You are on page 1of 130

เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิเคราะห์เชิงซ้อนในวิศวกรรมไฟฟ้า

(Complex Analysis in Electrical Engineering)


205412

รศ. ดร.วรฐ คูหิรัญ


(Assoc. Prof. Waroth Kuhirun)

13 มกราคม พ.ศ. 2560


2
สารบัญ

1 จำนวนเชิงซ้อน (Complex Number) 1


1.1 นิยามของจำนวนเชิงซ้อน, การบวก และ การคูณ . . . . . . . . . . . 1
1.2 สมบัติพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . . . . . . . 2
1.2.1 สมบัติของการบวก . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 2
1.2.2 สมบัติของการคูณ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 3
1.2.3 สมบัติการกระจาย . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 4
1.3 นิยามและสมบัติเพิ่มเติม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 4
1.3.1 นิยามเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . . 4
1.3.2 สมบัติของค่าสัมบูรณ์และสังยุคเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . 6
1.3.3 ทฤษฎีบทพื้นฐาน . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 6
1.4 รูปแบบเชิงขั้ว(Polar Form) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 7
1.4.1 สมบัติพื้นฐานของรูปแบบเชิงขั้ว . . . . . . . . . . . . . . . 9
1.4.2 รากของจำนวนเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 9
1.5 การแก้สมการควอดดราติก (Quadratic Equations) . . . . . . . . . . 10
1.6 แบบฝึกหัด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 10

2 ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน 13
2.1 ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 13
2.2 ลิมิตของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 13
2.2.1 สมบัติของลิมิต . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 14
2.3 ความต่อเนื่องของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . . . . . . . 15
2.4 อนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 15
2.4.1 สมการโคชี-รีมานน์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 17
2.4.2 สมบัติพื้นฐานของอนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน . . . . . . . 17

i
ii สารบัญ

2.5 อนุพันธ์อันดับที่สองและอันดับที่สูงกว่าของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน . . . . 20
2.6 ฟังก์ชันวิเคราะห์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 20
2.7 ฟังก์ชันฮาร์โมนิค (Harmonic Functions) . . . . . . . . . . . . . . 21
2.8 แบบฝึกหัด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 21

3 ฟังก์ชันพื้นฐาน (Fundamental Functions) 23


3.1 ฟังก์ชันชี้กำลัง(Exponential Function) . . . . . . . . . . . . . . . . 23
3.1.1 นิยามเกี่ยวกับฟังก์ชันชี้กำลัง (Exponential Function) . . . . 23
3.1.2 สมบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับฟังก์ชันชี้กำลัง (Exponential Function) 23
3.1.3 อนุพันธ์ของฟังก์ชันชี้กำลัง (Exponential Function) . . . . . 24
3.2 ฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function) . . . . . . . . . . . . . 24
3.2.1 นิยามของฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function) . . . 24
3.2.2 การหาค่าของฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function) . . 24
3.2.3 สมบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Func-
tion) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 25
3.2.4 อนุพันธ์ของฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function) . . 26
3.3 เลขชี้กำลังเชิงซ้อน (Complex Exponents) . . . . . . . . . . . . . . 27
3.3.1 นิยามของ zc, z 6= 0 . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 27
3.3.2 สมบัติของ zc, z 6= 0 . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 28
3.3.3 อนุพันธ์ของฟังก์ชัน f (z) = zc, z 6= 0 . . . . . . . . . . . 28
3.4 ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions) . . . . . . . . . . . 29
3.4.1 นิยามเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions) 29
3.4.2 เอกลักษณ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions) 30
3.4.3 อนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions) . 31
3.5 ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Functions) . . . . . . . . . . . . 31
3.5.1 นิยามเกี่ยวกับฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค(Hyperbolic Functions) . 31
3.5.2 เอกลักษณ์ของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Functions) 31
3.5.3 อนุพันธ์ของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค(Hyperbolic Functions) . . 32
3.6 ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions) . . . . . 32
3.6.1 นิยามของตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Func-
tions) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 32
3.6.2 อนุพันธ์ของตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Func-
tions) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 33
สารบัญ iii

3.7 ตัวผกผันของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Functions) . . . . . 34


3.7.1 นิยามของตัวผกผันของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Func-
tions) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 34
3.7.2 อนุพันธ์ของตัวผกผันของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Func-
tions) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 35
3.8 แบบฝึกหัด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 36

4 อินทิกรัล(Integrals) 37
4.1 การอินทิเกรต (Integration) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 37
4.2 ปริพันธ์ (Antiderivatives) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 41
4.3 ทฤษฏีบทพื้นฐานเกี่ยวกับอินทิกรัล . . . . . . . . . . . . . . . . . . 42
4.4 แบบฝึกหัด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 46

5 ลำดับและอนุกรม(Sequences and Series) 49


5.1 นิยามเกี่ยวกับลำดับและอนุกรม . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 49
5.2 อนุกรมแมคคลอริน(Mcclaurin Series) . . . . . . . . . . . . . . . 51
5.3 อนุกรมเทย์เลอร์(Taylor Series) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 52
5.4 อนุกรมโลรองต์(Laurent Series) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 54
5.5 ซีโรและโพล (Zero and Pole) ของฟังก์ชัน . . . . . . . . . . . . . . 57
5.5.1 ซีโร (Zero) ของฟังก์ชันวิเคราะห์ . . . . . . . . . . . . . . . 57
5.5.2 โพล (Pole) ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน . . . . . . . . . . . . . . 58
5.6 แบบฝึกหัด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 61

6 ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (Residue Theorem and Its Applications) 63


6.1 ทฤษฎีบทเรซิดิว(Residue Theorem) . . . . . . . . . . . . . . . . . 63
6.2 เทคนิคการหาค่าเรซิดิว . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 66
6.3 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว(Applications of Residue Theorem) 70
6.4 การหาค่าอินทิกรัลจำกัดเขตที่เกี่ยวกับฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ (Sine and
Cosine Functions) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 79
6.5 การหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว . . . . . . . . . 82
6.6 หลักการอาร์กิวเมนต์ (Argument Principle) . . . . . . . . . . . . . 95
6.7 แบบฝึกหัด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 96
iv สารบัญ

7 การส่งและการส่งคงรูป
(Mapping and Conformal Mapping) 99
7.1 การส่ง (Mapping) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 99
7.1.1 การแปลงเชิงเส้น (Linear Transformations) . . . . . . . . 99
7.1.2 การแปลงเชิงเส้นคู่ (Bilinear Transformation) . . . . . . . 101
7.2 การส่งคงรูป (Conformal Mappings) . . . . . . . . . . . . . . . . 101
7.2.1 การแปลงชวาร์ซ-คริสโตฟเฟล (The Schwarz-Christoffel Trans-
formation) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 102
7.3 แบบฝึกหัด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 104

8 การประยุกต์ในทางวิศวกรรม (Applications in Engineering) 105


8.1 แนวความคิดเกี่ยวกับเฟเซอร์ (Phasor Concept) . . . . . . . . . . . 105
8.2 การแปลงลาปลาซ (Laplace Transform) . . . . . . . . . . . . . . . 108
8.2.1 นิยามและสมบัติของการแปลงลาปลาซ (Laplace Transform) 108
8.2.2 การแปลงผกผันลาปลาซ (Inverse Laplace Transform) . . . 110
8.3 การแปลง z (z-Transform) . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 110
8.3.1 นิยามและสมบัติของการแปลง z . . . . . . . . . . . . . . . 110
8.3.2 การแปลง z ผกผัน (Inverse z-Transform) . . . . . . . . . 113
8.3.3 สมการผลต่างสืบเนื่อง (Recursive Difference Equation) . . 114
8.4 การประยุกต์ใช้การส่งคงรูป (Applications of Conformal Mappings) 117
8.4.1 การหาผลเฉลยของสมการของลาปลาซ . . . . . . . . . . . . 117
8.5 แบบฝึกหัด . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 118

ก อสมการของจอร์แดน (Jordan’s Inequality) 119

ข บทตั้งของจอร์แดน (Jordan’s Lemma) 121


บทที่ 1

จำนวนเชิงซ้อน (Complex Number)

1.1 นิยามของจำนวนเชิงซ้อน, การบวก และ การคูณ


นิยาม 1 (จำนวนเชิงซ้อน). ให้คู่ลำดับ (Order Pair) z = (a, b) ถูกเรียกว่าจำนวนเชิงซ้อน
โดยที่ a และ b เป็นจำนวนจริง เราเรียก a ว่าส่วนจริง (Real Part) และเรียก b ว่าส่วนจินตภาพ (Imag-
inary Part) นอกจากนี้ส่วนจริงสามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ Re(z) และส่วนจินตภาพ
สามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ Im(z)

นิยาม 2 (การบวก). ให้ จำนวนเชิงซ้อน z1 และ z2 เป็น (a1 , b1 ) และ (a2 , b2 ) ตามลําดับ
โดยที่ a1 , a2 , b1 และ b2 เป็นจำนวนจริง ดังนั้น

z1 + z2 = (a1 + a2 , b1 + b2 ) (1.1)

ตัวอย่าง 1. จงหาค่าของ (1, 1) + (2, 4)

วิธีทำ

(1, 1) + (2, 4) = (3, 5)

นิยาม 3 (การคูณ). ให้ z1 และ z2 เป็น (a1 , b1 ) และ (a2 , b2 ) ตามลำดับ โดยที่ a1 ,
a2 , b1 และ b2 เป็นจํานวนจริง ดังนั้น

z1 .z2 = (a1 a2 − b1 b2 , a1 b2 + b1 a2 ) (1.2)

ตัวอย่าง 2. จงหาค่าของ (1, 1).(2, 4)

1
2 บทที่ 1. จำนวนเชิงซ้อน (COMPLEX NUMBER)

y = Im(z)
z = (a, b)
b

a x = Re(z)

รูปที่ 1.1: รูปแสดงนิยาม 1

วิธีทำ

(1, 1).(2, 4) = (1 × 2 − 1 × 4, 1 × 4 + 1 × 2)
= (−2, 6)

ตัวอย่าง 3. จงหาค่าของ (1, 0).(2, 4)

วิธีทำ

(1, 0).(2, 4) = (1 × 2 − 0 × 4, 1 × 4 + 0 × 2)
= (2, 4)

ตัวอย่าง 4. จงหาค่าของ (1, 0).(2, 0)

วิธีทำ

(1, 0).(2, 0) = (1 × 2 − 0 × 0, 1 × 0 + 0 × 2)
= (2, 0)

1.2 สมบัติพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อน
1.2.1 สมบัติของการบวก
ให้ z1 , z2 , z3 และ z เป็นจํานวนเชิงซ้อน
1.2. สมบัติพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อน 3

1. z1 + z2 ยังคงเป็นจำนวนเชิงซ้อน

2. z1 + z2 = z2 + z1

3. (z1 + z2 ) + z3 = z1 + (z2 + z3 )

4. z + (0, 0) = (0, 0) + z = z โดยที่ (0, 0) ถูกเรียกว่าเอกลักษณ์ (Identity) ของ


z สำหรับการบวก

5. z = (a, b), z + (−z) = (−z) + z = (0, 0) โดยที่ (−z) = (−a, −b)


ถูกเรียกว่าตัวผกผัน (Inverse) ของ z สําหรับการบวก

1.2.2 สมบัติของการคูณ

ให้ z1 , z2 , z3 และ z เป็นจํานวนเชิงซ้อน

1. z1 .z2 ยังคงเป็นจำนวนเชิงซ้อน

2. z1 .z2 = z2 .z1

3. (z1 .z2 ).z3 = z1 .(z2 .z3 )

4. z.(1, 0) = (1, 0).z = z

(a, −b)
5. ถ้า z = (a, b) 6= 0 แล้ว z.z −1 = z −1 .z = (1, 0) โดยที่ z −1 =
a2 + b2

นอกจากนี้ จากนิยามการบวกและการคูณของจํานวนเชิงซ้อน เราสามารถแสดงได้ว่า

1. ถ้า z = (a, b) โดยที่ a, b เป็นจำนวนจริง, z ยังสามารถถูกเขียนอยู่ในอีกรูปแบบ


z = a + bı1

2. ถ้า α เป็นจำนวนจริง และ z = (a, b) เป็นจำนวนเชิงซ้อนใดๆ แล้ว αz =


(αa, αb)

ดังนี้
1
ในตำราทางคณิตศาสตร์ทั่วๆไป (0, 1) สามารถถูกเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ ı นอกจากนี้
ในตำราทางวิศวกรรมไฟฟ้าส่วนใหญ่นิยมใช้สัญลักษณ์ แทน ı เพื่อหลีกเลี่ยงการสับสน
กับกระแสไฟฟ้าซึ่งนิยมเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ı เช่นเดียวกัน
4 บทที่ 1. จำนวนเชิงซ้อน (COMPLEX NUMBER)

1. เนื่องจากจำนวนเชิงซ้อน z = (a, b) จะได้ว่า

z = (a, 0) + (0, b)
= (a, 0) + (b, 0).(0, 1)
= a + bı

2. เนื่องจาก α = (α, 0) เป็นจำนวนจริง และ จำนวนเชิงซ้อน z = (a, b) จะได้ว่า

αz = (α, 0).(a, b)
= (αa − 0b, αb + 0a)
= (αa, αb)

1.2.3 สมบัติการกระจาย
ให้ z1 , z2 , z3 และ z เป็นจํานวนเชิงซ้อน

z1 .(z2 + z3 ) = z1 .z2 + z1 .z3

พิสูจน์ ให้ z1 = (a1 , b1 ), z2 = (a2 , b2 ) และ z3 = (a3 , b3 ) โดยที่ a1 , a2 , a3 , b1 , b2


และ b3 เป็นจำนวนจริง ดังนั้น

z1 .(z2 + z3 ) = (a1 , b1 ).((a2 , b2 ) + (a3 , b3 ))


= (a1 , b1 ).(a2 + a3 , b2 + b3 )
= (a1 (a2 + a3 ) − b1 (b2 + b3 ), a1 (b2 + b3 ) + b1 (a2 + a3 ))
= (a1 a2 − b1 b2 , a1 b2 + b1 a2 )
= (a1 a2 − b1 b2 , a1 b2 + b1 a2 ) + (a1 a3 − b1 b3 , a1 b3 + b1 a3 )
= z1 .z2 + z1 .z3

1.3 นิยามและสมบัติเพิ่มเติม
1.3.1 นิยามเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อน
นิยาม 4 (การหาร). ให้ z1 = (a1 , b1 ) และ z2 = (a2 , b2 ) 6= 0 ดังนั้น
z1
= z1 .z2−1 (1.3)
z2
1.3. นิยามและสมบัติเพิ่มเติม 5

y = Im(z)
z = (a, b)
b

a x = Re(z)

−b z = (a, −b)

รูปที่ 1.2: รูปแสดงนิยาม 5

นิยาม 5 (สังยุคเชิงซ้อน). ให้ z = (a, b) เราเรียก z ว่าสังยุคเชิงซ้อน (Complex Con-


jugate) ของ z นิยามโดย
z = (a, −b) (1.4)

นิยาม 6. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อน โดยที่ a และ b เป็นจํานวนจริง ดังนั้น


p
|z| = a2 + b2 (1.5)

นิยาม 7. ให้ z เป็นจํานวนเชิงซ้อน และ n เป็นจำนวนเต็มบวก ดังนั้น


nตัว
n z }| {
z = z.z · · · z (1.6)

ตัวอย่าง 5. จงหาค่าของ ı100

วิธีทำ
25
ı100 = ı4
= 125
=1

จากนิยามของ z −1 เราสามารถนิยาม z −n โดย n เป็นจำนวนเต็มบวกดังนี้


6 บทที่ 1. จำนวนเชิงซ้อน (COMPLEX NUMBER)

นิยาม 8. ให้ z เป็นจํานวนเชิงซ้อน และ n เป็นจำนวนเต็มบวก ดังนั้น


1
z −n =
z.z
| {z· · · z}
nตัว

นอกจากนี้ เมื่อ z 6= 0, เรานิยาม z 0 ดังนี้

นิยาม 9. เมื่อ z 6= 0
z0 = 1

1.3.2 สมบัติของค่าสัมบูรณ์และสังยุคเชิงซ้อน
ให้ z, z1 และ z2 เป็นจํานวนเชิงซ้อน

1. |z1 + z2 | ≤ |z1 | + |z2 | อสมการอิงสามเหลี่ยม(Triangular Inequality)2

2. |z1 .z2 | = |z1 |.|z2 |


1
3. |z −1 | = , z 6= 0
|z|

z1 |z1 |
4. = , z2 6= 0
z2 |z2 |
5. z1 + z2 = z1 + z2

6. z1 .z2 = z1 .z2
 
1 1
7. = , z 6= 0
z z

8. |z|2 = z.z

1.3.3 ทฤษฎีบทพื้นฐาน
ทฤษฏีบท 1. ถ้า f เป็นฟังก์ชันพหุนาม (Polynomial Function) ที่สามารถเขียนอยู่ในรูป
N
X
f (z) = an z n
n=0

2
เราสามารถดัดแปลงอสมการอิงสามเหลี่ยมเป็น||z1 | − |z2 || ≤ |z1 − z2 |
1.4. รูปแบบเชิงขั้ว(POLAR FORM) 7

โดยที่ an สำหรับ n = 0, 1, . . . , N เป็นจำนวนจริง


ดังนั้น

f (z) = f (z) (1.7)


N
X
ตัวอย่าง 6. จงหาค่าของ f (1 − ı) ถ้าให้ f (z) = an z n และ f (1 + ı) = 1 + 2ı
n=0
โดยที่ an สำหรับ n = 0, 1, . . . , N เป็นจำนวนจริง
วิธีทำ เนื่องจาก

f (z) = f (z)

ดังนั้น

f (1 − ı) = 1 + 2ı
= 1 − 2ı

ทฤษฏีบท 2 (ทฤษฎีบททวินาม (Binomial Theorem)). ให้ z1 และ z2 เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ


ดังนั้น เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก จะได้ว่า
n  
n
X n r n−r
(z1 + z2 ) = z z (1.8)
r 1 2
r=0
 
n n!
โดยที่ =
r r!(n − r)!

1.4 รูปแบบเชิงขั้ว(Polar Form)


พิจารณาอนุกรมแมคคลอริน
θ2 θ3
eθ = 1 + θ + + + ··· ,θ ∈ < (1.9)
2! 3!
ถ้าหากลองแทน θ ด้วย ıθ จะได้
(ıθ)2 (ıθ)3
eıθ = 1 + (ıθ) + + + ··· ,θ ∈ < (1.10)
2! 3!
θ2 θ4 θ6 θ3 θ5 θ7
= (1 − + − + · · · ) + ı(θ − + − + ···)
2! 4! 6! 3! 5! 7!
= cos θ + ı sin θ

สมการข้างต้นสามารถนําไปสู่นิยามดังต่อไปนี้
8 บทที่ 1. จำนวนเชิงซ้อน (COMPLEX NUMBER)

นิยาม 10. ให้ θ เป็นจํานวนจริง ดังนั้น eıθ อาจนิยามได้ดังสมการ3

eıθ = cos θ + ı sin θ

จากนิยาม 10 เราสามารถแสดงได้ว่า

บทตั้ง 1. ถ้า θ เป็นจำนวนจริง จะได้ว่า

|eıθ | = 1

จากนิยาม 10 ถ้าหากเราพิจารณา z = a + bı โดยที่ a และ b เป็นจํานวนจริง และ


a และ b ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน จะได้

z = a + bı
p a b
= a2 + b2 ( √ +√ ı)
2
a +b2 a + b2
2

= |z|(cos θ + ı sin θ)
a b
= |z|eıθ โดยที่ θ เป็นมุมซึ่ง cos θ = √ และ sin θ) = √
a2 +b2 a + b2
2

จากการพิจารณาสมการข้างต้น ถึงแม้ว่า a และ b จะเป็นศูนย์พร้อมกัน จำนวนเชิงซ้อน


z = a + bı ก็ยังสามารถเขียนอยู่ในรูปแบบ z = |z|eıθ = |z|(cos θ + ı sin θ) โดยที่ θ
เป็นมุมใดๆก็ได้ ดังนั้นเราสามารถนิยามรูปแบบเชิงขั้วของจำนวนเขิงซ้อนได้ดังนี้

นิยาม 11. จำนวนเชิงซ้อน z ที่ถูกเขียนในรูป

z = |z|eıθ (1.11)

หรือ
z = |z|(cos θ + ı sin θ) (1.12)

โดยที่ θ เป็นมุมในหน่วยเรเดียนถูกเรียกว่า อาร์กิวเมนต์และเราจะเรียกรูปแบบของจำนวนเชิงซ้อน


แบบนี้ว่ารูปแบบเชิงขั้ว(Polar Form)4
นอกจากนี้ ถ้า θ ในสมการ 1.11 ถูกจำกัดอยู่ในช่วง −π < θ ≤ π เราจะเรียกมุม θ ว่าอาร์กิวเมนต์หลัก
ซึ่งอาจเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ Arg(z)
3
อาจเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ exp(ıθ)
4
ในตำราทางวิศวกรรมไฟฟ้านิยมเขียนแทนจำนวนเชิงซ้อน z = |z|eıθ ด้วย |z|∠θ
1.4. รูปแบบเชิงขั้ว(POLAR FORM) 9

1.4.1 สมบัติพื้นฐานของรูปแบบเชิงขั้ว
ให้ z = |z|eıθ , z1 = |z1 |eıθ1 และ z2 = |z2 |eıθ2

1. z1 .z2 = |z1 ||z2 |eı(θ1 +θ2 )

2. z = |z|e−ıθ
z1 |z1 | ı(θ1 −θ2 )
3. = e เมื่อ z2 ไม่เท่ากับศูนย์
z2 |z2 |

4. สำหรับทุก i = 1, 2 · · · , n z1 .z2 · · · zn = |z1 ||z2 | · · · |zn |eı(θ1 +θ2 +···θn ) เมื่อ


zi = |zi |eıθi

5. เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก z n = |z|n eı(nθ)

1.4.2 รากของจำนวนเชิงซ้อน
นิยาม 12. ให้ z และ ω เป็นจำนวนเชิงซ้อน และ n เป็นจำนวนเต็มบวก เราเรียก
1
ω ว่าเป็น รากที่ n ของ z เขียนแทนด้วย z 2 ก็ต่อเมื่อ ω n = z

ทฤษฏีบท 3. รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน z = |z|eıθ โดย θ เป็นมุมอาร์กิวเมนต์ของ z คือ


1 2mπ+θ
ω = |z| n eı n (1.13)

โดยที่ m เป็นจำนวนเต็มใดๆ

จะเห็นได้ว่าเมื่อ z 6= 0 รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน z นี้มีได้ n ค่า เนื่องจากว่าเมื่อ


m = 0, 1, . . . , n −1 จะได้รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน z ต่าง ๆ กัน แต่เมื่อ m มีค่าอื่น
นอกจากนี้รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน z จะวนซํ้าค่าเดิม

ตัวอย่าง 7. จงหารากที่ 4 ของ −1

วิธีทำ เนื่องจาก

−1 = 1eıπ

ดังนั้น
1 1 2nπı+πı
(−1) 4 = |1| 4 e 4
10 บทที่ 1. จำนวนเชิงซ้อน (COMPLEX NUMBER)

เมื่อ n = . . . , −2, −1, 0, 1, 2, . . .      


1
 πı  πı 2πı πı 2πı πı 2πı
นั่นคือ (−1) 4 = exp , exp + , exp +2 , exp +3
4 4 4 4 4 4 4
หรือ
1 1 1 1 1 1 1 1 1
(−1) 4 = √ + ı √ , − √ + ı √ , − √ − ı √ , √ − ı √
2 2 2 2 2 2 2 2

1.5 การแก้สมการควอดดราติก (Quadratic Equations)

ทฤษฏีบท 4. ให้ a, b และ c เป็นค่าคงตัวซึ่งเป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ โดยที่ a 6=


0 ดังนั้นผลเฉลยของสมการควอดดราติก (Quadratic Equation)

az 2 + bz + c = 0

คือ
1
−b + (b2 − 4ac) 2
z=
2a

ตัวอย่าง 8. จงหาผลเฉลยของสมการ z 2 + 4ız + 5 = 0


1
−b + b2 − 4ac 2
วิธีทำ เนื่องจาก a = 1, b = 4ı และ c = 5 ดังนั้น จาก z = จะได้ว่า
2a
1
−(4ı) + ((4ı)2 − 4(1)(5)) 2
z=
2(1)
1
−4ı + (−16 − 20) 2
=
2
−4ı ± 6ı
=
2

นั่นคือ z = ı, −5ı

1.6 แบบฝึกหัด
100
X
1. จงหาค่าของ ın
n=1
1.6. แบบฝึกหัด 11

2. ให้ z1 และ z2 เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ จงพิสูจน์ว่า

||z1 | − |z2 || ≤ |z1 − z2 |

โดยใช้อสมการอิงสามเหลี่ยม (TriangularInequality)

|z1 + z2 | ≤ |z1 | + |z2 |

3. ให้ z1 และ z2 เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ จงพิสูจน์ว่า

|z1 + z2 |2 + |z1 − z2 |2 = 2|z1 |2 + 2|z2 |2

4. จงพิสูจน์ว่า เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มและ θ เป็นจำนวนจริง ดังนั้น

(cos θ + ı sin θ)n = cos nθ + ı sin nθ

โดยใช้อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์

5. จงหาความสัมพันธ์ของ z1 และ z2 ที่ทำให้

|z1 | + |z2 | = |z1 + z2 |

6. จากสมการ

(cos θ + ı sin θ)n = cos nθ + ı sin nθ เมื่อ n เป็นจำนวนเต็ม

จงแสดงว่า เมื่อ r เป็นจำนวนตรรกยะ

(cos θ + ı sin θ)r = cos [r (2πn + θ)] + ı sin [r (2πn + θ)]

p
หมายเหตุ จำนวนตรรกยะ คือจำนวนจริงที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วน โดยที่
q
p, q เป็นจำนวนเต็ม และ q 6= 0

7. จงหาค่าของ
N
X N
(a0 + (n − 1)d) = (2a0 + (N − 1)d)
2
n=1
12 บทที่ 1. จำนวนเชิงซ้อน (COMPLEX NUMBER)

8. จงแสดงว่า
N
X a0 (1 − rN )
a0 rn−1 = เมื่อ r 6= 1
1−r
n=1

เมื่อ a0 และ r เป็นค่าคงตัว

9. จงหาผลบวกของผลเฉลยทั้งหมดของสมการ z n = ω

10. จงหาผลเฉลยของสมการ z 2 + 2z + 1 = 0

11. ถ้าหากว่า z1 และ z2 เป็นผลเฉลยของสมการ z 2 +bz+c = 0 จงแสดงว่า z1 และ


z2 เป็นสังยุคเชิงซ้อนกัน เมื่อ b และ c เป็นจำนวนจริง

12. จงวาดรูปทางเดินของรากของ

z 2 + Kz + 1 = 0

เมื่อ 0 ≤ K ≤ 100

13. จงหาสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Re(z) และ Im(z) เมื่อ

|z − 1| = 10

14. จงหาสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Re(z) และ Im(z) เมื่อ

|z − 1| + |z + 1| = 100
บทที่ 2

ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

2.1 ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน
นิยาม 13 (ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน (Complex-Valued Functions)). ฟังก์ชัน f คือกฎเกณฑ์ในการส่ง
แต่ละ z ใน S ไปยังจำนวนเชิงซ้อน w เราสามารถเขียนแทนได้ด้วย f (z) เราเรียก S ว่าโดเมน
(Domain)

2.2 ลิมิตของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน
นิยาม 14. ให้ f เป็น ถ้ามี δ > 0 สำหรับทุกๆ  > 0 ซึ่งถ้าหาก |f (z) − L| <  แล้ว
0 < |z − zo | < δ เราสามารถกล่าวได้ว่า1

lim f (z) = L
z→zo

จากนิยามจะเห็นได้ว่า ถ้า lim f (z) = L ก็ต่อเมื่อ f (z) → L เมื่อ z เข้าใกล้ z0 ในทุกทิศทุกทาง


z→zo

z
ตัวอย่าง 9. จงแสดงว่า lim ไม่มีค่า
z→0 z

วิธีทำ เมื่อ z เข้าใกล้ 0 ในแนวนอน ดังนั้น z = z = x จะได้


x
lim =1
x→0 x

1
ในบางครั้งในตำราอาจเขียนแทนด้วย f (z) → L เมื่อ z → z0

13
14 บทที่ 2. ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

เมื่อ z เข้าใกล้ 0 ในแนวตั้ง ดังนั้น z = ıy และ z = −ıy จะได้


−ıy
lim = −1
y→0 ıy

z z z
เนื่องจาก → 1 เมื่อ z → 0 ในแนวนอน แต่ → −1 เมื่อ z → 0 ในแนวตั้ง นั่นคือ lim ไม่มีค่า
z z z→0 z

2.2.1 สมบัติของลิมิต
ทฤษฏีบท 5. lim f (z) = w0 ก็ต่อเมื่อ lim u(x, y) = u0 และ lim v(x, y) =
z→z0 (x,y)→(x0 ,y0 ) (x,y)→(x0 ,y0 )

v0 โดยที่
z0 = x0 + ıy0 เมื่อ x0 และ y0 เป็นจำนวนจริง,
f (z) = w = u(x, y) + ıv(x, y) เมื่อ u และ v เป็นฟังก์ชันค่าจริง และ
w0 = u0 + ıv0 เมื่อ u0 และ v0 เป็นจำนวนจริง

ทฤษฏีบท 6. ให้ n เป็นจำนวนเต็มบวก ดังนั้น

lim z n = z0n
z→z0

ทฤษฏีบท 7. ให้ lim f (z) และ lim g(z) มีค่า และ c เป็นจำนวนเชิงซ้อนซึ่งเป็นค่าคงที่
z→z0 z→z0
ดังนั้น

1. lim c = c
z→z0

2. c lim f (z) = lim cf (z)


z→z0 z→z0

3. lim f (z) + lim g(z) = lim (f (z) + g(z))


z→z0 z→z0 z→z0

4. lim f (z). lim g(z) = lim (f (z)g(z))


z→z0 z→z0 z→z0

lim f (z)
z→z0 f (z)
5. = lim เมื่อ lim g(z) 6= 0
lim g(z) z→z0 g(z) z→z0
z→z0

ทฤษฏีบท 8. ให้ N เป็นจำนวนเต็มบวก ดังนั้น


N
X N
X
n
lim an z = an z0n
z→z0
n=0 n=0
2.3. ความต่อเนื่องของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน 15

ตัวอย่าง 10. จงหาค่าของ lim z 2 + 2z + 1


z→1

วิธีทำ

lim z 2 + 2z + 1 = (1)2 + 2(1) + 1


z→1

=4

2.3 ความต่อเนื่องของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน
นิยาม 15. ให้ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนดังนั้น f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องที่ z = z0 ก็ต่อเมื่อ

1. f (z0 ) มีค่า

2. lim f (z) มีค่า


z→z0

3. lim f (z) = f (z0 )


z→z0

ตัวอย่าง 11. ให้


z , z =

6 0
f (z) = z
1, z = 0

จงแสดงว่า f ไม่ต่อเนื่องที่ z = 0
z
วิธีทำ เนื่องจาก lim ไม่มีค่า ดังนั้น จากนิยามของความต่อเนื่อง f ไม่ต่อเนื่องที่ z =
z→0 z
0

2.4 อนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

นิยาม 16. ให้ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนอนุพันธ์ (อนุพันธ์อันดับหนึ่ง) ของฟังก์ชันf


(f 0 ) สามารถนิยามโดยสมการ2
f (z + ∆z) − f (z)
f 0 (z) = lim
∆z→0 ∆z
df (z)
นอกจากนี้ f 0 (z) อาจจะเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์
dz
f (z0 ) − f (z)
2
นิยามของ f 0 (z0 ) อาจเขียนแทนด้วย lim
z→z0 z0 − z
16 บทที่ 2. ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

dz 2
ตัวอย่าง 12. จงหาค่าของ
dz

วิธีทำ จากนิยาม

dz 2 (z + ∆z)2 − z 2
= lim
dz ∆z→0 ∆z
z + 2z∆z + (∆z)2 − z 2
2
= lim
∆z→0 ∆z
= 2z

dz 2
นั่นคือ = 2z
dz
dz
ตัวอย่าง 13. จงแสดงว่า ไม่มีค่า
dz

วิธีทำ จากนิยาม

dz ∆z
= lim (2.1)
dz ∆z→0 ∆z

∆z
ดังนั้น ความจริงแล้วโจทย์ต้องการให้จงแสดงว่า lim ไม่มีค่า
∆z→0 ∆z
เมื่อ ∆z เข้าใกล้ 0 ในแนวนอน ดังนั้น ∆z = ∆z = ∆x จะได้

∆x
lim =1
∆x→0 ∆x

เมื่อ ∆z เข้าใกล้ 0 ในแนวตั้ง ดังนั้น ∆z = ı∆y และ ∆z = −ı∆y จะได้

−ı∆y
lim = −1
∆y→0 ı∆y

∆z ∆z dz
เนื่องจาก → 1 เมื่อ ∆z → 0 ในแนวนอน แต่ → −1 เมื่อ z → 0 ในแนวตั้ง นั่นคือ =
∆z z dz
∆z
lim ไม่มีค่า
∆z→0 ∆z

ทฤษฏีบท 9. ถ้า f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนที่สามารถหาอนุพันธ์ได้ที่ z = z0 แล้ว f


เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องที่ z = z0
2.4. อนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน 17

พิสูจน์ สมมติว่า f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน ซึ่งมีอนุพันธ์ที่จุด z = z0 ดังนั้น จากนิยาม 16


จะได้ว่า f ที่จุด z = z0 มีค่า นอกจากนี้

f (z0 ) − f (z)
lim (f (z0 ) − f (z)) = lim lim (z0 − z)
z→z0 z→0 z0 − z z→z0

= f 0 (z0 ).0
=0

นั่นคือ lim f (z) มีค่าเท่ากับ f (z0 ) ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า ถ้าฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนf


z→z0
สามารถหาอนุพันธ์ได้ที่ z = z0 แล้ว f ต่อเนื่องที่ z = z0 ด้วย

บทตั้ง 2. ถ้า f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนที่สามารถหาอนุพันธ์ได้ที่ z = z0 แล้ว

lim f (z) = f (z0 )


z→z0

2.4.1 สมการโคชี-รีมานน์
ทฤษฏีบท 10. ถ้าให้ u และ v เป็นฟังก์ชันค่าจริงและ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนโดยที่ f (z) =
u(x, y) + ıv(x, y) โดยที่ตัวแปรเชิงซ้อน z สามารถเขียนอยู่ในรูปของตัวแปรค่าจริง x
และ y ได้ว่า z = x + yı ดังนั้น สมการโคชี-รีมานน์

∂u ∂v ∂u ∂v
= และ =−
∂x z=z0 ∂y z=z0 ∂y z=z0 ∂x z=z0

เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับฟังก์ชันf ที่ทำให้ f หาอนุพันธ์ได้ที่ z = z0 = (x0 , y0 )


นอกจากนี้ สามารถพิสูจน์ได้ว่า ถ้าหากมีอาณาบริเวณ |z−z0 | < ,  > 0 โดยที่อนุพันธ์ย่อย
อันดับหนึ่งของ u, v ต่อเนื่อง ดังนั้น สมการโคชี-รีมานน์เป็นเงื่อนไขที่เพียงพอที่จะทำให้ f 0 (z)
หาค่าได้

2.4.2 สมบัติพื้นฐานของอนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน
ทฤษฏีบท 11. ให้ f และ g เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนใดๆ ซึ่งสามารถหาอนุพันธ์ได้ โดยที่
α และ β เป็นจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งเป็นค่าคงที่ใดๆ ดังนั้น3

1. (αf )0 (z) = αf 0 (z)


3
จากทฤษฏีบท 11 เราสามารถสรุปได้ว่า (αf + βg)0 (z) = αf 0 (z) + βg 0 (z)
18 บทที่ 2. ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

2. (f + g)0 (z) = f 0 (z) + g 0 (z)

ทฤษฏีบท 12. ให้ f และ g เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนใดๆ ซึ่งสามารถหาอนุพันธ์ได้ โดยที่


α และ β เป็นจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งเป็นค่าคงที่ใดๆ ดังนั้น

1. (f.g)0 (z) = f (z)g 0 (z) + f 0 (z)g(z)


 0
f g(z)f 0 (z) − f (z)g 0 (z)
2. (z) = , g(z) 6= 0
g (g(z))2

พิสูจน์

1. จากนิยาม 16 จะได้ว่า

(f.g)(z + ∆z) − (f.g)(z)


(f.g)0 (z) = lim
∆z→0 ∆z
f (z + ∆z).g(z + ∆z) − (f (z).g(z))
= lim
∆z→0 ∆z

เนื่องจาก

f (z + ∆z).g(z + ∆z) − (f (z).g(z)) f (z + ∆z).g(z + ∆z) − f (z + ∆z).g(z)


=
∆z ∆z
f (z + ∆z).g(z) − (f (z).g(z))
+
∆z
g(z + ∆z) − g(z)
= f (z + ∆z)
∆z
f (z + ∆z) − f (z)
+ g(z)
∆z

ดังนั้น

g(z + ∆z) − g(z)


(f.g)0 (z) = lim f (z + ∆z) lim
∆z→0 ∆z→0 ∆z
f (z + ∆z) − f (z)
+ lim g(z) lim
∆z→0 ∆z→0 ∆z
0 0
= f (z)g (z) + f (z)g(z)
2.4. อนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน 19

2. จากนิยาม 16 จะได้ว่า
f (z + ∆z) f (z)
 0 −
f g(z + ∆z) g(z)
(z) = lim
g ∆z→0 ∆z
f (z + ∆z)g(z) − g(z + ∆z)f (z)
g(z + ∆z)g(z)
= lim
∆z→0 ∆z
f (z + ∆z)g(z) − f (z)g(z) + f (z)g(z) − g(z + ∆z)f (z)
g(z + ∆z)g(z)
= lim
∆z→0 ∆z
(f (z + ∆z) − f (z)) g(z) − (g(z + ∆z) − g(z)) f (z)
= lim ∆z
∆z→0 g(z + ∆z)g(z)
(f (z + ∆z) − f (z)) g(z) (g(z + ∆z) − g(z)) f (z)
lim −
= ∆z→0 ∆z ∆z
lim g(z + ∆z)g(z)
∆z→0
   
f (z + ∆z) − f (z) g(z + ∆z) − g(z)
lim g(z) − lim f (z)
∆z→0 ∆z ∆z→0 ∆z
=
lim g(z + ∆z)g(z)
∆z→0

(f (z + ∆z) − f (z))
เนื่องจาก lim g(z+∆z) = g(z), f (z) = lim และ g(z) =
∆z→0 ∆z→0 ∆z
(g(z + ∆z) − g(z))
lim ดังนั้น
∆z→0 ∆z
 0
f g(z)f 0 (z) − f (z)g 0 (z)
(z) = เมื่อ g(z) 6= 0
g (g(z))2

ทฤษฏีบท 13 (กฎลูกโซ่ (Chain Rule)). ให้ w = f (u) และ u = g(z) ถ้าหากว่า f 0 (u) และ
g 0 (z) มีค่า ดังนั้น
dw dw du
=
dz du dz

ทฤษฏีบท 14. ให้ α เป็นจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งเป็นค่าคงที่ใดๆ ดังนั้น



1. = 0 โดยที่ α เป็นจำนวนเชิงซ้อนซึ่งเป็นค่าคงที่ใดๆ
dz
dz
2. =1
dz
20 บทที่ 2. ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

dz n
3. = nz n−1 โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มบวก
dz

2.5 อนุพันธ์อันดับที่สองและอันดับที่สูงกว่าของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

เนื่องจากอนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f ก็ยังคงเป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน (หากมีได้) ดังนั้นอนุพันธ์ของ f 0


ก็อาจมีได้เช่นกัน นั่นคือ

นิยาม 17 (อนุพันธ์อันดับที่สอง (Second-ordered Derivative)). ให้ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน เราอาจ


นิยามอนุพันธ์อันดับที่ n ของ f เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก4 ดังสมการ

f 0 (z + ∆z) − f 0 (z)
f 2 (z) = lim
∆z→0 ∆z

เราจะเรียกอนุพันธ์ของอนุพันธ์ของ f ว่าอนุพันธ์อันดับที่สองของ f

นอกจากนี้ เนื่องจากอนุพันธ์อันดับที่สองของ f อาจมีได้ อนุพันธ์อันดับที่ n ของ f


ก็อาจมีได้เช่นกัน นั่นคือ

นิยาม 18 (อนุพันธ์อันดับที่ n (nth -ordered Derivative)). ให้ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน


dn f (z)
เราอาจนิยามอนุพันธ์อันดับที่ n ของ f ซึ่งเขียนแทนด้วย f n หรือ ดังสมการ
dz n

f n−1 (z + ∆z) − f n−1 (z)


f n (z) = lim
∆z→0 ∆z

เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก
จากนิยามแสดงว่า อนุพันธ์อันดับที่ n ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f หาไม่ได้ถ้าอนุพันธ์
อันดับต่ำกว่าของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f หาไม่ได้

2.6 ฟังก์ชันวิเคราะห์

นิยาม 19 (ฟังก์ชันวิเคราะห์). ให้ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนf เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ z =


z0 ก็ต่อเมื่อ มี  > 0 ซึ่งทำให้ f 0 (z) มีค่าสำหรับทุกๆ z ∈ |z − z0 | < 

4
เราอาจเรียก f ว่าอนุพันธ์อันดับที่ศูนย์ของ f ซึ่งสามารถเขียนแทนด้วย f 0
2.7. ฟังก์ชันฮาร์โมนิค (HARMONIC FUNCTIONS) 21

นิยาม 20 (จุดเอกฐาน). จุด z0 เป็นจุดเอกฐาน5 ของฟังก์ชันf ถ้า f ไม่เป็นฟังก์ชัน


วิเคราะห์ที่จุด z0 แต่ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่บางจุดในบริเวณ |z − z0 | < 
สำหรับทุกๆ  > 0

บทตั้ง 3. ถ้าฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ z = z0 ใดๆ f ก็จะเป็นฟังก์ชัน


ที่หาอนุพันธ์ได้ที่ z = z0 ด้วย แต่ในทางกลับกัน ถ้าฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนf เป็นฟังก์ชัน
ที่หาอนุพันธ์ได้ที่ z = z0 เป็นฟังก์ชัน เราไม่อาจสรุปได้ว่า f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ z =
z0 ด้วย

2.7 ฟังก์ชันฮาร์โมนิค (Harmonic Functions)


นิยาม 21 (ฟังก์ชันฮาร์โมนิค (Harmonic Function)). ให้ฟังก์ชันค่าจริง H ที่ขึ้นอยู่กับตัวแปร x
และ y โดยที่อนุพันธ์ย่อยอันดับหนึ่งและอันดับสองของฟังก์ชัน H ต่อเนื่องในโดเมนที่กำหนด
บนระนาบ xy และสอดคล้องกับสมการของลาปลาซ (Laplace’s Equation) นั่นคือ

∂2H ∂2H
+ =0 (2.2)
∂x2 ∂y 2

เราฟังก์ชัน H ว่าฟังก์ชันฮาร์โมนิค (Harmonic Function)

ทฤษฏีบท 15. ให้ f (x, y) = u(x, y)+ıv(x, y) เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ในโดเมน D ดังนั้น u


และ v เป็นฟังก์ชันฮาร์โมนิค

2.8 แบบฝึกหัด
|z|
1. จงแสดงว่า lim ไม่มีค่า
z→0 z

d|z|
2. โดยใช้สมการโคชี-รีมานน์ จงแสดงว่า ไม่มีค่า
dz
d|z|2
3. จงแสดงว่า ไม่มีค่า
dz
4. จงใช้สมการโคชี-รีมานน์แสดงว่าฟังก์ชัน

f (z) = z 2
5
นอกจากนี้เรากล่าวว่า จุดเอกฐาน z0 อยู่โดดเดี่ยวถ้ามีบริเวณ 0 < |z − z0 | <  ซึ่ง f
เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ทั่วทั้งบริเวณ
22 บทที่ 2. ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

มีอนุพันธ์ที่ทุกจุดในระนาบเชิงซ้อน

5. จงแสดงว่าฟังก์ชัน
1
f (z) =
z
มีอนุพันธ์ที่ทุกจุดในระนาบเชิงซ้อนยกเว้นที่จุด z 6= 0 และจงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันนี้ด้วย

6. จงหาอนุพันธ์อันดับที่ n ใด ๆ (เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก) ของฟังก์ชัน

f (z) = z 2

7. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน

f (x, y) = (x + y) + ıxy

8. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน

f (x, y) = (x + y) + ı (x − y)
บทที่ 3

ฟังก์ชันพื้นฐาน (Fundamental
Functions)

3.1 ฟังก์ชันชี้กำลัง(Exponential Function)

3.1.1 นิยามเกี่ยวกับฟังก์ชันชี้กำลัง (Exponential Function)


นิยาม 22. ให้จำนวนเชิงซ้อน z = (x, y) โดยที่ x และ y เป็นจำนวนจริง เราสามารถนิยาม
ez ได้ดังนี้1

ez = ex (cos y, sin y)
= ex .eyı

3.1.2 สมบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับฟังก์ชันชี้กำลัง (Exponential Function)


จากนิยาม 22 เราสามารถแสดงได้ว่า

บทตั้ง 4. ถ้า z = x + yı โดย x และ y เป็นจำนวนจริง จะได้ว่า

1. |ez | = |ex |
1
2. e−z =
ez
ทฤษฏีบท 16. ให้ z1 และ z2 เป็นจำนวนเชิงซ้อนใดๆ ดังนั้น
1
เราอาจเขียนแทน ez ด้วย exp(z)

23
24 บทที่ 3. ฟังก์ชันพื้นฐาน (FUNDAMENTAL FUNCTIONS)

1. ez1 +z2 = ez1 .ez2


ez1
2. ez1 −z2 =
e z2
บทตั้ง 5. ผลเฉลยของสมการ ez = 1 ถ้า z = x + yı เป็นจำนวนเชิงซ้อน โดยที่ x และ
y เป็นจำนวนจริง คือ

z = 2nπı โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มบวก (3.1)

3.1.3 อนุพันธ์ของฟังก์ชันชี้กำลัง (Exponential Function)


บทตั้ง 6. อนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนf (z) = ez คือ f (z) = ez

3.2 ฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function)


3.2.1 นิยามของฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function)
นิยาม 23. เราสามารถนิยามฟังก์ชันลอกการิทึมได้ด้วยสมการ2

f (z) = log(z) ก็ต่อเมื่อ z = ef (z)

3.2.2 การหาค่าของฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function)


จากนิยามที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ เราสามารถแสดงได้ว่า f ไม่ใช่ฟังก์ชันค่าเดียว(Single-Valued
Function) หากแต่เป็น ฟังก์ชันหลายค่า(Multiple-Valued Function)3 โดยความขัดแย้งดังนี้
จากสมการ ?? จะได้ว่า w1 = w2 +2nπı นั่นคือ ฟังก์ชัน log เป็นฟังก์ชันหลายค่า นอกจากนี้
ถ้ากำหนดให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใดๆ ที่ไม่เท่ากับศูนย์ ที่ถูกเขียนอยู่ในรูปของรูปแบบเชิงขั้ว

z = |z| eıθ

หรือ

z = eln |z| eıθ


= eln |z|+ıθ (3.2)

จะได้ว่า
log(z) = ln |z| + ı (θ + 2nπ) (3.3)
2
อย่าสับสนกับฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function) ที่นิยามในระดับมัธยมศึกษา
3
ในตำราบางเล่มไม่ถือว่าฟังก์ชันหลายค่าเป็นฟังก์ชัน
3.2. ฟังก์ชันลอกการิทึม (LOGARITHMIC FUNCTION) 25

ตัวอย่าง 14. จงหาค่า log e

วิธีทำ เนื่องจาก

log e = ln e + ı (0 + 2nπ)
= 1 + 2nπı

โดยที่ n เป็นจำนวนเต็ม
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าฟังก์ชันลอกการิทึมมีได้หลายค่า ถ้าหากว่าเราต้องการ
ฟังก์ชันลอกการิทึมที่เป็นฟังก์ชันค่าเดียว เราจำเป็นต้องจำกัดอาร์กิวเมนต์ θ ในสมการ 3.2
เป็นอาร์กิวเมนต์หลัก ฟังก์ชันลอกการิทึมที่ถูกสร้างขึ้นจาก log(z) ดังนี้

Log(z) = ln |z| + ıθ ,−π < θ ≤ π (3.4)

ตัวอย่าง 15. จงหาค่าของ Log (e)

วิธีทำ เนื่องจาก

Log(e) = ln e + ı (0)
=1

3.2.3 สมบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function)


ทฤษฏีบท 17. ให้ z, z1 , z2 เป็นจำนวนเชิงซ้อน ดังนั้น

1. log (z1 z2 ) = log z1 + log z2 เมื่อ z1 , z2 6= 0


 
z1
2. log = log z1 − log z2 เมื่อ z1 , z2 6= 0
z2
 
1
3. log = − log z เมื่อ z 6= 0
z

ตัวอย่าง 16. จงแสดงว่า Log (z1 z2 ) = Log z1 + Log z2 เมื่อ z1 z2 6= 0 และ −π <
Arg z1 + Arg z2 ≤ π

วิธีทำ เนื่องจาก

Log (z1 z2 ) = ln |z1 z2 | + ıArg (z1 z2 )


26 บทที่ 3. ฟังก์ชันพื้นฐาน (FUNDAMENTAL FUNCTIONS)

นอกจากนี้เมื่อ −π < Arg z1 + Arg z2 ≤ π เราสามารถแสดงได้ว่า

ln |z1 z2 | = ln |z1 | + ln |z2 | และ Arg (z1 z2 ) = Arg (z1 ) + Arg (z2 )

นั่นคือ
Log (z1 z2 ) = Log z1 + Log z2 เมื่อ z1 z2 6= 0 และ −π < Arg z1 + Arg z2 ≤ π

3.2.4 อนุพันธ์ของฟังก์ชันลอกการิทึม (Logarithmic Function)

พิจารณาฟังก์ชัน f (z) = log(z), α − 2π < arg(z) ≤ α ดังนั้น

df (z) f (z + ∆z) − f (z)


= lim
dz ∆z→0 ∆z

เนื่องจาก w = log(z) ก็ต่อเมื่อ z = ew ดังนั้น ถ้าให้

w = f (z) และ w + ∆w = f (z + ∆z)

จะได้

z = ew และ z + ∆z = ew+∆w

นั่นคือ

df (z) f (z + ∆z) − f (z)


= lim
dz ∆z→0 ∆z
f (z + ∆z) − f (z)
= lim
∆z→0 z + ∆z − z
w + ∆w − w
= lim w+∆w
∆z→0 e − ew
∆w
= lim w+∆w
∆z→0 e − ew
1
= lim w+∆w
∆z→0 e − ew
∆w
3.3. เลขชี้กำลังเชิงซ้อน (COMPLEX EXPONENTS) 27

เนืองจาก ∆z → 0 แล้ว ∆w → 0 ดังนั้น สำหรับทุก z ยกเว้นกรณีที่ z เท่ากับ 0 หรือ Arg(z) =


α
df (z) 1
=
ew+∆w − ew
 
dz
lim
∆w→0 ∆w
1
=
ew
1
=
z
df (z) 1
นั่นคือ = สำหรับทุก z ยกเว้นกรณีที่ z เท่ากับ 0 หรือ Arg(z) = α
dz z
dLogz 1
นอกจากนี้ = สำหรับทุก z ยกเว้นกรณีที่ z เท่ากับ 0 หรือ Arg(z) = π
dz z

3.3 เลขชี้กำลังเชิงซ้อน (Complex Exponents)


3.3.1 นิยามของ z c , z 6= 0
นิยาม 24. ให้ c เป็นจำนวนเชิงซ้อน และจำนวนเชิงซ้อน z 6= 0 ดังนั้น

z c = ec log(z) (3.5)

ตัวอย่าง 17. จงหาค่าของ ıı

วิธีทำ

ıı = eı log(ı)

เนื่องจาก
 π
log(ı) = ln |ı| + ı 2nπ + เมื่อ n เป็นจำนวนเต็ม
2
 π
= ı 2nπ +
2

นั่นคือ
2 π
ıı = e(ı) (2nπ+ 2 )
π
= e(−(2nπ+ 2 ))
28 บทที่ 3. ฟังก์ชันพื้นฐาน (FUNDAMENTAL FUNCTIONS)

จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า z c , z 6= 0 อาจมีได้หลายค่า เราจะนิยามค่าหลัก ของ z c ได้ดังนี้

P V (z c ) = ecLog(z) (3.6)

ตัวอย่าง 18. จงหาค่าของ z c เมื่อ c เป็นจำนวนเต็ม n และจำนวนเชิงซ้อน z 6= 0

วิธีทำ

z c = ec log(z)

ให้ z = |z|eıθ ดังนั้น

z n = en (ln|z|+ıθ)
 n
= e(ln|z|+ıθ)
 n
= |z|eıθ

= zn

จากตัวอย่าง 18 แสดงให้เห็นว่า z n ในนิยามดังสมการ 3.6 สอดคล้องกับ z n ที่ได้นิยามไว้ก่อนหน้านี้

3.3.2 สมบัติของ z c , z 6= 0

ให้ z, z1 , z2 และ c, c1 , c2 เป็นจำนวนเชิงซ้อน ดังนั้น

1. (z c1 )c2 = z c1 c2 เมื่อ z 6= 0

2. z c1 z c2 = z c1 +c2 เมื่อ z 6= 0
z c1
3. = z c1 −c2 เมื่อ z 6= 0
z c2

4. z1c z2c = (z1 z2 )c เมื่อ z1 , z2 6= 0

3.3.3 อนุพันธ์ของฟังก์ชัน f (z) = z c , z 6= 0

ถ้าเรานิยามฟังก์ชันลอกการิทึมในรูปของ z = reıθ โดยกำหนดให้ เมื่อ r > 0 และ α < θ < α + 2π

log z = ln r + ıθ (3.7)
3.4. ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (TRIGONOMETRIC FUNCTIONS) 29

จะได้ว่า
dz c ec log z
= เมื่อ z 6= 0
dz dz
c
= ec log z
z
เนื่องจาก
z = elog z (3.8)

ดังนั้น
dz c ec log z
= c log z เมื่อ z 6= 0
dz e
= ce(c−1) log z

นั่นคือ
dz c
= cz c−1 เมื่อ z 6= 0
dz

3.4 ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions)

3.4.1 นิยามเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions)


จากนิยาม 10 เราสามารถแสดงได้ว่า
eıθ + e−ıθ 2
cos θ = sec θ =
2 + e−ıθ
eıθ
eıθ − e−ıθ 2ı
sin θ = csc θ = ıθ
2ı e − e−ıθ
e − e−ıθ
ıθ ı(eıθ + e−ıθ )
tan θ = cot θ = ıθ
ı(eıθ + e−ıθ ) e − e−ıθ
จากสมการข้างต้น เราสามารถนิยามฟังก์ชันตรีโกณมิติสำหรับจำนวนเชิงซ้อนได้ดังนี้
นิยาม 25. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติถูกนิยามโดย
eız + e−ız 2
cos(z) = sec(z) =
2 eız + e−ız
e − e−ız
ız 2ı
sin(z) = csc(z) = ız
2ı e − e−ız
e − e−ız
ız ı(eız + e−ız )
tan(z) = cot(z) = ız
ı(eız + e−ız ) e − e−ız
30 บทที่ 3. ฟังก์ชันพื้นฐาน (FUNDAMENTAL FUNCTIONS)

3.4.2 เอกลักษณ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions)

ทฤษฏีบท 18. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ

1. cos2 z + sin2 z = 1

2. cos (−z) = cos z

3. sin (−z) = − sin z

ทฤษฏีบท 19. cos และ sin เป็นฟังก์ชันตรีโกณมิติที่เป็นฟังก์ชันรายคาบ (Periodic


Function) ที่มีคาบพื้นฐาน (Fundamental Period) เท่ากับ 2π นั่นคือ

cos (z + nT ) = cos z
sin (z + nT ) = sin z

โดยที่ T = 2π เป็นคาบพื้นฐาน (Fundamental Period)

ทฤษฏีบท 20. ให้ z1 และ z2 เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ

1. cos (z1 − z2 ) = cos z1 cos z2 + sin z1 sin z2

2. cos (z1 + z2 ) = cos z1 cos z2 − sin z1 sin z2

3. sin (z1 + z2 ) = sin z1 cos z2 + cos z1 sin z2

4. sin (z1 − z2 ) = sin z1 cos z2 + cos z1 sin z2

ทฤษฏีบท 21. เมื่อ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ ดังนั้น

cos (2z) = cos2 z − sin2 z


= 2 cos2 z − 1
= 1 − 2 sin2 z

ทฤษฏีบท 22. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ ดังนั้น

1. sin (2z) = 2 sin z cos z

2. sec2 z − tan2 z = 1
3.5. ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (HYPERBOLIC FUNCTIONS) 31

3.4.3 อนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions)

ทฤษฏีบท 23. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ

d sin z
1. = cos z
dz
d cos z
2. = − sin z
dz
d tan z
3. = sec2 z
dz

3.5 ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Functions)

3.5.1 นิยามเกี่ยวกับฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค(Hyperbolic Functions)

เราสามารถนิยามฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิคสำหรับจำนวนเชิงซ้อนได้ดังนี้

นิยาม 26. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิคถูกนิยามโดย

ez + e−z ez − e−z
cosh z = sinh z =
2 2
ez − e−z (ez + e−z )
tanh z = z coth z = z
(e + e−z ) e − e−z

3.5.2 เอกลักษณ์ของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Functions)

ทฤษฏีบท 24. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ

1. cosh (ız) = cos z

2. sinh (ız) = i sin z

ทฤษฏีบท 25. ให้ x และ y เป็นจำนวนจริงใด ๆ ดังนั้น [5]

1. cosh(x + ıy) = cosh x cos y + ı sinh x sin y

2. sinh(x + ıy) = sinh x cos y + ı cosh x sin y


32 บทที่ 3. ฟังก์ชันพื้นฐาน (FUNDAMENTAL FUNCTIONS)

3.5.3 อนุพันธ์ของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค(Hyperbolic Functions)


ทฤษฏีบท 26. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ
d sinh z
1. = cosh z
dz
d cosh z
2. = sinh z
dz

3.6 ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Function-


s)
3.6.1 นิยามของตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions)
ให้ f เป็นฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Functions) โดยที่ f (z) = w ดังนั้นตัวผกผัน
ของ f นิยามได้ด้วย f −1 (z) คือ f −1 (w) = z ดังนั้น

ทฤษฏีบท 27. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ ดังนั้น


 1 
1. cos−1 z = −ı log z + z 2 − 1 2
 1 
2. sin−1 z = −ı log zı + 1 − z 2 2
 1
1 + zı 2
3. tan−1 z = −ı log
1 − zı
1
1 + 1 − z2 2
4. sec−1 z = −ı log
z
1
!
ı + (z 2 − 1) 2
5. csc−1 z = −ı log
z
 1
z+ı 2
6. cot−1 z = −ı log
z−ı
ตัวอย่าง 19. จงหาค่าของ cos−1 z

วิธีทำ จากสมการ
 1 
cos−1 z = −ı log z + z 2 − 1 2
3.6. ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (TRIGONOMETRIC FUNCTIONS) 33

จะได้
 1 
cos−1 (1) = −ı log 1 + 12 − 1 2

= −ı log (1))
= −ı (ln(1) + ı arg(1))
= −ı (0 + ı2πn)
= 2πn

โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มใด ๆ

3.6.2 อนุพันธ์ของตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric Function-


s)
เราสามารถหาอนุพันธ์ของตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติได้ด้วยการใช้กฎลูกโซ่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
d sin−1 z
ตัวอย่าง 20. จงหา
dz
วิธีทำ ให้ sin−1 z = w ดังนั้น sin w = z
จะได้ว่า
d sin w dz
= =1
dz dz
โดยใช้กฎลูกโซ่
d sin w dw
=1
dw dz
เนื่องจาก
d sin w
= cos w
dw
ดังนั้น
dw 1
=
dz cos w
โดยใช้เอกลักษณ์ cos2 w + sin2 w = 1 จะได้ว่า
dw 1
= 1
dz (1 − sin2 w) 2
34 บทที่ 3. ฟังก์ชันพื้นฐาน (FUNDAMENTAL FUNCTIONS)

นั่นคือ
d sin−1 z 1
= 1
dz (1 − z 2 ) 2

3.7 ตัวผกผันของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Functions)


3.7.1 นิยามของตัวผกผันของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Functions)
ให้ f เป็นฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Functions) โดยที่ f (z) = w ดังนั้นตัวผกผันของ f
นิยามได้ด้วย f −1 (z) คือ f −1 (w) = z ดังนั้น

ทฤษฏีบท 28. ให้ z เป็นจำนวนเชิงซ้อนใด ๆ ดังนั้น


 1 
1. cosh−1 z = log z + z 2 − 1 2
 1 
2. sinh−1 z = log z + z 2 + 1 2
 1
−1 1+z 2
3. tanh z = log
1−z
 1
−1 z+1 2
4. coth z = log
z−1
ตัวอย่าง 21. จงหาค่าของ cosh−1 1

วิธีทำ จากสมการ
 1 
cosh−1 z = log z + z 2 − 1 2

จะได้
 1 
cosh−1 (1) = log 1 + 12 − 1 2

= log (1)
= (ln(1) + ı arg(1))
= (0 + ı2πn)
= ı2πn

โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มใด ๆ
3.7. ตัวผกผันของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (HYPERBOLIC FUNCTIONS) 35

ตัวอย่าง 22. จงหาค่าของ cos (cos−1 1)

วิธีทำ

cos (cos−1 1) = 1

3.7.2 อนุพันธ์ของตัวผกผันของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิค (Hyperbolic Function-


s)
เราสามารถหาอนุพันธ์ของตัวผกผันของฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิคได้ด้วยการใช้กฎลูกโซ่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
d sinh−1 z
ตัวอย่าง 23. จงหา
dz
วิธีทำ ให้ sinh−1 z = w ดังนั้น sinh w = z
จะได้ว่า
d sinh w dz
= =1
dz dz

โดยใช้กฎลูกโซ่
d sinh w dw
=1
dw dz

เนื่องจาก
d sinh w
= cosh w
dw

ดังนั้น
dw 1
=
dz cosh w

โดยใช้เอกลักษณ์ cosh2 w − sinh2 w = 1 จะได้ว่า


dw 1
= 1
dz (1 + sinh2 w) 2

นั่นคือ
dw 1
= 1
dz (1 + z 2 ) 2
36 บทที่ 3. ฟังก์ชันพื้นฐาน (FUNDAMENTAL FUNCTIONS)

3.8 แบบฝึกหัด
1. จงแก้สมการ ez = 1

2. จงแก้สมการ log z = 1 + ı1

3. จงหาค่าของ elog (e+ıe)

4. จงหาค่าของ cos (π + ıπ)

5. จงหาค่าของ sin (π + π)

6. จงหาค่าของ sin sin−1 (π)




7. จงพิสูจน์ว่า |eız | ≤ 1 เมื่อ Im(z) ≥ 0

8. จงหาค่าของ sin−1 (0)

9. จงหาค่าของ sinh−1 (0)

10. จงหาค่าของ cos−1 (0)

11. จงหาค่าของ cosh−1 (1)

12. จงหาค่าของ tan−1 (1)

13. จงหาค่าของ tanh−1 (1)

14. จงพิสูจน์ว่า

cos (z1 − z2 ) + cos (z1 + z2 ) = 2 cos z1 cos z2

15. จงพิสูจน์ว่า

sin (z1 − z2 ) + sin (z1 + z2 ) = 2 sin z1 cos z2


บทที่ 4

อินทิกรัล(Integrals)

4.1 การอินทิเกรต (Integration)

นิยาม 27. การอินทิเกรตของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f (t) ให้ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f (t) =


u(t) + ıv(t) โดยที่ u และ v เป็นฟังก์ชันค่าจริงของตัวแปรค่าจริง t, a ≤ t ≤ b ดังนั้น
Z b Z b Z b
f (t) dt = u(t) dt + ı v(t) dt (4.1)
a a a

Z 2π
ตัวอย่าง 24. จงหา eıt dt
0

วิธีทำ เนื่องจาก eıt = cos t + ı sin t


Z 2π Z 2π Z 2π
eıt dt = cos t dt + ı sin t dt
0 0 0
2π 2π
= sin t + ı − cos t

0 0
=0
Z 2π
นั่นคือ eıt dt = 0
0
พิจารณาคอนทัวร์ C โดยที่จุดเริ่มต้น zi = a และ จุดสิ้นสุด zt = b ให้ Pn =
{z0 , z1 , z2 . . . , zn } โดย z0 = a, z1 , . . . , zn = b วางเรียงกันตามคอนทัวร์ C ผลต่าง ∆zk =
zk − zk−1 และ zk∗ = z ∗ (t∗k ) ∈ Ck = {z | z = z(t) โดยที่ zk−1 = z(tk−1 ), zk =

37
38 บทที่ 4. อินทิกรัล(INTEGRALS)

z(tk ) และ tk−1 < t∗k < tk } เราสามารถนิยามผลบวกของรีมานน์ S(Pn ) ได้ดังสมการ

n
X
S(Pn ) = f ∗ (zk ) ∆zk
k=1

ดังนั้น ถ้ามี L ซึ่งเป็นลิมิตของทุกลำดับ S(Pn ) โดยที่ ∆zk → 0 สำหรับทุก k =


1, 2, . . . , n Z
ดังนั้นเราสามารถนิยาม f (z) dz ได้ดังต่อไปนี้
C

นิยาม 28.
Z n
X
f (z) dz = lim f (zk∗ ) ∆zk (4.2)
C ∆zk →0
n→∞ k=1

จากสมการ 4.2 จะได้ว่า


n
z(tk ) − z(tk−1 )
Z X
f (z) dz = lim f (z(t∗k )) ∆tk
C ∆tk →0 tk − tk−1
n→∞ k=1

เมื่อ ∆tk = tk − tk−1


นั่นคือ

ทฤษฏีบท 29.

Z Z b
f (z) dz = f (z)z 0 (t) dt
C a

ตัวอย่าง 25. จงหาค่าของ


Z
z dz
C

โดยที่
C = {z | z = t + ıt โดยที่ 0 ≤ t ≤ 1}
4.1. การอินทิเกรต (INTEGRATION) 39

วิธีทำ เนื่องจาก z = t + ıt จะได้ว่า dz = (1 + ı)dt ดังนั้น

Z Z 1
z dz = (t + ıt)(1 + ı1) dt
C 0
Z 1
= 2ıt dt
0
1
= ıt2

0

ตัวอย่าง 26. จงหาค่าของ


Z
z dz
C

โดยที่
S
C = C1 C2
C1 = {z | z = t โดยที่ 0 ≤ t ≤ 1} และ
C2 = {z | z = 1 + ıt โดยที่ 0 ≤ t ≤ 1}

วิธีทำ เนื่องจาก
Z Z Z
z dz = z dz + z dz
C C1 C2

ให้ z = t จะได้ว่า dz = dt ดังนั้น

Z Z 1
z dz = t dt
C1 0
Z 1
= t dt
0
1
t2
=
2 0
1
=
2
40 บทที่ 4. อินทิกรัล(INTEGRALS)

ให้ z = 1 + ıt จะได้ว่า dz = ıdt ดังนั้น


Z Z 1
z dz = (1 + ıt) ıdt
C2 0
Z 1
= (−t + ı) dt
0
1
−t2
1
= + ı t


2 0 0
1
=− +ı
2
ดังนั้น
Z Z Z
z dz = z dz + z dz
C C1 C2
1 1
= − +ı
2 2

ตัวอย่าง 27. จงหาค่าของ Z


1
dz
C1 z
โดยที่
π π
C1 = {z | z = eıθ โดยที่ − ≤θ≤ }
2 2

วิธีทำ เนื่องจาก z = eıθ จะได้ว่า dz = ıeıθ dθ ดังนั้น


Z Z π
1 2 1 ıθ
dz = ıe dθ
z π eıθ
C1 −2
π
2
= ı θ π
−2

= ıπ

ตัวอย่าง 28. จงหาค่าของ Z


1
dz
C2 z
โดยที่
3π π
C2 = {z | z = eıθ โดยที่ − ≤ θ ≤ − วนในทิศตามเข็มนาฬิกา}
2 2
4.2. ปริพันธ์ (ANTIDERIVATIVES) 41

วิธีทำ เนื่องจาก z = eıθ จะได้ว่า dz = ıeıθ dθ ดังนั้น


Z Z − 3π
1 2 1 ıθ
dz = ıe dθ
C2 z − π2 eıθ
− 3π
2
= ı θ π
−2

= −ıπ

4.2 ปริพันธ์ (Antiderivatives)


นิยาม 29 (นิยามของปริพันธ์ (Antiderivative)). ให้ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนที่ต่อเนื่อง
dF (z)
ทั่วทั้งบริเวณ D ถ้ามีฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน F โดยที่ = f (z) เราเรียกฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน F
dz
ว่าปริพันธ์ (Antiderivative)ของ f

ทฤษฏีบท 30. ให้ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนในบริเวณ D ซึ่งมีฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน F


เป็นปริพันธ์ (Antiderivative)ของ f จะได้ว่าถ้า a และ b เป็นจุดใดๆในบริเวณ D ดังนั้น
Z b
f (z)dz = F (b) − F (a)
a

บทตั้ง 7. f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนในบริเวณ D ซึ่งมีฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน F เป็นปริพันธ์


(Antiderivative)ของ f ดังนั้นถ้า a และ b เป็นจุดใดๆในบริเวณ D ดังนั้น อินทิกรัลตามเส้นของ f
จากจุด a ไปยังจุด b ไม่ขึ้นอยู่กับเส้นทาง
Z
1
ตัวอย่าง 29. จงหาค่าของ dz ด้วยการใช้ปริพันธ์โดยที่
C1 z
π π
C1 = {z | z = eıθ โดยที่ − ≤ θ ≤ }
2 2

วิธีทำ
Z
1
dz = Log ı − Log (−ı)
C1 z
π −πı
=ı −( )
2 2
= ıπ
42 บทที่ 4. อินทิกรัล(INTEGRALS)
Z
1
ตัวอย่าง 30. จงหาค่าของ dz ด้วยการใช้ปริพันธ์โดยที่
C2 z
3π π
C2 = {z | z = eıθ โดยที่ − ≤ θ ≤ − วนในทิศตามเข็มนาฬิกา}
2 2

วิธีทำ ให้ log z = ln|z| + ıθ เมื่อ 0 < θ ≤ 2π จะได้1


Z
1
dz = log ı − log (−ı)
C2 z
π 3π
= ı − (ı )
2 2
= −ıπ
Z ı
ตัวอย่าง 31 (ข้อสอบเก่าภาคปลาย ปีการศึกษา 2554). จงหาค่าของ z 2 dz
−ı

วิธีทำ ı
ı
z 3 ı3 − (−ı)3 −ı − ı
Z
2 2ı
z dz = = = =−
−ı 3 −ı 3 3 3

4.3 ทฤษฏีบทพื้นฐานเกี่ยวกับอินทิกรัล

ทฤษฏีบท 31 (ทฤษฎีบทของกรีน(Green’s Theorem)). ให้ P และ Q เป็นฟังก์ชัน


ค่าจริงขึ้นกับตัวแปร x และ y และ อนุพันธ์ย่อยอันดับหนึ่งของฟังก์ชัน P และ Q
ต่อเนื่องตลอดอาณาบริเวณปิดR ซึ่งประกอบด้วยจุดภายในและวงปิดอย่างง่าย2 C
Z Z Z
P dx + Qdy = (Qx − Py )dA (4.3)
C R

Z
ตัวอย่าง 32. จงหาค่า y dx+x dy เมื่อ C = {(x, y) | x2 +y 2 = 1 วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}
C

Z
1 1 π π
เราไม่สามารถกล่าวว่า dz = Log ı − Log (−ı) = ı − (−ı ) = πı
C2 z 2 2
dLog z
เนื่องจาก บนแกนจริงลบไม่มีค่า
dz
2
วงปิดอย่างง่าย (Simple Closed Contour) คือ วงปิดที่ไม่ทับตัวเอง
4.3. ทฤษฏีบทพื้นฐานเกี่ยวกับอินทิกรัล 43

รูปที่ 4.1: อาณาบริเวณปิด R ซึ่งประกอบด้วยจุดภายในและวงปิดอย่างง่าย C

วิธีทำ จากทฤษฎีบทของกรีน จะได้ว่า


Z Z Z  
∂x ∂y
y dx + x dy = − dA เมื่อ R = {(x, y) | x2 + y 2 ≤ 1 }
C R ∂x ∂y
=0
Z
ตัวอย่าง 33. จงหาค่า −y dx+x dy เมื่อ C = {(x, y) | x2 +y 2 = 1 วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}
C

วิธีทำ จากทฤษฎีบทของกรีน จะได้ว่า


Z Z Z  
∂x ∂(−y)
−y dx + x dy = − dA เมื่อ R = {(x, y) | x2 + y 2 ≤ 1 }
C ∂x ∂y
Z RZ
=2 dxdy
R

โดยการเปลี่ยนจากพิกัดเชิงตั้งฉาก (Rectangular Coordinates) เป็นพิกัดเชิงขั้ว (Polar Coordinates)


จะได้ว่า
Z Z 2π Z 1
−y dx + x dy = 2 r drdθ
C 0 0
Z 2π 1
=2 r2 dθ
( 2 )
0 0

= 2π

ในปี 1825 โคชีได้พิสูจน์ทฤษฎีบทของโคชี(Cauchy Theorem) โดยใช้ทฤษฎีบทของกรีนที่ถูกกล่าวถึง


ก่อนหน้า
44 บทที่ 4. อินทิกรัล(INTEGRALS)

ทฤษฏีบท 32 (ทฤษฎีบทของโคชี(Cauchy Theorem)). ให้ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์


และ อนุพันธ์ f 0 ของ f มีความต่อเนื่องภายในและบนวงปิดอย่างง่ายวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา C
จะได้ว่าอินทิกรัลของ f บนวงปิด C
I
f (z)dz = 0
C

รูปที่ 4.2: ฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในอาณาบริเวณ R

หลังจากโคชีได้เสนอทฤษฏีบท ในปี 1883 เกอร์ซาต์ได้แสดงว่าเงื่อนไขที่อนุพันธ์


ของ f อาจเขียนแทนด้วย f 0 ต้องต่อเนื่องนั้นสามารถละได้ ดังนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่
เกอร์ซาต์ (Goursat) ทฤษฎีบทของโคชีจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นทฤษฎีบทของโคชี-เกอร์ซาต์

ทฤษฏีบท 33 (ทฤษฎีบทของโคชี-เกอร์ซาต์(Cauchy-Goursat Theorem)). ให้ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน


f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในและบนวงปิดอย่างง่ายวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา C อินทิกรัลของ f
บนวงปิด C I
f (z)dz = 0
C

ผลที่ตามมาของทฤษฏีบท 33 คือความเป็นอิสระกับเส้นทาง ดังต่อไปนี้

บทตั้ง 8 (ความเป็นอิสระกับเส้นทาง). ให้ Γ1 และ Γ2 เป็นเส้นทางของการอินทิเกรต


จากจุด a ไปยังจุด b และ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นทาง
ของการอินทิเกรต Γ1 และ Γ2 และบน Γ1 และ Γ2 จะได้ว่า
Z Z
f (z) dz = f (z) dz
Γ1 Γ2
4.3. ทฤษฏีบทพื้นฐานเกี่ยวกับอินทิกรัล 45

นอกจากนี้ผลที่ตามมาของทฤษฏีบท 33 คือสูตรอินทิกรัลของโคชี ดังต่อไปนี้

บทตั้ง 9 (สูตรอินทิกรัลของโคชี(Cauchy Integral Formula)). ให้ฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f


เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในและบนวงปิดอย่างง่ายวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา C
อินทิกรัลของ f บนวงปิด C คือ

I
f (z) 2πıf (z ), z อยู่ภายในวงปิด C
0 0
dz =
C z − z 0 0, z อยู่ภายนอกวงปิด C
0

จากบทตั้ง 9 ถ้ามีฟังก์ชันค่าเชิงซ้อนf ซึ่งเป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในวงปิดอย่างง่าย (Sim-


ple Closed Contour)
วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา C แล้ว เราสามารถแสดง f (z) ในรูปของอินทิกรัลบนวงปิด C ดังนี้
I
1 f (s)
f (z) = ds (4.4)
2πı C s − z

อนุพันธ์อันดับหนึ่งของ f (f 0 ) สามารถหาได้จากสมการ 4.4 นั่นคือ

∂f (z)
f 0 (z) =
∂z I 
∂ 1 f (s)
= ds
∂z 2πı C s − z
I   
1 ∂ f (s)
= ds
2πı C ∂z s − z
I
1 f (s)
= ds
2πı C (s − z)2

นอกจากนี้อนุพันธ์อันดับ n ของ f (f n ) สามารถหาได้จากสมการ 4.4 นั่นคือ

∂ n f (z)
f n (z) =
∂z n

หรือ
I
n n! f (s)
f (z) = ds (4.5)
2πı C (s − z)n+1

จากสมการ 4.5 แสดงให้เห็นว่า ถ้า f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์แล้วอนุพันธ์ทุกอันดับของ f เป็นฟังก์ชัน


วิเคราะห์
46 บทที่ 4. อินทิกรัล(INTEGRALS)

es
Z 
d
ตัวอย่าง 34. จงหา ds โดยที่
dz C s−z
C = {z | z = eıθ เมื่อ 0 ≤ θ ≤ 2π วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}

วิธีทำ เมื่อ z อยู่ภายในคอนทัวร์ จะได้ว่า


es
Z
ds = 2πıez
C s − z

ดังนั้น
es d(2πıez )
Z 
d
ds =
dz C s−z dz
= 2πıez
Z 
d cos s
ตัวอย่าง 35. จงหา ds โดยที่
dz C s−z
C = {z | z = eıθ เมื่อ 0 ≤ θ ≤ 2π วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}

วิธีทำ เมื่อ z อยู่ภายในคอนทัวร์ จะได้ว่า


Z
cos s
ds = 2πı cos z
C −z
s

ดังนั้น
Z 
d cos s d(2πı cos z)
ds =
dz C s−z dz
= 2πı(− sin z)
= −2πı sin z

4.4 แบบฝึกหัด
2
ez
I
1. จงหาค่าของ dz เมื่อ C = {z | z = 5eıθ เมื่อ 0 ≤ θ ≤ 2π วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}
C z+1
I
2. จงหาค่าของ z dz เมื่อ C = {z | z = 5eıθ เมื่อ 0 ≤ θ ≤ 2π วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}
C
โดยใช้ทฤษฎีบทของกรีน
4.4. แบบฝึกหัด 47
I
3. จงหาค่าของ z 2 dz เมื่อ C = {z | z = 5eıθ เมื่อ 0 ≤ θ ≤ 2π วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}
C
โดยใช้ทฤษฎีบทของกรีน
Z
4. จงหาค่าของ z 2 dz เมื่อ C = {z | z = eıθ เมื่อ 0 ≤ θ ≤ π วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}
C
48 บทที่ 4. อินทิกรัล(INTEGRALS)
บทที่ 5

ลำดับและอนุกรม(Sequences and
Series)

5.1 นิยามเกี่ยวกับลำดับและอนุกรม

นิยาม 30 (ลำดับ). ลำดับ (Sequence) คือฟังก์ชันซึ่งโดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวก


ในที่นี้พิสัยเป็นเซตย่อยของเซตของจำนวนเชิงซ้อน

นิยาม 31 (ลิมิตของลำดับ). ให้ z1 , z2 , z3 , · · · เป็นลำดับอนันต์ลำดับนี้มีลิมิต(ลู่เข้า)ก็ต่อเมื่อ


มีจำนวนเชิงซ้อน z ซึ่งสำหรับทุกๆ  > 0 มี N > 0 ซึ่ง

|zn − z| <  สำหรับทุกๆ n > N

นอกจากนี้เราเรียกลำดับที่ไม่ลู่เข้าว่าลำดับลู่ออก1

นิยาม 32 (อนุกรม). ให้ z1 , z2 , z3 , · · · , zn โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มบวก เป็นลำดับของจำนวนเชิงซ้อน


ดังนั้นเราเรียกลำดับของจำนวนเชิงซ้อน S1 , S2 , · · · , Sn ว่า อนุกรมโดยที่
n
X
Sn = zi
i=1

= z1 + z2 + z 3 + · · · + zn

นอกจากนี้เราเรียกลำดับของจำนวนเชิงซ้อน S1 , S2 , S3 , · · · ว่า อนุกรมอนันต์


1
ถ้าหากว่า z1 , z2 , z3 , · · · เป็นลำดับอนันต์ลำดับนี้ลู่เข้าสู่ z เรากล่าวได้ว่า lim zn = z
n→∞

49
50 บทที่ 5. ลำดับและอนุกรม(SEQUENCES AND SERIES)

N
X
ตัวอย่าง 36. จงหาค่าของ z n โดยที่ z 6= 1 และ N เป็นจำนวนเต็มบวก
n=0

N
X
วิธีทำ ให้ SN = z n นั่นคือ
n=0

SN = 1 + z + · · · + z N
zSN = z + z 2 + · · · + z N + z N +1

จะได้

SN − zSN = (1 − z)SN
= 1 + (z − z) + (z 2 − z 2 ) + · · · − z N +1
= 1 − z N +1

ดังนั้น
1 − z N +1
SN =
1−z
นั่นคือ
N
X 1 − z N +1
zn = , z 6= 1 (5.1)
1−z
n=0

X
ตัวอย่าง 37. จงหาค่าของ z n เมื่อ |z| < 1
n=0

วิธีทำ เนื่องจาก
N
X 1 − z N +1
zn = , z 6= 1
1−z
n=0

เมื่อ |z| < 1



X 1 − z N +1
z n = lim
N →∞ 1−z
n=0
1
=
1−z

X 1
นั่นคือ zn = เมื่อ |z| < 1
1−z
n=0
5.2. อนุกรมแมคคลอริน(MCCLAURIN SERIES) 51

5.2 อนุกรมแมคคลอริน(Mcclaurin Series)


ให้ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ในบริเวณ |z| ≤ R และ C คือวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา |z| =
R ดังนั้น สำหรับจุด zใดๆ ใน |z| < R

X f n (0)
f (z) = an z n โดยที่ an =
n!
n=0

f (z)
×
R
× x
(0, 0)

รูปที่ 5.1: ฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในอาณาบริเวณของการลู่เข้า |z| < R

ตัวอย่าง 38. จงหาอนุกรมแมคคลอรินของฟังก์ชัน f (z) = ez

วิธีทำ เนื่องจาก f (z) = ez เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ (Analytic Function) สำหรับทุก


จำนวนเชิงซ้อน z

X f n (0)
f (z) = zn สำหรับทุกจำนวนเชิงซ้อน z
n!
n=0

และ

f n (z) = ez สำหรับ n = 0, 1, 2, . . .

ดังนั้น

X zn
f (z) =
n!
n=1
52 บทที่ 5. ลำดับและอนุกรม(SEQUENCES AND SERIES)

นั่นคือ
z2
ez = 1 + z + + ...
2!
ตัวอย่าง 39 (ข้อสอบเก่าภาคปลาย ปีการศึกษา 2554). จงหาอนุกรมแมคคลอรินของ
2
ฟังก์ชัน f (z) = ez

วิธีทำ เนื่องจาก
z2
ez = 1 + z + + ...
2!
ดังนั้น
2 z4
ez = 1 + z 2 + + ...
2!
3
ตัวอย่าง 40. จงหาอนุกรมแมคคลอรินของฟังก์ชัน f (z) = ez

วิธีทำ เนื่องจาก
z2
ez = 1 + z + + ...
2!
ดังนั้น
3 z6
ez = 1 + z 3 + + ...
2!
ตัวอย่าง 41. จงหาอนุกรมแมคคลอรินของฟังก์ชัน f (z) = (z − 1)2

วิธีทำ เนื่องจาก
f (z) = (z − 1)2
ดังนั้น
f (z) = z 2 − 2z + 1

5.3 อนุกรมเทย์เลอร์(Taylor Series)


ให้ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ในบริเวณ |z−z0 | ≤ R และ C คือวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา |z−
z0 | = R ดังนั้น สำหรับจุด zใดๆ ใน |z − z0 | < R

X f n (z0 )
f (z) = an (z − z0 )n โดยที่ an =
n!
n=0
5.3. อนุกรมเทย์เลอร์(TAYLOR SERIES) 53

f (z) R
× × z0

รูปที่ 5.2: ฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในอาณาบริเวณของการลู่เข้า |z − z0 | <


R

ตัวอย่าง 42. จงหาอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชัน f (z) = z 2 รอบจุด z = 1

วิธีทำ เนื่องจาก
f (z) = z 2

และ

z 2 = z 2 − 2z + 1 + (2z − 2) + 1 = 1 + 2(z − 1) + (z − 1)2




ดังนั้น
f (z) = 1 + 2(z − 1) + (z − 1)2

ตัวอย่าง 43. จงหาอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชัน f (z) = ez รอบจุด z = 1

วิธีทำ เนื่องจาก

z2
ez = 1 + z + + ...
2!
54 บทที่ 5. ลำดับและอนุกรม(SEQUENCES AND SERIES)

ดังนั้น

ez = e1 ez−1
(z − 1)2
 
1
= e 1 + (z − 1) + + ...
2!
(z − 1)2
= e1 + e1 (z − 1) + e1 + ...
2!

5.4 อนุกรมโลรองต์(Laurent Series)


ให้ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ในอาณาบริเวณ R1 ≤ |z − z0 | = R2 , C1 คือ
วงปิดวนในทิศตามเข็มนาฬิกา |z−z0 | = R1 และ C2 คือวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา |z−
z0 | = R2 ดังนั้น สำหรับจุด zใดๆ ใน R1 < |z − z0 | < R2
∞ ∞
X
n
X bn
f (z) = an (z − z0 ) +
(z − z0 )n+1
n=0 n=0
I I
1 f (s) 1
โดยที่ an = n+1
ds และ bn = f (s)(s − z0 )n ds
2πı C2 (s − z0 ) 2πı C1
หรือ

X
f (z) = cn (z − z0 )n
n=−∞

1
ตัวอย่าง 44. จงหาอนุกรมโลรองต์ของฟังก์ชัน f (z) = e z รอบจุด z = 0

วิธีทำ เนื่องจาก
z2
ez = 1 + z + + ...
2!

ดังนั้น
1 1 1 1
ez = 1 + + + ...
z 2! z 2
1
ตัวอย่าง 45. จงหาอนุกรมโลรองต์ของฟังก์ชัน f (z) = รอบจุด z = 0 เมื่อ
1−z
5.4. อนุกรมโลรองต์(LAURENT SERIES) 55

C2
y

C1

R1 R2
f (z)
× ×
z0

รูปที่ 5.3: ฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในอาณาบริเวณของการลู่เข้า R1 <


|z − z0 | < R2

1. |z| < 1

2. |z| > 1

วิธีทำ พิจารณาสองกรณีต่อไปนี้

1. เมื่อ |z| < 1

1
= 1 + z + z2 + . . .
1−z

นั่นคือ

1
= 1 + z + z2 + . . . เมื่อ |z| < 1
1−z
56 บทที่ 5. ลำดับและอนุกรม(SEQUENCES AND SERIES)

2. เมื่อ |z| > 1

1
1 z
= 1
1−z z −1
1
z
=−
1 − z1
 
1 1
=− + + ...
z z2

นั่นคือ

1 1 1
= − − 2 − ... เมื่อ |z| > 1
1−z z z

1
ตัวอย่าง 46. จงหาอนุกรมโลรองต์ของฟังก์ชัน f (z) = รอบจุด z = 0 เมื่อ
(1 − z)2

1. |z| < 1

2. |z| > 1

วิธีทำ พิจารณาสองกรณีต่อไปนี้

1. เมื่อ |z| < 1


เนื่องจาก

1
= 1 + z + z2 + . . . เมื่อ |z| < 1
1−z

ดังนั้น
 
1
d 1−z d
1 + z + z2 + . . .

= เมื่อ |z| < 1
dz dz

นั่นคือ

1
= 1 + 2z + 3z 2 + . . . เมื่อ |z| < 1
(1 − z)2
5.5. ซีโรและโพล (ZERO AND POLE) ของฟังก์ชัน 57

2. เมื่อ |z| > 1


เนื่องจาก
 
1
d 1−z d

1 1

= − − 2 − ... เมื่อ |z| > 1
dz dz z z

นั่นคือ
1 1 2
2
= 2 + 3 + ... เมื่อ |z| > 1
(1 − z) z z

ตัวอย่าง 47 (ข้
อสอบเก่
 าภาคปลาย ปีการศึกษา 2554). จงหาอนุกรมโลรองต์ของฟังก์ชัน
1
f (z) = exp รอบจุด z = 0
z2

วิธีทำ เนื่องจาก
z2
ez = 1 + z + + ...
2!
ดังนั้น  
1 1 1
exp =1+ + + ...
z2 z 2 2!z 4

5.5 ซีโรและโพล (Zero and Pole) ของฟังก์ชัน


5.5.1 ซีโร (Zero) ของฟังก์ชันวิเคราะห์
เราสามารถนิยามซีโร (Zero) ของฟังก์ชันวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้

นิยาม 33 (ซีโร). ให้ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ z = z0 ถ้า f (z0 ) = 0 เราเรียกจุด z0


ว่าซีโร (Zero) ที่ z0

นิยาม 34 (ซีโรอันดับ n). ให้ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ z = z0 และจุด z = z0 เป็นซีโร (Ze-


ro) ที่ z0 ถ้ามีจำนวนเต็มบวก n ซึ่งทำให้ f n (z0 ) 6= 0 และ f m (z0 ) = 0 สำหรับทุก ๆ m =
0, . . . , n − 1 แล้วเราเรียกจุด z = z0 ว่าเป็นซีโรอันดับ n
(Zero of Order n) ที่ z0

ถ้า z0 เป็นซีโรอันดับ n ที่ z0 ของฟังก์ชันวิเคราะห์ f ดังนั้นมี  > 0 ที่ทำให้



X f m (z0 )
f (z) = (z − z0 )m เมื่อ |z − z0 | < 
m!
m=0
58 บทที่ 5. ลำดับและอนุกรม(SEQUENCES AND SERIES)

โดยที่ f n (z0 ) 6= 0 และ f m (z0 ) = 0, m = 0, . . . , n − 1 นั่นคือ


X f m (z0 )
f (z) = (z − z0 )m
m=n
m!
!
n f n (z0 ) f (n+1) (z0 )
= (z − z0 ) + (z − z0 ) + . . .
n! (n + 1)!

ถ้าให้

f n (z0 ) f (n+1) (z0 )


g(z) = + (z − z0 ) + . . . เมื่อ |z − z0 | <  (5.2)
n! (n + 1)!

ดังนั้น
f (z) = (z − z0 )n g(z)
f n (z0 )
ความจริงแล้ว g ในสมการ 5.2 เป็นอนุกรมเทย์เลอร์ โดยที่ g(z0 ) = 6= 0 ดังนั้น g เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ท
n!

ทฤษฏีบท 34. ให้ z0 เป็นซีโรอันดับ n ของฟังก์ชันวิเคราะห์ f ดังนั้น ฟังก์ชัน f สามารถ


เขียนอยู่ในรูปฟังก์ชันวิเคราะห์ g โดยที่ g(z0 ) 6= 0 ดังนี้

f (z) = (z − z0 )n g(z)

5.5.2 โพล (Pole) ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน

ก่อนที่จะกล่าวถึงโพล (Pole) เราจะนิยามจุดเอกฐาน (Singular Point) และจุดเอกฐาน


ที่อยู่โดดเดี่ยว (Isolated Singular Point) ก่อนดังต่อไปนี้

นิยาม 35 (จุดเอกฐาน (Singular Point)). ให้ f เป็นฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน z0 เป็นจุด


เอกฐานก็ต่อเมื่อ f ไม่เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ z = z0 และมีจุดที่ f เป็นฟังก์ชัน
วิเคราะห์ในทุก ๆอาณาบริเวณ D = {z | |z − z0 | < } โดยที่  > 0

นิยาม 36 (จุดเอกฐานที่อยู่โดดเดี่ยว (Isolated Singular Point)). ให้ f เป็นฟังก์ชัน


ค่าเชิงซ้อนดังนั้น z0 เป็นจุดเอกฐานที่อยู่โดดเดี่ยวก็ต่อเมื่อ z0 เป็นจุดเอกฐานและ
มี  > 0 ที่ทำให้ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ในอาณาบริเวณ D โดยที่ D =
{z | 0 < |z − z0 | < }
5.5. ซีโรและโพล (ZERO AND POLE) ของฟังก์ชัน 59

จากนิยามของจุดเอกฐานที่อยู่โดดเดี่ยว เราอาจกล่าวได้ว่า ถ้า z0 เป็นจุดเอกฐานที่


อยู่โดดเดี่ยวของฟังก์ชัน f ดังนั้น มี  > 0 ซึ่งทำให้ f สามารถเขียนอยู่ในรูปอนุกรมโลรองต์

X
f (z) = cn (z − z0 )n เมื่อ 0 < |z − z0 | < 
n=−∞

เราอาจแบ่งจุดเอกฐานที่อยู่โดดเดี่ยวออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้

1. โพลที่สามารถขจัดได้ (Removable Pole)


จุดเอกฐานที่อยู่โดดเดี่ยว z0 เป็นโพลที่สามารถขจัดได้ (Removable Pole) ของฟังก์ชัน f
ถ้า cn = 0, n = −1, −2, . . . นั่นคือ

X
f (z) = cn (z − z0 )n เมื่อ 0 < |z − z0 | <  (5.3)
n=0

จากสมการ 5.3 ถ้า z0 เป็นโพลที่สามารถขจัดได้ เราสามารถทำให้ฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชัน


วิเคราะห์ที่ z0 โดยการนิยาม f (z0 ) ใหม่ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง 48. จงแสดงว่า z = 0 เป็นโพลที่สามารถขจัดได้ของฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน f ซึ่ง


นิยามดังต่อไปนี้
sin z
f (z) =
z

วิธีทำ เราสามารถแสดงได้ว่า f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ทุกจุดในระนาบเชิงซ้อน


sin z
ยกเว้นที่จุด z = 0 ดังนั้น ฟังก์ชัน f = สามารถเขียนอยู่ในรูปของอนุกรม
z
โลรองต์ดังต่อไปนี้

z3 z5 z7
sin z z− + − + ...
= 3! 5! 7!
z z
z2 z4 z6
=1− + − + ... เมื่อ |z| > 0
3! 5! 7!

ถ้าหากเรานิยามฟังก์ชัน f˜ ดังต่อไปนี้

 sin z , z =

6 0
˜
f (z) = z
1, z=0
60 บทที่ 5. ลำดับและอนุกรม(SEQUENCES AND SERIES)

จะได้ว่า

z2 z4 z6
f˜(z) = 1 − + − + ...
3! 5! 7!

ดังนั้น f˜ เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ทุกจุดในระนาบเชิงซ้อน ในขณะที่ f เป็นฟังก์ชัน


วิเคราะห์ที่ทุกจุดในระนาบเชิงซ้อนยกเว้นที่จุด z = 0 นั่นคือ z = 0 เป็นโพล
ที่สามารถขจัดได้ของฟังก์ชัน f

2. โพลอันดับ n (Pole of Order n)2 จุดเอกฐานที่อยู่โดดเดี่ยว z0 เป็นโพลอันดับ n


(Pole of Order n) ของฟังก์ชัน f ถ้า

X
f (z) = cn (z − z0 )n เมื่อ 0 < |z − z0 | < 
n=−m

นั่นคือ cn = 0 เมื่อ n = −m − 1, −m − 2, . . .

3. โพลที่จำเป็น (Essential Pole) จุดเอกฐานที่อยู่โดดเดี่ยว z0 เป็นโพลที่จำเป็น


(Essential Pole) ของฟังก์ชัน f ถ้า

X
f (z) = cn (z − z0 )n เมื่อ 0 < |z − z0 | < 
n=−∞

โดยที่จำนวนของสัมประสิทธิ์ที่ไม่เป็นศูนย์ cn เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มลบ มีจำนวน


เป็นอนันต์

ตัวอย่าง 49. จงแสดงว่า z = 0 เป็นโพลที่จำเป็น (Essential Pole) ของฟังก์ชัน


 
1
f (z) = exp
z

 
1
วิธีทำ เนื่องจากฟังก์ชัน f (z) = exp สามารถเขียนอยู่ในรูปของอนุกรมโลรองต์
z
  ∞
1 X
exp = cn (z − z0 )n เมื่อ 0 < |z − z0 | < ∞
z n=−∞

2
เราเรียกโพลอันดับ 1 ว่าโพลอย่างง่าย (Simple Pole)
5.6. แบบฝึกหัด 61

ดังนี้
 
1 1 1
exp = 1 + + 2 + ... เมื่อ 0 < |z − z0 | < ∞ (5.4)
z z z

จากสมการ 5.4 สัมประสิทธิ์ c0 = c−1 = . . . = 1 มีจำนวนเป็นอนันต์ ดังนั้น


1
z = 0 เป็นโพลที่จำเป็น (Essential Pole) ของฟังก์ชัน f (z) = exp
z

5.6 แบบฝึกหัด
1. จงหาอนุกรมแมคคลอรินของฟังก์ชันต่อไปนี้

(a) f (z) = cos z


(b) f (z) = sin z

2. จงหาอนุกรมเทย์เลอร์รอบจุด z = 1 ของฟังก์ชันต่อไปนี้

(a) f (z) = cos z


(b) f (z) = sin z

3. จงหาอนุกรมโลรองต์รอบจุด z = 0 ของฟังก์ชันต่อไปนี้
cos z
(a) f (z) =
z+1
sin z
(b) f (z) =
z+1

4. จงหาอนุกรมโลรองต์รอบจุด z = 0 ของฟังก์ชันต่อไปนี้
2
e−z
(a) f (z) =
z4
e −z
(b) f (z) = 4
z
62 บทที่ 5. ลำดับและอนุกรม(SEQUENCES AND SERIES)
บทที่ 6

ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์
(Residue Theorem and Its
Applications)

6.1 ทฤษฎีบทเรซิดิว(Residue Theorem)

ก่อนที่จะกล่าวถึงทฤษฎีบทเรซิดิวพิจารณาตัวอย่างดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง 50. Iให้ C เป็นวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา |z−z0 | =  เมื่อ  เป็นจำนวนจริงบวก


จงหาค่าของ (z − z0 )n dz โดยที่ n = 0, 1, 2, · · ·
C

วิธีทำ กำหนดให้ z − z0 = eıθ ดังนั้น


I Z 2π
(z − z0 )n dz = n enıθ ıeıθ dθ
C 0
Z 2π
(n+1)
= ı e(n+1)ıθ dθ
0
=0

ตัวอย่าง 51. Iให้ C เป็นวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา |z−z0 | =  เมื่อ  เป็นจำนวนจริงบวก


1
จงหาค่าของ dz
C z − z0

63
64บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

วิธีทำ กำหนดให้ z − z0 = eıθ ดังนั้น


I Z 2π
1 1
dz = ıeıθ dθ
C z − z0 0 eıθ
Z 2π
=ı dθ
0
= 2πı

ตัวอย่าง 52. Iให้ C เป็นวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา |z−z0 | =  เมื่อ  เป็นจำนวนจริงบวก


1
จงหาค่าของ n
dz โดยที่ n = 2, 3, · · ·
C (z − z0 )

วิธีทำ กำหนดให้ z − z0 = eıθ ดังนั้น


I Z 2π
1 1
dz = ıeıθ dθ
C (z − z0 )n 0 (n−1) enıθ
Z 2π
ı
= e(1−n)ıθ dθ
(n−1) 0
=0

จากตัวอย่างข้างต้น เราสามารถสรุปได้ว่า

I


0, n = 0, 1, 2, · · ·

(z − z0 )n dz = 2πı, n = −1 (6.1)
C 

0, n = −2, −3, · · ·

ตัวอย่าง 53. ให้ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ทุกจุดภายในและบนวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา C


ยกเว้นจุดเอกฐาน z0 โดยที่ C เป็นI วงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกาบน |z − z0 | =  เมื่อ
 เป็นจำนวนจริงบวก จงหาค่าของ f (z) dz
C

วิธีทำ เนื่องจาก f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ ดังนั้น

n=∞
X
f (z) = an (z − z0 )n เมื่อ |z − z0 | < 
n=−∞
6.1. ทฤษฎีบทเรซิดิว(RESIDUE THEOREM) 65

และ
I I n=∞
X
f (z)dz = ( an (z − z0 )n )dz
C C n=−∞
I n=−2
X I I n=∞
X
= an (z − z0 )n dz + a−1 (z − z0 )−1 dz + ( an (z − z0 )n )dz
C n=−∞ C C n=0
n=−2
X I I n=∞
X I
n −1
= ( an (z − z0 ) dz) + a−1 (z − z0 ) dz + ( an (z − z0 )n dz)
n=−∞ C C n=0 C

จากสมการ 6.1 จะได้ว่า


I
f (z)dz = 0 + 2πa−1 ı + 0
C
= 2πa−1 ı

ดังนั้น
I n=∞
X
( an (z − z0 )n )dz = 2πa−1 ı (6.2)
C n=−∞

ถ้าเราเขียนสัมประสิทธิ1์ a−1 แทนด้วย Resf (z) ดังนั้น


z=z0

I
f (z)dz = 2πıResf (z) (6.3)
C z=z0

ทฤษฏีบท 35 (ทฤษฎีบทเรซิดิว). ให้ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายในและบนวงปิดอย่างง่าย


วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา C ยกเว้นที่จุดเอกฐาน z1 , z2 , · · · , zn ภายใน C จะได้ว่า

I n
X
f (z) dz = 2πı( Resf (z)) (6.4)
C z=zi
i=1

เรซิดิว (Residue) คือ สัมประสิทธิ์หน้า (z−z0 )−1 ของอนุกรมโลรองต์ (Laurent Series) รอบจุด z =
1

z0 ว่าเรซิดิว (Residue) เขียนแทนด้วย Res f (z)


z=z0
66บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

C
z1× ... × zn
R

รูปที่ 6.1: รูปแสดงทฤษฎีบทเรซิดิว

6.2 เทคนิคการหาค่าเรซิดิว
1. ถ้าฟังก์ชันวิเคราะห์ f สามารถเขียนในรูปอนุกรมโลรองต์รอบจุด z = z0 ดังต่อไปนี้

X
f (z) = an (z − z0 )n
n=−∞

ดังนั้น
Resf (z) = a−1
z=z0

φ(z)
2. ให้ฟังก์ชัน f (z) = โดยที่ φ เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์และ n เป็นจำนวนเต็มบวก
(z − z0 )n
ดังนั้น
dn−1 (f (z)(z − z0 )n )
 
1
Resf (z) = lim
z=z0 z→z0 (n − 1)! dz n−1

3. ให้ p และ q เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่จุด z0 โดยที่ q(z0 ) = 0 และ q 0 (z0 ) 6= 0


ดังนั้น
p(z) p(z0 )
Res = 0
z=z0 q(z) q (z0 )
1
ตัวอย่าง 54. จงหาค่า Res f (z) โดยที่ f (z) =
z=−1 z+1
วิธีทำ เราสามารถเขียนแทน f (z) ด้วยอนุกรมโลรองต์ดังนี้

X
f (z) = an (z − z0 )n
n=−∞
6.2. เทคนิคการหาค่าเรซิดิว 67

โดยที่ z0 = −1 และสัมประสิทธิ์ทุกตัวเป็นศูนย์หมดยกเว้น a−1 ซึ่งเป็น 1 ดังนั้น

Res f (z) = 1
z=−1

1
ตัวอย่าง 55. จงหาค่า Res f (z) โดยที่ f (z) =
z=−1 (z + 1)2

วิธีทำ เราสามารถเขียนแทน f (z) ด้วยอนุกรมโลรองต์ดังนี้



X
f (z) = an (z − z0 )n
n=−∞

โดยที่ z0 = −1 และสัมประสิทธิ์ a−2 = 1 แต่สัมประสิทธิ์ตัวอื่นเป็นศูนย์หมด ดังนั้น

Res f (z) = a−1 = 0


z=−1

1
ตัวอย่าง 56. จงหาค่า Res f (z) โดยที่ f (z) =
z=−1 (z + 1)2 (z + 2)
1
วิธีทำ เนื่องจาก φ(z) = เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ในบริเวณรอบ ๆ จุด z =
z+2
−1 ดังนั้น เราสามารถเขียนแทน φ(z) ด้วยอนุกรมเทย์เลอร์ดังนี้

X
φ(z) = an (z − z0 )n
n=0

โดยที่ z0 = −1
ดังนั้น
φ(z) a0 a1
f (z) = 2
= 2
+ + a2 + a3 (z + 1) + . . .
(z + 1) (z + 1) z+1

นั่นคือ
 
1
d (z + 1)2
(z + 1)2 (z + 2)
Res f (z) = lim
z=−1 z→−1 dz
 
1
d
z+2
= lim
z→−1 dz
= lim −(z + 2)−2

z→−1

= −1
68บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

1
ตัวอย่าง 57. จงหาค่า Resf (z) โดยที่ f (z) = e z
z=0

วิธีทำ เราสามารถเขียนแทน ez ด้วยอนุกรมโลรองต์ดังนี้



X zn
ez =
n!
n=0

ดังนั้น
n=∞
1 X z −n
e =
z
n!
n=0
1 1 1
= 1 + 1 + 1 2 + 1 3 + ···
z 2!z 3!z
1
จะได้ว่า Res(e z ) = 1
z=0

ez
ตัวอย่าง 58. จงหาค่า Res f (z) โดยที่ f (z) =
z=−1 z+1
วิธีทำ
ez
 
Res f (z) = lim (z + 1)
z=−1 z→−1 z+1
= e−1

ตัวอย่าง 59. จงหาค่า Resf (z) โดยที่ f (z) = cot(z)


z=0

วิธีทำ ให้ฟังก์ชันวิเคราะห์ p(z) = cos z และ q(z) = sin z นอกจากนี้เนื่องจาก


q(0) = sin(0) = 0 ดังนั้น

p(0)
Resf (z) =
z=0 q 0 (0)
cos 0
=
sin0 0
cos 0
=
cos 0
=1

ตัวอย่าง 60. จงหาค่า Res


π
(tan (2z))
z= 4
6.2. เทคนิคการหาค่าเรซิดิว 69

วิธีทำ ให้ฟังก์ชันวิเคราะห์ p(z) = sin (2z) และ q(z) = cos (2z)


π 2π
เนื่องจาก q( ) = cos ( ) = 0 ดังนั้น
4 4
p( π4 )
Resf (z) =
z=0 q 0 ( π4 )
sin ( π2 )
=
−2 sin( π2 )
1
=
−2
1
=−
2

ตัวอย่าง 61 (ข้อสอบเก่าภาคปลาย ปีการศึกษา 2554). จงหาค่าต่อไปนี้

1. Res
π
(tan z)
z= 2
 1
2. Res
π
e z2
z= 2
 
z
3. Res
z=1 z−1

4. Res (ez )
z=1

ez
 
5. Res
z=ı z2 + 1
 z 
e
6. Res
z=−ı z2 + 1

วิธีทำ

1. Res
π
(tan z)
z= 2

ให้
p(z) = sin z และ q(z) = cos z

เราจะได้ว่า
p(z) sin π2
Res (tan z) = limπ = = −1
π
z= 2 z= 2 q 0 (z) − sin π2
70บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)
 1
2. Res
π
e z2
z= 2

เนื่องจาก
1
1 π 2 π
e z2 = e ( 2 ) เมื่อ z =
2
 1
ดังนั้น Res
π
e z2 = 0
z= 2

 
z
3. Res
z=1 z−1
 
z z
Res = lim (z − 1) =1
z=1 z−1 z→1 z−1

4. Res (ez )
z=1
เนื่องจาก
ez = e1 เมื่อ z = 1

ดังนั้น Res
π
(ez ) = 0
z= 2

ez
 
5. Res
z=ı z2 + 1
 z   z   z 


e e e
Res = lim (z − ı) = lim =
z=ı z2 + 1 z→ı z2 + 1 z→ı z+ı 2ı

ez
 
6. Res
z=−ı z2 + 1
ez ez ez e−ı e−ı
      
Res = lim (z + ı) = lim = =−
z=−ı z2 + 1 z→ı z2 + 1 z→−ı z−ı −2ı 2ı

6.3 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว(Applications of Residue The-


orem)
z2
I
ตัวอย่าง 62 (ข้อสอบเก่าภาคปลาย ปีการศึกษา 2554). จงหาค่าของ dz
|z|=0.5 z−1
วนในทิศตามเข็มนาฬิกา
6.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว(APPLICATIONS OF RESIDUE THEOREM)71

z2
วิธีทำ เนื่องจาก f (z) = เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่จุดเดียวคือ z = 1 ซึ่งอยู่นอก |z| =
z−1
0.5 ดังนั้น
z2
I
dz = 0
|z|=0.5 z−1

z2
I
ตัวอย่าง 63 (ข้อสอบเก่าปลายภาค ปีการศึกษา 2554). จงหาค่าของ dz
|z|=1 z2 + 4
วนในทิศตามเข็มนาฬิกา

วิธีทำ เนื่องจากตำแหน่งของโพล z สอดคล้องกับสมการ z 2 + 4 = 0 ดังนั้น z =


±2 และดังนั้นตำแหน่งของโพลทุกตำแหน่ง z อยู่นอก |z| = 1 นั่นคือ

z2
I
dz = 0
|z|=1 z2 + 4
I
1
ตัวอย่าง 64. จงหา dz วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
|z|=5 z−1

วิธีทำ เนื่องจาก
   
1 1
Res = lim (z − 1)
z=1 z−1 z→1 z−1
=1

ดังนั้น
I
1
dz = 2πı(1)
|z|=5 z−1
= 2πı
I
1
ตัวอย่าง 65. จงหา dz วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
|z|=1 z−5

1
วิธีทำ เนื่องจากตำแหน่ง z = 5 อยู่ภายนอกวงปิด ดังนั้น f (z) = เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์
z−5
ภายในวงปิด|z| = 1
I
1
dz = 0
|z|=1 z−5
72บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)
I
1
ตัวอย่าง 66. จงหา dz ในทิศทวนเข็มนาฬิกา
|z|=5 (z − 1)(z − 2)

วิธีทำ เนื่องจาก
   
1 z−1
Res = lim
z=1 (z − 1)(z − 2) z→1 (z − 1)(z − 2)
= −1

และ
   
1 z−2
Res = lim
z=2 (z − 1)(z − 2) z→2 (z − 1)(z − 2)
=1

ดังนั้น
I
1
dz = 2πı(−1 + 1)
|z|=5 (z − 1)(z − 2)
=0
I
1
ตัวอย่าง 67. จงหา dz ในทิศทวนเข็มนาฬิกา
|z|=2 (z − 1)(z − 4)

วิธีทำ เนื่องจากฟังก์ชันf เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ทุกจุดภายใน วงปิดยกเว้นที่จุด z =


1 ดังนั้น

I  
1 1
dz = 2πıRes
|z|=2 (z − 1)(z − 4) z=1 (z − 1)(z − 4)

เราสามารถหาเรซิดิวได้จาก
 
1 z−1
Res = lim
z=1 (z − 1)(z − 4) z→1 (z − 1)(z − 4)
1
=−
3
ดังนั้น
I    
1 1
dz = 2πı −
|z|=2 (z − 1)(z − 4) 3
2πı
=−
3
6.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว(APPLICATIONS OF RESIDUE THEOREM)73
I  
1
ตัวอย่าง 68. จงหา exp dz โดยที่ C เป็นวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
C z

วิธีทำ เนื่องจากฟังก์ชันf เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ทุกจุดภายใน วงปิดยกเว้นที่จุดเอกฐาน


z = 0 ดังนั้น
I     
1 1
exp dz = 2πıRes exp
C z z=0 z

จากสมการ
  X∞
1 1
exp = (6.5)
z zn
n=1

จะได้ว่า
  
1
Res exp =1
z=0 z

ดังนั้น
I  
1
exp dz = 2πı(1)
C z
= 2πı
I  
1
ตัวอย่าง 69. จงหา exp dz โดยที่ C เป็นวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
C z2

วิธีทำ เนื่องจากฟังก์ชันf เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ทุกจุดภายใน วงปิดยกเว้นที่จุดเอกฐาน z =


0
ดังนั้น

I     
1 1
exp dz = 2πıRes exp
C z2 z=0 z2

จากสมการ
  X∞
1 1
exp = (6.6)
z zn
n=1
74บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

จะได้ว่า
  ∞
1 X 1
exp = (6.7)
z2 z 2n
n=1

ดังนั้น
  
1
Res exp =0
z=0 z2

นั่นคือ
I  
1
exp dz = 2πı(0)
C z
=0
Z ∞
1
ตัวอย่าง 70. จงหาค่าของ dx
−∞ x2 +1

CR y

R
×ı

Γ
x

×−ı

รูปที่ 6.2: รูปแสดงตัวอย่าง 70

วิธีทำ โดยนิยาม
Z ∞ Z m
1 1
2+1
dx = m→∞
lim 2+1
dx
−∞ x n→∞ −n
x
Z n Z m
1 1
= lim dx + m→∞
lim dx
n→∞ −n x2 + 1 x 2+1
n→∞ n

เนื่องจาก

x2 + 1 > x2
6.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว(APPLICATIONS OF RESIDUE THEOREM)75

ดังนั้น
1 1
< 2
x2 + 1 x

จะได้ว่า
Z m Z m
1 1
lim dx ≤ lim dx

n→∞ n x2 + 1 n→∞ n x2
m→∞ m→∞



m
= m→∞
lim (−x)|n

n→∞
 
1 1
= m→∞
lim −

n→∞ n m

=0

นั่นคือ
Z ∞ Z n
1 1
dx = lim dx
−∞ x2 + 1 n→∞ −n x2 + 1
หรือ
Z R
1
= lim dx
R→∞ −R x2 + 1
Z ∞
1
เราสามารถหา dx ได้โดยเริ่มต้นจากสมการ
−∞ x2
+1
I Z Z
1 1 1
2
dz = 2
dz + 2
dz (6.8)
C z +1 Γ z +1 CR z + 1
Z R Z
1 1
= 2
dx + 2
dz
−R x + 1 CR z + 1
I
1
จากสมการ 6.10 เราสามารถหาค่าของ 2+1
dz ได้จากทฤษฎีบทเรซิดิว
Z ∞ C z
1
ดังนั้น เราสามารถหาค่า 2
dx ได้ถ้าหากเราสามารถพิสูจน์ได้ว่า
−∞ x + 1
Z
f (z) dz = 0 เมื่อ R → ∞ (6.9)
CR
76บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

1
โดยที่ f (z) =
z2 +1
เนื่องจาก
z + 1 ≥ |z|2 − |1|
2

เมื่อ |z| >> 1 จะได้ว่า


2
z + 1 > |z|
2
2
ดังนั้น
1 2
< 2
|z 2 + 1| |z|

จะได้ว่า
Z Z
1 2

2
dz <

2 dz

CR z +1 CR |z|

เมื่อให้ z = Reıθ จะได้ว่า


Z Z
1 2

2
dz < 2 dz

CR z +1 C |z|
Z πR
2 ıθ

= 2
Rıe dθ
R
Z0 π
2 ıθ
= ıe dθ
0 R

= 0 เมื่อ R → ∞

ดังนั้น จากสมการ 6.10 จะได้ว่า


Z ∞ I
1 1
2
dx = 2
dz
−∞ x + 1 C z +1
 
1
= 2πıRes
z=ı z2 + 1
   
1
= 2πı lim (z − ı)
z→ı z2 + 1
 
1
= 2πı lim
z→ı z + ı


6.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว(APPLICATIONS OF RESIDUE THEOREM)77
Z ∞
1
ตัวอย่าง 71 (ข้อสอบเก่าภาคปลาย ปีการศึกษา 2554). จงหาค่าของ dx
−∞ 1 + x2
(โดยการพิจารณาคอนทัวร์ครึ่งวงกลมวนในทิศตามเข็มนาฬิกาเท่านั้น)

วิธีทำ โดยนิยาม
Z ∞ Z m
1 1
2
dx = m→∞
lim 2
dx
−∞ x + 1 n→∞ −n
x +1
Z n Z m
1 1
= lim 2
dx + m→∞
lim 2
dx
n→∞ −n x + 1 x +1
n→∞ n

เนื่องจาก

x2 + 1 > x2

ดังนั้น
1 1
< 2
x2 +1 x

จะได้ว่า
Z m Z m
1 1
lim dx ≤ lim dx

n→∞ n x2 + 1 2
m→∞
m→∞ x

n→∞ n



m
= m→∞
lim (−x)|n

n→∞
 
1 1
= m→∞
lim −

n→∞ n m

=0

นั่นคือ
Z ∞ Z n
1 1
dx = lim dx
−∞ x2 + 1 n→∞ −n x2 + 1
หรือ
Z R
1
= lim dx
R→∞ −R x2 + 1
78บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

พิจารณาคอนทัวร์ C = Γ ∪ CR โดยที่ Γ = {z | z = x, −R ≤ x ≤ R} และ CR =


{z | z = Re−ıθ , 0Z≤ θ ≤ π}

1
เราสามารถหา 2+1
dx ได้โดยเริ่มต้นจากสมการ
−∞ x
I Z Z
1 1 1
2
dz = 2
dz + dz (6.10)
C z +1 Γ z +1 CR z2 +1
Z R Z
1 1
= 2
dx + dz
−R x +1 CR z2 +1
I
1
จากสมการ 6.10 เราสามารถหาค่าของ 2
dz ได้จากทฤษฎีบทเรซิดิว
Z ∞ C z +1
1
ดังนั้น เราสามารถหาค่า 2
dx ได้ถ้าหากเราสามารถพิสูจน์ได้ว่า
−∞ x + 1

Z
f (z) dz = 0 เมื่อ R → ∞ (6.11)
CR

1
โดยที่ f (z) =
z2 +1
เนื่องจาก

z + 1 ≥ |z|2 − |1|
2

เมื่อ |z| >> 1 จะได้ว่า

2
z + 1 > |z|
2
2

ดังนั้น

1 2
< 2
|z 2 + 1| |z|

จะได้ว่า
Z Z
1 2

2
dz < 2 dz

CR z +1 CR |z|
6.4. การหาค่าอินทิกรัลจำกัดเขตที่เกี่ยวกับฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ (SINE AND COSINE FUNCTIONS)79

เมื่อให้ z = Re−ıθ จะได้ว่า


Z Z
1 2

2
dz < 2 dz
CR z + 1 C |z|

Z πR
2 −ıθ

=
2
(−R)ıe dθ
R
Z0 π
2 −ıθ
= ıe dθ
0 R

= 0 เมื่อ R → ∞

ดังนั้น จากสมการ 6.10 จะได้ว่า


Z ∞ I
1 1
2+1
dx = 2+1
dz
−∞ x C z
 
1
= −2πıRes
z=ı z2 + 1
   
1
= −2πı lim (z + ı)
z→−ı z2 + 1
 
1
= −2πı lim
z→−ı z − ı

6.4 การหาค่าอินทิกรัลจำกัดเขตที่เกี่ยวกับฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ (Sine


and Cosine Functions)
พิจารณาอินทิกรัลจำกัดเขตในรูป
Z 2π
F (cos θ, sin θ) dθ (6.12)
0

เราสามารถหาอินทิกรัลจำกัดเขตข้างต้นโดยให้ z = eıθ ดังนั้น


dz
dz = ıeıθ หรือ dθ =

และ
eıθ + e−ıθ
cos θ =
2
z + z −1
=
2
80บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

eıθ − e−ıθ
sin θ =

z − z −1
=

นั่นคือ

z + z −1 z − z −1
Z I  
dz
F (cos θ, sin θ) dθ = F , (6.13)
0 C 2 2ı zı

โดยที่ C = {z | z = eıθ นั่นคือ |z| = 1 เป็นวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}


Z 2π
ตัวอย่าง 72. จงหาค่าของ cos x dx โดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว
0

วิธีทำ เนื่องจาก

z + z −1 dz
Z I
cos x dx =
0 C 2 ız

โดยที่ C = {z | z = eıθ นั่นคือ |z| = 1 เป็นวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา} ดังนั้น

z −2
Z 2π I  
1
cos x dx = + dz
0 C 2ı 2ı
I   I  −2 
1 z
= dz + dz
C 2ı C 2ı
=0+0
=0
Z 2π
นั่นคือ cos x dx = 0
0

ตัวอย่าง 73. จงหาค่า Z 2π


1

0 2 + cos θ
วิธีทำ ให้ z = eıθ จะได้
Z 2π I
1 1 dz
dθ = −1 zı
0 2 + cos θ C z + z
2+
I 2
2
= −ı 2
dz
C z + 4z + 1
6.4. การหาค่าอินทิกรัลจำกัดเขตที่เกี่ยวกับฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ (SINE AND COSINE FUNCTIONS)81

โดยที่ C = {z | z = eıθ นั่นคือ |z| = 1 เป็นวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}


2 √
เนื่องจากตำแหน่งของจุดเอกฐานของ f (z) = 2 อยู่ที่ z = −2+ 3 และ −2−
√ √ z + 4z + 1
3 แต่จุดเอกฐาน z = −2 + 3 เท่านั้นที่อยู่ภายในวงกลมหนึ่งหน่วย ดังนั้น
√ !
2(z + 2 − 3)
I
2
2
dz = 2πı Res√
C z + 4z + 1 z=−2+ 3 z 2 + 4z + 1
√ !
2(z + 2 − 3)
= 2πı lim √
z→−2+ 3 z 2 + 4z + 1

2
= 2πı √
z + 2 + 3 z=−2+√3
2πı
= √
3
นั่นคือ

Z 2π I
1 2
dθ = −ı dz
0 2 + cos θ C z2 + 4z + 1
2πı
= −ı √
3

=√
3
Z 2π
ตัวอย่าง 74 (ข้อสอบเก่าปลายภาค ปีการศึกษา 2554). จงหาค่าของ (1+cos θ) dθ
0
โดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว
วิธีทำ ให้ z = eıθ ดังนั้น
z + z −1 dz
cos θ = และ dθ =
2 ız
และดังนั้น
z + z −1 dz z −2
Z 2π I   I  
1 1
(1 + cos θ) dθ = 1+ = + + dz
0 C 2 ız C ız 2ı 2ı

โดยที่ C = {z | |z| = 1 วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา}


นอกจากนี้เนื่องจาก
z −2
 
X 1 1 1
Res = Res + + =
z=0 ız 2ı 2ı ı
82บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

ดังนั้น
z −2
I  
1 1 1
+ + dz = 2πı = 2π
C ız 2ı 2ı ı
นั่นคือ Z 2π
(1 + cos θ) dθ = 2π
0

6.5 การหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว
ก่อนที่จะกล่าวถึงการหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว จะขอยกตัวอย่างการหาค่า
อินทิกรัลไม่จำกัดเขตง่าย ๆ ตอไปนี้
Z ∞
ตัวอย่าง 75. จงหาค่า sin x dx
−∞

วิธีทำ
Z ∞ Z m
sin x dx = m→∞
lim sin x dx
−∞ n→∞ −n

lim (− cos x)|m


= m→∞ −n
n→∞

lim (cos n − cos m)


= m→∞
n→∞
Z ∞
นั่นคือ sin x dx ไม่มีค่า
−∞
Z R
แต่ถ้าเรากล่าวถึง lim sin x dx จะได้ว่า
R→∞ −R
Z R
lim sin x dx = 0
R→∞ −R
Z ∞ Z ∞
จะเห็นได้ว่าในกรณีนี้ sin x dx ไม่มีค่า ในขณะที่ค่าหลัก2 ของ sin x dx = 0
−∞ −∞
Z ∞
1
ตัวอย่าง 76. จงหาค่า dx
−∞ 1 + x2
Z R
2
เราจะเรียก lim f (x) dx ว่าค่าหลัก (Principal Value)
R→∞ −R
Z ∞ Z ∞ 
ของ f (x) dx เราอาจเขียนแทนด้วย P V f (x) dx
−∞ −∞
6.5. การหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว 83

วิธีทำ
Z ∞ Z m
1 1
dx = m→∞
lim dx
−∞ 1 + x2 n→∞ −n 1 + x
2
 m
= m→∞
lim tan−1 x −n
n→∞

lim tan−1 m − tan−1 (−n)



= m→∞
n→∞
 
π −π
= −
2 2

Z ∞
1
นั่นคือ 2
dx = π
−∞ 1 + x
Z R
1
แต่ถ้าเรากล่าวถึง lim dx จะได้ว่า
R→∞ −R 1 + x2

Z R
1
lim dx = π
R→∞ −R 1 + x2
Z ∞ Z ∞
1 1
จะเห็นได้ว่า dx = π ในขณะที่ค่าหลักของ dx = π เช่นเดียวกัน
−∞ 1 + x2 −∞ 1 + x2
ในกรณีนี้ Z ∞ Z ∞
1 1
2
dx = P V 2
dx = π
−∞ 1 + x −∞ 1 + x
Z ∞
จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า ถ้า f (x) dx มีค่า จะได้ว่า
−∞
Z ∞ Z ∞
f (x) dx = P V f (x) dx
−∞ −∞
Z ∞
sin θ
ตัวอย่าง 77. จงหาค่าของ dθ
0 θ

วิธีทำ ให้คอนทัวร์ C ประกอบด้วย C1 , C2 , C และ CR ตามลำดับ


โดยที่
C1 = {z | z = x เมื่อ  < x < R}
C2 = {z | z = x เมื่อ − R < x < −}
C = {z | z = eıθ เมื่อ π ≤ θ ≤ 2π}
84บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

CR y

C
C2 C1
× x

รูปที่ 6.3: รูปแสดงตัวอย่าง 77

CR = {z | z = Reıθ เมื่อ 0 ≤ θ ≤ π}
eız
ดังนั้น หากพิจารณาฟังก์ชัน F (z) = จะได้
z
I ız
eız eız eız eız
Z Z Z Z
e
dz = dz + dz + dz + dz
C z C2 z C z C1 z CR z
I
เนื่องจาก F เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ภายใน C ดังนั้น F (z) dz = 0 นั่นคือ
C

eız eız eız eız


Z Z Z Z
dz + dz + dz + dz = 0
C2 z C z C1 z CR z

จะได้ว่า
eız eız eız eız
Z Z Z Z
dz + dz = − dz − dz
C2 z C1 z C z CR z
R
eız eız
Z Z Z
sin x
แทน dz + dz = 2ı dx จะได้ว่า
C2 z C1 z  x
R
eız eız
Z  Z Z 
sin x 1
dx = − dz − dz
 x 2ı C z CR z

เนื่องจาก
z2 z3
ez = 1 + z + + + ...
2! 3!
6.5. การหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว 85

ดังนั้น
eız 1 ız (ız)2
= +ı+ + + ...
z z 2! 3!
และ
eız ız (ız)2
Z Z  
1
dz = +ı+ + + . . . dz
C z C z 2! 3!
ız (ız)2
Z Z  
1
= dz + ı+ + + . . . dz
C z C 2! 3!
Z 
ız (ız)2
Z 
1
= dz + ı+ + + . . . dz
C z − 2! 3!

เมื่อ  → 0+ ,

ız (ız)2
Z  
ı+ + + . . . dz = 0
− 2! 3!

ถ้าให้ z = eıθ จะได้ dz = ıeıθ dθ จะได้,


eız
Z Z
1
lim dz = lim dz
C z C z
→0 + →0+
Z 0
1
= lim ıθ
ıeıθ dθ
π e
→0+
Z 0
= lim ı dθ
→0+ π

นั่นคือ
eız
Z
lim dz = −πı
→0+ C z

นอกจากนี้ จากบทตั้งของจอร์แดนจะได้ว่า
eız
Z
lim dz = 0
R→∞ CR z

ดังนั้น เมื่อ R → ∞ และ  → 0+


Z R
sin x 1
dx = [−(−πı) − 0]
 x 2ı
π
=
2
86บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

นั่นคือ
Z ∞
sin x π
dx =
0 x 2
Z ∞
cos x
ตัวอย่าง 78. จงหา dx
−∞ 1 + x2

วิธีทำ โดยนิยาม
Z ∞ Z m
cos x cos x
2
dx = m→∞
lim dx
−∞ 1 + x n→∞ −n
1 + x2
Z n Z m
cos x cos x
= lim 2
dx + m→∞
lim dx
n→∞ −n 1 + x
n→∞ n
1 + x2

เราสามารถแสดงได้ว่า Z m
cos x
lim dx = 0
m→∞
n→∞ n 1 + x2

ได้ดังนี้
จาก | cos x| ≤ 1 ดังนั้น
cos x 1

1 + x2 1 + x2

และเมื่อ |x| ใหญ่พอ จะได้ว่า


x2
|1 + x2 | >
2
ดังนั้น

1
< 2


1 + x2 x2 เมื่อ |x| ใหญ่พอ

จะได้ว่า
Z m Z m
cos x 2
lim dx ≤ lim |dx|

n→∞ n 1 + x2 m→∞ x2
m→∞
n→∞ n

 
1 1
= m→∞
lim 2 − →0
n→∞
m n

นั่นคือ
Z ∞ Z n
cos x cos x
dx = lim dx
−∞ 1 + x2 n→∞ −n 1 + x2
6.5. การหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว 87

CR y

n
×ı

Γ
x

×−ı

รูปที่ 6.4: รูปแสดงตัวอย่าง 78

จากรูป จะได้ว่า

eız eız eız


Z Z Z
dz = dz + dz
C 1 + z2 Γ 1 + z2 CR 1 + z2

หรือ

n
eız eıx eız
Z Z Z
dz = dx + dz
C 1 + z2 −n 1 + x2 CR 1 + z2

S
โดยที่ C = CR Γ
โดยการใช้บทตั้งของจอร์แดน เราสามารถแสดงได้ว่า

eız
Z
dz = 0 เมื่อ n → ∞
CR 1 + z2

นั่นคือ

n
eıx eız
Z Z
lim dx = dz
n→∞ −n 1 + x2 C 1 + z2
88บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

eız eız
Z
เราสามารถหา dz ได้ โ ดยการหาค่ า Res ดังนี้
C 1 + z2 z=ı 1 + z 2

eız eız
Z
2
dz = 2πıRes
C 1+z z=ı 1 + z 2
eız
= 2πı lim(z − ı)
z→ı 1 + z2
eız
= 2π lim
z→ı z + ı
e−1
= 2πı

= πe−1

นั่นคือ
n n n
eıx
Z Z Z
cos x sin x
lim dx = lim dx + ı lim dx = πe−1
n→∞ −n 1 + x2 n→∞ −n 1 + x2 n→∞ −n 1 + x2
Z ∞
cos x −1
= πe−1

สรุปได้ว่า 2
dx = Re πe
−∞ 1 + x
Z ∞
cos (2x)
ตัวอย่าง 79. จงหา 2
dx
−∞ 1 + x

วิธีทำ โดยนิยาม
Z ∞ Z m
cos (2x) cos (2x)
2
dx = lim dx
−∞ 1 + x m→∞
n→∞ −n
1 + x2
Z n Z m
cos (2x) cos (2x)
= lim dx + m→∞
lim dx
n→∞ −n 1 + x2 1 + x2
n→∞ n

เราสามารถแสดงได้ว่า Z m
cos (2x)
lim dx = 0
m→∞
n→∞ n 1 + x2

ได้ดังนี้
จาก | cos (2x)| ≤ 1 ดังนั้น

cos (2x) 1
1 + x2 ≤ 1 + x2

และเมื่อ |x| ใหญ่พอ จะได้ว่า


x2
|1 + x2 | >
2
6.5. การหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว 89

ดังนั้น

1
< 2


1 + x2 x2 เมื่อ |x| ใหญ่พอ

จะได้ว่า
Z m Z m
cos (2x) 2
lim dx ≤ lim |dx|

n→∞ n 1 + x2 x2
m→∞
m→∞

n→∞ n

 
1 1
= m→∞
lim 2 − →∞
n→∞
m n

นั่นคือ
Z ∞ Z n
cos (2x) cos (2x)
dx = lim dx
−∞ 1 + x2 n→∞ −n 1 + x2

จากรูป จะได้ว่า

CR y

n
×ı

Γ
x

×−ı

รูปที่ 6.5: รูปแสดงตัวอย่าง 79

e2ız e2ız e2ız


Z Z Z
dz = dz + dz
C 1 + z2 Γ 1 + z2 CR 1 + z2

หรือ
n
e2ız e2ıx e2ız
Z Z Z
dz = dx + dz
C 1 + z2 −n 1 + x2 CR 1 + z2
90บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

S
โดยที่ C = CR Γ
โดยการใช้บทตั้งของจอร์แดน เราสามารถแสดงได้ว่า

e2ız
Z
2
dz = 0 เมื่อ n → ∞
CR 1 + z

นั่นคือ
n
e2ıx e2ız
Z Z
lim dx = dz
n→∞ −n 1 + x2 C 1 + z2

e2ız e2ız
Z
เราสามารถหา dz ได้ โ ดยการหาค่ า Res ดังนี้
C 1 + z2 z=ı 1 + z 2

e2ız e2ız
Z
2
dz = 2πıRes
C 1+z z=ı 1 + z 2

e2ız
= 2πı lim(z − ı)
z→ı 1 + z2
e2ız
= 2π lim
z→ı z + ı
e−2
= 2πı

−2
= πe

นั่นคือ
n n n
e2ıx
Z Z Z
cos (2x) sin (2x)
lim dx = lim dx + ı lim dx = πe−2
n→∞ −n 1 + x2 n→∞ −n 1 + x2 n→∞ −n 1 + x2
Z ∞
cos (2x)
dx = Re πe−2 = πe−2

สรุปได้ว่า 2
−∞ 1+x

ตัวอย่าง 80. จงหาค่าของ


Z ∞
2
1. e−x dx
0
Z ∞ Z ∞
2. cos (x2 ) dx และ sin (x2 ) dx โดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว
0 0

วิธีทำ
6.5. การหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว 91
Z ∞
2
1. ให้ I = e−x dx ดังนั้น3
0
Z ∞
2
I= e−y dy
0
และ Z ∞Z ∞
2 +y 2
I2 = e−(x ) dxdy
0 0
Z ∞Z ∞
2 +y 2
อินทิกรัล I 2 = e−(x ) dxdy ก่อนหน้าสามารถเปลี่ยนเป็น
0 0
π
Z
2
Z ∞
2
2
I = e−r rdrdφ
0 0

หรือ
1 2 ∞ π

I 2 = − e−r φ|02
2 0
π −r2 ∞
=− e
4 0
π
= − (0 − 1)
4
π
=
4
สรุปได้ว่า √
π
I=
2
นั่นคือ Z ∞ √
−x2 π
e dx = (6.14)
0 2

2. จากรูป 80
I Z Z Z
2 2 2 2
eiz dz = eiz dz + eiz dz + eiz dz
C C1 CR C2
S S
โดยที่ C = C1 CR C2
เราอาจแสดงได้ว่า I
2
eiz dz = 0
C
3
จะสังเกตได้ว่า ถ้าหาก I มีค่า ดังนั้น I > 0
92บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

C2
CR
π
4
x
R
C1

รูปที่ 6.6: รูปแสดงตัวอย่าง 80

โดยใช้ทฤษฎีบทของโคชี-เกอร์ซาต์
ดังนั้น
Z Z Z
iz 2 iz 2 2
e dz = − e dz − eiz dz (6.15)
C1 C2 CR

จากสมการ 6.15 เราจะได้ว่า

Z Z R
2 2
eiz dz = eıx dx
C1 0
Z R
cos (x2 ) + ı sin (x2 ) dx

=
0
Z R Z R
2
= cos (x ) dx + ı sin (x2 ) dx
0 0

และ
Z Z
iz 2 2
e dz = eı(x+ıy) d(x + ıy)
C2
ZC2
2 −y 2 +2xyı
= eı(x ) (dx + ıdy)
ZC2
= e−2xy (dx + ıdy)
C2
6.5. การหาค่าอินทิกรัลไม่จำกัดเขตโดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิว 93

เนื่องจาก x = y บนคอนทัวร์ C2 ดังนั้น


Z Z 0
ız 2 2
e dz = e−2x (dx + ıdx)
R
C2 √
2
Z 0 Z 0
−2x2 2
= e dx + ı e−2x dx
R
√ R

2 2

เมื่อให้ r = 2x จะได้ว่า
Z Z 0 Z 0
2 1 2 ı 2
eız dz = √ e−r dr + √ e−r dr
C2 2 R 2 R
Z Z
iz 2 2
แทนค่า e dz และ eiz dz ลงในสมการ 6.15 จะได้
C1 C2
Z R Z R Z 
1 −r2 2
2
cos (x ) dx = √ e dr − Re eiz dz
0 2 0 CR
และ Z R Z R Z 
2 1 −r2 iz 2
sin (x ) dx = √ e dr − Im e dz
0 2 0 CR
Z
2
นอกจากนี้ เราสามารถแสดงได้ว่า eiz dz = 0 เมื่อ R → ∞ ดังนี้
CR
Z Z
iz 2 iR2 e2ıθ ıθ


e dz =
e Rıe dθ
CR
ZCR
π4 2

= eiR (cos (2θ)+ı sin (2θ)) Rıeıθ dθ

0
Z π
4 2

≤ e−R sin (2θ) R dθ

0

โดยใช้อสมการของจอร์แดน ก.1 เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า


Z π
4 2

e−R sin (2θ) R dθ → ∞ เมื่อ R → ∞


0
Z
2
ดังนั้น eiz dz = 0 เมื่อ R → ∞
CR
นั่นคือ โดยใช้สมการ 6.14
Z ∞ √
−x2 π
e dx =
0 2
94บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

จะได้ว่า √
Z ∞ Z ∞
2 1 −r2 π
cos (x ) dx = √ e dr = √
0 2 0 2 2
และ √
Z ∞ Z ∞
1 2 π
sin (x2 ) dx = √ e−r dr = √
0 2 0 2 2
Z ∞
cos mx
ตัวอย่าง 81. จงหาค่า x −x
dx, m > 0 โดยที่
−∞ e + e
C1 = {z | z = x, −R1 ≤ x ≤ R2 }
C2 = {z | z = R2 + ıy โดยที่ 0 ≤ y ≤ π}
C3 = {z | z = −t + ıπ, −R2 ≤ t ≤ R1 }
C4 = {z | z = −R1 − ıy โดยที่ − π ≤ y ≤ 0}
และ
C = C1 ∪ C2 ∪ C3 ∪ C4
eımz
I
วิธีทำ พิจารณา z −z
dzจะได้ว่า
C e +e

eımz eımz eımz eımz


I Z Z Z
z −z
dz = z −z
dz + z −z
dz + z −z
dz
C e +e C1 e + e C2 e + e C3 e + e
eımz
Z
+ z −z
dz
C4 e + e
Z R2 Z −R1
eımx eımz eım(x+ıπ)
Z
= dx + dz + dx
ex + e−x z
C2 e + e
−z ex+ıπ + e−(x+ıπ)
Z −R1 ımz R2
e
+ z −z
dz
C4 e + e
Z R2
eımx eımz eımz
Z Z
−mπ
= (1 + e ) x −x
dx + z −z
dz + z −z
dz
−R1 e + e C2 e + e C4 e + e

eımz eımz
Z Z
เราสามารถแสดงได้ว่า dz → 0 เมื่อ R2 → ∞ และ dz →
C2 ez + e−z C4 ez + e−z
0 เมื่อ R1 → ∞ ดังนั้น
Z ∞
eımz eımx
I
−mπ
z −z
dz = (1 + e ) x −x
dx
C e +e −∞ e + e

eımz
I
เราสามารถหา dz ได้โดยใช้ทฤษฎีบทเรซิดิวดังต่อไปนี้
C ez + e−z
6.6. หลักการอาร์กิวเมนต์ (ARGUMENT PRINCIPLE) 95

ให้
p(z) = eımz และ q(z) = ez + e−z

เราจะได้ว่า  
z −z 1
q(z) = e + e = 0 เมื่อ z = n + πı
2

โดยที่ n เป็นจำนวนเต็ม
πı
แต่มีเพียงจุดเดียวเท่านั้นที่อยู่ภายในคอนทัวร์ C นั่นคือ z = เราจะได้ว่า
2
 πı  π
p = e−m 2
2
และ  πı  πı πı
q0 = e 2 − e− 2 = 2ı
2
นอกจากนี้
π π
eımz e−m 2 e−m 2
I
π

z −z
dz = 2πı πı
− πı = 2πı = πe−m 2
C e +e e2 −e 2 2ı

นั่นคือ

eımx
Z
π
−x
dx = mπ mπ
−∞
x
e +e e 2 + e− 2

สรุปได้ว่า
Z ∞
cos (mx) π
dx = mπ mπ
−∞ ex + e−x e 2 + e− 2

6.6 หลักการอาร์กิวเมนต์ (Argument Principle)


นิยาม 37 (ฟังก์ชันเมโรมอร์ฟิค). ฟังก์ชัน f เป็นฟังก์ชันเมโรมอร์ฟิค ถ้า f เป็นฟังก์ชัน
ที่วิเคราะห์ภายในโดเมน D ยกเว้นที่โพล

ก่อนจะกล่าวถึงทฤษฏีบทอย่างเป็นทางการ เราจะพิจารณาฟังก์ชัน f ซึ่งเป็นฟังก์ชัน


เมโรมอร์ฟิคในโดเมน D ภายในวงปิดอย่างง่ายวนในทิศทางบวก4 C โดยที่ฟังก์ชัน f
ก็เป็นฟังก์ชันที่ไม่เป็นศูนย์และเป็นฟังก์ชันวิเคราะห์บนคอนทัวร์ C อีกด้วย ดังนั้นอิมเมจ Γ
4
วงปิดอย่างง่ายวนในทิศทางบวก คือ วงปิดอย่างง่ายวนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
96บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

ของ C ภายใต้การแปลง w = f (z) เป็นคอนทัวร์ปิด นอกจากนี้เนื่องจาก f ไม่มีซีโรบน C


ดังนั้น คอนทัวร์ Γ ไม่ผ่านจุดกำเนิด มุมของ f (z) ที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อ z เคลื่อนไปบน
วงปิดอย่างง่ายวนในทิศทางบวก C ∆C f (z) เท่ากับผลต่างของจำนวนซีโรและโพลของ f
ภายในคอนทัวร์ C นอกจากนี้ไนควิสต์ได้ใช้หลักการอาร์กิวเมนต์ในการสร้างพล็อตของไนควิสต์
เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมาขณะที่นักคณิตศาสตร์ชื่อไนควิสต์ทำงานที่เบลล์แล็บประเทศสหรัฐอเมริกา
มีวิศวกรทำการทดลองเปลี่ยนค่าอัตราขยาย (Gain) ในระบบควบคุม (Control System)
ปรากฏว่าระบบควบคุมสามารถเปลี่ยนจากระบบที่เสถียรไปเป็นอเสถียรได้ ไนควิสต์ได้ใช้
หลักการอาร์กิวเมนต์ในการสร้างพล็อตของไนควิสต์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้น

ทฤษฏีบท 36 (หลักการอาร์กิวเมนต์ (Argument Principle)). ให้ f เป็นเมโรมอร์ฟิคในโดเมน


ภายในวงปิดอย่างง่ายวนในทิศทางบวก C และ f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์และไม่เป็นศูนย์บนคอนทัวร์ C
ดังนั้น จำนวนครั้งในการวนรอบจุดกำเนิดของ f (z) เมื่อ z เคลื่อนที่รอบคอนทัวร์ C เป็นไปตามสมการ

1
∆C f (z) = N = Z − P (6.16)

โดยที่
∆C f (z) เป็นมุมของ f (z) ที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อ z เคลื่อนไปบนวงปิดอย่างง่ายวนในทิศทางบวก C
N เป็นจำนวนครั้งในการวนรอบกำเนิดของ f (z)
เมื่อ
z เคลื่อนที่รอบคอนทัวร์ C
Z เป็นจำนวนของซีโร5 ของ f ในคอนทัวร์ C
P เป็นจำนวนของโพล6 ของ f ในคอนทัวร์ C

6.7 แบบฝึกหัด
1. จากทฤษฎีบทเรซิดิว จงพิสูจน์สมการ ??
I n I
X 
f (z) dz = f (z) dz
C i=1 Ci

Z ∞
2. จงแสดงว่า cos x dx ไม่มีค่า
−∞

5
เรานับ Z ตามอันดับของแต่ละซีโร
6
เรานับ P ตามอันดับของแต่ละโพล
6.7. แบบฝึกหัด 97

Cn
C1 C
× ... ×
z1 zn
R

Z 2π
3. จงหาค่าของ sin4 x dx
0
Z 2π
4. จงหาค่าของ sin5 x dx
0
Z 2π
5. จงหาค่าของ cos4 x dx
0
Z 2π
6. จงหาค่าของ cos5 x dx
0
I
1
7. จงหาค่าของ dz เมื่อ
C (z + 1)3

(a) C = {z | |z| = 4} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา


(b) C = {z | |z − 5| = 1} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
1
(c) C = {z | |z − 1| = } วนในทิศตามเข็มนาฬิกา
2
I
1
8. จงหาค่าของ 3
dz เมื่อ
C z(z + 1)

(a) C = {z | |z| = 4} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา


(b) C = {z | |z − 5| = 1} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
1
(c) C = {z | |z − 1| = } วนในทิศตามเข็มนาฬิกา
2
I
1
9. จงหาค่าของ 2 2
dz เมื่อ
C (z + 1) (z + 2)
98บทที่ 6. ทฤษฎีบทเรซิดิวและการประยุกต์ (RESIDUE THEOREM AND ITS APPLICATIONS)

(a) C = {z | |z| = 4} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา


(b) C = {z | |z − 5| = 1} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
1
(c) C = {z | |z − 1| = } วนในทิศตามเข็มนาฬิกา
2
I
1
10. จงหาค่าของ 2 3
dz เมื่อ
C (z + 1) (z + 2)

(a) C = {z | |z| = 4} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา


(b) C = {z | |z − 5| = 1} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
1
(c) C = {z | |z − 1| = } วนในทิศตามเข็มนาฬิกา
2
I
1
11. จงหาค่าของ 2 (z + 1)2 (z + 2)2
dz เมื่อ
C z

(a) C = {z | |z| = 4} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา


(b) C = {z | |z − 5| = 1} วนในทิศทวนเข็มนาฬิกา
1
(c) C = {z | |z − 1| = } วนในทิศตามเข็มนาฬิกา
2
Z 2π
12. จงหาค่าของ sin (2x) dx
0
Z 2π
13. จงหาค่าของ sin2 x dx
0
Z 2π
14. จงหาค่าของ cos2 x dx
0
Z ∞
1
15. จงหาค่าของ dx
−∞ x4 + 1
Z ∞
cos (ax)
16. จงหาค่าของ dx, a < 0
−∞ x4 + 1
Z ∞
sin (2x)
17. จงหาค่าของ dx
−∞ x2 + 1
บทที่ 7

การส่งและการส่งคงรูป
(Mapping and Conformal
Mapping)

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงแนวความคิดเกี่ยวกับการส่งและการส่งคงรูป เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราและ
เอกสารอ้างอิง เช่น [1–3, 6, 7, 9–12]

7.1 การส่ง (Mapping)


นิยาม 38 (การส่ง (Mapping)). การส่งคือฟังก์ชันค่าเชิงซ้อน การส่ง1 สามารถเขียนอยู่ในรูป

w = f (z)

ตัวอย่างของการส่ง (Mapping) ดังต่อไปนี้

7.1.1 การแปลงเชิงเส้น (Linear Transformations)

พิจารณาการส่ง w = u + ıv ซึ่งนิยามโดย

w = Az + b

1
การส่งอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการแปลง (Transformation)

99
100บทที่ 7. การส่งและการส่งคงรูป(MAPPING AND CONFORMAL MAPPING)

โดยที่
A 6= 0 และ B เป็นค่าคงตัวซึ่งเป็นจำนวนเชิงซ้อน
การส่ง w สามารถเขียนในรูปของฟังก์ชันประกอบ (Composite Function)

f1 (z) = w1 และ f2 (z) = w2

โดยที่ w1 = Az และ w2 = z + b ดังสมการต่อไปนี้

w = f2 (f1 (z))

ก่อนอื่น พิจารณาฟังก์ชัน f1 ดังสมการ

w1 = Az

ถ้าเขียน A และ z อยู่ในรูป

w1 = aeıα และ z = reıθ

ตามลำดับ การส่ง w1 = Az จะสามารถเขียนอยู่ในรูป

w1 = aeıα reıθ
= areı(α+θ)

นอกจากนี้ พิจารณา w2

w2 = u + ıv
=z+b

โดยที่
b = b1 + ıb2 เป็นค่าคงตัวซึ่งเป็นจำนวนเชิงซ้อน
u และ v เป็นส่วนจริง และ ส่วนจินตภาพ ของ w ตามลำดับ

ถ้าเขียน z อยู่ในรูป z = x + ıy ดังนั้น w2 = z + b จะสามารถเขียนอยู่ในรูป

w2 = u + ıv
= x + ıy + b1 + ıb2
= (x + b1 ) + ı(y + b2 )
7.2. การส่งคงรูป (CONFORMAL MAPPINGS) 101

7.1.2 การแปลงเชิงเส้นคู่ (Bilinear Transformation)

เราเรียกการแปลง
az + b
w= , ad − bc 6= 0
cz + d

ว่าการแปลงเชิงเส้นคู่ (Bilinear Transformation) จากนิยามข้างต้น การแปลงต่อไปนี้


เป็นกรณีเฉพาะของการแปลงเชิงเส้นคู่ (Bilinear Transformation)

1. การเลือนทางขนาน (Translation)

w =z+b

2. การผกผัน
1
w=
z

3. การหมุนและการเปลี่ยนขนาด (Rotation and Magnification)

w = az

7.2 การส่งคงรูป (Conformal Mappings)

นิยาม 39 (การส่งคงรูป (Conformal Mappings)). การส่งคงรูปคือ การส่งซึ่งมีสมบัติคือ


ถ้า C1 และ C2 เป็นส่วนโค้งราบเรียบซึ่งตัดกันที่จุด z0 ในระนาบ z และถ้าการส่ง
w = f (z) ส่ง C1 และ C2 ไปยัง f (C1 ) และ f (C2 ) แล้วมุมระหว่าง C1 และ C2
เท่ากับมุมระหว่าง f (C1 ) และ f (C2 ) และมีนัย (Sense) ของทิศทางเหมือนกัน

ทฤษฏีบท 37. ถ้าการส่ง f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ทุกจุด z0 ในอาณาบริเวณ R แล้ว f มี


สมบัติคงรูปที่ทุกจุด z0 ในอาณาบริเวณ R ยกเว้นจุด z0 ที่ f 0 (z0 ) = 0

ทฤษฏีบท 38. ให้ f (z) = w = u(x, y)+ıv(x, y) ส่งโดเมน Dz ในระนาบ z ไปทั่วถึงโดเมน Dw


ในระนาบ w ดังนั้นถ้า h(u, v) เป็นฟังก์ชันฮาร์โมนิคในโดเมน Dw ดังนั้น

H(x, y) = h[u(x, y), v(x, y)] (7.1)

เป็นฟังก์ชันฮาร์โมนิคในโดเมน Dz
102บทที่ 7. การส่งและการส่งคงรูป(MAPPING AND CONFORMAL MAPPING)

7.2.1 การแปลงชวาร์ซ-คริสโตฟเฟล (The Schwarz-Christoffel Transforma-


tion)

ทฤษฏีบท 39. ให้ P เป็นรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมีจุดยอดคือ w1 , w2 , . . . , wn และมีมุมภายนอก


(Exterior Angle) คือ α1 , α2 , . . . , αn ในระนาบ w โดยที่ −π < αi < π เราสามารถหา
การแปลง2 w = f (z) ซึ่งส่งจากอาณาบริเวณ Im(z) ≥ 0 ไปทั่วถึงรูปหลายเหลี่ยม P ดังสมการ
Z z
w=A (s − x1 )−k1 (s − x2 )−k2 . . . (s − xn )−kn ds + B
z0

โดยที่
αi
ki = , x1 < x2 < . . . , xn และ wi = f (zi ), i = 1, 2, . . . , n
π

ตัวอย่าง 82. จงหาการแปลงชวาร์ซ-คริสโตฟเฟล เมื่อกำหนดให้ x1 = −a, x2 = a เมื่อ a >



0, x3 = ∞, w1 = 0, w2 = 1, k1 = k2 = k3 = และ z0 = 0
3

วิธีทำ การแปลงชวาร์ซ-คริสโตฟเฟล w ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดข้างต้นคือ


Z z
2π 2π
w=A (s + a)− 3 (s − a)− 3 ds + B
0

เราสามารถหา A และ B ได้จากสมการ


Z −a
2π 2π
0=A (s + a)− 3 (s − a)− 3 ds + B
0

และ
Z a 2π 2π
1=A (s + a)− 3 (s − a)− 3 ds + B
0

ถ้าให้
Z −a 2π 2π
c1 = (s + a)− 3 (s − a)− 3 ds
0

Z a 2π 2π
c2 = (s + a)− 3 (s − a)− 3 ds
0

2
เราเรียกการแปลงชนิดนี้ว่าการแปลงชวาร์ซ-คริสโตฟเฟล (The Schwarz-Christoffel Transformation)
7.2. การส่งคงรูป (CONFORMAL MAPPINGS) 103

ดังนั้น

0 = Ac1 + B และ 1 = Ac2 + B

เมื่อแก้สมการข้างต้น จะได้ว่า
1 c1
A= และ B=−
c2 − c1 c2 − c1

สรุปได้ว่า
Z z
1 2π 2π c1
w= (s + a)− 3 (s − a)− 3 ds −
c2 − c1 0 c2 − c1

ตัวอย่าง 83. จงหาการแปลงชวาร์ซ-คริสโตฟเฟลซึ่งส่งจุด x = −a, a, ∞ ไปยัง w =


π π
− , ,∞
2 2
วิธีทำ อนุพันธ์ของการแปลงชวาร์ซ-คริสโตฟเฟล f (z) = w คือ

df (z) 1 1
= A(z + a)− 2 (z − a)− 2
dz
หรือ
df (z) α
= 1
dz (a2 − z 2 ) 2

โดยที่ A และ α เป็นค่าคงตัว


โดยการใช้สมการ
sin−1 z 1
= 1
dz (1 − z 2 ) 2

จะได้ว่า
α z
w= sin−1 + B (7.2)
a a
π α −a π α a
เมื่อแทนค่า − = sin−1 + B และ = sin−1 + B จะได้ว่า
2 a a 2 a a
π α  π  π α π

− = − + B และ = +B
2 a 2 2 a 2
104บทที่ 7. การส่งและการส่งคงรูป(MAPPING AND CONFORMAL MAPPING)

ดังนั้น

α = a และ B=0

สรุปได้ว่า
z
w = sin−1 +B
a

7.3 แบบฝึกหัด
az + b d
1. ให้ f (z) = , z 6= − โดยที่ ad − bc 6= 0 จงแสดงว่า
cz + d c
a
lim f (z) =
z→∞ c

az + b d
2. ให้ f (z) = , z 6= − โดยที่ ad − bc 6= 0 จงหา f −1 (z)
cz + d c

3. ให้ f (z) = exp(−z) โดยที่ Re(z) > 0 และ 0 < Im(z) ≤ 2π จงหา f −1 (z)

4. ให้ f (z) = exp(ız) โดยที่ Im(z) > 0 และ 0 < Re(z) ≤ 2π จงหา f −1 (z)

5. ให้ f1 (z) = z + 1 และ f2 (z) = z + 3 จงหา f = f1 ◦ f2

6. ให้ f1 (z) = 2z และ f2 (z) = z + 3 จงหา f = f1 ◦ f2

7. ให้ f1 (z) = z + 3 และ f2 (z) = 2z จงหา f = f1 ◦ f2

8. ให้ f1 (z) = z + 3 และ f2 (z) = z 2 + 1 จงหา f = f1 ◦ f2


บทที่ 8

การประยุกต์ในทางวิศวกรรม
(Applications in Engineering)

8.1 แนวความคิดเกี่ยวกับเฟเซอร์ (Phasor Concept)

ในบทนี้เราจะยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้แนวความคิดเกี่ยวกับเฟเซอร์ [4], การแปลงลาปลาซ [6]


และการแปลง z [8]

ตัวอย่าง 84. วงจรไฟฟ้าซึ่งประกอบด้วย



V cos (ωt) , t > 0
m
• แหล่งกำเนิดไฟฟ้า V (t) =
0, t<0

• ตัวต้านทาน R

• ตัวเหนี่ยวนำ L

ต่อกันแบบอนุกรม ดังนั้นกระแสไฟฟ้า i(t) ที่ไหลในวงจรไฟฟ้าแสดงได้ดังสมการ

i(t)
Ri(t) + L = V (t)
dt

โดยที่
i(t) = 0 เมื่อ t < 0

105
106บทที่ 8. การประยุกต์ในทางวิศวกรรม (APPLICATIONS IN ENGINEERING)

ผลเฉลย i(t) ของสมการข้างต้นประกอบด้วยผลเฉลยเอกพันธุ์ (Homogeneous Solu-


tion) ih (t) และ ผลเฉลยเฉพาะราย (Particular Solution) ip (t) ดังนี้

i(t) = ih (t) + ip (t) เมื่อ t > 0

ผลเฉลยเอกพันธุ์ ih (t) ข้างต้นต้องสอดคล้องกับสมการเอกพันธุ์ (Homogeneous E-


quation) ดังต่อไปนี้
ih (t)
Rih (t) + L = 0 เมื่อ t > 0
dt

จะได้
R
ih (t) = I0 e− L t เมื่อ t > 0

นอกจากนี้ เราสามารถหาผลเฉลยเฉพาะราย ip (t) ได้โดยการสมมติว่า

ip (t) = Im cos (ωt + θ)

โดยการใช้ความจริงที่ว่า eiφ = cos φ + ı sin φ จะได้ว่า


 
Re RIm eı(ωt+θ) + ıωLIm eı(ωt+θ) = Re Vm eıωt

เมื่อ t > 0

หรือ

Re RIeıωt + ıωLIeıωt = Re V eıωt


 
เมื่อ t > 0

เมื่อ I = Im eıθ และ V = Vm


หากเราละเลยเทอม eıωt และ Re จะได้

IR + ıωLI = Vm

นั่นคือ
Vm
I=
R + ıωL

หรือ
Vm ωL
I=p ∠φ เมื่อ φ = − tan−1
R2 + (ωL)2 R
8.1. แนวความคิดเกี่ยวกับเฟเซอร์ (PHASOR CONCEPT) 107

π ωL π
โดยที่ − < tan−1 <
2 R 2
นอกจากนี้กระแสไฟฟ้า ip (t) เป็นไปตามสมการ

Vm
ip (t) = p cos (ωt + φ)
R + (ωL)2
2

และ
Vm Vm R
i(t) = p cos (ωt + φ) − p cos φe− L t เมื่อ t > 0
R2 + (ωL)2 R2 + (ωL)2

พิจารณาระบบอธิบายได้ด้วยสมการ
dy n (t) dy(t)
an n
+ . . . + a1 = x(t)
dt dt

ผลเฉลย y(t) ประกอบด้วยผลเฉลยเอกพันธุ์ (Homogeneous Solution) yh (t) และผลเฉลยเฉพาะราย (Par-


ticular Solution) yp (t) นั่นคือ

y(t) = yh (t) + yp (t)

ถ้าหากว่า x(t) เป็นฟังก์ชันในรูป

x(t) = Xm cos (ωt + φ)

จะได้ว่า yp (t) ต้องสอดคล้องกับสมการ

dypn (t) dyp (t)


an n
+ . . . + a1 = x(t)
dt dt

และผลเฉลยเฉพาะราย (Particular Solution) yp (t) ต้องอยู่ในรูป

yp (t) = Ym cos (ωt + θ)

หรือ
yp (t) = Re Y eıωt


โดยที่ Y = Ym eıθ
นอกจากนี้ x(t) สามารถแสดงอยู่ในรูป

x(t) = Re Xeıωt

108บทที่ 8. การประยุกต์ในทางวิศวกรรม (APPLICATIONS IN ENGINEERING)

โดยที่ X = Xm eıφ
และสมการ
dypn (t) dyp (t)
an n
+ . . . + a1 = x(t)
dt dt
จะเปลี่ยนเป็น

Re an (ıω)n Y eıωt + . . . + a1 (ıω)Y eıωt = Re(Xeıωt )




หากละเลยเทอม Re และ eıωt จะได้ว่า

an (ıω)n Y + . . . + a1 (ıω)Y = X

นั่นคือ
an (ıω)n Y + . . . + a1 (ıω)Y = X
หรือ
X
Y =
an (ıω)n + . . . + a1 (ıω)

เมื่อ an (ıω)n + . . . + a1 (ıω) 6= 0

8.2 การแปลงลาปลาซ (Laplace Transform)


8.2.1 นิยามและสมบัติของการแปลงลาปลาซ (Laplace Transform)
นิยาม 40 (การแปลงลาปลาซ (Laplace Transform)). การแปลงลาปลาซของฟังก์ชัน f (t)
1 นิยามดังสมการ
Z ∞
F (s) = f (t)e−st dt
0

ทฤษฏีบท 40 (การมีอยู่ (Existence) ของการแปลงลาปลาซ). ถ้ามี a > 0 ซึ่งทำให้ |f (t)| <


eat สำหรับทุก ๆ t ≥ 0 แล้ว L(f (t)) มีได้

ตัวอย่าง 85. จงหาการแปลงลาปลาซของ



1, t ≥ 0
u(t) =
0, t < 0

1
อาจเขียนแทนได้ด้วย L(f (t))
8.2. การแปลงลาปลาซ (LAPLACE TRANSFORM) 109

วิธีทำ จากนิยามของการแปลงลาปลาซ จะได้ว่า


Z ∞
L(u(t)) = u(t)e−st dt
0

เนื่องจาก

1, t ≥ 0
u(t) =
0, t < 0

ดังนั้น เมื่อ |s| > 0


Z ∞
L(u(t)) = e−st dt
0

e−st
=
−s 0
1
=
s

1
นั่นคือ L(u(t)) = เมื่อ |s| > 0
s

ทฤษฏีบท 41 (สมบัติเชิงเส้น (Linearity Property)). ให้ F (s) = L(f (t)) และ G(s) =
L(g(t)) ดังนั้น
L(f (t) + g(t)) = F (s) + G(s)

ทฤษฏีบท 42. ให้


F (s) = L(f (t))

ดังนั้น

L(f (t − T )u(t − T )) = e−sT F (s) เมื่อ T > 0

ทฤษฏีบท 43.
 
df (t)
L = sL(f (t)) − f (0)
dt
110บทที่ 8. การประยุกต์ในทางวิศวกรรม (APPLICATIONS IN ENGINEERING)

8.2.2 การแปลงผกผันลาปลาซ (Inverse Laplace Transform)


การหาการแปลงผกผันลาปลาซ (Inverse Laplace Transform)

ทฤษฏีบท 44. ให้ F เป็นการแปลงผกผันลาปลาซของ f โดยที่ F มี่แต่จุดเอกฐาน z1 , z2 , . . . , zN


ที่อยู่ทางซ้ายมือของ Re{s} = a และ lim F (s) มีค่าจำกัด นั่นคือมี M > 0 ที่ทำให้ lim F (s) <
s→∞ s→∞
M จะได้ว่า

f (t) = L−1 (F (s)) (8.1)


Z a+ı∞
1
= F (s)est ds (8.2)
2πı a−ı∞
1
ตัวอย่าง 86. จงหา L−1 (F (s)) ถ้า F (s) =
s2 + ω2
วิธีทำ
est
F (s)est =
s2 + ω 2
จะได้
est est
   
f (t) = Res 2 + Res 2
z=ıω s + ω 2 z=−ıω s + ω 2

est est
= lim + lim
z→ıω s + ıω z→−ıω s − ıω
e ıωt e −ıωt
= +
2ıω −2ıω
1 eıωt − e−ıωt
=
ω 2ı
sin (ωt)
=
ω

8.3 การแปลง z (z-Transform)


8.3.1 นิยามและสมบัติของการแปลง z
นิยาม 41. การแปลง zของลำดับ x[n]2 ถูกนิยามดังสมการ

X
X(z) = x[n]z −n
n=0
2
อาจเขียนแทนได้ด้วย Z(x[n])
8.3. การแปลง Z (Z-TRANSFORM) 111

ตัวอย่าง 87. จงหาการแปลง zของ



1, n = 0
δ[n] =
0, n 6= 0

วิธีทำ จากนิยามของการแปลง z จะได้ว่า



X
∆(z) = δ[n]z −n
n=0

=1

ตัวอย่าง 88. จงหาการแปลง zของ



1, n ≥ 0
u[n] =
0, n < 0

วิธีทำ จากนิยามของการแปลง z จะได้ว่า



X
U (z) = u[n]z −n
n=0
X∞
= z −n
n=0

เนื่องจาก

X 1
z −n = เมื่อ |z| > 1 (8.3)
1 − z −1
n=0

ดังนั้น
1
U (z) = เมื่อ |z| > 1 (8.4)
1 − z −1

ตัวอย่าง 89. จงหาการแปลง zของ

x[n] = a−n u[n]

โดยที่ a 6= 0
112บทที่ 8. การประยุกต์ในทางวิศวกรรม (APPLICATIONS IN ENGINEERING)

วิธีทำ จากนิยามของการแปลง z จะได้ว่า



X
X(z) = x[n]z −n
n=0
X∞
= a−n z −n
n=0
X∞
= (az)−n
n=0

เนื่องจาก

X 1 1
(az)−n = เมื่อ |z| >
1 − (az)−1 |a|
n=0

ดังนั้น
1 1
X(z) = เมื่อ |z| >
1 − (az)−1 |a|

ทฤษฏีบท 45 (สมบัติเชิงเส้น (Linearity Property)). ให้ X1 (z) และ X2 (z) เป็นการแปลง zของ
ลำดับ x1 [n] และ x2 [n] ตามลำดับ ดังนั้นการแปลง z X(z) ของลำดับ x[n] = c1 x1 [n]+
c2 x2 [n] คือ

X(z) = c1 X1 (z) + c2 X2 (z)

โดยที่ c1 และ c2 เป็นค่าคงตัว

ทฤษฏีบท 46. การแปลง zของลำดับ

y[n] = x[n − m]u[n − m]

โดยที่ m เป็นจำนวนเต็มบวก
คือ

Y (z) = z −m X(z)

ทฤษฏีบท 47. การแปลง zของลำดับ

y[n] = x[n + m]
8.3. การแปลง Z (Z-TRANSFORM) 113

โดยที่ m เป็นจำนวนเต็มบวก
คือ
m−1
!
X
m −n
Y (z) = z X(z) − x[n]z
n=0

8.3.2 การแปลง z ผกผัน (Inverse z-Transform)


การหาการแปลง z ผกผัน (Inverse z-Transform)

จากนิยามของการแปลง z (z-Transform)

X
X(z) = x[n]z −n
n=0

จะได้ว่า

X
X(z)z m−1 = x[n]z −n z m−1
n=0
X∞
= x[n]z m−n−1
n=0

และดังนั้น

I "X
I #
X(z)z m−1 dz = x[n]z m−n−1 dz
C C n=0
∞ I
X 
m−n−1
= x[n]z dz
n=0 C

โดยที่ C วงปิดอย่างง่ายวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกาล้อมรอบ z = 0
จากทฤษฎีบทเรซิดิว จะได้ว่า

I x[m], m = n
m−n−1
x[n]z dz =
C 0, m 6= n

นั่นคือ
I
x[n] = X(z)z n−1 dz
C

โดยที่ C วงปิดอย่างง่ายวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกาล้อมรอบ z = 0
114บทที่ 8. การประยุกต์ในทางวิศวกรรม (APPLICATIONS IN ENGINEERING)

ตัวอย่าง 90. จงหาการแปลง z ผกผันของ

∆(z) = 1

วิธีทำ เนื่องจาก
I
δ[n] = ∆(z)z n−1 dz
IC
= z n−1 dz
C

โดยที่ C วงปิดอย่างง่ายวงปิดวนในทิศทวนเข็มนาฬิกาล้อมรอบ z = 0
จากทฤษฎีบทเรซิดิวจะได้ว่า

I 1, n = 0
z n−1 dz =
C 0, n 6= 0

นั่นคือ

1, n = 0
δ[n] =
0, n 6= 0

8.3.3 สมการผลต่างสืบเนื่อง (Recursive Difference Equation)


นิยาม 42 (สมการผลต่างสืบเนื่อง (Recursive Difference Equation)). เราเรียกสมการในรูปแบบ

aN y[n + N ] + aN −1 y[n + N − 1] + · · · + a0 y[n] = x[n]

โดยที่ N เป็นจำนวนเต็มบวกว่าสมการผลต่างสืบเนื่อง (Recursive Difference Equa-


tion)

การแก้สมการผลต่างสืบเนื่อง

จากสมการ

aN y[n + N ] + aN −1 y[n + N − 1] + · · · + a0 y[n] = x[n]

จะได้ว่า

Z (aN y[n + N ] + aN −1 y[n + N − 1] + · · · + a0 y[n]) = Z (x[n])


8.3. การแปลง Z (Z-TRANSFORM) 115

จากสมบัติเชิงเส้น จะได้

aN Z (y[n + N ]) + aN −1 Z (y[n + N − 1]) + · · · + a0 Z (y[n]) = Z (x[n])

จากทฤษฎีบท 47 จะได้ว่า

N m−1
!!
X X
am z m X(z) − x[n]z −n = Z (x[n])
m=0 n=0

ถ้าหากว่าค่าเงื่อนไขเริ่มต้น x[0], . . . , x[N −1] ถูกกำหนด ดังนั้น เราสามารถหา Z(x[n]) ได้


และดังนั้น เราสามารถหา x[n] ได้จากการแปลง z ผกผัน นั่นคือ

x[n] = Z −1 (X(z))

ตัวอย่าง 91. จงแก้สมการผลต่างสืบเนื่อง

x[n + 1] − 2x[n] = u[n] เมื่อ x[0] = 0

วิธีทำ จากสมการผลต่างสืบเนื่อง

x[n + 1] − 2x[n] = u[n]

จะได้ว่า

Z(x[n + 1] − 2x[n]) = Z(u[n])

โดยการใช้สมบัติเชิงเส้น

Z(x[n + 1]) − 2Z(x[n]) = Z(u[n])

เนื่องจาก Z(x[n + 1]) = z (X(z) − x[0]) ดังนั้น

1
z (X(z) − x[0]) − 2X(z) =
1 − z −1

นอกจากนี้ เนื่องจาก x[0] = 0 สมการข้างบนกลายเป็น

1
z (X(z)) − 2X(z) =
1 − z −1
116บทที่ 8. การประยุกต์ในทางวิศวกรรม (APPLICATIONS IN ENGINEERING)

และดังนั้น

1
X(z) =
(z − 2)(1 − z −1 )

เราสามารถจัดรูป X(z) ใหม่ได้เป็น

z −1
X(z) =
(1 − 2z −1 )(1 − z −1 )

ให้
z −1 a b
−1 −1
= −1
+
(1 − 2z )(1 − z ) 1 − 2z 1 − z −1

ดังนั้น

z −1
a = lim
z→2 1 − z −1
1
2
= 1
1− 2
=1

และ

z −1
b = lim
z→1 1 − 2z −1
1
=
1−2
= −1

จะได้ว่า

1 −1
X(z) = +
1 − 2z −1 1 − z −1

นั่นคือ

x[n] = 2n u[n] − u[n]


8.4. การประยุกต์ใช้การส่งคงรูป (APPLICATIONS OF CONFORMAL MAPPINGS)117

8.4 การประยุกต์ใช้การส่งคงรูป (Applications of Conformal Map-


pings)
8.4.1 การหาผลเฉลยของสมการของลาปลาซ
จากทฤษฏีบท 38 เราสามารถแก้สมการของลาปลาซในอาณาบริเวณที่ซับซ้อนได้โดยการสร้าง
ฟังก์ชันวิเคราะห์ที่เหมาะสมดังตัวอย่างต่อไปนี้
p
ตัวอย่าง 92. การหาผลเฉลยของสมการของลาปลาซในวงแหวน a < x2 + y 2 < b

วิธีทำ ให้ z = x + ıy และ w = u + ıv โดยที่ z = ew = eu+ıv ดังนั้น

x = eu cos v และ y = eu sin v (8.5)

และ
p
u = ln x2 + y 2 (8.6)
p
ถ้าหากว่าศักย์ V เป็นฟังก์ชันฮาร์โมนิคในวงแหวน a < x2 + y 2 < b นั่นคือ

∂2V ∂2V p
+ = 0 ในวงแหวน a < x2 + y 2 < b (8.7)
∂x2 ∂y 2

ดังนั้น V เป็นฟังก์ชันฮาร์โมนิคในอาณาบริเวณ ln (a) < u < ln (b) นั่นคือ

∂2V ∂2V
+ = 0 ในอาณาบริเวณ ln (a) < u < ln (b) (8.8)
∂u2 ∂v 2

เนื่องจากเส้น |z| = c, a ≤ c ≤ b ซึ่งส่งไปยัง u = ln (c) เป็นเส้นสมศักย์ ดังนั้น V ไม่ขึ้นกับ w


นั่นคือ
d2 V
=0 (8.9)
du2

จะได้

V = k1 u + k2 (8.10)

นั่นคือ
p
V = k1 ln x2 + y 2 + k 2 (8.11)
118บทที่ 8. การประยุกต์ในทางวิศวกรรม (APPLICATIONS IN ENGINEERING)

8.5 แบบฝึกหัด
1. ให้โหลด ZL มีแรงดันตกคร่อม

v(t) = Vm cos (ωt + φV )

และกระแสไหลผ่าน
i(t) = Im cos (ωt + φI )

โดยที่
Vm และ Im เป็นแอมพลิจูดของแรงดันตกคร่อมและกระแส ตามลำดับ และ
φV และ φI เป็นเฟสของแรงดันตกคร่อมและกระแส ตามลำดับ
จงแสดงว่ากําลังเฉลี่ย

Pav = Re(V I)

เมื่อ V = Vm ∠φV และ I = Im ∠φI เป็นเฟเซอร์ของแรงดันตกคร่อมและกระแส ตามลำดับ

2. จงหาการแปลงลาปลาซของ f (t) = sin (ωt) , ω > 0


1
3. จงหาการแปลงผกผันลาปลาซของ F (s) =
1 + s2
4. จงหาการแปลง zของ x[n] = e−an u[n], a > 0

5. จงหาการแปลง zของ x[n] = nu[n]


z
6. จงหาการแปลง z ผกผันของ X(z) = , |z| > 1
1+z
ภาคผนวก ก

อสมการของจอร์แดน (Jordan’s
Inequality)

Z π
π
e−R sin θ dθ < เมื่อ R > 0 (ก.1)
0 R
อสมการ ก.1 ถูกเรียกว่าอสมการของจอร์แดน (Jordan’s Inequality)

2 y=
π

1 y = sin θ
2
0 3π π
พิสูจน์ 2
π
ให้ R เป็นจำนวนบวก และ 0 < θ < จะได้ว่า
2

sin θ >
π
ดังนั้น
−2Rθ
−R sin θ <
π
เนื่องจากฟังก์ชันชี้กำลังเป็นฟังก์ชันเพิ่ม ดังนั้น
Z π Z π
2 2 −2Rθ
−R sin θ
e dθ < e π dθ
0 0

119
120 ภาคผนวก ก. อสมการของจอร์แดน (JORDAN’S INEQUALITY)

นั่นคือ
Z π
2 π
e−R sin θ dθ < 1 − e−R

0 2R
π
<
2R
π
เนื่องจากฟังก์ชัน y = sin θสมมาตรรอบ θ = ดังนั้น y = e−R sin θ ก็สมมาตรรอบ θ =
2
π
ด้วย ดังนั้น
2

π
Z π Z
2
−R sin θ
e dθ = e−R sin θ dθ
π
2
0
π
<
2R

นั่นคือ
Z π
π
e−R sin θ dθ <
0 R
ภาคผนวก ข

บทตั้งของจอร์แดน (Jordan’s
Lemma)

บทตั้ง 10 (บทตั้งของจอร์แดน (Jordan’s Lemma)). ให้

1. f เป็นฟังก์ชันวิเคราะห์ที่ทุกจุด z ในครึ่งบนของระนาบเชิงซ้อน y ≥ 0 ที่อยู่นอก


|z| = R0

2. สําหรับทุกจุด z บนคอนทัวร์ CR = {z | z = Reıθ , 0 ≤ θ ≤ π} มีค่าคงที่ MR


ซึ่งทำให้ |f (z)| ≤ MR โดยที่

lim MR = 0
R→∞

แล้ว สำหรับทุกจำนวนบวก a
Z
lim f (z)eıaz dz = 0
R→∞ CR

พิสูจน์ พิจารณา
Z Z π
ıθ
f (z)eıaz dz = f (Reıθ )eıaRe ıReıθ dθ
CR 0

เนื่องจาก

|f (z)| = |f (Reıθ )| ≤ MR

121
122 ภาคผนวก ข. บทตั้งของจอร์แดน (JORDAN’S LEMMA)

y
CR

R R0
x

รูปที่ ข.1: รูปแสดงบทตั้ง 10

และ
ıθ
|eıaRe | ≤ e−aR sin θ

ดังนั้น
π
Z Z
ıaz
e−aR sin θ dθ


f (z)e dz ≤ MR R
CR 0
MR π
< →0 เมื่อ R → ∞
a

เนื่องจาก MR → 0 เมื่อ R → ∞
บรรณานุกรม

[1] N. H. Asmar, Applied Complex Analysis with Partial Differential Equa-


tions, 1st ed. Prentice Hall, 2002.

[2] G. Cain, Lecture Note on Complex Analysis, Georgia Institute of Technol-


ogy, 1999.

[3] J. W. Brown and R. V. Churchill, Complex Variables and Applications,


7th ed. McGrawHill, 2003.

[4] C. A. Desoer and E. S. Kuh, Basic Circuit Theory, 16th Printing Mc-
GrawHill, 1987.

[5] J. D. Glover, M. S. Sarma and T. J. Overbye, Power System Analysis and


Design, 4th ed., Thomson, 2008.

[6] L. Hahn and B. Epstein, Classical Complex Analysis, Jones and Bartlett,
1996.

[7] J. H. Mathews and R. W. Howell, Complex Analysis for Mathematics and


Engineering, 5th ed., Jones and Bartlett, 2006.

[8] S. K. Mitra, Digital Signal Processing, 2nd ed., McGrawHill, 2002.

[9] E. B. Saff and A. D. Snider, Fundamentals of Complex Analysis for Math-


ematics, Science and Engineering, 2nd ed. Prentice Hall, 1993.

[10] M. R. Spiegel, Complex Variables with an Introduction to Conformal Map-


ping and Its Applications, Shaum Publishing Company 1964.

123
124 บรรณานุกรม

[11] D. G. Zill and P. D. Shanahan, A First Course in Complex Analysis with


Applications, Jones and Bartlet, 2003.

[12] มงคล เดชนครินทร์, คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า, ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3,


สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2549.

You might also like