You are on page 1of 140

ชุดที่ 4

เอกสารชุดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

เล่มที่ 3
เทคนิค วิธีการและสื่อ
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารชุดแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้



ชุดที่ 4
เทคนิค วิธีการและสื่อสำหรับ
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
เล่มที่ 3












สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เทคนิค วิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์ เล่มที่ 3
ผู้จัดพิมพ์ กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
จำนวนพิมพ์ 2,500 เล่ม
ปีที่พิมพ์ 2554
ISBN 978-616-202-382-8

คำนำ

เอกสารชุด “แนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้”
นี้ ได้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยในครั้งนั้นได้จัดทำเป็นเอกสาร 5 เล่ม คือ
เล่ ม ที่ 1 ความรู้ พื้ น ฐานและแนวทางพั ฒ นานั ก เรี ย นที่ มี ค วามบกพร่ อ งทางการเรี ย นรู้ เล่ ม ที่ 2
การเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เล่มที่ 3 เทคนิค วิธีการและ
สื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่มที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน และเล่มที่ 5 เทคนิค วิธีการและสื่อ
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยที่ผ่านมาพบว่าเอกสารชุด

ดังกล่าว เป็นประโยชน์กับครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนที่มี
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
อย่ า งไรก็ ต ามเพื่ อ ให้ เ อกสารชุ ด นี้ มี ค วามเป็ น ปั จ จุ บั น และมี ค วามสมบู ร ณ์ ม ากยิ่ ง ขึ้ น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงเห็นควรปรับปรุงเอกสารดังกล่าว โดยในการปรับปรุง
ครั้งนี้ นอกจากความเหมาะสมของเทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทาง

การเรียนรู้แล้ว ยังได้คำนึงถึงความสะดวกของครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ด้วยเป็นสำคัญ

ด้วยเหตุนี้จึงได้จัดพิมพ์เอกสารชุดนี้ออกเป็น 1 เล่มกับอีก 4 ชุด เพื่อให้เอกสารแต่ละเล่มมีขนาด


ไม่หนาจนเกินไป โดยประกอบด้วยเอกสารต่าง ๆ ดังนี้

เอกสาร ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
เอกสารชุดที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ประกอบด้วยเอกสาร 2 เล่ม
เอกสารชุดที่ 2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านการอ่าน ประกอบด้วยเอกสาร 6 เล่ม
เอกสารชุดที่ 3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านการเขียน ประกอบด้วยเอกสาร 3 เล่ม
เอกสารชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยเอกสาร 5 เล่ม

สำหรับเอกสารนี้เป็นเล่มที่ 3 ในเอกสารชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่
มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งในเอกสารจะกล่าวถึงสภาพปัญหา แนวทาง
พัฒนา เทคนิควิธีการและสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และแบบฝึก ที่จะนำ
ไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในการนำไปใช้ครูผู้สอน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจพิจาณาปรับเปลี่ยนได้
ตามความเหมาะสม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสาร
ชุดนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง

ทุกระดับซึ่งจะได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้อย่าง

เหมาะสม กล่าวคือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้แต่ละคนจะได้รับการช่วยเหลือและ

ส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพซึ่งย่อมส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิต
ของผู้เรียน



(นายชินภัทร ภูมิรัตน)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สารบัญ



เรื่อง หน้า

คำนำ
สารบัญ
บทนำ
ความสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์.............. 1
ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้................... 2
จุดประสงค์ในการพัฒนาการเรียนรู้ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์....................................................................................................... 3
ปัญหาและเทคนิคการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์....................................................................................................... 4
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์....................................................................................................... 9
วิธีใช้เทคนิค วิธีการและสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์.................................................................................. 9
การวัดและประเมินผล.............................................................................................................. 11
การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์................................................................................. 11
สรุปแนวทางการพัฒนานักเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์....................................................................................................... 12

กิจ กรรมการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์
ปัญหาที่ 11. การคูณ............................................................................................................ 14
กิจกรรมที่ 1 นับเพิ่ม........................................................................................ 15
กิจกรรมที่ 2 ฝาแฝดออมทรัพย์........................................................................ 20
กิจกรรมที่ 3 มาคูณกันเถอะ............................................................................. 24
กิจกรรมที่ 4 ผลไม้ที่ฉันชอบ............................................................................. 29
กิจกรรมที่ 5 คูณโดยตาราง.............................................................................. 33
กิจกรรมที่ 6 คูณแบบ Touch math.................................................................. 43
กิจกรรมที่ 7 ฉันไปซื้อของ................................................................................ 49

เรื่อ ง หน้า

ปัญหาที่ 12. การหาร.............................................................................................................. 54
กิจกรรมที่ 1 ความหมายของการหาร.................................................................. 55
กิจกรรมที่ 2 ความสัมพันธ์การคูณกับการหาร..................................................... 61
กิจกรรมที่ 3 โจทย์ปัญหาการหาร........................................................................ 66
กิจกรรมที่ 4 แผนที่ความคิดพิชิตการหาร............................................................ 72
กิจกรรมที่ 5 การหารเลขคณิตแบบตาราง............................................................ 77
ปัญหาที่ 13. การบวกลบเศษส่วน........................................................................................... 84
กิจกรรมที่ 1 เศษส่วนสดใสด้วยสีสัน.................................................................. 85
กิจกรรมที่ 2 มาบวกเศษส่วนกันเถอะ.................................................................. 90
กิจกรรมที่ 3 ไม่เท่ากันก็บวกได้........................................................................... 93
กิจกรรมที่ 4 ลบเศษส่วนกันเถอะ........................................................................ 98
กิจกรรมที่ 5 ไม่เท่ากันก็ลบได้............................................................................. 100

บรรณานุกรม......................................................................................................................... 103
ภาคผนวก............................................................................................................................. 105
การสอนด้วยวิธี Touch Math.............................................................................. 106
ตัวอย่างสื่อสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์.............. 118
คณะทำงาน............................................................................................................................ 129




บทนำ

ความสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์

ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability : LD) หรือ แอลดี หมายถึง
ความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งอย่างทางกระบวนการพื้นฐานทาง
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา การพูด การเขียน ซึ่งอาจแสดงออก
ถึ ง ความบกพร่ อ งในความสามารถทางการฟั ง การคิ ด การพู ด การอ่ า น การเขี ย น

การสะกดคำ หรือการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ความบกพร่องทางการเรียนรู้นับเป็น


ประเภทของความพิการหรือบกพร่องที่พบมากที่สุดในประชากรวัยเรียน โดยคิดเป็น
ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรวัยเรียน และคิดเป็นประมาณร้อยละ 50 ของจำนวน
นักเรียนที่มีความพิการหรือบกพร่องทุกประเภทรวมกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน
สำหรับเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นเด็กที่มีสติปัญญาปกติ ถ้าหากครูผู้สอนไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความบกพร่องและลักษณะของปัญหาที่เด็กประสบแล้ว ย่อมส่งผลให้การจัดการเรียนการ
สอนไม่ตอบสนองต่อการเรียนรู้และสภาพความบกพร่องที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา และ
ยังอาจส่งผลให้เด็กเหล่านี้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งอาจมีปัญหาพฤติกรรมหรือ
ปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เป็นนามธรรม และประกอบด้วยสัญลักษณ์ ดังนั้น
อาจยากต่อการเรียนรู้และเข้าใจ โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน
รู้ด้านคณิตศาสตร์ อาจมีลักษณะความบกพร่องด้านดังกล่าวแตกต่างกันไป เช่น เด็กบาง
คนมีปัญหาในการรับรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์ หรือ
เด็กบางคนมีปัญหาในการอ่านก็อาจส่งผลในการทำโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นต้น โดย
ความรุนแรงของปัญหาในด้านการเรียนคณิตศาสตร์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงเห็น
ความสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

โดยมุ่ ง หวั ง จะให้ เ กิ ด ความเสมอภาคทางการศึ ก ษาและให้ เ ด็ ก เหล่ า นี้ ไ ด้ เ รี ย นรู้ อ ย่ า งมี


ประสิทธิภาพเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป จึงได้จัดทำเอกสารวิธีการและสื่อการเรียนรู้สำหรับ
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการ
ให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์

1
ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่พบได้ในโรงเรียน
ทั่วไป จะมีความยากลำบากในเรื่องต่อไปนี้
1. ความคิ ด รวบยอดพื้ น ฐานทางคณิ ต ศาสตร์ เช่ น เรื่ อ งขนาด ความยาว

น้ำหนัก ทิศทาง ตำแหน่ง รูปเรขาคณิต เวลา พื้นสัมผัส สี ลักษณะเส้น การจำแนก

การเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ จำนวน เป็นต้น


2. ระบบจำนวน เช่น ค่าและความหมายของจำนวน ค่าประจำหลัก การกระจาย
จำนวนตามค่าประจำหลัก เป็นต้น
3. ขั้ น ตอนกระบวนการในการคิ ด คำนวณ เช่ น ไม่ ส ามารถจำและหรื อ เขี ย น
สัญลักษณ์แทนการกระทำทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอนในการบวก ลบ คูณ หาร การทดและ
การกระจายจำนวนในการลบ เป็นต้น
4. การนำทักษะทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียงลำดับที่ของ
ขนาด จำนวน การบอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัด เป็นต้น
5. การนับจำนวน การจำแนกตัวเลข จำนวนที่คล้ายคลึงกัน การบอกค่าของ
ตัวเลขในจำนวนต่างๆ การอ่านจำนวนที่มีหลายหลัก
6. ภาษาคณิตศาสตร์ เช่น การบอกสัญลักษณ์ การบวก การเปรียบเทียบ ขนาด
ตำแหน่ง ทิศทาง เวลา น้ำหนัก ส่วนสูง ความยาว เป็นต้น
7. ข้อเท็จจริงพื้นฐานของจำนวน เช่น ไม่เข้าใจว่า 7 น้อยกว่า 15 เป็นต้น
8. การบอกความเหมือนหรือความต่างกันของวัตถุสิ่งของ รูปภาพ จำนวนที่

เท่ากันหรือต่างกัน
9. การเรียงลำดับจำนวน จากมากไปหาน้อย หรือน้อยไปหามาก
10. การเขียน ตัวเลขกลับทิศทาง เช่น 6-9, 3-8, 1-7, 12 -21
11. การรับรู้ทางการได้ยินตัวเลข โจทย์ และคำถามทางคณิตศาสตร์ ทำให้ตอบ

ไม่ตรงคำถาม
12. การเขียนหลงบรรทัด
13. การใช้เส้นจำนวน
14. การนับเรียงวันใน 1 สัปดาห์ เดือนใน 1 ปี
15. การนับเพิ่ม การนับลดครั้งละเท่าๆ กัน

2
16. การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
17. การจำแนกรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ
18. การหาความสั ม พั น ธ์ ข องแบบรู ป เช่ น แบบรู ป ที่ เ ป็ น รู ป ภาพ จำนวน สี
สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
19. การอ่าน แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง กราฟ แผนผังและทิศทาง
20. การหาเหตุผลเชิงปริมาณ

จุดประสงค์ในการพัฒนาการเรียนรู้ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ
เรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

1. เพื่ อ ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งมี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ นั ก เรี ย นที่ มี ค วามบกพร่ อ ง
ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
2. เพื่อให้ครูผู้สอนได้แนวทางในการแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ
เรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
3. เพื่อให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีพัฒนาการ
ในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3
ปั ญ หาและเทคนิ ค การแก้ ปั ญ หาสำหรั บ นั ก เรี ย นที่ มี ค วามบกพร่ อ ง
ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา
1. จำนวนและ 1. การบอกค่าและความหมายของ กิจกรรมที่ 1 จำนวนอะไรเอ่ย
การดำเนินการ จำนวนนับ กิจกรรมที่ 2 หยิบ 1,2,3…
กิจกรรมที่ 3 ฉันหยิบได้
กิจกรรมที่ 4 คู่หนูอยู่ไหน
2. การจำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ กิจกรรม จำฉันได้ไหม
3. การจำแนกตัวเลขที่คล้ายกัน กิจกรรมที่ หาคู่ให้หนูหน่อย
4. การนับเรียงลำดับจำนวน กิจกรรมที่ 1 ฉันนับได้
กิจกรรมที่ 2 เปรียบเทียบจำนวน
กิจกรรมที่ 3 เรียงเลขต่อกัน
5. การจำและเขียนตัวเลขแทนจำนวน กิจกรรมที่ 1 เติมให้เต็ม
กิจกรรมที่ 2 ร่องตัวเลข
6. การอ่านและเขียนจำนวนที่มีหลายหลัก กิจกรรมที่ 1 สีมหัศจรรย์
กิจกรรมที่ 2 มัดครบสิบ
7. การบวกจำนวนที่มีหนึ่งหลักและ กิจกรรมที่ 1 ใบไม้นำโชค
สองหลัก กิจกรรมที่ 2 การบวกเลขโดยการ
สัมผัส
กิจกรรมที่ 3 บวกง่ายนิดเดียว
กิจกรรมที่ 4 ผลบวกน้อยกว่า 10
กิจกรรมที่ 5 ผลบวกน้อยกว่า 20
กิจกรรมที่ 6 การบวกแนวตั้งไม่มี
การทด
กิจกรรมที่ 7 การบวกจำนวน
สองหลักที่มีการทด
กิจกรรมที่ 8 การทดด้วยลูกคิด

4
สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา
8. การเขียนประโยคสัญลักษณ์และหา กิจกรรมที่ 1 คำที่มีความหมาย
คำตอบจากโจทย์ปัญหาการบวกง่ายๆ กิจกรรมที่ 2 ปัญหาพาสนุก
9. การลบจำนวนที่มีหนึ่งหลักและ กิจกรรมที่ 1 เหลือเท่าไร
สองหลัก กิจกรรมที่ 2 ดาวกระจาย
10. การเขียนประโยคสัญลักษณ์และหา กิจกรรมที่ 1 เกมใบ้คำ
คำตอบจากโจทย์ปัญหาการลบง่ายๆ กิจกรรมที่ 2 ลบหรรษาพาสนุก
11. การคูณ กิจกรรมที่ 1 นับเพิ่ม
กิจกรรมที่ 2 ฝาแฝดออมทรัพย์
กิจกรรมที่ 3 มาคูณกันเถอะ
กิจกรรมที่ 4 ผลไม้ที่ฉันชอบ
กิจกรรมที่ 5 คูณโดยตาราง
กิจกรรมที่ 6 คูณแบบ Touch Math
กิจกรรมที่ 7 ฉันไปซื้อของ
12. การหาร กิจกรรมที่ 1 ความหมายของ
การหาร
กิจกรรมที่ 2 ความสัมพันธ์การคูณ
กับการหาร
กิจกรรมที่ 3 โจทย์ปัญหาการหาร
กิจกรรมที่ 4 แผนที่ความคิดพิชิต
การหาร
กิจกรรมที่ 5 การหารเลขคณิต
แบบตาราง
13. การบวกลบเศษส่วน กิจกรรมที่ 1 เศษส่วนสดใสด้วย
สีสัน
กิจกรรมที่ 2 มาบวกเศษส่วน
กันเถอะ
กิจกรรมที่ 3 ไม่เท่ากันก็บวกได้
กิจกรรมที่ 4 ลบเศษส่วนกันเถอะ
กิจกรรมที่ 5 ไม่เท่ากันก็ลบได้

5
สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา
2. การวัด 14. การเรียงลำดับวันในสัปดาห์ การเรียง กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมวันใดมาก่อน
ลำดับเดือนในรอบปี กิจกรรมที่ 2 เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้
กิจกรรมที่ 3 เดือนใดมาก่อนหลัง
กิจกรรมที่ 4 เดือนที่ผ่านมา เดือนนี้
เดือนต่อไป
กิจกรรมที่ 5 เวลานี้เวลาอะไร
15. การบอกตำแหน่งและทิศทาง กิจกรรมที่ 1 ฉันอยู่ที่ไหนเอ่ย
กิจกรรมที่ 2 เธออยู่ไหน
กิจกรรมที่ 3 โบนัสจัดห้อง
กิจกรรมที่ 4 ทางเดินมหัศจรรย์
กิจกรรมที่ 5 ไปทางไหนจ๊ะ
กิจกรรมที่ 6 ทิศเหนือ ทิศใต้
ทิศไหนบอกมา
16. การเปรียบเทียบขนาดของวัตถุหรือ กิจกรรมที่ 1 สิ่งที่มีความหมาย
สิ่งของและรูปภาพ กิจกรรมที่ 2 ภาพนี้มีความหมาย
กิจกรรมที่ 3 ต่อให้เป็น
กิจกรรมที่ 4 มาเปรียบเทียบกัน
นะจ๊ะ
17. การชั่งและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่ 1 ตาชั่งวิเศษ
กิจกรรมที่ 2 ตาชั่งมหัศจรรย์
18. การตวงและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่ 1 ตวงน้ำหรรษา
กิจกรรมที่ 2 ตวงน้ำมหาสนุก
19. การวัดและการนำไปใช้ในชีวิต กิจกรรม วัดได้ไม่ยาก
ประจำวัน
20. เงินและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กิจกรรม ค่าของเงิน

6
สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา
3. เรขาคณิต 21. รูปเรขาคณิตสองมิติ กิจกรรมที่ 1 แยกฉันให้ถูก
กิจกรรมที่ 2 ลีลาหาพวก
กิจกรรมที่ 3 สี่เหลี่ยมอยู่ที่ไหน
22. การเขียนรูปเรขาคณิตสองมิติ กิจกรรม 1 สี่เหลี่ยมเดินเล่น
กิจกรรม 2 สองมิติหลากหลาย
กิจกรรม 3 สมมาตรได้อย่างไร
23. การบอกและจำแนกรูปเรขาคณิต กิจกรรมที่ 1 ฉันคือรูปเรขาคณิต
สามมิติ สามมิติอะไร
กิจกรรมที่ 2 พิระมิดยอดแหลม
กิจกรรมที่ 3 สร้างรูปเรขาคณิต
กิจกรรมที่ 4 ส่วนสูงรูปเรขาคณิต
สามมิติอยู่ที่ไหน
4. พีชคณิต 24. ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป กิจกรรม บอกได้เติมได้
และความสัมพันธ์ของรูปด้านรูปร่าง
25. ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป กิจกรรม ฉันอยู่ไหน
และความสัมพันธ์ของรูปด้านขนาด
26. ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป กิจกรรม เติมสีสร้างสรรค์
และความสัมพันธ์ของรูปด้านสี
27. ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป กิจกรรม ต่อไปเป็นอะไรเอ่ย
และความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต
28. ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป กิจกรรม บอกได้ไหม
และความสัมพันธ์ของจำนวน
5. การวิเคราะห์ 29. การเก็บรวบรวมและนำเสนอข้อมูล กิจกรรม ตารางแสนกล
ข้อมูลและ
ความน่าจะเป็น

7
สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา
30. การอ่านแผนภูมิ กิจกรรมที่ 1 อ่านสักนิดคิด
สักหน่อย
กิจกรรมที่ 2 อ่านได้ทำได้
กิจกรรมที่ 3 วงกลมมหัศจรรย์
กิจกรรมที่ 4 เกมชั่งเหรียญ
31. การเขียนแผนภูมิ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิรูปภาพ
แสนสนุก
กิจกรรมที่ 2 แท่งสี่เหลี่ยมหรรษา
32. ความสมเหตุสมผลในการคาดการณ์ กิจกรรมที่ 1 คาดเดาเร้าใจ
กิจกรรมที่ 2 ตามล่าหาความจริง

8
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ
เรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

1. การใช้สมุดกราฟ เส้นตาราง จัดเป็นสดมภ์เพื่อกำกับการเขียนตัวเลขให้ตรง
หลักอ่านง่ายและสับสนน้อยลง
2. แบ่ ง กิ จ กรรมทางคณิ ต ศาสตร์ อ อกเป็ น ส่ ว นๆ โดยการใช้ สี ตี ก รอบหรื อ พั บ
กระดาษเป็นส่วนๆ ให้นักเรียนทำกิจกรรมในแต่ละส่วนที่พับหรือตีกรอบให้เสร็จสมบูรณ์
3. เน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้หรือการใช้สีเพื่อแยกความแตกต่างการดำเนินการ
ทางคณิตศาสตร์ (+, -, x, ÷) รวมทั้งข้อความที่บ่งชี้ถึงวิธีการดำเนินการโจทย์แต่ละข้อ
4. ให้นักเรียนได้ใช้อุปกรณ์ ช่ ว ยในการคิ ด คำนวณ เช่ น ของจริ ง ของจำลอง

เส้นจำนวน ลูกคิด แผนภูมิ แผนภาพต่างๆ เป็นต้น


5. การสอนการใช้เครื่องคิดคำนวณ (calculator)

วิธีใช้เทคนิค วิธีการและสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความ
บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

1. ให้นักเรียนประเมินความสามารถของตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียน
จะได้ทราบว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้
2. สอนต่อจากสิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว
3. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดสิ่งที่จะเรียน (ตั้งจุดมุ่งหมายด้วย)
4. พยายามแสวงหาวิธีทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จและพึงระวังอย่าให้คณิตศาสตร์
ทำลายภาพพจน์ที่มีต่อตนเอง
5. ควรเน้นการเสริมวิชาการให้นักเรียนเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน
ที่เรียนไม่ทันเพื่อน
6. แยกขั้นตอนการสอนออกเป็นขั้นย่อยๆ หลายๆ ขั้นตอน (Task Analysis)
7. หากนักเรียนไม่ประสบความสำเร็จเมื่อครูสอนโดยใช้วิธีหนึ่ง ครูควรเปลี่ยน

วิธีสอน เพราะวิธีเดิมอาจนำไปสู่ความล้มเหลว
8. ใช้กิจกรรมหลายๆ กิจกรรมในการสอนความคิดรวบยอด จะช่วยให้นักเรียน
สามารถสรุปแนวคิดได้

9
9. ให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์หรือกิจกรรมตามความถนัด

แล้วจึงเพิ่มระดับความยากขึ้นตามระดับความสามารถ
10. เน้นย้ำ ซ้ำทวนกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยใช้ภาษาของนักเรียน
11. ใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเป็นเครื่องนำทาง เมื่อนักเรียนเข้าใจความคิดรวบยอด

แล้วจึงเน้นกระบวนการคิดที่เป็นนามธรรม
12. สอนให้นักเรียนสามารถคาดคะเนหรือประเมินคำตอบ
13. การทำสัญญาร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน
14. ออกคำสั่งให้ง่าย ชัดเจน เจาะจง
15. จับคู่เพื่อนรู้ใจให้ช่วยเหลือ
16. เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน คำสั่ง หลักการ วิธีการ ขั้นตอน
17. เตรียมงานที่หลากหลายให้นักเรียนมีโอกาสได้เลือกปฏิบัติ
18. ก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูต้องแน่ใจว่า นักเรียนเข้าใจขั้นตอน วิธีการ
ภาระงาน มิฉะนั้นการทำกิจกรรมอาจไม่มีความหมาย
19. ให้เวลาเรียนอย่างเพียงพอ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจใช้
เวลานานจึงจะเกิดทักษะ
20. แนะนำวิธีการสังเกต จดจำ บันทึกข้อมูล
21. สำหรับนักเรียนบางคนอาจใช้เครื่องคิดคำนวณในการคิดคำนวณได้
22. ฝึกการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยไม่ใช้เครื่องคิดคำนวณ
23. จัดกลุ่มปัญหาที่คล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน แบ่งโจทย์ปัญหาออกเป็นส่วนๆ

ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
24. ถ้านักเรียนมีปัญหาในการคัดลอกงาน อาจให้เพื่อนหรือครูช่วยคัดลอกให้ก่อน
ที่จะให้นักเรียนทำงานตามภาระงานนั้นด้วยตนเอง
25. หลังจากอธิบายจากตัวอย่าง ให้นักเรียนทำงานที่คล้ายคลึงกับตัวอย่างก่อนที่
จะให้โจทย์พลิกแพลง
26. ให้นักเรียนพบความสำเร็จและเสริมแรงให้นักเรียนมีกำลังใจ
27. ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา

10
การวัดและประเมินผล

1. การสังเกตพฤติกรรม
2. การตรวจผลงานการปฏิบัติงาน
- ตรวจแบบฝึก
- บอก อธิบาย วิธีการ ขั้นตอน
- การทดสอบ
- การตอบคำถาม
- การตรวจสอบรายการ
- การสอบถามเพื่อนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง


การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มี
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

1. ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระ หลักสูตร ตามความเหมาะสมกับนักเรียนเฉพาะบุคคล
2. ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติของครูต่อนักเรียน
3. ปรับเปลี่ยนวิธีในการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น เพิ่มเวลาในการทำแบบฝึกหัด
เป็นต้น
4. ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เช่น จัดเนื้อหาหรือกิจกรรมออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ
เป็นต้น
5. ให้นักเรียนมีทางเลือกในการทำงานหรือกิจกรรม เช่น ใช้เครื่องคิดคำนวณ
ตอบปากเปล่าหรือการพิมพ์แทนการเขียนตอบ
6. เปลี่ยนระบบการเรียนการสอน เช่น สอนเป็นรายบุคคล ให้เพื่อนช่วยเพื่อน

ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
7. ใช้กระบวนการวิจัย และพัฒนามาแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
8. เรียนรู้จากสื่อของจริง เช่น การจัดลำดับสิ่งของการเปรียบเทียบ ขนาด สี

รูปร่าง ระยะทาง เป็นต้น

11
9. การออกคำสั่งที่ชัดเจน เจาะจง สั้น ไม่ซับซ้อน
10. การทำสัญญาร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน
11. จับคู่เพื่อน (Buddy) ให้แก่นักเรียน

สรุปการนำเทคนิค วิธีการ สื่ อ ไปใช้ กั บ นั ก เรี ย นที่ มี ค วามบกพร่ อ ง
ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

การที่ครูจะนำเทคนิค วิธีการ สื่อ สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ไป
พัฒนานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพครูควรปฏิบัติดังนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนจนรู้จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่ผู้เรียนทำไม่ได้
2. เลือกปัญหาที่เร่งด่วนจำเป็นมาแก้ไขก่อน จากนั้นจึงแก้ปัญหาที่มีความสำคัญ
ในลำดับต่อๆ ไป ไม่ควรแก้ไขหลายๆ เรื่องไปพร้อมกัน
3. ในการออกแบบกิจกรรม หรือจัดการเรียนรู้ครูควรได้จัดลำดับขั้นเนื้อหาที่จะ
สอนออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ (Task Analysis) ตามระดับพื้นฐานความสามารถของผู้เรียน
4. ระหว่างการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ครูควรบันทึก
พฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการพัฒนาและนำไปใช้วางแผนการพัฒนาให้เหมาะสมกับ
นักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ครู ค วรเน้ น การจั ด ประสบการณ์ จ ากการลงมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง โดยยกตั ว อย่ า ง
ประกอบให้มากและเน้นย้ำ ซ้ำ ทวน สิ่งที่เรียน
6. ครูควรทำความเข้าใจกับนักเรียนปกติ บุคคลรอบข้างของนักเรียนให้เข้าใจ

ข้อจำกัดของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้และนำบุคคลเหล่านั้นเข้ามาร่วมเป็นผู้ช่วย
เหลือพัฒนานักเรียนกลุ่มเป้าหมายต่อไป
7. ครูควรให้เวลากับนักเรียนในการคิด หรือทำกิจกรรม โดยพิจารณานักเรียน

เป็นหลัก ไม่ควรเร่งรีบใจร้อนเกินไป
8. ครูควรให้แรงเสริมเชิงบวกให้มากที่สุด การชมเชย ยกตัวอย่าง ให้รางวัลพิเศษ
จะช่วยให้นักเรียนมีกำลังใจและมีเจตคติที่ดี และร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข


12
เทคนิค วิธีการ สื่อ นวัตกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ที่นำเสนอในเอกสารเล่มนี้ เป็นเพียงการนำเสนอทางเลือกให้ครูได้ใช้เป็น
แนวทางการพัฒนาเทคนิค วิธีการ สื่อ นวัตกรรมของครูหรือครูจะนำไปใช้กับนักเรียน
โดยตรงหรือเลือกใช้เฉพาะกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนและบริบทของโรงเรียน ซึ่งครู
ควรได้นำไปปรับเพิ่มหรือลดให้เหมาะสมกับนักเรียนเป็นสำคัญเสียก่อน

สำหรับเอกสารเล่มนี้เป็นเอกสารเล่มที่ 3 ในชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยจะประกอบด้วย
ปัญหาและเทคนิคการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน
คณิตศาสตร์ เกี่ยวกับปัญหาต่อไปนี้
ปัญหาที่ 11. การคูณ
ปัญหาที่ 12. การหาร
ปัญหาที่ 13. การบวกลบเศษส่วน

13

ปัญหาที่ 11. การคูณ

กิจกรรมที่ 1 นับเพิม่ แก้ปญ
ั หาการนับเพิม่ ทีละเท่าๆ กันไม่ได้

กิจกรรมที่ 2 ฝาแฝดออมทรัพย์ แก้ปญ


ั หาการเขียนโจทย์การคูณจากโจทย์การบวกไม่ได้

กิจกรรมที่ 3 มาคูณกันเถอะ แก้ปญ


ั หาการเขียนโจทย์การคูณจากโจทย์ปญ
ั หาไม่ได้

กิจกรรมที่ 4 ผลไม้ทฉี่ นั ชอบ แก้ปญ


ั หาการเขียนโจทย์การคูณจากภาพไม่ได้
และเขียนโจทย์ปญั หาการคูณไม่ได้

กิจกรรมที่ 5 คูณโดยใช้ตาราง แก้ปญ


ั หาการหาคำตอบจากโจทย์การคูณไม่ได้

กิจกรรมที่ 6 คูณแบบ Touch Math แก้ปญ


ั หาการหาคำตอบจากโจทย์การคูณไม่ได้

กิจกรรมที่ 7 ฉันไปซือ้ ของ แก้ปญ


ั หาการเขียนโจทย์การคูณและเขียนโจทย์การคูณ
จากโจทย์ปญ
ั หาไม่ได้

14
ปัญหา การคูณ

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 1 นับเพิ่ม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถนับเพิ่มทีละ 10 ได้
2. นักเรียนสามารถนับเพิ่มทีละ 5 ได้
3. นักเรียนสามารถนับเพิ่มทีละ 2 ได้
4. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน

สื่อ/ อุปกรณ์
1. บัตรภาพนับเพิ่มทีละ 10, 5, 2
2. บัตรตัวเลข
3. แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ครูชูบัตรภาพให้นักเรียนดูทีละใบ (จำนวน 10) นับเพิ่มทีละ 10 จนถึง 100
2. ครูชูบตรภาพนับเพิ่มทีละ 10 จำนวน 5 ใบ แล้วถามนักเรียนว่ามีค่าเท่าไร
3. ครูเปลี่ยนจำนวน 10 เป็น 5 และ 2 ตามลำดับ
4. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล
1. วิธีการ
- สังเกตการนับเพิ่มทีละ 10, 5, 2
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- สังเกตความสนใจและความพึงพอใจในการเรียน
2. เครื่องมือ
- แบบฝึกทักษะ
- แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ
3. เกณฑ์การประเมิน
- เกณฑ์เพิ่มทีละ 10, 5, 2 ได้ถูกต้องให้ข้อละ 1 คะแนน และต้องได้คะแนน
ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

15
แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

ความพึง แบบฝึก แบบฝึก แบบฝึก สรุปผล
พอใจ ทักษะที.่ .. ทักษะที่... ทักษะที่... การ

เลขที ชื่อ - สกุล ในการเรียน ประเมิน
ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน







16

แบบฝึ กทักษะที่ 1

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............


คำชี้แจง ให้นักเรียนนับ เพิม่ ทีละ 2 แล้วเขียนตัวเลขลงในช่องว่าง
พร้อมระบายสีใบไม้ด้วยสีเขียวให้สวยงาม


























จำนวนใบไม้ทั้งหมด ใบ

17

แบบฝึ กทักษะที่ 2

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง ให้นักเรียนนับใบไม้เพิ่มทีละ 5 แล้วเขียนตัวเลขลงในช่องว่าง
พร้อมระบายสีใบไม้ด้วยสีแดงให้สวยงาม


























จำนวนใบไม้ทั้งหมด ใบ

18

แบบฝึ กทักษะที่ 3

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง จงหาผลบวกแล้วเติมคำลงใน


2 =

2 + 2 =

2 + 2 +2 =

2 + 2 +2 + 2 =

2 + 2 +2 + 2 + 2 =

2 + 2 +2 + 2 + 2 + 2 =

2 + 2 +2 + 2 + 2 + 2 + 2 =

2 + 2 +2 + 2 + 2 + 2 + 2 + 2 =

2 + 2 +2 + 2 + 2 + 2 + 2 + 2 + 2 =

2 + 2 +2 + 2 + 2 + 2 + 2 + 2 + 2 + 2 =


19
ปัญหา การคูณ

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 2 ฝาแฝดออมทรัพย์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนมีความเข้าใจจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละเท่าๆ กัน
2. นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์แทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นได้
3. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. จำนวนรูปภาพที่เท่ากันของตัวเลข
2. บัตรตัวเลข
3. สัญลักษณ์ (+, x)

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ติดจำนวนรูปภาพ ดังตัวอย่าง








2. จากภาพแทนด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การบวกจำนวนเท่ากันและเขียน
สัญลักษณ์ในรูปของการคูณได้ 3 x 2 = 6 เพราะมีอยู่ 3 กลุ่ม กลุ่มละ 2
3. ใช้กิจกรรมเดิมเปลี่ยนจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนรูปภาพ
4. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

20
การวัดและประเมินผล
- สังเกตพฤติกรรมความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- แบบฝึกทักษะ
- แบบบันทึกการประเมินผลการเรียน

เกณฑ์การประเมิน
- เขียนประโยคสัญลักษณ์แทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นได้ถูกต้องให้ข้อละ 1 คะแนน และ
ต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้เด็กเกิดทักษะควรใช้สื่อของจริงแล้วเปลี่ยนเป็นรูปภาพและสัญลักษณ์ตาม
ลำดับ และเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น

แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

ความพึง แบบฝึก แบบฝึก แบบฝึก สรุปผล
พอใจ ทักษะที่... ทักษะที่... ทักษะที่... การ
เลขที่ ชื่อ - สกุล ในการเรียน ประเมิน
ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน







21
ตั วอย่างแบบฝึกทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์แทนรูปภาพ

ตัวอย่าง

3 + 3 _ 3 = 9

22
23
ปัญหา การคูณ

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 3 มาคูณกันเถอะ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เมื่อกำหนดสถานการณ์เกี่ยวกับการคูณให้ นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์

ได้ถูกต้อง
2. นักเรียนมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน 2. ของจริง
3. บัตรภาพ/บัตรจำนวน/บัตรคำ 4. บัตรเครื่องหมาย +, x
5. แถบโจทย์ปัญหาการคูณ 6. แถบประโยคสัญลักษณ์การคูณ
7. แผนภูมิเพลงโจทย์ปัญหา

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. นักเรียนนำบัตรภาพ บัตรจำนวน และเครื่องหมายมาใช้ในการหาคำตอบ เช่น
ตัวอย่าง นิดหน่อยมีลูกแก้ว 3 ถุงๆ ละ 5 ลูก นิดหน่อยมีลูกแก้วทั้งหมดกี่ลูก

วิธีคิด










เขียนประโยคสัญลักษณ์ 3 x 5 =
ตอบ นิดหน่อยมีลูกแก้ว ๑๕ ลูก

24
2. ครูยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีก 1 ข้อ แล้วให้นักเรียนยกตัวอย่างสถานการณ์ในชีวิต
ประจำวัน สรุปและนำเสนอเหมือนตัวอย่างโดยเขียนวิธีคิด เขียนประโยคสัญลักษณ์และ

หาคำตอบจากของจริง และบัตรภาพ บัตรจำนวน จนเข้าใจ และให้คำชมเมื่อทำถูกต้อง


3. ฝึกทักษะโจทย์ปัญหาการคูณ โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล
- ตรวจการเขียนประโยคสัญลักษณ์ในแบบฝึกทักษะ
- สังเกตพฤติกรรมความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมการเรียนของนักเรียน
- แบบฝึกทักษะ
- แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

เกณฑ์การประเมิน
- เขียนประโยคสัญลักษณ์การคูณจากประโยคสัญลักษณ์การบวกได้ถูกต้องให้

ข้อละ 2 คะแนน และต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน



ข้อเสนอแนะ
1. การใช้คำถามหรือการยกตัวอย่างของครูควรใช้โจทย์ง่ายๆ ไม่สับสนและกระตุ้น
ให้นักเรียนตอบคำถาม เมื่อเข้าใจแล้วจึงเปลี่ยนจำนวนและข้อความในโจทย์
2. ฝึกทักษะการอ่านโจทย์ตีความหมายของโจทย์ปัญหาทุกครั้งและสรุปความ
สำคัญได้
3. ฝึกทักษะการคูณ (สูตรคูณ) โดยการเขียนสูตรคูณด้วยตนเองให้มากที่สุดจะ
ทำให้นักเรียนมีความมั่นใจในการคูณมากขึ้น

เพลงโจทย์ปัญหา

เนื้อร้อง อ.ดวงทิพย์ กาญจนมยูร ทำนอง เด็กปั๊ม

โจทย์ต้องอ่านหลายที เพราะว่าโจทย์นั้นมีปัญหาซับซ้อน ทำความเข้าใจไปทีละ
ตอนๆ บันทึกไว้ก่อน โจทย์สั่งให้ทำอะไร จะไม่ผิดถ้าตีความเป็น ไม่ยากเย็นแปลความให้
ได้ อีกขั้นตอนต่อไปฝึกคิดคำนวณ ขั้นแสดงวิธีทำนั้นเราต้องเข้าใจสรุปชัดเจน
พิจารณาปัญหาของโจทย์เพื่อประโยชน์ในการเขียนแสดง ถ้าทำไม่ได้ทบทวนดู
ใหม่ อ่านให้เข้าใจแล้วจะทำได้เอง

25
แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

ความพึง แบบฝึก แบบฝึก แบบฝึก สรุปผล


พอใจ ทักษะที.่ .. ทักษะที่... ทักษะที่... การ
เลขที่ ชื่อ - สกุล ในการเรียน ประเมิน
ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน













26
ตั วอย่างแบบฝึกทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์การคูณ

ตัวอย่าง แม่มีลูกโป่ง 4 พวง พวงละ 5 ลูก แม่มีลูกโป่งทั้งหมดกี่ลูก


รวมกับ รวมกับ รวมกับ


ประโยคสัญลักษณ์การบวก 5 + 5 + 5 + 5 =

ประโยคสัญลักษณ์การคูณ 4 x 5 =

1. อารีมีขนม 3 ถุง ถุงละ 8 ชิ้น อารีมีขนมทั้งหมดกี่ชิ้น



รวมกับ รวมกับ

ประโยคสัญลักษณ์การบวก 8 + 8 + 8 =
ประโยคสัญลักษณ์การคูณ ...................................................................

2. พี่มีดินสอสี 4 กล่อง กล่องละ 7 แท่ง พี่มีดินสอสีทั้งหมดกี่แท่ง





ประโยคสัญลักษณ์การบวก 7 + 7 + 7 + 7 =
ประโยคสัญลักษณ์การคูณ ...................................................................

27
3. น้องมีส้มในจาน จำนวน 9 ใบ ใบละ 5 ผล น้องมีส้มทั้งหมดกี่ผล






ประโยคสัญลักษณ์การบวก ...................................................................
ประโยคสัญลักษณ์การคูณ ...................................................................

4. ชั้น ป. 2 มีเก้าอี้ 8 แถว แถวละ 4 ตัว รวมแล้วมีเก้าอี้ทั้งหมดกี่ตัว






ประโยคสัญลักษณ์การบวก ...................................................................
ประโยคสัญลักษณ์การคูณ ...................................................................

28
ปัญหา การคูณ

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 4 ผลไม้ที่ฉันชอบ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์จากภาพได้
2. นักเรียนเขียนโจทย์ปัญหาจากภาพและหาคำตอบได้ถูกต้อง
3. นักเรียนเขียนผังความคิดผลไม้ที่ชอบได้
4. นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและมีความพึงพอใจในการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. ภาพผลไม้ชนิดต่างๆ / ตรายางผลไม้
2. สีไม้หรือสีเทียน
3. กาว
4. ผังความคิด
5. บัตรงานการคูณ

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ทบทวนการคูณจำนวน 2 จำนวนง่ายๆ โดยให้นักเรียนเขียนสูตรคูณจำนวนใด
ก็ได้ 3 – 5 ข้อ พร้อมหาคำตอบ ร่วมกันเฉลยคำตอบ บันทึกคะแนนหรือใช้การสอบถาม
รายบุคคล
2. ครูนำผังความคิดให้นักเรียนเติมผลไม้ที่ตนเองชอบรับประทาน จำนวน 5 กลุ่มๆ
ละ 4 ผล โดยวาดภาพผลไม้หรือใช้ตรายางแล้วระบายสีผลไม้ให้สวยงามพร้อมเติมคำตอบ






29
















นักเรียนเติมคำตอบให้สมบูรณ์
มีผลไม้ชื่อ...............................จำนวน..........กลุ่มๆ ละ....................ผล
ฉันมี...........................ทั้งหมด.......................ผล
ประโยคสัญลักษณ์ X =
ตอบ มีผลไม้.............................ผล

3. ฝึกทักษะเกี่ยวกับผลไม้ที่นักเรียนชอบอีก 1 ชนิด เปลี่ยนกลุ่มและจำนวนให้
มากขึ้น นักเรียนเขียนผังความคิด เขียนโจทย์ปัญหา เขียนประโยคสัญลักษณ์จากโจทย์
ปัญหาและหาคำตอบเอง ส่งผลงานให้ครูตรวจความถูกต้องและนำผลงานจัดนิทรรศการที่
ป้ายนิเทศ ครูชมนักเรียนที่ปฏิบัติกิจกรรมได้ถูกต้อง

สรุป การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ มีหลักการเช่นเดียวกับการคูณจำนวนนับ

การวัดและประเมินผล
- ตรวจการเขียนประโยคสัญลักษณ์จากภาพ
- ตรวจการเขียนโจทย์ปัญหาจากภาพและหาคำตอบ
- ตรวจการเขียนผังความคิดผลไม้ที่ชอบ

30
- สังเกตการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียน
- แบบฝึกทักษะ
- แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

เกณฑ์การประเมิน
- เขียนประโยคสัญลักษณ์จากภาพได้ถูกต้องให้ข้อละ 2 คะแนน
- เขียนโจทย์ปัญหาจากภาพและหาคำตอบได้ให้ข้อละ 5 คะแนน
- เขียนผังความคิดผลไม้ที่ชอบได้ให้ 5 คะแนน
ทั้ง 3 รายการต้องได้ได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
1. ครูต้องคอยกระตุ้นและให้กำลังใจในการปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน ให้คำชม
นักเรียนทุกครั้งที่ทำได้
2. เปลี่ยนกิจกรรม เปลี่ยนชื่อผลไม้หรือเปลี่ยนจำนวนได้ตามความเหมาะสม
3. ฝึกทักษะซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง ควรเริ่มจากจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า
4. ฝึกทักษะการคูณ โดยฝึกการเขียนสูตรคูณเพิ่มเติม

แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ
ความพึง แบบฝึก แบบฝึก แบบฝึก สรุปผล
พอใจ ทักษะที.่ .. ทักษะที่... ทักษะที่... การ
เลขที่ ชื่อ - สกุล ในการเรียน ประเมิน
ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน






31

แบบฝึ กทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง จงหาผลคูณ

1. มีแอปเปิ้ล 4 กอง ๆ ละ 5 ผล มีแอปเปิ้ลทั้งหมดกี่ผล








5 10 15 20


2. มีมังคุด 5 จาน ๆ ละ 5 ผล มีมังคุดทั้งหมดกี่ผล





5 10 15 20 25


3. มีแตงโม 5 กอง ๆ ละ 9 ชิ้น มีแตงโมทั้งหมดกี่ชิ้น






9 18 27 36 45

32
ปัญหา การคูณ

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 5 คูณโดยใช้ตาราง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถสร้างตารางการคูณได้
2. นักเรียนหาคำตอบการคูณจากตารางได้
3. นักเรียนมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. แท่งเนเปียร์ (ตารางการคูณ) 2. แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ทบทวนความรู้เดิมโดยให้นักเรียนท่องสูตรคูณแม่ 2 และ 3
2. ครูให้นักเรียนดูแท่งเนเปียร์ (ตารางการคูณ) พร้อมกับอธิบายรูปร่างลักษณะ
โดยใช้ของจริงประกอบดังนี้
หลักสิบ

แม่.... 5 .......สูตรคูณแม่ 5
สิบ หลั ก หน่ ว ย 0 5 .......1x5=5
หน่วย
สิบ 1 0
..........2x5=5
หน่วย
สิบ 1 5
.............3x5=5
หน่วย
สิบ 2 0
................4x5=5
หน่วย
สิบ 2 5
..................5x5=5
หน่วย
สิบ 3 0
....................6x5=5
หน่วย
สิบ 3 5
......................7x5=5
หน่วย
สิบ 4 0
........................8x5=5
หน่วย
สิบ 4 5
..........................9x5=5
หน่วย

33
3. นักเรียนและครูร่วมกันสร้างตารางการคูณแม่ 2 - 9
4. นักเรียนสร้างตารางการคูณคนละ 1 แม่ตามใจชอบ
5. ครูอธิบายการคูณโดยใช้ตารางการคูณประกอบภาพ ดังนี้

52 x 3 =
5 2 52 เปนตัวตั้ง
0 0
5 2
5 2 x
1 0
0 4 3x2 1 0

1 0 3 x 50 ...1..... 5 6 3 3 เปนตัวคูณ
5 6
2 1
0 0 1 เปนผลบวก ...5..... ...6.....
2 1 ของตัวเลขตาม
5 2
แนวเฉียงสีเทา 5 เปนผลบวก 6 เปนผลบวก
3 1
0 4 ของตัวเลขตาม ของตัวเลขตาม
3 1 แนวเฉียงสีเหลือง แนวเฉียงที่แรงเงา
5 6
4 1
0 8

4 2
5 0

6. ครูยกตัวอย่างตามกิจกรรม ข้อ 5 โดยใช้โจทย์การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับ
หนึ่งหลักและสองหลักกับหนึ่งหลัก หรือจำนวนที่มากกว่าตามลำดับ
7. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะหาคำตอบจากตารางการคูณ

การวัดและประเมินผล
- ตรวจการสร้างตารางการคูณ
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- สังเกตพฤติกรรมความพึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียน
- ตารางการคูณ
- แบบฝึกทักษะ
- แบบบันทึกผลการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

34
เกณฑ์การประเมิน
- สร้างตารางการคูณได้ถูกต้องทั้งหมดให้ 10 คะแนน
- หาคำตอบจากตารางการคูณได้ถูกต้องให้ข้อละ 1 คะแนน
ทั้ง 2 รายการต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

ความพึง แบบฝึก แบบฝึก แบบฝึก สรุปผล


พอใจ ทักษะที.่ .. ทักษะที่... ทักษะที่... การ
เลขที่ ชื่อ - สกุล ในการเรียน ประเมิน
ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน












35
ตัวอย่างการสร้างตารางการคูณ (แท่งเนเปียร์)

2 ......... 1 3 4 5

0 สิบ 0 0 0 0
2 หนวย 1 3 4 5
0 สิบ 0 0 0 1
4 หนวย 2 6 8 0
0 สิบ 0 0 1 1
6 หนวย 3 9 2 5
0 สิบ 0 1 1 2
8 หนวย 4 2 6 0
1 สิบ 0 1 2 2
0 หนวย 5 5 0 5
1 สิบ 0 1 2 3
2 หนวย 6 8 4 0
1 สิบ 0 2 2 3
4 หนวย 7 1 8 5
1 สิบ 0 2 3 4
6 หนวย 8 4 2 0
1 สิบ 0 2 3 4
8 หนวย 9 7 6 5

36
6 7 8 9 0
0 0 0 0 0
6 7 8 9 0
1 1 1 1 0
2 4 6 8 0
1 2 2 2 0
8 1 4 7 0
2 2 3 3 0
4 8 2 6 0
3 3 4 4 0
0 5 0 5 0
3 4 4 5 0
6 2 8 4 0
4 4 5 6 0
2 9 6 3 0
4 5 6 7 0
8 6 4 2 0
5 6 7 8 0
4 3 2 1 0

37

แบบฝึ กทักษะ

เรื่อง การคูณจำนวนหนึ่งหลักสองจำนวน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง ให้นักเรียนหาผลคูณจำนวนหนึ่งหลักสองจำนวนจากแท่งเนเปียร์

ตัวอย่าง2 2 xX 77 = =
วิธีทำ
7
0

7
7
1
1 2 x 7 = 14
4
4 2 ตอบ ๑๔
2
1
2
8
3
5
4
2
4
9
5
6
6
3

38
1.) 3 X 5 =


5
0
5

1
0 5
3 x 5 = ..............
1 3 ตอบ ......................
5
2

0
2
5

3
0

3
5
4
0

4
5

39
2.) 5 X 4 =


4

0

4
0
8 4
5 x 4 = ..............
1 5 ตอบ ......................
2
1
6
2
0
2
4
2
8
3
2
3
6

40

แบบฝึ กทักษะ

เรื่อง การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีสองหลัก

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง ให้นักเรียนหาผลคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีสองหลัก

ตัวอย่าง 3 X 21 =
วิธีทำ

2 1
0 0
2 1

2 1 x
0 0
4 2 ...0.... 0 0
3
6 3
0 0
6 3
...6.... ...3....
0 0

8 4 3 x 21 = 63
1 0
ตอบ ๖๓
0 5

1 0
2 6

1 0
4 7
1 0
6 8

1 0
8 9

41
1.) 5 X 40 =


4 0

0 0
4 0
0 4 0
0
8 0 ........
5
1 0
2 0
......... .........
1 0
6 0 5 x 40 = ...............
2 0
ตอบ ........................
0 0
2 0
4 0

2 0
8 0

3 0
2 0
3 0
6 0

42
ปัญหา การคูณ

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 6 คูณแบบ Touch Math

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถหาคำตอบจากโจทย์การคูณได้
2. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. ตัวเลขแบบ Touch Math
2. แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ทบทวนโดยให้นักเรียนดูตัวเลขแบบ Touch Math นักเรียนนับจำนวนนั้นๆ
2. ครูให้นักเรียนดูโจทย์การคูณ เช่น 7 x 2 = พร้อมกับอธิบายวิธีการหา

คำตอบ
3. นักเรียนฝึกหาคำตอบ

การวัดและประเมินผล
- ตรวจแบบฝึก
- สังเกตพฤติกรรมความพึงพอใจในการเรียน
- แบบฝึกทักษะ
- แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

เกณฑ์การประเมิน
หาคำตอบจากโจทย์การคูณในแบบฝึกทักษะได้ถูกต้องให้ข้อละ 1 คะแนนและต้อง
ได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

43
แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

ความพึง แบบฝึก แบบฝึก แบบฝึก สรุปผล
พอใจ ทักษะที่... ทักษะที่... ทักษะที่... การ
เลขที่ ชื่อ - สกุล ในการเรียน ประเมิน
ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน












44

แบบฝึ กทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง จงหาผลคูณ

ลองทำ

7 X
5

45

แบบฝึ กทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง จงหาผลคูณ

ลองทำ

4 X
2

46

แบบฝึ กทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง จงนำคำตอบจากตารางข้างล่างไปเติมในช่อง ให้ถูกต้อง

3 6 9 12 15 18 21 24 27 0

ลองทำ
3 x 5 = 3 x 8 =
3 x 0 = 3 x 6 =

47

แบบฝึ กทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง จงหาผลคูณต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

ลองทำ

67 X 25 X
2 3

48
ปัญหา การคูณ

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 7 ฉันไปซื้อของ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนเขียนโจทย์ปัญหาจากสถานการณ์ประจำวันได้
2. เขียนประโยคสัญลักษณ์การคูณจากโจทย์ปัญหาได้
3. หาคำตอบจากโจทย์ปัญหาการคูณได้
4. มีส่วนร่วมและมีความพึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. ของจริง/ ของจำลอง
2. ภาพโฆษณาสินค้าต่างๆ
3. บัตรคำ บัตรเครื่องหมาย บัตรตัวเลข
4. แถบโจทย์ปัญหา
5. แผนภูมิเพลงโจทย์ปัญหา

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ทบทวนบทเรียนเดิมโดยให้นักเรียนร้องเพลงโจทย์ปัญหา นักเรียนเคาะจังหวะ
ประกอบ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมายจากเพลงโจทย์ปัญหา
2. ให้นักเรียนฝึกทักษะคิดคำนวณการคูณในรูปการบวกง่าย ๆ 4 – 5 ข้อ โดยตอบ
ปากเปล่า หรือเขียนคำตอบ ใช้บัตรตัวเลขและบัตรเครื่องหมาย เช่น








49
3. ครูนำภาพโฆษณาติดที่กระดาน ฝึกทักษะการอ่านข้อความที่ติดอยู่กับภาพ

ให้นักเรียนสังเกตและตอบคำถาม ถ้าอ่านไม่ได้ ครูต้องอ่านนำก่อน (บอกในภาพมีข้อมูล


อะไรบ้าง)

ส้มสายน้ำผึ้ง กิโลกรัมละ 20 บาท






4. ครูให้นักเรียนติดแถบข้อความในโจทย์ พร้อมกับให้นักเรียนอ่าน 2 เที่ยว เช่น

ส้มสายน้ำผึ้ง กิโลกรัมละ 20 บาท


5. ติดภาพเช่นเดียวกับภาพในข้อ 4 เพิ่มอีก 3 ภาพ โดยครูและนักเรียนช่วยกัน
พร้อมกับครูถามนักเรียนว่า ถ้านักเรียนซื้อส้มอีก 3 กิโลกรัม นักเรียนจะมีวิธีคิดอย่างไร

1 กิโลกรัม 1 กิโลกรัม 1 กิโลกรัม





6. ครูให้นักเรียนหยิบบัตรตัวเลข บัตรเครื่องหมายลงช่องว่างให้ถูกต้อง





20 20 20 = 20

50
7. สรุปกิจกรรมโดยครูซักถามนักเรียนว่าซื้อส้มกี่กิโลกรัมๆ ละเท่าไร
ให้นักเรียนเขียนโจทย์ปัญหาจากภาพโดยใช้การเขียนข้อความที่กำหนดต่อกัน
และตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบ ดังนี้

โจทย์กำหนดอะไรให้
ส้มสายน้ำผึ้ง ราคากิโลกรัมละ 20 บาท
ซื้อส้ม 3 กิโลกรัม
คำถาม จะจ่ายเงินทั้งหมดเท่าไร
เขียนโจทย์ได้ ส้มสายน้ำผึ้ง ราคากิโลกรัมละ 20 บาท ซื้อส้ม 3 กิโลกรัมจะ

จ่ายเงินทั้งหมดเท่าไร

8. ครูอธิบายการเขียนประโยคสัญลักษณ์จากโจทย์ ในรูปการบวกและการคูณจาก
โจทย์ปัญหา ดังนี้

20 + 20 + 20 = 60

3 ครั้งของ 20 เท่ากับ 60

3 x 20 = 60

9. ปฏิบัติกิจกรรมซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง จนเข้าใจ ให้นักเรียนเปลี่ยนภาพสินค้าได้
ตามใจชอบจนเข้าใจ ครูแจกบัตรงานที่ติดภาพสินค้าไว้ คนละ 2 – 3 ข้อ ให้นักเรียนเติม
ข้อความเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำตอบ เช่น





X =


ฝึกทักษะเพิ่มเติมโดยให้นักเรียนติดภาพและเขียนโจทย์ปัญหาเอง

51
การวัดและประเมินผล
- ตรวจการเขียนโจทย์ปัญหา
- ตรวจการเขียนประโยคสัญลักษณ์การคูณจากโจทย์ปัญหา
- ตรวจการหาคำตอบจากโจทย์ปัญหา
- สังเกตพฤติกรรมความพึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียน
- แบบฝึกทักษะ
- แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

เกณฑ์การประเมิน
- เขียนโจทย์ปัญหาได้ถูกต้อง ให้ข้อละ 5 คะแนน
- เขียนประโยคสัญลักษณ์การคูณได้ถูกต้อง ให้ข้อละ 1 คะแนน
- หาคำตอบจากโจทย์ปัญหาได้ถูกต้อง ให้ข้อละ 1 คะแนน
ทั้ง 3 รายการต้องได้คะแนนรวมกันร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการคูณ

ความพึง แบบฝึก แบบฝึก แบบฝึก สรุปผล
พอใจ ทักษะที.่ .. ทักษะที่... ทักษะที่... การ
เลขที่ ชื่อ - สกุล ในการเรียน ประเมิน
ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน








52

แบบฝึ กทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ติดภาพสินค้า










โจทย์.................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................

เขียนประโยคสัญลักษณ์ X =

ตอบ ................................................




53

ปัญหาที่ 12. การหาร



กิจกรรมที่ 1 ความหมายการหาร แก้ปัญหาไม่เข้าใจความหมายของการหาร
กิจกรรมที่ 2 ความสัมพันธ์การคูณกับการหาร (การใช้สูตรคูณ)
แก้ปัญหาการหาคำตอบจากโจทย์การหารไม่ได้
กิจกรรมที่ 3 โจทย์ปัญหาการหารแก้ปัญหาการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการหารไม่ได้
แก้ปัญหาการเขียนโจทย์ปัญหาการหารจากโจทย์ไม่ได้
แก้ปัญหาการหาคำตอบจากโจทย์ปัญหาไม่ได้
กิจกรรมที่ 4 แผนผังความคิดพิชิตการหาร
แก้ปัญหาการเขียนโจทย์ปัญหาการหารไม่ได้
แก้ปัญหาเด็กไม่เข้าใจความหมายของการหาร
แก้ปัญหาเด็กนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้
กิจกรรมที่ 5 การหารเลขคณิตแบบตาราง
แก้ปัญหาการหารโดยใช้วิธีการหารยาวไม่ได้
แก้ปัญหาการจำวิธีการหารไม่ได้

54
ปัญหา การหาร

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 1 ความหมายการหาร

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของการหารได้
2. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. ลูกปัดหรือลูกแก้วหรืออื่นๆ
2. ถาดใส่ลูกปัดหรือลูกแก้ว 2 ใบ
3. แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ เท่า ๆ กัน
2. นำลูกปัดหรือลูกแก้วหรืออื่นๆ จำนวน 15 ลูก วางไว้ในถาดและถาดเปล่าอีก
กลุ่มละ 1 ใบ
3. นักเรียนแข่งขันกันหยิบลูกปัดหรือลูกแก้วหรืออื่นๆ ครั้งละ 3 ลูก แล้วเขียน
สัญลักษณ์ ดังนี้


นักเรียนหยิบแครอท
ครั้งที่ 1







15 - 3

55
ครั้งที่ 2






15 - 3 - 3

ครั้งที่ 3






15 – 3 – 3 –3


ครั้งที่ 4






15 – 3 – 3 – 3 - 3

ครั้งที่ 5






15 – 3 – 3 – 3 – 3 - 3

56
4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปว่าการหยิบออกครั้งละเท่า ๆ กัน หมายถึง การหาร
แล้วครูแนะนำเพิ่มเติมว่า การหารคือ การนับลด การหักออก การแบ่งออกหรือการลบออก
ครั้งละเท่า ๆ กัน จำนวนครั้งที่ได้จากการนับลด การหักออก การแบ่งออกหรือการลบออก
เรียกว่าผลหาร และใช้เครื่องหมาย ÷ แสดงการหาร เช่น

15 – 3 – 3 – 3 – 3 – 3 = 0
เขียนอยู่ในรูปการหารได้ดังนี้ 15 ÷ 3 = 5

5. ครู ก ำหนดโจทย์ ปั ญ หาการหารให้ นั ก เรี ย นฝึ ก เขี ย นประโยคสั ญ ลั ก ษณ์ แ ละ

หาคำตอบ
6. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล
- ตรวจการเขียนประโยคสัญลักษณ์และการหาคำตอบ
- สังเกตความพึงพอใจในการเรียน
- แบบฝึกทักษะ
- แบบสังเกตความพึงพอใจ

เกณฑ์การประเมิน
- เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้องให้ข้อละ 2 คะแนน
- หาคำตอบจากประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้องให้ข้อละ 1 คะแนน
ทั้ง 2 รายการต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์ประเมิน

57
ตั วอย่างแบบฝึกทักษะ การหาร

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง ให้วงรอบภาพแล้วเขียนประโยคสัญลักษณ์แสดงการหารและหาคำตอบ
(ข้อละ 5 คะแนน)
ตัวอย่าง ครูมีส้ม 6 ผล แบ่งให้นักเรียน คนละ 2 ผล ครูจะแบ่งให้นักเรียนได้กี่คน








3
จะแบ่งให้นักเรียนได้ คน
เขียนในรูปของการหาร 6 ÷ 2 = 3



1 มีเงาะ 20 ผล ต้องการจัดใส่จาน จานละ 5 ผล จะจัดได้กี่จาน







จะจัดได้ จาน

เขียนในรูปของการหาร ÷ =

58

2 ฟ้าใสมีลูกบอล 40 ลูก ต้องการแบ่งใส่กล่องใบละ 8 ลูก ฟ้าใสจะต้องใช้กล่องกี่ใบ







จะต้องใช้กล่อง ใบ

เขียนในรูปของการหาร ÷ =


3 แม่ค้ามีเสื้ออยู่ 24 ตัว ต้องการพับใส่ถุง ถุงละ 6 ตัว จะต้องเตรียมถุงใส่เสื้อกี่ใบ






จะต้องใช้ถุง ใบ

เขียนในรูปของการหาร ÷ =




คะแนนเต็ม 15 คะแนน

ได้............... คะแนน

ผ่าน

ไม่ผ่าน

59
ตั วอย่างแบบฝึกทักษะ

คำชี้แจง นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์การบวกและการคูณจากโจทย์ปัญหา

ตัวอย่าง มีส้ม 20 ผล หยิบใส่ถุงครั้งละ 5 ผล จะได้กี่ถุง
เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การลบ 20 – 5 – 5 – 5 – 5 = 0
เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การหาร 20 ÷ 5 = 4

1. แม่มีดอกไม้ 24 ดอก หยิบใส่แจกัน 3 ใบๆ ละเท่า ๆ กัน จะได้แจกันละ

กี่ดอก
ประโยคสัญลักษณ์การลบ .............................................
ประโยคสัญลักษณ์การหาร.............................................

2. พ่อมีเงิน 32 บาท แบ่งให้ลูก 6 คน ๆ ละเท่า ๆ กัน จะได้คนละกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์การลบ ..............................................
ประโยคสัญลักษณ์การหาร..............................................

3. สุดามีดินสอสี 35 แท่ง นับลดครั้งละ 7 ครั้ง จะนับดินสอสีครั้งละกี่แท่ง
ประโยคสัญลักษณ์การลบ .............................................
ประโยคสัญลักษณ์การหาร.............................................

60
ปัญหา การหาร

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 2 ความสัมพันธ์การคูณกับการหาร

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถหาผลหารโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างการคูณกับการหาร
2. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. รูปภาพการคูณ
2. โจทย์คณิตศาสตร์การหาร

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. นักเรียนนับผลไม้ที่ครูชูให้ดู จากนั้นครูหยิบผลไม้ใส่ในจาน 2 จาน ครั้งละ

1 ลูก ดังภาพ แล้วครูเขียนโจทย์คณิตศาสตร์การหารให้นักเรียนดู










2. ครูเปลี่ยนผลไม้เป็นอย่างอื่น แล้วให้นักเรียนหยิบใส่จานหรือถุงให้เท่าๆ กัน
จากนั้น ให้เขียนโจทย์การหาร ปฏิบัติเช่นนี้ 2 – 3 ครั้ง
3. ครูนำโจทย์การหารในข้อ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับการคูณ ดังนี้
6 ÷ 2 = 3
3 X 2 = 6
4. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะความสัมพันธ์การคูณกับการหาร

61
การวัดและประเมินผล
- สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรม
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- แบบบันทึก
- แบบฝึกทักษะ

เกณฑ์การประเมิน
- พฤติกรรมขณะทำกิจกรรมดังตารางบันทึก
- ทำแบบฝึกความสัมพันธ์ระหว่างการคูณกับการหารได้ถูกต้องข้อละ 1 คะแนน
และต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์ประเมิน

ตารางบันทึกพฤติกรรม

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง นักเรียนมีพฤติกรรมตามรายการที่กำหนดให้ 1 ไม่มีพฤติกรรมให้ 0

รายการ ผลการประเมิน สรุปผล


0 1

1. กล้าแสดงออก

2. ให้ความร่วมมือ

3. ไม่ส่งเสียงดังขณะทำกิจกรรม

4. ไม่เล่นขณะทำกิจกรรม

5. เขียนโจทย์การหารได้

6.มี ความพึงพอใจในการเรียน

62
ตั วอย่างแบบฝึกทักษะการหาร (โดยใช้สูตรคูณ)

เรื่อง การหาผลหารโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างการคูณกับการหาร

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง เติมคำตอบลงใน ให้ถูกต้อง

ตัวอย่าง 10 ÷ 2 =

วิธีคิด การหาผลหารโดยใช้สูตรคูณ สูตรคูณ แม่2
2 X 1= 2
จากโจทย์ 10 ÷ 2 = ? 2 X 2= 4

2 X 3= 6
หาได้จาก 2 X ? = 10 2 X 4= 8
2 X 5= 10
2 X 6= 12
จะได้ว่า 2 X 5 = 10 2 X 7= 14
2 X 8= 16
2 X 9= 18
ดังนั้น ผลหาร ? = 5


ดังนั้น 10 ÷ 2 = 5

ตอบ ๕

63
(1) 12 X 3 =

วิธีคิด สูตรคูณ แม่2
จากโจทย์ 12 ÷ 3 = ? 3 X 1= 3
3 X 2= 6

3 X 3= 9
หาได้จาก 3 X ? = 12
3 X 4= 12
3 X 5= 15
จะได้ว่า
3 X 5 = 1 3 X 6= 18
3 X 7= 21
3 X 8= 24

3 X 9= 27
ดังนั้น 12 X 3 =

ตอบ ................



(2) 35 ÷ 5 = สูตรคูณ แม่5

วิธีคิด 5 X 1= 5
5 X 2= 10

35 ÷ 5 = ? 5 X 3= 15
5 X 4= 20


5 X ? = 35 5 X 5= 25
5 X 6= 30
5 X 7= 35
5 X = 35 5 X 8= 40

5 X 9= 45
ดังนั้น 35 ÷ 5 =

ตอบ ................

64
(3) 42 ÷ 6 =
สูตรคูณ แม่6

วิธีคิด 6 X 1= 6


42 ÷ 6 = ? 6 X 2= 15
6 X 3= 18
6 X 4= 24
6 X = 42 6 X 5= 30
6 X 6= 36

X = 42 6 X 7= 42
6 X 8= 48

ดังนั้น 42 ÷ 6 = 6 X 9= 54

ตอบ ...............


(4) 72 ÷ 8 = สูตรคูณ แม่8
8 X 1= 8
วิธีคิด 8 X 2= 16
72 ÷ 8 = ? 8 X 3= 24
8 X 4= 32

8 X ? = 72 8 X 5= 40
8 X 6= 48

8 X 7= 56
8 X = 72 8 X 8= 64
8 X 9= 72
ดังนั้น 72 ÷ 8 =

ตอบ ................

65
ปัญหา การหาร

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 3 โจทย์ปัญหาการหาร

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เมื่อกำหนดสถานการณ์เกี่ยวกับการหารให้สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้
2. สามารถเขียนประโยคสัญลักษณ์จากโจทย์ปัญหาที่กำหนดให้ได้
3. สามารถหาคำตอบจากโจทย์ปัญหาที่กำหนดให้ได้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ลูกปัดหรือลูกแก้วหรืออื่นๆ
2. เกมหยิบ
3. บัตรโจทย์ปัญหาการหาร
4. บัตรกิจกรรมการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการหาร

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ทบทวนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการหารโดยให้นักเรียนเล่นเกมหยิบ
2. ครูนำบัตรโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหารให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
2.1 ตอบคำถามเพื่อวิเคราะห์โจทย์
พราวมีขนม 15 ชิ้น แบ่งให้น้อง 3 คนๆ ละเท่าๆ กัน น้องจะได้ขนมคนละกี่ชิ้น
- นักเรียนอ่านโจทย์ปัญหาแล้วหาคำศัพท์ที่สำคัญ “แบ่ง” คนละเท่า ๆ กัน
- นักเรียนวิเคราะห์โจทย์ปัญหาโดยตรวจสอบดูว่าโจทย์ถามอะไร “น้องจะ

ได้ขนมคนละกี่ชิ้น”
- จากโจทย์ นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า โจทย์ ใ ห้ อ ะไรมาบ้ า ง “พราวมี ข นม 15 ชิ้ น

แบ่งให้น้อง 3 คนๆ ละเท่า ๆ กัน”


- นักเรียนคิดว่าแต่ละคนจะได้ขนมมากกว่า 10 หรือไม่ “ไม่”
- นักเรียนพิจารณาว่าจะหาคำตอบด้วยวิธีใด “การหาร”
- นักเรียนนำตัวเลขใดมาใช้ในการคำนวณ

66
2.3 ครูสาธิตวิธีการหาคำตอบโดยใช้ของจริง และวาดภาพประกอบในการ
เขียนประโยคสัญลักษณ์ในรูปของการหาร
2.4 ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจากโจทย์ที่ครูกำหนดให้ในทำนองเดียวกันตั้งแต่ข้อ
2.1 – 2.2 อีก 1 – 2 ตัวอย่าง
3. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการวิเคราะห์ปัญหา โดยจะต้องแบ่งโจทย์ออกเป็น
สิ่งที่โจทย์กำหนดให้ สิ่งที่โจทย์ต้องการทราบก่อน แล้วจึงคิดต่อว่าสิ่งที่โจทย์กำหนดให้นั้น
ลดลงครั้งละเท่ากันหรือไม่ ถ้าลดลงครั้งละเท่าๆ กัน ก็จะต้องแก้ปัญหาโดยวิธีการหาร

แต่ถ้าลดลงครั้งเดียวจะเป็นวิธีการลบ
4. เมื่อนักเรียนเข้าใจดีแล้วให้นักเรียนฝึกทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากชุด
ฝึกทักษะโจทย์ปัญหาจำนวน 3 ข้อ

บัตรโจทย์ปัญหาการหาร

มีน้ำตาล 10 กิโลกรัม ตักใส่ถุงเพื่อขายถุงละ 2 กิโลกรัม จะได้กี่ถุง


คุณแม่มีเงิน 20 บาท ต้องการแบ่งให้ลูก 5 คน คนละเท่าๆ กัน จะได้คนละเท่าไร


มีลำไย 100 กิโลกรัม จัดใส่เข่งเพื่อไปจำหน่ายเข่งละ 25 กิโลกรัม จะได้กี่เข่ง


5. ครูประเมินผลการฝึกทักษะและร่วมกันสรุปกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา

67
การวัดและประเมินผล
- ตรวจการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
- ตรวจการหาคำตอบจากโจทย์ปัญหา
- สังเกตความพึงพอใจในการเรียน
- แบบฝึกทักษะ
- บัตรโจทย์ปัญหา
- แบบสังเกตความพึงพอใจในการเรียน

เกณฑ์การประเมิน
- การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ถูกต้องข้อละ 1 คะแนน
- การหาคำตอบจากโจทย์ปัญหาได้ถูกต้องข้อละ 1 คะแนน
ทั้ง 2 รายการต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
1. บัตรโจทย์ปัญหาครูอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
2. ควรเน้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน
3. ควรปฏิบัติกิจกรรมตามข้อ 2 หลายๆ ตัวอย่างจนนักเรียนสามารถวิเคราะห์

โจทย์ปัญหาได้
4. ฝึกทักษะให้นักเรียนเขียนโจทย์ปัญหาด้วยตนเอง

68
บั ตรกิจกรรมการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาชุดที่ 1

หนูนามีลูกแก้ว 12 ลูก แบ่งให้เพื่อนคนละ 4 ลูก จะแบ่งให้เพื่อนได้ทั้งหมดกี่คน



ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. คำศัพท์ที่สำคัญที่พบคือ…..................................................
2. สิ่งที่โจทย์ถามคือ................................................................
3. สิ่งที่โจทย์กำหนดให้..........................................................
4. เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์...............................................
5. จะแบ่งให้เพื่อนได้ทั้งหมด.........................................คน

เกณฑ์การให้คะแนน
คำตอบถูกต้องให้ 1 คะแนน

แบบบันทึกการประเมินผลการฝึกทักษะการหาร


ความพึงพอใจ ผลการประเมิน สรุปผล
ที่ ชื่อ - สกุล
ผ่าน ไม่ผ ่าน ชุดที่.... ชุดที่.... ผ่าน ไม่ผ่าน
1

2
3

4
5


เกณฑ์การประเมิน
นักเรียนทำคะแนนได้ร้อยละ 70 ของแต่ละชุด ถือว่าผ่าน

69
ตั วอย่างแบบฝึกทักษะ โจทย์ปัญหาการหาร

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง ให้วิเคราะห์โจทย์แล้วเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำตอบ

ตัวอย่าง มีดินสอ 20 แท่ง แจกให้นักเรียนคนละ 5 แท่ง
จะแจกดินสอให้นักเรียนได้กี่คน

สิ่งที่โจทย์กำหนดให้ มีดินสอ 20 แท่ง แจกให้นักเรียนคนละ 5 แท่ง

สิ่งที่โจทย์ถาม จะแจกดินสอให้นักเรียนได้กี่คน

หาคำตอบด้วยวิธี การหาร แจกให้
ข้อความที่บ่งบอกคือ นักเรียนคนละ 5 แท่ง

ประโยคสัญลักษณ์ 20 ÷ 5 =


วิธีทำ มีดินสอ 20 แท่ง

แจกให้นักเรียนคนละ 5 แท่ง

ดังนั้น จะแจกดินสอให้นักเรียนได้ 20 ÷ 5 = 4 คน

ตอบ จะแจกดินสอให้นักเรียนได้ ๔ คน

70
1 บัวแก้วมีลูกโป่ง 64 ลูก มัดเป็นพวง พวงละ 8 ลูก จะได้กี่พวง


สิ่งที่โจทย์กำหนดให้ ............................................................................................


สิ่งที่โจทย์ถาม ............................................................................................

หาคำตอบด้วยวิธี ............................................................................................
ข้อความที่บ่งบอกคือ


ประโยคสัญลักษณ์ ............................................................................................

วิธีทำ บัวแก้วมีลูกโป่ง ………….. ลูก
มัดเป็นพวง พวงละ ………….. ลูก
ดังนั้น จะได้ ……...… ÷ …...……. = ……...…. พวง
ตอบ จะได้ ……...… พวง



คะแนนเต็ม 12 คะแนน
ได้............... คะแนน

ผ่าน J

ไม่ผ่าน L

71
ปัญหา การหาร

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 4 แผนผังความคิดพิชิตการหาร

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถเขียนแผนผังความคิดเกี่ยวกับการหารได้
2. สามารถเขียนโจทย์ปัญหาการหารได้
3. สามารถสรุปและนำเสนอผลงานได้
4. มีความพึงพอใจในการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. สติ๊กเกอร์ภาพหรือตารางรูปต่างๆ
2. บัตรรูปภาพต่างๆ
3. บัตรแผนผังความคิด โจทย์ปัญหาการหาร

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ทบทวนความคิ ด รวบยอดเกี่ ย วกั บ การหาร (การนั บ ลดครั้ ง ละเท่ า ๆ กั น )
หลายๆ ตัวอย่างจนเข้าใจ
2. นักเรียนทำกิจกรรมแผนผังความคิดพิชิตการหาร
2.1 นักเรียนปั๊มภาพหรือตัดสติ๊กเกอร์ภาพหรือบัตรรูปภาพต่างๆ ที่นักเรียน
ชอบลงในแผนผังความคิดจำนวน 10 รูป และเขียนตัวเลขเติมลงในช่องว่าง
2.2 นักเรียนจัดกลุ่มรูปภาพกลุ่มละเท่ากัน จำนวน 5 กลุ่ม โดยเขียนวงกลม
ล้อมรอบและเขียนจำนวนของแต่ละกลุ่มลงในช่องว่างของรูปผลไม้ในแต่ละผล
2.3 ครูซักถามวิธีการดำเนินการในการหาคำตอบ (การหาร) และเขียนเป็น
ประโยคสัญลักษณ์
2.4 เมื่อนักเรียนเข้าใจความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการหารแล้วให้นักเรียนเขียน
โจทย์ปัญหาจากแผนผังความคิดของนักเรียน โดยครูคอยชี้แนะช่วยเหลือ

72
3. นักเรียนฝึกพูด แต่งโจทย์ปัญหาการหารและหาคำตอบจากแผนผังความคิด
โดยมีครูคอยชี้นำช่วยเหลือ
4. นักเรียนฝึกการเขียนโจทย์ปัญหาการหารจากสถานการณ์ต่างๆ
5. นักเรียนปรับปรุงตกแต่งผลงานและครูประเมินผลงานของนักเรียน
6. นักเรียนร่วมมือกันเลือกผลงานนำเสนอที่ป้ายนิเทศและร่วมกันสรุป

การวัดและประเมินผล
- ตรวจการเขียนแผนผังความคิดเกี่ยวกับการหาร
- ตรวจการเขียนโจทย์ปัญหาการหาร
- สังเกตความพึงพอใจในการเรียน
- ชิ้นงานนักเรียน
- แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน

เกณฑ์การประเมิน
- เขียนแผนผังการคิดเกี่ยวกับการหารให้ข้อละ 1 คะแนน
- เขียนโจทย์ปัญหาการหารโดยเขียนสิ่งที่โจทย์กำหนดให้ 3 คะแนนเขียนสิ่งที่
ต้องการทราบ 2 คะแนน
ทั้ง 2 รายการต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
1. ครูอาจเพิ่มเติมกิจกรรมในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการหารโดยเพิ่มจำนวน
มากขึ้นตามระดับความสามารถ
2. ในกรณี ที่ นั ก เรี ย นยั ง ไม่ ส ามารถเขี ย นประโยคสั ญ ลั ก ษณ์ ไ ด้ ค วรให้ นั ก เรี ย น
ทบทวนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการหารก่อน
3. ฝึกทักษะการคิดคำนวณเรื่องลบและการคูณจำนวนง่ายๆ ก่อนเรียนโจทย์
ปัญหา

73
แบบประเมินผลกิจกรรม “แผนผังความคิดพิชิตการหาร”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ผลการปฏิบัติ
รายการ หมายเหตุ
ผ่ า น ไม่ ผ า
่ น
1. เขียนแผนผังความคิด
เกี่ยวกับการหาร
2. เขียนโจทย์ปัญหาการหาร
3. การสรุปและนำเสนอผลงาน

4. มีความพึงพอใจในการเรียน

สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน

74

แบบฝึ กทักษะการเขียนแผนผังความคิดพิชิตการหาร

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง 1. ให้นักเรียนปั๊มภาพที่นักเรียนชอบในกรอบสี่เหลี่ยมจำนวน 10 รูป
2. เขียนตัวเลขลงในกรอบด้านล่าง
3. จัดกลุ่มรูปภาพออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กันจำนวน 5 กลุ่ม โดยเขียน

วงกลมล้อมรอบ
4. เขียนจำนวนผลไม้ในแต่ละกลุ่มลงในช่องว่างของรูปผลไม้ในแต่ละผล
5. นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำตอบ
6. นักเรียนเขียนโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาร

................... ...................
...................

...................

...................

75


ฉันมี..........................................................อยู่ ..........................................................

แบ่งได้.................................................................................................................กลุ่ม


ประโยคสัญลักษณ์......................................................................................................

คำตอบคือ.................................................................................................................


เขียนโจทย์ปัญหาการหารได้ดังนี้
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……
…………………………………………………………………………………………....……

76
ปัญหา การหาร

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6

กิจกรรมที่ 5 การหารแบบตาราง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถสร้างตารางการหารได้
2. นักเรียนสามารถใช้การหารแบบตารางในการหาคำตอบได้
3. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน

สื่อ/อุปกรณ์
1. ตารางการหาร
2. ตัวอย่างการหารแบบตาราง
3. แบบฝึกทักษะ
4. สูตรคูณ

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับการคูณและให้ท่องสูตรคูณแม่ 2
2. ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับความหมายของการหารและความสัมพันธ์ของ
การคูณกับการหารร่วมกับการใช้สูตรคูณ เช่น

โจทย์ 10 ÷ 2 = ?
หาได้จาก 2 x = 10
จะได้ว่า 2x 5 = 10
ผลหาร = 5
ดังนั้น 10 ÷ 2 = 5

77
3. จากข้อ 2 ครูอธิบายความสัมพันธ์ของการหารกับการคูณดังนี้
10 ÷ 2 = 5
5 x 2 = 10

4. ครูอธิบายและสาธิตการหาผลหารจากการหารแบบตารางดังนี้
4.1 การสร้างตารางและความหมายของตารางในแต่ละช่อง
4.2 ขั้นตอนการหารแบบใช้ตารางและการตอบ เช่น

523 ÷ 4 =

วิธีทำ
ขั้นที่ 1 สร้างตารางการหารดังนี้

X ......................... ......................... ......................... ตัวลัพธ์
2 3 ตัวตั้ง
4 เป็นตัวหาร 4 5
ตัวลบ

ตัวเศษ



ขั้นที่ 2 นำ 4 ไปหาร 5 โดยใช้ความสัมพันธ์ของการคูณ (4X1=4) แล้วนำ 4 ไปลบออก

จากตัวตั้ง 5 เหลือเศษ 1 จากนั้นนำตัวเศษ 1 ไปเขียนไว้ที่หน้าตัวตั้งในหลักถัดไป

จะมีค่าเท่ากับ 12

X .......... 1 .......... ......................... ......................... ตัวลัพธ์
1 2 3 ตัวตั้ง
4 5

4 ตัวลบ

1 ตัวเศษ

78
ขั้นที่ 3 นำ 4 ไปหาร 12 โดยใช้ความสัมพันธ์ของการคูณ (4X3=12) แล้วนำ 12 ไปลบ

ออกจากตัวตั้ง 12 ไม่มีเศษให้ใส่เลข 0

X .......... 1 .......... .......... 3 .......... ........................... ตัวลัพธ์
5 1 2 3 ตัวตั้ง
4

4 12 ตัวลบ


1 0 ตัวเศษ


ขั้นที่ 4 นำ 4 ไปหาร 3 โดยใช้ความสัมพันธ์ของการคูณ (4X0=0) แล้วนำ 0 ไปลบออก

จากตัวตั้ง 3 เหลือเศษ 3

X .......... 1 .......... .......... 3 .......... .......... 0 .......... ตัวลัพธ์
5 1 2 3 ตัวตั้ง
4

4 12 0 ตัวลบ


1 0 3 ตัวเศษ


ดังนั้น 523 ÷ 4 = 130 เศษ 3
ตอบ ๑๓๐ เศษ ๓

5. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะการหารแบบตาราง

การวัดและประเมินผล
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- สังเกตพฤติกรรมการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน
- แบบฝึกทักษะ
- แบบสังเกต

79
เกณฑ์การประเมิน
- สร้างตารางการหารได้ถูกต้องทั้งหมด 10 คะแนน
- หาคำตอบได้ถูกต้อง ข้อละ 1 คะแนน
ทั้ง 2 รายการต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

แบบประเมินผลการหารโดยใช้ตาราง

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ผลการปฏิบัติ
รายการ หมายเหตุ
ผ่าน ไม่ผ่าน
1. การสร้างตารางการหาร

2. การหาคำตอบ
3. ความพึงพอใจในการเรียน




สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน

80
ตั วอย่างแบบฝึกทักษะการหาร แบบตาราง

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง ให้หาผลลัพธ์โดยใช้ตาราง

ตัวอย่าง 2,415 ÷ 8 =
วิธีทำ

X ..........0.......... ..........3.......... ..........0.......... ..........1.......... .....ตัวลัพธ์......

8
2 2 4 1 1 5 ตัวตั้ง


0 24 0 8 ตัวลบ



2 0 1 7 ตัวเศษ

ดังนั้น 2,415 ÷ 8 = 301 เศษ 7
ตอบ ๓๐๑ เศษ ๗

1.) 485 ÷ 3 =
วิธีทำ

X ...................... ....................... ....................... ตัวลัพธ์
3 4 8 5 ตัวตั้ง

ตัวลบ

ตัวเศษ


ดังนั้น 485 ÷ 3 = ……………….

ตอบ ………………………

81
2.) 627 ÷ 4 =
วิธีทำ
X ....................... ....................... ....................... ตัวลัพธ์

4
6 2 7 ตัวตั้ง


ตัวลบ


ตัวเศษ


ดังนั้น 627 ÷ 4 = ……………….

ตอบ ………………………



3.) 5,281 ÷ 5 =
วิธีทำ

X .................. .................. .................. .................. ตัวลัพธ์

5 ตัวตั้ง


ตัวลบ

ตัวเศษ


ดังนั้น 5,281 ÷ 5 = ……………….

ตอบ ………………………

82
4.) 2,905 ÷ 7 =
วิธีทำ

X .................. .................. .................. .................. ตัวลัพธ์

7 ตัวตั้ง

ตัวลบ

ตัวเศษ


ดังนั้น 2,905 ÷ 7 = ……………..............….

ตอบ …………………...................……




83

ปัญหาที่ 13. การบวกลบเศษส่วน

กิจกรรมที่ 1 เศษส่วนสดใสด้วยสีสัน แก้ปัญหาไม่สามารถบอกค่าเศษส่วนได้
กิจกรรมที่ 2 มาบวกเศษส่วนกันเถอะ แก้ปัญหาการบวกเศษส่วนไม่ได้
กิจกรรมที่ 3 ไม่เท่ากันก็บวกได้ แก้ปัญหาการบวกเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน
กิจกรรมที่ 4 ลบเศษส่วนกันเถอะ แก้ปัญหาการลบเศษส่วนไม่ได้
กิจกรรมที่ 5 ไม่เท่ากันก็ลบได้ แก้ปัญหาการลบเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน

84
ปัญหา การบวกลบเศษส่วน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-3

กิจกรรมที่ 1 เศษส่วนสดใสด้วยสีสัน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ให้นักเรียนเข้าใจความหมายของเศษส่วน
2. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะโยงเส้นภาพกับเศษส่วนได้

สื่อ/อุปกรณ์
กระดาษการ์ดสี ขนาด A4 จำนวน 4 แผ่น 4 สี สีชมพู สีฟ้า สีเขียว สีเหลือง

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ครูติดกระดาษขนาด A4 สีชมพู ให้นักเรียนดู 1 แผ่น




2. ครูนำกระดาษแผ่นที่ติดไว้มาพับเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วคลี่ออกให้เป็นแผ่น
ติดไว้เหมือนเดิม ให้นักเรียนสังเกตว่ากระดาษถูกแบ่งออก ด้วยรอยพับเท่า ๆ กัน
เป็น 4 ส่วน




3. นำกระดาษขนาด A4 สีเขียวมาตัดให้มีขนาดเท่ากับ 3 ส่วน ของกระดาษ

แผ่นสีชมพูที่ติดไว้ แล้ววางทับลงไปบนกระดาษสีชมพู ให้นักเรียนสังเกตว่ากระดาษ

สีเขียวทับกระดาษสีชมพูอยู่กี่ส่วน (3 ส่วน)


85
ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า กระดาษสีเขียวทับกระดาษสีชมพูอยู่ 3 ส่วนนี้ เราบอก
จำนวนเป็นเศษส่วนได้ว่า กระดาษสีเขียวมีขนาด 3 ส่วนใน 4 ส่วน ของกระดาษสีชมพู
หรือพูดว่า กระดาษสีเขียวมีขนาดเศษ 3 ส่วน 4 เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ 3 ครูเขียน 3
4 4
3
ให้นักเรียนดูที่กระดาษสีเขียวด้วย พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามครูด้วยว่า อ่านว่า เศษ
4
สามส่วนสี่
4. จัดกิจกรรมซ้ำ โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจรรมจนนักเรียนเข้าใจ
เศษสามส่วนสี่ 3 (เศษ 3 ส่วน 4) โดยเปลี่ยนสีของกระดาษไปเรื่อยๆ
4
5. ครูนำกระดาษขนาด A4 สีฟ้า มาตัดให้มีขนาดเท่ากับ 2 ส่วน ของกระดาษ
แผ่นสีชมพู ให้นักเรียนสังเกตว่ากระดาษสีฟ้าทับกระดาษสีชมพูอยู่กี่ส่วน (2 ส่วน)
ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า กระดาษสีฟ้าทับกระดาษสีชมพูอยู่ 2 ส่วนนี้ เราบอก
จำนวนเป็นเศษส่วนได้ เศษ 2 ส่วน 4 ของกระดาษสีชมพู หรือพูดว่า กระดาษสีฟ้ามีขนาด
เศษ 2 ส่วน 4 เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ 2 ครูเขียน ให้
2 นักเรียนดูที่กระดาษสีฟ้าด้วย
4 4





6. จัดกิจกรรมซ้ำๆ โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมจนนักเรียน
2
เข้าใจเศษส่วน (เศษ 2 ส่วน 4)
4
7. ครูนำกระดาษขนาด A4 สีเหลือง มาตัดให้มีขนาดเท่ากับ 1 ส่วน ของกระดาษ
แผ่นสีชมพูที่ติดไว้ในกิจกรรมที่ 2 แล้ววางทับลงไปบนกระดาษสีชมพูหรือพูดว่า กระดาษ

สีเหลืองมีขนาด เศษ 1 ส่วน 4 เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ 1 ครูเขียน


1 ให้นักเรียนดู

4 4
ที่กระดาษสีเหลืองด้วย





86
8. จัดกิจกรรมซ้ำๆ โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมจนนักเรียน
1
เข้าใจเศษส่วน (เศษ 1 ส่วน 4)
4
9. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล
- สังเกตความถูกต้องของการปฏิบัติกิจกรรม
- สังเกตความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- แบบสังเกต
- แบบฝึกทักษะ
- การปฏิบัติกิจกรรมตามตาราง
- ทำแบบฝึกทักษะได้ถูกต้องข้อละ 1 คะแนน
- เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้องให้ข้อละ 2 คะแนน
- หาคำตอบจากประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้องให้ข้อละ 1 คะแนน
ทั้ง 2 รายการต้องได้คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์ประเมิน

เกณฑ์การประเมิน
นักเรียนปฏิบัติได้ผ่านทุกรายการจึงถือว่าผ่าน

ข้อเสนอแนะ
1. ครูปรับเปลี่ยนสื่อเป็นอย่างอื่นได้เช่นใช้แท่งไม้ ตัวต่อ เป็นต้น
2. นำกิ จ กรรมทำนองเดี ย วกั น นี้ ไ ปฝึ ก ให้ นั ก เรี ย นเกิ ด ความเข้ า ใจในจำนวน

1 1 2 นต้น
เศษส่วนอื่นๆ เช่น , , เป็
2 3 3




87
แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม เศษส่วนสดใสด้วยสีสัน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ผลการปฏิบัติ
รายการ หมายเหตุ
ผ่ า น ไม่ ผ า
่ น
1. บอกความหมายของเศษส่วนได้
2. ทำแบบฝึกทักษะ

3. มีความพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม




สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน

88

แบบฝึ กทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง ให้นักเรียนโยงเส้นรูปภาพ กับเศษส่วนที่มีความหมายตรงกัน


ตัวอย่าง







1.




2.




3.





4.

89
ปัญหา การบวกเศษส่วน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6

กิจกรรมที่ 2 มาบวกเศษส่วนกันเถอะ

จุดประสงค์การเรียนรู้
บวกเศษส่วนที่มีส่วนเท่ากันได้

สื่อ/อุปกรณ์
1. กระดาษ ขนาด A4
2. ดินสอสี 2 สี เช่น สีแดง และสีน้ำเงิน

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนพับกระดาษเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน คลี่กระดาษออก ให้นักเรียน
ระบายสีแดง 2 ส่วน ซึ่งจะหมายถึง 2 4




2. ให้นักเรียนระบายสีน้ำเงิน ในกระดาษที่พับไว้อีก 1 ส่วน ซึ่งหมายถึง 1 4




3. ถามนักเรียนว่าส่วนที่ระบายสีไว้ทั้งหมด เป็นกี่ส่วน นักเรียนจะตอบว่า 3 ส่วน
2 1 3
ดังนั้น เมื่อนำ บวกกั
4 บ จะได้
4 ค ำตอบเป็ น เท่ า ใด (ตอบจะได้ เ ป็ น )
4
4. ครูตั้งโจทย์การบวกเศษส่วนที่มีส่วนเท่ากันหลายๆ ข้อ ให้นักเรียนฝึกทักษะ
โดยการพับกระดาษ จากนั้นให้นักเรียนสรุปการบวกเศษส่วนที่มีส่วนเท่ากัน
5. ทำแบบฝึกทักษะ

90
การวัดและประเมินผล
- สังเกตความถูกต้องของการปฏิบัติกิจกรรม
- สังเกตความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- แบบสังเกต
- ทำแบบฝึกทักษะ

เกณฑ์การประเมิน
- นักเรียนปฏิบัติได้ผ่านทุกรายการ จึงถือว่าผ่าน
- ทำแบบฝึกทักษะได้ร้อยละ 60 ถือว่าผ่าน

ข้อเสนอแนะ
ครูปรับเปลี่ยนสื่อเป็นอย่างอื่นได้ และปรับจำนวนเศษส่วนให้เหมาะสมกับระดับ
ความยากง่าย


แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม มาบวกเศษส่วนกันเถอะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ผลการปฏิบัติ
รายการ หมายเหตุ
ผ่าน ไม่ผ่าน

1. บวกเศษส่วนที่มีส่วนเท่ากัน
2. มีความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

3. ทำแบบฝึกทักษะ



สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน

91

แบบฝึ กทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง จงหาคำตอบจากรูปภาพและประโยคสัญลักษณ์ให้ถูกต้อง


1.





2.





3.






4.





5.

92
ปัญหา การบวกลบเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6

กิจกรรมที่ 3 ไม่เท่ากันก็บวกได้

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนบวกเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากันได้
2. นักเรียนมีความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

สื่อ/อุปกรณ์
1. กระดาษ ขนาด A4
2. ดินสอสี 2 สี หรือปากกาสี 2 สี เช่น สีแดง และสีน้ำเงิน

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1 1
1. ครูต้องการให้นักเรียนบวกเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน เช่น + โดยให้ นักเรียน
2 3
พับกระดาษในแนวตั้ง 2 ส่วน เท่าๆ กัน คลี่กระดาษออกและให้นักเรียนระบายสีแดง 1 ส่วน
ซึ่งหมายถึง 1
2






2. ให้นักเรียนพับกระดาษในแนวขวางให้เป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน จากนั้นให้คลี่
กระดาษออกและให้ระบายสีน้ำเงิน 1 ส่วน ซึ่งหมายถึง 1 3





93
3. ให้นักเรียนนับดูว่า กระดาษถูกพับให้เล็กลงเป็นส่วนเท่าๆ กัน กี่ส่วน นักเรียน
จะตอบว่าได้ 6 ส่วน ให้นักเรียนนับดูว่ามีกี่ส่วน ที่ถูกระบายด้วยสีแดง ซึ่งให้คำตอบว่า

3 ใน 6 ส่วน และถูกระบายสีน้ำเงินมีกี่ส่วน ได้คำตอบว่า 2 ส่วนใน 6 ส่วน ดังภาพ








1 (หมายถึงสีน้ำเงินที่เปลี่ยนเป็น
3 ) บวกกับ 1 (หมายถึงสีน้ำเงินที่เปลี่ยนเป็น
2 )

2 6 3 6
จะได้ทั้งหมด กี่ส่วนใน 6 ส่วน คำตอบคือ 5 ส่วน นั่นคือ

1 + =
1 5
2 3 6

4. ครูฝึกให้นักเรียนหาผลบวกของเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน โดยการพับกระดาษ
อีกหลายๆ ข้อ เช่น

2 + , + , +
1 3 1 2 1
3 4 5 3 5 2

5. ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล
- สังเกตความถูกต้องของการปฏิบัติกิจกรรม
- สังเกตความพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- แบบสังเกต
- แบบฝึกทักษะ

94
เกณฑ์การประเมิน
- นักเรียนปฏิบัติได้ผ่านทุกรายการ ถือว่าผ่าน

ข้อเสนอแนะ
ครูปรับเปลี่ยนสื่อเป็นอย่างอื่นได้ และปรับจำนวนเศษส่วนให้เหมาะสมกับระดับ
ความยากง่าย


แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม “ไม่เท่ากันก็บวกได้”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ผลการปฏิบัติ
รายการ หมายเหตุ
ผ่าน ไม่ผ่าน

1. บวกเศษส่วนที่มีส่วนเท่ากัน
2. มีความพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม

3. ทำแบบฝึกทักษะ



สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน





95

แบบฝึกทักษะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............


ตัวอย่าง








จงหาผลบวกต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.





................... ................... ...........................

...................
+ ...................
= ...........................



2.




................... ................... ...........................
...................
+ ...................
= ...........................

96
3.






................... ................... ...........................
...................
+ ...................
= ...........................



4.






................... ................... ...........................
...................
+ ...................
= ...........................




5.







................... ................... ...........................
...................
+ ...................
= ...........................

97
ปัญหา ความหมายของการลบเศษส่วน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6

กิจกรรมที่ 4 ลบเศษส่วนกันเถอะ

จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนรู้ความหมายของการลบเศษส่วน

สื่อ/อุปกรณ์
1. กระดาษ ขนาด A4 สีขาว 1 แผ่น
2. กระดาษการ์ดสีชมพู 1 แผ่น
3. กรรไกร

วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. ครูพับกระดาษ A4 (สีขาว) ออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน





2. ครูนำกระดาษการ์ดสีชมพูมาพับเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน ตัดทิ้ง 1 ส่วน นำส่วน

3
ที่เหลือ 3 ส่วน ตัดเป็น จากนั ้นนำไปวางบนกระดาษ A4 (สีขาว) ดังภาพ
4






3. ตัดกระดาษการ์ดสีชมพูออก 2 ส่วน โดยตัดออกครั้งละ 1 ส่วน ส่วนที่เหลือ

คิดเป็น 1
4

98
4. ครูสรุปความหมายของการลบเศษส่วน
5. ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมซ้ำ ๆ จนกว่านักเรียนจะเข้าใจ

การวัดและประเมินผล
1. สังเกตการเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรม
2. ความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

เกณฑ์การวัด
นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้ผ่านทุกรายการ ถือว่าผ่าน

ข้อเสนอแนะ
ครูปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม



แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม ลบเศษส่วนกันเถอะ

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ผลการปฏิบัติ
รายการ หมายเหตุ
ผ่าน ไม่ผ่าน
1. ปฏิบัติกิจกรรมได้ถูกต้อง
2. ความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม





สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน

99
ปัญหา การลบเศษส่วน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6

กิจกรรมที่ 5 ไม่เท่ากันก็ลบได้

จุดประสงค์การเรียนรู้
ลบเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากันได้

สื่อ/อุปกรณ์
1. กระดาษ ขนาด A4 สีขาว 1 แผ่น
2. กระดาษการ์ดสีชมพู (สีอะไรก็ได้)
3. กรรไกร
4. กาว

วิธีการดำเนินกิจกรรม
5 2
1. ทบทวนการลบเศษส่วนที่มีส่วนเท่ากันให้นักเรียนดู เช่น – =
3 4 8 8
2. ครูให้โจทย์การลบเศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน เช่น –
8 16
3. ครูพับกระดาษสีแดงออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน



4. ครูตัดกระดาษสีเขียวเท่ากับ 3 ส่วนของสีแดง แล้วนำไปทับกระดาษสีแดง

จะได้ดังภาพ นักเรียนเขียนเศษส่วน

3
8

5. ครูให้นักเรียนดูเศษส่วนดังภาพ แล้วถาม

4
16

100
6. นักเรียนเปรียบเทียบเศษส่วน 4
3 กับ
8 16 โดยนำรูปภาพทั้งสองซ้อนทับกัน

3 กครั้งจะได้ดังภาพ แล้วอธิบายว่าส่วนทั้งสองจะเท่ากัน ดังนี้


จากนั้นครูขีดเส้นแบ่งครึ่ง อี
8
6
เพราะฉะนั น
้ 6 4
– =
16 16 16




7. ครูพับส่วนที่ระบายสีออก 4 ส่วน ก็จะเหลือดังภาพ




6 4 2
เหลือที่ระบายสีเท่าไร (2 ส่วน) ดังนั้น – =
16 16 16

8. นักเรียนฝึกทำตามขั้นตอนข้อ 4 – 7 โดยครูกำหนดโจทย์เศษส่วนให้

4 1
9. ครูถามขั้นตอนการคิด โดยให้ดูโจทย์เศษส่วน เช่น – =
6 2
สรุปได้ดังนี้
1. ต้องทำส่วนให้เท่ากันก่อน
2. นำเศษลบกับเศษ
3. ส่วนคงเดิม
10. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล
- สังเกตการเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรม
- ตรวจแบบฝึกทักษะ
- แบบสังเกต
- แบบฝึกทักษะ

101
เกณฑ์การประเมิน
- นักเรียนปฏิบัติได้ผ่านทุกกิจกรรม ถือว่าผ่าน
- ทำแบบฝึกทักษะถูกร้อยละ 50 ถือว่าผ่าน

ข้อเสนอแนะ
1. ครูควรยกตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ
2. กิจกรรม / สื่อปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม


แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม ไม่เท่ากันก็ลบกันได้

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ผลการปฏิบัติ
รายการ หมายเหตุ
ผ่าน ไม่ผ่าน

1. ปฏิบัติกิจกรรมได้ถูกต้อง
2. ความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม




สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน







102
บรรณานุกรม


กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการใช้แบบทดสอบความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน

คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การศาสนา.


ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ. (2552). แบบฝึกอ่านเขียนเรียนรู้กับลุงฮูก ชุดที่ 5 การหาร

และโจทย์ปัญหา เล่ม 1 ความหมายของการหารและความสัมพันธ์กับการคูณ.

กรุงเทพมหานคร: บริษัทโกลบอลเอ็ด จำกัด.


ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ. (2552). แบบฝึกอ่านเขียนเรียนรู้กับลุงฮูก ชุดที่ 1 จำนวน

และตัวเลข เล่ม 2 การเขียนตัวเลขไทยแทนจำนวน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท

โกลบอลเอ็ด จำกัด.
ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ. (2552). แบบฝึกอ่านเขียนเรียนรู้กับลุงฮูก ชุดที่ 1 จำนวน

และตัวเลข เล่ม 1 จำนวนนับ 1 ถึง 10 และ 0. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโกลบอลเอ็ด

จำกัด.
ผดุง อารยะวิญญู. (2544). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.
ผดุง อารยะวิญญู. (2546). วิธีสอนเด็กเรียนยาก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.
ไพเราะ พุ่มมั่น. (2537). กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอด. กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.
ไพเราะ พุ่มมั่น. (2546). กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอด. กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.
หน่วยศึกษานิเทศก์. คู่มือครูแนวการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ISBN.97480051-3.


Bakken, J.P. Strategy Instruction Ideas for Students with Learning Disabilities.

Illinois State University.


Lerner, J. (2006). Learning Disabilities: Theories,Diagnosis,and Teaching Strategies.

Boston : Houghton Mifflin Company.




103
ภาคผนวก

105
การสอนด้วยวิธี Touch Math

วิธีที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัส
Touch Math เป็นการใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านผสมผสานกัน เป็นการออกแบบ
เพื่อการได้ยิน การมองเห็น และการสัมผัส/การเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว นักเรียนได้เห็น
พูด ได้ยิน และสัมผัส โดยการสัมผัสจุดบนตัวเลขต่างๆ จึงทำให้เขาเรียนรู้ได้ดีกว่าเพราะ
เขาเรียนรู้ผ่านหลากหลายช่องทางการเรียนรู้

ให้นักเรียนได้เคลื่อนที่หรือเดิน
Touch Math ก็คือ การสัมผัสจุด เมื่อได้สัมผัสจะทำให้เกิดการเรียนรู้ไปในตัว

การนับที่เป็นรูปแบบการสัมผัสจุด เป็นสื่อการสอนที่ใช้ได้ผลกับนักเรียนโดยมีหลักการ
เรียนรู้ เป็นรูปธรรม เป็นภาพที่ชัดเจนหรือเป็นสัญลักษณ์ ในการสัมผัสจุดนักเรียนสามารถ
ใช้ดินสอเขียนตามลงไปบนกระดาษหรือการใช้นิ้วมือลากตามจุดได้ นี่เป็นการเรียนรู้ที่
สำคัญของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

การใช้สื่อการมองเพื่อการช่วยเหลือ
การสอนในระดับแรกด้วยวิธี Touch Math เป็นการสอนให้นักเรียนใช้การมอง

ซึ่งเป็นการพัฒนาเรื่องทิศทาง ซ้าย ขวา ลดการมองตัวเลขแบบกลับหัวกลับหาง ทำให้


การคำนวณง่ า ยขึ้ น และลดการคำนวณ นั ก เรี ย นมี ทั ศ นคติ ที่ ดี มี ค วามมั่ น ใจ มี ค วาม
กระตือรือร้น ในการทำเลขที่มีความสลับซับซ้อนหรือยากขึ้นไป วิธีนี้ เหมาะสำหรับเด็ก
อายุ 6 ปี หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่อาจจะกลัวตัวเลขที่เต็มหน้ากระดาษ
แต่หน้ากระดาษของเราจะไม่ยุ่งเหยิง เพราะจะใช้ตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ที่เหมาะสม และ
ตัวเลขที่เป็นปัญหา การสอน Touch Math เป็นเรื่องสนุกและไม่ซับซ้อน ทำให้เด็กทำ
คณิตศาสตร์ได้
การใช้การสัมผัส/การนับที่เป็นรูปแบบนั้นเด็กเล็กๆ สามารถเรียนรู้จำนวนได้จาก
จุดที่แสดง

106
ขั้น ตอนในการใช้ตัวเลขโดยการใช้การสัมผัส (Touch Math)

1. การฝึกประสาทสัมผัสระหว่างตากับมือ โดยการใช้กจิ กรรมระบายสี (color code)

ตัวอย่าง


ชื่อ........................................................................
ข้อเสนอแนะให้นักเรียนลงสีตามจุดที่กำหนดให้และถามนักเรียนว่าเมื่อลงสีตามจุดแล้ว
เป็นรูปภาพอะไร
สีเขียว สีส้ม

107
2. เรียนรู้โดยนำรูปภาพ เป็นตัวนำสายตา และให้นักเรียนเปรียบเทียบกับตัวเลขที่มี
ภาพนำสายตา (Touchpoint Object) กับตัวเลขจุด (TouchPoint) ที่อยู่ด้านล่างที่มี
ลักษณะเหมือนกัน เพื่อให้นักเรียนสามารถจำภาพสัญลักษณ์ตัวเลข แล้วค่อยถอดจุดออก
จากตัวเลขเหลือเฉพาะสัญลักษณ์ตัวเลขธรรมดา

ตัวอย่าง
หนึ่ง สอง

















108
3. การนับตัวเลขโดยการใช้การสัมผัส (Touch Math) ตั้งแต่ 6 ถึง 9 อาจใช้วงกลม
รอบจุดแล้วให้นับซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันจำนวนจุดที่มีจำนวนมากเกินไป
บนตัวเลขนั้นๆ

ตัวอย่าง











4. การนับจุดของตัวเลข Touch Math


2
3
2

3 2 , 2

2 3 3,
5 5, 6

, 2
7
, 2 3, 9 3,
, 2
5, 6
3, 5, 6 7, 8
7, 8
5, 6

109
5. การเขียนตัวเลข

ตัวอย่าง












110
111
6. การรู้ค่าตัวเลข

ตัวอย่าง จับคู่ตัวเลขให้ตรงกับรูปภาพ




112
7. การบวกโดยการนับภาพบนตัวเลข ของ Touch Math Object จะมีภาพบนตัวเลข
เท่าจำนวนตัวเลข

ตัวอย่าง

ชื่อ....................................................................... ชั้น....................... เลขที่.....................

คำชี้แจง จงหาผลบวกให้ถูกต้อง



รวม

113
ชื่อ....................................................................... ชั้น....................... เลขที่.....................

คำชี้แจง จงหาผลบวกให้ถูกต้อง

114
8. การบวกเลขด้วยตัวเลขจุด
ตัวอย่าง 5 บวก 7 ในระยะแรกให้นับจุดของเลข 5 มี 5 จุด จากนั้นนับต่อที่เลข 7
โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้น คำตอบคือ 12

2 1

3
4

5

6 7
12
8 9

10 11






จากนั้นเริ่มถอดจุดในตัวบวกออกเพื่อให้เด็กคิดเอง












สุดท้ายเริ่มถอดจุดทั้งตัวตั้งและตัวบวกเป็นตัวเลข

115
9. การลบเลข
ตัวอย่าง 9 -7 ในระยะแรกให้นับจุดของตัวตั้งคือเลข 9 จากตำแหน่งสุดท้าย โดย

หักออก 7 คำตอบคือ 2
1 2
9 3 4
5 6
7 8







จากนั้นเริ่มถอดจุดในตัวลบออกเพื่อให้เด็กคิดเอง สุดท้ายเริ่มถอดจุดทั้งตัวตั้งและ
ตัวลบเป็นตัวเลข เหมือนกับการบวก

10. การคูณโดยการนับจุดบนตัวเลข
การคูณเป็นการบวกตัวตั้งซ้ำกี่เท่า ซึ่งนักเรียนอาจจะใช้กิจกรรมนับเม็ดลูกคิดมา
ก่อนเพื่อให้เข้าใจความหมายของการคูณ
ตัวอย่าง 7x2 คือ 7 บวกตัวเอง 2 ครั้ง ดังนั้นเด็กจะนับตัวตั้ง 2 รอบ คำตอบคือ 14

14 7 1 2 8 9

3 4 10 11
12 13 5 6





จากนั้นเริ่มถอดจุดในตัวคูณออกเพื่อให้เด็กคิดเอง สุดท้ายเริ่มถอดจุดทั้งตัวตั้ง
และตัวคูณเป็นตัวเลข เหมือนกับการบวก จากนั้นอาจจะนำตารางการคูณมาช่วยในการ
คิดอีกก็ได้ (หาข้อมูลเพิ่มเติมจาก TouchMath.com)

116
ตัวอย่างสื่อสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้



จำนวนตัวเลข
ชุด Carry and Borrow Line
ช่วยสอนค่าของตัวเลขและการบวก ลบ จำนวนที่มีสองหลัก




เส้นจำนวน
จะช่วยให้เด็กจัดระบบตัวเลขอย่างเป็นแบบแผน






อุปกรณ์คณิตศาสตร์แท่งจำนวน MeasureLine
เป็นบรรทัด 12 หน่วยเพื่อการคำนวณ







อุปกรณ์คณิตศาสตร์แท่งจำนวน เศษส่วน
เป็นแท่งหลักเศษส่วนเพื่อการคำนวณ


117
เศษส่วน
ชุด เส้นจำนวนเศษส่วน FractionLine
อุปกรณ์ที่สอนให้เด็กเข้าใจรูปเศษส่วน




กระดาษเส้นจำนวน เศษส่วน
เพื่อการคำนวณ






เศษส่วนพิซซ่า





ลูกเต๋าเศษส่วน






บัตรเศษส่วน


118
จำนวนเงิน
ชุด Coin-U-Lator
อุปกรณ์ที่บอกค่าของเหรียญเงิน การนับเงิน






ร้านขายของจำลอง
















ตารางแลกเงิน




119
เวลา
นาฬิกาวงกลม
จะมี 2 ขนาดสอนเรื่องเวลา การบอกเวลา








บัตรเวลา







120
การคำนวณ
เครื่องคิดเลขขนาดใหญ่

ง่ายต่อการมอง การหาตัวเลข และการกดปุ่มคำนวณ





ตาราง 100 ช่องเกี่ยวกับการบวก ลบ คูณ
ช่วยในการคำนวณการบวก การลบ การคูณ



ตัวบล็อคต่อคำนวณ






ลูกคิดแท่งหลัก
ใช้คำนวณเลขตามหลัก







ไม้คิดคำนวณการบวกลบคูณหาร




121



บัตรภาพประโยคสัญลักษณ์








กระดาษหาคำตอบและแผ่นพลาสติกสี

122
กราฟ
















พื้นที่

บล็อคพื้นที่ตาราง

123
รูปเรขาคณิต













กระดานสร้างรูปเรขาคณิต







แท่งต่อรูปทรงเรขาคณิต


124
การวัด ไม้บรรทัด















ร้อยละ

125
การชั่งน้ำหนัก




126
คณะทำงานปรับเอกสาร

เทคนิค วิธีการและสื่อ
สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

ที่ปรึกษา
1. นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. นางเบญจา ชลธาร์นนท์ ข้าราชการบำนาญ (อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
6. นางสุจินดา ผ่องอักษร ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส
7. นายธีระ จันทรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ตรวจพิจารณาเอกสาร
1. นางสุจินดา ผ่องอักษร ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส
2. นางดารณี ศักดิ์ศิริผล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
3. นางเกตุมณี มากมี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้กำหนดกรอบในการปรับเอกสาร
1. นางสุจินดา ผ่องอักษร ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส
2. นางผ่องศรี สุรัตน์เรืองชัย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
3. นางสาวเจษฎา กิตติสุนทร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

คณะผู้ปรับเอกสาร
1. นางเรืองรอง ศรแก้ว โรงเรียนบ้านอุโมงค์
สำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาสมุทรปราการเขต 1
2. นางเรไร ตาปนานนท์ โรงเรียนวัดพระยาปลา สังกัดกรุงเทพมหานคร
3. นางสายสวาท อรรถมานะ รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9
4. นายยุทธนา ขำเกื้อ รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4
5. นางสาวพรรณา นรินทร ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง
6. นางนภัสวรรณ อุปศรี โรงเรียนวัดสระแก้ว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1

127
7. นางกนิษฐา ลี้ถาวร โรงเรียนวัดด่านสำโรง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
8. นางวรรณิภา ภัทรวงศ์สินธุ์ โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 3
9. นางจุฬาภรณ์ ด้วงบาง โรงเรียนบ้านคลองน้ำเย็น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1
10. นางกฤติยา กริ่นใจ โรงเรียนชุมชนบ้านหลุมรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2
11.นางอารีรัตน์ สงวนทรัพย์ โรงเรียนบ้านโคกเจริญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา
12. นายสมชาย กาซอ โรงเรียนชุมชนบ้านสะนิง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1
13. นางสาวสุกัญญา จิวัฒนาชวลิตกุล โรงเรียนบ้านกอแนะเหนือ
14. นางผ่องศรี สุรัตน์เรืองชัย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
15. นางสาวเจษฎา กิตติสุนทร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

บรรณาธิการ
นางสาวพรรณี คุณากรบดินทร์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาพปก
นางทองพูน สร้อยดอกจิก โรงเรียนบ้านท่าทุ่ม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1




128
คณะทำงาน

พัฒนาเทคนิควิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 267/2547 และ 670/2548

คณะกรรมการที่ปรึกษา

1. นางพรนิภา ลิปพะยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นายดิเรก พรสีมา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. นายชินภัทร ภูมิรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. นางเบญจา ชลธาร์นนท์ ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส
5. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

คณะกรรมการดำเนินงาน

1. นางเบญจา ชลธาร์นนท์ ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส ประธานกรรมการ
2. นายธีระ จันทรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รองประธานกรรมการ
3. นางสุจินดา ผ่องอักษร ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองประธานกรรมการ
4. นางสมบูรณ์ อาศิรพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรรมการ
5. นางสมพร หวานเสร็จ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น กรรมการ
6. นางศรีจิตต์ ขวัญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง กรรมการ
7. นางสาวอารีย์ เพลินชัยวาณิช ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก กรรมการ
8. นางยุพิน คำปัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ
9. นางอรอินทร์ คลองมิ่ง ผู้ช่วยอำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา กรรมการ
10. นางสาวบุษบา ตาไว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสุโขทัย กรรมการ
11. นายนะรงษ์ ชาวเพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสุรินทร์ กรรมการ
12. นางสาววัลยา สุทธิพิบูลย์ ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร กรรมการ
13. นายอำนวย ทิมมี ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 กรรมการ
14. นางสาวเพ็ญพรรณ กรึงไกร ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กรรมการ
15. นางอัจฉราวรรณ มะกาเจ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กรรมการ
16. นางจินตนา อัมพรภาค ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 กรรมการ
17. นางสุพรรณี อ่อนจาก โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาราม สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร กรรมการ
18. นางจุฬาภรณ์ ด้วงบาง โรงเรียนบ้านคลองน้ำเย็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 กรรมการ
19. นางสาวเรไร ตาปนานนท์ โรงเรียนวัดพระยาปลา สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร กรรมการ
20. นางเรืองรอง ศรแก้ว โรงเรียนบ้านอุโมงค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 กรรมการ
21. นางละออ จันทรเดช โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 กรรมการ

129
22. นางสุจริต เทอดกิติวรางค์ โรงเรียนอนุบาลพังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา กรรมการ
23. นางทรรศนีย์ ปั้นประเสริฐ โรงเรียนบ้านหนองไก่แก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 กรรมการ
24. นางจงจิตร์ เนตรวงษ์ โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กรรมการ
25. นางอารมย์ บุญเรืองรอด โรงเรียนหนองสองตอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กรรมการ
26. นางประทุม ช้างอยู่ โรงเรียนวัดพิกุลเงิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 กรรมการ
27. นางละมัย ชิดดี โรงเรียนบ้านเมืองปักสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 3 กรรมการ
28. นายดำรงวุฒิ ดอกแก้ว โรงเรียนวัดพระหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 2 กรรมการ
29. นางเล็กฤทัย คำศรีระภาพ โรงเรียนชุมชนคำตานาหนองสูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3 กรรมการ
30. นางโสภิศ แสงสีศรี โรงเรียนวัดปากคลอง (ศุทธยาลัยอุทิศ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1 กรรมการ
31. นายสุมนตรี คำขวา โรงเรียนบ้านสำนักพิมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 กรรมการ
32. นางอัธยา กาญจนดิษฐ์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 77 (บ้านโนนสันติ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 กรรมการ
33. นางทิพวรรณ มีผิว โรงเรียนวัดสกุณาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท กรรมการ
34. นางพจงจิตต์ กษมาภรณ์ โรงเรียนวัดพรหมสาคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี กรรมการ
35. นางสัณห์สิริ นาคยา โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 กรรมการ
36. นางเยาวนิตย์ พรหมเรือง โรงเรียนนิคมสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง กรรมการ
37. นางวรรณิภา ภัทรพงศ์สินธุ์ โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กรรมการ
38. นางฐิติยาภรณ์ หล่อสุวรรณ โรงเรียนอนุบาลศรีเทพ (สว่างวัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 กรรมการ
39. นางประไพ จิตบรรเทา โรงเรียนชุมชนบึงบา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 กรรมการ
40. นางกฤติยา กริ่มใจ โรงเรียนชุมชนบ้านหลุมรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2 กรรมการ
41. นางสำรวย พันธุรัตน์ โรงเรียนประชาผดุงวิทย์ (ฟ้องฟุ้งอุทิศ) กรรมการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
42. นางสาววงเดือน อภิชาติ โรงเรียนราชวินิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กรรมการ
43. นางทิพย์วรรณ เตมียกุล โรงเรียนวัดพรหมสาคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี กรรมการ
44. นางเสาวนีย์ เพ็ชรสงค์ โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กรรมการ
45. นางนภัสวรรณ อุปศรี โรงเรียนวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 กรรมการ
46. นางสมสนิท นามราช โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 กรรมการ
47. นางสาวลออ เอี่ยมอ่อน โรงเรียนหนองหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กรรมการ
48. นางพรนิภา ตอสกุล โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กรรมการ
49. นางบุปผา ล้วนเล็ก โรงเรียนบ้านท่าฝา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 2 กรรมการ
50. นางจุฬาภรณ์ ด้วงบาง โรงเรียนบ้านคลองน้ำเย็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 กรรมการ
51. นางกนิษฐา ลี้ถาวร โรงเรียนวัดด่านสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กรรมการ
52. นางสาวสำเนียง ศิริเกิด โรงเรียนวัดบางโฉลงใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 กรรมการ
53. นางเริงหทัย นิกรมสุข โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กรรมการ
54. นายพะโยม ชิณวงศ์ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม กรรมการ
55. นายชูศักดิ์ ชูมาลัยวงศ์ โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล กรรมการ
56. นายพิชิต ฤทธิ์จรูญ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรรมการ

130
57. นางเจนจิรา เทศทิม วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
58. นางสาวเกยูร วงศ์ก้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรรมการ
59. นางสาวดุสิตา ทินมาลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรรมการ
60. นางทิพย์วรรณ แจ่มไพบูลย์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กรรมการ
61. นางสาวปนัดดา วงค์จันตา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น กรรมการ
62. นายทิวัตถ์ มณีโชติ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ
63. นางผ่องศรี สุรัตน์เรืองชัย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ
64. นางสาวอนงค์ ผดุงชีวิต สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ
65. นางสิริกานต์ วีระพันธ์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ
66. นางสาวธาริสา เรือนไทย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ
67. นางสาวสุภาพร ทับทิม สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ
68. นางสาวสุชาดา กังวานยศศักดิ์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ
69. นางสาวลัดดา จุลานุพันธ์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ
70. นางกมลจิตร ดวงศรี สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและเลขานุการ
71. นางยุพิน พนอำพน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
72. นางชนาทิพย์ วัฒนวงศ์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
73. นางสาวเจษฎา กิตติสุนทร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
74. นางสาวอัญทิการ์ ศุภธรรม สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
75. นางสาวจิรัฐยา แก้วป่อง สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
76. นางยุวดี กังสดาล สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
77. นางสาวสิริเพ็ญ เอี่ยมสกุล สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

131
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

You might also like