ่งที่ไปศึกษาต่อในช่วงดังกล่าว อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อ
การจัดทาหลักสูตรรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับอุดมศึกษาของไทย
เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวลาต่อมา
อย่ า งไรก็ ดี ในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศใน
แนวทางสานักยุโรปซึ่งเป็นการศึกษาแบบดั้งเดิมก็ยังมีการศึกษาอยู่ โดยแนวทางการศึก ษา
แบบนี้มีจุดเด่นคือเน้นการมองภาพแบบองค์รวม ใช้ปัญหาจากปรากฎการณ์ทางสังคมเป็นตัว
ตั้ง การเปิดกว้างทั้งเรื่องเนื้อหาและวิธีการศึกษา ให้ความสาคัญกับความรู้ความเข้าใจทาง
ประวัติศาสตร์ ตลอดจนการประเมินค่าทางปรัชญาและจริยธรรม อีกทั้งการศึกษาในแนวทาง
นี้ ไ ม่ เ ลื อ กเน้ น ความส าคั ญ กั บ แนวคิ ด ทฤษฎี ใ ดเป็ น พิ เ ศษ บรรยากาศเช่ น นี้ เ อื้ อ ต่ อ การ
เคลื่อนไหวและพัฒนาต่อยอดแนวคิดทางวิชาการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อีกทั้ง
ยังมีการผสานศาสตร์ต่างๆเข้ากับสาขาวิชาความสัมพั นธ์ระหว่างประเทศและนาเสนอองค์
ความรู้ใหม่ๆ จะเห็นได้ว่าสภาพการศึกษาที่เน้นการมองภาพกว้างและบูรณาการความรู้ตาม
แบบสานักอังกฤษได้มีอิทธิพลต่อประเทศที่ใช้หลักสูตรของอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย จะเข้าไป
มี ส่ ว นในการพั ฒ นาองค์ ค วามรู้ ด้ า นทฤษฎี หรื อ แม้ แ ต่ ใ นแคนาดาที่ ชี้ ช วนให้ ศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการเชื่อมโยงปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทั้ง
ในระดับประเทศและระหว่ างประเทศ ส่งผลให้ เกิ ดการขยายปริมณฑลทางความรู้ เปิด
พรมแดนทางการศึกษาใหม่ๆ กล่าวคือ แทนที่จะมองเพียงมิติการเมืองหรือเศรษฐกิจ หรือยึด
ติดกับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มากจนเกินไป แต่ยังเปิดพื้นที่ ให้ประเด็นทางสังคมและ
วัฒนธรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

66
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

หากพิจารณาของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจนถึงปัจจุบันนี้ จะ
พบข้อสังเกตและการตั้งคาถามเกี่ยวกับ “ขอบเขต” (scope) และ “พรมแดนความรู้” (the
boundary of knowledge) ของวิชาว่าจะมีลักษณะและเนื้อแท้ของวิชาอยู่ตรงจุดใด ในที่นี้
ขอยกตัวอย่างทัศนคติต่อคาถามดังกล่าวของนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคน
ส าคั ญ สองคน คื อ Chris Brown และ Scott Burchill ซึ่ ง มี ผ ลงานเป็ น ต าราพื้ น ฐานทาง
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศที่ นั ก ศึ ก ษาทั่ ว โลกนิ ย มใช้ กั น อั น ได้ แ ก่ Understanding
International Relations และ Theories of International Relations ตามลาดับ
Brown (2005: 1) ได้สรุปว่า การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครอบคลุม
มิติดงั ต่อไปนี้ ได้แก่

 ควำมสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง กำรทู ต และยุ ท ธศำสตร์ ข องรั ฐ ต่ ำ งๆ (Diplomatic-strategic


relations of states)ศึกษาสงครามและสันติภาพ ความขัดแย้งและความร่วมมือ ซึ่ง
ถือเป็นแนวทางการศึกษาดั้งเดิมของสาขาวิชา
 กำรกระทำข้ำมพรมแดนทุกชนิด (Cross-border transaction of all kinds) ใน
ที่นี้หมายรวมถึงการแลกเปลี่ยนทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างรัฐ
 โลกำภิวัตน์ (Globalization) ของการติดต่อสื่อสารระดับโลก การขนส่งคมนาคม
และระบบการเงิน รวมทั้งบทบาทของบรรษัทข้ามชาติ
จากประเด็นที่ Brown เสนอในข้างต้น จะพบว่า การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศเป็น “การมองปราฎการณ์ของบางสิ่งและทุก สิ่งที่เกิ ดขึ้นทุกหนทุก แห่งในโลก”
(Daddow, 2009: 23) ส่วน Burchill (2001: 12-13) ได้นาเสนอความคิดเกี่ยวกับการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้ในบทนาของหนังสือไว้ว่า ขอบเขตการศึกษาได้ขยายตัวและ
ก้ าวข้ามไปมากกว่าการศึก ษาเพีย งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐชาติ ซึ่งสรุปได้ว่า มิติของ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมีดังนี้ คือ
 ควำมสัมพันธ์ (Relationships) ในปัจจุบันนี้ ความสัมพันธ์ในเวทีระหว่างประเทศ
มิใช่เพียงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่างๆตามการแบ่งพรมแดนอีกต่อไป หากแต่
ยังรวมถึงการพึ่งพาอาศัยทางเศรษฐกิจ (economic interdependence) หนี้สิน
ของกลุ่มประเทศโลกที่สาม (Third World debt) การค้าระหว่างประเทศและการ
ขยายตัวของบรรษัทข้ามชาติ ความไม่เท่าเทียมกันทั้งในรูปแบบของบูรณาการทาง
เศรษฐกิจและทางการเมือง

77 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

 ตัวแสดง (Actors) แต่เดิมจะให้ความสาคัญกับตัวแสดง “รัฐ” แต่ในปัจจุบัน ตัว


แสดงในเวทีโลกมีความหลากหลายและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น บรรษัทข้ามชาติ
กลุ่มนายทุน องค์การระหว่างประเทศ องค์กรที่มิใช่รัฐบาลระดับระหว่างประเทศ
( International non-governmental organizations: INGOs) ข บ ว น ก า ร
เคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (New Social Movement) ซึ่งรวมทั้งขบวนการ
เคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม และขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มสตรี นอกจากนั้นยัง
มี กลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ เช่น กลุ่มอัลกออิดะห์ อีกด้วย
 ประเด็นเชิงประจักษ์ (Empirical issues) จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน ประเด็นต่างๆ
ที่เรายังต้องทาความเข้าใจและคาอธิบายยังมีความสาคัญระดับโลก เช่น ประเด็น
โลกาภิ วั ต น์ ความไม่ เ ท่ า เที ย มกั น สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน การแทรกแซงและอ านาจ
อธิปไตย ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ปัญหาผู้ลี้ภัย ปัญหาทางด้านชาติพันธุ์
เพศสภาวะ ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มและการอนุ รั ก ษ์ โรคภั ย ไข้ เ จ็ บ รวมถึ ง การก่ อ
อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ เป็นต้น
 ป ร ะ เ ด็ น ป รั ช ญ ำ ท ำ ง สั ง ค ม ศ ำ ส ต ร์ ( Philosophical issuesof Social
Sciences) เห็นได้จากข้อขัดแย้งทางระเบียบวิธีการศึกษาของการเมืองระหว่าง
ประเทศ ข้อโต้แย้งของจุดยืนทางญาณวิทยาและจุดยืนทางภววิทยา (ในประเด็นนี้
ผู้เขียนจะนาเสนอต่อไป) สภาวะของความเป็นเหตุเป็นผลและความคิดของพรรณา
เชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการวิจารณ์ของแต่ละสานักคิด ถกเถียง
จนนาไปสู่การอธิบายในเชิงปรัชญาที่แตกต่างกัน
 ประเด็นทำงจริย ธรรม (Ethical issues) เห็นได้จ ากการศึก ษา สงครามที่เป็น
ธรรม (just war) ความถูกต้องและข้อผิดพลาดของการแทรกแซงทางมนุษยธรรม
การสนับสนุนและการต่อต้านการกระจายอานาจและความมั่งคั่งในระดั บ โลก
ภาระหน้าที่ต่อธรรมชาติทั้งต่อมวลมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ การเคารพต่อ
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสิทธิสตรีและเด็ก
 ค ว ำ ม ค ำ ด ห วั ง ใ น ค ว ำ ม เ ป็ น ส ห วิ ท ย ำ ก ำ ร ( The Prospects for
multidisciplinarity) ก าร น าเ อ าแ น ว ทาง ก าร ศึ ก ษ าแ บ บเ สรี ( liberal
approaches) และแนวทางการศึ ก ษาแบบสุ ด ขั้ ว (radical approaches) เช่ น
แนวทางมาร์กซ์มาผนวกกันเพื่อมาพัฒนาการศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่าง
ประเทศถือเป็นการเปลี่ย นผ่ านที่ส าคัญต่ อการสร้างความเป็น สหวิทยาการใน
ทศวรรษที่ 1980 และทศวรรษที่ 1990 นอกจากนั้นการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆเช่น
ทฤษฎีทางสังคมวิทยา สังคมวิทยาเชิงประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์โ ลกเข้า

88
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ด้ ว ยกั น อี ก ทั้ ง การปลดเปลื้ อ งพรมแดนความรู้ ร ะหว่ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง


ประเทศ ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรมได้ถือเป็นหมุดหมายสาคัญของการพัฒนา
องค์ความรู้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าความคิดเห็นของนักวิชาการทั้งสองท่านมีความแตกต่างกัน โดย
Brown ได้แนะนาความรู้เบื้องต้นของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยการศึกษาที่
เน้น “ภายนอก” หรือสิ่งที่เห็นได้ชัดส่วน Burchill ให้ความสาคัญกั บวิธีก ารปลดปล่อยที่
กว้างขวางมากขึ้นซึ่งนาประเด็นเชิงประจักษ์เข้าสู่กรอบคิดที่กว้างกว่า ดัง จะเห็นจากหัวข้อ
ประเด็นเชิงปรัชญา ที่ได้นามาสู่การพิจารณาด้านความรู้ทางทฤษฎีที่เราสามารถผลิตประเด็น
และตัวแสดงในระบบระหว่างประเทศได้

1.2 ญำณวิทยำ วิธีวิทยำและภววิทยำ: ปรัชญำทำงสังคมศำสตร์


ก่อนที่เราจะอธิบายและทาความเข้าใจคาว่า “ทฤษฎี” นั้น ในที่นี้ เราจึงควรทา
ความเข้าใจคาศัพท์พื้นฐานซึ่งเป็นปรั ชญาทางสังคมศาสตร์ (Philosophy of the Social
Science) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน คาศัพท์เหล่านี้มีผลต่อการสร้างทฤษฎีใหม่ๆในทาง
สังคมศาสตร์ตามแต่ละยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อภาพรวมของการศึกษารัฐศาสตร์ อัน
ได้แก่ ญำณวิทยำ (Episitemology) วิธีวิทยำ (Methodology) และภววิทยำ (Ontology)
อันเป็นสามคาถามหลักของปรัชญาซึ่งล้วนเป็นจุดยืนของการสร้างทฤษฎีบนสมมติฐาน การ
ตั้งคาถามและการมองโลกที่ต่างกัน
ญำณวิทยำ หรือ ทฤษฎีทางความรู้ (Theory of knowledge) หรืออาจจะเรียกว่า
ศาสตร์แห่งความรู้ ญาณวิทยาเป็นวิธีการศึกษาถึงที่มาและการกาเนิดของความรู้ หรืออย่าง
น้อยในสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้อยู่แล้ว กล่าวคือ “เราได้ความรู้มาอย่างไร” หากเป็นวิธีการที่เราได้
ความรู้ ม าด้ ว ยการสั ง เกต การสั ม ผั ส และการมองเห็ น เราเรี ย กว่ า ประจั ก ษ์ นิ ย ม
(empiricism) ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งของการได้มาซึ่งความรู้นั้น อาจจะเห็นภาพสะท้อนอีกมุม
ของสิ่งที่เป็นประจักษ์นิยม ซึ่งอาจจะเป็นการตีความ (interpretation)
วิธีวิทยำ (Methodology) หรือ ทฤษฎีแห่งวิธีการ ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยและ
วิเคราะห์ หรือชุดของกฎเกณฑ์สาหรับการปฏิบัติของการศึกษาว่าผู้ศึกษาจะเลือกใช้วิธีการใน
การหาความจริงอย่างไรจึงจะเหมาะสม กล่าวคือ “เราควรใช้วิธีก ารใดเพื่อ ที่จ ะได้ม าซึ่ ง
ความรู้” ซึ่งวิธีการดังกล่าว อาจจะเป็น กำรศึกษำวิจัยเชิงปริมำณ ที่ให้ความสาคัญกับข้อมูล
ทางคณิตศาสตร์ สถิติ หรือ กำรศึกษำวัยเชิงคุณภำพ ที่ให้ความสาคัญกับการลงพื้นที่ การ

99 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

สัมภาษณ์ การเปรียบเทียบกรณีศึกษา เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าวิธีวิทยานี้เป็นลักษณะของ


วิ ธี ก ารเชิ ง วิ ท ยาศาสตร์ (scientific method) ที่ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ สิ่ ง ที่ เ ราสั ง เกตได้
(observable) มองเห็นได้ (empirical) และวัดปริมาณได้ (measurable)
ภววิทยำ (Ontology) ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษากรีกว่า existence แปลว่า สิ่งที่
คงอยู่ หรือมีอยู่จริง ภววิทยา หรือบางทีเรียกอาจจะเรียกว่า “ทฤษฎีแห่งความเป็นจริง ”
เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาถึงธรรมชาติของความมีอยู่ (being) ความเป็นจริงโดยทั่วไป และ
รวมไปถึงการจัดประเภทของความมีอยู่และศึกษาถึงความสั มพันธ์ของความมีอยู่นี้ กล่าวคือ
“อะไรคือสิ่งที่เราศึกษา” และ “เราเข้าใจความจริงนั้นได้อย่างไร มีโลกความจริงที่เป็นอิสระ
จากองค์ความรู้ที่เรามีอยู่หรือไม่” หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “เรามองโลกอย่างไร” “เรา
เห็นหรือเข้าใจสิ่งรอบข้างเราอย่างไร” “อะไรคือความจริงอันเป็นที่สุด ” กล่าวโดยสรุปคือ
การตั้งคาถามกับสิ่งที่มีอยู่แล้วนั่นเอง
อีกคาหนึ่งที่ผู้ศึกษาควรทาความเข้าใจ คือ คาว่า ปฏิฐำนนิยม (Positivism) ซึ่งมี
อิทธิพลและครอบงาการสร้างทฤษฎีทางสังคมศาสตร์โดยกาหนดว่าอะไรเป็นคาถามที่ถูกต้อง
รวมทั้งการนับว่าอะไรคือรูปแบบที่มีความเที่ย งตรงในการหาข้อมูลและความรู้ (Kurki &
Wight: 2013: 15)
ปฏิฐานนิยมมีลักษณะสาคัญ คือ (Viotti & Kauppi, 2012: 3-4)

 เราสามารถแสวงหาความรู้ ใ นการศึ ก ษาสั ง คมได้ เ ช่ น เดี ย วกั บ วิ ธี ก ารศึ ก ษา


วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
 สามารถแยกความเป็นจริง (Facts) ออกจากค่านิยม (Values)
 เชื่อเรื่องความปกติและการขึ้นอย่างสม่าเสมอ (Regularities) ในเชิงสังคมว่ามี
ลักษณะเช่นเดียวกับโลกแห่งธรรมชาติ
 การให้เหตุผลเชิงประจักษ์เป็นสิ่งสาคัญของการได้ มาซึ่งความจริง (real inquiry)
หรือที่เรีย กว่า ญาณวิ ทยาเชิง ประจัก ษ์ (empirical epistemology) ความรู้ นั้ น
จะต้ อ งพิ สู จ น์ ไ ด้ (testable) ผ่ า นการตรวจสอบ (validation) และการพิ สู จ น์
ความผิด (falsification) โดยข้อมูลเชิงประจักษ์
จากความคิดเบื้องต้นทั้งสามประการนั้นถือเป็นหลักการของสร้างทฤษฎีตลอดจนการ
พัฒนาหรือ วิ พากษ์ ท ฤษฎีจ นน าไปสู่ ท ฤษฎี ใหม่ ไ ด้ ในส่วนของวิ ชาความสั ม พั น ธ์ระหว่ า ง
ประเทศนั้น เมื่อนาแนวคิดข้างต้นทั้งสามแนวคิดมาประยุกต์แล้ว เราจะพบกับคาถามในเชิง
ปรัชญาต่อการศึกษาปรากฎการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ สิ่ง

10
10
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ที่เราศึกษานั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง (คาถามเชิงภววิทยา) เราควรใช้วิธีการใดศึกษา (คาถาม


เชิงวิธีวิทยา) และเราควรศึกษาปรากฎการณ์นั้นอย่างไรหรือเราจะได้ความรู้ของสิ่งนั้นมาได้
อย่างไร (คาถามเชิงญาณวิทยา)
จากคาถามข้างต้นนาไปสู่การตอบคาถามและการสร้า งทฤษฎีบนฐานคาถาม ซึ่ง
สามารถยกตัวอย่างได้คือ ทฤษฎีสัจนิยมสร้างแนวคิดของตนบนฐานญาณวิทยาที่เชื่อเรื่องการ
แสวงหาความรู้ที่เน้นสิ่งที่จับต้อง มองเห็นได้ในเชิงวัตถุ ส่วนทฤษฎีอื่นๆ เช่น ทฤษฎีหลัง
โครงสร้างนิยม ทฤษฎีสรรสร้างนิยม หรือทฤษฎีสตรีนิยมมีจุดยืนในทางญาณวิทยาที่เห็นต่าง
ไปโดยเชื่อเรื่องของการตีความหรือการรื้อสร้างความรู้มากกว่าการเชื่อการมองเห็นในเชิงวัตถุ
ในส่วนของวิธีวิทยาเองก็มีส่วนทาให้เกิดความแตกต่างระหว่างทฤษฎีด้วย ดังจะเห็นได้จาก
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สร้างบนฐานวิธีวิทยาที่เชื่อของการพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการ
เชิงวิทยาศาสตร์ เราจะเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีปฏิฐานนิยม เช่น กลุ่มสัจนิยมและเสรีนิยม ส่วน
ทฤษฎีสร้างขึ้นบนฐานวิธีวิทยาที่ปฏิเสธวิธีการที่เชิงประจักษ์ที่ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักการ
ทางวิทยาศาสตร์ เราเรียกว่า กลุ่มทฤษฎีหลังปฏิฐานนิยม (post-positivism) และสุดท้ายใน
ส่วนของภววิทยาที่ ตั้งคาถามเรื่องการมองโลกนั้นยิ่งสร้างความแตกต่างกั นไป นักทฤษฎีมี
มุมมองในมองการเมืองโลกที่แตกต่างกันไปอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎี เสรีนิยมสร้าง
ทฤษฎีของตนบนฐานภววิทยาที่มองโลกด้วย “ความสวยงาม” ว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีจิตใจ
ดีงาม รัฐก็เป็นตัวแสดงที่สามารถร่วมมือกันได้ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มนักสัจนิยมมองโลกที่
ด้ ว ย “ความด ามื ด ” ของความเป็ น จริ ง ตามสิ่ ง ที่ เ ห็ น ส่ ง ผลต่ อ การสร้ า งทฤษฎี ที่ เ น้ น
ความสาคัญของความขัดแย้ง การแสวงหาความอยู่รอดและการได้มาซึ่งอานาจ แม้แต่ใน
สานักสัจนิยมด้วยกั นเอง การมองโลกบนฐานคิดเดีย วยังมีความแตกต่างในรายละเอีย ดที่
แตกต่างกั นไป ประเด็น ญาณวิทยา ภววิทยาและวิธีวิทยายัง น าไปสู่ก ารถกเถีย งระหว่ า ง
นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือที่เรียกว่า “วิวาทะครั้งใหญ่ 4 ยุค” (4 Great
Debates) ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า

1.3 แนวทำงกำรศึกษำและทฤษฎี
ปัญหาประการหนึ่ง ในการศึกษาสังคมศาสตร์ คือ การสับสนความหมายระหว่าง
คาว่า แนวทางการศึกษา (approaches) และทฤษฎี (theory) ผู้เริ่มต้นศึกษามักจะตีความว่า
คาทั้งสองคานี้มีความหมายที่คล้ายกันหรือในบางรายอาจจะถือว่าเป็นคาเดียวกัน ซึ่งในที่นี้
จะขอชี้ให้เห็นความแตกต่างเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
แนวทำงกำรศึกษำ (approaches) คือ กรอบเค้าโครงความคิ ด (conceptual
framework) อย่างกว้างๆซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการอธิบายสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปแล้วแนวทาง

11
11 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

การศึกษาถือเป็น “ถนน” หรือ “เส้นทาง” ของผู้ศึกษาที่จะเข้าไปศึกษาเรื่องราวต่างๆใน


ลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อที่ผู้ศึกษาจะสามารถเลือกใช้กรอบคิด (concepts)
หรือเลือกตั้งสมมติฐาน (hypothesis) และความคิดต่อเรื่องราวต่างๆ
ทฤษฎี (Theory) เป็ น ค าที่ มี ร ากศั พ ท์ จ ากภาษากรี ก โบราณคื อ “theoria”มี
ความหมายว่า “การมอง การเพ่งพิจารณา หรือ การเห็น ” หรืออาจจะมีความหมายว่า การ
พยายามพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงนักวิชาการจานวนมากให้นิย าม
ความหมายของทฤษฎี ที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไป แต่ ก ล่ า วโดยรวมแล้ ว ทฤษฎี คื อ ข้ อ สรุ ป
(Generalization) หรือ คาอธิบายของปรากฎการณ์บางประการที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนและ
สร้างเป็นชุดคาอธิบายต่อความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งทฤษฎีแต่ละทฤษฎีนั้นไม่
จาเป็นที่จะต้องได้รั บการยอมรับจากทุกคนเสมอไป ทฤษฎีที่ทรงพลังหลายทฤษฎีสามารถ
สร้างอิทธิพลต่อนักวิชาการจานวนมากได้เป็นเวลานานก่อนที่จะมีแนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ๆเข้า
มาท้าทาย ในแง่นี้ ทฤษฎีจึงมีรายละเอียดแห่งข้อความสาหรับการอธิบาย พรรณนามากกว่า
แนวทางในการวิเคราะห์นั่นเอง
ความสาคัญของทฤษฎีต่อการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ (วุฒิศักดิ์, 2529: 17)
1) ทฤษฎีเป็นข้อความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นข้อความ
อย่ า งกว้ า งๆ ในเชิ ง นามธรรม แต่ ใ นบางกรณี ทฤษฎี อ าจจะมี คุ ณ สมบั ติ ข องความเป็ น
กฎเกณฑ์ในตัวด้วย
2) ทฤษฎีเป็นข้อความที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของข้อความอันพาดพิง
ไปถึงปรากฎการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงบางประเภท
3) ทฤษฎีมุ่งจะอธิบายหรือสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโลกแห่งความเป็นจริง โดย
อาศัยการสังเกต การตีความ และการทดสอบ ซึ่งถ้าหากทฤษฎีนั้นๆมไม่สามารถที่จะนามาซึ่ง
ความรู้ ความเข้าใจหรือคาอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับ ทฤษฎีนั้นๆควรได้รับการปรับปรุง
และทดสอบใหม่
4) ทฤษฎีต้องเป็นข้อความที่มีความเป็นเหตุเป็นผลอย่างชัดเจน สามารถจะแจก
แจงให้เห็นได้อย่างเด่นชัดว่าอะไรเป็นเหตุที่นาไปสู่ผลอะไร

12
12
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ขอให้พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอานาจที่แสนยานุภาพทั้งทาง
เศรษฐกิจและการทหารมาตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ตัวอย่างที่ 2 ความเป็นมหาอานาจของแต่ละรัฐจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องพิจารณาว่ารัฐ
นั้นมีการสะสมอานาจทางเศรษฐกิจและการทหาร อีกทั้งพิจารณาว่ารัฐนั้นมีการกระจาย
อานาจมากน้อยเพียงใดในระบบระหว่างประเทศ
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ตัวอย่างที่หนึ่ง ไม่เข้าข่ายของข้อความที่ เ ป็ น
ทฤษฎี เนื่องด้วย มีการระบุเฉพาะเจาะจงไปที่ประเทศสหรัฐอเมริก าเท่านั้นและไม่มีลักษณะ
ของความเป็นข้อความทั่วไป ข้อความที่เป็นทฤษฎีจะไม่มีการรระบุเฉพาะเจาะจงชื่อบุคคล
สถานที่ หรือเฉพาะเจาะจงลงไปในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือตัวอย่างที่ 1 เป็น
การบอกข้อเท็จจริง (fact)
ส่วนข้อความในตัวอย่างที่สองนั้น เป็นลักษณะข้ อความทั่วไปที่เป็นสมมติฐานซึ่ง
นาไปทดสอบความเป็นจริงได้ ซึ่งในโลกความจริงจะเป็นอย่างไรนั้นจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับ
การนาทฤษฎีนี้ไปวิเคราะห์ ทดสอบอย่างเป็นระบบ เช่น เราอาจจะนาทฤษฎีนี้ไปทดสอบกับ
ประเทศจีน ประเทศมาเลเซียหรือประเทศไทยก็ได้
วัตถุประสงค์ของทฤษฎี
1) เพื่อพรรณนา (describe) ว่าสิ่งนั้นคืออะไร หรือมีลักษณะอย่างไร
2) เพื่ออธิบาย (explain) เพื่ออธิบายเหตุผล หาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
3) เพื่อวิเคราะห์ (analyse) หรือประเมินผล (evaluate) เพื่อแยกแยะว่าสิ่งที่
เกิดขึ้นดีหรือไม่ มีความถูกต้องหรือไม่เพียงใด
4) เพื่อเสนอแนะ (prescribe) ว่าสิ่งนั้นควรเป็นอย่างไร เพื่อตั้งข้อเสนอและแนว
ทางการปฏิบัติ
5) เพื่อทานาย (predict) เหตุการณ์ในอนาคต
ในปัจจุบัน ทฤษฎียังมีหน้าที่นอกเหนือจากทั้ง 5 ข้อจากที่กล่าวมา โดยอาจทา
หน้าทีอ่ ีกประการคือ การทาความเข้าใจเชิงตีความ (interpretive understanding) ก็เป็นได้
(Viotti & Kauppi, 2012: 14-15) โดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่า ทฤษฎีมีวัตุประสงค์ที่สาคัญคือ
เป็นแนวทางในการคิดค้นและหาความหมายเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หาก
ไม่มีทฤษฎีแล้ว เราอาจจะประสบกับความยากลาบากกั บจานวนข้ อมูลที่เรามีอยู่ โดยเรา
อาจจะตีความ จัดระเบียบข้อมูลได้ยากขึ้น หรือเชื่อมโยงข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง

13
13 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

Robert Jackson และ George Sorensen (2013) ได้อธิบายลักษณะของทฤษฏี


ที่ดีไว้ดังนี้
1) มีความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งต่างๆ (coherence) ทฤษฎีต้องมีความแน่นอน
คงเส้นคงวา ปราศจากข้อขัดแย้งภายในทฤษฎีเอง
2) มีความชัดเจนในการอธิบาย (clarity of exposition)
3) ปราศจากอคติ (unbiased) ทฤษฎีไม่ควรมีก ารก าหนดคุณ ค่าของสิ่ง ต่ างๆ
ตามใจนัก ทฤษฎีเอง ทั้งที่ในความเป็ นจริงแล้ ว ไม่มีทฤษฎีใดที่ ปราศจาก
ค่ า นิ ย ม แต่ ท ฤษฎี นั้ น ต้ อ งเปิ ด เผยค่ า นิ ย มและสมมติ ฐ านในเชิ ง ปทั สถาน
(normative)
4) มีขอบเขต (scope) ทฤษฎีต้องสามารถอธิบายประเด็นต่างๆโดยไม่มีก าร
เจาะจงกรณีศึกษาใดเป็นการโดยเฉพาะ
5) มีความลึกซึ้ง (depth) ต้องเข้าใจปรากฎการณ์ที่ศึกษาได้ทุกแง่มุม
หากพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะศาสตร์หนึ่งของสังคมศาสตร์
และพิจารณาความหมายและลักษณะ “ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” แล้วจะพบว่า
คาดังกล่าวเป็น “การแสวงหาคาตอบและวิธีการในการอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมือง
ระหว่างประเทศ” หรือ “ข้อความซึ่งแสดงความสมเหตุสมผลเพื่อสะท้อนภาพเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นในโลกแห่งความจริง ” ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อ ทราบว่าเกิดเหตุก ารณ์
อะไรขึ้น เหตุก ารณ์นั้น เป็ นอย่ างไร มีสาเหตุและผลกระทบอย่า งไร ตลอดจนทานายว่ า
เหตุการณ์นั้นจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต นอกจากนั้นทฤษฎียังช่วยให้เราคิดอย่างเป็น
ระบบและช่วยหาคาตอบจากปรากฎการณ์ที่เราศึกษารวมทั้งทฤษฎีบางกลุ่มยังเป็นทฤษฎีเชิง
ทาความเข้าใจหรือตีความปรากฎการณ์ได้ด้วย ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในลาดับต่อไป

14
14
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

1.4 แนวทำงกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศกับกำรสร้ำงทฤษฎี
ปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งของผู้ท่ีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือการมี
เครื่องมือจานวนมากแต่ ไม่สามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าเครื่องมือใดถูกต้องหรือแม่นยาที่สุด
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ เราจะเริ่มต้นอธิบายเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างไร เช่น การอธิบาย
เหตุการณ์การก่อวินาศกรรม 9/11 วิกฤตการณ์อิรักในปี 2003 วิกฤตการณ์ทางการเงินของ
โลกที่ พึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ต่ า งกรรมต่ า งวาระ ความล้ ม เหลวของการเจรจาในวิ ก ฤตการณ์ ก าร
เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกในหลายๆรอบการประชุม เพราะเหตุใดประธานาธิบดีบารัก โอ
บามายังดาเนินนโยบายสงครามในอัฟกานิสถานต่อในปี 2010 จีนจะเป็นมหาอานาจโลก
แทนที่สหรัฐอเมริกาในอนาคตได้หรือไม่ เพราะเหตุใดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในบรรดา
ประเทศทุนนิยมจึงตามมาด้วยการพังทลายของระบบการเงินในโลก รวมทั้งอะไรคือสาเหตุ
เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมกลางกรุงปารีสในฝรั่งเศส ปี 2015
คาถามข้างต้นมีแนวทางการตอบที่หลากหลาย ดังนั้น ทฤษฎีจึงเป็นเครื่องมือที่
ส าคั ญ ในการตอบค าถามดั ง กล่ า ว โดยหลั ก การแล้ ว ทฤษฎี มิ ใ ช่ รู ป แบบทางการต่ อ ข้ อ
สันนิษฐานและสมมติฐานที่ตรงไปตรงมา ในทางตรงกันข้าม ทฤษฎีเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่ง
ที่ทาให้ประเด็นต่างๆดูง่ายขึ้นในมุมมองที่แตกต่างกันไป ดังคาที่ว่า “โลกมิได้มีความแตกต่าง
แต่การมองโลกมีความแตกต่าง” (Baylis, 2011: 3) หากจะเปรียบแล้วทฤษฎีจึงเสมือนเลนส์
หลากสีที่ใช้มองโลก ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้จะเลือกใช้เลนส์สีอะไรมองเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะใน
อดีต มองปัจจุบัน หรือทานายอนาคตก็ตาม ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะเห็นคาว่า ทฤษฎี มีการ
เรี ย กแตกต่ า งกั น ไปในหลายค าในวรรณกรรมทางด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ
โดยเฉพาะโลกตะวันตก เช่น กระบวนทัศน์ (paradigm) มุมมอง (perspectives) วาทกรรม
(discourses) ส านั ก คิ ด (school of thought) ภาพลั ก ษณ์ (images) และ แนวปฎิ บั ติ
(traditions) (Burshill & Linklater, 2005: 11)
หากพิจารณาเส้นทางของการพัฒนาทฤษฎีในฐานะกรอบความคิด กรอบการสร้าง
คาอธิบาย รวมทั้งการคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆแล้ว ความพยายามดังกล่าวนั้นมีส่วนสาคัญ
ต่ อ การก าหนดกรอบความคิ ด ในการมอง การเข้ า ใจและการเลื อ กก าหนดมาตรการใด
มาตราการหนึ่งในการดาเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามกรอบของชุดคาอธิบาย ด้ วย
มุมมองทีแ่ ตกต่างกันนี้ส่งผลให้การสร้างทฤษฎีที่มีความหลากหลายด้วยเช่นกัน นักวิชาการรุ่น
บุ ก เบิ ก ของสาขาวิ ช าความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศในสหรั ฐ อเมริ ก า อย่ า งเช่ น Han
J.Morgenthau, Arnold Wolfers, Reinhold Niebuhr และ Magaret Sprout ได้ แ สดง
ทัศนะที่สอดคล้องกันว่า การแสวงหาความรู้ด้วยการศึกษาและพัฒนาทฤษฎีความสัมพันธ์

15
15 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ระหว่างประเทศมิใช่การแสวงหาความรู้ที่บริสุทธิ์ แต่มีเป้าหมายของความรู้เพื่อประโยชน์ใน
การปฏิบัติ และมีนัยสัมพันธ์โดยตรงต่อการปฏิบัติ แต่สาหรับนักวิชาการเหล่านี้ ความรู้ที่เป็น
ประโยชน์และมีนัยสัมพันธ์โดยตรงต่อการปฏิบัตินั้นมีความหมายที่กว้างกว่าการตอบสนอง
นโยบายของรัฐ หากยังรวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์และการเสนอทางเลือกใหม่ด้วย
Morgenthau ผู้ที่เปรียบเสมือนเป็น “เจ้าพ่อ” แห่งวงการการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ ได้เสนอว่าทฤษฎีและความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ร ะหว่างประเทศกับโลก
ความเป็นจริงของภาคปฏิบัติใน 4 บทบาทด้วยกันคือ
1) ทาหน้าที่ให้ความชอบธรรมสนับสนุนการดาเนินนโยบายของรัฐ
2) ทาหน้าที่ให้หลักคิดอย่างเป็นระบบต่อการพิจารณาการตัดสินใจและดาเนิน
นโยบายที่เหมาะสมในการเมืองระหว่างประเทศ
3) ทาหน้าที่วิพากษ์เพื่อกระตุ้นมโนทัศน์สานึก ดังเช่นคากล่าวที่ว่าให้ “speaking
truth to power” เมื่อการดาเนินการต่างประเทศของรัฐเบี่ยงเบนออกจาก
แนวทางที่ควรจะเป็น
4) ทาหน้าที่คิดค้นเพื่อนาเสนออุดมคติที่เป็นทางเลือกใหม่สาหรับการจัดระเบียบ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่พ้นไปจากระบบรัฐชาติ ซึ่งนับวันจะล้าสมัย และ
เป็นตัวการสร้างปัญหามากกว่าที่จะสามารถจัดการกับปัญหาความรุนแรงและ
ความมั่นคงในสังคมระหว่างประเทศได้
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า บทบาทที่ 1 และ 2 เป็นบทบาทของทฤษฎีในเชิงการรับใช้
อานาจโดยตรง โดยบทบาทที่ 1 ดูมีความเป็นเหตุเป็นผลมากกว่า ในขณะที่บทบาทที่ 2 เป็น
เครื่องมือให้หลักเหตุผลแก่ฝ่ายที่มีอานาจในการตัดสินใจได้เลือกวิธีการที่เหมาะสมเพื่อการ
บรรลุเป้าหมาย ส่วนบทบาทที่ 3 และ 4 เป็นบทบาทที่ความรู้ถูกนาไปใช้ในการวินิจฉัยในเชิง
ศีลธรรม เพื่อวิจารณ์อานาจและการใช้อานาจที่เป็ นอยู่ พร้อมไปกับการนาเสนอไม่เพียงแต่
ทางเลือกของวิธีการ แต่รวมไปถึงทางเลือกเป้าหมายที่ควรจะเป็น
นอกจากบทบาทของความรู้เชิงประยุกต์ทั้ง 4 ด้านข้างต้นแล้ว นักวิชาการด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรุ่ นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มกระแสวิพากษ์ ยังเสนอให้ผู้ศึกษา
ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศพิจ ารณาชุดความรู้ของสาขาวิชาในฐานะที่เ ป็น ความรู้ เ ชิ ง
ประยุกต์ที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติว่าเป็น

16
16
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

5) ระบอบความจริงที่มีก ารสร้าง นาเสนอ แพร่กระจาย และผลิตซ้าซึ่งเป็น ส่ วนที่


สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นวงจรกับระบบอานาจ ที่ต่าง
ผลิค หล่อเลี้ยง และรักษากันและกันไว้
หากพิจารณาบทบาทข้อ 5 แล้วจะทาให้เห็นได้ว่า เป็นเรื่องยากที่เราจะแยกความรู้
ความจริง ออกจากสิ่งที่เป็นอุดมการณ์และในทางหนึ่งคือ การเรียกร้องให้มีการวิพากษ์ความรู้
ชุดต่างๆว่ารองรับหรือให้ค วามชอบธรรมแก่ อานาจทางการเมืองของใครหรือโครงสร้ า ง
อานาจแบบใด (ศุภมิตร, 2553: 97-99)
ไม่ว่าทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมีบทบาทเช่นใดก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ได้
มีการพัฒนาแนวคิดและทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นเป็นจานวนมากเพื่อใช้อธิบาย
เหตุการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในมิติต่างๆ และบางสานักก็ยังมีการพัฒนากรอบ
คิ ด ของตนให้ มี ค วามเฉี ย บคมยิ่ ง ขึ้ น มี ก ารจั ด กลุ่ ม และประเภทของทฤษฎี ไ ว้ ห ลากหลาย
Dougherty และ Pfaltzgraff (1990) ได้จัดกลุ่มทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศออกเป็น
2 กลุ่ ม คื อ ทฤษฎี ร ะดั บ ใหญ่ (Grand Theory) และทฤษฎี ร ะดั บ กลาง (Middle-range
Theory) โดยทฤษฎี ร ะดั บ ใหญ่ มั ก จะเป็ น ทฤษฎี ที่ น าเสนอแนวคิ ด ที่ ส ร้ า งค าอธิ บ าย
ปรากฎการณ์ต่างๆ อย่างกว้างๆ ยกตัวอย่างเช่น
1) กลุ่ ม ทฤษฎี สั จ นิ ย ม หรื อ การศึ ก ษาเรื่ อ งอ านาจของ Hans Morgenthau,
Raymond Aron, Henry Kissinger หรื อ ทฤษฎี สั จ นิ ย มใหม่ (สั จ นิ ย มเชิ ง
โครงสร้าง) ของ Kenneth Waltz, Kinderman และ Mearshimer
2) กลุ่มทฤษฎีระบบของ Mortan Kaplan และ Richard Rosecrance
3) กลุ่มทฤษฎีและแนวคิดของ Quincy Wright และ Rudolf Rummel
4) กลุ่มทฤษฎีเสรีนิยม
5) กลุ่มทฤษฎีมาร์กซิสใหม่ เช่น ทฤษฎีพึ่งพิงของกลุ่มนักวิชาการประเทศโลกที่
สามและทฤษฎีระบบโลกสมัยใหม่ของ Immanuel Wallerstein
ในส่วนของทฤษฎีระดั บกลางนั้ นจะศึก ษาปรากฎการณ์บ างอย่าง ด้วยตัวแปร
(variable) บางอย่างที่เจาะจงลงไป ยกตัวอย่างเช่น
1) การนาปัจจัยและอิทธิพลทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมมาประยุกต์ เช่น
ง า น ข อ ง Alfred Mahan, Halford Mackinder, Nicholas Spykman,
Harold และ Magaret Sprout เป็นต้น
2) รู ป แบบของการสื่ อ สารและการก่ อ ตั ว ของชุ ม ชน เช่ น ผลงานของ Karl
Deutsch

17
17 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

3) โครงสร้ า งและบู ร ณาการ เช่ น ผลงานของ David Mitrany, Ernst Hass,


Leon Lindberg และ Joseph Nye เป็นต้น
4) ทฤษฎี ก ารป้ อ งปราม (deterrence) เช่ น ผลงานของ Bernard Brodie,
Herman Khan, Robert Jervis, Glenn Synder และ Paul Diesing
5) การพัฒนาระหว่างประเทศและความขัดแย้ง เช่น ผลงานของ Nazi Choucri
และ Robert North เป็นต้น
6) ความสัม พั นธ์ ร่ วมกั นแห่ง สงคราม เช่น ผลงานของ J.David Singer และ
Melvin Small
7) พฤติ ก รรมของพั น ธมิ ต ร เช่ น ผลงานของ William Riker และ Stephen
Walt
8) พฤติ ก รรมการเจรจาต่ อ รอง เช่ น ผลงานของ Thomas Schelling และ
Anatol Rapaport
9) การตั ด สิ น ใจ เช่ น ผลงานของ Richard Snyder,Graham Allison และ
Glenn Paige
นอกจากนั้นยังมีก ารจัดประเภททฤษฎีใ นรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ (Kurki & Wight,
2013: 27-33; Daddow, 2009: 57-60; Burchill & Linklater, 2005: 15-17)
ทฤษฎี เ ชิ ง อธิ บ ำย (explanatory theory) เป็ น ทฤษฎี ที่ พ ยายามจะอธิ บ าย
เหตุการณ์ต่างๆตามลาดับเวลา ยกตัวอย่างเช่น การอธิบายความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับ
ปากี สถานก็ มัก จะกล่าวถึงล าดั บเหตุก ารณ์ ที่ เกิ ดขึ้ นต่อ เนื่องกั นจนนาไปสู่ ค วามขั ด แย้ ง ที่
ต้องการศึก ษา แต่ทฤษฎีเชิงการอธิบายบางทฤษฎีก็ จ ะไม่สนใจการลาดับเหตุก ารณ์ ห รื อ
เชื่อมโยงสาเหตุผลลัพธ์ แต่จะหาปัจจัย พื้นฐานในการอธิบายปรากฎการณ์ หาข้อสรุปและ
คาดการณ์ ใ นอนาคต ทฤษฎี เ ชิ ง อธิ บ ายสามารถเรี ย กอี ก อย่ า งว่ า ทฤษฎี ที่ มุ่ ง แก้ ปั ญ หา
(problem-solving theory) ซึ่งเป็นการยอมรับในโลกที่ มีอยู่แล้ว (given) และพยายามที่จะ
ทาความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดมันถึงเป็นเช่นนั้น สนใจว่าโลกว่าจะทาให้โลกดีขึ้นภายใต้กรอบ
ที่ชัดและจากัด
ทฤษฎีเชิงวิพำกษ์ (critical theory) มีลักษณะตรงกันข้ามกับทฤษฎีเชิง อธิบาย
โดยสิ้นเชิง โดยมีสาระสาคัญคือ ทฤษฎีกลุ่มนี้จะวิพากษ์การจัดระเบียบในสังคมและ(หรือ)
ผลลัพธ์นั้นๆ ดังนั้น การวิพากษ์จึงเป็นความพยายามที่จะค้นหาและวิพากษ์เหตุก ารณ์ ใน
สังคมและแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ทฤษฎีวิพากษ์มีฐานการวิเคราะห์ที่
ตั้งอยู่บนการวิเคราะห์ปัจจัยที่นามาสู่สภาพความสัมพันธ์ที่ไม่ เท่าเทียม ในแง่มุมนี้ มันไม่มี

18
18
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ความขัดแย้งกันระหว่างการชี้ให้เห็นถึงสภาพที่ไม่ยุติธรรมและการพิจารณาสาเหตุที่ก่อให้เกิด
สภาพดังกล่าว ทฤษฎีวิพากษ์จึงเป็นทั้งการอธิบายและการวิพากษ์ได้
ทฤษฎีเชิงปทัสถำน (normative theory) เป็นกลุ่มทฤษฎีที่สนใจในสิ่งที่ควรจะ
เป็น (what ought to be) ซึ่งในกลุ่มนี้สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ ทฤษฎีเชิงปทัสถาน
แบบอ่อนและทฤษฎีเชิงปทัสถานแบบแข็ง ในกรณีกลุ่มทฤษฎีเชิงปทัสถานแบบอ่อนก็จะ
สนใจสิ่งที่ควรจะเป็นเฉพาะด้านเช่น ทฤษฎีความยุติธรรมจะตอบเรื่องความยุติธรรมคืออะไร
และความยุติธรรมควรจะเป็นแบบใด ส่วนกลุ่มทฤษฎีเชิงปทัสถานแบบแข็ง จะสนใจการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคมในวงกว้าง หรือการจัดระเบียบสังคมแบบใหม่
ทฤษฎีเชิงประกอบสร้ำง (constitutive theory)เป็นกลุ่มทฤษฎีที่ตั้งคาถามว่า
วัตถุต่างๆในสังคมมีส่วนประกอบอะไรและก่อตัวขึ้นมาได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น การตั้ง
คาถามว่าด้วยรัฐ ว่ารัฐคืออะไร รัฐประกอบด้วยอะไร รัฐมีหน้าที่อย่างไรต่อสังคม โดยรวม
แล้ ว ทฤษฎี ใ นกลุ่ ม นี้ ม องว่ า กฎ กติ ก า บรรทั ด ฐาน ความคิ ด หรื อ แม้ แ ต่ โ ลกทางสั งคมถูก
ประกอบสร้ า งขึ้ น ผ่ า นกระแสแนวคิ ด และทฤษฎี ต่ า งๆที่ เ รามี อ ยู่ ส าหรั บ ทฤษฎี ก ลุ่ ม นี้
ความสาคัญในการสร้างทฤษฎีเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างทฤษฎี
ถึ ง แม้ จ ะมี ก ารแบ่ ง ทฤษฎี อ อกเป็ น หลายรู ป แบบ แต่ ใ นที่ นี้ ผู้ เ ขี ย นจะขอเลื อ ก
นาเสนอทฤษฎีในหนังสือเล่มนี้ในรูปแบบของสานักแนวคิดหรือรูปแบบ “-ism” ดังนั้นเพื่อให้
เห็นภาพโดยรวม ผู้เขียนจึงสรุปลักษณะเด่นของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแต่ละ
สานักอย่างสังเขป ดังที่ปรากฎในตารางที่ 1.1
ตำรำงที่ 1.1 สรุปแนวคิดสำคัญของทฤษฎีควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศในแต่ละสำนัก

สัจนิยมดั้งเดิม เชื่อว่าความขัดแย้งระหว่างประเทศมีรากฐานมาจากพฤติกรรม
(Classical Realism) โดยธรรมชาติของมนุษย์ที่โหดร้าย เห็นแก่ตัว
สัจนิยมใหม่ เชื่อว่าความขัดแย้งระหว่างประเทศมีรากฐานมาจาก
(Neorealism) สภาพแวดล้อมแบบอนาธิปไตย (anarchy) ที่ไม่มีอานาจ
ศูนย์กลาง และโครงสร้างระหว่างประเทศ (international
structure) เป็นตัวกาหนดพฤติกรรมของรัฐ
เสรีนิยมดั้งเดิม เชื่อว่าความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เนื่องด้วย
(Classical Liberalism) ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดี รักความก้าวหน้า และแสวงหา
สันติภาพ

19
19 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

เสรีนิยมใหม่/เชิงสถำบัน เชื่อว่าความร่วมมือระหว่างประเทศสามารถเกิดขึ้นได้แม้จะอยู่
(Neoliberalism/ ในสภาวะอนาธิปไตย โดยมีสถาบันระหว่างประเทศเป็นตัว
Institutional ประสานความร่วมมือ
Liberalism)
ทฤษฎีมำร์กซิส มองว่าความขัดแย้งทางชนชั้นเป็นปัจจัยหลักในความสัมพันธ์
(Marxism) ทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยม
ทฤษฎีระบบโลกสมัยใหม่ เป็นหนึ่งในกลุ่มทฤษฎีมาร์กซิสใหม่ที่มองว่า ความสัมพันธ์ทาง
(World System Theory) เศรษฐกิจของระบบทุนนิยมโลกเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดระบบการแบ่ง
งานกันทาระหว่างประเทศ
รัฐศูนย์กลางอานาจเป็นรัฐที่ได้ประโยชน์จากการขูดรีดรัฐกึ่งชาย
ขอบและรัฐชายขอบ
สำนักอังกฤษ ให้ความสาคัญกับการศึกษาสังคมระหว่างประเทศ
(The English School) (international Society) มองว่าความร่วมมือระหว่างประเทศ
สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากเราล้วนอาศัยอยู่ในสังคมระหว่าง
ประเทศซึ่งตระหนักรับรู้ถึงความเป็นประชาคมผ่านทางการ
เจรจา(dialogue) และการยอมรับ (consent)
ทฤษฎีสรรสร้ำงนิยม มองว่าความความคิด (idea) และความเชื่อ (belief) เป็นตัวก่อ
(Constructivism) ร่าง (construct) อัตลักษณ์ (identity) ผลประโยชน์
(interests) และการกระทา (actions) ของรัฐ
ทฤษฎีหลังโครงสร้ำงนิยม วิเคราะห์อานาจแห่ง “ภาษา” (langague) และ “วาทกรรม”
(Poststurcturalism) (discourse) ว่ามีผลต่อความเป็นจริงต่อการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศอย่างไร รวมทั้งการให้ความสัมพันธ์กับตัวแสดง
ที่ถูกทาให้อยู่ชายขอบ (marginalized) ในสาขาวิชา
ทฤษฎีสตรีนิยม วิเคราะห์บทบาทความเป็นเพศสภาพ (gender) ในการศึกษา
(Feminism) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

20
20
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

1.5 พัฒนำกำรทำงทฤษฎีในวิชำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ
หากสืบค้นเส้นทางการสร้างทฤษฎี หรือคาอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ
แล้วจะพบว่ามีมาช้านาน ดังจะเห็นได้จากเอกสารงานเขียนในสมัยกรีก โรมันรวมทั้งในเอเชีย
จากอารยธรรมจีนและอินเดียหนึ่งในผลงานเก่าแก่ที่ถือว่าเป็นงานระดับ ต้นตารับที่นักเรียน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องศึกษานั่นก็คือ “History of Peloponesian Wars” ของ
Thucydides งาน “The Prince” ของ Machiavelli ที่ จุ ด ประกายการศึ ก ษาอ านาจทาง
การเมื อ งและระบบรั ฐ โดยให้ ค วามส าคั ญ กั บ ศาสตร์ ว่ า ด้ ว ยการแยกคุ ณ ธรรมออกจาก
การเมืองสาหรับผู้มีอานาจรัฐและกาหนดนโยบายของรัฐผลงาน De Monarchia ของมหากวี
Dante ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นแรกๆอันทรงพลังในวรรณกรรมทางการเมืองของโลก
ตะวันตกในเรื่องของการรวมกลุ่มระหว่างรัฐเพื่อส่งเสริมสันติภาพ นอกจากนี้ยังมีนักคิดคน
ส าคั ญ ที่ ก ล่ า วถึ ง แนวคิ ด สมาพั น ธรั ฐ (Confederation) หรื อ สั น นิ บ าตระหว่ า งรั ฐ ชาติ
( League ofnation-state) ไ ด้ แ ก่ Pierre Duboris, Emeric Cruce, The Duc de Sully,
William Penn, Abbe de Saint Pierre รวมทั้งนัก คิดที่ได้พัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎี
ในช่ ว งปลายศตวรรษที่ 17 และต้ น ศตวรรษที่ 18 อาทิ เ ช่ น Jean-Jacques Rousseau,
Jeremy Bentham และ Immanuel Kant
แม้จะมีงานเขียนในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐออกมาในจานวนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มี
การพัฒนากรอบคิดให้ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการสร้างกรอบคิดและทฤษฎีทางการเมือง
การปกครอง ดังที่ Martin Wight ได้กล่าวไว้ว่า “ทฤษฎีระหว่างประเทศ” (International
Theory) ซึ่งเราหมายถึง “วิถีทางแห่งการพิจารณาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ,แนวทาง
ที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นคู่แฝดของการพิจารณารัฐที่เรียกว่า ‘ทฤษฎีการเมือง’ ไว้ได้อย่าง
เหมาะสม” (Wight, 1966 cited in Dougherty & Pfaltzgraff, 1990: 2)
Wight ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่างานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในยุคก่อน
ศตวรรษนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในวรรณกรรมทางการเมืองของนักเขียนแนวสันติภาพ เช่น Hugo
Grotius และ Pufendorf หรื อ ปรากฎอยู่ บ้ างในงานทางประวั ติศ าสตร์ อาจจะเป็ น ภาพ
สะท้อนในงานเชิงปรัชญา สุนทรพจน์ รายงานและบันทึกความทรงจาของบรรดารัฐบุรุษหรือ
นักการทูตเท่านั้น กล่าวโดยสรุปแล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังไม่มีการจัดวางหรือสร้าง
กรอบแนวคิ ด ทฤษฎี ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศอย่ า งเป็ น ระบบ แนวทางการศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นลัก ษณะเชิงบรรยายพรรณา (descriptive) เน้นการ
เรียงลาดับเหตุการณ์ตามช่วงเวลา ให้ความสาคัญกับบุคคล วันเวลา และสถานที่ ที่เกิดขึ้น
โดยไม่มีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ หรือศึกษาถึงสาเหตุและผลกระทบ เราจึงอาจเรี ยก

21
21 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศในลั ก ษณะนี้ ว่ า แนวศึ ก ษาเชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์


(Historical Approach) หรื อ แนวทางการศึ ก ษาเชิ ง พรรณา (Descriptive Approach)
การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศในแนวทางดั ง กล่ า วจึ ง ให้ ค วามส าคั ญ กั บ ช่ ว ง
ประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างรั ฐยุโรปในช่วง 1648 จนถึง 1914 ถือว่าเป็น “ยุค
ทองของการทู ต ระบบดุ ล อ านาจ ระบบพั น ธมิ ต รและกฎหมายระหว่ า งประเทศ” หาก
เปรียบเทียบกับวิชาทางการเมืองการปกครอง มีการพัฒนากรอบคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งส่วน
ใหญ่จะเป็นทฤษฎีที่เน้นหนักไปเรื่อง การก่อตัวของอานาจอธิปไตยแห่งรัฐชาติ หน้าที่และ
ข้อจากั ดของอานาจรัฐบาล สิทธิของปัจเจกบุคคลในรัฐ ความต้องการของระเบีย บ การ
กาหนดชะตากรรมด้วยตนเอง (self-determination) รวมทั้งความเป็นเอกราช ประเด็นทาง
เศรษฐกิจก็เริ่มถูกแยกส่วนศึกษาจากการเมือง รวมทั้งการศึกษาการเมืองภายในรัฐก็แยกออก
จากศิลปะแห่งการทูต รัฐบาลของแต่ละรัฐต้องการความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ปกป้องการค้า
แต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย บรรดานักคิดทางสังคมศาสตร์หลากสาขาพยายามแสวงหาแนวทาง
การศึกษาที่แปลกและแตกต่างไป แต่เป็นที่แปลกใจว่า นักคิดบางคนมีความเชี่ยวชาญในเรื่อง
กิจการระหว่างประเทศแต่ก็ไม่สามารถสร้างทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างเป็น
จริงเป็นจัง พวกเขาพัฒนาทฤษฎีจัก รวรรดินิย มซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก J. A.Hobson นัก
เศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษอันเป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์นามาประยุกต์อธิบายรัฐทุนนิยม
จนกระทั่งปี 1914 นักวิชาการด้านทฤษฎีระหว่างประเทศต่ างยอมรับว่าโครงสร้างของสังคม
ระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน
ยุคนี้จึงเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ทางการทูตและกฎหมายระหว่างประเทศมากกว่าที่จะ
ศึกษากระบวนการในระบบระหว่างประเทศ
หากพิจารณาการสร้างกรอบคิดที่ในการอธิ บายปราฎการณ์ความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศในยุ ค ก่ อ นสงครามโลกครั้ ง ที่ 1 จะปรากฎแนวคิ ด ถ่ ว งดุ ล อ านาจ (balance of
power) เพียงแนวคิดเดียวที่ถูกจัดวางอย่างเป็นระบบ แต่ก็มีผลในเชิงปฏิบัติต่อบรรดานักการ
ทูตมากกว่าผลต่อนักวิชาการ ซึ่งก็เป็นเพียงกฎเกณฑ์ในเชิงสามัญสานึก (commonsense
axioms) มากกว่าที่จะเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง นักคิดที่ถือว่าล้าสมัยในการสร้างแนวความคิดใน

22
22
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ยุคนั้นได้แก่ Alfred Mahan1 และ Halford Mackinder2 ที่นาเสนอทฤษฎีที่ว่าปัจ จัย ทาง


ภูมิศาสตร์ มีอิท ธิพ ลต่ ออานาจบทบาทของรัฐในการเมืองระหว่ างประเทศ จนกลายเป็ น
รากฐานความรู้ ท างสาขาวิ ช าภู มิ รั ฐ ศาสตร์ (geo-politics) หรื อ ภู มิ ยุ ท ธศาสตร์ (geo-
strategy) และยุทธศาสตร์ศึกษา (strategic studies) ในเวลาต่อมา (จุลชีพ,2557:58-59)
ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งในระเบีย บ
วิธีก ารและกรอบคิดตั้ งแต่ก่อตั้งสาขาวิชานี้ขึ้นอย่างเป็นทางการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ในช่วงปลายทศวรรษ 1940 ได้มีการพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยและเทคนิคสาหรับการค้นคว้าวิจัย
การวิเคราะห์ และการจัดเรียนการสอนในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของการพัฒนาทฤษฎีด้วย (Dougherty & Pfaltzgraff, 1990: 9) วิธีคิด
ทางด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศได้ อ าศั ย สหวิท ยาการจากหลากหลายสาขา เช่ น
ประวัติศาสตร์ ปรัชญา กฎหมาย สังคมวิทยาและเศรษฐศาสต์เข้ ามาประยุกต์ อีก ทั้งยัง
ตอบสนองต่อพัฒนาการในเชิงประวัติศาสตร์และความร่วมสมัยในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย
สาหรับนัก คิดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว เหตุก ารณ์สาคัญแห่งศตวรรษที่ 20
นับตั้งแต่สงครามโลกทั้งสองครั้ง สงครามเย็น การเกิดขึ้นของความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่
ใกล้ชิดกันระหว่างบรรดารัฐตะวันตก หรือแม้กระทั่งช่องว่างการพัฒนาระหว่างโลกเหนือและ
โลกใต้ ล้วนแล้วแต่คือโลกแห่งความเป็นจริงที่มีอิทธิพลต่อการสร้างกรอบคิดในสาขาวิชานี้
ทั้งสิ้น (Jackson & Sorensen,2013: 33) หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงระบบความสัมพันธ์

1 Alfred Mahan เป็ น นั ก ยุ ท ธศาสตร์ ท างทะเลคนส าคั ญ ของสหรั ฐ อเมริ ก าได้ น าเสนอแนวคิ ด
สมุ ท รานุ ภ าพ (Sea Power) ผ่ า นผลงานส าคั ญ ได้ แ ก่ The Influence of Sea Power upon
History, 1660-1782 (1890) และ The Influence of Sea Power upon the French Revolution
and Empire, 1793-1812 (1892) โดยชี้ให้เห็นปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์และแสนยานุภาพทางทะเล
ของรัฐมหาอานาจในอดีตที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงอานาจในประวัติศาสตร์โลก อีกทั้งเชื่อว่ากองทัพเรือ
เป็นเครื่องมือในการดาเนินโยบายของรัฐได้ดีกว่ากองทัพบกเพราะกองทัพเรือสามารถเข้าถึงพื้นที่
ห่างไกลกว่า
2 Halford Mackinder เป็นนักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ก่อตั้ง

(founding fathers) ของวิชาภูมิรั ฐศาสตร์แ ละภูมิยุทธศาสตร์ ในบทความ “TheGeographical


Pivot of History” ในปี 1904 Mackinderเสนอแนวคิดใจกลางโลก ( theory of the Heartland)
ที่ว่า“ผู้ใดครองยุโรปตะวันออก ผู้นั้นครองใจกลางโลก ผู้ใดครองใจกลางโลกผู้นั้นครองเกาะโลก ผู้ใด
ครองเกาะโลกผู้นั้นครองโลก” ซึ่ง เกาะโลก ในที่นี่ Mackinder หมายถึง ดินแดนในแถบยูเรเซี ย
(Eurasia)หรือทวีปเอเชียและยุโรปรวมกัน และได้กาหนดบริเวณสาคัญที่เรียกว่า “ดินแดนหัวใจ”
(Heartland) โดยเริ่มจากทะเลบอลติกและทะเลดาในทางตะวันตกไปจนกระทั่งถึงเขตไซบีเรียในทาง
ตะวันออกและทางเหนือเริ่มจากมหาสมุทรอาร์กติกลงจนถึงเทือกเขาหิมาลัยทางใต้ และรวมพื้นที่
ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้และที่ราบสูงมองโกเลียทางตะวันออกเฉียงใต้

23
23 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปและมีตัวแสดงในโลกที่ซับซ้อนขึ้นสร้างความท้าทายให้กับ
นัก วิชาการในวิช าความสั มพั น ธ์ระหว่างประเทศโดยการพั ฒนากรอบคิด และทฤษฎี เ พื่ อ
อธิบายความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จนเมื่อเกิดเหตุการณ์ ก่อวินาศกรรม 9/11 ถือเป็นความท้า
ทายสาคัญครั้งล่าสุดต่อวิ ชานี้ว่าแนวคิดและทฤษฎีที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นยังสามารถอธิบายโลก
หลัง 9/11 ที่เริ่มซับซ้อนขึ้นได้หรือไม่ อาจกล่าวได้ว่า “ทฤษฎีเป็นผลผลิตของกาลเวลาในแต่
ละสมั ย ”จนน าไปสู่ ก ารสร้ า งกรอบคิ ด และการถกเถี ย งทางความคิ ด และทฤษฎี ใ นวิ ช า
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแต่ละยุค ดังจะเห็นได้จากแผนภาพที่ 1.1
แผนภำพที่ 1.1 กำรพัฒนำแนวคิดและทฤษฎีควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

บริบททำงประวัติศำสตร์
พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงความเป็นรัฐ

กำรถกเถียงทำงทฤษฎีระหว่ำงนักวิชำกำรด้ำนควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ
วิวาทะครั้งสาคัญ

กำรประยุกต์สำขำวิชำอื่นๆ
(ปรัชญำ ประวัติศำสตร์ เศรษศำสตร์ กฎหมำยและอื่นๆ)
การทาความเข้าใจและวิธีการแบบใหม่ทมี่ ีอทิ ธิพลต่อการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

24
24
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

1.6 วิวำทะครั้งใหญ่ในกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ
องค์ความรู้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันได้พัฒนาแนวทาง
การศึกษาไปไกลกว่ายุคดั้งเดิมที่หลายคนคุ้นเคยโดยเฉพาะกระแสรัฐศาสตร์อเมริกันที่เน้น
การศึกษาสานักสัจนิยมและแนวทางปฏิฐานนิยมจนเกิดความคุ้นชิน และหลายคนเริ่มตกอยู่
ในสภาวะ “ตระหนก ตื่นเต้น หรือตื่นตาตื่นใจ” กับสภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงดังที่ศุภมิตร
ปิ ติ พั ฒ น์ ( 2548) ได้ เ สนอไว้ ใ นบทความ “ไม่ มี ค วามสมานฉั น ท์ ใ นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง
ประเทศ” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือความรู้ที่กว้างขวางขึ้นยิ่งก่อให้เกิดความสับสนและกังวลใจว่าผู้
ศึกษาจะเลือกเครื่องมือใดที่จะเหมาะสมในการศึกษาและวิเคราะห์ศาสตร์นี้
ความไม่สมานฉันท์ดังกล่าวนั้นพิจารณาได้จาก การเกิด วิวำทะครั้งใหญ่ 4 ครั้ง(4
Great Debates)ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิวำทะยุคแรก เป็นการโต้แย้ง
สานักคิดอุดมคตินิย ม (Idealism) กับ สานักสัจนิยม (Realism) วิวำทะครั้งที่ส องคือ การ
โต้แย้งระหว่างสานัก แนวทางการศึ ก ษาแบบดั้งเดิ ม (Traditional Approach) กั บ สานั ก
แนวทางการศึ ก ษาสายพฤติ ก รรมศาสตร์ (Behavioral Approach) ซึ่ ง ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจาก
สหรัฐอเมริกา วิวำทะครั้งที่สำม คือ การโต้แย้งระหว่างสานักคิดสัจนิยมใหม่ (Neo-Realism)
กั บ ส านั ก คิ ด เสรี นิ ย มใหม่ (Neo-Liberalism) อี ก ทั้ ง การเกิ ด ขึ้ น ของสาขาวิ ช าเศรษฐกิ จ
การเมืองระหว่างประเทศ(International Political Economy) และแนวคิดมาร์กซิสใหม่
(Neo-Marxist) และวิ ว ำทะครั้ ง ที่ สี่ คื อ การโต้ แ ย้ ง กั น ระหว่ า งส านั ก คิ ด ปฎิ ฐ านนิ ย ม
(Positivism) หรือแนวคิดรากฐานดั้ง เดิม (established traditions) กับแนวคิดหลังปฏิฐาน
นิ ย ม (Post-Positivism) ซึ่ ง ถื อ เป็ น ทางเลื อกแนวใหม่ ใ นการศึ ก ษาความสั มพั น ธ์ ร ะหว่าง
ประเทศ เช่น แนวคิดหลังสมัยใหม่ (Post-Modernism) แนวคิดสตรีนิยม (Feminism) หรือ
แนวคิดหลังอาณานิคม (Post-Colonialism)
การทาความเข้าใจการโต้แย้งทางความคิดในแต่ละยุคจะเป็นเสมือน “แผนที่”
เชื่อมต่อความเข้าใจวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งดาเนินมาอย่างต่อเนื่องและมีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและยังชี้ให้เห็นถึงทิศทางของการพัฒนาแนวคิดและทฤษฎีอีกด้วย

25
25 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

วิวำทะยุคที่หนึ่ง (First Major Debate in IR)


กำรโต้แย้งระหว่ำง
แนวคิดเสรีนิยมเชิงอุดมคติ (Utopian Liberalism) และแนวคิดสัจนิยม (Realism)
แผนภำพที่ 1.2 กรอบแสดงแนวคิดหลักของวิวำทะครั้งที่หนึ่ง

เสรีนิยมเชิงอุดมคติ สัจนิยม

ทศวรรษ 1920 ทศวรรษ 1930-1950


VS
ให้ความสาคัญกับ ให้ความสาคัญกับ
สันติภาพ การเมืองเรื่องอานาจ
กฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคง
องค์การระหว่างประเทศ ความก้าวร้าวรุนแรง
ความเป็นเอกราช ความขัดแย้ง และ สงคราม
ความร่วมมือ
วิวาทะครั้งแรกเป็นการโต้แย้งระหว่างแนวคิดในยุคก่อร่างสร้างวิชาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ ระหว่างแนวคิดเสรีนิยมหรืออุดมคตินิยม (Liberalism or Idealism) ที่เน้น
การแสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน และแนวคิดสัจนิยม (Realism) ที่มองโลกตาม
ความเป็นจริงโลกที่มีความขัดแย้งและความรุนแรง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ได้มีกับการจัดระเบียบระหว่างประเทศใหม่
ภายใต้การนาของประธานาธิบดี Woodrow Wilson แห่งสหรัฐอเมริกา ผ่านการประกาศคา
แถลงการณ์ 14 ประการ (Wilson’s Fourteen Points) อั น มี ใ จความส าคั ญ ได้ แ ก่ การ
ก าหนดชะตากรรมด้วยตนเอง (Self-Determination) ของประเทศต่างๆการยกเลิ ก การ
เจรจาทางการทูตแบบลับ การลดก าลังอาวุธ การให้สิทธิทางการค้าที่เสมอภาคกั น การ
แสวงหาความมั่นคงร่วมกั น (Collective Security) รวมทั้งการแสวงหาความร่วมมือด้าน
สันติภาพโดยการจัดตั้งองค์ก ารสันนิบาตชาติ (League of Nations) (บรรพต, 2551: 78)
ดังนั้นในแวดวงวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงมีแนวทางการศึก ษาที่ ค้ น หา
คาตอบในรูปแบบอุดมคติ มองโลก“ที่ควรจะเป็น”และมองโลกของการเมืองระหว่างประเทศ
“ในแง่ดี” เพื่อป้องกันมิให้สงครามใหญ่อุบัติขึ้นอีก ดังจะเห็นได้จากอีกเหตุการณ์หนึ่งคือ การ

26
26
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ลงนามในความตกลงเคลลอก์ -บริอองด์ (Kellogg-BriandPact 1928)3 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะ


ยุ ติ ส งครามและห้ า มใช้ส งครามเพื่ อเป็ น เครื่ องมื อของรัฐ มหาอ านาจ เป็ น การตอกย้าว่า
แนวทางอุดมคตินิย มเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลและเป็ นที่ย อมรับต่อการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศในเวลานั้น (จุลชีพ, 2557: 82)
แต่ ห ากพิ จ ารณาจากเหตุ ก ารณ์ ร ะหว่ า งประเทศที่ เ กิ ด ขึ้ น ในช่ ว งนั้ น จะพบว่า
บรรยากาศแห่งการสร้างสันติภาพอย่างมิได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง หลายประเทศมีการสะสม
กาลังอาวุธ รวมทั้งการใช้กองกาลังทหารเข้ารุกรานประเทศอื่นๆ E.H.Carr นักประวัติศาสตร์
ชาวอังกฤษได้เขียนหนังสือ “The Twenty Years Crisis1919-1939:An Introduction
to the Study of International Relations” เป็นผู้มีส่วนสาคัญต่อการพัฒนาองค์ความรู้
สาขาความสัมพันธ์ประเทศอีกทั้งผลงานของเขาข้างต้นยังถือเป็นหมุดหมายสาคัญต่อการท้า
ทายแนวคิดอุดมคตินิยมรวมทั้งเป็นตัวแทนภาพลักษณ์สะท้อนการวิวาทะระหว่างสองแนวคิด
นี้ได้เป็นอย่างดี โดยคาร์ได้ชี้ให้เห็นความผิดพลาดของสานักอุด มคตินิยมว่าไม่ได้มองโลกตาม
ความเป็นจริง ทั้งที่ความเป็นจริง นั้ น บรรดาประเทศต่ างๆเกิ ด ความขั ดแย้ง กั น ซึ่ง Carr
เรียกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศร่ารวย (The Have Countries) ที่ต้องการรัก ษา
สถานะของผลประโยชน์ของตนและประเทศยากจน (The Have-not Countries) ที่ต้องการ
เปลี่ยนแปลงสถานะของประเทศตนให้มีความยิ่งใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการที่ระบบเผด็จการ
ของเยอรมนีและอิตาลีเข้ารุกรานประเทศต่างๆจนนาไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 รวมทั้งผลงาน
ของนักสัจ นิย มคนส าคัญ คื อ Hans J.Morgenthauที่เกิ ดขึ้ น ในยุ คเริ่ม ต้ น สงครามเย็ น ราว
ทศวรรษ 1940-1950 ที่ ม องว่ า รั ฐ แต่ ล ะรั ฐ ให้ ค วามส าคั ญ กั บ การรั ก ษาอ านาจและ
ผลประโยชน์แห่งชาติ อีกทั้งการศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสงครามระหว่างประเทศที่กาลัง

3
ความตกลงฉบับนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า The Kellogg Pactซึ่งเป็นข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการยกเลิก
สงคราม หรือ สนธิสัญญาสันติภาพโลก แต่เดิมข้อตกลงฉบับนี้เป็นการยกเลิก สงครามเฉพาะระหว่าง
ฝรั่งเศสกับสหรัฐอเมริกา Frank B. Kellogg รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาใน
ขณะนั้นต้องการคงไว้ซึ่งอิสระในการปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกา จึงสนองข้อเสนอสนธิสัญญาพหุ
ภาคีเพื่อต่อต้านสงครามโดยเปิดให้ทุกชาติเป็นภาคีสนธิสัญญา โดยได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 27
สิงหาคม 1928 โดยที่ป ระชุมสมัชชาแห่ งสันนิบ าตชาติโ ดยชาติสมาชิก จ านวน 23 ชาติ (ยกเว้น
สหภาพโซเวี ย ต) ร่ ว มลงนามโดยมี ส าระส าคั ญ คื อ การประณามการใช้ อ าวุ ธ สงครามเพื่ อ เป็ น
“เครื่ อ งมื อ ของนโยบายแห่ ง ชาติ ” เว้ น แต่ ในกรณีเ พื่อ ปกป้ อ งตนเอง แต่ ไ ม่ มี บ ทบั ญ ญั ติ ลงโทษ
ข้อตกลงฉบับนี้เป็นผลมาจากความพยายามของสหรัฐอเมริกาที่ตั้งใจหลีกเลี่ยงการเข้าไปมีส่วนร่วมใน
ระบบพันธมิตรแห่งยุโรป

27
27 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ระอุโ ดยรัฐมหาอานาจ ยิ่งตอกย้าว่าแนวคิดสัจนิยมสามารถอธิบายปรากฎการณ์ระหว่าง


ประเทศได้เป็นอย่างดี

ชั ย ชนะในวิ ว าทะครั้ ง ที่ ห นึ่ ง นั้ น เป็ น ของส านั ก คิ ด สั จ นิ ย มซึ่ ง มี ทั้ ง Carr และ
Morgenthau เป็ น แกนน าส าคั ญ ส่ ง ผลให้ ส านั ก สั จ นิ ย มมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ นั ก วิ ช าการด้ า น
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วยังมีอิทธิพลต่อนักการเมืองและนักการทูต
ในแต่ละประเทศอีกด้วย แต่กระนั้นแนวคิดเสรีนิยมก็ยังมี การศึกษาอยู่ นักคิดสายเสรีนิยม
จานวนมากยังได้ยอมรับว่าแนวคิดสัจนิยมเป็นแนวทางที่ดีกว่าแต่ก็มองปรากฎการณ์นี้เป็นดั่ง
“ช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่สุดขีดและผิดปกติ ” (an extreme and abnormal historical
period) และยังคงเห็นต่างอย่างแข็งขันในประเด็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่สานักสัจนิยมมองว่า
มีความโหดร้ายมาแต่กาเนิด (Jackson & Sorensen, 2013: 43) ถึงแม้ว่าช่วงสงครามเย็น
เราจะเห็นการดิ้นรนเพื่อแสวงหาความอยู่รอดและการแสวงหาอานาจระหว่างมหาอานาจ
อย่างสหรัฐอเมริก าและโซเวียต ในขณะเดียวกัน เรายังเห็นบทบาทของความร่วมมือ และ
สถาบันระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติและองค์กรในก ากับ ย่อมแสดงถึงว่า
แนวคิดเสรีนิยมยังคง “มีลมหายใจ”แม้จะไม่ชนะในวิวาทะครั้งนี้ก็ตาม

วิวำทะครั้งที่สอง (The Second Major Debate in IR)


กำรโต้แย้งระหว่ำง
สำนักคิดแบบดั้งเดิม (Traditionalism) กับ สำนักพฤติกรรมศำสตร์ (Behaviouralist )
แผนภำพที่ 1.3 กรอบแสดงแนวคิดหลักของวิวำทะครั้งที่สอง

แนวทำงดั้งเดิม แนวทำงพฤติกรรมศำสตร์

ให้ควำมสำคัญกับ ให้ควำมสำคัญกับ
กำรทำควำมเข้ำใจบรรทัดฐำน และ VS กำรอธิบำยสมมติฐำน
ค่ำนิยม ควำมยุติธรรม กำรรวบรวมข้อมูล
ควำมรู้ทำงประวัติศำสตร์ ควำมรู้เชิงวิทยำศำสตร์

นักคิดที่อยู่ในสำขำวิชำแต่เดิม นักคิดที่ประยุกต์สำขำวิชำอื่น

28
28
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ประเด็ น ส าคั ญ ของวิ ว าทะในยุ ค นี้ คื อ การให้ ค วามส าคั ญ กั บวิ ธี วิ ทย า


(methodology) หรือการถกเถียงทางวิธีการศึกษา (methodological debate) ว่าวิธีการ
ใดเหมาะสมกว่ า กั น วิ ว าทะครั้ ง นี้ มี Hedley Bull เป็ น แกนน าของส านั ก คิ ด แนวทาง
การศึกษาแบบดั้งเดิมและ Mortan Kaplan เป็นแกนนาคนสาคัญของแนวทางการศึกษาสาย
พฤติกรรมศาสตร์
ก่อนที่จะทาความเข้าใจวิวาทะในยุคนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า นักวิชาการในยุคบุกเบิก
นั้ น ส่ ว นใหญ่ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาในแนวทางยุ โ รปตามแนวทางการศึ ก ษาเชิ ง สถาบั น
(institutionalapproach)ที่เน้นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ ปรัชญา วัฒนธรรมและกฎหมาย
เป็นสาคัญ โดยเน้นการพรรณนา (descriptive) เราอาจเรียกแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศในสมัยแรกเริ่มว่า แนวทางดั้งเดิม (traditional approach) หรือแนวทาง
คลาสสิค (classical approach)
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงพร้อมกับการรผงาดขึ้นของสหรัฐอเมริก าใน
ฐานะมหาอานาจโลกซึ่ง มีบ ทบาทน า ครอบงาและสถาปนาองค์ ความรู้ ในการศึกษาวิ ช า
รัฐศาสตร์ด้วย โดยต้องการจะสร้างวิชารัฐศาสตร์ให้เป็น “ศาสตร์บริสุทธิ์” ด้วยการศึกษา
สั ง คมที่ เ ป็ น วิ ธี ก ารทางวิ ท ยาศาสตร์ ( scientific methodology) ซึ่ ง ส่ ง ผลต่ อ วิ ช า
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย ในยุคนี้จึงเป็นยุคก่อร่างสร้างแนวคิดทางความสั มพั นธ์
ระหว่ า งประเทศที่ เ ป็ น ระบบมากขึ้ น และสร้ า งนั ก วิ ช าการรุ่ น ใหม่ เ ป็ น จ านวนมากเพื่ อ
ตอบสนองต่อความต้องการของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต่างๆ วิธีการศึกษาในยุคนี้มีความ
โดดเด่นคือ การพัฒนาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เป็น “ศาสตร์ที่จับต้องได้” และ
“พิสูจน์ได้” ด้วยการนาวิชาคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สถิติ และวิทยาศาสตร์บางสาขามา
ประยุก ต์เพื่อสร้างกรอบคิ ดและทฤษฎีจ านวนมากโดยใช้ ข้อ มูล เชิง ประจั ก ษ์ (Empirical
Data) เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษาและนามาจัดระบบแยกประเภท (Classification) เพื่อหาแบบ
แผนทั่วไป และสามารถพิสูจน์ได้ ด้วยตัวเลขทางคณิตศาสตร์หรือสถิติ เราจึงเรียกการศึกษา
รัฐศาสตร์ในยุคนี้ว่า ยุคพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีข้อโต้แย้งกับแนวทางศึกษาดั้งเดิมว่าให้ความ
สนใจรายละเอียดมากจนเกินไป จนไม่สามารถแยกความจริงออกจากค่านิยมได้

29
29 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

การโต้แย้งระหว่าง 2 แนวคิดนี้ พิจารณาได้จาก 4 ประเด็นดังแสดงในตารางที่ 1.2


(จุลชีพ, 2557: 84-85)
ตำรำงที่ 1.2 เปรียบเทียบกำรศึกษำแนวทำงดั้งเดิมและแนวทำงพฤติกรรมศำสตร์
ประเด็น แนวทำงดั้งเดิม แนวทำงพฤติกรรมศำสตร์
ควำมซับซ้อนหรือ มองว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ มองว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต
ควำมมีเอกภำพ เน้นการศึกษาปรากฎการณ์ เช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ จึง
ธรรมชาติไม่สามารถศึกษา สามารถศึกษาพฤติกรรมด้วย
พฤติกรรมของมนุษย์ที่มีความ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และ
ซับซ้อนมากกว่า สามารถลดความซับซ้อนลงได้
กำรค้นคว้ำแบบองค์รวม มองว่าปัจจัยต่างล้วนมีความ มุ่งค้นคว้าหาความจริงด้วย
หรือเพียงบำงส่วน เกี่ยวข้องกัน แยกศึกษาปัจจัยใด การศึกษาปัจจัยที่สาคัญหรือมี
ปัจจัยหนึ่งไม่ได้การอธิบาย อิทธิพลเพื่อทาความเข้าใจ
ปรากฎการณ์ต่างๆต้องดู ปรากฎการณ์
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ
เป็นองค์รวม
กำรค้นคว้ำเชิงกว้ำงหรือ เชื่อว่าการค้นคว้าต้องเป็น เชื่อว่าการค้นคว้าเป็นเชิงกว้าง
เชิงลึก ลักษณะเชิงลึก ต้องศึกษาภาษา มองความเหมือนกัน มากกว่า
วัฒนธรรม สังคม และบริบท ความเจาะจงซึ่งทาให้มองไม่
แวดล้อม อีกทั้งเชี่ยวชาญ เห็นภาพรวมทั้งหมด
ปรากฎการณ์ต่างๆเพื่อเข้าใจ
โลก
กำรวิเครำะห์สิ่งที่สังเกต โต้แย้งสานักพฤติกรรมศาสตร์ ให้ความสาคัญกับการ
ได้หรือสิ่งที่สังเกตไม่ได้ และให้ความสาคัญกับปัจจัย วิเคราะห์ เฉพาะปัจจัยที่
อื่นๆที่อาจวัดไม่ได้แต่มี สังเกตได้ วัดเป็นตัวเลขได้
ความสาคัญ เช่น ความคิด และมีความเชื่อถือทาง
วัฒนธรรม อัตลักษณ์ วิทยาศาสตร์

กล่าวได้ว่า นักวิชาการสายพฤติกรรมศาสตร์ได้พยายามสร้างรูปแบบ (model)


และทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นด้วยวิธีก ารทางวิทยาศาสตร์ที่มี ก ารสร้างข้ อ
สมมติฐาน และเชื่อมโยงข้อสมมติฐานต่างๆเข้าด้วยกันตามหลักการตรรกวิทยา โดยศึกษา
รู ป แบบพฤติ ก รรมที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งซ้ าๆ ( recurring patterns) ที่ แ น่ น อนเด่ น ชั ด จาก
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น พวกนี้มีความเห็นว่า ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถ้า มีก าร

30
30
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

พัฒนาขึ้นควรจะเป็นข้อสรุป (generalization) ที่ได้จากสมมติฐานที่ถูกต้อง ดังนั้นนักวิชาการ


ในสายนี้จึงนิย มการศึก ษาที่แยกแยะปัจ จัย ต่ างๆออกเป็ น ประเภท และหาความสั ม พั น ธ์
ระหว่างปัจจัยเหล่านั้นเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐานและทฤษฎีที่ทดสอบได้ด้วยการสังเกตและการ
ทดลอง หรือเรียกว่า เชิงประจักษ์ กล่าวคือมุ่งค้นหาดัชนีของปรากฎการณ์ภายใต้สภาวะที่
ควบคุม นักวิชาการสานักพฤติกรรมศาสตร์นี้จึงต้องการความแน่นอน (precision) ในการใช้
แนวคิดและการทดลองสมมติฐาน โดยอาศัย วิธีก ารทางตัวเลขและสถิติ หรือการวิจัยเชิง
ปริมาณ (quantiative research) การวัดข้อมูล (measurement of data) การวิเคราะห์
เนื้ อ หา ( content analysis) การใช้ ท ฤษฎี เ กม ( game theory) ทฤษฎี ก ารจ าลอ ง
(simulations) เป็นต้น (สุรชัย, 2521: 79)
นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สาคัญในแนวทางพฤติกรรมศาสตร์ เช่น
Morton Kaplan ได้ น าทฤษฎี ร ะบบ (System Theory) ของ David Easton มาประยุ ก ต์
สร้างกรอบทฤษฎีในการวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศในรูปแบบของแบบจาลอง โดย
การอาศั ย การสร้ า งปรากฎการณ์ จ าลอง (simulation) โดยจะเห็ น ได้ จ ากงาน “The
International System Model” ของเขา ที่ได้เสนอรระบบการเมืองระหว่างประเทศไว้ 6
แบบ คือ ระบบการถ่วงดุลอานาจ (the balance of power system) ระบบสองขั้วอานาจ
แบบหลวม (the loose bipolar system) ระบบสองขั้วอานาจแบบแน่น (the tight bipolar
system) ระบบระหว่างประเทศที่เป็นสากล (the universal international system) ระบบ
ระหว่ า งประเทศที่ เ ป็ น ล าดั บ ขั้ น (the hierarchical international system) และ ระบบ
ระหว่างประเทศที่มีสิทธิยับยั้ง (the Unit Veto International System) เป็นต้น (Kaplan,
1964 cited in Jackson & Sorensen,2013:221) หรื อ พิ จ ารณาจากงานของ George
Modelski ในงาน Agrarian and Industrial: Two Models of the International System
ที่ได้เสนอรูปแบบของโครงสร้างระบบการเมืองระหว่างประเทศ 2 รูปแบบ คือ โครงสร้าง
ระบบการเมื อ งแบบเกษตรกรรม และแบบอุ ต สาหกรรม เพื่ อ ศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บระบบ
การเมื อ งระหว่ า งประเทศ กล่ า วได้ ว่ า การสร้ า งทฤษฎี ใ นกลุ่ ม เช่ น นี้ มิ ไ ด้ มุ่ ง จะอธิ บ า ย
ปรากฎการณ์ต่างๆ โดยตรงแต่ใช้เป็นเครื่องมือทาความเข้าใจในความจริงที่ “กาลัง” ศึกษา
อยู่ด้วยวิธีการแบบวิทยาศาสตร์
กล่าวได้ว่า ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 แนวทางการศึกษาของสานัก
พฤติกรรมศาสตร์ได้เป็นที่แพร่หลายในแวดวงการศึกษารัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิชาการในสหรัฐอเมริกาซึ่งได้สมาทานแนวคิดนี้เป็นแนวคิดหลัก
โดยมีก ารตั้งข้อสมมติฐานว่า “มีโ ลกภายนอก หรือ โลกแห่งความจริงของความสั ม พั น ธ์

31
31 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ระหว่างประเทศซึ่งดาเนินการสอดคล้องกับรูปแบบหรือความคงที่ทางวัตถุของตัวมันเองซึ่ง
สามารถถูก ตรวจสอบและอธิบายได้ในลัก ษณะรูปแบบและทฤษฎีที่เห็นได้อย่างชัดแจ้ง ”
ดังนั้นในกลุ่มการศึกษาเช่นนี้ จึงถูกขนานนามอีกอย่างว่า “กลุ่มปฎิฐานนิยม” (Positivism)
ในส่ ว นของการโต้ แ ย้ ง จากส านั ก การศึ ก ษาแบบดั้ ง เดิ ม นั้ น Hedley Bull
นักวิชาการรัฐศาสตร์ ชาวอังกฤษโต้แย้งว่า วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นวิชาทาง
มนุ ษ ยศาสตร์ ที่ ซั บ ซ้ อ น (a complex humanistic discipline) ดั ง นั้ น วิ ช าความสั ม พั น ธ์
ระหว่างประเทศควรเป็นสหวิทยาการและตั้งอยู่บนการศึก ษา 3 วิชาหลัก คือ ประวัติศาสตร์
ทฤษฎี ก ารเมื อ งหรื อ ปรั ช ญา รวมทั้ ง กฎหมายระหว่ า งประเทศ โดยเฉพาะการศึ ก ษา
ประวัติศาสตร์ถือว่ามีความสาคัญ ในฐานะสิ่งบ่งชี้จุดเด่นของแต่ละรัฐเนื่องจากทุกรัฐมีความ
แตกต่างกันถึงแม้ว่าบางรัฐจะมีลักษณะร่วมกันบางประการก็ตาม รัฐทุกรัฐมีประวั ติศาสตร์
และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงเป็นข้อจากัดต่อความสามารถของเราที่จะ
สรุประบบรัฐต่างๆ การศึกษาประวัติศาสตร์มิใช่เพียงจุดเริ่มต้นของการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศแต่มันยังจาเป็นในฐานะ “มิตร” และ “สิ่งถูกต้อง” ต่อทฤษฎีความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศเพราะว่ามันเป็นเครื่องเตือนใจต่อข้อจากั ดของการสรุปเชิงประจัก ษ์ต่ อ
การเมืองโลก (Bull, 1969 cited in Jackson & Sorensen, 2013: 225) กล่าวโดยสรุป Bull
มีทัศนะต่อการศึกษาแนวทางพฤติกรรมศาสตร์ว่า หากนักวิชาการมุ่งที่จะหาแต่ทฤษฎีที่จะ
ทดสอบได้แล้ว นักวิชาการจะไม่ค้นพบอะไรที่สาคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาเชื่อ
ว่าข้อเสนอแนะต่างๆเกี่ยวกับวิชานี้จะต้องได้มาด้วยวิธีการที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์แต่โดยอาศัย
การรับรู้ (perception) และสัญชาตญาณ (instinct) และข้อเสนอแนะเหล่านั้นจะเป็นอะไร
ไปไม่ ไ ด้ น อกจากข้ อ เสนอแนะและข้ อ สรุ ป ที่ คิ ด ไว้ ก่ อ นแล้ ว เท่ า นั้ น (tentative and
conclusive statys) (สุรชัย, 2521:80)
ในวิวาทะครั้งที่สองนี้ ไม่มีสานักใดได้รับชัยชนะอย่างชัดเจน ต่างฝ่ายต่างผลิตผล
งานในสายของตนออกมาเป็นจานวนมาก ทว่าการผลิตผลงานของสานักพฤติกรรมศาสตร์ได้
ก่อให้เกิดคาถามต่อความไม่ชัดเจนขององค์ความรู้ แต่กระนั้นสานักคิดพฤติกรรมศาสตร์ก็ได้
สร้างรอยต่อทางระเบียบวิธีให้กับแนวคิดใหม่ของทั้งสายสัจนิยมและเสรีนิยมในเวลาต่อมา
นั่ น ก็ คื อ การก่ อ ร่ า งแนวคิ ด สั จ นิ ย มใหม่ และเสรี นิ ย มใหม่ เ สมื อ นน าเราย้ อ นกลั บ ไปสู่
ปรากฎการณ์ วิ ว าทะครั้ ง ที่ ห นึ่ ง อี ก ครั้ ง ภายใต้ บ ริ บ ททางประวั ติ ศ าสตร์ แ ละระเบี ย บวิ ธี
การศึกษาที่แตกต่างกันเท่านั้น

32
32
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

วิวำทะครั้งที่สำม (The Third Major Debate in IR)


กำรโต้แย้งระหว่ำง
สำนักสัจนิยมใหม่ (Neo-Realism) และ สำนักเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism)
กำรก่อตัวของวิชำเศรษฐกิจกำรเมืองระหว่ำงประเทศ
(International Political Economy) และสำนักอังกฤษ (The English School)
แผนภำพที่ 1.4 กรอบแสดงแนวคิดหลักของวิวำทะครั้งที่สำม

สัจนิยมใหม่ เสรีนิยมใหม่
VS
สำนักอังกฤษ มำร์กซ์ใหม่

วิวาทะครั้งที่สามเป็ นการโต้แย้งระหว่างสองกลุ่ มแนวคิด ใหญ่คือ สัจ นิย มใหม่


(Neo-Realism) และเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) หรือเสรีนิยมเชิงสถาบัน (Institutional
Liberalism) การโต้แย้งในรอบนี้เกิ ดขึ้ นในบริบทการเมืองระหว่างประเทศช่วงผ่อนคลาย
ความตึงเครียดระหว่างมหาอานาจ (Detente Period) ในกลางทศวรรษที่ 1970 ถึงทศวรรษ
1980 โดยแนวคิดสัจนิยมและเสรีนิยมต่างพัฒนาและปรับปรุงแนวคิดของตนจนกลายเป็น
แนวคิดสัจนิยมใหม่ และ แนวคิดเสรีนิยมใหม่ ซึ่งให้ความสาคัญกับ “โครงสร้างระหว่าง
ประเทศ” (International Structure) ในมุมมองที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็เกิดแนวคิด
ส านั ก อั ง กฤษ (The English School) ที่ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ สั ง คมระหว่ า งประเทศ
(International Society) และแนวคิดสายมาร์กซ์ใหม่ (Neo-Marxism) ที่นาปัจจัยเศรษฐกิจ
และประเทศโลกที่สามมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วย
อิทธิพลของการศึกษารัฐศาสตร์ในแนวทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้ส่งผลอิทธิพลต่อ
การสร้างแนวคิดทั้งสัจนิยมและเสรีนิยมในเวลาถัดมา กล่าวคือ แนวคิดทั้งสองนี้ยอมรับเรื่อง
ที่ว่า รัฐเป็นตัวแสดงที่มีเหตุผล และการดาเนินการตัดสินใจของแต่ละรัฐมีความสมเหตุสมผล
ในส่ ว นของแนวคิ ด เสรี นิ ย มใหม่ นั้ น เกิ ด ขึ้ น โดย Robert Keohane และ Joseph Nye
ถึงแม้ว่าจะอาศัยข้อสมมติฐานจากทฤษฎีสัจนิยมใหม่เอง แต่ก็มีข้อโต้แย้งต่อแนวคิดสัจนิยม
ว่ า ไม่ ส ามารถอธิ บ ายปรากฎการณ์ ต่ า งๆที่ เ กิ ด ขึ้ น ในช่ ว งเวลาดั ง กล่ า ว ดั ง จะเห็ น ได้ จ าก
วิกฤตการณ์น้ามัน ใน ค.ศ.1973 ที่ประเด็นทางเศรษฐกิจเริ่มมีบทบาทชี้นาการเมืองระหว่าง
ประเทศ อีกทั้งมีตัวแสดงใหม่ๆเกิดขึ้น แนวคิดเสรีนิยมใหม่ยังคงเชื่อเรื่อง ความก้าวหน้าและ

33
33 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

การเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับแนวคิดเสรีนิยมเดิม แต่ปฎิเสธความคิดเชิงอุดมคติ โดยทั้งสอง


คนได้เสนอแนวคิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างซับซ้อ น (complex interdependence) รวมทั้ง
บทบาทของสถาบั น ระหว่ า งประเทศ (international institutions) โดยมี ส าระส าคัญคือ
ถึงแม้ว่าโลกจะมีความขัดแย้ง แต่รัฐสามารถแสวงหาความร่วมมือได้ อีกทั้งโลกมีการติดต่อกัน
ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แทนที่จ ะมองแต่เพีย งความสัมพันธ์ระหว่า ง
รั ฐ บาล ยั ง มี ก ารติ ด ต่ อ กั น ในระดั บ สั ง คมและเศรษฐกิ จ อั น เป็ น ผลมาจากบริ บ ทโลกที่
เปลี่ย นแปลง ตัวแสดงใหม่ๆ เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การ
ระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ เป็นต้น
ในส่วนของแนวคิดสัจนิยมใหม่ ผู้บุกเบิกคนสาคัญคือ Kenneth Waltz จากงาน
“Theory of International Politics” ในปี 1979 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการศึกษาในแนวทาง
พฤติก รรมศาสตร์เช่นกั น Waltz ยังให้ความสาคัญกั บรัฐเช่นเดียวกับแนวคิดสัจนิยมแบบ
ดั้ ง เดิ ม แต่ ม องว่ า ในสภาวะอนาธิ ป ไตย “โครงสร้ า งของระบบระหว่ า งประเทศ” เป็ น
ตัวกาหนดพฤติกรรมของรัฐมิใช่เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ อีกทั้งให้ความสาคัญกับเรื่องขั้ว
อานาจ (polarity) นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาแนวคิดเป็น สัจนิยมใหม่เชิงรับและ สัจนิยม
ใหม่เชิงรุก โดย John J.Mearsheimer แม้ว่าสานักสัจนิยมใหม่จะไม่ปฎิเสธเรื่องความร่วมมือ
ระหว่างรัฐ แต่ก็โต้แย้งว่าท้ายที่สุดแล้ว ความร่วมมือนั้นรัฐต่างๆมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้าง
อานาจเชิงได้เปรียบ (relative power) ให้รัฐของตนเท่านั้น
ถึงแม้ว่าการโต้แย้งระหว่างสัจนิยมใหม่และเสรีนิยมใหม่จะเป็นประเด็นหลักของวิ
วาทะครั้ ง ที่ ส าม แต่ มี อี ก แนวคิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง ให้ ค วามส าคั ญ กั บ โครงสร้ า งระหว่ า งประเทศ
เช่นเดียวกับแนวคิดกระแสหลักในข้างต้น นั่นก็คือ สำนักอังกฤษ ซึ่งนักวิชาการในสานักนี้
สาเร็จการศึกษาและเป็นอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยยุโรป แกนนาสาคัญของสานักอังกฤษ คือ
Martin Wight และ Hedley Bull แนวคิ ด นี้ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ โครงสร้ า งความสั ม พั น ธ์
ระหว่างรัฐ ในฐานะสังคมระหว่างประเทศโดยเน้นการศึก ษาที่พิจ ารณาความเป็นมาทาง
ประวัติศาสตร์และบรรทัดฐานระหว่างประเทศ มองว่าทั้งอานาจและกฎหมายเป็นส่วนสาคัญ
ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สถานการณ์ระหว่างประเทศที่ เปลี่ยนไป เริ่มมีการตั้งคาถามต่อบทบาทประเทศ
โลกที่สามหรือประเทศกาลังพัฒนาที่ส่วนใหญ่เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอานาจ
นั้นมีชะตากรรมและบทบาทอย่างไรในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1970
กลุ่มประเทศโลกที่สามเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในโลก โดยประเทศ
เหล่ า นี้ พ ยายามแสวงหาจุ ด ยื น ทางเศรษฐกิ จ ในเวที โ ลกร่ ว มกั บ ประเทศมหาอ านาจ ใน

34
34
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ระยะเวลานี้เอง แนวคิดมำร์ก ซ์ใหม่ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากกลุ่มนัก วิ ชาการในละติ น


อเมริ ก าโดยมี ร ากฐานจากแนวคิ ด สั ง คมนิ ย มของ Karl Marx เพื่ อ อธิ บ าย โลกทุ น นิ ย ม
(Capitalist World) ความด้ อ ยพั ฒ นาทางเศรษฐกิ จ ในประเทศก าลั ง พั ฒ นา (Economic
underdevelopment in developing countries) รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่ง
ระหว่ า งประเทศและความยากจนระหว่ า งประเทศ ( International Wealth and
International Poverty) จึงเป็นที่มาของการกาเนิดวิชาเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ
(International Political Economy: IPE) ทฤษฎี พึ่ ง พิ ง (Dependency Theory) และ
ทฤษฎีระบบโลก (World System Theory) ตลอดจนนาไปสู่ก ารสร้างทฤษฎีแนววิพากษ์
(Critical Theory) ซึ่งก็ มีรากฐานจากแนวคิดของ Antonio Gramsci นัก ปรัชญาการเมือง
สายมาร์กซ์ชาวอิตาลีโดยเฉพาะเรื่องการครอบครองความเป็นเจ้า (Hegemony)
แม้ว่าวิวาทะครั้งที่สามนี้จะไม่มีแนวคิดใดที่ทรงอิทธิ พลเหนือกว่ากัน แต่จะเห็นได้
ว่าการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาการแนวคิดของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ขยาย
พรมแดนความรู้ ออกไปจากประเด็ น ดั้ง เดิม ที่เ น้น วิเ คราะห์แ ละศึก ษาเพีย งการเมือ งและ
การทหารมาสู่การนาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมาพิจารณาด้วย
วิวำทะครั้งที่ 4 (The Fourth Debate)
กำรโต้แย้งระหว่ำง
แนวคิดปฏิฐำนนิยม (Positivism) และ แนวคิดหลังปฏิฐำนนิยม (Post-Positivism)

แผนภำพที่ 1.5 กรอบแสดงแนวคิดหลักของวิวำทะครั้งที่สี่

แนวคิดปฏิฐำนนิยม แนวคิดหลังปฏิฐำนนิยม

สัจนิยม และ สัจนิยมใหม่ ทฤษฎีสรรสร้ำงนิยม


เสรีนิยม และ เสรีนิยมใหม่ VS กลุ่มทฤษฎีเชิงวิพำกษ์
สำนักอังกฤษ ทฤษฎีสตรีนิยม
สำนักมำร์กซ์ซิสใหม่ ทฤษฎีหลังอำณำนิคม
ทฤษฎีกำรเมืองสีเขียว

วิวาทะครั้งที่ 4 เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 จนถึงปัจจุบัน ประเด็นสาคัญของการ


โต้แย้งคือญาณวิทยาของทฤษฎี กล่าวคือ “เราจะแสวงหาความรู้และความจริงด้วยวิธีการใด”
เนื่องด้วยสภาพการเมืองระหว่ างประเทศที่เ ปลี่ย นไปและมี ค วามหลากหลายมากยิ่ ง ขึ้ น

35
35 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

คาถามที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวคือ จะใช้แนวคิดใดเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ได้ ดี ที่ สุด


สะท้อนภาพความเป็นจริงได้มากที่สุด เพราะทฤษฎีที่ดีไม่ควรทาหน้าที่เพียงแค่อธิบายหรือ
คาดการณ์ แต่ ค วรบอกด้ ว ยว่า เราจะมี วิ ธี ท างใดหลงเหลื อให้ ม นุ ษ ย์เราได้ พิ จ ารณาบ้าง
(วรารัก,2555: 13) วิวาทะในยุคนี้มีคู่โ ต้แย้งที่สาคัญคือระหว่างปฏิฐานนิยมซึ่งเป็นแนวคิด
กระแสหลักในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้แก่ สานักสัจนิยมใหม่ เสรีนิยมใหม่
กับกลุ่มนักคิดที่เริ่มวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดกระแสหลัก หรือที่เรียกว่า กลุ่มหลังปฎิฐานนิยมซึ่ง
ชี้จุดอ่อนของกระแสหลัก การโต้แย้งในยุคนี้อาจเรียกได้หลายชื่อ ได้แก่ การโต้แย้งระหว่าง
แนวศึกษาเชิงอธิบาย กับ แนวศึกษาเชิงเข้าใจ (Explanatory Approach vs Constitutive
Approach)”หรือ “การโต้แย้งระหว่างแนวคิดรากฐานนิยม กับ แนวคิดต่อต้านรากฐานนิยม
(Foundationalism vs Anti- Foundationalism)” หรือ “การโต้แย้งระหว่างกลุ่มนิยมความ
สมเหตุสมผลและกลุ่มนิยมการสะท้อนภาพ (Rationalism vs Reflectivism) อาจจะเรียกได้
ว่ า “การโต้ แ ย้ ง ระหว่ า งแนวคิ ด ประจั ก ษ์ นิ ย ม กั บ กลุ่ ม แนวคิ ด ต่ อ ต้ า นประจั ก ษ์ นิ ย ม
(Empiricismvs Anti-Empiricism)”ก็ได้ (Burshill & Linklater, 2005: 15-17) ในที่นี้ผู้เขียน
จะขอใช้คาว่า การโต้แย้งระหว่างแนวคิดปฏิฐานนิยมและหลังปฏิฐานนิยม
แนวคิดปฏิฐานนิย ม เป็นแนวคิดที่มีค วามสาคัญ ในทางวิธี วิทยาของการศึ ก ษา
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ โดยแนวคิ ด ดั ง กล่ า วได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลมาจากแนวทางส านั ก
พฤติกรรมศาสตร์ที่เน้นการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการศึกษาของ
ทางสั ง คมศาสตร์ ที่ ว่ า บรรดาความรู้ ต่ า งๆนั้ น จะต้ อ งมา จากการสั ง เกตและการใช้
ประสบการณ์ เ ป็ น ส าคั ญ อั น จะน าไปสู่ ก ารสร้ า งทฤษฎี ที่ มี ค วามเป็ น เหตุ เ ป็ น ผลเฉก
เช่นเดียวกับวิชาวิทยาศาสตร์ กล่าวคือแนวคิดปฏิฐานนิยมให้ความสาคัญกับข้อเสนอที่จับ
ต้องได้หรือเชิงประจักษ์ นั่นคือ เหตุผลต่างๆสาหรับการยอมรับข้อสมมติฐานคือหลักฐานของ
การสังเกต Vasquez (1995: 230) ได้สรุปข้อวิจ ารณ์ สาหรั บแนวคิ ดปฎิฐ านนิย มที่ดี ไ ว้ 7
ประการได้แก่ เที่ยงตรงและมีข้อจากัด (accurate and limited) Non-relativist สามารถ
พิสูจน์ได้หรือแสดงให้เห็นว่าไม่จริง (verifiable or falsifiable) มีพลังในการอธิบายในตัวเอง
(powerful in its explanation) สามารถวิจ ารณ์เพื่อนาไปสู่การปรับปรุง (amenable to
improvement) สอดคล้องกับความรู้สร้างขึ้นอย่างดี (consistent with well-established
knowledge) และ มี ค วามถี่ ถ้ ว น (parsimonious) จากที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น จึ ง กล่ า วได้ ว่ า
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่ างระเทศควรจะประกอบด้วยข้อเสนอเชิงประจักษ์ที่เชื่อมโยงกัน
อย่างมีตรรกะและสามารถทดสอบเพื่อต่อต้านหลักฐานเพื่อที่จะแสดงว่า “ทฤษฎีทั้งปวงได้รับ
การยืนยันหรือถูกปฏิเสธโดยการสังเกตของข้อมูล”

36
36
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

หลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง การตั้งคาถามกับวิธีวิทยาของการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นอีกครั้งจนกลายมาเป็นวิวาทะครั้งที่สี่ระหว่างกลุ่มแนวคิดปฏิฐาน
นิยมกับแนวคิดหลังปฏิฐานนิย มโดยกลุ่มหลังปฏิฐานนิยมแสดงความไม่เห็นด้วยต่อ สานัก
คิดปฎิฐานนิยมหรือแนวคิดรากฐานอันทรงอิทธิพลได้แก่ กลุ่มสัจนิยมใหม่ และเสรีนิยมใหม่
โดยมองว่า แนวคิดเหล่านี้สร้างกรอบคิดทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นวิทยาศาสตร์
ด้ ว ยการเก็ บ ข้ อ มู ล ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด มากจนเกิ น ไป โดยละเลย “ความเป็ น นามธรรม” และ
“คุณค่า” อีกทั้งกลุ่มแนวคิดหลังปฏิฐานนิยมเริ่มตั้งคาถามว่า ความรู้ในวิชาความสัม พั นธ์
ระหว่างประเทศเกิดขึ้นมาและเป็นที่ รับรู้ในปัจจุบันได้อย่างไร นอกจากนั้นแนวคิดนี้ยังให้
ความสนใจว่าเราจะเปลี่ยนแปลงแนวคิดและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเหล่านี้ได้อย่างไร
ยกตัวอย่างเช่น นักคิดกลุ่มนี้เริ่มตั้งคาถามกับสภาวะอนาธิปไตย ความเป็นรัฐ ว่าแท้จริงแล้ว
เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือมนุษย์ สร้างมันขึ้นมาเอง กลุ่มแนวคิดหลังปฏิฐานนิยมหรือบางทีเรา
อาจจะเรียกว่า กลุ่มแนวคิดเชิงวิพากษ์ จึงประกอบไปด้วยกลุ่มแนวคิดย่อยได้แก่ สานักแฟรง
เฟิ ร์ ต (Frankfurt School) จากเยอรมนี หรื อ ส านั ก อิ ต าลี ที่ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากAntonio
Gramsciหรือเรียกว่าNeo-Gramscianism แนวคิดสรรสร้างนิยม (Constructivism) แนวคิด
สตรีนิยม (Feminism) แนวคิดหลังอาณานิคม (Post-Colonialism) แนวคิดการเมืองสีเขียว
(Green Politics) เป็นต้น ถึงแม้ว่าแนวคิดหลังปฏิฐานนิยมจะมีความหลากหลาย แต่มี จุดยืน
ร่วมกันคือ การย้อนกลับไปให้ความสาคัญกับแง่มุมทางปรัช ญาตลอดจนมิติทางสังคมและ
วัฒนธรรมซึ่งแต่เดิมยึดถือปัจจั ย ทางการเมืองเป็นสาคัญเพียงประการเดีย ว การสร้างองค์
ความรู้ในกลุ่มหลังปฏิฐานนิย มจึงเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆให้กับการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ เช่น ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเท ศ
ประเด็นเพศสภาพ โลกหลังสมัยใหม่ เป็นต้น แต่ในปัจจุบัน กรอบแนวคิดในกลุ่มหลังปฏิฐาน
นิย มนี้ยังถือเป็นแนวคิดทางเลือกและยังมิได้รับความสนใจในในแวดวงวิชาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศในวงกว้าง
แผนภำพที่ 1.6 สรุปใจควำมสำคัญของวิวำทะในกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

วิวำทะยุคที่ 1 → แนวคิดอุดมคตินิยม vs แนวคิดสัจนิยม


วิวำทะยุคที่ 2 → แนวทำงกำรศึกษำดั้งเดิม vs แนวทำงกำรศึกษำพฤติกรรมศำสตร์
วิวำทะยุคที่ 3 → ข้อถกเถียงในกระบวนทัศน์ (สัจนิยม-เสรีนิยม-มำร์กซ์)
วิวำทะยุคที่ 4 → กลุ่มปฏิฐำนนิยม vs กลุ่มหลังปฏิฐำนนิยม

37
37 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

กำรเจรจำสันติภำพเวสฟำเลีย (The Peace of Westphalia 1648)


ปฐมบทแห่งรัฐชำติสมัยใหม่ในควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

38
38
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 2 บทที่ 2
ควำมเข้ำความเข้ าใจพื้นฐานในการศึ
ใจพื้นฐำนในกำรศึ กษำทฤษฎีกษาทฤษฎี
ควำมสัมคพัวามสั มพันำธ์งประเทศ
นธ์ระหว่ ระหว่างประเทศ

ในบทนี้จะนาเสนอความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่
มีผลต่อโลกทัศน์และการรับรู้ของนักวิชาการที่สร้างทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแต่
ละสานัก รวมทั้งยกตัวอย่างเหตุการณ์สาคัญบางเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ความสั มพั นธ์
ระหว่างประเทศโดยเฉพาะเหตุการณ์หลังปี ค.ศ. 1648 อันเป็นที่มาของแนวคิดความเป็นรัฐ
(statehood) อานาจอธิปไตย (sovereignty) และระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ (interstate
system) หรื อ ระบบความสัม พั น ธ์ร ะหว่า งประเทศ (international system) ได้ ก่ อตั ว ขึ้ น
หลังจากการเจรจาสันติภาพที่เวสฟาเลีย (the Peace of Westphalia 1648) นอกจากนี้ยัง
นาเสนอแนวคิดเรื่องอนาธิปไตย (anarchy) อานาจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (power
in international relations) รวมทั้ ง ระดั บ และหน่ ว ยการวิ เ คราะห์ (level and unit of
analysis) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อเป็นเครื่องมือสาคัญในการวิเคราะห์
ทาความเข้าใจหรือตีความเหตุการณ์ในมุมมองที่ต่างกันไป
2.1 รัฐ (state) ชำติ (nations) และรัฐชำติ (nation-state)
คาว่า “รัฐ” ถือเป็นคาศัพท์พื้นฐานทางการศึกษารัฐศาสตร์ที่ต้องศึกษากันเบื้องต้น
ทว่าเป็นคาที่สร้างความสับสนอีกคาหนึ่งดังจะเห็นได้จากการนิยามของนักวิชาการหลายท่าน
แต่โดยทั่วไปถือว่า รัฐเป็นตัวแสดงหลัก (actors) และเป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis)
ที่สาคัญในการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราอาจจะเคยเห็นคาว่า รัฐ (state)
ชาติ (nation) รวมทั้ง รัฐชาติ (nation-state) ว่าเป็นสิ่งที่เหมือนหรือแตกต่างกั นอย่างไร
เพราะในการศึกษาวิชานี้มักจะใช้คากลุ่มนี้ปะปนกันอยู่เสมอ
รัฐเป็นคาที่มีความหมายทางการเมืองรัฐเป็นหน่วยทางการเมืองหรือแนวคิดใหม่ที่
เกิดขึ้นหลังการสิ้นสุดของสงครามสามสิบปี (Thirty Years’ War 1618-1648)4 อันมีสาเหตุ

4 พิ จ ารณาข้ อ วิพ ากษ์ แ ละมายาคติ (myth) ของการเกิด รั ฐ ชาติ สมั ย ใหม่ ดู Carvalho, Leira &
Hobson (2011) โดยเสนอว่า หากยึด หลั ก การที่ ว่า อ านาจอธิป ไตยเป็ น อ านาจสู ง สุ ดของรัฐชาติ
สมัยใหม่แล้ว เราอาจย้อนกลับไปพิจารณา Treaty of Ausburg 1555 อันเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิ
โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งให้สิทธิการรับรองหรือสิทธิการยอมรับเขตแดนของตน ในสัญญาฉบับนี้ยังได้
กล่าวถึงอานาจอธิปไตยและการเลือกนับถือศาสนา

39
39 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

มาจากความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและคริสต์นิกายโปรแตส
แตนท์ หลังสงครามสิ้นสุดเกิดการเจรจาสันติภาพที่เวสฟาเลีย และการลงนามในสนธิสัญญา
มุนสเตอร์ (Treaty of Munster) และสนธิสัญญาออสนาบรูก ค์ (Treaty of Osnabruck)5
เป็นปัจจัยหนึ่งที่นาไปสู่การเกิดรัฐสมัยใหม่ที่มีการกาหนดอาณาเขตที่ชัดเจนรวมถึงอานาจ
สูงสุดในการปกครองประเทศหรืออานาจอธิปไตย
แนวคิ ด ส าคั ญ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการประชุ ม สั น ติ ภ าพที่ เ วสต์ ฟ าเลี ย และปรากฎใน
สนธิสัญญาทั้งสองฉบับข้างต้น ได้แก่ หลักการที่ว่ากษัตริย์คือองค์อธิปัตย์หรือผู้มีอานาจสูงสุด
ในอาณาจักร (Rex est imperator in regno suo) หลักการที่ผู้ปกครองมีสิทธิในการเลือก
ก าหนดศาสนาให้แก่ อ าณาจัก รของตน (Cuius regio, eius religio) อันถือเป็นหลัก การที่
บรรดาผู้นาของรัฐต่างๆในยุโรปร่วมยอมรับสิทธิและเคารพอานาจอธิปไตยเหนือดินแดนโดย
ปราศจากหลักการการแทรกแซงจากอานาจภายนอกส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐใน
ยุโรปที่ผู้ปกครองต้องการมีอานาจเหนือดินแดนของตนอย่างชัดเจน รวมทั้งการลดอิทธิพล
ของพระสันตะปาปาและศาสนจักรโรมันคาทอลิก อาณาบริเวณและประชากรในพื้นที่นั้นๆ
เป็นของผู้ปกครองซึ่งมีอานาจในการจัดการดูแลโดยไม่ต้องขึ้นตรงต่ออานาจภายนอก
การกาเนิดรัฐชาติสมัยใหม่ยังเป็ นที่มาของหลักการบางประการ เช่น การที่แต่ละ
รัฐสามารถกาหนดชะตากรรมของตนเอง การดูแลตนเอง และไม่ถูกรุกรานด้วยรัฐหรืออานาจ
นอกรัฐ นาไปสู่หลักการกาหนดชะตากรรมด้วยตนเอง (self-determination)และหลักการ
การไม่แทรกแซงกิ จ การภายใน (non-interference) (ในปัจ จุบันหลัก การนี้เ ป็น หลั ก การ
พื้นฐานอันสาคัญของกฎบัตรสหประชาชาติ ) อีกทั้งความพยายามที่จะแยกศาสนาออกจาก
กิจการการเมืองหรือรัฐฆราวาส (secularism) อีกด้วย
กล่าวโดยสรุป องค์ประกอบของรัฐสมัยใหม่จึงมีลักษณะสาคัญ 4 ประการได้แก่
1) ดินแดน (territory) รัฐต้องมีอาณาเขตทั้งพื้นดินและน่านน้าที่แน่นอนและชัดเจน
2) ประชากร (population) มีประชากรจานวนหนึ่งที่มีสานึกความเป็นพลเมืองของ
รัฐนั้นโดยไม่จาเป็นต้องมีเชื้อชาติ ความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมหรือการนับถือ
ศาสนาเดียวกัน

5 กระบวนการเจรจาสันติภาพของการยุติสงครามสามสิบปีได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1644 แต่ก็มิสามารถหา


ข้อสรุปได้จนกระทั่งมีการลงนามในสนธิสัญญาสองฉบับในปี 1648 สนธิสัญญาออสนาบรูกส์มีเนื้อหา
เกี่ยวข้องกับนักรบฝั่งโปรแตสแตนท์ ส่วนสนธิสัญญามุนสเตอร์เป็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับชาวคาทอลิก
และการประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมสันติภาพครั้งแรกของมวลประชาแห่งยุโรป (The First pan-
European peace conference) ดู Holsti (2004)

40
40
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

3) รั ฐ บาล (government) เป็ น หน่ ว ยการปกครองที่ ท าหน้ า ที่ ป กครอง ดู แ ลและ


บริหารกิจการภายในรัฐนั้น อีกทั้งคุ้มครองความปลอดภัยของประชากร มีสิทธิและ
ความชอบธรรมในการบริหารรัฐ
4) อานาจอธิปไตย (sovereignty) เป็นอานาจสูงสุดภายในรัฐ อันหมายถึงอานาจ
อิสระที่ปกครองตนเอง มีอิสระในการจัดการบริหาร และอานาจในการดาเนิน
ความสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆได้ด้วย อานาจอธิปไตยถือเป็นองค์ประกอบที่สาคัญของรัฐ
ส่วนคาว่า “ชาติ” (nation) นั้นมีความหมายที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ ชาติ เป็น
“ชุมชนทางสังคม” ที่ประกอบด้วยประชาชนที่มีเชื้อชาติ หรือชนชาติเดียวกัน มีภาษา ความ
เชื่อ ศาสนาและประเพณี รวมทั้งการมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ต่อมามีการนาคาว่า รัฐ และ
ชาติ มารวมกันเป็น รัฐชาติ (nation-state) แนวความคิดเรื่อง รัฐสมัยใหม่ รวมทั้ง ชาติ และ
รัฐชาตินี้ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรปและขยายอิทธิพลดังกล่าวไปยังดินแดนต่างๆและนาไปสู่การ
ครอบครองดินแดนต่างๆในเอเชีย แอฟริกาและตะวันออกกลาง (จุลชีพ, 2557: 33-35)
2.2 อำนำจอธิปไตย (Sovereignty) และสภำวะอนำธิปไตย (Anarchy)
ประเด็ น หนึ่ ง ที่ ท าให้ ก ารศึ ก ษารั ฐ ศาสตร์ ก ารเมื อ งการปกครองแตกต่ า งจาก
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างชัดเจนประการหนึ่ง คือ อานาจสูงสุดในรัฐหรือ
อานาจอธิปไตย และสภาวะอนาอธิปไตยซึ่งไร้อานาจสูงสุดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แต่ ก ารศึ ก ษาเรื่ อ งนี้ มิ ส ามารถแยกออกจากกั น ได้ อ ย่ า งเด็ ด ขาดเนื่ อ งจากเป็ น สภาวะที่
เกี่ยวเนื่องกันประหนึ่งเหรียญสองด้าน
หากย้อนไปในประวัติศาสตร์ก่อนการลงนามในการเจรจาที่เวสฟาเลีย เราจะไม่พบ
หลัก การเรื่องอานาจอธิปไตยที่เด่นชัด ซึ่งหากพิจ ารณาประวัติศาสตร์ยุโ รปในสมัย กลาง
อานาจสูงสุดของยุโ รปนั้นรวมศูนย์อยู่ ที่ ศาสนจัก รและการเมืองการปกครองก็ มี ลั ก ษณะ
กระจายอ านาจตามรู ป แบบศั ก ดิ น าสวามิ ภั ก ดิ์ ห รื อ ระบบฟิ ว ดั ล (Feudalism) กล่ า วคื อ
กษัตริย์มีพระราชสถานะสูงสุดในดินแดนแต่ก็ไร้พระราชอานาจสูงสุดเด็ดขาดในทางปฎิบัติ
อีกทั้งการระบบการบังคับบัญชาก็กระจายไปตามแว่นแคว้นที่ขุนนางครอบครอง คาว่าอานาจ
อธิปไตยปรากฎเด่นชัดเริ่มต้นขึ้นจากผลงาน Six livres de la Republique หรือ Six Books
on the Commonwealth ในปี 1576 ของ Jean Bodin นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศสที่
เสนอคานิย ามของอานาจอธิปไตย(ในภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีรากศัพท์จ ากภาษาละตินใช้ ค าว่า
souveraineté) ว่ า เป็ น “อ านาจอั น เด็ ด ขาดและถาวรของสาธารณรั ฐ ” (la puissance
absolue et perpetuelle d'une Republique: the absolute and perpetual power

41
41 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

of a Republic) อีกทั้งสนับสนุนแนวคิดที่ว่า ผู้ปกครองรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่า นั้น


(The sovereign Prince is only accountable to God) Bodin ได้ แ สดงความแตกต่ า ง
ระหว่างคุณสมบัติ (attributes) และลักษณะเฉพาะ(characteristics) ของอานาจอธิปไตยไว้
คือ คุณสมบัติขั้นต้นของอานาจอธิปไตยในทัศนะของเขาคือ อานาจที่เป็นกฎอัน “ปราศจาก
ความยินยอมของผู้อื่น” แม้แต่จะยิ่งใหญ่กว่า เท่าเทียมกันหรือด้อยกว่า” นอกจากนั้น Bodin
ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า “คุณ สมบัติของอานาจอธิปไตยอื่นๆ ไม่ว่ าจะเป็นอานาจในการท า
สงครามหรือประกาศสันติภาพ อานาจที่จะแต่งตั้งผู้พิพากษาหรือข้าราชการ อานาจที่จะเก็บ
ภาษีหรืออื่นๆ ล้วนเป็นผลจากอานาจอธิปไตยในฐานะอานาจทางกฎหมายสูงสุดแห่ง รัฐ ”
(Bodin, 1992: 48 cited in Slomp, 2008: 34-35)
Bodin ได้ อ ธิ บ ายลั ก ษณะเฉพาะของอ านาจอธิ ป ไตยไว้ เ ป็ น อ านาจที่ มี ค วาม
เบ็ดเสร็จเด็ดขาด (absolute) ปราศจากเงื่อนไข (unconditional) ไม่สามารถแบ่งแยกได้
(indivisible) ไม่จากัด (unlimited) เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (irrevocable) ต่อการสร้างกฎหมาย
การนากฎหมายไปบังคับใช้และตีความ
อานาจอธิปไตยถือเป็นหลัก การพื้ นฐานอันสาคัญของรัฐชาติสมัยใหม่ แสดงถึง
ความเป็นอิสระทางการปกครองโดยไม่มีอานาจภายนอกเข้ามาควบคุม นั่นคือการเป็นรัฐที่มี
เอกราช นอกจากนั้นหลักการอานาจอธิปไตยของรัฐยังแสดงถึงความเท่าเทียมกันของแต่ละ
รัฐตามกฎหมาย รัฐทุกรัฐมีสิทธิอานาจของตนรวมถึงสิทธิในการดาเนินความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศโดยคานึงถึงหลักการเคารพในอานาจอธิปไตยของรัฐโดยเฉพาะทางการเมืองและ
บูรณภาพแห่งดินแดนเป็นสาคัญ
Stephen Krasner (2001: 6-12) ได้อธิบายและจาแนกลักษณะของอานาจอธิปไตยไว้
4 ประการคือ

 อานาจอธิปไตยภายใน (domestic sovereignty) เป็นอานาจที่แท้ จริงในการควบคุม


เหนือดินแดนของรัฐซึ่งบริหารโดยองค์กรที่มีอานาจภายในรัฐ
 อานาจอธิปไตยแบบเอกราช (interdependence sovereignty) เป็นอานาจที่แท้จริง
มีอานาจเต็มในการปกครองรัฐ อีกทั้งยังมีปฏิสัมพันธ์ข้ามดินแดนอย่างอิสระและไม่ตก
เป็นอาณานิคมหรือตกอยู่ภายใต้อานาจของรัฐอื่นใด
 อานาจอธิปไตยเชิงกฎหมายระหว่างประเทศ (international legal sovereignty) คือ
เป็นการรับรองความเป็นรัฐอย่างเป็นทางการจากรัฐอื่น

42
42
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

 อานาจอธิปไตยแบบเวสฟาเลีย (Westphalian sovereignty) คือ ภาวะที่ไร้อ านาจ


สูงสุดเช่น ศาสนจัก ร องค์ก รทางการเมืองหรือตัวแสดงภายนอกรัฐ มีอานาจเหนื อ
บรรดารัฐต่างๆ
เมื่อรัฐในยุโรปต่างถือสิทธิตามหลักการอานาจอธิปไตยเป็นสาคัญ จะพบว่าที่ไม่มี
อานาจสูงสุดอื่นใดสามารถควบคุมรัฐต่างๆได้ นั่นหมายความว่าความสัมพันธฺระหว่างประเทศ
นั้นไม่มีอานาจสูงสุดใดในการปกครองโลกนี้ เราเรียกสภาวะนี้ว่า “อนำธิปไตย” (anarchy)
เราสามารถสืบย้อนแนวคิดนี้ได้จากงานของ Leviathan ของ Thomas Hobbes โดยแสดง
ความเห็นต่อกิจการระหว่างประเทศว่าเป็น anarchical หรือเปรียบดัง “สงครามของทุกคน
ต่ อ ทุ ก คน” (war of all against all) อนาธิ ป ไตยเป็ น สภาวะที่ ป ราศจากรั ฐ บาลกลาง
(central government) หรืออานาจศูนย์กลาง (central authority) ที่จะควบคุมสั่งการแต่
ละรัฐซึ่งแตกต่างจากกิจการภายในรัฐที่อานาจนั้ นๆถูกธารงคงไว้ด้วยผู้ปกครองสูงสุ ดหรือ
หน่วยงานที่มีอานาจอันชอบธรรม ด้วยภาวะเช่นนี้จึงทาให้แต่ละรัฐต้องดิ้นรนแสวงหาอานาจ
โดยมีจุดประสงค์คือ ความอยู่รอดของรัฐ ดังนั้นความเข้าใจพื้นฐานของวิชาความสัม พั นธ์
ระหว่างประเทศไม่ว่าจะมองด้วยกรอบทฤษฎีใดก็ตามนั่นคือ การทาความเข้าใจอนาธิปไตย
สภาวะอนาธิปไตยที่ไร้อานาจศูนย์กลางนั้นอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือ ความ
ร่วมมือก็เป็นได้ ในมุมมองของทฤษฎีสัจนิยมมองว่า เมื่อรัฐต้องดิ้นรนเพื่อแสวงหาความอยู่
รอดและพึ่งพิงตนเองในสภาวะอนาธิปไตยแล้วจะอาจจะนาไปสู่ความขัดแย้ง ความตึงเครี ยด
ในระบบและนาไปสู่สงคราม ในมุมมองของทฤษฎีเสรีนิยมกลับมองว่าในสภาวะที่ไม่มีอานาจ
สูงสุดใดๆ รัฐต่างๆอาจจะต้องร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอดตลอดจนสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน
และกั น โดยมีองค์ก ารระหว่างประเทศหรือกฎหมายระหว่ างประเทศเป็ นตั วกลางเชื่ อ ม
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ต่างๆ แม้แต่สานัก อังกฤษเองก็ย อมรับว่าสภาวะอนาธิปไตยเป็น
หลักการสาคัญของระบบระหว่างประเทศและสังคมระหว่างประเทศด้วย ส่วนสานักสรรสร้าง
นิยมมีมุมมองที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง โดยมองว่าสภาวะอนาธิปไตยเป็นสิ่งที่รัฐต่างๆ
สร้างขึ้นมาเท่านั้น ไม่มีอยู่จริง (Diez, Bode & Costa,2011: 2-3) ซึ่งรายละเอียดในแต่ละ
ส่วนจะกล่าวต่อไปในบทข้างหน้า

43
43 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

2.3 ระบบระหว่ำงประเทศ (International System)


K.J.Hosti (1972: 29 อ้ า งในสมพงษ์ , 2549: 11-12) ให้ นิ ย ามของค าว่ า ระบบ
ระหว่ ำ งประเทศไว้ ว่ า “ระบบใดๆของหน่ ว ยการเมื อ งอิ ส ระ (independent political
entities) ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกั นและกั นเป็นประจาและเป็นไปตามกระบวนการที่มีก ารวาง
กฎเกณฑ์”
หน่ ว ยทางการเมื อ งข้ า งต้ น อาจจะเป็ น รู ป แบบของชนเผ่ า นครรั ฐ ชาติ หรื อ
จักรวรรดิก็ได้ แต่สิ่งสาคัญคือบรรดาหน่วยทางการเมืองเหล่านี้ล้วนเป็นอิสระจากกัน แต่ก็มี
การพึง่ พากันดังกรณีที่หน่วยทางการเมืองใดที่อ่อนแอกว่าก็จะต้องพึ่งพาหน่วยที่ใหญ่กว่า แต่
ในทางกลับกัน หน่วยทางการเมืองที่อ่อนแอกว่าอาจจะสะสมกาลังอานาจทางการทหารและ
ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจนสามารถสร้างหน่วยทางการเมืองที่ใหญ่ขึ้นและทาการท้า ทาย
หน่วยทางการเมืองอื่นๆจนก่อให้เกิดความขัดแย้งได้
ระบบระหว่างประเทศในแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่างกันไปและมีเวลารุ่งเรืองและ
เสื่อมถอยในตัวของมันเอง เราสามารถพิจารณาระบบระหว่างประเทศว่ามีลักษณะที่สาคัญ
บางประการ ได้แก่
1) ลักษณะของตัวแสดงที่ปฎิบัติการอยู่ในระบบ เช่น ในระบบจักรวรรดิ ในระบบนคร
รัฐ รวมทั้งตัวแสดงอื่นที่มิใช่รัฐ
2) การจัดลาดับหรือการกระจายอานาจภายในระบบและโครงสร้างที่เกี่ยวโยงอยู่กับ
อานาจดังกล่าว
3) ลักษณะของปฏิสัมพันธ์ที่ปรากฎอยู่เป็นประจาในระบบ เช่น ความขัดแย้งและ
ความร่วมมือ เป็นต้น
4) บรรทัดฐานของการประพฤติ (norms of behaviors) และกฎเกณฑ์ (rules) ที่ทา
ให้ระบบยังคงอยู่ถูกรักษาไว้
ระบบระหว่างประเทศในแต่ละสมัยจะมีวิวัฒนาการของรูปแบบที่แตกต่างกันไป
ดังจะเห็นได้จาก ในสมัยโบราณปรากฎระบบนครรัฐกรีก ระบบระหว่างประเทศของยุโรปใน
สมัย กลางที่เรีย กว่า ระบบศัก ดินาสวามิภัก ดิ์หรือระบบฟิ วดั ล (Feudalism) ระบบความ
ร่วมมือแห่งยุโรปในศตวรรษที่ 19 (Concert of Europe) หรือระบบรัฐชาติในปัจจุบัน
ในระบบระหว่างประเทศมี ค่า นิย มหรื อคุณ ค่า 4 ประการที่แต่ละรัฐต่างยึ ด ถื อ
ปฏิ บั ติ ไ ว้ อั น ได้ แ ก่ ความมั่ น คง เสรี ภ าพ ระเบี ย บความยุ ติ ธ รรม และความมั่ ง คั่ ง ดั ง มี
รายละเอียดต่อไปนี้ (Jackson & Sorensen, 2013: 4-9) กล่าวคือ

44
44
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

2.3.1 ควำมมั่นคง (security)


ประชาชนในรัฐย่อมได้รับความคุ้มครองดูแลความมั่นคงจากรัฐที่ตนอาศัย รัฐมีกอง
กาลังไว้ป้องกันตนเองและเตรียมพร้อมทาสงคราม ด้วยเหตุนี้รัฐจึงสามารถเป็นทั้งผู้ปกป้อง
ความมั่นคงของดินแดนตนในขณะเดียวกันก็สามารถคุกคามความมั่นคงของรัฐอื่น
ตลอดช่วงประวัติศ าสตร์ จ ะเห็ น ได้ ว่ารัฐ ต่างๆมี ทั้ง รั ฐ ที่ปรารถนาความสงบ ไม่
รุกรานใครและรักสันติ รัฐบางรัฐก็ก้าวร้าวและชอบความรุนแรง อีกทั้งในโลกนี้ ไม่มีอานาจ
ศูนย์ก ลางควบคุมและห้ามปรามรัฐเหล่า นี้ไ ด้ นาไปสู่ปัญหาอันเก่ าแก่ ของระบบระหว่ า ง
ประเทศนั่นก็คือ ความมั่นคงแห่งชาติ (national security) รัฐส่วนใหญ่มีกองกาลังอาวุธไว้
เพื่อการรักษาสถานภาพของตน แทบจะไม่มีรัฐใดที่ไม่มีกองกาลังเป็นตนเองซึ่งแสดงความจริง
ของระบบระหว่ า งประเทศที่ เ ราไม่ ค วรมองข้ า ม รั ฐ ต่ า งๆได้ ร วมตั ว กั น ตั้ ง กลุ่ ม พั น ธมิ ต ร
(alliance) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นว่าจะไม่มีรัฐมหาอานาจอื่นใด
เข้ามาแย่งชิงความเป็นเจ้าเพียงหนึ่งเดียว (a hegemonic position) ด้วยเหตุนี้ รัฐต่างๆจึง
จาเป็นที่ต้องสร้างและรักษาระบบดุลแห่งอานาจทางการทหาร ความมั่นคงจึงเป็นหนึ่ง ใน
ค่านิยมขั้นพื้นฐานสาคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังนั้นค่านิยมของแนวคิดนี้จึงเป็น
ที่มาของการสร้างทฤษฎีสัจ นิย ม (Realist theories) โดยทฤษฎีสัจ นิย มมีสมมติฐานว่ าเรา
สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ด้วยลักษณะเด่นชัดที่สุดคือ การแข่งขันและ
การทาสงครามระหว่างรัฐ
2.3.2 อิสรภำพ (freedom)
รัฐยึดถือค่านิยมเรื่องเสรีภาพทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับรัฐ (ในที่นี้หมายถึง
ความเป็นเอกราช) พื้ นฐานสาคัญของการมีรัฐและภาระที่รัฐมีต่อพลเมืองคือเงื่ อนไขของ
เสรีภาพที่รัฐจะต้องดูแล หากรัฐมีอิสระ ประชาชนก็มีอิสระด้วย แต่ในขณะเดียวกัน รัฐอาจจะ
เป็นเอกราช แต่ประชาชนก็มิได้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ สงครามเป็นสิ่งหนึ่งที่ทาลายอิสรภาพ
สันติภ าพส่งเสริมอิสรภาพ สันติภาพและความเปลี่ย นแปลงที่ก้าวหน้าจัดเป็นค่า นิ ย มขั้ น
พื้นฐานที่สาคัญที่สุดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แนวทางการศึกษาเช่นนี้เป็นที่มาของ
การสร้างทฤษฎีเ สรี นิย ม (Liberal Theories) โดยมีสมมติฐ านที่ว่ า ความสัม พั น ธ์ระหว่ า ง
ประเทศเป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่างรัฐเพื่อรักษาสันติ ภาพและอิสรภาพ อีกทั้งแสวงหา
ความเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้า

45
45 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

2.3.3 ระเบียบและควำมยุติธรรม (order and justice)


รัฐต่างๆมีผลประโยชน์ร่วมกันในการก่อตั้งและรักษาระบบระหว่างประเทศเพื่อที่
รัฐจะอยู่ร่วมกั นและมีปฏิสัมพันธ์บนพื้นฐานแห่งเสถียรภาพ ความมั่นคงและการคาดเดา
ล่วงหน้า (predictability) ด้วยเหตุนี้รัฐจาต้องยึดกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อรัก ษาข้ อ
ปฏิบัติทางสัญญาระหว่างกัน อีกทั้งสังเกตการณ์กฎกติกา ประเพณีและแบบแผนของระเบียบ
ระหว่างประเทศที่ชอบด้วยกฎหมาย รัฐได้รับการคาดหวังว่าจะต้องยอมรับข้อปฏิบัติท างการ
ทู ต และสนั น สนุ น องค์ ก ารระหว่ า งประเทศ กล่ า วได้ ว่ า กฎหมายระหว่ า งประเทศ
ความสัมพันธ์ทางการทูตและองค์การระหว่างประเทศจะดารงอยู่และดาเนินการให้ประสบ
ความสาเร็จ ได้หากความคาดหวังเหล่านี้ได้รับการตอบสนองจากรัฐส่วนใหญ่ อีกทั้งรัฐถู ก
คาดหวังว่าจะต้องยึดถือหลักสิทธิมนุษยชน ในปัจจุบันนี้มีการวางกรอบทางกฎหมายระหว่าง
ประเทศสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนซึ่ ง ได้ รั บ การพั ฒ นามาตั้ ง แต่ ส งครามโลกครั้ ง ที่ ส องสิ้ น สุ ด ดั ง นั้ น
ระเบียบและความยุติธรรมจึงเป็นหนึ่งค่านิยมหลักในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เ ป็น
แนวทางในการสร้างกรอบการศึกษาสังคมระหว่างประเทศ (international society) หรือ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างในแนวทางสานักอังกฤษ (The English School in IR) โดยมี
สมมติฐานว่ารัฐเป็นตัวแสดงที่มีความรับผิดชอบทางสังคม (socially responsible actors)
และมีผลประโยชน์ร่วมกันในการรักษาระเบียบระหว่างประเทศและส่งเสริมความยุติธรรม
ระหว่างประเทศ
2.3.4 ควำมมั่งคั่ง (wealth)
ค่านิยมของระบบระหว่างประเทศประการสุดท้ายในที่นี้เกี่ยวข้องกับความมั่งคั่ง
ทางเศรษฐกิจและสวัสดิการ ประชาชนล้วนคาดหวังว่ารัฐบาลของตนจะดาเนินนโยบายที่ดี
ก่อให้เกิดการจ้างงานที่สูง มีอัตราเงินเฟ้อที่ต่า การลงทุนที่มั่นคงหรือการค้าดาเนินไปอย่าง
สะดวก ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสาคัญที่ไม่สามารถแยกออกปัจจัยด้านอื่นๆ ประชาชนยัง
คาดหวังให้รัฐตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในแนวทางที่ยกระดับหรือรักษา
มาตรฐานการดารงชีวิตของประชาชาติไว้ได้
ในปัจ จุบันนี้รัฐต่างๆ พยายามที่จ ะวางกรอบนโยบายเศรษฐกิ จภายในเพื่อที่จะ
สามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งแต่ละรัฐต่างล้วนต้องพึ่งพาอาศัยซึ่ง
กั น และกั น ทั้ ง ในรู ป แบบของการค้ า ระหว่ า งประเทศ การลงทุ น ระหว่ า งประเทศ การ
แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในระดับระหว่างประเทศ
ล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในรัฐ การพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจในระหว่างประเทศ

46
46
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

จึงเป็นลัก ษณะเด่นประการหนึ่งของระบบระหว่างประเทศ ซึ่งมุมมองต่อประเด็น หลาย


ลักษณะคือ ประการแรก เศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่จะทาให้เสรีภาพและความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น
โดยการเพิ่มตลาดในระดับโลกด้วยวิธีเพิ่มการมีส่วนร่วม การผลิตเฉพาะด้าน ประสิทธิภาพใน
การผลิตและผลผลิต ในทางตรงกันข้าม ประการถัดมา เศรษฐกิจอาจจะเป็นปัจจัยที่สร้าง
ความไม่เท่าเทีย มกั น รัฐที่ร่ารวยจะได้เปรียบและกดขี่รัฐที่ด้อยกว่าหรือยากจนกว่า และ
ประการสุดท้าย มองว่าการปกป้องทางเศรษฐกิจเป็นหนทางที่ดีที่กว่าการพึ่งพาอาศัยกันทาง
เศรฐกิจ เนื่องมาจากการปกป้องทางเศรษฐกิจเป็นหนทางที่ตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ ทาง
เศรษฐกิจและการเงินที่สร้างความปั่นปวนให้กับเศรษฐกิจโลกเป็นบางคราว แนวทางดังกล่าว
น าไปสู่ ก ารสร้ า งทฤษฎี แ ละแนวทางการศึ ก ษาเศรษฐศาสตร์ ก ารเมื อ งระหว่ า งประเทศ
(International Political Economy: IPE) โดยเฉพาะกลุ่มทฤษฎีมาร์กซ์ ซึ่งมองว่าเศรษฐกิจ
เป็นปัจจัยสาคัญในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แทนที่จะมุ่งศึกษาเพียงมิติทาง
ทหารและการเมือง

2.4 ตัวแสดงระหว่ำงประเทศ (International Actors)


จากที่กล่าวไปในหัวข้อรัฐ จะพบว่า “รัฐ” ถือเป็น “พระเอก” หรือตัวแสดงหลัก
และกาหนดทิศทางในกิ จการระหว่างประเทศมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะทฤษฎีสัจ นิย มที่ ให้
ความสาคัญกับตัวแสดง “รัฐ”มากที่สุด โดยมองว่า รัฐเป็นตัวแสดงที่ทรงอิทธิพลต่อการเมือง
ระหว่างประเทศ ดังเช่น คากล่าวที่บอกว่า “ประเทศเยอรมนีบุกโจมตีโปแลนด์ในปี 1939”
นั้น ในความเป็นจริง คือ เป็นเรื่ องของ “ชาวเยอรมนี” ในฐานะบุคคลหรือพลเมือง บุกโจมตี
ชาวโปแลนด์ในฐานะ “พลเมือง” เช่นเดียวกัน มิใช่เป็นการกระทาของรัฐโดยตรง แต่ก็ถือ
เป็นเรื่องที่เข้าใจว่าเป็นลักษณะของตัวแสดงที่เป็นรัฐ
ในทางตรงกันข้าม ทฤษฎีเสรีนิยมกลับมีมุมมองที่ต่างออกไปกล่าวคือ รัฐเป็นเพียง
หนึ่งในตัวแสดงในเวทีระหว่างประเทศเท่านั้น เพราะยังมีตัวแสดงอื่นๆที่มิใช่รัฐ (non-state
actors) เช่ น องค์ ก ารระหว่ า งประเทศ (International Organization) ทั้ ง ระดั บ โลกและ
ระดับภูมิภาค บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations) กลุ่มองค์การที่มิใช่รัฐบาล
ระดั บ ระหว่ า งประเทศ (International Non-Governmental Organizations : INGOs)
ศาสนจักร(Churches) และกลุ่มทางศาสนาต่างๆ กลุ่มผู้อพยพโพ้นทะเล (diasporas) กลุ่ม
เครือข่ายอาชญากรข้ามชาติ กลุ่มก่อการร้าย กลุ่มองค์กรสาธารณะกุศล รวมทั้งบรรดาผู้มี
ชื่อเสียงระดับโลก ล้วนแล้วแต่มีความสาคัญต่อการกาหนดความเป็นไปของโลกในทิศทางที่
ต่างกันไป

47
47 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ถึงแม้ว่าสัจนิยมและเสรีนิยมจะให้ความสาคัญกับตัวแสดงเช่นรัฐต่างกัน แต่ทั้งสอง
แนวคิดนี้ก็มีมุมมองที่ว่ารัฐเป็นตัวแสดงที่สาคัญในเวทีระหว่างประเทศด้วยเหตุผล 4 ประการ
คือ (Nye & Welch, 2011: 38)
1) รัฐมีความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของประชากร ทรัพยากร สินค้า
หรือเงินตราระหว่างพรมแดนของรัฐ แม้ว่าแต่ละรัฐจะมีความสามารถในลักษณะนี้
ไม่เท่ากันและไม่มีรัฐใดสามารถกระทาได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่รัฐก็ เป็นตัวแสดงที่
มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบริหารจัดการประเด็นข้างต้น
2) รัฐเป็นตัวแสดงเพียงหนึ่งเดียวที่ใช้อานาจกองทัพได้ บางรัฐก็สามารถจัดการความ
รุนแรงในระดับเล็กได้ แต่ในขณะที่บางรัฐก็ไม่สามารถจัดการความรุนแรงระดับ
ใหญ่ได้
3) รัฐเป็นเพียงตัวแสดงเดียวที่มีอานาจจัดเก็บภาษีและจัดการการใช้จ่ายเงินจานวน
มาก
4) รัฐเป็นเพียงตัวแสดงเดียวที่สามารถประกาศและบังคับใช้กฎหมายได้
จากข้างต้น แสดงให้เห็นว่ารัฐเป็นตัวแสดงทีjแตกต่างจากตัวแสดงอื่นๆใน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นลักษณะสาคัญที่รัฐถือครองไว้ นั่น
คือ “อ ำนำจ” (power) ซึ่งถือเป็นอีก แนวคิ ดส าคัญ ในการท าความเข้ าใจความสั ม พั น ธ์
ระหว่างประเทศทั้งในระดับทฤษฎีและกิจการระหว่างประเทศ
2.5 อำนำจในควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ
หากนิยามคาว่า “อานาจ” (power) แล้วจะพบว่ามีผู้ให้คานิยามไว้หลากหลาย
Robert Dahl นั ก รั ฐ ศาสตร์ ช าวอเมริ ก าคนส าคั ญ ได้ นิ ย ามอ านาจไว้ ว่ า “อ านาจเป็ น
ความสามารถที่จะให้ผู้อื่นกระทาตามหรือห้ามผู้อื่นไม่ให้กระทา” หากเราจะวัดอานาจใน
รู ป แบบของการเปลี่ ย นแปลงพฤติ ก รรมของผู้ อื่ น แล้ ว เราจ าเป็ น ที่ ต้ อ งรู้ ค วามพึ ง พอใจ
(preference) ของผู้นั้นก่อน มิฉะนั้นแล้วอาจจะเกิดความผิดพลาดจาการใช้อานาจของเรา
ในทางความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ นั ก วิ ช าการหลายคนได้ แ สดงทั ศ นคติ ต่ อ อ านาจที่
แตกต่างกันไป อาทิ Joseph Nye กล่าวว่า อานาจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เหมือน
ดินฟ้าอากาศ ทุก คนพูดถึงอานาจ” และขยายความว่า “อานาจก็ คล้ายๆกั บ ความรัก มี
ประสบการณ์รัก นั้นง่ายกว่าที่จ ะให้ความหมายหรือวัดปริ มาณความรัก ว่ ามากน้อยอย่ า ง
ชัดเจน” ส่วน Hans Morgenthau กล่าวถึงอานาจว่า “อานาจอาจรวมอะไรก็ได้ที่สร้างและ
รักษาการควบคุมของคนหนึ่งเหนือคนอื่นๆ” Karl Deustch กล่าวถึงอานาจว่า “อานาจเป็น

48
48
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ความสามารถที่ ท าให้มี ชัย ในความขัดแย้ งและเอาชนะอุป สรรคทั้ง มวล” (Morgenthau,


1978 & Nye, 2004 & Deustch, 1988 อ้างใน จุลชีพ, 2557: 94) ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็น
เรื่องยากที่ว่าจะทาให้รัฐๆหนึ่งปฏิบัติตามที่อีกรัฐต้องการหรือไม่ต้องการนั้นอย่างไร
รัฐมีแหล่งอานาจ (power resource) ที่แตกต่างกันไปโดยอาจจะวัดได้จาก ขนาด
และที่ตั้งของรัฐ จานวนประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ รูปแบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งขนาดกองทัพ ซึ่งอานาจที่กล่าวมานั้น สามารถแบ่งเป็น อานาจที่จับต้องได้ (tangible
power) ซึ่งเป็นอานาจที่สามารถวัดได้ เปรียบเทียบกันได้และมีผลต่อความมีอานาจของรัฐ
เช่น จานวนประชากร ขนาดของรัฐ จานวนทรัพยากร ศัก ยภาพทางเศรษฐกิจ กองกาลัง
ทหาร หรือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้นและอานาจที่จับต้องไม่ได้
(intangible power) เป็นอานาจที่ไม่สามารถวัดได้ มีความเป็นนามธรรมแต่มีสาคัญต่อการ
ประเมินอานาจของรัฐ เช่น ภาวะผู้นาประเทศ ความคิดของชนชั้นนา ระบอบการปกครอง
คุณภาพของประชากร ความเป็นเอกภาพทางสังคม เป็นต้น
หากวัดอานาจของรัฐด้วยหลักเกณฑ์ข้างต้น เราอาจพบปัญหาบางประการในการ
อธิบายอานาจของรัฐบางรัฐ เช่น สิงคโปร์เป็นรัฐที่มีดินแดนขนาดเล็ก แต่ประชากรมีคุณภาพ
และมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ เจริญก้าวหน้าและล้าสมัย กว่าอินโดนีเซียที่มีประชากร
จ านวนมากและมี อาณาเขตกว้า งใหญ่ หรื อ ในกรณี ที่ จีน ปกครองด้ ว ยระบอบสั งคมนิย ม
คอมมิวนิสต์แต่มีความก้าวหน้าและศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าหลายๆประเทศที่ปกครอง
ด้วยระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบหรือวัด
อานาจของรัฐกัน
2.5.1 รูปแบบอำนำจตำมแนวคิดของ Joseph Nye
Nye (2011) ได้แบ่งอานาจเป็น 2 รูปแบบคือ
1) อำนำจแข็ง หรือ Hard Power เป็นลักษณะที่เห็นได้ชัด จับต้องได้ โดย
รูปแบบการใช้อานาจนั้นเป็นได้ทั้งการสั่งการควบคุม (command and control) การชี้นา
(inducement) การบังคับ (coercion) หรือ การจ่าย(payment) เป็นต้น โดยอานาจแข็งนั้น
เห็นได้ชัดจากอานาจทางการทหาร และเศรษฐกิจ
2) อำนำจอ่อน หรือ Soft Power เป็นลักษณะอานาจที่สามารถจูงใจรัฐอื่น
ปฏิบัติตาม ซึ่งการใช้อานาจนั้นอาจจะเป็นการตั้งประเด็น การโน้มน้าว การร่วมมือกัน หรือ
สร้างค่านิยม ซึ่ง Nye ได้เสนอว่าอานาจอ่อนสามารถเห็นได้ชัดจาก วัฒนธรรม (culture)
คุณค่าทางการเมือง (political value) และนโยบายต่างประเทศ (foreign policy)

49
49 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ตำรำงที่ 2.1 เปรียบเทียบรูปแบบอำนำจแข็งและอำนำจอ่อนตำมแนวคิดของ Nye


อำนำจแข็ง อำนำจอ่อน
พิสัยของอำนำจ การออกคาสั่ง (command) การกาหนดวาระ (agenda setting)
(Spectrum of การบีบบังคับ (coercion) การดึงดูดใจ (attraction)
Power) การชี้นา (inducement) ความร่วมมือ (co-opt)
แหล่งอำนำจ กองกาลัง (force) สถาบัน (institutions)
(Power การจ่าย (payment) ค่านิยม (values)
Resource) การคว่าบาตร (sanctions) วัฒนธรรม (culture)
การติดสินบน (bribes) นโยบาย (policies)

จะเห็นได้ว่า การใช้อานาจอ่อนมิได้ส่งผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพโดยอัตโนมัติ
เช่นเดียวกับอานาจแข็ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ใช้อานาจนั้นๆด้วย ยกตัวอย่างเช่น
โอซามา บินลาเดน มีอานาจอ่อนในการชัก จูงแนวคิด ต่อ ผู้ ที่จ งรัก ภัก ดีจ นนาไปสู่ก ารก่ อ
วินาศกรรม 9/11 ในบางครั้งอานาจแข็งอาจจะกลายเป็นอานาจอ่อนได้ด้วยเช่นกัน เช่น หาก
รัฐใดรัฐหนึ่งใช้อานาจทางเศรษฐกิจโดยการให้เงินหรือความช่วยเหลืออีกรัฐหนึ่งเป็นรูปธรรม
หรือใช้อานาจทางเศรษฐกิจเข้าบีบบังคับ เช่น การคว่าบาตรหรือการกีดกันทางการค้าก็จัดว่า
อานาจเศรษฐกิจเช่นนี้เป็น อานาจแข็ง แต่หากบรรดารัฐต่างๆเข้าไปลงทุนในรัฐนั้นๆเพราะ
เห็นว่ารัฐนั้นมีศักยภาพที่อยากจะร่วมมือด้วยก็จัดว่าเป็นอานาจอ่อน
อานาจแข็งและอานาจอ่อนจัดว่ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความสาเร็จทางด้าน
รู ป ธรรมก่ อ ให้ เ กิ ด แรงจูง ใจทางวั ฒ นธรรมและอุด มการณ์ อีก ทั้ งลดประสิ ท ธิ ผ ลทางด้าน
เศรษฐกิจ และทางทหารอันนาไปสู่การขาดความเชื่อมั่นและวิกฤตของอั ตลักษณ์อานาจอ่อน
มิได้ขึ้นอยู่กับอานาจแข็งเท่านั้น ดังจะเห็นได้จาก อานาจอ่อนของนครรัฐวาติกันก็มิได้ลดลง
ตามขนาดของรัฐ ส่วนแคนาดา สวีเดนและเนเธอแลนด์เองก็มีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลมากว่า
รัฐอื่นๆด้วยอานาจทางการทหารและเศรษฐกิจ สหภาพโซเวียตในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่
สองเองก็มีการใช้อานาจอ่อนในยุโรปแต่หลังการบุกฮังการีในปี 1956 และ เชคโกสโลวาเกีย
ในปี 1968 การใช้อานาจอ่อนดังกล่าวก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป หรือจากเหตุการณ์ 9/11
เอง สหรัฐอเมริกาก็สามารถใช้อานาจในการดึงดูดความร่วมมือจากนานาชาติ แต่อานาจอ่อน
ที่สหรัฐอเมริกาใช้นั้นก็ถือว่า “สูญเปล่า” หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้นโยบายเอกภาคีนิยม
ที่แข็งกร้าว (muscular unilateralism)

50
50
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ตำรำงที่ 2.2 ประเภทของอำนำจ (Winger,2014)

ประเภทของอำนำจ กลไก ตัวอย่ำง


อานาจแข็ง การบังคับ ประเทศ B กระทาตามสิ่งที่ประเทศ A
(Hard Power) (coercion) ต้องการเนื่องจากประเทศ A จะข่มขู่คุกคาม
ประเทศ B ถ้าหากไม่ปฏิบัติตาม
อานาจเศรษฐกิจ แรงกระตุ้น ประเทศ B กระทาตามสิ่งที่ประเทศ A
(Economic Power) (incentive) ต้องการเนื่องจากประเทศ A จะให้รางวัล
ประเทศ B ที่ปฏิบัติตาม
อานาจอ่อน ความร่วมมือ ประเทศ B กระทาตามสิ่งที่ประเทศ A
(Soft power) (co-option) ต้องการเนื่องจาก ประเทศ B ได้รับการโน้ม
น้าวหรือจูงใจว่าสิ่งที่ประเทศ A ต้องการนั้น
คือสิ่งที่ดีที่สุด

หากพิจารณาประวัติศาสตร์โลกแล้วจะพบว่ามหาอานาจแต่ละรัฐมีอานาจในการ
จัดการระบบระหว่างประเทศที่แตกต่างกันไปตามทรัพยากรหรือศักยภาพของรัฐที่ถือครองใน
ขณะนั้นทั้งในรูปแบบอานาจแข็ง อานาจอ่อน และอานาจทางเศรษฐกิจ (พิจารณาตารางที่
2.3)
คาถามชวนคิดประการหนึ่งคือ “แหล่งอานาจใดจะเป็นแหล่งที่สาคัญที่สุ ด ของ
อานาจในปัจจุบัน” จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่ก ารเกิดรัฐชาติสมัยใหม่เป็นต้นมา แต่ละรัฐจะมี
แหล่งอานาจที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัยและแสดงบทบาททางอานาจในลักษณะที่ต่างกันไป
แหล่งอานาจไม่มีความแน่นอนและไม่ คงที่ อีกทั้งมันยังเป็นปัจจัยสาคัญที่เปลี่ยนแปลงโลก
อานาจอ่อนมีความสาคัญมากขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม ในยุค
แห่ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ สั น ติ ภ าพและประชาธิ ป ไตยมี ค วามเหนื อ กว่ า ส่ ว นอ านาจแข็ ง มี
ความสาคัญในสังคมที่อุตสาหกรรมกาลังพัฒนาและบางสังคมที่ยังเป็นยุคก่อนอุตสาหกรรม

51
51 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ตำรำงที่ 2.3 รัฐมหำอำนำจและแหล่งทรัพยำกรทำงอำนำจ ค.ศ.1500 – 2000


(Nye, 2002 cited in Viotti & Kauppi, 2012: 113)
ช่วงเวลำ รัฐมหำอำนำจ แหล่งทรัพยำกรทำงอำนำจ
ศตวรรษที่ 16 สเปน ทองคาการค้าในอาณานิคม กองทหารรับจ้าง
สายสัมพันธ์ทางราชวงศ์
ศตวรรษที่ 17 เนเธอแลนด์ การค้า ตลาดทุนและกองราชนาวี
ศตวรรษที่ 18 ฝรั่งเศส จ านวนประชากร อุ ตสาหกรรมเกษตรในเขตชนบท การ
บริ ห ารกิ จ การภายในอาณาจั ก ร กองทั พ และวั ฒ นธรรม
(ปัจจัยหลังสุดนี้จัดเป็นอานาจอ่อน)
ศตวรรษที่ 19 อังกฤษ อุตสาหกรรม การเมืองที่ประสานกัน การเงิน กองราชนาวี
แนวคิ ด เสรี นิ ย ม (จั ด เป็ น อ านาจอ่ อ น) และที่ ตั้ ง ทาง
ภูมิศาสตร์ที่เป็นหมู่เกาะ
ศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกำ ระดับ เศรษฐกิจ ความเป็ นผู้นาทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กองกาลังทหารและพันธมิตร
วัฒนธรรมที่มีความเป็ นสากลและระบอบระหว่างประเทศ
แบบเสรี (จัดเป็นอานาจอ่อน)
ศตวรรษที่ 21 สหรัฐอเมริกำ ความเป็นผู้นาทางด้านเทคโนโลยี ขนาดกองกาลังทหารและ
เศรษฐกิจ การใช้อานาจอ่อนและศูนย์กลางการติดต่อสื่อสาร
และโทรคมนาคม

2.6 ระดับกำรวิเครำะห์ (The Level of Analysis)


ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น เราจะต้องใช้ระดับการวิเคราะห์
เพื่อค้นหาคาตอบที่เราต้องการศึกษา และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัย เช่น หากเราต้องการ
ศึ ก ษาสาเหตุ ข องการเกิ ด สงครามโลกครั้ ง ที่ 1 เราอาจจะศึ ก ษาในระดั บ จุ ล ภาคคื อ การ
พิจารณาการตัดสินใจของผู้นาประเทศในขณะนั้นว่าคนเหล่านี้มีความคิดและภูมิหลังอย่างไร
หรืออาจจะพิจ ารณาในระดั บ ที่ใ หญ่ ขึ้ นมา เช่น ศึก ษาการด าเนิ น นโยบายของรั ฐ บาลใน
ขณะนั้นเกิดจากกลุ่มบุคคลใด หรือในระดับมหภาคโดยอาจจะพิจ ารณาว่าสภาพแวดล้อม
ระหว่างประเทศในยุโรปมีส่วนสาคัญต่อการปะทุของสงครามมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
ตัวอย่างผลงานที่ใช้ระดับการวิเคราะห์ที่แตกต่ างกันในการอธิบายปรากฎการณ์
ได้ แ ก่ ง าน “Man, the State and War” ของ Kenneth Waltz ในทศวรรษที่ 1950 ได้

52
52
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

พิ จ ารณาถึ ง สาเหตุ ข องการเกิ ด สงครามในระดั บ ต่ า งๆ โดยให้ ค วามส าคั ญ กั บ ระดั บ การ


วิเคราะห์และความพยายามที่จะแสดงถึงความสั มพันธ์ของระดับการวิเคราะห์ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งต้องการศึ ก ษาการค้ น หาสาเหตุข องสงครามว่ า เราจะหาสาเหตุข องสงครามใน
ธรรมชาติอันรุนแรงของมนุษย์หรือไม่ หรือสงครามมีสาเหตุมาจากรัฐและสังคมหรืออาจจะ
เป็นที่ธรรมชาติของระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การแบ่งระดับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศออกเป็น 3 ระดับคือ
2.6.1 ระดับปัจเจกบุค คล (Individual level) การวิเคราะห์ในระดับนี้เป็นการ
มองเหตุการณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรวมทั้งนโยบายต่างๆนั้นเกิดจากการกระทา
ของบุคคลเพียงคนเดียว โดยเน้นบทบาทของผู้กระทาหรือผู้ออกนโยบาย เช่น ประมุขของรัฐ
หัวหน้าฝ่ายบริหาร ว่ามีการตัดสินใจอย่างไร โดยให้ความสาคัญกับปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
เช่น ภูมิหลังทางสังคม การศึก ษา บุคลิก ภาพ เพศ รวมทั้งมุมมองของผู้นาว่ามีทัศนะต่ อ
เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งไร กล่ า วคื อ ระดั บ ปั จ เจกบุ ค ลมี ก ารศึ ก ษากั น ในทางชี ว วิ ท ยา
(biological factor) ของธรรมชาติความเป็นมนุษย์จนลงไปถึงสัญชาตญาณ (instinct) ของ
มนุษย์กันเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะอธิบายโดยใช้ระดับปัจเจกบุคคลอธิบายถึง
บทบาทของ Kaiser Wilhelm II พระจั ก รพรรดิ แ ห่ ง เยอรมนี ที่ เ ป็ น ต้ น เหตุ ใ นการเกิ ด
สงครามโลกครั้งที่ 1 บทบาทของ Adolf Hitler ผู้นานาซีเยอรมนีที่มีต่อการเกิดสงครามโลก
ครั้งที่ 2 บทบาทของ Saddam Hussen ที่มีต่อการเกิดวิกฤตการณ์ในตะวันออกกลางในปี
1991 หรือบทบาทและทัศนคติของ Barack Obama ต่อการดาเนินนโยบายต่างประเทศต่อ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น
2.6.2 ระดับรัฐ (State Level) เป็นการวิเคราะห์ที่ให้ความสาคัญกับ “รัฐ” เป็น
สาคัญ โดยพิจารณาจากปัจจัยภายในประเทศ เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ ประชากร ระบบ
การเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ สภาพสังคม กลุ่มผลประโยชน์ภายในรัฐและสังคม
ตลอดจนกระบวนการกาหนดนโยบายและสถาบันทางการเมืองว่ามีบทบาทต่อการกาหนด
และดาเนินนโยบายต่างประเทศอย่างไร
ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ที่เราสามารถพิจารณาได้จากการใช้ระดับการวิเคราะห์
ระดับรัฐจะเห็นได้จากในสงครามเพโลโพนีเชียนก็มีสาเหตุเบื้องต้นมาจากความขัดแย้งภายใน
นครรั ฐ Epidamnus ระหว่ า งกลุ่ ม คณาธิ ป ไตย (oligarchs) และกลุ่ ม ประชาธิ ป ไตย
(democrats) การเมืองภายในเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีก็เป็นสาเหตุสาคัญของ
การเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือการสิ้นสุดของการเมืองสมัยสงครามเย็น ก็สามารถ

53
53 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

พิจารณาได้จากปัญหาทางการเมืองภายในสหภาพโซเวียตเอง ดังจะเห็นได้จากความล้มเหลว
ในการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ
2.6.3. ระดับระหว่ำงประเทศ (International Level) การวิเคราะห์ในลักษณะนี้
เป็นการมองภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะองค์รวม มองปฎิสัมพั นธ์
ระหว่างรัฐต่างๆประกอบกั นเป็นระบบระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะพิจ ารณาได้จ ากหลาย
ประเด็น เช่น สภาวะอนาธิปไตย ขั้วอานาจในระบบการเมืองระหว่างประเทศว่าเป็นระบบ
สองขั้วอานาจ หลายขั้วอานาจ หรือขั้วอานาจเดียว ระบอบและองค์การระหว่างประเทศ
การกระจายอานาจและขีดความสามารถของแต่ละรัฐ รูปแบบพันธมิตรทางการทหารหรือ
บรรทัดฐานระดับระหว่างประเทศเป็ นต้น ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมและ
การกาหนดนโยบายต่างประเทศของแต่ละรัฐ
ในที่นี้ ผู้เขียนจะยกตัวอย่างการใช้ระดับการวิเคราะห์ กับเหตุการณ์สงครามโลก
ครั้งที่ 1 เป็นกรณีศึกษา สงครามโลกครั้งที่ 1 นับได้ว่าเป็นมหาสงคราม (great war) ที่เกิดขึ้น
ในช่วงปี ค.ศ. 1914 – 1919 โดยมีชนวนเหตุมาจากการลอบปลงพระชนม์อาร์ค ดยุค เฟอร์
ดินาน มกุ ฎราชกุ มารแห่ง ออสเตรีย -ฮังการี และลุกลามกลายเป็ น เหตุแ ห่ง ความขั ด แย้ ง
ระหว่างมหาอานาจในยุโรปและนาไปสู่สงครามที่ถือได้ว่าขยายขอบเขตสมรภูมิการรบออกไป
หากพิจารณาเหตุการณ์ดังกล่าวจะพบว่าสิ่งที่ เกิดขึ้นข้างต้นเป็นเพียง “ฟางเส้นสุดท้าย” ที่
นาไปสู่วิกฤตการณ์แต่มิใช่สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดสงครามโลก ดังนั้นหากเราใช้ระดับการ
วิเคราะห์ทั้งสามรูปแบบอันได้แก่ ระดับปัจเจกบุคล ระดับรั ฐ ระดับระบบระหว่างประเทศ
(พิจารณาแผนภาพที่ 2.1)
ในระดับระหว่างประเทศนั้น สามารถพิจารณาได้จากเหตุการณ์สาคัญ ได้แก่การ
ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจของเยอรมนี (Rise in German Power) และการสร้างระบบสอง
ขั้วระหว่างกลุ่มพันธมิตรของมหาอานาจยุโรป (Bipolarity of Alliance) ในประเด็นเรื่องการ
ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจของเยอรมนีเกิดจากการที่เยอรมนีสามารถรวมประเทศได้ในปี ค.ศ.
1871 โดยผู้ ขั บ เคลื่ อ นคนส าคั ญ คื อ Otto Von Bismarck อั ค รมหาเสนาบดี แ ห่ ง ปรั ส เซี ย
นอกจากนั้นเยอรมนียังมีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจและพัฒนาอุตสาหกรรมจนก้าวขึ้นมาเป็น
มหาอ านาจทางเศรษฐกิ จ เคี ย งคู่ กั บ อั ง กฤษในช่ ว งเวลาดั ง กล่ า ว เยอรมนี เ ริ่ ม ขยาย
แสนยานุภาพกองทัพเรือในปี 1911 จนสามารถสร้างกองราชนาวีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สอง
ของโลก ความยิ่ ง ใหญ่ ดั ง กล่ า วเริ่ ม สร้ า งความหวาดระแวงให้ กั บ ประเทศอื่ น ๆในยุ โ รป
โดยเฉพาะอังกฤษที่เกรงว่าเยอรมนีจะเข้ามาแย่งชิงพื้นที่และเส้นทางผลประโยชน์ของตนใน

54
54
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ภูมิภาคต่างๆของโลก โดยเฉพาะความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมทวีปแอฟริการะหว่างอังกฤษ
และเยอรมนีในสงครามบัวร์ (Boer War)
การสร้างค่ายพันธมิตรระหว่างมหาอานาจในยุโ รปเป็น ไปตามที่ Bismarck ได้
วางแผนซึ่งเราอาจเรียกระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยนี้ว่า “ระบบการทูตแบบ
บิสมาร์ก” (Bismarckian Diplomacy) เยอรมนีใช้การทูตเป็นเครื่องมือในการรักษาสันติภาพ
และการรักษาสถานภาพของตน อีกทั้งหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับมหาอานาจอื่นๆและต้องการ
โดดเดี่ยวฝรั่งเศส ดังนั้น Bismarck จึงสร้างระบบพันธมิตรที่สลับซับซ้อนเพื่อวัตถุประสงค์
ข้างต้นซึ่งระบบการทูตดังกล่าวนาไปสู่การเกิดระบบพันธมิตรจนทาให้ยุโรปแบ่งออกเป็น 2
ค่ายอย่างชัดเจน กล่าวคือ เยอรมนีที่กาลังก้าวขึ้นมามีอานาจได้ลงนามพันธมิตรทางทหารกับ
ออสเตรีย-ฮังการีในนามสนธิสัญญาพันธไมตรีทวิภาคี(Dual Alliance) ในปี ค.ศ. 1879 ซึ่งถือ
ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งอานาจในยุโรปออกเป็น 2 ขั้วและถูกขยายออกเป็นสนธิสัญญา
พันธไมตรีไตรภาคี (Triple Alliance) ในปี ค.ศ. 1882 โดยรับอิตาลีเข้ามาเป็นสมาชิก การ
รวมกลุ่มดังกล่าวก็เป็นไปตามที่ Bismarck คาดหวังไว้คือการแสวงหาพันธมิตรเพื่อป้องกัน
ฝรั่งเศสกลับมามีบทบาทในยุโรปอีก
ระบบโครงสร้างระหว่างมหาอานาจเริ่มสั่นคลอนเมื่อ Kaiser Wilhelm II เสด็จขึ้น
ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1888 และดาเนินนโยบายต่างประเทศที่แ ตกต่ างจากนโยบายของ
Bismarck อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ทรงมีพระประสงค์ที่จะขยายอานาจของเยอรมนีให้ได้มาก
ที่สุดซึ่งต่างจาก Bismarck ที่พยายามหลีก เลี่ย งความขัดแย้งกั บมหาอานาจอื่นๆจนสร้าง
ความไม่พอใจให้กั บรัสเซีย และทาให้เยอรมนี ขัดแย้งกั บอังกฤษมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ระบบ
ดุลอานาจเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ฝรั่งเศสซึ่งถูกเยอรมนีโดดเดี่ยวก็เริ่มผูกมิตรกับรัสเซียในปี ค.ศ.
1894 โดยการร่วมลงนามความร่วมมือ Franco-Russian Entente หรือเรียกอีกชื่อว่า Dual
Alliance ฝรั่งเศสทาข้อตกลงทางไมตรีกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1904 ในนามข้อตกลง Entente
Cordial และอั ง กฤษท าข้ อ ตกลงกั บ รั ส เซี ย ในปี ค.ศ. 1907 ในนาม Anglo-Russian
Agreement การผูกความสัมพันธ์ระหว่างมหาอานาจทั้งสามจึงถือเป็นการสร้างขั้วอานาจ
ขึ้ น มาใหม่ ใ นยุ โ รปที่ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก กั น ในนาม กลุ่ ม ไตรพั น ธมิ ต ร (Triple Entente) โดยมี
วัตถุประสงค์ที่สาคัญคือการต่อต้านการขยายอานาจของเยอรมนีในตะวันออกกลาง ดังนั้น
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 คือช่วงที่โ ครงสร้างระหว่างประเทศในยุโรปมีการแบ่งขั้วอานาจ
ชัดเจน ระบบดุลแห่งอานาจที่ใช้เป็นแกนรักษาความสงบเริ่มขาดความยืดหยุ่นและขาดความ
สมดุล สร้างความตึงเครียดในยุโรปจนเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆก่อนที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะ
อุบัติขึ้น

55
55 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ในส่ ว นของการวิ เ คราะห์ ด้ ว ยระดั บ ภายในรั ฐ เราจะพิ จ ารณาว่ า “เกิ ด การ


เปลี่ยนแปลงอะไรในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในรัฐ ” ที่นาไปสู่การเกิดสงครามโลก
ครั้งที่ 1 ซึ่งในที่นี้เราสามารถเลือกที่จะอธิบายในประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งก็ได้จะมุมมองที่
แตกต่างกันไป
ในกรณีฝรั่งเศสนั้น หากพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงภายในรัฐแล้วฝรั่งเศสต้อง
สูญเสียแคว้นอัลซาส-ลอแรนให้เยอรมนีจากสงครามในปี ค.ศ.1871 สร้างความเจ็บแค้นให้กับ
ประชาชนฝรั่งเศส รัฐบาลในยุคนั้นจึงต้องดาเนินนโยบายเพื่อเอาใจประชาชนโดยการสร้าง
เกียรติภูมิของชาติโดยการล่าอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชียเพื่ อลบบาดแผลของชาติที่
สูญเสียดินแดนให้กับเยอรมนีไป การขยายอาณานิคมของฝรั่งเศสนาไปสู่การกระทบกระทั่ง
และความตึงเครียดกับมหาอานาจอื่นๆ หรือในกรณีของเยอรมนี นั้นสามารถวิเคราะห์ได้ว่า
ผลจากการดาเนินโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นคือปัจจัยหนึ่งที่นาไปสู่สงคราม ชนชั้นนาใน
เยอรมนีมีความประสงค์ที่ต้องการให้เยอรมนีครองความเป็นเจ้าระดับโลกแต่รัฐบาลมิได้
คานึงถึงปัญหาทางสัง คมและเศรษฐกิ จ ภายในประเทศ กล่าวได้ว่าเยอรมนีเ น้ น นโยบาย
ต่างประเทศแบบขยายอานาจ (expansionist policies) และก้าวร้าวรุก ราน (aggressive
policies) มากกว่าที่จ ะสนใจการปฏิรูปเศรษฐกิจ ภายในประเทศของตนแม้ว่าปัญหาทาง
เศรษฐกิจและสังคมภายในเยอรมนีจะไม่เพียงพอต่อการอธิบายการเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
แต่ปัจจัยเหล่านี้ก็ ช่วยให้เราสามารถอธิบายที่มาของความกดดันที่เยอรมนีเผชิญในระบบ
ระหว่างประเทศหลังปี 1890 เป็นต้นมา
นอกจากนั้น เรายังใช้ระบบการวิเคราะห์นี้อธิบายลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ที่
ก่ อตัวขึ้นในประเทศต่างๆแถบคาบสมุทรบอลข่านที่ต้องการปลดแอกตนจากอานาจของ
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีซึ่งเป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่แต่มีจุดอ่อนที่สาคัญคือเป็นดินแดน
ที่มีความหลกหลายทางชาติพันธุ์และขาดความเป็นเอกภาพ อีกทั้งความอ่อนแอและการฉ้อ
ราษฎร์ บั ง หลวงของการบริ ห ารงานภายในจั ก รวรรดิ อ อตโตมั น ก็ เ ป็ น ปั จ จั ย ที่ ท าให้ ลั ท ธิ
ชาตินิยมของผู้คนในประเทศนี้ขยายตัวมากขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศตนเป็นเอกราช
และหลุดพ้นจากการปกครองของชาวตุรกี การขยายตัวดังกล่าวนาไปสู่การเกิดปฏิวัติและ
วิ ก ฤตการณ์ ใ นหลายพื้ น ที่ เช่ น วิ ก ฤตการณ์ โ มร็ อ กโก ( Morocco Crisis) ทั้ ง สองครั้ ง
วิ ก ฤตการณ์ ใ นบอสเนี ย (Bosnian Crisis 1908-1909) สงครามบอลข่ า นทั้ ง สองครั้ ง ในปี
1912 และ 1913 (The Balkan wars of 1912 and 1913) โดยเฉพาะสงครามบอลข่ า น
ส่งผลให้ประเทศต่างๆเกิดความขัดแย้ง โดยมีผลกระทบตามมาหลายประเทศ ตุรกีอ่อนแอ
อย่างมากเนื่องจากสูญเสีย ดินแดน กรีซกลายเป็นประเทศที่มีบ ทบาทเข้มแข็ง มากยิ่ ง ขึ้ น

56
56
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

เซอร์ เ บี ย ได้ ดิ น แดนเพิ่ ม และกลายเป็ น ผู้ น าชาวสลาฟ(Slav) ในกลุ่ ม รั ฐ บอลข่ า นต่ อ ต้ า น


ออสเตรีย จนกลายเป็นชนวนหนึ่งของการลอบปลงพระชนม์มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรียในปี
1914
แผนภำพที่ 2.1 ระบบพันธมิตรของมหำอำนำจในยุโรปก่อนสงครำมโลกครั้งที่ 1

ที่มา: https://vanowiki.wikispaces.com/WWIAlliances

ในการวิเคราะห์ระดับปัจเจกบุคคลที่มีผลต่อการเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นคง
จะต้องพิจารณาถึงผู้นารัฐที่สาคัญในยุโรป เช่น พระจักรพรรดิ Franz Joseph แห่งออสเตรีย
Tsar Nicolas II แห่งรัสเซีย Herbert Henry Asquith นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เป็นต้ น
หากบุคคลที่น่าสนใจมากที่สุดคนหนึ่งคือKaiser Wilhelm II พระจักรพรรดิแห่งเยอรมนี หาก
วิเคราะห์ถึงบุคลิกภาพส่วนพระองค์แล้ว ทรงมีพระอารมณ์ฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์ ซึ่งอาจจะมา
จากประเด็นที่พระองค์ต้องการปกปิดปมด้อยเรื่องพระวรกายที่พระพาหา (แขน) ทั้งสองข้าง
ยาวไม่เท่ากันก็เป็นได้ บุคลิก ภาพและแนวพระราชดาริทางการเมืองของพระองค์มีผลต่อการ
สร้างนโยบายที่ก้าวร้าวของเยอรมนี
คาถามที่ว่า “แล้วระดับการวิเคราะห์ใดที่เหมาะสมหรือควรให้ความสาคัญ มาก
ที่สุดในปัจจุบัน” ในที่นี้สามารถตอบได้ว่า ระดับการวิเคราะห์ทุกระดับล้วนสาคัญหมด ดังนั้น
ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับว่า อะไรคือสิ่งที่เราพิจารณาภายใน
ระดับการวิเคราะห์ อีกทั้งตัวแสดงต่างๆ โครงสร้างและปัจจัยอื่นๆหรือตัวแปรนั้นเกี่ยวข้องกัน
โดยข้ามระดับการวิเคราะห์และช่วงเวลาอย่างไร
ระดับและหน่วยการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันล้วนมีผลต่ อการวิเคราะห์ปรากฎการณ์
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่แม้จะเป็นเหตุการณ์เดียวกันก็ตาม อีกทั้งมีผลต่อการมองโลก

57
57 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

และนาไปสู่การสร้างแนวคิดและทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก
ทฤษฎีสัจนิยมใหม่ให้ความสาคัญกับโครงสร้างระหว่างประเทศ การกระจายขีดความสามารถ
และอานาจในระบบระหว่างประเทศมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของรัฐอย่างไรซึ่งแตกต่างจากสัจ
นิยมดั้งเดิมที่อธิบายพฤติกรรมของรัฐจากภายในเป็นสาคัญ หรือในแนวทางการศึกษาสานัก
อั ง กฤษมองว่ า สั ง คมระหว่ า งประเทศหรื อ สั ง คมโลกเป็ น หลั ก การพื้ น ฐานของระดั บ การ
วิเคราะห์ หรือในสายทฤษฎีมาร์กซ์เอง ก็อาศัยระดับการวิเคราะห์ระดับระหว่างประเทศที่
มองว่ า โลกนี้ เ ป็ น ระบบทุ น นิ ย มโลก (capitalist world economy) มี พั ฒ นาการทาง
ประวัติศาสตร์อย่างไรจนมีอิทธิพลและจัดการความเป็นไปของตัวแสดงระดับรัฐ ส่วนกลุ่ม
ทฤษฎีเสรีนิยมเริ่มต้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากทั้งระดับระบบระหว่างประเทศ
จากระบบราชการ กลุ่ ม ผลประโยชน์ และระดั บ ปั จ เจกบุ ค คล นั่ น ก็ คื อ การใช้ ระดั บการ
วิเคราะห์ระดับรัฐและปัจเจกบุคคล อย่างไรก็ตามทั้งนักคิดในทฤษฎีเสรีนิยมและเสรีนิยมใหม่
บางคนก็ให้ความสาคัญกับการพัฒนาและการขยายตัวของบรรทัดฐานระหว่างประเทศที่มี
อิทธิพลต่อพฤติกรรมของรัฐ ซึ่งนั่นก็คือระดับการวิเคราะห์ระดับระบบระหว่างประเทศ

58
58
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ดังที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่า งประเทศเป็นเรื่องที่มีความ


หลากหลายทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับรัฐ หรือแม้แต่ระดับประชาชนอีก ทั้งมี ตัว
แสดงที่หลากหลายมากกว่าในอดีต เราจะเห็นได้ว่านอกจากรัฐแล้ว องค์การระหว่างประเทศ
บรรษัทข้ามชาติที่ผลิตสินค้าออกมจาหน่ายให้กับผู้คนในโลก กลุ่มก่ อการร้าย หรือแม้กระทั่ง
กลุ่มศาสนา ก็ล้วนแล้วแต่มีความสาคัญที่กาหนดความเป็นไปของโลกแทบทั้งสิ้น หากเปรียบ
ความสัมพันธ์ระหว่ างประเทศเป็ นภาพยนตร์ สัก เรื่องแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ย่อมมี ฉ ากที่
หลากหลายและซับซ้อนอีก ทั้งตัวแสดงจานวนมากที่มีบุคลิก ลักษณะแตกต่างกั นไป ดังนั้น

ศิวพล ชมภูพันธุ์
กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงมิได้เป็นเรื่องไกลตัวเราอีกต่อไปเพราะตัวเราเองก็
คือตัวละครตั ว หนึ่ง ในโลกแห่ ง ความสั ม พั นธ์ ระหว่ างประเทศ หากแต่เราเข้ าใจและรั บ รู้
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่ามันคืออะไรแล้ว การรับรู้ดังกล่าวก็มิต่างอะไรกับการอ่านข่าว
จากสื่ อ ดั ง นั้ น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศที่ ก ล่ า วไปข้ า งต้ น จึ ง เป็ น ลั ก ษณะของ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะปรากฎการณ์หรือในชีวิตประจาวันของเรา (IR as
Phenomena or IR as daily life)
คาถามประการถัดมาคือ “เราจะสามารถเข้าใจถึงที่มาหรือเหตุผลรวมทั้งอนาคต
ของเหตุการณ์ต่างๆในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างไร” การกาเนิดความสัมพันธ์
แผนภำพที่ 2.2 ระดับกำรวิเครำะห์สำเหตุกำรเกิดสงครำมโลกครั้งที่ 1

ระหว่างประเทศในฐานะสาขาวิชาทางวิชาการ (IR as Academic Subject) จึงได้ถือกาเนิด

59
ขึ้นเพื่อทาหน้าที่ตอบคาถามนี้ รวมทั้ง อธิบายความเป็นไปในโลกโดยการอาศัย เครื่องมื อ
จานวนหนึ่งและวิธีการในการพิจารณาปรากฎการณ์ แล้วสร้างคาอธิบายเพื่อทาความเข้าใจ
ตีความหรือทานายเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งเครื่องมือดังกล่าวนั้นเป็นที่มาของการสร้างและ
ศึ ก ษา “แนวคิ ด และทฤษฎี ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ” (International Relations
Theory and Concepts) ซึ่ ง ก็ มี ห ลากหลายกั น ไปแล้ ว แต่ มุ ม มองของนั ก วิ ช าการที่ ส ร้ า ง
เครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมา
ที่มา: ปรับปรุงจาก Nye & Welch, 2001: 93

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
และรัฐมิได้เป็นตัวแสดงหลักที่สาคัญอีกต่อไป หากยังสัมพันธ์กับการพึ่งพาอาศัยทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน ความร่วมมือข้ามชาติ บทบาทขององค์การระหว่าง
ประเทศ ประเด็นสิ่งแวดล้อม ประเด็นความเท่าเทียมกันทางเพศ กลุ่มศาสนา การก่อการร้าย
และอื่ น ๆด้ ว ยเหตุ นี้ เ อง นั ก วิ ช าการบางกลุ่ ม เริ่ ม ที่ จ ะใช้ ค าว่ า “International Studies”
“World Politics” หรื อ “Global Politics” มากกว่ า ค าดั้ ง เ ดิ ม อย่ าง International
Relations” แต่ในที่นี้ผู้เขียนยังคงใช้คาว่าความสัมพันธ์ระหว่า งประเทศเพื่อดาเนินเนื้อหา
ภายในเล่ม

359 ศิวพล ชมภูพันธุ์


International Relations Theory: An Introduction

60
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 3 บทที่ 3
ทฤษฎีกมารเมื
ทฤษฎีกำรเมืองในควำมสั พันธ์อรงในความสั มพันธ์ระหว่างประเทศ
ะหว่ำงประเทศ
Political Theory in International Relations
Political Theory in International Relations

ในบทนี้จะนาเสนอแนวคิดและทฤษฎีการเมืองที่สาคัญอันเป็นรากฐานต่อการสร้าง
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (classical theory of international relations) ซึ่ง
ก าลังได้รับความสนใจมากขึ้น บางครั้งเราอาจเรียกการศึกษาในลักษณะเช่นนี้ว่า ทฤษฎี
กำรเมื อ งในระดั บ ระหว่ ำ งประเทศ (International Political Theory) อั น หมายถึ ง
มุมมองทางวาทกรรม (discourse) ของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งจั ด วาง
ประเด็นทางบรรทัดฐาน (norm) การตีความ (interpretation) และรากฐานของภววิทยา
(ontological foundation) ของสาขาวิชา (Neufled, 1995; Frost, 1996 cited in Brown,
2002: 1) จากข้ า งต้ น จะเห็ น การบรรจบกั น ของรัฐ ศาสตร์ ส องสาขาส าคั ญ นั่ น คื อ ทฤษฎี
การเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งต่างมีมุมมองต่อโลกในคนละด้าน กล่าวคือ
ทฤษฎีการเมืองในฐานะศาสตร์สาคัญของการศึกษารัฐศาสตร์มักจะเน้นการศึกษาบทบาทของ
สิทธิ ความรับผิดชอบ ความยุติธรรมหรือภาระหน้าที่ภายในระดับรัฐ ในขณะที่ การศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นการอธิบายและเข้ าใจปฏิสัมพันธ์ข้ามพรมแดนของรัฐหรือ
ก้ า วข้ า มไปยั ง ระดั บ โลก (Jorgenson, 2010: 33) ดั ง นั้ น การศึ ก ษาทฤษฎี ก ารเมื อ งระดับ
ระหว่างประเทศจึงเป็นการถูกปัดฝุ่น (renewed) เพื่อให้เห็นว่าในแต่ละช่วงเวลานั้น สิ่งที่
เรียกว่าความแตกต่างระหว่าง “ระหว่างประเทศ” และ “ภายใน” ไม่เคยปรากฎอยู่เลย
ผู้ เ ขี ย นจะน าเสนอแนวคิ ด และทฤษฎี ก ารเมื อ งผ่ า นความคิ ด ของนั ก ปรั ช ญา
การเมืองคนสาคัญตั้งแต่สมัยกรีกโบราณจนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งเป็นช่วงเวลา
ก่อนที่จะมีการจัดตั้งการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะสาขาวิชาขึ้นอย่างเป็น
ทางการเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ งยุติ แม้ว่าแนวคิดเหล่านี้จะสัมพันธ์การศึก ษารัฐศาสตร์
สาขาการเมืองการปกครองโดยเฉพาะสาขาวิชาปรัชญาการเมืองโดยตรงซึ่งดูแล้วอาจจะไม่
เกี่ยวข้องกับการศึกษาความสัมพันธระหว่างประเทศ หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า แนวคิด
ต่างๆของนัก ปรัชญาการเมืองที่ผู้เขีย นนาเสนอ เช่น เรื่องอานาจ ความยุติธรรม สภาวะ
อนาธิปไตย สงคราม สันติภาพ การสร้างประชาคมความร่วมมือหรือการแตกต่างระหว่างชน
ชั้น ล้วนมีรากฐานมาจากแนวคิดและทฤษฎีการเมืองเหล่านี้ทั้งสิ้น ดังนั้นนักคิดและแนวคิด
ทางการเมืองเหล่านี้จึงเปรียบเสมือนเป็น “หมุดหมาย”(canon) ของการวางรากฐานแนวคิด

61
61 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีผลต่อการสร้างทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน
แต่ละสานักในปัจจุบันซึ่งขึ้นอยู่กับนักวิชาการในแต่ละสานักเลือกที่จะ “หยิบยืม” มา “ปรุง”
เป็นทฤษฎีตามแนวทางของสานักอย่างไร
อนึ่ ง ในต าราความรู้ เ บื้ อ งต้ น ทางความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศและทฤษฎี
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งของประเทศในโลกวิ ช าการตะวั น ตกจ านวนหนึ่ ง ( Jackson &
Sorensen, 2013; Goldstein, 2003; Viotti & Kauppi, 2012; Dunne (Eds.), 2013) มักจะ
น าเสนอแนวคิ ด ของนั ก ปรั ช ญาการเมื อ งโดยบรรจุ ไ ว้ ใ นบทที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ แนวคิ ด นั้ น
ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มทฤษฎีสัจนิยมมักจะบรรยายถึงรากฐานทางความคิ ดของตนว่าปรากฎ
ร่ อ งรอยทางความคิ ด หรื อ ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจาก Thucydides, Machiavelli, Hobbes หรื อ
Rousseau (Yurdusev, 2006, Bell, 2008: 1-16) ส่วนกลุ่มทฤษฎีเสรีนิยมก็มักจะกล่าวนา
ด้วยแนวคิดของ Locke Kant หรือ Bentham มาเป็นรากฐานทางทฤษฎีของตน เป็นต้น เมื่อ
พิจารณาแล้ว นักปรัชญาการเมืองเหล่านี้มิได้เป็นนักทฤษฎีความสัมพั นธ์ระหว่างประเทศแต่
ประการใด ทว่านักวิชาการรุ่นหลังได้หยิบยืมแนวคิดเหล่านี้มาเพื่อวางรากฐานและเชื่อมร้อย
กั บ ทฤษฎี ข องตน นอกจากตั ว อย่ า งการน าเสนอในต าราจ านวนหนึ่ ง แล้ ว ยั ง สามารถ
ยกตัวอย่างการเชื่อมร้อยแนวคิดแบบเก่ากับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยใหม่
เช่น ในสานักอังกฤษ (The English School) มีการใช้คาว่า Kantian tradition สาหรับกลุ่ม
ผู้มีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพประชาธิปไตย (Democratic Peace) และการสร้างสังคม
โลก (World Society) Grotian tradition ที่ได้รับอิทธิพลจาก Hugo Grotius ที่ให้ความ
สาคับการสร้างสังคมระหว่างประเทศและการเคารพอานาจอธิปไตยแห่งรัฐ นอกจากนั้นยัง
พบเห็นการใช้คาเช่นนี้ในสานัก อื่นๆ เช่นในสานัก สัจ นิย ม เรามัก ใช้คาว่า Machiavellian
เรียกผู้ทกี่ ระหายอานาจหรือฝักใฝ่ความยิ่งใหญ่โดยมุ่งหวังผลลัพธ์ที่ตนต้องการโดยไม่คานึงถึง
วิธีการที่ได้อานาจนั้นมาไม่ว่าจะเลวร้ายหรือไม่ก็ตาม เป็นต้น
David Boucher (1998) ได้ จั ด แบ่ ง กลุ่ ม แนวคิ ด และปรั ช ญาทางการเมื อ งที่
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้ 3 กลุ่มได้แก่

1) กลุ่มสัจนิยมเชิงประจักษ์ (Empirical Realism)

นักคิดในกลุ่มนี้มีมุมมองต่อธรรมชาติของมนุษย์มีความโดดเดี่ยว ดารงชีพอย่าง
อิสระและเน้นความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความต้องการ ความปรารถนา แสวงหาผลประโยชน์
และเปี่ย มด้วยแรงบันดาลใจ การความต้องการบางอย่างในสิ่งเดีย วกั นอาจนาไปสู่ ค วาม

62
62
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ขัดแย้งหลักการสาคัญของนักคิดในกลุ่มนี้คือ ผลประโยชน์แห่งชาติ โดยมองว่าความไม่เห็น


พ้องต้องกันระหว่างรัฐต่างๆคือการขัดกันแห่งผลประโยชน์

2) กลุ่มระเบียบเชิงศีลธรรมสำกล (Universal Moral Order)

การแบ่งกลุ่มในประเภทนี้หมายรวมถึงนักอุดมคติ (Idealists) หรือ ผู้มีเหตุผล


(Rationalists) ซึ่งจะทาให้เราเข้าใจความหมายมากกว่า คาว่าระเบีย บศี ลธรรมเชิง สากล
แนวคิ ด หลั ก ของกลุ่ ม นี้ ส ามารถสรุ ป ได้ ชั ด เจนในค าว่ า นั ก ทฤษฎี ก ารเมื อ งร่ ว มสมั ย ของ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เน้นความเป็นทฤษฎีสากลนิยม (cosmopolitan theories)
และทฤษฎี ชุ ม ชนนิ ย ม (communitarian theories) ให้ ค วามส าคั ญ กั บ กฎศี ล ธรรม กฎ
ธรรมชาติ ความเป็นเหตุเป็นผลสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้นยังเน้นหลักการพื้นฐานหรือความ
ถูกต้องแห่งการกระทาของรัฐต่อผลตอบแทนแห่งผลประโยชน์

3) กลุ่มเหตุผลทำงประวัติศำสตร์ (Historical Reason)


ในกลุ่มความคิดนี้เห็นว่าตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ธรรมชาติของมนุษย์
มิ ไ ด้ มี ลั ก ษณะเป็ น องค์ ร วมที่ ต ายตั ว (a fixed entity) แต่ มี พั ฒ นาการทางลั ก ษณะและ
ธรรมชาติของตนอยู่ตลอดเวลา ดังที่ Hegel กล่าวไว้ว่า “มนุษย์ทุกคนคือบุตรของกาลเวลา
ของเขา” (Hegel, 1952 cited in Boucher, 1998: 37) ส่วน Marx ความเป็นปัจเจกบุคคล
นั่นเป็นสิ่งที่ เขาเป็นเพราะสิ่ง ที่เขาทาและทามั นอย่างไร (individual was what he was
because of what he did, and how he did it) อีกทั้งการกระทาดังกล่าวมีความเกี่ยวข้อง
กับการเปลี่ยนแปลงวิถีก ารผลิต (mode of production) และความสัมพันธ์ทางสังคมที่เขา
ได้สร้างขึ้น ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่างๆนั้นเป็นภาพสะท้อนของกระบวนการ
ผลิตด้วย แนวคิดในกลุ่มนี้จึงเป็นรากฐานให้กับกลุ่มทฤษฎีมาร์กซ์ที่มองเรื่องความแตกต่าง
ทางชนชั้นและมองปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยในการดาเนินความสัมพันธ์ในระบบระหว่าง
ประเทศ
จากการกลุ่มข้างต้น เป็นการแบ่งกลุ่มเพื่อให้เห็นภาพว่าบรรดานักคิด นักปรัชญา
ทางการเมืองมีมุมมองอย่างไร ในที่นี้ผู้เขียนจะนาเสนอแนวคิดและทฤษฎีทางการเมืองที่เป็น
รากฐานของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่านนักคิด ทางการเมืองคนสาคัญได้แก่
Thucydides, Nicolo Machiavelli, Thomas Hobbes, John Locke, Immanuel Kant,
Jean Jacque Rousseau, Hugo Grutius และ Karl Marx

63
63 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

3.1 Thucydides
Thucydides เป็นชาวเอเธนส์ ผลงานสาคัญของเขาคือ ประวัติศาสตร์ของสงคราม
เพโลพอนเนเชียน (History of the Peloponnesian War) ในงานเขียนชิ้นนี้ Thucydides
ได้นาเสนอคาอธิบายที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับสงครามเพโลพอนเนเชียนที่มาจากทั้งความรู้เรื่อง
ความขัดแย้งของเขาเองและความรู้ที่มาจากประจักษ์พยานในเหตุการณ์ คาอธิบายของเขา
เกี่ยวกับสงครามมักถูกนามาตีความเป็นบทบัญญัติในยุคแรกของแนวคิดสานักสัจนิยมในเรื่อง
การเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะส่วนสาคัญที่มักนามากล่าวอ้างอยู่เสมอนั่นก็ คือ บท
สนทนาของชาวมีเลี่ยน (Melian Dialogue) กล่าวถึงการวิงวอนและโต้แย้งเชิงศีลธรรมของ
ชาวมีเลี่ยนต่อทหารเอเธนส์ที่รุกรานเกาะเมลอสซึ่งเป็นถิ่นที่อาศัยของตนทหารเอเธนส์ก ลับ
เมินเฉยต่อข้อโต้แย้งในเชิงศีลธรรมและเหตุผลทุกประการ ในท้ายที่สุด ทหารเอเธนส์ได้ยึด
เกาะเมลอส ประหารชีวิตชาวมีเลี่ยนทุกคนที่อยู่ในวัยทหาร ส่งผู้หญิงและเด็กไปเป็นทาส ดัง
จะเห็นได้จากวรรคทองในบทสนทนาดังกล่าวที่ว่า “The Strong do as they can and the
weak suffer what they must” (Thucydides, 1954: 400-408 cited in Art & Jervis,
2010: 9-15)
แนวคิดหลักที่สานักสัจนิยมได้รับอิทธิพลจาก Thucydides นั้นสามารถสรุปได้ 3
ประการด้วยกัน ได้แก่ ธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ลบและศักยภาพในการควบคุมสถานการณ์
ต่างๆ การแยกผลประโยชน์ ออกจากความยุติธรรม ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการตัดสินใจทาง
การเมืองในเรื่องดาเนินนโยบายต่างประเทศและการรับรู้ข้อจากัดที่กาหนดพฤติกรรมของ
หน่วยทางการเมือง โดยโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยทางการเมืองเหล่านั้นที่ ไร้ผู้มี
อานาจสูงสุด
3.1.1 ธรรมชำติของมนุษย์: เสรีภำพและควำมจำเป็น
เรารู้จักแนวความคิดทางการเมืองของกรีกโบราณในฐานะจุดเริ่มต้นแนวคิดทาง
การเมื อ งในโลกตะวั น ตก นั ก ปรั ช ญาอย่า ง Plato และ Aristotle ได้ ก าหนดปรั ช ญาทาง
ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของมนุษย์และธรรมชาติของรัฐ ทั้งยังได้
เสนอแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของทั้งคนดีและระเบียบทางการเมืองที่ดี ในขณะที่ Plato
และ Aristotle เห็ น ว่ า ความมี เ หตุ ผ ลเป็ น คุ ณ ธรรมสู ง สุ ด ทั้ ง ยั ง เชื่ อ ว่ า การเมื อ งสามารถ
ปกครองได้ ด้ ว ยเหตุ ผ ล Thucydides น าเสนอแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ มนุ ษ ย์ ที่ ต่ า งออกไปและ
หลากหลายกว่า ในความคิดของ Thucydides นั้น นักการเมืองและทหารบางครั้งก็เป็นคนดี
แต่ก็มักจะกระทาความผิดผ่านความภาคภูมิใจ ความโลภ หรือเนื่องด้วยการไร้ความสามารถ

64
64
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ในการคาดเดาการกระทาของรัฐอื่น โดยทั่วไปแล้ว ศั กยภาพของผู้นาทางการเมืองที่จะคาด


เดาและควบคุมสภาพแวดล้อมนั้นมักถูกจากัดโดยโชคชะตาและโอกาส
3.1.2 ผลประโยชน์และควำมยุติธรรม
บันทึกทางประวัติศาสตร์หลายฉบับของ Thucydides กล่าวถึงคาปราศรัยและข้อ
โต้แย้งระหว่างตัวแสดงทางการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสงครามทั้งในรัฐและ
ระหว่างรัฐ ฉากที่เกิดขึ้นซ้าๆ ในการโต้แย้งคือ ความตึงเครีย ดระหว่างการทาในสิ่ง ที่ เ ป็น
ผลประโยชน์ข องแต่ ละรัฐ และการท าในสิ่ ง ที่เ ป็ น มาตรฐานที่ สื บ ทอดต่ อกั น มาภายในรั ฐ
ตัวอย่างหนึ่งคือ ใน Mytilenian Debate Cleon และ Diodotus โต้แย้งกันว่าเอเธนส์ควร
ลงโทษเมือง Mytilene โดยการประหารผู้ชายทั้งหมดและเกณฑ์ผู้หญิงรวมทั้ง เด็กทั้งหมดไป
เป็นแรงงานในเมืองหรือไม่ การโต้แย้งไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงระหว่าง Cleon ผู้ที่สนับสนันการ
ลงโทษนี้ได้โต้แย้งบนพื้นฐานของเรื่องผลประโยชน์และ Diodotus ผู้ที่คัดค้านแนวคิดนี้ บน
พื้นฐานของความยุติธรรม แต่ทั้งสองใช้แนวคิดเรื่องความยุติธรรมและผลประโยชน์ ในการ
ยกตัวอย่าง Cleon ตั้งข้อสันนิษฐานว่า Mytilene สมควรที่จะได้รับการลงโทษ เนื่องด้วย
พฤติก รรมที่ไม่เป็นธรรมของพวกเขาและการทาลายล้าง Mytilene เป็นสิ่งสาคัญสาหรับ
ผลประโยชน์ของเอเธนส์ เพราะมันเป็นการทาลายฝ่ายตรงข้ามและยับยั้งอานาจฝ่ายอื่นไม่ให้
กระทาการเช่นเดียวกับที่ Mytilene ได้ทาลงไป ส่วน Diodotus ตั้งข้อสันนิษฐานว่า การ
ทาลายล้าง Mytilene ไม่เพียงแต่จะเกิดความไม่เป็นธรรมและการขัดต่อวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่
ของเอเธนส์แล้ว แต่ยังเป็นการขัดขวางผลประโยชน์ของเอเธนส์อีกด้วย เพราะมันเป็นการยึด
อานาจของฝ่ายตรงข้าม เป็นการทาลายขวัญกาลังใจจากการยอมจานน และเป็นสาเหตุที่เพิ่ม
ความกลัวและกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านอานาจของเอเธนส์ ในข้อโต้แย้งนี้ Thucydedes ทา
ให้เกิดฉากสาคัญขึ้นอีกครั้งในเรื่องแนวคิดทางการเมืองโลกตะวันตกที่ว่ารัฐสามารถจัดการกับ
ข้อสันนิษฐานในเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนและความยุติธรรมของฝ่ ายตรงข้ามได้อย่ า งไร
แนวคิดของตูซิดิสดูเหมือนว่า เมื่อใดก็ตามที่มีความพึงพอใจที่จะก่อสงครามทางการเมืองขึ้น
ผลประโยชน์ ส่ ว นตนก็ จ ะกลายมาเป็ น ประเด็ น โต้ แ ย้ ง ที่ ท รงอิ ท ธิ พ ลมากที่ สุ ด (Brown,
Narrdin & Rengger, 2002: 42-44)
3.1.3 ข้อจำกัดทำงโครงสร้ำงของระบบระหว่ำงประเทศ
ส าหรั บ นั ก วิ ช าการสมั ย ใหม่ ห ลายคน แนว คิ ด เรื่ อ งสงครามรั ฐ กรี ก ของ
Thucydides เป็นเสมือนส่วนเล็กๆ ของโครงสร้างของโลกทางการเมืองร่วมสมัยที่เกิดขึ้นมา
จากรัฐอธิปไตยหลายรัฐ ที่มีความสัมพันธ์กับอีกรัฐหนึ่งโดยไม่มีกฎเกณฑ์ใดที่จะมาบังคับใช้

65
65 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ระเบียบระหว่างรัฐเหล่านั้นได้ หนึ่งในคาอธิบายที่มีชื่อเสียงที่สุดของ Thucydidesนั้นคือ คา


กล่าวที่ว่าสงครามเพโลพอนเนเชียนเกิดจากความเกรงกลัวต่ออานาจเอเธนส์ของสปาร์ตา
การผสมผสานระหว่างความกลัวและอานาจมักถูกมองว่าเป็นเงื่อนไขของสภาวะอนาธิปไตย
หรือสภาวะการพึ่งพิงตนเอง (self-help) ในสภาวะดังกล่าวจะไม่ปรากฏความมั่นคง หากพบ
เพียงความสามารถของตนในการป้องกัน ตนเองเท่านั้น นั่นหมายความว่าผู้นั้น จะต้องเพิ่ม
อานาจให้ตนเองและลดทอนอานาจของผู้อื่นลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ คากล่าวข้างต้นนี้
มักจะถูกใช้เรียกแนวความคิดเรื่องการถ่วงดุล (balance) กลุ่มอานาจที่อ่อนแอกว่าจะรวมตัว
กันให้มีอานาจเท่าเทียมหรือมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอานาจแข็งแกร่งกว่าและกลุ่มที่มีอานาจ
มากกว่าก็จะพยายามปกป้องตนเอง ปัญหาก็คือมันอาจก่อให้เกิดสงครามระหว่างรัฐที่ต่าง
ต้องการจะขยายอานาจของตนให้มากที่สุดและบ่อนทาลายอานาจของผู้อื่น ในภายหลัง
ThomasHobbes นักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษได้จาลองสถานการณ์ที่เขาเรียกว่า 'สภาวะ
ธรรมชาติ' (state of nature)ขึ้น ประเด็นหลักที่ทั้ง Hobbes และ Thucydides มีร่วมกันคือ
การถ่วงดุลอานาจมิใช่สิ่งจาเป็นเนื่องจากรัฐต่างเกิ ดขึ้นมาจากบรรดาผู้นาที่โ หดร้ายหรือ
ปราศจากคุณธรรม ซึ่งผู้นาเหล่านั้นเองก็จะกระทาสิ่งที่โหดร้ายหรือไม่เป็นธรรม และที่เป็น
เช่นนั้นก็เพราะบริบทของความไม่มั่นคงทาให้การถ่วงดุลอานาจเป็นเพียงวิธีการเดียวที่จะทา
ให้อยู่รอดได้ มันจึงเป็นเรื่องของโครงสร้างมากกว่าตัวผู้นา

แผนที่นครรัฐกรีกกับสงครำมเพโลโพนีเชียน

66
66
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

3.2 Nicolo Machiavelli


Nicolo Machiavelli นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ นักกฎหมายชาวเมืองฟลอ
เรนซ์แห่งอิตาลี มีชีวิตอยู่ในช่วงที่ยุโรปเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มให้
ความสาคัญกั บ ตัว ตนมากกว่า พลัง ศรั ทธาในศาสนาคริส ต์ อีก ทั้งยังเป็นยุคแห่งการฟื้ น ฟู
วรรณกรรมของกรีกและโรมันกลับมารับใช้สังคมอีกครั้งนอกจากนั้น ยังเป็นช่วงเวลาเดียวกัน
กับการถือกาเนิดขึ้นของแนวคิด ทางการทูตและนโยบายต่างประเทศที่ภายหลังได้กลายมา
เป็นส่วนหนึ่งของระบบรัฐแห่งยุโรป (European state system) ซึ่งกาลังก่อตัว
The Prince6 ผลงานอันเลื่องชื่อของ Machiavelli นาเสนอให้ผู้ปกครองเรียนรู้ถึง
วิธีการแสวงหาและรักษาอานาจในบริบทของรัฐอิตาลีในศตวรรษที่ 15 รวมทั้งผลงาน The
Art of War และ Discourses on the first Ten Books of Livy ข้อสันนิษฐานขั้นต้นของทั้ง
Thucydides และ Machiavelli ถูกวิเคราะห์ด้วยแนวคิดทางการเมือง และข้อสัน นิษ ฐาน
เหล่านั้นได้สะท้อนประสบการณ์ในฐานะนักการทูตและผู้ที่มีความจงรักภักดีทางการเมือง
The Prince มีจุดเด่นที่ไม่เขียนตามขนบดั้งเดิมที่เน้น ความหลักธรรมทางศาสนาคริสต์ เพื่อ
การเป็ น ผู้ ป กครองที่ ดี มี ศี ล ธรรม แต่ Machiavelli กลั บ โต้ แ ย้ ง ว่ า หากเจ้ า ผู้ ป กครองรั ฐ
ต้องการจะประสบความสาเร็จ ในการได้มาและรัก ษาไว้ซึ่งอานาจแล้วก็ ไ ม่จาเป็นจะต้ อ ง
กระทาตามหลักศีลธรรมกล่าวง่ายๆคือ “แยกศีลธรรมออกจากการเมือง” และหันมาใช้กาลัง
และเล่ห์เหลี่ยมที่เขามักเปรียบเปรยว่าผู้นาควรเป็นทั้งราชสีห์และสุนัขจิ้งจอก
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การเมืองระหว่างประเทศของ Machiavelli เสนอว่า หาก
การเมืองมีเสถีย รภาพและมี ค วามมั่ ง คั่ง ผู้นาจะต้องบังคั บใช้ ก ฎระเบีย บภายในรัฐ อย่ า ง
เข้มงวด และสร้างความเกรงกลัวให้ รัฐข้างเคียง อย่างไรก็ตาม การมองว่าMachiavelli เห็น
ด้ ว ยกั บ การให้ สิ ท ธิ กั บ ผู้ ที่ แ ข็ง แรงกว่ า นั้ น อาจเป็ น ความเข้ า ใจที่ ผิ ด ใน The Discourses
Machiavelli สนใจเรื่องอานาจทางการเมืองในฐานะสิ่งที่จะก่อให้เกิดระเบียบทางการเมืองที่
ดีที่สุดให้กับรัฐ ซึ่งการเป็นพลเมืองของรัฐหรือผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในสังคมนั้น
เป็ น สมมติ ฐ านทางการเมื อ งสู ง สุ ด ของ Machiavelli ทั้ ง นี้ Machiavelli มี ส มมติ ฐ านที่
เกี่ ย วข้องกั บทฤษฎีก ารเมืองระหว่างประเทศอยู่ 3 ประการ คือ ตรรกะเรื่องวิธีการและ
เป้าหมายทางการเมืองโดยทั่วไป แนวคิดทีว่าด้วยผลประโยชน์ของรัฐที่ภายหลังรู้จักกันในวลี
ที่ว่า raison d'état หรือ เหตุผลของรัฐ ซึ่งเป็นหัวใจสาคั ญของนโยบายต่ างประเทศและ
แนวคิดเรื่องวัฎจักรทางการเมืองที่ว่าผู้ปกครองและอาณาจักรจะได้รับและสูญเสียอานาจผ่าน

6 The Prince ในภาษาไทย ดูเพิ่มเติม สมบัติ (2547)

67
67 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ทางความสามารถของมนุษย์ (Machiavelli เรียกว่า virtue) ความอ่อนแอของมนุษย์ และ


โชคชะตา

Nicolo Machiavelli และ The Prince (IL PRINCIPE) ฉบับภำษำอิตำลีปี 1500

3.2.1 วิธีกำรและเป้ำหมำย
Machiavelli ได้รับข้อครหาว่าเป็นพวกไร้ศีลธรรม เนื่องด้วยวิธีคิดทางการเมืองที่
เสนอว่า “เป้าหมาย” (ในที่นี้หมายถึงเป้าหมายของกิจกรรมทางการเมือง เช่น การสั่งสม
อานาจ หรือการป้องกันประเทศ) เป็นตัวกาหนด “วิธีการ” ในที่นี้หมายถึงวิธีการที่จะทาให้
ได้มาซึ่งอานาจหรือสามารถป้องกันประเทศของตนได้ แนวคิดทางการเมืองของ Machiavelli
ใน The Prince ถือว่าสาคัญมาก ตราบใดที่แนวคิดทางการเมืองของเขายังคงดารงอยู่ เขาไม่
เคยคิดเลยว่าจะต้องสั่งสมอานาจโดยการคร่าชีวิตศัตรูฝ่ายตรงข้าม หรือป้องกัน ประเทศของ
ตนโดยการหลอกล่ อ คู่ ต่ อ สู้ ซึ่ ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ทั ศ นคติ ต่ อ ประเด็ น เรื่ อ งสงครามโดย
Machiavelli ยอมรับว่า สงครามเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมืองและมูลค่าของสงครามนั้น
ขึ้นอยู่กับว่าจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ในฐานะเครื่องมือที่จะนาไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
3.2.2 ผลประโยชน์แห่งรัฐและนโยบำยต่ำงประเทศ
Machiavelli แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่งควรถูกกาหนด
โดยผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย นั่นหมายความว่า ผู้ปกครองที่ดีจะไม่ถูกครอบงาโดย
เหตุผลส่วนตัว (ความปรารถนาที่จะมีเกียรติย ศหรือครอบครองสิ่งที่แย่งชิ งมา) และความ
ปรารถนาว่ า ตนจะพ้ น ผิ ด จากบาป (ความยุ ติ ธ รรม) แต่ จ ะแสดงออกมาในรู ป แบบของ
ผลประโยชน์ที่ดีที่สุดทั้งหมดของรัฐ ใน The Discourses เขากล่าวถึงคาแนะนาที่ Lucius
Lentulus ให้ กั บ กองทั พ โรมั น ที่ เ ป็ น ผู้ พ่ า ยแพ้ และต้ อ งเสี ย เกี ย รติ ใ นฐานะผู้ ย อมจ านน
Lentulus แนะนาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือความอยู่รอดของโรม และมันก็ดีกว่าที่กองทัพจะยอมรับ
ความพ่ายแพ้นั้นและอยู่รอดเพื่อที่จะต่อสู่ในวันต่อไปแทนที่จะสู้จนถึงตายและสูญเสียทุกสิ่ง
อย่ า ง เว้ น แต่ เ กี ย รติ ย ศ (Brown, 2002: 268) นั ก คิ ด สมั ย ใหม่ ม องเห็ น ความคิ ด ของ

68
68
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

Machiavelli ในเรื่ อ งความส าคั ญ ของผลประโยชน์ แ ห่ ง รั ฐ อั น เป็ น ที่ ม าของแนวคิ ด เรื่ อ ง


ผลประโยชน์แห่งชาติที่เป็นหัวใจสาคัญของนโยบายต่างประเทศระหว่างรัฐชาติในปัจจุบัน ใน
บางครั้ ง มี ก ารถกเถี ย งกั น ว่ า นครกรี ก โบราณในช่ ว งสมั ย Thucydides นั้ น รั ฐ อิ ต าลี ใ น
ศตวรรษที่ 15 ที่ มี ลั ก ษณะคล้ า ยระบบรั ฐ สมั ย ใหม่ ข นาดย่ อ ตรงที่ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ
ผลประโยชน์แห่งรัฐ Machiavelli ก็มีความเห็นเช่นเดียวกั บ Thucydides ในประเด็นการ
จากัดเชิงโครงสร้างที่ถูกกาหนดโดยระบบระหว่างประเทศที่มีการช่วยเหลือตนเองเป็นความ
มั่ น คงเพี ย งรู ป แบบเดี ย ว นิ ย ามของค าว่ า การถ่ ว งดุ ล ในฐานะผลกระทบของระบบการ
ช่วยเหลือตนเอง ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่าสะท้อนเรื่องราวของ Machiavelli ที่ว่านครรัฐต่างๆ
ยังคงพยายามที่จะปกป้องตนเองจากเพื่อนบ้านที่ทรงพลังผ่านทางการกระชับความสัมพันธ์
และการเข้าครอบครอง
3.2.3 กำรก่อเกิดและเสื่อมถอยของอำนำจ
Machiavelli สนใจประเด็นที่ว่าบรรดาผู้ปกครองและการปกครองของพวกเขานั้น
สูญเสียและได้มาซึ่งอานาจอย่างไร ไม่ว่าคาอธิบายของเขาจะถูกหรือผิดมันก็มีค่าเท่ากัน มัน
เกิดจากส่วนผสมระหว่างตัวแทนมนุษย์กับโชคชะตาหรือพรหมลิขิต ความสาเร็จจะมาสู่ตัว
มนุษย์ในรูปแบบของสิ่งที่เรียกว่า virtue ซึ่ง Machiavelli ไม่ได้หมายถึง 'virtue' หรือความ
ถูกต้องในความหมายโดยทั่วไป แต่หมายถึง ความสามารถที่จะสร้างและใช้ความแข็งแกร่ง
หรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อให้ประสบความเร็จตามเป้าหมายของตน อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามนุษย์จะตก
อยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนของโชคชะตาแต่ผู้นาที่มีความสามารถมากที่สุดก็ยังคงมีแนวโน้มที่
จะประสบความสาเร็จ อยู่ตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น มันเป็นเรื่องของโชคชะตา เมื่อผู้ นาที่
ประสบความสาเร็จเสียชีวิต ผู้สืบทอดอานาจของเขาจะสืบทอดความสามารถของเขาต่อ โดย
ภาพรวมแล้ว ความอ่อนแอของมนุษย์ ความสามารถในการแข่งขันกับผู้อื่น และโชคร้ายที่
คอยขั ด ขวางอ านาจทางการเมื อ งที่ ยั ง คงเกิ ด ขึ้ น อยู่ ต ลอดเวลา ในมุ ม มองของเขา
ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นจากวงจรที่เริ่มต้นจากการได้รับอานาจ การสั่งสมอานาจ และการมี
อานาจสูงสุด จากนั้นก็ได้รับชัยชนะแล้วเคลื่อนย้ายไปยังที่อื่น Machiavelli สนใจวงจรนี้จาก
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น ในยุคกรีกโบราณ และโรมัน แล้วนามาเขียนเพื่อให้
บทเรียนแก่ผู้ปกครองรัฐในยุคที่เขามีชีวิตอยู่ ดังนั้นเขาจึงมองการเมือ งในขอบเขตของการ
เกิดขึ้นซ้าๆ มากกว่าความคืบหน้า

69
69 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

3.3 Thomas Hobbes


Hobbes7 เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ซึ่ง
เป็นช่วงที่อังกฤษทาสงครามกับสเปน และเกิดสงครามกลางเมืองในระหว่างค.ศ.1640-1650
จนทาให้เขามักกล่าวถึงในภายหลังว่า “เกิดมาพร้อมๆกับความกลัว ” อีกทั้งเขายังมีชีวิตอยู่
อย่างยาวนานซึ่งเป็นช่วงที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมากที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์
อังกฤษ ผลงานที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดผลงานหนึ่งคือ Leviathan ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ปรัชญาการเมืองและการปกครอง
Hobbes ไม่ได้มีผลงานการเขีย นเกี่ ย วกั บการเมืองระหว่างประเทศไว้มาก แต่
ความสาคัญของเขาต่อทฤษฎีก ารเมืองระหว่างประเทศนั้น มาจากทฤษฎีของเขาเองคื อ
พั น ธกรณี ท างการเมื อ งภายในรั ฐ และความเข้ า ใจในเรื่ อ งอ านาจอธิ ป ไตยของรั ฐ และ
ความสัมพันธ์ระหว่างอานาจทางการเมืองระดับภายในรัฐ (ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง
กับผู้ถูกปกครอง) และอานาจทางการเมื องในระดับระหว่างประเทศ (ความสัมพันธ์ระหว่าง
อานาจการปกครองที่แตกต่างกัน) หัวใจหลักของแนวคิดความสัมพันธ์ทางการเมืองทั้งภายใน
และระหว่างรัฐของHobbes คือ สภาวะไร้อานาจสูงสุดที่จะควบคุมการเมืองอันเปรียบเสมือน
สภาวะของยักษ์ใน Leviathan (งานชิ้นนี้เกิดในบริบทสงครามกลางเมืองอังกฤษที่ไร้อานาจ
การปกครองสูงสุด หรือ ที่เรีย กว่ า สภาวะอนาธิป ไตยของประเทศ) ดังนั้น จึงเรีย กสิ่งนี้ ว่ า
'สภาวะธรรมชาติ ' (state of nature) หากพิจ ารณาแล้วแม้ว่า Hobbes จะได้รับอิทธิพล
แนวคิดนี้มาจาก Thucydides แต่แนวคิด 'สภาวะธรรมชาติ' ของ Hobbes นั้นมองโลกในแง่
ดีก ว่างานของ Thucydides เป็นอย่างมาก กล่าวคือ Thucydides วิเคราะห์ความรุนแรง
ระหว่างรัฐในมุมมองที่แย่น้อยกว่านั่นเอง
3.3.1 สภำวะธรรมชำติ
Hobbes มองว่ า ไม่ มี ก ฎหมายธรรมชาติ ที่ มี คุ ณ ค่ า หรื อ หลั ก การทางศี ล ธรรม
รวมทั้งความเป็นคนธรรมดาถูกจารึกไว้ มีเพียงแต่ กฎของธรรมชาติ (laws of nature) ที่ให้
สิทธิในการปกป้องรักษาตนเองโดยปราศจากขีดจากัด อาทิ ต้องเคารพสิทธิ ของผู้อื่นซึ่งถือ
เป็นสิ่งที่มนุษย์จะถู กอานาจทางการเมืองบังคับให้ทาตาม ตามแนวคิดของ Hobbes เนื่อง

7
ตาราส่วนใหญ่มักจะจัดให้ Hobbes อยู่ในกลุ่มนักคิดที่มีมุมมองแบบสัจนิยม แต่มีบทความที่เสนอ
แนวคิดของเขาในแง่มุมของการนาเสนอเรื่องการสร้างความร่วมมือและการสร้างกลุ่มพันธมิตรใน
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ โดยมองว่า Hobbes สามารถจัดเป็นนักคิดเชิงเหตุผลนิยม (rationalism) ดู
Yurdusev (2006)

70
70
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ด้วยมนุษย์มีความเท่าเทียมกันทั้งในด้านความแข็งแรงและความมีสติปัญญา จึงเป็นไปไม่ได้ที่
คนๆหนึ่งจะกลายมาเป็นคนที่แข็งแรงกว่าและสามารถออกคาสั่งบังคับผู้อื่นได้ เว้นเสียแต่ใน
ระยะยาว ภาพของสภาวะธรรมชาติที่เกิดขึ้นจึงดูน่าสังเวชเป็นอย่างมาก มนุษย์ทุกคนต่างมุ่ง
หมายที่จะขยายความมั่นคงของตน และหนทางเดียวที่จะทาเช่นนั้นได้คื อการมีอานาจมาก
ที่สุดเท่าที่จะทาได้ ผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่จะทาให้มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความกลัวเท่านั้น
แต่ยังส่งผลให้อารยธรรมมนุษย์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ในสถานการณ์เช่นนี้ จะไม่มีพื้นที่
สาหรับอุตสาหกรรม เนื่องจากผลผลิตไม่มีความ แน่นอน และไม่มีวัฒนธรรมเกิดขึ้นบนโลก
ไม่มีการเดินเรือ ไม่มีการบริโภคสินค้าที่อาจนาเข้าทางทะเล ไม่มีตึกราบ้านช่อง ไม่มีเครื่องไม้
เครื่องมือที่จะใช้ขนย้ายสิ่งของที่ต้องอาศัยแรงมหาศาล ไม่มีความรู้ถือกาเนิดขึ้นบนโลก ไม่มี
เงื่อนไขของเวลา ไม่มีงานศิลปะ ไม่มีตัวอักษร ไม่มีสังคม และสิ่ งที่แย่ที่สุดคือความกลัว ที่
เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอันตรายจากความตายอันเหี้ยมโหด และสุดท้าย “ชีวิตมนุษย์ช่าง
สันโดษ ต่าต้อย น่ารังเกียจ โหดร้ายและสั้น ” (solitary, poor, nasty, brutish and short)
( Brown, Nardin & Rengger, 2002: 337) Hobbes เรี ย กสภาวะธรรมชาติ ข องเขาว่ า เป็ น
สภาวะของสงคราม (state of war) เพราะแม้ว่าการต่อสู้จะสิ้นสุดลง แต่ความรุนแรงจะมีผล
สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
3.3.2 อำนำจทำงกำรเมืองภำยในรัฐ
คนเราจะสามารถหลีกหนีจากสภาวะธรรมชาติและเข้าไปสู่การมีชีวิตรอดอยู่ใน
สังคมได้อย่างไรนั้น คาตอบของ Hobbes คือ ผ่านทางสัญญา (contract) ระหว่างมนุษย์ที่
อยู่ภายในรัฐ สัญญานี้ส่งผ่านสิทธิ ตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนไปยังผู้ปกครอง ผู้ที่ได้รับ
มอบอานาจโดยสมบูรณ์ พร้อมทั้งเครื่องมือในการบังคับใช้อานาจเหล่านั้น สาหรับ Hobbes
แล้ว กฎหมายลายลักษณ์อักษร (positive law) ทาให้การมีชีวิตรอดอยู่ในสังคมและบรรทัด
ฐานแห่งความยุติธรรมเกิ ดขึ้นจริงมากกว่ากฎหมายธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้น อิทธิพลของ
อานาจอธิปไตยจะปรากฏให้เห็นโดยสมบูรณ์ ดังภาพที่ปรากฏบนปกหนังสือ Leviathan ที่
เป็นภาพของกษัตริย์ขนาดใหญ่ แต่เมื่อสังเกตดูใกล้ๆ จะพบว่าภาพกษัตริย์นั้นประกอบไปด้วย
คนตัวเล็กๆ จานวนมหาศาล ซึ่งทาให้เราเกิดแนวคิดว่ ารัฐอธิปไตยเป็นเพียงตัวแทนเดียวที่
ปรากฏขึ้นในช่วงคริสตศวรรษที่ 17 ในยุโรปและยังคงเป็นศูนย์กลางของความเข้าใจในเรื่อง
อานาจอธิปไตยของรัฐในปัจจุบัน

71
71 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

3.3.3 ควำมสัมพันธ์ทำงกำรเมืองในระหว่ำงประเทศ
แม้ ว่ า Hobbes จะไม่ ไ ด้ อ ธิ บ ายถึ ง การเมื อ งระหว่ า งประเทศไว้ ม ากนั ก แต่ ก็ มี
คาอธิบายที่ชัดเจนในระดับระหว่างประเทศเกี่ยวกับอานาจภายในรัฐของ Hobbes เห็นได้
จาก Hobbes ที่เสนอว่าที่ใดที่ปราศจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็จะไม่มีบรรทัดฐานความ
ยุติธรรม ตรงข้ามกับ Grotius ที่เสนอว่าความสัมพันธ์ภายในรัฐไม่สามารถจะเกิดเป็นสังคมได้
(นับตั้งแต่ปราศจากอานาจเหนือรัฐที่ชอบธรรมหรืออานาจในการบังคับใช้กฎหมายระหว่าง
ประเทศ) แต่จะมีลักษณะคล้ายกั บสภาวะธรรมชาติ เนื่องด้วยเหตุนี้ นักทฤษฎีในยุ ค สมัย
เดียวกันบางคนจึงมองว่า Hobbes เป็นตัวแทนของสานักสัจนิยมทางด้านทฤษฎีความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ รวมถึง Thucydides และ Machiavelli ด้วย อย่างไรก็ตาม จะสังเกตได้ว่า
แท้ที่จริงแล้ว Hobbes คิดว่าสงครามระหว่างรัฐมีแนวโน้มที่จะเกิดจากความสัมพันธ์ภายใน
รัฐอนาธิปไตยน้อยกว่าที่จะเกิดจากสภาวะธรรมชาติ (ที่สมมติขึ้น) ระหว่างปัจเจกบุคคล ต่าง
จากในสภาวะธรรมชาติที่รัฐไม่มีความเท่าเทียมกันทั้งในแง่ของความแข็งแรงและเล่ห์เหลี่ยม
อย่างสิ้นเชิง และรัฐจาเป็นจะต้องพึ่งพาปัจเจกบุคคลที่ไม่สามารถจะต่อสู้เพื่อประเทศของตน
ได้ แต่มีความสนใจในการปกป้องรักษาตนเอง

Thomas Hobbes กับผลงำนสำคัญ Leviathan ตีพิมพ์ในปี 1651

72
72
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ตำรำงที่ 3.1 เปรียบเทียบแนวคิดพื้นฐำนของนักปรัชญำกำรเมืองในสำยสัจนิยม


(Jackson & Sorensen, 2013: 72)
Thucydides Machiavelli Hobbes
ชะตากรรมทางการเมือง ความคล่องแคล่วทางการเมือง เจตนารมณ์ทางการเมือง
(political fate) (political agility) (political will)
ความจาเป็นและความมั่นคง โอกาสและความมั่นคง ทางแพร่งแห่งความมั่นคง
(necessity and security) (opportunity and security) (security dilemma)
การอยู่รอดทางการเมือง การอยู่รอดทางการเมือง การอยู่รอดทางการเมือง
(political survival) (political survival) (political survival)
ความปลอดภัย คุณธรรมแห่งนคร สันติภาพและความสุข
(safety) (civic virtue) (peace and felicity)

3.4 Hugo Grotius


Grotius เป็นนักกฎหมาย และเคยเป็นทนายความให้กับบริษัทอินเดียตะวันออก
ของโปรตุเกส ในช่วงท้ายของชีวิตเขามุ่งพยายามจะไกล่เกลี่ยความขั ดแย้งระหว่างศาสนา
คริสต์นิก ายคาทอริคและนิก ายโปรแตสแตนท์ในยุโ รป และเขาก็ เสีย ชีวิตไม่นานก่ อนเกิด
สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย Grotius มีงานเขียนมากมายเกี่ ยวกับกฎหมาย เทววิทยา
ปรัชญา รวมทั้งวรรณกรรม นักคิดหลายคนกล่าวถึง Grotius ว่า เขาเป็นผู้ที่สะท้อนให้เห็น
ภาพช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ รวมทั้งสถานที่ที่เขาอาศัยอยู่ในขณะนั้นได้อย่างชัดเจน ช่วงเวลา
ของ Grotius ได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปศาสนาในยุโรปและสงครามศาสนาที่เกิดขึ้นใน
เวลาต่อมา แต่แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศที่สาคัญที่สุดของเขาคือแนวคิดเรื่อง
กฎหมายธรรมชาติและแนวคิดที่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐควรถูก ปกครองด้วยกฎหมาย
แม้ว่ารัฐจะอยู่ระหว่างการทาสงครามกับรัฐอื่นอยู่ก็ตาม

Hugo Grotius
Hugo Grotius

73
73 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

3.4.1 กฎหมำยธรรมชำติ
แนวคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติเดิมมาจากแนวคิด Judeo-Christian ที่ถกเถียงกัน
ว่ า มี ก ฎหมายสากลที่ ใ ช้กั บ มนุ ษ ย์และความสั มพั น ธ์ แม้ จ ะไม่ มี ก ารตรากฎหมายนั้ น เป็น
พระราชบัญญัติก็ตาม หากมองตามแนวคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติแล้ว การรักษาชีวิตไว้ถือ
เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้นการประหัตประหารจึงเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ว่าจะมีกฎหมายภายในประเทศที่
ห้ามการประหารชีวิตหรือไม่ก็ตาม และสาเหตุที่ทาให้เราแน่ใจได้เช่นนั้นคือเหตุผลของเราเอง
ที่คอยย้าตัวเราว่าการคร่าชีวิตนั้นมันขัดกั บหลัก กฎหมายธรรมชาติ สาหรับ Grotius แล้ว
กฎหมายธรรมชาติไม่ได้เป็นสิ่งเร้นลับแต่อย่างใด มันเป็นกลุ่มกฎเกณฑ์เกี่ยวกับศีลธรรมที่
สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผล ซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถทาได้ตลอด และกฎธรรมชาติก็จาเป็น
สาหรับรัฐ เพราะมนุษย์คือคนบาป ที่ไม่สามารถจะปฏิบัติตามกฎธรรมชาติได้ตลอด จึงต้อง
ถูกบังคับใช้ด้วยระบบการก่ออาชญากรรมและการลงโทษ อย่างไรก็ตาม กฎหมายแห่งรัฐก็
ได้รับความชอบธรรมขั้นต้นมาจากกฎหมายธรรมชาติก่อนแล้ว ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติที่ถือ
เป็นหลักการเขียนกฎหมายนี้ มีความเกี่ยวพันอย่างมากกับทฤษฎีการเมืองโลกตะวันตก (เช่น
ให้หลักเกณฑ์ที่ว่ากฎหมายบ้านเมืองอาจถูกมองว่าไม่เป็นธรรมและไม่ชอบธรรม) โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง กฎหมายธรรมชาติก่อให้เกิดรากฐานความคิด เรื่องสิทธิสากล หรือ สิทธิ ในฐานะ
ความเป็นมนุษย์อันเป็นต้นกาเนิดของสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน
ความสาคัญของกฎหมายธรรมชาติต่อทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับ
ความเป็นสากลของตัวมันเอง กฎหมายธรรมชาติไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นฐานของกฎหมายแห่ง
รัฐเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานของกฎหมายที่ใช้ควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือที่เราเรียก
กันว่ากฎหมายระหว่างประเทศ
3.4.2 กฎหมำยระหว่ำงประเทศและสงครำม
ในงานของ Thucydides และ Machiavelli ความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองที่
แตกต่างกันเป็นทั้งการสงบศึกที่ดีที่สุดและในขณะเดียวกั นก็เป็นการต่อสู้กันอย่างโกลาหลที่
เลวร้ายที่สุด ในรัฐที่ต่างต้องการจะไขว่คว้าอานาจ เพื่อให้ตนสามารถแสวงหาความมั่นคงได้
อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในทางกลับกัน Grotius โต้แย้งว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสามารถและควร
เป็น ‘สังคม’ (โครงสร้างการอยู่ร่วมกันภายใต้ระเบียบข้ อบังคับ และถูกทาให้เป็นสถาบัน)
เสียมากกว่า ‘ระบบ’ (โครงสร้างอนาธิปไตยที่รวมรัฐต่างๆ เข้ามาอยู่รวมกันแต่ไม่สามารถ
ไว้ใจซึ่งกันและกันได้) กฎหมายธรรมชาติก่อให้เกิดพื้นฐานสังคมของรัฐ ที่ชี้ให้เห็นมาตรฐาน
พฤติกรรมระหว่างรัฐ และผลักดันให้เกิดแนวทางปฏิบัติและสถาบั นทางสังคม เช่น การทูต

74
74
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสามารถดาเนินการในรูปแบบของธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อ
กั นมา นี่ไม่ได้หมายความว่ าทางออกของรัฐ คือการเป็น ครอบครัวขนาดใหญ่ ที่มี ความสุ ข
Grotius ยังคงคิดว่า ผลประโยชน์แห่งรัฐจะก่อให้เกิดการปะทะและสงครามระหว่างรัฐขึ้ น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ใดจะเกิดสงครามขึ้น เราก็สามารถจาแนกได้ว่าเป็นสงครามที่ชอบธรรม
หรือไม่ชอบธรรม (Grotius inBrown,Nardin & Rengger, 2002: 334)
3.5 Jean-Jacques Rousseau
Rousseau เกิ ด ในช่ ว งศตวรรษที่ 18 อั น เป็ น ยุ ค ภู มิ ธ รรมแห่ ง ยุ โ รป (the
European Enlightenment) Rousseau เป็ น นั ก คิ ด ที่ มี ค วามย้ อ นแย้ ง ในตั ว เอง หาก
พิจ ารณาตาราทางปรัชญาและทฤษฎีก ารเมือง เรามัก จะจัดให้ Rousseau อยู่ในกลุ่มนั ก
ปรัชญาสายเสรีนิยม หากแต่ในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้วเขาได้รับการจัดวางให้
อยู่กลุ่มนักคิดสายสัจนิยม 8ในมุมแรกที่แสดงความย้อนแย้ง พิจารณาที่เขาสนใจจะวินิจฉัย
และพยายามที่จะระบุปัญหาในยุคที่เขามีชีวิตอยู่ แต่ ในอีกมุมคือเขาไม่ได้แบ่งปันความรู้แจ้ง
เกี่ ย วกั บ เหตุ ผ ลนั้ น ในฐานะกุ ญ แจสู่ ก ระบวนการทางประวั ติ ศ าสตร์ (Boucher, 1998)
Rousseau มองเห็นภาพการเมืองและสังคมร่ วมสมัย ทั้งภายในรัฐและระหว่างรัฐว่าเป็นการ
ฉ้อราษฎร์บังหลวงขั้นแรกสุดและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม เขามองการทุจริต
และความขัดแย้งนี้เป็นผลผลิตทางสังคมมากกว่าความจาเป็นโดยธรรมชาติ ดังนั้น เขาจึงนา
ประเด็นนี้ไปเทียบกับมุมมองของ Hobbes ที่ว่า ในสภาวะธรรมชาติ มนุษย์มีความเห็นแก่ตัว
และมักใช้รุนแรง ทั้งยังกล่าวว่า ในทางกลับกัน โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์รักสงบและมีแนวโน้ม
ที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว แม้มนุษย์จะมีสัญชาตญาณในการเอาตัวรอด แต่ในขณะเดียวกั นก็มี
ความเห็นอกเห็นใจกับความทุกข์ทรมานของผู้อื่น ตามความคิดของ Rousseau นั้น มีเพียง
แค่อารยธรรมเท่านั้นที่มีการพัฒนา ดังจะเห็นได้จากความกระหายอานาจความขัดแย้งใน
เรื่องผลประโยชน์ของมนุษย์ ที่ Hobbes ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมชาติ หรือ สภาวะก่อนที่มนุษย์
จะรวมกลุ่มกันเป็นสังคม หรือสมัยก่อนจะเป็นสังคม (Brown, 2002: 416-425) โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง Rousseau ได้ระบุถึงพัฒนาการของสถาบันทรัพย์สินส่วนบุคคล (the institution
of private property) ว่าเป็นพลังแห่งการทุจริต ซึ่งก่อให้ความโลภ ความอิจฉาริษยา และ
ความรุนแรง สาหรับ Rousseau แล้ว สงครามเป็นผลผลิตของระเบียบทางสังคมที่ผู้ปกครอง

8 พิจ ารณาแนวคิดเชิงสัจนิย มของ Rousseau ในการเมืองระหว่างประเทศ ดูเพิ่มเติม Hoffman


(1963)

75
75 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ตระหนักถึงพรมแดนของตนในฐานะทรัพย์สินส่วนบุคคล และการแสวงหาทั้งการป้องกันและ
ขยายสิ่งที่มีอยู่

Jean Jacque Rousseau กับงำน The State of War

งานเขียนของ Rousseau ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องอานาจทางการเมืองภายในรัฐ หนึ่ง


ในคาอธิบายที่มีชื่อเสียงของเขาคือ มนุษย์จะรักษาเสรีภาพส่วนบุคคลภายในรัฐ ก็ต่อเมื่อ
กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพลเมือง นั่นก็คือ การเขียนกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง
(self-legislating) รัฐในอุดมคติของ Rousseau คือสาธารณรัฐที่พลเมืองทุกคนมีส่วนร่วมใน
การร่างกฎหมายเพื่อคนในสังคม และเป็นสาธารณรัฐ ที่ทรัพย์สินทั้งหมดถูกจัดสรรอย่างเป็น
ธรรม อย่างไรก็ตาม Rousseau ยังคงสนใจในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ จึงได้สร้างทฤษฏี
การเมืองระหว่างประเทศขึ้นมาด้วยวิธีการได้แก่ ผ่านทางการจากัดความคาว่า รัฐและชาติ
ของเขาและผ่านทางแนวคิดของเขาในเรื่องสมาพันธ์แห่งรัฐยุโรป
3.5.1 รัฐและชำติ
Rousseau เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการฟื้ น ฟู ร ะเบี ย บทางสั ง คมในเรื่ อ งแนวคิ ด ทาง
การเมืองระหว่างประเทศในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งหากย้อนกลับไปในยุคกรีกโบราณ แนวคิด
ทางการเมืองระหว่างประเทศเหล่านี้ก็ปรากฏเป็นหลักฐานในผลงานของ Thucydides และ
Machiavelli เช่ น กั น แนวทางสาธารณรั ฐ (republican tradition) นี้ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง
ความสาคัญของลัทธิชาตินิยมและความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างปัจเจกบุคคลและอัต
ลักษณ์ที่มีร่วมกัน สาหรับ Rousseau ความชอบธรรมและการดารงอยู่ของรัฐขึ้นอยู่กับว่ามัน
สะท้อนให้เห็นเจตจานงของประชาชนภายในรัฐ และ คาว่า ‘ประชาชน’ ไม่ได้ถูกจากัดความ
ไว้เพียงแค่กลุ่มคนเท่านั้น แต่หมายถึงกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ของชาติร่วมกัน Rousseau ยืนยัน
ว่าความสัมพันธ์ที่สาคัญระหว่างแนวคิดชาตินิยมและการเมืองระหว่างประเทศควรถูก จัด
ระเบียบ กล่าวคือ เปลี่ยนการแบ่งแยกให้กลายเป็นการรวมเอกราชสาธารณรัฐในอุดมคติหรือ

76
76
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

รัฐชาติ ดังนั้น Rousseau จึงเป็นคนแรกที่คิดหลัก การที่กลายมาเป็นบรรทัดฐานระหว่าง


ประเทศสมัยใหม่ คือ หลักการกาหนดชะตาของชาติด้วยตนเอง (the principle of national
self-determination)
3.5.2 สมำพันธรัฐ
ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น Rousseau ไม่ได้มองโลกในแง่ดีว่า โลกจะสามารถฟื้นฟู
ตนเองจากการทุจ ริตและภัยสงครามที่เกิดขึ้นในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ได้ ตัวอย่างหนึ่งคือคา
วิ จ ารณ์ ข องเขาที่ มี ต่ อ บทความของ Abbé de St Pierre ชื่ อ Project for Setting an
Everlasting Peace in Europeซึ่งเป็นบทความในยุคภูมิธรรมที่พยายามจะแสดงให้เห็นว่า
สันติภาพและความเป็นเอกภาพนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาและทาให้รัฐบรรลุเป้าหมาย
ในทางปฏิบัติทั้งความยุติธรรมและผลประโยชน์ได้อย่างไร นักคิดบางคนมองว่าข้อสงสัยของ
Rousseau เกี่ ย วกั บผลงานฉบับร่างของ Abbé ชี้ให้เห็นว่า Rousseau ดูถูก เหยีย ดหยาม
แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศในทัศนะThucydides หรือ Machiavelli และเขา
มองการเปลี่ยนแปลงสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศว่าเป็นเรื่องยาก ตลอดจนมองว่า
ธรรมชาติของเจ้าผู้ปกครองมีความละโมบโลภมากและมีความก้าวร้าว นอกจากนี้ Rousseau
ยังมองว่า การค้าระหว่างประเทศมีพื้นฐานมาจากความโลภ ดังนั้น เขาจึงคิดว่ารูปแบบการ
ปกครองภายในรัฐช่วงก่อนมีอานาจและการเพิ่มขึ้นของความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์จะเป็นแรง
กระตุ้นให้เกิ ดสงครามระหว่างผู้คนขึ้น อย่างไรก็ ตาม กิจ การของรัฐนี้ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดย
ธรรมชาติ แต่มันถูกหล่อหลอมผ่านทางสังคมมาชั่วระยะหนึ่ง จึงทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
โดยหลักการ แนวคิดการเปลี่ยนแปลงของเขาถูกใช้ในความสัมพันธ์ทั้งในระดับรัฐและระดับ
ระหว่างรัฐ เขากล่าวว่าทุกรัฐควรกลายเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งหมายความว่า รัฐควรถูกปกครอง
โดยประชาชนทั้งหมด รวมทั้งพลเมืองทุกคนควรมีความเท่าเทียมกันทางด้านวัตถุ เพราะพวก
เขาเหล่านั้นเกิ ดขึ้ นมาจากหลัก การแห่ง อิสรภาพและความเท่ าเทีย ม สาธารณรัฐจะไม่ มี
นโยบายต่างประเทศที่ก้าวร้าวเหมือนที่ถูกปกครองโดยเจ้าผู้ปกครองหรือโดยความต้องการ
เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงความรับผิดชอบของสมาพันธรัฐยุโรป ที่ บรรดารัฐชาติ
ในยุโรปได้ร่วมกันสร้างขึ้นบนพื้นฐานของมรดกทางวัฒนธรรมเดียวกัน จนก่อให้เกิดสหภาพ
ทางการเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่สงครามระหว่างรัฐสมาชิกได้เลือนหายไป

77
77 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

3.6 Immanuel Kant


Kant เป็นนักปรัชญาคนสาคัญในยุคภูมิธรรมแห่งยุโรป เขารู้ว่าช่วงเวลาที่เขาเขียน
ผลงานนั้นเป็นช่วงที่แนวคิดแบบใหม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิวัติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ
และการเมืองเช่นการปฏิวัติในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส เขาเขียนผลงานที่มีชื่อเสีย งที่สุด
ในช่ ว งสามทศวรรษสุ ด ท้ า ยของชี วิ ต ที่ ค รอบคลุ ม ทั้ ง ในด้ า นสาขาปรั ช ญา ญาณวิ ท ยา
จริยธรรม และปรัชญาการเมือง หนึ่งในนักปรัชญา Kant มองว่าการเมืองระดับภายในรัฐและ
การเมืองระหว่างรัฐมีความสัมพันธ์กัน เช่นเดียวกับแนวคิดของ Rousseau แต่เขามองโลกใน
แง่ดีกว่า Rousseau ในประเด็นที่ว่าสาธารณรัฐนิยม (republicanism) ในระดับรัฐสามารถ
เสริ ม สร้ า งสั น ติ ภ าพระหว่ า งรั ฐ และภายในรั ฐ ได้ อ ย่ า งไร ในขณะที่ Rousseau มอง
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในแง่ของความเสื่อมถอยทางศีลธรรม ที่มนุษย์ทุจริตคดโกงมากขึ้น
ในขณะที่สังคมมีความมั่งคั่งและซับซ้อนมากขึ้น แต่ Kant กลับมองประวัติศาสตร์ของมนุษย์
ในแง่ของความเจริ ญก้ าวหน้ า แนวคิดที่ สาคั ญของ Kant เกี่ ย วกั บความสั ม พั น ธ์ระหว่ า ง
ประเทศ ได้ แ ก่ แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ สั น ติ ภ าพที่ ยั่ ง ยื น (the perpetual peace) ปรั ช ญาทาง
ประวัติศาสตร์ (philosophy of history)
3.6.1 แนวคิดสันติภำพที่ยั่งยืน
งานเขียน Perpetual Peace: a philosophical sketch (Kant in Brown, 2002:
432-455) อธิบายถึงพันธกรณีทางการเมืองและปรัชญาศีลธรรม อันจะนาไปสู่ 3 เงื่อนไขเพื่อ
สันติภาพในโลก เงื่อนไขเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 บทความด้วยกัน บทความแรกเสนอให้ ทุก
รัฐกลายเป็นสาธารณรัฐ Kant ยืนยันว่ารัฐควรที่จะมีความรับผิดชอบและสุขุมรอบคอบมาก
ยิ่งขึ้น หากจาเป็นจะต้องบอกกล่าวให้ประชาชนของตนรับ ทราบมากกว่าการที่รัฐ จะถู ก
ปกครองโดยเจ้ า ผู้ ป กครองที่ ไ ม่ ส ามารถตรวจสอบได้ ส่ ว นบทความที่ ส อง ต้ อ งการให้
สาธารณรั ฐ รวมตั ว กั น เป็ น สหภาพแห่ ง สั น ติ (pacific union) ที่ ทุ ก รั ฐ ต่ า งก าหนดให้ ก าร
ปฏิ สั ม พั น ธ์ แ ละการสงบศึ ก สงครามเป็ น เครื่อ งมื อ ทางนโยบายต่ า งประเทศในการเจริญ
สัมพันธไมตรีระหว่างกัน Kant โต้แย้งแนวคิดรัฐโลก (world state) เป็นอย่างมาก เพราะเขา
คิดว่าแนวคิดนี้อาจจะกลายเป็นระบอบเผด็จการได้ในที่สุด บทความสุดท้ายเห็นควรให้ มี
หลัก ประกั นในเรื่องสิ ท ธิส ากล ซึ่ง Kant หมายถึงสิทธิของมนุษย์ ทุก คน ไม่ว่าเขาจะเป็ น
พลเมืองของรัฐหรือไม่ก็ตาม สาหรับ Kant แล้ว นี่คือความต้องการสิทธิสากลอย่างน้อยที่สุด
ในเรื่องความมีจิตเมตตา แต่แนวคิดเรื่องความเป็นสากลของสิทธินั้น ร่างขึ้นมาจากหลัก
กฎหมายธรรมชาติของศาสนาคริสต์ จนกลายเป็นที่มาของแนวคิดสมัยใหม่เกี่ยวกับหลักสิทธิ
มนุษยชนสากล (the universal human rights)

78
78
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

3.6.2 ปรัชญำแห่งประวัติศำสตร์
ทฤษฎีทางการเมืองของ Kant ที่ประกอบไปด้วยทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศ
นั้นมิใช่เพียงหลักการที่เป็นนามธรรมเท่านั้น แต่ยั งถูกบัญญัติไว้ในปรัชญาแห่งประวัติศาสตร์
ของเขาอีกด้วย สาหรับ Kant แล้ว สันติภาพที่ยั่งยืนไม่ใช่ฝันที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเขามองว่า
พลังธรรมชาติ (natural forces) จะก่อให้เกิดสันติภาพขึ้นได้ (Kant in Brown, 2001: 430,
443-445) ปรัชญาศีลธรรมของ Kant สอดคล้องกับหลักคาสอนของคริสตศาสนาเป็นอย่าง
มาก เขาเชื่ อ ว่ า มนุ ษ ย์ ส ามารถกระท าสิ่ ง ที่ มี ศี ล ธรรมได้ แต่ ม นุ ษ ย์ ก ลั บ เป็ น สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ มี
ข้อบกพร่อง ซึ่งถูกครอบงาโดยกิเลสตัณหาและความปรารถนาของพวกเขาเอง อย่างไรก็ตาม
จากแนวคิดอาณาจักรแห่งชีวิตทางสังคม(realm of social life)ของ Kant นั้น แม้ว่ามนุษย์
มักจะถูกขับเคลื่อนโดยกิเลสตัณหาและความปรารถนา แต่พวกเขาจะยังคงถูกผลักดันให้สร้าง
สังคม และท้ายที่สุดก็จะใช้ชีวิตอย่างสงบสุขร่วมกับสังคมอื่น เนื่องด้วยความกลัวและความ
ละโมบโลภมากของพวกเขา ความกลัวคือสิ่งที่จะนาพามนุษย์ไปสู่การทาสั ญญาร่วมกับผู้อื่น
เพื่อสร้างรัฐขึ้น ดังนั้น พวกเขาจึงไม่ได้ตกอยู่ในสภาวะธรรมชาติตามแบบของ Hobbes นาน
มากนัก เมื่อเวลาล่วงเลยไป ความกลัวที่ว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในศึกสงครามที่มีความน่า
กลัวมากขึ้น จะทาให้รัฐหยุดคุกคามรัฐอื่ น ในทางกลับกัน ความโลจะผลักดันให้มนุษย์เข้าสู่
กระบวนการผลิตและการค้ามากและมากยิ่งขึ้น และการค้าระหว่างประเทศจะกีดกันการเกิด
สงครามระหว่างรัฐโดย Kant ระบุว่าท้ายที่สุดแล้วเหตุผลและกิเลสตัณหาจะเป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน มนุษย์ผู้มีศีลธรรมและมีเหตุผลจะมองว่าความปรารถนาสันติภาพที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่
ถูกต้อง และท้ายที่สุดแล้ว มนุษย์ผู้ที่สนใจแต่ผลประโยชน์ส่วนตนก็จะมองว่าความปรารถนา
สันติภาพที่ยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเช่นกัน

Immanuel Kant

79
79 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

3.7 Karl Marx


Karl Marx เป็นนัก คิด นัก ปรัชญาชาวเยอรมันที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก
Hegel ในด้านชีวิตส่วนตัว เขาใช้ชีวิตระห่เร่ร่อนตกอยู่ในฐานะผู้ลี้ภัย ทางการเมืองมาโดย
ตลอด Marx ศึกษางานทางด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์อย่างจริงจัง ตลอดชีวิตการ
ทางานของเขาอุทิศให้กับสาเหตุข องการปฏิวัติทางการเมืองและสังคมทั้งในทางทฤษฎีและ
ทางปฏิบัติ ในการทางานร่วมกับเพื่อนของเขาอย่าง Fredrich Engels ผู้ซึ่งมีผลงานการเขียน
ร่วมกับ Marx หลายชิ้น รวมถึงหนังสือชื่อ The Communist Manifesto Marx พยายามที่
จะอธิบายรูปแบบของโลกสมัยใหม่ในบริบทของศตวรรษที่ 19 เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจาก
การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติทางการเมืองในหลายพื้นที่ของยุโรปโดยเฉพาะงาน
สาคัญทางด้านเศรษฐศาสตร์คือ The Capital ทั้งสามเล่ม ซึ่งวิพากษ์วิจ ารณ์ทุนนิย มและ
ระบบนายทุ น โดยใช้ พื้ น ฐานปรั ช ญาวิ ภ าษวิ ธี วั ต ถุ นิ ย ม (dialectic materialism) ที่ ไ ด้ รั บ
อิทธิพลมาจาก Hegel นอกจากนั้น Marx ยังให้ความสาคัญกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือ
วัตถุนิยมในวิเคราะห์เศรษฐกิจ Marx เชื่อว่า กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ในสังคมล้วนขึ้นอยู่กับ
“วัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ ” (historical materialism) อย่างไรก็ตาม แนวคิดของเขาใน
การเมืองระหว่างประเทศนั้นปรากฎไม่มากนั้น และไม่ได้มีอิทธิพลต่อทฤษฎีการเมืองระหว่าง
ประเทศ แต่กลับมีผลต่อทฤษฎีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และลัทธิทุน นิยมของเขาเอง ทฤษฎี
สาคัญ ของเขาคือ ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ระหว่างชนชั้น (history of class struggle)
และทุนนิยม สากลนิยมและการปฏิวัติ (capitalism internationalism and revolution)

Karl Marx และ Friedrich Engels

80
80
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

3.7.1 ประวัติศำสตร์แห่งกำรต่อสู้ระหว่ำงชนชั้น
Marx มองเรื่ อ งความไม่ เ ท่ า เที ย มกั น ทางเศรษฐกิ จ ว่ า มี ค วามส าคั ญ ในแง่ ก าร
ดารงชีวิตทั้งทางการเมืองและสังคม รวมถึงเหตุผลที่ว่าทาไมรูปแบบสังคมบางรูปแบบ เช่น
ระบบทาส หรือ ระบบศักดินา จึงล่มสลายลงในท้ายที่สุด Marx กาหนดทฤษฎีเงื่อนไขทาง
วัตถุหรือเงื่อนไขทางเทคโนโลยีขึ้นในยุคที่มีการใช้รูปแบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสังคม
แต่ในทางกลับกัน โครงสร้างนั้นก็กาหนดหมวดหมู่ของมนุษย์ออกมาในลักษณะของชนชั้น ซึ่ง
ชนชั้นจะถูกกาหนดโดยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับ 'ปัจจัยการผลิต' ความแตกต่าง
ทางชนชั้นในทุกช่วงเวลาและในทุกสังคมคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาผู้ที่เป็นเจ้าของหรือ
ควบคุมปัจจัยการผลิตและบรรดาผู้ที่จะต้องทางานให้กับเจ้าของกิจการเพื่อความอยู่รอดของ
ตน ในบริบทของเกษตรกรในสังคมก่อนยุคอุตสาหกรรมนั้น เงื่อนไขทางวัตถุก่อให้เกิดหลาย
ระบบขึ้น อาทิ ทาสหรือไพร่ที่มีชนชั้นผู้สูงซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเป็นผู้ปกครองประชากรที่เหลือ
ส่วนใหญ่ ด้วยการเป็นเจ้าของแรงงานทั้งหมด และควบคุมแรงงานด้วยตัวพวกเขาเอง อย่างไร
ก็ตาม ในสังคมการตลาดอุตสาหกรรม ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่อย่างทุนนิยมก็ได้ถือก าเนิด
ขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางชนชั้นรูปแบบใหม่ เห็น ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างนายทุน
และกรรมาชีพ ทั้งนี้ Marx ยืนยันว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างความขัดแย้งทางการเมือง
ในสังคมกับฐานะทางชนชั้นของคนในสังคมนั้น Marx เห็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบศักดินา
สู่ระบบทุนนิยมที่เกิดจากการความต้องการที่จะปลดเปลื้องจากข้อจากัดของระบบศักดินา
ของนายทุนที่ เ พิ่ม สูง ขึ้น Marx มองชนชั้นกรรมาชี พ ในฐานะตัวแทนแห่งการปฏิ วั ติ เ พื่ อ
แข่งขันกับนายทุน และเป็นกาลังที่จะสามารถโค่นล้มระบบทุนนิยมในท้ายที่สุด รวมถึงความ
ไม่เท่าเทียมและเป็นประตูสู่ยุคของสันติภาพและความเสมอ เช่น ระบบสังคมนิยม
3.7.2 ระบบทุนนิยม ระบบสำกลนิยมและกำรปฏิวัติ
Marx มองระบบทุ น นิ ย มและนายทุ น ว่ า เป็ น พวกนั ก สากลนิ ย ม เขายื น ยั น ว่ า
จุดประสงค์เดียวของระบบทุนนิยมคือ การขยายตัวของผลกาไร และมองว่าความจาเป็นนี้จะ
มองข้ามอัตลักษณ์และความสัตย์ซื่อเช่นชาติหรือรัฐ ไป ผลกาไรที่มากขึ้นทาให้ตลาดและการ
ปฏิ วั ติ เ ทคโนโลยี ข ยายตั ว ส าหรั บ Marx แล้ ว ชาวอั ง กฤษสนั บ สนุ น ให้ มี ก ารค้ า เสรี ลั ทธิ
พาณิชย์นิยมและลัทธิล่าอาณานิคม ตลอดจนบทบาทผู้นาของอัง กฤษในเรื่องการพัฒนาทาง
เทคโนโลยีในช่วงศตวรรษที่ 19 ดังจะเห็นได้จากบทบาทของอังกฤษในฐานะอานาจทุนนิยม
หลักในขณะนั้น สาหรับ Marx รัฐสะท้อนให้เห็นถึงผลประโยชน์ของชนชั้นผู้ปกครองในยุคนั้น
อุดมการณ์อย่าง ลัทธิชาตินิยมเป็นภาพสะท้อนผลประโยชน์ของชนชั้นทางเศรษฐกิจในมุมที่
ลึกกว่า หากนายทุนเป็นพวกสากลนิยมแล้ว ก็จะมีชนชั้นกรรมาชีพเกิดขึ้นจานวนมาก ตาม

81
81 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ความคิดของ Marx แรงงานจะแบ่งปันผลประโยชน์ทางชนชั้นซึ่งกันและกั น โดยมองข้าม


ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือความเกี่ ย วพันทางการเมือง ผลประโยชน์ที่เหล่า
กรรมาชีพทั้งหลายแบ่งปันกันคือ ผลประโยชน์ที่มุ่ งจะโค่นล้มระบบทุนนิยมที่ยังคงหลงเหลือ
อยู่ในลักษณะของการขูดรีดแรงงาน และสร้างโลกรูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งจะทาให้ความไม่เท่า
เทียมกันทางเศรษฐกิจ รวมถึงพรมแดนของรัฐกลายเป็นเรื่องในอดีตไปเสีย

ภำพจำลองกำรทำงำนในโรงงำนอุตสำหกรรมช่วงสมัยกำรปฏิวัติอุตสำหกรรมในศตวรรษที่ 18
เหตุกำรณ์ดังกล่ำวส่งผลต่อกำรเปลีย่ นแปลงขนำนใหญ่ทั้งทำงกำรเมือง เศรษฐกิจ สังคมและภูมิปัญญำ
กำรปฏิวัติอุตสำหกรรมยังเป็นส่วนหนึ่งของก่อร่ำงสร้ำงควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ
อย่ำงที่เรำรู้จักกันในปัจจุบัน

82
82
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ดังที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่า งประเทศเป็นเรื่องที่มีความ

กฎหมาย กฎเกณฑ์ บรรทัด


ถูกก่อร่างเชิงสังคมผ่านการ
ผลประโยชน์ของตัวแสดง

ประวัติศาสตร์และบริบท

ประวัติศาสตร์และบริบท
(Constructivism)

ต้องการชีวิตในสังคมที่มี
หลากหลายทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับรัฐ หรือแม้แต่ระดับประชาชนอีก ทั้งมี ตัว

ข้อจากัดทางสังคม เช่น
ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาทาง

ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาทาง
ตัวแสดงอื่นๆที่มิใช่รัฐ
สรรสร้ำงนิยม

Theories of norm
ระเบียบและเปี่ยม
แสดงที่หลากหลายมากกว่าในอดีต เราจะเห็นได้ว่านอกจากรัฐแล้ว องค์การระหว่างประเทศ

Structuration
ความหมาย

evolution
ปฏิสัมพันธ์
บรรษัทข้ามชาติที่ผลิตสินค้าออกมจาหน่ายให้กับผู้คนในโลก กลุ่มก่ อการร้าย หรือแม้กระทั่ง

ทางสังคม

ทางสังคม

ฐาน
กลุ่มศาสนา ก็ล้วนแล้วแต่มีความสาคัญที่กาหนดความเป็นไปของโลกแทบทั้งสิ้น หากเปรียบ
รัฐ

ความสัมพันธ์ระหว่ างประเทศเป็ นภาพยนตร์ สัก เรื่องแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ย่อมมี ฉ ากที่

ค่าจ้างที่เป็นธรรมและชีวิตที่

นายทุน) และการใช้แรงงาน
ชนชั้นนายทุนแสวงหากาไร

ความมั่งคั่ง (สาหรับชนชั้น

(สาหรับชนชั้นกรรมาชีพ)

Theory of Revolution
Dependency Theory
หลากหลายและซับซ้อนอีก ทั้งตัวแสดงจานวนมากที่มีบุคลิก ลักษณะแตกต่างกั นไป ดังนั้น
ชนชั้นแรงงานแสวงหา

ความไม่เท่าเทียมทาง
(Marxism)
ชนชั้นทางเศรษฐกิจ
มำร์กซ์

ศิวพล ชมภูพันธุ์
กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงมิได้เป็นเรื่องไกลตัวเราอีกต่อไปเพราะตัวเราเองก็
คือตัวละครตั ว หนึ่ง ในโลกแห่ ง ความสั ม พั นธ์ ระหว่ างประเทศ หากแต่เราเข้ าใจและรั บ รู้

การขูดรีด
ความโลภ

เศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่ามันคืออะไรแล้ว การรับรู้ดังกล่าวก็มิต่างอะไรกับการอ่านข่าว
ดี

จากสื่ อ ดั ง นั้ น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศที่ ก ล่ า วไปข้ า งต้ น จึ ง เป็ น ลั ก ษณะของ


การแข่งขันและความร่วมมือ
(The English School)

ระเบียบและความยุติธรรม
ความรับผิดชอบในสังคม
ความต้องการที่จะมีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะปรากฎการณ์หรือในชีวิตประจาวันของเรา (IR as

สังคมระหว่างประเทศ

Communitarianism
ตัวแสดงอื่นๆที่มิใช่รัฐ
สำนักอังกฤษ

Normative Theory
Cosmopolitanism
การเจรจา การจูงใจ
การค้า การลงทุน

Phenomena or IR as daily life)


อานาจทางทหาร
ระหว่างประเทศ
อย่างมีความสุข
ความกลัว

คาถามประการถัดมาคือ “เราจะสามารถเข้าใจถึงที่มาหรือเหตุผลรวมทั้งอนาคต สังคมโลก


รัฐ

ของเหตุการณ์ต่างๆในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างไร” การกาเนิดความสัมพันธ์
ความต้องการที่จะมีชีวิตอย่างมี

Neoliberal institutionalism
ตัวแสดงต่างแสวงหาการมีชีวิต

ระหว่างประเทศในฐานะสาขาวิชาทางวิชาการ (IR as Academic Subject) จึงได้ถือกาเนิด


นอกเหนือจากความมั่นคงแล้ว

การแข่งขันและการร่วมมือกัน

83
Democratic Peace theory
ขึ้นเพื่อทาหน้าที่ตอบคาถามนี้ รวมทั้ง อธิบายความเป็นไปในโลกโดยการอาศัย เครื่องมื อ
(Liberalism)

ที่ดีและความยุติธรรม
ตัวแสดงอื่นๆที่มิใช่รัฐ
เสรีนิยม

การเจรจา การจูงใจ
การค้า การลงทุน

จานวนหนึ่งและวิธีการในการพิจารณาปรากฎการณ์ แล้วสร้างคาอธิบายเพื่อทาความเข้าใจ
อานาจทางทหาร

อนาธิปไตย

ตีความหรือทานายเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งเครื่องมือดังกล่าวนั้นเป็นที่มาของการสร้างและ
ความกลัว

ความสุข

ศึ ก ษา “แนวคิ ด และทฤษฎี ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ” (International Relations


รัฐ

Theory and Concepts) ซึ่ ง ก็ มี ห ลากหลายกั น ไปแล้ ว แต่ มุ ม มองของนั ก วิ ช าการที่ ส ร้ า ง


รัฐแสวงอานาจเพื่อความ

hegemonic transition
and hegemonic war

เครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมา
ความต้องการอานาจ

Balance of power
(Realism)
สัจนิยม

อานาจทางทหาร

Theories of

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
อนาธิปไตย
การแข่งขัน
ความกลัว

มั่นคง

และรัฐมิได้เป็นตัวแสดงหลักที่สาคัญอีกต่อไป หากยังสัมพันธ์กับการพึ่งพาอาศัยทางเศรษฐกิจ
รัฐ

การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน ความร่วมมือข้ามชาติ บทบาทขององค์การระหว่าง


กระบวนกำรของปฏิสัมพันธ์

ประเทศ ประเด็นสิ่งแวดล้อม ประเด็นความเท่าเทียมกันทางเพศ กลุ่มศาสนา การก่อการร้าย


แรงขับเคลื่อนของมนุษย์

แนวคิดที่เกี่ยวข้องในสำนัก
เป้ำหมำยของตัวแสดง

ระบบระหว่ำงประเทศ
เครื่องมือที่สำคัญของ

และอื่ น ๆด้ ว ยเหตุ นี้ เ อง นั ก วิ ช าการบางกลุ่ ม เริ่ ม ที่ จ ะใช้ ค าว่ า “International Studies”
ตัวแสดงหลัก

รูปแบบเชิงของ

“World Politics” หรื อ “Global Politics” มากกว่ า ค าดั้ ง เ ดิ ม อย่ าง International


ตัวแสดง

ที่สำคัญ

Relations” แต่ในที่นี้ผู้เขียนยังคงใช้คาว่าความสัมพันธ์ระหว่า งประเทศเพื่อดาเนินเนื้อหา


ภายในเล่ม หลักกำรสำคัญ

383 ศิวพล ชมภูพันธุ์


International Relations Theory: An Introduction

84
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 4 บทที่ 4
ทฤษฎีสจั นิยม (Realism) ทฤษฎีสัจนิยม
Realism
4.1 บทนำ
สั จ นิ ย ม หรื อ อาจจะเรี ย กว่ า สั จ นิ ย มทางการเมื อ ง (Political Realism) หรื อ
การเมืองแห่งอานาจ (Power Politics) สัจนิยมเป็นแนวคิดที่เก่าแก่ (Donnelly, 2005: 29)
มีรากฐานมาจาก “Realpolitik”อันเป็นภาพสะท้อนการเมืองของการเมืองยุโรปในศตวรรษที่
19 แต่แนวคิดนี้ก ลั บปั ก หลัก และงอกงามในสหรั ฐอเมริ ก าในฐานะทฤษฎี ที่ ท รงพลั ง และ
ครอบงาการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองก็
ว่าได้ ทฤษฎีสัจนิยมกาเนิดขึ้นมาเพื่อโต้แย้งแนวคิดเสรีนิยมหรืออุดมคตินิยมซึ่งเป็นแนวคิดที่
ได้ รั บ ความสนใจเป็ น อย่ า งมากในสมั ย นั้ น ว่ า ไม่ ส ามารถอธิ บ ายปรากฎการณ์ ก ารเกิ ด
สงครามโลกได้อย่างสมเหตุสมผล ทฤษฎีสัจนิยมก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในสมัยสงครามเย็นที่ระบบ
การเมืองโลกแบ่งออกเป็นสองขั้วอานาจอย่างชัดเจน และต่อมาเมื่อบริบ ททางการเมือ ง
ระหว่างประเทศได้เปลี่ย นแปลงไปก็ มีก ารพั ฒนาทฤษฎีสัจนิย มจนกลายเป็น สัจ นิย มใหม่
(Neo-Realism) หรือสัจนิยมเชิงโครงสร้าง (Structural Realism)
กล่าวได้ว่า การก่อตัวของทฤษฎีสัจนิยมในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เริ่ ม ต้ น มาจากงานเขี ย นของ E.H.Carr ใน The Twenty Years’ Crisis 1919-1939 ซึ่ ง ได้
บรรยายช่วงเวลายี่สิบปีก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะเกิดขึ้นว่า ช่วงเวลาดังกล่าวมีแต่ความ
วุ่นวาย มิได้เป็นช่วงเวลาแห่งสันติภาพดังที่นักคิดแนวเสรีนิยมได้วาดไว้ และยังมองว่า แนวคิด
เสรีนิยม เป็นเพียงแนวคิดที่ “ไร้เดียงสา เพ้อฝัน ล่องลอย” (ขจรศักดิ์, 2555) กล่าวคือให้
ความสาคัญกับองค์กรระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ หรือบรรทัดฐานต่างๆ เช่น
ความยุติธรรม และความเท่าเทียม มากเกินไปโดยไม่พิจารณาความเป็นจริงที่กาลังเผชิญอยู่
ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดคือ ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติที่ไม่สามารถยับยังการ
รุก รานดินแดนของมหาอานาจรวมทั้งบทบาทของนาซีเยอรมันภายใต้ก ารนาของ Adolf
Hitler ที่ใช้นโยบายรุกรานประเทศต่างๆจนนาไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 จุดเด่นของแนวคิด
คาร์คือ การให้ความสนใจกั บความสาคัญของสถานการณ์ต่างๆที่เป็นต้นเหตุของสงคราม
มิ ฉ ะนั้ น เราจะไม่ เ ข้ าใจได้ เ ลยว่ า เพราะเหตุ ใ ดช่ วงเวลาเพี ย งแค่ 20 ปี ห ลั ง การลงนามใน
สนธิสัญญาสันติภาพฉบับต่างๆ จึงเกิดสงครามได้รวดเร็วขนาดนี้ นอกจากนั้นในหนังสือเล่มนี้
ดังนั้น คาร์จึงเรียกร้องให้มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแก้ไขข้อบกพร่องทางความคิดแบบ
อุดมคติซึ่งละเลยการนาปัจจัยทางอานาจมาศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ

85
85 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

นอกจากงานเขียนของ Carr แล้วยังมีผลงานที่นาเสนอประเด็นเรื่องความเป็นจริง


ทางการเมืองและการศึกษาเรื่องอานาจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอื่นๆที่น่าสนใจได้แก่
Power Politics: An Introduction to the study of International Relations ข อ ง
George Schwarzenberger ใ น ปี 1929 ง า น Moral Man and Immortal Society: A
study of Ethics and Politics ของ Reinhold Niebuhr งาน Power Politics ของ Martin
Wight ในปี 1946 หรืองาน Scientific Man vs Power Politics ของ Hans J. Morgenthau
ในปี 1946 เป็นต้น ซึ่งงานเหล่านี้ล้วนเป็นงานบุกเบิกการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศตาม
แนวทางสัจนิยมเพื่อสร้างข้อโต้แย้งกับแนวทางการศึกษาแบบอุดมคติเป็นสาคัญ

4.2 หลักกำรและแนวคิดพื้นฐำนของทฤษฎีสัจนิยม
ในความเป็นจริงแล้ว ทฤษฎีสัจนิยมก็มีความหลากหลายในตัวทฤษฎีเองดังจะเห็น
ได้ จ ากวิ วั ฒ นาการและความหลากหลายในส านั ก เช่ น การเกิ ด กลุ่ ม ทฤษฎี สั จ นิ ย มเชิ ง
โครงสร้ า งหรื อ สั จ นิ ย มใหม่ แ ละแนวคิ ด ที่ เ กี่ ย วข้ อ งอี ก จ านวนหนึ่ ง ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ นั ก คิ ด
นักวิชาการในสานักนี้จะมีมุมมองโลกที่แตกต่างกันไป แต่นักคิดในกลุ่มสัจนิยมก็มีสมมติฐาน
ร่วมกันหลายประการกล่าวคือ ธรรมชาติแล้วของมนุษย์ (human nature) มีความเห็นแก่ตัว
ชอบการแข่งขัน เชื่อมั่นในตนเอง (egoism) มานับตั้งแต่อดีตด้วยความที่ธรรมชาติของมนุษย์
ดังกล่าวไม่เคยเปลี่ยน ส่งผลให้มนุษย์ต้องดิ้นรนและแข่งขันกันอยู่เสมอ ดังนั้นรัฐก็มีพฤติกรรม
เช่นเดียวกับมนุษย์ กล่าวคือ ผู้นาในฐานะเป็นผู้ขับเคลื่อนรัฐ เป็นผู้มีความเลวร้าย ดังนั้น
นโยบายของนรัฐจึงมีความก้าวร้าว แสวงหาผลประโยชน์และนาไปสู่สงครามเพื่อแสวงหา
อานาจซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นได้อยู่ทั่วไป ในที่นี้ ผู้เขียนจึงนาเสนอหลักการและแนวคิดพื้นฐาน
ที่ทฤษฎีสัจนิยมมีร่วมกันเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเบื้องต้นก่อนที่จะทาความเข้าใจว่าใน
หลักการเบื้องต้นดังกล่าว นักคิดสัจนิยมมาขยายต่อยอดหรือสร้างคาอธิบายที่แตกต่างกันไป
อย่างไร
หลักกำรสำคัญของทฤษฎีสัจนิยม (Heywood, 2011; Viotti & Kauppi, 2012)
1) แนวทางการศึกษาตามความเป็นจริง (Realistic Approach)
2) การเน้นรัฐและผลประโยชน์แห่งชาติ (Statism and National Interests)
3) สภาวะอนาธิ ป ไตย (International Anarchy) รั ฐ ต้ อ งแสวงหาความอยู่ ร อด
(survival) และการพึ่งพิงตนเอง (self-help)
4) การถ่วงดุลอานาจ (the balance of power)

86
86
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

4.2.1 แนวทำงกำรศึกษำตำมควำมเป็นจริง
แนวทางการศึกษาของสัจนิยมเน้นการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศตามที่เป็น
จริง (what it is) มากกว่าการศึกษาในลักษณะที่ควรจะเป็น (what ought to be) โดยเชื่อ
ว่าการศึกษาการเมืองตามความเป็นจริงนั้นเป็นวิธีการที่ถูกต้อง แท้จริง และเหมาะสม ซึ่ง
การศึกษาเช่นถือเป็นการตอบโต้การศึกษาของแนวคิดอุดมคตินิยมหรือเสรีนิยมที่มองโลกที่
“ไร้เดียงสา เพ้อฝันและล่องลอย” มากจนเกินไป ถึงแม้ว่าสานักสัจนิยมจะเชื่อเรื่องการสร้า ง
ความร่วมมือ ระเบียบโลก และการสถาปนาสันติภาพให้บังเกิดขึ้นเช่นเดียวกับสานักเสรีนิยม
แต่สัจนิยมว่ามองว่าการสร้างความร่วมมือและสันติภาพนั้นตั้งอยู่พื้นฐานเรือง “อานาจ” มิใช่
กฎหมายหรือบรรทัดฐานทางศีลธรรมใดๆ สันติภาพจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากการสร้างดุล
ทางอานาจ (balance of power) เพื่อป้องกันมิให้รัฐใดรัฐหนึ่งมีอานาจมากจนเกินไป
4.2.2 กำรเน้ น รั ฐ และผลประโยชน์ แ ห่ ง ชำติ (Statism and National
Interests)
จุดเด่นของแนวคิดสัจนิยมที่สาคัญคือ รัฐเป็นตัวแสดงที่มีเหตุผล (rational actor)
และเป็นตัวแสดงที่สาคัญที่สุดในระดับ การวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศ รัฐถือเป็น
ตัวแทนของประชาชนที่จะกระทาการใดๆในพรมแดนของรัฐ บางทีอาจจะเรียกแนวคิดนี้ว่า
กำรเน้นรัฐ หรือรัฐนิยม (statism) สาหรับนักคิดสัจนิยม รัฐเป็นตัวแสดงเดียวเท่านั้นที่ได้รับ
การพิจารณาอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างบทบาทของรัฐมหาอานาจที่มีต่อการสร้างการเมือง
โลก (ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดในประเด็น นี้ พิจารณาได้จ ากบทบาทของสหรัฐอเมริก าและ
สหภาพโซเวียตในสมัยสงครามเย็น รวมทั้งมหาอานาจยุโรปที่ก่อให้เกิดสงครามโลกทั้งสอง
ครั้ง) ส่วนตัวแสดงอื่นๆ เช่น องค์การระหว่างประเทศ กลุ่มผู้ก่อการร้าย หรือบรรษัทข้ามชาติ
ไม่ มี ค วามส าคั ญ เพราะเป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง แต่ ไ ม่ ถ าวร นอกจากนั้ น แนวคิ ด นี้ ยั ง มองว่ า
พฤติกรรมของรัฐ ไม่แตกต่างจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว ร้ายกาจ ก้าวร้าว รับใช้
ตนเอง แสวงหาผลประโยชน์และกระหายอานาจ ดังนั้น ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดนี้จึง
กลายเป็นพื้นฐานสาคัญในการอธิบายการเมืองระหว่างประเทศที่เต็มไปด้วยความรุ นแรง
ความตึงเครียด จนนาไปสู่ความขัดแย้งและสงครามอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของ
รัฐ รัฐจึงต้องแสวงหาผลประโยชน์แห่งชำติ (national interests) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น
กฎเหล็ก ของการศึก ษาความสั มพั นธ์ระหว่างประเทศและยังถือเป็ นวิ ถีท างหลัก ของการ
ดาเนินการของรัฐในแนวทางสัจ นิยมที่จะนาไปสู่ก ารออกนโยบำยต่ำงประเทศ (foreign
policy)อี ก ด้ ว ย โดยทั่ ว ไป แต่ ล ะรั ฐ มั ก จะให้ ค วามส าคั ญ กั บ ผลประโยชน์ ที่ ค ล้ า ยกั น 4
ประการ ได้แก่ ประการแรกคือ ควำมอยู่รอดปลอดภัย (survival) ที่ต้องการให้รัฐเป็นเอก

87
87 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ราช มีความปลอดภัย ประการที่สองคือ ควำมมั่นคง (security) คือไม่ต้องการให้ รั ฐ ถู ก


คุกคามต่อเสรีภาพและบูรณภาพแห่งดินแดน ไม่โดนรัฐอื่นเข้าแทรกแซง ประการที่สาม คือ
ควำมมั่งคั่ง (prosperity) รัฐต้องพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญ ประชาชนกินดีอยู่ดี มี
การขยายตั ว ของเศรษฐกิ จ และการกระจายรายได้ ที่ ดี ไม่ มี ช่ อ งว่ า งระหว่ า งชนชั้ นมาก
จนเกินไป และประการสุดท้ายคือ เกียรติภูมิของประเทศ (prestige) รัฐแต่ละรัฐต้องมีการ
ติดต่อระหว่างกันในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ แต่ละรัฐย่อมมีความเท่าเทียมกันและมีศักดิ์ศรี
มีความน่าเชื่อถือในประชาคมโลก ซึ่งแต่ละรัฐก็จะจัดลาดับความสาคัญของผลประโยชน์
แห่งชาติที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ที่รัฐนั้นกาลังเผชิญ
4.2.3 กำรเมืองของรัฐในสภำวะอนำธิปไตย (International Anarchy)
หลักควำมอยู่รอด (survival) และกำรพึ่งพิงตนเอง (self-help)
สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศเป็นสภาวะที่ไม่มีอานาจศูนย์กลางหรือรัฐบาลกลาง
ของโลกที่จะควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยระหว่างรัฐ ซึ่งก็คือ สภาวะอนาธิปไตยเป็น
สภาวะที่ไม่มีความแน่นอน ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีใครสามารถตัดสินชี้ขาดเหนือรัฐต่างๆได้
อย่างแท้จริง รัฐทุกรัฐต่างมีอานาจอธิปไตยในการปกครองตนเองอย่างสูงสุด ไม่จาเป็นต้อง
เชื่อฟัง (ซึ่งประเด็นนี้คือความแตกต่างระหว่างการศึกษารัฐศาสตร์สาขาการเมืองการปกครอง
และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กล่าวคือ สาขาวิชาการเมืองการปกครองจะเน้นการศึกษา
อานาจอธิปไตยของรัฐ แต่ในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะตั้งอยู่บนความคิด
เรื่องอนาธิปไตย) ด้วยความที่แนวคิดสัจนิยมมีความเชื่อว่า ในสภาวะธรรมชาติ มนุษย์ต้องดิ้น
รนเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น แนวคิดสัจนิยมจึงว่าด้วยสภาวะอนาธิปไตย รัฐทั้งหลายจึงต้องดิ้น
รนเพื่อความอยู่รอดเพื่อความมั่นคงของรัฐซึ่งถือเป็น “กำรเมืองขั้นสูง” (High Politics)
เป็นเป้าหมายสูงสุดและเป้าหมายสาคัญในการดาเนินนโยบายต่างประเทศ ความอยู่รอดนี้ไม่
อาจประนีประนอมหรือต่อรองได้ อีกทั้งในสภาวะการเมืองระหว่างประเทศที่เต็มไปด้วย
ความหวาดระแวง รัฐเองไม่สามารถพึ่งพาใครได้ จึงต้องพึ่งพิงตนเอง (self-help)เท่านั้น
โดยการพัฒนาขีดความสามารถทั้งทางทหารและเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กั บรัฐ
โดยเฉพาะทางการทหาร ออกจะแสดงออกมาในรู ป แบบของการสะสมอาวุ ธ การสร้ า ง
แสนยานุภาพของกองทัพ หรือการซ้อมรบ ซึ่งการกระทาเช่นนี้อาจสร้างความหวาดระแวง
ให้กับอีกรัฐหนึ่ง หรือที่เรียกว่า สภำวะทำงแพร่งแห่งควำมมั่นคง (security dilemma) ก็
เป็นได้

88
88
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

4.2.4 ดุลแห่งอำนำจ (the balance of power)


Waltz (1979: 11) กล่าวไว้ว่า “หากจะมีทฤษฎีการเมืองใดในการเมืองระหว่าง
ประเทศที่โดดเด่นที่สุด ดุลแห่งอานาจคือสิ่งนั้น” ดุลแห่งอานาจเป็นแนวคิดที่เน้นเรื่องอานาจ
ทางการเมืองระหว่างรัฐ ถือเป็นแนวคิดเก่าแก่ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐตั้งแต่สมัย
กรีก คานี้ถูกทาให้เป็นคาสมัยใหม่ ในศตวรรษที่ 18 ที่มีหลักการจากสามัญสานึกและการใช้
เหตุผลที่เน้นการแข่งขันอันนาไปสู่การใช้ความรุนแรงและสงคราม กระนั้นก็ตามคานี้ก็ยังมี
ปัญหาในการให้คานิยามอยู่ Ernst B.Hass พบว่าการให้คานิยามของดุลแห่งอานาจนั้นมีอย่าง
น้อยประมาณ 8 ลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ การกระจายแห่งอานาจ (any distribution of
power) จุดดุลยภาพหรือกระบวนการถ่วงดุล (equilibrium or balancing process) การ
ครองความเป็ น เจ้ า หรื อ การแสวงหาความเป็ น เจ้ า ( hegemony or the search for
hegemony) เสถียรภาพและสันติภาพในความเห็นพ้องทางอานาจ (stability and peace
in a concert of power) ความไม่มีเสถียรภาพและสงคราม (instability and war) การเมือง
แห่ ง อ านาจโดยทั่ ว ไป (power politics in general) กฎสากลแห่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ (a
universal law of history) และ ระบบและคาแนะนาต่อผู้กาหนดนโยบาย (a system and
guide to policymakes) จากที่กล่าวมานี้เป็นไปดังที่ Inis L.Claude,Jr. กล่าวไว้ว่า “ปัญหา
เรื่องดุลแห่งอานาจนั้นมิได้อยู่ที่การไม่มีคานิยาม แต่การให้นิยามนั้นมันมากมายเหลือเกิ น ”
(Dougherty & Pfaltzgraff, 1990: 30-31)
ดุลแห่งอานาจจึงเป็นเรื่องการจัดสรรอานาจ เพื่อทาให้ทุกรัฐเข้าสู่จุดดุลยภาพแห่ง
อานาจ โดยไม่มีรัฐใดมีความโดดเด่นเหนือกว่ารัฐอื่น ทั้งนี้เพื่อหยุดยั้งความรุนแรง ความตึง
เครียดที่จะนาไปสู่การก่อสงคราม แต่ทั้งนี้ รัฐเองก็จะพยายามเสริมสร้างอานาจทางการเมือง
เช่นการตั้งกองกาลังทหาร การสะสมอาวุธ การกาหนดตาแหน่งทางยุทธศาสตร์ เป็นต้น
ดุลแห่งอำนำจมีหน้ำที่สำคัญ คือ
1) ป้องกันมิให้มีการครอบงาทางอานาจ
2) ป้องกันองค์ประกอบพื้นฐานของระบบและตัวระบบเอง
3) สร้างความมั่นใจในเสถียภาพและระบบความมั่นคงร่วมในระบบระหว่างประเทศ
4) สร้างความแข็งแกร่งและยืดเวลาสันติภาพเพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้มีสงคราม

89
89 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

กำรก่อกำเนิดแห่งดุลอำนำจ มี 2 รูปแบบ
1) รูปแบบกำรต่อต้ำนโดยตรง (The Pattern of Direct Opposition) โดยการที่รัฐ
หรือกลุ่มรัฐหนึ่งทาการต่อต้านรัฐอีกรัฐหนึ่งหรืออีกกลุ่มรัฐหนึ่ง
2) รูปแบบของกำรแข่งขัน (The pattern of competition) โดยการที่รัฐหรือกลุ่ม
รัฐแข่งขันกับอีกผ่ายหนึ่ง ในการครอบครองหรือครองงาทางอานาจเหนือรัฐที่มี
อานาจด้อยกว่า
ถึงแม้ว่านักคิดสายสัจนิยมจะเห็นพ้องต้องกันว่าระบบดุลแห่งอานาจเป็นสิ่งที่ใช้
รักษาความมั่นคงระหว่างประเทศและมีความจาเป็นที่จะต้องรักษาระบบนี้ไว้ แต่ก็ยังมีคาถาม
ที่ต้องทาความเข้าใจเกี่ยวกับดุลแห่งอานาจ คือ ดุลแห่งอานาจนี้เกิดขึ้นได้เองหรือมีคนทาให้
เกิ ด ขึ้ น มา มี ก ารให้ ค าตอบจากนั ก คิ ด สายสั จ นิ ย มคนส าคั ญ คื อ Henry Kissinger และ
Kenneth Waltz โดย Kissinger มองว่าดุลแห่งอานาจเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาเอง แต่เป็น
ความตั้งใจของรัฐต่างๆที่จะทาให้เกิดขึ้น โดยการกาหนดของรัฐหรือผู้กาหนดนโยบายของรัฐ
ดุลแห่งอานาจที่เกิดขึ้นมานั้นไม่ว่าจะเป็นระบบสองขั้วอานาจหรือระบบหลายขั้วอานาจ เป็น
ผลมาจากความตั้งใจของผู้กาหนดนโยบายที่ต้องการให้สังคมระหว่างประเทศเป็นแบบนั้น แต่
ความตั้งใจดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดายและอิสระ หากแต่ต้องคานึงถึงความตั้งใจของรัฐ
อื่นๆ และข้อจากัดของอานาจรัฐที่กาหนดนโยบายต่างๆ ดังจะเห็นได้จาก การสร้างระบบ
ดุลอานาจแห่งยุโรปหลังการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna 1815) ที่บรรดา
มหาอานาจยุโรปต้องการรักษาสันติภาพและความมั่นคงของยุโรปภายหลังการสิ้นอานาจของ
พระจักรพรรดินโปเลียน ส่วน Waltz มองว่า ระบบดุลแห่งอานาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ถึงแม้ว่า
รัฐจะเป็นตัวแสดงที่มีเหตุผล แต่รัฐไม่สามารถหลีกเลี่ยงสภาวะระหว่างประเทศอันวุ่นวาย
สับสนและไร้ความแน่นอน ดังนั้นเมื่อรัฐใดรัฐหนึ่งมีอานาจและพยายามจะครอบงาระบบ
ระหว่างประเทศ รัฐอื่นๆจะรวมตัวกันโดยไม่ได้นัดหมายเพื่อที่จะสกัดกั้นอานาจของรัฐนั้น
และทาให้ระบบดุลอานาจกลับมาอยู่ในสภาวะสมดุลดังเดิม ดังจะเห็นได้จากในประวัติศาสตร์
ยุโ รปสมัย พระจักรพรรดินโปเลียนเรืองอานาจและมีนโยบายรุกรานและยึดครองดินแดน
ในช่วง ค.ศ. 1804-1814 จนทาให้บรรดามหาอานาจเช่น อังกฤษ ปรัสเซีย รัสเซีย ออสเตรีย
รวมตัวกันเพื่อทาให้ระบบดุลอานาจยุโรปกลับสู่สภาพเดิม

90
90
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

4.3 Morgenthau กับกำรบุกเบิกสัจนิยม


“หากสาขาวิชาใด มีคาว่าบิดาผู้ก่อตั้ง (founding father) วิชาแล้ว สาหรับสัจนิยม
Morgenthau คือผู้ที่ควรได้รับเกียรตินั้น” (Thompson & Clinton in Morgenthau, 2005:
preface) แนวคิดสัจนิยมได้รับการตอกย้าว่ามีบทบาทสาคัญอีกครั้งผ่านงานเขียนอันเลื่องชื่อ
ของ Morgenthau คือ “Politics among Nations: the Struggle for Power and Peace”
ในปี 1948 โดยเชื่อว่า สภาพความไม่สมบูรณ์ของโลกเป็นผลมาจากพลังที่อยู่ภายในธรรมชาติ
ของมนุษย์ (human nature) มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่กระหายอานาจ (lust for power) หรือที่
เรียกว่า “animus dominandi” แสวงหาผลประโยชน์ของตน (Self-Interests) ที่ต้องการมี
อานาจเหนือผู้อื่น แต่ก็แสวงหาพื้นที่เพื่อความมั่นคงให้กับชีวิต รัฐจึงถูกสร้างและควบคุมโดย
มนุษย์เพื่อแสวงหาผลประโยชน์แห่งชาติด้วยการขยายอานาจ (Morgenthau, 2005: 3-15)
แนวคิดของ Morgenthau เป็นภาพสะท้ อ นความคิ ด ของนั กปรัช ญาอย่ าง Hobbes และ
Machiavelli เขาเสนอว่า หากประชาชนต้องการที่จะมีพื้นที่ทางการเมืองโดยปราศจากการ
แทรกแซงหรือการควบคุมจากรัฐภายนอกแล้ว เขาต้องรู้จัก ระดมพลและปรับใช้อ านาจ
(mobilize and deploy their power) สภาวะอนาธิ ป ไตยจะเป็ น ตั ว น าให้ รั ฐ เข้ า สู่ ค วาม
ขัดแย้งและเกิดสงครามในที่สุด การดิ้นรนระหว่างรัฐต่างๆนาไปสู่ปัญหาของการคุกคามหรือ
การใช้กาลังในธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดนี้ถือเป็น “หัวใจสาคัญ”ของแนวคิดสัจนิยม
ดั้งเดิม Morgenthau ยังได้รับอิทธิพลทางความคิดจากทั้ง Thucydides และ Machiavelli
ในเรื่ อ งการแยกประเด็ น ทางการเมื อ งออกจากศี ล ธรรมซึ่ ง แตกต่ า งจากนั ก คิ ด ในทาง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่าง Woodrow Wilson ที่เชื่อว่า มีความจาเป็นที่ต้องนา
จริยธรรมทางการเมืองมาเป็นแนวทางเดียวกับจริยธรรมส่วนบุคคล ถึงแม้ว่าจะเชื่อเรื่องความ
ขั ด แย้ ง และธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย์ ที่ น าไปสู่ ส งคราม แต่ Morgenthau เองก็ ไ ด้ เ สนอแนว
ทางการป้องกันการเกิดสงครามใหญ่และการสถาปนาสันติภาพให้เกิดขึ้นในอนาคตโดยการที่
รัฐสร้างดุลอานาจระหว่างกัน เพื่อเป็นการให้รัฐคานอานาจระหว่างกัน และป้องกันมิให้รัฐใด
รัฐหนึ่งใช้อานาจมากจนเกินไป ซึ่ง แตกต่างจากนักคิดสายเสรีนิยมหรืออุดมคติในยุคนั้นที่เชื่อ
เรื่องการตั้งสถาบันระหว่างประเทศขึ้นมาเพื่อป้องกันความขัดแย้ง
โดยสรุปแล้ว แนวคิดของ Morgenthau นั้นให้ความสาคัญกับ “การเมือง อานาจ
และผลประโยชน์แห่งชาติ” เป็นสาคัญ ดังจะเห็นได้จากบทที่ 1 ของผลงาน Politics Among
Nations ที่เขาได้สรุปหลักการอันเปรียบเสมือน “กฎเหล็ก” ของการทาความเข้าใจการเมือง
ระหว่างประเทศไว้ 6 ประการ คือ (Morgenthau, 2005: 4-17)

91
91 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

1) การเมืองมีรากฐานมาจากธรรมชาติของมนุษย์อันถาวรและไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งโดย
พื้นฐานคือการถือเอาตนเองและผลประโยชน์แห่งตนเป็นที่ตั้ง
2) การเมื อ งคื อ “พื้ น ที่ อิ ส ระแห่ ง การกระท า” (an autonomous sphere of
action) และไม่ ส ามารถลดระดั บ สู่ ร ะดั บ ศี ล ธรรม (cannot be reduced to
morals)
3) ผลประโยชน์ส่วนตัว (self-interests) เป็นหลักการพื้นฐานของความเป็น มนุษย์
การเมืองเป็นพื้นที่แห่งการขัดแย้งแข่งขันทางอานาจระหว่างรัฐ ผลประโยชน์นั้นไม่
มีความตายตัว รัฐจึงปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
4) จริยธรรมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นจริยธรรมทางการเมืองที่มีความ
แตกต่างอย่างมากจากศีลธรรมส่วนบุคคล ผู้นาการเมืองมิได้มีเสรีภาพที่จะทาสิ่ง
ถูกต้องเฉกเช่นพลเมืองเนื่องจากผู้นาต้องรับผิดชอบที่หนัก หนาสาหัส เช่น การ
ดูแลความอยู่รอดปลอดภัยของรัฐและสวัสดิการต่างๆ
5) นักคิดสัจนิยมคัดค้านการที่รัฐพยายามจะนาอุดมการณ์ของตนไปยัดเยียดรัฐอื่นๆ
6) ศิลปะการปกครองรัฐ (Statecraft) เป็นความสามารถและความสุขุมที่จะต้องรู้
ข้อจากัดของมนุษย์ ความจริงที่รับได้ยากคือการมองมนุษย์ในแง่ลบ

E.H.Carr Hans J. Morgenthau

92
92
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

4.4 ทฤษฎีสัจนิยมใหม่หรือสัจนิยมเชิงโครงสร้ำง (Neo-Realism/Structural Realism)


สัจนิยมใหม่หรือสัจนิยมเชิงโครงสร้างนั้นได้รับการพัฒนาในช่วงทศวรรษที่ 1970
ถือเป็นสัจนิยมรุ่นที่สองที่รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีสัจนิยมดั้งเดิมโดยมี Kenneth Waltz เป็น
ผู้บุกเบิกผ่านงานเขียน “Theory of International Politics” เป็นการทาให้ทฤษฎีสัจนิยม
กลับมามีชีวิตชีวาและมีบทบาทในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา สัจนิยมใหม่มีความเชื่อพื้นฐานเช่นเดียวกันกับสัจนิยมดั้งเดิมในเรื่อง
ตัวแสดงรัฐ สภาวะอนาธิปไตย ประเด็นทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมในการดาเนินนโยบาย
แต่ที่แตกต่างไปคือสัจ นิ ย มใหม่เชื่อว่า พฤติก รรมของรัฐมิได้เกิ ดจากพฤติกรรมของมนุษย์
หากแต่เกิดจาก “โครงสร้างระหว่างประเทศ” (International Structure) กล่าวคือ แนวคิด
นี้ได้เปลี่ย นแปลงหน่ วยการวิเ คราะห์ ระดั บรัฐ ไปสู่ก ารวิเ คราะห์ระดั บโครงสร้ างระหว่ า ง
ประเทศ (International level) เนื่องจากการวิเคราะห์ระดับรัฐไม่สามารถสร้างระบบการ
อธิบายให้เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ได้ อีกทั้งยังมองเรื่องอานาจในมุมมองที่แตกต่างไป ดังจะเห็น
ได้จากตารางต่อไปนี้
ตำรำงที่ 4.1 ควำมแตกต่ำงระหว่ำงสัจนิยมดั้งเดิม และสัจนิยมเชิงโครงสร้ำง
(Weber, 2010: 15)

ประเด็น สัจนิยมดั้งเดิม สัจนิยมใหม่


ผลประโยชน์แห่งชำติ ความอยู่รอด ความอยู่รอด
ควำมอยู่รอด เพิ่มอานาจ เพราะรัฐบาล เพิ่มอานาจ เพราะรัฐบาลโลก
โลกนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ นั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ธรรมชำติของมนุษย์ มนุษย์ไม่มีความสมบูรณ์ มนุษย์อาจจะไม่สมบูรณ์แบบ
แบบ มีแนวโน้มที่จะขัดแย้ง ธรรมชาติของมนุษย์มิได้เป็น
กัน สามารถอธิบายได้วา่ ประเด็นสาคัญต่อการอธิบาย
ทาไมความร่วมมือถึงไม่ได้ ความขัดแย้ง
รับรองว่าจะเกิดขึ้นและ
รัฐบาลโลกไม่สามารถมีได้
อนำธิปไตย เป็นสภาพที่บรรดารัฐชาติที่ เป็นความสัมพันธ์ทางสังคม
มีอานาจอธิปไตยดารงอยู่ ระหว่างบรรดารัฐชาติที่มี
อานาจอธิปไตยซึ่งเป็นสาเหตุที่
ก่อสงคราม

93
93 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

4.4.1 Kenneth Waltz กับสัจนิยมใหม่


Waltz ได้เสนอการอธิบายทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับระบบ
(systemic theory) ซึ่ ง มี ค วามแตกต่ า งไปจากสิ่ ง ที่ Waltz เรี ย กว่ า “ทฤษฎี ล ดทอน”
(reductionist theory) ที่ใช้ระบบการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน เช่น ระดับปัจเจกบุคคล ระดับ
รัฐ หรือระดับระบบระหว่างประเทศมาใช้ปะปนกันโดยไม่มีการแบ่งที่ชัดเจน ด้วยเหตุนี้จึงทา
ให้ทฤษฎีของเขาแตกต่างไปสัจนิยมดั้ งเดิม (จิตติภัทร, 2553: 3) โดยเฉพาะผลงาน Theory
of International Politics ในปี 1979 ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง
ต่อวงการการศึก ษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยผลงานเล่มนี้มีความสาคัญต่อการ
กาหนดปัญหา แนวทางการศึกษา และขอบเขตของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และถือเป็นหมุดหมายสาคัญให้แก่นักทฤษฎีคนอื่นในการพัฒนาทฤษฎีของตนในเวลาต่อมา
โดยอาจจะเป็นการต่อยอด วิจารณ์ โต้แย้งในสิ่งที่ Waltz ได้เสนอไว้ (ศุภมิตร, 2550:32) อีก
ทั้งยังกล่าวได้ว่างานชิ้นนี้คือความพยายามในการพัฒนาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่ างประเทศ
ให้เป็นทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์ตามแบบฉบับรัฐศาสตร์แบบสานักอเมริกัน โดย Waltz ตั้งใจ
ที่ จ ะสร้ า งทฤษฎี เ พื่ อ มาอุ ด ช่ อ งว่ า งทางการศึ ก ษาในแบบเดิ ม ที่ เ น้ น วิ ธี ก ารแบบอุ ป นั ย
(induction) ที่มีวิธีการเก็บข้อมูลจานวนมากแล้วมาวิเคราะห์เพื่อหาแบบแผนความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ โดย Waltz อุดช่องว่างดังกล่าวด้วยวิธีการแบบวิธีนิรนัย (deduction) ที่มี
องค์ประกอบของทฤษฎีที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักของปรัชญาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการ
ใช้เกณฑ์การทดสอบทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย
ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงแนวคิดสัจนิยมใหม่ของ Waltzโดยผ่านผลงานสาคัญของเขา
ในสองประเด็น คือ ระดับการวิเคราะห์ และ ลักษณะโครงสร้างระหว่างประเทศ
ในประเด็นเรื่อง ระดับการวิเคราะห์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วอลทซ์มี
สมมติ ฐ านเบื้ อ งต้ น ว่ า การใช้ รั ฐ เป็ น หน่ ว ยการวิ เ คราะห์ นั้ น ไม่ เ พี ย งพอต่ อ การอธิ บ าย
ปรากฎการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ คือไม่สามารถอธิบาย
ความเป็ น รั ฐ ได้ อ ย่ า งมี แ บบแผนและเป็ น ระบบ ดั ง นั้ น เราจึ ง ต้ อ งเข้ า ใจในระดั บ ระหว่าง
ประเทศ

94
94
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

โครงสร้ำงระหว่ำงประเทศมีลักษณะสำคัญ 3 ประกำร (Waltz, 1979: 88-99)


1) หลักในกำรจัดระเบียบควำมสัมพันธ์ระหว่ำงหน่วย (Ordering Principle)
สาหรับการเมืองระหว่างประเทศนั้น Waltz อธิบายว่าเป็นสภาวะที่ไม่มีศูนย์กลาง
อานาจที่ชัดเจนหรือสภาวะอนาธิปไตย ทุกรัฐจึงมีความเท่าเทีย มกั น บรรดารัฐต้องพึ่ง พา
ตนเองเพื่อความอยู่รอด ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ตัวแสดง เช่น องค์ก ารระหว่างประเทศจะมี
บทบาทมากขึ้น แต่องค์การเหล่านี้ก็ถือเป็นตัวแทนของรัฐ หากรัฐไม่ให้ความยิน ยอมและ
ยอมรับ องค์การเหล่านี้ก็ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้สาเร็จ
2) กำรแบ่งแยกหน้ำที่ระหว่ำงหน่วย (Functional Differentiation)
ในระบบระหว่างประเทศนั้น ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการแบ่งแยกหน้าที่ของรัฐ
รัฐต้องทาทุกอย่างด้วยตนเอง เช่น ภารกิจด้านการต่างประเทศ การทหาร เศรษฐกิจ เป็นต้น
รัฐสามารถร่วมมือกันได้แต่มิใช่การผลักภาระให้ฝ่ายใดผ่ายหนึ่งทั้งหมด
3) กำรกระจำยขีดควำมสำมำรถ (Distribution of Capabilities)
เนื่องจากแต่ละรัฐมีลักษณะที่แตกต่างกันจึงส่งผลต่อขีดความสามารถที่แตกต่างกัน
ไปด้ ว ย ต่ อ มาขี ด ความสามารถนี้ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การจั ด วางต าแหน่ ง ของรั ฐ โดยเฉพาะรั ฐ
มหาอานาจต่างๆในระบบ หรือสิ่งที่เราเรียกว่า ระบบขั้วอานาจ (polarity) ซึ่งในแต่ละยุค
สมัยก็มีความแตกต่างกันไป ตามการกระจายอานาจที่เกิดขึ้น

ตำรำงที่ 4.2 โครงสร้ำงและผลลัพธ์ตำมทฤษฎีสัจนิยมใหม่ของ Waltz


(Jackson & Sorensen, 2013:79)

โครงสร้ำงระหว่ำงประเทศ ผลลัพธ์ในระหว่ำงประเทศ
(หน่วยระดับรัฐและควำมสัมพันธ์) (ผลกระทบของกำรแข่งขันของรัฐ)
 สภาวะอนาธิปไตยระหว่างประเทศ  ระบบดุลอานาจ
 รัฐในฐานะหน่วยที่เหมือนกัน (like unit)  การปรากฎซ้าๆในระดับระหว่างประเทศ
(international recurrence)
 ความสามารถของรัฐที่ไม่เท่ากัน  ความขัดแย้งระหว่างประเทศและ
สงคราม
 ความสัมพันธ์ระหว่างมหาอานาจ  การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

95
95 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

นอกจากนั้น Waltz ยังให้ความสาคัญกับประเด็นที่ว่า ระบบระหว่างประเทศจะ


เป็นตัวกาหนดบทบาทและพฤติกรรมของรัฐของรัฐในรูปแบบที่คล้ายๆกันไม่ว่าจะปกครอง
ด้วยระบบการเมืองหรืออุดมการณ์ใดก็ตาม แต่ความแตกต่างนั้นอยู่ที่ขีดความสามารถของรัฐ
รัฐใดที่สามารถจัดการขีดความสามารถได้มากก็จะกลายเป็นรัฐมหาอานาจ พฤติกรรมสาคัญ
ประการหนึ่งของรัฐคือ การสร้างดุลอานาจหรือการคานอานาจระหว่างรัฐ หากรัฐใดรัฐหนึ่งมี
อานาจมากจนเกินไปจะทาให้รัฐอื่นก้าวขึ้นมาถ่วงดุลอานาจ ซึ่งมี 2 รูปแบบคือ
1) กำรถ่วงดุลจำกภำยใน (Internal Balancing) คือการเสริมสร้างพละก าลั งและ
อานาจให้กับรัฐตนเอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการต่อสู้
2) กำรถ่วงดุลกับภำยนอก (External Balancing) คือการสร้างความร่วมมือกับรัฐ
อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกลุ่มพันธมิตร (alliance) หรือการใช้สงครามเพื่อจากัด
อานาจคู่กรณี

ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราจะพบเห็นการถ่วงดุลอานาจ
ระหว่างรัฐอยู่เสมอ ซึ่งอาจจะเป็นระบบหลำยขั้วอำนำจ (Multi-Polar) ดังจะเห็นได้จาก
การถ่วงดุลระหว่างมหาอานาจยุโรปในศตวรรษที่ 18 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการประชุมใหญ่แห่ง
เวียนนา (Congress of Vienna) ใน ปี ค.ศ.1815 จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระบบสอง
ขั้วอำนำจ (Bi-polar) ซึ่งสามารถอธิบายการเมืองโลกในสมัยสงครามเย็น ที่มีการถ่วงดุล
ระหว่ า งสหรั ฐ อเมริก าและสหภาพโซเวี ย ต ที่ ต่ า งพยายามขยายอิท ธิ พ ลและแสวงหารัฐ
พันธมิตร เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงส่งผลให้ระบบระหว่างประเทศในช่วงแรก เป็นเพียงขั้ว
อำนำจเดี่ยว (Unipolar)ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นา
ในความเห็นของ Waltz ระบบหลายขั้วอานาจเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะ
รัฐแต่ละรัฐจะไม่มีทางแน่ใจว่ารัฐใดจะเป็นมิตรที่ดีหรือสร้างภัย ต่อความมั่นคงของตนเอง
ความไม่ มีเ สถีย รภาพนั้ นเกิ ดจากความผิ ด พลาด 2 ประการคือ กำรติ ด ร่ ำ งแห (Chain-
ganging/Entrapment) ซึ่งเป็นการถูกดึงเข้าไปสู่ความขัดแย้งโดยไม่จาเป็น และ กำรผลัก
ภำระให้ผู้อื่น (Buck-passing/Abandonment) ซึ่งเมื่อใดที่เกิดความขัดแย้ง จะมีการผลัก
ภาระให้รัฐที่อยู่ใกล้ความขีดแย้งนั้นให้รับภาระไปก่อน ความไม่แน่นอนเป็นไปตามกฎแห่ง
อานาจที่ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรในระบบระหว่างประเทศ ความไม่แน่นอนเหล่านี้ล้วนเป็น
ปัจจัยที่นาไปสู่ความขัดแย้งและสงครามใหญ่ในที่สุด ดังจะเห็นได้จากสงครามในช่วงปี 1815
จนกระทั่งก่ อนสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดารัฐมหาอานาจในยุโ รปเกิดความหวาดระแวง
นาไปสู่การสร้างค่ายพันธมิตรซึ่งก็ไม่มีความแน่นอนในการเปลี่ยนค่ายอานาจอันเป็นผลมา

96
96
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

จากผลประโยชน์ที่รัฐนั้นจะได้รับ จนนาไปสู่การเกิดสงครามเช่น สงครามไครเมีย (Crimean


War 1853-6) ระหว่างขั้วอานาจอังกฤษกับฝรั่งเศส และขั้วรัสเซียอีกฝ่ายหนึ่ง หรือการเกิด
การแบ่ ง ค่ า ยมหาอ านาจยุ โ รปออกเป็ น Triple Alliance และ Triple Entente ที่ น าไปสู่
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
Waltz เห็ น ว่ า ระบบสองขั้ ว มหาอ านาจเป็ น ระบบที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากที่ สุ ด
เนื่องจากมีรัฐที่แข่งขันและถ่วงดุลกั นเพีย ง 2 รัฐเท่านั้น ดังนั้นจะทาให้ต่างฝ่ายสามารถ
ประเมินอานาจของกั นและกั น ได้แ ละไม่ป ระสบปั ญหาการติด ร่า งแหและการผลัก ภาระ
เช่นเดีย วกั บระบบหลายขั้วอานาจ รูปแบบความสัมพันธ์ในระบบสองขั้วอานาจนี้จ ะเป็น
รูปแบบต่างตอบโต้กันไปมาและต่างฝ่ายต่างให้ความสนใจซึ่งกันและกัน และคาดคะเนการ
ตอบสนองรัฐฝ่ายตรงข้ามได้ อันจะนามาซึ่งเถียรภาพของระบบระหว่างประเทศ โอกาสที่จะ
เกิดสงครามขนาดใหญ่จะมีน้อย เพราะต่างฝ่ายต่างมุ่งการเจรจามากกว่าที่จะก่อสงคราม
เพราะสงครามจะทาให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความเสียหายและสูญเสียทรัพยากร

Kenneth Waltz
และผลงำนสำคัญ Man, the State and War
และ Theory of International Politics

97
97 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

แผนภำพที่ 4.1 รูปแบบขั้วอำนำจต่ำงๆในโครงสร้ำงระหว่ำงประเทศ


ระบบขั้วอำนำจเดียว (Unipolar System)
ระบบขั้วอำนำจเดียว
มีมหาอานาจเพียงรัฐศูนย์กลางเพียงรัฐดียวที่มีอานาจควบคุม
กฎเกณฑ์ รวมทั้งมีกองทัพและเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า สามารถ
จัดการความขัดแย้งกับรัฐระดับรองและควบคุมความเป็นอิสระ
ของหน่วยย่อยในระบบได้

ระบบสองขั้วอำนำจ (Bipolar System)


ระบบสองขั้วอำนำจ
1. พยายามที่จะทาลายขั้วตรงข้ามทั้งทางจิตวิทยา
เท่าที่จะเป็นไปได้หรือกองกาลังหากจาเป็นและ
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่สามารถรับได้
2. เสริมสร้างอานาจเพื่อความได้เปรียบ ไม่ว่าจะ
เป็นการแสวงหาพันธมิตรเข้ามาในขั้วอานาจของ
ตนและการป้องกันรัฐอื่นๆเข้าร่วมกับขั้วอานาจ
ตรงข้าม

ระบบสำมขั้วอำนำจ (Tripolar System)


ระบบสำมขั้วอำนำจ
1. รัฐในโครงสร้างแบบนี้จะพยายามสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับ
อีกสองรัฐหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเป็นศัตรูกับสองรัฐที่เหลือ
2. พยายามที่จะป้องกันการดาเนินความสัมพันธ์อันใกล้ชิด
ระหว่างสองรัฐที่เหลือ

ระบบหลำยขั้วอำนำจ (Multipolar System)


ระบบหลำยขั้วอำนำจ
1. ป้องกันมิให้รัฐใดรัฐหนึ่งก้าวขึ้นมาครองความเป็นเจ้าเพียงหนึ่ง
เดียว หรือเป็นไปตามกฎของการดุลอานาจ (balance of power)
2. เพิ่มอานาจให้กับรัฐตนและรักษาสถานภาพเดิมของตนไว้
กล่าวคือ เน้นการเจรจาหากเป็นไปได้ หรือต่อสู้เมื่อจาเป็น
3. หากเกิดสงครามขึ้นจริง ก็ต้องไม่ทาลายระบบโดยการทาลายฝ่าย
ตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง

98
98
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ส่วนระบบขั้วอานาจเดียว เป็นระบบที่ Waltz เห็นว่ามีเสถียรภาพน้อยมากที่สุด


เนื่องจากรัฐที่มีอานาจมากที่สุดในระบบขั้วเดียวจะแบกรับภาระความมั่นคงระหว่างประเทศ
มากจนอาจทาให้รัฐนั้นอ่อนกาลังลง อีกประการคือ รัฐที่มีอานาจมากที่สุดอาจละเลยอานาจ
ของรัฐอื่นๆ และรัฐที่อ่อนแอกว่าจะกังวลและหวาดระแวงต่อพฤติกรรมของรัฐที่มีอานาจมาก
ที่สุดด้วย ซึ่ง วอลทซ์มองว่า ระบบขั้วอานาจจะมีระยะเวลาของมันอยู่เพียงชั่วครู่ หรือที่
วอลทซ์ เ รี ย กว่ า “ภาพลวงตาของระบบขั้ ว อ านาจ” (unipolar moment or unipolar
illusion) อีกไม่นานรัฐอื่นๆจะรวมตัวกันขึ้นมาเพื่อถ่วงดุลอานาจ จะเห็นได้จากการที่สงคราม
เย็นสิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอานาจเพียงหนึ่งเดียว แนวคิดเรื่องดุลอานาจแบบ
ดั้งเดิมได้รับการทบทวนและพิจ ารณาถึง ความเป็ นไปได้ ที่จ ะใช้อธิ บายการเมืองระหว่ า ง
ประเทศที่เปลี่ยนไปในสภาวะมหาอานาจขั้วเดียวในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า บรรดารัฐต่างๆ
เริ่มรวมตัวกันเพื่อถ่วงดุลอานาจสหรัฐอเมริกาบ้างแล้ว แต่การถ่วงดุลนี้มิได้เป็นรูปแบบดั้งเดิม
หรือการถ่วงดุลอานาจแบบแข็ง (hard balancing) หากแต่เป็นการถ่วงดุลแบบอ่อน (soft
balancing)นอกจากนั้นยังมี การถ่วงดุลที่ไม่เท่ าเทีย ม (asymmetric balancing) ซึ่งการ
ถ่วงดุลในลักษณะหลังทั้งสามแบบมักจะปรากฎในการอธิบายการเมืองระหว่างประเทศในยุค
หลังสงครามเย็น
กำรถ่วงดุลแบบแข็ง (hard balancing) สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการศึกษาสัจ
นิยมทั้งแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ของการก่อตั้งและดารงพันธมิตรทางการทหารเพื่อถ่วงดุล
อานาจกับรัฐที่แข็งแกร่งหรือเพื่อที่จะชิงโจมตีรัฐที่มีกาลังก้าวขึ้นมามีอานาจหรือรัฐที่เป็นภัย
คุก คาม การถ่วงดุลอานาจในลัก ษณะเช่นนี้ถือเป็นรูปแบบการถ่วงดุลอานาจแบบดั้งเดิม
(traditional balancing) ที่ ป รากฎอยู่ ใ นการเมื อ งของยุ โ รปในศตวรรษที่ 19 จนถึ ง สมั ย
สงครามเย็น หากแต่ในปัจ จุบันรูปแบบการถ่วงดุลอานาจเช่นนี้ปรากฎอยู่ในรูปแบบที่ไม่
แข็งแกร่งเช่นเดิมและปรากฎอยู่ในบางภูมิภาคของโลกเท่านั้น เช่น ภูมิภาคตะวันออกกลาง
เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกซึ่งล้วนแล้วแต่ยังมีการแข่งขันระหว่างรัฐ
กำรถ่วงดุลแบบอ่อ น (soft balancing)9 ซึ่งมีลัก ษณะเป็นการสร้างกลุ่มแนว
ร่ ว มที่ ไ ม่ เ น้ น การรุ ก รานเพื่ อ สร้ า งความเป็ น กลางต่ อ รั ฐ ที่ ก าลั ง ก้ า วขึ้น มามี อ านาจหรือมี
ศักยภาพมากจนกลายเป็นภัยคุกคาม แม้ว่าในขณะนั้น รัฐที่กาลังก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจะ
ยังไม่เป็นอันตรายต่อระบบระหว่างประเทศ หากแต่ในอนาคต รัฐนั้นอาจจะกลายเป็นรัฐที่
สร้างความไม่มั่นคงและสร้างความกังวลใจต่อรัฐอื่นๆ การถ่วงดุลแบบอ่อนมีหลายวิธีการ เช่น
การรวมกลุ่มพันธมิตรที่ไม่เป็นทางการการใช้สถาบันระหว่างประเทศเพื่อสร้างแนวร่วมเฉพาะ

9รายละเอียดแนวคิดการถ่วงดุลอานาจแบบอ่อนเพิ่มเติม ดู Pape (2005) และ Paul (2005)

99
99 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

กิจและจากัดอานาจของรัฐที่เริ่มเป็นภัย หรืออาจใช้ทั้งสองวิธีการ ตัวอย่างการใช้การถ่วงดุล


แบบอ่อน ได้แก่ ความร่วมมือของประเทศยุโรปตะวันออกกับกองกาลัง NATO เพื่อถ่วงดุล
รัสเซีย การที่สหรัฐอเมริกาและอินเดียถ่วงดุลกับจีน จีนกับรัสเซียร่วมมือกันเพื่อเผชิญหน้ากับ
สหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1990 ในขณะเดียวกัน รัสเซีย ฝรั่งเศสและเยอรมนีร่วมมือกันใน
กรอบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อคดค้านการที่สหรัฐอเมริกาบุกอิรัก
ในช่วงปี 2002 – 2003 สิ่งเหล่านี้คือการสร้างความเข้าใจทางความร่วมมือด้านความมั่นคงที่
มีข้อจากัด การขาดรูปแบบพันธมิตรที่เป็นทางการและเป็นลักษณะเชิงป้องกันโดยธรรมชาติ
กำรถ่วงดุล ที่ ไ ม่ เ ท่ำ เที ย ม (asymmetric balancing) ได้รวมการปฏิสั ม พั น ธ์
ระดับระหว่างรัฐด้วยกัน (interstate-level interactions) และ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
กับตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (state vs non-state interactions) การถ่วงดุลอานาจที่ไม่เท่าเทียมนี้
ยังรวมถึงการใช้ความรุนแรงหรือกลุ่มก่อการร้ายโดยรัฐที่อ่อนแอกว่าเพื่อที่จะลดอานาจรัฐที่
เข้มแข็งกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ปากีสถานและอินเดีย กล่าวคือความพยายามในการ
จากัดหรือลดอานาจรัฐมหาอานาจที่กาลังทวีการคุกคามจะเกิดจากรัฐที่อ่อนแอกว่าโดยอาศัย
กลุ่มการร้ายเป็นเครื่องมือเพื่อลดอานาจรัฐที่เข้มแข็งกว่าโดยวิธีการที่ไม่เท่าเทียม
อย่างไรก็ตามใช่ว่านักคิดสัจนิยมใหม่จะเชื่อว่า ระบบสองขั้วอานาจจะก่อให้เกิด
สันติภาพ พวกเขามองว่าระบบหลายขั้วอานาจมีโอกาสเกิดสงครามได้น้ อยกว่า โดยประการ
แรกเขาเชื่อว่าการป้องปราม (deterrence) เป็นสิ่งที่ทาได้ง่ายกว่าในระบบหลายขั้วอานาจ
เนื่องจากรัฐหลายรัฐสามารถรวมกันเพื่อเผชิญหน้ารัฐที่ก้าวร้าวและมีกาลังมากล้นในบางกรณี
หากเป็นระบบสองขั้วอานาจ จะไม่มีคู่พันธมิตรอื่นๆเข้ามาร่วมถ่วงดุล ระบบหลายขั้วอาจจะ
ไม่มีประสิทธิภาพในบางกรณี ในท้ายที่สุดแล้วกลุ่มพันธมิตรและผู้รุกรานจะพ่ายแพ้ไปในที่สุด
ประการที่สองในระบบหลายขั้วอานาจมีโอกาสการเป็นศัตรูระหว่างมหาอานาจกัน
น้อยกว่า เนื่องจากรัฐเหล่านี้ให้ค วามสนใจต่อกั น น้อยกว่ า ที่พ บในระบบสองขั้ วอานาจที่
มหาอานาจทั้งสองต่างให้ความสนใจกันอย่างมาก ในระบบสองขั้วอานาจ รัฐมหาอานาจไม่
สามารถพุ่งความสนใจไปรัฐใดรัฐหนึ่งโดยเฉพาะได้ ต้องให้ความสนใจรัฐมหาอานาจอื่ นๆ
ทั้งหมด

100
100
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ตำรำงที่ 4.3 รูปแบบและพฤติกรรมกำรถ่วงดุลอำนำจในโลกปัจจุบัน (Paul, 2001: 13)


ธรรมชำติของกำรแข่งขัน ยุทธศำสตร์ที่สำคัญ
กำรถ่วงดุลแบบแข็ง  มีความเข้มข้น  การสร้ า งกองก าลั ง อย่ า ง
(Hard Balancing)  มีผู้ชนะและผู้แพ้อย่าง เปิดเผย
ชัดเจน  รู ป แบบพั น ธมิ ต รอย่ า งเป็ น
(zero-sum game) ทางการ
 มีการได้เชิงเปรียบเทียบ
(relative gains)
กำรถ่วงดุลแบบอ่อน  มิได้มีรูปแบบที่ผู้ชนะ  มีการสร้างกองกาลังอย่าง
(Soft Balancing) หรือผู้แพ้อย่างชัดเจน จากัด
(non-zero game)  ไม่มีรูปแบบการรวมกลุ่ม
อย่างเป็นทางการ
 รัฐที่ได้รับผลกระทบรวมตัว
กันและใช้สถาบันระหว่าง
ประเทศเป็นเครื่องมือในการ
ถ่วงดุล
 เน้นยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน
กำรถ่วงดุล  เกิดโดยรัฐหรือตัวแสดงที่ ตัวแสดงที่มิใช่รัฐและรัฐของตัว
ที่ไม่เท่ำเทียม มิใช่รัฐ (เช่น กลุ่มก่อการ แสดงเหล่านั้นสนับสนุน
(Asymmetric ร้าย) ยุทธศาสตร์ที่ไม่เท่าเทียมกัน
Balancing)  เป็นการแข่งขันที่เข้มข้น
แม้ว่าอีกฝ่ายจะเป็นตัว รัฐดาเนินยุทธศาสตร์ทั้งที่เป็นแบบ
แสดงที่ยากที่จะอธิบาย ดั้งเดิมและมิใช่แบบดั้งเดิมเพื่อ
(elusive actors) ต่อต้านการคุกคาม

101
101 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ประเด็นที่ว่า “รัฐควรมีอำนำจเท่ำใดถึงจะพอ” นาไปสู่การแบ่งแนวคิดสัจนิยม


ใหม่ออกเป็น 2 แนวคิดย่อย นั่นคือ สัจนิย มเชิงรับ (Defensive Realism) ของ Waltz
โดยมองว่าเมื่อรัฐได้อานาจมาแล้วก็จะรักษาอานาจนั้นไว้ และถือเป็นเรื่อง “ไม่ฉลาด” ที่รัฐ
จะขยายอานาจออกไปอีก รัฐควรที่จะรักษาสถานภาพเดิมของตน (status quo) หากรัฐนั้น
ขยายอานาจมากจนเกินไป (gain too much power) รัฐนั้นจะถูกลงโทษจากระบบระหว่าง
ประเทศโดยสรุปแล้ว การแสวงหาความเป็นจ้าว (The pursuit of hegemony) เป็นเรื่องไร้
สาระ ส่วนอีกแนวคิดคือ สัจนิยมเชิงรุก (offensive Realism) โดย John J. Mearsheimer
เสนอว่า รัฐควรจะแสวงหาอานาจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และมีเป้าหมายสูงสุดคือ
การครองความเป็นจ้าว ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในแนวคิดสัจ นิยมเองก็ มีมุมมองเรื่องอานาจที่
แตกต่าง กล่าวคือ แนวคิดสัจนิยมดั้งเดิมมองว่า อานาจคือเป้าหมายในตัวมันเอง แต่สาหรับ
สัจนิยมใหม่แล้ว อานาจเป็นวิธีที่จะนาไปสู่เป้าหมายและเป้าหมายสุดท้ายคือ ความอยู่รอด
(อนึ่ง การเรียกสัจนิยมเชิงรับหรือ defensive realism เป็นคาที่บัญญัติขึ้นภายหลังเพื่อแสดง
ความแตกต่างระหว่างทฤษฎี offensive realism)

3.4.2 John J. Mearshimer กับสัจนิยมเชิงรุก (Offensive Realism)


Mearsheimer ได้ขยายแนวคิดโครงสร้างระหว่างประเทศและเห็นพ้องว่าระบบ
สองขั้วอานาจเป็นระบบที่สร้างความเสถียรภาพมากกว่าระบบหลายขั้วอานาจเพราะสามารถ
ประกันความมั่นคงและสันติภาพของโลกได้ดีกว่า เนื่องจากมหาอานาจมีเพียงสองประเทศ
และอานาจที่เท่าเทียมกัน เขาได้พัฒนาทฤษฎีของเขาจากงานจนออกมาเป็นผลงาน “The
Tragedy of Great Power Politics” และได้นาเสนอแนวคิดสัจนิยมเชิงรุก โดยมีสมมติฐาน
คือ (Mearsheimer, 2001: 21, 29-32)
1) ระบบระหว่างประเทศนั้นอยู่ในสภาวะอนาธิปไตย โดยในระบบนั้นมีตัวแสดงที่เป็น
อิสระออกจากกัน ไม่มีอานาจใดควบคุม
2) รัฐมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อรัฐอื่น และมีโอกาสใช้กองกาลังเข้ารุกรานรัฐอื่น
เพื่อความอยู่รอด
3) รัฐไม่สามารถคาดการณ์เป้าหมายของรัฐอื่นได้
4) ความอยู่รอดคือแรงขับเคลื่อนที่สาคัญที่สุด
5) รัฐเป็นตัวแสดงที่มีเหตุผลและคิดอย่างเป็นระบบในการหาทางอยู่รอดให้ได้ใน
ระบบระหว่างประเทศ
จากสมมติ ฐ านข้ า งต้ น เขาได้ เ สนอว่ า บรรดารั ฐ มหาอ านาจจะรั บ ประกั น
เสถี ย รภาพของได้ ม ากที่ สุ ด ก็ ต่ อ เมื่ อ ก้ า วขึ้ น มาเป็ น จ้ า ว หรื อ การครองสภาวะน า

102
102
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

(hegemony) จากประวัติศาสตร์การเมืองโลกจะพบว่า รัฐที่ทาการโจมตีก่อนมักจะเป็นผู้ชนะ


เสมอ ดังนั้นแนวคิดสัจนิยมเชิงรุกของ Mearsheimer จึงมีข้อเสนอโดดเด่นที่แตกต่างจาก
แนวคิดสัจนิยมของWaltz คือ ในสภาวะอนาธิปไตย รัฐต้องแสวงหาอานาจให้ได้มากที่ สุด
เท่าที่จ ะทาได้ และใช้อานาจนั้นให้มากที่สุดเพื่อให้ตนเองกลายเป็น จ้าวมหาอานาจโลก
(Global Hegemony) หรืออย่างน้อยคือ จ้าวอานาจระดับภูมิภาค (Regional Hegemony)
แต่อย่างไรก็ ต ามรั ฐ มหาอานาจเหล่ า นี้จะต้ องขยายอานาจตนเองโดยเฉพาะอานาจทาง
การทหาร ออกไปอย่ า งไม่ สิ้ น สุ ด เพราะหากหยุ ด ขยายอ านาจเมื่ อ ใด รั ฐ คู่ แ ข่ ง (peer
competitors) อื่นจะเข้ามาท้าทายหรือแย่งชิงพื้นที่ผลประโยชน์เดิมของมหาอานาจเก่ าอยู่
เสมอ จนอาจเรียกได้ว่าเป็น โศกนาฎกรรมแห่งมหาอานาจ (The Tragedy of Great Power
Politics)
ตำรำง 4.4 เปรียบเทียบแนวคิดระหว่ำงสัจนิยมดั้งเดิม สัจนิยมเชิงรับ และสัจนิยมเชิงรุก
(Mearsheimer, 2001: 22)

สัจนิยมดั้งเดิม สัจนิยมเชิงรับ สัจนิยมเชิงรุก


สำเหตุที่ทำให้รัฐ ความกระหายอานาจ โครงสร้างระบบ โครงสร้างระบบ
แข่งขันกันแสวงหำ ที่มีอยู่ในรัฐ ระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศ
อำนำจ
รัฐต้องกำรอำนำจ มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ ไม่แสวงหาอานาจไป มากที่สุดเท่าที่จะหา
เท่ำใด รัฐใช้อานาจมากที่สุด มากกว่าที่มีอยู่แต่เดิม ได้ และมีเป้าหมาย
เปรียบเทียบอานาจ รัฐจะรักษาดุลอานาจ สูงสุดที่จะเป็นเจ้า
และมีเป้าหมายคือการ
ครองความเป็นเจ้า

ท้ายที่สุดแล้ว โลกที่มีพื้นที่กว้างใหญ่อีก ทั้งการขยายอานาจรัฐมหาอานาจนั้ นมี


อุปสรรคสาคัญคือ การขวางกั้นของห้วงน้า (the stopping of water) ซึ่งหมายถึงมหาสมุทร
ต่างๆ Mearsheimer ได้เสนอว่า “แม้มหาอานาจจะขยายมากเพีย งใด มหาอานาจนั้ นจะ
เป็นได้เพียงมหาอานาจระดับภูมิภาค (regional hegemony) ที่รัฐนั้นตั้งอยู่เพียงเท่านั้น” ดัง
จะเห็นได้จาก ในซีกโลกตะวันตก (western hemisphere) ก็จะมีสหรัฐอเมริกาที่เป็นรัฐที่
ทรงอานาจมากที่สุด รัฐอื่นๆเช่น แคนาดา เม็กซิโก หรือบราซิลก็ไม่สามารถต้านทานอานาจ
ของสหรัฐอเมริกาได้ รัฐมหาอานาจเจ้าถิ่นจะไม่ยอมให้มหาอานาจในภูมิภาคอื่นเข้ามาเป็น
คู่แข่งหรือท้าชิงความเป็นใหญ่เหนือภูมิภาคที่ตนตั้งอยู่ ดังจะเห็นได้จาก สหรัฐอเมริก าไม่

103
103 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ต้องการให้มหาอานาจในยุโรปเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจการภายในของสหรัฐอเมริกาเอง จึงมีการ
ประกาศลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ในปี 1823 นอกจากนั้นด้วยการครองความเป็น
เจ้าของสหรัฐอเมริกาอัน ยาวนาน อเมริกาก็ยังไม่ต้องการให้มหาอานาจยุโรปเช่น เยอรมนี
หรือรัฐในเอเชียตะวันออก เช่น จีนหรือญี่ปุ่น เข้ามาเป็นคู่แข่ง สหรัฐอเมริกาเผชิญหน้ากับ
จักรวรรดิเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง
รวมทั้งกับสหภาพโซเวียตในสมัย สงครามเย็น ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายที่ว่าหากรัฐใดมีอ านาจ
เหนือยุโรปแล้ว รัฐนั้นจะมีอิสระในการรุกรานซีกโลกตะวันตก และอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง
ของอเมริกาเอง
ในทัศนะดังกล่าว สรุปได้คือรัฐต่างๆต้องการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจในระดับ
ภูมิภาค Mearsheimer เสนอต่อไปอีก ว่า เยอรมนีจะก้ าวขึ้นมาเป็น ผู้ นายุโ รปและจี น จะ
กลายเป็นมหาอานาจที่ครอบงาเอเชีย ในทฤษฎีของเขาเองนั้นยังอาจวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า
หากจีนก้ าวขึ้นมาเป็นผู้นาเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครองความเป็นเจ้าเหนือภูมิภาค
เอเชียตะวันออก สหรัฐอเมริกาอาจจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ป้องกันหรือกระทาการเพื่อลดอานาจ
ของจี น ในเอเชี ย ตะวั น ออก หรื อ มองในอี ก มุ ม หนึ่ ง หากจี น ก้ า วขึ้ น มาเป็ น คู่ แ ข่ ง กั บ
สหรัฐอเมริกาในอนาคตแล้ว สหรัฐอเมริกาคงจะถูกคาดหวังว่าจะต้องทาการปิดล้อมอิทธิพล
ของจี น และป้ อ งกั น การแทรกแซงของจีน ในภู มิ ภ าคอื่ น ๆของโลกโดยเฉพาะในบริเ วณที่
สหรัฐอเมริกามีผลประโยชน์
Mearsheimer ก็ได้กล่าวถึงเรื่องดุลอานาจเช่นเดียวกับ Waltz และมีการแบ่งเป็น
4 รูปแบบคือ
1) ระบบสองขั้วอำนำจที่ไม่ถ่วงดุลกัน (unbalanced bipolarity) ซึ่งในความเป็นจริง
ระบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์
2) ระบบสองขั้วอำนำจที่ถ่วงดุลกัน (balanced bipolarity) หรือระบบสองขั้วอานาจ
นั้น เป็นระบบที่มหาอานาจสองรัฐมีอานาจเท่าเทียมกัน เช่น การถ่วงดุลอานาจระหว่าง
สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในสมัยสงครามเย็น ซึ่ง Mearshimer องว่าเป็นระบบ
ที่มีเสถียรภาพมากที่สุด มีโอกาสที่จะเกิดสงครามน้อยมากเนื่องจากมีตัวแสดงเพียงสอง
ตัวเท่านั้น
3) ระบบหลำยขั้ ว อ ำนำจที่ ไ ม่ถ่ ว งดุ ล กั น (unbalanced multipolarity) เป็ น ระบบ
หลายขั้วมหาอานาจที่มากว่า 3 รัฐในระบบระหว่างประเทศและรัฐใดรัฐหนึ่งมีอานาจ
มากพอที่ จ ะก้ า วมาเป็ น มหาอ านาจได้ เช่ น สมั ย ที่ พ ระจั ก รพรรดิ Napoleon เรื อ ง

104
104
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

อานาจใน ค.ศ.1793-1815 หรือ ยุค Kaiser Wilhelm II ของเยอรมนี รวมทั้งยุคนาซี


ของฮิตเลอร์
4) ระบบหลำยขั้วอำนำจที่ถ่วงดุลกัน (balanced multipolarity) เป็นระบบหลายขั้ว
อานาจที่มากกว่า 3 รัฐ โดยที่ไม่มีรัฐใดต้องการที่จะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจ เช่น การ
ถ่วงดุลของมหาอานาจในทวีปยุโรปช่วง ค.ศ.1815 จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หรือ
ช่วง ค.ศ. 1919-1939 เป็นต้น เมียร์ไชเมอร์มองว่าระบบนี้เป็นระบบที่มีโอกาสในการ
เกิ ด สงครามได้ ม ากที่ สุ ด เนื่ อ งจากอ านาจรั ฐ แต่ ล ะรั ฐ ไม่ เ ท่ า เที ย มกั น อาจเกิ ด การ
คาดการณ์หรือประเมินอานาจของฝ่ายตรงข้ามผิดพลาดได้ (miscalculation) รัฐใดที่มี
อานาจมากก็จะชิงลงมือโจมตีรัฐที่มีอานาจน้อยกว่า เช่น กรณีสงครามไครเมีย ที่อังกฤษ
ร่วมมือกับฝรั่งเศส โจมตีรัสเซีย อีกทั้งกรณีที่อิตาลีร่วมมือกับปรัสเซีย โจมตีออสเตรียใน
ค.ศ.1866

Mearsheimer เห็นพ้องกับ Waltz ที่ว่าระบบสองขั้วอานาจในสมัยสงครามเย็น


เป็นระบบที่สร้างเสถียรภาพให้การเมืองระหว่างประเทศมากที่สุด สงครามเย็นเป็นการแปลง
สภาพความขัดแย้งและความรุนแรงให้กลายเป็นช่วงเวลาที่สงบสุขมาสู่ภูมิภาคต่างๆของโลก
เขายังกล่าวอีกว่า การสิ้นสุดของระบบสองขั้วอานาจหลังสงครามเย็นสิ้นสุดและการกลับมา
ของระบบหลายขั้ ว อ านาจในยุ โ รปจะสร้ า งสภาวะอนาธิ ป ไตยแบบยุ โ รปดั้ ง เดิ ม ที่ ไ ม่ พึ ง
ปรารถนาและไม่มั่นคง จนนาไปสู่ความขัดแย้ง วิกฤตการณ์และสงคราม (พิจารณาจากตาราง
ที่ 4.5)

105
105 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ตำรำงที่4.5 เปรียบเทียบแนวคิดเรื่องขั้วอำนำจของเมียร์ไชเมอร์ (Jackson & Sorensen,


2013: 84)
เงื่อนไขแห่งระบบสองขั้วอำนำจที่มั่นคง เงื่อนไขของระบบหลำยขั้วอำนำจที่ไม่มั่นคง
(Conditions of stable bipolarity) (conditions of unstable multipolarity)
 ยุโรปในสมัยสงครามเย็น  ยุโรปก่อน ค.ศ.1945 และหลัง ค.ศ.1990
 มีมหาอานาจเพียงสองรัฐ  มีมหาอานาจหลายรัฐ
 ความเท่าเทียมกันของมหาอานาจ  มีความไม่เท่าเทียมและการเปลี่ยนผ่านแห่ง
ดุลอานาจ
 การป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์  การแข่งขันทางทหารแบบใช้อาวุธดั้งเดิม
 ชนะกันลาบาก  การเอาชนะทาได้ง่ายขึ้นและเย้ายวนใจมาก
 ระเบียบแห่งมหาอานาจ (Superpower ขึ้น
discipline)  ความไร้ระเบียบแห่งมหาอานาจและเกิด
ความเสี่ยงสูง (Great power indiscipline
and risk-taking)

4.3.3 สงครำมระหว่ำงมหำอำนำจ (Great Power War) เกิดขึ้นได้อย่ำงไร


แนวคิดสาคัญประการหนึ่งที่ทาให้ทฤษฎีสัจนิยมใหม่เชิงรุกและทฤษฎีสัจนิยมเชิง
รับมีความแตกต่างกั นคือ ประเด็นเรื่องการเกิดสงคราม นักคิดในกลุ่มทฤษฎีสัจนิย มใหม่
ตระหนักว่ารัฐสามารถก่อสงครามระหว่างกันได้จากหลายสาเหตุ หากพิจารณาในระดับที่ง่าย
ที่สุดนั่นก็คือ การแสวงหาอานาจเหนือคู่แข่งและขยายความมั่นคงให้กับรัฐของตนเอง แต่
ปัจ จัย ด้านความมั่นคงก็ อาจมิใช่แรงขับเคลื่อ นที่อยู่เ บื้องหลังการตั ดสิ นใจของรัฐ ที่ จ ะท า
สงครามเสมอไป บางครั้งอุดมการณ์และเศรษฐกิจก็เป็นปัจจัยสาคัญเช่นกัน ดังจะเห็นได้จาก
การที่Bismarck อัครมหาเสนาบดีของแคว้นปรัสเซีย ใช้อุดมการณ์ชาตินิยม (nationalism)
เป็นปัจจัยในการรวมชาติเยอรมนี โดยการทาสงครามกับรัฐต่างๆ เช่น สงครามกับเดนมาร์ก
ในปี ค.ศ.1864 สงครามกับออสเตรีย ในปี ค.ศ.1866 และกับฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1870-1871
ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อรัฐใดชนะสงครามแล้วจะมีอานาจเชิงได้เปรียบ
(relative power) โดยมิต้องคานึงถึงว่าอะไรคือจุดเริ่มต้นของสงคราม ดังจะเห็นจากอานาจ
ของเยอรมนีที่ชนะสงครามและรวมประเทศได้มีพลังอานาจมากกว่าครั้งที่ยังเป็นปรัสเซีย

106
106
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ตำรำงที่4.6 กำรจำแนกประเภทมหำอำนำจตำมแนวคิดของ Mearsheimer ใน The Tragedy


of Great Power Politics (ปรับปรุงจาก Elman, 2004: 565)

ประเภทของ กรณีตัวอย่ำง พฤติกรรม พฤติกรรม


มหำอำนำจ ภำยในภูมิภำค ภำยนอกภูมภิ ำค
มหาอานาจ เยอรมนี ครอบครองความเป็ น ไม่ชัดเจน
ภาคพื้นทวีป เจ้ า ในภูมิภ าค และทา กรณีศึกษาแสดงให้เห็น
การถ่ วงดุลอานาจเพื่อ การถ่ ว งดุ ล กั บ รั ฐ ที่ จ ะ
ป้องกันรัฐอื่นๆ ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าระดับ
ภูมิภาค
มหาอานาจ อังกฤษ ถ่ ว งดุ ล อ านาจจากรั ฐ ไม่ชัดเจน
ที่เป็นหมู่เกาะ อื่ น ๆเพื่ อ ป้ อ งกั น การ กรณีศึกษาแสดงให้เห็น
แย่งชิงความเป็นเจ้า การถ่ ว งดุ ล กั บ รั ฐ ที่ จ ะ
ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าระดับ
ภูมิภาค
ความเป็นเจ้า สหรัฐอเมริกา ถ่วงดุลอานาจกับรัฐอื่น ถ่วงดุลกับรัฐใดก็ตามที่
ระดับภูมิภาค เพื่อรักษาความเป็นเจ้า จะก้ า วขึ้ น มาเป็ น เจ้ า
ในภูมิภาค ระดับภูมิภาค

ถึงแม้ว่าการเกิดสงครามนั้นจะสามารถอธิบายได้ด้วยหลายสาเหตุ แต่แนวคิดสัจ
นิยมใหม่ยังคงเชื่อเสมอว่า โอกาสของการเกิดสงครามนั้นเกิดจากโครงสร้างของระบบระหว่าง
ประเทศ (architecture of international system) นักสัจนิยมบางคนได้อภิปรายเพิ่มเติม
อีกว่า การเกิดสงครามนั้นอาจจะเกิดขึ้นมาจาก จานวนรัฐมหาอานาจหรือระบบขั้วอานาจที่มี
อยู่ในระบบเวลานั้น ในขณะที่บางคนเน้นไปที่กระจายตัวของอานาจระหว่างรัฐสาคัญด้วยกัน
และนั ก คิ ด สั จ นิ ย มบางคนเสนอว่ า การเปลี่ ย นแปลงในการถ่ ว งดุ ล แบบเชิ ง รุ ก -เชิ ง รั บ
(offence-defence balance) มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเกิดสงคราม

107
107 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

4.4 ทฤษฎีสัจนิยมดั้งเดิมแนวใหม่ (Neo-Classical Realism)


ทฤษฎี สั จ นิ ย มดั้ ง เดิ ม แนวใหม่ นั้ น ถื อ เป็ น สั จ นิ ย มรุ่ น ที่ ส าม ( The Third
Generation) โดยเป็นการผสานแนวคิด สัจนิย มดั้งเดิมและสัจ นิยมใหม่โ ดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กลุ่ ม สั จ นิ ย มเชิ ง รั บ (Defensive Realism) โดยนั ก คิ ด สั จ นิ ย มร่ ว มสมั ย หลายคนเริ่ ม ตั้ ง
ข้อสังเกตว่าประเด็นการกระจายอานาจในระบบระหว่างประเทศเพียงประการเดียวนั้นไม่
สามารถให้ คาอธิ บ ายพฤติก รรมของรัฐ ได้อย่ างเพีย งพอ เมื่อสงครามเย็ น สิ้ นสุ ด ลงในต้ น
ทศวรรษที่ 1990 ได้มีการพัฒนาแนวคิดให้ก้าวข้ามแนวคิดสัจนิยมเชิงโครงสร้างซึ่งไม่สามารถ
อธิ บ ายพฤติ ก รรมของนโยบายต่ า งประเทศ (foreign policy behavior) ได้ อ ย่ า งชั ด เจน
แนวคิดสัจนิยมดั้งเดิมแนวใหม่จึงเสนอระดับการวิเคราะห์ที่เน้นตัวแปรระดับปัจเจกบุคคล
และระดับภายในรัฐมาอธิบายนโยบายต่างประเทศและการเมืองระหว่างประเทศให้ชัดเจน
ยิ่ ง ขึ้ น (Dunne, 2009: 92) แนวคิ ด นี้ ป รากฎอย่ า งเด่ น ชั ด ในบทความ “Neoclassical
Realism and Theories of Foreign Policy” ของ Gideon Rose ในปี 1998 ซึ่ ง ถื อ เป็ น
เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดสัจนิยมดั้งเดิมแนวใหม่ โดยมีสมมติฐานร่วมกับทฤษฎีสัจนิยมอื่นๆ คือ
ยังคงให้ความสาคัญกับสภาวะอนาธิปไตย การกระจายขีดความสามารถของรัฐ และตาแหน่ง
แห่งที่ของรัฐในระบบระหว่างประเทศ แต่สิ่งที่ทาให้แนวคิดสัจนิยมดั้งเดิมใหม่มีความแตกต่าง
ออกไปคือ การนาตัวแปรระดับปัจจัยภายในรัฐ (domestic-level variables) มาเชื่อมโยง
กั บ ตั ว แปรเชิ ง ระบบ (systemic variables) เพื่ อ อธิ บ ายนโยบายต่ า งประเทศ (พิ จ ารณา
เปรียบเทียบได้จากตารางที่ 4.7)
ทฤษฎี สั จ นิ ย มดั้ ง เดิ ม แนวใหม่ เ สนอว่ า นโยบายต่ า งประเทศซึ่ ง ถื อ เป็ น ผลผลิต
(outcomes) จัดเป็นเป็นตัวแปรตาม (dependence variables) ที่เกิดจากตัวแปรเชิงระบบ
(systemic variables) เช่น การกระจายอานาจและสมรรถนะระหว่างรัฐในฐานะตัวแปรต้น
(independence variables) ในกระบวนนี้ มี ตั ว แปรแทรกซ้ อ น (intervening variables)
หลากหลายมากซึ่งเป็นตัวแปรระดับภายในประเทศ (domestic variables) ได้แก่ ตัวแปร
ที่เป็นความสามารถของรัฐ เช่น โครงสร้างและสถาบันทางการเมืองภายในรัฐ การแข่งขันกัน
ภายในรัฐ ชนชั้นนา และตัวแสดงภายในสังคม และตัวแปรที่เป็นความพอใจของรัฐ เช่น การ
รั บ รู้ (perceptions) อั ต ลั ก ษณ์ (identities) เป็ น ต้ น ปั จ จั ย เหล่ า นี้ ล้ ว นส่ ง ผลกระทบต่ อ
กระบวนการการก าหนดนโยบายนโยบายต่างประเทศ (พิจ ารณาได้จ ากแผนภาพที่ 4.2)
Stephen Walt สรุ ป ว่ า สั จ นิ ย มดั้ ง เดิ ม แนวใหม่ นี้ คื อ การน าปั จ จั ย ด้ า นการเมื อ ง
ภายในประเทศมาเป็ น ตั ว แปรแทรกซ้ อ น (intervening variable) ระหว่ า งการกระจาย

108
108
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

อานาจในระบบระหว่างประเทศและลัก ษณะของนโยบายต่างประเทศ (Walt, 2002: 211


cited in Dunne, 2001: 92)
ตำรำงที่ 4.7 เปรียบเทียบแนวคิดสัจนิยมดั้งเดิม สัจนิ ยมใหม่และสัจนิยมดั้งเดิมแนวใหม่
(Lobell, Ripsman& Taliaferro, 2009: 20)
มุมมองต่อระบบ มุมมองต่อ ตัวแปรตำม ควำมเป็นเหตุเป็นผล
ระหว่ำงประเทศ หน่วย
สัจนิยม มีความสาคัญใน แยกความ นโยบาย การกระจายอานาจหรือ
ดั้งเดิม ระดับหนึ่ง แตกต่าง ต่างประเทศ การกระจายผลประโยชน์
ระหว่างรัฐท้าชิงอานาจ
กับรัฐที่รักษาสถานะของ
ตนนาไปสู่การออกนโยบาย
ต่างประเทศ
สัจนิยม มีความสาคัญ ไม่แยก ผลลัพธ์ทาง การกระจายอานาจในเชิง
ใหม่ มากที่สุด ความ การเมือง สัมพันธ์ (ในฐานะตัวแปร
แตกต่าง ระหว่าง อิสระ) นาไปสู่ผลลัพธ์
ประเทศ ระหว่างประเทศ (ในฐานะ
ตัวแปรตาม)
สัจนิยม มีความสาคัญ แยกความ นโยบาย การกระจายอานาจในเชิง
ดั้งเดิม โดยมองว่า นัยยะ แตกต่าง ต่างประเทศ สัมพันธ์ (ในฐานะตัวแปร
แนวใหม่ ของอนาธิปไตย อิสระ) มีผลต่อเงื่อนไข
เป็นตัวแปรและ ภายในประเทศ และการ
ในบางครั้งอาจไม่ รับรู้ของชนชั้น (ในฐานะ
ชัดเจนต่อผู้ แทรกซ้อน) ซึ่งมีผลการ
กาหนดนโยบาย ออกนโยบายต่างประเทศ

109
109 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

แผนภำพที่ 4.2 รูปแบบและตัวแปรของทฤษฎี สัจนิย มดั้งเดิม แนวใหม่ (Lindermann,


2014: 38-9)

กำรกระจำยอำนำจเชิง
สัมพันธ์และตำแหน่งของรัฐใน นโยบำยต่ำงประเทศ
ระบบระหว่ำงประเทศ
(ตัวแปรตำม)
(ตัวแปรต้น)

ตัวแปรแทรกซ้อน

ตัวแปรแทรกซ้อนทีม่ ีอิทธิพล ตัวแปรแทรกซ้อนที่มีอิทธิพล


ต่อควำมสำมำรถของรัฐ ต่อควำมพอใจของรัฐ
 โครงสร้ำงของรัฐ เช่น โครงสร้างเชิง  กำรรับรู้ เช่น การรับรูต้ ่อการกระจาย
องค์กร การปกครองตนเอง กระบวนการ อานาจระหว่างรัฐ การรับรู้ต่อภัย
การตัดสินใจภายในรัฐ ความสามารถของ คุกคาม เป็นต้น
ระบบราชการ ความไม่มนั่ คงของระบอบ  อัตลักษณ์ เช่น ระบบความเชือ่ ของ
เป็นต้น ชนชั้นนา แนวคิด ลัทธิชาตินิยม
 กำรแข่งขันภำยในรัฐ เช่น มติของชนชัน้
อุดมการณ์ เป็นต้น
นา การแข่งขันระหว่างพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง แรงสนับสนุนและมติมหาชน
และการรวมตัวกันของสังคม เป็นต้น

Randal Schweeler นั ก วิ ช าการในกลุ่ ม สัจ นิ ย มดั้ งเดิ มแนวใหม่ ไ ด้ ย้อ นกลั บไป
ทบทวนศึก ษางานเขีย นของ Morgenthau และ Henry Kissinger เพื่อที่จ ะย้าเตือนเราว่า
ความแตกต่างที่สาคัญระหว่างประเด็นการรักษาสถานะเดิมของรัฐต่างๆ (status quo) และ
รัฐที่เข้ามาท้าทาย (revisionist states) ดังจะเห็นในงานของนักคิดสายสัจนิยมดั้งเดิมใหม่ที่
อธิบายว่า ในช่วงทศวรรษที่ 1930 การที่เยอรมนีเป็นรัฐที่ท้าชิงและเป็นรัฐที่รักษาสถานะภาพ
เดิมของตนตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด ถือเป็นความสาคัญขั้นพื้นฐานของการทา
ความเข้าใจบทบาทของสิ่ง นี้ใ นระบบระหว่ างประเทศ นอกจากนั้น Fareed Zakaria ได้

110
110
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

นาเสนอปัจจัยด้านความแข็งแกร่งแห่งรัฐ (state strength) ในทฤษฎีสัจนิยมที่เน้นรัฐเป็น


ศูนย์กลาง (state-centered realism) ในที่นี้ความแข็งแกร่งแห่งรัฐหมายถึงความสามารถ
ของรัฐที่จะระดมพล (mobilize) และนาทรัพยากรของตนไปใช้ตามผลประโยชน์ที่ไ ด้ว าง
แนวทางไว้ นั ก คิ ด สายสั จ นิ ย มดั้ ง เดิ ม แนวใหม่ นี้ ม องว่ า ประเภทของรั ฐ ที่ แ ตกต่ า งจะมี
สมรรถนะที่ ต่ า งกั น ไปทั้ ง นี้ เ พื่ อ แปรเปลี่ ย นวั ต ถุ ป ระสงค์ แ ห่ ง อ านาจที่ ห ลากหลายของ
ประชาชาติมาเป็นอานาจแห่งรัฐ (Baylis & Schmidt, 2001: 93)
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าทฤษฎีสัจนิยมจะมีพัฒนาการและทรงอิทธิพล
ต่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็นเวลายาวนาน แต่ก็เป็นทฤษฎีที่ชวนให้นัก
คิดรุ่นหลังตั้งคาถาม วิพากษ์วิจารณ์และพัฒนาต่อยอดเป็นแนวคิดใหม่ๆบนหลักการพื้นฐาน
ของตัวทฤษฎีเองอยู่เสมอ พิจารณาได้จากตารางที่ 4.8
ตำรำงที่ 4.8 เปรียบเทียบควำมแตกต่ำงแนวคิดสัจนิยมดั้งเดิม สัจนิยมใหม่ และสัจนิยม
ดั้งเดิมใหม่ (Jackson& Sorensen, 2013: 87)
ประเด็นที่ให้ควำมสำคัญ สัจนิยมดั้งเดิม สัจนิยมใหม่ สัจนิยมดั้งเดิม
แนวใหม่
อนำธิปไตย มี มี มี
อำนำจรัฐ มี มี มี
ปัจจัยด้ำนผู้นำ มี ไม่มี มี
จริยธรรมของ มี ไม่มี ไม่มี
กำรดำเนินกิจกำรรัฐ
สังคมภำยในประเทศ ไม่มี ไม่มี มี
ควำมเป็นศำสตร์ ไม่มี มี มี

จากที่ ก ล่ า วมานั้ น จะเห็ น ได้ ว่ า ทฤษฎี สั จ นิ ย มเป็ น แนวคิ ด ที่ “ไร้ ก าลเวลา”
(timeless) และทรงอิ ท ธิ พ ลในการศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศมาตั้ ง แต่ ห ลั ง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่กระนั้นเมื่อโลกเปลี่ยนไปโดยเฉพาะหลังยุคสงครามเย็น สัจนิยมก็
ถูกตั้งคาถาม ท้าทายและวิพากษ์วิจ ารณ์จ ากนัก วิชาการในสานักอื่นว่ายังสามารถอธิ บาย
ความเป็นไปของโลกได้อยู่หรือไม่ อย่างไรก็ดีทฤษฎีสัจนิยมก็มีพัฒนาการภายในสานักจนเกิด
เป็นสัจ นิย มใหม่ร วมทั้ง แนวคิ ด ที่เกี่ ย วข้องโดยตั้งอยู่ บนพื้ น ฐานของ “ตัวแสดงรัฐ ” และ
“การเมืองอานาจ” ที่ยังคงเป็นพระเอกที่สาคัญในเวทีการเมืองโลกอยู่เสมอมา

111
111 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

นักทฤษฎีควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศในสำนักสัจนิยม

1 2

Stephen Walt John J. Mearshiemer

Robert Jervis Robert Gilpin

Randall Schweller William Curti Wohlforth

112
112
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

113 ศิวพล ชมภูพันธุ์


International Relations Theory: An Introduction

Woodrow Wilson ประกำศคำแถลงกำรณ์ 14 ประกำรต่อรัฐสภำ


เมื่อวันที่ 8 มกรำคม 1918

คำว่ำ “สหประชำชำติ” (The United Nation) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกจำกกำรลงนำมใน


ปฎิญญำสหประชำชำติ (Declaration of The United Nations) เมื่อวันที่ 1 มกรำคม 1942

114
114
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 5 บทที่ 5
ทฤษฎีเสรีนิยม (Liberalism) ทฤษฎีเสรีนิยม
Liberalism

5.1 บทนำ
แนวคิดเสรีนิยมเป็นผลผลิตจากช่วงประวัติศาสตร์ตะวันตกในยุคเหตุผลอันงอกเงย
มาจากการปฏิ วั ติ วิ ท ยาศาสตร์ (The Scientific Revolution) และยุ ค ภู มิ ธ รรม (The
Enlightenment) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนในโลกตะวันตกเริ่มตื่นตัวและให้ความสาคัญกับเรื่อง
สิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคล ประกอบกับกระแสการสร้างความทันสมัยของรัฐสมัยใหม่ที่มีการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งอิทธิพลจากนักปรัชญาการเมืองโดยเฉพาะ John
Locke ที่นาเสนอประเด็นศัก ยภาพอั นยิ่ งใหญ่ส าหรับ ความก้ า วหน้ าของมนุษย์ (human
progress) ในโลกสมัยใหม่และยุคสมัยแห่งเศรษฐกิจทุนนิยมที่กาลังก่อร่างขึ้นมาในศตวรรษที่
17 นอกจากนั้นแนวความคิดของนักปรัชญาการเมืองเช่น Jeremy Bentham ที่เสนอเรื่อง
กฎหมายระหว่างประเทศและ Immanuel Kant ที่ให้ความสาคัญกับสันติภาพอันถาวรก็มีผล
ต่อการสร้างฐานคิดที่นาไปสู่การสถาปนาองค์ความรู้ทฤษฎีเสรีนิย มในสาขาความสัม พั นธ์
ระหว่างประเทศซึ่งนับเป็นแนวคิดลาดับต้นๆที่มีก ารศึกษาอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ตั้ง
สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดขึ้นในโลกวิชาการตะวันตก
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงพร้อมกับคาถามเพื่อการรักษาสันติภาพ
ของระบบระหว่างประเทศที่ว่า “จะทาอย่างไรมิให้รัฐต่างๆก่อสงครามขึ้นมาอีก ” แนวคิดเสรี
นิ ย มซึ่ ง ในขณะนั้ น มั ก จะเรี ย กว่ า อุ ด มคติ นิ ย ม (Idealism) ได้ ก ลายเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของ
การศึก ษาความสั ม พั นธ์ ระหว่ างประเทศในฐานะสาขาวิ ช าและมี บ ทบาทต่อการก าหนด
นโยบายของชนชั้นนาในโลกตะวันตก ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ และ
องค์การสหประชาชาติ ภายหลังสงครามโลกทั้งสองครั้งตามลาดับ ในช่วงสงครามเย็น ทฤษฎี
สัจ นิย มจะทรงพลังในการอธิบายการเมืองระหว่างประเทศที่มีความขัดแย้ง แบ่ งค่ายกัน
ระหว่างประเทศมหาอ านาจจนแทบจะบดบั ง ความส าคั ญของทฤษฎีเ สรี นิย มไปบ้ าง แต่
กระนั้นก็มีการพัฒนาเนื้อหาของทฤษฎีจนกลายเป็นทฤษฎีเสรีนิยมใหม่หรือทฤษฎีเสรีนิยม
เชิ ง สถาบั น (Neo-Liberalism or Institutional Liberalism) ที่ เ น้ น บทบาทของสถาบั น
ระหว่างประเทศมาอธิบายบริบ ททางเศรษฐกิจการเมืองโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงทศวรรษ
1970 กล่ า วได้ ว่ า ทฤษฎี เ สรี นิ ย มเริ่ ม กลั บ มามี พื้ น ที่ ใ นแวดวงวิ ช าความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง
ประเทศอีกครั้งตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา โดยทฤษฎีดังกล่าวสามารถอธิบายการเมือง

115
115 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ระหว่างประเทศได้หลากหลายมิติมากกว่าที่จะเน้ นมิติทหารและการเมืองอันเป็นใจความ
สาคัญของกลุ่มนักทฤษฎีสัจนิยม อีกทั้งทฤษฎีสัจนิยมก็มีข้อจากัดอยู่หลายประการ กล่าวได้
ว่า ถึงแม้ว่าทฤษฎีสัจนิยมจะมีอิทธิพลต่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาช้านาน
แต่ทฤษฎีเสรีนิยมก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ขอ “ท้าชน” สัจนิยมเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของ
การศึกษา (Dunn, 2011: 102)
จากที่กล่าวไปข้างต้น ทฤษฎีเสรีนิยมได้กลับมามีบทบาทอีกครั้งอันเป็นผลมาจาก
สถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลง ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ต่อไปนี้ กล่าวคือ
1) ในสมัยผ่อนคลายความตึงเครียด (Détente Period) บรรดารัฐมหาอานาจ
เริ่มมีการติดต่อและปรับความสัมพันธ์กันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่สหรัฐอเมริกาปรับ
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศมิได้มีแต่ความขัดแย้งและสงครามเท่านั้น หากแต่ยังมีการเจรจา การประนีประนอม
กันได้
2) ในช่วงทศวรรษที่ 1970 เกิดความร่วมมือในทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวมากขึ้น
ซึ่งแนวคิดสัจนิยมเองมองว่าเป็นไปไม่ได้ที่ในระบบระหว่างประเทศจะสามารถร่วมมือกัน อีก
ทั้งสัจนิยมเองก็เชื่อการถ่วงดุลอานาจและสร้างขั้วอานาจ แต่จากปรากฎการณ์ในยุคนั้น เริ่ม
เกิดการร่วมมือและรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐต่างๆ เช่น การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ
ยุโรป การทาความตกลงว่าด้วยพิกัดศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs
and Trade: GATT) ดังนั้นปรากฎการณ์ตัวอย่างนี้เป็นสิ่งที่แสดงว่า ความร่วมมือระหว่างรัฐ
นั้นมีความเป็นไปได้ อีกทั้งองค์การและสถาบันระหว่างประเทศเป็นดั่งตัวเชื่อมความร่วมมือ
3) การสิ้นสุดสงครามเย็นในทศวรรษ 1990 ยิ่งเป็นการตอกย้าให้เห็นถึงชัยชนะ
แห่งแนวคิดเสรีนิยมที่เห็นการสิ้นสุดขั้วอานาจของโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ กระแสคลื่น
ประชาธิปไตย (Democratic Wave) และการทาให้เป็นประชาธิปไตย (Democratization)10
ได้ ข ยายตั ว ไปทั่ ว โลกแม้ แ ต่ ป ระเทศที่ เ คยปกครองด้ ว ยระบอบคอมมิ ว นิ ส ต์ ก็ ต าม จน
นักวิชาการอย่าง Francis Fukuyama ได้วิเคราะห์โ ลกและการปกครองทั่วโลกว่า “มาถึง

10 ประเด็นที่ Huntington เสนอนั้นอยู่ในบริบทที่โลกกาลังอยู่ในช่วงการทาให้เป็นประชาธิปไตยช่วง


ที่ 3 โดยเริ่มต้นจากการทารัฐประหารในโปรตุเกสและสเปนจนมาถึงช่วงการทาลายกาแพงเบอร์ลิน
ในปี 1989 การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 จนนาไปสู่การสถาปนาระบอบประชาธิปไตย
ในประเทศต่างๆแถบเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง และบางประเทศก็เริ่มเปิดกว้าง
ทางการเมืองมากยิ่งขึ้น

116
116
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

จุดสิ้นสุดแห่งประวัติศ าสตร์ ” (The End of History) ที่ “เสรีประชาธิปไตยและทุ น นิ ย ม


ตะวันตกเป็นผู้ชนะ”
เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงในต้นทศวรรษที่ 1990 พร้อมกับแนวคิด “ระเบียบโลก
ใหม่” (New World Order) ของสหรัฐอเมริกา สานักสัจนิยมไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์
ในยุคหลังสงครามเย็นได้อย่างสมบูรณ์ (แสดงในตารางที่ 5.1) ทฤษฎีเสรีนิยมจึงเป็นแนวคิดที่
ได้รับความนิยมอีกทั้งยังเป็นเครื่องมือ สร้างความชอบธรรมให้กับการจัดระเบียบโลกใหม่ที่มี
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นาโลกเสรี โดยการนาอุดมการณ์ประชาธิปไตย การสร้างสันติภาพ และ
เศรษฐกิจทุนนิยมเป็นแรงขับเคลื่อนกิจการในโลก แต่ภายหลังการก่อวินาศกรรมในอเมริกาปี
2001 หรือ 9/11แนวคิดเสรีนิยมกลับกลายมาเป็นเครื่องมือให้กับสหรัฐอเมริกาและประเทศ
พันธมิตรสร้างความชอบธรรมในการเสริมสร้างอานาจของรัฐให้แข็งแกร่งและใช้ลงโทษกลุ่ม
ผู้ก่อการร้ายรวมทั้งการก่อสงครามกับรัฐที่สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายดังกล่าวอีกด้วย11
ตำรำงที่ 5.1 เปรียบเทียบควำมสำมำรถในกำรอธิบำยของสำนักสัจนิยม
(Kegley 1993,1995 cited in Weber, 2010: 40)

สำนักสัจนิยมสำมำรถอธิบำยได้ สำนักสัจนิยมไม่สำมำรถอธิบำยได้
กิจกรรมความขัดแย้งต่างๆในสมัยสงครามเย็น ความเป็นจริงของยุคหลังสงครามเย็นที่มีความ
ในบรรดารัฐต่างๆ ร่วมมือระหว่างกันในบรรดารัฐเอกราช
ความกระหายอานาจ กระแสประชาธิปไตย
ความปรารถนาแห่งการขยายดินแดน ความตกลงทางการค้ า เสรี ใ นเชิ ง เสรี นิ ย มที่
เพิ่มขึ้น
การดิ้นรนเพื่อความเป็นเจ้า การปรับบทบาทของสหประชาชาติ
การแข่งขันทางอาวุธในหมู่รัฐมหาอานาจ ความตกลงว่า ด้ ว ยการควบคุ ม อาวุธ ที่ เป็ นที่
แพร่หลายยิ่งขึ้น
ภาวะครอบงากับความมั่นคงแห่งชาติ มนุษยธรรมระหว่างประเทศ

11ดูเพิ่มเติม Langridge (2013)

117
117 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

5.2 หลักกำรพื้นฐำนของแนวคิดเสรีนิยม
เพื่อเป็นปูพื้นฐานทฤษฎีเสรีนิยมและการต่อยอดทฤษฎีเสรีนิยมในความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ โดยสมมติฐานของแนวคิดเสรีนิยมเชื่อว่า (Stean, Pettiford, Diez & El-
Anis, 2010: 31-32; Jackson & Sorensen, 2013: 100-102)
1) มนุษย์เป็นคนดีโดยธรรมชาติและมีเหตุมีผล มีความสามารถที่จะแสวงหา
ผลประโยชน์ อีกทั้งมนุษย์สามารถที่จะเข้าใจหลักศีลธรรรมและดารงอยู่ใน
หลักนิติธรรมได้ (The rule of law)
2) มนุษย์ล้วนต่างแสวงหาผลประโยชน์ แต่เชื่อว่า “ผลประโยชน์ร่วมกันเกิดขึ้น
ได้” (a potential harmony of interests)
3) ความร่วมมือเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และเป็ นลักษณะสาคัญของความสัมพันธ์ของ
มนุษย์ รวมทั้งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย
4) แนวคิ ด เสรี นิ ย มได้ ท้ า ทายความแตกต่ า งระหว่ า งกรอบการมองกิ จ การ
ภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยอ้างถึงความสัมพันธ์ที่หลากหลาย
ระหว่างประชาชนที่อยู่เหนือพรมแดนของรัฐ มองว่ารัฐบาลเป็นสิ่งจาเป็นแต่
การรวมศูนย์อานาจเป็นสิ่งเลวร้าย เสรีภาพระดับปัจเจกบุคคลมีความสาคัญ
ที่สุด
จากสมมติฐานข้างต้น สามารถสร้างข้อสรุปของทฤษฎีเสรีนิยมในการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ยกตัวอย่างเช่น
1) หากมองว่ามนุษย์เป็นคนดีและมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้วสงครามก็จะไม่เกิด
2) พหุนิยมทางการเมือง (political pluralism) และประชาธิปไตยถือว่ามี
ความสาคัญ
3) เชื่อว่าความร่วมมือกันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ
4) เน้ น การกระจายรู ป แบบทางอ านาจที่ แ ตกต่ า งกั น (รวมทั้ ง อ านาจทหาร
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และรูปแบบความคิด) และให้ความสาคัญกับ
ตัวแสดงอื่นๆนอกเหนือจากรัฐเพียงอย่างเดียว
5) เน้นหลัก การสิทธิมนุษยชน (human rights) เนื่องด้วยความมีเหตุผลของ
มนุษย์
6) เสรีนิยมเป็นหลักการสากล (universal doctrine) และถือเป็นความคิดของ
ประชาคมสากลแห่งมนุษยชาติ (a universal community of mankind)

118
118
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

7) แนวคิดเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันและสังคมโลกของเสรีนิยมในโลกยุคปัจจุบัน
เชื่อว่าเส้นเขตแดนระหว่างรัฐจะลดความสาคัญลง
โดยสรุ ป แล้ ว เสรี นิ ย มเกี่ ย วข้ อ งกั บ การเกิ ด ขึ้ น ของรั ฐ ที่ ใ ช้ ร ะบอบรั ฐ ธรรมนูญ
สมัยใหม่ นักคิดเสรีนิยมเสนอว่าการทาให้ทันสมัย (Modernization) ได้ขยายขอบเขตของ
ความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่างรัฐ หากความก้าวหน้าหมายถึงการมีชีวิตที่ดีอีกทั้งการมี
เหตุผลของมนุษย์ ถูกนามาปรับใช้กับกิจการระหว่างประเทศแล้ว การร่วมมือที่ดีก็ย่อมเกิดขึ้น
ในที่สุด ดังจะเห็นได้จากแผนภาพที่ 5.1
แผนภำพที่ 5.1 สมมติฐำนเบื้องต้นของแนวคิดเสรีนิยม

ควำมก้ำวหน้ำของมนุษย์ เหตุผลของมนุษย์ ควำมร่วมมือ

(Human progress) (Human reason) (Cooperation)

กระบวนกำรของกำรทำให้ทันสมัย : กำรพัฒนำของรัฐสมัยใหม่

The Process of Modernization: development of the modern state

5.3 Woodrow Wilson กับแนวคิด (อุดมคติ) เสรีนิยม


สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดเสรีนิยมที่ว่า สันติภาพมิใช่เป็นสิ่งที่
เกิ ด ขึ้ น เองโดยธรรมชาติ แ ต่ ถู ก สร้ างขึ้ น มา ผู้ ที่ มี บ ทบาทในการจั ด ตั้ ง และจั ด การอานาจ
ความชอบธรรมระหว่างประเทศ (International Authority) ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมคือ
ประธานาธิบดี Woodrow Wilson แห่งสหรัฐอเมริกา
Wilson เชื่อว่าสันติภาพระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีองค์การระหว่าง
ประเทศท าหน้ า ที่ จั ด ระเบี ย บระหว่ า งประเทศ เขาเห็ น ว่ า การทู ต แบบปิ ด ลั บ (secret
diplomacy) ของยุ โ รปเป็ น สิ่ ง ปกปิ ด ความชั่ ว ร้ า ยอี ก ทั้ ง มองว่ า ระบบดุ ล อ านาจที่ รั ก ษา
สันติภาพในยุโ รปมาช้านานเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้น คาแถลงการณ์ 14 ประการที่
Wilsonประกาศต่อสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริก าในเดือนมกราคม ปี 1918 จึงเป็นหมุด
หมายสาคัญของการแสดงออกซึ่งแนวคิดสากลนิยมเชิงเสรี (liberal internationalism) และ
การสถาปนาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง โดยจะเห็นได้จากการที่ Wilson

119
119 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

เป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้ง องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) อีกทั้งการสถาปนา


ระบบความมั่นคงร่วมกั น (Collective Security) ให้เป็นหลักการสาคัญของสันนิบาตชาติ
โดยมีใจความสาคัญคือ “การที่รัฐสมาชิกต่างยอมรับว่าความมั่นคงของรัฐหนึ่งถือเป็นเรื่องที่
ทุกรัฐต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง และยินยอมพร้อมใจที่จะเข้าร่วมความรับผิดชอบร่วมกันต่อความ
ก้าวร้าวรุนแรงใดๆ” (Robert & Kingsbury, 1993: 30 cited in Dunne, 2001: 105-106)
นอกจากนั้นในคาแถลงการณ์ 14 ประการยังได้บรรจุแนวคิดการกาหนดชะตากรรมด้วย
ตนเอง (self –determination) การเปิดเสรีทางทะเล การขจัดอุปสรรคทางเศรษฐกิจรวมทั้ง
การลดกาลังอาวุธ (disarmament) ไว้ด้วย
ในทัศนะของ Wilson เขาเชื่อว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิ ดจากสาเหตุหลัก สอง
ประการคือ
1) ความไม่ เ ป็ น ประชาธิ ป ไตยของระบอบการปกครองในยุ โ รป Wilson เชื่ อ ว่ า
ประชาชนไม่ต้องการสงครามแต่สงครามเกิดขึ้นจากความคิดของผู้นาระบอบเผด็จ
การและเชื้อชาติถูกปิดกั้นโดยระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ในข้อนี้
เป็นการแสดงความคิดในเชิงเสรีนิยมของวิลสันได้อย่างเด่นชัด อีกทั้งวิลสันเอง
ยืนยันอุดมการณ์และแนวคิดเรื่องที่ว่ า “รัฐที่เป็นประชาธิปไตยจะไม่ก่อสงคราม
ระหว่างกัน” เพราะเชื่อว่าระบอบการปกครองประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เอื้อต่อ
การเกิดสันติภาพและรักษาสันติภาพระหว่างกัน
2) ระบบระหว่างประเทศก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่มีกลไกในการป้องกันความ
ขัดแย้งที่จะนาไปสู่สงคราม นอกจากการถ่วงดุลอานาจและระบบการทูตแบบลับ
จากข้ า งต้ น แสดงถึ ง การประยุ ก ต์ ร ะบบการเมื อ งภายในประเทศที่ เ ป็ น
ประชาธิ ป ไตยไปใช้ กั บ ระบบระหว่ า งประเทศนั่ น เอง (Brown & Ainley, 2009: 20-21)
ประเด็นสาคัญอีกประการหนึ่งในคาแถลงการณ์ 14 ประการที่เป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐาน
ของเสรี นิ ย มคื อ ความก้ า วหน้ า หากพิ จ ารณาในระดั บ ระหว่ า งประเทศ ความเชื่ อ ใน
ความก้ าวหน้ า นั้ น มีความเชื่อ ว่ ารั ฐ ต่า งๆสามารถร่ว มมือ กั น ได้ ด้ วยความสอดคล้ อ งแห่ ง
ผลประโยชน์ที่แท้จ ริง (harmony of real interests) สงครามจึงมิได้เป็นสิ่งที่จาเป็นต้ อ ง
เกิดขึ้นก่อนเสมอไปในระบบระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ความพยายามสร้างสันติภาพของ Wilson ก็ล้มเหลวเมื่อรัฐสภาของ
สหรั ฐ อเมริ ก าไม่ ยิ น ยอมให้ สั ต ยาบั น และมติ ม หาชนของชาวอเมริ ก าเองก็ ไ ม่ ยิ น ยอมให้
สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมองค์ก ารสันนิบาตชาติ ส่งผลให้ Wilson ต้องประสบชะตากรรมทาง
การเมืองในเวลาต่อมา อีกทั้งการดาเนินงานเพื่อรักษาสันติภาพตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

120
120
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ก็ล้มเหลวเนื่องจากบรรดาประเทศมหาอานาจไม่ให้ความร่วมมือและยังรุกรานประเทศต่างๆ
ดังเช่น ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย ในปี 1931 และอิตาลีบุกเอธิโอเปียในปี 1935 เป็นต้น อีกทั้ง
บทบาทของมติมหาชนมีความสาคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ
เผด็จการเช่น ฟาสซิสต์ในอิตาลี และนาซีเยอรมนีที่ผู้นารัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุน การ
รุกรานและการทาสงคราม จนนาไปสู่ความขัดแย้งและปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่สอง และ
สันนิบาตชาติก็ยุติบทบาทลงในปี 1939 ทาให้แนวคิดเสรีนิยมเสื่อมความนิยมลงไป
ตำรำงที่ 5.2 กำรอธิบำยสำเหตุของสงครำมและแนวทำงกำรสร้ำงสันติภำพของเสรีนิยม
(Dunne,2011: 103)

ภำพลักษณ์เสรีนิยม นักคิดและ เหตุแห่งควำมขัดแย้ง แนวทำงกำรสร้ำง


ช่วงเวลำ สันติภำพ
ภำพลักษณ์ของ Richard Cobden12 การรุกรานโดยรัฐบาล เสรีภาพส่วนบุคคล
ธรรมชำติของ (กลางศตวรรษที่ 19) ทั้งในระดับ การค้าเสรี
มนุษย์ ภายในประเทศและ การพึ่งพาอาศัยกัน
ระหว่างประเทศสร้าง
ความวุ่นวายในระเบียบ
ธรรมชาติ
ภำพลักษณ์ของรัฐ Woodrow Wilson ธรรมชาติที่ไม่เป็น การตัดสินชะตากรรม
(ต้นศตวรรษที่ 20) ประชาธิปไตยของ ชาติด้วยตนเอง
การเมืองระหว่าง (National self-
ประเทศ โดยเฉพาะ determination)
อย่างยิ่งนโยบาย รัฐบาลทีร่ ับฟังเสียง
ต่างประเทศและการ มหาชน
ถ่วงดุลอานาจ ระบบความมัน่ คงร่วมกัน
(collective security)

12Richard Cobden ชาวอังกฤษ (1804-1865) ถือเป็นนักคิดเสรีนิยมที่เริ่มนาแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจ


และสวัสดิการเข้าสู่แนวคิดเสรีนิยม หรือที่เรียกกันว่าเสรีนิยมเชิงพาณิชย์ (commercial liberalism)
เขาได้อธิบายถึงความสาคัญของการค้าเสรีที่มีต่อสันติภาพไว้ว่า สงครามส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นล้วนเกิด
จากรัฐที่แสวงหาความร่ารวยหรือ มีเป้ าหมายทางพาณิชยนิยม (mercantilist goal) เขาเสนอว่า
การค้าเสรีในฐานะส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมจะสามารถนาพารัฐให้ มีทั้งความมั่นคง สันติภาพและ
ความมั่งคั่ง นอกจากนั้นยังเห็นว่า การค้าเสรีที่ขยายตัวจะทาให้ประชาชนมีการติดต่อสื่อสารและ
ปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น Cobden ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักคิดเสรีนิยมผู้ยิ่งใหญ่ในกิจการระหว่าง
ประเทศ" (the greatest classical-liberal thinker on international affairs)

121
121 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

5.4 ทฤษฎีเสรีนิยมหลังสงครำมโลกครั้งที่ 2
การสถาปนาสันติภาพและการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐหลังสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ที่เป็นรูปธรรมที่สุ ด คือ การก่ อตั้ง องค์ก ารสหประชาชาติ (United Nation: UN)
ขึ้ น มาท าหน้ า ที่ แ ทนองค์ ก ารสั น นิ บ าตชาติ ที่ ยุติ บ ทบาทลง โดยองค์ ก ารสหประชาชาติมี
วัตถุประสงค์ที่สาคัญคือ เพื่ออานวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ
ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และ
การบรรลุสันติภาพโลกซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นลักษณะของแนวทางของทฤษฎีเสรีนิยม
หากแต่บรรยากาศการเมืองระหว่างประเทศตั้งแต่ทศวรรษที่ 1940 เป็นบรรยากาศความ
ขัดแย้งระหว่างค่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยและค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ซึ่งทฤษฎีสัจนิยม
เป็นแนวคิดที่สามารถอธิบายเหตุการณ์ในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี จึงดูเหมือนว่าทฤษฎีเสรีนิยมที่
เน้นเรื่องสันติภาพและความร่วมมือในระดับระหว่างประเทศไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์
ที่เกิดขึ้นได้อย่างเพียงพอ แต่ในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศดังกล่าว ก็ยังมีนักวิชาการสาย
เสรีนิยมจานวนหนึ่งได้ศึกษาและสร้างกรอบทฤษฎีเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ความร่วมมือที่
เกิดขึ้นในบรรยากาศดังกล่าวเพราะต่างเห็นว่าในบรรยากาศของความขัดแย้งในสงครามเย็น
เราสามารถพบเห็นการติดต่อค้าขายและตัวแสดงอื่นๆที่มิใช่รัฐแสดงบทบาทในความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศซึ่งถือว่านอกเหนือจากการอธิบายของสานักสัจนิยม
Keohane (1986) นักวิชาการคนสาคัญในสานักเสรีนิย มได้แบ่งแนวคิดเสรี นิย ม
ออกเป็น 3 รูปแบบ เพื่อทาความเข้าใจและตีความการเมืองโลกในยุคร่วมสมัย โดยให้เหตุผล
ว่าหากเรายังนิยามเสรีนิยมในแบบดั้งเดิมก็มักจะหมายถึงแนวคิดของ Adam Smith หรือ
David Ricardo ซึ่งเป็นแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ที่ เน้นการค้าเสรีหรือ ความเป็นเสรีทาง
เศรษฐกิจเท่านั้น ในอีกมุมหนึ่ง หากพิจารณาความหมายของเสรีนิยมในแง่ทฤษฎีการเมือง ก็
มักจะหมายถึง เสรีภาพและความเป็นปัจเจกชน ดังนั้น เราจึงควรพิจารณาเสรีนิยมในฐานะ
“แนวทางการศึกษา” (approaches) ต่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงในสังคมมากกว่าที่
จะพิ จ ารณาเป็ น เพี ย ง “อุ ด มการณ์ ห รื อ ลั ท ธิ แ ห่ ง เสรี ภ าพ” (doctrine of liberty) อั น
ประกอบด้วย การให้ความสาคัญกับปัจเจกชน การทาความเข้าใจว่าการรวมกลุ่มของปัจเจก
ชนสร้างการตัดสินใจร่วมกันได้อย่างไร อีกทั้งองค์กรควบคุมปฎิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนได้
อย่างไร ประการสุดท้ายคือการสร้างการวิเคราะห์ต่อการมองโลกที่เน้นสิทธิของปัจเจกชน
และความก้าวหน้าในกิจกรรมของมนุษย์ Keohane แบ่งเสรีนิยมออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ คือ
เ ส รี นิ ย ม เ ชิ ง ป ร ะ ช ำ ธิ ป ไ ต ย (republican liberalism/democratic liberalism) เ น้ น
ความสาคัญเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล นิติธรรม (the rule of law) และความเท่าเทียมกันของ

122
122
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

พลเมือง (equality of citizen) เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบนฐานของ


การเมืองภายในประเทศ เสรีนิยมเชิงพำณิชย์ (commercial liberalism) เชื่อเรื่องความมั่ง
คั่งทางเศรษฐกิจและการประกอบธุรกรรมข้ามพรมแดน (cross-border transaction)การ
สร้างสันติภาพผ่านการค้าและเสรีนิยมเชิงควบคุม (regulatory liberalism) ให้ความสาคัญ
ของกฎระเบียบและสถาบันที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกจากการแบ่ง
ดังกล่าวแล้ว ยังมีการเพิ่มเติมการจัดประเภทของเสรีนิยมเป็นอีกกลุ่มคือ เสรีนิยมเชิงสังคม
วิทยำ (sociological liberalism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่นาเสนอถึงผลกระทบเชิงเปลี่ย นผ่ าน
ของการติ ด ต่ อ สั ม พั น ธ์ ข้ า มพรมแดนการประสานความร่ ว มมื อ กั น ของทั ศ นคติ แ ห่ ง ชาติ
(coliations on national attitudes) และการให้ นิ ย ามของผลประโยชน์ อี ก ทั้ ง มองว่ า
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมิควรศึกษาแต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเท่านั้นแต่ควร
ต้องศึกษาระดับปัจเจกบุคคล กลุ่มต่างๆและสังคมด้วย โลกที่มีเครือข่ายข้ามชาติจานวนมาก
จะมีสันติภาพมากขึ้น (Nye, 2004: 29) ซึ่งแนวคิดพื้นฐานทางเสรีนิย มในแต่ละปตึระเภท
ข้างต้นได้ก ลายมาเป็นสาระสาคัญของการสร้างทฤษฎีภารกิ จ นิย มใหม่ (neofunctional
theories) ของการบูรณาการระดับภูมิภาคซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1960 และ
1970
ในส่วนนี้จะนาเสนอพัฒนาการของทฤษฎีเสรีนิยมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ที่ เ กิ ด ขึ้ น หลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 เพื่ อ ให้ เ ห็ น ภาพว่ า แนวคิ ด เสรี นิ ย มดั้ ง เดิ ม ส่ ง ผลต่ อ
นักวิชาการในการสร้างแนวคิดและทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน “ร่มเงา” ของ
แนวคิดเสรีนิยมเพื่ออธิบายระบบระหว่างประเทศในลักษณะใดบ้าง ผู้เขียนจึงขอแบ่งลักษณะ
ของแนวคิดเสรีนิยมในยุคนี้ออกเป็น 5 แนวทาง (Viotti & Kauppi, 2012: 137-149) ได้แก่
1) แนวคิดการบูรณาการ (integration)
2) แนวคิดความสัมพันธ์ข้ามชาติ (transnationalism)
3) แนวคิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (interdependence)
4) แนวคิดระบอบระหว่างประเทศ (international regimes) และ
5) สถาบันระหว่างประเทศหรือสถาบันนิยม (institutionalism)
ในประเด็นสุดท้ายคือที่มาของการสร้างทฤษฎีเสรีนิยมใหม่หรือเสรีนิยมใหม่เชิง
สถาบัน (Neo-liberalism/Institutional liberalism) ซึ่งจะกล่าวอย่างละเอียดในอีกหัวข้อ
หนึ่ง

123
123 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

5.4.1 กำรบูรณำกำร (Integration)


แนวความคิดเรื่องการบูรณาการเป็นแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวของรัฐ
และการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดการบูร
ณาการแล้วย่อมต้องมีกฎเกณฑ์บางประการเพื่อลดความขัดแย้งและข้ออุปสรรคบางประการ
ระหว่างรัฐเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความมั่นคงในระดับภูมิภาค การบูรณาการที่เกิดขึ้น
หลังสงครามโลกครั้งที่สองนี้มีลักษณะความร่วมมือในระดับภูมิภาค (regional cooperation)
โดยเฉพาะในทวีปยุโรปตะวันตก ในที่นี้จะขอนาเสนอแนวคิดสาคัญ 3 แนวคิด ได้แก่ แนว
ความคิดปฏิสัมพันธนิยม (Transactionalism) แนวคิดภารกิจนิยม (Functionalism) และ
แนวคิดภารกิจนิยมใหม่ (Neo-functionalism)
แนวควำมคิดปฏิสัมพันธนิยม (Transactionalism) ปรำกฎในงำนของ Karl
W. Deutsch ได้เน้นย้าถึงความสาคัญของการทากิจกรรมข้ามชาติระหว่างกันจะก่อให้เกิด
สั น ติ ภ าพระหว่ า งประเทศ และจะก่ อ ให้ เ กิ ด ประชาคมแห่ ง ความมั่ น คง ( security
community) ที่ผู้คนเกิดการรวมกัน การรวมกันที่ว่านี้ก็คือ การที่ประชาชนมีความรู้สึกของ
สังคม (sense of community) ซึ่งก็คือการที่ผู้คนสามารถตกลงกันได้ว่าปัญหาหรือความ
ขัดแย้งของพวกเขานั้นสามารถแก้ไขได้โดยมิต้องใช้กาลัง ในประชาคมแบบนี้จะทาหน้าที่รวม
สมาชิกเข้าด้วยกัน กระบวนการนี้เรียกว่า กระบวนการรวมกลุ่ม (Integrative process)
ประชาคมแห่งความมั่นคงในทัศนะของ Deutsch (1953) มีกระบวนการ ได้แก่
1) มี ก ารผสมผสานทางการเมื อ ง (political amalgamation) หมายถึ ง มี ก ารรวม
หน่อยการเมืองหรือหน่วยที่มีอานาจควบคุมเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน
2) มี ก ารรวมกลุ่ ม แบบประชาคมความมั่ น คงแบบพหุ นิ ย ม (Pluralistic Security
Communities) กล่าวคือ การรวมกลุ่มของหน่วยการเมืองที่ไม่จาเป็นต้องผสาน
กันทางการเมือง และไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน แต่เมื่อรวมกลุ่มกันแล้วทาให้ สนอง
ความต้ อ งการของหน่ ว ยการเมื อ งนั้ น มี ค่ า นิ ย มที่ ส อดคล้ อ งกั น และมี ก าร
ติดต่อสื่อสารกันอยู่เสมอ
3) การรวมตัวกันโดยผสมกลมกลืน (assimilation) กล่าวคือ ทาให้หน่วยการเมืองมี
ภาษา วัฒนธรรม อุปนิสัย ระบบเศรษฐกิจและสถาบันการเมืองให้เป็นเอกภาพ
หรือเป็นหนึ่งเดียวกันให้มากที่สุด
4) การรวมกันในด้านจิตวิทยา ทาให้แนวคิด ความรู้สึกรวมทั้งการดาเนินชีวิ ตของ
ประชาคมมีความคล้ายคลึงกันเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน

124
124
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

5) การรวมกลุ่มอย่างสันติ (simple pacification) คือการรวมกลุ่มทางการเมืองที่


ยอมรับอุดมการณ์ร่วมกั นบางอย่างที่จะนามาซึ่งสันติของสมาชิก ในกลุ่ม ไม่ใช่
สงครามเป็นเครื่องมือทางการเมืองและตกลงจะลดกาลังอาวุธของตน
6) การรวมกลุ่ ม โดยท าหน้ า ให้ ทุ ก ฝ่ า ยพึ่ ง พาอาศั ย ซึ่ ง กั น และกั น (mutual
interdependence) หมายถึงสมาชิกของประชาคมมีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ
ที่ไม่เหมือนกันและพึ่งพาอาศัยกัน

แนวคิดภำรกิจนิยม (Functionalism) ถือเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ใช้อธิบายความ


ร่วมมือระหว่างรัฐและการบูรณาการระดับภูมิภาคและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางใน
ทศวรรษที่ 1950 นักวิชาการที่สาคัญได้แก่ David Mitrany ที่ได้รับอิทธิพลจากประชาธิปไตย
สังคมเฟเบี้ยน(Fabian Social Democracy) เขามองว่าสงครามมิ ได้เกิดมาจากข้ออ้างที่ว่า
มนุษย์มีธรรมชาติที่โหดร้ายแต่มองว่าสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่โหดร้ายส่งผลให้มนุษย์
มีความก้าวร้าว หากมีสถาบันที่เป็นองค์กรเหนือชาติที่มีธรรมเนียมประเพณีและแนวความคิด
ที่เน้นสันติจะสามารถช่วยแก้ไขความขัดแย้งและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของมนุษย์ได้ Mitrany
เสนออี ก ว่ า รั ฐ จะต้ อ งจั ด หาสิ น ค้ า และบริ ก ารเพื่ อ สนองความจ าเป็ น ร่ ว มกั น ( common
needs) อีกทั้งมีความเชื่อว่าประชาชนควรจะเปลี่ยนความภักดีต่อชาติไปเป็นความภักดีต่อ
องค์การตามภาระหน้าที่ (Functional Organizations) ความภักดีเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้เพราะ
ประชาชนมองว่า การจัดหาสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับความร่วมมือข้ามชาติ (Transnational
Cooperation)
ต่อมา Ernst B. Hass ได้พัฒนาแนวคิดภารกิจ นิย มและนาเสนอแนวคิดภำรกิจ
นิย มใหม่ (Neo-functionalism)ในปี 1958 โดยเสนอว่า การบูรณาการจะดาเนินไปได้
ด้วยดีต้องเริ่มต้นจากความร่วมมือในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อกันและคาบเกี่ยวซึ่งกันและกัน
(Areas of Mutual and Overlapping Interest) ในรูปแบบของการพัฒนาไปทีละขั้นตอน
ความภักดีของประชาชนต่อรัฐของตนจะค่อยๆแปรเปลี่ยนไปจนเลือนหายเนื่องจากเขาเห็นว่า
กระบวนการการบูรณาการได้ให้ประโยชน์แก่ พวกเขา ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
กับแนวคิดภารกิจนิยม แต่สิ่งที่ทาให้แนวคิดภารกิจนิยมใหม่แตกต่างออกไป ได้แก่
1) แนวคิดภารกิจนิยมใหม่เน้นความสาคัญของการบูรณาการในระดับภูมิภาค
(Regional Integration) มากกว่ า การบู ร ณาการระดั บ โลก ( Global
Integration)
2) แนวคิดภารกิจนิยมใหม่ เชื่อว่าเมื่อการเกิดความร่วมมือหรือการบูรณาการใน
กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง จะส่งผลให้เกิดการไหลล้น (spill over) หรือตรรกะ
การขยายตั ว ของการบู ร ณาการ (expensive logic of integration) ไปสู่

125
125 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

กิจกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่มีระดับการพึ่งพากัน
และกันสูงในขณะนั้นหรือในอนาคต
จะเห็นได้ว่า แนวคิดเสรีนิย มเชิงบูรณาการในยุคนี้ได้เสนอวิธีก ารที่จ ะนามาซึ่ง
สันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง รัฐทั้งหลายควรร่วมมือกันและยอมสละอานาจอธิปไตย
บางส่ ว นเพื่ อ สร้ า งประชาคมที่ บู ร ณาการ (Integrated Community) เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาต่างๆภายในภูมิภาค ตัวอย่างที่เด่นชัด
ที่สุดคือ กำรก่อตั้งสหภำพยุโรป (European Union: EU) ถือเป็นการรวมตัวของประชาคม
ระดับภูมิภาคซึ่งเริ่มต้นมาจากการกระตุ้นความร่วมมือในการผลิตถ่านหินและเหล็กกล้า และ
ก่ อ ตั้ ง เป็ น ประชาคมถ่ า นหิ น และเหล็ ก กล้ า แห่ ง ยุ โ รป ( European Coal and Steel
Community: ECSC) ในปี 1951 ซึ่ ง ถื อ เป็ น ครั้ ง แรกที่ รั ฐ สมาชิ ก ตกลงใจที่ จ ะสละอ านาจ
อธิ ป ไตยบางส่ ว นให้ กั บ องค์ ก รเหนื อ รั ฐ 13 อี ก ทั้ ง ยั ง ได้ ข ยายความร่ ว มมื อ เป็ น ประชาคม
เศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู
แห่งยุโรป (European Atomic Energy Community: EAEC) นาไปสู่การรวมตัวกันในนาม
ประชาคมยุโรป (European Community: EC) ภายใต้การลงนามในสนธิสัญญาบรัสเซลส์
(Brussels Treaty) ในปี 1965 และสมาชิ ก สามารถร่ ว มลงนามในสนธิ สั ญ ญามาสทริ ช ท์
(Maastricht Treaty) หรื อ ชื่ อ อย่ า งเป็ น ทางการว่ า สนธิ สั ญ ญาสหภาพยุ โ รป (Treaty on
European Union: TEU) ในปี 1993 เพื่อจัดตั้งสหภาพยุโรปที่มีลักษณะประชาคม “เหนือ
ชาติ” (supranational) ที่ขยายความร่วมมือไปสู่การบูรณาการทางการเมืองและเศรษฐกิจที่
ลึกซึ้งยิ่งขึ้นโดยการจัดตั้งสถาบันที่เป็น 3 เสาหลักเพื่อดาเนินการดังกล่าว อันได้แก่เสาที่หนึ่ง
ประชาคมยุโรป (EC) ครอบคลุมการดาเนินงานของสหภาพเศรษฐกิจและการเงินของยุโ รป
(Economic and Monetary Union: EMU) เสาที่สอง คือ นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศ
และความมั่นคง (Common Foreign and Security: CFSP) เพื่อนาไปสู่ก ารเป็น สหภาพ
การเมืองแห่งยุโรป (European Political Union: EPU) ที่ขยายความร่วมมือทางการเมือง
ไปสู่ด้านความมั่นคง เสาที่สาม คือ ด้านกิจการยุติธรรมและกิจกรรมภายใน (Justice and
Home Affairs: JHA) เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนภายในสหภาพยุโ รป
เช่น การเคลื่อนย้ายโดยเสรี ผู้ลี้ภัยและคนเข้าเมือง รวมถึงความร่วมมือด้านตุลาการและ
ตารวจ (ขจิต, 2553: 319-24)

13หลังจากการจัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป มีความพยายามรวมตัวทางการเมือง
และความมั่นคงโดยการจัดตั้ง ประชาคมการป้องกันแห่งยุโรป (European Defense Community:
EDC) และประชาคมทางการเมืองแห่งยุโรป (European Political Community: EPC) แต่ก็ล้มเหลว

126
126
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

แนวความคิดการบูรณาการที่กล่าวไปข้างต้นนั้นมีลักษณะเชิงอุดมคติน้อยลงและ
เน้นการปฏิบัติได้จ ริงมากกว่าแนวคิดสากลนิย มเชิงเสรี (liberal internationalism) หลัง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จะเห็นได้ว่างานศึกษาของนักวิชาการกลุ่มนี้เป็นงานในเชิงพหุนิย ม
(pluralism literature) ซึ่งท้าทายนักวิชาการสัจนิยมที่เชื่อมั่นความสาคัญและความมีเหตุผล
ของรัฐในฐานะตัวแสดงหลัก พวกพหุนิยมเชื่อว่าความหลากหลายของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐและ
กระบวนการต่างๆกาลังทาลายเส้นคั่นระหว่างกิจการภายในและกิจการระหว่างรัฐ

5.4.2 ควำมสัมพันธ์ข้ำมชำติ (Transnationalism)


ในช่ ว งต้ น ทศวรรษที่ 1970 บทบาทของตั ว แสดงที่ มิ ใ ช่ รั ฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บรรษัทข้ามชาติกลายที่เพิ่มจานวนขึ้นกลายมาเป็นตัวแสดงที่ท้าทายสถานะและบทบาทของ
รัฐ ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกกาลังขยายตัวประกอบกับบรรยากาศการเมือง
ระหว่างประเทศที่กาลังเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐอาหรับและอิสราเอล จนนาไปสู่เหตุการณ์
“Oil Shock” ในปี 1973 ที่รัฐผู้ผลิตและส่งออกน้ามันในกลุ่ม OPEC ใช้น้ามันเป็นเครื่องมือ
ต่อรองทางการเมือง โดยเลือกที่จะขายน้ามันให้กลุ่มประเทศที่เป็นพันธมิตรกับตนเองในราคา
ปกติ ขณะที่ประเทศเป็นกลางจะถูกจากัดปริมาณน้ามันให้น้อยลง และขายในราคาที่แพงขึ้น
สาหรับประเทศที่เป็นปฏิปักษ์โอเปคจะงดการขายน้ามันให้ จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า
“เศรษฐกิ จ ” กลายเป็น “การเมืองระดับสูง ” (high politics) จากเดิมที่มองว่าเป็นเพีย ง
“การเมืองระดับล่าง” (low politics)
ถึงแม้ว่าบรรยากาศในทศวรรษที่ 1970 จะยังอยู่ในบรรยากาศของสงครามเย็น
และประเด็นความมั่นคงยังเป็นประเด็นหลักของการดาเนินนโยบายของรัฐก็ตาม เราจะพบ
เห็นบรรยากาศของการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างมหาอานาจ ที่เรียกว่า Détente
สหรัฐอเมริกายังเลือกที่จะดาเนินนโยบายที่เลือกจีนเป็นพันธมิตรโดยการปรับความสัมพันธ์
ทางการทูตในระดับปกติ (normalization) อีกทั้งแนวคิดสานักสัจนิยมที่เน้นการอธิบายเรื่อง
อานาจยังไม่สามารถอธิบายถึงความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกาในการถอนทัพออกจากสงคราม
เวียดนามในปี 1975
จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้มีการพัฒนาแนวคิดในการศึกษาความสั ม พั นธ์
ระหว่างประเทศทั้งในสานักสัจนิยมและเสรีนิยม ในปี 1971 และ 1972 ได้มีงานสาคัญ 2 ชิ้น
ที่เป็นการวิจ ารณ์ก ารอธิบ ายของส านัก สัจ นิย ม คือ ข้อวิจ ารณ์ของ John W. Burton ใน
World Society ที่นาเสนอ “cobweb model” ของตัวแสดงรัฐที่หลากหลายและตัวแสดงที่
มิใช่รัฐว่าใช้อธิบายความเป็นจริง กว่าตัวแบบของสัจนิยมที่เรียกว่า “billiard ball model”

127
127 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

(Viotti & Kuppi, 2012: 142-143) นอกจากนั้นเขายังเสนอว่าแนวคิด “สังคมโลก” (World


Society) มีความเที่ยงตรงในเชิงบรรยายมากกว่าแนวคิดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แผนภำพที่ 5.2 The billiard model และ The cobweb model

ผลงานอี ก ชิ้ น ในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น คื อ Transnational Relations and World


Politics ของ Robert Keohane และ Joseph Nye (1971) ให้ความสาคัญกับบทบาทของ
บ ร ร ษั ท ข้ า ม ช า ติ แ ล ะ อ ง ค์ ก า ร ข้ า ม ช า ติ อื่ น ๆ แ ล ะ อ ง ค์ ก ร ที่ มิ ใ ช่ ภ า ค รั ฐ บ า ล
(nongovernmental, transnational organizations)ตั ว กระท าการในระบบราชการ
(bureaucratic agencies) หน่วยงานของรัฐบาลซึ่งมีสิทธิและอานาจปฏิบัติการข้ามพรมแดน
ของรัฐ หรือในบางคราวที่อาจจัดตั้งแนวร่วมข้ามรัฐบาล (transgovermental coaliations)
และแนวร่วมกับรัฐอื่นๆเพื่อตอบโต้รัฐตรงข้า ม ในที่นี่อาจกล่าวเป้นตัวอย่างได้ คือ บรรดา
นั ก การทู ต และเจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ ในรั ฐ บาลของสหรั ฐ อเมริ ก าต้ อ งหาข้ อ ตกลงร่ ว มกั น
(common ground) กับผู้เชี่ยวชาญในเยอรมนีหรืออังกฤษในประเด็นต่างๆ เช่น การควบคุม
อาวุธซึ่งอาจจะไม่เห็นพ้องด้วยกับความคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นต้น
นอกจากนั้ น James Rosenau เสนอว่ า ความสั ม พั น ธ์ ข้ า มชาติ ค รอบคลุ ม ทั้ ง
ความสัมพันธ์และความร่วมมือของตัวแสดงข้ามชาติอ่ืนๆจะทวีความสาคัญขึ้นเนื่องจากตัว
แสดงข้ามชาติเหล่านี้มีช่องทางต่างๆมากขึ้น เช่น การติดต่อสื่อสารต่างๆหรือได้รับการพัฒนา
ทางการศึก ษา ในขณะเดีย วกั นความสามารถของรัฐในการควบคุมและการตั้งข้อก าหนด
กฎเกณฑ์ต่างๆมีลักษณะลดน้อยลง ตัวแสดงข้ามชาติเหล่านี้มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพะ
อย่างยิ่ง องค์การการพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ
โดยสรุปแล้ว แนวคิดความสัมพันธ์ข้ามชาติเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ ของ
เอกชน กลุ่ม และองค์กรต่างๆที่มีผลต่อการเมืองโลก ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่วเป็นการพิจารณา

128
128
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลเท่านั้น แนวคิดนี้จึงถือเป็นแนวคิดที่เติมเต็ม
แนวคิดเสรีนิยมได้อย่างดีซึ่งแสดงให้เห็นถึง “ตัวแสดงข้ามชาติ” ที่มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในโลก
ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการศึกษาในแนวทางนี้จึงเน้นการศึกษา “ตัวแสดง ปฏิสัมพันธ์และแนว
ร่วม” ที่รัฐต่างๆก่อตั้งข้ามพรมแดนของตน
5.4.3 กำรพึ่งพำอำศัยซึ่งกันและกัน (interdependence)
ผลงาน Power and Interdependence: World Politics in Transition ของ
Robert Keohane และ Joseph Nye (1977) ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องการพึ่งพาอาศัยกั นโดย
การนาเรื่องอานาจเข้ามาสู่การพิจารณาด้วย โดยเสนอว่า การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่าง
ซับซ้อนมีลักษณะที่สาคัญ ได้แก่
1) ช่องทางที่หลากหลาย (Multiple Channels) สาหรับการติดต่อระหว่างรัฐ
โดยการข้ามพรมแดนของชาติ รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างรัฐและตัว
แสดงที่ไม่ใช่รัฐ หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ข้ามชาติระหว่างปัจเจกบุค คลกั บ
กลุ่มต่างๆที่อยู่ภายนอกรัฐจะมีมากขึ้น
2) ประเด็นใหม่ๆในกิจการระหว่างประเทศที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างการเมือง
ระดับสูง (high politics) ที่เน้นความสาคัญของความมั่นคงและความอยู่รอด
และการเมืองระดับล่าง (low politics) ที่ให้ความสาคัญ กั บเศรษฐกิจและ
สังคม อีกทั้งขาดการลาดับความสาคัญกับประเด็นใดเป็นพิเศษ (absence of
hierarchy among issues)
3) ความเสื่อมลงของก าลังอานาจของกองทัพในฐานะที่ เป็นเครื่องมือดาเนิน
นโยบายของรัฐ

129
129 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ตำรำงที่5.3 เปรียบเทียบควำมแตกต่ำงของกระบวนกำรภำยใต้เงือ่ นไขระหว่ำงทฤษฎีสัจนิยมและ


แนวคิดกำรพึ่งพำอำศัยกันอย่ำงสลับซับซ้อน (Keohane & Nye, 2011: 31)

สัจนิยม กำรพึ่งพำอำศัยกันอย่ำงสลับซับซ้อน
เป้ำหมำยของ เป้าหมายหลักของรัฐคือ เป้าหมายของรัฐจะเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่
ตัวแสดง ความมั่นคงทางการทหาร ทางประเด็น (issue area) การเมืองข้าม
รัฐบาลจะสร้างเป้าหมายที่ยุ่งยากต่อการให้
ความหมายของตัวแสดงข้ามชาติ
เครื่องมือของ กองกาลังทหารจะเป็นสิ่ง เครื่องมือสาคัญ ได้แก่ การจัดการของการ
นโยบำยแห่งรัฐ ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด พึ่งพาอาศัยกัน องค์การระหว่างประเทศและ
แม้ว่าปัจจัยอื่นๆเช่น ตัวแสดงข้ามชาติ
เศรษฐกิจจะถูกนามาใช้
บ้างในบางโอกาส
กำรสร้ำงวำระ การเปลี่ยนแปลงในระบบ วาระจะได้รับผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลง
ดุลอานาจและการคุกคาม ในการกระจายของแหล่งอานาจภายในพื้นที่
ด้านความมั่นคงจะเป็นตัวประเด็น: สถานะของระบอบระหว่างประเทศ
สร้างวาระในการเมือง การเปลี่ยนแปลงในความสาคัญของตัวแสดง
ระดับสูง อีกทั้งจะมี ข้ามชาติ ความเกี่ยวพันจากประเด็นอื่นๆและ
อิทธิพลต่อวาระอื่นๆ การทาให้เป็นการเมืองอันเป็นผลมาจากการ
พึ่งพาอาศัยกันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
กำรเชื่อมต่อ การเชื่อมต่อ(เกี่ยวพัน)จะ การเชื่อมต่อโดยรัฐเข้มแข็งจะปฎิบัตยิ าก
ของประเด็น ลดความแตกต่างใน เนื่องจากการใช้กาลังจะไม่เกิดประสิทธิภาพ
ต่ำงๆ ผลลัพธ์ในระหว่าง issue การเชื่อมต่อโดยรัฐอ่อนแอผ่านทางองค์การ
areas และเสริมสร้าง ระหว่างประเทศจะผุกร่อนมากกว่าสร้างเสริม
ลาดับชั้นระหว่างประเทศ ลาดับชั้น
บทบำทของ มี บ ทบาทน้ อ ย ถู ก จ ากั ด องค์การจะเป็นตัวสร้างวาระ
องค์กำรระหว่ำง โดยอ านาจของรั ฐ และ
ประเทศ ความสาคัญของกองกาลัง
ทหาร

130
130
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

5.4.4 ระบอบระหว่ำงประเทศ (International regimes)

แนวคิดระบอบระหว่างประเทศเป็นแนวคิดที่นาเสนอโดย Stephen D.Krasner


ปรากฎในวารสาร International Organization ซึ่งพัฒนาแนวคิดมาจากแนวคิดการพึ่งพา
อาศัยกันอย่างสลับซับซ้อน Krasner เสนอว่าระบอบระหว่างประเทศ มีความหมายถึง ชุด
ของหลั ก การ บรรทั ด ฐาน ความตกลง และกระบวนการการตั ด สิ น ใจต่ า งๆซึ่ ง ไม่ ว่ า จะ
แสดงออกอย่างเด่นชัดหรือไม่ก็ ตาม สามารถอานวยให้ความคาดหวังของบรรดาตัวแสดง
ระหว่างประเทศมาบรรจบกันบนประเด็น ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านหนึ่งๆได้ ”
(ขจิต, 2552: 31-32) โดยมีสมมติฐานว่า บรรดาสถาบันระหว่างประเทศ สนธิสัญญาระหว่าง
ประเทศและกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆซึ่งไม่จาเป็นต้องมีฐานทางกฎหมาย
ชัดเจนและแน่ชัดเฉพาะเจาะจงสามารถก่อให้เกิดกระบวนการการจัดการกั บข้อขัดแย้ง ซึ่งจะ
มีส่วนในการก าหนดรูปแบบและพลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยหน้าที่ของ
ระบอบระหว่างประเทศสาคัญอันได้แก่
1) ส่งเสริมให้เกิ ดพัฒนาการของการประพฤติปฎิบัติทางสังคมร่วมกันและภายใน
แนวทางเดียวกันจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา
2) กาหนดกติกาต่างๆโดยระบุถึ งพฤติกรรมอันชอบธรรมทึพึงมีสาหรับแต่ละกิจกรรม
เป็นการเฉพาะ
3) ทาให้รัฐบาลและตัวแสดงระหว่างประเทศต่างๆมีความคาดหวังที่เป็นไปอย่างมี
ทิศทาง
4) ส่งเสริมการผลิตและการหมุนเวียนของข้อมูลข่าวสาร และช่วยรัฐบาลรวมทั้งตัว
แสดงระหว่างประเทศตัดสินใจเลือกข้อมูลต่างๆได้อย่างมีเหตุผล

ตัวอย่างที่เห็นได้ ชัด คือ การจัดทากฎหมายระหว่างประเทศว่ าด้ วยการปฏิ บั ติ


ระหว่างรัฐหรือการสร้างกฎระเบียบว่าด้วยกติการการค้าในองค์การการค้าโลก

ส่ ว น Keohane และ Nye (2011) ได้ นิ ย ามระบอบระหว่ า งประเทศไว้ ว่ า เป็ น


“เครือข่ายของกฎเกณฑ์ บรรทัดฐานและกระบวนการที่ทาให้พฤติกรรมและการควบคุม
ผลกระทบต่างๆให้เป็นปกติ ” ซึ่งในนิยามนี้กระบวนการที่กล่าวถึงนั้นคือ สถาบันต่างๆ ซึ่งมี
การอธิบายเพิ่มเติมว่ามีปัจจัย 3 ประการที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบระหว่างประเทศ

1) กระบวนการทางเศรษฐกิ จ และการเปลี่ ย นแปลงทางเทคโนโลยี (economic


process/technological process) เป็นการมองว่าระบอบระหว่างประเทศเกิ ด

131
131 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ขึ้นมา เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมด้วยเศรษฐกิจหรือเทคโนโลยีที่
เปลี่ย นไป เช่น ระบอบระหว่างประเทศที่เกี่ ย วข้องกั บโทรคมนาคมร ะหว่าง
ประเทศนั้นเกิดขึ้นเพราะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการส่งดาวเทียม
จึ ง จ าเป็ น ที่ ต้ อ งมี ก ารจั ด ระเบี ย บ เราเรี ย กระเบี ย บเช่ น นี้ ว่ า “International
Telecommunication Regime” เกิดขึ้นมาจากกระบวนการทางเทคโนโลยี
2) ประเด็นทางอานาจเป็นการวิเคราะห์เชิงลึกต่อระบอบระหว่างประเทศว่า อานาจ
เป็นปัจ จัย สาคัญในการเปลี่ย นแปลงระบอบระหว่างประเทศ ซึ่งได้เสนอไว้ 2
ประเด็นย่อยคือ overall power อันหมายถึงอานาจโดยส่วนรมทั้งหมดและ issue
power อันหมายถึง อานาจในแต่ละประเด็น สามารถยกตัวอย่างได้จาก ญี่ปุ่นมี
อานาจทางเศรษฐกิจที่ไม่รองเป็นใคร แต่หากพิจารณาอานาจทางทหารแล้วญี่ปุ่น
ยังมีข้อจากัด เราจะมองอานาจทางทหารของญี่ปุ่นเป็น overall power มิได้ต้อง
มองเพียง issue power
3) ก ร ะ บ ว น ก า ร เ ชิ ง อ ง ค์ ก า ร ใ น ร ะ ดั บ ร ะ ห ว่ า ง ป ร ะ เ ท ศ ( International
organizational process) ที่เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบระหว่างประเทศเป็น
ผลมาจากการเจรจาต่อรองทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศ
5.4.5 สถำบันนิยมระหว่ำงประเทศ (institutionalism)

สถาบันนิยมหรือการสร้างสถาบันระหว่างประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริ มความร่วมมือ


ระหว่างประเทศ และลดความหวาดระแวงเพื่อนาไปสู่การสร้างสันติภาพ ซึ่งความร่วมมือใน
ด้ า นหนึ่ ง ด้ า นหนึ่ ง อาจจะขยายตั ว ไปสู่ ด้ า นอื่ น ๆแนวคิ ด นี้ สื บ เนื่ อ งมาจากแนวคิ ด ของ
ประธานาธิบดีWilson ที่ต้องการสถานาสันติภาพโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศที่เขาเชื่อ
ว่าแปรสภาพการเมืองระหว่างประเทศที่เปรีย บเป็น “ป่า” ที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายให้กลายเป็น
“สวนสัตว์” ที่สงบและเป็นระเบียบ แต่แนวคิดเสรีนิยมเชิงสถาบันนี้เริ่มมองโลกที่เป็นอุดมคติ
น้อยลงโดยยังคงมองว่า การสร้างสถาบันระหว่างประเทศจะสร้างความร่วมมือได้ง่ายกว่าแต่
ไม่รับประกันว่าจะสามารถแปรสภาพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจาก “ป่า” เป็น สวน
สัตว์” ได้หรือไม่
Keohane ได้กล่าวถึงบทบาทของสถาบันระหว่างประเทศที่สาคัญไว้ 3 ประการ
1) เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและโอกาสที่จะเจรจาต่อรองกัน
2) เพิ่มความสามารถของรัฐบาลที่จะดูว่ารัฐอื่นได้ทาตามข้อตกลงที่มีร่ว มกั น
หรือไม่
3) ทาให้ความคาดหวังเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศมีความแข็งแกร่งขึ้น

132
132
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ในที่นี้ ผู้เขีย นจะขอนาเสนอการเชื่อ มร้ อย (articulate) แนวคิดเสรีนิย มที่ เ น้ น


สถาบันไว้ในหัวข้อถัดไปเพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของเสรีนิยมเชิงสถาบันหรือที่เรียกกัน
ว่าเสรีนิยมใหม่นั้นมีความแตกต่างจากเสรีนิยมในแนวทางเดิมอย่างไร

5.5 ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่หรือเสรีนิยมใหม่เชิงสถำบัน (Neo-Liberalism/ Neo-institutional


Liberalism)

ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) เป็นการผสานแนวความคิดระหว่างเสรี


นิยมเชิงพึ่งพาอาศัยกันและเสรีนิยมเชิงสถาบัน อีกทั้งการนาทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล
(Rational Choice Theory) และทฤษฎี เ กม (Game Theory) เข้ า มาประยุ ก ต์ เ พื่ อ สร้ า ง
กรอบแนวคิด สิ่งที่สาคัญที่สุดของทฤษฎีเสรีนิยมใหม่คือการให้ความสาคัญกับสถาบันระหว่าง
ประเทศแผลงานของทฤษฎี เ สรีนิ ย มใหม่ ถือ ก าเนิ ด และเริ่ม “ก่ อ ตั ว ” ขึ้ น มาจากผลงาน
“Power and Interdependence” ของ Keohane และ Nye โดยท้าทายทฤษฎีสั จ นิ ย ม
ด้ ว ยการสร้ า งแนวคิ ด ขึ้ น จากข้ อ สมมติ ฐ านของสั จ นิ ย มเอง ทฤษฎี เ สรี นิ ย มใหม่ เ ชื่ อ ว่ า
“ถึงแม้ว่าโลกจะเป็นสภาวะอนาธิปไตย แต่ความร่วมมือก็เกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังยอมรับว่าความ
ร่วมมืออาจจะเกิดความยุ่งยากที่จะประสบความสาเร็จแต่ก็เกิดขึ้นได้ด้วยการเติบโตของ
สถาบันระหว่างประเทศและระบอบระหว่างประเทศ
หลักการของทฤษฎีเสรีนิยมใหม่หรือเสรีนิยมเชิงสถาบันได้รับการขยายความและ
เติ ม เต็ ม ให้ ส มบู ร ณ์ ใ นผลงาน “After Hegemony: Cooperation and Discord in the
World Political Economy” ในปี 1984 ของ Keohane ซึ่งนับว่า เป็น “หมุดหมาย”ของ
การสถาปนาตาแหน่งแห่งที่ของทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ ผลงานชิ้ นนื้ถือเป็นความพยายามหนึ่ง
ของ Keohane ที่สังเคราะห์ทฤษฎีสัจนิยมใหม่หรือสัจนิยมเชิงโครงสร้างและการพึ่งพาอาศัย
กันอย่างสลับซ้อนเข้าด้วยกัน ดังนั้นแนวคิดนี้จึงมีชื่อเรียกอื่นๆว่าสัจนิยมเชิงโครงสร้างที่ได้รับ
การปรั บ ปรุ ง (Modified Structural Realism)หรื อ สถาบั น นิ ย มเชิ ง เสรี ใ หม่ (neoliberal
institutionalism) โดยเน้นความสาคัญของ “สถาบันระหว่างประเทศ” ซึ่งได้พัฒนากรอบ
ความคิดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ผลงาน Power and Interdependence ที่นาเสนอรูปแบบ
องค์การระหว่างประเทศของการเปลี่ยนแปลงทางระบอบ (the international organization
model of regime change) รวมทั้งผลงานที่ผลิตอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ 1980
ในผลงานนี้ Keohane ตั้งคาถามว่า ระบบระหว่างประเทศจะมีพัฒนาการไปสู่
องค์ประกอบที่มั่นคงของความร่วมมือในขณะที่อานาจของสหรัฐอเมริกาเริ่มลดลงเมื่อเทียบ
กั บญี่ปุ่นและยุโ รปตั้ง แต่ ปี 1945 ได้อย่างไร (Griffiths, Roach & Solomon, 2009: 109)

133
133 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

แนวคิดเรื่องความร่วมมือตั้งอยู่บนพื้นฐานของอรรถประโยชน์เชิงหน้าที่ของระบอบ (the
functional utility of regimes) ซึ่งรักษาผลประโยชน์ระยะยาวและและผลประโยชน์ที่เป็น
เหตุเป็นผลของรัฐในความร่วมมือถาวร (perpetuating co-operation) ทั้งที่มีการเปลี่ย น
ผ่านในดุลแห่งอานาจ เขาเสนอว่าระบอบดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการความล้มเหลวของ
ตลาดทางการเมือง ระบอบเหล่านี้จะ ลดต้นทุนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศลงโดยกาหนด
ขอบเขตปฏิสัมพันธ์ทั้งที่อนุญาตได้และไม่ได้ หรือโดยการผนวกปฏิสัมพันธ์ผ่านการเชื่อมโยง
ประเด็นทาให้รัฐสามารถรวบรวมข้อตกลงต่างๆ และโดยการลดความไม่แน่นอน โดยสรุปแล้ว
การรักษาความร่วมมือเชิงสถาบันระหว่างรัฐมิได้ขึ้นอยู่กับสภาพถาวรของเงื่อนไขความเป็น
เจ้ามหาอานาจซึ่งจาเป็นต่อการสร้างระบอบให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย Keohane ยังได้นา
แนวคิดเชิงหน้าที่ ของความร่วมมือเชิงสถาบันโดยการตรวจสอบประเด็นต่างๆเช่น การค้า
น้ามันและการเงินเขาพบว่าความเสื่อมอานาจของสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ
อธิบายความอ่อนแอของระบอบ แม้แต่ก่อนทศวรรษ 1970 ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะครอง
ความเป็นมหาอานาจ แต่บรรดาประเทศอุตสาหรรมก็เริ่มที่จะพยายามประสานนโยบายเข้า
กับเศรษฐกิจการเมืองของโลก จะไม่ย้อนกลับไปดาเนินนโยบายสร้างความยากจนให้ประเทศ
เพื่อนบ้าน (beggar-thy-neighborpolicy) ดังเช่นในทศวรรษที่ 1930 อีกทั้งการค้าระหว่าง
ประเทศจะไม่ตกเป็นเหยื่อของการกีดกันที่เข้มงวดในยุโรป อเมริกา และเอเชีย
Keohane ยอมรับสมมติฐานของทฤษฎีสัจนิยมใหม่หลายประการ 14 เช่น รัฐเป็น
ตัวแสดงที่สาคัญในระบบระหว่างประเทศ สภาวะอนาธิปไตย แต่ต่างก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน
ไป กล่าวคือ
ประการที่หนึ่ง ในมุมมองเรื่องอนาธิปไตย ถึงแม้ว่าสัจนิยมใหม่และเสรีนิยมจะมี
ความเชื่อในเรื่องนี้เช่นเดียวกันว่า ไม่มีลาดับขั้นของรัฐที่แน่นอนในสภาวะที่ไร้อานาจสูงสุด
แต่ทฤษฎีสัจนิยมใหม่มองว่าสภาวะอนาธิปไตยเป็นสภาวะที่รวมเข้าไว้ทั้งหมด ไม่เปลี่ยนแปลง
(all–encompassing, unchanging condition) เป็ น สภาวะที่ ม นุ ษ ย์ ถู ก ครอบง าการไม่
สามารถควบคุมนโยบายและรับประกันความอยู่รอดก่ อให้เกิด ความกลัวและขับเคลื่อ นสู่
อานาจซึ่งถือเป็นวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานของทฤษฎีสัจนิยม ในทางตรงข้าม ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่

14 Jackson และ Sorensen แบ่งนักวิชาการสายเสรีนิยมที่มีปฏิกิริยาต่อทฤษฎีสัจนิยมใหม่เป็น 2


กลุ่มคือ Weak Liberals และ Strong Liberals กล่าวคือ Weak Liberals จะหมายถึงนักวิชาการ
เสรีนิยมที่ยอมรับข้อสมมติฐานและหยิบยืมทฤษฎีของสัจนิยมมาเป็นฐานในการพัฒนาทฤษฎีของตน
ซึ่งในที่นี้รวมถึง Keohane และ Nye ส่วน Strong Liberals หมายถึงกลุ่มนักวิชาการที่มองว่าโลก
มีการเปลี่ยนแปลงในขั้นพื้นฐานบางประการซึ่งยังคงสอดคล้องกับความคาดหวังในเชิงเสรีอยู่ ดังนั้น
คาว่า weak กับ strong จึงมิได้หมายถึงความแข็งแกร่งทางด้านวิชาการของนักคิดเสรีนิยมทั้งสอง
กลุ่ม หากแต่เป็นการแบ่งกลุ่มเรื่องระดับการยอมรับแนวคิดทฤษฎีสัจนิยม

134
134
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

มองสภาวะอนาธิ ป ไตยเป็ น ดั่ ง ภาวะสู ญ ญากาศ (a vacuum) ซึ่ ง จะถู ก เติ ม เต็ ม ด้ ว ย
กระบวนการและสถาบันที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการศึกษาพัฒนาการ
ทางประวัติศาสตร์ที่ต่างมุมมองกัน นักทฤษฎีสายสัจนิยมใหม่จึงมุ่งศึกษาเรื่องสงครามและ
การทหาร การแข่งขันทางการค้าระหว่างรัฐในฐานะการยืนยันต่อคุณภาพของอนาธิปไตยที่ไม่
แปรเปลี่ ย น (unchanging quality of anarchy) ในขณะที่ ท ฤษฎี เ สรี นิ ย มใหม่ เ น้ น ย้ าว่ า
สภาวะอนาธิ ป ไตยไม่ จ าเป็ น ต้ อ งสั ม พั น ธ์ กั บ การเกิ ด สงคราม ทฤษฎี เ สรี นิ ย มใหม่ เ ชื่ อ ว่า
ถึงแม้ว่าความร่วมมือนั้นจะเกิดขึ้นยากในสภาวะอนาธิปไตยระหว่างประเทศแต่จะเกิดได้ง่าย
ขึ้นหากมี “สถาบัน” เป็นตัวกลางเชื่อมความร่วมมือระหว่างรัฐ อีกทั้งเชื่อว่า ความร่วมมือ
ระหว่างรัฐจะเกิดได้นั้นรัฐต้องปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความพึงพอใจของผู้อื่น
ประการที่สอง ทฤษฎีเสรีนิย มเน้นให้เห็นว่า มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ใน
ศตวรรษที่ 20 อยู่ 2 ประเด็นที่ทฤษฎีสัจนิยมใหม่ไม่สามารถอธิบายการเมืองของโลกได้ ได้แก่
(Sterling-Folker, 2013: 117-118) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เป็นการพึ่งพาอาศัยกันที่
มากขึ้ น ในประเด็ น ที่ ห ลากหลายอั น เป็ น ผลมาจากความก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี แ ละ
อุตสาหกรรม และความไม่แม่นยาของทฤษฎีสัจนิยมกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วม
สมัยก็คือ ช่วงเวลาเสถียรภาพแห่งความเป็นเจ้า (The period of hegemonic stability) ที่
มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ประการสุดท้าย เรื่อง สัจนิยมใหม่เชื่อในเรื่องกำรได้เชิงเปรียบเทียบ (relative
gain) ส่วนเสรีนิยมใหม่เชื่อเรื่องกำรได้เชิงสัมบูรณ์ (absolute gain) กล่าวคือ สัจนิยมใหม่
มี เ ชื่ อ ว่ า การได้ เ ชิ ง เปรี ย บเที ย บเป็ น สิ่ ง ส าคั ญ กว่ า การได้ เ ชิ ง สั ม บู ร ณ์ กล่ า วคื อ รั ฐ จะให้
ความสาคัญกับผลประโยชน์ของรัฐที่ได้เปรียบรัฐอื่นในเชิงเปรียบเที ยบและไม่ต้องการให้รัฐ
อื่นได้ผลประโยชน์มากกว่าตน ดังจะเห็นได้จากความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพ
โซเวียตในระหว่างสงครามเย็น หรือประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนกั บสหรัฐอเมริก าใน
ปัจจุบัน โดยมุมมองเช่นนี้ตรงข้ามกับมุมมองของเสรีนิยมใหม่ที่เสนอการได้เชิงสัมบูรณ์โดย
มองว่ารัฐทั้งหลายแม้จะได้ผลประโยชน์โดยไม่เท่าเทียมกัน แต่รัฐทุกรัฐก็ล้วนได้ผลประโยชน์
ด้วยกันทั้งสิ้น

135
135 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ตำรำงที่ 5.4 ควำมแตกต่ำงระหว่ำงกำรได้เชิงเปรียบเทียบและกำรได้เชิงสัมบูรณ์

กำรได้เชิงเปรียบเทียบ กำรได้เชิงสัมบูรณ์
 รัฐหนึ่งๆได้รับผลประโยชน์ที่มากขึ้นบน  รัฐต่างๆได้ผลประโยชน์ร่วมกันไม่ว่ารัฐ
ความสูญเสียของอีกรัฐหนึ่ง (zero-sum นั้นจะได้ผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด
game)  รัฐจะเพิ่มอานาจของตนโดยมิได้
 รัฐจะเพิ่มอานาจของตนก็ต่อเมื่อการเพิม่ คานึงถึงว่าสิ่งที่รัฐนั้นกระทาอยู่จะสร้าง
อานาจนั้นมีความได้เปรียบมากกว่าการ ผลกระทบต่ออานาจของรัฐอื่นๆ
เพิ่มอานาจของรัฐอื่นๆ

Keohane มองว่ า ทฤษฎี ร ะบอบนั้ น มี ข้อ จากั ด มากเกิน ไปที่ จะอธิ บ ายแนวทาง
การศึ ก ษาของเขาต่ อ เงื่ อ นไขภายใต้ สิ่ ง ที่ จ ะท าให้ ค วามร่ ว มมื อ ระหว่ า งประเทศประสบ
ความสาเร็จ ดังนั้นเขาจึงขยายกรอบความคิดของสถาบัน Keohane นิยามสถาบันระหว่าง
ประเทศไว้ว่า “เป็นชุดของกฎเกณฑ์กติกาที่มีลักษณะคงที่และเชื่อมโยงอย่างเป็นทางการและ
ไม่ เ ป็ น ทางการเพื่ อ ก ากั บ พฤติ ก รรมและการด าเนิ น งานเพื่ อ ให้ เ ป็ น ตามคาดหวั ง ”
(Keohane,1989) ส่วน Christian Reus-Smit อธิบายว่าสถาบันระหว่างประเทศเป็น “กลุ่ม
ของกติกา กฎเกณฑ์ และหลักการซึ่งจะกาหนดแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อ
ควบคุมพฤติกรรมของกันและกั น ” (Reus-Smit, 2011: 278-293) ดังนั้น รูปแบบสถาบัน
ระหว่างประเทศปรากฎอยู่ไม่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่

1. องค์ ก ำรระหว่ ำ งรั ฐ ที่ เ ป็ น ทำงกำร (formal intergovernmental) หรื อ


องค์ ก ำรระหว่ ำ งประเทศที่ มิ ใ ช่ รั ฐ บำลระดั บ (nongovernmental organizations)
ตั ว อย่ า งได้ แ ก่ องค์ ก ารสหประชาชาติ องค์ ก ารกาชาดสากล ( the International
Committee of the Red Cross: ICRC) เป็นต้น

2.ระบอบระหว่ำงประเทศ (international regimes) อันหมายถึง กฎเกณฑ์ที่


ถูก ทาให้เป็นสถาบัน (institutionalized rules) อันเป็นที่ตกลงยอมรับโดยรัฐบาลของรั ฐ
ต่างๆที่มีต่อประเด็นที่เฉพาะเจาะจง ดังเช่น การจัดตั้งระบอบการเงินระหว่างระหว่างประเทศ
หรือ ระบบเบรตตัน วู้ด ในปี 1944 ระบอบว่าด้วยกฎหมายทะเล (the Law of the Sea
regime) ในทศวรรษ 1970 รวมทั้ ง ความตกลงว่ า ด้ ว ยการควบคุ ม หลายฉบั บ ระหว่ า ง
สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในสมัยสงครามเย็น

136
136
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

3. จำรีตประเพณี (conventions) เป็นรูปแบบสถาบันที่ไม่เป็นทางการ (อาจจะ


เป็นบรรทัดฐานและธรรมเนียมปฎิบัติที่มีมาช้านาน) กฎเกณฑ์และการทาความเข้าใจที่มีนัย
ยะแอบแฝง (implicit rules and understandings) ซึ่งการทาความเข้าใจเหล่านี้ส่งผลให้ตัว
แสดงต่างๆเข้าใจตัวแสดงอื่นๆและประสานความร่วมมือกันได้ ตัวอย่างหนึ่งที่สามารถอธิบาย
ประเด็น convention คือ หลักการต่างตอบแทน (reciprocity) ซึ่งเป็นหลักที่ผู้นาทางการ
เมืองคาดหวังการต่างตอบแทนในการติดต่อระหว่างประเทศทั้งในเชิงบวกและเชิง ลบ อีก
ตัวอย่างหนึ่งคือ การคุ้มกันทางการทูต (diplomatic immunity) ซึ่งยังคงสืบธรรมเนียมมา
ตั้งแต่อดีตก่อนที่จะได้ รับการประมวลให้อยู่ในรูปแบบของความตกลงอย่างเป็นทางการใน
ทศวรรษที่ 1960
Keohane ได้กล่าวถึงบทบาทของสถาบันระหว่างประเทศที่สาคัญไว้ 3 ประการ
คือ ประการแรก เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและโอกาสที่จะเจรจาต่อรอง
กัน ประการถัดมาเพิ่มความสามารถของรัฐบาลที่จะดูว่ารัฐอื่นๆได้ทาตามข้อตกลงที่มีร่วมกัน
หรือไม่ และประการสุดท้ายช่วยทาให้ความคาดหวังเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศมีความ
แข็งแกร่งมากขึ้น
จากแนวคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Keohane ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในบริบทสงครามเย็น
หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง Keohane และ Hoffmann ได้ศึกษาถึงประเด็นที่ว่า สถาบัน
ระหว่างประเทศส่งผลต่อยุทธศาสตร์ของรัฐในยุโรปหลังยุคสงครามเย็นอย่างไร ทั้งสองคนนี้
ได้ ส รุ ป ข้ อ เสนอแนะถึ ง สถาบั น ระหว่ า งประเทศได้ ท าหน้ า ที่ ส าคั ญ 6 ประการ ได้ แ ก่
(Keohane, 1993: 395-407)
1) สถาบันเป็น “แหล่งทรัพยากรที่มีศักยภาพของการหาประโยชน์ของรัฐบาลที่
มีความทะเยอทะยาน ดังนั้นเราควรจะคาดหวังที่จะเห็นสถาบันเหล่านี้เป็นดั่ง
พื้นที่สาหรับการจัดการบริหารอิทธิพล (the exercise of influence)
2) หากมีก ารขัดแย้งทางผลประโยชน์เมื่อรัฐต่างๆแสวงหาอิทธิพลในสถาบัน
ระหว่ า งประเทศ สิ่ ง เหล่ า นี้ จ ะจ าจั ด ยุ ท ธศาสตร์ ก ารต่ อ รอง (constrain
bargaining strategies) ด้วยวิธีการที่ข้อตกลงถูกทาให้สะดวกขึ้น
3) สถาบันระหว่างประเทศสามารถทางานในฐานะเครื่องมือที่ถ่วงดุลหรือ ทา
หน้าที่แทนสถาบันอื่น
4) ในทางการเมื อ ง สถาบั น ระหว่ า งประเทศจะกระตุ้ น รั ฐ เพื่ อ ที่ จ ะให้ แ สดง
เจตจานงของรัฐบาล จัดหาข้อมูลและสร้างนโยบายที่คาดการณ์ได้มากขึ้น

137
137 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

5) สถาบั น ระหว่ า งประเทศแสดงบทบาทของการช่ ว ยต่ อ ภาระหน้ า ที่


เฉพาะเจาะจง (specify obligation)ซึ่งชี้นาการกระทาของรั ฐด้วยการเสนอ
“แม่แบบ” (templates) สาหรับทางเลือกของนโยบาย
6) สถาบันระหว่างประเทศสามารถมีอิทธิพลไม่เพียงแต่ผลประโยชน์แห่งรัฐแต่
ยังส่งผลถึงความต้องการขั้นพื้นฐานอีกด้วย (fundamental preference)

โลกในศตวรรษที่ 21 มี เ งื่ อ นไขที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความร่ ว มมื อ ง่ า ยกว่ า ในอดี ต ซึ่ ง


ความหมายของสถาบันในที่นี้มี 2 ประการ (Sterling-Folker, 2010: 114-115) คือ สถำบัน
ที่ เ ป็ น ทำงกำร (Formal Institutions)ซึ่งเป็นองค์ก ารระดั บ พหุ ภาคี ที่มีอาคารสถานที่
ชัดเจน มีการจัดองค์กรที่เป็นรูปธรรม มีเจ้าหน้าที่ และทรัพยากรในการปฏิบัติงาน ดังจะเห็น
ได้จาก องค์การสหประชาชาติ (United Nations:UN) องค์การการค้าโลก (World Trade
Organization:WTO) หรื อ กองทุ น การเงิ น ระหว่ า งประเทศ (International Monetary
Fund :IMF) เป็นต้นโดยรัฐต่างๆเข้าร่วมองค์กรเหล่านี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับผลประโยชน์
ร่ ว มกั น ประการที่ ส อง คื อ สถำบั น ที่ ไ ม่ เ ป็ น ทำงกำร (Informal Institutions) หรื อ
ระบอบระหว่ำงประเทศ (International Regimes) ซึ่งเป็นรูปแบบในลักษณะนามธรรม
ประกอบด้ ว ย หลั ก การที่ ชั ด แจ้ งและไม่ ชั ด แจ้ง มี บ รรทั ด ฐาน กฎระเบีย บ กระบวนการ
ตัดสินใจที่มีตัวแสดงมีร่วมกั นในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนแนวคิดเรื่องระบอบ
ระหว่ า งประเทศนั้ น ได้ รั บ การพั ฒ นาเพื่ อ ที่ จ ะบรรยายและวิ เ คราะห์ ภ าพรวมของความ
พยายามในการร่วมมือกัน ตลอดจนสมมติฐานและพฤติกรรมในประเด็นระหว่างประเทศ

กล่าวโดยสรุปแล้วแนวคิดเสรีนิยมใหม่พยายามนาเสนอแนวคิดธรรมาภิบาลโลก
(global governance) หรือความคิดความร่วมมือระหว่างรัฐกับรัฐโดยผ่านสถาบันระหว่าง
ประเทศทั้งในรูปแบบที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ในที่นี้จะกล่าวถึงแนวคิดหลักสองประการ
คื อ ส ถ ำ บั น แ ล ะ อ ง ค์ ก ำ ร ร ะ ห ว่ ำ ง ป ร ะ เ ท ศ ( international Institutions and
International Organization) และ ควำมร่ ว มมื อ ระหว่ ำ งประเทศ (international
cooperation) (ขจรศักดิ์, 2556: 40-41)

5.5.1 สถำบันระหว่ำงประเทศ

หัวใจสาคัญประการหนึ่งของแนวคิดเสรีนิยมใหม่คือ การศึกษาสถาบันระหว่าง
ประเทศ ซึ่งมักมีผู้สับสนกับคาว่า องค์การระหว่างประเทศ อยู่บ่อยครั้ง คาว่า สถาบันระหว่าง
ประเทศจะมีความหมายที่กว้างกว่าเดิมมาก

138
138
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

สถาบันระหว่างประเทศอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท
1. ส ถ ำ บั น ร ะ ห ว่ ำ ง ป ร ะ เ ท ศ ร ำ ก ฐ ำ น ( Constitutional Institutions)
ประกอบด้วย กฎเกณฑ์ กติกาเบื้องต้นของสถาบันระหว่างประเทศ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่าง
เป็นระเบียบ เช่น กติกาว่าด้วยอานาจอธิปไตย การไม่แทรกแซงกิจการภายใน
2. สถำบันระหว่ำงประเทศพื้นฐำน (Fundamental Institutions) เป็นสถาบัน
ระหว่างประเทศที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถาบันระหว่างประเทศรากฐาน เพราะ
ไม่เพียงแต่จะมีกฎเกณฑ์ กติกาที่ชัดเจนและได้รับการยอมรับ จะมีแนวทางปฏิบัติที่รัฐต่างๆ
จะร่วมมือกันหรือประสานพฤติกรรมระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายระหว่างประเทศ
3. สถำบันระหว่ำงประเทศที่เป็นประเด็นเฉพำะ (Issue Specific Institutions)
เป็นสถาบันระหว่างประเทศที่ไม่เพียงมีกติกาแนวทางปฏิบัติ แต่ยังมีกระบวนการตัดสินใจ
เช่น ระบอบระหว่างประเทศ
4. สถำบั น ระหว่ ำ งประเทศเบ็ ด เสร็ จ (Comprehensive Institutions) เป็ น
สถาบันระหว่างประเทศขั้นสูง ที่มีกติกา แนวทางปฎิบัติและกระบวนการตัดสินใจชัดเจน มี
หน่วยงานที่ทาหน้าที่บริหารจัดการ ติดตาม ตรวจสอบพฤติกรรมของรัฐสมาชิก เช่น องค์การ
ระหว่างประเทศ

ดังนั้น สถาบันระหว่างประเทศ จึงหมายถึง บรรทัดฐานและกฎเกณฑ์ กฎหมาย


ระบอบ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ โดยสรุป สถาบันระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
บรรทัดฐานระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ ระบอบระหว่างประเทศ และองค์การ
ระหว่างประเทศ แต่สถาบันระหว่างประเทศในหลายรูปแบบข้างต้น ยังประสบปัญหาเรื่อง
การบังคับใช้ การตรวจสอบ และการเจรจาต่อรอง แต่กล่าวได้ว่ารัฐต่างๆได้รั บประโยชน์จาก
การร่วมมือระหว่างกันในหลายมิติ โดยผ่านสถาบันและองค์การที่กล่าวไปข้างต้น เช่น เป็น
สื่ อ กลางในการลดความขั ด แย้ง เป็ น เวที ใ นการเจรจาข้ อพิ พ าทในกรณีต่ า งๆ เป็ น กลไก
เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเพื่อได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางเศรษฐกิจและความ
มั่นคง ในที่นี้จะขอเน้นการอธิบายไปสถาบันระหว่างประเทศที่สาคัญคือ กฎหมายระหว่าง
ประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ
ในส่วนของกฎหมำยระหว่ำงประเทศเป็นบรรทัดฐานระหว่างประเทศที่สาคัญ
สาระสาคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ คือเป็นกฎหมายหรือข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับสิทธิ
และหน้าที่ของรั ฐในความสัมพันธ์ระหว่างกัน และอยู่บนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมของรัฐ

139
139 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

อธิปไตยและความตกลงร่วมกันของรัฐเหล่านี้ นักเสรีนิยมมีความเชื่อว่าควรมีการสถาปนา
กฎหมายระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเป็นแนวทางและเครื่องมือสาคัญในการควบคุมพฤติกรรม
ของรัฐ ลดความขัดแย้งและใช้แก้ไขข้อพิ พาทต่างๆ ถึงแม้ว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้และลด
ความหวาดระแวงระหว่างประเทศน้อยลง แต่ในความเป็นจริง กฎหมายระหว่างประเทศอาจ
เป็นเพียง “เสือกระดาษ” ที่ไม่สามารถควบคุมรัฐได้อย่างแท้จริง อีกทั้งไม่ได้รับความสนใจ
หากรัฐนั้นเมินเฉยหรือถึงขั้นละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐทั้งหลายยังให้ความสาคัญกับ
อานาจอธิปไตยภายในและมีกฎหมายภายในของรัฐเอง
ในส่วนขององค์กำรระหว่ำงประเทศจะเห็นว่า ในปัจจุบัน จานวนขององค์การ
ระหว่างประเทศมีจานวนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและทวีบทบาทมากยิ่งขึ้นในประชาคมโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 องค์การระหว่างประเทศประกอบด้วยชุดของกติกา (set
of norms) กฎเกณฑ์ (rules) และกระบวนการการตัดสินใจ (decision making process)
รวมทั้งมีหน่วยงานที่ทาหน้าที่บริหารกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยเป็นองค์กรที่มีรัฐบาลของประเทศ
ต่างๆเข้าร่วมเป็นสมาชิก
องค์การระหว่างประเทศอาจเป็นได้ทั้งองค์ระดับโลกหรือระดับภูมิภาค และการ
ร่วมมือของรัฐสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศนั้นๆ อาจจะเป็นได้ทั้งการร่วมมือเฉพาะเรื่อง
มีวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง เช่น การทหารและความมั่นคง หรือ ด้านเศรษฐกิ จ เช่น
การเงิน การค้าระหว่างประเทศ หรืออาจจะมีความร่วมมือที่หลากหลาย เช่น เพื่อลดหรือ
ควบคุมความขัดแย้งระหว่างประเทศและป้องกั น สงคราม เพื่อจัดระเบีย บความสั ม พั น ธ์
ระหว่างประเทศให้มีสันติ ภาพ ร่วมแก้ ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสัน ติวิ ธี ตัวอย่าง
องค์การระหว่างประเทศที่สาคัญในโลกได้แก่ องค์การสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรืออาเซียน เป็นต้น

5.5.2 ควำมร่วมมือระหว่ำงรัฐ
แนวคิดเรื่องความร่วมมือระหว่างรัฐ เป็นแนวคิดที่มีมาแต่เดิมของนักคิดสายเสรี
นิยมอยู่แล้ว แต่ความร่วมมือระหว่างรัฐตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่นั้นมีลักษณะ 2 ประการคือ
1) ความร่วมมือระหว่างรัฐก้าวข้ามเรื่องการค้าและการพัฒนา และครอบคลุมไป
ยังประเด็นอื่น เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อมโลก การสาธารณสุขและโรคระบาด
การต่อต้านการค้ามนุษย์และการค้ายาเสพติด รวมทั้งประเด็นด้านความ
มัน่ คง เช่น การป้องกันการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ เป็นต้น

140
140
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

2) ความร่วมมือระหว่างรัฐมีลักษณะเป็น พหุภาคี มากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีตัวแสดงที่


หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น บรรษัทข้ามชาติ( multinational cooperation)
และองค์ ก ารเอกชนพั ฒ นาระหว่ า งประเทศ ( Non-governmental
organization) ขณะเดียวกัน แนวคิดเสรีนิยมใหม่ก็ ต่อต้านการดาเนิ นการ
เพียงฝ่ายเดียวหรือเอกภาคีนิยม (unilateralism) ของรัฐมหาอานาจ

ในที่นี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่สามารถใช้แนวคิดเสรีนิยมใหม่อธิบายได้
อย่างเด่นชัดคือ การจัดตั้งองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ขึ้นในปี
1995 โดยการพัฒนามาจากความตกลงทั่ วไปว่า ด้ วยภาษี ศุล กากรและการค้า (General
Agreement on Tariff and Trade: GATT) ในปี 1947 โดยมีวัตถุประสงค์คือการส่งเสริม
การขยายตัวทางการค้าด้วยการลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษี (tariff barriers) และ
มิใช่ภาษี (non-tariffs barriers) อีกทั้งสร้างกฎเกณฑ์ในระบบการค้าโลก รวมถึงแก้ไขและ
ระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งในประเด็นหลังสุดนี้ทาให้ WTO มีความ
แตกต่างจากครั้งที่ยังเป็นเพียง GATT ประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกมีสิทธิและ
ข้อผูก พันที่จ ะต้องปฏิ บั ติต ามภายใต้ ความตกลงต่างๆขององค์ก าร ซึ่งหากพิจ ารณาของ
องค์การการค้าโลกแล้วจะพบว่าเป็นแนวทางที่ปฏิบัติตามแนวทางเสรีนิยมที่เน้นเรื่องของ
การค้าเสรีและความร่วมมือระหว่างรัฐ อีกทั้งหากศึกษาวิวั ฒนาการขององค์การการค้าโลก
แล้ ว จะพบว่ า นี่ เ ป็ น กรณี ศึ ก ษาที่ เ ห็ น ถึ ง ความส าคั ญ ของการออกแบบเชิ ง สถาบั น
(institutional design) ที่มีต่อเป้าหมายร่วมกัน (collective goal) ในสภาวะอนาธิปไตย ดัง
จะเห็นได้จากการที่รัฐต่างๆร่วมกันพัฒนาองค์การนี้ขึ้นมาจาก GATT ที่เป็นเพียงข้อตกลงในปี
1947 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ร่วมกั นที่ดีขึ้นกว่าเดิม การ
ออกแบบสถาบั น ของ WTO นั้ น พั ฒ นาขึ้ น มาให้ มี ค วามแตกต่ า งจาก GATT แง่ มุ ม บาง
ประการของ WTO ได้รับการปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ย นแปลงไป
รวมทั้งแก้ไขข้อบกพร้อมในเชิงสถาบันที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ถึงแม้ว่า WTO จะสถาปนาขึ้นมา
เพื่อการได้รับผลประโยชน์ร่วมกั น แต่ปัญหาหลายประการก็ ยังเกิ ดขึ้น เช่น ปัญหาเรื่อ ง
แรงงาน ปัญหาสภาพแวดล้อม รวมทั้งประเทศมหาอานาจบางประเทศยังใช้องค์การนี้เป็น
เครื่องมือเอารัดเอาเปรียบประเทศกาลังพั ฒนา ดังจะเห็นจากความล้มเหลวของการประชุม
ในวาระต่างๆของ WTO ที่ประเทศต่างๆไม่สามารถหารือหรือหาข้อสรุปร่วมกันได้ เนื่องจาก
บรรดาประเทศกาลังพัฒนารู้สึกว่าตนถูกเอาเปรียบจากประเทศมหาอานาจจึงร่วมกันต่อสู้
เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน

141
141 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

5.6 เสรีนิยมในโลกร่วมสมัย

การสิ้นสุดของสงครามเย็นเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสาคัญอีกครั้งหนึ่งของทฤษฎีเสรีนิยม
กล่าวคือ ทฤษฎีเสรีนิย มได้ทวีความสาคัญอย่างยิ่งในการอธิ บายปรากฎการณ์ของโลกที่
เปลี่ยนแปลงไปอย่างตรงประเด็นโดยเฉพาะเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การสิ้นสุดของ
ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ รวมทั้งกระแสประชาธิปไตยที่กาลังแผ่ขยายไปทั่วโลก อีกทั้ง
ยังทาให้การอธิบายปรากฎการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางของทฤษฎีสัจ
นิ ย มที่ เ น้ น รั ฐ เป็ น ตั ว แสดงส าคั ญ และประเด็ น ความมั่ น คงทางการทหารเริ่ม อ่ อนด้ อยลง
เนื่องจากละเลยปัจ จัย บางประการเช่น ปัจ จัย ทางการเมืองภายใน ความร่วมมือระหว่าง
ประเทศที่เป็นประเด็นใหม่ๆ ความทั้งการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าทฤษฎีเสรีนิยม
จะมีความสาคัญมากขึ้น แต่การเจาะจงประเด็นที่ศึกษามีความเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่เคย
เน้นการศึก ษาสถาบันระหว่ างประเทศตามแนวทางของ Keohane และ Nye ก็ เริ่มมาให้
ควา มส าคั ญกั บก าร ปกคร องปร ะชาธิ ป ไตยและก ารท าให้ เ ป็ น ประชาธิ ป ไตย
(democratization) อานาจอธิปไตยและการเปลี่ยนแปลงในบริบทของการทาให้ทันสมัยและ
ประเด็นโลกาภิวัตน์ (Sorensen, 1998: 83)
แนวคิดสาคัญในร่มเงาของเสรีนิยมที่กลับมามีความสาคัญและได้รับการถกเถียง
อย่างมีชีวิตชีวามากที่สุดอีกแนวคิดหนึ่งคือ ทฤษฎีสันติภำพประชำธิปไตย (democratic
peace theory) โดยทฤษฎีนี้มีข้อเสนอว่ารัฐที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตนจะนาพา
สันติภาพมาสู่โลกมากกว่ารัฐที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ หรือตั้งอยู่บนฐานคิดที่เชื่อว่า รัฐ
ประชาธิปไตยจะไม่ก่อสงครามระหว่างรัฐประชาธิปไตยด้วยกัน นักวิชาการจานวนหนึ่ง ได้แก่
Michael Doyle, James Lee Ray และ Bruce Russett เสนอค าอธิ บ ายจ านวนมากรั ฐ
เหล่านี้ยึดถือบรรทัดฐานของประนีประนอมซึ่งเลี่ยงการใช้กองกาลังและความรุนแรงต่ออีก
ฝ่ า ยซึ่ ง ยึ ด ถื อ หลั ก การเดี ย วกั น จากดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ก็ ยั ง น าไปสู่ ข้ อ ถกเถี ย งบางประการ
โดยเฉพาะแนวคิดที่ว่า “รัฐประชาธิปไตยจะไม่ต่อสู้กัน” (Democracies don’t fight each
other) และ “สร้างโลกนี้ให้ปลอดภัยสาหรับประชาธิปไตย” (make the world safe for
democracy) กลายเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กั บความพยายามของรั ฐ บาล
สหรั ฐ อเมริ ก าที่ จ ะขยายและส่ ง เสริ ม แนวคิ ด การปกครองประชาธิ ป ไตย (democracy
promotion) ในพื้นที่ต่างๆของโลก (Walt, 1998: 39; Synder, 2004: 58) กล่าวอีกนัยหนึ่ง
ได้ว่า ทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตยได้กลายมาเป็นพื้นฐานทางนโยบายของสหรัฐอเมริกา อีก
ทั้งแนวคิดเสรีนิยมยังปรากฎในหลากหลายรูปแบบในสหรัฐอเมริกาซึ่งปรากฎในรูปแบบที่
เรียกว่าอนุรักษนิยมใหม่ (neoconservative) ไปจนถึงการสนับสนุนสิทธิมนุษยชน

142
142
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่นาเสนอแนวคิดเสรีนิยมก่อนที่จะเกิดการก่อวินาศกรรม 9/11
ไ ม่ น า น นั ก คื อ ผ ล ง า น After Victory: Institutions, Strategic Restraint, and the
Rebuilding of Order after Major Wars ของ G. John Ikenberry (2001) ได้ พ ยายาม
ศึกษาระเบียบระหว่างประเทศที่จัด ตั้งขึ้นโดยผู้ชนะในความขัดแย้งระหว่างมหาอานาจ เขา
เสนอว่า รัฐผู้ชนะอันทรงอานาจที่สุดต้องการที่จะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มใจ (willing
cooperation) จากรั ฐ ที่ แ พ้ ร วมทั้ ง บรรดารัฐ อ่ อนแออื่น ๆ โดยวิ ธี ก ารได้ แ ก่ การเสนอข้อ
ต่อรองที่ดึงดูดใจร่วมกัน การสร้างระเบียบระหว่ างประเทศให้เป็นระบบรัฐประชาธิปไตยที่
ชนะมีโอกาสที่ดีที่สุดในการสร้างระเบียบ ดังจะเห็นได้จาก การเกิดระบบเบรตตัน วูดหลัง
สงครามโลกครั้ง ที่ สอง เนื่องจากความโปร่ง ใสและยึ ด หลั ก กฎหมายเป็ น สิ่ง ที่ สร้ างความ
น่าเชื่อถือให้กับการสร้างระเบียบดังกล่าว หากแต่ Ikenberry ก็ไม่ได้ยืนยันว่ารัฐมหาอานาจที่
เป็นประชาธิปไตยจะไม่ทาข้อผิดพลาดรัฐอื่นๆสามารถต่อต้านสิ่งจูงใจที่ถูกสร้างขึ้นมาโดย
ตาแหน่งแห่งที่ในระบบระหว่างประเทศ แต่รัฐเหล่านั้นจะได้รับผลลัพธ์ที่เจ็บปวด ในการ
วิเคราะห์ของ Ikenberry ต่อรัฐบาลของ George W. Bush เขาเสนอว่า แรงจู งใจสาหรับ
รั ฐ บาลสหรั ฐ อเมริ ก าที่ จ ะท าตนเป็ น ผู้ น าในการจั ด ตั้ ง ระเบี ย บขั้ น พื้ น ฐานเชิ ง พหุ ภ าคี
(multilateral constitutional order) จะยังคงมีอานาจต่อไปตราบใดที่ลูกตุ้มทางอานาจยัง
ไม่เหวี่ยงกลับ (pendulum will swing back)15
นับได้ว่าทฤษฎีเสรีนิย มในการศึก ษาความสัมพัน ธ์ระหว่างประเทศเป็นแนวคิด
แรกเริ่มตั้งแต่สถาปนาสาขาวิชานี้ในโลกวิชาการ โดยให้ความสาคัญกั บการร่วมมือ การ
ประสานประโยชน์ การแสวงหาสันติภาพ การปกครองที่ให้เสรีทางความคิดและการกระทา
ต่อพลเมืองของรัฐ รวมถึงการให้ความสาคัญกั บตัวแสดงอื่นที่นอกเหนือจากรัฐ ถึงแม้ว่า
ภายในสานักเสรีนิยมเองจะมีความหลากหลายกันไปแต่ก็แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมร้อยความ
พยายามในการสร้างคาอธิบายเรื่องโลกที่ต้องการเห็นความร่วมมือบังเกิดขึ้นกับการเมืองโลก

15
Ikenberry เสนอว่ า ในปั จ จุ บั น ความเป็ น สากลนิ ย มเชิ ง เสรี (liberal internationalism) ได้
เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากอดีตจนเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า ยุคระเบียบเสรีนิยม 3.0 โดยในยุคแรกหรือยุค 1.0
คือยุคระเบียบระหว่างประเทศตามแนวคิดของประธานาธิบดี Woodrow Wilson ยุคทีสอง หรือยุค
2.0 คื อ ยุ ค สงครามเย็ น ยุ ค 3.0 เรี ย กว่ า ยุ ค หลั ง สากลนิ ย มเชิ ง เสรี ที่ เ น้ น ความเป็ น เจ้ า (post-
hegemonic liberal internationalism) ดูเพิ่มเติม Ikenberry (2009) ศึกษารายละเอียดเรื่องการ
กาเนิด พลวัติและวิกฤตความเป็นมหาอานาจในระบอบระหว่างประเทศเชิงเสรีนิยมที่สหรัฐอเมริกา
สร้างขึ้นหลังการวินาศกรรม 9/11 ดู Ikenberry (2011)

143
143 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

นักทฤษฎีควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศในสำนักเสรีนิยม

Michael W. Doyle Stanley Hoffman Richard Rosecrance

Joseph Nye & Robert Keohane

Andrew Moravcsik Bruce Russett

144
144
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

145 ศิวพล ชมภูพันธุ์


International Relations Theory: An Introduction

146
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 6 บทที่ 6
ทฤษฎีมำร์กซ์ (Marxism) ทฤษฎีมาร์กซ์
Marxism

6.1 บทนำ
การศึก ษาความสัม พั นธ์ระหว่างประเทศสายมาร์ก ซ์ ไ ด้รั บอิท ธิ พลมาจาก Karl
Marx โดยเป็ น การศึ ก ษาที่ ป ฏิ เ สธมุ ม มองตามแนวทางทฤษฎี สั จ นิ ย มและเสรี นิ ย มที่ ใ ห้
ความสาคัญกับความขัดแย้งและความร่วมมือทางการเมือง จุดเด่นของแนวคิดมาร์กซ์คือการ
นาปัจจัยทางเศรษฐกิจมาเป็นส่วนสาคัญของการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางความสั มพั นธ์
ระหว่างประเทศ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วงานเขียนของมาร์กซ์จะมิได้นาเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่แนวคิดเรื่อง วิถีแห่งกำรผลิต (Means of production)
กำรต่อสู้ทำงชนชั้น (Class Struggle) และกำรขูดรีด (exploitation)ก็ได้นามาปรับใช้กับ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีมำร์กซ์ใหม่ (Neo-Marxism)
และนาไปสู่ก ารก าเนิ ดวิช าเศรษฐกิ จ การเมืองระหว่ างประเทศ (International Political
Economy: IPE)
6.2 พัฒนำกำรของกำรประยุกต์ทฤษฎีมำร์กซ์ในควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ
ถึงแม้ว่างาน Capital ของ Marx จะวิพากษ์ทุนนิย มและอธิบายถึงการขยายตั ว
ของทุนนิย มในระดับระหว่างประเทศ แต่ก ล่าวเพีย งรูปแบบและการทางานของทุนนิ ย ม
อังกฤษในศตวรรษที่ 19 เท่านั้น ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 งานเขียนในรุ่นหลังหลายชิ้น
ได้เริ่มพัฒนากรอบคิดและกล่าวถึงลัก ษณะทุนนิย มที่ข้ามพรมแดน (Capitalism’s trans-
border characteristics) ซึ่งก็คือ ลัทธิจักรวรรดินิยม (imperialism) เช่นงานของ Trosski
เรื่ อ ง Combined and Uneven Development และข้ อ ถกเถี ย งของ Rosa Luxamburg
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทุนนิย มที่พัฒนามากและพัฒนาน้อย ต่อมาJ.A.Hobson จะ
พัฒนากรอบคิดเรื่องจักรวรรดิ นิยมให้เป็นระบบจากประสบการณ์ร่วมสมัยก็ตาม ทว่างานที่
เป็ น ที่ รู้ จั ก และทรงอิ ท ธิ พ ลในแนวทางนี้ ก็ คื อ Imperialism, the Highest Stage of
Capitalism ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ.1917 ของLenin ที่เน้นย้าทุนนิยมผูกขาดที่ครอบงาระบอบทุน
นิยมและเป็นเหตุให้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
คาว่า จักรวรรดิหรือ Empire มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคือคาว่า “emperor”
หรือจักรพรรดิ ซึ่งมีความหมายว่า การมีอานาจเด่นนาทางการเมืองที่ขยายกว้างและเด็ดขาด

147
147 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ดังนั้นโดยความหมายของคานี้จึงมีความหมายถึงการครองอานาจเหนือดินแดนและมีการจัด
องค์กรทางการเมืองที่ควบคุม ดินแดนส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมาก่อนแนวคิดเรื่องอาณา
นิคม ซึ่งการควบคุมดังกล่าวอาจจะเข้าไปจัดการสร้างแรงจูงใจทางการเมือง เศรษฐกิจหรือ
สังคม หรือการใช้กาลังเข้าบังคับก็เป็นได้
หากศึกษาเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยมแล้ว อาจจะมองย้อนไปได้ถึงประวัติศาสตร์
ตะวั น ตกในช่ ว งยุ ค ฟื้ น ฟู ศิ ล ปวิ ท ยาการที่ ช าวยุโ รปเริ่ม แสวงดิ น แดนและความมั่ งคั่ ง ทาง
เศรษฐกิ จ โดยการขยายอ านาจผ่ า นการใช้ ค วามรุ น แรงออกจากทวี ป ยุ โ รป จนท าให้
ความหมายของคาว่า colonise หมายถึง การเอาชนะและการยึดครองดินแดน (วรารัก ,
2557: 27) ซึ่งจะเห็นได้จากบทบาทของโปรตุเกส สเปน และฮอลันดาที่แสวงหาผลประโยชน์
ในดินแดนต่างๆโดยอ้างถึงเกียรติยศของประเทศ การแสวงหาทรัพยากรและสินค้า รวมทั้ง
การเผยแผ่คริสต์ศาสนา โดยในช่วงนี้บรรดาประเทศเจ้าอาณานิคมต่างใช้กาลังทางทหารเข้า
ปกป้ อ งผลประโยชน์ ท างเศรษฐกิ จ โดยเฉพาะเรื่ องผลประโยชน์ ท างการค้ า ไม่ ว่ า จะเป็น
ผลประโยชน์ ข องรั ฐ เองหรื อ บรรษั ท การค้ า ของรั ฐ ต่ อ มาในช่ ว งศตวรรษที่ 19 ประเทศ
มหาอานาจเช่น อังกฤษ และฝรั่งเศส เข้าครอบครองดินแดนต่างๆในทวีปเอเชียและแอฟริกา
จนอาจเรียกยุคนี้ได้ว่าเป็นยุคจักรวรรดินิยมใหม่ (New Imperialism) ที่ประเทศเมืองแม่เข้า
ไปครอบครองดินแดนโดยเข้าไปควบคุมทั้งระบบการเมืองและเศรษฐกิจในอาณานิคมตนเอง
อย่างจริงจัง ซึ่งสะท้อนภาพของการกดขี่ ขูดรีดของระบบทุ น นิย มที่ เข้ าไปบี บบัง คั บ เอา
ทรัพยากรและแรงงงานจากชนพื้นเมืองอย่างเข้มข้น ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงงานทางทฤษฎี
จักรวรรดินิยมของ Hobson และ Lenin โดยสังเขป

J.A.Hobson Valadimir Lenin

J.A.Hobson นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอภาพของจักรวรรดินิยมไว้ ใน
งาน Imperialism: A Study ในปี 1902 โดยการตั้งคาถามว่า เหตุใดจักรวรรดินิยมจึงรุ่งเรือง

148
148
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บนต้นทุนการสูญเสียอันมหาศาลของทั้งชาวผิวขาวและผิวสี Hobson เสนอว่า จักรวรรดินิยม


คือการพรางตัวของลัทธิชาตินิยมแบบสุดโต่งที่ฉาบไว้ด้วยการค้าเสรี
Hobson ได้เสนอภาพจักรวรรดินิยมของอังกฤษและฝรั่งเศส โดยเฉพาะอังกฤษว่า
มีความแตกต่างจากจักรวรรรดินิยมในอดีตคือ ผู้แสวงหาเมืองขึ้นได้ขยายดินแดนเข้าไปใน
ดินแดนที่ปลอดจากผู้คนและเป็นดินแดนที่อากาศอบอุ่นพอเหมาะ นอกจากนั้นผู้แสวงหา
เมืองขึ้นได้นาเอารูปแบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และ อารยธรรมจากเมือง
แม่มาใช้กับดินแดนที่ครอบครอบอย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากการแสวงหาเมืองขึ้นในอเมริกา
เหนือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ถึงแม้ว่าประเทศเมืองแม่จะดาเนินกิจกรรมในดิ นแดน
ครอบครอง แต่ประโยชน์ทั้งหลายก็มิได้ตกเป็นของดินแดนนั้น หากแต่ตกเป็นของบรรดาชน
ชั้นนาและนักธุรกิจบางกลุ่มเท่านั้นซึ่งคนกลุ่มนี้สามารถผูกขาดอานาจทางเศรษฐกิจและใช้
อานาจทางการเงินกดดันหรือผลักดันให้รัฐดาเนินนโยบายตามที่ตนต้องการ (อนุสรณ์, 2550:
140-141) ดั ง นั้ น ในทั ศ นะของHobsonรากเหง้ า ของจั ก รวรรดิ นิ ย มคื อ สาเหตุ ท างด้ า น
เศรษฐกิจ ประเทศมหาอานาจจาเป็นต้องดาเนินนโยบายเช่นนี้เพื่อแสวงหาตลาดต่างประเทศ
เพื่อระบายสินค้าและการลงทุนของตน ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาระบบทุนนิยมภายในซึ่ง
เน้นการผลิตขนาดใหญ่และรวดเร็วตลอดจนการแข่งขันอย่างเข้มข้นระหว่างนายทุนด้วย
กันเอง จนก่อให้เกิดการผลิตที่มากจนเกินไป และทุนส่วนเกิน (surplus capital) กระจุกตัว
อยู่แต่ในอุตสาหกรรมใหญ่และนายทุนจานวนน้อย ประกอบกับ ตลาดภายในประเทศไม่อาจ
ดูดซับผลผลิตและทุนส่วนเกินอันเป็นผลมาจากการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันและการ
กดค่าจ้างของกรรมกร ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาจึงเป็นแรงผลักดันให้มหาอานาจในยุโรปต้องใช้
นโยบายการล่าเมืองขึ้น
Valadimir Lenin เป็นนักคิดและนักปฏิวัติชาวรัสเซีย ได้ นาแนวคิดของ Marx
มาสานต่อและปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในจักรวรรดิรัสเซีย โดยเสนอความคิดว่า ทุนนิย มได้
พัฒนาไปสู่ขั้นใหม่ ขั้นสูงสุด และขั้นสุดท้าย คือ ทุนนิยมผูกขาด ซึ่งผลให้เศรษฐกิจโลกแบ่ง
ออกเป็ น สองส่ ว นคื อ โลกแกนกลาง (core) ที่ ขู ด รี ด เอารี ด เอาเปรี ย บโลกชายขอบ
(periphery) ที่อ่อนแอกว่าและด้อยพัฒนากว่า ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศดังกล่าวได้
เพิ่มความซับซ้อนให้กับการวิเคราะห์แบบชนชั้นของ Marx ซึ่งมีเพียงความขัดแย้งระหว่าง
นายทุนและกรรมกร การที่โลกแบ่งออกเป็น 2 ระดับนี้ ทาให้ผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมกร
มิได้เป็นหนึ่งเดียว
ในประเด็ น จั ก รวรรดิ นิ ย ม ในผลงาน “Imperialism, the Highest Stage of
Capitalism” ในปี 1917 Lenin มองว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของทุน

149
149 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

นิยม แม้จุดเริ่มต้นของทุนนิยมจะเป็นการแข่งขันแบบเสรี แต่ยิ่งทุนนิยมพัฒนาขึ้นเท่าใด การ


ผูกขาด (monopoly) ก็ยิ่งพัฒนาขึ้นเท่านั้น การผูกขาดที่ขยายตัวมากขึ้นทั้งในรูปแบบของ
การจัดตั้งกลุ่มการค้า (cartels) การร่วมทุนและร่วมหุ้น (syndicates and trusts) รวมไปถึง
การระดมทุนเพื่อจัดตั้งธนาคารขนาดใหญ่ระบบนายทุนจะกลายเป็นระบบนายทุนผูก ขาด
(monopoly capitalism) เพื่ อ ใช้ เ ป็ น ฐานในการก าหนดความเป็ น ไปของตลาดทุ น และ
การเงินระหว่างประเทศ กล่าวได้ว่าธนาคารในลักษณะนี้ดาเนินบทบาทนาในการขับเคลื่อน
ทุนนิยมผูกขาดที่ใกล้ชิดกับการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมซึ่งเลนินเรียกว่า จักรวรรดิ
นิ ย มแบบทุ น นิ ย ม (capitalist imperialism) โดยกลุ่ ม ผู้ ผู ก ขาดทุ น จ านวนมากเหล่ า นี้ จ ะ
พยายามหาช่องทางส่งทุนออกไปยังดินแดนที่ด้อยพัฒนาตามมาด้วยการร้องขอให้รัฐบาลของ
ตนใช้อานาจเข้ายึดครองทางการเมือง ซึ่งก่อให้เกิดระบบจักรวรรดินิยมขึ้น และแบ่งแยกส่วน
ต่างๆของโลกเป็นดินแดนภายใต้อาณานิคมและวงอานาจของมหาอานาจสาคัญๆ
ยังมีนักวิชาการในสาย Marx และนอกสาย Marx หลายคนที่เขีย นงานเกี่ ย วกั บ
จักรวรรดินิยม แต่ภาพรวมแล้วการศึกษาจักรวรรดินิยมในยุคนี้ หรือที่เรียกว่า จักรวรรดินิยม
ยุคคลาสสิค จะเป็นงานที่ศึกษาพฤติกรรมและนโยบายของประเทศมหาอานาจตะวันตกเพียง
เท่านั้นแต่ก็มีแนวทางที่ศึกษาแตกต่างกันไป ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด บรรดา
ประเทศอาณานิคมได้รับเอกราชและประเทศเกิดใหม่เหล่านี้เริ่มมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจ
การเมืองระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น อีกทั้งศูนย์กลางอานาจทางเศรษฐกิจการเมืองโลกก็ ได้
เคลื่อนย้ายจากยุโรปมาสู่สหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศผู้นาระบอบทุนนิยม รวมทั้งบทบาท
ตัวแสดงที่ทรงพลังเช่น องค์กรทางเศรษฐกิจอันได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศและ
ธนาคารโลก รวมทั้งบทบาทของบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งบริบทเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนาทฤษฎี
มาร์กซ์เพื่อให้เข้ากับบริบททางเศรษฐกิจการเมืองของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
การนาแนวคิดMarx มาประยุกต์กับการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน
ลักษณะการศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่าเป็นแนวคิดมาร์กซิส
ใหม่ (Neo-Marxism) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยตรง โดย
แนวคิดมาร์กซ์ใหม่นี้ให้ความสาคั ญกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศศูนย์กลาง (core) กับ
ประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศชายขอบ (peripheries) ว่ามีลักษณะอย่างไรและก่อให้เกิด
ผลอย่างไรบ้าง แต่ทั้งสองแนวคิดนี้ยังมีแนวทางการศึกษาที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา
แบบองค์รวม การให้ความสาคัญกั บปัจ จัย ทางประวัติศ าสตร์ตลอดจนการนาเอามิ ติ ท าง
เศรษฐกิจมาพิจารณาร่วมกับมิติทางการเมือง ซึ่งในที่นี้ ประกอบกับสภาพแวดล้อมระหว่าง
ประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บรรดาประเทศเกิดใหม่หรือที่เรียกกันว่าประเทศโลกที่

150
150
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

สาม ประสบปัญหาความล้าหลังทางเศรษฐกิ จ การเมืองทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จน


นาไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น การเติบโตอย่างไร้ระเบีย บของเมือง ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหา
สิ่งแวดล้อม เป็นต้นทั้งที่ในความเป็นจริงประเทศทุนนิยมนาการพัฒนาแบบสมัยใหม่เข้าสู่
ประเทศโลกที่ส าม แต่เพราะเหตุใดความด้อยพั ฒนายัง ปรากฎอยู่ ด้วยปัญหาเหล่ า นี้ จึ ง
ผลักดันให้บรรดานักวิ ชาการและปัญญาชนในกลุ่มประเทศโลกที่สามหันมาประเมินแนวคิด
และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกาหนดนโยบายของรัฐ โดยเฉพาะทฤษฎีที่ทรงอิทธิพลในยุคนั้น
คือ ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ และ ทฤษฎีกำรทำให้ทันสมัย (Modernization Theory)
ที่นักวิชาการในกลุ่มนี้ต่างเห็นว่าไม่สามารถทาความเข้าใจปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งทฤษฎี
จัก รวรรดินิยมแนวมาร์กซิสก็มิได้ให้คาตอบที่น่าพอใจ นัก วิชาการกลุ่มนี้จึงคิดทฤษฎีเพื่อ
อธิบายปรากฎการณ์ที่อธิบายความด้อยพัฒนาขึ้นมาจากประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่
โดยเฉพาะกลุ่มนัก วิชาการชาวละตินอเมริก าได้เสนอแนวทางการอธิบายปัญหาการด้อย
พัฒนา ซึ่งถือกั นว่าเป็น แนวคิดมาร์ก ซิสใหม่และได้รับการพัฒนาทฤษฎีให้ชัดเจนขึ้นโดย
นักวิชาการรุ่นหลัง ซึ่งในที่นี้ จะขอกล่าวถึงทฤษฎีในแนวทางนี้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีพึ่งพิง
(Dependency Theory) และทฤษฎีระบบโลก (World System Theory)
6.3ทฤษฎีพึ่งพิง (Dependency Theory)
ทฤษฎี นี้ เ กิ ด จากกลุ่ ม นั ก วิ ช าการกลุ่ ม หนึ่ ง ในช่ ว งหลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 ที่
ต้องการการอธิบายปัญหาความด้อยพัฒนาในภูมิภาคละตินอเมริกาและแอฟริกา ซึ่งแนวคิด
ขั้นต้นนี้มีที่มาจากนักเศรษฐศาสตร์ ในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสาหรับละตินอเมริกาของ
สหประชาชาติ (The UN Economic Commission for Latin America : ECLA) ที่มี Raul
Prebisch เป็นผู้นาได้เสนอแนวทางการศึก ษาเชิงโครงสร้าง (Structural Approach) ของ
เส้นทางการพัฒนาภูมิภาคละตินอเมริกาตั้งแต่ทศวรรษ 1880 จนถึงช่วงทศวรรษที่ 1950
และปรั บ ปรุ งข้ อมู ล ในช่ว งทศวรรษที่ 1960 โดยการจ าแนกระดั บ การพั ฒ นาออกเป็ น 2
ประเภทคือ ประเทศที่เป็นศูนย์กลาง และประเทศชายขอบซึ่งด้อยพัฒนา โดยความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศทั้งสองรูปแบบนี้เป็นลักษณะที่ ประเทศศูนย์กลางได้เปรียบบรรดาประเทศ
ชายขอบอยู่เสมอ อันเป็นผลจากกระบวนการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน เกิด
การขูดรีดส่วนเกิน ส่งผลให้เกิดการขาดดุลทางการค้า โดยที่ประเทศชายขอบมักจะเป็นแหล่ง
วัตถุดิบและแรงงานราคาถูกที่ป้อนให้ประเทศศูนย์กลางเพื่อนาไปผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่
ราคาสูงกว่า สภาพทางการค้าดังกล่าวเป็นสาเหตุของการด้อยพัฒนาในละตินอเมริกา สภาพ
การค้าระหว่างประเทศที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ ก่อให้เกิดความผิดปกติในตลาดโลก 2 ประการคือ

151
151 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

1) เกิดการแบ่งงานกันทาระหว่างประเทศในลักษณะที่ประเทศชายขอบทาหน้าที่ผลิต
และส่งออกสินค้าประเภทอาหารและวัตถุดิบ ขณะที่ประเทศศูนย์กลางผลิตและ
ขายสินค้าอุตสาหกรรม
2) เกิดการผูกขาดในตลาดปัจจัยการผลิตและตลาดสินค้าภายในดินแดนศูนย์กลาง
มากยิ่งขึ้น
ความผิดปกติท้ังสองประการข้างต้นทาให้ประเทศศูนย์กลางมีอานาจมาก ได้รับ
ผลประโยชน์จากการค้าและสามารถกดราคาสินค้าขั้นปฐมจากประเทศชายขอบให้ ต่าลง
ส่งผลให้การพึ่งพิงไม่มีวันสิ้นสุด (อนุสรณ์, 2550: 173-174) ดังนั้น ECLA จึงเสนอหลักการ 3
ประการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว อันได้แก่
1) การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยการทดแทนการนาเข้า (Import Substitution
Industry : ISI) เพื่อตัดวงจรการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ
2) การพัฒนาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
3) การหาทางเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้เป็น
ประโยชน์
การเสนอแนวทางดังกล่าวไม่ประสบความสาเร็จ แต่แนวคิดการพึ่งพิงก็ได้รับการ
พัฒนาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มนักวิชาการจากละตินอเมริกา เช่น Andre
Gunder Frank, Theotonio Dos Santos, Samir Amin เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงงาน
ของ Frank และ Santos
Frank นัก วิชาการทางด้า นเศรษฐศาสตร์ ได้นาองค์ ค วามรู้ด้ า นเศรษฐศาสตร์
สังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ ได้เสนอภาพการพัฒนาและการเติบโตของละตินอเมริกาว่า
สภาพความด้อยพัฒนานี้เป็นผลมาจากการเป็นส่วนหนึ่งของการขยายตัวและการพัฒนาการ
ค้าแบบพาณิชยนิยม ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมระดับโลก รูปแบบความสัมพันธ์นี้
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหลักและเมืองบริวาร (metropolis-satellite relationship)
ที่พัฒนามาตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกสในช่วงคริสตศตวรรษที่ 15
จากที่ ข้ อ กล่ า วมานี้ เราสามารถสรุ ป สมมติ ฐ านของ Frankได้ 5 ประการคื อ
(อนุสรณ์, 2550:177-8)
1) การตกอยู่ในฐานะบริวาร ส่งผลให้การพัฒนาของประเทศเป็นไปอย่างจากัด
2) การพั ฒ นาของเมื อ งบริ ว ารจะประสบความส าเร็ จ ได้ ห รื อ นั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ
ความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับเมืองศูนย์กลางเริ่มหย่อนตัวลงเมื่อใด
3) ภูมิภาคของโลกที่ด้อยพัฒนามากที่สุดคือภูมิภาคที่ใกล้ชิดกับเมืองศูนย์กลาง
โลกมากที่สุด

152
152
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

4) ฟาร์ ม ขนาดใหญ่ (latifundium) เป็ น หน่ ว ยธุ ร กิ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เพื่ อ ตอบสนอง
ความต้องการในตลาดโลกหรือระดับชาติที่สูงขึ้น
5) ฟาร์ ม ขนาดใหญ่ ที่ มี อ ยู่ อ ย่ า งโดดเดี่ ย วและล้ า สมั ย เป็ น ผลมาจาก
ความสามารถในการผลิตลดต่าลง

โดยสรุปแล้ว “ยิ่งพัฒนา ยิ่งยากจน” กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงใดๆในประเทศ


บริวารจะถูกกาหนดมาจากประเทศศูนย์กลางเสมอ นอกจากนั้นแฟรงค์ยังเสนอว่า นอกจาก
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และระบบทุนนิยมจะเป็นตัวกาหนดความด้อยพัฒนาแล้ว ปัจจัย
ภายในเช่น นโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศยังมีเป็น
ตัวกาหนดสาคัญด้วย เนื่องจากนโยบายเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองประโยชน์ของชนชั้น
นายทุนภายในประเทศ แต่สุดท้ายปัจ จัย ภายนอกก็ ถื อว่ า สาคั ญ ที่สุ ด แฟรงค์เห็นว่ า การ
ครอบงาของส่วนกลางของโลกตั้งแต่สมัยอาณานิคมเป็นตัวกาหนดโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ
และชนชั้นของประเทศบริวาร และโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและชนชั้นจะไปกาหนดนโยบาย
ภายในของประเทศต่างๆอีกทีหนึ่ง
นอกจาก Frank แล้ ว นั ก คิ ด ทฤษฎี พึ่ ง พิ ง อี ก คนที่ ค วรกล่ า วถึ ง Dos Santos ที่
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่ารวยกับประเทศยากจนว่ามีลักษณะการพึ่งพิงอยู่ 3
ประการคือ
1) การพึ่งพิงในยุคอาณานิคม ซึ่งนายทุนร่วมมือกับรัฐผูกขาดการค้ากับประเทศอาณา
นิคม
2) การพึ่งพิงด้านการเงินโดยประเทศศูนย์กลางหรือประเทศร่ารวย ผูกขาดการลงทุน
ในอุตสาหกรรมการผลิต วัตถุดิบของประเทศบริวารหรือประเทศยากจน
3) การพึ่งพิงในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศบริวารพึ่งพิงบรรษัทข้าม
ชาติในด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการผลิต และซื้อวัตถุดิบที่ใช้เทคโนโลยี
สมัยใหม่ซึ่งประเทศบริวารผลิตเองไม่ได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าใน
ประเทศบริวาร ในขณะที่บรรษัทข้ามชาติส่ง ผลกาไรกลับไปยังประเทศศูนย์กลาง
ปัญหาการขาดดุลการค้าในประเทศบริวารทาให้ต้องอาศัยทุนจากต่างประเทศจึง
นาไปสู่ก ารกู้ เงินจากต่างประเทศ Santos เรีย กความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ศูนย์กลางและประเทศบริวารว่า “การพึ่งพิงแบบใหม่” (New Dependentistas)

Santos อธิบายเพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยากจนถูกก าหนดเงื่อนไข


โดยการพัฒนาและการขยายตัวของกลุ่มประเทศร่ารวยซึ่งหมายถึงประเทศในโลกที่สาม มี
ลั ก ษณะพึ่ ง พิ ง ทั้ ง ในด้ า นวั ฒ นธรรม สั ง คม การเมื อ ง และเศรษฐกิ จ ต่ อ ประเทศทุ น นิ ย ม

153
153 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ตะวั น ตก ได้ แ ก เทคโนโลยี ก ารผลิ ต สิ น ค้ า ทุ น เงิ น ทุ น ตลาดส่ ง ออก และผู้ เ ชี่ ย วชาญ
นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยากจนและประเทศร่ารวยยังมีลักษณะความสัมพันธ์
แบบเอารัดเอาเปรียบ ขูดรีด ดังนั้น Santos จึงเสนอแนะให้ประเทศโลกที่สามดาเนินการดังนี้
1) พัฒนาโดยการพึ่งพาตนเอง และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2) ส่งเสริมความร่วมมือ ทางเศรษฐกิ จ สังคม การเมือง เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาของ
ตนเอง และต่อรองกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
3) ปฏิรูปความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกาลังพัฒนา

นอกจาก Frank และ Santos แล้วยังมีนักคิดในแนวทางทฤษฎีพึ่งพิงอีกหลายคน


อ า ทิ เ ช่ น François Perroux and Kurt Rothschild. Herb Addo, Walden Bello,
Fernando Henrique Cardoso, Enzo Faletto, Armando Cordova, Ernest
Feder,Walter Rodney, Pablo González Casanova, Keith Griffin, Kunibert Raffer,
Paul Israel Singer, และ Osvaldo Sunkel. ซึ่งนักคิดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์และ
ให้ความสาคัญกับประเด็นความด้อยพัฒนาบนพื้นฐานของความเป็น “ละตินอเมริกา” ส่วน
นักคิดที่สาคัญอีกคนซึ่งอาศัยประสบการณ์ภาวะความด้อยพัฒนาจากทวีปแอฟริกาคือSamir
Aminถึงแม้ว่านักคิดเหล่านี้จะมีความคิดเห็นและการนาเสนอภาวะพึ่งพิงที่แ ตกต่างกัน แต่
สามารถสรุปจุดร่วมกันของแนวทางการศึกษานี้ได้ คือ (จุฑาทิพ, 2555: 55)
1) ภาวะเศรษฐกิจของประเทศกาลังพัฒนามีความผูกพันกับระบบเศรษฐกิจโลก โดย
ที่ความร่ารวยของประเทศตะวันตกมีความสัมพันธ์กั บความยากจนในประเทศ
กาลังพัฒนา
2) การเชื่อมโยงระหว่างชนชั้นนาและนายทุนภายในประเทศกับชนชั้นนาและนายทุน
ระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างใกล้ชิดและเอื้อประโยชน์ ซ่ึงกั นและกั น นายทุ น
ต่างชาติจะไม่สามารถครอบงาเศรษฐกิจของประเทศกาลังพัฒนาได้ ถ้าไม่ได้รับ
ความร่วมมือจากนายทุนชาติเจ้าของประเทศ และในทานองเดียวกันนายทุนชาติ
เจ้าของประเทศจะไม่ได้ รับประโยชน์มากนัก ถ้าไม่ให้ความร่วมมือกั บนายทุ น
ต่างชาติ
3) ผลกระทบในระยะยาว คือ ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันจะเริ่มขยายตัวจากระดับ
ระหว่างประเทศไปสู่ความไม่เท่าเทีย มทางเศรษฐกิ จและสังคมภายในประเทศ
กล่าวคือ ระหว่างกลุ่มชนระหว่างภูมิภาคและระหว่างสาขาการผลิต อั นอาจจะ
นาไปสู่ความขัดแย้งทางชนชั้นและความแตกต่างในสังคม

154
154
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

Andre Gunder Frank Immunael Wallerstein

6.4 แนวคิดระบบโลกสมัยใหม่ของ Wallerstein


Immanuel Wallerstein เป็นนัก สังคมวิทยาชาวอเมริกั นที่พัฒนาและนาเสนอ
ทฤษฎีระบบโลกอย่างเป็นรูปเป็นร่าง โดยผ่านงานเขียนชุด The Modern World System
ซึ่งปัจจุบันนี้มีจานวน 4 เล่ม Walerstein พัฒนาแนวคิดระบบโลกของตนโดยได้รับอิทธิพล
จากงานหลายชิ้น ได้แก่ งานของนักประวัติศาสตร์อย่าง Fernand Brudel งานเรื่องจักรวรรดิ
นิย มของ Lenin แนวคิดพึ่งพิงของนักวิชาการสายละตินอเมริกา อีก ทั้งประสบการณ์การ
ทางานภาคสนามในภูมิภาคแอฟริกา
Wallerstein (1974) ให้ ค วามส าคั ญ กั บ การมองระบบสั ง คมทั้ ง ระบบ (total
social system) โดยเห็นว่า ระบบโลกเป็นระบบสังคมประเภทหนึ่งที่มีพรมแดน มีโครงสร้าง
มีสมาชิกมีกฎเกณฑ์การสร้างความชอบธรรมและการยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันไว้ โดยได้แบ่ง
ระบบโลกออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1) จักรวรรดิโลก (world empire)เป็นระบบการเมืองระบบเดียวที่ครอบครอง
ดิ น แดนไว้ จ านวนมาก มี ก ารรวมทั้ ง อ านาจทางการเมื อ งและเศรษฐกิ จ ไว้ ท่ี
ศูนย์กลาง เช่น จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิจีน จักรวรรดิเปอร์เซีย เป็นต้น จักรวรรดิ
มีวัฎจักรของการรุ่งเรืองและล่มสลายอยู่ตลอดเวลาประวัติศาสตร์ ขึ้นอยู่กับการ
จัดสรรส่วนเกินทางเศรษฐกิจ
2) เศรษฐกิจโลก (world economy)เป็นระบบโลกที่มีการแบ่งงานกันทา
(division of labor) เป็นสิ่งที่ครอบงาโลก ไม่มีโครงสร้างทางการเมืองที่ควบคุม
โลกอย่างชัดเจนเหมือนจักรวรรดิโลกกล่าวคือ แยกเป็นเอกเทศและกระจายตัว
ระบบเศรษฐกิจมีการจัดสรรส่วนเกินผ่านการแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นไปตามวิถีก ารผลิต
แบบทุนนิยม ดังนั้นโลกจึงเป็น ระบบโลกทุนนิยม (capitalist world system) ซึ่ง
เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ในยุโรปและแผ่ขยายไปทั่วโลก

155
155 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ดังจะเห็นได้จากที่ ฝรั่งเศส อังกฤษและเนเธอแลนด์ได้พัฒนาตนเองเป็นศูนย์กลาง


ทุนนิยมในช่วงเวลาดังกล่าว กล่าวได้ว่าพลังทุนนิยมเป็นแรงขับเคลื่อนที่สาคัญและ
ดาเนินอย่างเข้มแข็งมาจนถึงปัจจุบัน
จุดเด่นของแนวคิดระบบโลกคือ หน่วยของการวิเคราะห์ คือโลกทั้งใบ การศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวทางนี้ มีลักษณะสาคัญ ได้แก่
1) วิ เ คราะห์ ร ะบบโลก ด้ ว ยหลั ก การแบ่ ง งานกั น ท าระห ว่ า งประเทศ
(International Division of Labor) ที่นาไปสู่การแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเทียม
(unequal exchange)
2) Wallerstein ได้แบ่งระบบโลกออกเป็น 3 ส่วน คือรัฐศูนย์กลาง (core) รัฐกึ่ง
ชายขอบ (semi-periphery) และรัฐชายขอบ (periphery) ตามหลักการแบ่ง
งานกันทาระหว่างประเทศ
แผนภำพที่ 6.1 กำรแบ่งรัฐตำมแนวคิดระบบโลกสมัยใหม่ของ Wallerstein

รั ฐ ศู น ย์ ก ลำง (core)เปรี ย บได้ กั บ ชนชั้ น นายทุ น ตามความคิ ด ของ Marx รั ฐ


ศูนย์กลางเป็นรัฐที่มีอานาจทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจที่ทรงพลัง ทาหน้าที่ผูกขาด
กาไรในระบบประหนึ่งนายทุน รัฐบาลของรัฐศูนย์กลางจะเข้ามาทาหน้าที่ปกป้องเศรษฐกิจ
ของประเทศและผูกขาดทางการค้า โดยเข้าไปแสวงหาทรัพยากรและเอารัดเอาเปรียบจาก
บรรดารั ฐ ชายขอบ (periphery) และกึ่ ง ชายขอบ (semi-pheriphery) ซึ่ ง ครอบครอง
ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ แต่ขาดแคลนเทคโนโลยีก ารผลิ ตรวมทั้ง มี ความอ่อนแอทั้ ง ทาง
การเมือง สังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้รัฐศูนย์กลางยังอาจใช้กาลังทางทหารที่เหนือกว่าเข้า
ไปครอบครองดิ น แดนชายขอบและกดขี่ แ รงงานเพื่ อ ผลิ ต สิ น ค้ า ราคาถู ก ให้ กั บ ตนเอง
ยกตัวอย่างเช่น รัฐทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา และยุ โรปตะวันตก หรือบางที่เราอาจจะเรียก

156
156
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

กลุ่มนี้ ประเทศโลกที่หนึ่ง (First World) ซึ่งมีอานาจทางเศรษฐกิจ และการเมืองในระดับ


ระหว่างประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างของรัฐศูนย์กลางที่เด่นชัด
ที่สุดในโลกปัจจุบัน
รัฐกึ่งชำยขอบ (semi-periphery) มีสถานะของรัฐที่สามารถเปลี่ย นตัวเองไป
เป็นรัฐศูนย์กลางได้ แต่ยังไม่มีศักยภาพที่เพียงพอ แต่จะไม่ให้สถานะของตัวเองตกลงไปเป็น
รัฐชายขอบ ในที่นี้ รัฐกึ่งชายขอบจึงเป็นนรัฐที่พยายามแข่งขันกันเพื่อให้ตนได้รับประโยชน์
จากรัฐศูนย์กลาง ในฐานะฐานการผลิตสินค้าที่สาคัญป้อนให้กับ รัฐศูนย์กลาง ดังนั้นอาจกล่าว
ได้ว่า รัฐกึ่งชายขอบจะเปรียบเสมือนเป็น “รัฐกันชน” ระหว่างรัฐศูนย์กลางและรัฐชายขอบ
ซึ่งเป็นการลดความตึงเครียดและบรรเทาความรุนแรงของระบบเศรษฐกิจโลก เพราะหากมี
แต่รัฐศูนย์กลางกับรัฐชายขอบแล้ว เศรษฐกิจโลกอาจจะพังทลายก็เป็นได้ ตัวอย่า งรัฐกึ่งชาย
ขอบในปัจจุบันได้แก่ อินเดีย บราซิล ตุรกี สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ เป็นต้น
รัฐชำยขอบ (periphery)รัฐกลุ่มนี้เปรียบเสมือนเป็นชนชั้นกรรมกร หรือชนชั้น
แรงงานในความคิ ด ของมาร์ ก ซ์ รั ฐ ชายขอบเป็ น รั ฐ ที่ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ เต็ ม ไปด้ ว ย
ทรัพยากรธรรมชาติ แต่เป็นรัฐที่อ่อนแอทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ขาดแคลน
เทคโนโลยีในการผลิต แรงงานราคาถูก จึงมีหน้าที่สาคัญคือการป้อนปัจจัยการผลิตราคาถูก
ให้กับรัฐศูนย์กลางและรัฐกึ่งชายขอบ และซื้อสินค้าราคาแพงจากรัฐศูนย์กลาง บางครั้งเรา
อาจเรี ย กรั ฐ ชายขอบในชื่ อ กลุ่ ม ประเทศโลกที่ ส าม (Third World) ตั ว อย่ า งประเทศใน
ปัจจุบันที่อยู่ในลักษณะรัฐชายขอบ ได้แก่ โดยเฉพาะประเทศในทวีปแอฟริกา (เกือบทั้งทวีป)
ในทวีปเอเชีย เช่น พม่า บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล และในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา
เช่น กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศูนย์กลาง รัฐกึ่งชายขอบและรัฐชายขอบ จึงเป็นลักษณะ
การแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเทียมกัน เป็นการขูดรีดผลประโยชน์ นาไปสู่ความแตกต่างในระบบ
ย่อยและนาไปสู่การแบ่งงานกันทาในระบบทุนนิยม คือ วิถีการผลิต (mode of production)
และวิถีการควบคุมแรงงาน (mode of labor control) ซึ่งจะเห็นได้ว่า รัฐศูนย์กลางจะมีวิถี
การผลิตที่เป็นกิจกรรมอุตสาหกรรมแบบทุนนิยม และวิถีการควบคุมแรงงานจะเป็นลักษณะ
แรงงานค่าจ้าง (wage labor) และว่าจ้างตนเอง (self-employed) ส่วนในดินแดนกึ่ งชาย
ขอบ วิ ถี ก ารผลิ ต จะมี ทั้ ง อุ ต สาหกรรมและเกษตรกรรม วิ ถี ก ารควบคุ ม แรงงานในภาค
เกษตรกรรมจะเป็ น การแบ่ ง ปั น ผลผลิ ต ส่ ว นดิ น แดนชายขอบจะมี วิ ถี ก ารผลิ ต แบบ
เกษตรกรรมเป็นหลัก และวิถีการควบคุมแรงงานจะเป็นแบบโดนบังคับ

157
157 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

รัฐศูนย์กลางของโลกจึงเสมือนชนชั้นนายทุน และรัฐชายขอบรวมทั้งรัฐกึ่งชายขอบ
จะเป็นรัฐที่ถูกเอาเปรียบและมีส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจในระบบโลกที่น้อย แต่สิ่งที่สาคัญที่สุดที่
ทาให้รัฐทั้งสามรูปแบบนี้รวมกันเป็นระบบโลกคือ การไหลเวียนของสินค้า (circulation of
goods)และความสัมพันธ์ในเชิงขูดรีด (exploitative relationship) ของระบบดังกล่าวที่ทา
ให้ระบบทุนนิยมโลกยังดารงอยู่ได้ (จุลชีพ , 2557: 79-80; Hobden & Jones, 2011: 135-
136)
นอกจากนั้น ด้วยโครงสร้างของโลกที่แบ่งออกเป็นสามส่วนข้างต้น ยังสะท้อนให้
เห็นถึงสถานะของรัฐในระบบโลกอีกด้วย กล่าวคือ ระบบเศรษฐกิ จ โลกไม่ได้มีโ ครงสร้าง
ศูนย์กลางทางการเมืองเพียงแห่งเดียว แต่จะประกอบด้วยรัฐจานวนต่างๆมากมาย รัฐเหล่านี้
มีความเข้มแข็งและบทบาทที่แตกต่างกันไป ได้แก่
1) รัฐศูนย์กลางจะมีความแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพสูง ขณะที่รัฐชายขอบจะอ่อนแอ
ส่วนรัฐกึ่งชายขอบจะมีความแข็งแกร่งน้อยกว่ารัฐศูนย์กลางแต่ก็เข้มแข็งกว่ารัฐ
ชายขอบ
2) รั ฐ ศู น ย์ ก ลางจะมี อ านาจทางทหารและพลเรื อ นที่ เ ข้ ม แข็ ง สามารถปกป้ อ ง
ผลประโยชน์ของนายทุนกลุ่มต่างๆทั้งในประเทศและในระหว่างประเทศได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ รัฐมีอิสระในการกาหนดนโยบายในระดับหนึ่ง มีผลประโยชน์ของรัฐ
และระบบราชการที่ต้องรักษาไว้ อีกทั้งต้องตอบสนองความต้องการของกลุ่มอื่นๆ
ตามที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของรัฐนั้นๆด้วย
3) รัฐศูนย์กลางเข้มแข็งมากเท่าใดก็ยิ่งทาให้รัฐชายขอบอ่อนแอลงเท่านั้น อันเป็นผล
มาจากการแทรกแซงกิจการของรัฐชายขอบโดยรัฐศูนย์กลาง ไม่ว่าจะด้ วยการทา
สงคราม การเป็นบ่อนทาลายหรือการทูตก็ตาม

158
158
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

แผนภำพที่ 6.2 รั ฐ ในระบบเศรษฐกิ จ โลกตำมแนวคิ ด Wallerstein (ปรั บ ปรุ ง จาก


Hobden & Jones, 2011: 136)

รัฐกึ่งชำยขอบ

 รัฐเผด็จการอานาจนิยม
 ส่งออกและนาเข้า
รัฐศูนย์กลำง สาธารณูปโภคและวัตถุดิบ
 แรงงานราคาถูก
 รัฐประชำธิปไตย (Democratic  สวัสดิการสังคมต่า
government)
 แรงงำนรำคำสูง (high wage)
 นำเข้ำวัตถุดิบรำคำถูก
 ส่งออกสินค้ำอุตสำหกรรม
 มีกำรลงทุนสูง รัฐชำยขอบ
 มีบริกำรทำงสวัสดิกำรสังคม  รัฐที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
 ส่งออกวัตถุดิบ
 นาเข้าสินค้า
 ค่าจ้างต่ากว่าความเป็นจริง
 ไม่มีสวัสดิการสังคม

6.5 Neo-Gramscianism กับกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

Antonio Gramsci เป็นนักทฤษฎีการเมือง นักหนังสือพิมพ์และนักเคลื่อนไหวทาง


การเมืองสายมาร์ก ซ์แนวมนุษยนิยมชาวอิตาลีที่ให้ความสาคัญกับความคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อ
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางอานาจที่ไม่เท่าเที ยมและชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
กลุ่มพลังต่างๆในสังคม ตลอดจนอธิบายกลยุทธในการสร้างแนวร่วมของชนชั้นหรือกลุ่มพลัง
เพื่อนาไปสู่การสร้างหรือช่วงชิงสภาวะการนา (hegemonic position) หรือการครองอานาจ
นา (hegemony) ในสังคมการเมืองหนึ่งๆ ดังจะเห็นได้จ ากงานเขีย นของเขาที่ชื่อ “The
Prison Notebooks” (วัชรพล, 2557: 25) โดยสรุปแล้วแนวคิดโดยสังเขปของ Gramsci คือ
เป็นการศึกษาว่าชนชั้นนาสามารถครอบงาความคิดของมวลชนชั้นล่างได้อย่างไร ชนชั้นล่าง
สามารถเห็นชอบความคิดของชนชั้นนาได้อย่างไรและด้วยวิธีใด อีกทั้งเพราะเหตุใดการปฎิวัติ
จึงไม่เกิดขึ้นในสังคมยุโรปตะวันตกอย่างเช่นที่เกิดขึ้นและประสบความสาเร็จในรัสเซีย จาก

159
159 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ประสบการณ์ในอิตาลี Gramsci ชี้ให้เห็นว่าชนชั้นนายทุนในอิตาลีสามารถสร้างความรู้สึก


ร่วม (common sense) และครอบงาความรู้สึกนึกคิดของชนชั้นใต้ปกครองได้อย่างเบ็ดเสร็จ
เด็ดขาด โดยความสาเร็จดังกล่าวมิได้มาจากการใช้กาลังขู่บังคับ (coersion) หากแต่เกิดจาก
กระบวนการสร้างความยินยอมพร้อมใจ (consent)
ความคิด ดัง กล่า วของ Gramsci ถูก นาไปใช้ ใ นหลายสาขาวิช า เช่น การศึ ก ษา
การเมือง เศรษฐกิจ สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม แต่สาขาวิชาที่นาความคิด
ไปปรับใช้และเชื่อ มโยงอย่าง “มีชีวิตชีวา” มากที่สุดสาขาหนึ่งก็ คือ สาขาความสั ม พั น ธ์
ระหว่างประเทศ ซึ่งมี Robert Cox16 เป็นผู้นา (Hobden & Jones, 2011: 137) นอกจากนั้น
ยังมี Stephen Gill, Adam Mortan, Andreas Bielerเป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษา
ในแนวทางนี โ อกรั ม เชี ย น (Neo-Gramscian) โดยเฉพาะเรื่ อ งการครองอ านาจน า
(Hegemony) ว่าสามารถอธิบายโครงสร้างทางอานาจในระดับระหว่างประเทศ ตลอดจน
รูปแบบของระบบโลกใหม่ภายใต้รัฐมหาอานาจซึ่งประสบความสาเร็จในการครองอานาจนา
ระดับโลกซึ่งครอบคลุมทั้งในมิติทางการเมือง เศรษฐกิ จ และสังคมไปพร้อมๆกัน (ฑภิพร,
2556: 135-136)
Cox ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่างานของ Gramsci จะไม่ได้ก ล่าวถึง การเมืองระหว่ า ง
ประเทศโดยตรง แต่ความคิดเรื่องการครองอานาจนานั้นมิได้เกิดขึ้นแต่ในระดับชาติเท่านั้น
หากแต่มีความซับ ซ้อนและปรากฎในระดับระหว่างประเทศด้ วย การพัฒนาแนวคิ ด ของ
Gramsci ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นการพิจารณาการครองอานาจนา
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานะผู้นากลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นการผสมผสานรูปแบบการ
ครองอานาจของรัฐในระบบโลกเข้ากับการสร้างกระบวนการยินยอมพร้อมใจและเป็นผู้นาใน
เชิงอุดมการณ์
แนวคิดสาคัญของ Cox คือ การจัดระเบียบโลก ความสัมพันธ์ทางสังคมของการ
ผลิต และรูปแบบของรัฐล้วนสัมพันธ์กันในลักษณะที่ชนชั้นนาซึ่ งมิได้จากัดขอบเขตอยู่ที่รัฐใด
รัฐหนึ่ง ได้ประสานความร่ว มมื อกั บกลุ่ม ปัญ ญาชนที่ ศรั ท ธาต่อระบบทุ นนิย มเสรี เข้ามา
ควบคุมจัดการความเป็นไปของระเบียบโลกผ่านองค์การและสถาบันระหว่างประเทศ โดยการ
ใช้ สื่ อ สารมวลชนเป็ น เครื่ อ งมื อ โดยปรั บ เปลี่ ย นแนวคิ ด เรื่ อ ง การครองความเป็ น เจ้ า

16 ในตาราบางเล่มจัดให้ Robert Cox อยู่ในกลุ่มทฤษฎีเชิงวิพากษ์ (critical theory) ซึ่งเดิมทีกลุ่ม


แนวคิดนี้เป็นกลุ่มนักวิชาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดมาร์กซ์และจัดตั้งเป็นกลุ่ม ของนักวิชาการ
กลุ่มเล็กๆ ในเยอรมนีหรือที่เรียกว่า สานักแฟรงเฟิร์ต (the Frankfurt School) ส่วนในการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับทฤษฎีเชิงวิพากษ์นั้น มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับแนวทางการศึกษา
เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศในแบบมาร์กซ์ ซึ่งมี Robert Cox และ Andrew Linklater
เป็นผู้นา

160
160
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

(Hegemony) การสร้างกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ (Historical Bloc) และสงครามช่วงชิง


การนา(war of position) มาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาจ ความรู้และเครือข่ายการ
บริหารควบคุมสังคมทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ
Cox ได้นาความคิดของกรัมชี่มาเชื่อมโยงกับ การศึกษาการเมืองโลก ในผลงานคือ
Social Forces, States and World Orders: Beyond International Relations Theory
ในปี 1981 ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งเวลาที่ เกิ ด ผลกระทบจากวิก ฤตเศรษฐกิ จ ในช่ ว งทศวรรษที่ 1970
ปรากฎอย่างเด่นชัดถึงลักษณะโครงสร้างอานาจแบบครอบงาที่เชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ทาง
สั ง คมของการผลิ ต ที่ เ ริ่ ม ปรากฎลั ก ษณะโครงข่ า ยความสั ม พั น ธ์ ข้ า มเขตแดนรั ฐ
(transnationalisation) ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น ของระบบทุ น นิ ย มที่ บ รรษั ท ข้ า มชาติ เ ริ่ ม มี
บทบาทอย่างเด่นชัด โดยทฤษฎีนี้ไ ด้ตั้งคาถามว่า ระบบโลกที่เป็นอยู่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ประกอบด้วยพลังทางสังคม (social force) อะไรบ้าง มีบรรทัดฐาน สถาบันและการทางาน
อย่างไร และในที่สุดมีพลังทางสังคมอื่นๆอะไรบ้างที่จะมาเปลี่ยนระบบที่เป็นอยู่ (Cox, 1981:
129)
แผนภำพที่ 6.3 ควำมสัมพันธ์ของพลังทำงสังคม รูปแบบรัฐ และระเบียบโลกของ Cox
(Jackson & Sorensen, 2013: 170)

พลังทำงสังคม
(Social Force)

รูปแบบรัฐ ระเบียบโลก
(Forms of State) (World Order)

Cox ให้ความสาคัญอยู่ 3 ประเด็นคือ


1) พลังทำงสังคม (Social Force) ซึ่งหมายถึง กลุ่มต่างๆที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์
ทางการผลิต ซึ่งมิใช่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่เพียงอย่างเดีย ว แต่หมายถึงการ
สร้างและผลิตซ้าความรู้ ความสัมพันธ์ทางสังคม ศีลธรรมและสถาบันที่จาเป็นต่อ
การผลิตคอกซ์เห็นว่าพลังทางสังคมนี้มีลักษณะลื่นไหลไม่หยุดนิ่ง และปั ญหาที่มี
ความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีลักษณะตายตัว

161
161 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

2) รูปแบบของรัฐ (Forms of State) ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่าง


กลุ่มประชาสังคม (Civil Society)กับภาครัฐ ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
3) ระเบียบโลก (World Order) ซึ่งมิใช่แค่เพียงการทาความเข้าใจความมั่นคงหรือ
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ แต่ยังเสนอทางเลือกระเบียบโลกใหม่นั้นเราจะสร้าง
มันขึ้นมาได้อย่างไร

จากแผนภาพที่ 6.3 Cox (1981,1983) เสนอว่า การทางานของพลังสังคมในรัฐ


ใดรัฐหนึ่งทาให้เกิดโครงร่าง (configuration) ของพลังทางสังคมขึ้นมา อานาจรัฐตั้งอยู่บน
โครงร่างนี้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อานาจในความสัมพันธ์ทางสังคมในกระบวนการผลิตจะ
เป็นตัวที่บอกว่าพลังทางสังคมใดบ้างที่มีความสาคัญ และการทางานของพลังทางสังคมเหล่านี้
ก็ คือฐานอานาจของรัฐ ทฤษฎีนี้ให้ความสาคัญกับการครองอานาจนา โดยสภาวะนานั้น
เกิดขึ้นในระบบทุนนิยมเท่านั้น รูปแบบรัฐทุนนิยมประกอบด้วยสังคมทางการเมือง (political
society) และประชาสังคม (civil society) กล่าวคือรัฐคือการปกครองโดยผ่านการใช้อานาจ
ของสั ง คมการเมื อ งและการยิ น ยอมจากประชาสั ง คม เราจะเห็ น ได้ ว่ า รั ฐ คื อ กิ จ กรรมที่
ประกอบด้วยความสัมพันธ์ทางการผลิต การขูดรีด การยินยอมที่มีฐานอย่างกว้างขวาง เพราะ
นอกจากจะเกิดขึ้นจากการทางานของพลังทางสังคมที่มีความสาคัญในรัฐโดยมีพื้นฐานจาก
ทรัพยากรทางวัตถุแล้ว ยังจะเกิดจากความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม ตลอดจน
การทางานของสถาบันต่างๆ มาผลึกกาลังกันทาให้เกิ ดสภาวะผู้นา พลังทางสังคมในรัฐใดรัฐ
หนึ่ง อาจจะนาสภาวะการเป็นผู้นาออกไปภายนอกรัฐ ดังนั้นสภาวะการเป็นผู้นาจึงเกิดขึ้นทั้ง
ในระดับรัฐและในระดับโลก แต่จะมีพลังทางสังคมนาของรัฐใดรัฐหนึ่งในเวลาหนึ่งที่สามารถ
นาออกไปสู่ระเบีย บโลกได้ ซึ่งมีส่วนสาคัญต่อการก าหนดระเบีย บโลก สิ่งที่เกิดขึ้นคือการ
ออกไปเชื่อมกับพลังสังคมต่างๆข้ามประเทศ ดังนั้นภาวะผู้นาในระดับโลก คือ การขยายตัว
ของสภาวะผู้นาของชนชั้นทางสังคมที่เกิดขึ้นภายในประเทศที่เป็นศูนย์กลางของระบบทุน
นิยมออกไปภายนอก และไปเชื่อมกับพลังชนชั้นนาในประเทศทุนนิยมอื่นๆ ดังจะเห็น ได้จาก
การทางานของทุนนิยมที่มีอเมริกาครองอานาจนาและเข้าไปเชื่อมกับพลังทางสังคมและรัฐ
ต่างๆภายใต้โครงสร้างระเบียบโลกที่เรียกว่า Pax-Americana หลังสงครามโลกครั้งที่ สอง
สิ้ น สุ ด ซึ่ ง ในความคิ ด ของ Cox แล้ ว Pax-Americana นั้ น เป็ น ทั้ ง ระบบและสถาบั น ที่ ม า
รองรับการทางานของระเบียบโลกไปพร้อมๆกัน การศึกษาบทบาทของสถาบันเหล่านี้เพื่อทา
ความเข้าใจโครงสร้างระบบเศรษฐกิจโลกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นอานาจนา จึงมีความสาคัญต่อ
การศึกษาการปรับตัวของรัฐต่างๆภายใต้การนาของอเมริกา หรือที่เรียกว่าการเข้าสู่ความเป็น
สากลของรัฐและทุน (The Internationalization of the state and capital)

162
162
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

อิทธิพลของ Gramsci ต่อความคิดของ Cox โดยเฉพาะเรื่องการครองอานาจนา


เป็นส่วนสาคัญต่อการตั้งข้อสังเกตต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะสถาปนา
ระเบียบโลกในแบบที่กลุ่มชนที่สนับสนุนโครงสร้างการผลิตแบบทุนนิยมสามารถครองความ
ได้เปรีย บ แรงกระตุ้นจากคอกซ์ก่ อให้เกิ ดการแนวทางการศึกษาNeo-Gramscianism ที่
เชื่อมโยงทั้งสาขาวิชาความสัมพั นธ์ระหว่างประเทศ และเศรษฐศาสตร์ก ารเมืองระหว่าง
ประเทศเชิงวิพากษ์ (Critical International Political Economy) เพื่อเน้นย้าว่าโครงสร้าง
ดังกล่าวคงอยู่ได้เพราะความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตปัญญาและความรู้ กั บตัวแสดงทาง
สังคมที่มีผลประโยชน์และทัศนะต่อความเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์นั้นอย่างเข้มแข็ง ดังที่
คอกซ์มักจะเตือนผู้ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยวลีที่ว่า “ทฤษฎีมีไว้เพื่อใคร
บางคน และจุดประสงค์บางประการ” (Theory is always for someone, and for some
purpose)
เพื่อให้เห็นภาพการครองอานาจนาที่เด่นชัดขึ้น ในที่นี้จ ะขอนาเสนอการครอง
อานาจนาในประวัติศาสตร์โลกว่าในแต่ละช่วงเวลานั้น การครองอานาจนามีการเริ่มต้นและ
สิ้นสุดอย่างไร หรือบางช่วงอาจจะไม่มีการครองอานาจนา (nonhegemonic) เกิดขึ้นเลยก็ได้
Cox ได้จัดแบ่งช่วงประวัติศาสตร์ดังต่อไปนี้
 ปี 1845-1875 เป็นโลกที่มีอังกฤษเป็นผู้ครองอานาจนาในเศรษฐกิจการเมือง
ระหว่างประเทศ เราอาจเรียกยุคนี้ได้ว่า Pax-Britainica อีกทั้งอังกฤษยังเป็น
หนึ่งในรัฐมหาอานาจที่จัดการระบบดุลอานาจในยุโรป
 ปี 1875-1945 เป็นช่วงที่ไม่มีก ารครองอานาจนา เนื่องจากมีก ารท้าทาย
อานาจอังกฤษจากหลายรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี อีกทั้งการเกิด
สงครามโลกทั้งสองครั้ง
 ปี 1945-1965 เป็นโลกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลางอานาจ หรือ Pax-
Americana
 ปี 1965-1983 เป็ น ช่ ว งที่ ไ ม่ มี ก ารครองอ านาจน า (บริ บ ทที่ Cox ตี พิ ม พ์
บทความ) เนื่องจากอานาจอเมริก าเริ่มเปราะบางอันเป็นผลมาจากการไม่
สามารถครองอานาจนาในเศรษฐกิจการเมืองโลกได้อีกต่อไป

Cox ย้าเตือนอยู่เสมอว่า อย่าให้ความสาคัญกับรัฐแต่เพียงประการเดียว Cox เห็น


ว่าการครองอานาจนาเป็นสิ่งที่สร้างความต่อเนื่องของระบบและรักษาเสถียรภาพในระบบ
ระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงประเทศที่ถืออานาจนาในระบบการเมืองระหว่างประเทศมี
ส่วนสร้างระเบียบโลกให้ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประเทศนั้นๆ อย่างไรก็ตาม การครอง

163
163 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

อานาจนาที่ขับเคลื่อนด้วยระบบทุนนิยมได้สร้างความไม่เป็นธรรม ทั้งในเรื่องการเข้าถึง การ


ครอบครองทรัพยากรต่ างๆโดยใช้กลไกต่างๆรวมทั้งการบังคับและสร้างการยอมรับ ดังนั้น
ประเด็นสาคัญที่จะทาให้เราเข้าใจก็คือ “การพิจารณาบทบาทของหน่วยงานระหว่างประเทศ
ที่ส่งเสริมทุนนิย มโลกให้ขยายตัว และส่งผลต่อการดาเนินนโยบายทั้งภายในประเทศและ
กิจการระหว่างประเทศ” ซึ่งมีกลไกการทางานใน 5 ลักษณะคือ
1) สร้างกฎเกณฑ์ที่ช่วยอานวยประโยชน์ให้กับการขยายตัวของระเบียบโลกใน
ลักษณะของการครองความเป็นเจ้า
2) กฎเกณฑ์เหล่านั้นเป็นผลผลิตจากระเบียบโลกดังกล่าว
3) กฎเกณฑ์นี้ช่วยทาให้บรรทัดฐานของหน่วยงานต่างๆที่สนับสนุนระเบียบโลก
มีความชอบธรรม
4) ช่วยให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างชนชั้นนาในขอบเขตศูนย์ก ลาง
กับชนชั้นนาในขอบเขตรอบนอก
5) กฎเกณฑ์เหล่านี้จะค่อยๆปรับเปลี่ยนแบบดูดซับความคิดที่ต้องการท้าทาย
การครองความเป็นเจ้าที่ดารงอยู่

ตัวอย่างองค์การระหว่างประเทศที่ทาหน้าที่แทนรัฐมหาอานาจที่ครองอานาจนาใน
ระบบระหว่างประเทศที่เห็นเด่นชัด ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International
Monetary Fund: IMF) องค์ ก ารการค้ า โลก (World Trade Organization: WTO) และ
ธนาคารโลก (World Bank) ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงชัยชนะทางความคิดเสรีนิยมใหม่ 17 (Neo-
Liberalism) ซึ่งทาหน้าที่เป็นเครือข่ายทางสถาบันในการกาหนดกฎเกณฑ์ของระบบการค้า
ระหว่างประเทศในปัจจุบัน นอกจากนี้หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ รัฐที่ก้าวขึ้นมาครอง
ความเป็ น จ้ า วจ าต้ อ งรั ก ษาระเบี ย บแบบแผนซึ่ ง มี คุ ณ ค่ า สากล (universal) อั น มิ ไ ด้ เ อื้ อ
ประโยชน์ต่อรัฐใดรัฐหนึ่ง หากแต่ได้ เป็นคุณค่าซึ่งเอื้อประโยชน์แก่สังคมการเมืองระหว่าง
ประเทศโดยรวม ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า องค์การระหว่างประเทศดังกล่าวถือเป็นกลุ่มก้อนทาง

17 การศึกษาแนวคิดเสรีนิยมใหม่ในเชิงเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศมีความหมายแตกต่างจาก
เสรีนิยมใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีสาระสาคัญคือ คือแนวคิดทางเศรษฐกิจที่รัฐและทุนจะ
ร่ว มกัน ดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งมีความแตกต่างกับเสรีนิยมแบบคลาสิคในยุคของAdam
Smith ที่มองว่ารัฐไม่ควรที่จะเข้ามาแทรกแซงกลไกของตลาดหรือเข้าควบคุมปัจจัยการผลิต ทว่าเสรี
นิยมใหม่มีกรอบคิดที่เน้นการบูรณาการร่วมกันของรัฐเพื่อสร้างช่องทางการตลาดใหม่ๆขึ้นมาไม่ว่าจะ
เป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ,การเปิดการค้าเสรี ฯลฯ ซึ่งเสรีนิยมใหม่จะวางฐานคิดอยู่ 4 ประการ
ได้แ ก่ การทาให้ เป็ นระบบตลาด (Marketization) การลดกฎเกณฑ์ห รือ ผ่อ นปรนระเบี ยบต่างๆ
(Deregulation) การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization) และการแปรรูปกิจการของรัฐ
ให้เป็นเอกชน (Privatization) ดูเพิ่มเติม เดวิด ฮาร์วี (แปล)(2555).

164
164
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ประวัติศาสตร์ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองและถือเป็นการต่อยอดของความพยายามสร้าง
เครื อ ข่ า ยการครองอ านาจน าทางเศรษฐกิ จ ในระดั บ ระหว่ า งประเทศ ดั ง จะเห็ น ได้ ว่ า
สหรัฐอเมริก าก้ าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการระบบเศรษฐกิ จการเมืองโลก หรือ Pax-Americana
ผ่านการสถาปนาสถาปัตยกรรมทางการเงินระดับโลกที่เรียกว่า ระบบเบรตตัน วูด (Bretton
Woods System) ซึ่งระบบนี้ถูกท้าทายและล่มสลายลงในทศวรรษที่ 1970 สหรัฐอเมริกาเอง
ก็ ต้ อ งประคองและรั ก ษาสถานะการครองอ านาจน าใหม่ อี ก ครั้ ง ( Reconstruction of
Hegemony) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ระหว่างประเทศ (Cox, 1981)

Antonio Gramsci Robert W. Cox

ทฤษฎีมาร์กซ์เน้นการวิเคราะห์การทางานของระบบทุนนิยมและความขัดแย้งทาง
ชนชั้นอันนาไปสู่การอธิบายความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียม เมื่อนาแนวคิดนี้มาประยุกต์กั บการ
อธิบายเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศก็ ทาให้เราเข้าใจถึงความไม่เท่าเทีย มของรัฐ ใน
ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ตลอดจนพิจารณาถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจว่าส่วนต่อการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจการเมืองของโลกใบนี้อย่างไร และชี้ให้เราเห็นว่าเศรษฐกิจและการเมืองมิสามารถ
แยกการอธิบายออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด อีกทั้งยังชี้ให้เห็นบทบาทนาของรัฐมหาอานาจที่
กุมชะตาเศรษฐกิจการเมืองโลกจนส่งผลต่อความเป็ นไปในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศ
กาลังพัฒนา ในขณะเดียวกันเราก็จะเห็นถึงการต่อสู้ของประเทศกาลังพัฒนาและด้อยพัฒนา
ที่พยายามแสวงหาจุ ดยืน ของตนเพื่อแสดงปากเสีย งและเรีย กร้องความเป็ น ธรรมในเวที
ระหว่างประเทศ

165
165 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

166
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 7 บทที่ 7
สำนักอังกฤษกัสำบ�กำรศึ
นักอังกกฤษกั บการศึ
ษำควำมสั มพักนษาความสั มพันธ์ระหว่างประเทศ
ธ์ระหว่ำงประเทศ
The English School and IR
(The English School and IR)

7.1 บทนำ
ในบทที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ อันได้แก่ สัจนิยม เสรีนิยม ถือ
เป็ น แนวคิ ด กระแสหลั ก อั น เกิ ด จากนั ก วิ ช าการด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศใน
สหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งทศวรรษ 1970 Stanley Hoffmann ได้อ้างถึงงาน
เขีย นทางประวัติศาสตร์ซึ่งให้เห็นภาพว่าแนวคิดของสานักอังกฤษนั้นถูก เพิก เฉยอย่างไร
(Dunne, 2010: 132) อี ก ทั้ ง ไม่ มี ร ะเบี ย บวิ ธี ก ารศึ ก ษาอย่ า งเป็ น ระบบที่ น อกเหนื อ จาก
รัฐศาสตร์แบบสหรัฐอเมริกา มีเพียงงานของ Hedley Bull เท่านั้น จากข้างต้นจึงเป็นที่มา
ของแนวคิดสานักอังกฤษ (The English School) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะหลังการตีพิมพ์ผลงานที่ชื่อ “The Anarchical Society” แนวคิดสานักอังกฤษก็
ได้รับความสนใจในแวดวงวิชาการมากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของสานักอังกฤษคือ การให้ความสาคัญกับบริบททางประวัติศาสตร์ และ
คุณค่าหรือค่านิยมระหว่างประเทศซึ่งเป็นประเด็นที่ทฤษฎีกระแสหลักเช่นสัจนิยมและเสรี
นิยมเพิกเฉย นักคิดในสานักนี้ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการที่สังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยในอังกฤษ
เช่น Hedley Bull ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ Martin Wight, Nicolas Wheeler, Andrew
Hurrell, Barry Buzan, Tim Dunne เป็ น ต้ น ส านั ก อั ง กฤษมี ชื่ อ เรี ย กอี ก ชื่ อ คื อ Liberal
Realism หรื อ แนวทางการศึ ก ษาสั ง คมระหว่ า งประเทศ ( International Society
Approach)
สานักอังกฤษหลีกเลี่ยงการสร้างทฤษฎีที่เลือกกระแสอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
ทฤษฎีกระแสหลักเช่นทฤษฎีสัจนิยมหรือทฤษฎีเสรีนิยม กล่าวคือ เลี่ยงการอธิบายที่ว่ารัฐเป็น
ตัวแสดงสาคัญที่สุดและเน้นความขัดแย้งตามแนวทางสัจ นิย มหรือประเด็นธรรมชาติ และ
เจตนารมณ์ของมนุษย์รวมทั้งความร่วมมือซึ่งกลายเป็นสิ่งที่สัจนิยมและเสรีนิยมต่างถกเถียง
กั น ดั ง นั้ น แนวทางส านั ก อั ง กฤษจึ ง สั ง เคราะห์ ท ฤษฎี แ ละแนวคิ ด ต่ า งๆหลายประการ
โดยเฉพาะการผนวกเอาทฤษฎีและประวัติศาสตร์ ศีลธรรมและอานาจ ตัวแสดงกับโครงสร้าง
ประเด็ น ที่ ส าคั ญ ที่ สุ ด คื อ การเสนอกรอบการวิ เ คราะห์ “สั ง คมของรั ฐ ” (society of
states) หรือ “สังคมระหว่ำงประเทศ” (international society) อันหมายถึง กลุ่มของ

167
167 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

รัฐอธิปไตยที่ พยายามสร้า งกติ ก าและกลไกสถาบั นร่ ว มกั น ด้วยการเจรจาต่อรอง แม้ว่ า


แนวทางการศึก ษาสานัก อังกฤษจะให้ความสาคัญกั บตัวแสดงอย่างรัฐและสภาพระหว่าง
ประเทศที่เป็นอนาธิ ปไตยเช่นเดีย วกั บ ทฤษฎีสัจ นิย ม แต่ก็ เพิ่มเติมแนวคิดสัง คมระหว่ า ง
ประเทศ ซึ่งเป็นการร่วมมือกัน มีกติการ่วมกันสังคมระหว่างประเทศจึงเป็นสังคมอนาธิปไตย
ที่ช่วยก่อให้เกิดเงื่อนไขการสร้างสันติภาพ ระเบียบความมั่นคงร่วมกัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ
แนวคิดเสรีนิยม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าแนวทางการศึกษาของสานักอังกฤษเป็นประหนึ่ง
“ทางสายกลาง” ระหว่างสัจนิยมและเสรีนิยม ตลอดจนได้พัฒนาจนกลายเป็นอีกหนึ่งแนวคิด
และแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่โดดเด่นในปัจจุบัน

7.2 พัฒนำกำรของสำนักอังกฤษในวิชำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

พัฒนาการทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสานักอังกฤษสามารถแบ่งได้
เป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ค.ศ.1959-1966) เป็ น ช่ ว งก่ อ ตั้ ง ส านั ก วิ ช า โดยจั ด ตั้ ง The British
Committee on Theory of Intenational Politics และเริ่มพัฒนากรอบวิธีการศึกษาสังคม
ระหว่างประเทศ ซึ่งความสาคัญของยุคนี้คือการตีพิมพ์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นและ
ศึ ก ษาข้ อ มู ล ทางประวั ติ ศ าสตร์ แ ละการทู ต โดยมี นั ก วิ ช าการที่ ส าคั ญ ได้ แ ก่ Herbert
Butterfield แ ล ะ Martin Wight ทั้ ง ส อ ง ค น นี้ ร่ ว ม กั น เ ขี ย น ผ ล ง า น Diplomatic
Investigations นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการในมหาวิทยาลัยของอังกฤษที่สาคัญในการร่วม
สร้ า งส านั ก อั ง กฤษ ได้ แ ก่ Desmond Williams, Adam Watsan, William Armstrong,
Michael Howard, Donald Mackinson และ Hedley Bull (นักวิชาการจากออสเตรเลีย)
ระยะที่ 2 (ค.ศ.1966-1977) เป็นช่วงของกาหนดกรอบวิ ธีก ารศึก ษา ผลงานที่
ส าคั ญ ในช่ ว งนี้ คื อ The Anarchical Society: A study of Order in World Politics ของ
Hedley Bull งานที่ แ สดงจุ ด ยื น ที่ เ น้ น แนวทางการศึ ก ษาเชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ (Historical
Approach) ในการศึกษาสังคมระหว่างประเทศจนเป็นที่มาของสานักอังกฤษ โดยงานสาคัญ
ชิ้นนี้ตั้งคาถามว่า “ในสภาวะอนาธิปไตยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระเบียบมาจากที่
ใด”
ระยะที่ 3 (ค.ศ.1977-1992) เป็นช่วงรุ่งเรืองของการผลิตผลงานทางวิชาการของ
สานักอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงที่สานักอังกฤษได้ปรับปรุงแนวคิดสังคมระหว่างประเทศให้ชัดเจน
มากยิ่งขึ้นและสามารถวางตาแหน่งแห่งที่ของตนในทางวิชาการได้
ระยะที่ 4 (ตั้งแต่ ค.ศ.1992 จนถึงปัจจุบัน) ในยุคนี้มีนักวิชาการใหม่ๆในสานัก ที่
โดดเด่นได้แก่ Barry Buzan และ Tim Dunne ที่ได้พัฒนาแนวคิดสังคมระหว่างประเทศให้

168
168
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยนาเสนอแนวคิดสังคมระหว่างประเทศเชิงโครงสร้าง (The structural


international society) นอกจากนั้ น ส านั ก อั ง กฤษยั ง อธิ บ ายได้ ว่ า ทฤษฎี ค วามสั ม พั น ธ์
ระหว่างประเทศกระแสหลักไม่สามารถอธิบายการเมืองหลังยุคสงครามโลกได้อย่างครบถ้วน
เนื่องจากทฤษฎีเหล่านี้ละเลยการนาปัจจัยสาคัญ เช่น ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและสังคม
มาอธิ บ าย ดั ง นั้ น ในยุ ค นี้ ส านั ก อั งกฤษจึง เป็ น อี กแนวคิ ด ที่ เ ริ่ มได้ รั บ ความนิ ย มมากยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับทฤษฎีทางเลือกอื่นๆ

7.3 แนวคิดพื้นฐำนของสำนักอังกฤษ (Viotti & Kauppi: 2012: 290-292; Jackson &


Sorensen, 2013: 132)

1. ส านั ก อั ง กฤษเสนอว่ า โลกนี้ เ ป็ น สั ง คมอนาธิ ป ไตยระหว่ า งประเทศ (the


anarchical society) ซึ่งเป็นระเบียบทางสังคมระดับโลกของรัฐต่างๆ และเน้นความแตกต่าง
ระหว่าง “สังคมระหว่างประเทศ (international society)”ซึ่งรัฐต่างๆและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ
ต่างล้วนปฏิบัติการอยู่ในสังคมกับระบบระหว่างประเทศ (international system)
2. เน้ น ความส าคั ญ เรื่ อ งระเบี ย บในสั ง คมอนาธิ ป ไตย (order in anarchical
society) หรือ ระเบียบระหว่างประเทศ (international order) โดยมองว่าระเบียบดังกล่าว
มิได้เป็นผลมาจากแค่เพียงการใช้อานาจหรือดุลอานาจเท่านั้น หากแต่ยังมาจากการยอมรับ
กฎเกณฑ์และโครงสร้างทางสถาบัน (institutional arrangements) ร่วมกันของรัฐต่างๆ
3. ส านั ก อั ง กฤษให้ ค วามส าคั ญ กั บ การท าความเข้ า ใจทางด้ า นจริ ย ธรรมและ
ศีลธรรม (ethical and moral understanding) ตามแนวความคิดของ Immanuel Kant
แต่แนวคิดดังกล่าวก็ได้รับการปรับให้เกิดความเหมาะสมกับสภาวะอนาธิปไตยที่ยังเน้นเรื่อง
อานาจและผลประโยชน์เป็นสาคัญ
4. ให้ ค วามส าคั ญ กั บ แนวคิ ด ส าคั ญ อี ก 2 แนวคิ ด คื อ Pluralist society และ
แนวคิด Solidarist world society ซึ่งทั้งสองกลุ่มความคิดในสานักอังกฤษนี้มีมุมมองต่อ
บางประเด็นที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเรื่องระเบียบและควำมยุติธรรม (order & justice)
โดยสรุปแล้ว นักวิชาการในสานักอังกฤษเลี่ยงการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศจากัดอยู่เพีย งทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง แนวทางการศึกษาของสานักอังกฤษจึงเสนอ 3
มุมมองสาคัญที่จ ะเป็น “เครื่องมือ ” ในการทาความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ได้แก่ มุมมองแบบสัจนิยมที่ให้ความสาคัญกับระบบระหว่างประเทศ (realist:international
system) มุมมองแบบเหตุผลนิย มที่ให้ความสาคั ญกั บสังคมระหว่างประเทศ (rationalist:
international society) และมุ ม มองแบบปฏิ วั ติ นิ ย มที่ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ สั ง คมโลก
(revolutionist: world society) กล่าวโดยสรุป หลักการสาคัญของสานักอังกฤษคือ มุมมอง

169
169 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ทั้งสามนีล้ ้วนปรากฎอยู่ในเวลาเดียวกันในฐานะการทาความเข้าใจความเป็นจริงและประเด็น
ต่างๆที่จะวิเคราะห์ กล่าวคือเป็นการเปิดมุมมองให้นักวิชาการก้าวข้ามหรือหยิบยืมทฤษฎีสัจ
นิ ย มและเสรี นิ ย มรวมทั้ ง ทฤษฎี ส รรสร้า งนิ ย ม (constructivism)ทฤษฎี วิ พ ากษ์ (critical
theory) และแนวคิดหรือทฤษฎีที่เน้นการตีความอื่นๆมาประยุกต์กับการศึกษา

เพื่อเป็นการทาความเข้าใจรายละเอียดอื่นๆของสานักอังกฤษ ผู้เขียนได้เลือกงาน
สาคัญบางชิ้นเพื่อนาเสนอมุมมองหลักของสานักอังกฤษในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ อั น ได้ แ ก่ “The Anarchical Society” ของ Hedley Bull ในฐานะหมุ ด หมาย
สาคัญของการกาเนิดสานัก อังกฤษมานาเสนอเพื่ อให้เห็นภาพรวมของการทาความเข้ าใจ
แนวคิ ด ของส านั ก อั ง กฤษ อี ก ทั้ ง งานของ Martin Wight หนึ่ ง ในนั ก วิ ช าการคนส าคั ญ ที่
นาเสนอภาพลักษณ์ 3 ประการที่สาคัญของสานักอังกฤษจากผลงาน International Theory:
The Three Traditions (1991) ต่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

7.4 Hedley Bull และ The Anarchical Society


The Anarchical Society ถื อ เป็ น ต าราส าคั ญ อี ก เล่ ม หนึ่ ง ของผู้ ศึ ก ษาวิ ช า
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ อี ก ทั้ ง เป็ น ผลงานที่ เ ป็ น หมุ ด หมายส าคั ญ ในการบุ ก เบิ ก
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางสานักอังกฤษด้วย Bull ได้นาแนวคิด
เรื่องอนาธิปไตยมาใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเช่นเดียวกับงานของทฤษฎี
สัจนิยมและเสรีนิยม อีกทั้งนาแนวคิดของทั้งสองทฤษฎีนี้มาอธิบายหลักการพื้นฐาน กล่าวคือ
Bull ยังคงเชื่อว่า รัฐยังเป็นตัวแสดงสาคัญและดารงคงอยู่ในสภาะอนาธิปไตยเช่นเดียวกั บ
แนวคิดของทฤษฎีสัจนิยม แต่ก็มองสภาวะนี้ในมุมมองที่ต่างไปโดยได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎี
เสรีนิยม โดยมองว่าในสภาวะอนาธิปไตยนี้ “กลุ่มของรัฐซึ่งตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมกันที่
แน่นอนและค่านิยมร่วมกันได้สร้างสังคมในสามัญสานึกที่ว่ารัฐต่างๆล้วนเข้าใจที่จะถูกกาหนด
ขอบเขตด้ ว ยชุ ด ของกฎเกณฑ์ ใ นความสั ม พั น ธ์ ข องรั ฐ ตนกั บ รั ฐ อื่ น ๆ และร่ ว มกั น ในการ
ปฏิบัติงานของสถาบัน”(Bull, 2002: 13) ดังนั้นส่วนหนึ่งของแนวคิด Bull ได้รับอิทธิพลมา
จากทฤษฎีเสรีนิยมได้แก่ การมีผลประโยชน์ร่วมกัน ค่านิยมร่วมกัน สังคม กฎเกณฑ์ การ
แบ่งปัน และสถาบัน (Daddow, 2009: 104)
ถึงแม้ว่า Bull จะนาแนวคิดบางประการของทฤษฎีเสรีนิยมมาอธิบายในงานของ
ตน แต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างระหว่างงานของเขาและทฤษฎีเสรีนิยมคือ ความพยายามสร้าง
แนวคิด “สังคม” Bull เชื่อว่า“ระเบียบเป็นส่วนหนึ่งของบทบันทึก ทางประวัติศาสตร์ของ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐได้ก่อตัวและยังคงสร้างรูปแบบที่มิใช่เป็นเพียงระบบของรัฐ

170
170
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

หากแต่ยังเป็นสังคมระหว่างประเทศอีกด้วย” (Bull, 2002: 22-23) กล่าวได้ว่าความเห็นของ


Bull ในเรื่อง “สังคม” และ “ระเบียบ” เป็นสิ่งสาคัญต่อพัฒนาการของความคิดสานักอังกฤษ
Bull สร้างทฤษฎีของตนบนพื้นฐานของคาสาคัญ 4 ประการอันได้แก่ รัฐ ระบบ
สังคม และระเบียบ ในความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
7.4.1 รัฐ (state)
การดารงคงอยู่ของรัฐต่างๆ (the existence of states) หรือชุมชนทางการเมืองที่
เป็ น อิ ส ระ (the independent political communities) ถื อ จุ ด เริ่ ม ต้ น ของความสั ม พันธ์
ระหว่างประเทศ Bull ได้นิยามความหมายของรัฐเฉกเช่นเดียวกันกับการนิยามของกลุ่มนัก
ทฤษฎีสัจ นิย มและเสรีนิย ม เขาเสนอว่ารัฐมีลักษณะสาคัญสามประการคือ การมีอานาจ
อธิปไตยเหนือดินแดนและประชากร มีอาณาเขตที่แน่นอนและมีรัฐบาล แต่ Bull ไม่พอใจการ
อธิบายของทฤษฎีสัจ นิย มที่มองว่าพฤติก รรมของรัฐเป็นผลมาจากระบบระหว่างระหว่าง
ประเทศ โดย Bull มองว่าการศึกษาพฤติกรรมของรัฐควรเน้นไปที่ตัวแสดง (agents) ของรัฐ
อันได้แก่ บรรดานักการทูตและผู้นาซึ่งคิดและกระทาการต่างๆในนามของรัฐและสถา บัน
(Dunne, 2007: 132) อี ก ทั้ ง มองว่ า ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเป็ น พื้ น ที่ ท างสั ง คม (a social
sphere) Bull ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าการแพร่กระจายทางอิทธิพลมิใช่เป็นไปในลักษณะจากบนสู่
ล่าง (top down) ดังเช่นที่นักทฤษฎีสัจ นิย มเช่น Waltz เสนอไว้ หากแต่เป็นปฏิสัม พั นธ์ ที่
ซับซ้อนมากขึ้นที่พฤติก รรมของรัฐยังคงสามารถปฏิบัติการจนมีผลกระทบขึ้นไปยังระบบ
ระหว่างประเทศ
คาว่า ชุมชนทางการเมืองที่เป็นอิสระนั้นอาจหมายความถึงนครรัฐในสมัยกรีก
โบราณหรือนครรัฐอิตาลีในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือหมายถึงรัฐชาติสมัยใหม่ซึ่ งมีอานาจ
อธิปไตยและผู้ปกครองมีอานาจอันชอบธรรมเหนือดินแดน อย่างไรก็ตาม ในประวัติศาสตร์
ชุมชนทางการเมืองดังกล่าวถือว่ามีความหลากหลายมากและบางรัฐในอดีตอาจไม่มีลัก ษณะ
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ยกตัวอย่างเช่น ประชาชนชาวเยอรมันในสมัยกลางก็ถือเป็นชุมชนทาง
การเมืองที่เป็นอิสระแบบหนึ่ง แต่ในขณะที่ผู้ปกครองของพวกเขาถือสิทธิ์อานาจสูงสุดเหนือ
ประชากรแต่ก็มิได้ถือสิทธิ์เหนือดินแดนที่ชัดเจน แม้แต่อาณาจักรและดินแดนในอาณัติของ
เจ้าชายหรือขุนนาง (principalities) ของอาณาจักรคริสเตียนในสมัยกลางก็มิใช่รัฐเนื่องจาก
ดินแดนเหล่านี้มิได้มีอานาจอธิปไตยทั้งภายในที่มีสิทธิเหนือดินแดนและประชากร อีกทั้งไม่มี
อานาจอธิปไตยนอกดินแดนเนื่องจากอานาจสูงสุดอยู่ศาสนจักรอันมีพระสันตะปาปาเป็น
ประมุขหรือในบางกรณีก็อยู่ภายใต้อานาจของพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

171
171 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

(The Holy Roman Empire) ในบางพื้ นที่ของออสเตรเลีย แอฟริก าหรือเอเชีย ก็ ปรากฎ


ชุมชนทางการเมืองที่เป็นอิสระอยู่หากแต่เป็นลักษณะของการรวมตัวแบบชนเผ่าหรือเครือ
ญาติโดยไม่มีสถาบันอย่างรัฐบาลกากับดูแล
จากตัวอย่างที่ก ล่าวว่าอาจถือว่าไม่เข้าข่ายกั บความหมายของ “ความสัมพัน ธ์
ระหว่างประเทศ”หากนั่นหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “รัฐ” หรือ “ชาติ” ตามคานิยามที่
เคร่งครัด ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนทางการเมืองเหล่านี้อาจถูกรวมไว้ในแนวคิดทาง
ความสั ม พั น ธ์ ท างอ านาจที่ ก ว้ า งกว่ า และมี ลั ก ษณะเฉพาะมากกว่ า ที่ จั ด วางรู ป แบบ
ความสัมพันธ์ดังกล่าวตามคานิยามอย่างเคร่งครัด (Bull, 2002: 8-9)
7.4.2 ระบบของรั ฐ ( system of states) หรื อ ระบบระหว่ ำ งประเทศ
(international system)
ระบบระหว่างประเทศ (international system) ก่อตัวขึ้นเมื่อมีรัฐจานวนตั้งแต่
สองรัฐขึ้นไปได้การติดต่อระหว่างกันอีกทั้งสร้างผลกระทบต่อการตัดสินใจของอีกรัฐหนึ่งอย่ าง
เพียงพอที่จะเป็นเหตุให้รัฐกระทาการใดๆในฐานะส่วนหนึ่งของทั้งหมด รัฐเหล่านี้สามารถ
ดารงอยู่ได้โดยที่ไม่มีระบบระหว่างประเทศก็ได้ ดังจะเห็นได้จาก ชุมชนทางการเมืองในทวีป
อเมริก าที่ดารงอยู่ก่อน Columbus จะค้นพบดินแดนแห่ง นี้นั้ นก็ มิไ ด้สร้ างระบบระหว่ า ง
ประเทศกับชุมชนทางการเมืองของยุโรป หรือชุมชนทางการเมืองของจีนในสมัยสงครามเจ็ด
รัฐ (warring state period) ก็มิได้สร้างระบบระหว่างประเทศกับชุมชนของกรีกและดินแดน
รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในเวลานั้น ทว่าการติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของชุมชนเหล่านี้
เพียงพอที่จะสร้างพฤติกรรมของแต่ละส่วนประกอบที่จาเป็นในการคิดคานวณของชุมชนอื่น
นั่นแสดงถึงการเกิดระบบ
การมี ป ฎิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกั น ของรั ฐ เป็ น ไปทั้ ง ในรู ป แบบทางตรงและทางอ้อม
กล่าวคือ ในลักษณะปฏิสัมพันธ์ทางตรงอาจจะเป็นลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐที่เป็นเพื่อน
บ้าน เป็นคู่แข่งหรือหุ้นส่วนกันในบางประเด็น เช่น อินเดียกับปากีสถานเป็นรัฐที่มีพรมแดน
ติดกัน และต่างมีความขัดแย้งจนกลายเป็นคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียใต้ หรือจีนกับพม่าก็เป็นรัฐ
เพื่อนบ้านที่ร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่วนปฏิสัมพันธ์ทางอ้อมคือ ผลลัพธ์อัน
เกิ ดจากการติดต่อกั นของแต่ละรัฐหรืออาจจะเกี่ ย วกั บรัฐภายนอก (a third party) หรือ
ผลกระทบที่มีต่อกันและส่งผลต่อระบบโดยรวม (Bull, 2002: 9-10) ยกตัวอย่างเช่น ไทยกับ
บราซิลมิไ ด้ มี พรมแดนติ ดกั นในฐานะเพื่อ นบ้ า น แต่พฤติก รรมของทั้ งสองรั ฐ นี้ ล้ว นสร้ า ง
ผลกระทบต่อระบบระหว่างประเทศผ่านการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับรัฐที่ตนมีส่วนร่วม

172
172
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

7.4.3 สั ง คมของรั ฐ ( Society of States) หรื อ สั ง คมระหว่ ำ งประเทศ


(international society)
สังคมระหว่างประเทศ คือระเบียบทางสังคมหนึ่งๆ (a social order) ซึ่งมีตัวแสดง
หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรัฐ ปัจเจกบุคคล องค์ การระหว่างประเทศรวมทั้งตัวแสดงระหว่าง
ประเทศจานวนมากและหลากหลายที่ต่างเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยความสัมพันธ์นี้
ตั้ ง อยู่ บ นพื้ น ฐานของผลประโยชน์ แ ละค่ า นิ ย มร่ ว มกั น (shared interests and value)
บรรทัดฐานและกฎเกณฑ์ร่วมกัน (shared norms and rules) รวมทั้งสถาบันและการปฏิบัติ
ร่ ว มกั น (shared institutions and practices) (Bull, 1977: 13, Stering-Folker, 2013 :
308) สังคมระหว่างประเทศเป็ น สิ่ง ที่ บรรดารัฐ ต่ างๆร่ วมก่ อ ตั้งขึ้ น มา โดยมีสถาบั น หลั ก
ทั้งหมด 5 สถาบันทาหน้าที่สร้างกฎเกณฑ์และสร้างระเบียบเพื่อให้สังคมระหว่างประเทศ
ดารงอยู่ได้ โดยสถาบันหลักเหล่านี้ได้แก่ ดุลแห่งอานาจ กฎหมายระหว่างประเทศ การทูต
สงคราม และรัฐมหาอานาจ
สังคมระหว่างประเทศมีความเกี่ยวโยงกับระบบระหว่างประเทศแต่ก็มีความหมาย
ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ระบบระหว่างประเทศเกิดจากการที่สองประเทศขึ้นไปมีความสัมพันธ์
และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกั นและกั นแต่ไม่มีก ารตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมกั น
ระบบระหว่างประเทศอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมระหว่างประเทศก็ได้ แต่ระบบระหว่าง
ประเทศจะไม่มีสังคมระหว่างประเทศเป็นส่วนประกอบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การแยก
ความหมายของค าทั้ ง สองค านี้ ถื อ ว่ า เป็ น เรื่ อ งยากเนื่ อ งจากประเทศบางประเทศที่ มี
ความสัมพันธ์กั นนั้นจะมีผลประโยชน์ร่วมกั นหรือไม่ ซึ่งไม่มีสิ่งใดสามารถตัดสินได้หรื อบ่ง
ชี้ให้เห็นได้อย่างเด่นชัด ซึ่งนามาซึ่งความยุ่งยากในการพิจารณาว่าสังคมระหว่างประเทศเริ่ม
ขึ้นเมื่อใด
Bull ได้เสนอว่าในประวัติศาสตร์โลกได้เกิดสังคมระหว่างปรเทศในสามลัก ษณะ
ได้แก่

 สังคมระหว่างประเทศของชาวคริสต์ (Christian International Society) ซึ่ง


เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 15-17
 สังคมระหว่างประเทศของยุโ รป (European International Society) ซึ่ง
เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18-19
 สังคมระหว่างประเทศของโลก (World International Society) ซึ่งเกิดขึ้น
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน

173
173 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างสังคมระหว่างประเทศกับระบบระหว่างประเทศ
(Bull 1977: 13) ในประวัติศาสตร์เราจะเห็นได้ว่า ตุรกี จีน ญี่ปุ่น อินเดีย หรือแม้แต่ไทยเองก็
ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบระหว่างประเทศของยุโรป (European International System)
มาเป็ น เวลานานก่ อ นที่ จ ะกลายมาเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสั ง คมระหว่ า งประเทศของยุ โ รป
(European International Society) กล่าวคือประเทศดังกล่าวในเอเชียทั้งการติดต่อค้าขาย
หรือการทาสงครามกับมหาอานาจยุโรป ก่อนที่ประเทศเหล่านี้และมหาอานาจยุโรปจะเกิด
การตระหนักถึงประโยชน์หรือคุณค่าร่วมกัน หรือยอมรับกฎเกณฑ์และความร่วมมือในการ
ปฏิบัติของสถาบันร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น ตุรกีเป็นส่วนหนึ่งของระบบระหว่างประเทศของ
ยุโรปมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ทั้งในรูปแบบของจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรและการทาสงครามซึ่งถือ
เป็นหนึ่งในสมาชิกของระบบระหว่างประเทศดังกล่าว แต่สถานะของตุรกีในฐานะสมาชิกของ
สังคมระหว่างประเทศเกิดขึ้นจากการลงนามในสนธิสัญญาปารีส ปี 1856 (Treaty of Paris
1856) อันเป็นสนธิสัญญาสงบศึกสงครามไครเมีย แต่กระนั้น สมาชิกภาพดังกล่าวก็มิได้มีสิทธิ
แห่ ง ความเท่ า เที ย มเต็ ม รู ป แบบในสั ง คมระหว่ า งประเทศจนกระทั่ ง มี ก ารลงนามใน
สนธิสัญญาโลซาน ปี 1923
7.4.4 ระเบียบ (order) และระเบียบระหว่ำงประเทศ (international order)
ระเบียบระหว่างประเทศ คือ รูปแบบกิจกรรมที่รักษาเป้าหมายพื้นฐานของสังคม
รัฐเอาไว้ โดยสมาชิกต่างเห็นพ้องว่าเป็นเป้าหมายที่ต้องรักษาไว้ โดยมีเป้าหมาย 4 ประการ
ได้แก่ (Bull 1977: 16-19)
1. การปกป้องรักษาสังคมรัฐเอง กล่าวคือ การที่แต่ละรัฐสมาชิกต่างก็เห็นว่าการ
จัดตั้งสังคมรัฐจะเป็นประโยชน์แก่ตนจึงต้องหาทางป้องกันสังคมรัฐจากสิ่งที่อาจจะมาทาลาย
สังคมรัฐลงได้ สิ่งที่อาจจะมาทาลายสังคมรัฐได้แก่ รัฐที่ต้องการครอบงารัฐอื่น องค์กรที่อยู่
เหนือรัฐ หน่วยย่อยภายในรัฐ และขบวนการองค์กรหรือกลุ่มที่มีการดาเนินการข้ามรัฐ
2. เพื่อรักษาความเป็นอิสระของรัฐในการใช้อานาจอธิปไตยภายในและภายนอก
ของรัฐ โดยคาดหวังว่าเมื่อตนเองเข้ามาร่วมในระบบระหว่างประเทศ ก็ จ ะทาให้รัฐอื่นๆ
ยอมรับและรับรองว่ารัฐของตนดารงอยู่ในระบบระหว่างประเทศ โดยมีเอกราชและปราศจาก
อานาจอื่นๆเข้ามาแทรกแซง
3. รั ก ษาสั น ติ ภ าพซึ่ ง เป็ น สั น ติ ภ าพระหว่ า งประเทศในสั ง คมรั ฐ นั้ น ๆแต่ ไ ม่ ได้
หมายความไปถึงสันติภาพที่เป็นสากลและถาวร เพราะสันติภาพแบบนั้นเป็นความคิดในความ
ฝันและไม่เป็นไปตามความจริงเมื่อดูจากประวัติศาสตร์โลก แต่สันติภาพที่แท้จริงคือการไม่มี
สงคราม

174
174
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

4. การรักษาเป้าหมายพื้นฐานของสังคม โดยประการแรกคือ การจากัดการใช้


ความรุนแรงที่อาจก่อให้เกิดการล้มตาย โดยการที่รัฐสมาชิกร่วมมือกันจากัดการใช้อานาจ
ดังกล่าวให้อยู่ในกลุ่มของตนเองและกีดกันกลุ่มอื่นๆจากการใช้อานาจดังกล่าว นอกจากนี้
กลุ่มรัฐสมาชิกยังร่วมมือกันจากัดสิทธิในการใช้ค วามรุนแรงของรัฐสมาชิกด้วย เพราะหากถ้า
สมาชิกละเมิดสัญญาที่ทาร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ

โดยสรุปแล้ว รัฐต่างๆที่เห็นคุณค่าและผลประโยชน์ร่วมกันจะจัดตั้งสังคมรัฐขึ้นมา
และจะใช้กฎระเบียบมาใช้เป็นตัวรักษาระเบียบระหว่างประเทศและใช้เป็นแนวทางในการ
ปฏิบัติต่อกัน โดยรัฐจะเป็นผู้มีสิทธิและความรับผิดชอบหลักในการปฏิบัติที่เกี่ยวกับกฎ โดย
ถือว่า ระเบียบเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตและยังคงถูกสร้างและรักษาต่อไป ถึงว่าระเบียบ
จะขึ้นอยู่กับสภาพการเมืองระหว่างประเทศที่ล่อแหลมก็ตาม

7.5 แนวคิดสำคัญของสำนักอังกฤษ
มุ ม มองเรื่ อ งการเมื อ งโลกของส านั ก อั ง กฤษตั้ ง อยู่ บ นพื้ น ฐานแนวคิ ด ส าคั ญ 3
ประการ (three traditions)18 ซึ่งมีชื่อเรียกที่แตกต่างแต่มีความหมายเช่นเดียวกัน กล่าวคือ
Wight จ ะ เ รี ย ก ว่ า realism rationalism แ ล ะ revolutionism ส่ ว น Bull ใ ช้ ค า ว่ า
Hobbesian,Grotian และ Kantian ซึ่งจะเห็นจัดเพื่อให้เห็นความเหมือนกันของทั้งความคิด
ทั้งสองชุดนี้คือ

 สัจนิยม (realism) หรือ Hobbesian (หรือเรียกว่า Machiavellian traditions)


 เหตุผลนิยม (rationalism) หรือ Grotian tradition
 ปฏิวัตนิ ิยม (revolutionism) หรือ Kantian tradition
หากมองว่าหลักการข้างต้นเป็น “ความคิด” ที่สร้างมุมมองของสานักอังกฤษที่มีต่อ
ธรรมชาติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยการมองมิติที่แตกต่างแต่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน และ
สั ง เกตว่ า สิ่ ง เหล่ า นี้ ส ร้ า งสมดุ ล และมี ป ฎิ สั ม พั น ธ์ กั น อย่ า งไรแล้ ว แนวคิ ด อี ก ชุ ด หนึ่ ง อั น
ประกอบด้ ว ย ระบบระหว่ า งประเทศ (international system) สั ง คมระหว่ า งประเทศ
(international society) และสังคมโลก (World Society) (ดูรายละเอียดในหัวข้อ 7.3) ก็

18 ในกรณีนี้ นักวิชาการในสานักอังกฤษเช่น Wight เลือกที่จะใช้คาว่า traditions มากกว่า theory


เนื่องจากคาว่า traditions จะคอยกระตุ้นเตือนเราให้ “ทราบถึงความไร้ตรรกะ (illogicality) และ
การขาดความต่อเนื่อง (discontinuity) เนื่องจากเรื่องราวอันจาเป็นมากมายในชีวิตประจาวันมักจะ
ไม่คานึงถึงตรรกะ”

175
175 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

เปรีย บเสมือนเป็น “เครื่องมือวิเคราะห์ ” ที่จ ะช่วยให้เราเข้าใจการเมืองโลกซึ่ง Bellamy


(2001)เรียกเครื่องมือดังกล่าวว่า “สามเสาหลัก” (Three Pillars) ของการสร้างกรอบคิดของ
สานักอังกฤษดังจะเห็นได้จากแผนภาพที่ 7.1

แผนภำพที่ 7.1 รูปแบบแนวทำงหลักดั้งเดิม 3 ประกำรของแนวคิดสำนักอังกฤษ (Buzan,


2014: 14)

 ระบบระหว่ำงประเทศ เป็นเสาหลักที่สอดคล้องกับแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลนักคิดสายสัจ
นิ ย ม เช่ น Hobbes และ Machiavelli โดยให้ ค วามส าคั ญ กั บ การเมื อ งเรื่ อ งอ านาจ
(power politics) ระหว่างรัฐต่างๆและนาเสนอประเด็นโครงสร้างและกระบวนการของ
สภาวะอนาธิปไตยระหว่างประเทศให้เป็นหลักการสาคัญของทฤษฎี จุดยืนเช่นนี้เป็น
แนวคิดที่คล้ายกับทฤษฎีสัจนิยมและสัจนิยมใหม่ที่ยังคงมองว่ารัฐเป็นตัวแสดงที่แสวงหา
อานาจอยู่เสมอซึ่งอาจจะนาไปสู่สงครามและไม่มีอานาจใดที่หยุดยั้งได้ หลักการการไม่
รุกรานและแทรกแซงกิจการของรัฐอื่นจึงเป็นพื้นฐานสาคัญในระบบระหว่างประเทศ
หากไร้ซึ่งหลักการนี้แล้วก็ มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่มีสิ่งใดสามารถหยุดยั้งการรุก ราน
คุ ก คามรั ฐ อื่ น ๆ ดั ง นั้ น รั ฐ จึ ง ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามกฎเกณฑ์ ดั ง กล่ า วเนื่ อ งจากรั ฐ ต่ า งๆมี
ผลประโยชน์ร่วมกันในการธารงรักษาระเบียบระหว่างรัฐ
 สังคมระหว่ำงประเทศ อาจจะเรียกว่า ระบบรัฐ (States-system) สังคมระหว่างรัฐ
(interstate society)หรื อ สั ง คมของรั ฐ (society of states) แนวคิ ด สั ง คมระหว่ า ง
ประเทศเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิดของ Grotius อันเกี่ยวกับการสร้างความเป็น
สถาบันของผลประโยชน์และอัตลักษณ์ร่วมกันของบรรดารัฐต่างๆและจัดวางการสร้าง
และรั ก ษาบรรทั ด ฐานกติ กาและสถาบั น ร่ ว มกั น ( shared norms,rules and

176
176
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

institutions) ให้เป็นหลักสาคัญของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐยอมรับใน


กฎระเบียบเพื่ออยู่ร่วมกันได้เพราะรัฐเป็นตัวแสดงที่มีเหตุผล สานักอังกฤษมองเรื่อง
เหตุผลของรัฐต่างไปจากสานักสัจนิยมและเสรีนิยม กล่าวคือ สานัก อังกฤษมองความมี
เหตุผลของรัฐเป็นเรื่องการยอมรับ ในกฎระหว่างประเทศ บางทีอาจเรีย กว่า กลุ่ม
เหตุผลนิยม (Rationalism)กล่าวได้ว่าแนวคิดเรื่องสังคมระหว่างประเทศเป็นแนวคิด
หลักของสานักอังกฤษซึ่งมีหลักการโดยสรุปคือการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศและ
สิทธิอานาจอธิปไตยของรัฐอื่นๆ
 สังคมโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก Immanuel Kant หรือกลุ่มปฏิวัตินิยม
(Revolutionism) โดยให้ความสาคัญกั บปัจเจกชนหรือระดับมนุษย์ และประชากร
โลกในฐานะจุดเด่นของอัตลักษณ์ทางสังคมของโลก (Global societal identities) มี
ความเชื่อว่า มนุษย์เป็นองค์ประกอบสาคัญของประชาคมโลกดั้งเดิม (a primordial
world community) หรือ ประชาคมแห่งมนุษยชาติ (community of humankind)
อันมีความเป็นรากฐานมากกว่าสังคมระหว่างประเทศ อีกทั้งยังมีความเชื่อเรื่องความ
เป็นสากลนิยมเชิงศีลธรรม (moral universalism) กล่าวคือเป็นหลักการทางศีลธรรม
ในระดับสากล

ตำรำงที่ 7.1 แนวคิดทำงควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศตำมแนวคิดของ Wight


(Jackson & Sorensen, 2013: 139)

สัจนิยม (Realism) เหตุผลนิยม (Rationalism) ปฏิวตั ินิยม (Revolutionism)


สำย Hobbesian สำย Grotian สำย Kantian
แนวคิดอนาธิปไตย สังคม ความเป็นมนุษย์
(Society) (Humanity)
การเมืองเรือ่ งอานาจ การเปลี่ยนแปลงอย่างมี การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ
วิวัฒนาการ (Revolutionary Change)
(Evolutionary Change)
ความขัดแย้งและสงคราม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ประชาคมโลก
(Peaceful Coexistence) (Global Community)
การมองโลกในแง่ร้าย ความหวังที่ปราศจากภาพลวงตา อุดมคตินิยม
(Hope without illusions) (Utopianism)

177
177 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

นอกจากนั้น ยังมีคาศัพท์ที่สาคัญ ที่ต้องทาความเข้ าใจแนวคิ ดในสานัก อั ง กฤษ


ได้แก่ Pluralism vs Solidarism และ primary vs secondary institutions

Pluralism and Solidarism

Pluralism and Solidarism เป็ น ค าศั พ ท์ ส องค าที่ บั ญ ญั ติ ขึ้ น โดย Bull ซึ่ ง ใช้
อธิบายการมุมมองที่ต่างกันในเรื่องระเบียบและความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และประเด็น
การแทรกแซงกิจการภายในว่าควรกระทาหรือไม่ (พิจารณาจากตารางที่ 7.2) ทั้งสองกลุ่มนี้
ยังคงประเด็นการถกเถียงภายในสานักอังกฤษด้วยกันเองจนถึงปัจจุบันนี้

กลุ่ม Pluralistsให้ความสาคัญกับการยึดมั่นต่ออานาจอธิปไตยแห่งรัฐ สิทธิและ


หน้าที่ในสังคมระหว่างประเทศที่ต้องเคารพต่อความเป็นรัฐเอกราช ปัจเจกบุคคลมีสิทธิตามที่
ตนพึงมีจากรัฐที่ตนอาศัยหรือได้รับการรับรองจากสังคมแห่งรัฐ ดังนั้นหลักการแห่งการเคารพ
อานาจอธิปไตยซึ่งกันและกันรวมทั้ง การไม่แทรกแซงกิจการภายใน (non-intervention) จึง
มีความสาคัญที่สุดประเด็นสิทธิมนุษยชนจึงเป็นเรื่องที่มิได้ก ล่าวถึงมากเท่าใดนัก ตัวอย่าง
นักวิชาการคนสาคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ Hedley Bull, Robert Jackson เป็นต้น

กลุ่ ม Solidaritsให้ ค วามส าคั ญ เรื่ อ งความเป็ น ปั จ เจกบุ ค คลในฐานะสมาชิ ก ที่


สาคัญของสังคมระหว่างประเทศ ถือว่ามนุษย์มีความสาคัญเหนือสิทธิแห่งรัฐ ในมุมมองเช่นนี้
รัฐต่างๆพึงมีหน้าที่และสิทธิที่จะจัดการควบคุมการรุกรานด้วยกองกาลังติดอาวุธ (armed
intervention) และเข้าไปแทรกแซงหากการแทรกแซงนั้นมีความจาเป็นที่ช่วยผู้คนที่กาลัง
ประสบภั ย ในรั ฐ นั้ น ๆ ความคิ ด ของกลุ่ ม นี้ มี ค วามเชื่ อ มโยงกั บ แนวคิ ด สากลนิ ย ม
(cosmopolitanism) โดยมีความเห็นว่า ระเบียบที่ปราศจากความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ ไม่ พึง
ปรารถนาและไม่มีความยั่งยืน (Buzan, 2014: 16) ตัวอย่างนักวิชาการคนสาคัญในกลุ่ มนี้
ไ ด้ แ ก่ Nicholas Wheeler, Tony Brems Knudsen, Tim Dunne แ ล ะ Thomas Weiss
เป็นต้น

ถึงแม้นักวิชาการภายในสานักอังกฤษเองจะมีความเห็นที่ต่างกัน แต่มิใช่ประเด็นนี้
มิ ไ ด้ แ สดงถึ ง ความขั ด แย้ง หรือ โต้ เ ถีย ง หากแต่ เ ป็ น เสมื อ น “คู่ ส นทนาที่ ยิ่ ง ใหญ่ ” (great
conservation) ต่อคาถามที่ว่า “เราจะหาความสมดุลที่ดีที่สุดระหว่างความยุติธรรมและ
ระเบียบในสังคมระหว่างประเทศได้อย่างไร” ซึ่งหากกลับไปพิจารณาแผนภาพที่ 7.1 แล้วจะ
พบว่าแนวคิดทั้งสองอยู่ในส่วนของ Rationalism แต่ตาแหน่งแห่งที่ของทั้งสองแนวคิดตั้งอยู่
บ ริ เ ว ณ ใ ก ล้ ข อ บ เ ข ต พ ร ม แ ด น ( boundary zone) ข อ ง แ น ว คิ ด Realism แ ล ะ

178
178
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

Revolutionalism จึ ง กล่ า วได้ ว่ า แนวคิ ด Pluralism และ Solidarism จึ ง เปรี ย บเสมื อ น


เครื่องมือเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆในสานักอังกฤษเข้าด้วยกัน
ตำรำงที่ 7.2 กำรเปรียบเทียบแนวคิดของกลุ่ม Pluralists และ Solidarists
กลุ่ม Pluralists กลุ่ม Solidarists
ให้ความสาคัญกับอานาจอธิปไตยแห่งรัฐ ให้ความสาคัญกับมนุษยชาติ
(state sovereignty) เน้นหลักการแห่งสิทธิมนุษยชน
ยึดถือหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของ ยึดถือหลักการการแทรกแซงทางมนุษยธรรม
รัฐอื่น (non-intervention) (humanitarian intervention)
ให้ความสาคัญกับระเบียบระหว่างประเทศ ให้ความสาคัญกับระเบียบโลก (Global Order)
(international order) และความยุติธรรมระดับโลก (Global Justice)
มี เ ป้ า หมายคื อ การรั ก ษาสั ง คมข อ ง รั ฐ มีเป้าหมายคือ การปกป้องสิทธิมนุษยชน และ
(maintenance of society of states) ความมั่นคงของมนุษย์ (human security)
เน้นว่ารัฐที่มีอานาจอธิปไตยมีสิทธิและหน้าที่ เน้นว่ามนุษย์ถือสิทธิและหน้าที่แห่งตน
ตามกฎหมายระหว่างประเทศ

Primary and secondary institutions


Primary Institutions เป็ น ลั ก ษณะสถาบั น ในรู ป แบบของ ขนบธรรมเนี ย ม
กฎหมาย หรือความสัมพันธ์ในสังคมหรือในประชาคมที่ถูกสร้างขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะรูปแบบ
การปฏิบัติวิวัฒนาการตามเวลามากกว่าที่จะถูกออกแบบหรือสร้างขึ้นมาทีหลัง รูปแบบการ
ปฏิ บั ติ เ หล่ า นี้ ไ ม่ เ พี ย งแต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ส มาชิ ก ของสั ง คมระหว่ า งประเทศมี ร่ ว มกั น แต่ ยั ง เป็ น
พฤติกรรมที่มีความชอบธรรมด้วย Primary Institutions ในที่นี้จึงหมายถึงสถาบันสาคัญของ
สังคมระหว่างประเทศอันได้แก่ อานาจอธิปไตย ความเป็นเขตแดน ระบบดุลอานาจ สงคราม
การทูต กฎหมายระหว่างประเทศ และการจัดการของมหาอานาจ
Secondary Institutions เป็ น สิ่ ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ทฤษฎี ร ะบอบ ( Regime
Theory) และกลุ่มเสรีนิยมเชิงสถาบัน (Liberal Institutionalists) สถาบันในรูปแบบนี้เป็น
ผลผลิ ต ของรู ป แบบที่ เ ป็ น รู ป ธรรมของสั งคมระหว่ า งประเทศ ซึ่ ง สถาบั น เหล่ า นี้ รั ฐ เป็ น
ผู้ออกแบบเองเพื่อจุดประสงค์เชิงภารกิจที่เป็นการเฉพาะในแต่ละประเด็น ดังจะเห็นได้จาก
องค์การสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก ธนาคารโลก และระบอบการไม่แผ่ขยายอาวุธ
นิ ว เคลี ย ร์ (The Nuclear non-proliferation regime) เป็ น ต้ น โดยสรุ ป แล้ ว สถาบั น ใน
รูปแบบนี้ถูกสถาปนาขึ้นไม่นานในช่วงศตวรรษที่ 19 นี้

179
179 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

เราสามารถพิ จ ารณาตั ว อย่ า งรู ป แบบและความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง Primary


Institutions และ Secondary Institutions ในสังคมระหว่างประเทศ ได้จากตารางที่7.3

7.5 ระเบียบระหว่ำงประเทศและควำมยุติธรรม
แนวคิดทั้งสามประการในหัวข้อ 7.4 ยังสะท้อนให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศเป็นเรื่องกิจกรรมของมนุษย์ที่สัมพันธ์กับค่านิยมขั้นพื้นฐานซึ่ง Bull เสนอว่าค่านิยมที่
ส าคั ญ ที่ สุ ด นั้ น 2 ประเด็ น คื อ ระเบี ย บระหว่ ำ งประเทศ (International Order) และ
ควำมยุติธรรมระหว่ำงประเทศ (International Justice) ซึ่งคาว่าระเบียบระหว่างประเทศ
นั้น หมายถึง “รูปแบบหรือการจัดวาง (disposition) ของกิจกรรมระหว่างประเทศที่รักษา
เป้าหมายพื้นฐานของสัง คมแห่ง รัฐ ต่างๆ” ส่วนคาว่า ความยุติธรรมระหว่ างประเทศนั้ น
หมายถึง กฎศีลธรรมอันคานึงถึงสิทธิและภาระหน้าที่ของแต่ละรัฐอาทิ สิทธิในการกาหนด
ชะตากรรมด้วยตนเอง (the right of self-determination) สิทธิของการไม่แทรกแซงกิจการ
ภายใน (the right of non-intervention) และสิ ท ธิ แ ห่ ง รั ฐ อธิ ป ไตยที่ จ ะได้ รับ การปฎิบัติ
อย่างเท่าเทียมกัน (Bull, 2002:78)
Bull แบ่งความยุติธรรมไว้หลายประเภท แต่เขาให้ความสนใจกับความยุติธรรมที่
เกี่ยวข้องกับความสัมพั นธ์ระหว่างประเทศโดยตรง นั่นคือ ควำมยุติธรรมเชิงแลกเปลี่ย น
ทดแทน (commutative justice) และควำมยุ ติ ธ รรมเชิ ง กระจำย (distributive
justice)กล่าวคือ ความยุติธรรมเชิงแลกเปลี่ยนทดแทน เชื่อว่า รัฐทุกรัฐเท่าเทียมกันภายใต้
กฎหมายระหว่างประเทศและข้อปฏิบัติทางการทูตภายใต้ กฎกติกาหรือบรรทัดฐานเดียวกัน
ในสังคมระหว่างประเทศ ความยุติธรรมประเภทนี้จึงเป็นหลักการพื้นฐานของความยุติธรรม
ระหว่างประเทศ ส่วนความยุติธรรมเชิงกระจายเป็นแนวคิดที่เสนอว่าในโลกแห่งความเป็นจริง
มีรัฐที่อ่อนแอและยากจนอยู่มากมาย รัฐเหล่านี้ควรได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอื่นๆที่เข้มแข็ง
และร่ ารวยกว่ า ดั ง นั้ น รั ฐ ต่ า งๆควรเห็ น อกเห็ น ใจและก้ า วข้ า มเรื่ อ งอ านาจอธิ ป ไตยเพื่ อ
ช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในรัฐที่ประสบปัญหาอันเป็นผลมาจากการเมืองภายใน โดยสรุปแล้ว
ความยุติธรรมเชิงแลกเปลี่ยนทดแทน เป็นแนวคิดของ Pluralism และความยุติธรรมเชิง
กระจายเป็นแนวคิดของ Solidarism
Bull ยังแบ่งความยุติธรรมในการเมืองโลกออกเป็น 3 ประเภทคือ ความยุติธรรม
ระหว่างประเทศ (international justice) ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์โดยพื้นฐานระหว่างรัฐที่
เท่าเทียมกัน ความยุติธรรมระดับปัจเจกบุคลหรือระดับมนุษย์ (individual/human justice)
ซึ่งกล่าวถึงประเด็นของสิทธิมนุษยชน และความยุติธรรมระดับโลก (world justice) อัน
หมายถึงความถูกต้องหรือความดีงามของโลก หากพิจารณาในเชิงประวัติศาสตร์แล้ วสิ่ง ที่

180
180
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

กาหนดความเป็นไปของการเมืองโลกคือความยุติธรรมระดับระหว่างประเทศ แต่ในศตวรรษที่
21 ความยุติธรรมในระดับปัจเจกบุคคลและระดับโลกก็ เป็นประเด็นที่ทวีความสาคั ญ มาก
ยิ่งขึ้น

ถึงแม้ว่า Bull จะย้าเตือนว่า โดยทั่วไปแล้ว ความสาคัญของระเบียบต้องมาก่ อน


ความยุ ติ ธ รรม แต่ ใ นบางกรณี แ ล้ว เราอาจเห็ น ว่ า ความส าคั ญ ของความยุติ ธ รรมมาก่อน
ระเบียบ ดังจะเห็นได้จากประชากรในประเทศอาณานิคมในเอเชียและแอฟริกานาหลักการ
ของความยุ ติ ธ รรมระหว่ า งประเทศ เช่ น การก าหนดชะตากรรมด้ว ยตนเองและอ านาจ
อธิปไตยแห่งรัฐมาเป็นสิ่งที่ปลดแอกรัฐตนออกจากระเบียบระหว่างประเทศของเจ้าอาณา
นิคมยุโรปเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด

7.6 รัฐกับควำมรับผิดชอบในสังคมระหว่ำงประเทศ
แนวคิดสามประการของสานักอังกฤษนั้นแสดงถึงการทาความเข้าใจว่า “การเมือง
ของโลกนี้ เ ป็ น อย่ า งไรและควรจะเป็ น อย่ า งไร” ดั ง ที่ Jackson (1995: 110-28 cited in
Bellamy, 2001:80) ให้ความเห็นไว้ว่า “แนวทางแต่ละแนวทางเป็นความคิดที่เปรียบได้กับ
ของความรับผิดชอบที่มีความต่างระดับกัน (layerof responsibility) ซึ่งกาลังเผชิญหน้ากับ
ผู้นาทางการเมืองที่ต้องเลือกระหว่างหนทางเชิงบรรทัดฐาน (normative dilemmas) หรือ
ทางเลื อ กเชิ ง ปฎิ บั ติ (pragmatic dilemmas) ที่ ส าคั ญ ต่ อ การก าหนดความเป็ น ไปของ
การเมืองโลก”
ในที่นี้การศึกษาตามแนวทางสานักอังกฤษได้นาเราไปสู่อีกหนึ่งประเด็นสาคัญคือ
“ทางเลือกของนโยบายต่างประเทศและความรับผิดชอบของผู้นารัฐต่อปัญหาที่กาลังเผชิญ ”
กล่าวคือ แนวทางสัจนิยมจะพิจารณาถึงความรับผิดชอบขั้นต้นของผู้นาสาหรับเรื่องปากท้อง
ของประชาชน อีกในทางหนึ่งรัฐก็มีหน้าที่ที่ต้องรักษาความมั่นคงให้กับประชาชนของตน ส่วน
เหตุผลนิยมพิจารณาถึงความรับผิดชอบของรัฐที่ต้องยึดถือกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วน
ประเด็นปฏิวัตินิย มได้ถูก นามาพิจ ารณาว่า รัฐต่างๆตระหนัก รับรู้ถึงความรับผิดชอบทาง
ศีลธรรมต่อความผาสุกของปัจเจกบุคคลในระดับข้ามพรมแดน จากมุมมองทั้งหมดนี้

สรุปได้ว่า การเมืองโลกเป็นที่ตั้งของการโต้เถียงระหว่างความรับผิดชอบแบบสาม
ระดับ กล่าวคือ ความรับผิดชอบต่อรัฐและประชาชนของตนหรือความรับผิดชอบระดับชาติ
(National Responsibility) ความรับผิดชอบตามกฎหมายระหว่างประเทศและเคารพสิทธิ
ของรัฐอื่นๆ เรียกว่าความรับผิดชอบระหว่างประเทศ (International Responsibility) และ

181
181 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ความรับผิดชอบที่มีต่อมวลมนุษยชาติที่คานึงถึงสิทธิมนุษยชน เรียกว่าความรับผิดชอบเชิง
มนุษยธรรม (Humanitarian Responsibility) ดังมีรายละเอียดดังนี้

7.6.1 ควำมรับผิดชอบระดับชำติ (National Responsibility)


ในแนวคิดนี้ ผู้นารัฐต้องรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนอีกทั้งความมั่นคง
ของชาติถือเป็นสิ่งสาคัญที่สุดที่บรรดาผู้นารัฐต้องปกป้อง ในมุมมองสัจนิยมโดยเฉพาะจาก
มุมมองแบบ Machiavelli แล้วรัฐต้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติและดูแลประชาชนของตน
เป็นลาดับแรก หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ไม่จาเป็นใดๆที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงและความมั่ง
คั่งของรัฐ การร่วมมือกับรัฐใดๆก็ตามต้องคานึงถึงความได้เปรียบและความจาเป็นของรัฐและ
ต้ อ งหลี ก เลี่ ย งกิ จ การต่ า งประเทศที่ อ าจจะท าให้ รั ฐ เกิ ด ความวุ่ น วายได้ อี ก ทั้ ง ไม่ ค วรให้
ประชาชนเข้าสู่สงครามหากไม่มีความจาเป็นอย่างที่สุด ด้วยมุมมองเช่นนี้ รัฐจึงคานึงถึง
ผลประโยชน์แห่งชาติมาก่อนภาระในระดับระหว่างประเทศ (international obligations)
กฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นเพียงหนึ่งในการพิจารณาในการ
กาหนดผลประโยชน์แห่งชาติเท่านั้น
7.6.2 ควำมรับผิดชอบระหว่ำงประเทศ (International Responsibility)
ในแนวคิดนี้ ผู้นารัฐพึงมีภาระในระดับ ระหว่ างประเทศเนื่องจากการที่รั ฐ เป็ น
สมาชิกของสังคมระหว่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ตามที่ระบุไว้ตามกฎหมาย
ระหว่ า งประเทศ แนวทางดั ง กล่ า วเป็ น ลั ก ษณะมุ ม มองแบบ Grotian อั น ได้ แ ก่ รั ฐ ต่ า ง
ตระหนักถึงสิทธิระหว่างประเทศผลประโยชน์อันชอบธรรมที่ควรค่าต่อการเคารพ การปฎิบัติ
ตามและเคารพกฎหมายระหว่างประเทศหรือการปฏิบัติตามกฎของสงคราม ข้อพิจารณา
เหล่านี้เป็น ลัก ษณะเฉพาะของสัง คมแบบ Pluralistic ซึ่งตั้งอยู่บนหลัก การของกฎหมาย
ระหว่างประเทศ หรือกลุ่มเหตุผลนิยม รัฐต่างๆมีความสัมพันธ์กันยอมรับอานาจอธิปไตยซึ่ง
กันและกันโดยการรับรองรัฐ (recognition) การทูต (diplomacy) การค้าและอื่นๆ รัฐต่างๆ
จึงมิได้อยู่อย่างเอกเทศหรือมีความรับผิดชอบต่อประชากรในรัฐตนเท่านั้น ในแนวคิดนี้ รัฐจึง
มีภาระระดับระหว่างประเทศและรับผิดชอบต่อรัฐอื่นๆและต่อสังคมระหว่างประเทศซึ่ง รัฐ
ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ร่วมกัน ความรับผิดชอบในระดับนี้ถือเป็นหัวใจสาคัญของความ
เป็นสังคมระหว่างประเทศ

182
182
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ตำรำงที่ 7.3 สถำบันระหว่ำงประเทศร่วมสมัย (Buzan, 2004: 187)


Primary Institutions Secondary
Institutions
แนวคิดหลัก สิ่งที่เกิดตำมมำ (ตัวอย่ำงของ)
อำนำจอธิปไตย หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน สมัชชาใหญ่แห่ง
(sovereignty) สหประชาชาตื
กฎหมายระหว่างประเทศ ระบอบระหว่างประเทศใน
รูปแบบต่างๆ
อำณำเขต(territoriality) หลักเขตแดน ปฏิบัติการของกองกาลัง
รักษาสันติภาพ
กำรทูต ทวีภาคีนยิ ม สถานทูตต่างๆ
(diplomacy) พหุภาคีนยิ ม การประชุมในสหประชาชาติ
องค์การระหว่างประเทศ
กำรจัดกำรของมหำอำนำจ ระบบพันธมิตร NATO
(great power สงคราม คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
management) ระบบดุลอานาจ สหประชาชาติ (UNSC)
คุณภำพของประชำชน สิทธิมนุษยชน สานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้
(equality of people) การแทรกแซงทางมนุษยธรรม ภัยแห่งสหประชาชาติ
(UNHCR)
ตลำด การเปิดเสรีทางการค้า ข้อตกลงต่างๆของ
(market) องค์การการค้าโลก(WTO)
การให้สิทธิความเป็นชาติที่
ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง
(MFN)
การเปิดเสรีทางการเงิน ธนาคารโลก
กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (IMF)
เสถียรภาพในความเป็นเจ้า
ลัทธิชำตินิยม การกาหนดชะตากรรมด้วยตนเอง ปฏิบัติการของกองกาลัง
(nationalism) อานาจอธิปไตยแห่งปวงชน รักษาสันติภาพ
ประชาธิปไตย
กำรดูแลจัดกำรทำง ความอยู่รอดของสายพันธุ์ต่างๆ กฎหมายระหว่างประเทศ
สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางสภาพอากาศ ว่าด้วยสิ่งแวดล้อม เช่น พิธี
(environmental สาส์นเกียวโต พิธีสาร
stewardship) มอนทรีออล เป็นต้น

183
183 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

7.6.3 ควำมรับผิดชอบเชิงมนุษยธรรม (Humanitarian Responsibility)


ความรับผิดชอบในลักษณะนี้ ผู้นาต้องคานึงถึงหลักการความเป็นมนุษย์ด้วยการมี
หน้าที่ขั้นพื้นฐานที่สาคัญที่สุดคือการเคารพสิทธิมนุษยชน หลักการเช่นนี้เป็นมุมมองแบบ
Kant ที่ มี ต่ อ การก าหนดนโยบายต่ า งประเทศที่ ยึ ด หลั ก มาตรฐานความเป็ น สากลนิ ย ม
(cosmopolitanism) ดังจะเห็นได้จากการให้การเห็นความเป็นเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับที่เรา
เป็น การเคารพสิทธิมนุษยชน การจัดหาสถานที่ให้แก่ผู้ลี้ภัย การให้ความช่วยเหลือทางด้าน
วั ต ถุ ใ นภาวะสงคราม ข้ อ ควรพิ จ ารณาเหล่ า นี้ เ ป็ น ลั ก ษณะเฉพาะของสั ง คมโลกแบบ
solidarism บนพื้นฐานของประชาคมแห่งมนุษยชาติตามมุมมองปฏิวัตินิยม
ความรั บ ผิ ด ชอบเชิ ง มนุ ษ ยธรรมถื อ เป็ น ภาระหน้ า ที่ ข องมนุ ษ ย์ ( human
obligation) ที่ว่าก่อนที่เราจะเป็นสมาชิกของสังคมหรือพลเมืองของรัฐบาล เราล้วนมีความ
เป็นมนุษย์มาก่อน แนวทางปฏิบัติดั้งเดิมของการแสดงภาระหน้าที่ในฐานะมนุษย์ดาเนินตาม
หลักการสาคัญ 2 ประการคือ หลักการสิทธิตามธรรมชาติ (natural rights) และกฎหมาย
ธรรมชาติ (natural law) กล่ า วคื อ สิ ท ธิ ธ รรมชาติ ห รื อ ที่ เ ราเรี ย กกั น ในปั จ จุ บั น ว่ า สิ ท ธ
มนุษยชนนั้นเป็นสิ่งที่เราล้วนต้องให้ความเคารพ ส่วนกฎหมายธรรมชาติเป็นกฎอันเป็นสากล
ของความเป็นเหตุเป็นผลและกฎของความมีจิตสานึก
7.7 แนวคิดสังคมโลก: กำรฟืน้ ฟูและปรับโฉมของสำนักอังกฤษ
ถึงแม้ว่าการศึกษาสังคมระหว่างประเทศจะเป็นจุดเด่นของสานักอังกฤษแต่กระนั้น
ก็ ต ามนั ก วิ ช าการบางคนในส านั ก เห็ น ว่ า แนวทางดั ง กล่ า วยั งเป็ น “การศึ ก ษาที่ ยั ง ไม่ จบ
สมบูรณ์ ” และ “ต้องการความชั ดเจนมากกว่ านี้ ” อีก ทั้งแนวทางการศึก ษาอัง กฤษยั ง มี
ข้อบกพร่องและยังคงไม่ได้รับการพัฒนา (underdeveloped) รวมทั้งขาดการวิเคราะห์ ที่
หนักแน่นต่อลักษณะเด่นทางโครงสร้างและเชิงบรรทัดฐานของระบบระหว่างประเทศ อีกทั้ง
ขาดการศึกษาที่จะเชื่อมต่อหรือแยกความแตกต่างระหว่างสังคมระหว่างประเทศและสังคม
โลกอย่างเด่นชัด (Griffits,Roach & Solomon, 2009: 220) ในทศวรรษที่ 1980 อาจถือเป็น
ช่วงเวลาที่สานักอังกฤษได้รับการฟื้นฟูแนวคิดและปรับการอธิบายของตนให้คมชัดมากขึ้น
หรือที่เรียกว่า “The Renaissance of the English School” (Viotti & Kuppi, 2012: 247-
248) นัก วิชาการที่ ถือว่าโดดเด่ นและมี บ ทบาทในการรื้ อ ฟื้ น (reconstruction) และปรั บ
แ นวคิ ดข อ ง ส า นั ก อั งก ฤษคื อ Barry Buzan นั ก วิ ช าก าร จ าก London School of
Economics

184
184
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

Buzan มีผลงานจานวนมากที่โดดเด่น และได้รับการยกย่องว่าเป็น นักสัจนิยมยุค


แสงสว่าง (enlightened realists) โดยการค้นคว้างานของเขาตั้งอยู่บนการวิพากษ์วิจารณ์ถึง
ข้ อ จ ากั ด และปั ญ หาของกระบวนทั ศ น์ ท างทฤษฎี ที่ ด ารงคงอยู่ ใ นปั จ จุ บั น ผ่ า นกรอบการ
วิ เ คราะห์ แ บบปรั บ และรื้ อ สร้ า งโดยเชื่ อ มโยง “ประเด็ น โลกาภิ วั ต น์ ” เข้ า สู่ ก ารศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นกิจจะลักษณะ รวมทั้งการนาทฤษฎีทางสังคมวิทยา
เข้ามาศึกษาประเด็นการทาให้เกิดความมั่นคง (securitization) เพื่อก้าวข้ามข้อจากัดของ
สานักอังกฤษแต่ผลงานที่ถือว่าเป็นการปรับปรุงสานักอังกฤษคือ ผลงานที่โดดเด่นคือ From
International to World Society?: English School Theory and the Social Structure
of Globalization ในปี 2004
ในผลงานดังกล่าว Buzan (2004) เสนอว่าแนวทางการศึก ษาสานัก อังกฤษขาด
การศึกษาเรื่องความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสังคมระหว่างประเทศและสังคมโลก โดยเฉพาะ
ประเด็ นสังคมระหว่างประเทศที่ถือเป็นหัวใจสาคัญของแนวทางนี้ได้มีการศึก ษามาอย่าง
ต่อเนื่องจากผลงานของ Wight และ Bull ว่า “อะไรคือช่องว่างระหว่างความเป็น ‘ระหว่าง
ประเทศ’ และ ‘โลก’ ” ในทัศนะของ Buzan นั้นมองว่าแนวคิดที่ Bull เคยเสนอไว้ยังขาด
การค้นคว้าอย่างจริงจังโดยเฉพาะการนิยามความหมายสังคมโลก และที่สาคัญ มันยังสะท้อน
ให้เห็นถึงความผิดพลาดในกลุ่มนักวิชาการของสานักอังกฤษต่อการวิเคราะห์บทบาทของ
การบูรณาการทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางสังคมวิทยาในสังคมระหว่างประเทศ อีกทั้ง
ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในส านั ก อั ง กฤษนั่ น คื อ ข้ อ ถกเถี ย งและการแบ่ ง กลุ่ ม ในส านั ก ออกเป็ น
pluralists และ solidarists นั้นมิได้สร้างความก้าวหน้าทางทฤษฎีของสานักอังกฤษเลย
สิ่งที่ Buzan ทาเพื่อปรับและรื้อสานักอังกฤษที่สาคัญคือการโต้แย้งประเด็นที่ว่า
แนวคิดสังคมโลกเป็นเพียงชุดของเป้าหมายเชิงบรรทัดฐานสาหรับนักทฤษฎีเท่านั้นและทั้ งยัง
เป็นแนวคิดชายขอบของสานัก เขาต้องการแก้ไขความคิดดังกล่าวโดยการพิจารณาสังคมโลก
จากมุมมองของบรรทัดฐาน (norms) และความคิด (ideas) ในฐานะรูปแบบของโครงสร้าง
ทางสังคม (ในส่วนนี้คือความสนใจต่อทฤษฎีสรรสร้างนิยมของ Buzan) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
ความสนใจของเขาคือในทฤษฎีเกี่ ย วกั บบรรทัดฐานเช่นเดีย วกั บการไม่ย อมรับทฤษฎีเชิง
บรรทัดฐาน (normative theory)
Buzan เสนอว่าแนวคิดสังคมโลกจะกลายมาเป็นวิธีการศึกษาที่ดีที่ สุดที่จะมาทา
ความเข้าใจโลกาภิวัตน์และสร้างความท้าทายต่อทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การไม่
สามารถอธิบายความสัมพันธ์หรือการเปลี่ยนผ่านจากสังคมระหว่างประเทศกับสังคมโลกถือ
ว่าเป็นจุดอ่อนที่สุดทางทฤษฎีของสานักอังกฤษความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบและวัฒนธรรม

185
185 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

แบบสากลนิยม (cosmopolitan culture) ในสังคมระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในมรดกทาง


ผลงานของ Bull ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นทฤษฎีของสานักอังกฤษที่ได้รับการรื้อฟื้นจึงมี
ศักยภาพที่จะใช้โลกาภิวัตน์เป็นเครื่องมือสร้างกรอบความคิดใหม่ๆอย่างไร
นอกจากนั้นเขาเสนอว่า เสาหลักสามประการของสานักอังกฤษได้ยึดมุมมองหลัก
ของโลกาภิวัตน์เพื่อที่จ ะผนวกการคงอยู๋ในเวลาเดีย วกั นของระบบรัฐและระบบที่มิใช่รัฐ
(non-state systems) ที่จ ะรวมตัวแสดงข้ามชาติ เช่น องค์ก ารที่มิใช่ภาครัฐบาล (NGOs)
การพัฒนาแนวคิดสังคมโลกสามารถช่วยให้เราเข้าใจศักยภาพและอุปสรรคสาหรับการเปลี่ยน
ผ่านไปสู่ก ารเมืองโลกหลังยุคเวสฟาเลีย (post-Westphalian world politics) หากความ
อ่อนแอของแนวคิดสังคมโลกในฐานะเสาหลักของสานักอังกฤษยังมิได้ก้าวข้ามอุปสรรคไปได้
ความก้าวหน้าทางทฤษฎีในสานักอังกฤษก็ ประสบทางตันเช่นกัน ดังนั้นทฤษฎีสรรสร้างนิยม
จึงเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่จะเป็นสิ่งเติมเต็มให้กับสานักอังกฤษ (Buzan, 2004)
การวิ พ ากษ์ ข อง Buzan น าไปสู่ ค าถามที่ ท้ า ทายว่ า “ส านั ก อั ง กฤษจะจั ด วาง
ตาแหน่งแห่งที่ของตนในการศึกษาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ลึกซึ้ง และในสาขา
สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ในวงกว้างได้อย่างไร”จากคาถามดังกล่าว Buzan เสนอว่า
สานักอังกฤษควรเริ่มที่จะนาแนวทางสรรสร้างนิ ยม (constructivism) ซึ่งได้รับอิทธิพลมา
จาก Alexander Wednt 19และวิชาสังคมวิทยา (ociology) มาพัฒนาแนวคิดเรื่องสังคมโลก
(Buzan, 2001: 483) อีก ทั้งจัดวางให้แนวทางสานัก อังกฤษเป็นทฤษฎีระดับใหญ่ (grand
theory) หรืออภิทฤษฎี (meta-theory) เพื่อท้าทายทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กระแสหลักที่มาสหรัฐอเมริกา (US-centred theories of IR) เพื่อทาให้สานัก อังกฤษเป็น
แนวทางการศึกษาชั้นนาและแนวหน้าของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน
(Dunne, 2005: 159-160, Alder, 2005: 171)
โดยสรุ ป แล้ ว เราจะเห็ น ได้ ว่ า ส านั ก อั ง กฤษเป็ น แนวทางการศึ ก ษาที่ พ ยายาม
ปรับปรุง เปลี่ย นแปลงรวมทั้ง หยิ บยื มแนวคิด และสาขาวิช าอื่ น ๆมาประยุก ต์แ ละพั ฒ นา
แนวทางของตนอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยยังคงรักษาแบบแผน “สังคมระหว่างประเทศ” หรือ
Grotiantradition ไว้ในฐานะแม่แบบและจุดเริ่มต้นของสานัก อังกฤษซึ่งให้ความสาคั ญกั บ

19 ทฤษฎีสรรสร้างนิยมได้พัฒนากรอบคิดเพื่อทาความเข้าใจปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางอัตลักษณ์
ที่เข้ า ไปสู่ก ารประกอบสร้า งของความสั มพันธ์ระหว่า งประเทศและความสัมพั นธ์ข้ า มพรมแดน
จุ ด อ่ อ นประการหนึ่ ง ของทฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มคื อ การขาดแนวคิ ด ทางการเมื อ ง งาน From
International to World Society? จึงเป็นการนาทฤษฎีสรรสร้างนิยมเข้าสู่การเป็นกระบวนทัศน์
หนึ่งของการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ ดูเพิ่มเติม Adler (2005).

186
186
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

กฎหมาย หลักจริยธรรมและระเบีย บระหว่างประเทศไว้อย่างเหนีย วแน่นเพื่ออุดช่อ งทาง


ทฤษฎีที่รัฐศาสตร์แบบอเมริกาได้ละเลย

นักวิชำกำรคนสำคัญในสำนักอังกฤษ

Martin Wight Herbert Butterfield Adam Watson

Hedley Bull Barry Buzan Tim Dunne

Andrew Hurrell Richard Little

187
187 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

188
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทเกริ่นนำ บทเกริ่นนำ�
ทฤษฎีหลังทฤษฎี หลังยปฎิ
ปฎิฐำนนิ ฐานนิยกมในการศึ
มในกำรศึ ษำควำมสักษาความสำ �พัำนงประเทศ
มพันธระหว่ ธ์ระหว่างประเทศ
Post-positivism in International Relations
(Post-positivism in International Relations)

สืบเนื่องจากวิวาทะครั้งที่ 4 ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ20 (ดูได้จาก


บทที่ 1) และบรรยากาศหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง ผลงานทางวิชาการในสาขาวิชานี้เริ่มมีการ
นาแนวทางการศึกษาแบบใหม่ๆเข้าสู่แวดวงเพื่อตั้งคาถามกับแนวทางการศึกษาแบบเดิมที่มี
สานักสัจนิยมและเสรีนิยมครอบงาอยู่ ดังจะเห็นได้จากการตีพิมพ์ International Studies
Quarterly ฉบับพิเศษในปี 1990 ซึ่งมี Richard Asley และ R.B.J Walker เป็นบรรณาธิการ
และคากล่าวของ Robert Keohane ในปี 1988 ขณะที่ดารงตาแหน่งประธาน International
Studies Association แสดงให้ เ ห็ น ว่ า การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งในบริ บ ทหลั ง ยุ ค
สงครามเย็ น มี ก ารแบ่ ง ค่ า ย (camps) อย่ า งชั ด เจน (Hansen, 1997: 339) คื อ แนวทาง
การศึก ษาเชิงเหตุผล (rationalist approach) หรือกลุ่มปฎิฐานนิย ม (positivism) ซึ่งเน้น
การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific method) และ แนวทางการศึกษาเชิงสะท้อ นภาพ
(reflectivist approach) หรือกลุ่มหลังปฏิฐานนิยม (post-positivism) ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนขอ
ใช้คาว่าหลังปฏิฐานนิยมในหนังสือเล่มนี้
แนวทางการศึกษาของกลุ่มทฤษฎีหลังปฏิฐานนิยมจัดเป็นกลุ่มแนวคิดที่เริ่มปรากฎ
ตั ว อย่ า งเด่ น ชั ด หลั ง สงครามเย็ น สิ้ น สุ ด ในกลุ่ ม ทฤษฎี ห ลั ง ปฏิ ฐ านนิ ย มนั้ น ถื อ ว่ า มี ค วาม
หลากหลายแต่ต่างมีจุดร่วมกันคือ การปฎิเสธญาณวิทยาหรือการมองโลกของกลุ่มทฤษฎี
กระแสหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีสัจนิยมใหม่ซึ่งถือเป็นทฤษฎีที่อิทธิพลครอบงาการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังนั้นกลุ่มทฤษฎีหลังปฏิฐานนิยมจึงได้นาเสนอทั้งประเด็นทำง
วิ ธี วิ ท ยำ (methodological issues) และประเด็ น ทำงเนื้ อ หำ (substantial issues)
เพื่อโต้แย้งกลุ่มทฤษฎีกระแสหลักที่มีเนื้อหาในเชิงปฏิฐานนิยมที่ให้ความสาคัญกับข้อเท็จจริง
ที่จับต้องได้และวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาก
จนเกิ น ไป ดั ง นั้ น นั ก ทฤษฎี ก ลุ่ ม หลั ง ปฏิ ฐ านนิ ย มจึ ง เน้ น ว่ า ทฤษฎี ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง

20 ในงานบางชิ้นอาจเรียกวิวาทะครั้งที่สี่ว่าวิวาทะครั้งที่สาม โดยนับรวมการถกเถียงระหว่างกระบวน
ทัศน์ (the inter-paradigm debate) ระหว่างสัจนิยมใหม่ เสรีนิยมใหม่และมาร์ก ซ์ใหม่ไว้ด้วย ดู
Lapid (1989) และ Waever (1996)

189
189 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ประเทศซึ่งในที่นี้รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกิจการของมนุษย์ (human affairs) เป็นสิ่งที่


ผนวกเข้ากับโลกที่เราศึกษา
ในความหมายเช่นนี้ นัก ทฤษฎีจึงเป็น “ผู้ที่อยู่ภายใน” (insiders) มิใช่ “ผู้ที่อยู่
ภายนอก” (outsiders) ดังเช่นนักทฤษฎีกระแสหลักอย่างสัจนิยมใหม่และเสรีนิยมใหม่ละเลย
และสนใจแต่เพียงความเป็นภายนอก พวกเขาสร้างข้อสมมติฐานและภาพลักษณ์ของความ
เป็นจริงขึ้นมา ด้วยการกระทาของนักทฤษฎีที่กล่าวไปนั้น “ความรู้จึงมิใช่และไม่สามารถดารง
ความเป็นกลางได้” ดังนั้น เราจึงมีความจาเป็นที่จะถกเถียงเชิงวิพากษ์ต่อสมมติฐานและข้อ
กล่าวอ้างที่ถูกสร้างขึ้นจากบางทฤษฎีเนื่องจากไม่มีความจริงเพียงหนึ่งเดียว
โดยสรุปแล้ว ทฤษฎีหลังปฏิฐานนิยมเป็นการวิพากษ์ต่อข้ออ้างของความเป็นจริงที่
ถูกเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางโดยกลุ่มทฤษฎีนี้ทาหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาความ
เป็นไปของโลกในรู ปแบบที่ หลากหลายทั้ งในมุม มองทางการเมือง เศรษฐกิ จ สังคมและ
วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และเพศสภาพโดยการวิเคราะห์กรณีศึก ษาอย่างเจาะลึก (in-depth
analysis of case) เพื่อ “ทาความเข้าใจ” ปรากฎการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่ง
เหล่ า นี้ ไ ด้ เ ปิ ด พื้ น ที่ (free space) ให้ กั บ การสะท้ อ นภาพ (reflection) และประสบ
ความสาเร็จ ที่ว่าพื้นที่เหล่า นั้นเป็น สิ่งที่ดี ที่สุ ดที่เราสามารถกระทาได้ในฐานะนัก วิช าการ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แนวทางการศึกษาแบบหลังปฏิฐานนิยมนั้นมีวิธี การที่แตกต่างกันไปและหยิบยก
ความหลากหลายของประเด็ น ทางเนื้อ หา ในหนังสือเล่ ม นี้ จึง ไม่ส ามารถนาเสนอเนื้ อ หา
ทั้งหมดได้แต่ผู้เขียนได้เลือกนาเสนอทฤษฎีในกลุ่มนี้ที่สาคัญเพื่อเป็นบทสารวจเบื้องต้น ได้แก่
ทฤษฎีสรรสร้างนิย ม (constructivism) ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิย ม (Post-Structuralism)
ทฤษฎีสตรีนิยม (Feminism)
ทฤษฎีสรรสร้างนิยมให้ความสาคัญกับความคิด (idea) และความเชื่อ (belief) ที่มี
ผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ (identity) ผลประโยชน์ (interests) และการกระทา (action) ของ
รัฐ แต่ควรกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่าในงานบางชิ้นก็จัดให้ทฤษฎีสรรสร้างนิยมว่ามีตาแหน่งแห่งที่
ทางทฤษฎีที่อยู่ตรงกลางระหว่างปฏิฐานและหลังปฏิฐานนิยม กล่าวคือ ในกลุ่มสรรสร้างนิยม
ตามแนวทางของ Alexander Wendt หรือเรียกว่า moderate constructivism จัดอยู่ใน
กลุ่มปฏิฐานนิยม ส่วนทฤษฎีสรรสร้างนิยมตามแนวทางของ Nicholas Onuf และ Friedrich
Krotochwill หรือ radical constructivism จัดอยู่ในกลุ่มหลังปฏิฐานนิยม

190
190
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมให้ความสาคัญกับภาษาและวาทกรรม โดยแนวคิดนี้มุ่ง
วิจ ารณ์ก ลุ่มทฤษฎีก ระแสหลัก โดยเฉพาะทฤษฎีสัจ นิย มใหม่เนื่องด้วยการให้ความสาคัญ
เฉพาะตัวแสดงรัฐเป็นสาคัญ โดยเพิก เฉยการวิเคราะห์และศึกษาตัวแสดงอื่นๆในโลกอีก
จานวนมาก เช่น ผู้หญิง ผู้ยากไร้ คนชายขอบ กลุ่มคนในซึกโลกใต้ ขบวนการประท้วงต่างๆ
รวมทั้งกระบวนการต่างๆ เช่น การกดขี่ขูดรีด (exploitation) การถูกทาให้อยู่ในบังคับบัญชา
(subordination) การเสื่อมถอยทางธรรมชาติ (environmental degradation) ด้วยเหตุนี้
ทฤษฎีสัจนิยมใหม่จึงสร้างภาพที่เป็นอคติของโลก (a biased picture of the world) ซึ่งเป็น
สิ่งที่จาต้องถูกเปิดเผยและวิพากษ์วิจารณ์
ทฤษฎีสตรีนิยมให้ความสาคัญกับประเด็นที่ผู้หญิงเป็นกลุ่มที่เสียเปรียบในโลกทั้ง
ในทางวัตถุและเชิงระบบของคุณ ค่า ที่มั ก จะยกให้ ผู้ช ายมี ค วามเหนือกว่า อยู่เสมอ เราใช้
มุมมองทางเพศสภาพสารวจตรวจสอบตาแหน่งแห่งที่ของ “ผู้หญิง” ในระบบการเมืองและ
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อีกทั้งวิเคราะห์ว่าวิธีการของแนวคิดในการศึกษาความสัมพั นธ์
ระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนโฉมและผลิตสร้างลาดับชั้นทางเพศสภาพขึ้นใหม่ได้
อย่างไร

191
191 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

192
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 8 บทที่ 8
ทฤษฎีสรรสร้ำงนิยม (Constructivism) ทฤษฎีสรรสร้างนิยม
Constructivism

8.1 บทนำ
ทฤษฎีสรรสร้างนิย ม(Constructivism หรือในบางตาราอาจจะเรีย กว่า Social
Constructivism) มีชื่อในภาษาไทยหลายชื่อเช่ น ทฤษฎีประดิษฐกรรมทางสัง คม ทฤษฎี
บัญญัตินิยม ทฤษฎีนิรมิตนิยม ทฤษฎีก่อร่างหรือประกอบสร้าง ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คาว่าทฤษฎี
สรรสร้างนิยมเป็นหลัก
ทฤษฎีสรรสร้างนิยมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ และกลายเป็นแนวคิดและแนวทางการศึก ษาที่ “มาแรง” จนเป็นที่นิย มในเวลา
อันรวดเร็วจนติดอันดับ 1 ใน 3 ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นนิยมในปัจ จุบัน
(Sterling-Folker, 2013: 127; Viotti & Kuppi, 2012: 277) แนวคิดนี้เริ่มปรากฎในแวดวง
วิชาการมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 โดยได้รับอิทธิพลมาจากงานของนักสังคมวิทยา เช่น Emile
Durkheim,Max Weber แ ละ Anthony Giddens ในส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กั บก าร ศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่งประเทศ ทฤษฎีสรรสร้างนิย มเป็นคาที่ ริเริ่มโดย Nicholas Onuf ซึ่ง
ปรากฎในงาน “World of Our Making” ในปี ค.ศ.1989 (Zehfuss, 2004: 11) แต่ผลงาน
ที่ มี ชื่ อ เสี ย งในแนวทางทฤษฎีนี้ คื อ ผลงานของ Alexander Wendt ซึ่ ง ผลิ ต ผลงานอย่าง
ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลาย 1980 จนถึงทศวรรษที่ 1990 โดยเฉพาะบทความ “Anarchy is
what states make of it” ที่ตีพิมพ์ในวารสาร “International Organization” ในปี 1992
Wendt ได้หยิบยืม StructurationTheory21 ของ Anthony Gidden และแนวคิดสัจ นิ ย ม
เชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Realism) เพื่อนามาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดย
เขาเสนอว่า “สภาวะอนาธิปไตยมิได้เกิดขึ้นเอง หากแต่เป็นสิ่งที่บรรดารัฐต่างๆร่วมกันสร้าง

21
Structuration Theory เป็นทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของ Anthony Giddens ว่าด้วยการก่อรูปความสัมพันธ์
ของโครงสร้างทางสังคมซึ่งเป็นทั้งผลลัพธ์และวิธีการให้ผู้กระทา การแสดงพฤติกรรมหรือกระทาการต่างๆ อัน
เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและผู้กระทาการในรูปแบบของทวิภาวะของโครงสร้าง ทฤษฎีดังกล่าวถือ
ได้ว่าเป็นทฤษฎีร่วมสมัยและยังคงเป็นข้อถกเถียงในทางสังคมวิทยามาจนถึงปัจจุบันว่าแท้จริง แล้วมนุษย์มี
อิสระในการกระทาอย่างเสรีหรือ ถูกโครงสร้างกากับควบคุมกันแน่ ในภาษาไทยมีการแปล Structuration
Theory ว่า ทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสัง คม แต่ในที่นี้ผู้เขียนขอใช้คาทับศัพท์เ พื่ อ
ดาเนินเนื้อหาในเล่ม

193
193 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ขึ้ น มา” ผลงานชิ้ น ส าคั ญ ของเขาอี ก หนึ่ ง ผลงานคื อ “Social Theory of International
Relations”
ยัง กล่าวได้อีก ว่า ทฤษฎีสรรสร้างนิย มมีตาแหน่งแห่งที่ทางทฤษฎีอยู่ตรงกลาง
ระหว่างทฤษฎีระหว่างประเทศสองกลุ่มใหญ่ กล่าวคือ ทฤษฎีสรรสร้างนิยมเปรียบดั่งสะพาน
เชื่อมระหว่างทฤษฎีปฏิฐานนิยมและทฤษฎีหลังปฏิฐานนิยม (พิจารณาได้จากแผนภาพที่ 8.1)
เนื่ อ งจากนั ก วิ ช าการกลุ่ ม หนึ่ ง ในทฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มมี วิ ธี ก ารที่ ใ ช้ ข้ อ มู ล เชิ ง ประจั ก ษ์
(empirical data) และแนวทางการศึก ษาเชิง วิทยาศาสตร์เช่นเดีย วกั บกลุ่มทฤษฎีปฏิ ฐ าน
นิยมแต่แนวคิดของทฤษฎีสรรสร้างนิยมก็เน้นอานาจของความคิด (power of ideas) และ
ความส าคั ญ ของการท าความเข้ า ใจเชิ ง การตี ค วาม (interpretive understanding) ของ
“โลกที่ แ ตกต่ า งไป” (the world out there) อย่ า งไรก็ ต าม การกล่ า วอ้ า งที่ ว่ า มี ค วาม
แตกต่างขั้นพื้นฐานระหว่างความเข้าใจเชิงเหตุผลและความเข้าใจเชิงตีความนั้น เราสามารถ
เข้าใจได้ถึงข้อสมมติฐานหลักทางวิธีวิทยาและญาณวิทยาของทฤษฎีสรรสร้างนิยม

แผนภำพที่ 8.1 ทฤษฎีควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศในต้นศตวรรษที่ 21

กลุ่มปฏิฐำนนิยม กลุ่มหลังปฏิฐำนนิยม
สัจนิยม สรรสร้างนิยม หลังโครงสร้ำงนิยม
เสรีนิยม
สตรีนิยม
มำร์กซิส
หลังอำณำนิคม
สำนักอังกฤษ

8.2 แนวคิดพื้นฐำนของทฤษฎีสรรสร้ำงนิยม

เพื่อทาความเข้าใจเบื้องต้น ผู้เขียนจึงขอเริ่มต้นจากภาพรวมและสมมติฐานของ
ทฤษฎีสรรสร้างนิยมซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ (Diez,Bode & Costa,2011:210-212; Viotti &
Kuppi, 2012: 278-279; Jackson & Sorensen: 2013: )
1) ทฤษฎีสรรสร้างนิยมแสวงหาวิธีการที่ทาให้จะให้อัตลักษณ์ (identities) และ
ผลประโยชน์ (interest) แห่งรัฐเป็นประเด็นปัญหาและมองว่า อัตลักษณ์เป็นปัจจัยสาคัญต่อ
การทาความเข้าใจนโยบาย แต่อัตลักษณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้
2) ทฤษฎีสรรสร้างนิยมเสนอว่าเรื่องโครงสร้างและตัวแสดง กล่าวคือ โครงสร้าง

194
194
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ระหว่างประเทศ (international structure) และตัวแสดง (หรือผู้กระทา) ระหว่างประเทศ


(International Agency) เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา โครงสร้างระหว่างประเทศในรูปแบบของ
โครงสร้างทางสังคมที่เต็มไปด้วยปัจจัยทางความคิด (ideational factor) ซึ่งได้แก่ บรรทัด
ฐาน (norm) กฎเกณฑ์ (rule) และกฎหมาย (law) โครงสร้างนี้มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์และ
ผลประโยชน์ของตัวแสดงและผลลัพธ์ในระดับระหว่างประเทศ (international outcomes)
3) ทฤษฎีสรรสร้างนิยมให้ความสาคับกับประเด็นทางด้านภววิทยาและญาณ
วิทยา กล่าวคือ ทฤษฎีสรรสร้างนิยมมีมุมมองต่อรูปแบบทางพฤติกรรมเชิงเหตุผลที่มีคุณ ค่ า
(models of value-rational behavior) แทนที่จ ะยอมรับเพีย งแค่แนวทางการศึก ษาเชิ ง
อธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งครอบงาการศึก ษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาโดยตลอด
ดังนั้นสิ่งนี้ให้ความสาคัญกับการปรับทิศทางเชิงภววิทยา (ontological orientation) และ
ความพึ ง พอใจเชิ ง ญาณวิ ท ยา (epistemological preference) ที่ นั ก วิ ช าการน ามาสู่ ก าร
ค้นคว้าศึก ษาของพวกเขารวมทั้ง ความเกี่ ย วข้องเชิง ปทัสถานและความเชื่อ เชิง หลั ก การ
(principled beliefs) ของตัวแสดง
แผนภำพที่ 8.1 ควำมคิดที่มีผลต่อกำรประกอบสร้ำงในควำมคิดของทฤษฎีสรรสร้ำงนิยม

ควำมคิด

อัตลักษณ์ ผลประโยชน์ กำรกระทำ


(เรำเป็นใคร) (เรำต้องกำรอะไร) (นโยบำย/ข้อปฏิบัติทำงสังคม)

ก่อนที่เราจะเข้าสู่เนื้อหาส่วนที่เป็นภาคทฤษฎีของสานักสรรสร้างนิยม ผู้เขียนจะ
ขอนาเสนอตัวอย่างใกล้ตัวเพื่อให้เห็นว่าความคิดมีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ ผลประโยชน์และ
นาไปสู่ก ารกระท าได้อย่ างไร ในเหตุก ารณ์สมมติว่ า เพื่อนชวนเราไปงานเลี้ย งวั น เกิ ด ซึ่ ง
เจ้าของงานเลี้ยงวันเกิดเป็นผู้หญิง เรามักจะมีภาพและความคิดในหัวเราว่าผู้หญิงจะต้องชอบ
ของขวัญที่ดูสดใส อ่อนหวาน หากเราเลือกซื้อเสื้อให้ผู้หญิงคนนี้ เราอาจจะเลือกเสื้อผ้าสีชมพู
หรือชุดที่มีสีสันหวาน มีลายการ์ตูน หรือเลือกซื้อเครื่องสาอาง เป็นต้น หากเจ้าของงานเลี้ยง
วันเกิดเป็นผู้ชาย เราก็มีจะมีภาพว่าเขาผู้นั้นจะต้องสิ่งที่ดูเคร่งขรึมหรือดูเหมาะสมกับความ
เป็นชาย เช่นเลือกซื้อเข็มขัด เสื้อเชิ้ตสีขาวหรือสีเทาหรืออุปกรณ์กีฬา เป็นต้น แต่ในความเป็น
จริงของขวัญที่เรามอบให้ไปนั้นอาจจะไม่ตรงใจกับเจ้าของตามที่เราคาดหวังและคิดไว้แต่ต้น

195
195 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ซึ่งจากตัวอย่างที่ยกมานั้นแสดงให้เห็นว่า ความคิดที่เรามีอยู่นั้นมีผลต่อการเลือกซื้อของและ
มอบของขวัญให้กับเจ้าของวันเกิดตามความคาดหวังของเรา ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ถือเป็นได้
ว่ า เป็ น ความคิ ด ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากบรรทั ด ฐานที่ ป ระกอบสร้ า งขึ้ น ทางสั ง คม ( socially
constructed norms) และการปฏิบัติจะถูกเปลี่ยนผ่าน อีกทั้งการให้คุณค่าหรือความหมาย
กับสิ่งของบางสิ่งก็เพราะด้วยความคิดของเรา จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น คือจุดเริ่มต้นของการ
ทาความเข้าใจทฤษฎีสรรสร้างนิยม
แนวคิ ด พื้ น ฐานที่ ก ลุ่ ม นั ก คิ ด ทฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มให้ ค วามส าคั ญ คื อ ควำมคิ ด
(ideas) และ ควำมเชื่อ (belief) มีผลต่อตัวแสดงต่างๆในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และเป็นสิ่งที่สร้างความเข้าใจร่วมกัน (shared understanding) ระหว่างตัวแสดงต่างๆ นั่นก็
คือ การให้ความสาคัญกับการรับรู้ของมนุษย์ (human awareness) หรือการตระหนักรู้ของ
มนุษย์ (human consciousness) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อีกทั้ง ระบบระหว่ำง
ประเทศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมำจำกควำมคิด มิใช่พลังทำงวัตถุ (material force) กล่าวอีก
นัยหนึ่งคือ หากเราต้องการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราต้องเข้าใจว่าโลกแห่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมิใช่โลกที่อยู่อย่างเอกเทศที่ไม่มีก ารติดต่อปฏิสัมพันธ์กั บ ตัว
แสดงอื่นๆ โลกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นโลกทางสังคม (social World) ที่มีการ
ก่ อสร้างขึ้นโดยมนุษย์ มันเป็นโลกของความเชื่อ ความคิด ภาษา วาทกรรม (discourse)
สัญลักษณ์ (signs) สัญญาณ (signal) และความเข้าใจระหว่างมนุษย์และรัฐต่างๆ โลกทาง
สังคมเป็นโลกที่เรียกได้ว่า intersubjective domains เพราะโลกทางสังคมมีความหมายต่อ
คนที่สร้างโลก อยู่ในโลก และเข้าใจในโลกที่ตนอยู่
ทฤษฎีสรรสร้างนิยมเชื่อว่าโลกที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เป็นสิ่งที่กาหนดความรับรู้ของ
เรา เป็นสิ่งที่ บอกว่าเราเป็ น ใคร บอกอัตลัก ษณ์ ของเรา เมื่อบอกว่าเราเป็ น ใคร เราก็ จ ะ
สามารถบอกได้ว่าเราต้องการอะไร นั่นก็คือ การระบุถึงผลประโยชน์ของเราได้และนาไปสู่
การกาหนดนโยบาย ดังนั้น ผลประโยชน์แห่งชาติมิได้เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามที่กลุ่มทฤษฎีสัจ
นิยมและกลุ่มเสรี นิยมเชื่อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อัตลักษณ์แห่งรัฐ (identities of state)
นั้นถูกสร้างมาจากบรรทัดฐานของบุคคลต่างๆในสังคมมารวมกันเพื่อหาจุดร่วมของความมีอัต
ลัก ษณ์ หากเกิ ดความขัดแย้งขึ้นกลุ่มผู้ที่สรรสร้างอัตลัก ษณ์แล้ว ก็ จ ะไม่สามารถสร้างอัต
ลักษณ์ได้สาเร็จ
อิทธิพลของความคิดที่มีการรับรู้ ความเข้าใจและความเชื่อของเราในความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศนั้น Wendt (1995: 73) ได้ยกตัวอย่างที่ให้ภาพเจนจากคากล่าวที่ว่า “อาวุธ
นิวเคลียร์ของอังกฤษจานวน 500 ลูกไม่เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐอเมริกาเท่ากับการที่เกาหลี

196
196
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

เหนือครอบครองนิวเคลียร์จานวน 5 ลูก” จะเห็นได้ว่าจานวนนิวเคลียร์มิใช่ประเด็นสาคัญ


หากอยู่ที่ “ความคิด” ของสหรัฐอเมริกาที่มีตัวแสดงหรืออีกฝ่ายอย่างไร กล่าวได้ว่า ความคิด
มีความสาคัญมากกว่าวัตถุ ซึ่งหากวิเคราะห์และอธิบายด้วยมุมมองจากทฤษฎีสัจนิยมก็จะ
มองว่าอังกฤษเป็นภัยคุกคามต่อ สหรัฐอเมริกาเนื่องด้วยจานวนอาวุธนิวเคลียร์จานวนมากที่
ครอบครองอยู่ ตั ว อย่ า งข้ า งต้ น จึ ง เป็ น การเน้ น ย้ าถึ ง ความแตกต่ า งของมุ ม มองทางวั ต ถุ
(materialist view) ที่นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลักยึดถือ กับมุมมอง
ทางความคิด (ideational view) ที่นักทฤษฎีสรรสร้างนิยมยึดถือ
องค์ประกอบทางความคิดหลักที่ทฤษฎีสรรสร้างนิยมให้ความสนใจคือความเชื่อที่
สร้างความเข้าใจร่วมกัน (intersubjective belief) (ซึ่งในที่นี้รวมถึงความคิด การรับรู้และข้อ
สมมติฐานด้วย) ที่แบ่งปันกันในกลุ่มผู้คน แม้ว่าความคิดจะถูกแบ่งปันในวงกว้างในเชิง เนื้อหา
แต่จะได้รับการยึดถือแตกต่างกันไปตามกลุ่ม เช่น กลุ่มองค์กร ผู้กาหนดนโยบาย กลุ่มทาง
สั ง คมหรื อ ตั ว สั ง คมเอง Tannenwald (2005: 15 cited in Jackson & Sorensen, 2013:
213) เสนอว่า “ความคิดเป็นการประกอบสร้างทางจิตใจซึ่งยึดถือโดยปัจเจกบุคคล ชุดของ
ความเชื่อที่แ ตกต่ าง หลัก การพื้นฐานและทั ศ นคติ ซึ่งจั ด สรรการปรั บเปลี่ย นเชิงกว้ า งต่ อ
พฤติกรรมและนโยบาย” ซึ่งเขาได้แบ่งความคิดออกเป็น 4 ประเภทคือ อุดมการณ์หรือระบบ
ความเชื่ อ ร่ ว มกั น (ideologies or shared belief systems) ความเชื่ อ เชิ ง ปทั ส ถาน
(normative beliefs) ความเชื่อเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (cause-effect beliefs) และ การ
กาหนดนโยบาย (policy prescriptions)

กำรเล่นเกมไพ่ของเด็ก: เป็นภำพสะท้อนให้เห็นแง่มุมของทฤษฎีสรรสร้ำงนิยมหลำยลักษณะ
เด็กๆเล่มเกมตำมกฎเกณฑ์ (rules) และบรรทัดฐำน (norms) ที่พวกเขำยอมรับใน “โลก” ของเกมโดย
ไม่มีข้อสงสัยในควำมเป็นเหตุเป็นผลของเขำ (rationality)
นอกจำกนัน้ พวกเขำยังได้รับกำรขัดเกลำทำงสังคมเพื่อเข้ำสู่ “โลก” ใบนี้ ในบำงครำว กำรเล่มเกมอำจทำ
ให้เรำได้สร้ำงอัตลักษณ์ (identity)ให้กับบทบำทที่พวกเขำได้รับในเกมนี้

197
197 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

8.2 ควำมหลำกหลำยภำยในสำนักทฤษฎีสรรสร้ำงนิยม
ถึงแม้ว่านักวิชาการในสานักทฤษฎีสรรสร้างนิยมจะมีแนวคิดและสมมติฐานร่วมกั น
ในเชิงภววิทยาที่สร้างบนฐานแห่งความคิด (ideational Ontology) แต่ก็มีมุมมองทางญาณ
วิทยาหรือการหาความรู้ที่แตกต่างกันไป กล่าวคือนักวิชาการบางกลุ่ม ปฏิเสธการสร้างทฤษฎี
ที่เน้นรูปแบบของความเป็นศาสตร์และเน้นการตีความที่เรียกว่า สรรสร้างนิยมเชิงหลังปฎิ
ฐานนิยม (post-positivist constructivism) ส่วนบางกลุ่มก็ให้ความสาคัญระเบีย บวิ ธีก าร
เชิงวิทยาศาสตร์และการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่ออธิบายพลวั ตรของความสัมพันธ์ ระหว่าง
ประเทศหรือเรียกว่า สรรสร้างนิยมเชิงปฏิฐานนิยม (positivist constructivism) ซึ่งหากแบ่ง
อย่างกว้างๆ เราอาจะแบ่งทฤษฎีสรรสร้างนิยมออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ (Checkel, 2008: 72-
73) คือ สรรสร้างนิย มสายอเมริก า (American constructivism) และสรรสร้างนิย มสาย
ยุ โ รป (European constructivism) ซึ่ ง มี ก ารอธิ บ ายและการให้ ค าตอบที่ แ ตกต่ า งกั น ต่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามวิธีการที่ตนเองยึดถือ กล่าวคือในแนวทางการศึกษาสรร
สร้างนิยมสายอเมริกาจะเน้นย้าถึงบทบาทของ “บรรทัดฐานทางสังคม” และ “อัตลักษณ์” ที่
ก่อร่างการเมืองระหว่างประเทศและกาหนดนโยบายต่างประเทศ อีกทั้งแนวทางเป็นไปตาม
การก าหนดของนั ก วิ ช าการสายปฏิ ฐ านนิ ย มที่ ส นใจ วิ ธี ก ารเชิ ง นิ ร นั ย (deductive
mechanisms) และความสัม พั น ธ์เ ชิงเหตุผ ลระหว่างตั วแสดง บรรทัดฐาน ผลประโยชน์
และอัตลักษณ์ อีกทั้งยอมรับการตีความเชิงภววิสัย (objective hermeneutic) ซึ่งให้น้าหนัก
กับปัจจัยสภาพแวดล้อมและโครงสร้างที่ตัวแสดงต้องเผชิญ โดยให้ความสาคัญกับจุดตัดทาง
ประวั ติ ศ าสตร์ ใ นฐานะปริ ม ณฑลส าคั ญ ที่ เป็ น จุด สั ง เกตความเปลี่ ย นแปลงความสั ม พันธ์
ระหว่างโครงสร้างและตัวแสดง แนวทางเช่นนี้อาจเรียกอีกอย่างได้ว่า แนวทางสรรสร้างนิยม
ดั้ ง เดิ ม (conventional constructivism) หรื อ สรรสร้ า งนิ ย มแบบมาตรฐาน (standard
constructivism) หรือ นักวิชาการในกลุ่มนี้ได้แก่ Alexander Wendt, Emmanuel Adler,
John Gerard Ruggie, Peter Katzenstein and Martha Finnemore
ส่วนแนวทางสรรสร้างนิยมสายยุโรปหรือเรียกอีกอย่างว่าสรรสร้างนิยมเน้นการ
ตีความหรือเชิงตีความ (interpretive/interpretative constructivism) ให้ความสาคัญกับ
บทบาทของ “ภาษา” “การประกอบสร้างทางภาษาศาสตร์" (linguistic constructions)
และ “วาทกรรมทางสังคม” (social discourses) แนวทางนี้ได้รับการกาหนดแนวทางโดย
นักวิชาการกลุ่มหลังปฏิฐานนิยมหรือนักวิชาการที่เน้นตีความซึ่งไม่เพียงแต่สนใจการอธิบาย
สาเหตุและผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางอัตลักษณ์ผ่านวิธีการเชิงนิรนัยเช่นเดียวกับกลุ่ม
สรรสร้างนิยมดั้งเดิมแต่ยังสนใจเงื่อนไขของความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงและวิธีการที่

198
198
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

มั น ถู ก สร้ า งขึ้ น มา ใช้ แ นวทางอุ ป นั ย ในการศึ ก ษา นั ก วิ ช าการในกลุ่ ม นี้ ไ ด้ แ ก่ Friedrich


Kratochwil และ Ted Hopf
อย่ า งไรก็ ต ามถึ ง แม้ ว่ า จะมี ค วามแตกต่ า งกั น ในรายละเอี ย ดบางประเด็ น แต่
นักวิชาการในสานักนี้มีความเชื่อร่วมกันที่สาคัญคือ ปัจจัยทางสังคมมากกว่าปัจจัยทางวัตถุใน
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นอกจากนั้น ยังมีการแบ่งประเภททฤษฎีสรรสร้างนิยมตามแนวทางของนักคิดคน
สาคัญในสานัก ดังจะเห็นได้จาก Zehfuss (2004) ได้แบ่งทฤษฎีสรรสร้างนิยมออกเป็น 3
ประเภทด้วยกันตามนัก คิดคนสาคัญในสานัก คือ สรรสร้างนิยมตามแนวคิดของ Nicholas
Onuf, Alexander Wendt และ Fredrich V. Krotochwil ซึ่งเป็นผลงานสาคัญที่ได้รับการ
กล่าวถึงและนาไปสู่การถกเถียงในแวดวงวิชาการอยู่เสมอ แม้ว่าแนวคิดทั้งสามข้างต้นจะมี
รายละเอียดที่แตกต่างกั นไป แต่แนวคิดทั้งสามนั้นไม่เพียงแต่มีบทบาทสาคัญในการริเ ริ่ม
ทฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มแต่ ยั ง มี อิ ท ธิ พ ลอย่ า งมากในการน าสรรสร้ า งนิ ย มเข้ า สู่ ก ารศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างกว้างขวางอีกด้วย กล่าวคือ จุดเริ่มต้นของทฤษฎีสรรสร้าง
นิยมริเริ่มโดย Onuf และต่อยอดจนกลายเป็นที่รู้จักโดย Wendt และได้พัฒนาทฤษฎีจนเกิด
แนวคิดการสร้างความเข้าใจร่วมกั น (intersubjectivity) โดย Krotochwil ซึ่งเป็นแนวคิด
หลักของสรรสร้างนิยม นักวิชาการบางท่านได้มีจัดประเภททฤษฎีสรรสร้างนิยมของ Wendt
รวมทั้งนักวิชาการในสานักนี้เช่น Roy Bhashkar และ David Dessler ให้เป็น Naturalistic
Constructivism ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างทฤษฎีสัจนิยมใหม่และทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ (Weber,
2005: 65-67)
อย่างไรก็ตาม เราจะพบการจัดแบ่งประเภทแนวคิดภายในสานักทฤษฎีสรรสร้าง
นิยมถือว่ามีความซับซ้อนแตกต่างกันไปตามตาราแต่ละเล่มซึ่งอาจจะสร้างความสับสนให้กับผู้
ที่กาลังเริ่มศึกษา ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จึงเสนอนาเสนอทฤษฎีสรรสร้างนิยมตามแนวคิดของ
นักวิชาการคนสาคัญ ได้แก่ Alexander Wendt ในฐานะผู้ที่ทาจัดระบบและนาเสนอทฤษฎี
สรรสร้างนิยมจนเป็นที่นิยมในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นตัวตั้งต้น และยัง
น าเสนอ Nicholas Onuf ในฐานะผู้ บุ ก เบิ ก และริ เ ริ่ ม ใช้ ค าว่ า Constructivism งานของ
Friedrich Krotochwill และ Emmanuel Adler ในฐานะบุกเบิกสรรสร้างนิยมสายวิพากษ์
และสุดท้ายการนาทฤษฎีสรรสร้างนิยมในประเด็นบรรทัดฐานในสังคมระหว่างประเทศมา
วิเคราะห์บทบาทองค์การระหว่างประเทศโดย Marthar Finnermore

199
199 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

8.2.1 สรรสร้ำงนิยมตำมแนวคิดของ Alexander Wendt


Wendt เสนอผลงานชิ้นสาคัญคือ Anarchy is what states make of it ซึ่งเขา
ได้เสนอว่า การพึ่งพิงตนเอง (selp-help) และการเมืองเรื่องอานาจ (power politics) เป็น
สิ่งที่ถูกประกอบสร้างในเชิงสังคมภายใต้สภาวะอนาธิปไตยซึ่งถือเป็นการท้าทายทฤษฎีสัจ
นิยมใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องอนาธิปไตย เขาเสนอว่า “อนาธิปไตยเป็นสิ่งที่รัฐต่างๆสร้างมัน
ขึ้นมา” (Wednt, 1992: 132) ซึ่งโดยตรรกะของอนาธิปไตยในสภาวะระหว่างประเทศอาจจะ
ไปสู่ความขัดแย้งตามที่ทฤษฎีสัจนิยมเชื่อหรือความร่วมมือตามที่ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่เชื่อก็ ได้
ดังนั้น Wednt จึงจัดวางแนวทางของสรรสร้างนิยมว่าเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่างทฤษฎีทั้ง
สอง (พิจารณาได้จากแผนภาพที่ 8.2)
แผนภำพที่ 8.2 ตำแหน่งทำงทฤษฎีสรรสร้ำงนิยมตำมแนวทำงของ Wendt

ทฤษฎีสรรสร้ำงนิยมตำม ไม่มีตรรกะสาหรับ
แนวคิดของ Wendt อนาธิปไตยเพราะอนาธิปไตย
เป็นสิ่งรัฐสร้างขึ้นมา

สัจนิยมใหม่ เสรีนิยมใหม่

ตรรกะของอนาธิปไตยคือ ตรรกะของอนาธิปไตยคือ
โครงสร้างที่นาไปสู่ความขัดแย้ง กระบวนการที่นาไปสู่ความร่วมมือ

Wendt ได้ ศึ ก ษาค้ น คว้ า เพื่ อ ท าการอธิ บ ายและขั ด เกลาแนวคิ ด ของเขาอย่ า ง


ต่อเนื่อง ผลงานอีกชิ้นที่สาคัญคือ Social Theory of International Politics ซึ่งเป็นงานที่
เสนอทฤษฎีสรรสร้างนิยมของเขาที่สมบูรณ์ที่สุด
ในทั ศ นะของ Wednt หลั ก การพื้ น ฐานของทฤษฎี ส รรสร้ า งมี ส องประการคื อ
(Wednt, 1999: 1)
1) โครงสร้างของการรวมกลุ่มของมนุษย์ถูกกาหนดไว้เป็นขั้นต้นโดยความคิด
ร่วมกันมากกว่าแรงขับเคลื่อนเชิงวัตถุ
2) อัตลักษณ์และผลประโยชน์ของตัวแสดงถูกประกอบสร้างโยความคิดร่วมกัน
มากกว่ามีมาโดยธรรมชาติ

200
200
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

จากหลั ก การเบื้ อ งต้ น สามารถขยายความได้ ว่ า ภววิ ท ยาหรื อ การมี อ ยู่ ข อง


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นคือ “สังคม” โดยผ่านทางความคิดที่รัฐนั้นเกี่ยวพันกับรัฐ
อื่นๆ ความคิดเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่นิยามว่า “ใครป็นใครและรัฐเป็นอะไร” วิธีการที่การเมือง
ระหว่างประเทศประพฤติปฏิบัติอยู่นั้นเป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้นเอง หากแต่เกิดจากการสร้างขึ้นมา
เนื่องจากอัตลักษณ์และผลประโยชน์เป็นสิ่งที่ประกอบสร้างขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากข้อ
ปฏิบัติแห่งการทาความเข้าใจร่วมกัน (intersubjective practice) แนวทางการศึกษาเช่นนี้
ให้ความสาคัญกับอัตลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมา ความเชื่อของลักษณะเฉพาะของแต่ละสิ่ง (self)
และธรรมชาติเป็นตัวก่อร่างปฏิสัมพันธ์ ในทางตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้ก็ถูกก่อร่างขึ้นมาโดย
ปฏิสัมพันธ์ ความเป็นจริ งทางสังคมเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา ซึ่งการกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นสิ่งที่
พัฒนามาจากทฤษฎีสัจนิยมและ structuration theory ของ Anthony Giddens (Wednt,
1987)
Wednt ให้ความสาคัญกับการตีความ (interpretation) และการให้ความหมาย
(meaning) ของสิ่งต่างๆผ่านตัวแทน (agent) และโครงสร้าง (structure) ดังนั้น การอธิบาย
ประเด็นเรื่องความมั่นคงและผลประโยชน์ที่แตกต่างกันตามแต่ละช่วงเวลา จึงมิได้เกิดขึ้นเอง
แต่เป็นผลจากการประดิษฐ์คิดค้นและให้ความหมายผลประโยชน์ในแต่ละช่วงเวลาตามความ
ต้องการของตัวแสดง ความสามารถในการกาหนดสร้างความหมายของสิ่งต่างๆในสังคม ทา
ให้รัฐในฐานะตัวแสดงหลัก มีบทบาทสาคัญในโครงสร้างการกาหนดนโยบายทางการเมือง
ต่างๆ แม้ว่ารัฐจะเผชิญกับปัญหาที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น Wendt ยังเสนอว่า ถ้าพิจารณารัฐใน
ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ควรให้ความสาคัญกั บการวิเคราะห์รัฐ และระบบรั ฐ
ควบคู่กันไป เพราะรัฐคือตัวแสดงหลักในการสร้างกฎระเบียบและความรุนแรงให้เกิดขึ้นใน
ระบบรัฐ อีกทั้งการทางานของรัฐมักมีลักษณะของการผูกขาดอานาจในการกาหนดนโยบาย
ทั้งในรัฐและระหว่างประเทศ รัฐจึงไม่ย อมให้ตัวแสดงอื่นมีอ านาจเหนือรัฐ รัฐจึงมีฐานะ
ความสาคัญต่อการศึกษาระบบรัฐที่เปลี่ยนไป Wendt สรุปว่า ถ้าหากปราศจากรัฐก็ปราศจาก
ระบบรัฐเช่นกัน (Wendt, 1999: 195)
Wendt เสนออี ก ว่ า มี ปั จ จั ย 5 ประการที่ ส นั บ สนุ น รั ฐ ให้ ส ร้ า งวาทกรรมเพื่ อ
ก าหนดอั ต ลั ก ษณ์ ข องตนเองเพื่ อ รั ก ษาประโยชน์ แ ละความมั่ น คงได้ ต ามระบบรั ฐ และ
โครงสร้ า งรัฐ ได้ แ ก่ กฎระเบี ย บของสถาบั น องค์ ก รในการจัด การสร้ างกฎระเบี ย บและ
ความชอบธรรมของรัฐ การจัดการด้านอธิปไตยของรัฐ สังคม และเขตแดนรัฐ ปัจจัยทั้งหมดนี้
รัฐจะทาการผลิตซ้าทางความคิดเพื่อครอบงาความเชื่อของคนในสังคมในช่วงเวลานั้น ซึ่งใน
ที่สุดผลกระทบจากการผลิตซ้านี้มีไว้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนก็จะถูกทาให้เปลี่ยนแปลง
ไปและต้องผลิตวาทกรรม หรือชุดความคิดขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิ ดขึ้น

201
201 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ระหว่างรัฐกับตัวแสดงที่มิใช่รัฐอันมีอานาจหรือความสาคัญในระบบรัฐ ดังนั้น กล่าวได้ว่า รัฐ


ไม่สามารถมีรูปแบบการปกครองหรือกาหนดสร้างความหมายผลประโยชน์และความมั่นคง
อย่างถาวรและไม่เปลี่ยนแปลง เพราะรัฐต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงอื่น
ต้องการเข้ามามีบทบาทแทนรัฐ
Wendt กล่ า วว่ า การสร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ ข องรั ฐ คื อ การก าหนดอั ต ลั ก ษณ์ ที่ ใ ห้
ความหมายว่า อัตลักษณ์ของ “เรา” ไม่ใช่เพียงการเสนออัตลักษณ์ ของใครคนหนึ่ง รัฐจึงมี
ความสามารถในการสร้างความหมายในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์เพื่อแสดงความเป็นหนึ่ง
เดียวกัน และเมื่อใดที่รัฐสามารถสร้างอัตลักษณ์ได้สาเร็จ สมาชิกรัฐมักจะรับเอาอัตลักษณ์
ส่วนรวมนี้ไปนาเสนออัตลักษณ์ของตนเอง
ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อัตลักษณ์ที่รัฐต่างๆสร้างขึ้นมานั้น
มีไว้เพื่อรักษาผลประโยชน์และอานาจในฐานะตัวแสดงหลัก หากต้องการศึกษาผลประโยชน์
แห่งชาติในช่วงเวลาใด เราสามารถวิเคราะห์ผ่านอัตลักษณ์ของรัฐในช่วงเวลานั้น เพราะอัต
ลักษณ์เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า รัฐคืออะไร ส่วนผลประโยชน์คือ สิ่งที่บอกถึงความต้องการของตัว
แสดง อัตลักษณ์จึงไม่มีความหมายในการอธิบายการกระทาของตัวแสดงถ้าปราศจากความ
ต้องการ กล่าวคือ ถ้ารัฐไม่มีความต้องการ อัตลักษณ์จะไม่มีแรงผลักดัน และถ้าไม่มีอัตลักษณ์
ผลประโยชน์ก็ไม่มีทิศทางที่แน่นอน (Wendt,1999:231)
รูปแบบจาลองการก่อร่างสร้างอัตลักษณ์และผลประโยชน์สามารถพิจารณาได้จาก
แผนภาพที่ 8.3 สามารถประยุ ก ต์ เ พื่ อ อธิ บ ายสถาบั น ในเชิ ง แข่ ง ขั น ( competitive
institutions) มากกว่าสถาบันในเชิงร่วมมือ (cooperative institutions) ระบบความมั่นคง
ที่เน้นการพึ่งพิงตนเอง (self-help) ได้พัฒนามาจากวงจรปฏิสัมพันธ์ในกรณีที่รัฐใดรัฐหนึ่ง
รู้สึกหรือถูกทาให้รู้สึกว่าตนเองถูกคุกคาม จึงสร้างความคาดหวังว่ารัฐอื่นไม่น่าไว้วางใจ อัต
ลั ก ษณ์ ใ นเชิ ง แข่ ง ขั น (competitive identities) หรื อ อั ต ลั ก ษณ์ ที่ เ ห็ น แก่ ตั ว (egoistic
identities) เกิดขึ้นจากความไม่มั่นคงดังกล่าว กล่าวคือ หากรัฐอื่นถูกคุกคาม ความเป็นตัวตน
ถูกขับเคลื่อนเพื่อที่จะเป็น “กระจกสะท้อน” พฤติกรรมในลักษณะนั้นในการรับรู้ต่ออีกรัฐ
นอกจากนั้นระบบที่เน้นการแข่งขันดังกล่าวมักจาไปสู่ “ทางแพร่งแห่งความมั่นคง” (security
dilemmas) ซึ่งกระตุ้นให้ตัวแสดงต้องขยายความมั่นคงของตนจนไปกระทบต่อรัฐอื่ นด้วย
ความรู้สึกที่แปลกแยกและไม่ไว้วางใจ

202
202
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

แผนภำพที่ 8.3 กำรตัดสินใจร่วมกันของสถำบันและกระบวนกำร (The Codetermination of


Institutions and Process) (ปรับปรุงจาก Wendt, 1992: 406)

สถำบัน กระบวนกำร
อัตลักษณ์และผลประโยชน์ของรัฐ A
สิ่งกระตุ้นที่ต้องการการกระทา

การให้ความหมายของสถานการณ์
ของรัฐ A

ความเข้าใจร่วมกันและความ
คาดหวัง การกระทาของรัฐ A

การตีความต่อการกระทาของของรัฐ
Aโดยรัฐ B และ
การให้ความหมายของสถานการณ์
นั้นโดยรัฐ B เอง

อัตลักษณ์และผลประโยชน์ของรัฐ B

การกระทาของรัฐ B

8.2.2 สรรสร้ำงนิยมตำมแนวคิดของ Nicholas Onuf


หนึ่งในผลงานของ Onuf คือการประสานการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กับกฎหมายระหว่างประเทศ เขาตีพิมพ์ผลงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแพร่หลาย
แนวคิดสรรสร้างนิยมของเขาเชื่อมโยงกั บผลงานของเขาในฐานะที่มีฐานคิดตั้งอยู่บนการ
สารวจค้นคว้ากฎเกณฑ์ ผลงาน World of Our Making เป็นงานบุก เบิกแนวคิดสรรสร้ าง
นิยมของเขา งานชิ้นนี้เป็นการอธิบายอย่างซับซ้อนซึ่งพัฒนาขึ้นโดยใช้ปรัชญาเชิงถกเถียงและ
ตีความและทฤษฎีทางสังคมซึ่งก็คือ “การอ่านอย่างละเอียดของตัวบท” (a close reading

203
203 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

of texts) จุดประสงค์ส าคัญ ของ Onuf คือการสร้างกระบวนทั ศ น์ ใหม่ สาหรับ การศึ ก ษา


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งพิจารณาทบทวนลักษณะทางการเมือง โดยเขาตั้งข้อเกตที่ว่า
“ผู้ ค นสร้ า งสั ง คมและสั ง คมสร้ า งผู้ ค น” (people make society and society makes
people) นั้นถือเป็นหัวใจสาคัญต่อการทาความเข้าใจเชิงสรรสร้างนิยมเนื่องจากมนุษย์เป็น
สิ่งมีชีวิตทางสังคม กล่าวคือ เราจะไม่สามารถเป็นมนุษย์ได้หากไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคม
(Onuf, 1998: 58-78 cited in Viotti & Kauppi, 2012: 291) โครงสร้ า งหรื อ ข้อ ตกลงเชิง
สังคม (social arrangement) เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยกฎเกณฑ์และสถาบันในตัวมันเอง ใน
ทั ศ นะของ Onuf ค าว่ า สถาบั น มิ ใ ช่ อ งค์ ก รมี ก ารจั ด ตั้ ง เป็ น อาคารสถานที่ ห ากแต่ เ ป็ น
แนวความคิดต่างๆเช่น ดุล อานาจ เขตอิทธิพล การจัดทาสนธิสัญญาและระบอบระหว่ าง
ประเทศ
ในความคิ ด ของ Onuf แล้ ว ทฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มสามารถประยุ ก ต์ เ ข้ า กั บ การ
แสวงหาความรู้ ท างสั งคมในทุ ก สาขาและมีศั ก ยภาพที่ จ ะประสานเนื้ อ หาที่ เ หมื อนจะไม่
เกี่ยวข้องกัน ความคิดดังกล่าวเริ่มต้นจากที่ว่ามนุษย์เป็นสังคม (human being is social)
กล่าวคือ ความสัมพันธ์ทางสังคมทาให้เราเป็นมนุษย์ สร้างเรา “ให้เข้าสู่สิ่งมีชีวิตอย่างที่เรา
เป็น” เราใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติมาสร้างโลกอย่างที่เป็น กล่าวได้ว่าทฤษฎีสรรสร้างนิย ม
ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่าสังคมและผู้คนกระทาซึ่งกันและกันในกระบวนการสองทาง (two-way
process) ที่ต่อเนื่องการกระทาต่างๆซึ่งอาจจะเป็นคาพูดหรือทางกายภาพนั้นล้วนสร้างโลก
สาหรับการกระทาที่สามารถสร้างความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมีความหมาย (meaning) ใน
ทัศนะของ Onuf ความหมายในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่ยั งดารงคง
อยู่ ดังนั้นทฤษฎีสรรสร้างนิยมของเขายืนยันถึงความสาคัญขั้นพื้นฐานของกฎเกณฑ์สาหรับ
ความเป็ น จริ ง ทางสั ง คมรวมทั้ ง ส าหรั บ ทฤษฎี ท างสั ง คมเชิ ง สรรสร้ า ง (a constructivist
social theory) ในมุมมองของสรรสร้างนิยมแล้ว กฎเกณฑ์เป็นตัวควบคุมมุมมองของโลกแต่
มันประกอบสร้างสถานการณ์มาตั้งแต่ต้น
8.2.3 สรรสร้ำงนิยมตำมแนวคิดของ Kratochwil
Krotochwil เป็นนักวิชาการในสานักที่เน้นแนวทางการศึกษาสรรสร้างนิยมที่เปิด
กว้างหรือปรับเปลี่ยนได้ง่าย (open-ended constructivist approach) ที่นาเสนอว่าทฤษฎี
สรรสร้างนิย มเป็ นแนวทางการศึก ษาเชิ งวิ พ ากษ์แ ละเชิง นอกกระแสหลั ก ของการศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยมีจุด ประสงค์เ พื่อท าความเข้ าใจการเปลี่ย นแปลงทาง
ความหมายของแนวคิดที่ใช้อธิบายและทาความเข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคม

204
204
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

งานชิ้นสาคัญของ Krotichwil คือ Rules, Norms and Decisions ในปี 1989 นั้น
ได้ใช้แนวทางสรรสร้างนิยมอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยวิพากษ์วิจารณ์ข้อจากัด
และปัญหาทางด้านญาณวิทยาของกลุ่มทฤษฎีปฏิฐานนิยมหรือเหตุผลนิยม (rationalism)
ของทฤษฎี ก ระแสหลั ก รวมทั้ ง ทฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มสายกลาง ( middle-ground
constructivism) ด้วย หากนักวิชาการในทฤษฎีกระแสหลักเปรียบเสมือน “ผู้รักษาประตู”
ของวงการการศึกษาความสัมพั นธ์ระหว่ างประเทศแล้ ว Krotochwill ก็ เปรีย บดั่ง “ผู้พัง
ประตู” (gate-breaker) ของวงการ กล่าวคือ เขาพยายามสร้างความเข้าใจตัวตนเชิงสะท้อน
ภาพ (reflective self-understanding) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกทั้งใช้
แนวทางวิพากษ์ (critical theory) มาประยุกต์กับทฤษฎีสรรสร้างนิยมของเขาเองด้วย
แนวทางการสร้างทฤษฎีสรรสร้างนิยมของ Krotochwil ตั้งอยู่บนฐานของทฤษฎี
วิพากษ์อยู่สองประการคือ ประการแรก การปฏิเสธการแสวงหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมที่
เน้นความเป็นวัตถุรวมทั้งการแยกความจริงออกจากวัตถุ ดังจะเห็นได้จากความพยายามของ
ทฤษฎีกลุ่มนี้ที่ทาให้ข้อเท็จจริงทุกอย่างเป็นวัตถุเพื่อการทดสอบสมมติฐานและการอธิบาย
ประการที่สองคือ Krotocwil เห็นพ้องกับทฤษฎีวิพากษ์ที่ว่าแนวคิดและทฤษฎีต้องไม่ตายตัว
เนื่ อ งจากความคิ ด เป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากประสบการณ์ ท างสั ง คมของแต่ ล ะคนและการ
เปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมที่ ต่ า งกั น จากประเด็ น ทั้ ง สองนี้ ท าให้ ท ฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มของ
Krotochwill ก้าวข้ามความเป็นทฤษฎีสรรสร้างนิยมสายกลาง
Krotocwil ตั้งคาถามสาคัญของเขาอยู่ 2 ประเด็นคือ “เพราะเหตุใดเราจึงยึดถือ
ว่าโครงสร้างและข้อเท็จจริงดารงอยู่อย่างอิสระและตายตัว ” และ “ทฤษฎีทางสังคมที่มีอยู่
แล้วสามารถอธิ บ ายข้อ จากั ด และปั ญหาของการสร้ างทฤษฎี ต่อโลกที่ เปลี่ย นแปลงไปได้
อย่างไร” จากคาถามข้างต้น สามารถอธิบายได้ว่า ค่านิยมเป็นส่วนประกอบของความเป็นจริง
ทางสังคมที่เราต้องการอธิบายและทาความเข้าใจ ในความเป็นจริงแล้วตัวแสดงได้รับความรู้
ผ่านบริบททางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจง ตัวแสดงเหล่านี้จึงกระทาและสร้าง
ทางเลือกของเขาจากความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมในการมองโลกที่แตกต่างกัน ดังนั้น แนวคิด
สาคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น อนาธิปไตย อานาจอธิปไตยและบรรทัด ฐาน
ระหว่างประเทศจึงเป็นตัวแทนความหมายทางการเมืองและสังคมของความเข้าใจและการ
อธิบายในพลวัตรเช่นนี้ เขายังย้าว่า “ความเป็นจริงทางสังคมเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาโดยตัวแสดง
แนวคิดที่เราใช้กั นอยู่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคาศัพท์ที่ทับซ้อนกับความหมายทางการเมือง”
(Krotochwil, 2006 cited in Griffits (eds.), 2009 : 128) บรรทัดฐานเป็นสิ่งที่สร้างความ
เข้าใจร่วมกัน (inter-subjective meanings) ที่ให้ตัวแสดงมุ่งกระทาต่อกัน ติดต่อสื่อสารกัน

205
205 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ประเมินคุณภาพของการกระทา วิพากษ์วิจารณ์และพิสูจน์ทางเลือกอื่นๆได้ (Viotti & Kuppi,


2012: 292) โดยสรุปแล้ว ความคิดเป็นตัวสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและความรู้ขึ้นมา ซึ่ง
แสดงถึงความเป็นทฤษฎีเชิงวิพากษ์ที่เน้นการตระหนักรู้ด้วยตัวตน (self-conscious) ของ
การก่อตัวทางสังคมของข้อเท็จจริงและค่านิยม
งานของ Krotochwil ที่มีต่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นถือว่ ามี
ความซับซ้อนและขอบเขตการศึกษาที่กว้าง การวิพากษ์ของเขายังคงมีความสาคัญต่อการ
พัฒนาทฤษฎีกระแสทางเลือกในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอยู่เสมอ นับได้ว่า
งานของเขาเป็ น ส่ ว นประกอบสร้ า งของแนวคิ ด ที่ ห ลากหลายด้ ว ยความเป็ น ทฤษฎี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สะท้อนภาพและเป็นทฤษฎีเชิงวิพากษ์ที่เปิดกว้าง กล่าวอีก
นัยหนึ่งคือเขายังคงวิพากษ์ต่อการสร้างแนวทางและทฤษฎีที่สร้างบนฐานของระเบียบทาง
สังคมที่มีอยู่แล้ว (a given social order)
ในทัศนะที่คล้ายกับ Krotocwil นั้น พิจารณาได้จากแนวคิดของ Emanuel Adler
Adler (2002, 95-114 cited in Viotti & Kauppi, 2012: 292) นั้ น เขาได้ เ น้ น “บทบาท
ของอัตลัก ษณ์ บรรทัดฐานและการทาความเข้าใจที่เป็นเหตุเป็นผลในการประกอบสร้าง
ผลประโยชน์แห่งชาติ” Adler นิยามทฤษฎีสรรสร้างนิยมไว้ว่าเป็น “ทฤษฎีทางสังคมเกี่ยวกับ
บทบาทของความรู้และตัวแสดงที่รอบรู้ (knowledgeable agents) ในการประกอบสร้าง
ความเป็นจริงทางสังคม” โดยมีเป้าหมายคือการสร้างความเข้าใจ “บทบาทของการทาความ
เข้าใจร่วมกันและบริบททางสังคมให้ก้าวหน้า, การประกอบสร้างร่วมกันของตัวแสดงและ
โครงสร้าง (the co-constitution of agent and structure) และธรรมชาติที่อยู่ภายใต้การ
ปกครองของสังคม (rule-governed nature of society) Adler เสนอเพิ่มเติมว่าทฤษฎีสรร
สร้างนิยมมองโลกว่าเป็นโครงการที่ยังอยู่ระหว่างการประกอบสร้าง หรือกล่าวได้ว่ามีลักษณะ
“กาลังแปรเปลี่ยน” (becoming) มากกว่าที่จะ “กาลังเป็นอยู่” (being)
8.2.4 สรรสร้ำงนิยมตำมแนวคิดของ Finnermore
หากพิ จ ารณาทฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มของ Wendt แล้ ว จะพบว่ า เป็ น งานที่ ใ ห้
ความสาคัญปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐในระบบระหว่างประเทศโดยไม่ได้นาปัจจัยการเมืองภายใน
มาพิจารณาด้วย ในทางตรงกันข้าม งาน “National Interests in International Society”
ของ Martha Finnermore ได้ใช้ทฤษฎีสรรสร้างมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยเสนอว่า
บรรทั ด ฐานของสั ง คมระหว่ า งประเทศเป็ น ตั ว ก่ อ ผลกระทบอี ก ทั้ ง สร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ แ ละ
ผลประโยชน์ พฤติกรรมของรัฐถูกนิยามโดยอัตลักษณ์และผลประโยชน์ ส่วนอัตลักษณ์และ

206
206
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ผลประโยชน์นิยามโดยพลังขับเคลื่อนระหว่างประเทศ (international force) ซึ่งก็คือบรรทัด


ฐานระหว่างประเทศ (international norms) ซึ่งอยู่ในสังคมระหว่างประเทศอยู่แล้ว เรา
สามารถใช้โครงสร้างของสังคมระหว่างประเทศมาศึกษาอัตลักษณ์และผลประโยชน์ของรัฐ
แทนที่ จ ะพิ จ ารณาปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งรั ฐ เช่ น เดี ย วกั บ ที่ Wendt เสนอ นอกจากนั้ น
Finnermore เสนอว่ า บรรทั ด ฐานของสั ง คมระหว่ า งประเทศจะถู กแปรไปยั ง รั ฐ ผ่ า น
“องค์ก ารระหว่างประเทศ” ซึ่งทาหน้าที่ผู้ก่ อร่า งนโยบายระดั บชาติโ ดยแนะนาให้ รั ฐ ว่ า
ผลประโยชน์ของรัฐนั้นควรเป็นอย่างไร
บรรทัดฐานระหว่างประเทศที่องค์การระหว่างประเทศได้ส่งเสริมนั้นมีอิทธิพลต่อ
ตัวชี้นาระดับชาติ (national guideline) ที่นาพารัฐให้ยอมรับบรรทัดฐานเหล่านี้เพื่อ กาหนด
นโยบายภายในของตน สานักสัจนิยมมักจะมีมุมมองต่อองค์การระหว่างประเทศว่าเป็นองค์กร
ที่ทาหน้าที่หน้าที่ต่างๆ ให้สาเร็จ เช่น การจัดหาสินค้าสาธารณะ (public goods) การเป็น
แหล่งข้อมูล การสร้างพันธกรณีเพื่อความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกั น การสร้างข้อตกลงต่างๆ
ร่วมกันและการช่วยเหลือรัฐเหลือรัฐสมาชิกในกรณีต่างๆ แต่ในมุมมองของทฤษฎีสรรสร้าง
นิยม Finnermore ได้เสนอไว้ในงาน The Power of Liberal International Organization
ที่เขียนร่วมกับ Barnett ที่เห็นต่างไปว่าองค์การระหว่างประเทศเป็นตัวแสดงอิสระซึ่งบริหาร
อานาจด้วยสิทธิที่ตนมี องค์การระหว่างประเทศทาหน้าที่ “สร้างโลกทางสังคมที่ซึ่ง ความ
ร่วมมือและทางเลือกได้เกิดขึ้น ” นอกจากนี้ยังเป็นตัวกาหนดนิยามผลประโยชน์ที่รัฐและตัว
แสดงอื่นๆยึดถือไว้ องค์การระหว่างประเทศมีอานาจมากเนื่องจากเป็นองค์การที่มีการบริหาร
จัดการและยังชี้นาชักจูงเป้าหมายทางสังคมเชิงเสรีที่ดึงดูดโดยรัฐอื่นๆ
องค์การระหว่างประเทศเป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่และมีอานาจมาก อานาจของ
องค์ ก ารระหว่ า งประเทศสามารถพิ จ ารณาได้ ใ นหลายมิ ติ เช่ น อ านาจในเชิ ง บั ง คั บ
(compulsory power) ที่สามารถควบคุมแหล่งทรัพยากรทางวัต ถุที่ก่อให้เกิดอิทธิพลกับอีก
ฝ่าย ยกตัวอย่างได้คือ ธนาคารโลก (World Bank) ที่เป็นแหล่งเงิน และกองก าลังรัก ษา
สันติภาพแห่งสหประชาชาติ (UN Peacekeepers) ก็เป็นแหล่งอาวุธ ส่วนอานาจเชิงบังคับใน
อีกรูปแบบหนึ่งสร้างขึ้นมาจากบรรทัดฐาน ดังจะเห็นได้จากกรณีที่สหภาพยุโรปประสบความ
ยุ่งยากในการชักชวนรัฐสมาชิกให้ปรับสถาบันการเมืองและข้อปฏิบัติภายในประเทศเพื่อสร้าง
ความเป็นหนึ่งเดียวของสหภาพยุโรป
ส่วนอานาจเชิงสถาบัน (institutional power) ขององค์การระหว่างประเทศมา
จากความสามารถที่ชี้นาพฤติกรรมในทางอ้อม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุ ดคือ การสร้างประเด็น
วาระ (agenda-setting activities) องค์การระหว่างประเทศสามารถกาหนดวาระของการ

207
207 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ประชุมซึ่งจัดขึ้นภายใต้ก ารสนับสนุนขององค์ก รเอง ดังนั้นองค์ก ารระหว่างประเทศจึง มี


อิทธิพลต่อประเด็นที่ได้รับการพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพและถูกตัดสินใจในที่สุด เช่น การ
นาวาระเรื่องการแทรกแซงทางมนุษยธรรมเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่ง
สหประชาชาติในปี 1999 นั้น สหภาพยุโรปและธนาคารโลกต่างแสดงบทบาทในอานาจเชิง
สถาบันต่อวาระดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่ขององค์กรมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนข้อพิจารณาและ
ข้อปฎิบัติในทิศทางตามที่องค์การต้องการ
อ านาจสุ ด ท้ า ยคื อ อ านาจเชิ ง ผลิ ต (productive power) ขององค์ ก ารระหว่าง
ประเทศคืออานาจในการก่อร่างปัญหาที่ต้องการแก้ไข องค์การระหว่างประเทศทาหน้าที่เป็น
ผู้มีอานาจ (authorities) ที่บัญญัติ นิย ามและนาเสนอปัญหาที่เกิ ดขึ้นให้กั บองค์ก ารอื่นๆ
นอกจากนั้ น องค์ ก ารเหล่ า นี้ ยั ง มี ส่ ว นช่ ว ยแก้ ไ ขปั ญ หาโดยการเสนอวิ ธี ก ารและชี้ ช วนให้
องค์การยอมรับตามด้วย
โดยสรุปแล้ว องค์การระหว่างประเทศมิใช่บริวารของรัฐแต่เป็นตัวแสดงที่มีอานาจ
เนื่องด้วยการมีองค์การขนาดใหญ่ที่มีลาดับขั้นการบริหารซึ่งมีพันธสัญญาที่จะนามาสมาชิก
บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ แต่ด้วยความมีอานาจดังกล่าวก็มิได้เป็นสิ่งที่ดีเสมอไป องค์การเหล่านี้
ยังต้องทาตามผลประโยชน์ที่จากัดของตนและดาเนินงานแบบไม่ราบรื่นเหนือผลประโยชน์
ของรัฐและพลเมือง (Barnett & Finnermore, 2005)
ในที่นี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างทฤษฎีสรรสร้างนิย มที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศผ่านทางกรณีศึกษาการผงาดขึ้นมามีอานาจของจีน (the Rise of China) ในศตวรรษ
ที่ 21 ว่าความคิดมีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์แห่งความเป็นจีนและผลประโยชน์แห่งชาติของ
จีนอย่างไร
เราสามารถใช้ ท ฤษฎี ส รรสร้ า งนิ ย มอธิ บ ายจี น ว่ า ก าลั ง รั ฐ ที่ มี “อั ต ลั ก ษณ์ แ ห่ ง
มหาอ านาจ” (great power identity) ซึ่ ง การที่ รั ฐ ใดรั ฐ หนึ่ ง จะได้ รั บ การมองว่ า เป็ น
มหาอานาจนั้นจะต้องเกิดจากการรับรู้และก่อร่างความเป็นมหาอานาจนั้นโดยการรับรู้ของ
มหาอานาจอื่นรวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่ านี้ด้วย ดังนั้นกล่าวได้ว่าอัตลักษณ์ความเป็น
มหาอานาจจีนนั้นเกิ ดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมหาอานาจอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริก าและ
รัสเซีย ในขณะเดียวความรุ่งเรืองของจีนก็สร้างภาพจีนให้เป็น “จีนที่เป็นภัยคุกคาม” (China
threat) ได้เช่นกัน นักทฤษฎีสรรสร้างนิยมเสนอว่าภาพลักษณ์ที่มองจีนเป็นภัยนั้นเกิดจาก
ความคิดของบรรดารัฐที่อยู่ใกล้จีนโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกอันเป็นผลมาจากการ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายแสนยานุภาพทางการทหารของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อ

208
208
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

เนืองจนสร้างความหวาดระแวงให้กับเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ความหวาดกลัวดังกล่าวอธิบายได้ด้วย
การวิเคราะห์ “การรับรู้” และ “การตีความ” ของรัฐต่างๆที่มีต่อพฤติกรรมจีน
ในทางตรงกันข้าม นักวิชาการสรรสร้างนิยมบางคนที่มองการผงาดของจีนในแง่ดี
(Kang, 2004) โดยเสนอว่า รัฐในเอเชียตะวันออกปรับตัวให้เข้ากับจีนมากกว่าที่จะทาการ
ถ่วงดุลอานาจ การที่ไม่ถ่วงดุลจีนนั้นเริ่มต้นมาจากการประสานกั นระหว่างผลประโยชน์
และอัตลักษณ์ กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า อัตลักษณ์เป็นใจความหลักในการตีกรอบว่ารัฐ
ในภูมิภาคนี้จะตีความการผงาดของจีนอย่างไร รัฐในเอเชียตะวันออกมีมุมมองและหลักการ
หลายประการร่วมกันกับที่จีนคานึงถึงหลักการอธิปไตยแห่งรัฐและหลักการการไม่แทรกแซง
กิจการภายใน ในขณะที่รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีสายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์
และทางประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้งกับจีน
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคของจีนนั้น ทฤษฎีสรร
สร้างนิย มสามารถอธิบายได้ว่า (Liu, 2010) มีปัจ จัย ทางความคิดสองประการที่ทาให้ จี น
กระตือรือล้นเข้าร่วมในความร่วมมือของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกคือ การรับรู้ของจีนต่อ
สถาบันระดับภูมิภาค (regional institutions) และ ความร่วมมือระดับภูมิภาค (regional
cooperation) นั้นถือเป็นความโอกาสที่ดี และจีนยังมองว่าความร่วมมือระดับภูมิภาคเป็น
เครื่องมือทางการทูตที่จะส่งเสริมเป้าหมายนโยบายต่างประเทศของตนเอง การเปลี่ยนการ
รับรู้ (the shift in perception) ของจีนก่อให้เกิด การร่วมมืออย่างแข็งขันในสถาบันระดับ
ภูมิภาคซึ่งเดิมที่จีนจะมีการรับรู้ต่อสถาบันเหล่านี้ เช่น APEC หรือ ARF ว่าเป็นเครื่องมือของ
รัฐอื่นๆที่ต้องการท้าทายอานาจของจีน
นอกจากประเด็นของการเปลี่ยนการรับรู้ของจีนข้างต้นแล้วการแสวงหาความ
ร่วมมือระดับภูมิภาคของจีนยัง เกิดจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชียในปี ค.ศ. 1997 วิกฤต
ดังกล่าวเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมการเกิดขึ้นของ “อัตลักษณ์เอเชียตะวันออก” (East
Asian Identity) ในความหมายเช่นนี้ วิกฤตเศรษฐกิจเอเชียช่วยให้จีนได้ตระหนักว่าเอเชีย
ตะวันออกมีการพึ่งพาอาศัยระหว่างกันและอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในบริบทดังกล่าว อาจ
ตีความได้ว่าในอนาคต จีนจะจัดตั้งแนวทางระดับภูมิภาคที่จะเข้าไปเกี่ยวพันกับประเด็นที่
เกิดขึ้นในลักษณะนี้อีก
โดยสรุปแล้ว ทฤษฎีสรรสร้างนิยมในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น
ถือได้ว่าเป็นทฤษฎีที่แนะนาให้เราได้ “จินตนาการ” และ “สารวจ” โลกที่สร้างอย่างที่มันเป็น
นั้นเกิดจากอะไร รวมถึงการพิจารณาปัจจัยที่หลากหลายที่มีส่วนก่อร่างรูปแบบของการเมือง
โลกและโลกที่เป็นอีกทางเลือก (alternative world) นอกจากนั้นทฤษฎีสรรสร้างนิยมยังท้า
ทายความคิดที่รับรู้มาแต่แรกและเปิดมุมมองของการแสวงหาความรู้แบบใหม่โดยเฉพาะใน

209
209 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ประเด็ น ความรู้ ที่ ท ฤษฎี สั จ นิ ย มน าเสนอในฐานะทฤษฎี ก ระแสหลั ก ของการศึ ก ษา


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในทางตรงกันข้าม ทฤษฎีสรรสร้างนิยมเสนออย่างชัดเจนว่า
“ทุกสิ่งที่เรารับรู้นั้นล้วนแล้วสร้างขึ้นมาภายหลัง” และที่สาคัญคือ “ความคิดคือตัวการสาคัญ
ในการก่อร่างสิ่งที่เรารับรู้”
แม้ว่าทฤษฎีสรรสร้างนิยมจะเป็นทฤษฎีที่กาลังได้รับความนิยมแต่ก็ยังมีข้อถกเถียง
กันถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของแนวคิด อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับว่าเราจะหยิบยกสรรสร้างนิยมแบบใด
ขึ้นมาอภิปรายกัน โดยเชิงพื้นฐานของทฤษฎีแล้ว นักวิชาการในกลุ่มนี้ยอมรับแนวคิดร่วมกัน
อันได้แก่ การประกอบสร้างทางสังคมของความเป็นจริง (social construction of reality)
การคงอยู่และความสาคัญของข้อเท็จจริงทางสังคม (the existence and importance of
social facts) การประกอบสร้างของอัตลักษณ์ ผลประโยชน์และความเข้าใจร่วมกันของตัว
แสดง และความสาคัญของการรื้อฟื้นความหมายซึ่งตัวแสดงให้ต่อกิจกรรมที่พวกเขากระทา
แต่กระนั้นก็ตามในแนวคิดข้างต้นที่มีร่วมกันก็ยังมีความแตกต่างในรายละเอียดกันไป

210
210
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

นักวิชำกำรสำนักทฤษฎีสรรสร้ำงนิยมในควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

Nicholas Onuf Alexander Wendt Friedrich Krotochwil

Emmanuel Adler John Gerard Ruggie Christian Reus-Smit

Marthar Finnemore Peter Katzenstein

211
211 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

212
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 9 บทที่ 9
ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยม
ทฤษฎีหลังโครงสร้ำงนิยม (Post-Structuralism)
Post-Structuralism
9.1 บทนำ
ทฤษฎี ห ลั ง โครงสร้ า งนิ ย มเป็ น แนวคิ ด ที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ร่ ม เงาของ “แนวคิ ด หลั ง
สมัยใหม่” (Diez, Bode & Costa, 2011: 167) ในที่นี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงความแตกต่าง
ระหว่างแนวคิดหลังสมัยใหม่และแนวคิดหลังโครงสร้างนิยมเป็นเบื้องต้น ซึ่งในบางกรณีดู
เหมือนว่าจะเป็นคาเดียวกันและมีความเหมือนกันในเชิงความคิดพื้นฐาน แต่ในความเป็นจริง
แล้ว ทั้งสองคานี้มีความแตกต่างกันในบางประเด็น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา
รัฐศาสตร์ กล่าวคือ ในแวดวงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะใช้ชื่อ
หลั ง โครงสร้ า งนิ ย ม กั บ งานศึ ก ษาของตน ขณะที่ แ วดวงการศึ ก ษาบริ ห ารรั ฐ กิ จ หรื อ รั ฐ
ประศาสนศาสตร์มักนิยมใช้ชื่อ หลังสมัยใหม่ ในงานศึกษาของตน (ไชยรัตน์ ,2554: 184) ซึ่ง
ในที่นี้ ผู้เขียนเลือกที่จะนาเสนอการนาแนวทางทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมที่มีอิทธิพลต่อการ
สร้างทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็จะนาเสนอให้ผู้ศึกษามองเห็น
ภาพรวมของทฤษฎีหลังสมัยใหม่ ว่ามีผลต่อการสร้างทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมอย่างไร
ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) เป็นแนวคิดทฤษฎีที่แพร่หลายในหลาย
หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาโดยมีใจความสาคัญคือ การต่อต้านและการไม่เชื่อรวมทั้ง
การปฎิเสธแนวความคิดที่มีลักษณะเบ็ดเสร็จรวบยอด (totalizing theories) ซึ่งเรียกว่า อภิ
เรื่องเล่า (meta-narrative) ที่อ้างความเป็นสากลเพื่อสร้างความชอบธรรมว่าความคิดแบบ
ตนเองนั้นมีความเหนือกว่าองค์ความรู้อื่นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งโดยสังเกตคาว่า “หลัง” จะพบว่า
ทฤษฎีหลังสมัยใหม่เป็นสิ่งที่ท้าทายทฤษฎีและสภาวะสมัยใหม่ (Modernity) ทฤษฎีหลัง
สมัยใหม่จึงมองว่าทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัฒนธรรม และยุคสมัย รวมทั้งความพอใจ
ของแต่ละคน ความรู้ต่างๆ จึงไม่สามารถนามาเปรียบเทียบกันได้ ทุกสิ่งล้วนอ้างถึงแต่เฉพาะ
“วาทกรรม” ของตนเท่านั้น (ธีระ, 2541:291 อ้างใน ศาสตร์, 2552: 60) โดยสรุปกล่าวได้ว่า
ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เป็นแนวคิดที่ต่อต้านการครอบงาผูกขาดความถูกต้องชอบธรรมผ่านการ
ผลักไสองค์ความรู้อื่นๆ ให้ไปอยู่ใน “ชอยขอบ” ของแต่ละสาขาวิชา ทั้งที่ในความเป็นจริง
แล้ว ความรู้ ความคิด ทฤษฎีทั้งหลายต่างก็มีความสัมพันธ์กับชุดความจริงหรือทฤษฎีอื่นๆ ไม่
มีแนวคิดทฤษฎีใดสามารถอธิบายความจริงได้ครอบคลุมทั้งหมด ทฤษฎีหลังสมั ยใหม่จึงให้
ความสาคัญกั บความหลากหลาย (heterogeneity) ความรู้ที่ลัก ษณะเฉพาะเทศะ ใช้ก าร

213
213 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

วิเคราะห์ในระดับจุลภาค มีขอบเขตแคบๆ (little-narrative) และการเคลื่อนไหวทางสังคม


แบบใหม่ (new social movement) ของกลุ่มพลังทางสังคมต่างๆเพื่อต่อต้านการครอบงา
ของแนวคิดกระแสหลักในสังคมรวมทั้งในระดับโลก
เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ จะขอกล่าวแนะนาภาวะสมัยใหม่และทฤษฎีสมัยใหม่พอ
สังเขปเพื่อสร้างความเข้าใจก่อนที่จะนาไปสู่การเกิดสภาวะหลังสมัยใหม่ (Post-Modernity)
ทฤษฎี ห ลั ง สมั ย ใหม่ (postmodernism) ตลอดจนการน าแนวคิ ด ทฤษฎี นี้ ไ ปปรั บ ใช้ กั บ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

9.2 แนวคิดพื้นฐำนทฤษฎีหลังสมัยใหม่ (Stean, Pettiford, Diez & El-Anis, 2010: 142)


1) “ธรรมชาติ” ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่ถาวร องค์ประธานแห่งมนุษย์ (The Human
Subject) มีลักษณะเปิดและยืดหยุ่น อันเป็นผลผลิตของการปฎิบัติภายใต้ก ารบง
การ (Subordination) และการต่อต้าน (resistance)
2) ค่านิยม ความเชื่อ และการกระทาของมนุษย์มีความแตกต่างกันตามบริบ ททาง
สังคมและวัฒนธรรมที่กว้างกว่าเดิม ไม่มีลักษณะหรือค่านิยมเฉพาะที่ปรับได้ใน
ระดับสากล เราสามารถเข้าใจและตัดสิ นพฤติกรรมและการกระทาของผู้คนและ
คุณค่าที่เฉพาะเจาะจงด้วยการให้ความหมายและบริบททางวัฒนธรรม
3) เราไม่ ส ามารถสรุ ป ทฤษฎี ใ ดๆที่ จ ะช่ ว ยให้ เ ราท าความเข้ า ใจโลก หรื อ แนะน า
แนวทางหรือแผนการสาหรับการปลดปล่อยมนุษย์ในระดับสากล
4) การให้ความหมายเป็นผลผลิตของวาทกรรมและอานาจ ซึ่งดารงอยู่เพราะวาท
กรรมและสิ่งนี่ทาให้เราให้ความหมายของปัญหาและวิธีการแก้ไขในแบบเฉพาะ
ทาง ดั ง นั้ น ในความหมายเช่ น นี้ เราจึ ง จ าเป็ น ต้ อ งถู ก ท าให้ เ ป็ น ปั ญ หา
(problematized)เพื่อที่จะสามารถพิจารณาทางเลือกที่ถูกผลักให้เป็น “ศาสตร์
ชายขอบ” อย่างเห็นได้ชัด
5) โลกนี้ไร้ “ความเป็นจริง” สิ่งที่เรามีเป็นเพียง “การตีความ” และ การตีความของ
การตีความอื่นๆของความเป็นจริง (interpretation of other interpretations
of reality)

นักคิดในสายทฤษฎีหลังสมัยใหม่คนสาคัญ ได้แก่ Jacque Derrida, Michael


Foucault, Emmanuel Levinas, Jean-Francois Lyotard, Roland Barthes และ Jean
Baudrillard (Stering-Folker, 2013: 169) การศึ ก ษาทฤษฎี ห ลั ง สมั ย ใหม่ โ ดยพิ จ ารณา
ประเด็ น ส าคั ญ ได้ แ ก่ วำทกรรม (Discourse) วงศำวิ ท ยำ (Genealogy) สั ม พั น ธบท

214
214
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

(Intertextuality) และกำรรื้อสร้ำง (Deconstruction) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีผลต่อการ


สร้างแนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

Jacque Derrida Michael Foucault Jean-Francois Lyotard

Roland Barthes Jean Baudrillard

9.3 ทฤษฎีหลังโครงสร้ำงนิยม
ทฤษฎี ห ลั ง โครงสร้ า งนิ ย มเป็ น ส านั ก ที่ พั ฒ นาขึ้ น มาจากฐานคิ ด ของแนวคิ ด
โครงสร้างนิยม (Structuralism) โดยเฉพาะจากสานักภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างชาวสวิสชื่อ
Ferdinand de Saussure แนวคิดโครงสร้างนิยมมุ่งศึกษาโครงสร้างทางวัฒนธรรมและสังคม
อั น หลากหลายที่ ก าหนดความหมายในชี วิ ต ประจ าวั น ของเรา ขณะเดี ย วกั น ทฤษฎี ห ลั ง
โครงสร้างนิยมก็ศึกษาโครงสร้างที่กาหนดความหมายดังกล่าว แต่จากมุมมองที่สอดคล้องกับ
ภาวะที่ระเบียบทางสังคมเปลี่ยนแปลงในช่วงปลายศตวรรษที่ 20
ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า กลุ่มทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมได้หยิบยืมแนวคิดและ
กรอบคิดทางปรัญามาเป็นเครื่องมือในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งถือได้ว่ามี

215
215 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ความซับซ้อนและอธิบายยากในระดับหนึ่ง เพื่อเป็นสร้างความเข้าใจเบื้องต้น เราควรที่สร้าง


ความคุ้นเคยกับแนวคิดหลัก 4 ประการที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา (Hansen, 2011: 169-173)
9.3.1 วำทกรรม (discourse)
ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมเชื่อว่าภาษาเป็นสิ่งสาคัญต่อการตีความโลก ภาษาเป็น
เรื่องทางสังคมเนื่องจากเราไม่สามารถทาให้ผู้อื่นเข้ าใจความคิดของเราได้โดยปราศจากชุด
ของสัญลักษณ์ (a set of codes) ที่ใช้ร่วมกัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของแนวคิด “วาทกรรม”
ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก Michael Foucalt นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส โดยวาทกรรมมีความหมาย
ว่า “ระบบทางภาษาที่ควบคุมข้อความและกรอบความคิด” หรือกล่าวอย่างละเอียดได้ว่าวาท
กรรมคือ “ระบบและกระบวนการในการสร้างผลิต (constitue) เอกลักษณ์ (identity) และ
ความหมาย (significance) ให้กับสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อานาจ
หรือตัวตนของเรา” วาทกรรมยังทาหน้าที่ตรึงสิ่งที่สร้างนั้นให้ดารงอยู่และเป็นที่ยอมรับใน
สั ง คมวงกว้ า ง (ไชยรั ต น์ , 2551: 90) หากพิ จ ารณาภาษาในเชิ ง การเมื อ งแล้ ว ถื อ ว่ า มี
ความสาคัญยิ่ง จะเห็นได้ว่าบรรดานักการเมืองหรือหรือตัวแสดงอื่นในโลกแห่งการเมืองมักจะ
สร้างความชอบธรรมให้กั บนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายต่างประเทศของตนต่อผู้ฟังทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ ถ้อยคาที่ปรากฎเพื่อบรรยายบางสิ่งบางอย่างนั้นย่อมไม่มีความเป็น
กลางและแฝงไว้ด้วยนัยยะทางการเมืองเสมอ ยกตัวอย่างเช่น เราจะเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในดาร์ฟูของซูดานว่า “กำรฆ่ำล้ำงเผ่ำพันธุ์ ” (genocide) ซึ่งจะเรีย กร้องและสร้างแรง
กดดันอย่างมหาศาลให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ “กระทาอะไรบางอย่าง” แต่หากไม่
เกิดขึ้นมันจะถูกเรียกว่า “สงครำมเผ่ำพันธุ์ (tribal warfare)”หรือยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเข้า
มาเช่น การให้ความหมายคาว่า “ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV” หรือคาว่า “โรคเอดส์” (AIDS) ในแต่ละ
ช่วงเวลาของสังคมไทยนั้นมีความแตกต่างกัน เช่นในยุคแรกเริ่มที่โรคนี้เข้าสู่ประเทศไทย รัฐ
สร้างความหมายของโรคเอดส์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อในเชิงลบจนส่งผลต่อวิถีชีวิตและความคิด
ของประชาชน จนเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปเริ่มมีการให้ความหมายใหม่ว่าผู้ป่วยโรคดั งกล่าวมิได้
เป็นอันตรายต่อสังคมและสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างปกติ
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิ ย มเข้าใจว่าภาษานั้ น ไม่
เพีย งไร้ ความเป็นกลางหากแต่ยังมีความหมายที่ ผลิตขึ้น (producing meaning) สิ่งต่างๆ
มิได้มีความหมายเชิงวัตถุอย่างอิสระของสิ่งที่เราสร้างมันขึ้นมาในรูปแบบภาษา นอกจากนั้น
วาทกรรมยังมีความสัมพันธ์กับประเด็น ความรู้กับอานาจ (power and knowledge) และ
ความเป็นจริง (reality) โดย Foucalt เสนอว่าความรู้กับอานาจไม่สามารถแยกออกจากกันได้
อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น วาทกรรมความรู้ต่างๆจึงไม่มีความเป็นกลางมาตั้ง แต่

216
216
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

แรกเริ่ม หากเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ดังกล่าว ดังนั้นเขาจึงมุ่งถอดความคิดและทฤษฎีที่


อ้างความเป็นกลางเพื่อแสดงให้เห็นว่าโดยแท้จริงแล้ว ความรู้ต่างๆถูก สร้างขึ้นมาอย่างมี
เงื่อนงาในการซ่อนเร้นอาพรางผลประโยชน์อานาจเบื้องหลังรวมทั้งกีดกัน ผลักไสความรู้อื่นๆ
จึงอาจกล่าวได้ ว่ า การศึก ษาเรื่องวาทกรรมจึง มี ทั้ง การศึก ษาเรื่องของกระบวนการการ
ครอบงาความคิดและเรื่องของกลยุทธ์และความพยายามในการ "ช่วงชิงความหมาย" ว่าใคร
จะมีกลวิธีอย่างไรในการ (แย่ง ) กาหนดนิยามให้เรื่องต่างๆ และทาอย่างไรให้นิยามนั้นเป็นที่
ยอมรับของคนอื่น
9.3.2 กำรรื้อสร้ำง (deconstruction)
การมองว่าภาษาเป็นชุดของสัญลักษณ์มีความหมายว่าถ้อยคาหรือสัญญะต่างๆนั้น
ตีความเฉพาะความสัมพันธ์กับคาอื่นๆ กล่าวคือ เราจะไม่รู้ความหมายของคาว่า “ม้า” หาก
เราไม่นาคานี้ไปเกี่ยวข้องกับคาอื่นๆ เช่นคาว่า “สัตว์” “แผงขน”หรือ “ว่องไว” เรารู้ในบาง
สิ่งที่เกิดจากการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความต่าง เช่น “ม้า” มิใช่ “มนุษย์” มิใช่ “สัตว์มีขน”
หรือมิใช่ “เชื่องช้า” ดังนั้น การพิจารณาภาษาในฐานะสัญญะที่เชื่อมต่อกันจึ งเป็นการย้าให้
เห็นถึงแง่มุมเชิงโครงสร้าง (structural side) ของหลังโครงสร้างนิยม
Jacques Derrida นัก ปรัชญาชาวฝรั่งเศสพัฒนาแนวคิดการรื้อสร้ างซึ่งมี ค วาม
หมายถึง การรื้อถอนความคิด ระบบคิดหรือปรัชญาที่ถูกอ้างว่าเป็นสากลและเข้าถึง ความจริง
โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยให้เห็นถึงข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ถูกกดทับไว้และการเป็นเพียงเรื่องเล่า
(narratives) ของมัน นอกจากนั้น การรื้อสร้าง คือวิธีการอ่านตัวบท (text) ที่ทาให้ค้นพบ
ความหมายอื่นๆที่ตัวบทกดทับเอาไว้ เป็นการหาความหมายของความหมายหรือความหมาย
อื่นๆ (polysemy) ความหมายอื่นๆหมายถึง ความคลุมเครือของคาหรือวลีที่มีความหมาย
มากกว่าสองอย่างขึ้นไปเมื่อใช้ในบริบทที่ต่างกัน วิธีการรื้อสร้างจะแสวงหารายละเอียดว่าตัว
บทได้บดบังเงื่อนไขอะไรบางอย่างที่เป็นพื้นฐานของตัวมันเองเอาไว้โดยไม่รู้ตัว เงื่อนไขเหล่านี้
แย้งกับตรรกะที่ตัวบทนั้นเสนอออกมา การวิเคราะห์หาจุดที่ระบบกดทับไว้พบแล้วดึงออกมา
ให้เห็นจะเป็นการรื้อสร้างของตัวบทนั้นๆเผยให้เห็นความย้อนแย้งในโครงสร้างเดิม วิธีการรื้อ
สร้างคือ การรื้อให้เห็นความหมายที่ถูกกดทับไว้
หลักการสาคัญประการหนึ่งของการรื้อสร้างคือการวิเคราะห์การทางานของคู่ตรง
ข้าม (binary opposition) ในโครงสร้างลึกของความคิดและวัฒนธรรมตามทฤษฎีโครงสร้าง
Darrida เสริมอีกว่าภาษาเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยการสร้างคาตรงข้ามกัน (dichotomies)
เ ช่ น ป ร ะ เ ท ศ พั ฒ น า แ ล้ ว กั บ ป ร ะ เ ท ศ ด้ อ ย พั ฒ น า ( the developed and the
underdeveloped) สมั ย ใหม่ แ ละก่ อ นสมั ย ใหม่ (the modern and the pre-modern)

217
217 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ความมีอารยะและความป่าเถื่อน (the civilized and the barbaric) คาคู่ตรงข้ามเหล่านี้ไร้


“ความเป็นกลาง” เนื่องจากจะมีการสร้างคาหนึ่งให้มีความหมายเหนืออีกคาหนึ่งเสมอ ดังจะ
เห็นได้จากการจัดลาดับชั้นว่า ประเทศพัฒนาแล้ว สมัยใหม่และความมีอารยะอยู่ในระดับบน
แต่ในทางกลับกัน ประเทศด้อยพัฒนา ก่อนสมัยใหม่และความป่าเถื่อนอยู่ในระดับล่าง การ
รื้อสร้างแสดงให้เราเห็นว่าการสร้างคาคู่ตรงข้ามเช่นนี้เป็นการบรรยายเชิงวัตถุ( material
description) แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วมันเป็นชุดของค่านิยมที่ถูกสร้างขึ้นมา (a structed
set of values)
นักทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมไม่เห็นด้วยที่ว่าการรื้อสร้างเป็นวิธีวิทยาประเภทหนึ่ง
แต่เห็นด้วยว่าการรื้อสร้างเป็นเป้าหมายสาคัญประการหนึ่งที่จะทาให้การสร้างคาคู่ตรงข้าม
เป็นปัญหา (to problematize dicthotomies) ว่ามันมีการทางานอย่างไรและเปิดทางเลือก
ใหม่ๆสาหรับการทาความเข้าใจการเมืองของโลก
9.3.3 วงศำวิทยำ (Genealogy)
วงศาวิทยาเป็นอีกหนึ่งแนวคิดสาคัญของ Foucault คาว่า วงศาวิทยา ได้รับการ
นิยามว่าเป็นดั่ง “ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน” (history of present) กล่าวคือเป็นการศึกษา
ประวัติศาสตร์ที่มิได้หาต้นตอหรือจุดกาเนิด หากแต่เป็นการศึกษาการเผยตัวหรือการปรากฎ
ตั ว ของสรรพสิ่ ง ในประวั ติ ศ าสตร์ (emergence) สนใจจุ ด เริ่ ม ต้ น (beginning) โดยให้
ความสาคัญกั บรายละเอีย ด ขั้นตอน ความเป็นมาของสรรพสิ่งว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร จน
พัฒนามาเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ทาให้วงศาวิทยามีความจาเป็นที่จะต้องให้ความสาคัญกับความ
เป็นประวัติศาสตร์ของสรรพสิ่งอย่างมาก
ความโดดเด่นประการหนึ่งของการศึกษาแบบวงศาวิทยาที่แตกต่างจากการศึกษา
ประวัติศาสตร์ในแนวทางอื่นคือ การตั้งคาถามกับความเป็นประวัติศาสตร์ ของสรรพสิ่งว่ามี
กระบวนการการผลิตและดารงอยู่ได้อย่างไร หน้าที่หลักของการศึกษาแนวทางวงศาวิทยาคือ
การบันทึก “ประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ ” ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ของบุคคลสาคัญเพื่อค้นหา
ความเข้มข้นของกฎเกณฑ์ที่ทาให้สรรพสิ่งกลายเป็นประวัติศาสตร์ขึ้นมา (ไชยรัตน์ , 2554:
85-91) ในที่นี้หากนามาพิจารณากับการศึกษาการเมืองของโลก โดยเฉพาะในประเด็นร่วม
สมัยอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก (climate change) วงศาวิทยาของการ
เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกจะเริ่มโดยการตั้งคาถามว่าใครคือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ พูดหรือ
ตั ด สิ น ใจในเหตุ ก ารณ์ เช่ น การประชุ ม ที่ โ คเปนเฮเกน ในปี 2009 จากนั้ น จะถามต่ อว่า
โครงสร้างอะไรของ “สภาพภูมิอากาศ” และ “ความรับผิดชอบระดับโลก” เป็นตัวครอบงา
และโครงสร้างเหล่า นี้ เกี่ ย วข้ องกั บ วาทกรรมในอดีต อย่ างไร (Hansen, 2011: 171) หาก

218
218
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

พิจารณาในอดีตแล้ว เราจะเห็นทางเลือกในการสร้างกรอบความคิดเรื่องความสัมพันธ์ของ
มนุษย์กับ “สภาพภูมิอากาศ” และได้รับการทาความเข้าใจของโครงสร้างเชิงซับซ้อนและวัตถุ
ซึ่งรองรับความเป็นปัจจุบัน
9.3.4 สัมพันธบท (Intertextuality)
แนวคิดเรื่องสัมพันธบท เป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นมาโดย Julia Kristeva โดยเสนอ
ว่าเราสามารถเข้าใจสังคมของโลกในฐานะองค์ประกอบของตัวบท ความหมายของตัวบท
ต่างๆมิได้อยู่ที่ตัวบทนั้นๆ แต่อยู่ที่ความสัม พันธ์ของงานดังกล่าวกั บงานเขีย นชิ้นก่ อนๆใน
ระบบของวรรณกรรม ในที่นี้สามารถยกตัวอย่างได้คือ สถาบันระหว่างประเทศ เช่น สหภาพ
ยุ โ รปหรื อ สหประชาชาติ มั ก จะออกแถลงการณ์ ใ นวาระต่ า งๆ ซึ่ ง หยิ บ ยื ม อ้ า งอิ ง มาจาก
แถลงการณ์ ห รื อ ข้ อความที่ มี อ ยู่ แ ต่ เ ดิ ม ความสั ม พั น ธ์ ข องสั ม พั น ธบทจะถู ก ท าขึ้ น ในเชิ ง
นามธรรม ยกตัวอย่างเช่น หากเราพูดว่า “คาบสมุทรบอลข่าน” (the Balkans) มักจะถูกเติม
เต็มด้วย “ความอาฆาตสมัย โบราณ” (ancient haterd) แสดงให้เห็น ถึง การใช้ ตัว บทซึ่ ง
ประกอบสร้าง “คาบสมุทรบอลข่าน” ในฐานะยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคคนป่า
สัมพันธบทเกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ หรือการตีความเหตุก ารณ์ที่ถูกเขียนหรือ พูด
ขึ้ น มา นอกจากนั้ น ยั ง แสดงนั ย ยะว่ า สิ่ ง ต่ า งๆไม่ เ ป็ น ที่ น่ า ชื่ ม ชมหรื อ ไม่ ถู ก ตระหนั ก ว่ า มี
ความหมายเพียงใดเนื่องจากตัวบทก่อนๆได้ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งจนไม่จาเป็นต้องระบุถึงอีก
เช่น หากเราอ่านเอกสารของ NATO ในสมัย สงครามเย็นจะพบว่าไม่มีการกล่า วถึง ค าว่ า
สหภาพโซเวียตมากเท่าใดนักเนื่องจากเป็นที่รับรู้ของทุกคนว่าจุดประสงค์สาคัญของ NATO
คือการป้องกันการขยายเขตอานาจและการโจมตีของสหภาพโซเวียต ดังนั้นการใช้สัมพันธบท
ในการศึกษานั้น เราต้องถามตัวเราเองว่าตัวบทที่เสนอมานั้นมิได้กล่าวถึงอะไร เพราะว่ามันมี
การพูดถึงมากเกินไปหรือว่ามันอันตรายเกินกว่าที่จะพูดถึง
โดยสรุป สัมพันธบทเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และสังคม ตัวบทเอง
ก็ไม่มีความโปร่งใสแต่บรรจุ อุดมการณ์ไว้เป็นจานวนมาก ดังนั้น การเขียนหรือการพูดจึงมิได้
เป็นเพียงการถ่ายทอดข้อความ แต่เป็นการปฎิบัติและมีผลิตผล (productivity) กล่าวคือ ตัว
บทมิได้หยุดนิ่ง แต่นาไปสู่ก ารงอกเงยความหมายให้กั บตัวบทอื่ นๆ ต่อไปไม่สิ้นสุด ตัวบท
ต่างๆจึงมิได้เอกลักษณ์เป็นของตนเอง หากแต่เป็นการหยิบยืมรูปแบบและเนื้อหาของตัวบทที่
มีอยู่ก่อนมาประกอบสร้างขึ้นใหม่ (Allen, 2000: 27-37 อ้างใน สุรสม, 2549: 209)

219
219 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

9.4 ทฤษฎีหลังโครงสร้ำงนิยมกับกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางหลังโครงสร้างนิยมเกิดขึ้น
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 โดยได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีทางสังคมและทฤษฎีเชิงปรัชญาที่มี
บทบาทในแวดวงมนุ ษ ยศาสตร์ ม าตั้ ง แต่ ท ศวรรษที่ 1970 โดยแนวทางการศึ ก ษาหลั ง
โครงสร้างนิยมให้ความสาคัญกับภาษา โดยพิจารณาว่าสิ่งที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กาลังศึกษานั้นถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร มีวาทกรรมหรือชุดของวาทกรรมแบบใดกากับอยู่ ดังนั้น
สิ่งที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีอยู่หรือเชื่ออยู่นั้นมิใช่ความจริงหากแต่เป็นชุดของวาท
กรรมแบบต่างๆที่ประกอบสร้างขึ้นมาเป็น “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”
งานของแนวทางการศึกษาหลังโครงสร้างนิยมจึงเป็นงานเชิงทฤษฎีมากกว่าเป็น
ระเบียบวิธีวิจัย (theory not methodology) (ไชยรัตน์, 2554: 156) แม้จะให้ความสาคัญ
กับข้อมูลเชิงประจักษ์ แต่ก็มิใช่นักประจักษ์นิยม (empirical not empiricalist) และที่สาคัญ
คือแนวทางการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบหลังโครงสร้างนิยมเน้นการท าให้
ปรากฎการณ์ที่ศึกษากลายเป็นปัญหามากกว่าการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาเช่นเดียวกับที่ทฤษฎี
กระแสหลัก นิย ม (problematize not problem-slving) อีกทั้งสลายความเป็นธรรมชาติ
(de-naturalizing) ของกลุ่ ม ทฤษฎี ก ระแสหลั ก โดยเฉพาะสั จ นิ ย มใหม่ แ ละเสรี นิ ย มใหม่
ยกตัวอย่างเช่น หลังโครงสร้างนิยมไม่เห็นด้วยกับความคิดของสัจนิยมที่มักจะมองว่ารัฐเป็น
ตัวแสดงที่ต้องพึ่งพิงตนเอง (self-help) อยู่ตลอดเวลารวมทั้งประเด็นเรื่องอนาธิปไตยของ
ระบบระหว่ า งประเทศ เหตุ ที่ สั จ นิ ย มเชื่ อ เช่ น นี้ เ นื่ อ งมาจากรั ฐ ต่ า งๆร่ ว มกั น ผลิ ต ซ้ า
(reproduce) ระบบและความคิดเช่นนีอ้ ยู่เสมอ ดังนั้นทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมจึงต้องการให้
เราหยิบยกสิ่งที่ถูกผลักออกไปและถูกทาให้เป็นชายขอบ (marginalized) โดยทฤษฎีและ
นโยบายที่ดารงอยู่อีก ทั้งกระตุ้ นให้ เราคิด เชิง วิพ ากษ์ ว่า เราสร้างโลกนี้ อย่ างไร (how we
construct the world)
ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมที่มีต่อวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สรุปได้คือ
1) แสวงหาวิธีการว่าอานาจถูกจัดการกับวำทกรรมและมีการปฎิบัติการอย่างไร
ในการเมืองโลก
2) วางโครงวิธีการที่จานวนมากและหลากหลายที่ “พื้นที่ทำงกำรเมือ ง” ถูก
สร้างและทาให้เป็นประโยชน์โดยปัจเจกบุคคลและกลุ่มต่างๆ
3) จัดกระบวนการที่ซับซ้อนอันเกี่ย วกับการก่อร่างอัตลักษณ์ทางการเมืองให้
ออกเป็นส่วนๆ
4) ให้ความสนใจกับความแตกต่างและหลากหลายของผู้คนและวัฒนธรรม

220
220
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

5) สนับสนุนการแผ่กระจายของวิธีการและมุมมองต่อโลก เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะ
มี ผ ลต่ อ การเข้ า มาแทนที่ ก ารผู ก ขาด ครอบง าความรู้ แ ละอ านาจในรู ป
แบบเดิมๆ
6) เน้นประเด็นที่ถูกละเลยไปจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อ
เป็นการเติมเต็มให้ก ลุ่ม คนและหรือกลุ่ มแนวคิ ด ที่ถูกผลัก ให้อยู่ใ น “ชำย
ขอบ”ขององค์ความรู้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แนวคิดหลังโครงสร้างนิยมมิได้สถาปนาตนเป็นแนวคิดทฤษฎีหรือตัวแบบในการ
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากแต่ว่าเป็นกระบวนทัศน์ แนวคิด ที่เรียกร้องให้ผู้คน
เห็นความสาคั ญของการสร้างภาพตั วแทน ความสัมพันธ์ระหว่ างอานาจกั บ ความรู้ และ
การเมืองเรื่องอัตลักษณ์เพื่อเป็นอีกแนวทางในการเข้าใจการเมืองโลก ลักษณะดังกล่าวทาให้
แนวคิดหลังโครงสร้างนิยมไม่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก แนวคิด
หลั ง โครงสร้ า งนิ ย มจึง ชี้ช วนให้ มี ก ารตั้ ง ค าถามชุ ด ใหม่ ขึ้ น มาในฐานะแนวคิ ด เชิ งวิ พ ากษ์
มากกว่าที่จะเป็นทฤษฎี และชี้ว่าทฤษฎีเป็นปฏิบัติการอย่างหนึ่ง โดยตั้งคาถามเชิงอภิทฤษฎี
(meta-theoretical question) หรือคาถามว่าด้วยทฤษฎีในการสร้างทฤษฎีเพื่อพยายาม
สืบค้นว่าวิธีการหาความรู้แบบหนึ่งๆ สิ่งที่นับว่าเป็นการรู้ และผู้ที่เข้าถึงความรู้ ได้ถูกสถาปนา
ขึ้นมาอย่างไร ในแง่นี้ แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม (รวมทั้งทฤษฎีเชิงวิพากษ์ ทฤษฎีสตรีนิยม
และหลังอาณานิคม) มีที่มาเดียวกันจากฐานทางญาณวิทยาในองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์
งานเขียนทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวทางหลังโครงสร้างนิยมเริ่มขึ้น
ในยุคทศวรรษที่ 1980 (Cambell, 2013: 226) ดังจะเห็นได้จากงานของ Richard Ashley,
James Der Derian, Michael Shapiro และ R.B.J.Walker ซึ่งถือเป็นผลงานในคลื่นลูกแรก
ของทฤษฎี ซึ่ ง เน้ น การวิ พ ากษ์ เ ชิ ง อภิ ท ฤษฎี ( The First wave of meta-theoretical
critiques) งานเหล่านี้มุ่งวิพากษ์วิจารณ์งานกลุ่มทฤษฎีสัจนิยม เพื่อชี้ให้เห็นว่าคาอธิบายทาง
ทฤษฎีแบบดั้งเดิมมีวิธีการอย่างไร นอกจากนั้นนักคิดสายหลังโครงสร้างนิยมพยายามเชื่อม
ความรู้ของตนเข้ากั บสหวิทยาการ เนื่องจากทฤษฎีกระแสหลัก ทางความสัมพันธ์ระหว่ าง
ประเทศไม่ใส่ใจในประเด็นนี้เลย จึงอาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมมีจุดยืนเพื่อสร้าง
พื้นที่ให้แก่ผู้คนและแนวคิดที่ถูกมองข้ามไปในองค์ความรู้ของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศในกระแสหลัก
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมจึงใส่ใจกับการผลิตความคิดและการ
ผลิตประวัติศาสตร์ของรัฐ วาทกรรมซึ่งแสดงความสั มพันธ์ระหว่างอานาจกับความรู้ รวมทั้ง

221
221 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

การก่ อ ร่ า งทางการเมื อ งและเศรษฐกิ จ ตลอดจนกระบวนการกี ด กั น ทางสั ง คม ( social


exclusions)
9.4.1 ควำมแตกต่ำงระหว่ำง “ภำยใน” และ “ภำยนอก”
ในประเด็ น ความแตกต่ า งระหว่ า งภายในและภายนอก (The inside-outside
distinction) อธิบายได้ว่า นักคิดหลังโครงสร้างนิยมให้ความสนใจว่าความสัมพันธ์ “ภายใน”
และ “ภายนอก” ถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร (Hansen, 2011: 173-174) หากดูการสร้างทฤษฎี
ของสัจ นิย มแล้ว จะพบว่า นัก วิชาการในกลุ่ม สัจ นิย มเลือกที่จะมองโลกแบบนัก แก้ปัญหา
มากกว่าที่จะเป็นผู้ตั้งคาถาม กล่าวคือ สัจนิยมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศของตนบนญาณวิ ทยาแบบปฏิฐ านนิย มเชิง ตรรกะแบบประจัก ษ์ นิย ม (ไชยรัตน์ ,
2556: 486) โดยเชื่อว่ามีโลกแห่งความเป็นจริงของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดารงอยู่
อย่ า งเป็ น อิ ส ระและเป็ น เอกเทศจากการศึ ก ษาของตนดั ง ที่ รู้ จั ก กั น ว่ า “ระบบระหว่ า ง
ประเทศ” ที่มีสภาวะอนาธิปไตย และมองด้วยมุมแบบ “ภายนอก” ให้ความสาคัญกับความ
เป็นรัฐ อธิปไตย อนาธิปไตย พวกเรา หรือพวกเขา เป็นปัจ จัย ก าหนดความเป็ นไปของ
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศมากกว่ า ที่ จ ะพิ จ ารณา “ภายใน” หรื อ ปั จ จั ย ภายใน
นอกจากนั้นยังกล่าวได้อีกว่านักสัจนิยมพยายามจะยัดเยียดความเป็นจริงให้กับโลกที่ตนกาลัง
ศึกษาด้วยการแสดงให้เห็นภาพของโลกของระบบรัฐชาติที่แยกตัวออกจากปัจจัยภายในที่สงบ
นิ่งกับภายนอกที่เป็นอนาธิปไตยอันไร้ระเบียบและขาดอานาจศูนย์กลาง
ดังนั้นกลุ่มนักคิดหลังโครงสร้างนิยมจึงเริ่มตั้งคาถามว่า “รัฐกลายมาเป็นตัวแสดงที่
สาคัญที่สุด ในการเมือ งโลกได้อย่ างไร” และ “เหตุใดรัฐจึงถู ก เข้ า ใจว่ าเป็ น ตั วแสดงซึ่ ง มี
ลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวทั้งหมด” หรือ “ทาไมรัฐจึงเป็นตัวแสดงที่มีเหตุผล” ด้วยเหตุนี้
เองทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมจึงรื้อสร้างความคิดที่ว่ารัฐเป็นตัวแสดงที่ สาคัญในการเมืองของ
โลกเช่นเดีย วกั บที่ก ระทาในความเป็นสาขาวิชาความสัมพัน ธ์ระหว่างประเทศ รัฐจึงมิใช่
“หน่วยหนึ่ง” ที่มีความสาคัญเหมือนกันในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่ (the same essence
across time and space) Walkerไ ด้ เ ส น อ ไ ว้ ใ น ง า น Inside/Outside: International
Relations as Political Theory (1993) โดยอธิบายว่าอานาจอธิปไตยของรัฐนั้นขึ้นอยู่กับ
การทาความเข้าใจที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ประชาคม อานาจหน้าที่ ระเบียบและ
อานาจอย่างไร นั่นคือ การวิพากษ์วาทกรรมของ “อานาจอธิปไตย” นั่นเอง เขาเสนอว่ารัฐ
เป็นเพียงวิธีการที่เจาะจงในการก่อตั้งประชาคมทางการเมือง ประเด็นที่ว่าประชาคมทางการ
เมืองมีความสาคัญต่อประชาชาติและการเมืองระหว่างประเทศเนื่องจากว่ามันบ่งบอกเราว่า
เพราะเหตุใดรูปแบบรัฐบาลที่มีอยู่นั้นมีความชอบธรรม ใครคือคนที่เราควรเชื่อมั่น ใครคือคน

222
222
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ที่เราควรมีบางสิ่งบางอย่างที่ เชื่อร่วมกันและใครคือผู้ที่เราควรช่วยเหลือเมื่อโดนโจมตี เมื่อ


ประสบความทุกข์หรือเมื่อโหยหิว รัฐอธิปไตยและมีอาณาเขตชัดเจนจึงมีตาแหน่งที่เหนือกว่า
ในฐานะประชาคมทางการเมื อ งแต่ ที่ เ ป็ น เช่ น นั้ น ได้ เ พี ย งเพราะว่ า ชุ ด ของเรื่ อ งราวและ
กระบวนการที่เริ่มต้นมาจากสนธิสัญญาเวสฟาเลีย (พิจารณาได้จากบทที่ 2)
9.4.3 วำทกรรมปัญหำ “อำนำจอธิปไตยแห่งรัฐ” และ “อนำธิปไตย”
เนื่องด้วยเหตุที่นักคิดหลังโครงสร้างนิยมให้ความสนใจต่อการแบ่งขั้วตรงข้ามความ
เป็นภายในและภายนอกนั้น พวกเขามิได้สร้างข้อกล่าวอ้างที่ว่าโลกปฏิบัติการเช่นนั้น มีรัฐ
จานวนมากที่การเมืองภายในมิได้เป็นไปตามคาบรรยายของความเป็น “ภายใน” ในฐานะที่
เป็นหนึ่งในกระบวนการ เหตุผลและความยุ ติธรรม หากแต่การแบ่งขั้ว ตรงข้า มระหว่ า ง
“ระดับชาติ ” และ “ระดับระหว่างประเทศ” (the national-international dichotomy)
ยั ง คงจั ด การก ากั บ การเมื อ งโลกเป็ น ส่ ว นใหญ่ ในเชิ ง วิ พ ากษ์ แ ล้ ว เราอาจกล่ า วได้ ว่ า
ความสาเร็จของการแบ่งขั้วตรงข้า มระหว่างภายในและภายนอกถูกแสดงด้วยการที่มันสร้าง
ความเงียบให้กับ “ข้อเท็จจริง” และ “เหตุการณ์” จานวนมากซึ่งควรกัดกร่อนมันอย่างไร เรา
จะเห็นตัวอย่างการแบ่งขั้วตรงข้ามระหว่างระดับชาติและระดับระหว่างประเทศได้จากการที่
บรรดารัฐเลือกที่จะไม่แทรกแซงรัฐอื่นซึ่งก าลังดาเนินคดีพลเมือง “ของตนเอง” (“own”
citizen) หรือให้พิจารณาถึงรัฐที่ลูกของผู้ลี้ภัยที่ได้รับการปฏิเสธถูกเนรเทศพร้อมกับพ่อแม่
ถึงแม้ว่าเด็กเหล่านี้จะเกิดในศูนย์ลี้ภัยที่ตั้งอยู่ในรัฐนั้น
จุ ด แข็ ง ประการหนี่ ง ของทฤษฎี ห ลั ง โครงสร้ า งนิ ย มคื อ การชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า อ านาจ
อธิปไตยแห่งรัฐเป็นสิ่งที่ถูกตั้งคาถามและได้รับส่งเสริม อย่างไร ยกตัวอย่างที่เห็นภาพชัดคือ
การก่ อ วิ น าศกรรม 9/11 และสงครามต่ อ ต้ า นการก่ อ การร้ า ย (war on terror) ถื อ เป็ น
เหตุการณ์ที่กัดกร่อนอานาอธิปไตยแห่งรัฐซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่รัฐตะวันตกมองเหตุการณ์ทั้ง
สองนี้ ผ่ า นมุ ม มองของความเป็ น เขตแดนที่ ตั้ ง อยู่ บ นพื้ น ฐานแห่ ง รั ฐ ( state-based
territoriality) เหตุการณ์ที่ “แผ่นของอเมริกา” โดนโจมตีและระบอบตาลิบันในอัฟกานิสถาน
ต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบสิ่ งที่ เ กิ ด ขึ้ น บน “แผ่ น ดิ น ของอเมริก า” หรื อ อี ก ตั ว อย่า งหนึ่ งให้ พิ จ ารณา
เหตุการณ์โจรสลัดโซมาเลียที่เป็นผู้ “ปฏิบัติการ” อยู่นอกเหนืออานาจการควบคุมของรัฐบาล
โซมาเลียนั้น รัฐตะวันตกพยายามที่จะจัดระเบียบขึ้นมาใหม่อีกครั้งโดยการส่งกองเรือของ
NATO เข้ามาควบคุมและตรวจการน่านน้านอกชายฝั่งโซมาเลีย เมื่อโจรสลัดละเมิดอานาจ
อธิปไตยแห่งรัฐ เราจะได้ว่าบรรดารัฐต่างๆตอบสนองด้วยการปกป้อง “เรือของพวกเขา”
จากการโจมตี

223
223 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ในส่ ว นของวาทกรรมสภาวะอนาธิ ป ไตยนั้ น ถื อ เป็ น วาทกรรมหลั ก ที่ ค รอบง า


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คาถามที่เกี่ย วกับอนาธิปไตยได้เข้ามามีพื้นที่พิเศษ
และโดดเด่นในแวดวงวิชาการของอเมริกาเหนือจนก่อให้เกิดวาทกรรมร่วมสมัยที่ทรงอิทธิพล
ที่สุดในทฤษฎีระหว่างประเทศ แม้แต่นักทฤษฎีกระแสหลักหลายคน อาทิ Kenneth Waltz
Robert Keohane Robert Jervis และ Stephen Krasner ยั ง ให้ ค วามสนใจและเกิ ด ข้ อ
ถกเถียงระหว่างกันอยู่บ่อยครั้ง
หากพิจารณาในมุมมองของหลังโครงสร้างนิยม ในงานของ Ashley ต้องการที่จะ
วิเคราะห์วาทกรรมดังกล่าวนี้ทางานอย่างไร ได้รับความสาคัญในวัฒนธรรมของเราอย่างไร
รวมทั้งเป็นที่รับรู้ในฐานะการนาเสนอหรือการเป็นตัวแทนอันทรงพลังของสถานการณ์อัน
ยากลาบากในระดับโลกจนดึงดูดความสนใจของผู้คนได้อย่างไร อีกทั้งต้องการตรวจสอบว่า
ตลอดเส้นทางการพัฒนาของมันนั้น มันได้เปิดเผยให้เห็นถึงเป็นเพียงแค่ยุทธวิธีเชิงวาทศิลป์
(rhetorical strategies) ของตนเอง และทาลายรากฐานของมุมมองที่มันอ้างถึง อั นนาไปสู่
การเปิดลู่ทางที่มีศักยภาพที่ถูกปิดกั้นมาตลอดได้อย่างไร วาทกรรมอนาธิปไตยได้ใช้รูปแบบ
ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพของวัฒนธรรมสมัยใหม่ในการควบคุมความกากวม
กาหนดความหมาย สร้างขอบเขตและผลักการตีความที่ต่อต้าน รวมทั้งสร้างเงื่อนไข ข้อจากัด
และแนวทางในการรับรู้และกระทาการที่ผู้คนเข้าใจว่าเป็นความจริงแท้ของชีวิตระดับโลกอัน
คุ้นเคยและแพร่หลาย ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการกาหนดปัญหาในสภาวะอนาธิปไตยอย่าง
อาเภอใจ Ashley ได้เสนอมุม มองว่า เราอาจจะต่ อต้ า นการก าหนดดังกล่า วเพื่อก้ า วข้ า ม
ข้อจากัดของอนาธิปไตยโดยการสารวจแนวทางใหม่และรูปแบบของการเมืองโลกแบบใหม่
ต่อไป (ศาสตร์, 2548: 86-89)
9.4.2 ภำษำกับกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ
ภาษาเป็นเครื่องมือสาคัญที่ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมให้ความสาคัญในการศึก ษา
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ ในที่ นี้ ผู้ เ ขี ย นจะน าเสนอตั ว อย่ า งของการใช้ ภ าษาของ
การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่า งประเทศและภาษาของนโยบายต่ า งประเทศว่ าเป็ นการ
นาเสนอหรือการเป็นตัวแทนในรูปของการสร้างตัวตนและความเป็นอื่น (the others) ขึ้นมา
พร้ อ มๆกั น ในฐานะที่ ภ าษาเป็ น อ านาจชนิ ด หนึ่ ง ที่ ต้ อ งการสร้ า งการสยบยอม หรื อ การ
จงรั ก ภั ก ดี ต่ อ รั ฐ หรื อ ต่ อ ผู้ น าประเทศในช่ ว งเวลาหนึ่ ง ๆอย่ า งไร กล่ า วได้ ว่ า นโยบาย
ต่ า งประเทศสร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ ข องความเป็ น ตั ว ตนผ่ า นการประกอบสร้ า งของภั ย คุ ก คาม
ภยันตรายและความท้าทายต่อความเป็นอื่นของตัวมันเอง

224
224
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

นักวิชาการคนสาคัญที่นาเสนอเรื่องภาษากับความสั มพันธ์ระหว่างประเทศที่โ ดด
เด่ น คนหนึ่ ง ได้ แ ก่ Michael J. Shapiro ในผลงาน The Politics of Representation:
Writing Practices in Biograhy, Photography, and Policy Analysis (1988) ว่า การเมือง
ของภาพตั ว แทนมี ค วามส าคั ญ อย่ า งมาก ประเด็ น ที่ ว่ า เราน าเสนอถึ งความเป็ น อื่ น สร้ าง
ผลกระทบต่อภาพตัวแทนของเราได้อย่างไรนั้นมีความชัดเจนสาหรับนโยบายต่างประเทศที่
เราเลือกจะนาเสนอ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่สหภาพยุโรปมีข้อถกเถียงกันภายในว่าจะรับ
ตุรกีเข้าเป็นสมาชิกใหม่หรือไม่ เนื่องจากความไม่ชัดเจนของตุรกีที่มีที่ตั้งในยุโรปแต่ก็ประเทศ
ที่มีประชากรมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ วิธีการที่ประเทศต่างๆในสหภาพยุโรปให้คาตอบต่อคาถาม
เหล่านี้มีนัยยะหลายประการซึ่งไม่เพียงแต่สาหรับการประกอบสร้างตัวตนของตุรกีหากแต่ยัง
เป็นการประกอบสร้างตัวตนความเป็นยุโรป นอกจากนั้น Shapiro ยังยกตัวอย่างการสร้าง
ภาพ “ละตินอเมริกา” ในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในสมัยสงครามเย็นว่าเป็น
การสร้างภาพและตอกย้าวาทกรรมชุดหนึ่งที่อาพรางความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่าง
สหรั ฐ อเมริ ก าและภู มิ ภาคละติ น อเมริ ก าไว้ ห รือ ตั ว อย่า งในยุ ค ใกล้ เ ข้า มาอี ก ที่ เ ห็ น ชัด คือ
นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกามักจะสร้างภาพหรือสร้างตัวตนให้กั บสิ่งที่นโยบาย
ต่ า งประเทศนั้ น ต้ อ งการพู ด ถึ ง เช่ น การสร้ า ง “จั ก รวรรดิ แ ห่ ง ความชั่ ว ร้ า ย” (the evil
empire) ให้กับสหภาพโซเวียตในสมัยสงครามเย็น หรือการสร้างภาพ “อักษะแห่งความชั่ว
ร้ า ย” (the axis of evil) และ “รั ฐ อั น ธพาล” (the rogue states) ในยุ ค หลั ง การก่ อ
วินาศกรรม 9/11 เป็นต้น
ดังนั้นกล่าวได้ว่า “นโยบายต่างประเทศ” ของรัฐเป็นเพียงภาคปฎิบัติการของการ
นาเสนอ การผลิต การสร้างความเป็นอื่นในระดับโลกแบบหนึ่ง เช่นคาว่า ละตินอเมริกา ใน
ภาษาแห่ ง นโยบายต่ า งประเทศจึ ง มิ ไ ด้ มี ค วามหมายเฉพาะเพี ย ง “พื้ น ที่ บ นโลก” แต่ ยั ง
หมายถึงการตอกย้าและผลิตซ้าความเหนือกว่าเชิงอานาจและเชิงสถาบันที่ดารงอยู่ในภูมิภาค
นี้ด้วย (Der Darian & Shapiro, 1989: 15 อ้างใน ไชยรัตน์, 2556: 480)
นอกจากนั้น Shapiro ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมในการพูดถึงประเทศใดประเทศหนึ่ง
ก็ตามมักมีจะมีการนาเสนอแผนที่ของประเทศนั้นขึ้นมาประกอบเสมอ แผนที่จึงเป็นเครื่องมือ
ตอกย้าการเป็นส่วนหนึ่งของระบบรัฐชาติของประเทศนั้นได้อย่างเด่นชัด และยังเป็นเครื่องมือ
สาคัญของภาคปฏิบัติการของการสร้างตัวบทที่ก้าวร้าว รุนแรงและตอกย้าและผลิตซ้าเส้น
แบ่ ง อาณาเขตของรั ฐ ชาติ จ นดู เ ป็ น ธรรมชาติ แผนที่ จึ ง เป็ น ทั้ ง เทคโนโลยี ข องพื้ น ที่ แ ละ
เทคโนโลยีของภาษาไปพร้อมกั น เพราะในแผนที่มีการกาหนดอาณาเขตและการตั้งชื่อ ไป
พร้อมกัน

225
225 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ภาษาของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเริ่มเปลี่ยนจากภาษาที่เน้นแต่
พูดถึงรัฐชาติเป็นศูนย์กลางและเน้นแต่อานาจอธิปไตยของรัฐในรูปของภาษาของการบริหาร
จัดการ เช่นการพูดถึงความมั่นคง สงคราม สันติภาพ อาณาเขต การใช้กาลัง มาสู่ภาษาของ
การอ่าน เขียน การสร้างตัวบทและสัมพันธบทอันเป็นผลโดยตรงมาจากอิทธิพลทางความคิด
ของสานัก หลังโครงสร้างนิยมและสานักหลังสมัยใหม่นิย ม นักวิชาการในสานัก ดังกล่าวมี
ความเห็นว่ากระบวนการในการสร้างตัวบทกั บกระบวนการในการสร้างความเป็นจริง ทาง
สังคมและการเมืองมีความคล้ายคลึงกันจนสามารถนาวิธีการในการเขียนและอ่านตัวบทมาใช้
กับการเขียนและอ่านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนการเน้นย้าจาก
การเข้าใจหรือการมองปัญหาผ่านการมีตัวแสดงที่มีอานาจเด็ดขาดอย่างผู้แต่งในกรณีของตัว
บท หรื อ รั ฐ อธิ ป ไตยในกรณี ข องความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศสู่ ภ าคปฏิ บั ติ ก ารเชิ ง
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและภาษาที่ ตัวแสดงและวัต ถุเ พื่อการศึกษาของความสั ม พั น ธ์
ระหว่างประเทศถูกสร้างขึ้นมา ภาษาของทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมยังเป็นภาษาที่พูดหรือมอง
ปัญหาจากชอบขอบ (marginality) ของสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพร้อมคัดค้านกับ
การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ระหว่ างประเทศที่ ด ารงอยู่ (dissidence) ดั ง นั้ น กล่ า วได้ ว่ า จาก
ข้างต้นเป็นสิ่งที่แสดงถึงการแตกต่างทางการเขียนหรือการอ่านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ระหว่างทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมกับทฤษฎีกระแสหลักอย่างสานักสัจนิยม
นอกจากนี้การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวทางทฤษฎีหลังโครงสร้าง
นิยมยังให้ความสาคัญกั บการสลั บที่สลับทาง การกลับหัวกลับหางประเด็นสาคัญต่างๆใน
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วย 22 ยกตัวอย่างที่ทฤษฎีกระแสหลักอย่างสัจ
นิยมมักจะมองว่า ในเมื่อมนุษย์มีเหตุผล มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมและกลายเป็นรัฐที่อยู่ใน
ขอบเขตของคาว่าภายในเพื่อแสดงออกถึงความร่วมมื อ ดังนั้นรัฐจึงเป็นสิ่งที่มีเหตุผ ลด้วย
ในขณะที่ภายนอกคือสภาวะไร้ระเบียบอันนาไปสู่สงครามซึ่งถูกมองว่าให้เป็นสภาวะภายนอก
ที่ไร้เหตุผล ดังนั้นในแนวทางสานักหลังโครงสร้างนิยมจึงสลับที่การศึกษาโดยหันไปให้ความ
สนใจกับสภาวะภายนอกที่ไร้ระเบียบอย่างอนาธิปไตยมากกว่าที่ จะสนใจมนุษย์หรือรัฐตาม
แบบอย่างการศึกษาของกระแสหลัก การสลับที่สลับทางเช่นนี้ทาให้มองรัฐในมุมใหม่ได้ว่า รัฐ
มิใช่ศูนย์ก ลางของอานาจอีกต่อไป แต่รัฐเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปกปิดความไม่
ชั ด เจนและความแตกต่ า ง รั ฐ จึ ง ท าหน้ า ที่ ก าหนดอาณาเขตเพื่ อ ให้ ส งครามหรื อ ความไร้
ระเบียบของสภาวะอนาธิปไตยให้ชัดเจนเพื่อแบ่งความเป็น “ภายใน” ของความเป็นรัฐ และ
“ภายนอก” ของสภาวะอนาธิปไตย

22 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม Ashley (1989)

226
226
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

9.4.4 วัฒนธรรมสมัยนิยม
ข้อถกเถียงประการหนึ่งที่ว่าเราควรทาความเข้าใจการเมืองโลกผ่านมุมมองของสัม
พันธบทนั้ น ได้ น านัก คิ ดหลังโครงสร้า งนิย มมาสู่ก ารพิจ ารณารู ปแบบของตั ว บทที่มิ ไ ด้ ถู ก
อภิปรายหรือนามาถกเถียงในกลุ่มนักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
งานในกลุ่มนี้จะปรากฎในงานของ James Der Darian (1992) ได้ศึกษาสัมพันธ
บทของนวนิยายสายลับ (spy novels) วรสารศาสตร์ (journalism) และงานวิเคราะห์ทาง
วิ ช าการ (academic analysis) นอกจาก Der Darian แล้ ว Michael J. Shapiro (1988,
1997) และ Cynthia Weber (2006) ก็ ไ ด้ ศึ ก ษารายการโทรทั ศ น์ ภาพยนตร์ แ ละการ
ภาพถ่ า ย มี เ หตุ ผ ลหลายประการที่ ท าให้ นั ก คิ ด สายหลั ง โครงสร้ า งนิ ย มเลื อ กที่ จ ะให้
ความสาคั ญกั บ วั ฒ นธรรมสมั ย นิ ย ม (popular culture) เหตุผลประการหนึ่ ง คือ รัฐใช้
วัฒนธรรมสมัยนิยมอย่างจริงจังถึงแม้ว่ามันจะเป็นแค่เพียง “just fiction” ยกตัวอย่างเช่น
ในปี 2006 รัฐบาลของคาซัคสถานได้อ อกการรณรงค์เชิงโฆษณาในสหรัฐอเมริกาเนื่องจาก
ต้องการสร้างภาพที่ถูกต้องของคาซัคสถานที่ถูกนาเสนอในภาพยนตร์เรื่อง Borat23 และในปี
2010 ละครโทรทัศน์ของตุรกีที่นาเสนอภาพความมั่นคงของอิสราเอลนั้นส่งผลให้รัฐมนตรี
กระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลประกาศประท้วงต่อสถานทูตตุรกี (Hansen, 2011:
173) เหตุผลอีกประการหนึ่งคือสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ดนตรีเป็นสิ่งที่ถูกรับชม
และถูกฟังจากผู้คนทั่วโลก ยิ่งในกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมสมัยนิยมได้แพร่กระจาย
อย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากการใช้โ ทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เนต ได้เปลี่ย นแปลงผู้ ที่
สามารถผลิต “ตัวบท” ของการเมืองโลกได้ ดังจะเห็นได้จากกรณีคลิปวิดีโอและรูปภาพจาก
เหตุ ก ารณ์ ใ นสงครามอิ รั ก และปฏิ บั ติ ก ารในอั ฟ กานิ ส ถานที่ แ พร่ ห ลายในอิ น เตอร์ เ นต

23 ภาพยนตร์ เ รื่ อ ง Borat หรื อ ที่ ชื่ อ เต็ ม ว่ า Borat: Cultural Leranings of America for Make
Benefit Glorious Nation of Kazakstan กากับโดย Larry Charles เป็นภาพยนตร์สารคดีล้อเลียน
(mockumentary) มีเนื้อเรื่องย่อว่า Borat Sagdiyev ผู้รายงานข่าวโทรทัศน์และนักจัดรายการชาว
คาซัคสถานถูกส่งตัวไปยังประเทศ “ยู เอส เอส เอ” ที่เป็นประเทศที่ร่ารวยที่สุดในโลกเพื่อทาหน้าที่
เป็นพิธีกรรายการสารคดีเพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อนามาเป็นแนวทางพัฒนาคาซัคสถาน โดยเขาได้
เสนอไว้ตอนหนึ่งว่า ปัญหาประการหนึ่งที่คาซัคสถานประสบคือปัญหาชาวยิว ศึกษาการวิเคราะห์
ภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างละเอียดผ่านมุมมองทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเชิงวิพากษ์ ดู สรวิศ
(2555)

227
227 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

วัฒนธรรมสมัยนิยมอาจจะเป็นเหตุเค้าลางในโลกแห่งความจริงและตระเตรียมวิสัยทัศน์ของ
การเมืองโลกที่ซับซ้อนและกระตุ้นความคิดให้กับเรา24
ทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมเริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นในแวดวงวิชาการความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายสาคัญกับการตั้งคาถามกับ “ความเป็นชายขอบ” กับสิ่งที่
ทฤษฎีกระแสหลัก อย่างไรก็ตาม การตอบรับกลุ่มทฤษฎีนี้ยังมิได้เป็นไปเชิงบวกกลุ่มนัก คิด
สายหลังโครงสร้างนิยมก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ขาดความน่าเชื่อถือทางการวิจั ยและขาดความ
แข็งแกร่งทางวิชาการและสร้างชื่ อเสีย งที่ ไม่ ค่อยดี นัก ดังจะเห็นได้คากล่าวของ Robert
Keohane ที่มีต่อการศึกษาในแนวทางนี้ว่า “เป็นจุดตายของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ ไม่มีจุดมุ่งหมายอันใดในการสร้างข้อถกเถียงในระดับทฤษฎีที่แท้จริง...มีแต่จะนาเรา
ไปสู่ก ารศึก ษาที่ไกลออกจากไปการเมืองโลกไปสู่ก ารพูด คุย ในเชิง ปรัชญาและวิ ชาการที่
แตกต่างหลากหลาย” (Keohane, 1988: 382 อ้างใน ศาสตร์, 2548: 28) อีกทั้งนักวิชาการ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลักบางกลุ่มยังโจมตีนักคิดกลุ่มทฤษฎีหลังโครงสร้าง
นิยมว่าเป็นพวก “หลงตัวเอง”(self-righteousness) “ปีศาจร้ายและอันตราย” (evil and
dangerous) “IR แบบเลว” (bad IR) และ “พวกพล่ามมหาศาล”(meta-babble) ซึ่งแสดง
ถึงการตอกย้าการไม่ยอมรับแนวคิดกระแสนี้ (Cambell, 2013: 229-230)

24ศึกษารายละเอียดของวัฒนธรรมสมัยนิยมกับการเมืองโลก ดูเพิ่มเติมที่ Caso & Hamilton


(eds)(2015)

228
228
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

นักวิชำกำรหลังโครงสร้ำงนิยมในกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

Richard Ashley Michael Shapiro

James Der Derian R.B.J.Walker David Campbell

229
229 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

230
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

บทที่ 10 บทที่ 10
ทฤษฎีสตรีนิยม (Feminism) ทฤษฎีสตรีนิยม
Feminism
10.1 บทนำ
ทฤษฎีสตรีนิยมให้ความสาคัญกับความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ โดยส่งเสริมและ
ยกระดับสถานภาพและบทบาททางสังคมของผู้หญิงไม่ให้ต่าต้อยกว่าผู้ชาย ทฤษฎีสตรีนิยมจึง
เห็นว่าความแตกต่างระหว่างเพศของบุคคลมิได้เป็นพียงความแตกต่างทางชีวภาพหรือสรีระ
เท่านั้น หากแต่เป็นความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมซึ่งมนุษย์เป็น
ผู้สร้างขึ้น กลุ่มนักคิดสตรีนิยมเชื่อมั่นในแนวคิดสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Rights) ที่มอง
ว่าสิทธิไม่เกี่ยวข้องกับเพศ อีกทั้งมองว่าที่ผ่านมากิจกรรมต่างๆของโลกมักจะจากัดขอบเขต
อยู่ในเฉพาะเพศชายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อพิจารณาความเท่าเทียมระหว่างเพศ เพศหญิงก็ควรมี
บทบาทและมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ทัดเทียมกับเพศชาย โดยสรุป แนวคิดพื้นฐานของสตรี
นิยม ยืนยันความมีเหตุผล ความสามารถในการมีสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิทางการเมือง เป็นสิ่งที่
ทุกเพศมีความเท่าเทียมกัน และต่อต้านวาทกรรมที่ว่าด้วยผู้ชายเป็นใหญ่

10.2 แนวคิดพื้นฐำนของทฤษฎีสตรีนิยม

ก่ อ นที่ จ ะท าความเข้ า ใจว่ า ทฤษฎี ส ตรี นิ ย มได้ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การสร้ า งทฤษฎี


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้จะเป็นเพียง “กระแสทางเลือก”นั้น เราควรทาความเข้าใจ
กับคาศัพท์สองคาที่ถือเป็นคาที่ก่อให้เกิดการอภิปรายและถกเถียงกันในทฤษฎีสตรีนิยม นั่นก็
คือ คาว่า “เพศสภาพ” (Gender) และ ปิตาธิปไตยหรือภาวะที่ชายเป็นใหญ่ (Patriachy)
คาว่า เพศสภาพ มีความหมายที่แตกต่างกับคาว่า เพศ (sex) ซึ่งมีลักษณะเป็นเรื่อง
ทางกายภาพ หรื อ สภาพทางชี ว วิ ทยา แต่ ค าว่ าเพศสภาพ เป็ น ประดิ ษ ฐกรรมทางสั งคม
(social construction) ที่แสดงถึง “ความเป็นหญิง ”(Femininity) หรือ “ความเป็นชาย”
(Masculinity) ซึ่งไม่จาเป็นต้องเป็นไปตามเพศกาเนิดหรือเพศทางชีววิทยา อีกทั้งยังเป็นการ
แสดงถึงอานาจและความสัมพันธ์ทางอานาจระหว่างเพศสภาพด้วย
ส่วนคาว่า ปิตาธิปไตย ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า อานาจสูงสุดเป็นของบิดา หรือใน
ความหมายเช่นนี้ย่อมหมายถึงความเป็นใหญ่อันเนื่องมาจากความเป็นชาย Lorraine Cade
ได้อธิบายว่า ปิตาธิปไตยคือ ระบบที่ผู้หญิงมีความอ่อนด้อยกว่าผู้ชายไม่ว่าจะด้วยสถานะหรือ
อานาจ อีกทั้งมีความเชื่อพื้นฐานว่า ระบบนี้เป็นสิทธิและความเหมาะสมที่ผู้ชายจะสามารถสั่ง

231
231 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

การใดๆให้ผู้หญิง เชื่อฟังตนซึ่งความคิดเช่นนี้ปรากฎร่องรอยมาตั้งแต่สมัยกรีก ดังจะเห็นได้


จากงานของอริ ส โตเติ ล ที่ ก ล่ า วว่ า ลั ก ษณะด้ อ ยกว่ า ทางชี ว ภาพของผู้ ห ญิ ง มี ลั ก ษณะ
เช่นเดียวกับความสามารถทางด้านเหตุผล ความคิดเช่นนี้ยังผลสืบเนื่องมายังโลกที่ศาสนายิว
และคริสต์มีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้คนอีกด้วย

10.4 แนวคิ ด พื้ น ฐำนของทฤษฎี ส ตรี นิย มในกำรศึก ษำควำมสั ม พัน ธ์ร ะหว่ ำ งประเทศ
(Viotti & Kauppi, 2012: 362-363)
ก่อนที่จะเราจะพิจารณาว่าสตรีนิยมในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมี
ที่มาและพัฒนาการอย่างไรนั้น ในส่วนนี้ผู้เขียนจึงขอนาเสนอแนวคิดพื้นฐานเพื่อเป็นการมอง
ภาพรวมของทฤษฎีสตรีนิยมที่ปรับมาใช้กับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรวมทั้ง
การสร้างแนวคิด ระเบียบวิธีวิจัยผ่านคากล่าวของนักวิชาการสตรีนิยมคนสาคัญคือ J. Ann
Tickner (2006: 4 อ้างใน สรวิศ, 2555: 220) ที่ว่า
“นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสายสตรีนิยมส่วนใหญ่ง่วนอยู่กับคาถาม
พื้นฐานที่ว่า ทาไมผู้หญิงในแทบทุกสังคมถึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบทั้งในเรื่องการเมือง
สังคมและเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับผู้ชาย และมันเป็นเช่นนี้เพราะการเมืองระหว่าง
ประเทศและเศรษฐกิจ มากน้อยแค่ไหน และในทางตรงกั นข้าม พวกเขาตั้งคาถาม
ว่าโครงสร้างของความเท่าเทียมกันทางเพศที่เป็นลาดับชั้นเหล่านี้ที่แท้จริงแล้วช่วย
ค้ าจุ น ระบบระหว่ า งประเทศและมี ส่ ว นท าให้ ก ารกระจายความมั่ น คั่ ง และ
ทรัพยากรในระบบทุนนิยมโลกเป้นไปอย่างไม่เท่าเทียมกันได้อย่างไรด้วย”
แนวคิดพื้นฐานที่แนวทางสตรี นิยมในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมี
ร่วมกันสามารถสรุปได้ดังนี้คือ
1) แนวทางการศึกษาสตรีนิยมในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใช้ “เพศ
สภาพ” เป็นกลุ่มสาคัญของการวิเคราะห์เพื่อให้ความสาคัญกับมุมมองของผู้หญิง
ต่อประเด็นทางสังคมและการวิจัย นักวิชาการด้านสตรีนิยมอ้างว่าในฐานะที่เพศ
สภาพดารงอยู่ในชีวิตประจาวันนั้นมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งและไม่ปรากฎเด่นชัด
อย่างมากมายในการกระทาของรัฐ องค์การระหว่ างประเทศและตัวแสดงข้ามชาติ
ต่างๆ นักวิชาการด้านสตรีนิยมจึงพยายามพัฒนากรอบคิดและกรอบการวิจัยเพื่อ
สืบค้นและอธิบายผลกระทบเหล่านี้

232
232
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

2) เพศสภาพมีความสาคัญอย่างยิ่งในฐานะวิธีการหลัก ที่จะบ่งชี้ความสัมพันธ์ ของ


อานาจที่มิใช่เพียงเฉพาะอานาจภายในครอบครัว หากแต่ยังหมายถึงอานาจโลก
แห่งนโยบายต่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในมุมมองของสานัก
สตรีนิยมจะมีมุมมองเรื่องอานาจที่แตกต่างไปจากกลุ่มทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศกระแสหลัก โดยมองว่าแนวทางปรัชญาและความคิดตะวันตกได้ละเลย
มุมมองสตรีนิยมหรือแม้แต่ยกย่องอคติของเพศชาย จากข้างต้นจึงเป็นที่มาของ
ภารกิจที่สาคัญของนักทฤษฎีสตรีนิยมคือการสร้างจุดแข็งในทางเชิงวิชาการที่ขาด
หายไปของทฤษฎีสตรีนิย มและการขาดความเข้าใจในการศึก ษาความสัม พั น ธ์
ระหว่างประเทศกระแสหลัก
3) นักทฤษฎีสตรีนิยมร่วมสมัยจานวนหนึ่งอุทิศตนให้กับเป้าหมายแห่งการปลดเปลื้อง
การบรรลุถึงความเสมอภาคสาหรับผู้หญิงผ่านการก าจัดความสัมพันธ์ที่ไม่ เ ท่ า
เที ย มกั น ทางเพศสภาพ แทนที่ จ ะศึ ก ษาเรื่ อ งพฤติ ก รรมของรั ฐ หรื อ สภาวะ
อนาธิปไตยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังที่สานักสัจนิยมกระทา สานัก
สตรีนิยมเลือกที่จะศึกษาในประเด็นตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งทางการทหารทั้งใน
ระดับระหว่างรัฐและภายในรัฐนั้นส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอย่างไร นอกจากนั้นสตรี
นิย มยังมองว่า การใช้ระดับการวิเคราะห์ (level of analysis) มุ่งเน้นแต่ระบบ
ระหว่างประเทศและระดับรัฐมากจนเกินไป จนลืมพิจารณามิติความเป็นมนุษย์
(human dimension) เมื่อนาเพศสภาพมาเป็นอีกหมวดหมู่หนึ่งของการวิเคราะห์
แล้ว ข้อสมมติฐานเดิมเกี่ยวกับความมั่นคงและข้อสมมติฐานใหม่ที่ว่าใครจะได้รับ
ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์จะได้รับการตรวจสอบด้วยมุมมองด้านมนุษย์ที่ชัดเจนขึ้น

10.3 สตรีนิยมในกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

องค์ ค วามรู้ ด้ า นสตรี ศึ ก ษาได้ รั บ ความสนใจและน ามาประยุ ก ต์ กั บ สาขาวิ ช า


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จนถึงต้นทศวรรษที่ 1990 โดยมี
จุดเริ่มต้นมาจากการเกิดวิวาทะทางทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งที่ 4 โดยกลุ่มนัก
คิดสตรีนิยมตั้งคาถามกับองค์ความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่า หากนาการเมือง
ระหว่างประเทศมาผนวกกับประสบการณ์ของผู้หญิง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร นัก
คิดสายสตรีนิยมชี้ว่าเพียงเริ่มนาประเด็นเรื่องเพศสภาพ (gender) มาวิเคราะห์ ก็อาจจะทา
ความเข้าใจระบบรัฐ และเศรษฐกิจโลกต่อชีวิตผู้หญิงและผู้หญิงได้ นักคิดสตรีนิยมในสาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาศัย มุมมองเชิงวิพากษ์มาปรับเปลี่ยนกรอบคิด และหลัก
พื้นฐานบางประการในองค์ความรู้นี้ เช่น เรื่องอานาจอธิปไตย รัฐและความมั่นคง เป็นต้น

233
233 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

นัก คิดสตรีนิย มในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชี้ให้เห็นว่า ในองค์ความรู้ทาง


การเมืองระหว่างประเทศและเศรษฐกิจโลกไม่มีตาแหน่งของ “ผู้หญิง” เลย จึงเกิดการตั้ง
คาถามว่าเพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนี้ นักคิดสตรีนิยมในรุ่นต่อมาก็เริ่มให้ความสนใจกับประเด็น
ที่ยังไม่ได้รับความสนใจเช่น ประเด็นหญิงค้าบริการทางเพศในฐานทัพ (military prostitute)
งานบริ ก ารในครั ว เรื อ น (domestic service) หรื อ แม่ บ้ า นของนั ก การทู ต (diplomatic
household) รวมทั้ ง งานบ้ า นที่ มี ผู้ ห ญิ ง เป็ น คนงาน (house-based work) ในงานศึ ก ษา
หลายชิ้น นักคิดสตรีนิยมแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมีความสาคัญต่อนโยบายต่างประเทศและ
เศรษฐกิจโลก เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่พูดถึงประเด็นเหล่านี้จากชายขอบของพื้นที่การเมือง
ระหว่างประเทศ โดยให้แง่มุมที่ปราศจากรัฐเป็นศูนย์กลาง (state-centric focus) ซึ่งเป็น
แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบตะวันตกแบบดั้งเดิม นอกจากนี้
นักคิดสตรีนิย มสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยังเพิ่มข้อมูลเชิงประจัก ษ์เพื่อสนั บ สนุน
ทฤษฎีของตน โดยเสนอให้มองการเมืองระหว่างประเทศผ่านกรอบเพศสภาพ เพื่อจะได้เห็น
ประเด็นที่นอกเหนือจากที่มีถกเถียงกันในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก
นักคิดสตรีนิยมมีจุดยืนร่วมกับกลุ่มนักคิดแนวหลังปฏิฐานนิยม เพราะมุ่งสารวจ
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความรู้ แ ละอ านาจ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า โดยมากว่า
“ความรู้ถูกสร้างโดยผู้ชาย” และเกี่ยวข้องกับ “ผู้ชาย” ทฤษฎีสตรีนิยมใส่ใจความสัมพันธ์ทาง
สังคมมากกว่าอธิปไตยโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์เชิงเพศสภาพ โดยชี้ว่าระบบระหว่าง
ประเทศสร้างบนฐานลาดับสูงต่าทางเพศสภาพ ซึ่งยิ่งตอกย้าให้มีการกดขี่ทางเพศเพื่อเปิดเผย
ความเหลื่อมล้าทางเพศสภาพนี้ นักคิดสตรีนิยมเริ่ มตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในระดับจุลภาค อันได้แก่ การทาความเข้าใจว่าชีวิตของปัจเจกชน (โดยเฉพาะปัจเจกชนที่ถูก
ผลักไปสู่ชายขอบ)ได้รับผลกระทบและสร้างความเปลี่ยนแปลงในการเมืองโลกได้อย่างไร

ทหำรผู้หญิงที่ปฏิบัติกำรในสงครำมสหรัฐอเมริกำบุกอิรัก ค.ศ. 2003

234
234
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

การศึกษาและงานวิจัยของสานักสตรีนิยมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบ่ง
ออกเป็นสองรุ่น (True, 2005: 215-216) ในรุ่นที่หนึ่งมุ่งสร้างทฤษฎีโดยพยายามเผยให้เห็น
มิติเชิงเพศสภาพในฐานความรู้และปฏิบัติการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบดั้งเดิม
รวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์ และท้าทายภววิทยาและวิธีวิทยาของสาขาวิชาโดยเข้าสู่การถกเถียง
ทางทฤษฎีที่เรียกกันว่า วิวาทะครั้งที่ 4 ระหว่างกลุ่มปฏิฐานนิยมและกลุ่มหลังปฏิฐานนิยมใน
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ดังที่กล่าวไปแล้วในบทที่ 1) สานักสตรีนิยมพยายาม
ที่จะรื้อสร้างและโจมตีทฤษฎีสัจนิยมซึ่งเน้นการอธิบาย “การเมืองเรื่องอานาจ” เป็นสาคัญ
สตรีนิยมเน้นการศึกษาและมีสมมติฐานบนฐานคิดเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศสภาพให้เ ป็น
จุดยืนทางญาณวิทยาของตน จากจุดยืนดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าชีวิตของผู้หญิง ที่อยู่ชายขอบ
ของการเมืองโลกสร้างความเข้าใจทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแก่เราในเชิงวิพากษ์และ
มี ค วามรอบด้ า นมากยิ่ ง กว่ า มุ ม มองทางวั ต ถุ (objectivist view) ของส านั ก สั จ นิ ย มหรื อ
มุมมองของนโยบายต่างประเทศจากบรรดารัฐบุรุษทั้งหลายเนื่องจากผู้หญิงมีส่วนรู้เห็นน้อย
หรื อ ถู ก ปิ ด บั ง โดยสถาบั น และชนชั้ น น าที่ มี อ านาจ ผลงานที่ โ ดดเด่ น ในช่ ว งเวลานี้ คื อ
Bananas, Beaches and Bases: Making Feminist Sense of International Politicsของ
Cynthia Enloe ในปี ค.ศ.1989 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเมืองระหว่างประเทศเกี่ ยวข้องกับ
ความสั ม พั น ธ์ อั น คุ้ น เคย(intimate relationship) อั ต ลั ก ษณ์ ส่ ว นบุ ค คล ( personal
identities) และชีวิตส่วนตัว (private lives) อย่างไร
ถึงแม้ว่าพื้นที่ของสานักสตรีนิยมในแวดวงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
จะยังคงถูกจากัดในบริบทที่สานักสัจนิยมมีอิทธิพลอยู่อย่างสูง แต่ก็ถือเป็นการเปิดพื้ นที่และ
สร้างความท้ า ทายเชิ งวิ พ ากษ์ ใ นหมู่ นั ก วิ ช าการโดยการตั้ ง คาถามถึง ความเป็ นเนื้ อ หา ว่ า
ลักษณะอย่างไรและความโดดเด่นว่าควรจะเป็นอย่างไร การตีพิมพ์ผลงานของนักวิชาการใน
สานักสตรีนิยมที่ผลิตขึ้นมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีการบรรจุประเด็นเพศสภาพหรือมุมมอง
สตรีนิยมเข้าสู่หลักสูตรความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในหลายสถาบันทั่วโลก จนกระทั่งในปี
ค.ศ.1999 วารสาร International Feminist Journal of Politics ก็ ได้รับการจัดตั้งขึ้ น มา
เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การแลกเปลี่ ย นความคิ ด ระหว่ า งนั ก วิ ช าการสตรี นิ ย ม ด้ า นรั ฐ ศาสตร์ แ ละ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ส่วนรุ่นที่สองถือเป็นระยะแห่งการพัฒนาตาแหน่งแห่งที่ทางวิชาการของสตรีนิยม
ในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสนใจปรากฎการณ์เชิงประจักษ์ที่ใช้เพศสภาพเป็น
หน่วยการวิเคราะห์ทั้งในการศึก ษานโยบายต่างประเทศ ความมั่นคง เศรษฐกิ จ การเมือง
ระหว่างประเทศผ่านการสารวจทั้งในบริบททางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์นัก วิชาการสตรี
นิ ย มในรุ่ น นี้ ไ ด้ พั ฒ นาแนวทางการวิ จั ย ของตนเองซึ่ งมุ่ ง ขยายขอบเขตวิ ช าความสั ม พันธ์

235
235 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ระหว่างประเทศ สารวจประเด็นอันหลากหลายและฟัง “เสียง” ที่ไม่คุ้นเคยโดยใช้เพศสภาพ


เป็นหน่วยในการศึกษาเหตุการณ์ต่างๆในการเมืองโลก รวมทั้ งผสมผสานวิธีวิพากษ์แบบสตรี
นิยมเข้าไปในทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบดั้งเดิม (Ticker & Sjoberg, 2013:
205-208)
ส่ ว นประเด็ น ค าถามที่ ว่ า “สตรี นิ ย มอธิ บ าย ตี ค วามหรื อ มองการเมื อ งโลกนี้
อย่างไร” นั้น ในที่นี้ผู้เขีย นจะขอยกตัวอย่างงานศึก ษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ ใช้
มุมมองสตรีนิยมและการวิเคราะห์เพศสภาพที่น่าสนใจ
ตัวอย่างงานชิ้นสาคัญชิ้นหนึ่งที่ถือว่าเป็นงานต้นตารับสาหรั บผู้เริ่มศึกษาสตรีนิยม
ในความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ คื อ งาน A Critique of Morgenthau’s Principles of
Political Realism ของ J. Ann Tickner (1988) เป็ น งานวิ พ ากษ์ ท ฤษฎี สั จ นิ ย มในความ
ทฤษฎีลดทอน (reductionist theory) โดยเฉพาะแนวคิดของ Morgenthau ในส่วนที่น า
เสน “กฎเหล็ก 6 ประการของสัจนิย ม” (ดูได้จากบทที่ 4) โดยเสนอว่า การเมืองระหว่าง
ประเทศที่ปรากฎอยู่เป็นโลกของผู้ชาย (a man’s world) เป็นโลกแห่งอานาจและความ
ขัดแย้ง แม้แต่เรื่องการทูต การทหารและความเป็นศาสตร์ของวิชาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศก็ล้วนแล้วแต่ถูกครอบงาด้วยความเป็นชาย ผู้หญิงไม่มีจุดยืนใดเลยในกิจการต่างๆที่
กล่าวไปข้างต้น นอกจากนั้นแล้ว Ticker ได้วิพากษ์การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
โดยใช้ผลงาน Politics among Nations ในฐานะงานคลาสสิคของ Morgenthau เป็นตัวตั้ง
ต้ น และใช้ ญ าณวิ ท ยาแบบสตรี นิ ย ม (feminist epistemology) มองแนวคิ ด สั จ นิ ย มของ
Morgenthau ในมุมกลับและสรุปเป็น “กฎเหล็ก 6 ประการ” ของ Ticker ได้แก่
1) สตรี นิ ย มเชื่ อ ว่ า วั ต ถุ วิ สั ย (objectivity) ซึ่ ง ให้ ค วามหมายในเชิ ง สั ง คม
โดยทั่วไปเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาย กฎของธรรมชาติมนุษย์ในเชิง
วัตถุจึงตั้งอยู่พื้นฐานของการมองธรรมชาติเฉพาะเพศชาย ทั้งที่ในความเป็น
จริง ธรรมชาติของมนุษย์มีเพศหญิงด้วย
2) สตรีนิยมเชื่อว่าผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหลากหลายมิติและ
เกิดขึ้นในเชิงบริบท เราไม่จาเป็นต้องจากัดความว่าผลประโยชน์แห่งชาติเป็น
เรื่องทางอานาจเสมอไป
3) อานาจในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการครอบงาและการควบคุมได้สร้างความ
เหนือกว่าให้กับเพศชายและไม่สนใจความเป็นไปได้ที่ของการสร้างอานาจ
ร่วมกัน (collective empowerment) กับอานาจที่เกี่ยวข้องกับเพศหญิง

236
236
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

4) สตรีนิย มปฏิ เ สธการแยกศี ลธรรมออกจากการเมือ ง โดยมองว่ากิ จ กรรม


ทางการเมืองแฝงนัยยะทางศีลธรรมอยู่เสมอ
5) สตรีนิยมพยายามที่จะหาองค์ประกอบทางศีลธรรมร่วมกันในแรงบันดาลใจ
ของมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศและ
สร้างประชาคมระหว่างประเทศขึ้นมา
6) สตรี นิ ย มปฏิ เ สธเรื่ อ งการความเป็ น อิ ส ระของความเป็ น การเมื อ ง (the
autonomy of the political) เนื่องจากความเป็นอิสระดังกล่าวเกี่ ยวข้อง
กับความเป็นชายในวัฒนธรรมตะวันตก ความพยายามที่ประกอบทัศนะใน
การมองโลกเองก็มิได้สร้างขึ้นฐานที่คานึงถึงความหลากหลายของธรรมชาติ
มนุษย์ โดยเฉพาะการตัดผู้หญิงออกจากความเป็นการเมือง
งาน Banana, Beachs and Bases: Making Feminist Sense of International
Politics ของนั ก วิ ช าการสตรี นิ ย มคนส าคั ญ คื อ Cynthia Enloe ที่ ถื อ เป็ น งานบุ ก เบิ ก ใน
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่านมุมมองสตรีนิยม ในงานนี้ Enloe ได้ตั้งคาถาม
ที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลขึ้นอยู่กั บการควบคุม ของผู้หญิงในฐานะสัญลักษณ์ ผู้ใช้
แรงงาน ผู้ บ ริ โ ภค หรื อ ผู้ ป ลอบขวั ญ ทางด้ า นอารมณ์ (emotional comforter) อย่ า งไร
นอกจากนี้ Enloe ยังชี้ให้เห็นว่าเพศสภาพและผู้หญิงเป็นต้นเหตุของเศรษฐกิจการเมืองของ
โลก ดังจะเห็นจากงาน Globalization & Millitarism: Feminists Make the link ที่ชี้ให้เห็น
ว่าเพศสภาพเป็นต้นเหตุของแรงงานที่ราคาถูกลงในเศรษฐกิจ โลกและยังเป็นแรงกระตุ้น
เบื้องหลังการทาแรงงานให้เป็นหญิง (feminization of labour) ไปทั่วโลกอีกด้วย อีกทั้งการ
เติบโตทางเศรษฐกิจนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยการทาให้ชีวิตของผู้หญิงมีความไม่มั่นคง
งาน Sex Among Allies: Millitary Prostitution in US-Korea Relations ของ
Katherine Moon เป็นงานที่ศึก ษาเรื่ องโสเภณีเกาหลีใ ต้ใ นกองทั พและการศึก ษาว่ า เพศ
สภาพทาให้พันธมิตรทางทหารดาเนินไปอย่างราบรื่นโดยเฉพาะในระดับภาคพื้นดิน รัฐบาล
เกาหลีใต้ใช้บรรดาโสเภณีเหล่านี้เ ป็น “เครื่องมือดาเนินนโยบายต่างประเทศ” และถูกใช้เพื่อ
ความมั่นคงแห่งชาติโดยเป็นตัวประสานพันธมิตรทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลี
ใต้ในช่วงต้นของสงครามเย็น Moon ชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริก าและ
เกาหลีใต้ในการควบคุมร่างกายและพฤติกรรมกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ผ่านการตรวจโรคติดต่อทาง
เพศและการสอดส่องปฏิสัมพันธ์กับทหารที่เป็นลูกค้าเป็นตัวชี้วัดสถานะความสัมพันธ์ระหว่าง
ฐานทัพกับชุมชนและความเต็มใจของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่จะโอนอ่อนตามผลประโยชน์ของ
สหรัฐ โสเภณีเหล่านี้ถูกวาดภาพให้เป็น “ทูตส่วนบุคคล” ที่จะทาให้ทหารสหรัฐอเมริกายังคง

237
237 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ให้ความสาคัญกับเกาหลีใต้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติด้วยการขายเรือนร่างและรักษา
สุขภาพอนามัยของตนให้ปลอดจากโรค (Moon, 1997: 84,92 อ้างใน สรวิศ, 2555: 224)
โดยสรุปแล้วสิ่งที่ Moon ต้องการนาเสนอคือรัฐใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดงที่สร้างความมั่นคงให้กับ
ตนและการกระทาของรัฐเป็นไปด้วยกดขี่ผู้หญิง
ตัวอย่างงานชิ้นสุดท้ายที่จะนาเสนอในที่นี้ คือ การใช้มุมมองสตรีนิยมมองเรื่องการ
ทาสงคราม ดังปรากฎในงาน Gender Realtions as Casual in Militarization and War
ของ Cynthia Cockburn ที่ชี้ให้เห็นว่าเพศสภาพเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดสงคราม (Cockburn,
2010, 140 อ้างใน สรวิศ, 2555: 227-228) กล่าวคือ ความสัมพันธ์เชิงเพศสภาพแบบที่ผู้ชาย
เป็นใหญ่ทาให้สังคมของพวกเราแนวโน้มที่จะเกิดสงครามและเป็นแรงขับเคลื่อนที่ไม่รู้จักจบ
สิ้น มันเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดสงคราม สงครามมีขั้นตอนและกระบวนการที่ซับซ้อน
อี ก ทั้ ง กองทั พ เองโดยธรรมชาติจ ะยึด ถือ แนวคิ ด นิ ย มชายเป็น ใหญ่ ดั ง นั้ น เพศสภาพจึงมี
อิทธิพลต่อขั้นตอนของสงคราม เช่น การปลูกฝังให้ทหารเชื่อฟังและมีลักษณะของความเป็น
ชายเพื่อเตรียมพร้อมในการออกรบ และการสร้างศัตรู ให้ดูเป็นหญิง (effeminize) ในการ
กระทาชาเราผู้หญิงของรัฐศัตรูในยามสงครามและสันติ ดังนั้น Cockburn จึงจัดให้เพศสภาพ
เป็นมูลเหตุขั้นพื้นฐานของสงคราม โดยเฉพาะการสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสงคราม
เพศสภาพท าให้ เ รื่ อ งสงครามเป็ น เรื่ อ งที่ นึ ก คิ ด ได้ โ ดยการมองผ่ า นแนว คิ ด ทหารนิ ย ม
(millitarianism) และการทาให้เป็นทหาร (militarization)

10.5 ประเภทสตรีนิยมในควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

Jacqui True (2005) ได้จัดแบ่งประเภทของสตรีนิยมในความสัมพันธ์ระหว่าง


ประเทศที่มีความทับซ้อนกันออกเป็น 3 รูปแบบได้แก่ สตรีนิยมเชิงประจักษ์ (empirical
feminism) ซึ่งให้ความสาคัญกั บผู้หญิงและ (หรือ) สารวจเพศสภาพในเชิงประจักษ์ของ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สตรีนิยมเชิงวิเครำะห์ (analytical feminism)ซึ่งใช้เพศ
สภาพจั ด ประเภทเชิ ง ทฤษฎี เ พื่ อ ที่ จ ะแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง อคติ ท างเพศ (gender bias) ของ
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ และสตรี นิ ย มเชิ ง ปทั ส ถำน (normative feminism)ที่
สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการของการสร้างทฤษฎี (theorizing) ในฐานะส่วนประกอบของ
วาระทางปทัสถาน (a normative agenda) ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง
ส่ ว น J. Ann Ticker และ Laura Sjoberg (2013) ได้ แ บ่ ง สตรี นิ ย มออกเป็ น 5
ประเภทได้ แ ก่ สตรี นิ ย มเชิ ง เสรี ( liberal feminism) สตรี นิ ย มเชิ ง วิ พ ากษ์ (critical
feminism) สตรีนิยมเชิงสรรสร้าง (constructivist feminism) สตรีนิยมเชิงหลังโครงสร้าง

238
238
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

(poststructuralist feminism) และสตรีนิยมเชิงหลังอาณานิคม (postcolonial feminism)


ดังมีรายละเอียดดังนี้
สตรีนิยมเชิงเสรีนิยม มีแนวคิดพื้นฐานที่ยังคงใช้แนวทางการศึกษาของกลุ่มทฤษฎี
กระแสหลั ก มาเป็ น ฐานและเพิ่ ม “ผู้ ห ญิ ง ” และ “ประเด็ น ผู้ ห ญิ ง ” เข้ า สู่ ก ารศึ ก ษา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งแนวทางการศึก ษาเช่นนี้ยังใช้เนื้อหาสาระ วิธีการรวมทั้ง
ญาณวิ ท ยาแบบปฏิ ฐ านนิ ย ม (positivist epistimologies) และน าประเด็ น ผู้ ห ญิ ง ที่ ถู ก
เพิกเฉยและหลงลืมไปนั้นกลับเข้าสู่การศึกษา และพิจารณาแง่มุมที่หลากหลายของการกดขี่
ผู้หญิง (women’s subordination) ทั้งในรูปแบบเชิงเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สังคม
และสุขอนามัย นักวิชาการในกลุ่มนี้ศึกษาผลงานของผู้หญิงที่มีต่อสังคมและมุ่งสร้างงานของ
ตนให้มีคุณค่าต่อการเรียกร้องความเท่าเทียมกันให้บังเกิดขึ้นกับผู้หญิง
สตรีนิยมเชิงวิพำกษ์ เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากงานสายมาร์กซ์และทฤษฎีเชิง
วิพากษ์ (critical theory) เช่น Robert Cox นักวิชาการในกลุ่มนี้ให้ความสาคัญกับการรับรู้
ของคาว่า “เพศสภาพ” ที่มีบทบาทในนโยบายและการปฎิบัติต่างๆในโลก เพศสภาพใน
มุมมองเชิงวิพากษ์ถือเป็นโครงสร้างอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งก่อร่างประเด็นที่ว่า ชายและหญิงมี
ปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร และความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขานั้นถูกทาให้ซึมซับกับความไม่เท่า
เทียมกันทางอานาจ (power inequalities) อย่างไรนักสตรีนิยมเชิงวิพากษ์แสดงให้เห็นอีกว่า
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แสดงออกมาในรูปแบบของความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ (หรือทาง
วัตถุ) รวมทั้งการทารุณกรรมและการกดขี่ผู้หญิงอย่างไร
สตรีนิยมเชิงสรรสร้ำง เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีสรรสร้างนิยมที่ยังคง
ให้ความสาคัญกั บมุมมองทางความคิดมากกว่ามุมมองทางวัตถุในการศึกษาการเมืองโลก
นักวิชาการในกลุ่มนี้ให้ความสาคัญกับวิธีการที่ว่าความคิดเกี่ยวกับเพศสภาพ ‘สร้าง’และ ‘ถูก
สร้าง’ จากการเมืองโลก อีกทั้งยังสนใจในการค้นหาต้นเหตุของความคิดที่สร้างโลกแห่งเพศ
สภาพของเรา (our gendered world) เช่นเดียวกับในภาษาโดยผ่านในสิ่งที่ความคิดเหล่านี้
ถูกแสดงออกมา นักสตรีนิยมเชิงสรรสร้างศึก ษา de-naturalizing divisions ระหว่างเพศ
สภาพโดยการตรวจสอบความคิดที่อยู่เบื้องหลังการตีความ (construction) เหล่านี้และร้อง
ขอถึงประเด็นที่ว่า ความคิดเกี่ยวกับเพศสภาพของเรามาจากที่ใด และทาไมคววามคิดเหล่านี้
จึงถูกปรับเปลี่ยน
สตรีนิยมเชิงหลังโครงสร้ำง ถือเป็นแนวคิดสตรีนิยมที่มีขอบเขตกว้างโดยได้ตั้ง
คาถามในหลายแนวทางเพื่อ ให้ เ ราได้ พิจ ารณาโลกผ่า นภาษา ทฤษฎีและแนวทางที่ เ ป็ น

239
239 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

‘ศาสตร์ ’ ของการศึก ษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นัก วิชาการในสานัก นี้ใช้ความคิ ด


“เพศสภาพในฐานะอานาจ” ในสองลักษณะ กล่าวคือ
ประการที่หนึ่ง พวกเขาปรับความคิดพื้นฐานที่สุดของการกล่าวอ้างความรู้เชิงวัตถุ
ที่เกิดจากศาสตร์ในโลกตะวันตก ดังที่ Peterson (1992: 12-13cited in Daddow, 2009:
151) ชี้ให้เห็นว่าปรัชญาทางตะวันตกส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพื่อรักษาชนชั้นนาที่เป็นชายและสร้าง
ความเป็นตัวแทนภาพของประสบการณ์ของมนุษย์ทั้งมวล ความแตกต่างทางเพศถูกสร้าง
ขึ้นมาในเชิงวิชาการและการปฏิบัติทางนโยบาย อีกทั้งระเบียบโลกตะวันตกยังให้อภิสิทธิแก่
คุณภาพแห่งความเป็นชายเหนือกว่าคุณภาพแห่งความเป็นหญิง
ประการที่สอง เขาปรับความคิดต่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดย
การปรับวิธี ที่ “ภาษาของความสัม พั น ธ์ระหว่า งประเทศ” ได้สร้างคาคู่ ที่ ประดิ ษ ฐ์ ขึ้ น มา
(artificial binaries) เช่น ระเบีย บและอนาธิปไตย (order/anarchy) พัฒนาแล้วและด้อย
พั ฒ นา (developed/underdeveloped) ความมั่ น คงและไม่ มั่ น คง (secure/insecure)
รัฐและรัฐล้มเหลว (state/failed state) เป็นต้น นักวิชาการสตรีนิยมเชิงหลังโครงสร้างชี้ชวน
ให้เราเห็นนัยยะแห่งโลกความจริง (the real-world implications) ของสิ่งที่เป็นความโดด
เด่นของคาคู่ที่ประดิษฐ์ขึ้นมา พวกเขาต้องการที่จะเปิดเผยและรื้อสร้างลาดับขั้นเหล่านี้
สตรีนิยมเชิงหลังอำณำนิคม เป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองข้อเท็จจริง
ที่ว่าสตรีนิยมบางกลุ่มให้สาคัญกับประสบการณ์ของผู้หญิงจากวัฒนธรรมตะวันตกเพียงฝ่าย
เดียว แนวคิดนี้พยายามที่จะแสวงหาวิธี การเพื่อพิจารณาประเด็นที่ว่า การเหยียดเชื้อชาติ
(racism) และอิทธิพลจากลัทธิอาณานิคมอันยาวนานทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิ จ และ
วัฒนธรรมได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้หญิงที่มิใช่คนขาวและมิใช่ผู้หญิงจากโลกตะวันตกใน
โลกยุคหลังอาณานิคม สตรีนิยมเชิงหลังอาณานิคมเกิดขึ้นในฐานะการวิพากษ์ โดยกลุ่มนัก
ทฤษฎีสตรีนิย มจากประเทศก าลังพัฒนา การวิพากษ์ชี้ให้เห็นถึงความเฉพาะเจาะจงของ
ทฤษฎีสตรีนิยมกระแสหลักที่เหมารวมความเป็นสากลของผู้หญิงและเสนอว่าภาพของผู้หญิง
ในประเทศที่มิใช่ตะวันตกผิดจากความเป็นจริง กล่าวคือ “ความเข้าใจต่อสิ่งที่ผู้หญิงต้องการ
นั้นไม่มีความเป็นสากล ดังนั้น เราควรตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา
และชาติพันธุ์”

240
240
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ถึงแม้ว่าทฤษฎีสตรีนิย มจะเริ่มปรากฎตัวในแวดวงวิชาการมาตั้งแต่ทศวรรษที่
1960 แต่ก็ถือว่ามีผลต่อวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศค่อนข้างช้าแต่ก็สามารถจัด วาง
สร้างที่ทางของตนไว้ได้สาเร็จจนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้งนี้สตรี
นิยมมีมุมมองโลกแบบรื้อสร้างเพื่อมองว่าเพศสภาพโดยเฉพาะผู้หญิงมีผลต่อเศรษฐกิจและ
การเมืองโลก (ที่เป็นโลกที่ผู้ชายสร้างและครอบงา) อย่างไร

นักวิชำกำรสตรีนิยมในกำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ

J. Ann Tickner Cynthia Enloe Jacque True

Jean Bethke Elshtain Laura Sjoberg Christine Sylvester

241
241 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

บทส่งท้ำย
“One of the principal contributions that international relations theory can
make is not predicting the future but providing the vocabulary and
conceptual framework to ask hard questions of those who think that changing
the world is easy”

Jack Lewis Snyder

จากเนื้อหาทั้งหมดที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงแนวคิดและทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศไปแล้วนั้น ถือว่า “เป็นเพียงส่วนหนึ่ง” และ “ความรู้เบื้องต้น” ของกระแสธารของ
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่นับวันจะมีแต่การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่คาดเดาได้
ยากและมาไกลจากอดีตอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการปฐมบทแห่งวิชาที่เริ่มต้นด้วยแนวคิด
เชิงเสรีนิยมหรืออุดมคตินิยมที่พยายามตอบคาถามว่า “เราจะรักษาสันติภาพของโลกและ
ป้องกันการเกิดสงครามได้อย่างไร” จนต่อมาแนวคิดนี้ก็ถูกท้าทายโดยแนวคิดอันทรงอิทธิพล
มากสานักหนึ่งคือ สัจนิยมที่ต้องการจะตอบคาถามว่า “โลกเราเป็นอย่างไร อะไรคือความ
ขัดแย้ง” ตามสิ่งที่เราเห็นและเป็นอยู่ หากแต่กระแสแนวคิดทั้งสองข้างต้นก็ใช่ว่าตอบโจทย์
และอธิ บ ายความเปลี่ ย นแปลงในโลกได้ ทั้ ง หมด การศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งก็ เ ปิ ด
ประยุกต์และปรับพรมแดนความรู้ของตนเองอยู่ตลอดเวลาดังจะเห็นได้จากบทที่ 1 ที่ฉาย
ภาพการถกเถียงหรือวิวาทะระหว่างสานักคิดต่างๆอย่างสังเขป จะเห็นได้ว่ าไม่มีทฤษฎีใดที่
ดารงคงอยู่และทรงพลังยาวนานทั้งนี้ด้วยเพราะโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
ปัญหาหลายประการสาหรับผู้ที่ศึกษาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประสบ
พบเจอ คือ “เราจะประยุก ต์ทฤษฎีกั บเหตุก ารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างไร”
“ทฤษฎีนั้นเหมาะสมหรือไม่ ” หรือ “แท้จริงแล้ว ทฤษฎีที่มีอยู่สามารถใช้ได้กับเหตุก ารณ์ที่
เราสนใจหรือไม่” ปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาพื้นฐานสาหรับใครหลายคนที่มีเครื่องมืออยู่ใน
มื อ จ านวนหนึ่ ง แล้ ว แต่ จ ะใช้ มั น อย่ า งไร Jennifer Stering-Folker(2013) ได้ เ สนอวิ ธี ก าร
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ โดยกล่าวว่าหลังจากที่เราเข้าใจเนื้อหาหลักของแต่ละทฤษฎี
แล้ว เราควรเลือกที่จะนา 2 ทฤษฎีมาเป็นเครื่องมือเปรียบเทียบเหตุการณ์ระหว่า งประเทศ
เชิงประจักษ์ (empirical IR topic) โดยเราต้องเลือกหัวข้อที่เราสนใจ มีความรู้ความเข้าใจ
บ้างแล้วในระดับหนึ่งหรือมีผู้ศึก ษาไว้บ้างแล้วในอดีต แต่มีข้อควรระวังอยู่ 2 ประการคือ
ประการแรก อย่าใช้ทฤษฎีเป็นตัวตั้งต้น (starting point) สาหรับเรื่องที่เราสนใจ เพราะการ
กระทาเช่นนีจ้ ะก่อให้เกิดความโน้มเอียงว่าเราจะเลือกเรื่องที่เข้ากับทฤษฎีและแสดงว่าทฤษฎี

242
242
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

นั้นถูก ต้องอยู่เสมอ เสมือนเป็นกั บดัก ทางวิชาการที่ทาให้เราไม่สามารถใช้ทฤษฎีได้อย่าง


ถูกต้อง ทางที่ดีคือ เราควรมีหัวข้อที่เราสนใจแล้วจึงเลือกว่าทฤษฎีใดเหมาะสมในการอธิบาย
ประการที่สอง คือการเลือกหัวข้อที่เราสนใจนั้น ไม่ควรมีเนื้อหากว้างเกินไป เช่นหากเราสนใจ
ประเด็นการก่อการร้าย ศาสนากับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือโลกาภิวัตน์ นั้นหากเรา
ใช้มุมมองทางทฤษฎีเข้าไปศึกษา ถึงแม้ว่าจะเป็นหัวข้อที่น่าสนใจแต่ปัญหาที่สาคัญคือ มัน
กว้างมากจนเกินไป ทางที่ดีควรเลือกหัวข้อที่มีความเฉพาะเจาะจงลงไปเพื่อจะได้เลือกใช้
เครื่องมือทางทฤษฎีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการศึกษา เช่น หากสนใจเรื่องโลกาภิวัตน์ เรา
อาจจะเลือกหัวข้อ กรณีพิพาททางการค้าในองค์การการค้าโลก ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์
ในพื้นที่ที่เราสนใจ หรือหากสนใจศึกษาเรื่องศาสนากั บความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรา
อาจจะเลือกศึกษาบทบาทของคริสตจักรในการจัดการความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยอาจ
เป็นประเด็นทางด้านพื้นที่ หรือช่วงเวลาก็ได้ ซึ่งสรุปอย่างง่ายๆคือ เราควรเลือกเรื่องที่ “เล็ก”
แต่ “ลึก” ซึ่งจะดูเหมาะสมและมีประโยชน์มากกว่า เมื่อเลือกหัวข้อได้แล้ว ต่อมาสิ่งที่สาคัญ
ที่สุดคือ “อะไรคือสิ่งที่เราอยากจะรู้” เพื่อต้องใช้ทฤษฎีเป็นเครื่องทดสอบ จงถามตัวเองว่า
“อะไรคือสิ่งที่ ท าให้ หัว ข้อของเราน่า สนใจ” (what makes the topic interesting) และ
“อะไรทาให้มันเป็นปัญหา” (what makes it puzzling) อีก ทั้งเปรีย บเทีย บกับเหตุการณ์
อื่ น ๆแล้ ว ดู ค วามแตกต่ า ง โดยสรุ ป คื อ “ท าไมเหตุ ก ารณ์ ที่ เ ราสนใจถึ ง เป็ น เช่ น นี้ ” ทั้ ง ที่
เหตุการณ์ที่คล้ายๆกันมีความแตกต่างออกไป
ในส่วนการเลือกใช้ทฤษฎีที่เหมาะสม เมื่อเราได้หัวข้อและคาถามที่มีแล้ว เราควรที่
จะลองพิจารณาและทบทวนใจความสาคัญทฤษฎีในแต่ละสานัก และนักทฤษฎีว่าเป็นอย่างไร
แล้วย้อนกลับไปพิจารณาคาถามที่เราตั้งไว้และลองคาดการณ์ว่า “นักทฤษฎีเหล่านั้นจะตอบ
คาถามของเราได้อย่างไร” (how you think they would answer it) เขาเน้นเรื่องอะไร
อะไรคื อ ปั จ จั ย และตั ว แปรที่ เ ขาให้ ค วามส าคั ญ หรื อ อะไรที่ เ ค้ า เพิ ก เฉย เขาใช้ ร ะดั บ การ
วิเคราะห์แบบใด เขาเลือกยอมรับวิธีวิทยาแบบใด อะไรคือข้อสรุปที่เขาได้รับ คาตอบของ
ค าถามเหล่ า นี้ จ ะท าให้ เ ราเห็ น บริ บ ทที่ เ ราจะเลี ย นแบบการประยุ ก ต์ ท างทฤษฎี ใ นการ
วิเคราะห์ของเราได้อย่างไร25

สิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอสาหรับการเลือกใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือ
แม้ในทฤษฎีสานักเดียวกัน ก็ยังมีวิธีการวิเคราะห์และมุมมองที่ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น
หากเราเลือกใช้ทฤษฎีสัจ นิยมดั้งเดิมแนวใหม่ (neo-classical realism) ที่เน้นการอธิ บาย

25ศึกษาการเขียนบทความและวิธีวจ
ิ ัยเบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดูเพิ่มเติม Spray &
Roselle (2012)

243
243 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

ปัจจัยภายในประเทศว่าเป็นตัวแปรในกาหนดนโยบายต่างประเทศ หรืออธิบายปรากฎการณ์
ระหว่างประเทศ มาวิเคราะห์วิกฤตการณ์อิรักในปี 2003 แล้วเราอาจจะเลือกที่จะอธิบาย
วิ เ คราะห์ ถึ ง กลุ่ ม ที่ ป รึ ก ษาสายอนุ รั ก ษนิ ย มใหม่ (neoconservative advisers) หรื อ สาย
เหยี่ย วในรัฐบาลของ George W. Bush หรือ อาจจะวิเคราะห์ถึงบทบาทของแนวคิ ด ที่ ว่ า
สหรั ฐ อเมริ ก ามี ค วามเหนื อ กว่ า ชนชาติ อื่ น (American Exceptionalism) ในนโยบาย
ต่างประเทศก็ได้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือทฤษฎีเสรีนิยมเชิงสถาบัน (Institutional Liberalism) ที่
เน้นบทบาทของสถาบันระหว่างประเทศ หากเราใช้ทฤษฎีดังกล่าววิเคราะห์บทบาทของ
สถาบันระหว่างประเทศในวิกฤตการณ์อิรักข้างต้น เราอาจจะพบคาอธิบายต่อบทบาทของ
สถาบันระหว่างที่ร่วมกันลดกาลังอาวุธ (Iragi Disarmament) หรือในทางกลับกันอาจจะพบ
การใช้ทฤษฎีนี้อธิบายสถาบันระหว่างประเทศที่มีต่อการฟื้นฟูอิรัก (Iraqi reconstruction)
เป็นต้น
แนวคิดและทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยังมีอีกเป็นจานวนมากทั้งที่เป็น
ทฤษฎีหลัก ทฤษฎีทางเลือกและแนวคิดแยกย่อยอีกจานวนหนึ่ง ที่นักวิชาการพยายามพัฒนา
และปรับปรุง เพื่อตอบโจทย์โ ลกใบนี้ อีก ทั้งมีความพยายามที่จ ะสร้างทฤษฎีความสั ม พั น ธ์
ระหว่างประเทศให้ก้ าวข้า มจากความอเมริก าและยุโ รป (American IR & European IR)
(Jorgenson, 2010: 233-234) โดยการเริ่ ม ตั้ ง ค าถามว่ า เราจะสามารถสร้ า งแนวคิ ด และ
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากโลกตะวันออกได้หรือไม่ จนนาไปสู่การศึกษา การ
วิจารณ์และการนาเสนอทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มิได้มาจากโลกตะวันตก26
ทั้งนี้ผู้ศึกษาพึงระลึกเสมอว่าการยึดติดทฤษฎีใดอย่างเคร่งครัดจนไม่คานึงถึงความ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริบทต่างๆ ย่อมเป็นการอันตรายต่อการศึกษาเพราะจะทาให้เรา
ขาดการมองอย่างรอบด้าน แม้กระทั่งหน้าที่ของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็มิได้มี
หน้าที่เพื่อการอธิบายหรือทานายอีกต่อไป หากยังใช้ทฤษฎีเพื่อทาความเข้าใจ ตีความหรือใช้
เป็นภาพสะท้อนได้อีกด้วย อนึ่ง ผู้เขียนเองที่เมื่อปวารณาตนเป็น “นักเรียนรัฐศาสตร์ ” ก็
ยังคงต้องใช้เวลาในการศึกษาทฤษฎีจานวนมากและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามกระแส
โลกที่หมุนเร็วและแรงขึ้นทุกวัน ท้ายที่สุดนี้ หากหนังสือเล่มนี้สามารถ “จุดประกาย” ผู้อ่าน
ให้เปิดใจและพาตัวเองเข้าสูด่ ินแดนแห่งการศึกษาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ “น่า
ตระหนก ตื่ น เต้ น และตื่ น ตาตื่ น ใจ” อย่ า งแข็ง ขัน แล้ว ก็ นั บ ได้ ว่ า บรรลุ วั ต ถุป ระสงค์ ตาม
เจตนารมณ์ที่ผู้เขียนได้ตั้งใจไว้

26
ดูเพิ่มเติม Archaya & Buzan(eds)(2010), Chan (ed.)(1999)

244
244
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

รำยกำรหนังสืออ้ำงอิง

ภำษำไทย

ขจรศักดิ์ สิทธิ. (2555). หน่วยที่ 3 แนวคิดทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก.ใน


สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-7.นนทบุรี: สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ขจิต จิตตเสวี.(2552).องค์การระหว่างประเทศ: องค์การระหว่างประเทศในกระแสโลกาภิวัตน์และ
ภูมิภาคาภิวัตน์.กรุงเทพฯ: วิญญูชน
โคริน เฟื่องเกษม. (2548). แนวคิดและทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จิตติภัทร พูนขา. (2553). พินิจทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวสัจนิยมใหม่ (Neorealism):
ว่าด้วยความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกากับดุลแห่งอานาจในยุคหลังสงครามเย็น.วารสาร
สังคมศาสตร์, 41(1), 1-31.
จิตติภัทร พูนขา. (2556). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศแนววิพากษ์กุลลดา เกษบุญ
ชู มี้ด กับตาแหน่งแห่งที่ทางวิชาการในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.วารสาร
สังคมศาสตร์, 43(2),44-65
จุฑาทิพ คล้ายทับทิม. (2555).หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ:สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุลชีพ ชินวรรโณ.(2556).โลกในศตวรรษที่ 21 :กรอบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). แนะนาสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม.กรุงเทพฯ: สมมติ
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2556). ภาษากับการเมือง/ความเป็นการเมือง. กรุงเทพฯ:วิภาษา
ฑภิพร สุพร. (2555).ย้อนพินิจเหตุวินาศกรรม 9/11: ความ(ไม่)เชื่อถือต่อเรื่องเล่าขนาดใหญ่ของ
สหรัฐ.วิภาษา, 6(2),45-52
ฑภิพร สุพร.(2556). นีโอกรัมเชี่ยนและการขยายปริมณฑลทางความรู้ในทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ.วารสารสังคมศาสตร์, 9(2),121-144
นรุตม์ เจริญศรี.(2556).ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.เชียงใหม่: บีบุ๊ก ก๊อปปี้ปรินซ์
บรรพต กาเนิดศิริ.(2551).ประวัติศาสตร์การทูต:ตั้งแต่การประชุมเวียนนา ค.ศ.1815 จนถึงจุดเริ่มต้น
ของสงครามเย็นปี ค.ศ.1947.กรุงเทพฯ:คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัชรพล พุทธรักษา.(2552-2553). นีโอกรัมเชี่ยน (Neo-Gramscianism): ข้อควรพิจารณาในฐานะ
ทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศ. วิภาษา,3(7), 71-79

245
245 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

วัชรพล พุทธรักษา.(2553). นีโอกรัมเชี่ยน (Neo-Gramscianism): ข้อควรพิจารณาในฐานะทฤษฎี


การเมืองระหว่างประเทศ (จบ). วิภาษา,3(8), 67-70
วัชรพล พุทธรักษา.(2557). บทสารวจความคิดทางการเมืองของอันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพฯ: สมมติ
วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์.(2555). หน่วยที่ 5 แนวคิดทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางเลือก
ใหม่ ใน สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์. (2557). หน่วยที่ 4 กลุ่มแนวคิดทฤษฎีมาร์กซิสต์. ใน เศรษฐกิจและการเมือง
ระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-5.นนทบุรี:สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์.(2529).แนวทางการวิเคราะห์ทฤษฎีการเมือง.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
รามคาแหง
ศาสตร์ ชัยวรพร.(2548). แนวคิดหลังสมัยใหม่กับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ศึกษางาน
ของริชาร์ด เคแอชลีย.์ วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศุทธาวีร์ ลีสวรรค์.(2552). แนวความคิดผลประโยชน์แห่งชาติในทฤษฎีสัจนิยมของฮานส์ มอร์
เกนธอ. รัฐศาสตร์สาร, 30(1), 113-179
ศุภมิตร ปิติพัฒน์.(2548).ไม่มีความสมานฉันท์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.วารสารสังคมศาสตร์
36(1), 130-164
ศุภมิตร ปิติพัฒน์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: พัฒนาการและความก้าวหน้าขององค์
ความรู้.งานวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐ
ประศาสนศาสตร์ สานักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ ปี 2550
สมบัติ จันทรวงศ์. (2547). เจ้าผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: คบไฟ
สมพงศ์ ชูมาก. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคปัจจุบัน (ทศวรรษ 1990 และแนวโน้ม).
กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สรวิศ ชัยนาม. (2555). จากปฏิวัติถึงโลกาภิวัตน์: ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกเชิงวิพากษ์ผา่ นสื่อ
ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ศยาม
สีดา สอนศรี.(2557). ความร่วมมือส่วนภูมิภาคแนวใหม่ สาหรับประชาคมอาเซียน.มหาสารคาม:
โครงการผลิตตารา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สุรชัย ศิริไกร.(2525).แนวความคิดทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ใน สมบัติ จันทรวงศ์
(บ.ก.), รัฐศาสตร์: สถานภาพและพัฒนาการ.กรุงเทพฯ : บรรณกิจ
อนุสรณ์ ลิ่มมณี.(2550).ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองยุคปัจจุบัน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคาแหง

246
246
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

ภำษำอังกฤษ
Achaya, A. & Buzan, B. (Eds.) (2010). Non-Western International Relations Theory:
Perspectives on and beyond Asia. New York: Routledge
Adler, E. (2005). Barry Buzan’ Use of Constructivism to Reconstruct the English
School: ‘Not All the Way Down’. Millennium: Journal of International
Studies, 34(1): 171-182
Art, R. & Jervis, R. (2010). International Politics: Enduring Concepts and
Contemporary Issues. New York: Pearson
Ashley, R. (1989). Living on Border Lines: Man, Poststructuralism, and War. In Der
Darian, J. & Shapiro, M.J. (Eds.) International/Intertexual Relations:
Postmodern Readings of World Politics. New York: Lexington Books, pp.
259-321
Barnett, M. & Finnamore, M. (2004). The Power of Liberal International Organizations.
In Barnett, M. & Duvall, R. (Eds.). Power in Global Governance. Cambridge:
Cambridge University Press
Baylis, J. & Smith, S. (Eds.). (2001). The Globalization of World Politics: An
Introduction to International Relations. Oxford: Oxford University Press
Betts, R.K. (ed.) (2002). Conflict after The Cold War: Arguments on Causes of War
and Peace. New York: Pearson
Boucher, D. (1998). Political Theories of International Relations: From Thucydides to
the present. New York, Oxford University Press
Brown,C. & Ainley, K. (2005). Understanding International Relations. New York:
Palgrave Macmilan
Brown, C., Nardin, T. & Rengger, N. (2012). International Relations in Political
Thought: Texts from the Ancient Greeks to the First World War. Cambridge:
Cambridge University Press
Bull, H. (2002). The Anarchical Society: A study of Order in World Politics. New York:
Palgrave.
Burchill, S. and Linklater, A. (Eds.) (2005). Theories of International Relations.
Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Buzan, B. (2004). From International to World Society? : English School Theory and
the Social Structure of Globalization. Cambridge: Cambridge University
Press

247
247 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

Buzan, B. (2014). An Introduction to the English School of International Relations:


The Societal Approach. Cambridge: Polity Press.
Campbell, D. (2010). Poststucturalism. In Dunne, T., Kurki, M. & Smith,S. (eds.).
International Relations Theories: Discipline and Diversity. Oxford: Oxford
University Press.
Caso, F & Hamilton, C. (Eds.) (2015). Popular Culture and World Politics: Theories,
Methods, Pedagogies. Bristol: E-International Relations Publishing
Cerny, P.G. (2010).Rethinking World Politics: A Theory of Transnational
Neopluralism.New York: Oxford University Press.
Chan, G. (ed) (1999). Chinese Perspectives on International Relations: A Framework
for Analysis. Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Checkel, J.F. (2008) Constructivism and Foreign Policy. In Smith,S. Hadfield A. &
Dunne, T. (Eds.) Foreign Policy: Theories. Actors. Cases. Oxford: Oxford
University Press.
Chelu, D. (2008). What is the Future for IR Theory? Does it need a Radical Review?
Journal of Politics and Law, 1(2): 64-67
Cox. R.W. (1981). Social forces, states, and world orders: Beyond international
relations theory. Journal of International Studies. 10(1): 126-155
Cox. R.W. (1983). Gramsci, hegemony, and international relations: An essay in
method. Journal of International Studies. 10(1): 126-155
Daddow, O. (2009).International Relations Theory. California: SAGE Publications Ltd.
Devetak, R. (2005). Postmodernism. In Burchill, S. and Linklater, A. (eds.). Theories of
International Relations. Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Diez, T., Bode, I. & Da Costa, A. F. (2011). Key Concepts in International
Relations.London: Sage Publications Ltd.
Dougherty, J. E. & Pfaltzgraff, R. L. (1990). Contending Theories of International
Relations: A Comprehensive Survey.New York: Longman
Doyle, M.W. (1986). Liberalism and World Politics. The American Political Science
Review. 80(4); 1151-1169
Dunne, T. (2011). Liberalism. In Baylis, J. & Smith, S. (Eds.).The Globalization of World
Politics: An Introduction to International Relations. Oxford: Oxford
University Press
Dunne, T., Kurki, M. & Smith,S. (Eds.) (2013). International Relations Theories:
Discipline and Diversity. Oxford: Oxford University Press.

248
248
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

Dunne, T. & Schmidt, B.C. (2011). Realism. In Baylis, J. & Smith, S. (Eds.).The
Globalization of World Politics: An Introduction to International Relations.
(5 ed., pp. 84-99). Oxford: Oxford University Press
Elman, C. (2004). Extending Offensive Realism: The Louisiana Purchase and America’s
Rise to Regional Hegemony. The American Political Science Review. 98(4):
563-576
Grieco, J. (1988). Anarchy and the limits of cooperation: a realist critique of the
newest liberal institutionalism. International Organization. 42(3): 285-507
Griffiths, M. (eds.) (2007).International Relations Theory for the Twenty-First Century:
An Introduction. New York: Routledge.
Griffiths, M., Roach, S.C & Soloman, M.C (eds.) (2009). Fifty Key Thinkers in
International Relations. New York: Routledge
Hansen, L. (1997). R.B.J. Walker and International Relations: deconstructing a displine.
In Neumann, I.B & Waever, O. (Eds). The Future of International Relations:
Masters in Making? London: Routledge
Hansen, L. (2011). Poststructuralism. In Baylis, J. & Smith, S. (Eds.).The Globalization
of World Politics: An Introduction to International Relations. Oxford:
Oxford University Press
Heywood, A. (2011). Global Politics. New York: Palgrave
Hobden, S. & Jones, R. W. (2011). Marxist theories of international relations. In
Baylis, J. & Smith, S. (Eds.).The Globalization of World Politics: A
Introduction to International Relations. Oxford: Oxford University Press
Hoffman, S. (1963). Rousseau on War and Peace. The American Political Science
Review. 57(2): 317-333
Ikenberry, G.J. (2001). After Victory: Institutions, Strategic Restraint, and the
Rebuilding of Order after Major Wars. New Jersy: Princeton University
Press
Ikenberry, G.J. (2009). Liberal Internationalism 3.0: America and the Dilemmas of
Liberal World Order. Perspective on Politics. 7(1): 71-87
Ikenberry, G.J. (2011). Liberal Leviathan: The origins, crisis, and transformation of
American world order. New Jersy: Princton University Press.
Jackson, R. & Sorenen, G. (2013). Introduction to International Relations: Theories
& Approaches. Oxford: Oxford University Press.

249
249 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

Jorgensen, K.E. (2010). International Relations Theory: A New Introduction.


Hampshire, Palgrave Macmillan
Kang, D. (2007). China rising: peace, power and order in East Asia. New York:
Columbia University Press.
Keohane, R. O. (1984). After Hegemony: Cooperation and Discord in the World
Political Economy. New Jersy, Princeton University Press.
Keohane, R. O. (2002). Power and Governance in a Partially Globalized World.
London: Routledge.
Keohane, R. O. & Nye, J.S. (2011). Power and Interdependence. London: Longman
Krasner, S.D. (ed.) (2001). Problematic Sovereignty: Contested Rules and Political
Possibilities. New York: Columbia University Press.
Kurki, M. & Wight, C. (2013). International Relations and Social Science. In Dunne, T.,
Kurki, M. & Smith, S. (Eds.). International Relations Theories: Discipline and
Diversity. Oxford: Oxford University Press.
Lake, D.A. (2013). Theory is dead, long live theory: The end of the Great Debates and
the rise of eclecticism in International Relations. European Journal of
International Relations, 19(3): 567-587
Lamy, S. L. (2011). Contemporary mainstream approaches: neo-realism and neo-
liberalism. In Baylis, J. & Smith, S. (Eds.). The Globalization of World
Politics: An Introduction to International Relations. Oxford: Oxford
University Press
Langridge, C. (2013). “Liberalism: Another Tool of Western Hegemony” Oct 31.
Available online at http://www.e-ir.info/2013/10/30/liberalism-another-
tool-of-western-hegemony
Lapid, Y. (1989). The Third Debate: On the Prospects of International Theory in a
Post-Positivist Era. International Studies Quarterly. 33(3): 235-254
Lindemann, B. A. (2014). Cross-Strait Relations and International Organizations
Taiwan’s Participation in IGOs in the Context of Its Relationship with China.
New York: Springer
Linklater, A. & Suganami, H. (2006).The English School of International Relations:
A Contemparary Reassessment. Cambridge: Cambridge University Press
Liu, Q. (2010). China’s Rise and Regional Strategy: Power, Interdependence and
Identity. Journal of Cambridge Studies. 5(4): 76-92

250
250
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ความรู้เบื้องต้น

Lobell, S. E., Ripsman, N. M. and Taliaferro, J. W. (2009). Neoclassical Realism, the


State, and Foreign Policy. Cambridge: Cambridge University Press
Mearsheimer, J. J. (2001). The Tragedy of Great Power Politics. New York: W.W.Norton
Neumann, I.B & Waever, O. (Eds). The Future of International Relations: Masters in
Making? London: Routledge
Nye, J. (2011). The Future of Power. New York: Public Affair.
Nye, J. & Welch, D. A. (2011). Understanding Global Conflict and Cooperation:
An introduction to theory and history. New York: Pearson
Pape, R.A. (2005). Soft Balancing against the United States. International Security,
30(1), 7-45
Paul, T.V, Wirtz, J. J. & Fortmann, M. (2004).Balance of Power: Theory and Practice in
21th Century. California: Standford University Press
Phillips, A. (2011). War, Religion and Empire: The Transformation of International
Order. New York: Oxford University Press
Salmon, T.C & Imber, M.F. (Eds.) (2008). Issues in International Relations. New York:
Routledge.
Spray, S. & Roselle, L. (2012). Reseach and Writing in International Relations.
New York: Longman.
Stean, J., Pettiford, L., Diez, T. & El-Anis, I. (2010). An Introduction to International
Relations Theory: Perspectives and Themes. Essex: Pearson.
Synder, J. (2004). One World, Rival Theories. Foreign Policy. 145: 53-62
Tickner, J.A. (1988). Hans Morgenthau’s Principles of Political Realism: A Feminist
Reformulation. Millennium. 17(3): 429-440.
Tickner, J.A. & Sjoberg, L. (2013). Feminism. In Dunne, T., Kurki, M. & Smith,S. (Eds).
International Relations Theories: Discipline and Diversity. Oxford: Oxford
University Press.
True, J. (2005). Feminism. In Burchill, S. and Linklater, A. (Eds.). Theories of
International Relations. Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Vasquez, J.A. (1995). Classics of International Relations. Upper Saddle River: Prentice
Hall
Viotti, P.R. & Kauppi, M.V. (2012). International Relations Theory. New York: Longman
Waever, O. (1996). The rise and fall of the inter-paradigm debate. in International
Theory: Positivism and beyond. Smith, S. Booth, K. & Zalewski, M. (Eds.)
Cambridge: Cambridge University Press.

251
251 ศิวพล ชมภูพันธุ์
International Relations Theory: An Introduction

Walker, R.B.J. (1993). Inside/Outside: InternationalRelations as Political Theory.


Cambridge: Cambridge University Press.
Wallerstein, I. (2004). World-System Analysis: An Introduction. New York: Duke
University Press.
Walt, S.M. (1998). International Relations: One World, Many Theories. Foreign Policy,
110; 29-46
Waltz, K. (1979). Theory of International Politics. New York: Random House
Weber, C. (2010). International Relations Theory: A critical Introduction. London:
Routledge.
Wendt, A. (1992). Anarchy is what the states make of it: The social construction of
power politics. International Organization, 41: 391-425
Wendt, A. (1999). Social Theory of International Politics. Cambridge: Cambridge
University Press.
Wight, M. (1992). International Theory: The Three Traditions. New York: Homes &
Meier
Yurdusev, A.N. (2006). Thomas Hobbes and international relations: from realism to
rationalism. Australian Journal of International Affairs. 60(2): 305-321
Zehfuss, M. (2004). Constructivism in International Relations: The Politics of Reality.
Cambridge: Cambridge University Press

252
252
ประวัติผู้เขียน
ประวัติผู้เขียน
อาจารย์ศิวพล ชมภูพันธุ์
อาจารย์ประจาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

การศึกษา :
รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภูมิภาคศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานทางวิชาการ
 วิ ท ยานิ พ นธ์ “การแข่ง ขัน ระหว่ า งจี น กับ อิ น เดี ย ในเขตภาคพื้ น ทวีป
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังยุคสงครามเย็น” หลักสูตรศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต (ภูมิภาคศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาเชียงใหม่ ปี 2551
 บทความ “อิ น เดี ย : ความท้ าทายต่อจี นในอนุภูมิ ภาคลุ่ มแม่น้าโขง”
น าเสนอในที่ประชุ ม การประชุม รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
แห่งชาติ ครั้งที่ 9 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 บทความ “เพราะการศึกษาคือการสอบ คาตอบอยู่ที่กวดวิชา: โรงเรียน
กวดวิ ช ากั บ สั ง คมจั ง หวั ด ล าปาง” ใน วารสารมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละ
สังคมศาสตร์, 2(2), 64-85

ความสนใจทางวิชาการ
 ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 บทบาทมหาอานาจกับเศรษฐกิจและการเมืองโลก
 เอเชียใต้ศึกษา

253

You might also like