You are on page 1of 28

ชุดการสอนหุ่นยนต์ BEAM

โครงการหุ่นยนต์ BEAM เพือ่ การเรียนรู้วิชาอิเล็กทรอนิกส์เบือ้ งต้น ใน


ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของจังหวัดพะเยา

สวัสดิ์ แซ่หลอ
ศิรินทิพย์ รินเที่ยง
ไวพจน์ งามสอาด

[ขอขอบคุณผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย จากศูนย์เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
เชิงพื้นที่แบบสร้างสรรค์ (ABCreative Center)]
คานา

ชุ ด การสอนหุ่ น ยนต์ BEAM เรื่ อ ง อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เ บื้ อ งต้ น ส าหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดทาขึ้นตามกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ โดยมีเนื้อหา และกิจกรรมสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
สาหรับชุดการสอนหุ่นยนต์ BEAM เรื่อง อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ประกอบไปด้วย คา
ชี้แจงกิจกรรม วั ตถุประสงค์การเรียนรู้ องค์ประกอบของชุดกิจกรรม ขั้นตอนในการปฏิบัติ
กิจกรรม ขั้นตอนในการใช้สื่อ ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบและเฉลย ที่ผู้เรียนสามารถศึกษา
ค้นคว้ าด้ว ยตนเอง ตามความสนใจ เป็ นอิส ระ และมีส่ว นร่ว มในการเรีย นการสอน โดยชุ ด
กิจกรรมจะช่วยให้ใช้เวลาน้อยลงในการนาเสนอข้อมูลต่าง ๆ จากคาแนะนาที่ปรากฏอยู่ในชุด
กิจกรรมไปตามลาดับ
ผู้จัดทาขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุน ให้คาแนะนา ชี้แนะในการจัดทา
ชุด กิ จ กรรมในครั้ ง นี้ หวั งเป็ น อย่ า งยิ่ งว่ า ชุ ด กิ จ กรรมชุ ด นี้ จ ะเป็ นประโยชน์ ส าหรั บ นั ก เรี ย น
ครูผู้สอน และผู้ที่สนใจ สามารถนาไปพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

คณะผู้จัดทา
คาชี้แจง
ให้ผู้เรียนอ่านและทาความเข้าใจในเนือ้ หา เรื่อง อิเล็กทรอนิกส์เบือ้ งต้น แล้วลงมือสร้าง
หุ่นยนต์ BEAM ตามขั้นตอนในคู่มือ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ผู้เรียนมีความรูส้ มบัติเบือ้ งต้นของตัวต้านทาน
2. ผู้เรียนมีความรูส้ มบัติเบือ้ งต้นของตัวเก็บประจุ
3. ผู้เรียนมีความรูส้ มบัติเบือ้ งต้นของไดโอด
4. ผู้เรียนมีความรูส้ มบัติเบือ้ งต้นของทรานซิสเตอร์
5. ผู้เรียนมีความรูส้ มบัติเบือ้ งต้นของไอซี
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เมื่อกาหนดโจทย์เรื่อง อิเล็กทรอนิกส์เบือ้ งต้น ให้ 10 ข้อ ผูเ้ รียนสามารถทาได้ถูกต้อง
อย่างน้อย 5 ข้อ
2. เมื่อเรียนรู้ทฤษฎี ผู้เรียนสามารถอธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์ BEAM ได้
การนาชุดการสอนหุ่นยนต์ BEAM ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้นักเรียนปฏิบัติ
ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์กอ่ นเรียน (Pre-test) เรื่อง อิเล็กทรอนิกส์เบือ้ งต้น จานวน
10 ข้อ
2. ดาเนินการศึกษาเนือ้ หา เรื่อง อิเล็กทรอนิกส์เบือ้ งต้น
3. ทาใบงาน เรื่อง อิเล็กทรอนิกส์เบือ้ งต้น ใช้เป็นคะแนนเก็บระหว่างเรียน
4. ลงมือสร้างหุ่นยนต์ BEAM ตามขั้นตอนในคู่มือ
5. ทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (Pro-test) เรื่อง อิเล็กทรอนิกส์เบือ้ งต้น จานวน
10 ข้อ
6. ทาแบบสอบถามความพึงพอใจ ทั้ง 2 ฉบับ ได้แก่
 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อชุดสื่อหุ่นยนต์ BEAM
 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อการจัดกิจกรรมชุด
การสอนหุ่นยนต์ BEAM
Braitenberg vehicle
ยานพาหนะของไบเทนเบิร์ก เขาสมมติว่า หากยานพาหนะที่เชื่อมต่อเซนเซอร์กับมอเตอร์อย่างง่ายๆ วิธีการ
เชื่องต่อเซนเซอร์กับมอเตอร์จะส่งผลให้การเคลื่อนที่ของยานพาหนะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง
ง่ายๆของยานพาหนะของไบเทนเบิร์ก เช่น
ตัวเซนเซอร์ตรวจวัดแสง 2 ตัวแบ่งเป็นฝั่งซ้ายกับฝั่งขวา เมื่อเชื่อมต่อเซนเซอร์กับมอเตอร์ที่
อยู่ฝั่งเดียวกัน เมื่อมีแสงมาตกกระทบบนเซนเซอร์แสงฝั่งขวา ล้อมอเตอร์ฝั่งขวาหมุดเร็ว ทา
ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกาเนิดแสง เปรียบเทียบได้กับสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มี
พฤติกรรมหลบหนีแสง

อีกกรณี เมื่อเชื่อมต่อเซนเซอร์แสงกับล้อมอเตอร์ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม เมื่อมีแสงมาตกกระทบบน


เซนเซอร์แสงฝั่งขวา ล้อมอเตอร์ฝั่งซ้ายหมุนเร็ว ทาให้ยานพาหนะเคลื่อนที่เข้าหา
แหล่งกาเนิดแสง

หุน่ ยนต์ BEAM ได้นาเอาแนวคิดของ Braitenberg มาใช้ในการควบคุมการทางานให้กับหุ่นยนต์ BEAM แสดง


พฤติกรรมหรืออารมณ์ตา่ งๆ อย่างเป็นรูปธรรม เช่น หุ่นยนต์ BEAM มีพฤติกรรมไม่ชอบแสง,หุ่นยนต์ BEAM
มีพฤติกรรมชอบแสง เป็นต้น

BEAM robot
หุ่นยนต์ BEAM เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบขึ้นโดยการเลียนแบบสิ่ง มีชีวิตที่อยู่ร อบๆตัวเรา โดยอาศัยการ
ทางานของวงจรอิเ ล็กทรอนิกส์แบบอนาล็อกอย่างง่าย โดยที่ไม่จาเป็นจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุมการ
ทางาน

รูปหุน่ ยนต์ BEAM แบบต่างๆ


รูปจาก : www.smfr.org/robotsและ mechanicalmutants.com
โดยคาว่า BEAM มีที่มาจากพยัญชนะตัวแรกของคา 4 คา ซึ่งแทนความหมายแนวคิดของหุน่ ยนต์ชนิดนี้ได้แก่

Biology

Mechanics BEAM Electronics

Aesthetics

 Biology การเลียนแบบพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ซึ่งแต่ละสิ่งมีชีวิตมีความเฉพาะตัวของ


มันเอง อย่างเช่น หิ่งห้อยบินเข้าใกล้แสง เป็นต้น
 Electronics การทางานที่อยู่บนพืน้ ฐานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ซับซ้อน แต่ทว่าสามารถจะทางาน
ร่วมกันอย่างเป็นระบบ
 Aesthetics สุนทรียภาพในการออกแบบ ความงามในธรรมชาติ
 Mechanics ส่วนจักรกลที่ทางานอย่างเป็นระบบเพื่อขับดันให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆหาก
เปรียบเทียบแล้วส่วนกลไกก็เปรียบได้กับกล้ามเนื้อที่ควบคุมอวัยวะในร่างกาย ภายใต้การควบคุมของ
ประสาทสั่งการที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นนั้ เอง

บุคคลผู้บุกเบิกแนวคิดของหุน่ ยนต์ BEAM คือ MARK W. Tilden


นักวิทยาศาสตร์จาก Los Alamos National Laboratory, ที่ตงั้ อยู่ใน
รัฐนิวแม็กซิโก, สหรัฐอเมริกา โดยเริ่มเผยแพร่ในผลงานชื่อ
เครื่องจักรที่มีชีวิต (Living Machines) ร่วมกับ Brosl Hasslacher
หุน่ ยนต์ BEAM ที่ Tilden สร้างขึน้ ทุกตัวจะมีลักษณะต่างจาก
หุน่ ยนต์ที่เคยเห็นมา เนื่องจากทุกตัวไม่มีไมโครโปรเซสเซอร์หรือ
รูป MARK W. Tilden ไมโครคอนโทรเลอร์ควบคุมการทางาน แต่ทุกตัวก็สามารถมี
รูปจาก : www.robotspodcast.com พฤติกรรมอันซับซ้อนได้ราวกับมีชีวิต
ตัวต้านทาน (Resistor)

ตัวต้านทานเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักพบบ่อยในวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีความสาคัญ
อย่างยิ่งเนื่องจากมีคุณสมบัติต้านการไหลไฟของกระแสไฟฟ้า เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเหมาะสมกับวงจรนั้นๆ
โดยค่าความต้านทาน จะมีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) และมีอักษรย่อ R ตัวต้านทานแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. ตัวต้านทานคงที่ (Fixed Resistor)


เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทาน ไม่เปลี่ยนแปลง มีสัญลักษณ์เป็น ตัว
ต้านทานชนิดนี้จะไม่มีขั้ว ดังนั้นการนาไปใช้ไม่จาเป็นต้องพิจารณาการต่อให้ถูกขั้ว

รูปตัวต้านทานแบบสี่แถบสี (รูปซ้าย) และแบบห้าแถบสี (รูปขวา)

ตัวต้านทานคงที่จะมีแถบสีระบุค่าความต้านทานส่วนมากมี 4 แถบ หรือ 5 แถบ แต่ละสีมีค่าประจา


สีดังตารางที่ 1

รูประบุค่าความต้านทานตามแถบสี
รูปจาก : www.kmitl.ac.th/~s2010977/Lab%20auto%20(electronic)1.htm
2. ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Variable Resistor)
ตัวต้านทานที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ด้วยการหมุนแกนของตัวต้านทาน
มีสัญลักษณ์เป็น โดยตัวต้านทานปรับค่าได้จะมี 3 ขา ค่าความต้านทานจะระบุอยู่บน
ตัวต้านทานโดยตรง เช่ น ตัวต้านทานปรับค่าได้ แบบโวลุ่ม หรือ ระบุโ ดยใช้ร หัสตัวเลข เช่น ตั ว
ต้านทานปรับค่าได้แบบเกือกม้า โดยมี 3 ตัวเลข เลข 2 ตัวแรกเป็น “ตัวตั้ง” เลขตัวที่ 3 เป็น “ตัว
คูณ”

รูปตัวต้านทานโวลุม่ และเกือกม้า

3. ตัวต้านทานไวแสง หรือ แอลดีอาร์ (LDR : Light Dependent Resistor)


ตัวต้านทานไวแสงค่าความต้านทานจะปรับเปลี่ยนไปตามแสงที่กระทบบนตัวมัน ในขณะที่ไม่มีแสง
มาตกกระทบค่าความต้านทานจะสูงมาก แต่เมื่อมีแสงมาตกกระทบค่าความต้านทานจะต่ามาก
โดย LDR มีขาใช้งาน 2 ขา ซึ่งไม่มีขั้ว มีสัญลักษณ์เป็น

รูปตัวต้านทานไวแสง LDR
ตัวเก็บประจุ (Capacitor)

ตัวเก็บประจุเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทาหน้าที่เก็บสะสมประจุและคายประจุออกมาให้กับ
วงจร ค่าความจุของตัวเก็บประจุมีหน่วยเป็นฟารัด (F) แต่ตัวเก็บประจุที่พบเห็นทั่วไปมักมีหน่วยเป็นไมโครฟา
รัด (µF) โดยที่

1 F = 106 µF หรือ 1 F = 1,000,000 µF

สาหรับในหุน่ ยนต์ ตัวเก็บมีหน้าที่กรองกระแส (Filter) ทาให้กระแสไฟตรงที่ได้เรียบมากขึ้น และ


กาจัดสัญญารบกวนที่ปนมาให้ลดลง

ตัวเก็บประจุมีลักษณะภายนอกแตกต่างหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบเหมาะกับการใช้งานต่างกัน โดย


ตัวเก็บประจุแบ่งได้ 2 ชนิด

1. ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ (Fixed capacitor)


เป็นตัวเก็บประจุที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความจุได้ โดยค่าความจุค่าอ่านได้จากบนตัวเก็บประจุ
ได้โดยตรง ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ถูกผลิตมาใช้งานหลายชนิด แต่ละชนิดใช้วัสดุที่ทาเป็นฉนวน
แตกต่างกัน จึงเรียกตัวเก็บประจุตามชนิดวัสดุฉนวนที่นามาใช้ เช่น ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลติก
,ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก,ตัวเก็บประจุแบบไมก้า

รูปสัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุ
รูปจาก : www.myfirstbrain.com

1.1 ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลติก (Electrolytic capacitor)


ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลติกมีลักษณะภายนอกเป็นรูปทรงกระบอก มีขา 2 ขา จะมี
ขั้วบวกและขั้วลบ การนาไปใช้งานจึงต้องต่อให้ถูกขั้ว หากต่อไม่ถูกขั้วตัวเก็บประจุอาจเกิดความ
เสียหาย ซึ่งสามารถสังเกตขัว้ บวกขั้วลบได้จากด้านข้างตัวเก็บประจุจะมีสัญลักษณ์เขียนไว้ หรือ
สังเกตที่ขาของตัวเก็บประจุ ขายาวเป็นขั้วบวก ขาสั้นเป็นขั้วลบ
รูปตัวเก็บประจุอิเล็กโทรไลติก
1.2 ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก (Ceramic capacitor)
เป็นตัวเก็บประจุที่ผลิตจากวัสดุฉนวนประเภทกระเบือ้ ง หรือที่เรียกว่า เซรามิก ตัวเก็บ
ประจุแบบเซรามิกมีลักษณะภายนอกขนาดเล็กแบน มีขา 2 ขา ไม่มีขั้ว ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุ
ชนิดนี้มีค่าความจุไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด

รูปตัวเก็บประจุเซรามิก

1.3 ตัวเก็บประจุแบบไมก้า (Mica capacitor)


ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้แผ่นไมก้าเป็นฉนวน ตัวเก็บประจุชนิดนี้มีอัตรา
ทนไฟฟ้าสูงมาก และเป็นตัวเก็บประจุไม่มีขั้วเช่นเดียวกับตัวเก็บประจุเซรามิก

รูปตัวเก็บประจุไมก้า
รูปจาก : http://www.gl-elec.com/Products/Products-Overview/
2. ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable capacitor)
เป็นตัวเก็บประจุที่ค่าความจุเปลี่ยนไปตามการเคลื่อนที่ของแกนหมุน โครงสร้างภายในประกอบด้วย
แผ่นโลหะ 2 แผ่นหรือมากกว่าวางใกล้กัน แผ่นหนึ่งจะอยู่กับที่สว่ นอีกแผ่นหนึ่งจะเคลื่อนที่ได้ วัสดุ
ฉนวนที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกันคือ อากาศ ไมก้า เซรามิค และพลาสติก เป็นต้น

รูปตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้
รูปจาก : http://ipstbox.programming.in.th/microbox/1_2_3_2.html

ไดโอด (Diode)

รูปไดโอด

ไดโอดทาจากสารกึ่งตัวนา ทาหน้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านทางเดียวและกั้นการไหลใน
ทิศทางตรงข้าม ไดโอดมีขั้ว 2 ขั้ว คือขั้วแอโนด (Anode :A) และขั้วแคโทด (Cathode : K) โดยการต่อไดโอดจะ
ต่อขาA เข้ากับแหล่งจ่ายไฟขาบวกและต่อขา K เข้ากับแหล่งจ่ายไฟขาลบ การต่อแบบนี้จะเกิดกระแสไฟฟ้า
ไหลผ่านไดโอด เรียกว่าไบอัสตรง (Forward Bias)
รูปการไบอัสตรง

การต่อโอดขา K เข้ากับแหล่งจ่ายไฟขาบวกและต่อขา A เข้ากับแหล่งจ่ายขาลบ การต่อแบบนีจ้ ะ


ไม่เกิดกระแสผ่านไดโอด เรียกว่าไบอัสกลับ (Reverse Bias)

รูปการไบอัสกลับ

ไดโอดเปล่งแสง หรือ แอลอีดี (LED :


Light Emitting Diode)

ไดโอดเปล่งแสงนี้เ มื่อมีกระแสไหลผ่านจะให้แสง
สว่างออกมา มัก เรียกไดโอดชนิดนี้ว่า LED โดย
ลักษณะคล้ายหลอดไฟเล็กๆ โดยมีขา 2 ขา ขาที่
สั้นกว่าคือ ขั้วแคโทด (ขั้วลบ) และขาที่ยาวกว่าคือ
ขั้วแอโนด (ขั้วบวก)

อินฟราเรด แอลอีดี หรือ IR LED (Infrared LED)


IR LED เป็นไดโอดเปล่งแสงย่านอินฟราเรด ซึ่งอินฟราเรด
สายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้
ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทาจากสารกึ่งตัวนา มีขา 3 ขา ได้แก่

ขาเบส (B : Base)

ขาอีมิตเตอร์ (E : Emiter)

ขาคอลเล็กเตอร์ (C : Collector)

ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ถูกควบคุมด้วยกระแสทางขาเบส (IB) กล่าวคือเมื่อกระแสเบสเปลี่ยนแปลงเพียง


เล็กน้อย ก็จะทาให้กระแสอีมิตเตอร์ (IE) และกระแสคอลเล็กเตอร์ (IC) เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ชนิดของทรานซิสเตอร์แบ่งตามโครงสร้างมี 2 แบบ คือ

ชนิด NPN เป็นทรานซิสเตอร์ที่จา่ ยไฟเข้าที่ขาเบสให้มีความต่างศักย์สูงกว่าขาอิมิตเตอร์

ชนิด PNP เป็นทรานซิสเตอร์ที่จา่ ยไฟเข้าที่ขาเบสให้มีความต่างศักย์ต่ากว่าขาอิมิตเตอร์

รูปสัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN รูปสัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์ชนิด


PNP

รูปจาก : http://www.thitiblog.com/transistors/

ทรานซิสเตอร์มีสมการไหลของกระแสไฟฟ้าคือ IE=IB+IC
Photo Transistor

รูปโฟโต้ทรานซิสเตอร์ รูปวงจรภายในโฟโต้ทรานซิสเตอร์

รูปจาก : www.elec-za.com รูปจาก : phchitchai.wbvschool.net/page/

โฟโต้ทรานซิสเตอร์ ภายในจะประกอบด้วยโฟโต้ไดโอดซึ่งจะต่ออยู่ระหว่างขาเบสกับ
คอลเลคเตอร์ ของทรานซิสเตอร์ โฟโต้ทรานซิสเตอร์จะมีความไวต่อแสง สามารถตอบสนองต่อ
แสงที่ความถี่สูง ย่านอินฟราเรดซึ่งเป็นย่านแสงที่สายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย

วงจรรวม (Integrated Circuit)

รูปไอซี

วงจรรวม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ไอซี (IC) สารจากสารกึ่งตัวนา ทาด้วยแผ่นซิลิคอน ไอซีเป็น


สิ่งประดิษฐ์ที่รวมชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ตา่ งๆที่ประกอบเป็นวงจร เช่น ตัวตานทาน ไดโอด ทรานซิสเตอร์ เป็น
ต้น ไอซีมีขนาดเล็ก และมีขาหลายขา ไอซีมีหลายแบบให้เลือกใช้งาน จะมีหมายเลขประจาแต่ละไอซี วิธีดู
ตาแหน่งขาของไอซี ให้สังเกตรอยบากบนขอบตัวไอซี ขาข้างที่อยู่ทางซ้ายเรียกว่า ขาที่1 แล้วให้นับเรียงต่อกัน
ไปตามลาดับ

รูปขาไอซี

ชนิดของไอซี

วงจรไอซีแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 แบบ ได้แก่

1. ไอซีดจิ ิตอล
ไอซีที่ทางานได้กับสัญญาณดิจติ อล สัญญาณในวงจรมีเพียง 0 กับ 1 หรือระดับสูงกับระดับต่า ไอซี
พวกนีเ้ ป็นจาพวกไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)

2. ไอซีอนาล็อก
ไอซีเชิงเส้น เป็นไอซีที่ทาหน้าที่ในการขยายสัญญาณและควบคุมแรงดันไฟฟ้า ไอซีอนาล็อกที่ทา
หน้าที่ขยายสัญญาณ เรียกว่า ออปแอมป์ (OP Amp ย่อจาก Operation Amplifier)

ออปแอมป์ (OP Amp)


เป็นวงจรรวมที่ประกอบขึน้ จากทรานซิสเตอร์หลายๆตัวรวมอยู่ภายในไอซีตัวเดียว จึง
ทาให้ไอซีออปแอมป์มีอัตราขยายสูงมาก

สัญลักษณ์ของออปแอมป์
หุ่นยนต์ตามแสงแบบใช้ทรานซิสเตอร์

วงจร

รูปหุ่นยนต์ตามแสงแบบใช้ทรานซิสเตอร์

หลักการทางาน

วงจรควบคุมการทางานของหุ่นยนต์เดินตามแสงแบบใช้ทรานซิสเตอร์ หุ่นยนต์ BEAM


ตัวนี้ใช้ส่วนของเซนเซอร์เป็น LDR มีคุณสมบัติคือ เมื่อมีแสงมาตกกระทบค่าความต้านทาน
ภายในจะลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแสงที่ให้ แต่ถ้าไม่มีแสงหรือมืดมากๆ ค่าความต่างทาน
ของ LDR ก็จะมีค่ามาก
ในส่วนการควบคุมมอเตอร์ใช้ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN เบอร์ 2SC458
กรณีที่ 1 ขณะไม่มีแสงมาตกกระทบที่ LDR ค่าความต้านทานของ LDR จะสูงมาก โดย
ตามหลักการแบ่งแรงดันแล้ว แรงดันไฟฟ้าจะตกคร่อมที่ตัวอุปกรณ์ที่มีค่าความต้านทานสูง เมื่อ
แรงดันส่วนมากไปตกคร่อมที่ตัว LDR จึงทาให้มีแรงดันเพียงเล็กน้อยที่ตกคร่อมตัวต้านทาน
20k โอห์ม ซึ่งไม่เพียงพอให้ทรานซิสเตอร์ 2SC458 นากระแส มอเตอร์จงึ ไม่หมุน
กรณีที่ 2 ขณะมีแสงมาตกกระทบที่ LDR ค่าความต้านทานของ LDR จะต่ามาก ทาให้
ค่าความต้านทานของตัวต้านทาน 20k โอห์ม มีมากกว่า แรงดันส่วนมากไปตกคร่อมที่ตัว
ต้านทาน 20k โอห์ม แรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทาน 20k โอห์มนี้ จะเป็นแรงดันที่ไปทาให้
ทรานซิสเตอร์ 2SC458 นากระแส มอเตอร์จงึ หมุน
วัสดุและอุปกรณ์

1. ตัวต้านทานไวแสง (LDR) 2 ตัว


2. ทรานซิสเตอร์ 2SC458 2 ตัว
3. ตัวต้านทาน 1k โอห์ม 2 ตัว
4. ตัวต้านทาน 20k โอห์ม 2 ตัว
5. บอร์ดทดลอง 1 อัน
6. มอเตอร์และล้อ 2 ชุด
7. รางถ่าน 1 อัน
8. ล้อพยุง 1 อัน
9. แบตเตอรี่ AAA 4 ก้อน
10. สวิตซ์ 1 ตัว
11. ฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 8.5x10.5 เซนติเมตร 1 แผ่น
12. เทปกาว 2 หน้า
13. สายไฟ

รูปหุ่นยนต์เมื่อเสร็จสมบูรณ์
ขั้นตอนการประดิษฐ์

1. ติดเทปกาว 2 หน้า ที่มอเตอร์ทั้ง 2 อัน, รางถ่านและล้อพยุง ดังภาพ

2. ติดมอเตอร์ รางถ่าน ลงบนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด

3. ติดล้อพยุงบนรางถ่าน
4. ติดล้อเข้ากับมอเตอร์

5. เสียบ LDR ลงบนบอร์ดทดลองและต่อสายไฟที่ข้างใดข้างหนึ่งของ LDR เข้ากับช่องไฟ


บวก

6. เสียบทรานซิสเตอร์ 2SC458 ลงบนบอร์ดทดลองและต่อ ตัวต้านทาน 1k โอห์มจากขา


อีกข้างของ LDR มายังขา B ของทรานซิสเตอร์ 2SC458 และต่อสายไฟขา E เข้าไฟลบ
7. ต่อตัวต้านทาน 20k โอห์ม จากขา B ของทรานซิสเตอร์มายังไฟลบ

8. ต่อสายไฟเชื่อมช่องไฟบวกและช่องไฟลบ จากทั้ง 2 ฝั่ง

9. เสียบสวิตซ์ลงบนบอร์ด และเชื่อมสายไฟที่ขากลางของสวิตซ์กับช่องไฟบวก
10. ติดบอร์ดทดลองลงบนฐานหุ่นยนต์ที่ทาไว้

11. เสียบสายไฟจากรางถ่านมาที่ช่องไฟลบและที่ขาใดขาหนึ่งขาสวิตซ์ และต่อสายมอเตอร์


สายที่ 1 ต่อไปยังขา C ของทรานซิสเตอร์ 2SC458 สายที่ 2 ต่อไปยังช่องไฟบวก
หุ่นยนต์ตามแสงแบบใช้ไอซี

รูปหุ่นยนต์ตามแสงแบบใช้ไอซี
หลักการทางาน
วงจรควบคุมการทางานของหุ่นยนต์เดินตามแสงแบบใช้ ไอซี หุ่นยนต์ BEAM ตัวนี้ใช้
เซนเซอร์รับแสงคือ โฟโต้ไดโอด (เป็นไดโอดที่จะทางานเมื่อมีแสงมาตกกระทบ ในการนาโฟโต้
ไดโอดไปใช้งานต้องต่อในลักษณะไบแอสกลับ คือ ต่อแอโนดเข้ากับขั้วไฟลบ, แคโทดเข้ากับขั้ว
ไฟบวก จนเมื่อมีแสงมาตกกระทบจึงจะสามารถนากระแสได้) ซึ่งเมื่อใดที่แสงมากระทบกับ โฟ
โต้ไดโอด ข้างใดข้างหนึ่ง หรือแสงตกกระทบเท่ากัน จะทาให้หุ่นยนต์เดินไปข้างหน้า และการ
เลี้ยวซ้ายขวา ขึน้ อยู่กับปริมาณแสงที่ตกกระทบกับโฟโต้ไดโอดทัง้ สองฝั่ง
กรณีที่ 1 ถ้าโฟโต้ไดโอดได้รับแสงเท่ากันจะทาให้หุ่นยนต์ เดินไปข้างหน้า โดยมอเตอร์
จะสลับกันหมุน เพื่อไปข้างหน้า

กรณีที่ 2 ถ้าโฟโต้ไดโอดได้รับแสงไม่เท่ากันจะทาให้หุ่นยนต์ เกิดการเลี้ยวเข้าหาแสง


หลักการทางานคือ เมื่อ โฟโต้ไดโอดข้างซ้ายได้รับแสงมากกว่า จะทาให้มอเตอร์ขวาทางาน
กลับกัน ถ้าโฟโต้ไดโอดข้างขวาได้รับแสงมากกว่า จะทาให้มอเตอร์ซา้ ยทางาน
วัสดุและอุปกรณ์

1. ตัวเก็บประจุ 0.22 µF 2 ตัว


2. ไอซี 74HC240 หรือ 74AC240 1 ตัว
3. บอร์ดทดลอง 1 อัน
4. มอเตอร์และล้อ 2 ชุด
5. รางถ่าน 1 อัน
6. ล้อพยุง 1 อัน
7. แบตเตอรี่ AAA 4 ก้อน
8. สวิตซ์ 1 ตัว
9. ฟิวเจอร์บอร์ด 1 แผ่น
10. เทปกาว 2 หน้า
11. สายไฟขนาดเล็ก

ภาพหุ่นยนต์เมื่อเสร็จสมบูรณ์

ขั้นตอนการประดิษฐ์

1. ติดเทปกาว 2 หน้า ทีม่ อเตอร์ทั้ง 2 อัน, รางถ่านและล้อพยุง ดังภาพ


2. ติดมอเตอร์ รางถ่าน ล้อพยุง ลงบนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด

3. นา โฟโต้ไดโอด และไอซี มาเสียบไว้บนโปรโตบอดดังภาพ

ขาสัน้
ขายาว

4. นา ตัวเก็บประจุ มาเสียบระหว่างรูที่ 2,3 หนึ่งตัว และ 17,18 หนึ่งตัว

5. นาสายไฟมาเสียบรูที่ 3,4,6,8 ให้เชื่อมต่อกัน ดังสายไฟเส้นสีเหลือง


6. ต่อสายไฟให้เชื่อมต่อกัน ระหว่างรูที่ 5,7,9 ดังสายไปเส้นสี ส้ม

7. ต่อสายไฟให้เชื่อมต่อกัน ระหว่างรูที่ 11,13,15,18 ดังสายไฟเส้นสี ส้ม

8. ต่อสายไฟให้เชื่อมต่อกัน ระหว่างรูที่ 12,14,16 ดังสายไฟเส้นสี เหลือง


9. เชื่อมสายระหว่างรู 1 และ 19 เข้าหากัน จากนั้น เชื่อมสายระหว่างรู 1 และ 10 ดังเส้นสีดา

10. เชื่อมสายไฟ จากรูที่ 2 ขึน้ ไปต่อกับ ขาสัน้ ของโฟโต้ไดโอด และจากรูที่ 17 ขึน้ ไปต่อกับ ขา
ยาวของโฟโต้ทรานซิสเตอร์

11. จากนั้น นาสายมอเตอร์ ฝั่งซ้ายมาเสียบรูที่ 9 และ 10


นาสายมอเตอร์ ฝั่งขวามาเสียบรูที่ 12 และ 10
นาสายถ่านขั่ว – เสียบเข้ากับรูที่ 10 และสายถ่านขั่ว + เสียบเข้ารูที่ 20
ใบงาน เรื่องอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
คาชี้แจง ให้นักเรียก กากบาท คาตอบที่ถูกต้อง
1. แถบตัวต้านทานที่กาหนดให้มคี ่าความต้านทานเท่าไร
น้าตาล ดา แดง ทอง
ก. 10 ± 10% โอห์ม ข. 480 ± 5% โอห์ม
ค. 720 ± 10% โอห์ม ง. 1,000 ± 5% โอห์ม
2. ข้อใดคือความสัมพันธ์ของความต้านทานกับการไหลของกระแสไฟฟ้า
ก. ไม่มีความสัมพันธ์กัน
ข. ความต้านทานน้อย กระแสไฟฟ้าน้อย
ค. ความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าไหลมาก
ง. ความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าไหลน้อย
3. ข้อใด ไม่ใช่สมบัตขิ องตัวเก็บประจุแบบปรับค่าไม่ได้
ก. มีค่าความจุคงที่
ข. ตัวเก็บประจุทุกชนิดมีขวั้
ค. ทาหน้าที่สะสมหรือคายประจุไฟฟ้า
ง. ปรับแต่งสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

4. ตัวเก็บประจุใด เป็นแบบชนิดมีขวั้

ก. ข. ค. ง.

5. ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลติก จะมีสัญลักษณ์ในวงจรอย่างไร

ก. ข. ค. ง.
6. ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับขาของไดโอด
ก. แอโนดต่อกับถ่านไฟฉายขั้วบวก ส่วนแคโทดต่อกับถ่านไฟฉายขั้วลบ (ต่อแบบไบอัส
ตรง)
ข. ถ้าต่อขั้วใดขั้วหนึ่งผิด ไดโอดจะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน (ต่อแบบไบอัสกลับ)
ค. แอโนดใช้ตัวอักษรย่อ คือ A ส่วนแคโทดใช้ตัวอักษรย่อ คือ K
ง. ขาของขั้วแคโทดใน LED ยาวกว่าขาของขั้วแอโนด

7. ทรานซิสเตอร์มกี ี่ชนิด
ก. 1 ชนิด ข. 2 ชนิด ค. 3 ชนิด ง. 4 ชนิด

8. ทรานซิสเตอร์ ทาหน้าที่อะไรในวงจรไฟฟ้า
ก. เป็นอุปกรณ์ที่ลดปริมาณกระแสไฟฟ้าให้กับวงจรไฟฟ้า
ข. เป็นอุปกรณ์ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียว
ค. เป็นอุปกรณ์ที่สามารถปรับค่าความต้านทานได้ตามต้องการ
ง. เป็นอุปกรณ์ทาหน้าที่ควบคุมการทางานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ และขยาย
สัญญาณไฟฟ้า

9. วงจรรวม โดยทั่วไปมักเรียกว่าอะไร
ก. ไอซี
ข. ไดโอด
ค. ตัวเก็บประจุ
ง. ทรานซิสเตอร์
10. จากรูปข้อใดคือขา 1 ของไอซีออปแอมป์

ก. ขา A ข. ขา B
ค. ขา C ง. ขา D

You might also like