You are on page 1of 18

36

บทที่ 3
งบการเงิน
(Financial Statements)
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. สามารถอธิบายถึงงบการเงินอย่างสมบูรณ์ได้อย่างถูกต้อง
2. สามารถระบุและอธิบายถึงองค์ประกอบของงบแสดงฐานะทางการเงินได้อย่างถูกต้อง
3. สามารถระบุและอธิบายถึงองค์ประกอบของงบกำไรขาดทุนได้อย่างถูกต้อง
4. สามารถระบุและอธิบายถึงองค์ประกอบของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของได้อย่าง
ถูกต้อง
5. สามารถระบุและอธิบายถึงองค์ประกอบของงบกระแสเงินสดได้อย่างถูกต้อง

จากที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 2 ว่าวัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี คือ เพื่อให้ข้อมูลทางการเงินที่เป็น


ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลภายในกิจการหรือภายนอกกิจการ เพื่อให้
บุคคลเหล่านั้นตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งข้อมูลทางการเงินที่บุคคลต่าง ๆ ใช้ในนั้นจะอยู่ในรูปของงบ
การเงินของกิจการนั่นเอง ซึ่งมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2560) เรื่องการนำเสนองบการเงินได้
กล่าวไว้ว่า งบการเงินเป็นการนำเสนอฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการอย่างมีแบบแผน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินกลุ่มต่าง ๆ

องค์ประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์
จากมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2561) เรื่องการนำเสนองบการเงินได้กำหนดว่างบ
การเงินฉบับสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วย
1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด
2. งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับงวด
3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสำหรับงวด
4. งบกระแสเงินสดสำหรับงวด
5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน
6. ข้อมูลเปรียบเทียบของงวดก่อน
7. งบแสดงฐานะการเงินต้นงวดของงวดก่อน เมื่อกิจการได้นำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ
ย้อนหลัง หรือการปรับย้อนหลังรายการในงบการเงิน หรือเมื่อกิจการมีการจัดประเภท
รายการใหม่ในงบการเงิน
37

งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึง


ฐานะทางการเงินของกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้นรายละเอียดที่ปรากฏในงบแสดงฐานะทางการเงิน
จึงประกอบไปด้วยรายการของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงิน
ทราบถึงฐานะทางการเงินของกิจการได้
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Statement of Comprehensive Income) เป็นงบการเงินที่
แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยปกติคือช่วงเวลา 1 รอบ
ระยะเวลาบัญชี ดังนั้นรายละเอียดที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจึงประกอบไปด้วยรายละเอียดของ
รายได้ และค่าใช้จ่าย โดยหากในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นกิจการมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย กิจการจะมีผล
การดำเนินงานที่มีกำไร แต่หากในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวกิจการมีรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย กิจการจะ
มีผลการดำเนินงานที่ประสบปัญหาขาดทุน ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่
สำคัญ 2 ส่วน คือ
- องค์ประกอบของกำไรหรือขาดทุน (Profit or Loss) ประกอบไปด้วยรายการที่เป็น
รายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการที่จะแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการใน
แต่ละรอบระยะเวลาการบัญชี
- กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (Other Comprehensive Income) ประกอบไปด้วย
รายการที่เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายที่มาตรฐานการบัญชีไม่อนุญาตให้รับรู้ในกำไรหรือ
ขาดทุน ซึ่งรายการเหล่านี้จะกระทบกับส่วนของเจ้าของโดยตรง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2561) เรื่องการนำเสนองบการเงิน อนุญาตให้กิจการ
สามารถเลือกจัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จได้ 2 วิธีคือ
1. จัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเพียงงบเดียวโดยรวมองค์ประกอบของกำไรหรือ
ขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นไว้ในงบการเงินเดียวกัน
2. จัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยแบ่งเป็น 2 งบ คืองบที่แสดงองค์ประกอบของ
กำไรหรือขาดทุน (งบกำไรขาดทุน) และงบที่ตั้งต้นด้วยกำไรหรือขาดทุนแสดงกำไร
ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นไว้ในตอนท้าย (งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ)
สำหรับในรายวิชาการบัญชีขั้นต้นนี้จะเน้นไปที่การจัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเฉพาะ
องค์ประกอบของกำไรหรือขาดทุน (งบกำไรขาดทุน) เท่านั้น ส่วนองค์ประกอบที่สอง (กำไรขาดทุน
เบ็ดเสร็จอื่น) นักศึกษาจะได้เรียนต่อไปในรายวิชาที่สูงขึ้น
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes in Owner’s
Equities) เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของส่วนของเจ้าของของกิจการที่เกิดขึ้นใน
ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้นรายละเอียดที่ปรากฏในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของจึง
ประกอบไปด้วยรายละเอียดส่วนของเจ้าของ ณ วันต้นงวด รายการที่ทำให้ส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลง
และการกระทบยอดจนกลายเป็นส่วนของเจ้าของในวันสิ้นงวด โดยส่วนของเจ้าของของกิจการ
38

ประกอบด้วย ทุนเรือนหุ้น (หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์) ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์) และกำไร


สะสม
งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows) เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงการ
เปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีว่าในรอบระยะเวลา
บัญชีนั้น เงินสดของกิจการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพิ่มขึ้นเพราะสาเหตุใด และลดลงด้วยสาเหตุใด ดังนั้น
รายละเอียดที่ปรากฏในงบกระแสเงินสดจึงประกอบไปด้วยรายการที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเงิน
สดเท่านั้น โดยรายการต่าง ๆ ดังกล่าวจะแยกออกเป็นกระแสเงินสดจาก 3 กิจกรรม คือ กระแสเงินสดจาก
กิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statements) เป็นการแสดงข้อมูล
เกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงินและนโยบายการบัญชีเฉพาะที่กิจการใช้ และการเปิดเผยข้อมูลที่
กำหนดโดยมาตรฐานรายงานทางการเงินที่ไม่ได้เสนอไว้ในที่ใดในงบการเงิน และให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติม
เกี่ยวกับงบการเงินเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์ที่สุด ที่จะ
สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ไม่หลงผิด

งบกํ าไรขาดทุน

งบแสดงการ งบแสดงฐานะทางการเงิน
งบแสดงฐานะทางการเงิน เปลีย7 นแปลง
ณ วั นต ้นงวด ิA งวด
ณ วั นสน
ในสว่ นของเจ ้าของ

งบกระแสเงินสด

ณ วั นต ้นงวด ระยะเวลาระหว่างงวด ิA งวด


ณ วั นสน

ภาพที่ 3-1 ความสัมพันธ์ระหว่างงบการเงิน

จากภาพ 3-1 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างงบการเงินต่าง ๆ ที่จะต้องจัดทำ โดยเริ่มต้น


จากงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการในวันต้นงวด ซึ่งเป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงฐานะการเงินของ
กิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (เป็นจุดเวลา) จากนั้นเมื่อมีรายการค้าเกิดขึ้นในช่วงเวลาระหว่างงวด รายการ
เหล่านี้จะถูกแสดงในงบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสด เพื่อ
39

จะแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และการเปลี่ยนแปลงของเงินสด


ของกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว จากนั้นผลของการดำเนินงาน ผลการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และผล
การเปลี่ยนแปลงเงินสด จะถูกแสดงในงบแสดงฐานะทางการเงิน ณ วันสิ้นงวด (เป็นจุดเวลา) ดังนั้นอาจ
กล่าวได้ว่างบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสดที่อยู่ตรง
กลางภาพจะเป็นสิ่งที่อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในวันต้นงวดไปเป็นฐานะการเงิน
ของกิจการในวันสิ้นงวด
โดยในรายวิชาการบัญชีขั้นต้นนี้ จะกล่าวถึงเพียงแค่งบการเงินหลัก 3 งบการเงินเท่านั้น ได้แก่ งบ
แสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (เฉพาะองค์ประกอบของกำไรหรือขาดทุน) และงบแสดง
การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ สำหรับองค์ประกอบอื่น ๆ ของงบการเงินฉบับสมบูรณ์ นักศึกษาจะได้
เรียนต่อไปในรายวิชาที่สูงขึ้น

องค์ประกอบของงบแสดงฐานะการเงิน
ตามที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้านี้ว่างบแสดงฐานะทางการเงิน เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึง
ฐานะทางการเงินของกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้นองค์ประกอบของงบแสดงฐานะทางการเงินจึง
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ โดยทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มี
ความสัมพันธ์กัน โดยความสัมพันธ์นี้แสดงออกมาเป็นสมการบัญชีได้ ดังนี้

สมการบัญชี (Accounting Equation)

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง “ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็น


ผลจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรในอนาคต” (ที่มา:
กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558) หรืออาจอธิบายได้ว่าสินทรัพย์คือ
ทรัพยากรที่จะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจกับกิจการที่มีมูลค่าที่วัดได้เป็นตัวเงินที่กิจการเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมี
ตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น เงินสด รถยนต์ สัมปทาน เป็นต้น เราสามารถจำแนกสินทรัพย์ออกเป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง (Liquidity)
สูง ซึ่งสภาพคล่องคือความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงินสด โดยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงคือเงินสดหรือ
สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 รอบระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจหรือ 1 ปี โดย
สินทรัพย์ที่จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนได้ ต้องเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1. คาดว่าจะได้รับประโยชน์ หรือตั้งใจจะขาย หรือใช้ภายในรอบระยะเวลาการ
ดำเนินงานตามปกติของกิจการ
40

2. ถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือมีไว้เพื่อค้า
3. คาดว่าจะได้รับประโยชน์ภายในระยะเวลา 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน
หรือ
4. สินทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด และไม่มีข้อจำกัดในการ
แลกเปลี่ยน หรือการใช้ชำระหนี้สินภายในระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับตั้งแต่
รอบระยะเวลารายงาน
ตัวอย่างของสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่
1.1 เงินสด (Cash) หมายถึง ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ที่กิจการมีอยู่ในมือ และรวมถึงเช็คที่ถึง
กำหนดได้รับเงินแล้วแต่กิจการยังไม่ได้นำไปขึ้นเงินหรือนำฝากธนาคาร ดราฟท์ ธนานัติ แคชเชียร์เช็ค เป็น
ต้น
1.2 เงินฝากธนาคาร (Cash in Bank or Deposit) หมายถึง บัญชีเงินฝากธนาคารที่กิจการมี
อยู่ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ
1.3 เงินลงทุนระยะสั้น (Short-term Investment) หมายถึง การที่กิจการได้นำเงินที่มีอยู่ไป
ลงทุนในหลักทรัพย์ หรือสินทรัพย์อื่น เช่น ทองคำ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเก็งกำไรในระยะสั้น ๆ แล้วขาย
คืนภายใน 1 ปี
1.4 ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) หมายถึง จำนวนเงินที่ลูกค้ามีภาระผูกพันที่จะต้อง
ชดใช้ให้กับกิจการในอนาคตข้างหน้าอันเนื่องมาจากธุรกิจการค้า
1.5 ตั๋วเงินรับ (Notes Receivable) หมายถึง เอกสารหรือสัญญาที่ลูกค้าหรือลูกหนี้ได้ออก
ให้แก่กิจการเพื่อใช้เป็นเอกสารในการเรียกเก็บเงินภายหลัง เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็คลงวันที่
ล่วงหน้า เป็นต้น
1.6 สินค้าคงเหลือ (Inventories) หมายถึง สินค้าสำเร็จรูป งานระหว่างผลิต วัตถุดิบ ที่มีไว้เพื่อ
จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อใช้ในการผลิต แต่ยังไม่ได้จำหน่ายออกไปจากกิจการ ยังคงเหลืออยู่ในกิจการ
1.7 ลูกหนี้อื่น ๆ (Other Receivables) หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากเหตุการณ์อื่นที่ไม่ใช่เกิดจาก
การดำเนินธุรกิจตามปกติของกิจการ เช่น เกิดจากการกู้ยืม เป็นต้น
1.8 รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) หมายถึง รายได้อื่น ๆ ที่ไม่เป็นรายได้จากการดำเนิน
ธุรกิจตามปกติของกิจการที่กิจการควรจะได้รับ แต่ยังไม่ได้รับ เช่น ดอกเบี้ยค้างรับ เป็นต้น
1.9 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินไป
ก่อน โดยที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากเงินที่จ่ายไปนั้น เช่น ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า
เป็นต้น
1.10 วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการที่มีลักษณะที่ใช้แล้วหมดไป
ภายใน 1 ปี เช่น น้ำมันหล่อลื่น ด้าย ผงซักฟอก เป็นต้น และถ้าหากวัสดุสิ้นเปลืองนั้นใช้ในสำนักงาน ก็จะ
ถูกเรียกว่า วัสดุสำนักงาน (Office Supplies) เช่น ปากกา ดินสอ ลวดเย็บกระดาษ เป็นต้น
1.11 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ (Other Current Assets)
41

2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เข้าเงื่อนไข


จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน เป็นสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืนเกินกว่า 12 เดือน นับจากรอบ
ระยะเวลารายงาน ได้แก่
2.1 เงินลงทุนระยะยาว (Long-Term Investment) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการ
ตั้งใจจะถือไว้เกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี หรือ 1 ปี นับจากรอบระยะเวลารายงาน ตัวอย่างของเงินลงทุน
ระยะยาว ได้แก่ เงินลงทุนในกิจการอื่นที่ตั้งใจจะถือไว้เกิน 1 ปีขึ้นไป เงินลงทุนในสินทรัพย์ใด ๆ ที่มีเจตนา
จะเก็งกำไร เช่น การซื้อที่ดินไว้เผื่อขายในอนาคต การซื้อหุ้นกู้หรือพันธบัตร เป็นต้น
2.2 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (Property Plants and Equipments) หมายถึง
สินทรัพย์ที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อใช้ในการจำหน่ายสินค้าหรือ
ให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน และกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบปี
บัญชี ตัวอย่างของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ได้แก่ ที่ดิน อาคาร รถยนต์ เครื่องจักร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
หากสินทรัพย์ที่มีตัวตนและมีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี แต่ไม่ได้มีไว้ในเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการของกิจการ
ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ เช่น หากกิจการเป็นกิจการขายรถยนต์ รถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายก็ไม่
ถือว่าเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แต่จะถือว่าเป็นสินค้าคงเหลือ หรือหากกิจการซื้อที่ดินไว้เพื่อการเก็ง
กำไร โดยหากราคาของที่ดินสูงขึ้นจะขายที่ดินแปลงนี้ออกไป ที่ดินแปลงนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ดิน อาคาร และ
อุปกรณ์ แต่จะถือว่าเป็นเงินลงทุนระยะยาว เป็นต้น
2.3 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึงสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน จับต้อง
ไม่ได้ แต่ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจกับกิจการ โดยสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนี้จะมีอายุการให้ประโยชน์เกิน 1 ปี
หรือ 1รอบระยะเวลาการบัญชี ตัวอย่างของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ สัมปทาน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า สิทธิในการเช่า ค่านิยม เป็นต้น
2.4 สินทรัพย์อื่น (Other Assets) หมายถึงสินทรัพย์อื่นที่มีอายุการให้ประโยชน์เกิน 1
ปีที่นอกเหนือจากสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้ง 3 ประเภท เช่น ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี เป็นต้น

หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของ


เหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้น คาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ
(ที่มา: กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558) หนี้สินสามารถจำแนกออก
ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
1. คาดว่าจะมีการชำระภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ
2. ถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือมีไว้เพื่อค้า
3. ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน หรือ
4. กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชำระหนี้ออกไปอีกเป็นเวลาไม่น้อย
กว่า 12 เดือน นับจากรอบระยะเวลารายงาน หากคู่สัญญามีทางเลือกให้จ่ายชำระ
42

หนี้โดยการออกตราสารทุน ระยะเวลาการชำระหนี้ไม่มีผลกระทบต่อการจัดการ
ประเภทรายการ
ตัวอย่างของสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่
1.1 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (Bank Overdraft) หมายถึง เงินที่กิจการเบิกเกินจากบัญชีเงิน
ฝากกระแสรายวัน ซึ่งธนาคารยอมให้เบิกเกินบัญชีไปก่อนในระยะสั้น ๆ ซึ่งกิจการจะต้องชำระคืนธนาคาร
ในอนาคต
1.2 เงินกู้ยืมธนาคารระยะสั้น (Short-term Bank Loan) หมายถึง การที่กิจการได้ทำสัญญา
ตกลงกับธนาคารในการกู้ยืมเงินจำนวนหนึ่ง โดยที่มีกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี
1.3 เจ้าหนี้การค้า (Account Payable) หมายถึงจำนวนเงินที่กิจการมีภาระผูกพันที่จะต้อง
ชำระให้กับบุคคลหรือกิจการอื่นเป็นค่าสินค้าหรือบริการที่กิจการซื้อมาเป็นเงินเชื่อ
1.4 ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable) หมายถึง เอกสารที่กิจการออกให้กับบุคคลหรือกิจการ เพื่อ
เป็นสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดตามเอกสารนั้น กิจการจะจ่ายเงินให้กับผู้ที่ถือเอกสาร ในจำนวนเงินตาม
เอกสารนั้น
1.5 รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Revenue) หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับเงินมาแล้ว แต่ยัง
ไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ซึ่งจะมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า
ในอนาคตเนื่องจากได้รับเงินมาแล้ว
1.6 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ครบกำหนดที่จะต้อง
จ่ายแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงิน และกิจการยังไม่เคยรับรู้และมีการบันทึกบัญชีมาก่อน จนถึงวันสิ้นงวด
บัญชีของกิจการ เช่น ค่าเช่าค้างจ่าย ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย เป็นต้น
1.7 เจ้าหนี้อื่น (Other Payable) หมายถึง ภาระผู้พันที่กิจการจะต้องชำระหนี้ให้กับบุคคลหรือ
กิจการอื่น ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า เช่น เจ้าหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมระยะสั้นที่ไม่ไช่ธนาคาร เป็นต้น
2. หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่ไม่เข้าเงื่อนไขการเป็น
หนี้สินหมุนเวียน ตัวอย่างของหนี้สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ หุ้นกู้ ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว เงินกู้ระยะยาว เงินกู้
จำนอง เป็นต้น

ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) หรือบางทีอาจจะเรียกว่า ทุน (Proprietorship) หรือ


สินทรัพย์สุทธิ (Net Assets) หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินออก
แล้ว (ที่มา: กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558) ส่วนของเจ้าของของ
กิจการที่ดำเนินงานแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Individual Proprietorship) สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว
ส่วนของเจ้าของคือสินทรัพย์ที่เจ้าของกิจการนำมาลงทุนในกิจการเป็นครั้งแรก ซึ่งจะเรียกว่า “ทุน” ทุนจะ
มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากผลการดำเนินงานของกิจการที่มีกำไร หรือจากการที่เจ้าของกิจการนำสินทรัพย์
มาลงทุนเพิ่มเติม และทุนจะมีจำนวนลดลงจากผลการดำเนินงานของกิจการที่ขาดทุน หรือจากการที่
เจ้าของกิจการได้ถอนทุนคืนไป
43

2. กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership) สำหรับกิจการห้างหุ้นส่วน ส่วนของเจ้าของจะเรียกว่า


“ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน” ซึ่งจะประกอบไปด้วยทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน และทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน
แต่ละคนจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับส่วนแบ่งกำไร หรือมีการลงทุนเพิ่ม และทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะ
ลดลงเมื่อได้รับส่วนแบ่งการขาดทุน หรือเมื่อมีการถอนทุนคืน
3. กิจการบริษัทจำกัด (Limited Company) สำหรับกิจการบริษัทจำกัด ส่วนของเจ้าของจะ
เรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น” ซึ่งจะประกอบไปด้วย ทุนเรือนหุ้นไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ ซึ่งคือจำนวนเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายหุ้นในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และ
กำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม ซึ่งหมายถึงผลการดำเนินงานที่สะสมมาในแต่ละปีตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการ

รูปแบบของงบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงฐานะการเงินมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินงานของกิจการ ได้แก่ห้าง
หุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด โดยในแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง
การกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554

รายการย่อยที่ต้องมีในงบแสดงฐานะการเงินของห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วน..........................
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย : บาท
หมายเหตุ 25x1 25x0
สินทรัพย์
1. สินทรัพย์หมุนเวียน
1.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
1.2 เงินลงทุนชั่วคราว
1.3 ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น
1.4 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
1.5 สินค้าคงเหลือ
1.6 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
2.1 เงินลงทุนเผื่อขาย
2.2 เงินลงทุนในบริษัทร่วม
44

2.3 เงินลงทุนในบริษัทย่อย
2.4 เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า
2.5 เงินลงทุนระยะยาวอื่น
2.6 เงินให้กู้ยืมระยะยาว
2.7 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
2.8 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เผื่อขาย
2.9 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2.10 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2.11 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
2.12 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
รวมสินทรัพย์

หนี้สินและส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน
3. หนี้สินหมุนเวียน
3.1 เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน
3.2 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
3.3 ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
3.4 เงินกู้ยืมระยะสั้น
3.5 ภาษีเงินได้ค้างจ่าย
3.6 ประมาณการหนี้สินระยะสั้น
3.7 หนี้สินหมุนเวียนอื่น
รวมหนี้สินหมุนเวียน

4. หนี้สินไม่หมุนเวียน
4.1 เงินกู้ยืมระยะยาว
4.2 หนิ้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
4.3 ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน
4.4 ประมาณการหนี้สินระยะยาว
4.5 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน
รวมหนี้สิน

5. ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน
45

5.1 ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน
5.2 กำไร (ขาดทุน) สะสมที่ยังไม่ได้แบ่ง
5.3 องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน
รวมส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน
รวมหนี้สินและส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน

รายการย่อยที่ต้องมีในงบแสดงฐานะการเงินของบริษัทจำกัด

บริษัท..........................จำกัด
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย : บาท
หมายเหตุ 25x1 25x0
สินทรัพย์
1. สินทรัพย์หมุนเวียน
1.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
1.2 เงินลงทุนชั่วคราว
1.3 ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น
1.4 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
1.5 สินค้าคงเหลือ
1.6 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
2.1 เงินลงทุนเผื่อขาย
2.2 เงินลงทุนในบริษัทร่วม
2.3 เงินลงทุนในบริษัทย่อย
2.4 เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า
2.5 เงินลงทุนระยะยาวอื่น
2.6 เงินให้กู้ยืมระยะยาว
2.7 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
2.8 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เผื่อขาย
2.9 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2.10 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
46

2.11 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
2.12 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
รวมสินทรัพย์

หนี้สินและส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน
3. หนี้สินหมุนเวียน
3.1 เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน
3.2 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
3.3 ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
3.4 เงินกู้ยืมระยะสั้น
3.5 ภาษีเงินได้ค้างจ่าย
3.6 ประมาณการหนี้สินระยะสั้น
3.7 หนี้สินหมุนเวียนอื่น
รวมหนี้สินหมุนเวียน

4. หนี้สินไม่หมุนเวียน
4.1 เงินกู้ยืมระยะยาว
4.2 หนิ้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
4.3 ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน
4.4 ประมาณการหนี้สินระยะยาว
4.5 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน
รวมหนี้สิน

5. ส่วนของผูถ้ ือหุ้น
5.1 ทุนเรือนหุ้น
5.1.1 ทุนจดทะเบียน
5.1.1.1 หุ้นบุริมสิทธิ์
5.1.1.2 หุ้นสามัญ
5.1.2 ทุนที่ชำระแล้ว
5.1.2.1 หุ้นบุริมสิทธิ์
5.1.2.2 หุ้นสามัญ
47

5.2 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
5.2.1 ส่วนเกินมูลคค่าหุ้นบุริมสิทธิ์
5.2.2 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ
5.3 กำไร (ขาดทุน) สะสม
5.3.1 จัดสรรแล้ว
5.3.1.1 สำรองตามกฎหมาย
5.3.1.2 อื่น ๆ
5.4 องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น
รวมส่วนของผูถ้ ือหุ้น
รวมหนี้สินและส่วนของผูถ้ ือหุ้น

องค์ประกอบของงบกำไรขาดทุน
ตามที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้านี้เช่นกันว่างบกำไรขาดทุน เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงผล
การดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้นองค์ประกอบของงบกำไรขาดทุนจึงประกอบด้วย
2 องค์ประกอบได้แก่ รายได้ และค่าใช้จ่าย

รายได้ (Revenues) หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีใน


รูปของกระแสเข้าหรือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของ
เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ซึ่งเราสามารถจำแนกรายได้ออกเป็น
2 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. รายได้จากการขายหรือรายได้จากการให้บริการ หมายถึง รายได้จากการขายสินค้าหรือ
รายได้จากการให้บริการ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกิจการ เช่น รายได้ค่าบริการเสริมสวยของร้าน
เสริมสวย รายได้ค่าขายสินค้าจากร้านค้าปลีก เป็นต้น รายได้นี้จัดเป็นรายได้หลักของกิจการ
2. รายได้อื่น ๆ หมายถึง รายได้จากการดำเนินงานอื่นที่ไม่ใช้รายได้จากการขายหรือการ
ให้บริการซึ่งเป็นรายได้หลักของกิจการ ตัวอย่างของรายได้อื่น ๆ ได้แก่ รายได้ดอกเบี้ยรับ
รายได้เงินปันผลรับ เป็นต้น

ค่าใช้จ่าย (Expenses) หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีใน


รูปของกระแสออกหรือการลดลงของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของ
ลดลง ทั้งนี้ไม่รวมการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ โดยเราสามารถจำแนกค่าใช้จ่าย
ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ หมายถึง ต้นทุนของสินค้าที่เราขายออกไป หรือต้นทุน
ของการบริการที่เราส่งมอบออกไป
48

2. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการขายสินค้าหรือ


บริการ และค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินงาน ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นและ
ดอกเบี้ยจ่าย
3. ค่าใช้จ่ายอื่น หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นที่ไม่ใช้ค่าใช้จ่ายตาม 2 ข้อข้างต้น

รูปแบบของงบกำไรขาดทุน
งบกำไรขาดทุนสามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ แบบขั้นเดียวและแบบหลายขั้น ซึ่งมีรูปแบบที่
เหมือนกันทั้งกิจการที่เป็นห้างหุ้นส่วนและกิจการที่เป็นบริษัทจำกัด

รายการย่อยที่ต้องมีและนำเสนอในงบกำไรขาดทุนแบบขั้นเดียว

บริษัท..........................จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับระยะเวลา.......สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย : บาท
หมายเหตุ 25x1 25x0
1. รายได้
1.1 รายได้จากการขายหรือการให้บริการ
1.2 รายได้อื่น
รวมรายได้

2. ค่าใช้จ่าย
2.1 ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ
2.2 ค่าใช้จ่ายในการขาย
2.3 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
2.4 ค่าใช้จ่ายอื่น
รวมค่าใช้จ่าย

3. กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้


4. ต้นทุนทางการเงิน
5. กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
6. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
7. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
49

รายการย่อยที่ต้องมีและนำเสนอในงบกำไรขาดทุนแบบหลายขั้น

บริษัท..........................จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับระยะเวลา.......สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย : บาท
หมายเหตุ 25x1 25x0
1. รายได้จากการขายหรือการให้บริการ
2. ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ
3. กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้น
4. รายได้อื่น
5. กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่าย
6. ค่าใช้จ่ายในการขาย
7. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
8. ค่าใช้จ่ายอื่น
9. รวมค่าใช้จ่าย
10. กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
11. ต้นทุนทางการเงิน
12. กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
13. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
14. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes in Owner’s Equity)


เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ โดยหากกิจการเป็นบริษัท
จำกัด การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของก็คือการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยการเปลี่ยนแปลง
ในส่วนของผู้ถือหุ้นนั้น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นจะแสดงให้เห็นโดยการกระทบ
ยอดจากยอดคงเหลือต้นงวดมายังยอดคงเหลือปลายงวด
50

รายการย่อยที่ต้องมีและนำเสนอในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

บริษัท..........................จำกัด
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
สำหรับระยะเวลา.......สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย : บาท
หมาย ทุนที่ ส่วนเกิน กำไร องค์ประกอบ รวม
เหตุ ชำระแล้ว มูลค่าหุ้น (ขาดทุน) อื่นของส่วน
สะสม ของผู้ถือหุ้น
1. ยอดคงเหลือ ณ ต้นงวด
2. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
3. ผลสะสมจากการแก้ไขข้อผิดพลาดทางการบัญชี
4. ยอดคงเหลือที่ปรับปรุงแล้ว
5. การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับงวด
5.1 การเพิ่ม (ลด) หุ้นสามัญ
5.2 การเพิ่ม (ลด) หุ้นบุริมสิทธิ์
5.3 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
5.4 เงินปันผล
5.5 องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น
5.5.1 ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลง
ค่างบการเงิน
5.5.2 ผลกำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงิน
ลงทุนเผื่อขาย
5.5.3 ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงอื่น
6. ยอดคงเหลือ ณ สิ้นงวด

งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows)


เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเงินสดทั้งแหล่งที่มา (กระแสเงินสดรับ) และ
แหล่งใช้ไป (กระแสเงินสดจ่าย) ของเงินสด ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงของกระแส
เงินสดจะแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ
- กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities)
- กิจกรรมการลงทุน (Investing Activities)
- กิจกรรมการจัดหาเงิน (Financing Activities)
โดยรายละเอียดและองค์ประกอบของงบกระแสเงินสด นักศึกษาจะได้เรียนต่อไปในรายวิชาการ
บัญชีขั้นกลาง 2 และการบัญชีบริหาร
51

แบบฝึกหัดบทที่ 3

3-1.จงบอกถึงองค์ประกอบของงบการเงินฉบับสมบูรณ์
3-2.จงบอกถึงองค์ประกอบของงบแสดงฐานะทางการเงิน
3-3.จงบอกถึงองค์ประกอบของงบกำไรขาดทุน
3-4.จงบอกถึงองค์ประกอบของงบกระแสเงินสด
3-5.จงระบุว่ารายการต่อไปนี้เป็น สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ หรือค่าใช้จ่ายของกิจการ
และควรแสดงอยู่ในงบการเงินใด
ก. เงินกู้ระยะยาว
ข. ตั๋วเงินรับ
ค. รายได้ค่าเช่า
ง. ค่าเช่า
จ. ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า
ฉ. รายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า
ช. รายได้ค่าเช่าค้างรับ
ซ. เงินฝากธนาคาร
ฌ. ลูกหนี้การค้า
ญ. ภาษีเงินได้ค้างจ่าย
ฎ. ถอนใช้ส่วนตัว
ฏ. ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ
ฐ. รถยนต์
ฑ. ที่ดินที่มีไว้เพื่อขาย
ฒ. เจ้าหนี้การค้า
ณ. อาคารสำนักงาน
ด. วัสดุสำนักงาน
52

3-6 จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้จัดทำงบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ และงบ


แสดงฐานะทางการเงินของบริษัท บันทึกบัญชี จำกัด สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
25X3
เงินสด 600,000 บาท อุปกรณ์สำนักงาน 900,000 บาท
เจ้าหนี้การค้า 90,000 บาท อาคาร 1,800,000 บาท
รายได้ค่าบริการจัดทำบัญชี 427,000 บาท ค่าสาธารณูปโภค 74,000 บาท
ลูกหนี้การค้า 90,000 บาท ทุนเรือนหุ้น 2,000,000 บาท
ดอกเบี้ยจ่าย 1,200 บาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 800 บาท
รายได้อื่น ๆ 36,000 บาท ที่ดิน 1,200,000 บาท
ค่าเช่า 80,000 บาท เงินเดือน 150,000 บาท
เงินกู้ยืมธนาคาร 1,500,000 บาท กำไรสะสม (31 ธ.ค.X2) 488,740 บาท
วัสดุสำนักงาน 60,000 บาท ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย 60,000 บาท
ภาษีเงินได้ 47,340 บาท เงินปันผลจ่าย 100,000 บาท
กำไรสะสม (31 ธ.ค.X3) 499,200 บาท ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 500,000 บาท

3-7 จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้จัดทำงบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ และงบ


แสดงฐานะทางการเงินของบริษัท ไมโครสรรพสินค้า จำกัด สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31
ธันวาคม 25X3
กำไรสะสม (31 ธ.ค.X3) 255,930 บาท ตั๋วเงินจ่าย 20,000 บาท
ค่าสาธารณูปโภค 67,800 บาท ลูกหนี้การค้า 365,800 บาท
ค่าเช่าค้างจ่าย 36,000 บาท ต้นทุนขาย 902,650 บาท
ตั๋วเงินรับ 50,000 บาท ดอกเบี้ยรับ 3,850 บาท
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 1,000,000 บาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 550 บาท
อุปกรณ์สำนักงาน 2,500,000 บาท เงินเดือน 120,000 บาท
รายได้จากการขาย 1,289,500 บาท ภาษีเงินได้ 42,870 บาท
ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า 3,000 บาท เจ้าหนี้การค้า 130,970 บาท
เงินปันผลจ่าย 60,000 บาท ค่าเช่า 60,000 บาท
ทุนเรือนหุ้น 3,000,000 บาท เงินกู้ระยะยาว 300,000 บาท
เงินสด 189,930 บาท กำไรสะสม (31 ธ.ค.X2) 215,900 บาท
สินค้าคงเหลือ 1,634,720 บาท
53

3-8 จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้จัดทำงบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ และงบ


แสดงฐานะทางการเงินของบริษัท ปรึกษาคอนซัลแทนท์ จำกัด สำหรับระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31
ธันวาคม 25X3
ทุนเรือนหุ้น 200,000 บาท เจ้าหนี้การค้า 2,365 บาท
รายได้ค่าบริการปรึกษา 195,000 บาท เงินลงทุนระยะยาว 50,000 บาท
เงินกู้จำนอง 100,000 บาท เงินปันผลจ่าย 0 บาท
เครื่องตกแต่ง 120,000 บาท อุปกรณ์สำนักงาน 90,000 บาท
เงินเดือน 180,000 บาท ค่าโฆษณาค้างจ่าย 3,000 บาท
ค่าโฆษณา 30,000 บาท วัสดุสำนักงาน 650 บาท
ลูกหนี้การค้า 60,000 บาท เงินสด 2,770 บาท
ตั๋วเงินจ่าย 5,000 บาท ดอกเบี้ยค้างรับ 450 บาท
ค่ารับรอง 5,600 บาท กำไร(ขาดทุน)สะสม (31 ธ.ค.X3) (7,495) บาท
เงินปันผลรับ 2,100 บาท กำไรสะสม (31 ธ.ค.X2) 12,945 บาท
รายได้ค่าบริการปรึกษารับล่วงหน้า 21,000 บาท ค่าสาธารณูปโภค 1,940 บาท

3-9 Using the following information to prepare income statement, statement of changes
in financial position, and statement of financial position of Booksmith Company
Limited which operates as book store for 1 year-period ended December 20x5
Common Stock $200,000 Sales $123,800
Cash $49,230 Accounts Receivable $4,550
Notes Payable $10,000 Inventory $278,100
Office Equipment $120,000 Accounts Payable $9,450
Salaries $45,000 Rent Income $30,000
Income Tax Payable $10,950 Cash in Bank $50,000
Long-term Investment $50,000 Notes Receivable $30,000
Dividend $20,000 Loan from Bank $200,000
Advertising Expenses $3,000 Retained Earnings (Jan 1,20x5) $156,930
Income Tax $10,950 Retained Earnings (Dec 31,20x5) $162,430
Cost of Goods Sold $69,710 Interest Income $410

You might also like