You are on page 1of 16

การบริหารการเงินการคลัง

ระบบบริหารการเงิน ( Financial Management )


เรียกกันโดยทั่วไปในภาคเอกชน สาหรับในภาครัฐบาลเรามักเรียกเรื่องเดียวกันนี้ว่าการบริหารการคลัง
หรือการบริหารการเงินการคลัง ซึ่งหมายถึงการรับ/จ่าย เก็บรักษาและบริหารเงิน ในระดับรัฐบาลและระดับส่วนราชการ
ทั้งที่เป็นเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ โดยเงินในงบประมาณเป็นเงินทีต่ ้องผ่านกระบวนการอนุมัติของ
รัฐสภาจึงจะใช้จ่ายได้ ส่วนเงินนอกงบประมาณเป็นเงินที่สามารถใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการอนุมัติของรัฐสภา
โดยตรง
หลักการบริหารการเงินการคลังภาครัฐจะแตกต่างจากการบริหารการเงินในภาคเอกชน กล่าวคือ จะต้อง
บริหารให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยงานกลางกากับดูแลและติดตามผล

การบริหารการเงินการคลังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งดาเนินการผ่านองคกร์ของรัฐหลาย
ระดับ ได้แก่ องคกร์บริหารของรัฐบาลกลาง องคกร์บริหารของท้องถิ่น และองคกร์บริหารของรัฐวิสาหกิจ แต่ละองคกร์
ย่อมมีระบบการบริหารการเงิน ของตนเอง ซึ่งแตกต่างกันตามลักษณะขององคกร์และอานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ
โครงสร้างระบบการบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็นการบริหารราชการส่วนกลางหรือการบริหารราชการส่วนภูมิภาค จะเกี่ยวข้องกับเงิน 3 ส่วน คือ
1. เงินที่รับเข้ามาในระบบ
2. เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารงานของรัฐ
3. เงินคงเหลือที่เก็บรักษาไว้สาหรับหมุนเวียนใช้จ่าย
ซึ่งการบริหารการเงินของรัฐทั้ง 3 ส่วนดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามกรอบที่กฎหมายกาหนดและตามแนวนโยบาย
และยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
กลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงินของรัฐบาลกลางเป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่มีหน้าที่หาและใช้จ่ายเงิน หมายถึง ส่วนราชการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่กฎหมายกาหนดให้
มีอานาจหน้าที่ในการจัดเก็บเงินจากประชาชนแทนรัฐบาล และใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ได้แก่ ส่วนราชการซึ่งเป็นส่วน
ราชการเจ้าของงงบประมาณ ส่วนราชการผู้เบิก และหน่วยงานย่อย
2. กลุ่มที่มีหน้าที่ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ ควบคุมดูแลและติดตามประเมินผลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและ
การเงิน หมายถึง ส่วนราชการที่กฎหมายกาหนดให้มีอานาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ
พิจารณาอนุมัติ ควบคุมดูแลและติดตามประเมินผลทางด้านการเงินและการปฏิบัติงาน ได้แก่ สานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สานักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
โครงสร้างระบบการบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล
เป็นวงจรเริ่มตั้งแต่การรับเงินรายได้หรือรายรับอื่น การใช้จ่าย การเก็บรักษาเงิน การทาบัญชี และการตรวจสอบ
โดยหน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย
กลุ่มที่มีหน้าที่หาและใช้จ่ายเงิน กลุ่มที่มีหน้าที่วางแผน ควบคุมดูแล และติดตามประเมินผล
1. การจัดเก็บเงินจากประชาชน เพื่อนาส่งเข้าคลัง 1. การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เป็นรายได้แผ่นดิน 2. การวางแผนปฏิบัติการและกาหนดวงเงินงบประมาณการรายได้และ
งบประมาณรายจ่าย
2. การใช้และบริหารเงินงบประมาณของรัฐบาล 3. การกาหนดกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ รวมทั้งวางระบบบัญชี
ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติตาม พ.ร.บ.งบประมาณ และระบบตรวจสอบภายในเพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
รายจ่ายประจาปี พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ด้านการเงินให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
4. การควบคุมดูแลการจัดเก็บและส่งเงินรายได้แผ่นดินเข้าคลัง
และ พ.ร.บ.โอนเงินงบประมาณรายจ่าย 5. การควบคุมดูแลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ให้อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
3. การรับ – จ่าย และบริหารเงินนอกงบประมาณที่อยู่ ภายในระยะเวลาที่กาหนด และถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
ในความรับผิดชอบ ภายในขอบเขตของกฎหมายและ มติคณะรัฐมนตรี
6. การกู้เงินจากภายในและภายนอกประเทศ การบริหารเงินกู้ รวมทั้งการดูแล
ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับการชาระหนี้เงินกู้
7. การดูแลรักษาเงินคงคลังให้ปลอดภัยและมีจานวนพอเหมาะต่อการหมุนเวียน
ใช้จ่าย
8.การควบคุมดูแลการรับ-จ่ายเงินนอกงบประมาณของส่วนราชการ
9. การตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี ตลอดจนการบริหารงาน
ของส่วนราชการ
10. การติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินและการปฏิบัติงานของส่วนราชการ
การบริหารการเงินการคลังในระดับส่วนราชการ ประกอบด้วยเรื่องสาคัญ ๆ 4 เรื่อง คือ
1. การงบประมาณ เป็นแหล่งเงินที่สาคัญที่สดุ ของส่วนราชการ โดยในแต่ละปีงบประมาณส่วนราชการจะต้องยื่นคา
ของบประมาณไปยังสานักงบประมาณ เพื่อรวบรวมจัดทาเป็นรายละเอียดประกอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจาปี
โดยงบประมาณที่ยื่นขอไปนั้น จะต้องมีแผนงาน โครงการรองรับ โดยแผนงานและโครงการดังกล่าวจะต้องอยู่ในแผนบริหาร
ราชการที่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการของกระทรวงเจ้าสังกัด และแผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล รวมทั้งจะต้อง
แสดงตัวชี้วัด ผลผลิตและผลลัพธ์ที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงินและการบรรลุผล
สาเร็จตามที่กาหนดไว้ ตามหลักการบริหารงบประมาณแบบมุ้งเน้นผลงาน
2. การเงิน ได้แก่
2.1 การจ่ายเงิน งบประมาณที่ส่วนราชการได้รับจัดสรรจากสานักงบประมาณเป็นเพียงกรอบวงเงินที่มีไว้สาหรับ
ใช้จ่ายโดยกาหนดประเภทรายจ่ายไว้อย่างกว้าง ๆ ส่วนราชการจะต้องใช้จ่ายเงินภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับ
จัดสรรจากสานักงบประมาณแล้ว ส่วนราชการยังต้องใช้จ่ายเงินตามหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายที่กระทรวงการคลัง
กาหนดอีกด้วย เมื่อส่วนราชการได้ดาเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับเรียบร้อยแล้ว และถึงเวลาที่จะต้องจ่าย
ชาระเงินให้กับบุคคลภายนอกและผูม้ ีสทิ ธิ ส่วนราชการจะต้องทาคาขอเบิกเงินไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อให้ตรวจอนุมัติและ
สั่งจ่ายเงินคงคลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไปเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลภายนอกหรือส่วนราชการเพื่อนาไปจ่าย
ให้ผู้มีสิทธิอีกต่อหนึ่ง ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนาเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 กาหนด
“การจ่ายเงินของส่วนราชการ ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบสาคัญรับเงิน ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้ออกให้ หรือใบรับรองการจ่ายเงิน
หรือเอกสารอื่นใดที่กระทรวงการคลังกาหนด เป็นหลักฐานการจ่าย”
2.2 การรับเงิน ส่วนราชการที่จัดเก็บเงินหรือได้รับเงินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฏหมายหรือระเบียบ
ข้อบังคับ หรือได้รับชาระตามอานาจหน้าที่หรือสัญญาหรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากสินทรัพย์
ของราชการ ส่วนราชการนั้นจะต้องนาเงินดังกล่าวส่งคลังเป็นรายได้แผ่น
2.3 การเก็บรักษาเงิน ส่วนราชการอาจเก็บเงินนอกงบประมาณ เงินรายได้แผ่นดินที่ได้รับไว้จากบุคคลภายนอก
และเก็บเงินงบประมาณที่เบิกจากคลังไปแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายไว้ได้ชั่วคราว ภายในระยะเวลา วงเงิน และหลักเกณฑ์ที่
กระทรวงการคลังกาหนด โดยระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนาเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551
ข้อ 97 (1) เช็ค ดร๊าฟท์ หรือตั๋วแลกเงิน ให้นาส่งหรือนาฝากในวันที่ได้รับหรืออย่างช้าภายในวันทาการถัดไป
(2) เงินรายได้แผ่นดิน ให้นาส่งอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง แต่ถ้าส่วนราชการใด มีเงินรายได้แผ่นดินเก็บ
รักษาในวันใดเกินหนึ่งหมื่นบาท ก็ให้นาเงินส่งโดยด่วนแต่อย่างช้าต้องไม่เกินสามวันทาการถัดไป”
(3) เงินเบิกเกินส่งคืน หรือเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน ให้นาส่งภายในสิบห้าวันทาการ นับจากวันรับเงิน
จากคลังหรือนับจากวันที่ได้รับคืน
(4) เงินนอกงบประมาณ ให้นาฝากคลังอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง แต่สาหรับเงินที่เบิกจากคลังเพื่อรอ
การจ่าย ให้นาฝากคลังภายในสิบห้าวันนับจากวันรับเงินจากคลัง
3. การพัสดุ การใช้จ่ายเงินบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกในลักษณะการซื้อ/จ้าง ส่วนราชการจะต้อง
ดาเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กระทรวงการคลังกาหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการพัสดุ เพื่อเป็นหลักประกันว่า
การจัดซื้อจัดจ้างจะเป็นไปด้วยความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โปร่งใส มีหลักฐานและทางราชการได้ของหรืองานที่มีคุณภาพ
อย่างแท้จริง
4. การบัญชี กระทรวงการคลัง ได้กาหนดมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)
เพื่อให้ส่วนราชการนาไปปฏบัติด้วยการนารายการทางการเงินไปบันทึกบัญชี และสรุปผลเป็นรายงานการเงิน เพื่อแสดงถึง
ผลการดาเนินงาน (การใช้จ่ายเงิน) และฐานะการเงินของส่วนราชการ ความสามารถในการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์
และต้นทุนการดาเนินงานของส่วนราชการเพื่อประโยชน์ในการตั้งงบประมาณ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 เห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนระบบการเงินการคลัง เป็นระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า ระบบการบริหารงานการคลังภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS (Government Fiscal
Management Information System) โดยระบบงานนี้ได้เริ่มใช้งานกับส่วนราชการทุกแห่งทั้งส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาค ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา
การจัดการความรู้ของหน่วยงาน (KM)
เรื่อง การบริหารการเงินการคลัง
ณ สานักงานสรรพสามิตพื้นที่สิงห์บุรี
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
ผู้นาเสนอ : นางจาเนียร พุกนิล
-----------------------------------------------

You might also like