You are on page 1of 3

16/5/2564 ความเป็ นมาของ Benchmarking | Kru Kanta

30th September 2012 ความเป็ นมาของ Benchmarking


ความเป็นมาของ Benchmarking
          Benchmarking มีมานานกว่า 50 ปีแล้ว แต่ยังไม่นำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษา และนำหลักการ Benchmark มาใช้ให้เป็นรูปธรรมและจริงจังใน
ประเทศไทย Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงองค์กรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้มีการปรับปรุงองค์กร อย่างก้าว
กระโดดแต่สำหรับประเทศไทย Benchmarking ยังค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ เริ่มมีการนำเครื่องมือนี้มาใช้ในการปรับปรุงองค์กร อย่างเป็นระบบในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่าน
มาเท่านั้น แต่ในต่างประเทศมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบริษัท Xerox Corporation เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า
เป็นผู้บุกเบิกในการใช้เครื่องมือ Benchmarking เพื่อปรับปรุงองค์กรและได้รับผลสำเร็จอย่างสูงทำให้แข่งขันได้ในธุรกิจ ซึ่งในขั้นต้น Xerox เริ่มจากการปรับปรุง
กระบวนการผลิต และพบว่าทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด จึงขยายผลอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันมีการทำ Benchmarking ทั่วทั้งองค์กร ปัจจุบัน
การทำ Benchmarking ได้รับการยอมรับและนำมาใช้มากขึ้น เนื่องจากเหตุผลดังนี้
          เพื่อความยั่งยืนขององค์กร : สภาพการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น การที่องค์กรจะยั่งยืนจำเป็นต้องรักษาและ ยกระดับความสามารถของตนเองเพื่อให้แข่งชันได้
จึงต้องมีการเรียนรู้และปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่องโดยเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้ คือ Benchmarking
          เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด: ความ เร็วในการปรับปรุงตนเองเป็นเงื่อนไข สำคัญของความได้เปรียบในการแข่งขัน benchmarking เป็นเครื่องมือ
ที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรม (Innovation) ในองค์กร ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปรับปรุง ในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากเป็นการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด จาก
ภายนอกองค์กร ทำให้สามารถ “เรียนลัด” เพื่อก้าวให้ทันองค์กรอื่น ๆ จึงเป็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด
          เพื่อสนับสนุนรางวัล คุณภาพแห่งชาติ รางวัลเป็นแรงจูงใจให้เกิดการปรับปรุง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศ ริเริ่มให้มีรางวัลด้านการจัดการ เพื่อ
เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพด้านการจัดการ เช่น Malcolm Baldrige National Quality Award ในประเทศสหรัฐอเมริกา Singapore Quality
Award ในสิงคโปร์ และ Thailand Quality Award ของประเทศไทย รางวัลเหล่านี้ ใช้แนวทางของ Malcolm Baldrige เป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสิน ซึ่งได้
กำหนดให้องค์กรที่จะได้รับรางวัลต้องมีการดำเนินกระบวนการ Benchmarking ประเภทและแนวทางการทำ Benchmarking
“Benchmarking” คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) จากองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากล
โดยมีแนวคิดที่ว่า องค์กรไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีองค์กรที่เก่งมากกว่าในบางเรื่อง การศึกษาจากประสบการณ์ตรงขององค์กรอื่นแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะ
ช่วยประหยัดเวลาและลดการลองผิดลองถูก benchmarking จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด
วัตถุประสงค์ของการทำ Benchmarking คือเพื่อแสวงหาตัวอย่างวิธีการปฏิบัติงานที่ดีกว่าเดิม รวมถึงการทำความเข้าใจกับกระบวนการและวิธีปฏิบัติ
ต่างๆ ที่ผลักดันให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ดี ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ จะปรับปรุงผลการดำเนินงานของตน โดยเลือกสรรและนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ เหล่านี้ ไปใช้ใน
กระบวนการทำงานซึ่งไม่ใช่เป็นการลอกเลียนแบบแต่เป็นการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ
ประโยชน์จากการทำ Benchmarking การทำ Benchmarking ทำให้องค์กรสามารถตอบคำถาม 4 ข้อนี้ได้เราอยู่ที่ตำแหน่งไหนในธุรกิจ Where are
we? ใครเป็นผู้ที่เก่งที่สุด Who is the best? คนที่เก่งที่สุด เขาทำอย่างไร How do they do it? เราจะทำอย่างไรให้เก่งกว่าเขา How can we do it better?
นั่นคือ ทำให้องค์กร “รู้เขา รู้เรา” สิ่งนี้นี่เองที่ทำให้องค์กรสามารถ ปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานขององค์กรให้ดีขึ้น เช่น ลดระยะเวลาในการผลิตลด
ของเสียเพิ่มความพึงพอใจ ของบุคลากรและลูกค้า เป็นต้น นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการเรียนลัดเพื่อให้ก้าวทันองค์กรอื่น อันจะยกศักยภาพการแข่งขันของ
ประเทศ
ปัจจุบัน เรื่องที่ได้รับความนิยมในการทำ Benchmarking ได้แก่ เรื่องเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เรื่องการฝึกอบรมพัฒนาพนักงาน เรื่องการจัดการ
เอกสารควบคุม เรื่องความพึงพอใจของลูกค้า เรื่องการจัดการทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
ประเภทของ Benchmarking แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ แบ่งตามวัตถุประสงค์ หรือสิ่งที่จะเอาไปทำ benchmarking และแบ่งตามผู้ที่เราทำ
benchmarking ดังนี้ 1.แบ่งตามวัตถุประสงค์หรือสิ่งที่จะเอาไปทำ Benchmarking 1.1.Strategy benchmarking เป็นการทำ benchmarking โดยศึกษา
เปรียบเทียบกลยุทธ์ระหว่าง องค์กรเรากับองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ 1.2.Performance benchmarking เป็นการทำ benchmarking
โดยเปรียบเทียบเฉพาะผลปฏิบัติงาน หรือตัวชี้วัดระหว่างองค์กรเราและคู่เปรียบเทียบ เพื่อดูความสามารถในการปฏิบัติงานของกิจกรรม หรือผลลัพธ์การทำงาน
ในกระบวนการต่างๆ 1.3 Process benchmarking เป็นการทำ benchmarking โดยการเปรียบเทียบกระบวนการทำงาน หรือวิธีปฏิบัติงานระหว่างองค์กรเรากับ
องค์กรอื่น โดยเน้นการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีจากองค์กรอื่น เพื่อนำมาปรับปรุงองค์กรของตน 1.4 Product benchmarking คือการเปรียบเทียบความพึงพอใจของ
ลูกค้าว่า ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุดในคุณลักษณะใดของสินค้า 2. แบ่งตามลักษณะองค์กรที่เปรียบเทียบด้วย 2.1 Internal Benchmarking คือ การทำ
benchmarking เปรียบเทียบตัววัดหรือความสามารถในการปฏิบัติ กับผู้ที่อยู่ภายในองค์กรเดียวกัน หรือภายใต้กลุ่มบริษัทในเครือเดียวกัน 2.2 Competitive
https://kantakannikar.blogspot.com/2012/09/benchmarking.html?view=flipcard 1/3
16/5/2564 ความเป็ นมาของ Benchmarking | Kru Kanta

Benchmarking คือ การทำ benchmarking กับคู่แข่งขันโดยตรง 2.3 Industry benchmarking คือ การทำ benchmarking กับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม
เดียวกัน แต่ไม่ใช่คู่แข่งขันกันโดยตรง 2.4 Generic Benchmarking คือ การทำ benchmarking กับองค์กรใดก็ตามที่มีความเป็นเลิศในกระบวนการทำงาน
นั้นๆ ซึ่งองค์กรนั้นอาจมีธุรกิจที่แตกต่างกับเราโดยสิ้นเชิง
แนวทางการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 1.Benchmarking แบบกลุ่ม คือ การทำ Benchmarking โดยรวมกลุ่มกับองค์กรอื่น ที่มีความ
ต้องการจะทำ Benchmarking เหมือนกัน ทำให้ประหยัดเวลาในการดำเนินการ เป็นการสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ดี แต่ต้องฟังเสียงข้างมากของทุก
องค์กรในกลุ่มว่าต้องการเน้น หรือทำ Benchmarking ในเรื่องไหน แบบไหนหากหัวข้อ Benchmarking ที่กลุ่มต้องการทำไม่ตรงกับความต้องการของเราเท่าที่
ควร ประโยชน์ที่ได้รับก็อาจจะน้อยลงไป 2.Benchmarking แบบเดี่ยว คือ การมีเพียงองค์กรเดียวที่ต้องการที่จะทำ benchmarking จึงกำหนดหัวข้อที่ต้องการ
ทำและดำเนินการตามกระบวนการ Benchmarking ที่ได้วางแผนไว้ สามารถเลือกผู้ที่จะเป็นคู่เปรียบเทียบได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรที่เราไปขอเปรียบเทียบด้วย
นั้น มีความประสงค์จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเราหรือไม่
ขั้นตอนการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก และ 10 ขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้ 1.การวางแผน 2. การวิเคราะห์ 3. การบูรณาการ 4. การปฏิบัติ
ข้อควรระวังในการใช้ Benchmarking ประกอบด้วย 1.อย่าเน้น Benchmarking เพียงแค่การวัดเปรียบเทียบ: ต้องเน้นผลจากการวัดเพื่อเรียนรู้
และถ่ายทอดความรู้ เพื่อพัฒนากระบวนงาน หน่วยงาน/ องค์กร 2.อย่าลืมที่จะเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล: เนื่องจาก การจะบรรลุการทำ benchmarking ใน
ขั้นแรกได้ ต้องรู้ว่าจะวัดสิ่งไหน ดังนั้น หากขาดข้อมูลเหล่านั้นไป ก็เป็นอันจบตั้งแต่เริ่ม จึงควรพิจารณา ความเป็นไปได้ของการได้มา และความคุ้มค่าของข้อมูล
ด้วย 3.อย่าลอกเลียนแบบการ Benchmarking ของคนอื่น: เพราะกระบวนงาน/ หน่วยงาน/องค์กรที่แตกต่างกัน มีจุดมุ่งหมาย/ พันธกิจ/ วิสัยทัศน์/ กลยุทธ์ที่
ต่างกัน ย่อมมีการวัดเปรียบเทียบต่างกันด้วย ดังนั้น หากประสงค์จะทำ benchmarking ตนเองพึงจะต้องพัฒนาด้วยตนเอง เพื่อให้เหมาะกับตน 4.อย่าทำ
Benchmarking โดยไม่ชัดเจนว่าทำเพื่ออะไร: มิฉะนั้น การทำ benchmarking ก็จะสูญเปล่า กลายเป็นอุปสรรค ภาระงานที่เพิ่ม ทรัพยากรสูญเสียโดยไม่
จำเป็น 5.อย่าหวังว่า Benchmarking จะเสร็จได้รวดเร็ว: เพราะ benchmarking เป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องใช่ว่าจะมีวันเสร็จสิ้น และไม่ต้องทำอีก ในขณะ
เดียวกัน แม้จะทำอย่างต่อเนื่อง ก็ใช่ว่า benchmarking จะบรรลุผลในระยะเวลาอันสั้น 6.อย่าละเลยการเตรียมความพร้อมขององค์กร องค์กรเองก็ต้องมีการ
ปรับตัวรับการทำ Benchmarking อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการปรับวัฒนธรรมองค์กร สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้, การปรับลักษณะการบริหารแบบสั่งการควบคุม สู่
การทำงานร่วมกัน-สนับสนุน-ให้คำแนะนำ (มากกว่าสั่งให้ทำ) การสร้างเครือข่าย-การแชร์ข้อมูลระหว่างพันธมิตร Benchmarking ขององค์กร ความสัมพันธ์ของ
Benchmarking, Benchmark, Best Practices ความสัมพันธ์ของสามคำนี้มีความเกี่ยวข้องกันกล่าวคือ กระบวนการทำ Benchmarking นำไปสู่การค้นพบผู้ที่
เป็น Benchmark หรือผู้ปฏิบัติได้ดีที่สุดว่าเป็นใคร และผู้ที่เป็น Benchmark สามารถตอบคำถามเราได้ว่า Best Practices หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดที่นำไปสู่
ความเป็นเลิศนั้นเขาทำได้อย่างไร
ขอบเขตของการทำ Benchmarking การทำ Benchmarking ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การการกระทำที่กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง หรือระดับใด
ระดับหนึ่งเท่านั้น benchmarking สามารถนำไปใช้ได้ทั่วทุกที่ในองค์กร ทั้งระดับกลยุทธ์และระดับปฏิบัติการ หรือ benchmarking กระบวนการโดยเปรียบ
เทียบที่ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) หรือผลลัพธ์ (Output) ของกระบวนการ เราสามามารถทำ benchmarking ได้ทุกเรื่องแล้วแต่ว่าจะนำไปใช้
เรื่องอะไร สามารถทำ benchmarking ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ หรือผลลัพธ์ได้ benchmarking สามารถทำได้ทั้งระดับกลยุทธ์และระดับปฏิบัติการ
ทำไมต้อง Benchmarking 1)เพราะหลักการของ benchmarking สนับสนุนการไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต คือ “ไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่า สิ่งที่
เราทำนั้นดีที่สุด” 2)เพราะหลักการของ benchmarking ลดความหยิ่งผยอง ให้ถ่อมตัวโดยยอมรับว่า “เรามีบางด้านอ่อนด้อยกว่าผู้อื่น” คือ รู้จุดยืน จุดเด่นและ
จุดด้อยของตน 3)เพราะวิธีการของ benchmarking ผลักดันให้เกิดความใส่ใจต่อโลกภายนอก เปิดหูเปิดตาผู้บริหารให้ ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าดู การ
เปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมทั้งในเชิงที่เป็นโอกาสและภาวะคุกคาม รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของคู่แข่ง 4)เพราะวิธีการของ benchmarking
สร้างวัฒนธรรมในการยอมรับและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ การเรียนรู้และการพัฒนามิใช่เทศกาล แต่เป็นงานประจำที่ต้องทำอยู่เสมอ ซึ่งการแลกเปลี่ยนความรู้
ระหว่างกัน การฝึก อบรม การค้นคว้า การรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญล้วนเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น 5)เพราะกระบวนการ benchmarking ต้องวัดและเปรียบเทียบ
การวัดย่อมต้องมีความชัดเจนว่าจะวัดอะไร การเปรียบเทียบย่อมต้องประเมินได้ นั่นย่อมหมายถึง การต้องอาศัยข้อเท็จจริงและข้อมูล (Face & Data) โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งข้อมูลเชิงปริมาณในการทำงาน มิใช่ประสบการณ์หรือความรู้สึก 6)เพราะ benchmarking ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะเป้าหมาย
(Target) การพัฒนามีความชัดเจนและท้าทาย (ผู้ที่เก่งกว่า หรือ เก่งที่สุด) วิธีการเดินทาง (Mean) สู่เป้าหมายเป็นไปได้ (มีผู้เคยทดลองและเคยได้ผลมาแล้ว)
หรือการเรียนรู้จากผู้อื่น และการเดินตามเฉพาะทางที่ควรเดิน ไม่ต้องเสียเวลากับความผิดพลาด หรือหลงทาง เช่นนี้ไหนเลยจะไม่ก้าวกระโดด
ลักษณะสำคัญของ Benchmarking เป็นวิธีการสร้างเป้าหมายของวิธีการปฏิบัติ และพัฒนางานให้มีคุณภาพที่ดี โดยขึ้นอยู่กับองค์กรที่เลือกวิธีการ
ปฏิบัติงานที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับธุรกิจหรืองานนั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือใหม่ สำหรับระบบงานที่ต้องการคุณภาพ มีการค้นคว้าและการพยายามเลียนแบบที่ดีที่สุด
โดยการจูงใจให้ ทุกคนในองค์กรมีส่วนเกี่ยวข้อง มีการศึกษาเรื่องของตนเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ซึ่งBenchmarking มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ 1.การหาข้อเท็จจริง
https://kantakannikar.blogspot.com/2012/09/benchmarking.html?view=flipcard 2/3
16/5/2564 ความเป็ นมาของ Benchmarking | Kru Kanta

ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่มีระบบที่ดีที่สุด 2.เป็นวิธีการสร้างเป้าหมายของวิธีปฏิบัติและพัฒนางานให้มีคุณภาพที่ดี 3.เป็นกระบวนการการเปรียบเทียบตัวของเราเองกับ


บริษัทที่ดีที่สุด ในอุตสาหกรรมเดียวกันในด้านต่างๆ 4.เป็นเครื่องมือใหม่สำหรับระบบงานที่ต้องการคุณภาพ มีการค้นคว้าและพยายามเลียนแบบที่ดีที่สุด
5.กระบวนการเปรียบเทียบระหว่างผลผลิต บริการ และวิธีการปฏิบัติของบริษัท เปรียบเทียบกับคู่แข่งที่เหนือเราที่สุด หรือเป็นบริษัทที่อยู่ในแนวหน้า
การวิเคราะห์ (Analysis) มีขั้นตอนหลักการวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย คือ 1.การวิเคราะห์หาช่วงห่าง ระหว่างตัวเรากับองค์กร
ที่เราไปเปรียบเทียบด้วย (Determine Current Performance Gap) 2.การคาดคะเนหาช่วงห่างที่เกิดขึ้นในอนาคต (Project Future Performance Levels)

[http://2.bp.blogspot.com/-
E3GJ0Z61Xec/UGhBStxmBqI/AAAAAAAAAB0/Ric-
xM9xmTk/s1600/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%872.JPG]

โพสต์เมื่อ 30th September 2012 โดย กรรณิการ์ พรจิตรสุวรรณ

0
เพิ่มความคิดเห็น

ป้อนความคิดเห็นของคุณ...

แสดงความคิดเห็นในฐานะ:
6290508 ออกจากระบบ

เผยแพร่ ดูตัวอย่าง
แจ้งเตือนฉัน

https://kantakannikar.blogspot.com/2012/09/benchmarking.html?view=flipcard 3/3

You might also like