You are on page 1of 3

งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทําขึ้นอย่างมีแบบแผน เพื่อ

แสดงฐานะการเงิน และผลการดําเนินงานของกิจการ และ กระแสเงินสดของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ


ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน ในรอบระยะเวลาใด เวลาหนึ่ง รวมถึงหมายเหตุประกอบงบการเงิน งบ
ประกอบอื่น หรือคําอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้วา่ เป็นส่วนหนึ่งของ งบการเงิน

ผู้ใช้งบการเงิน (Stakeholder) หมายถึง ผู้ที่มีความต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลในงบการเงิน


เพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจในการดําเนินการทางธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ใช้งบการเงินมีหลายฝ่าย ทั้งผู้ใช้
ภายนอกและผู้ใช้ภายใน ผู้ใช้งบการเงินแต่ละฝ่ายมีความต้องการข้อมูลที่แตกต่างกัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

1. ผู้มีส่วนได้สว่ นเสียขั้นพื้นฐาน (primary stakeholders) คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ซึ่งได้รับผลกระทบ


จากกิจกรรม ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบทางบวกหรือทางลบได้ โดยทั่วไปจะเป็นองค์การที่เป็นส่วนหนึ่งใน
ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) โดยมีประโยชน์ต่อบุคคลดังนี้
- พนักงาน : เพื่อตรวจสอบความมั่นคง และความสามารถในการทำเงิน หรือทำกำไรของบริษัท
และนายจ้าง รวมถึงดูการจ่ายค่าตอบแทน ไม่วา่ จะเป็นเงินเดือน หรือโบนัส
- ผู้บริหาร : ประเมินศักยภาพเพื่อให้การบริหารโครงงานเป็นไปตามเป้าหมายทั้งระยะสั้น และ
ระยะยาว เช่น ถ้ามีทรัพย์สินหมุนเวียนระยะสั้นน้อย อาจจะพิจารณากู้จากแหล่งเงินทุนเพื่อน
รักษาสภาพ
- ผู้ถือหุ้น : ต้องการข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการ ซื้อหรือขายเงินลงทุนนั้นต่อไป ตลอด
จนประเมินความสามารถในการจ่ายปันผล
- ลูกค้า : ต้องการข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อสินค้าของทางบริษัทต่อไป รวมไปถึง
บริการต่างๆที่บริษัทมี เช่น การเป็นดาวรายในองค์กรขายตรงต่างๆ ก็ต้องประเมินรายได้ของ
บริษัทว่าลูกค้าต้องการหรือไม่
- คู่ค้า : เพื่อประกอบการตัดสินในในการลุงทุนร่วมกับบริษัทนั้นๆ โดยไม่ว่าจะเป็นการสร้าง
ผลิตภัณฑ์ร่วมกับบริษัท หรือเป็นการวางแผนสร้างโครงการซักโครงการหนึ่งขึ้นมา เพื่อเป็นการ
ลงทุนในอนาคต
- ผู้ส่งมอบ : มีประโยชน์ในเรื่องการบริหารจัดการ ซึ่งปัจจัยด้านผู้ส่งมอบเป็นตัวแปรหลักที่ส่งผล
ทางด้านต้นทุน และความสามารถในการตอบสนองลูกค้า รวมไปถึงการจัดการความน่าเชื่อถือ
และการรวมพลังทางธุรกิจ ระหว่างผู้ซื้อขายกับผู้ส่งมอบ
- ครอบครัวพนักงาน : ประเมินความเสี่ยงในการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานบริษัท รวมไปถึง
โบนัสประจำปี และสวัสดิการ เพื่อความมั่นคงในการทำงานต่อไป
- เจ้าหนี้ : มีอำนาจในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ เนื่องจากได้รับเครดิตเทอมเป็นเวลานาน และ
ยังแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้สามารถตัดสินใจในการเรียกอัตราผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยได้ และยัง
เป็นข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่าจะขายสินค้าหรือบริการให้แก่กิจการนั้นหรือไม่
- ชุมนุมรอบถิ่นตั้งองค์กร : ในการจัดตั้งชุมนุมนั้นย่อมมีเหตุผลในการสรรสร้างโครงการ หรือผล
ปรโยชน์รว่ มกันชุมชนในบริเวณนั้น ซึ่งประโยชน์ที่ชุมนุมรอบถิ่นตั้งองค์กรจะได้รับ คือ ผล
ประโยชน์ตา่ งๆไม่วา่ จะเป็น ดอกเบี้ยเงินฝาก ปันผลไม่ว่าจะเป็นรายปีหรือรายเดือน

2. ผู้มีส่วนได้สว่ นเสียขั้นรอง (secondary stakeholders) คือ ทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากการดำเนิน


งานขององค์การ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อองค์การโดยตรง โดยมีประโยชน์ตอ่ บุคคลดังนี้
- รัฐบาล : ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานของกิจการในการกํากับดูแล การพิจารณากําหนด
นโยบายทางภาษีและเพื่อใช้เป็นฐานในการคํานวณรายได้ประชาชาติและจัดทําสถิตใิ นด้านต่าง ๆ
- หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานราชการ : เช่นเดียวกับทางรัฐบาล ก็คือ การนำข้อมูลงบการ
เงินมาเป็นฐานในการคำนวณต่างๆ และจัดทำสถิติตา่ งๆ
- สมาคมการค้า : ประเมินสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อประกอบการตัดสินใจในการคงใว้ซึ่งผู้ค้าใน
สมาคม รวมไปถึงเจ้าหนี้ และได้ค่านายหน้าเป็นผลตอบแทน รวมไปถึงเงินทุนหมุนเวียนภายใน
สมาคม
- ผู้ที่จะมาเป็นลูกค้าหรือพนักงานในอนาคต : มีประโยชน์ในการตัดสินใจในเรื่องของการเข้ามา
เป็นพนักงานในบริษัทนี้เพื่อขับเคลื่อนบริษัท และการส่งเสริมในด้านเงินทุนของบริษัท เช่น การ
จ่ายค่าตอบแทน ต้องดูวา่ เขาจ่ายค่าตอบแทน และหลายอย่างๆ พอใจเราไหม ถ้าพอใจเราก็
ตัดสินใจเข้ามาเป็นลูกค้าหรือพนักงานของกิจการนั้นๆได้
ที่มา

- การวิเคราะห์รายงานาทางการเงิน (cvc.ac.th)

- Stakeholder Engagement & Materiality Analysis - การมีส่วนร่ วมกับผูม้ ีส่วนได้เสี ย และการ


วิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านความยัง่ ยืน : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - ศูนย์พฒั นาธุรกิจเพื่อความ
ยัง่ ยืน (setsustainability.com)

You might also like