You are on page 1of 57

หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.

สราวุธ สุดประเสริฐ

1|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

บทที่ 1 PON FTTX คืออะไร ?


คาว่า PON ย่อมาจาก PASIVE OPTICAL NETWORK หมายถึง โครงข่ายสายใย
แก้วนาแสง ที่ไร้พลังงานไฟฟ้า เนื่องด้วยการแยกสัญญาณแสงที่กลางทางไม่ว่าจะ
มีกี่ชั้นก็ตาม จะไม่มีการใช้ไฟฟ้าแต่อย่างใด โดยเราจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า splitter
fiber optic ดังรูป

รูปตัวอย่าง splitter fiber optic

ซึ่งปัจจุบันทุกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเลือกใช้ระบบ pon fttx เป็นระบบบริการ


กันทั้งสิ้น จึงเป็นที่พิสูจน์ได้ว่าหากระบบไม่ดีจริง ทุกผู้ให้บริการเค้าก็คงไม่เลือก
นามาใช้งาน ในส่วนของช่างติดตั้งเราสามารถเอา โครงข่าย pon fttx มาใช้ในการ
สื่อสารในการบริการได้ทุกรูปแบบ ขอแค่ให้รู้จริงในการสร้างโครงข่ายเท่านั้น ซึ่ง
ก็จะอยู่ในเนื้อหาดังต่อไปนี้ครับ

2|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

โครงข่าย pon fttx นั้นเป็นการใช้สาย fiber optic 100% ดังนั้น สายใยแก้วนา


แสงที่นามาใช้ในโครงข่ายจึงจาเป็นที่ต้องเลือกในมีคุณภาพการใช้งานที่ดี โดย
โครงข่ายที่ดีต้องมี 3 ประการดังนี้

A: ต้องส่งข้อมูลได้เร็ว > คุณสมบัติของสายใยแก้วนาแสงนั้น สาย


นาสัญญาณที่ส่งข้อมูลได้มากที่สุดในครั้งเดียว นั่นคือทาให้ข้อมูลถึงปลายทางได้
เร็วที่สุดเช่นกัน โดยทั่วไปเรามักจะเลือกใช้งานดังนี้ สายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติก
ประเภท ร้อยท่อและฝังดินได้ (Duct & Direct Buried) ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.2165-
2548 และชนิดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

INDOOR/OUTDOOR Fiber optic cable(Single-Tube)


ลักษณะการติดตัง้

สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้สามารถใช้งานติดตั้งได้ทั้งแบบภายใน และภายนอก


อาคาร เพราะเป็นสายเคเบิลที่ไม่มีโลหะอยู่ภายใน จึงทาให้สามารถบิด โค้ง งอ ได้
มากกว่า สายประเภทอื่น จึงเหมาะกับการติดตั้งแบบ ร้อยท่อ ภายในอาคาร

ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล

เคเบิลชนิดนี้มีเปลือกหนึ่งชั้น ที่ผลิตจากวัสดุ ชนิด PE, HDPE หรือ LSZH วัสดุ


เปลือกด้านนอกสามารถสั่งผลิตได้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน เคเบิลชนิดนี้
สามารถบรรจุแท่งแก้วได้สูงสุดที่ 12 แกน(Core)

3|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

สายเคเบิลมีความแตกต่างกันอยู่อีกหนึ่งอย่างคือ ตัว Strength member วัสดุที่


รองรับแรงดึง โดยจะนิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ

1.Aramid yarn(เส้นใยสีเหลือง) จะมีความเหนียวพิเศษซึ่งสามารถรองรับแรงดึงได้สูง


ราคาก็สูงตาม

2.E-Glass Yarn (เส้นใยสีขาว) จะมีความเหนียว สามารถรองรับแรงดึงได้ปานกลาง


ราคาก็ปานกลาง

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานหรือประเภทงานที่จาเป็นต้องใช้งานให้ตรงตามมาตรฐานสากล
ของแต่ละโครงการหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไปในการเลือกใช้วัสดุในการผลิต
โครงสร้างของสายเคเบิลชนิดนั้นๆ

OUTDOOR Armoured Fiber optic cable (Single-Tube)


ลักษณะการติดตัง้

สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้สามารถติดตั้งและใช้งานภายนอกอาคารโดยเฉพาะ
และมีเกราะป้องกันโลหะ(Armoured) สายประเภทนี้นิยมติดตั้ง ประเภทแขวนเสา หรือ
วางเปลือยบนหลังคา หรือใต้ฝ้า หรือรางวายเวย์ แลดเดอร์ ตามโรงงานทั่วไป เพราะ
สามารถป้องกันสัตว์กัดแทะสาย ทั้งหนูและกระรอกได้ แต่ก็สามารถติดตั้งแบบร้อยท่อ
HDPE(สีดา) ฝังดินได้ เพราะสามารถรองรับแรงกดทับได้ดีกว่าปกติ

ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล

เป็นสายเคเบิลที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ขนาดไม่เกิน 10 มม. เปลือกนอกผลิตจาก


วัสดุที่เป็น PE, HDPE หรือ LSZH ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนด้านในจะมี E-Glass
Yarn เส้นใยสีขาวสาหรับรองรับแรงดึง และจะมีเกราะป้องกันโลหะ(Armoured) ที่
สามารถป้องกันสัตว์กัดแทะสายได้ สายเคเบิลชนิดนี้สามารถบรรจุแท่งแก้วได้สูงสุดที่ 12
แกน(Core) เพราะมีท่อ(Tube) เพียงหนึ่งท่ออยู่ตรงกลางสาย

4|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

OUTDOOR Armoured 2 Steel Wire Fiber optic cable


ลักษณะการติดตัง้

สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้สามารถติดตั้งภายนอกอาคารโดยเฉพาะและมีเกราะ
ป้องกันโลหะ(Armoured) จึงเหมาะกับการติดตั้งแบบ แขวนอากาศ เพราะจะมีเส้นลวด 2
เส้น ขนานไปกับตัวสาย เพื่อรองรับแรงดึงได้สูงสุดขณะติดตั้ง หรือติดตั้งแบบเปลือย บน
ฝ้าเพดาน หรือรางวายเวย์, แลดเดอร์อาคารโรงงาน เพื่อป้องกันสัตว์กัดแทะสายได้ดี
หรือร้อยท่อฝังดินก็ย่อมได้

ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล

สาหรับโครงสร้างของสายชนิดนี้จะเด่นเรื่องของ จานวน เส้นลวด 2 เส้นที่ขนาน


ไปกับตัวสาย ส่วนเปลือกนอก สามารถผลิตได้ทั้ง PE, HDPE และ LSZH ตามลักษณะ
งานที่ต้องการติดตั้งหรือใช้งาน ส่วนด้านในจะมีเกราะป้องกันโลหะผลิตจากเหล็ก สาย
เคเบิลชนิดนี้สามารถบรรจุแท่งแก้วได้สูงสุดที่ 12 แกน(Core) เพราะมีท่อ(Tube) เพียง
หนึ่งท่ออยู่ตรงกลางสาย

5|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

Duct Armoured Fiber optic cable


ลักษณะการติดตัง้

การติดตั้งสายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้สามารถติดตั้งแบบ ร้อยท่อ หรือ ฝังดินได้


แบบใช้ท่อ HDPE สีดา หรือ แขวนอากาศ ตามเสาฟ้า หรือผนังอาคารทั่วไปได้ หรือ
ติดตั้งแบบเปลือย ไม่ต้องร้อยท่อ ตามรางเก็บสายแลดเดอร์ โรงงานทั่วไปได้ ซึ่งแล้วแต่
ลักษณะการติดตั้งจริง แต่คุณสมบัติเด่นของ โครงสร้างสายประเภทนี้คือ จะสามารถสั่ง
ผลิตสายได้จานวนมากตั้งแต่ 24 จน ถึง 120 แกน (Core)

ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล

ตามลักษณะโครงสร้างของเคเบิลชนิดนี้ จุดเด่นก็คือ สามารถบรรจุสายแท่งแก้วได้


มากกว่า 12 แกน(Core) จนถึง 120 แกน(Core) หรือมากกว่านั้น ซึ่งโดยรวมจะถูก
ออกแบบมาให้มี เกราะป้องกันโลหะ ที่ทนต่อแรงกดทับได้ดี ในขณะติดตั้งแบบ ร้อยท่อ
หรือฝังดิน ส่วนในเรื่องของ เปลือกของสายจะผลิตจากวัสดุที่เป็น PE, HDPE หรือ
LSZH(Low smoke Zero Halogen) ซึ่งก็แล้วแต่ลักษณะการติดตั้งจริง หรือการกาหนด
คุณสมบัติเบื้องต้นในแต่ละโครงการนั้นๆไป

Direct Buried Fiber optic cable


ลักษณะการติดตัง้

การติดตั้งสายเคเบิลชนิดนี้คือการ ฝังดินแบบเปลือยไม่ร้อยท่อ ถูกออกแบบมา


โดยเฉพาะ ทั้งแบบ ร้อยท่อ หรือแบบ เปลือยโดยไม่ต้องร้อยท่อ เพราะในการออกแบบ
ของโครงสร้างสาย โดยมีเปลือกสายสองชั้น พร้อมเกราะป้องกัน ได้อย่างสมบูรณ์ในการ
ฝังดินของสายเคเบิล สายประเภทนี้เหมาะอย่างยิ่งในการติดตั้งในสถานที่โรงงาน
อุตสาหกรรมหรือหน่วยงานที่ต้องการขุดฝังสายลงไปในดิน โดยมีความลึกพอประมาณ ที่

6|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

จะไม่โดนรบกวนจากด้านบนผิวดิน โดยเฉลี่ยสายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติกจะมีอายุการใช้
งานอย่างน้อย 20-30 ปี

ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล

ลักษณะของโครงสร้างสายชนิดนี้จะมีเปลือก 2 ชั้น(Double Jacket)และเกราะ


ป้องกันโลหะ(armour)ที่แข็งแรง ที่สามารถทนแรงกดทับได้สูง ตัวสายเคเบิลจึงปลอดภัย
สูงสุดในการป้องกัน ส่วนวัสดุในการผลิตเปลือกด้านนอก นิยมใช้วัสดุทีเป็น HDPE
(High density Polyethylene) ที่ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี และภายในโครงสร้างสายด้าน
ในสุดจะมี สารป้องกันน้า และ ความชื้นอยู่ด้านในสาย จึงช่วยให้สายเคเบิล มีอายุการใช้
งานที่นานถึง 30 ปี

จานวนการบรรจุสายเคเบิล ชนิดนี้ จะได้ตั้งแต่ 24-144 แกน (Core) ซึ่งคุ้มค่าใน


การติดตั้งต่อหนึ่งครั้งในจานวนที่มาก และเพียงพอต่อการใช้งานในระยะยาว

SWA-Steel Wire Armoured Fiber optic cable


ลักษณะการติดตัง้

สายเคเบิลชนิดนี้เป็นชนิดที่สามารถติดตั้ง ฝังดิน ได้แบบเปลือย 100% ที่สมบูรณ์


ที่สุด เพราะตามโครงสร้างของสายชนิดนี้ ถูกออกแบบมาแบบพิเศษ ที่มีเปลือกสองชั้น
(Double jacket) พร้อมเส้นลวดถัก ล้อมรอบสาย(SWA: Steel Wire Armoured) จึงทา
ให้การติดตั้งแบบฝังดินเปลือยโดยไม่ร้อยท่อ จึงปลอดภัยสูงสุด สายชนิดนี้ได้รับการ
ยอมรับอย่างกว้างขวางตามมาตรฐานสากลในวงการก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรมหนัก
หรือโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วไป ที่ได้มาตรฐานสากล ในการออกแบบและเลือกใช้งานสาย
ชนิดนี้

7|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล

คุณสมบัติเด่นของสายชนิดนี้น่าจะเป็นการออกแบบที่โดดเด่น เรื่องของ การนา


เส้นลวด Galvanized Steel มาถัก ล้อมรอบสาย เพื่อรองรับแรงดึงและแรงกดทับ และ
ป้องกันการกระแทก สับ เจาะ ได้ดีเยี่ยม ซึ่งแรงดึงสูงสุดของสายชนิดนี้จะอยู่ที่ 10,000
นิวตัน ซึงสูงมากในการออกแบบ ส่วนเรื่องวัสดุทน
ี่ ามาผลิตเปลือกด้านนอกก็จะเป็น
HDPE ซึ่งทนต่อการกัดกร่อนได้ดี เช่นกัน

Tight Buffer building Indoor/Outdoor Fiber optic cable


ลักษณะการติดตัง้

สายประเภทนี้จะติดตั้งในอาคารสูง หรืออาคารทั่วไป ที่ต้องการมาตรฐานและ


คุณภาพที่ดี เพราะด้วยคุณสมบัติเด่นของสายชนิดนี้ด้านในท่อแกนจะไม่มีเจล กันความ
ร้อน ที่เป็นของเหลวด้านใน เพราะถ้ามีของเหลวด้านในเช่น เจล กันความร้อนทั่วไปจะ
ไหลจากที่สูงลงมาสู่ที่ต่า ทาให้อุปกรณ์ด้านล่างในกล่องพักสาย อาจจะสกปรก หรือไปทา
ให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์ตัวอื่นๆได้ ทั้งนี้ในบ้านเราไม่ค่อยได้นิยมใช้งานมากนัก
เนื่องจากราคาแพง แต่ด้วยมาตรฐานการติดตั้งที่ถูกต้องสาหรับงานอาคารสูง ที่ถูก
ออกแบบมาโดยวิศวกรต่างประเทศจะระบุรุ่นหรือข้อกาหนดมาโดยตรง หรือไม่ก็เลือก
สายแบบภายในโดนเฉพาะ Indoor type PVC หรือ LSZH เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการ
ออกแบบระบบ

ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล

คุณสมบัติของโครงสร้างสายชนิดนี้จะเป็นแบบ Tight Buffer แกนต่อแกน คือจะมี


Aramid yarn (เส้นใยสีเหลือง) ในทุกๆเส้น เพื่อง่ายต่อการใช้งานและรองรับแรงดึงขณะ
ติดตั้งได้ดี และภายในตัวสายเคเบิลจะมี Central Strength member แกนกลางที่รองรับ
แรงดึงที่ผลิตจาก FRP ที่ไม่ใช่โลหะ แต่มีความแข็งแรงเทียบเท่า ส่วนเปลือกด้านนอกสุด
จะสามารถเลือกวัสดุที่เป็นชนิด PE, HDPE หรือ LSZH ได้

8|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

 สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดที่ใช้ในงานติดตั้งประเภท แขวนอากาศ


Fiber optic cable for Aerial type

มีหลายครั้งทีผ
่ ู้ออกแบบระบบ หรือทีมงานวิศวกรที่ต้องการเลือกใช้งานสายเคเบิ้ลประเภทสายไฟ
เบอร์ออฟติกในหลายๆ Application รวมกัน หรือ พื้นที่การใช้งานที่แตกต่างกัน แต่อยู่ในบริเวณ
เดียวกัน หรืองานโครงการเดียวกัน ที่ต้องการใช้สายประเภท แขวนอากาศ จานวนมาก แล้วจะมีวิธีการ
เลือกสายประเภทนี้อย่างไร

ในบทความนี้ จะขอพูดถึงเฉพาะสายประเภท แขวนอากาศเท่านั้น (Aerial cable) และเป็นสายที่


ได้รับมาตรฐาน มอก.2166-2548

FTTH Flat cable สายชนิดนี้จะเป็นสายชนิด แบน และมีเส้นลวด สาหรับแขวน มีจานวน 1-2


Core และมีขนาดเล็ก โดยชนิดของแท่งแก้ว(Optical Fiber cable)จะเป็นชนิด Single-mode
G.657A1 หรือ G657A2 ซึ่งเป็นชนิดที่สามารถบิดงอ หรือ โค้งได้เล็กสุดที่ 7.5 มิลลิเมตร ลักษณะการ
ติดตั้ง ภายในและภายนอก

9|Page
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

FTTH Round Cable สายชนิดนี้จะเป็นสายชนิด กลม และมีเส้นลวดตีเกลียว สาหรับแขวน มี


จานวน 1-2 Core และมีขนาดเล็ก โดยชนิดของแท่งแก้ว (Optical Fiber cable) จะเป็นชนิด Single-
mode G.657A1 และ G.657A2 ซึ่งเป็นชนิดที่สามารถบิดงอ หรือ โค้งได้เล็กสุดที่ 7.5 มิลลิเมตร
ลักษณะการติดตั้ง ภายในและภายนอก โดยข้อดีของสายชนิดนี้จะไม่ บิดเกลียว เมื่อทาการติดตั้ง ขณะ
แขวนอากาศ

Drop Wire cable สายชนิดนี้จะเป็นสายที่มีขนาดใหญ่กว่า ทั้งสองแบบข้างต้น และจะแข็งแรง


กว่า โดยมีขนาดเท่ากับสาย ดร็อปวาย โทรศัพท์ โดยข้อดีของสายประเภทนี้ จะติดตั้งง่าย แขวนเสา
ไฟฟ้า ผนังอาคาร โดยการใช้ ตุ๊กตาแคล้ม หรือ Drop wire Clamp ของสายโทรศัพท์ในการติดตั้ง ง่าย
และเร็ว โดยสายชนิดนี้จะมีจานวน ตั้งแต่ 4-12 Core เพียงพอต่อการใช้งานในระบบเล็กๆ เช่น CCTV,
IP camera, Ethernet LAN เป็นต้น สายชนิดนี้จะมีผลิตออกมาทั้งแบบ Single-mode และ Multi-
mode ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อระบบได้หลากหลายกว่า

10 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

Drop wire cable armoured สายชนิดนี้เป็นสายที่เหมือนกับ Drop wire ข้อข้างต้น แต่จะ


แตกต่างกัน ตรงที่มี เกราะป้องกันโลหะ (Armoured) เพื่อป้องกันสัตว์กันแทะสาย และเส้นลวดแกนเดี่ยว
ขนาด 1.6มม จานวน 1 เส้น เช่น กระรอก หรือหนูเป็นอย่างดี สายประเภทนี้จะติดตั้งง่าย และรองรับการ
ใช้งานได้หลากหลายเช่นกัน สายชนิดนี้สามารถรองรับจานวนได้ 4-12 Core เช่นกัน

Small Fig.8 armoured สายชนิดนี้จะเป็นสาย ที่มีการตีเกลียวของเส้นลวด(1x7) สาหรับจับยึด


แขวนอากาศ ที่หนาและแน่น ดึงได้ตึง ไม่ตกท้องช้าง หรือ Span length ได้ระยะไกล ข้อดีอีกอย่างของ
สายชนิดนี้คอ
ื จะมีเกราะป้องกันโลหะ เพื่อป้องกันสัตว์กัดแทะสาย เช่นกัน สายชนิดนี้สามารถรองรับ
จานวนได้ 4-12 Core เช่นกัน

11 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

Figure 8 cable non-armoured คือสายที่มองเป็นภาพเหมือนเลข 8 เมื่อมองในมุมหน้าตัดของ


สาย มีสลิงตีเกลียว (1.32มม.x7) ซึ่งมีความแข็งแรงในการจับและดึง เป็นสายที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้มี
จานวนของแท่งแก้ว ได้สูงขึ้น 4-120 Core ทั้งชนิด Single-mode และ Multi-mode และจะมีเส้นลวดตี
เกลียวกันที่มีจานวนที่มากและเส้นใหญ่กว่าสายประเภท แขวนอากาศ ทั่วไป

Figure 8 cable Armoured เป็นสายที่คล้ายกับตัวด้านบน แต่จะแตกต่างกัน ตรงที่มีเกราะ


ป้องกันโลหะ หรือ Armoured และมีสลิงตีเกลียว (1.32มม.x7) ซึ่งมีความแข็งแรงในการจับและดึง ใน
การป้องกันสัตว์กันแทะสาย และสามารถรองรับสายได้ทั้งแต่ 4-120 Core จึงเหมาะกับสายที่เป็น สาย
หลักหรือสาย Main Trunk ที่รองรับการส่งข้อมูลเป็นจานวนมากๆ โดยไม่จาเป็นต้องเดินสายเพิ่มให้มาก

12 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

Figure 8 cable armoured double jacket เป็นสายแบบแขวนอากาศ ที่ทน และ แข็งแรง


ที่สุด เพราะออกแบบเปลือกสายถึง สองชั้น แถมมีเกราะป้องกันโลหะ(armoured) อีกหนึ่งชั้น สาย
ประเภทนี้ และมีสลิงตีเกลียว (1.32มม.x7) ซึ่งมีความแข็งแรงในการจับและดึง เมื่อ10ปี ก่อนได้รับความ
นิยมมาก เพราะเป็นสายที่แข็งแรง อายุการใช้งานนาน แต่ปัจจุบันลด บทบาทลงมากเพราะไม่เหมาะกับ
การไฟฟ้า ซึ่งถ้าเสาไฟฟ้าล้มเพียง 1 ต้น จะทาให้เสา ที่เหลือล้มตามไปด้วย เพราะเป็นสายที่แข็งแรง
ด้วยโครงสร้าง พิเศษ ปัจจุบัน ยังคงมีใช้ใน บางหน่วยงานเท่านั้น หรือในพื้นที่ส่วนบุคคล

B: ต้องแข็งแรง > หมายถึงการจับเกี่ยวเกาะยึด และการเชื่อมต่อสาย


ต้องแข็งแรง มีคุณภาพเพื่อให้ข้อมูลบริการที่วิ่งในสายไปด้วยความเร็วคงที่ ไม่เกิด
การสะดุด หรือเกิดคอขวดของสัญญาณ โดยอุปกรณ์ที่เราใช้ในการเกาะยึดสายใย
แก้วแบบมีสลิงคือตัว ตุ๊กตาดร๊อปวาย ดังรูป

13 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

รูปตัวอย่างการเกี่ยวสลิงกับตุ๊กตาดร๊อปวาย

14 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ดู clip vdo วิธีการติดตั้งสายในแก้วนาแสง เข้ากับตัวตุ๊กตาดร๊อปวายได้ที่นี่

https://www.youtube.com/watch?v=nJJ0a2YmqGA

15 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

แต่หากว่าต้องเกาะสายใยแก้วนาแสง แบบที่ไม่มีสลิงเราต้องใช้ตัว

“พรีฟรอมร์” โดยแบ่งเป็นเบอร์ต่างๆ ดังรูป

การรัดพรีฟรอม์กับสายใยแก้วนาแสง

แนะนาให้ท่านใช้อุปกรณ์ในการจับ เกี่ยว เกาะ ยึดสาย ที่เป็นมาตรฐานใน


การติดตั้งเท่านั้น เพื่อคุณภาพในการติดตั้งของท่านเอง จะดีที่สุด

ตัวอย่างการลากสายใยแก้วฯ ภายในหมู่บ้าน

16 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ดู clip vdo การใช้พรีฟรอม์กับสายไฟ เพื่อเป็นตัวอย่างใช้งานกับสายในแก้วนาแสง

https://www.youtube.com/watch?v=uopxlYAh5C0

17 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ความแข็งแรงอีกอย่างคือ การเชื่อมต่อสายใยแก้วนาแสง ซึ่งปัจจุบันเราทา


ได้ 2 วิธีคือ

 การเชื่อมต่อด้วย FAST CONNECTER

คือการใช้หัวเข้าสายสาเร็จรูปแบบต่างๆ ซึ่งผมไม่แนะนาเพราะค่า loss ที่ได้


จากการใช้หัวต่อแบบนี้ค่อนข้างสูงกว่าปรกติ และอายุการใช้งานสัน
้ ต้องเปลี่ยน
ใหม่เรื่อยๆ สรุปคือจะสร้างปัญหา มากกว่าสร้างคุณภาพในการบริการ

https://www.youtube.com/watch?v=oZ3lJUu4YTE

18 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

 การเชื่อต่อด้วยเครื่อง FUSION SPLICER

การเชื่อมต่อสายใยแก้วนาแสงที่ดีที่สุด คือการหลอมแก้วเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
เพราะทาให้ค่า loss นั้นน้อยมาก หรือไม่มีเลย แต่ราคาเครื่อง fusion นั้นอาจยังสูง
สาหรับบางท่าน แต่ถ้ามองในแง่ของการลงทุนนั้นควรมีเป็นอย่างยิ่ง

รูประหว่างการหลอดแท่งแก้ว

19 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

หลังจากเชื่อมสายเรียบร้อย ก็ทาการอบด้วยหลอดอบ เพื่อเสริมความแข็งแรงใน


การเชื่อมต่อให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น

ดูวธ
ิ ีการเชื่อมสายในแก้วนาแสงด้วยเครื่องฟิวส์ชั่นได้ที่นี่

20 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

C: ต้องราคาไม่แพง > โครงข่ายที่ดีไม่จาเป็นต้องราคาแพงนะครับ ในที่นี้คือ


หากเรามีอุปกรณ์ในโครงข่ายน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งทาให้ราคางานถูกลงเท่านั้น โดย
โครงข่าย pon fttx ใช้เพียงสายใยแก้ว กับ splitter เท่านั้น ในส่วนของสายก็เลือกที่
เหมาะสมกับสภาพงานติดตั้งเป็นหลัก เพราะในโครงข่าย pon fttx นั้นต้องการสาย
เพียง 1 ค. เท่านั้นในการสื่อสาร ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาสายถูกมาก ไม่ถึง 5 บาทต่อ 1
เมตร

ตัวอย่างที่มีขายบน online ทั่วไป ราคาตกเมตรล่ะ 2 บาท เท่านั้น

ราคาตัวแยกสัญญาณ fiber optic แบบ 1:8 ซื้อได้ทั่วไปราคาเท่านี้

ดังนั้นโครงข่าย pon fttx จึงเป็นโครงข่ายที่ลงทุนถูกมากๆ เมื่อเทียบกับ


โครงข่ายแบบอื่นๆ จึงเหมาะกับงานติดตั้งบริการที่มีพื้นที่บริการกว้างมากๆ หรือมี
จานวนจุดบริการมากๆ เลือกโครงข่าย pon fttx โอกาศชนะคู่แข่งในการเสนอราคา
สูงแน่นอน

21 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

บทที่ 2 PON FTTX ต้องมีอะไรบ้าง ?


ใน solution ของระบบ pon fttx นั้นนอกจากโครงข่ายที่ราคาถูกแล้ว
จาเป็นต้องมีอุปกรณ์ต้นทางที่ต้องรวม และส่งค่าความยาวคลื่นแสงตามต้องการเข้า
ไปในสายใยแก้ว ซึ่งเราเรียกว่า OLT และต้องมีอุปกรณ์ปลายทางที่เรียกว่า
ONU/ONT ด้วยนะครับ เพื่อความสมบูรณ์ของระบบบริการ

2.1 OLT (Optical Line Terminal) คืออะไร ?


ในระบบ FTTx นั้นส่วนที่สาคัญที่สุดคือตัว OLT เนื่องด้วยเราต้องการให้การ
แยกสัญญาณสางที่กลางทางนั้น ใช้เพียงอุปกรณ์ ไม่ตอ
้ งการให้ใช้ไฟฟ้า จึง
จาเป็นต้องมีเทคโนโลยี่ในการรวมคลืน
่ แสง เพือ
่ ส่งไปยังตัวแยกสัญญาณ fiber
optic ทาให้ต้นทุนในการทางานต่า แต่ความปลอดภัยในการใช้งานสูง ไม่
ก่อให้เกิดความเสียหายในเรือ
่ งของไฟฟ้าตามมา เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ ที่ยัง
ต้องใช้ SWITCH ในการแยกสัญญาณข้อมูล

ปัจจุบันมีผู้ผลิต OLT ออกมามากมาย หลายยีห


่ ้อ แต่ที่เรารู้จักกันมากที่สุด
น่าจะเป็นของ HUAWAI เพราะตัว ONU ปลายทางที่ผู้ให้บริการนามาให้เรานัน

ต้องเข้ากันได้กับต้นทาง คือต้นทางยีห
่ ้อไหน ปลายทางก็ต้องยี่ห้อนั้น

การส่งค่าความยาวคลื่นแสงของตัว OLT นัน


้ ผูผ
้ ลิตได้แบ่งย่านการใช้
งานไว้เป็น 3 หมวดใช้งานต่างๆ ดังนี้

1. ค่าความยาวคลื่นที่ใช้ในการ UPLINK คือ 1,310 nm


2. ค่าความยาวคลื่นที่ใช้ในการ DOWNLINK คือ 1,490 nm
3. ค่าความยาวคลื่นที่ใช้ในการส่งภาพ VDO คือ 1,550 nm

โดยแสงที่ส่งด้วยค่าความยาวคลื่นทั้งหมดนีเ้ ราไม่สามารถมองเห็นได้
ด้วยตาเปล่า เพราะเป็นคลื่นสูง ดังนั้นในการทดสอบสาย FIBER OPTIC เราจึงต้อง
เพิ่มสีแดงเข้าไปที่เครื่องมือวัดด้วยจึงจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าครับ

22 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

OLT มีกแ
ี่ บบ?
เนื่องด้วยปัจจุบันที่ความต้องการในการบริการข้อมูลมากขึ้น หรือต้องการความเร็ว
อินเตอร์เน็ตมากขึ้น และการบริการทางด้าน NETWORK มีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีตัว OLT
ที่มาพร้อมความหลายหลายในการบริการให้เลือกตามความเหมาะสมของงาน โดยมี
รูปแบบการนาไปใช้งานดังนี้

ตัวอย่างการนา OLT ไปใช้งาน จะเห็นว่า โครงข่าย PON FTTX จะมีเพียง splitter


กับสายใยแก้วนาแสงเท่านั้น และเมื่อ network ผ่านตัว ONUไปแล้วก็ยังสามารถนา
switch ไม่ว่าจะเป็นแบบใด มาต่อร่วมในการบริการเพื่อกระจายออกไปยังสาย LAN ได้อีก
ตามต้องการ โดยการเลือกซื้อ OLT นั้นควรที่จะมี EPON SFP MODUL มาพร้อมกับเครื่อง
ด้วยทุกครั้ง เพราะ SFP บางรุ่นไม่สามารถใช้งานกับ EPON OLT ได้ทุกรุ่นนะครับ

 EPON OLT หากว่าคุณต้องการบริการอินเตอร์เน็ตที่มีจานวนผู้ใช้งานไม่มาก หรือ


ต้องการบริการงานติดตั้งกล้องวงจรปิด หรืออื่นๆ ด้วยโครงข่าย PON FTTX ผม
แนะนาเป็น EPON OLT เพราะราคาไม่แพง เปิดทิ้งไว้ 24 ชม. สบายๆ แต่ได้
คุณภาพสูงในการบริการ โดย INPUT เราเลือกได้ว่าจะใช้เป็น LAN หรือ FIBER
OPTIC

23 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ข้อมูลทั่วไปของ EPON OLT มีดังนี้


A: ความเร็วในการ upstream / downstream = 1.25 Gbps
B: 1 PON รองรับ ONU ได้ = 64 เครื่อง
C: 1 PON รอบรับการติดตั้ง SPLITTER ได้ 24 ช่อง (1:24)
D: PORT ควบคุม OLT จะแยกส่วนออกจาก PORT ใช้งาน
E: ทางานได้ 24 ชม. ด้วยพัดลมระบายอาคารในเครื่อง
F: รองรับ EPON SFP MODUL เฉพาะที่แจ้งไว้ในคู่มือเท่านั้น
G: เป็นอุปกรณ์ในระดับ L2 (แจก IP ไม่ได้) จาเป็นต้องมี gateway router

EPON OLT > มีให้เลือกแบบ 2 pon และแบบ 4 pon

ตัวอย่าง EPON OLT แบบเข้า 2 lan uplink ออก 2 PON fiber

ตัวอย่าง EPON OLT แบบเข้า 2 fiber+2 lan ออก 4 PON fiber

24 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่าง EPON OLT แบบ เข้า 4 fiber+4 lan ออก 4 PON fiber

EPON OLT เน้นความง่ายในการใช้งาน การตั้งค่า config ง่าย ไม่ซับซ้อน


เหมาะกับผู้เริ่มต้น หรืองานรับ-ส่งข้อมูลขนาดกลาง ที่สาคัญราคาถูก ขายงานง่าย
ซึ่งจะแตกต่างกับ OLT แบบ GPON ที่ราคาแพงกว่ามาก แต่ก็มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า
ตามไปด้วย

 GPON OLT หากว่าคุณต้องการบริการอินเตอร์เน็ตที่มีจานวนผู้ใช้งานมากๆ ใน


ระดับหมู่บ้าน ตาบล หรือจังหวัด ก็ให้เลือดเป็น GPON OLT เริม
่ ต้นตั้งแต่ 8 PON ขึ้น
ไป ดังรูป

ข้อมูลทั่วไปของ GPON OLT มีดังนี้


A: ความเร็วในการ upstream / downstream = 2.488 Gbps
B: 1 PON รองรับ ONU ได้ = 128 เครื่อง
C: 1 PON รอบรับการติดตั้ง SPLITTER ได้ 64 ช่อง (1:64)
D: PORT ควบคุม OLT จะแยกส่วนออกจาก PORT ใช้งาน
E: ทางานได้ 24 ชม. ด้วยพัดลมระบายอาคารในเครื่อง
F: รองรับ GPON SFP MODUL เฉพาะที่แจ้งไว้ในคู่มือเท่านั้น
G: เป็นอุปกรณ์ในระดับ L2 - L3
25 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่าง GPON OLT 8 PON

ตัวอย่าง GPON OLT 96 PON

OLT แบบ GPON ที่เป็น STANDART CASE เราสามารถเพิ่มการ PON เข้าไปได้


ตามต้องการในภายหลังได้ นั่นคือเราซื้อ MAIN OLT เพียงชุดเดียว แต่ขยาย PORT
PON ภายหลังได้เรื่อยๆ ซึ่งจะต่างกับ OLT แบบ EPON ที่ต้องเลือกแบบใด แบบหนึ่ง
มาในครั้งแรก และขยายภายหลังไม่ได้

หากว่าท่านต้องการติดตั้งระบบบริการ IP CCTV ด้วยโครงข่าย PON FTTX ผม


แนะนาให้ไปที่ EPON OLT ดีกว่าครับ ทั้งคุ้มค่า เหมาะกับการบริการ และราคาย่อย
เยาว์กว่ากันเยอะ

26 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

OLT คืออะไร ดู clip vdo ได้ที่นี่ครับ


https://www.youtube.com/watch?v=Ie9SGqf1L8w&t=5s

27 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่างการนา OLT ไปติดตั้งในโครงขาย PON FTTX

ONU

การออกแบบ และเลือก SPLITTER มาใช้งาน จะอยู่บทต่อไป

28 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

การออกแบบ และเลือก SPLITTER มาใช้งาน จะอยู่บทต่อไป

29 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

บริการ WIFI HOTSPOT บริการ CCTV บริการ IP AUDIO บริการ IP PBX

30 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

2.2 ONU (Optical Network Unit) คืออะไร ?


ในงานบริการ PON FTTX นั้นเมื่อเรารวมค่าความยาวคลื่นแสงต่างๆ ส่งผ่านมาทาง
OLT แล้ว เข้าโครงข่ายซึ่งมี SPLITTER เป็นตัวคอยแยกแสง ออกไปตามจุดใช้งานต่างๆ
จึงจาเป็นต้องมีอุปกรณ์ตัวสุดท้ายที่ต้องเปลี่ยนพลังแสงไปเป็น พลังงานไฟฟ้า เพื่อส่ง
ข้อมูลไปบริการยังอุปกรณ์ปลายทางต่างๆ อุปกรณ์ตัวนี้ก็คือ ONU นั่นเอง โดย ONU ใน
ปัจจุบันเราแยกไปเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

2.2.1 ONU แบบ SINGELPORT > คือ ONU ที่มีเพียง 1 port lan ใช้งานแบบ gigabit
(1,000Mbps)ปัจจุบันหากซื้อเป็นใหม่ก็จะรองรับการใช้งานทั้งแบ EPON/GPON/XPON
เรียกได้ว่าครอบจักรวาลไปเลย ส่วนถ้าซื้อเป็นสินค้ามือสองก็ดูให้ดีก่อนว่ารองรับกับ
OLT ที่เราบริการอยูห
่ รือไม่ด้วยนะครับ ข้อดีคือเราสามรถนาตัว CPU ROUTER ที่เป็น
มาตรฐานล่าสุดมาต่อพ่วงใช้งานได้ตลอดเวลา ข้อเสียคือต้องมีอุปกรณ์ 2 ชิ้น ในบ้าน
ลูกค้าอาจดูไม่เรียบร้อย

คุณสมบัติตัวอุปกรณ์
A: รองรับ SC/UPC CONNECTER
B: GIGABIT LAN PORT RJ45
C: POWER SUPPLY 9-12Vdc /0.5A

31 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่างการใช้งาน

2.2.2 ONU แบบ ALL IN ONE > คือ ONU ที่มี PORT LAN ใช้งาน 4 PORT และมีการ
กระจายสัญญาณ WIFI ในตัวอุปกรณ์ ได้ทั้งแบบ 2.4 Ghz และ 5 Ghz รวมถึงมี PORT
TEL ให้อีก 1-2 ช่อง เรียกได้ว่าครบเครื่องเลยทีเดียว นับว่าเหมาะแก่การบริการเป็น
อย่างยิ่ง ขอเสียมีอย่างเดียวคือเราเลือกมาตรฐานของ WIFI ให้เป็น AC ให้เป็นตามที่
ต้องการของเราไม่ได้มากเท่าที่ควร เพราะส่วนใหญ่ทางโรงงานก็จะผลิตออกมาเป็น
แบบเดียวกันไปหมด ข้อดีคือมีอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวในบ้านลูกค้า ดูไม่เกะกะ

ตัวอย่าง ONU ALL IN ONE

32 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่างการใช้งาน

2.2.3 POE ONU > เนื่องด้วยในการบริการบนโครงข่าย PON FTTX นั้นไม่ได้


บริการเฉพาะความเร็วอินเตอร์เน็ตอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีงานบริการกล้องวงจรปิด
หรือบริการสัญญาณ WIFI ผ่านตัว AP โดยอุปกรณ์ปลายทางเหล่านี้รองรับการใช้งาน
แบบ POE ได้ จึงได้มี ONU ที่มี POE ในตัวออกมาวางจาหน่ายอย่างแพร่หลายดังรูป

33 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่างการติดตั้ง POE ONU


การใช้ POE ONU นั้นสะดวกสบายในการติดตั้งก็จริง แต่เนื่องด้วยปัจจุบันยังหา
ซื้อยาก และราคาแพง อีกทั้งหากหาซื้อมาได้ ใช้งานแล้วเกิดปัญหา ก็จะทาให้ต้อง
เสียเวลาในการซ่อมระบบ ดังนั้นในเวลานี้ผมก็ยังไม่แนะนาให้ใช้ เอาไว้ให้เราหาซื้อ
ของได้ง่ายๆ กว่านี้แล้วค่อยใช้งานนะครับ รับรองว่าเป็นประโยชน์แน่นอน

34 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

2.3 SPLITTER FIBER OPTIC > คืออุปกรณ์สาคัญที่ทาเป็นสัญลักษณ์ของโครงข่าย


ที่มาของคาว่าง PON คือ PASIVE หมายถึงการไม่มีแหล่งพลังงานไฟฟ้า มาหล่อเลี้ยง
อุปกรณ์ ทาให้โครงข่าย PON FTTX นั้นอยู่เหนือกว่าโครงข่ายแบบอื่นๆ นั่นคือตัว
SPLITTER FIBER หรือตัวแยกแสงให้เข้า และออกไปถึงปลายทางตามที่ต้องการ โดยตัว
SPLITTER FIBER มีให้เลือกตั้งแต่แบบ 2 ทาง เป็นต้นไปดังนี้

ตัวอย่าง SPLITTER FIBER แบบติดตั้งในตู้ ODF

ตัวอย่าง ตู้ ODF ที่ใช้ติดตั้ง SPLITTER

35 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่าง SPLITTER FIBER แบบติดตั้งในตู้ RACK


โครงสร้างภายในของตัว SPLITTER FIBER นั้นเป็นเพียงหัวต่อ INPUT ผ่านไปที่
แท่งแก้วปริซึ่มสะท้อนแสงออกไปยัง OUTPUT

ตัวอย่างโครงสร้าง SPLITTER FIBER

36 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

SPLITTER แต่ล่ะตัวจะมีค่า LOSS ออกไปใช้งานที่แตกต่างกันไปดังนี้

ตัวอย่างการนาไปใช้งาน SPLITTER แบบ 1:8 ไม่ว่าขาเข้าจะมีความแรงเท่าไหร่


ขาออกจะถูกสูญเสียไป 10dB เสมอ

37 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

บทที่ 3 การออกแบบโครงข่าย PON FTTX ต้องรู้อะไรบ้าง ?


การที่เราจะออกแบบโครงข่ายเพื่อบริการข้อมูลงานบริการต่างๆ นั้นสิ่งที่เราต้องรู้
ข้อมูลก่อนการออกแบบต้องมีดังนี้

ดู clip vdo แนะนาการติดตั้งก่อนได้ที่นี่ครับ

https://www.youtube.com/watch?v=v1jefhxuDAo

38 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

3.1 จุดวางเครื่อง OLT ในพื้นที่บริการ > เราจาเป็นต้องทราบที่ตั้งของตัว OLT


เพราะระบบสายสัญญาณทั้งหมดจะต้องออกจากจุดนี้เป็นหลัก เพื่อเลือกใช้
ขนาดสายใยแก้วนาแสงที่ไปทางเดียวกัน ให้รวมเป็นเส้นเดียว ไม่ต้องลาก
สายหลายเส้น

3.2 พื้นทีท
่ ั้งหมดในการการบริการ > หากเป็นงานติดตั้งกล้องวงจรปิดก็ต้องรู้
ขอบเขตของพื้นที่ติดตั้งทั้งหมด โดยอาจมาจาก Google Map ก็ได้ หรือ
แผนผังของสถานบริการ เพื่อใช้ประเมินระยะสายใยแก้วทั้งระบบ

3.3 จานวนจุดติดตั้งการบริการ > เราต้องได้รับการกาหนดจุดติดตั้งอุปกรณ์ใน


ชัดเจนจากลูกค้า หรือเจ้าของงานเพื่อการประเมินจุดติดตั้งตู้เก็บอุปกรณ์ และ
ตัวอุปกรณ์ทั้งหมดในงานว่าต้องใช้จานวนอย่างล่ะเท่าไหร่

39 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

3.4 ระบบไฟฟ้าในการบริการ > โครงข่าย PON FTTX นั้นไม่จาเป็นต้องใช้ไฟฟ้า


แต่อุปกรณ์แปลายทางอย่าง ONU หรือกล้อง CCTV จาเป็นต้องใช้ไฟฟ้า เพราะ
หากลูกค้าต้องการให้มีการสารองไฟฟ้าที่ตัวกล้องด้วย ก็อาจจะต้องลาก
สายไฟจากส่วนกลางไปเลี้ยงทั้งหมดทุกจุดติดตั้งก็เป็นได้

ข้อสาคัญในการออกแบบโครงข่าย คือเราต้องการค่า LOSS ที่ไปถึงตัว ONU เพื่อให้


ONU ทางานได้ดีจะอยู่ที่ประมาณ -19 dB ถึง -25 dB หากว่าค่า LOSS ต่าเกินไป หรือสูง
เกินไปกว่านี้ ONU จะไม่สามารถทางานได้ การบริการก็เกิดไม่ได้เช่นกัน โดยค่า LOSS ใน
โครงข่ายจะมีด้วยกันดังนี้

Starting power – connectors – fiber distance – splitter – splices = Rx Level

Starting power = ค่า loss ที่ออกจาก SFP > คือค่า LOSS ตั้งต้นในการบริการ
ออกมาจากตัว EPON SFP MODUL

40 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

Connectors = ค่า loss จากปลายสาย connecter > คือค่าสูญเสียที่ปลาย CONNECTER


แบบต่างๆ ในโครงข่าย

fiber distance = ค่า loss จากระยะความยาวสาย > คือค่าสูญเสียในความยาวสาย


ที่ใช้ในโครงข่าย

41 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

splitter = ค่า loss จากตัว splitter แบบต่างๆ > โดยมีค่ามาตรฐานดังนี้

splices = ค่า loss จากการเชื่อมสายใยแก้วด้วยเครื่องฟิวส์ชั่นสไปรท์

42 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

วิธีการคิดคือ

1. ให้เอาค่า loss ของ splitter – กับค่า power / เช่นค่า power = +3 ส่วน


ค่า loss ของ splitter 1:16 = -13 ผลที่ได้คือทุกช่องเสียบสายของ
splitter จะเท่ากับ –10 dB นั่นเอง

2. นับจานวน connector ที่ใช้ใน1ตอนของสายนั้นว่ามีกจ


ี่ ุด จาก olt ไป
splitter 1 เส้นก็เท่ากับ 2 จุด และจาก splitter ไป onu อีก 1 เส้น
รวมกันแล้วเท่ากับ 4 จุดต่อ และ 1 จุดต่อมีค่า loss = -0.6db ก็เท่ากับ -
0.6*4 = -2.4db

43 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

44 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

3. ใน 1 ตอนของสายมีระยะยาวเท่าไหร่ เช่นสาย uplink จาก olt ไป


splitter ยาว 2 km และสายจาก splitter ไป onu ยาว 1 km ความยาว
รวมเท่ากับ 3 km โดย 1 km มี loss = -0.1db จะเท่ากับ -0.1*3= -0.3dB

4. ใน 1ตอนของสายหากมีการเชื่อมต่อด้วยเครื่องฟิวส์ชั่นกี่จุด เช่น
เชื่อมต่อ 4 จุด ก็ให้ดูค่า loss ที่ได้ระหว่างการเชื่อมสาย ซึ่งโดยทั่วไป
เฉลี่ยแล้วอยู่ที่
-0.1 ถึง -0.3db

45 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ค่า loss สุดท้ายที่ได้คือ = -13.10dB หากนาไปต่อเข้ากับ SPLITTER 1:8 อีก 1


ตัวหรือตัวทีเ่ ป็น L2 ก็จะลบไปอีก 10dB ทาให้ค่า LOSS สุดท้ายที่เข้า ONU ก็จะ
เท่ากับ –23dB โดยประมาณ ซึ่งเป็นค่า LOSS ที่ ONU ต้องการพอดี

46 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่างการวาง SPLITTER แบบชั้นเดียว หรือมีแค่ L1 ตัวเดียว

ค่า LOSS ที่ได้นั้นน้อยเกินไป ONU อาจไม่ทางาน

47 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ตัวอย่างการวาง SPLITTER แบบ 2 ชั้น คือมีทั้ง L1 และ L2

สรุปคือการออกแบบโครงข่ายให้มีคุณภาพสูงสุด คือต้องควบคุมค่า LOSS ให้ได้ดีที่สุด


ตามที่เราต้องการ เพื่อให้การบริการเป็นไปได้ด้วยดีทุกบริการที่อยู่บนโครงข่าย

48 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

บทที่ 4 การสร้างบริการอินเตอร์เน็ตภายในอาคาร
ปัจจุบันการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงภายในห้องพักเริ่มมีความต้องการมาก
ขึ้นตามลาดับ เนื่องด้วยหลายคนยังต้อง WORK FROM HOME หรือหลายคนต้องขายของ ONLINE
ทาให้ความเร็วที่มากับสัญญาณ WIFI ไม่เพียงพอต่อการใช้งานอีกต่อไป อีกทั้งการบริการ
แบบ WIFI HOTSPOT ก็มีข้อจากัดมากเกินไป ทาให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน จึงเกิด
การบริการรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานมากที่สุดคือ FTTr (Fiber To The
Room) คือการส่งความเร็วอินเตอร์เน็ตด้วยสายใยแก้วนาแสง ไปถึงห้องผู้ใช้งาน ให้ได้
ความเร็วสูงตามที่ต้องการ โดยมีรูปแบบการบริการดังนี้

ผู้ให้บริการเน็ตหลัก
จากภายนอกอาคาร

GATEWAY ROUTER &


AUTHENTICATION

OLT

โครงข่าย PON FTTX

ลูกค้าใช้งานผ่าน

CPE ROUTER

49 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ONU
L2

L2 L1
ONU

L2
ONU

OLT

ONU

ONU OPERATER

50 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

การสร้างระบบควบคุมความเร็ว การบริการภายในห้อง
วันนี้ทุกผู้ให้บริการจะใช้รูปแบบการควบคุมผู้ใช้งานแบบ PPPOE SERVER เพราะ
สามารถที่จะตรวจสอบการเชื่อมต่อเข้าระบบของอุปกรณ์ได้ทุกผู้ใช้งาน เพราะต้องมีการ
LOGIN เข้าผ่านด้วย USER / PASSWORD ที่สร้างขึ้นที่ SERVER พร้อมทั้งตรวจสอบว่า USER
/PASSWORD ที่ LOGIN เข้ามานี้ใช้ความเร็วบริการที่ PACKET ใด ความเร็วเท่าไหร่ได้อีกด้วย

รูปตัวอย่างการตั้งค่าในตัว CPE ROUTER เพื่อเชื่อมต่อไปยัง PPPQE SERVER

รูปตัวอย่าง CPE ROUTER ทั่วไปที่ใช้ในการบริการ

51 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

และหมดห่วงเรื่องการที่ลูกค้าจะนา ROUTER มาติดตั้งเอง เพราะหากนามาติดตั้งเองก็


ไม่สามารถใช้งานในระบบ SERVER ของเราได้ อีกทั้งตัว ONU ทุกประเภทยังป้องกัน IP LOOP
ย้อนกลับเข้าไปในระบบได้อีกต่างหาก นับว่าเป็นระบบบริการที่ดีทีเดียว

อุปกรณ์ GATEWAY ROUTER ยอดนิยมที่นามาใช้ในการสร้างบริการ PPPOE SERVER ก็คือ


MIKRORTIK เพราะด้วยราคาที่ค่อนข้างถูก แต่คุณภาพเทียบเท่าของแพงแล้ว ปัจจุบันยังมี
การรับประกันแบบตลอดการใช้งานอีกด้วย แนะนาเป็นรุ่น rb4011igs+rm

เข้าดูคุณสมบัติของอุปกรณ์ได้ที่นี่ https://mikrotik.com/product/rb4011igs_rm

โครงสร้างของอุปกรณ์ดังนี้

52 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

งานบริการอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะในสถานบริการใดก็ตาม หัวใจหลักของการบริการ
คือตัว GATEWAY ROUTER เพราะ ความเร็วที่ต้องการบริการจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับตัว
นี้ตัวเดียว หากว่าท่านใช้ MIKROTIK ในการบริการ แนะนาให้ไปดูผลการทดลองการบริการ
อินเตอร์เน็ตในแต่ล่ะรุ่นอุปกรณ์ดีที่ WWW.MIKROTIK.COM โดยไปดูที่หัวข้อ HARDWARE

เลือกรุ่นที่ต้องการ

ไปทึ่ TEST RESULTE

โดยรวมแล้ว MIKROTIK รุ่นที่เราทดลองเข้าไปดูนี้ จ่ายความเร็วได้โดยเฉลี่ยไม่ต่ากว่า


500 Mbps ซึ่งก็นับว่าเพียงพอต่อการบริการ ในการบริการถึงแม้ว่าเราจะไม่การทา PPPOE
SERVER ก็ตาม ยังงัยก็ต้องมี GATEWAY ROUTER เพราะหากปล่อยอินเตอร์เน็ตตรงๆ จาก ROUTER

53 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ของผู้ให้บริการ เข้าไปในระบบ PON FTTX ตรงๆ เป็นอันระบบร่วงแน่นอน เพราะ ROUTER


จากผู้ให้บริการนั้นมีกาลังงานไม่มากพอจะบริการผู้ใช้งานพร้อมกันหลายๆ อุปกรณ์
แน่นอน

ขั้นตอนการสร้างบริการ
1. ตั้งค่าที่ตัว GATEWAY ROUTER ให้พร้อมใช้งานดังนี้
1.1 สร้าง INTERNET เข้าแบบ PPPOE CLIENT เพื่อประโยชน์ในการเข้ามาแก้ไขจาก
ภายนอก

54 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

1.2 สร้าง PPPOE SERVER ให้ได้ตามการบริการที่ต้องการ (อาจแบ่งตามความเร็ว)

1.3 สร้าง PORT ADMIN สาหรับผู้ดแ


ู ลระบบ (เพื่อใช้ในการ CONFIG)

1.4 สร้างชุดใช้งาน VPN (เพื่อใช้ CONFIG OLT จากภายนอก)

55 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

ดูขั้นตอนการทาทั้งหมดตั้งแต่ตอนที่ 1 – 4 ได้ที่นี่ครับ

https://www.youtube.com/c/SrawutSudprasert

2. ติดตั้งสาย LAN UPLINK จาก GATEWAY ROUTER ไปยัง UPLINK1 ของ OLT
3. ติดตั้งสาย LAN จาก MIKORTIK ที่สร้างเป็น VPN PORT ไปยัง MGN ของ OLT

56 | P a g e
หนังสือคู่มือการบริการ PON FTTx ในอาคาร > โดย อ.สราวุธ สุดประเสริฐ

4. ติดตั้งสาย FIBER OPTIC จาก PON1 ไปยัง INPUT ของ SPLITTER L1


5. ติดตั้งสาย FIBER OPTICจาก OUTPUT ของ SPLITTER L1 ไปยัง INPUT ของ SPLITTER L2
6. ติดตั้งสาย FIBER OPTIC จาก OUPUT ของ SPLITTER L2 ไปยัง ONU
7. ติดตั้งสาย LAN จาก ONU ไปยังตัว CPE ROUTER

เมื่อติดตั้งทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย จากนี้ก็เพียงเป้ามองการบริการของท่าน หมี


คุณภาพให้มากที่สุด และดูว่าจะเพิ่มบริการใดเข้าไปเพื่อประโยชน์ของตัวท่าน และลูกค้า

ดู clip vdo การิตดตั้งตัว SPLITTER ได้ที่นี่ครับ

https://www.youtube.com/watch?v=h36iw3IlZWo&t=2s

57 | P a g e

You might also like