You are on page 1of 15

บทที่ 7

การตัดสินใจเพื่อการลงทุน

ปจจุบันนี้การลงทุนของกิจการตางๆ เปนไปอยางกวางขวางและมีการลงทุนในหลายประเภท การ


ตัดสินใจของผูบริหารเกี่ยวกับการลงทุน จึงตองเลือกและพิจารณาอยางรอบคอบถึงผลตอบแทน (Benefit) และ
ความเสี่ยง (Risk) ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการลงทุนตางๆ ผูบริหารจึงจําเปนตองนําเทคนิคในการวิเคราะหและ
ประเมินโครงการมาใชตัดสินใจเพื่อใหไดรับประโยชนสูงสุดจากการลงทุน ในบทนี้จึงกลาวถึงหัวขอลักษณะการ
ลงทุน มูลคาเงินตามงวดเวลา เครื่องมือที่ใชในการวิเคราะหและประเมินโครงการ และการตัดสินใจคัดเลือก
โครงการ ดังนี้

1. ลักษณะการลงทุน

การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนเปนการลงทุนในสินทรัพยหรือในโครงการ (Project) ระยะยาว ซึ่ง


ผลประโยชนที่คาดวาจะไดรับจากการลงทุนนี้มีระยะเวลาเกินกวา 1 ป เมื่อไดลงทุนแลว นอกจากนี้ยังรวมถึง
โครงการตางๆ เชน การนําผลิตภัณฑใหมเขาสูตลาด การลงทุนเพื่อปรับปรุงระบบการผลิต การวิจัยและพัฒนา
เปนตน
โดยปกติการลงทุนในสินทรัพยสามารถแบงไดเปน 2 ประเภทคือ การลงทุนในสินทรัพยที่มีอายุนอย
กวา 1 ป จะถือเปนรายการเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน (Working capital) แตหากสินทรัพยนั้นมีอายุการใชงาน
มากกวา 1 ป จะถือเปนเรื่องของงบประมาณการลงทุน (Capital budgeting) อยางไรก็ตามในบางครั้งผูบริหาร
จําเปนตองตัดสินใจลงทุนทั้งสองประเภทในเวลาเดียวกัน เชน หากตัดสินใจใชระบบการผลิตผลิตภัณฑแบบใหม
จํานวนสินคาคงเหลือของธุรกิจตองมีจํานวนเพิ่มขึ้นจึงตองสรางคลังสินคาแหงใหมเพิ่มขึ้นดวย ในกรณีเชนนี้ถือ
วา เป นการตัดสินใจลงทุน เกี่ยวกับงบประมาณการลงทุน เทานั้น งบประมาณการลงทุนสามารถจําแนกตาม
แหลงที่มาของการลงทุนสําคัญได 5 ประเภท ไดแก
1. การลงทุนในผลิตภัณฑชนิดใหมหรือการลงทุนเพื่อขยายผลิตภัณฑที่มีอยูเดิม (New products or
Expansion of existing products)
2. การจัดหาอุปกรณทดแทนของเกาหรือสรางอาคารทดแทนอาคารเดิม (Replacement of equipment
or buildings)
3. โครงการวิจัยและพัฒนา (Research and development)
4. โครงการสํารวจ (Exploration)
5. โครงการอื่น ๆ (Others) เชน โครงการเพื่อสุขภาพ โครงการควบคุมมลพิษ โครงการลงทุนเพื่อเชา
สินทรัพยเปนตน
โครงการแตละชนิดมักเกิดขึ้นจากแผนกหรือฝายที่เกี่ยวของกับโครงการนั้นโดยตรง เชน โครงการ
ลงทุนในผลิตภัณฑชนิดใหมแผนกการตลาดก็จะเปนเจาของโครงการ ในการพิจารณาเกี่ยวกับการลงทุนใน
โครงการตาง ๆ ตองผานการพิจารณาจากเจาหนาที่หลายระดับ เชน โครงการลงทุนเกี่ยวกับการผลิต การ
พิจารณาเริ่มจากหัวหนาแผนกผลิต ผานไปยัง ผูจัดการโรงงาน รองประธานฝายดําเนินการ คณะกรรมการ
พิจารณาโครงการลงทุนภายใตการควบคุมของผูจัดการทางการเงิน ประธานบริษัท และคณะกรรมการบริหาร
บริษัท เปนตน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับขนาดของโครงการ

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 115


ในการจัดทํางบประมาณลงทุน ตองกําหนดรายละเอียดที่เกิดขึ้นตลอดโครงการใหครบถวน และทําการ
ตัดสินใจเลือกโครงการจากงบประมาณกระแสเงินสด (Cash flow) ที่เกิดขึ้นของแตละโครงการและทําการ
ประเมินความเหมาะสมรวมถึงผลตอบแทนที่คุมคาตอการลงทุนโดยใชเทคนิคและวิธีการตางๆ ในการวิเคราะห
เพื่อตัดสินใจ และเมื่อดําเนินโครงการแลวขั้นสุดทายจะเปนการติดตามและประเมินผลโครงการ ซึ่งถือเปนการ
ควบคุม (Control) โครงการลงทุนดังกลาว
การประมาณผลตอบแทนเพื่อตัดสินใจลงทุนนั้นไมนําผลตอบแทนในรูปของกําไรสุทธิ (Net income)
มาพิจารณา เนื่องจากกําไรสุทธิเปนรายการจากเกณฑคงคาง การตัดสินใจจึงจัดทํางบประมาณกระแสเงินสดรับ
จายของโครงการลงทุนเพื่อแสดงตอบแทนที่เปนเงินสดจากโครงการ เหตุผลดังกลาวพอสรุปไดดังนี้
1. เงินสดถือเปนสิ่งสําคัญในการตัดสินใจของธุรกิจ
2. ธุรกิจจายเงินลงทุนไปในขณะนี้โดยมุงหวังจะไดรับเงินสดกลับมาในอนาคตมากกวาจํานวนที่จาย
ลงทุนในปจจุบัน
3. เงินสดที่ไดรับจากการลงทุนเทานั้นที่สามารถนําไปใชหรือนําไปลงทุนในโครงการใหม

ตัวอยาง บริษัท พรนุรักษจํากัด กําลังพิจารณาที่จะแนะนําผลิตภัณฑใหมสูตลาด โดยบริษัทฯ ตอง


จายเงินซื้ออุปกรณพิเศษ และคาโฆษณารวมเปนเงิน 150,000 บาท ฝายการตลาดคาดวาผลิตภัณฑจะอยูใน
ตลาด 6 ป และจะทําใหยอดขายเพิ่มขึ้นรายป 60,000 120,000 160,000 180,000 110,000 และ 50,000 บาท
ตามลําดับ
ขณะเดียวกันกิจการมีเงินสดจายเปนคาจาง คาบํารุงรักษา คาวัตถุดิบ และคาใชจายอื่นที่เกี่ยวของกับ
ผลิตภัณฑใหมรายป 40,000 70,000 100,000 100,000 70,000 และ 40,000 บาทตามลําดับ เมื่อนํามาจัดทํา
กระแสเงินสดรับจายสุทธิไดดังนี้

กระแสเงินสดนี้จะถูกนําไปใชในการวิเคราะหเพื่อตัดสินใจในโครงการลงทุนตอไป กรณีนี้เปนลักษณะ
ของการลงทุนในโครงการใหมทั้งหมด แตหากเปนกรณีที่มีการลงทุนทดแทนโครงการหรือสินทรัพยที่มีอยูเดิม
ปญหาในการคํานวณกระแสเงินสดจะมีมากขึ้น
ตัวอยาง บริษัทผลิตดี จํากัด ซื้อเครื่องจักรใหมเครื่องหนึ่งราคา 185,000 บาท คาติดตั้ง 15,000 บาท
นอกจากนี้ยังสามารถจําหนายเครื่องจักรเกา ซึ่งมีมูลคาตามบัญชี 20,000 บาท ออกจําหนายหรือแลกเปลี่ยน
(Trade-in) ได เงินลงทุนสําหรับโครงการคํานวณไดดังนี้
มูลคาตามบัญชี เงินสด
ราคาเครื่องจักรใหม 185,000
บวก คาติดตั้ง 15,000
ราคาเครื่องจักรใหมรวม 200,000
ราคาจําหนายเครื่องจักรเกา 20,000 (20,000)
หัก ราคาตามบัญชี (20,000) -
กําไรหรือขาดทุนจากการขายเครื่องจักร - -
เงินจายลงทุนครั้งแรก 180,000
เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 116
การจําหนายเครื่องจักรเดิม กิจการไดจําหนายในราคาตามบัญชีจึงไมเกิดกําไรหรือขาดทุนจากการขาย
เครื่องจักรเกา แตหากในกรณีขายเครื่องจักรในราคาสูงกวาราคาตามบัญชีกําไรดังกลาวจะถูกนําไปคํานวณ
กระแสเงินสดจายในรูปของภาษีเงินได (กิจการที่มีกําไรจะตองเสียภาษีเงินไดนิติบุคคล) ตรงกันขามหากเกิด
ขาดทุนขึ้นจะนําไปคํานวณกระแสเงินสดรับในรูปภาษีเงินไดเชนกัน (กิจการอาจสามารถนําขาดทุนไปลดยอด
ภาษีที่ตองชําระได)
ตัวอยาง จากตัวอยางเดิมหากบริษัทฯ คาดวาจะประหยัดคาจางและคาบํารุงรักษากอนภาษีรวมเปน
เงินปละ 71,000 บาท โดยเครื่องจักรใหมอายุการใชงาน 5 ป และไมมีมูลคาซาก (คิดคาเสื่อมราคาตามวิธี
เสนตรง) อัตราภาษีรอยละ 30 โดยเครื่องจักรเกามีราคาตามบัญชี 20,000 บาท การคํานวณกระแสเงินสดรับสุทธิ
ในแตละป เปนดังนี้
มูลคาตามบัญชี เงินสด
เงินสดที่ประหยัดได 71,000 71,000
คาเสื่อมราคาเครื่องจักรใหม 40,000
คาเสื่อมราคาเครื่องจักรเกา 4000 (36,000)
กําไรสวนเพิ่มกอนภาษี 35,000
ภาษีเงินได 10,500 10,500
กําไรสุทธิสวนเพิ่มหลังภาษี 24,500 -
กระแสเงินสดรับสุทธิตอป 60,500

กระแสดเงินสดที่ประหยัดไดปละ 71,000 บาท เมื่อคํานวณกระแสเงินสดรับแลวมีเพียง 60,500 บาท


เทานั้น เพราะตองเสียภาษีเงินได จากกําไรกอนหักภาษีสวนหนึ่ง กรณีนี้บริษัทฯ ควรเสียภาษี 21,300 (71,000
x 30%) แตภาษีที่คํานวณมีเพียง 10,500 บาท เนื่องจากบริษัทมีคาเสื่อมราคา 36,000 บาท ซึ่งสามารถนําเงิน
จํานวนนี้ไปหักออกจากกระแสเงินสดที่ประหยัดไดเพื่อคํานวณภาษีตอไป คาเสื่อมราคาดังกลาวเปนผลตางของ
คาเสื่อมราคาเครื่องจักรรายปของเครื่องจักรใหม 40,000 บาท (200,000/5) และเครื่องจักรเกา 4,000 บาท
(20,000/5) หรือเงินลงทุนครั้งแรกในเครื่องจักร 180,000 บาท (200,000 – 20,000) เมื่อนํามาจัดทํากระแสเงิน
สดรับจายสุทธิไดดังนี้

ตัวอยาง บริษัทพรชัยจํากัด ลงทุนในการผลิตสินคาชนิดหนึ่งสูตลาด โดยคาดวาจากการลงทุนจะทําให


บริษัทมียอดขายโดยเฉลี่ยปละ 500,000 บาท มีคาใชจายในการดําเนินงานทั้งสิ้น 400,000 บาท (รวมคาเสื่อม
ราคา 100,000 บาท) อัตราภาษีเงินได 30% การคํานวณกําไรสุทธิ และกระแสเงินสดสุทธิรายป คํานวณไดดังนี้

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 117


2. มูลคาเงินตามงวดเวลา

การลงทุนในโครงการตางๆ ที่เปนโครงการที่มีระยะเวลานานนอกจากตองคํานึงถึงกระแสเงินสดของ
โครงการแลวตองพิจารณาถึงมูลคาเงินซึงจะทําใหการตัดสินใจเปนไปอยางถูกตองมากยิ่งขึ้น เชน มูลคาของเงิน
1 บาท ในวันนี้ ยอมมีคามากกวาเงิน 1 บาทในอีก 5 ปขางหนา เนื่องจากเงินในวันนี้สามารถนําไปใชหา
ผลตอบแทนได ซึ่งในอีก 5 ปขางหนายอมมีมูลคามากกวา 1 บาท
ตัวอยาง นายพรนุรักษฝากเงิน 1,000 บาท ไวกับธนาคารแหงหนึ่งในอัตราดอกเบี้ยรอยละ 5 ตอป
เมื่อถึงสิ้นปนายพรนุรักษจะมีเงินทั้งสิ้น 1,050 บาท สามารถคํานวณไดจากสมการดังนี้
F = P(1+r)
F = จํานวนเงินที่จะไดรับในวันสิ้นป
P = มูลคาเงินปจจุบัน ณ วันตนป
r = อัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทน
เมื่อนํามาคํานวณ ทําไดดังนี้

ในกรณีที่ระยะเวลามากกวา 1 ป การคํานวณจะทําในลักษณะของดอกเบี้ยทบตน
ตัวอยาง จากตัวอยางเดิม หากนายพรนุรักษ ฝากเงินไว 5 ป เมื่อสิ้นปที่ 5 จะไดรับเงิน 1,276 บาท
สามารถคํานวณไดจากสมการดังนี้
Fn = P(1+r)n
Fn = จํานวนเงินที่จะไดรับในวันสิ้นปที่ n
n = จํานวนงวดดอกเบี้ย/จํานวนป
P = มูลคาเงินปจจุบัน ณ วันตนป
r = อัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทน
เมื่อนํามาคํานวณ ทําไดดังนี้

ในทางตรงกันขามหากตองการคํานวรหาคาเงินปจจุบัน (Present value) คือ เงินในอนาคตจํานวน 1


บาท เมื่อคํานวณกลับมาเปนมูลคา ณ วันปจจุบันจะมีจํานวนเทาใด จะเปนการยอนกระบวนการดอกเบี้ยทบตน
ตัวอยาง นายพรนุรักษ จะไดรับเงิน 5,000 บาท ในอีก 3 ปขางหนา นับจากวันนี้ หากปจจุบันอัตรา
ดอกเบี้ยรอยละ 5 ตอป มูลคาปจจุบัน ณ วันนี้จะมีมูลคา 4,319 บาท สามารถคํานวณไดจากสมการดังนี้
PV = Fn หรือ Fn ( 1 )
n
(1+r) (1+r)n
PV = มูลคาเงินปจจุบัน ณ ปจจุบัน
Fn = จํานวนเงินที่จะไดรับในวันสิ้นปที่ n
n = จํานวนงวดดอกเบี้ย/จํานวนป
r = อัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทน
เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 118
เมื่อนํามาคํานวณ ทําไดดังนี้

ในกรณีที่รับหรือจายเงินในอนาคตเทากันทุกงวดหลายงวด เชนไดรับเงิน 1 บาทเปนเวลา 5 ป อาจ


คํานวณโดยใชผลรวมของคาเงินในอนาคตได
ตัวอยาง นายพรนุรักษ จะไดรับเงินจากการลงทุนปละ 1,000 บาท เปนเวลา 5 ป ในขณะที่อัตรา
ดอกเบี้ยรอยละ 5 ตอป มูลคาของเงินงวดในปจจุบันจะเทากับ 5,802 บาท สามารถคํานวณไดจากสมการดังนี้
n
Ft
PV = ∑ (1 + r )
t =1
t

PV = มูลคาเงินปจจุบัน ณ ปจจุบัน
Ft = จํานวนเงินที่จะไดรับในแตละงวด
t = ปที่ 1 ถึงปที่ n
n = จํานวนงวดดอกเบี้ย/จํานวนป
r = อัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทน
เมื่อนํามาคํานวณ ทําไดดังนี้

3. เครื่องมือที่ใชในการวิเคราะหและประเมินโครงการ

การวิเคราะหและประเมินโครงการเปนการประเมินภาพรวมทั้งหมดของโครงการ ในที่นี้ขอนําเสนอการ
วิเคราะหและประเมินโครงการเพื่อตัดสินใจลงทุนดานการเงิน โดยใชเครื่องมือในการวิเคราะหและประเมิน
โครงการ 5 วิธี ไดแก
1. วิธีอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย (The average rate of return method)
2. วิธีระยะเวลาคืนทุน (Payback period method)
3. วิธีผลตอบแทนจากการลงทุน (The internal rate of return method)
4. วิธีมูลคาปจจุบันสุทธิ (The net present value method)
5. วิธีดัชนีการทํากําไร (Profitability index method)

3.1 วิธีอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย (The average rate of return method)


เปนลักษณะของการเปรียบเทียบกําไรสุทธิที่หลังภาษีที่เกิดขึ้นเทียบกับเงินลงทุนสุทธิถัวเฉลี่ยของ
โครงการนั้น คํานวณไดโดย
อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย = กําไรสุทธิเฉลี่ยตอป
เงินลงทุนสุทธิถัวเฉลี่ย

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 119


ตัวอยาง บริษัทพรพิชิต จํากัด คาดวาจะไดรับกําไรสุทธิหลังภาษีสําหรับระยะเวลา 5 ป โดยเฉลี่ยปละ
4,200 บาท และเงินจายลงทุนตามโครงการ 36,000 บาท สวนกระแสเงินสดรับที่คาดวาจะเกิดปละ 11,400 บาท
โดยกิจการใชวิธีการคิดคาเสื่อมราคาแบบเสนตรงและไมมีมูลคาซากของสินทรัพยที่ลงทุน การคํานวณทําไดดังนี้

ในบางกรณีที่มีการลงทุนเพียงครั้งเดียวการคํานวณหาอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยอาจใชเงินลงทุนครั้ง
แรกแทนการใชเงินลงทุนถัวเฉลี่ยได คํานวณไดโดย
อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย = กําไรสุทธิเฉลี่ยตอป
เงินลงทุนเริ่มแรก
จากโจทยตัวอยางเดิม สามารถคํานวณไดดังนี้

ในการเลือกใชการคํานวณโดยปกติหากลงทุนในสินทรัพยที่มีคาเสื่อมราคาจะใชเงินลงทุนสุทธิถัวเฉลี่ย
หากเปนการลงทุนในสินทรัพยที่ไมมีการเสื่อมคาจะใชเงินลงทุนเริ่มแรกในการคํานวณจึงเหมาะสม อยางไรก็ตาม
การใชอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยในการตัดสินใจเลือกโครงการควรพิจารณาขอดี ขอดอย ดังนี้
ขอดี คือ เปนวิธีที่งายในการคํานวณเนื่องจากใชตัวเลข/ขอมูลจากขอมูลทางบัญชี และอัตรารอยละที่
คํานวณไดนั้นสามารถนําไปเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนที่ตองการได (Required Rate of Return)
ขอดอย เนื่องจากเปนวิธีที่ใชกําไรสุทธิทางบัญชีในการคํานวณจึงไมคํานึงกําไรในรูปเงินสด รวมถึงไม
คํานึงถึงมูลคาเงินตามเวลา เชน หากตัดสินใจเลือกโครงการ 3 โครงการซึ่งใชเงินลงทุนเริ่มแรก 9,000 บาท และ
มีระยะเวลาโครงการ 3 ปเทากัน โดยมีขอมูลดังนี้
โครงการที่ 1 โครงการที่ 2 โครงการที่ 3
ป
กําไรทางบัญชี เงินสดรับสุทธิ กําไรทางบัญชี เงินสดรับสุทธิ กําไรทางบัญชี เงินสดรับสุทธิ
1 3,000 6,000 2,000 5,000 1,000 4,000
2 2,000 5,000 2,000 5,000 2,000 5,000
3 1,000 4,000 2,000 5,000 3,000 6,000

กรณีที่ทุกโครงการคิดคาเสื่อมราคาตามวิธีเสนตรงเชนกัน ทุกโครงการจะมีอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย
เทากันรอยละ 22.22 (2,000/9,000) แตหากพิจารณารายละเอียดกระแสดงเงินสดจะพบวาโครงการที่ 1 จะให
กระแสเงินสดรับสุทธิแกผูลงทุนมากกวาโครงการอื่น วิธีอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยนี้จึงไมเปนที่นิยมนํามาใชใน
การเลือกโครงการลงทุนเทาที่ควร

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 120


3.2 วิธีระยะเวลาคืนทุน (Payback period method)
เปนการพิจารณาโครงการลงทุนจากมูลคาเงินลงทุนที่เสียไปกับระยะเวลาที่จะไดรับประโยชนจากการ
ลงทุนคืน ในการคํานวณสามารถแยกพิจารณาไดเปน 2 กรณี ไดแก
1. ผลตอบแทนหรือกระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีเทากันทุกปตลอดอายุโครงการ จะคํานวณไดโดย
งวดเวลาคืนทุน = เงินลงทุนครั้งแรก
เงินสดเขาสุทธิตอปหลังภาษี

ตัวอยาง บริษัทราพราย จํากัด คาดวาจะไดรับกําไรสุทธิหลังภาษีสําหรับระยะเวลา 5 ป โดยเฉลี่ยปละ


4,200 บาท และเงินจายลงทุนตามโครงการ 36,000 บาท สวนกระแสเงินสดรับที่คาดวาจะเกิดปละ 11,400 บาท
โดยกิจการใชวิธีการคิดคาเสื่อมราคาแบบเสนตรงและไมมีมูลคาซากของสินทรัพยที่ลงทุน การคํานวณทําไดดังนี้

2. ผลตอบแทนหรือกระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีไมเทากันทุกปตลอดอายุโครงการ จะคํานวณไดโดย
การพิจารณากระแสเงินสดเขาสุทธิสะสม
ตัวอยาง บริษัทธรรมดาว จํากัด กําลังตัดสินใจเลือกโครงการลงทุน 2 โครงการระยะเวลา 5 ป โดยมี
เงินลงทุนครั้งแรก 20,000 บาทเทากัน และมีกระแสเงินสดเขาสุทธิหลังภาษี ดังนี้
ปที่ โครงการที่ 1 โครงการที่ 2
1 10,000 2,000
2 8,000 4,000
3 6,000 6,000
4 2,000 8,000
5 - 10,000
การคํานวณทําไดดังนี้
โครงการที่ 1 โครงการที่ 2
ปที่
กระแสเงินสดเขารายป กระแสเงินสดเขาสะสม กระแสเงินสดเขารายป กระแสเงินสดเขาสะสม
1 10,000 2,000
2 8,000 4,000
3 6,000 6,000
4 2,000 8,000
5 - 10,000

ในบางกรณีการใชระยะเวลาคืนทุนในการพิจารณาคัดเลือกโครงการอาจทําใหเกิดการตัดสินใจผิดพลาด
ได เนื่องจากวิธีนี้ไมไดคํานึงถึงผลประโยชนที่จะไดรับหลังระยะเวลาคุมทุน และไมไดคํานึงถึงมูลคาเงินตามเวลา
ดวย เพื่อขจัดปญหาเกี่ยวกับมูลคาเงินสามารถนํามูลคาเงินมาปรับใหถูกตองโดยคํานวณเปนระยะเวลาคืนทุนที่
เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 121
คํานึงถึงคาเงิน (Discounted payback period method) มาใชในการวิเคราะหและประเมินโครงการได
ตัวอยาง บริษัทใจรักษ จํากัด คาดวากระแสเงินสดรับจากโครงการลงทุนหลังภาษีปละ 10,000 บาท
เปนเวลา 5 ป โดยมีเงินลงทุนเริ่มแรก 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ยรอยละ 10 ตอป การคํานวณระยะเวลาคืนทุน
ที่คํานึงถึงคาเงิน คํานวณไดดังนี้
กระแสเงินสดเขา กระแสเงินสดเขา
ปที่ เงินสดรับสุทธิ ปรับมูลคาปจจุบนั มูลคาปจจุบัน
รายปตามมูลคาเงิน สะสม
1 10,000
2 10,000
3 10,000
4 10,000
5 10,000

3.3 วิธีผลตอบแทนจากการลงทุน (The internal rate of return method)


เปนการคํานวณหาอัตราผลตอบแทนที่จะไดรับจากการลงทุนในโครงการ อัตราผลตอบแทนนี้จะเปน
อัตราที่ทําใหมูลคาปจจุบันสุทธิเทากับ 0 หรือผลตอบแทนที่ไดรับเทากับเงินลงทุนครั้งแรก สามารถคํานวณได
จากสมการดังนี้
⎛ n
Ct ⎞
I - ⎜⎜ ∑ ⎟⎟ = 0
⎝ t =1 (1 + r )
t

I = เงินจายลงทุนครั้งแรก
Ct = กระแสเงินสดไดรับสุทธิในแตละงวด
t = ปที่ 1 ถึงปที่ n
n = จํานวนงวดดอกเบี้ย/จํานวนป
r = อัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทน

1. กรณีกระแสเงินสดรับสุทธิในแตละปมีจํานวนเทากัน
ตัวอยาง บริษัทมารวย จํากัด มีการจายเงินลงทุนครั้งแรก 36,000 บาท และจะไดรับกระแสเงินสดสุทธิ
เปนเวลา 5 ป ปละ 11,400 บาท การคํานวณหาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน คํานวณไดดังนี้

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 122


อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (%)
ป กระแสเงินสด 16 17 18
ที่ เขารายป ปรับมูลคา มูลคา ปรับมูลคา มูลคา ปรับมูลคา มูลคา
ปจจุบัน ปจจุบัน ปจจุบัน ปจจุบัน ปจจุบัน ปจจุบัน
1
2
3
4
5

3.4 วิธีมูลคาปจจุบันสุทธิ (The net present value method)


วิธีนี้จะคํานวณหาผลตางระหวางมูลคาปจจุบันของผลตอบแทนที่คาดวาจะไดรับในอนาคตตามอัตรา
ผลตอบแทนขั้นต่ําที่ตองการ หรือตนทุนเงินทุนกับตนทุนเงินทุนเริ่มแรก สามารถคํานวณไดจากสมการดังนี้
⎛ n Ct ⎞
NPV = ⎜⎜ ∑ ⎟⎟ - I
⎝ t =1 (1 + r )
t

NPV = มูลคาปจจุบันสุทธิ
I = เงินจายลงทุนครั้งแรก
Ct = กระแสเงินสดไดรับสุทธิในแตละงวด
t = ปที่ 1 ถึงปที่ n
n = จํานวนงวดดอกเบี้ย/จํานวนป
r = อัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทน
ตัวอยาง บริษัทจามรี จํากัด มีการจายเงินลงทุนครั้งแรก 36,000 บาท และจะไดรับกระแสเงินสดสุทธิ
เปนเวลา 5 ป ปละ 11,400 บาท อัตราผลตอบแทนในขณะนั้นรอยละ 12 การคํานวณหามูลคาปจจุบันสุทธิ
คํานวณไดดังนี้

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 123


ตัวอยาง บริษัทยุทธนา จํากัดมีการจายเงินลงทุนครั้งแรก 20,000 บาท และจะไดรับกระแสเงินสดสุทธิ
เปนเวลา 5 ป คือ 6,000 10,000 8,000 และ 4,000 บาท อัตราผลตอบแทนในขณะนั้นรอยละ 12 การคํานวณหา
มูลคาปจจุบันสุทธิคํานวณไดดังนี้
ปที่ เงินสดรับสุทธิ ปรับมูลคาปจจุบนั มูลคาปจจุบัน
0 (20,000)
1 6,000
2 10,000
3 8,000
4 4,000
รวม
การตัดสินใจยอมรับโครงการขึ้นอยูกับกระแสเงินสดสุทธิมีคาเปนบวกหรือไม หากมีคาเปนบวกแสดงวา
ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นสูงกวาอัตราผลตอบแทนที่ตองการ (Required rate of return) หรือมากกวาตนทุน
เงินทุน (Cost of capital)

3.5 วิธีดัชนีการทํากําไร (Profitability index method)


ดัชนีกําไรเปนอัตราสวนระหวางมูลคาปจจุบันของกระแสเงินสดเขาสุทธิกับกระแสเงินสดจายลงทุนครั้ง
แรก สามารถคํานวณไดจากสมการดังนี้
⎛ n Ct ⎞
⎜⎜ ∑ ⎟
t ⎟
PI = ⎝ t =1 (1 + K ) ⎠
I
PI = มูลคาปจจุบันสุทธิ
I = เงินจายลงทุนครั้งแรก
K = อัตราดอกเบี้ย/อัตราผลตอบแทนที่ตองการ
Ct = กระแสเงินสดไดรับสุทธิในแตละงวด
t = ปที่ 1 ถึงปที่ n
n = จํานวนงวดดอกเบี้ย/จํานวนป
ตัวอยาง บริษัทพรนุรักษ จํากัด มีการจายเงินลงทุนครั้งแรก 36,000 บาท และจะไดรับกระแสเงินสด
สุทธิเปนเวลา 5 ป ปละ 11,400 บาท อัตราผลตอบแทนในขณะนั้นรอยละ 12 ดัชนีการทํากําไรคํานวณไดดังนี้

4. การตัดสินใจคัดเลือกโครงการ

การประเมินโครงการลงทุนนั้นใชเครื่องมือไดหลายเครื่องมือในแตละเครื่องมือมีขอดีขอดอยแตกตางกัน
ไป อยางไรก็ตามปจจุบันวิธีที่นิยมใชกันมาก คือ มูลคาปจจุบันสุทธิ (Net present value method) และอัตรา
ผลตอบแทนจากการลงทุน (Internal rate of return method) ซึ่งเปนการเปรียบเทียบกระแสเงินสดรับ (Cash
inflows) เทียบกับกระแสเงินสดจายลงทุน (Cash outflows) ในรูปของมูลคาปจจุบันสุทธิ และรอยละของ

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 124


ผลตอบแทน หากใช 2 เครื่องมือนี้ในการตัดสินใจคัดเลือกโครงการผลการยอมรับหรือปฏิเสธโครงการจะไปใน
ทิศทางเดียวกัน คือ โดยปกติโครงการที่มีกระแสเงินสดรับสุทธิมากกวา 0 จะมีรอยละผลตอบแทนจากการลงทุน
มากกวาอัตราผลตอบแทนขั้นต่ํา
ตัวอยาง บริษัทราดอลย จํากัด มีการจายเงินลงทุนในโครงการ ก ครั้งแรก 343,300 บาท และจะไดรับ
กระแสเงินสดสุทธิเปนเวลา 5 ป ปละ 100,000 บาท เมื่อคํานวณโดยใชมูลคาปจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทน
จากการลงทุน จะไดขอมูลดังนี้
อัตราผลตอบแทน กระแสเงินสด มูลคาเงินงวด มูลคาปจจุบันของกระแส เงิน มูลคา
จากการลงทุน รับสุทธิ/ป ตลอด 5 ป เงินสดสุทธิตลอด 5 ป ลงทุน ปจจุบันสุทธิ
0
2
4
6
8
10
12
14

เมื่อนําความสัมพันธมาจัดทําเปนแผนภูมภาพจะแสดงไดดังภาพที่ 7.1
+
150,000
125,000
มูลคาปจจุบันสุทธิ (บาท)

100,000
75,000
50,000

20,000
อัตราผล
0
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ตอบแทน (%)

-
ภาพที่ 7.1 ความสัมพันธของมูลคาปจจุบันสุทธิและผลตอบแทนจากการลงทุน

การตัดสินใจเลือกโครงการใดโครงการหนึ่งโดยใชเครื่องมือมูลคาปจจุบันสุทธิและอัตราผลตอบแทนจาก
การลงทุนในบางกรณีอาจมีความขัดแยงกัน คือ โครงการหนึ่งมูลคาปจจุบันสุทธิสูงกวา แตอัตราผลตอบแทนจาก
การลงทุนนอยกวาอีกโครงการ ผูบริหารตองตัดสินใจโดยกําหนดอัตราผลตอบแทนที่ตองการเปนเกณฑ

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 125


ตัวอยาง จากตัวอยางเดิม หากบริษัทราดอลย จํากัด มีทางเลือกในการตัดสินใจในโครงการ ข ดวย
โดยโครงการ ข มีการจายเงินลงทุนครั้งแรก 450,625 บาท และจะไดรับกระแสเงินสดสุทธิเปนเวลา 5 ป ปละ
125,000 บาท เมื่อคํานวณโดยใชมูลคาปจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ไดดังนี้
อัตราผลตอบแทน กระแสเงินสด มูลคาเงินงวด มูลคาปจจุบันของกระแส เงิน มูลคา
จากการลงทุน รับสุทธิ/ป ตลอด 5 ป เงินสดสุทธิตลอด 5 ป ลงทุน ปจจุบันสุทธิ
0
2
4
6
8
10
12

จากขอมูลหากกิจการตองการเงินลงทุนรอยละ 3 โครงการ ก จะมีกระแสเงินสดสุทธิ 101,900 บาท


ขณะที่โครงการ ข มีกระแสเงินสดสุทธิ 105,875 ผูบริหารจึงควรตัดสินใจในโครงการ ข เพราะใหกระแสเงินสด
สุทธิสูงกวา แตเมื่อพิจารณาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน โครงการ ก รอยละ 14 ในขณะที่โครงการ ข รอยละ
12 หากผูบริหารตัดสินใจโดยใชอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนจะเลือกโครงการ ก ที่ใหอัตราผลตอบแทน
มากกวาซึ่งขัดแยงกับการตัดสินใจโดยใชกระแสเงินสดสุทธิ ความขัดแยงดังกลาวแสดงไดดังภาพที่ 7.2

มูลคาปจจุบันสุทธิ (บาท)

200,000
175,000
150,000
125,000
100,000
75,000
50,000

20,000
อัตราผล
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 ตอบแทน(%)

ภาพที่ 7.2 ความขัดแยงของกระแสเงินสดสุทธิและผลตอบแทนจากการลงทุน

หากกิจการมีขอจํากัดดานเงินลงทุน ซึ่งมักเปนปญหาของกิจการโดยทั่วไป โดยเฉพาะอยางยิ่งกิจการที่


มีนโยบายดานการเงินเกี่ยวกับรายจายลงทุนเปนสวนใหญ เมื่อมีขอจํากัดในการจัดสรรเงินลงทุนกิจการยอมตอง
เลือกโครงการลงทุนรวมกันโดยมุงหวังกําไรสูงสุด จึงนําดัชนีในการทํากําไรมาใชในการเลือกโครงการที่เหมาะสม

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 126


ตัวอยาง บริษัทพรนุรักษ จํากัด กําลังตัดสินใจเลือกโครงการลงทุนตางๆ ซึ่งแตละโครงการเปนอิสระ
ตอกัน มีขอมูลดังนี้
โครงการที่ ดัชนีการทํากําไร เงินลงทุน
1 0.97 150,000
2 1.16 175,000
3 1.14 125,000
4 1.25 400,000
5 1.05 100,000
6 1.09 200,000
7 1.19 100,000

นอกจากนี้การตัดสินใจในโครงการลงทุนระยะยาวอาจประสบปญหามูลคาเงินจากภาวะเงินเฟอซึ่งเปน
ภาวการณป กติทางเศรษฐกิ จ และมีผ ลใหมู ลคา ของเงิน ลดลง และส ง ผลให ก ารจั ดทํา งบประมาณโครงการ
เปลี่ ย นแปลงไปเนื่ อ งจากเงิ น เฟ อ ทํา ให ร ายรั บ เพิ่ ม ขึ้ น และต อ งเสี ย ภาษี เ พิ่ ม ขึ้ น ในขณะที่ ค า เสื่ อ มราคาไม
เปลี่ยนแปลง
ตัวอยาง บริษัทพรนุรักษ จํากัด มีขอมูลการลงทุนในโครงมูลคา 24,000 บาท ระยะเวลาการลงทุน 4 ป
อัตราภาษีเงินไดรอยละ 30 ดังนี้ (คาเสื่อมราคาตามวิธีเสนตรง)
รายไดสุทธิกอน
ป คาเสื่อมราคา ภาษีเงินได กําไรสุทธิ กระแสเงินสดสุทธิ
คาเสื่อมราคาและภาษี
1 10,000 6,000
2 10,000 6,000
3 10,000 6,000
4 10,000 6,000
หากเกิดสภาวะที่มีเงินเฟอรอยละ 7 ตอป รายรับจะเพิ่มขึ้น เชนเดียวกับกระแสเงินสดสุทธิที่จะไดรับ
เปนดังนี้
รายไดสุทธิกอน
ป คาเสื่อมราคา ภาษีเงินได กําไรสุทธิ กระแสเงินสดสุทธิ
คาเสื่อมราคาและภาษี
1
2
3
4

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 127


จากนั้นทําการปรับคากระแสเงินสดสุทธิใหอยูในฐานเดียวกับปที่มีการลงทุน ดังนี้
ป กระแสเงินสดสุทธิ ดัชนีปรับคาเงิน กระแสเงินสดสุทธิหลังปรับดัชนี
1
2
3
4

หากมีภาวะเงินเฟอเขามาเกี่ยวของจะทําใหอัตราผลตอบแทนลดลง และแรงจูงใจในการลงทุนโครงการ
จะลดลงดวย ในการลงทุนจึงควรนําระยะเวลาคืนทุน (Payback period method) เขามาชวยในการตัดสินใจรวม
ดวย
นอกจากนี้ในกรณีที่มีการตัดสินใจคัดเลือกโครงการที่มีระยะเวลาโครงการแตกตางกันอาจทําการปรับ
ระยะเวลาใหเทากันโดยลดระยะเวลาของโครงการที่มีเวลายาวกวาลงใหเทากัน และสมมติวาไดจําหนายโครงการ
ณ วันสิ้นสุดโครงการ
ตัว อยา ง บริษัทพรนุรัก ษ จํา กัด กํา ลังตัดสินใจคัดเลือกโครงการลงทุนในโครงการจัดซื้อรถขนสง
ภายในกิจการซึ่งมีระยะเวลาการใชงาน 8 ป และโครงการจัดซื้อคอมพิวเตอรมีอายุการใชงาน 5 ป โดยทั้ง 2
โครงการใชเงินลงทุนเทากัน 100,000 บาท โดยตองการผลตอบแทนรอยละ 10 และมีกระแสเงินสดรับจาก
โครงการดังนี้
โครงการจัดซื้อรถขนสง โครงการจัดซื้อ
ป
ภายใน คอมพิวเตอร
ปที่ 1 30,000 30,000
ปที่ 2 30,000 30,000
ปที่ 3 25,000 30,000
ปที่ 4 20,000 30,000
ปที่ 5 15,000 35,000
ปที่ 6 15,000
ปที่ 7 10,000
ปที่ 8 10,000
เมื่อทําการคํานวณกระแสเงินสดสุทธิเปนดังนี้
โครงการจัดซื้อรถขนสงภายใน โครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร
ป มูลคาปจจุบัน
กระแสเงินสด กระแสเงินรายป กระแสเงินสด กระแสเงินรายป
0 1.00000
1 0.90909
2 0.82645
3 0.75131
4 0.68301
5 0.62092
6 0.56447
7 0.51316
8 0.46651
กระแสเงินสดสุทธิ
เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 128
จะเห็ น ว า โครงการจั ด ซื้ อ คอมพิ ว เตอร เ ป น โครงการที่ น า ลงทุ น มากกว า (NPV สู ง กว า ) แต ห าก
เปรียบเทียบดวยระยะเวลาโครงการที่เทากันตองพิจารณาวา ณ สิ้นปที่ 5 รถขนสงภายในสามารถจําหนายไดใน
ราคาสุทธิ 40,000 บาท การคํานวณจะเปนดังนี้
โครงการจัดซื้อรถขนสงภายใน โครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร
ป มูลคาปจจุบัน
กระแสเงินสด กระแสเงินรายป กระแสเงินสด กระแสเงินรายป
0 1.00000
1 0.90909
2 0.82645
3 0.75131
4 0.68301
5 0.62092
จําหนายรถขนสงฯ 0.62092
กระแสเงินสดสุทธิ

เอกสารการสอน 961 421 การบัญชีบริหาร : ผศ.อนุรักษ ทองสุโขวงศ 129

You might also like