You are on page 1of 57

บทที่ 10

ทฤษฎีการกาหนดรายได้ประชาชาติ

เนื้ อหา
10.1 กระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่าย
10.2 ส่วนประกอบต่างๆ ของรายได้ประชาชาติ
10.2.1 การใช้จา่ ยเพื่อการอุปโภคบริโภค(Consumption Expenditures)
10.2.2 การออมทรัพย์ (Saving)
10.2.3 การใช้จา่ ยเพื่อการลงทุน (Investment Expenditure)
10.2.4 ค่าใช้จา่ ยของรัฐบาล (Government Expenditure)
10.2.5 ผลสุ ทธิจากการค้าต่ างประเทศ (Net exports of goods and
services)
10.3 การกาหนดระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
10.3.1 ระบบเศรษฐกิจปิดทีไ่ ม่มรี ฐั บาล
10.3.2 ระบบเศรษฐกิจปิดทีม่ รี ฐั บาล
10.3.3 ระบบเศรษฐกิจเปิดทีม่ รี ฐั บาล
สาระสาคัญ
1. กระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจแสดงให้
เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เ กิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจซึ่งเป็ นที่มาของวิธ ีการวัด รายได้
ประชาชาติ
2. ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติประกอบด้วย การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (C)
การใช้จา่ ยลงทุนของเอกชนภายในประเทศ (I) การใช้จ่ายของรัฐบาล (G) และการส่งออกสุทธิ
(X – M) ในการวัดรายได้ประชาชาติจงึ ต้องพิจารณาสิง่ เหล่านี้ดว้ ย
3. การใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคของประชาชนจะขึน้ อยูก่ บั รายได้ และสามารถหา
ความโน้มเอียงในการบริโภค (Propensity to Consume: PC) หรือฟงั ก์ชนการบริ ั่ โภค
(Consumption Function) ได้ ซึง่ จะมีลกั ษณะเป็นเช่นไรขึน้ อยูก่ บั MPC

EC 103 213
4. ความโน้มเอียงในการบริโภคเฉลีย่ (Average Propensity to Consume: APC)
หมายถึง ค่ าใช้จ่ายเพื่อการอุ ปโภคบริโภคที่ค ิดเฉลี่ยต่ อ 1 หน่ วยของรายได้ หาได้จาก
อัตราส่วน C ต่อ Y
5. ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่ วยเพิม่ (Marginal Propensity to Consume:
MPC) หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคทัง้ หมดทีเ่ พิม่ ขึน้ เมื่อรายได้เพิม่ ขึน้ 1 หน่ วย
(บาท) หาได้จากอัตราส่วนของ C ต่อ Y หรือ  C
Y

6. การออม คือ รายได้ส่วนที่มไิ ด้นาไปใช้ในการบริโภค ดังนัน้ ฟงั ก์ชนการออม


ั่
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการออมกับรายได้
7. ความโน้มเอียงในการออมทรัพย์เฉลีย่ (Average Propensity to Save: APS)
หมายถึง จานวนเงินออมทีค่ ดิ เฉลีย่ ต่อหนึ่งหน่วยของรายได้ หาได้จาก S
Y

8. ความโน้มเอียงที่จะออมทรัพย์หน่ วยเพิม่ (Marginal Propensity to Save:


MPS) หมายถึง การเปลีย่ นแปลงในจานวนเงินออมทีเ่ พิม่ ขึน้ เมือ่ รายได้เปลีย่ นแปลงเพิม่ ขึน้ 1
หน่วย (บาท) หาได้จากอัตราส่วนของ S ต่อ Y หรือ  S
Y

9. APC + APS = 1 และ MPC + MPS = 1


10. การใช้จ่ า ยเพื่อ การลงทุ น หมายถึง การใช้จ่ า ยที่จ ะก่ อ ให้เ กิด การเพิ่ม พู น
สินทรัพย์ประเภททุน ซึง่ อาจนาไปใช้ประโยชน์ในการผลิตต่อไป
11. ความโน้มเอียงทีจ่ ะลงทุนหน่ วยเพิม่ (Marginal Propensity to Invest: MPI)
หมายถึง การเปลีย่ นแปลงในปริมาณการลงทุน เมือ่ รายได้เปลีย่ นแปลงไป 1 หน่ วย (บาท) ซึง่
หาได้จากอัตราส่วนของ I ต่อ Y หรือ  I
Y

12. ตัวทวีของการลงทุน (Investment Multiplier: kI) คือ ค่าทีเ่ ป็ นตัวเลขทีแ่ สดงว่า


เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงในการใช้จา่ ยลงทุน จะทาให้รายได้ประชาชาติเปลีย่ นแปลงไปเท่ากับตัว
ทวีของการลงทุนคูณด้วยการเปลีย่ นแปลงในปริมาณการลงทุน
13. เงือ่ นไขของดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจปิดทีม่ รี ฐั บาล คือ เมื่อผลรวมของการใช้
จ่ายซือ้ สินค้าและบริการของประชาชน ภาคธุรกิจ และรัฐบาล เท่ากับมูลค่าของผลิตทัง้ หมดที่
ผลิตได้ ซึง่ ก็คอื รายได้ทงั ้ หมดของระบบเศรษฐกิจ

214 EC 103
14. เมื่อ ระบบเศรษฐกิจเป็ นระบบเศรษฐกิจเปิ ด การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ าสินค้า
ส่งออก และมูลค่าสินค้านาเข้าจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติ

วัตถุประสงค์
เมือ่ ศึกษาบทที่ 10 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายกระแสการหมุนเวียนของรายได้รายจ่ายที่เกิดขึน้ ในระบบเศรษฐกิจซึ่ง
เป็นทีม่ าของวิธกี ารวัดรายได้ประชาชาติได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคและการออมได้
3. อธิบ ายความหมายของฟ งั ก์ช นั ่ การบริโ ภค และเขีย นภาพของฟ งั ก์ช นั ่ การ
บริโภคได้
4. อธิบายความหมายของ APC, MPC, APS, MPS, MPI และ MPM ได้อย่าง
ถูกต้อง
5. อธิบายความสัมพันธ์ของ MPC และ MPS ได้
6. อธิบายความหมายของฟงั ก์ชนการออม
ั่ และเขียนกราฟของฟงั ก์ชนการออมได้
ั่
7. อธิบายความหมายของการลงทุน และลักษณะของเส้นการลงทุนได้อย่างถูกต้อง
8. อธิบายความหมายของตัวทวีของการลงทุน ตัวทวีของการใช้จ่ายของรัฐบาล
และตัวทวีของภาคการค้าต่างประเทศได้
9. บ่งชีไ้ ด้ว่าการเปลีย่ นแปลงในการลงทุนมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงในระดับรายได้
ประชาชาติ และสามารถคานวณได้ว่าเป็นปริมาณเท่าใด
10. อธิบายได้ว่ าการใช้จ่า ยของรัฐบาลและการเก็บภาษีของรัฐบาลมีผ ลต่ อ การ
เปลีย่ นแปลงในระดับรายได้ประชาชาติในลักษณะใด และสามารถคานวณได้
11. อธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าสินค้าส่งออกและมูลค่าสินค้านาเข้ามีผล
ต่อการเปลี่ยนแปลงในรายได้ประชาชาติในลักษณะใด และสามารถคานวณได้ว่า เป็ นปริมาณ
เท่าใด

EC 103 215
10.1 กระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่าย (Circular flow)
ในระบบเศรษฐกิจเสรี จะพบว่ากิจ กรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเวลาใดเวลา
หนึ่งจะมีผลโดยตรงกับเศรษฐกิจของประเทศไม่ว่ากิจกรรมนัน้ จะเกิดขึน้ ในส่วนของครัวเรือน
(household sector) หน่ วยธุรกิจ (business sector) รัฐบาล (government) และส่วนต่างประเทศ
(foreign sector) เนื่องจากหน่ วยเศรษฐกิจต่างๆ มีความสัมพันธ์กนั โดยจะพบว่ามูลค่าของ
สินค้าและบริการจะเท่ากับรายจ่ายรวมและเท่ากับรายได้รวม ดังนัน้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่
เกิดขึน้ กับหน่วยเศรษฐกิจเหล่านี้ยอ่ มมีผลต่อรายได้ประชาชาติ
ในการพิจารณากระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายจะพิจารณาเป็ น 4
กรณี คือ
1. ถ้าแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็ น 2 ส่วนง่าย ๆ และสมมุตวิ ่าเป็ นระบบเศรษฐกิจ
ปิด (Closed economy นัน่ คือไม่มกี ารค้าระหว่างประเทศ) โดย 2 ส่วนของระบบเศรษฐกิจ
ประกอบด้วย
(1) หน่ วยธุรกิจหรือหน่ วยผลิต (Business sector) ซึง่ ทาหน้าทีใ่ นการผลิต
สินค้าโดยได้รบั ปจั จัยการผลิตจากครัวเรือน
(2) ครัวเรือน (Household sector) ซึง่ เป็ นผูซ้ พั พลายปจั จัยการผลิตให้แก่หน่ วย
ผลิต และเป็นผูม้ ดี มี านด์ในสินค้า
การพิจารณาการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายแสดงได้ดว้ ยรูปที่ 10 – 1

รูปที่ 10 – 1 แสดงการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่าย

ค่าตอบแทนของปจั จัยการผลิตหรือรายได้

ปจั จัยการผลิต

หน่วยธุรกิจ ครัวเรือน

สินค้าและบริการ
รายจ่ายในการซือ้ สินค้า

216 EC 103
จากรูปที่ 10 – 1 จะเห็นว่าส่วนของครัวเรือนจะเป็ นผู้เสนอขายปจั จัยการ
ผลิต ให้ แ ก่ ห น่ ว ยธุ ร กิจ และจะได้ร ับ ผลตอบแทนป จั จัย การผลิต ในรูป ของค่ า จ้า ง ค่ า เช่ า
ดอกเบี้ย และกาไร ซึ่งจะเป็ นรายได้ของครัวเรือน และเมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้ว ครัวเรือน
จ่ายเงินซือ้ สินค้าไปบริโภค ดังนัน้ ดุลยภาพจะเกิดขึน้ เมือ่ รายได้รวมเท่ากับรายจ่ายรวม โดยใน
กรณีน้จี ะเห็นว่าไม่มกี ารออมเกิดขึน้
นันคื
่ อ เศรษฐกิจจะได้ดุลยภาพเมือ่
รายได้รวม (Aggregate Supply) = รายจ่ายรวม (Aggregate Demand)
2. ถ้าระบบเศรษฐกิจเป็ นระบบเศรษฐกิจปิ ดและมีการเก็บออมเงิน ถ้าหากว่ามี
การออม (Saving) แล้วนาเงินออมไปลงทุน (Investment) ดังแสดงด้วยรูปที่ 10 – 2
รูปที่ 10 – 2 แสดงให้เห็นระบบเศรษฐกิ จจะได้ดลุ ยภาพเมื่อ S = I

รายได้

หน่วยธุรกิจ ครัวเรือน
รายจ่าย

Investment สถาบันการเงิน Saving

จากรูปที่ 10 – 2 ถ้าครัวเรือนเก็บออมเงินไว้จะทาให้รายได้มากกว่ารายจ่าย
เงินทีเ่ ก็บออมนี้ถอื ว่าเป็นส่วนรัวไหล
่ (withdrawal or leakage) ซึง่ เป็นกระแสรายจ่ายทีอ่ อกไป
จากระบบเศรษฐกิจซึง่ จะมีผลให้รายได้ของระบบเศรษฐกิจลดลง และเงินออมนี้จะถูกเก็บออม
อยู่ในสถาบันการเงิน วงจรของการหมุนเวียนของรายได้รายจ่ายจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อธุรกิจนา
เงินจากสถาบันการเงินไปลงทุนอีกครัง้ เงินทีน่ าไปลงทุน (Investment) ถือว่าเป็ นส่วนทีอ่ ดั ฉีด
เข้าไปหรือเป็นส่วนกระตุน้ (Injection) ในระบบเศรษฐกิจ
เนื่องจากรายได้ทค่ี รัวเรือนได้รบั มาทัง้ หมด (Income: Y) ส่วนหนึ่งจะใช้ไปใน
การบริโภคสินค้าและบริการ (Consumption: C) และอีกส่วนหนึ่งถูกเก็บออม (Saving: S) นันคื ่ อ
Y = C+S
EC 103 217
เงินทีถ่ ูกเก็บออม (S) ในทีส่ ุดจะนาไปลงทุน (I) ดังนัน้ การใช้จ่ายทัง้ สิน้ ของระบบ
เศรษฐกิจ จะประกอบด้วยการใช้จ่ายบริโภค (C) และการใช้จ่ายลงทุน (I) วงจรการหมุนเวียน
ของรายได้จะสมบูรณ์กต็ ่อเมือ่
รายได้รวม (Aggregate Supply) = รายจ่ายรวม (Aggregate Demand)
Y = C+I
C+S = C+I
S = I
Leakage = Injection
3. ถ้าระบบเศรษฐกิจเป็ นระบบเศรษฐกิจปิดทีม่ รี ฐั บาล (Closed economy with
public sector) กระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่าย แสดงได้ดว้ ยรูปที่ 10 – 3

รูปที่ 10 – 3 แสดงให้เห็นระบบเศรษฐกิ จจะได้ดลุ ยภาพเมื่อ S + T = I + G

รายได้

เงินลงทุน เงินออม
หน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน ครัวเรือน

รายจ่าย
ภาษี ภาษี
รัฐบาล
การใช้จา่ ยของรัฐบาล การใช้จา่ ยของรัฐบาล

รัฐบาลเข้ามาทาหน้าที่ 2 อย่างคือ เก็บภาษีและใช้จ่าย เมื่อรัฐบาลเก็บภาษีจาก


ครัวเรือนและเก็บภาษีจากหน่วยธุรกิจ เงินก็จะรัวไหล
่ (leakage) จากครัวเรือนและหน่ วยธุรกิจ
มายังรัฐบาล รัฐบาลจะใช้จา่ ยซือ้ ปจั จัยการผลิตจากครัวเรือน และจ่ายซือ้ สินค้าและบริการของ
ธุรกิจ ซึง่ ถือว่าเป็นการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ (Injection)

218 EC 103
ระบบเศรษฐกิจจะได้ดุลยภาพเมื่ออุปสงค์รวม (Aggregate Demand) เท่ากับ
อุทานรวม (Aggregate Supply)
อุปสงค์รวม: AD = C+I+G
อุปทานรวม: Y = C+S+T
ดังนัน้ C+I+G = C+S+T
I+G = S+T
Injections = Leakages
4. ในกรณีทร่ี ะบบเศรษฐกิจเป็ นระบบเศรษฐกิจเปิด (Opened economy คือ มีภาค
ต่างประเทศ กระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่าย แสดงด้วยรูปที่ 10 – 4

รูปที่ 10 – 4 แสดงให้เห็นการหมุนเวียนรายได้และรายจ่ายในระบบเศรษฐกิ จเปิ ด

รายได้จากสินค้าส่งออก รายได้จากบริการส่งออก
ภาคต่างประเทศ
รายจ่ายซือ้ สินค้าเข้า รายจ่ายบริการนาเข้า
รายได้

หน่วยธุรกิจ Investment สถาบันการเงิน Saving ครัวเรือน

รายจ่าย

ภาษี ภาษี
รัฐบาล
การใช้จา่ ยของรัฐบาล การใช้จา่ ยของรัฐบาล
เมือ่ มีภาคต่างประเทศ หน่วยธุรกิจขายสินค้าและบริการให้ต่างประเทศ หน่ วยธุรกิจ
ได้รบั เงินมาเป็ นส่วนอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ (Injection) สาหรับครัวเรือนส่งปจั จัย
การผลิต เช่น การไปทางานต่างประเทศ เป็ นต้น ได้รบั รายได้ม าก็จะเป็ นส่วนกระตุ้นระบบ

EC 103 219
เศรษฐกิจเช่นกัน ในทางตรงกันข้ามเมื่อ หน่ วยธุรกิจและครัวเรือ นจ่ายซื้อ สินค้านาเข้าและ
บริการนาเข้าก็จะเป็นส่วนรัวไหล
่ (leakages) ของระบบเศรษฐกิจ
เมือ่ รวมกระแสรายได้และรายจ่ายทัง้ หมดในประเทศเศรษฐกิจจะได้ความสัมพันธ์ว่า
มูลค่ าของสินค้าและบริการทัง้ หมด เท่ากับ รายจ่ายซื้อสินค้าและบริการทัง้ หมด
เท่ากับรายได้ทเ่ี กิดขึน้ ทัง้ หมด
อุปสงค์รวม: AD = C+I+G+X
อุปทานรวม: Y = C+S+T+M
ดังนัน้ เมือ่ เศรษฐกิจได้ดุลยภาพ
C+I+G+X = C+S+T+M
I+G+X = S+T+M
Injections = Leakages
กระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่าย จะสะท้อนให้เห็นการดาเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ว่ามีการหมุนเวียนของสินค้าและบริการ รายได้และ
รายจ่ายเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ในการวัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศจะวั ดจาก
กระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่าย ซึง่ เป็ นทีม่ าของวิธกี ารวัดรายได้ประชาชาติ โดย
ถ้ายิง่ มีการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายมากเท่าใดก็แสดงว่ามีระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
สูงและรายได้ประชาชาติกจ็ ะสูงด้วย

กิ จกรรมการเรียนที่ 1
1. อธิบายความสัมพันธ์ของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในกรณีทเ่ี ป็นระบบเศรษฐกิจปิด
และระบบเศรษฐกิจเปิดทีไ่ ด้ก่อให้เกิดกระแสการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายในระบบ
เศรษฐกิจ
2. เขียนสมการทีแ่ สดงถึงดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ เมือ่ ระบบเศรษฐกิจเป็น
ระบบเศรษฐกิจปิดทีไ่ ม่มรี ฐั บาล ระบบเศรษฐกิจปิดทีม่ รี ฐั บาล และระบบเศรษฐกิจเปิด

220 EC 103
10.2 ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติ (Component of National Income)
ในการวิเ คราะห์รายได้ประชาชาติเ พื่อ ที่จะได้ค าตอบว่าอะไรทาให้ต ัว เลขรายได้
ประชาชาติเพิม่ ขึน้ หรือลดลงจะต้องพิจารณาจากอุปสงค์รวม (Aggregate Demand: AD) ซึง่
หมายถึง ผลรวมของค่ า ใช้จ่า ยทัง้ หมด ซึ่ง ประกอบด้ว ย การใช้จ่า ยเพื่อ การอุ ป โภคของ
ประชาชน (C) การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน (I) การใช้จ่ายของรัฐบาล (G) และผลสุทธิจากการค้า
ต่างประเทศ (X – M) ถ้าส่วนประกอบของอุปสงค์รวมเปลี่ยนแปลงไปจะมีผลให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในรายได้ประชาชาติ และการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติจะมากน้ อ ย
เพียงใดขึน้ อยูก่ บั ขนาดของมูลค่าอุปสงค์รวมและตัวทวี (multiplier)
เพื่อให้เข้าใจถึงทฤษฎีการกาหนดรายได้ประชาชาติจงึ ต้องเข้าใจถึงส่วนประกอบ
ต่างๆ ของรายได้ประชาชาติ

10.2.1 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริ โภค (Consumption Expenditure: C)


ปจั จัยที่กาหนดการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคก็คอื รายได้ท่อี ยู่ในมือ ใน
การพิจารณาถึงการใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภคบริโภคของประชาชน จะต้อ งทาความเข้าใจใน
เบือ้ งต้นสิง่ ต่อไปนี้ก่อน

1. ความโน้ มเอี ยงที่ จะใช้ จ่ายเพื่อการอุปโภคบริ โภค (Propensity to


Consume: PC) บางทีเรียกว่า ฟังก์ชนการบริ
ั่ โภค (Consumption Function)
ความโน้มเอียงที่จะใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคจะแสดงความสัมพันธ์ของระดับ
การใช้จา่ ยเพื่อการอุปโภคบริโภค ณ ระดับรายได้ต่างๆ กัน
ตารางที่ 10 – 1 ตารางความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และรายจ่าย
รายได้ (Y) ค่าใช้จา่ ยเพื่อการอุปโภคบริโภค (C)
1,000 800
2000 1550
3000 2250
4000 2850
5000 3350
6000 3750

EC 103 221
จากตารางความสัมพันธ์ของรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค นาเอาค่า
ของ Y และ C เขียนลงในรูปกราฟจะได้เส้นฟงั ก์ชนั การบริโภค (Consumption function) ดัง
รูปที่ 10 – 5

รูปที่ 10 – 5 แสดงความโน้ มเอียงที่ จะบริ โภค (Propensity to Consume: PC) หรือ


ฟังก์ชนการบริ
ั่ โภค (Consumption Function)

ค่าใช้จ่ายบริโภค (C): ฿

C: Consumption Function
3750
3350
2850
2250
1550

800

0 1000 2000 3000 4000 5000 6000 รายได้ (Y): ฿


เส้น C จะแสดงความสัมพันธ์ของการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค ณ ระดับรายได้ต่างๆ กัน
ลักษณะของเส้น C จะมีลกั ษณะทอดขึน้ จากซ้ายไปขวา แสดงว่าเมื่อรายได้เพิม่ ขึน้ การใช้จ่าย
เพื่อการบริโภคจะเพิม่ ขึน้ ด้วย
ความชัน (Slope) ของเส้นฟงั ก์ชนการบริ
ั่ โภค (C) หาได้จากอัตราส่วนของการ
เปลีย่ นแปลงในค่าใช้จา่ ยบริโภคกับการเปลีย่ นแปลงของรายได้ นันคื
่ อ
Slope of Consumption function = C
Y

222 EC 103
2. ความโน้ มเอียงในการบริ โภคเฉลี่ย (Average Propensity to Consume:
APC)
หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคทีค่ ดิ เฉลีย่ ต่อ 1 หน่ วยของรายได้
โดยหาได้จากอัตราส่วนของค่าใช้จา่ ยเพื่อการอุปโภคบริโภคกับรายได้
APC = C
Y

3. ความโน้ มเอี ยงในการบริ โภคหน่ วยที่ เพิ่ ม (Marginal Propensity to


consume: MPC)
หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคทัง้ หมดที่เพิม่ ขึน้ เมื่อรายได้
เพิม่ ขึน้ 1 หน่วย (บาท) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง MPC จะแสดงให้เห็นว่าเมื่อรายได้เปลีย่ นแปลง
เพิม่ ขึน้ 1 หน่วย (บาท) จะมีผลทาให้รายจ่ายในการบริโภคเปลีย่ นแปลงเพิม่ ขึน้ เท่าใด
ดังนัน้ MPC จะแสดงถึงอัตราส่วนของการใช้จ่ายบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
(C) ต่อการเปลีย่ นแปลงของรายได้ (Y)
MPC = C
Y

จะเห็นได้ว่า ค่ า ของ MPC ก็ค ือ ค่ า ความชัน (Slope) ของเส้นฟ งั ก์ชนการ


ั่
บริโภคทัง้ นี้เพราะว่า
Slope of Consumption function = C
Y

ดังนัน้ Slope of Consumption function = C = MPC


Y

ตามแนวคิดของ John Maynard Keynes มีความเห็นว่าค่าของ MPC จะมี


ค่าเป็ นบวก (positive) แต่มคี ่าน้อยกว่า 1 (0 < MPC < 1) ซึง่ แสดงว่าเมื่อรายได้เพิม่ ขึน้ จะทา
ให้การใช้จ่ายบริโภคเพิม่ ขึน้ ด้วย แต่การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายบริโภคที่เพิม่ ขึน้ จะน้อยกว่า
การเปลีย่ นแปลงของรายได้ทเ่ี พิม่ ขึน้
จากตารางที่ 10 – 1 ค่าของ MPC หาได้จากอัตราส่วนของ C ต่อ Y
เช่น เมือ่ รายได้เพิม่ ขึน้ จาก 4,000 บาท เป็น 5,000 บาท การใช้จา่ ยเพื่อบริโภคจะเพิม่ ขึน้ จาก

EC 103 223
2,850 บาท เป็ น 3,350 บาท ดังนัน้ รายได้เพิม่ ขึน้ (Y) เท่ากับ 1,000 บาท และการใช้จ่าย
เพื่อบริโภคเพิม่ ขึน้ (C) เท่ากับ 500 บาท
3,350  2,850
ดังนัน้ MPC = = 500 = 0.5
5,000  4,000 1,000

ลักษณะของเส้น C จะเป็นอย่างใดขึน้ อยูก่ บั MPC กล่าวคือ


(1) ถ้า MPC เท่ากันในทุกๆ หน่ วยของ Y ทีเ่ พิม่ ขึน้ แล้ว จะทาให้เส้น C เป็ น
เส้นตรง
(2) ถ้า MPC น้อยลงตามลาดับในทุกๆ หน่ วยของ Y ทีเ่ พิม่ ขึน้ แล้ว เส้น C จะมี
ลักษณะการเพิม่ ขึน้ ทีน่ ้อยลงเมือ่ รายได้เพิม่ ขึน้ แสดงว่าเมือ่ รายได้เพิม่ ขึน้ การใช้จา่ ยบริโภคจะ
เพิม่ ขึน้ ด้วย แต่อตั ราการเพิม่ ขึน้ ของรายได้มากกว่าอัตราการเพิม่ ขึน้ ของการใช้จา่ ยบริโภค
เมื่อหาค่า MPC ได้แล้วก็จะสามารถหาค่าของความโน้มเอียงในการออมหน่ วยที่
เพิม่ (Marginal Propensity to Save: MPS) ซึง่ หมายถึงการออมทัง้ หมดทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป
เมือ่ รายได้เปลีย่ นแปลงไป 1 หน่วย (บาท)
ค่าของ MPS หาได้จากอัตราส่วนของการออมทรัพย์ทงั ้ หมดที่เปลี่ยนแปลงไป
(S) ต่อการเปลีย่ นแปลงของรายได้ (Y)
S
MPS = Y

เนื่องจาก Y = C + S
Y C S
ดังนัน้ = Y
+ Y
Y

หรือ MPC + MPS = 1 เสมอ


เมือ่ ต้องการหาค่า MPS จึงได้ว่า
MPS = 1 – MPC
จากตารางที่ 10 – 1 สามารถหาค่าของ APC, MPC และ MPS ได้ดงั ตารางที่ 10
–2

224 EC 103
ตารางที่ 10 – 2 แสดงค่าของ APC , MPC และ MPS

รายได้ ค่าใช้จา่ ยเพื่อการ APC Y C MPC MPS


(Y) อุปโภคบริโภค (C) = YC = YC = 1 - MPC
1,000 800 0.8 - - - -
2000 1550 0.77 1000 750 0.75 0.25
3000 2250 0.77 1000 700 0.7 0.3
4000 2850 0.71 1000 600 0.6 0.4
5000 3350 0.57 1000 500 0.5 0.5
6000 3750 0.62 1000 400 0.4 0.6

4. การเปลี่ยนแปลงของฟังก์ชนการบริ
ั่ โภค (C)
การเปลีย่ นแปลงของฟงั ก์ชนการบริ
ั่ โภค (C) จะเกิดขึน้ ได้ใน 2 กรณี คือ
1. การเปลี่ยนแปลงในปริ มาณการใช้จ่ายอุปโภคบริ โภค (Consumption)
หมายถึง การเพิ่ม ขึ้น หรือ ลดลงของปริม าณการใช้จ่า ยของประชาชน
เนื่องจากรายได้เปลีย่ น ดังแสดงในรูปที่ 10 – 6

รูปที่ 10 – 6 แสดงการเปลี่ยนแปลงในปริ มาณการใช้จ่ายบริ โภค

C: ฿

C
C2
C1

0 Y: ฿
Y1 Y2

EC 103 225
2. การเปลี่ ยนแปลงในความโน้ มเอี ยงเพื่ อการใช้ จ่ ายอุ ปโภคบริ โภค
(Change in Propensity to Consume)
หมายถึงการเปลีย่ นแปลงในเส้น C ไปทัง้ เส้น แม้ระดับรายได้ (Y) จะคงเดิม

รูปที่ 10 – 7 แสดงการเปลี่ยนแปลงในความโน้ มเอียงที่จะใช้จ่ายอุปโภคบริ โภค

C: ฿

C1 C
C
C
C
C2

0 Y: ฿
Y

การเปลีย่ นแปลงในความโน้มเอียงทีจ่ ะใช้จ่ายอุปโภคบริโภค (Propensity to


Consume) เกิดขึน้ เนื่องจากการเปลีย่ นแปลงในปจั จัยทีก่ าหนดความโน้มเอียงในการบริโภค
ได้แก่
(1) ลักษณะการกระจายรายได้ (Pattern of income distribution)
ถ้ามีการกระจายรายได้เสมอภาค จะทาให้ระดับความโน้ มเอียงใน
การบริโภค (เส้น C) เพิม่ ขึน้ เพราะว่าเมื่อมีการกระจายรายได้เสมอภาคทาให้ประชาชนโดย
เฉลี่ยมีรายได้ต่ า และจะนาเอารายได้เกื อบทัง้ หมดไปเพื่อ การบริโภค แต่ถ้ามีการกระจาย
รายได้ไม่เสมอภาค จะมีบางคนทีมรี ายได้สูงและคนบางกลุ่มมีรายได้ต่ า ผู้ทม่ี รี ายได้สูงจะเก็บ
ออมทาให้เส้น C ลดต่าลง
(2) การคาดคะเนเกี่ยวกับราคาและอุปทานของสิ นค้า
ถ้าคาดคะเนว่าอุปทานของสินค้าจะน้อยลง นัน่ คือคาดว่าราคาของ
สินค้านัน้ จะเพิม่ ขึน้ จะเร่งให้ประชาชนใช้จา่ ยเพิม่ ขึน้ ทัง้ นี้เนื่องจากการกักตุนสินค้า แต่ถ้าคาด

226 EC 103
ว่าอุปทานของสินค้าจะมากขึน้ นัน่ คือคาดว่าราคาสินค้านัน้ จะลดลง จะทาให้เส้น C ลดต่ าลง
ทัง้ นี้เพราะประชาชนจะประวิงเวลาการใช้จา่ ยไว้
(3) การจัดเก็บภาษี อากรของรัฐ
การจัดเก็บภาษีจะทาให้รายได้สุทธิหลังเก็บภาษีเปลีย่ นแปลง แม้ว่า
รายได้ประชาชาติจะคงเดิม ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีเพิม่ ขึน้ จะทาให้ประชาชนมีเงินใช้จ่ายลดลง
ทาให้เส้น C ลดต่ าลง และถ้ารัฐบาลลดการเก็บภาษีลงจะทาให้ประชาชนมีเงินใช้จ่ายมากขึน้
ทาให้เส้น C เพิม่ ขึน้
การเก็บภาษีจะทาให้เส้น C เปลีย่ นแปลงมากน้อยเท่าใดขึน้ อยู่กบั
ชนิดของภาษี และกลุ่มบุคคลทีถ่ ูกจัดเก็บภาษี เช่น ถ้าเก็บภาษีจากกลุ่มคนทีม่ รี ายได้น้อย จะ
ทาให้เส้น C เปลีย่ นแปลงไปมาก
(4) การใช้เครดิ ตและอัตราดอกเบี้ย (Credit facilities and interest
rate)
ถ้ามีการให้เครดิต เช่น การผ่อนส่งสินค้าบริโภคคงทนประเภทตู้เย็น
โทรทัศน์ รถยนต์ ฯลฯ จะทาให้ผู้ท่มี รี ายได้ต่ าสามารถซื้อสินค้ามาสนองความต้องการได้
จะทาให้ความโน้มเอียงทีจ่ ะใช้จา่ ยบริโภค (PC) เพิม่ สูงขึน้
สาหรับอัตราดอกเบี้ยก็มผี ลต่อเส้น C เช่นกัน กล่าวคือ ถ้าอัตรา
ดอกเบีย้ สูงขึน้ จะจูงใจให้บุคคลเก็บออมมากขึน้ ถ้าบุคคลนัน้ หวังผลตอบแทนในรูปของอัตรา
ดอกเบีย้ จึงทาให้เส้น C ลดต่าลง อย่างไรก็ตามการทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ สูงขึน้ อาจมีผลให้บุคคลที่
ต้องการออมเงินเพื่อให้มเี งินออมตามทีก่ าหนดลดการออมลง และมีผลให้เส้น C เพิม่ สูงขึน้
นอกจากนี้ยงั มีปจั จัยอื่นๆ ทีม่ ผี ลต่อเส้น C ได้แก่ การเปลีย่ นแปลงของ
รสนิยม(Changes in consumer tastes) การเอาอย่างกันในการบริโภค (Demonstration
effect) มูลค่าเพิม่ ของทรัพย์สนิ และการขาดทุนของทรัพย์สนิ (Capital gains and capital
losses) การเปลีย่ นแปลงในรายได้ในอนาคต จานวนประชากรทีเ่ พิม่ ขึน้ หรือลดลง เป็นต้น

กิ จกรรมการเรียนที่ 2
1. ให้พจิ ารณาว่าเหตุใดเส้นฟงั ก์ชนการบริ
ั่ โภค (Consumption Function) จึงมีลกั ษณะ
เป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง
2. การเปลีย่ นแปลงไปทัง้ เส้นของฟงั ก์ชนั การบริโภคเกิดขึน้ เนื่องจากปจั จัยใดบ้าง
3. ให้พจิ ารณาว่าเพราะเหตุใด APC + APS = 1 และ MPC + MPS = 1
EC 103 227
5. สมการของการใช้จ่ายบริ โภค
ในการใช้จา่ ยบริโภคของบุคคลจะพบว่าการบริโภคมี 2 ส่วน คือ
1. การบริ โ ภคโดยอิ ส ระหรื อ การบริ โ ภคโดยอัตโนมัติ (Autonomous
consumption)
การบริโ ภคโดยอิส ระเป็ น การบริโ ภคที่ไ ม่ข้นึ อยู่กับ รายได้ กล่ า วคือ
ในขณะทีย่ งั ไม่มรี ายได้กจ็ ะยังคงมีการใช้จ่ายบริโภคเพื่อความอยู่รอด นัน้ คือ เมื่อ Y = 0 จะมี
การบริโภคอยูจ่ านวนหนึ่ง
2. การบริ โภคโดยจูงใจ (Induced consumption)
การบริโภคโดยจูง ใจเป็ นการบริโภคที่ข้ึนอยู่กับรายได้ กล่ า วคือ เมื่อ
รายได้เพิม่ ขึน้ ค่าใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคเพิม่ ขึน้ ด้วย แต่เพิม่ ขึน้ น้อยกว่ารายได้ทเ่ี พิม่
ดังนัน้ ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคจะประกอบด้วย การบริโภคโดยอิสระ และ
การบริโภคโดยจูงใจ นันคื
่ อ
C = C0 + C (Y)
โดยที่ C = ค่าใช้จา่ ยทัง้ หมดเพื่อการบริโภค
C0 = การบริโภคโดยอิสระ (Autonomous Consumption)
C(Y) = การบริโภคโดยจูงใจ (Induced Consumption) ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั
รายได้
ถ้าสมมุติ การใช้จ่ายบริโภคที่ขน้ึ อยู่กับรายได้มคี วามสัมพันธ์เป็ นเส้นตรง มีรูป
สมการคือ
C = a + bY
โดยที่ a คือ จุดตัดทางแกนตัง้ ของฟงั ก์ชนั การใช้จา่ ยบริโภค ซึง่ แสดงว่า เมือ่
รายได้ (Y) = 0 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเท่ากับ a ดังนัน้ a จึง
เป็ นการบริโ ภคโดยอัต โนมัติซ่งึ ไม่ข้นึ อยู่กับรายได้ (autonomous
consumption)
bY คือ การบริโภคทีข่ น้ึ อยูก่ บั รายได้ (induced consumption) กล่าวคือ

228 EC 103
เมือ่ Y เพิม่ C จะเพิม่ ด้วย
b คือ ความชันของเส้นฟงั ก์ชนั การบริโภคหรือคือความโน้ มเอียงที่จะใช้
จ่ายบริโภคหน่วยเพิม่ (Marginal Propensity to Consume: MPC)
จากสมการการใช้จ่ายบริโภคที่ขน้ึ อยู่กบั รายได้มคี วามสัมพันธ์เป็ นเส้นตรง มีรูป
สมการคือ C = a + b Y สามารถนามาเขียนเป็นกราฟได้ดงั รูปที่ 10 – 8

รูปที่ 10 – 8 แสดงฟังก์ชนการบริ
ั่ โภค (Consumption Function: C)

การใช้จ่ายบริโภค
(C)
Consumption function
C
C = a + bY
Y
C
MPC = = b
Y
a

0
รายได้ (Y)
10.2.2 การออมทรัพย์ (Saving)
เงินออม (Saving) ก็คอื ส่วนของรายได้ทเ่ี หลือจากการบริโภค
จาก Y = C+S
ดังนัน้ S = Y–C
ผูท้ ท่ี าการออมได้แก่
(1) ประชาชนทัวๆ
่ ไปทีม่ ใิ ช่หน่วยผลิต ซึ่งเป็ นผูท้ ท่ี าการออมส่วนใหญ่
ของเศรษฐกิจ ทาการออมโดยลดการบริโภคลง
(2) หน่ วยผลิต ซึ่งออมโดยเงินที่ธุรกิจตัง้ เป็ นค่าเสื่อม และเงินที่ธุรกิจ
กันไว้จากกาไรโดยไม่แบ่งเป็ นเงินปนั ผลให้ผถู้ อื หุน้ (undistributed corporate profits)

EC 103 229
(3) รัฐบาล การออมเงินของรัฐบาลทาโดยตัง้ งบประมาณรายรับสูงกว่า
รายจ่าย (Surplus budget)
ในการพิจารณาถึงการออมทรัพย์จะต้องทาความเข้าใจในเบือ้ งต้นสิง่ ต่อไปนี้ก่อน
1. ความโน้ มเอียงที่จะออมทรัพย์ (Propensity to Save) หรือฟังก์ชนการออม
ั่
(Saving Function)
ฟงั ก์ชนการออม
ั่ (Saving Function) จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของจานวน
เงินออม ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ กัน
ถ้าทราบความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และค่ าใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภคบริโภค จะ
สามารถหาจานวนเงินออม ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ กันได้ ดังตารางที่ 10 – 3

ตารางที่ 10 – 3 ตารางความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และเงิ นออม

รายได้ (Y) ค่าใช้จา่ ยเพื่อการอุปโภคบริโภค (C) จานวนเงินออม (S)


1,000 1750 – 750
2000 2500 – 500
3000 3250 – 250
4000 4000 0
5000 4750 250
6000 5500 500

เมื่อ น าความสัม พัน ธ์ร ะหว่ า งเงิน ออมและรายได้ม าเขีย นเป็ น กราฟจะได้เ ส้น
ฟงั ก์ชนการออม
ั่ (Saving Function) หรือบางทีเรียกว่าความโน้ มเอียงที่จะออมทรัพย์
(Propensity to Save)

230 EC 103
รูปที่ 10 – 9 แสดงฟังก์ชนการออม
ั่ (Propensity to Save or Saving Function)
จานวนเงินออม(S):฿


0
 4000 รายได้(Y): ฿

– 200

ดังนัน้ ฟงั ก์ชนการออม


ั่ (Saving Function) จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจานวน
เงินออมและรายได้ระดับต่าง ๆ กัน
จากความโน้มเอียงทีจ่ ะออมทรัพย์ (Propensity to Save) จะสามารถหาความโน้ม
เอียงทีจ่ ะออมทรัพย์เฉลีย่ และความโน้มเอียงทีจ่ ะออมทรัพย์หน่วยทีเ่ พิม่

2. ความโน้ มเอียงที่จะออมทรัพย์เฉลี่ย (Average Propensity to Save: APS)


หมายถึง จานวนเงินออมที่คดิ เฉลี่ยต่อหนึ่งหน่ วยของรายได้ โดยหาได้จาก
อัตราส่วนของจานวนเงินทีจ่ ะออม (S) กับรายได้ (Y)
APS = S
Y

จาก Y = C+S
C
Y
+ S
Y
= 1
ดังนัน้ APC + APS = 1 เสมอ

EC 103 231
3. ความโน้ มเอี ยงที่ จะออมทรัพย์หน่ วยที่ เพิ่ ม (Marginal Propensity to Save:
MPS)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในจานวนเงินออมที่เกิดขึน้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใน
รายได้ไป 1 หน่ วย (บาท) หรืออาจจกล่าวได้ว่าเมื่อมีการเปลีย่ นแปลงในรายได้ ไป 1 หน่ วย
(บาท) จะทาให้มกี ารเปลีย่ นแปลงในเงินออมจานวนเท่าใด
ดังนัน้ MPS จึงหาได้จากอัตราส่วนของการเปลีย่ นแปลงในจานวนเงินออมต่อ
การเปลีย่ นแปลงในรายได้
S
MPS = Y
โดยที่ MPC + MPS = 1
 MPS = 1 – MPC
จากตารางที่ 10 – 3 จะหาค่าของ APS และ MPS ได้ดงั ตารางที่ 10 – 4

ตารางที่ 10 – 4 แสดงค่าของ APS และ MPS

รายได้ (Y) จานวนเงินออม (S) APS = S Y S MPS =  S


Y Y
1,000 – 750 – 0.75 - - -
2000 – 500 – 0.25 1000 250 0.25
3000 – 250 – 0.083 1000 250 0.25
4000 0 0 1000 250 0.25
5000 250 0.05 1000 250 0.25
6000 500 0.083 1000 250 0.25

4. สมการของฟังก์ชนการออม
ั่
ถ้าสมมุตฟิ งั ก์ชนการใช้
ั่ จา่ ยบริโภคมีรปู สมการเป็นสมการเส้นตรง คือ
C= a + bY
ดังนัน้ สมการของฟงั ก์ชนการออม
ั่ (Saving Function) คือ

232 EC 103
จาก S = Y– C
S = Y – (a + bY)
S = – a + (1 – b) Y
โดยที่ –a คือ จุดตัดทางแกนตัง้ ของฟงั ก์ชนั การออมทรัพย์ซ่งึ แสดงว่าเมื่อรายได้
(Y) = 0 การออมทรัพย์ (S) = – a
1 – b คือ สัดส่วนของการออมทรัพย์ท่เี ปลี่ยนแปลงไปต่อการเปลี่ยนแปลง
ของรายได้ ( YS ) หรือการเปลี่ยนแปลงของการออมเมื่อรายได้
เปลีย่ นแปลงไป 1 หน่วย ทัง้ นี้เพราะ (1–b) เท่ากับ (1–MPC)
= MPS หรือ (1 – b) ก็คอื Slope ของ Saving function

รูปที่ 10–10 เส้นฟังก์ชนการออม


ั่ (Propensity to Save or Saving Function)
จานวนเงินออม(S) ฿

S = – a + (1 – b) Y


0
 รายได้(Y): ฿
–a

เนื่องจากตามแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ช่อื John Meynard Keynes พบว่าเมื่อ


รายได้เพิม่ ขึน้ ค่าของ MPC จะลดต่ าลง ทัง้ นี้เนื่องจากการเปลีย่ นแปลงของ C น้อยกว่าการ
เปลีย่ นแปลงใน Y จึงทาให้ค่าของ MPS จะมีค่ามากขึน้ เมื่อรายได้เพิม่ ขึน้ ดังนัน้ เส้นการออม
(Saving function) จะค่อยๆ ชันขึน้ ๆ เมื่อรายได้สูงขึน้ เส้นฟงั ก์ชนการออมจะมี
ั่ ลกั ษณะไม่
เป็นเส้นตรง

EC 103 233
รูปที่ 10–11 แสดงฟังก์ชนการออม
ั่ (Propensity to Save or Saving Function) ในกรณี ที่
ไม่เป็ นเส้นตรง
จานวนเงินออม(S) ฿


0
 รายได้(Y): ฿

5. การหาเส้นความโน้ มเอียงที่จะการออมทรัพย์ (S) จากเส้นความโน้ มเอียงที่


จะใชัจ่ายบริ โภค (C)
เส้ น แสดงความโน้ ม เอี ย งที่จ ะใช้ จ่ า ยในการบริโ ภคหรือ ฟ งั ก์ ช ัน่ การบริโ ภค
(Propensity of Consume or Consumption Function) มิใช่จะแสดงถึงค่าใช้จ่ายบริโภคในแต่
ละระดับเท่านัน้ แต่ยงั แสดงถึงจานวนเงินออม (Saving) ณ ระดับรายได้นนั ้ ๆ ด้วย
เพื่อช่วยในการวิเคราะห์หาส่วนของรายได้ท่เี หลือจากการบริโภคหรือเงินออม
จะสร้างเส้นช่วย (helping line) หรือเส้น 45 องศา ซึง่ เป็ นเส้นทีล่ ากทามุม 45 องศากับแกน
นอนและแกนตัง้ ดังนัน้ ถ้าแกนตัง้ แสดงถึงค่าใช้จ่ายในการบริโภค (C) และแกนนอนแสดงถึง
ระดับรายได้ (Y) เส้น 450 จึงเป็ นเส้นทีแ่ สดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายบริโภค (C) เท่ากับรายได้
(Y) พอดี ณ ระดับรายได้ต่างๆ
ถ้าทราบข้อมูลเกีย่ วกับรายได้และการใช้จ่ายบริโภคก็จะสามารถหาความสัมพันธ์
ระหว่างรายได้ และปริมาณเงินออมได้ สมมุตใิ ห้เส้น C เป็ นเส้นตรงมีความชัน (Slope) เป็ น
บวก โดยมีจดุ เริม่ จากแกนตัง้ หรือแกนการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค (C) แสดงว่าแม้ว่า Y เท่ากับ
0 บุคคลจะต้องมีการบริโภค ซึง่ แสดงว่า ณ ระดับรายได้ (Y) เท่ากับ 0 เกิดการออมติดลบ
เท่ากับจานวนการบริโภค ณ ระดับรายได้เท่ากับ 0 นัน้ และเมื่อระดับรายได้เพิม่ ขึน้ การใช้

234 EC 103
จ่ายบริโภค (C) จะเพิม่ ขึน้ ด้วยแต่จะเพิม่ ในสัดส่วนทีน่ ้อยกว่าการเพิม่ ของรายได้ ดังนัน้ เมื่อ
รายได้เพิม่ ขึน้ ถึงระดับหนึ่งแล้วจะทาให้รายได้มากกว่าการใช้จ่ายเพื่อบริโภค ทาให้เกิดเงิน
ออมขึน้ หรือเงินออมมีค่าเป็นบวก
รูปที่ 10 – 12 แสดงการหาฟังก์ชนการออม
ั่ (S) จากฟังก์ชนการบริ
ั่ โภค (C)

การใช้จ่ายบริโภค (C)

450 or helping line


F
Saving
C: Consumption function
E G
A
a Dissaving
B

0 Y2 Y3
Y1 รายได้ (Y)
เงินออม (S)

S: Saving function
= FG
0
= AB Y1 Y2 Y3 รายได้ (Y)

จากรูปที่ 10 – 12 ณ ระดับรายได้ท่ตี ่ ากว่า OY2 บาท การใช้จ่ายเพื่อบริโภคจะ


มากกว่ารายได้ เช่น ระดับรายได้เท่ากับ OY1 บาท หรือระดับรายได้เท่ากับ OB บาท การใช้
จ่ายเพื่อบริโภคเท่ากับ OA บาท ทาให้การออมติดลบ (dissaving) เท่ากับ AB บาท เมื่อระดับ

EC 103 235
รายได้เพิม่ ขึน้ การใช้เพื่อการอุปโภคจะเพิม่ ขึน้ ด้วย (ทัง้ นี้เพราะการใช้จ่ายบริโภคจะขึน้ อยู่กบั
รายได้) แต่การเพิม่ ขึน้ ของการใช้จา่ ยบริโภคจะน้อยกว่าการเพิม่ ขึน้ ของระดับรายได้ จนถึงจุด
E ซึง่ เป็ นจุดที่ Y = C จึงทาให้ระดับรายได้เท่ากับ OY2 บาท เป็ นระดับรายได้ทท่ี าให้การใช้
จ่ายบริโภค (C) เท่ากับรายได้ (Y) พอดี การออมเท่ากับ 0 จุด E นี้เรียกว่า จุดเสมอตัว
(breakeven point) และเมื่อเลยจากจุด E นี้ไปแล้ว เส้น C จะอยู่ต่ ากว่าเส้น 450 แสดงให้เห็น
ว่าการใช้จ่ายในการบริโภคจะเริม่ ต่ ากว่ารายได้ ทาให้มกี ารเก็บออมมากขึน้ เรื่อยๆ เช่น ณ
ระดับรายได้ OY3 บาท จะทาให้มเี งินออม (Saving) เท่ากับ FG บาท
เมื่อนาความสัมพันธ์ระหว่างเงินออมและรายได้มาเขียนเป็ นกราฟจะได้เ ส้นฟงั ก์ชนั ่
การออม (Saving Function) หรือบางทีเรียกว่าความโน้มเอียงทีจ่ ะออมทรัพย์ (Propensity to
Save)
เช่น เมื่อรายได้เท่ากับ OY1 บาท การออมติดลบ (dissaving) เท่ากับ AB บาท และ
ณ ระดับรายได้เท่ากับ OY2 บาท การออมเท่ากับ 0 และเมื่อรายได้เท่ากับ OY3 บาท จะมีเงิน
ออม (Saving) เท่ากับ FG บาท เมื่อลากเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเงินออมและรายได้
ระดับต่าง ๆ กัน จะได้เส้นฟงั ก์ชนการออม
ั่ (Saving Function)

กิ จกรรมการเรียนที่ 3
ถ้าสมการการบริโภค คือ C = 50 + 0.75 Y ให้ใช้ความรูท้ เ่ี ข้าใจอธิบายความ
หมายสมการนี้ และจากสมการการบริโภคจะได้สมการการออมทรัพย์อย่างไร และ
อธิบายรูปสมการการออมทรัพย์ทห่ี ามาได้

10.2.3 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน (Investment Expenditure)


การลงทุนในที่น้ีจะหมายถึงการใช้จ่ายที่ก่อ ให้เกิดการเพิ่มพูนสินทรัพย์
ประเภททุน (capital goods) ซึง่ อาจนาไปใช้ประโยชน์ในการผลิตต่อไป ซึง่ การลงทุนประเภท
นี้ เรียกว่าการลงทุนที่แท้จริง (Real investment) สาหรับการลงทุนทางการเงิน (Financial
investment) ทีเ่ ป็ นการลงทุนซึง่ ไม่ทาให้สนิ ค้าประเภททุนเพิม่ ขึน้ เช่น การซือ้ ขายหุน้ เก่า จะ
ถือว่าเป็นเพียงการแลกเปลีย่ นกรรมสิทธิ ์ในใบหุน้ เท่านัน้

236 EC 103
1. ฟังก์ชนการลงทุ
ั่ น (Investment function) หรือความโน้ มเอียงที่จะ
ลงทุน (Propensity to Invest)
ฟงั ก์ชนการลงทุ
ั่ น (Investment function) จะแสดงถึงจานวนเงินที่จะ
ลงทุน ณ ระดับรายได้ต่างๆ กัน
การลงทุนตามปกติแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) การลงทุนโดยอิ สระ (Autonomous investment)
การลงทุนโดยอิสระ (Autonomous investment) เป็ นการลงทุนที่
ไม่ขน้ึ อยู่กบั รายได้ ดังนัน้ การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติจะไม่มผี ลต่อการลงทุน
ประเภทนี้ ในกรณีท่กี ารลงทุนเป็ นการลงทุนโดยอิสระ เส้นการลงทุนโดยอิสระจะมีลกั ษณะ
ขนานกับแกนรายได้ประชาชาติ

รูปที่ 10 – 13 แสดงเส้นการลงทุนโดยอิ สระ

การใช้จ่ายลงทุน: ฿

I1 I1
I I
I2 I2

O รายได้ประชาติ (Y): ฿
จากรูปที่ 10 – 13 เส้นการลงทุนโดยอิสระ(Autonomous investment function) จะ
ไม่มคี วามยืดหยุ่นต่อรายได้ อย่างไรก็ตามเส้นการลงทุนโดยอิสระสามารถเปลี่ยนแปลงได้
โดยเพิม่ ขึน้ หรือลดลงในลักษณะทีข่ นานกับเส้นเดิม เช่น เปลีย่ นจากเส้น I เป็น I1 เมือ่ มีการใช้
จ่ายลงทุนเพิม่ ขึน้ หรือเปลีย่ นเป็นเส้น I2 เมือ่ มีการใช้จา่ ยลงทุนลดลง

EC 103 237
(2) การลงทุนโดยจูงใจ (Induced investment)
การลงทุ น โดยจูง ใจเป็ น การลงทุ น ที่ม ีค วามสัม พัน ธ์กับ รายได้
ประชาชาติโดยตรง กล่าวคือ เมื่อรายได้ประชาชาติสูงขึน้ ทาให้อุปสงค์รวมเพิม่ ขึน้ จูงใจให้ม ี
การลงทุนเพิม่ ขึน้ ดังนัน้ การลงทุนโดยจูงใจนี้จะสูงหรือต่าขึน้ อยูก่ บั รายได้ประชาชาติ

รูปที่ 10 – 14 แสดงเส้นการลงทุนโดยจูงใจ (Induced investment)


การใช้จา่ ยลงทุน

I I
I
I1

I2

O
Y รายได้ประชาติ (Y)

จากรูปที่ 10 – 14 เส้นการลงทุนโดยจูงใจ (Induced Investment function) จะมี


ลักษณะทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา คือถ้ารายได้ประชาชาติเพิม่ การลงทุนจะเพิม่ ขึน้ และการ
ลงทุนจะเพิม่ ขึ้นมากน้ อยเท่าใดขึ้นอยู่กบั ว่าเมื่อรายได้ประชาชาติเพิม่ ขึน้ และทาให้มคี วาม
ต้องการในสินค้าเพิม่ ขึน้ ถ้าผูผ้ ลิตสามารถใช้เครื่องจักรเดิมทาการผลิตสินค้าเพิม่ ขึน้ ได้โดยไม่
ต้องใช้เครือ่ งจักรใหม่ ความต้องการทีจ่ ะลงทุนเพิม่ ก็จะเพิม่ ขึน้ ไม่มากนัก ดังนัน้ เส้นการลงทุน
โดยจูงใจก็จะไม่ชนั มาก แต่ถ้าเครื่องจักรทางานเต็มทีแ่ ล้ว เมื่อความต้องการในสินค้าเพิม่ ขึน้
จะทาให้ต้องซื้อเครื่องจักรเพิม่ ขึน้ มาก จึงทาให้เส้นการลงทุนโดยจูงใจมีลกั ษณะค่อนข้างชัน
มาก
เส้นการลงทุนโดยจูงใจอาจเปลีย่ นไปจากเส้นเดิมในลักษณะทีเ่ พิม่ ขึน้ หรือลดลงก็ได้
ถ้าการเปลี่ยนแปลงไปในการที่สูงขึน้ เส้นการลงทุนโดยจูงใจจะเปลี่ยนไปทางซ้ายมือของเส้น

238 EC 103
เดิม เช่น เปลีย่ นจากเส้น I เป็ น I แสดงว่า ทุกๆ ระดับรายได้ การลงทุนจะเพิม่ ขึน้ และใน
ทานองเดียวกันถ้าเปลีย่ นแปลงจากเส้น I เป็น I แสดงว่าการลงทุนจะลดลงทุก ๆ ระดับรายได้

กิ จกรรมการเรียนที่ 4
อธิบายให้เห็นว่าการลงทุนโดยอิสระ (Autonomous Investment) ต่างจากการลงทุน
โดยจูงใจ (Induced Investment) อย่างไร

2. ความโน้ มเอียงที่จะลงทุนหน่ วยที่เพิ่ ม (Marginal Propensity to Invest)


ถ้าต้องการพิจารณาว่าเมื่อรายได้เปลี่ยนจะมีผลทาให้ปริมาณการลงทุนโดยจูง
ใจเปลี่ย นมากน้ อ ยเพีย งใด จะเป็ น การพิจ ารณาถึง ความโน้ ม เอีย งที่จ ะลงทุ น ห น่ ว ยเพิ่ม
(Marginal Propensity to Invest: MPI)
ดังนัน้ ความโน้มเอียงทีจ่ ะลงทุนหน่ วยเพิม่ (Marginal Propensity to Invest:
MPI) จึงหมายถึงการเปลีย่ นแปลงในปริมาณการลงทุนเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่ วย
(บาท) โดยหาได้จากอัตราส่วนของการเปลีย่ นแปลงในปริมาณการลงทุนกับการเปลีย่ นแปลง
ในรายได้
I
MPI = Y
เนื่องจากฟงั ก์ชนการลงทุ
ั่ น (Investment Function) จะประกอบด้วยการลงทุน
โดยอิสระ (Autonomous Investment) ซึง่ เป็ นการลงทุนไม่ขน้ึ อยู่กบั รายได้ กับการลงทุนโดย
จูงใจ (Induced Investment) ซึง่ เป็นการลงทุนทีข่ น้ึ อยูก่ บั รายได้ ซึง่ แสดงในรูปสมการได้ดงั นี้
I = I0 + I (Y) = I0 + IYY
โดยที่ I0 = การลงทุนโดยอิสระ (Autonomous Investment)
I(Y) = การลงทุนโดยจูงใจ (Induced Investment) ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั รายได้
(Y)
I Y = ความโน้มเอียงทีจ่ ะลงทุนหน่วยเพิม่ (Marginal Propensity to
I
Invest: MPI) ซึง่ เท่ากับ Y
Y = รายได้ประชาชาติ

EC 103 239
กิ จกรรมการเรียนที่ 5
ถ้าสมการการลงทุนคือ I = 425 + 0.25 Y
จากสมการดังกล่าวการลงทุนโดยอิสระและการลงทุนโดยจูงใจมีค่าเท่าใด ค่าของ
ความโน้มเอียงทีจ่ ะลงทุนหน่วยทีเ่ พิม่ (Marginal Propensity to Invest: MPI) มีค่าเท่าใด

10.2.4 ค่าใช้จ่ายของรัฐบาล (Government Expenditure: G)


ในระบบเศรษฐกิจปิ ด (closed economy) หรือเศรษฐกิจทีไ่ ม่มกี ารค้าต่างประเทศ
การใช้จ่ายของรัฐบาลจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติเช่นเดียวกับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (C)
และการใช้จ่ายเพื่อลงทุน (I) การใช้จ่ายของรัฐบาลถือเป็ นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการดาเนิน
นโยบายการคลังเพื่อแก้ไขปญั หาเศรษฐกิจ เช่น ปญั หาเงินเฟ้อ เงินฝื ด เป็ นต้น การใช้จ่าย
ของรัฐบาลส่วนมากถือว่าเป็นตัวแปรทีก่ าหนดจากภายนอก กล่าวคือจะขึน้ อยูก่ บั การตัดสินใจ
ของรัฐบาล และรัฐบาลสามารถกาหนดงบประมาณรายจ่ายให้เพิม่ ขึน้ หรือลดลงได้ตามนโยบาย
ของรัฐบาล ดังนัน้ เส้นการใช้จ่ายของรัฐบาล (G) จะมีลกั ษณะขนานกับแกนรายได้ประชาชาติ
เช่นเดียวกับเส้นการลงทุนโดยอิสระ (Autonomous Investment) และจะเปลี่ยนแปลงเพิม่ ขึน้
หรือลดลงในลักษณะทีข่ นานกับเส้น G เดิม

รูปที่ 10 – 15 แสดงเส้นการใช้จ่ายของรัฐบาล
การใช้จ่ายรัฐบาล

G1 G1
G G
G2 G2

O รายได้ประชาติ (Y)

240 EC 103
10.2.5 ผลสุทธิ จากการค้าต่างประเทศ (Net export of goods and services)
ในระบบเศรษฐกิจเปิด(Open economy)หรือเศรษฐกิจทีม่ กี ารค้าต่างประเทศ
อุปสงค์รวมของระบบเศรษฐกิจจะประกอบด้วยการใช้จา่ ยเพื่อการบริโภค (C) การใช้จ่ายลงทุน
ของเอกชน (I) การใช้จ่ายของรัฐบาล (G) และผลสุทธิจากการค้าต่างประเทศ ซึง่ หาได้จาก
ส่วนต่างของมูลค่าสินค้าส่งออก(Exports: X) กับมูลค่าสินค้านาเข้า (Imports: M)
ในกรณีทม่ี ลู ค่าสินค้าส่งออก (X) มากกว่ามูลค่าสินค้าสังเข้
่ า (M) จะทาให้
ประเทศได้รบั เงินตราต่างประเทศเพิม่ ขึน้ เงินตราต่างประเทศจะใช้เป็ นทุนสารองเงินตราของ
ประเทศ มีผลให้ปริมาณเงินเพิม่ และในทางตรงข้ามถ้ามูลค่าสินค้าส่งออก (X) น้อยกว่ามูลค่า
สินค้าสังเข้
่ า (M) จะทาให้ปริมาณเงินลดลง
มูลค่าการส่งสินค้าออก (X) ทีเ่ พิม่ ขึน้ จะมีผลทาให้รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึน้
กล่าวคือ เมื่อผูส้ ่งออกได้รบั รายได้จากการส่งสินค้าไปจาหน่ ายต่างประเทศ ก็จะนารายได้นัน้
ไปใช้จา่ ยเพื่อการบริโภค ก็จะก่อให้เกิดรายได้แก่บุคคลกลุ่มอื่นๆ ในประเทศเป็ นทอดๆ กันไป
จึงมีผลทาให้รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึ้น แต่การที่ประเทศจะส่งสินค้าออก (X) ได้มากน้ อ ย
เพียงใดจะขึน้ อยู่กบั ต่างประเทศว่าต้องการสินค้านัน้ มากน้อยเพียงใด ดังนัน้ ในการพิจารณา
เกีย่ วกับสินค้าส่งออก (X) จึงถือเป็ นตัวแปรทีก่ าหนดจากปจั จัยภายนอก
ส าหรับ มูล ค่ าการสังสิ
่ นค้า เข้า (M) จะมีผ ลท าให้รายได้ประชาชาติล ดลง
กล่ า วคือ เมื่อ คนในประเทศสัง่ สิน ค้า เข้า มาจะต้ อ งช าระค่ า สิน ค้า ท าให้ป ริม าณเงิน ตรา
ต่างประเทศลดลง รายได้ประชาชาติลดลง
มูลค่าการสังสิ่ นค้าเข้า (M) จะมากน้อยเพียงใดขึน้ อยู่กบั รายได้ประชาชาติ
ถ้ารายได้ประชาชาติสงู ขึน้ จะมีแนวโน้มให้มกี ารสังสิ
่ นค้าเข้าเพิม่ ขึน้
ถ้าต้องการพิจารณาว่าเมื่อรายได้ประชาชาติเพิม่ ขึ้น 1 หน่ วย จะทาให้
ปริมาณสินค้านาเข้าเพิม่ ขึน้ เท่าใด ค่าทีไ่ ด้น้ีจะเรียกว่าความโน้มเอียงที่จะสังสิ
่ นค้าเข้าหน่ วย
เพิม่ (Marginal Propensity to Import: MPM)

่ นค้ าเข้าหน่ วยเพิ่ ม (Marginal Propensity to


ความโน้ มเอียงที่ จะสังสิ
Import: MPM)
หมายถึง มูลค่าของสินค้านาเข้าที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อรายได้ประชาชาติ
เปลีย่ นแปลงไป 1 หน่วย (บาท)
EC 103 241
ความโน้มเอียงทีจ่ ะสังสิ
่ นค้าเข้าหน่ วยเพิม่ (MPM) จะหาได้จากอัตราส่วน
ของการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินค้านาเข้า (M) กับการเปลี่ยนแปลงในระดับรายได้
ประชาชาติ (Y)
Y
MPM = M

ค่าของ MPM จะสูงหรือต่าขึน้ อยูก่ บั


(1) ระบบภาษีศุลกากรทีเ่ ก็บจากสินค้านาเข้า
(2) ระบบการผลิตของประเทศ
(3) รสนิยมของคนในประเทศ
(4) ราคาสินค้าทีผ่ ลิตได้ภายในประเทศ เทียบกับราคาสินค้าจากต่างประเทศ
เนื่องจากสมการมูลค่าสินค้านาเข้า จะขึน้ อยูก่ บั รายได้ประชาชาติ
M = (Y)
ถ้าสมการมูลค่าสินค้านาเข้า คือ
M = MO + My Y
โดยที่ MO = มูลค่าของสินค้าเข้าซึง่ ขึน้ อยูก่ บั ปจั จัยอื่นโดยไม่ขน้ึ อยูก่ บั ระดับ
รายได้ประชาชาติ
My = ค่าความโน้มเอียงจะสังสิ่ นค้าเข้าหน่วยเพิม่ (Marginal Propensity
M
to Import: MPM) เนื่องจาก My = Y
Y = รายได้ประชาชาติ

242 EC 103
10.3 การกาหนดระดับรายได้ประชาชาติ ดลุ ยภาพ
ในการพิจารณาการกาหนดรายได้ประชาชาติ จะแยกพิจารณาเป็น
1. ระบบเศรษฐกิจปิด (Closed economy) ทีไ่ ม่มรี ฐั บาล
2. ระบบเศรษฐกิจปิดทีม่ รี ฐั บาล
3. ระบบเศรษฐกิจเปิด (Open Economy)

10.3.1 การกาหนดระดับรายได้ประชาชาติ ดลุ ยภาพในระบบเศรษฐกิ จปิ ดที่ ไม่


มีรฐั บาล
เพื่อง่ายต่อการพิจารณาจะสมมุตวิ ่า
(1) ระบบเศรษฐกิจที่กาลังพิจารณาเป็ นระบบเศรษฐกิจปิ ด คือเป็ นระบบ
เศรษฐกิจที่ไ ม่มกี ารติด ต่ อ กับต่ างประเทศ และไม่ม ีรฐั บาลเข้า มาเกี่ย วข้อ ง ดังนัน้ จึงไม่ม ี
รายการภาษีต่างๆ และเงินโอนรัฐบาลเข้ามาเกีย่ วข้อง
(2) การใช้จา่ ยลงทุนทัง้ หมดเป็นการลงทุนสุทธิและไม่ขน้ึ อยูก่ บั รายได้ หรือ
เป็นการใช้จา่ ยลงทุนทีเ่ รียกว่าเป็นการลงทุนโดยอัตโนมัติ
(3) ไม่มกี ารประกอบการในรูปบริษทั จึงทาให้ไม่มสี ่วนของเงินออมบริษทั
(retained corporate earning) และไม่มเี งินโอนธุรกิจ
จากข้อ สมมุติน้ีทาให้รายได้หรือ ผลผลิต รวมมีค่ าเท่ากับ รายได้สุ ทธิส่ ว น
บุคคล (Yd) ทัง้ นี้เพราะการทีส่ มมุตวิ ่าการลงทุนเป็ นการลงทุนสุทธิ จึงทาให้ผลผลิตรวมของ
ชาติอยู่ในรูปของ NNP และเนื่องจาก NI เท่ากับ NNP หักด้วยภาษีทางอ้อมของธุรกิจ เงิน
โอนธุรกิจและกาไรของรัฐวิสาหกิจ เมือ่ ไม่มรี ฐั บาลและไม่มเี งินโอนธุรกิจจึงทาให้ NNP เท่ากับ NI
และเนื่องจากรายได้ส่วนบุคคล (PI) เท่ากับ NI หักด้วยกาไรของบริษทั เงิน
ออมของบริษทั และส่วนทีน่ ายจ้างและลูกจ้างจ่ายเพื่อประกันสังคม และบวกด้วยเงินโอนของ
รัฐและธุรกิจ และบวกด้วยดอกเบี้ยที่จ่ายโอนโดยรัฐบาล ซึ่งเป็ นตัวที่ไปบวกและหักตามข้อ
สมมุตนิ ้ีไม่ม ี ดังนัน้ NI จึงเท่ากับ PI และเนื่องจากรายได้สุทธิส่วนบุคคล (DI) เท่ากับ PI
หักด้วยภาษีส่วนบุคคล และเมือ่ ไม่มรี ฐั บาลจึงทาให้ PI เท่ากับ DI จึงสรุปได้ว่า NNP = DI

EC 103 243
สาหรับรายจ่ายรวมจะมีเพียงรายจ่ายเพื่อการบริโภคของบุคคล (C) และ
รายจ่ายลงทุนของบุคคล (I) นัน่ คืออุปสงค์รวม (Aggregate Demand) ของระบบเศรษฐกิจปิด
ทีไ่ ม่มรี ฐั บาลก็คอื ผลรวมของรายจ่ายเพื่อการบริโภคและรายจ่ายในการลงทุน
ระดับรายได้ดุลยภาพจะถูกกาหนด ณ ระดับที่รายจ่ายรวมหรืออุปสงค์รวม
(Aggregate Demand: AD) เท่ากับอุปทานรวม (Aggregate Supply) ของระบบเศรษฐกิจหรือ
รายได้ประชาชาติ
AS = AD
Y = C+I
อุปทานรวม (Aggregate Supply) คือรายได้ประชาชาตินนั ่ เอง เมื่อบุคคลได้รบั
รายได้มาก็อาจจะนารายได้ไปบริโภค (C) และเก็บออม (S) นันคื
่ อ
Y = C+S
ดังนัน้ ระดับรายได้ดุลยภาพจะเกิดขึน้ เมือ่
C+S = C+I
S = I

244 EC 103
รูปที่ 10 – 16 แสดงระดับรายได้ดลุ ยภาพเมื่อ AS = AD และ S = I

การใช้จ่ายรวม
(C + I)
Y=C+S

S>I C+I

E C

S<I

a 450
0 Y2
Y3 Y1 รายได้ประชาชาติ (Y)
I,S
S

S>I
I
S<I
0
–a Y3 Y1 Y2 รายได้ประชาชาติ (Y)

จากรูปที่ 10 – 16 แกนตัง้ แสดงถึงการใช้จ่ายรวม (C + I) การลงทุน (I) และเงิน


ออม (S) แกนนอน แสดงถึงรายได้ประชาชาติ (Y)
ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเกิดขึน้ ณ ระดับรายได้ OY1 โดยการใช้จ่ายรวม
เท่ากับรายได้รวม (AD = AS) และ ณ ระดับรายได้น้เี ป็นจุดที่ I = S
ณ ระดับรายได้ท่สี ูงกว่า OY1 เช่นที่ OY2 จะพบว่ารายได้รวมมากกว่ารายจ่ายรวม
(Y > C + I) นัน่ คือประชาชนใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ ทาให้สนิ ค้าขายไม่หมด ธุรกิจจะต้องลด

EC 103 245
การผลิต และการจ้างงาน ทาให้รายได้ประชาชาติลดลงเข้าสู่รายได้ประชาชาติดุลยภาพ และ
สามารถพิจารณาได้ในทานองเดียวกันสาหรับในกรณีทร่ี ายได้ประชาชาติอยุต่ ่ากว่ารายได้ OY1
(1) ผลการเปลี่ยนแปลงในการลงทุนที่มีต่อรายได้ประชาชาติ
ถ้ามีการเปลีย่ นแปลงในการลงทุน จะมีผลทาให้รายได้ประชาชาติเปลีย่ นแปลงไปได้
ดังแสดงด้วยรูปที่ 10 – 17 จะเห็นได้ว่าถ้าการลงทุนเพิม่ ขึน้ เป็ น I ทาให้เส้นอุปสงค์รวม
เปลีย่ นเป็น C + I และจะทาให้รายได้ดุลยภาพเพิม่ ขึน้ เป็น OY2 หรือรายได้เพิม่ ขึน้ เท่ากับ Y1Y2

รูปที่ 10 – 17 แสดงการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติ เมื่อมีการลงทุนเปลี่ยนแปลง

การใช้จ่ายรวม
(C + I)
Y= C+S

C + I
E2
C+I

E1 C = a + bY

a 450
0 Y1 Y2 รายได้ประชาชาติ (Y)
I,S
S = –a + (1 – b) Y
E2 S > I I
E1 I
0
–a Y1 Y2 รายได้ประชาชาติ (Y)

246 EC 103
(2) ตัวทวีของการลงทุน (Investment Multiplier: KI)
ตัวทวีของการลงทุน (KI) คือค่าซึง่ เป็ นตัวเลขทีแ่ สดงว่าเมื่อมีการเปลีย่ นแปลง
ในการใช้จ่ายลงทุน ไป 1 หน่ วย (บาท) จะทาให้ระดับรายได้ประชาชาติจะเปลี่ยนแปลงไป
เท่าใด
หรืออาจกล่าวได้ว่า ค่าของตัวทวีของการลงทุน (KI) จะวัดการเปลีย่ นแปลงใน
รายได้ประชาชาติเมื่อมีการเปลีย่ นแปลงในปริมาณการลงทุนไป 1 หน่ วย (บาท) นัน่ คือตัวทวี
ของการลงทุน (KI) จะหาได้จากอัตราส่วนของการเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติ (Y) กับ
การเปลีย่ นแปลงในค่าใช้จา่ ยลงทุน (I) นันคื
่ อ
Y
KI = I

โดยที่ KI = ตัวทวีของการลงทุน
Y = การเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติ
I = การเปลีย่ นแปลงในค่าใช้จา่ ยลงทุน
ดังนัน้ การเปลี่ยนแปลงในรายได้ประชาชาติอนั เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงใน
ปริมาณการลงทุน หาได้จาก
Y = KI . I
นัน่ คือ ระดับรายได้ประชาชาติจะเปลี่ยนแปลงไปเท่า กับ ตัวทวีของการลงทุน
คูณด้วยการเปลีย่ นแปลงในปริมาณการลงทุน
เนื่องจากในทีน่ ้เี ป็นกรณีระบบเศรษฐกิจไม่มรี ฐั บาล
Y = C+ I
ดังนัน้ Y = C + I
 I = Y – C
Y
จาก KI = I

EC 103 247
Y
=
Y  C

1
= C
1
Y

1
= 1  M PC
1
หรือ KI = M PS

ทัง้ นี้เนื่องจาก MPC + MPS = 1


 1 – MPC = MPS
ค่าของตัวทวีของการลงทุน (KI) จะมีค่ามากกว่า 1 เสมอ (KI > 1 เสมอ) ทัง้ นี้เพราะ
MPC มีค่าเป็ นบวก(มากกว่าศูนย์) และน้อยกว่า 1 เสมอ (หรือ 0 < MPC < 1) ดังนัน้ ค่าของ
ตัวทวีของการลงทุนจะอยู่ระหว่าง 1 < K <  และค่าของตัว KI จะมากน้อยเท่าใดจะขึน้ อยู่
กับค่าของ MPC หรือค่าของ MPS นันคื่ อ
ถ้าหากว่า MPC มีค่ามาก หรือ MPS มีค่าน้อย ค่าของตัว KI จะมีค่ามาก
ถ้าหากว่า MPC มีค่าน้อย หรือ MPS มีค่ามาก ค่าของตัว KI จะมีค่าน้อย
จากหลักของตัวทวีของการลงทุนก็แสดงว่า การทีจ่ ะทาให้รายได้ประชาชาติเ พิม่ ขึน้
ก็ควรจะลงทุนเพิม่ ขึน้ หรือบริโภคให้มากขึน้ เพราะจะทาให้ค่าของ MPC มีค่ามากขึน้ ด้วย ซึง่
ทาให้ค่าของ KI มีค่ามากขึน้ และรายได้ประชาชาติจะสูงขึน้

กิ จกรรมการเรียนที่ 6
ตัวทวีของการลงทุน หมายความว่าอะไร และมีปจั จัยอะไรเป็ นตัวกาหนดค่าของตัว
ทวีของการลงทุน (KI)

248 EC 103
(3) การวิ เคราะห์หารายได้ดลุ ยภาพโดยวิ ธีพีชคณิ ต
การวิเคราะห์หารายได้ดุลยภาพโดยวิธพี ชี คณิตทาได้โดยยึดหลักจากเงื่อนไข
ดุลยภาพ อุปทานรวม เท่ากับอุปสงค์รวม และจากเงื่อนไขส่วนรัวไหล
่ (Leakage) เท่ากับส่วน
กระตุน้ (Injection)
ในที่น้ีอุปสงค์รวม (Aggregate demand) ประกอบด้วยการใช้จ่ายเพื่อการ
บริโภค และการใช้จา่ ยลงทุน ดังนัน้ ณ ระดับรายได้ดุลยภาพ
AS = AD
Y = C+I
C+S = C+I
หรือ S = I
ส่วนรัวไหล
่ (Leakage) = ส่วนกระตุน้ (Injection)
โดยที่ฟงั ก์ชนการบริ
ั่ โภค (C) ขึน้ อยู่กบั รายได้สุทธิส่วนบุคคล เนื่องจากข้อสมมุติ
ในตอนนี้ไม่มรี ฐั บาล และไม่มกี ารค้าระหว่างประเทศ ทาให้รายได้สุทธิส่วนบุคคล (DI) เท่ากับ
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (NNP) และเท่ากับ NI ดังนัน้ ฟงั ก์ชนการบริ
ั่ โภคจะมีรปู สมการ คือ
C = a + bY
โดยที่ a = Autonomous consumption
C
b = Y
หรือ MPC นันเอง

สาหรับการลงทุน (I) เนื่องจากสมมุตใิ ห้เป็นการลงทุนโดยอัตโนมัตซิ ง่ึ คงที่ สมมุตใิ ห้
เท่ากับ I เมือ่ แทบค่า C และ I ในสมการดุลยภาพ Y = C + I จะได้
Y = a + bY+ I
1
Y = (a  I )
1 b
สมการดังกล่าวข้างต้นแสดงถึงระดับรายได้ดุลยภาพของเศรษฐกิจ
ถ้าต้องการหารายได้ดุลยภาพโดยยึดหลักจากเงือ่ นไข S = I จะหาได้ดงั นี้
เนื่องจากสมการเงินออม (S) คือ
EC 103 249
S = Y–C
= Y – (a + b Y)
S = – a + (1 – b) Y
จากเงือ่ นไขดุลยภสพ S = I
– a + (1 – b) Y = I

ดังนัน้ ระดับรายได้ดุลยภาพของเศรษฐกิจคือ
1
Y = (a  I )
1 b
ข้อสังเกตคือการหารายได้ดุลยภาพโดยยึดหลักจากเงือ่ นไข S = I จะได้ระดับรายได้
ดุลยภาพทีม่ รี ปู สมการเหมือนกันกับการหาระดับรายได้ดุลยภาพโดยแทนค่าใน AD = AS
ถ้าต้อ งการหาว่าเมื่อมีก ารเปลี่ยนแปลงในการลงทุนแล้ว ทาให้รายได้ประชาชาติ
เปลีย่ นแปลงอย่างไร ทาโดยจะสมมุตใิ ห้ตวั แปรอื่น ๆ นอกเหนือจากการลงทุนมีค่าคงที่
จากสมการระดับรายได้ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจปิดไม่มรี ฐั บาลคือ
1
Y = (a  I )
1 b

ดังนัน้ Y = 1 ( a   I)
1 b

เมื่อ a มีค่าคงที่ ดังนัน้ a = 0 ดังนัน้ การเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติอนั


เนื่องจากการเปลีย่ นแปลงในปริมาณการลงทุนหาได้จาก
Y = 1 ( I)
1 b
Y
 I
= 1
1 b
Y
เนื่องจากค่าตัวทวีของการลงทุน (KI) = I
Y 1 1 1
ดังนัน้ KI = I
= 1 b
= 1  M PC
= M PS

250 EC 103
นันคื
่ อการเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติอนั เนื่ องจากการเปลีย่ นแปลงในปริมาณ
การลงทุนหาได้จาก
Y = K ( I) = 1 ( I)
I 1 b

ตัวอย่างการคานวณหารายได้ประชาชาติ ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการใช้ จ่าย


ลงทุนเปลี่ยนแปลง
สมมุตวิ ่า MPC = 0.8 เมือ่ มีการใช้จ่ายลงทุนเพิม่ ขึน้ เท่ากับ 100 ล้านบาท จะทา
ให้รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึน้ เท่าใด และค่าของตัวทวีการลงทุน(KI) มีค่าเท่ากับเท่าใด และค่าที่
หาได้มคี วามหมายว่าอย่างไร
จาก Y = KI . I
Y = 1
1  M PC
. I

แทนค่า Y = 1
. 100
1  0.8
= 500 ล้านบาท
สรุปได้ว่าเมือ่ เพิม่ การลงทุนเท่ากับ 100 ล้านบาท จะทาให้รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึน้
เท่ากับ 500 ล้านบาท
โดยค่าตัวทวีของการลงทุน (KI) เท่ากับ
1 1
KI = 1  M PC
= 1  0.8
= 5

ค่าของตัวทวีของการลงทุนทีม่ คี ่าเท่ากับ 5 หมายความว่า ถ้าเพิม่ การลงทุน 1


บาท จะทาให้รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึน้ เท่ากับ 5 บาท และถ้าลดการลงทุน 1 บาท จะทา
ให้รายได้ประชาชาติลดลงเท่ากับ 5 บาท
ดังนัน้ ตัวทวีของการลงทุนจะมีผลทัง้ ทางบวก คือ ทาให้รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึน้ และ
ผลในทางลบ คือ ทาให้รายได้ประชาชาติลดลง

EC 103 251
กิ จกรรมการเรียนที่ 7
1. ถ้าระบบเศรษฐกิจมี C = 40 + 0.5 Yd , I = 60 ล้านบาท ภาษี = 0 จงคานวณหา
รายได้ดุลยภาพจากเงือ่ นไข Y = C + I และเงือ่ นไข S = I และค่าของตัวทวีของการ
ลงทุน (KI) มีค่าเท่ากับเท่าใดและมีความหมายว่าอย่างไร
2. จากคาถามข้อ 1 ให้เขียนเส้นแสดงถึงดุลยภาพของรายได้ประชาชาติ จากรูปสมการ
ทีใ่ ห้มาทัง้ ในเงือ่ นไข Y = C + I และ S = I

10.3.2 ระบบเศรษฐกิ จปิ ดที่มีรฐั บาล


ระบบเศรษฐกิจ ปิ ด ที่ม ีร ฐั บาล หมายความว่ า เป็ น ระบบเศรษฐกิจ ที่ไ ม่ ม ีก ารค้า
ต่างประเทศ และพิจารณาภาครัฐบาลเพิม่ ในการวิเคราะห์ รัฐบาลก็เช่นเดียวกับเอกชนคือมีทงั ้
รายได้และรายจ่าย ซึง่ แสดงออกมาในรูปของงบประมาณรายรับและงบประมาณ
รายจ่าย
ในระบบเศรษฐกิจ ปิ ด ที่ม ีร ัฐ บาล รายจ่ า ยทัง้ หมดหรือ อุ ป สงค์ ร วม (Aggregate
Demand) จะประกอบด้วยรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของประชาชน (C) การใช้จ่ายลงทุนสุทธิ
เอกชนภายในประเทศ (I) และการใช้จา่ ยในการซือ้ สินค้าและบริการของรัฐบาล (G)
AD = C+I+G
เนื่องจากมีรฐั บาลเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนัน้ รายได้ประชาชาติจะไม่เท่ากับรายได้สุทธิ
ส่วนบุคคล (DI: Yd) โดยรายได้สุทธิส่วนบุคคล (Yd) จะเท่ากับรายได้ส่วนบุคคล (PI) หักด้วย
ภาษีส่วนบุคคล ซึง่ ความจริงแล้วการหารายได้สุทธิส่วนบุคคลจะต้องมีรายการย่อยๆ อื่นๆ ที่
จะต้องบวกและหักออกจากรายได้ประชาชาติ (Y) นอกเหนือจากภาษีเงินได้ส่วนบุคคล แต่
เนื่องจากสมมุติให้รายการต่างๆ เหล่านี้เป็ นรายการเล็กน้อย และเพื่อความสะดวกของการ
วิเคราะห์ จึงสมมุตเิ พียงให้ Yd = Y – T
การใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคของประชาชน (C) จะขึน้ อยู่กบั รายได้สุทธิส่วนบุคคล (DI:
Yd) ซึง่ มีรปู สมการคือ

252 EC 103
C = a + b Yd
โดยที่ Yd = รายได้สุทธิส่วนบุคคล (DI) ซึง่ หาได้จากรายได้ส่วนบุคคล (PI)
หักด้วยภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (Income Tax)
ดังนัน้ Yd = Y – T
โดยที่ T = ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล
ฉะนัน้ C = a + b (Y – T)
ถ้าสมมุตวิ ่าผลผลิตทีผ่ ลิตได้ทงั ้ หมดในระบบเศรษฐกิจในรูปของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
สุทธิ (NNP) ดังนัน้ รายจ่ายลงทุน (I) ในทีน่ ้ีจะหมายถึงรายจ่ายลงทุนสุทธิโดยเป็ นการลงทุน
โดยอัตโนมัตไิ ม่ขน้ึ อยูก่ บั รายได้ประชาชาติ
รายจ่ายของรัฐบาลมีทงั ้ รายจ่ายซื้อสินค้าและบริการและรายจ่ายเพื่อการลงทุนซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็ นรายจ่ายแบบอิสระ (autonomous expenditure) เพื่อสาธารณประโยชน์โดยไม่
คานึงถึงรายได้ แต่ขน้ึ อยูก่ บั นโยบายของรัฐบาล
สาหรับทางด้านรายได้รวมหรือ ทางด้านอุปทานรวม (Aggregate Supply) รายได้
ประชาชาติในระบบเศรษฐกิจปิดทีม่ รี ฐั บาลจะประกอบด้วยรายได้ทป่ี จั จัยการผลิตทัง้ หมดได้รบั
จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยธุรกิจและรายได้ของรัฐบาล หรือรายได้รวมจะประกอบไป
ด้วยรายได้ของบุคคล (ซึ่งจะนารายได้น้ีไปเพื่อใช้จ่ายบริโภคและเก็บออม) และรายได้ของ
รัฐบาล ซึ่งรายได้ของรัฐบาลส่วนใหญ่ได้จากภาษีอากรทีเ่ ก็บจากประชาชนซึง่ จะทาให้รายได้
ของประชาชนลดลง ในที่น้ีจะสมมุตวิ ่ารายได้ของรัฐบาลได้มาจากภาษีอากรเพียงอย่างเดียว
นันคื
่ อ
Y = C+S+T
การวิเคราะห์หารายได้ดุลยภาพในกรณีท่มี รี ฐั บาลเพิม่ เข้ามาก็จะเป็ นเช่นเดียวกับ
กรณีเศรษฐกิจปิดทีไ่ ม่มรี ฐั บาล โดยถ้าวิเคราะห์จากเงื่อนไขอุปทานรวม (AS) เท่ากับอุปสงค์
รวม (AD) จะได้
Y = C+I+G
C+S+T = C+I+G
หรือ S+T = I+G
Leakages = Injections
EC 103 253
รูปที่ 10 – 18 แสดงระดับรายได้ดลุ ยภาพในกรณี ที่มีรฐั บาลและไม่มีการค้าระหว่างประเทศ

C+I+G
Y=C+S+T

C+ I+ G

0
Y1 รายได้ประชาชาติ (Y)
S, I, G, T

S+T

I+ G

0
Y1 รายได้ประชาชาติ (Y)

จากรูปที่ 10 – 18 ถ้าสมมุตกิ ารใช้จ่ายของรัฐบาล (G) และ การใช้จ่ายลงทุน (I)


เป็ นรายจ่ายทีไ่ ม่ขน้ึ อยู่กบั รายได้ ระบบเศรษฐกิจจะอยู่ในดุลยภาพเมื่อ Y = C + I +G หรือ
S + T = I + G ซึง่ หมายความว่า รายได้ทงั ้ หมดของระบบเศรษฐกิจเท่ากับค่าใช้จ่ายรวมของ
เศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการบริโภคของประชาชน ค่าใช้จ่ายลงทุนของเอกชน
และค่าใช้จ่ายของรัฐบาล หรือส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจ (Injection) เท่ากับส่วนรัวไหล่ (Leakage)

254 EC 103
โดยรายจ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจซึง่ จะเป็ นผลให้รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึน้ จะในรูปของผลรวมของ
การใช้จ่ายลงทุนและการใช้จ่ายของรัฐบาล เท่ากับกระแสรัวไหลของรายจ่
่ ายออกจากระบบ
เศรษฐกิจซึง่ มีผลให้รายได้ประชาชาติลดลงซึง่ จะในรูปของผลรวมของเงินออมและภาษี
(1) การกาหนดรายได้ ประชาชาติ ในกรณี ระบบเศรษฐกิ จปิ ดมีรฐั บาลด้วยวิ ธี
พีชคณิ ต
การก าหนดรายได้ป ระชาชาติด้ว ยวิธ ีพี ช คณิต จะแสดงดุล ยภาพของระดับ
รายได้ประชาชาติดุลยภาพทีอ่ ุปทานรวม (AS) เท่ากับอุปสงค์รวม (AD) นันคื
่ อ
Y = C+I+G
โดยที่ C = a + b (Y – T)
ถ้ากาหนดให้ I, G และ T เป็นตัวแปรอัตโนมัตใิ ห้มคี ่าคงทีท่ ่ี I, G และ T

ดังนัน้ Y = a + b (Y- T ) + IG


1
Y = ( a  bT  I  G )
1 b
สมการดังกล่าวข้างต้นนี้แสดงระดับรายได้ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจปิดที่ม ี
รัฐบาล โดยมีข้อสมมุติว่า ไม่มเี งินออมของธุรกิจ และไม่มรี ายการเงินโอนของรัฐบาล และ
รายจ่ายลงทุนและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นรายจ่ายอิสระ (autonomous expenditure)
ถ้าพิจารณาการกาหนดรายได้ประชาชาติดว้ ยวิธพี ชี คณิต จะแสดงดุลยภาพของ
ระดับรายได้ประชาชาติดุล ยภาพที่ส่ ว นกระตุ้นเศรษฐกิจ (Injection) เท่ากับส่ว นรัวไหล

(Leakage) จะได้
I+G = S+T
โดยทีก่ ารใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคของประชาชน (C) มีรปู สมการคือ
C = a + b Yd
ดังนัน้ สมการเงินออม (S) มีรปู สมการคือ
S = – a + (1 – b) Yd
หรือ S = – a + (1 – b) (Y – T)

EC 103 255
ถ้ากาหนดให้ I, G และ T เป็นตัวแปรอัตโนมัตใิ ห้มคี ่าคงทีท่ ่ี I, G และ T ดังนัน้
IG = – a + (1 – b) (Y – T ) + T

a+ IG = (1 – b) Y – (1 – b) T + T

(1 – b) Y = a – b T + IG

ดังนัน้ ระดับรายได้ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจปิดทีม่ รี ฐั บาล คือ


1
Y = ( a  bT  I  G )
1 b

กิ จกรรมการเรียนที่ 8
อธิบายเงือ่ นไขทีร่ ายได้ประชาชาติอยูใ่ นดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจปิดทีม่ รี ฐั บาล

(2) ตัวทวีของการใช้จ่ายของรัฐบาล (Government Expenditure Multiplier: KG)


ตัวทวีของการใช้จ่ายของรัฐบาล (KG) เป็ นค่าซึง่ เป็ นตัวเลขทีแ่ สดงว่าเมื่อมีการ
เปลีย่ นแปลงในค่าใช้จา่ ยของรัฐบาลไป 1 หน่วย (บาท) จะทาให้รายได้ประชาชาติเปลีย่ นแปลง
ไปเท่าใด
นัน่ คือ ค่าตัวทวีของการใช้จ่ายของรัฐบาล (KG) จะหาได้จากอัตราส่วนของการ
เปลีย่ นแปลงของรายได้ประชาชาติ (Y) กับการเปลีย่ นแปลงในค่าใช้จ่ายของรัฐบาล (G)
นันคื
่ อ
Y
KG = G
ดังนัน้ การเปลี่ยนแปลงในรายได้ประชาชาติอนั เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงใน
ค่าใช้จา่ ยของรัฐบาล หาได้จาก
Y = KG . G
แสดงว่ า เมื่อ มีก ารเปลี่ย นแปลงในค่ า ใช้ จ่ า ยของรัฐ บาล จะท าให้ ร ายได้
ประชาชาติเปลีย่ นแปลงมากน้อยเพียงใดขึน้ อยูก่ บั 0ค่าตัวทวีของการใช้จา่ ยของรัฐบาล

256 EC 103
จากสมการรายได้ดุลยภาพ
1
Y = ( a  bT  I  G )
1 b
ถ้าต้องการหาการเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติอนั เนื่องจากการใช้จ่ายของ
รัฐบาลทาได้โดยสมมุตใิ ห้ตวั แปรอื่น ๆ นอกเหนือจากรายจ่ายของรัฐบาลคงที่ ดังนัน้

Y = 1 ( a  b  T   I   G)
1 b

เมือ่ a , T และ I คงที่ ดังนัน้ a = 0, T = 0 และ I = 0

 Y = 1
. G
1 b

Y 1
G
= .
1 b

Y
โดยที่ KG = G

Y 1
ดังนัน้ KG = G
= 1 b

นัน่ คือการเปลี่ยนแปลงในรายได้ประชาชาติอนั เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐบาล


หาได้จาก
Y = KG. G = 1
. G
1 b

ตัวอย่างการคานวณ
ถ้าสมมุตริ ฐั บาลใช้จ่ายเพิม่ ขึน้ เท่ากับ 10 ล้านบาท ในขณะที่ MPC เท่ากับ 0.8
จะทาให้รายได้ประชาชาติเ ปลี่ยนแปลงไปอย่างใด และตัวทวีของการใช้จ่ายของรัฐบาลมีค่า
เท่ากับเท่าใด
จาก Y = 1
1 b
. G

Y =  1 (10) = 50 ล้านบาท
 
 1  0.8 

EC 103 257
เมือ่ รัฐบาลใช้จา่ ยเพิม่ ขึน้ เท่ากับ 10 ล้านบาท จะทาให้รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึน้
เท่ากับ 50 ล้านบาท
1 1
ค่าตัวทวีของการใช้จา่ ยของรัฐบาล (KG) = = = 5
1 b 1  0.8
ตัวทวีของการใช้จ่ายของรัฐบาลมีค่าเท่ากับ 5 หมายความว่าเมื่อมีการใช้จ่าย
ของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงไป 1 บาทจะทาให้รายได้ป ระชาชาติเปลี่ยนแปลงไปเท่ากับ 5 บาท
โดยเปลีย่ นแปลงไปในทิศทางเดียวกัน

กิ จกรรมการเรียนที่ 9
ถ้าระบบเศรษฐกิจในขณะนัน้ อยูใ่ นดุลยภาพแล้ว ถ้ารัฐบาลลดการใช้จา่ ยลงเท่ากับ
50 ล้านบาท และถ้าในขณะนัน้ MPC มีค่าเท่ากับ 0.8 จะมีผลต่อรายได้ประชาชาติอย่างไร

(3) ตัวทวีของภาษี อากรของรัฐบาล (Tax Multiplier: KT)


ตัวทวีของภาษี (KT) คือ ค่าซึง่ เป็นตัวเลขทีแ่ สดงว่าเมื่อมีการเปลีย่ นแปลงในการเก็บ
ภาษีของรัฐบาลไป 1 หน่ วย (บาท) จะทาให้รายได้ประชาชาติเปลีย่ นแปลงไปเท่าใด ซึง่ หาได้
จากอัตราส่วนระหว่างการเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติ (Y) กับการเปลีย่ นแปลงในภาษี
ของรัฐบาล (G) ดังนัน้
Y
ตัวทวีของภาษี (KT) = T

การเปลี่ยนแปลงในรายได้ป ระชาชาติอ ันเนื่ อ งจาการเก็บภาษีอ ากรของ


รัฐบาล จะเท่ากับตัวทวีของภาษีคณ
ู ด้วยการเปลีย่ นแปลงในภาษีของรัฐบาล นันคื
่ อ
Y = KT . T
จากสมการระดับรายได้ดุลยภาพ
1
Y = 1 b
( a  bT  I  G )

ถ้าต้องการหาการเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติอนั เนื่องจาการเก็บภาษี


อากรของรัฐบาลจะสมมุตใิ ห้ตวั แปรอื่น ๆ นอกเหนือจาก T คงที่

258 EC 103
Y = 1
(  a  b  T   I   G)
1 b

เมือ่ a , I และ G คงที่ ดังนัน้ a = 0, I = 0 และ G = 0 ดังนัน้


 Y = 1
. (– b T)
1 b
Y b
T
=
1 b

ΔY
โดยที่ KT = ΔT

ΔY b  MPC  MPC
ดังนัน้ ตัวคูณของภาษี (KT) = ΔT
= 1 b
= 1  MPC
=
MPS

ตัวคูณของภาษี (KT) มีเครื่องหมายลบ แสดงว่า การเก็บภาษีเพิม่ ขึน้ จะทาให้รายได้


ประชาชาติลดลง
การเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติอนั เนื่องจากการเก็บภาษีจะหาได้จาก
  b .T
Y = KT. T =  
1 b 
เนื่องจากการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาลจากภาคเอกชน จะมีผลทาให้ปริมาณเงิน
ของภาคเอกชนลดลง ดังนัน้ การจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาลโดยผลการทางานของตัวทวีของ
ภาษี จะมีผลให้รายได้ประชาชาติลดลงมากกว่าจานวนภาษีทร่ี ฐั บาลเก็บไป

ตัวอย่างการคานวณ
ถ้ารัฐบาลเพิม่ การเก็บภาษีเท่ากับ 20 ล้านบาท MPC เท่ากับ 0.8 จะมีผลทาให้
ประชาชาติเปลีย่ นแปลงไปอย่างไร และค่าตัวทวีของภาษีมคี ่าเท่ากับเท่าใด
 M PC
จาก Y = 1  M PC 
. T

=   0.8  (20) = – 80 ล้านบาท


 1  0.8 

EC 103 259
เมื่อรัฐบาลเพิม่ การเก็บภาษีเท่ากับ 20 ล้านบาท จะมีผลทาให้ประชาชาติลดลง
เท่ากับ 80 ล้านบาท
 M PC   0.8 
โดยค่าตัวทวีของภาษี (KT) = 1  M PC
=   = –4
 1  0.8 

ค่ า ตัว ทวีข องภาษี (KT) เท่ า กับ –4 หมายความว่ า เมื่อ มีก ารเก็ บ ภาษี อ ากร
เปลีย่ นแปลงไป 1 บาท จะทาให้รายได้ประชาชาติเปลีย่ นแปลงไป 4 บาท โดยเปลีย่ นแปลงไป
ในทิศทางตรงกันข้าม

กิ จกรรมการเรียนที่ 10
ถ้าสมมุติ C = 50 + 0.75 Yd
I = 75 ล้านบาท
T = 50 ล้านบาท
G = 30 ล้านบาท
จงหาระดับรายได้ดุลยภาพ และหาค่าของตัวทวีของการลงทุน (KT) ตัวทวีของการใช้
จ่ายของรัฐบาล (KG) และตัวทวีของภาษี (KT) และถ้ารัฐบาลเก็บภาษีเพิม่ ขึน้ เท่ากับ 100
ล้านบาท จะมีผลอย่างใดต่อระดับรายได้ประชาชาติ

10.3.3 ระบบเศรษฐกิ จเปิ ด


ระบบเศรษฐกิจเปิ ด (Open Economy) ก็คอื ระบบเศรษฐกิจที่มกี ารค้าระหว่าง
ประเทศ ในระบบเศรษฐกิจเปิด อุปสงค์รวม (AD) จะประกอบด้วยการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค
ของประชาชน (C) การใช้จ่ายลงทุน (I) การใช้จ่ายของรัฐบาล (G) และผลสุทธิจากการค้า
ต่างประเทศ (X-M) นันคื
่ อ
AD = C+I+G+X+M
โดยที่ X = มูลค่าสินค้าส่งออก (Exports)
M = มูลค่าสินค้านาเข้า (Imports)
X–M = มูลค่าส่งออกสุทธิ

260 EC 103
อุปทานรวม (AS) ของระบบเศรษฐกิจจะประกอบด้วยรายได้ของภาคเอกชน และ
รายได้ของรัฐบาล (สมมุตริ ฐั บาลหารายได้จากภาษีอย่างเดียว)
AS = C+S+T
ดังนัน้ ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ อยูท่ ่ี
AD = AS
C+T+G+X–M = C+S+T
หรือ I+G+X = S+T+M
นันคื
่ อ เศรษฐกิจอยูใ่ นดุลยภาพเมือ่ ส่วนกระตุน้ (Injections = I + G+ X) เท่ากับส่วน
รัวไหล
่ (Leakages = S + T + M)
มูลค่าสินค้าออก (X) จัดว่า เป็ นส่วนกระตุ้น (Injection) เพราะการส่งออกได้มาเพื่อ
จะทาให้ได้รบั เงินตราของต่างประเทศ และเกิดการขยายตัวของรายได้ประชาชาติ
ส่วนมูลค่าสินค้าเข้า (M) จัดเป็ นส่วนรัวไหล
่ (leakage) ของระบบเศรษฐกิจ เพราะ
การสังสิ
่ นค้าเข้ามากขึน้ จะสูญเสียเงินตราต่างประเทศทาให้การผลิตภายในประเทศ การจ้าง
งานและรายได้ประชาชาติลดลง
ด้วยเหตุน้ใี นระบบเศรษฐกิจเปิด ส่วนกระตุน้ ทีเ่ พิม่ เข้ามาจากกรณีระบบเศรษฐกิจปิด
คือ X ทาให้ส่วนกระตุ้นประกอบด้วย I + G + X และส่วนรัวไหลจะเพิ ่ ม่ ขึน้ จากกรณีระบบ
เศรษฐกิจปิด คือ M ทาให้ส่วนรัวไหล
่ ประกอบด้วย S + T + M
นันคื
่ อ เงือ่ นไขคุณภาพแสดงส่วนกระตุน้ เท่ากับส่วนรัวไหล

I+G+X = S+T+M
ส่วนกระตุน้ (Injection) = ส่วนรัวไหล
่ (leakage)

EC 103 261
รูปที่ 10 – 19 แสดงระดับรายได้ดลุ ยภาพในระบบเศรษฐกิ จเปิ ด

C+I+G+X–M

Y=C+S+T

C + I+ G +X–M

450
0
Y1 รายได้ประชาชาติ (Y)
I+G+X
s+t+M
S+T+M

I+ G + X

0
Y1 รายได้ประชาชาติ (Y)

จากรูปที่ 10 – 19 ระดับรายได้ดุลยภาพอยูท่ ร่ี ะดับรายได้ OY1


ซึง่ AD = AS หรือ Injections = Leakages

262 EC 103
กิ จกรรมการเรียนที่ 11
จงอธิบายเงือ่ นไขระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจทีม่ กี ารค้าระหว่าง
ประเทศ

(1) การหาดุลยภาพของรายได้ประชาชาติ ทางพีชคณิ ตในระบบเศรษฐกิ จเปิ ด


ถ้าพิจารณาทางพีชคณิตการหาดุลยภาพของรายได้ประชาชาติจะเริม่ จาก
AS = AD
Y = C+I+G+X–M
ถ้าสมมุตกิ ารใช้จา่ ยลงทุน การใช้จา่ ยของรัฐบาล และการส่งสินค้าออก เป็ นตัว
แปรภายนอกทีไ่ ม่ขน้ึ อยูก่ บั รายได้ประชาชาติ มีค่าคงทีเ่ ท่ากับ I, G และ X
สาหรับมูล ค่ าการสังสิ
่ นค้าเข้าจะขึ้นอยู่กับรายได้ประชาชาติ ดังนัน้ สมการ
มูลค่าสินค้านาเข้าจะมีรปู สมการ คือ
M = MO + My Y
แทนค่า C = a + b (Y – T) โดย T = T และ M = MO + MYY ในสมการ
ดุลยภาพของระดับรายได้ประชาชาติ จะได้
Y = a  b( Y  T )  I  G  X  M O  M yY

ดังนัน้ ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ คือ


1
Y = 1  b  My
( a  bT  I  G  X  M )
0

1
หรือ Y = ( a  bT  I  G  X  M 0 )
1  MPC  MPM

สมการดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นสมการของรายได้ดุลยภาพเมื่อระบบเศรษฐกิจมีการค้า
ระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่า ระดับรายได้ดุลยภาพจะมีค่ามากน้อยเพียงใด นอกจากจะขึน้ อยู่
กับตัวแปรต่างๆ เช่น a , I , G , X , MO และ T แล้ว ยังขึน้ อยู่กบั ค่าของ MPC หรือ MPS
และ MPM ด้วย โดยถ้า MPS และ MPM มีค่าสูง จะทาให้ระดับรายได้ดุลยภาพมีค่าน้อย

EC 103 263
(2) ตัวทวีของการส่งสิ นค้าออก (Export Multiplier: KX)
ตัวทวีของการส่งสินค้าออก (Export Multiplier: KX) เป็ นค่าทีแ่ สดงให้เห็นถึง
ผลของการเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติ เมื่อปริมาณการส่ง สินค้าออกเปลี่ยนแปลงไป 1
หน่ วย (บาท) หรือเป็ นค่ าที่แ สดงให้เห็นว่า เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงในมูล ค่ าสินค้าออกไป 1
หน่วย (บาท) จะมีผลทาให้รายได้ประชาชาติเปลีย่ นแปลงไปเท่าใด
ดังนัน้ ตัวทวีของการส่งสินค้าออกจะหาได้จากอัต ราส่ วนของการเปลี่ยนแปลงใน
รายได้ประชาชาติ (Y) ต่อการเปลีย่ นแปลงของมูลค่าการส่งสินค้าออก (X) นันคื
่ อ
ΔY
Kx = ΔX
โดยที่ KX คือ ตัวทวีของการส่งออก
Y คือ การเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติ
X คือ การเปลีย่ นแปลงในมูลค่าของสินค้าส่งออก
ดังนัน้ รายได้ประชาชาติทเ่ี ปลีย่ นแปลงไป (Y) อันเนื่องจากการเปลีย่ นแปลงของ
มูลค่าสินค้าส่ งออก (X) หาได้จากผลคูณของตัว ทวีของการส่งสินค้าออก คูณด้วยการ
เปลีย่ นแปลงในมูลค่าสินค้าออก นันคื
่ อ
Y = Kx . X
จากดุลยภาพของระดับรายได้ในระบบเศรษฐกิจเปิ ด ถ้าต้องการหาว่าเมื่อมีการส่ง
สินค้าออกเปลีย่ นแปลงไปจะมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงของรายได้อย่างไร จะสมมติให้ a, T, I,
G และ MO คงที่ ดังนัน้ การปลีย่ นแปลงของรายได้ประชาชาติ (Y) หาได้จาก
Y = 1
1  b  My
(  a  b  T   I   G   X   M)

เมื่อ a , T , I , G และ M คงที่ ดังนัน้ a = 0, T = 0, I = 0, G = 0 และ


M = 0 ดังนัน้

Y = 1
1  b  My
. X = 1
.X
1  MPC  MPM

Y
 X
= 1
1  b  My
= 1
1  MPC  MPM

264 EC 103
Y
โดยที่ KX = X

Y 1 1
ดังนัน้ KX = X
= 1  b  My
=
1  MPC  MPM

(3) ตัวทวีของการสังสิ ่ นค้าเข้า (Import Multiplier: KM)


ตัวทวีของสินค้านาเข้า (Import Multiplier: KM) เป็ นค่าทีใ่ ช้วดั การเปลีย่ นแปลง
ในรายได้ประชาชาติอนั เนื่องจากการเปลีย่ นแปลงในมูลค่าการสังสิ ่ นค้าเข้าจานวน 1 หน่ วย
(บาท) หรือ อาจกล่ า วได้ว่ า ตัว ทวีข องการสัง่ สิน ค้า เข้า เป็ น ค่ า ที่แ สดงให้เ ห็น ว่ า เมื่อ มีก าร
เปลี่ยนแปลงในมูล ค่ าของสิน ค้า นาเข้า ไป 1 หน่ ว ย (บาท) จะท าให้รายได้ป ระชาชาติ
เปลีย่ นแปลงไปเท่าใด
ดังนัน้ KM จะหาได้จากอัต ราส่ ว นของการเปลี่ยนแปลงในรายได้ประชาชาติ
(Y) ต่อการเปลีย่ นแปลงในมูลค่าสินค้านาเข้า (M) นันคื
่ อ
ΔY
KM = ΔM
โดยที่ KM = ตัวทวีของการสังสิ
่ นค้าเข้า
Y = การเปลีย่ นแปลงในรายได้ประชาชาติ
M = การเปลีย่ นแปลงในมูลค่าการสังสิ
่ นค้าเข้า
ฉะนัน้ Y = KM . M
นันคื
่ อ การเปลีย่ นแปลงของรายได้ประชาชาติจะหาได้จากผลคูณของตัวทวีของ
การสังสิ
่ นค้าเข้ากับการเปลีย่ นแปลงในมูลค่าสินค้านาเข้า
ถ้าพิจารณาจากรูปสมการ ระดับรายได้ดุลยภาพอยูท่ ่ี
1
Y = ( a  bT  I  G  X  M O )
1  MPC  MPM

การปลีย่ นแปลงของรายได้ประชาชาติ (Y) หาได้จาก


Y = 1
1  b  My
(  a  b  T   I   G   X   M)

EC 103 265
เมื่อ a , T , I , G และ X คงที่ ดังนัน้ a = 0, T = 0, I = 0, G = 0 และ
X = 0 ดังนัน้ การเปลีย่ นแปลงของรายได้ประชาชาติ (Y) อันเนื่องจากการเปลีย่ นแปลงใน
มูลค่าสินค้านาเข้า (M) ได้ดงั นี้
1
Y = 1 .M = .M
1 b  M 1  MPC  MPM
Y

ΔY 1 1
เนื่องจาก KM = = =
ΔM 1  MPC  MPM MPS  MPM

ค่า KM มีเครื่องหมายเป็ นลบ แสดงว่า เมื่อมีการสังสิ


่ นค้าเข้าเพิม่ ขึน้ จะทาให้รายได้
ประชาชาติลดลง
จะเห็นได้ว่า การเปลีย่ นแปลงของรายได้ประชาชาติ อันเนื่องจากการนาสินค้าเข้าจะ
ขึน้ อยูก่ บั ค่าของ MPS และ MPM

ตัวอย่างการคานวณ
ถ้าสมมติให้ MPC = 0.8 MPM = 0.2 และมีการนาสินค้าเข้าเพิม่ ขึน้ 2 ล้านบาท
รายได้ประชาชาติลดลง ดังนี้
1
Y =
1  MPC  MPM
. M

1
= 1  0.8  0.2
.( 2)

= – 5 ล้านบาท
และค่าตัวทวีของการนาเข้า (kM) =  1
1  0.8  0.2
  (2.5)

266 EC 103
กิ จกรรมการเรียนที่ 12
1. อธิบายตัวทวีของการส่งสินค้าออก (KX) และตัวทวีของการสังสิ
่ นค้าเข้า (KM)
หมายความว่าอย่างไร และการเปลีย่ นแปลงของระดับรายได้ประชาชาติอนั
เนื่องจากการส่งสินค้าออกและการสังสิ
่ นค้าเข้าหามาได้อย่างไร
2. อธิบายความหมายของความโน้มเอียงทีจ่ ะสังสิ
่ นค้าเข้าหน่วยทีเ่ พิม่ (Marginal
Propensity to Import: MPM)
3. ในกรณีทภ่ี าษี การใช้จา่ ยลงทุน การใช้จา่ ยของรัฐบาล และการส่งสินค้าออกถูก
กาหนดจากปจั จัยภายนอกโดยอิสระ ระดับรายได้ดุลยภาพในกรณีทม่ี กี ารค้า
ระหว่างประเทศจะสูงหรือต่ า มีปจั จัยอะไรเป็ นตัวกาหนด
4. พิจารณาว่าถ้า MPC = 0.75, MPM = 0.25 เมือ่ มีการส่งสินค้าออกเพิม่ ขึน้ 10
ล้านบาท รายได้ประชาชาติจะเปลีย่ นแปลงอย่างไร

EC 103 267
แบบฝึ กหัดท้ายบท
ให้เลือกคาตอบทีถ่ ูกต้องทีส่ ุด
1. ข้อใดเป็นความหมายของความโน้มเอียงเฉลีย่ ทีจ่ ะบริโภค (APC)
1. อัตราส่วนของรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อระดับรายได้
2. อัตราส่วนของระดับรายได้ทเ่ี ปลีย่ นแปลงต่อรายจ่ายเพื่อการบริโภค
3. อัตราส่วนของระดับรายได้ต่อการเปลีย่ นแปลงของรายจ่ายเพื่อการบริโภค
4. อัตราส่วนของการเปลีย่ นแปลงของรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อการเปลีย่ นแปลง
ของระดับรายได้
5. อัตราส่วนของระดับรายได้ต่อการบริโภค
2. ปจั จัยสาคัญทีท่ าให้ระดับของความโน้มเอียงทีจ่ ะใช้จา่ ยอุปโภคบริโภคสูงขึน้ คือ
1. การกระจายรายได้ไม่เสมอภาค 2. การคาดคะเนว่าราคาสินค้าจะลดลง
3. การเก็บภาษีกบั คนจนให้สงู ขึน้ 4. การกักตุนสินค้า
5. ถูกทัง้ ข้อ 1 และข้อ 2
3. ความโน้มเอียงทีจ่ ะบริโภคหน่วยทีเ่ พิม่ (Marginal Propensity to Consume: MPC)
เท่ากับ 0.2 หมายความว่า
1. เมือ่ รายได้เพิม่ ขึน้ 1 บาท จะทาให้การใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคเพิม่ ขึน้ เท่ากับ 0.2 บาท
2. เมือ่ รายได้เพิม่ ขึน้ 1 บาท จะทาให้การใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคลดลงเท่ากับ 0.2 บาท
3. เมือ่ การใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคเพิม่ ขึน้ 0.2 บาท จะทาให้รายได้เพิม่ ขึน้ 1 บาท
4. เมือ่ การใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคเพิม่ ขึน้ 0.2 บาท จะทาให้รายได้ลดลง 1 บาท
5. ผิดทุกข้อ
4. ข้อต่อไปนี้ขอ้ ใดถูกต้องทีส่ ุด
1. APC + APS = 1 2. APC + MPS = 1 3. APC + MPC = 1
4. APS + MPS = 1 5. APS + MPC = 1
5. ถ้าสมการของการใช้จา่ ยเพื่อการอุปโภคบริโภคคือ C = 1,000 + 0.8 Y ค่าตัวเลข
1,000 คือ
1. การบริโภคโดยจูงใจ (induced consumption) 2. จานวนเงินลงทุน
3. การบริโภคโดยอิสระ(autonomous consumption) 4. รายได้ทเ่ี พิม่ ขึน้
5. ค่าใช้จา่ ยเพื่อการบริโภคทีเ่ พิม่ ขึน้

268 EC 103
6. จากข้อ 5 สมการเงินออมคือ
1. S = 1000 + 0.2 Y 2. S = –1000 + 0.8 Y 3. S = –1000 + 0.2 Y
4. S = –1000 – 0.8 Y 5. S = –1000 – 0.2 Y
7. ถ้า Y = C + I , C = a + b Y, – a = – 20 , MPS = 0.6 , I = 10, Y = ?
1. 50 2. 12 3. 15 4. 24 5. ผิดทุกข้อ
8. ในระบบเศรษฐกิจทีไ่ ม่มรี ฐั บาลและไม่มกี ารค้ากับต่างประเทศ ตัวทวีมคี ่าเท่าใด
1. MPS
1 2. 1  1APS 3. MPC 4. APS
1 5. 1  MPS
1

9. ในระบบเศรษฐกิจแบบปิดไม่มรี ฐั บาล MPC เท่ากับ 0.8 ระดับรายได้ดุลยภาพเท่ากับ


800 บาท และถ้าต้องการให้ระดับรายได้ดุลยภาพเพิม่ ขึน้ เป็น 1,000 บาท จะต้องเพิม่
การลงทุนจานวนเท่าใด
1. 20 2. 40 3. 100 4. 160 5. 200
10. กาหนดให้ C = 50 + 0.75 Yd , Yd = Y - T ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีเพิม่ ขึน้ เท่ากับ
10 พันล้านบาท จะมีผลทาให้ระดับรายได้ประชาชาติ
1. ลดลงเท่ากับ 62 พันล้านบาท 2. เพิม่ ขึน้ เท่ากับ 62 พันล้านบาท
3. ลดลงเท่ากับ 30 พันล้านบาท 4. เพิม่ ขึน้ เท่ากับ 30 พันล้านบาท
5. ผิดทัง้ หมด

----------------------------------------------------

EC 103 269

You might also like