You are on page 1of 37

การใช้ภาษาเพื่อการโต้แย้ง

What do you
ผมโต๋ครับ
mean?
คณะผู้จัดทำ
นาย ณัฐพงศ์ ว่องชาญกิจ นางสาว ศรุตยา รุ่งสาคร

นาย ขบูรภัค สกฤษยรรยงค์ นาย ฐิตสิทธิ์ ลิขิตขจร

นาย พลวัฒน์ ตั้งสาธิต นาย นิธิศ กวีวรศาสตร์

นาย คณิน เจริญสัตยธรรม นางสาว กัญญาพัชร ทองทา


นิยามและลักษณะของการโต้แย้ง

การโต้แย้ง เป็นการแสดงทรรศนะอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรรศนะที่แตกต่างกัน ผู้แสดงทรรศนะต้อง


พยายามหาเหตุผล อ้างข้อมูลและหลักฐานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตนและคัดค้าน
ทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง

เรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับการโต้แย้ง มีดังนี้
1. โครงสร้างของการโต้แย้ง
2. หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
3. กระบวนการโต้แย้ง
4. การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
5. ข้อควรระวังในการโต้แย้ง
กระบวนการโต้แย้ง

มี 4 ขั้นตอน

1. การตั้งประเด็นในการโต้เเย้ง

2.การนิยามคำหรือกลุ่มคำสำคัญที่อยู่ในประเด้นของการโต้เเย้ง

3. การค้นหาเเละเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตนเอง

4.การชี้ให้เห็นจุดอ่อนเเละความผิดพลาดของทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม
1.การตั้งประเด็นในการโต้เเย้ง

ประเด็นในการโต้เเย้ง คือ คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้เเย้ง โดยที่คู่กรณีจะเสนอคำตอบตาม


ทรรศนะของตน โดยปกติคำตอบจะต้องเเตกต่างกันไปในทางตรงกันข้าม เพราะถ้าคู่กรณีให้
คำตอบที่ตรงกัน ก็คงไม่มีการโต้เเย้งเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า ประเด็นในการโต้เเย้งเป็นส่วน
สำคัญในการตั้งประเด็นในการโต้เเย้ง

ผู้โต้เเย้งจำเป็นต้องรู้จักวิธีการตั้งประเด็น พบ
บ่อยครั้งที่ผู้โต้เเย้งหยิบยกจุดต่างๆขึ้นมา
พิจารณา โดยที่จุดเหล่านั้นไม่ใช่ประเด็นใน
การโต้เเย้งทำให้เกิดการโต้เเย้งที่เรียกว่า
ออกนอกประเด็น ซึ่งเป็นการโต้เเย้งที่ไม่ควร
โต้ ผู้โต้เเย้งต้องรู้จักวินิจฉัยอย่างมีเหตุผลว่า
ประเด็นที่ตั้งขึ้นมามีความสำคัญพอที่จะใช้ใน
การโต้เเย้งหรือไม่
ในการตั้งประเด็นในการโต้เเย้ง ผู้โต้เเย้งจะต้องนำเสนอทรรศนะของตนเพื่อให้บุคคลอื่นยอมรับ
พร้อมด้วยเหตุผลสนับสนุนเพื่อให้มีการเปลื่ยนเเปลง แบ่งได้เป็นสามประเภท คือ

1. การโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบาย

2. การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง

3. การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า

การโต้เเย้งประเภทที่ 3 มักมีความ
รู้สึกส่วนตัวเเทรกอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่อง
ที่ละเอียดอ่อน ในที่นี้เราจึงจะกล่าว
เเค่สองหัวข้อเเรกเท่านั้น
การโต้แย้งเกี่ยวกับนโยบาย
การโต้เเย้งประเภทนี้เริ่มต้นเมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งเสนอ ประเด็นของการโต้เเย้งประเภทนี้ มี 3 ประการ
ทรรศนะของตนเองเพื่อให้บุคคลอื่นพิจารณายอมรับ
1.ผู้เสนอหรือผู้ที่เป็นฝ่ายเริ่มต้นการโต้เเย้ง จะต้องบอกข้อ
สาระสำคัญได้เเก่ ข้อเสนอ พร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุน เสียหายของสภาพที่กำลังเป็นอยู่ ส่วนฝ่ายตรงข้ามจะต้อง
เพื่อให้มีการเปลื่ยนเเปลงหลักการหรือสภาพการณ์ที่ ตอบว่า ต้องพูดตามทรรศนะของตนเองให้อีกฝ่ายเข้าใจว่า
เคยยอมรับอยู่ เเม้ว่าจะมีข้อเสียเเต่ก็ไม่ได้รุนเเรงถึงขั้นต้องเปลื่ยนเเปลง
ตามที่เสนอมา

2.ข้อเสนอเพื่อการเปลื่ยนเเปลงจะเเก้ไขข้อเสียหายได้หรือ
ไม่เพียงใด ผู้เสนอจะต้องตอบว่าที่เเสดงให้เห็นว่า ข้อเสนอ
ของตนจะสามารถเเก้ไขข้อเสียหายอย่างมีประสิทธิภาพเเน่
นอน ส่วนฝ่ายตรงข้ามจะต้องตอบในทางตรงกันข้าม

3.ผลดีที่เกิดขึ้นจากข้อเสนอนั้นมีเพียงไร คุ้มค่าเพียงใด
ฝ่ายเสนอจะต้องตอบว่ามีผลดีมากน้อยเเค่ไหน ส่วนอีกฝ่าย
จะต้องตอบในทางตรงกันข้าม
การโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ประเด็นสำคัญคือ

1.ข้อเท็จจริงที่อ้างถึง มีอยู่หรือเป็นเช่นที่อ้างอย่างเเท้จริงหรือไม่
ฝ่ายหนึ่งจะต้องตอบว่า สิ่งที่อ้างถึงนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง ส่วนอีก
ฝ่ายจะต้องตอบในทางตรงกันข้าม

2.การตรวจสอบให้เป็นประจักษ์ว่า สิ่งที่อ้างนั้นมีอยู่จริง อาจทำได้หรือ


ไม่ด้วยวิธใด ฝ่ายเสนอจะต้องตอบว่ามีวิธีการตรวจสอบเเน่นอน ส่วนอีก
ฝ่ายจะต้องให้คำตอบว่า วิธีการในการตรวจสอบนั้นเป็นสิ่งที่ปฏิบัติไม่
ได้
2. การนิยามคำสำคัญในประเด็น

การนิยาม คือ การกำหนดความหมายของคำว่า คำที่ต้องการจะโต้แย้งนั้นมีขอบเขตความหมายอย่างไรเพียงใด เพื่อการโต้แย้งจะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน วิธีการนิยาม


อาจทำได้โดยใช้พจนานุกรม สารานุกรม

ตัวอย่าง

ชมรมภาษาไทยควรจัดนำสมาชิกไปทัศนศึกษา

ที่เกาะสากตามที่ประธานชมรมได้เสนอโครงการมาหรือไม่

คำที่ควรนิยาม ทัศนศึกษา
3.การค้นหาเเละเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตนเอง

ผู้โต้แย้งต้องพยายามแสดงทรรศนะที่มีข้อสนับสนุนที่หนักแน่น หลักฐานและเหตุผลต่างๆเกี่ยวโยง
สัมพันธ์กันอย่างน่าเชื่อถือ วิธีการเรียบเรียงข้อสนับสนุนเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มตั้งแต่ส่วนอารัมภบทต้องดึงดูด
ความสำคัญที่เป็นประเด็นการโต้แย้งต้องแสดงข้อสนับสนุนอย่าง ขัดเจน แจ่มแจ้ง และตรงตามความเป็นจริง

ตัวอย่าง

กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ของชมรมภาษาไทย

ข้อมูลที่ควรหา

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง, ความสะดวกความปลอดภัย,ประโยชน์ที่จะได้รับ
4.การชี้ให้เห็นจุดอ่อนเเละความผิดพลาดของทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม

จุดอ่อนของทรรศนะของบุคคลจะอยู่ที่การนิยามคำสำคัญ ปริมาณและความถูกต้องของ
ข้อมูลและสมมติฐานและวิธีอนุมาน

1. จุดอ่อนด้านการนิยามคำสำคัญ

2. จุดอ่อนในด้านปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล

3. จุดอ่อนในด้านสมมติฐานและวิธีการอนุมาน
จุดอ่อนด้านการนิยามคำสำคัญ
1. นำเอาคำที่นิยามไปบรรจุไว้ในข้อความที่นิยาม

2. ข้อความที่ใช้นิยามมีถ้อยคำที่เข้าใจยากจนสื่อความหมายไม่ได้

3. ผู้นิยามมีเจตนาที่ไม่สุจริต สร้างข้อโต้แย้งให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน

จุดอ่อนในด้านปริมาณและความถูกต้องของข้อมูล
ข้อมูลที่นำมาแสดงทรรศนะผิดพลาดหรือน้อยเกินไป ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ

จุดอ่อนในด้านสมมติฐานและวิธีการอนุมาน
สมมติฐานหรือการอนุมานจะด้วยวิธีใดก็ตามต้องเป็นที่ยอมรับเสียก่อน กล่าวคือ ต้อง
เป็นสมมติฐานที่ไม่เลื่อนลอย เป็นวิธีการอนุมานที่ไม่มีความผิดพลาด
5.การวินิจฉัยเพื่อจัดสินข้อโต้แย้ง
การตัดสินว่าความคิดของฝ่ายใดควรยอมรับหรือไม่ยอมรับมี ๒ กรณี

- พิจารณาเฉพาะเนื้อหาของแต่ละฝ่ายผู้วินิจฉัยก็จะไม่นำความรู้และประสบการณ์ของตนเข้ามา
ใช้เลย

- พิจารณาโดยใช้ดุลพินิจของตนพร้อมกัยพิจารณาคำโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายโดยละเอียดก็ย่อม
ใช้ดุลยพินิจของตนโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่แล้วมาเป็นเครื่องช่วยตัดสิน มิใช่
ตัดสินจากเนื้อหาของแต่ละฝ่ายเท่านั้น บางทีผู้ตัดสินก็ต้องมีทรรศนะของตนคัดค้านหรือ
สนับสนุนทรรศนะของคู่โต้แย้งไปด้วย โดยที่ไม่แสดงออกไม่จำเป็นต้องยืนยันที่จะเอาชนะอยู่
ฝ่ายเดียว

เมื่อใดที่มีการโต้แย้งแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันขึ้นบุคคลย่อมมีโอกาสพิจารณาแง่มุมของ
เรื่องต่างๆกว้างขวางรอบคอบขึ้น อาจทำได้ทั้งการเขียนหรือการพูด อาจโต้แย้งกันระหว่างบุคคล
เพียง ๒ คน หรือหลายๆคนหรือโต้แย้งกันในนาของกลุ่มหรือสถาบันก็ได้ การโต้แย้งไม่ใช่
พฤติกรรมอย่างเดียวกันกับการโต้เถียง
6.ข้อควรระวังในการโต้แย้ง
1.ผู้โต้แย้งควรหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์

ผู้โต้แย้งควรรู้จักควบคุมอารมณ์ของตน ต้องรู้จักยอมรับแพ้ชนะเพราะการโต้แย้งคือการตัดสินแพ้ชนะด้วยการ
ใช้เหตุผล

2.ผู้โต้แย้งควรมีมารยาทในการใช้ภาษา

ผู้โต้แย้งควรรู้จักมีมารยาทในการใช้วัจนภาษาและอวัจนะภาษา ต้องรู้จักการใช้ภาษาให้เหมาะกับระดับบุคคลที่มีส่วนร่วม
ในการโต้แย้งและสถานที่ที่โต้แย้ง

3.ผู้โต้แย้งควรรู้จักเลือกว่า ประเด็นใดอาจโต้แย้งกันได้อย่างสร้างสรรค์

ผู้โต้แย้งควรระวังว่า ทีประเด็นใดบ้างที่ไม่อาจหยิบยกมาเป็น ข้อแโต้แย้งได้ เพราะอาจจะทำให้มีผลกระ


ทบกระเทือนแก่ผู้อื่น อาจจเป็นบุคคล หรือสิ่งที่บุคคลจำนวณมากเคารพนับถผือ ซึ่งอาจจะเป็นชนวนให้เกิดการแตกแยก
โครงสร้าง

ทรรศนะที่ 2
ทรรศนะที่ 1 ขัดแย้ง

ประกอบ
ประกอบ

ข้อสนับสนุน ข้อสรุป
ข้อสรุป ข้อสนับสนุน
หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
สามารถเกิดได้ในทุกระดับของสังคม

ทำให้หัวข้อและเนื้อหาแทบจะไม่มีขอบเขตจำกัด

ควรกำหนดขอบเขตในการโต้แย้งให้ชัดเจน

ทำให้โต้แย้งได้ตรงประเด็นเพื่อลดความสับสนและไม่กลายเป๋นการเถึยงกันแบบไร้เหตุผล

ไม่ควรนำเนื้อหานอกจากหัวข้อที่เลือกไว้มาร่วมโต้แย้งด้วย

ผู้ที่เป็นฝ่ายเริ่มการโต้แย้งควรจะนำเสนอสิ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างใดอย่างนึงเสมอไป

ฝ่ายที่ คัดค้านก็ต้องชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ให้เปลี่ยนแปลงนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
1. ข้อใดไม่ใช่ชั้นตอนของการโต้แย้ง

ก. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนเเละความผิดพลาดของทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม

ข. การตั้งประเด็นในการโต้เเย้ง

ค. การสนทนาระหว่างสองฝ่ายก่อนการโต้แย้ง

ง. การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า
1. ข้อใดไม่ใช่ชั้นตอนของการโต้แย้ง

ก. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนเเละความผิดพลาดของทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม

ข. การตั้งประเด็นในการโต้เเย้ง

ค. การสนทนาระหว่างสองฝ่ายก่อนการโต้แย้ง

ง. การโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า
2. การโต้แย้งมีกี่ประเภท
ก. 5

ข. 4

ค. 3

ง. 2
2. การโต้แย้งมีกี่ประเภท
ก. 5

ข. 4

ค. 3

ง. 2

นโยบาย ข้อเท็จจริง คุณค่า


3.ประเด็นการโต้เเย้งข้อใดมีความเหมาะสม

ก. อยู่เมืองไทยใครใครก็ชอบ

ข.ไข่กับไก่อะไรเกิดก่อนกัน

ค.สงครามโลกครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อใด

ง.เราควรจะพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศหรือไม่
3.ประเด็นการโต้เเย้งข้อใดมีความเหมาะสม

ก. อยู่เมืองไทยใครใครก็ชอบ

ข.ไข่กับไก่อะไรเกิดก่อนกัน

ค.สงครามโลกครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อใด

ง.เราควรจะพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศหรือไม่
4. รู้หมือไร่ข้อใดไม่ใช้นิยามของการโต้เเย้ง
ก.เป็นการแสดงทรรศนะอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรรศนะที่แตกต่างกัน ผู้แสดงทรรศนะต้องพยายามหาเหตุ
ผล อ้างข้อมูลและหลักฐานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตนและคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง

ข.การร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมไปถึงการพูดให้ความรู้ข้อมูลใหม่ด้วย

ค.ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม กระตุ้นผู้ฟัง มีความมั่นใจและ


ยินดีร่วมมือ สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง

ง.การพูดเชิญชวน เกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา มีความคิดเห็นคล้อยตาม และ


ปฏิบัติตาม เช่น การพูดโฆษณา การพูดหาเสียง การพูดเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม การพูดชักจูงให้
เปลี่ยนแปลงทัศนคติ การพูดปลุกเร้าให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ
4. รู้หมือไร่ข้อใดคือนิยามของการโต้เเย้ง
ก.เป็นการแสดงทรรศนะอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรรศนะที่แตกต่างกัน ผู้แสดงทรรศนะต้องพยายามหาเหตุ
ผล อ้างข้อมูลและหลักฐานต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตนและคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง

ข.การร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมไปถึงการพูดให้ความรู้ข้อมูลใหม่ด้วย

ค.ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม กระตุ้นผู้ฟัง มีความมั่นใจและ


ยินดีร่วมมือ สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง

ง.การพูดเชิญชวน เกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา มีความคิดเห็นคล้อยตาม และ


ปฏิบัติตาม เช่น การพูดโฆษณา การพูดหาเสียง การพูดเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม การพูดชักจูงให้
เปลี่ยนแปลงทัศนคติ การพูดปลุกเร้าให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ
5. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายเสนอ

ก. แย้งให้เห็นว่าเป็นตรงกันข้าม

ข. ชี้ให้เห็นข้อเสียของสภาพเดิม

ค. เสนอว่าการเปลี่ยนเปลงสามารถแก้ไขข้อเสียหายได้

ง. ชี้เห็นผลดีของข้อเสนอ
5. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายเสนอ

ก. แย้งให้เห็นว่าเป็นตรงกันข้าม

ข. ชี้ให้เห็นข้อเสียของสภาพเดิม

ค. เสนอว่าการเปลี่ยนเปลงสามารถแก้ไขข้อเสียหายได้

ง. ชี้เห็นผลดีของข้อเสนอ
6.ข้อใดคือกริยาที่เหมาะสมในการโต้แย้ง

ก. แต๋วพูดคำหยาบขณะโต้แย้ง

ข. เอกยอมรับว่าตนแพ้ในการโต้แย้ง

ค. โทใช้คำพูดที่สนับสนุนให้สองสถาบันตีกัน

ง. ตรีชี้หน้าด่าคู่ต่อสู้เมื่อตนไม่สามารถเถียงได้
6.ข้อใดคือกริยาที่เหมาะสมในการโต้แย้ง

ก. แต๋วพูดคำหยาบขณะโต้แย้ง

ข. เอกยอมรับว่าตนแพ้ในการโต้แย้ง

ค. โทใช้คำพูดที่สนับสนุนให้สองสถาบันตีกัน

ง. ตรีชี้หน้าด่าคู่ต่อสู้เมื่อตนไม่สามารถเถียงได้
7. ข้อใด ไม่ใช่การค้นคว้าข้อมูลของหัวข้อ ทัศนศึกษาต่างจังหวัด

ก. ค่าใช้จ่ายการเดินทาง

ข. ความปลอดภัยระหว่างเดินทาง

ค.ประโยชน์ที่ได้รับ

ง. อุปกรณ์ก่อสร้างบ้าน
7. ข้อใด ไม่ใช่การค้นคว้าข้อมูลของหัวข้อ ทัศนศึกษาต่างจังหวัด

ก. ค่าใช้จ่ายการเดินทาง

ข. ความปลอดภัยระหว่างเดินทาง

ค.ประโยชน์ที่ได้รับ

ง. อุปกรณ์ก่อสร้างบ้าน
8. สิ่งที่ผู้โต้แย้งควรทำ

ก. ใช้อารมณ์ในการโต้แย้ง

ข. ไม่มีการเตรียมงาน

ค. ใช้ภาษาและท่าทางที่เหมาะสม

ง. ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ
8. สิ่งที่ผู้โต้แย้งควรทำ

ก. ใช้อารมณ์ในการโต้แย้ง

ข. ไม่มีการเตรียมงาน

ค. ใช้ภาษาและท่าทางที่เหมาะสม

ง. ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ
9. ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบของโครงสร้างการโต้แย้ง
ก. ทรรศนที่ต่างกัน

ข.ข้อสรุป

ค. ข้อสนับสนุน

ง.พยานการโต้แย้ง
9. ข้อใด ไม่ใช่องค์ประกอบของโครงสร้างการโต้แย้ง

ก. ทรรศนที่ต่างกัน

ข.ข้อสรุป

ค. ข้อสนับสนุน

ง.พยานการโต้แย้ง
10. ฝ่ายที่คัดค้านควรทำสิ่งใด ในการโต้แย้งเรื่องการเปลี่ยนแปลง
ก. ชี้ให้เห็นว่าสิ่งให้เปลี่ยนแปลงนั้นไ่ม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด

ข. สนับสนุนความเห็นอีกฝ่าย

ค. นำเสนอวิธีการเปลี่ยนแปลง

ง. นำเสนอประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง
10. ฝ่ายที่คัดค้านควรทำสิ่งใด ในการโต้แย้งเรื่องการเปลี่ยนแปลง
ก. ชี้ให้เห็นว่าสิ่งให้เปลี่ยนแปลงนั้นไ่ม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด

ข. สนับสนุนความเห็นอีกฝ่าย

ค. นำเสนอวิธีการเปลี่ยนแปลง

ง. นำเสนอประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง
ขอบคุณครับ

You might also like