You are on page 1of 24

คํานํา

สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง มีหน้าที่ให้การสนับสนุนการบริการ


การจัดการของมหาวิทยาลัยรามคําแหง โดยเฉพาะด้านตําราเรียน และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
ซึ่ง ในการจัดพิ ม พ์ ตํา ราแต่ ละครั้ง หากเป็น การจั ดพิ ม พ์จํา นวนมากจะมี ก ารส่ งตํ า ราไป
จัดเก็บที่คลังสินค้า เพื่อรอการจัดส่งไปให้จําหน่ายงานต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอก
สํานักพิมพ์
การจัดการคลังสินค้า (Inventory Management) จึงมีความจําเป็นที่
จะต้องมีการวางระบบการจัดเก็บให้ตํารามีความปลอดภัย ง่ายต่อการเบิกจ่าย โดยมีการ
วางแผนการจัดเก็บทั้งระยะสั้น และระยะยาว ตลอดจนฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบให้
มี ค วามชํ า นาญ โดยเฉพาะการนํ า เทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ ม าพั ฒ นาการจั ด เก็ บ ให้ มี
ประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้จาก ผู้ชํานาญงานที่ปฏิบัติงานจริงในครั้งนี้
จึง เป็ น การสร้ า งเสริ ม ประสบการณ์ค นรุ่ น ใหม่ โดยการเรีย นรู้ ห ลั ก การบริ ห ารจั ด การ
คลังสินค้าอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

ชุมชนนักปฏิบัติการจัดการองค์ความรูก้ ารจัดการคลังสินค้า
สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
สารบัญ
หน้า
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) 1
รูปแบบการวางสินค้าและอุปกรณ์ชั้นวางสินค้า 4
การนําสินค้าเข้าคลัง และการจัดเก็บ 6
ขั้นตอนการจัดการคลังสินค้าภายในสํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง 9
ภาคผนวก : ภาพการจัดเก็บความรู้การจัดการคลังสินค้า 13
อ้างอิง 19
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)

คลั งสิ น ค้า (Warehouse) หมายถึง พื้น ที่ ที่ได้ ว างแผนแล้ว เพื่อ ให้เ กิ ด
ประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทําหน้าที่ใน
การเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจาย
สินค้า สินค้าที่เก็บในคลังสินค้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. วัตถุดิบ ซึ่งจัดอยู่ในรูปวัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่าง ๆ
2. สินค้าสําเร็จรูป

วัตถุประสงค์ของการจัดการคลังสินค้า (Objective of Warehouse Management)


1. ลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด
2. การใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่าง ๆ มีเพียงพอ
และสอดคล้องกับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้
4. สร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น พนักงาน
จัดเก็บสินค้าพนักงานขนถ่าย เป็นต้น
5. เพื่อให้เกิดการบริหารต้นทุนพัสดุคงคลังให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า (The Benefit of a warehouse)


1. ช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support) โดยคลังสินค้าจะทําหน้าที่
ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิต ชิ้นส่วน และส่วนประกอบต่าง ๆ จากผู้ขายปัจจัยการ
ผลิต เพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานผลิตเป็นสินค้าสําเร็จรูปต่อไป เป็นการช่วยลดต้นทุนในการ
จัดเก็บสินค้า
2. เป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์ (Mix warehouse) ในกรณีที่มีการผลิตสินค้าจากโรงงาน
หลายแห่ง โดยอยู่ใ นรูปของคลังสิน ค้ากลาง จะทํา หน้า ที่ ร วบรวมสิน ค้ า สํา เร็จรู ปจาก
โรงงานต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกันเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการ

1
3. เป็นที่รวบรวมสินค้า (Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการ
ซื้อสินค้าจํานวนมากจากโรงงานหลายแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินค้าจากหลาย
แหล่ง เพื่อจัดเป็นขนส่งขนาดใหญ่ซึ่งช่วยประหยัดค่าขนส่ง
4. แบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง (Break Bulk warehouse) ในกรณีที่การ
ขนส่งจากผู้ผลิต มีหีบห่อ พาเลตขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยให้การแบ่งแยก
สินค้าให้มีขนาดเล็กลง เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้ารายย่อยต่อไป

ความสัมพันธ์ของคลังสินค้าและกิจกรรมด้านอื่น ๆ
1. จัดการคลังสินค้ากับการผลิต
การผลิตสินค้ามีความจําเป็นต้องสร้างคลังสินค้ารองรับ และมีระบบการจัดการ
คลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
2. การจัดการคลังสินค้ากับการขนส่ง
การรวบรวมสิ น ค้า ก่ อ นการขนส่ง และกระจายสิน ค้า จะต้ องมีระบบการ
จัดการที่มีประสิทธิภาพสูง
3. การจัดการคลังสินค้ากับการบริการ
การบริ ก ารจะต้ อ งตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า จํ า เป็ น ต้ อ งใช้
คลังสินค้าและระบบการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ

กิจกรรมภายในคลังสินค้า
1. การรับสินค้า และการชี้บ่งสถานะของสินค้า
กระบวนการรับสินค้าเข้าคลัง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสินค้า (ตรวจ
ปริมาณ) การบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการชี้บ่งสถานะของสินค้า
2. การเคลื่อนย้ายภายในคลังสินค้า
การเคลื่อนย้ายภายในคลังรวมถึงการเคลื่อนย้ายทุกประเภท ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์
ขนถ่ายต่าง ๆ
3. การจัดเก็บ
เป็น การนํา สิ นค้ าเข้า จั ดเก็ บ ซึ่งต้องไม่ทํ า ให้สิน ค้ า เสื่ อมสภาพหรื อ แตกหั ก
เสียหายรวมถึงการกําหนดตําแหน่งของสถานที่จัดเก็บ

2
4. การหยิบสินค้า
โดยพื้นฐานแล้วการหยิบสินค้ามีหลัก 3 ประการ คือ ผู้หยิบเดินไปยังตําแหน่ง
ของสินค้า ผู้หยิบขับขี่ไปยังตําแหน่งของสินค้า และสินค้าเคลื่อนที่มายังตําแหน่งของผู้หยิบ
5. การบรรจุและหีบห่อ
สินค้าจะได้รับการบรรจุ เพื่อป้องกันการชํารุดระหว่างการเคลื่อนย้าย ซึ่งบรรจุ
ภัณฑ์ต้องคํานึงถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
6. การขนส่ง
ควรพิจารณาถึง ปริมาณ สินค้าที่จะขนส่งทั้งหมด น้ําหนักหรือปริมาตรของ
สินค้าจํานวนของจุดขนส่ง ระยะทาง รูปแบบการขนส่ง วัน เวลาที่ต้องส่งสินค้า เอกสารที่
เกี่ยวข้องกับการขนส่งและความปลอดภัยจากการขนส่ง
7. การชั่ง ตวง วัด และตรวจนับ
เป็ น การตรวจนั บ ประจํ า ปี ตรวจนั บ ทุ ก 6 เดื อ น ตรวจนั บ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง
ตลอดเวลาเพื่อเป็นการทวนสอบว่าปริมาณสินค้าในบัญชีตรงกับปริมาณที่มีอยู่จริงมาก
น้อยเพียงใด
8. การจัดเก็บและการส่งถ่ายข้อมูล
งานเอกสารและการเก็บบันทึกของกิจกรรมทั้งหมดของคลังสินค้า อาจเก็บใน
รูปของเอกสารหรือข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ต้องสามารถนําข้อมูลออกมาใช้ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ

ดัชนีวัดประสิทธิภาพการทํางานของคลังสินค้า
การชี้บ่งว่าคลังสินค้ามีประสิทธิภาพหรือไม่จําเป็นต้องใช้ดัชนีชี้วัด เพื่อวัดผลการ
ทํางาน ดัชนีที่ใช้กันโดยทั่วไปมีดังนี้
1. อัตราการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ (Space utilization)
2. ระยะทางการขนถ่ายรวม (การจัดเก็บและหยิบสินค้า) (Distance)
3. เวลาในการนําสินค้าเข้าเก็บ
4. เวลาในการหยิบสินค้า (Picking time)
5. อัตราการหยิบของผิดพลาด (Picking error)

3
6. อั ต ราการแตกหั ก เสี ย หายของสิ น ค้ า และอั ต ราการเกิ ด อุ บั ติ เ หตุ ภ ายใน
คลังสินค้า

ขอบเขตของการจัดการคลังสินค้า (Location selection)


1. การเลือกทําเลที่ตั้งคลังสินค้า
1.1 การเลือกทําเลใกล้แหล่งตลาด
1.2 การเลือกทําเลใกล้แหล่งผลิต
1.3 การเลือกทําเลอยู่ระหว่างตลาดและแหล่งผลิต
2. การกํ า หนดขนาดของคลั ง สิ น ค้ า (Sizing) แนวทางการกํ า หนดขนาดของ
คลังสินค้ามี ดังนี้
2.1 ขนาดของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ และปริมาณของสินค้าที่ต้องจัดเก็บ
2.2 ระดับบริการของสินค้า ถ้าสูงจะใช้พื้นที่มาก ต่ําจะใช้พื้นที่น้อย
2.3 รอบระยะในการนํา สินค้าเข้าหรือออก ถ้านานจะต้องการพื้นที่ในการ
จัดเก็บที่มาก ถ้าสั้นสามารถลดพื้นที่ของคลังสินค้าลงได้
2.4 กิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในคลังสินค้า เช่น รูปแบบของการวางผัง
คลังสินค้า ประเภทของชั้นวาง การเคลื่อนย้าย
3. การวางผังคลังสินค้า
เป็นการกําหนดตําแหน่งที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในคลังสินค้า เช่น ชั้น
วาง ทางเดิ น ทางรถวิ่ ง โดยให้ มี ก ารใช้ พื้ น ที่ ที่ ม ากที่ สุ ด มี ก ารเคลื่ อ นย้ า ยสิ น ค้ า ที่ มี
ประสิทธิภาพสูงสุด

รูปแบบการวางสินค้าและอุปกรณ์ชั้นวางสินค้า

1. การวางสินค้าแบบ Block Stacking เป็นการตั้งสินค้าบนพาเลท (Pallet)


บนพื้นคลังสินค้าตั้งซ้อนพาเลท 2-3 ชั้น ขึ้นอยู่ กับความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์
ข้อดี คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเปลี่ยนสถานที่จัดเก็บได้ง่าย
ข้อเสีย คือ ไม่สามารถจัดเรียงเป็นกองโต ไม่สามารถหยิบสินค้าที่วางอยู่ตรง
กลาง หรืออยู่ลึกเหมาะสําหรับสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเข้าออกเร็ว

4
2. การวางสินค้าด้วยชั้นวางแบบ Selective Pallet Packing สินค่าตั้งบนพา
เลท และนําไปวางตามชั้นโครงเหล็ก มีทางเดินระหว่าง Rack
3. การวางสินค้าด้วยชั้นวางแบบ Drive in packing เป็นวิธีจัดเก็บที่มี Pallet
จัดเก็บอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีทางเดินระหว่าง Rack
4. การวางสินค้าด้วยชั้นวางแบบ Pallet flow Rack เป็นวิธีจัดเก็บที่มี Pallet
จัดเก็บอย่างต่อเนื่อง โดยพาเลทจะไหลเคลื่อนที่โดยมีทิศทางการไหล
5. การวางสินค้าด้วยชั้นวางแบบ Mobile Pallet Racking เป็นวิธีจัดเก็บ
Pallet ที่ชั้นวางสามารถเคลื่อนที่ได้นอกจากนี้ยังมีชั้นวางสินค้าที่เป็น Shelv ซึ่งเป็นสินค้า
ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น รูปทรง และมีน้ําหนักมาก

ขั้นตอนในการออกแบบคลังสินค้า มี 6 ขั้นตอนดังนี้
1. กําหนดวัตถุประสงค์ของการวางผังคลังสินค้า เช่น ใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์มาก
ที่สุด มีความ ยืดหยุ่นสูง
2. ถ้าเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขนาดของพื้นที่รายละเอียดของสินค้า
คงคลัง ยอดขาย ความถี่ของการจัดเก็บและหยิบสินค้าขนาดของสํานักงาน อาคาร ชั้นวาง
และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกําหนดแผน ที่ตั้งของหน่วยงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ
3.1 ประเมินข้อมูลของสินค้า เช่น วิเคราะห์รายการสินค้า ประเภทหีบห่อ
จํานวนหีบห่อในหนึ่งหน่วยขนถ่าย ความกว้างxยาวxสูง และน้ําหนักของหนึ่งหน่วยขนถ่าย
3.2 การประเมิ น กํ า หนดที่ ตั้ ง ของสถานที่ จั ด เก็ บ ชั้ น วางต่ า ง ๆ และ
ออกแบบระบบจัดเก็บสินค้า
3.3 การประเมินทางเดิน ต้องพิจารณาความต้องการพื้นที่ทางเดิน ที่เข้าถึง
จุดเก็บสินค้า
3.4 สรุปความต้องการใช้พื้นที่ในคลังสินค้า
4. กําหนดแผน และแนวทางเลือก โดยกําหนดระยะเวลาในการดําเนินการสร้าง
ต่าง ๆ
5. ดําเนินการตามแผนงาน
6. ติดตามผลงาน และสรุปผลงาน

5
การจัดกลุ่มสินค้า
การจัดกลุ่มสินค้าโดยทั่วไป จะใช้การวิเคราะห์ระบบ ABC (ABC Analysis) โดย
การลําดับสินค้า A เป็นสินค้าที่ยอดขาย หรือส่วนแบ่งกําไรมากที่สุด ส่วนสินค้าที่มี
ยอดขาย หรือส่วนแบ่งกําไรรองลงไปจะได้รับความสําคัญน้อยลงเป็น B และ C ตามลําดับ

การนําสินค้าเข้าคลัง และการจัดเก็บ

1. การจัดเก็บแบบไม่เป็นทางการ (Informal system) จัดเก็บโดยไม่มีการ


บันทึกตําแหน่งการจัดเก็บเข้าไว้ในระบบสินค้าทุกชนิด สามารถจัดเก็บไว้ตําแหน่งใดก็ได้
ในคลังสินค้า ซึ่งพนักงานที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้านั้นจะเป็นผู้รู้ตําแหน่งในการจัดเก็บ
รวมทั้งจํานวนที่จัดเก็บ
ข้อดี
1. บํารุงรักษาต่ํา
2. มีความยืดหยุ่นสูง
ข้อเสีย
1. ยากต่อการชี้ตําแหน่งของสินค้า
2. ขึ้นอยู่กับการทํางานของพนักงาน
3. ขาดประสิทธิภาพ
2. การจัดเก็บแบบคงตําแหน่ง (Fixed location system) สินค้ามีตําแหน่ง
จัดเก็บกําหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เหมาะสําหรับคลังสินค้าที่มีขนาดเล็ก ทําให้มีข้อจํากัด
หากเกิดกรณีที่สินค้านั้นมีจํานวนเกินที่กําหนดไว้ หรือถ้ามีสินค้าน้อย ทําให้พื้นที่ว่าง ซึ่ง
เป็นการใช้พื้นที่ขาดประสิทธิภาพ
ข้อดี
1. ง่ายต่อการจัดตั้งสินค้า
2. ง่ายต่อการดูแลรักษา
ข้อเสีย
1. ประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ต่ํา
2. มีพื้นที่ว่างสําหรับสินค้าที่มีสต๊อกต่ํา
3. ต้องกําหนดพื้นที่สําหรับค่าสต๊อกสูงสุดของแต่ละสินค้า

6
3. การจัดเก็บแบบตามเลขสินค้า (Part Number system) เป็นการเก็บสินค้า
เรียงตามเลขสินค้า มีการกําหนดตําแหน่ง และจํานวนสูงสุดของสินค้า
ข้อดี
1. ง่ายต่อการค้นหาสินค้า
2. ง่ายต่อการเข้าถึงสินค้า
3. ง่ายต่อการจัดตั้งคลัง
ข้อเสีย
1. ขาดความยืดหยุ่น
2. ยากต่อการปรับค่าปริมาณ
3. การเพิ่มชนิดของผลิตภัณฑ์ ทําให้ต้องขยับสินค้าทั้งหมด
4. ประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ต่ํา
4. การจัดเก็บตามประเภทสินค้า (Commodity System) เป็นการจัดเก็บแบบ
ร้านค้าปลีก จัดวางสินค้าในกลุ่มเดียวกัน เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ พนักงานต้องมี
ความรู้เรื่องของสินค้าแต่ละชนิด
ข้อดี
1. มีการจัดกลุ่มสินค้า
2. สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการหยิบได้แต่ละประเภท
3. มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น
ข้อเสีย
1. มีโอกาสในการหยิบผิด
2. พนักงานต้องมีความรู้เรื่องสินค้า
3. มีความยากในการจัดกลุ่มบางสินค้า
5. การจัดแบบสุ่ม (Random Location System) ไม่ได้กําหนดตําแหน่ง
ตายตัว สินค้าสามารถถูกจัดเก็บในตําแหน่งใดก็ได้ในคลังสินค้า แต่ต้องมีระบบสารสนเทศ
ในการจัดเก็บต้องมีการปรับ (Update) ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เป็นรูปแบบที่ใช้พื้นที่จัดเก็บ
อย่างคุ้มค่า
ข้อดี
1. การใช้พื้นที่มีประสิทธิภาพ
2. มีความยืดหยุ่น
3. ง่ายต่อการขยาย
4. เข้าใจง่าย

7
ข้อเสีย
1. ต้องการระบบบันทึกที่ดี
2. ต้องการรายละเอียดมากในการบันทึก
6. การจัดแบบผสม (Combination System) การจัดเก็บมีการพิจารณาจาก
เงื่อนไข หรือข้อจํากัดของสินค้า เช่นวัสดุอันตราย หรือสารเคมีต้องจัดเก็บแบบคงตัว (Fix
Location) ส่วนที่เหลือต้องคํานึงถึงการใช้พื้นที่ก็จะเก็บแบบสุ่ม (Random) เหมาะสําหรับ
คลังขนาดใหญ่ และมีสินค้าที่มีความหลากหลาย
ข้อดี
1. การใช้พื้นที่มีประสิทธิภาพ
2. มีความยืดหยุ่น
3. ง่ายต่อการขยาย
4. การควบคุมทําได้ง่าย
ข้อเสีย
1. สร้างความสับสนได้

ระบบข้อมูล และเอกสารต่าง ๆ
ปัจ จุ บั น ระบบข้ อ มู ล และเอกสารต่ า ง ๆ ได้ มี ร ะบบจั ด การด้ า นคลั ง สิ น ค้ า ที่ ใ ช้
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ดเข้ามาจัดการ ทําให้การดําเนินการด้านข้อมูล และเอกสาร
มีความถูก ต้ อง และรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่ น ซอฟต์แ วร์สําหรับการจั ดการคลังสิ น ค้า ต่ าง ๆ
(Warehouse Management System : WMS)

อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า
ประสิ ท ธิ ภ าพของการทํ า งานของคลั ง สิ น ค้ า ขึ้ น อยู่ กั บ อุ ป กรณ์ ข นถ่ า ย หรื อ
เคลื่อนย้ายที่ดีเป็นสําคัญ คือต้องเหมาะสม คล่องตัว และปลอดภัย
1. ตะกร้า และรถเข็น เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของระบบการขนถ่ายพัสดุ ซึ่งได้รับ
ความนิยมทั่วไป
2. แฮนด์ทักค์ (Hand Truck) และแฮนด์ลิฟต์ (Hand Lift) เป็นอุปกรณ์ขนถ่ายที่
ใช้ระบบไฮโครลิก ในการยกสินค้า ยกน้ําหนักได้ปริมาณ 1,000 กิโลกรัม
3. สแต็กเกอร์ (Stracker) และทักค์ (Track) เช่นรถฟอร์ลิฟต์ขนถ่ายมีงาเอาไว้
ช้อนสินค้า สามารถยกสินค้าได้ถึง 5,000 กิโลกรัม ยกสินค้าได้สูง 4.5-16.50 เมตร (ใน
บางประเภท)

8
4. รางเลื่อน หรือสายพายลําเลียง (Conveyor) ใช้ประโยชน์ในการลําเลียงสินค้า
ในแนวราบ หรือแนวเอียง เป็นระบบสายพาน หรือลูกกลิ้ง
5. พาเลท (Pallet) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมสินค้า เพื่อให้สามารถขนถ่าย
ได้ ป ริม าณที่ม ากขึ้ น ทํ า จากไม้ หรื อ พลาสติ ก จะมี ม าตรฐานกํ า กั บ วางสิ น ค้ า วั น เดี ย ว
(Single deck) วางสองด้าน (Reversible) เป็นต้น

ขั้นตอนการจัดการคลังสินค้าภายในสํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

ขั้นตอนการรับตํารา
- รับแจ้งจากหน่วยจัดส่ง (ฝ่ายการผลิต)
- ตรวจนับตําราที่ได้รับไว้ให้ถูกต้อง
- ดําเนินการจัดเก็บตําราให้เข้าหมวดหมู่
- เซ็นรับใบส่งของ (ตํารา)
- ลงยอดรับเข้าบัญชีควบคุมสินค้า (ตํารา)
ขั้นตอนการจัดเก็บตํารา
- จัดเตรียมสถานที่เก็บตําราอยูใ่ นหมวดหมู่
- จัดเรียงตําราให้อยูใ่ นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ
- จัดเรียงตําราให้อยูใ่ นหมวดหมู่
- จัดทําแผนผังการจัดเก็บตํารา
- ดูแลรักษาความปลอดภัย เช่น ปลวก ความชื้น
ขั้นตอนการเบิกจ่ายตํารา
- รับใบเบิกตําราจากคลังย่อย, คณะ, ส่วนภูมิภาค
- ตรวจสอบยอดคงเหลือกับฝ่ายบัญชี
- จ่ายตําราตามจํานวนทีเ่ บิกอย่างถูกต้อง
- นํายอดตํารามาเขียนใบเบิกเพื่อลบยอดบัญชี
- นําใบเบิกจ่ายตําราส่งฝ่ายบัญชี เพือ่ ทําการตัดยอดบัญชี

9
การจัดวางตําราเข้าชั้น

1. ขนาดของตําราที่จัดพิมพ์ มี 3 ขนาด ได้แก่


1.1 ขนาดยาว 29 x กว้าง 20.2 เซนติเมตร
1.2 ขนาดยาว 26 x กว้าง 18.2 เซนติเมตร
1.3 ขนาดยาว 21 x กว้าง 14.2 เซนติเมตร
2. ขนาดความสูงของแต่ละห่อไม่เกิน 12 เซนติเมตร ห่อละ 2-12 เล่ม ตามความ
หนาบางของตํารา
3. การจัดวางตําราที่คลังตํารา
3.1 การจัดวางตําราที่จัดพิมพ์ไม่เกิน 5,000 เล่ม จะนําตําราเข้าจัดเก็บตํารา
ชั้นละ 4 แถว แถวละ 4 ห่อ โดยวางสูง 10-12 ห่อ ใน 1 ช่องเก็บตําราได้ 10 x 4 = 40 x
4 = 160 ห่อ
3.2 การจัดวางตําราจํานวนมากตั้งแต่ 5,000 เล่มขึน้ ไป จะว่างกองตําราบน
พาเลส โดยมีขนาดของฐาน ดังนี้

10
3.2.1 ขนาดห่อ 10 ห่อ จะวางตําราชั้นละ 10 ห่อ โดยวางไขว้ไปไขว้มา
เพื่อป้องกันตําราไม่ล้ม วางขวาง 6 ห่อ วางยาว 4 ห่อ ตามรูป
ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2
1 2 3 7 8 9 10

4 5 6

6 5 4
7 8 9 10
1 2 3

11
3.2.2 ขนาดฐาน 17 ห่อ จะวางตําราชั้นละ 17 ห่อ โดยวางไขว้ไปไขว้มา
เหมือนฐาน 10 ห่อ วางขวาง 9 ห่อ วางยาว 8 ห่อ ตามรูป

10 14
1 2 3

11 15

4 5 6
12 16

7 8 9 13 17

3.2.3 ขนาดฐาน 32 ห่อ จะวางตําราชั้นละ 332 โดยวางไขว้ไปไขว้มา


เหมือนดังฐาน 10 และฐาน 17 ห่อ วางขวาง 8 ห่อ วางยาว 24 ห่อ ตามรูป

1 2 3 4 5 6 7 8

9 10 11 12 13 14

15 16 17 18 19 20

21 22 23 24 25 26

27 28 29 30 31 32

12
ภาคผนวก
ภาพการจัดเก็บความรู้การจัดการคลังสินค้า

13
14
15
16
17
18
อ้างอิง
ดร.ชุมพล มลฑาทิพย์กุล. การจัดการคลังสินค้า. www.thaicastreduction.com
การประชุมและเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการจัดการคลังสินค้า
นายสุภาพ ถาวรทอง เรื่องการจัดการคลังสินค้า
นางชราทิพย์ เทศศิริ และนายพงษ์ธีระ มัธวรัตน์ เรื่องขั้นตอนการเบิกจ่ายตํารา
นายประภาศ ปาลิวนิช นายประวุธ เรืองฉาย และนายธีระวุฒิ ยินดีวัลย์ เรือ่ ง
การจัดเรื่องตําราและการจ่ายตํารา

19
หน่วยงานเจ้าของ

สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

ที่ปรึกษา

อาจารย์ ดร.ปรัชญา ปิยะมโนธรรม รักษาราชการแทนผู้อํานวยการสํานักพิมพ์


นายมนัส กตัญญู หัวหน้าสํานักงานเลขานุการสํานักพิมพ์

คณะผู้จัดทํา

1. นายสุภาพ ถาวรทอง 8. นางสาวยุพาภรณ์ โสภารัตน์


2. นางชราทิพย์ เทศศิริ 9. นายณรงค์ศักดิ์ ภู่อร่าม
3. นายพงษ์ธีระ มัธวรัตน์ 10. นายมานะชัย วิชาญจิตร
4. นายประภาศ ปาลิวนิช 11. นางกนกพร โฉมศรี
5. นายประวุธ เรืองฉาย 12. นางสาวศิริพร เย็นประยูร
6. นายธีระวุฒิ ยินดีวัลย์ 13. นางศิริอนันต์ ศรีสําอางค์
7. นายจิดาภา มาบรรดิษฐ์ 14. นายปฏิภาณ มงคลไชยสิทธิ์

ออกแบบปก

นายวารินทร์ สิงหศิลป์

จัดทํารูปเล่ม

นางลักขิกา ขจัดภัย

พิสูจน์อักษร/ตรวจปรู๊ฟ

นางจุฑารัตน์ จักรผัน

20

You might also like