You are on page 1of 20

นโยบาย

และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
วิชา สังคมศึกษา (สาระเศรษฐศาสตร์) ชัน
้ มัธยมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ส 32103

จัดทาโดย ครูญาณาธิป วงศ์สุภา


วัตถุประสงค์/ตัวชีว
้ ด

ส 3.2 ม.4-6/1 อธิบายบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน การคลัง
ในการพั ฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
บทบาทและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
บทบาทและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลมีเป้าหมายสาคัญ เพื่ อต้องการให้ประชาชน
ได้รบ
ั สวัสดิการมากที่สุดโดยคานึงถึงส่วนรวมของประเทศการกาหนดนโยบาย และกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจเพื่ อตอบสนองความต้องการส่วนรวม โดยรัฐบาลมีบทบาท
และกิจกรรมเศรษฐกิจที่สาคัญ ดังนี้
2.1 การผลิตสินค้าและบริการสาธารณะที่เอกชนไม่ดาเนินการ
เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง เช่น กิจการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
ถนน เป็นต้น โดยกิจการดังกล่าวเหมาะสาหรับ ผู้ผลิตรายเดียว
มากกล่าวผู้ผลิตหลายราย การผลิตสินค้าข้างต้นจึงมีลักษณะ
ผูกขาดโดยธรรมชาติ
2.2 การผลิตสินค้าสาธารณะและกึ่งสาธารณะ สินค้าสาธารณะเป็นสินค้า
ที่ไม่สามารถกีดกันผู้อ่ น
ื บริโภคได้ เมื่อมีผู้บริโภคจะไม่ส่งผลกระทบ
ต่อผู้บริโภครายอื่น เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์
การเก็บขยะมูลฝอยของเทศบาล
สิ นค้าสาธารณะ (Public goods)
หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ไม่สามารถใช้กลไกราคาทาหน้าที่จด
ั สินค้าสินค้าและบริการได้
การพิจารณาว่าสินค้าจะเป็นสินค้าเอกชนหรือสินค้าสาธารณะจะพิจารณาได้จากหลัก

2 ประการ คือ

1. สินค้าและบริการที่ทก
ุ คนสามารถใช้ได้โดยไม่ตอ
้ งถูกเรียกเก็บเงินหรือจ่ายค่าใช้จา่ ย
สินค้าสาธารณะมีคณ
ุ ลักษณะที่ไม่สามารถกีดกันการใช้ (non-excludability)
คือเมื่อมีการผลิตออกมาแล้ว ก็สามารถใช้ได้ทก
ุ คนจะไปกีดกันไม่ให้ผใู้ ดมาใช้ไม่ได้

2. ไม่มีความเป็นปรปักษ์หรือความขัดแย้งในการใช้ การบริโภคสินค้าหรือบริการสาธารณะของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ไม่ได้ทาให้ผบ
ู้ ริโภคอื่นต้องบริโภคสินค้านัน
้ ลดน้อยลง กล่าวคือ การบริโภคสินค้าสาธารณะมีลก
ั ษณะทีไ่ ม่เป็นการ
แข่งขันแย่งชิงกัน(non-rival in consumption) หากมีการผลิตเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุม
่ ใดกลุม
่ หนึ่ง
แล้ว คนอื่น ๆ ก็สามารถบริโภคได้โดยไม่ตอ
้ งเสียต้นทุนเพิม
่ ขึ้น ในทานองเดียวกัน ผู้บริโภคก็ไม่สามารถปฏิเสธไม่ให้
มีการผลิตและการใช้สน
ิ ค้าหรือบริการนัน
้ ได้ แม้ตนเองไม่ชอบ
สิ นค้าสาธารณะ (Public goods)

จากรูปภาพตัวอย่าง รูปใดจัดเป็นสินค้าสาธารณะบ้าง ?
รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)
คือ องค์การ หรือบริษท
ั หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐเป็นผูถ
้ ือหุน
้ รายใหญ่
รัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานทีด
่ าเนินกิจการเพื่อแสวงหาผลกาไร เช่นเดียวกับองค์กร
ธุรกิจเอกชน บางรัฐวิสาหกิจก็เป็นธุรกิจผูกขาด ซึ่งหมายถึงรัฐดาเนินการได้แต่เพียง
ผู้เดียว ห้ามเอกชนดาเนินการ เช่น สลากกินแบ่ง เป็นต้น

จุดมุง
่ หมายของการจัดตัง
้ รัฐวิสาหกิจนัน
้ นอกเหนือจากผลกาไรแล้ว
บางรัฐวิสาหกิจถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภค
ให้กับประชาชน เพื่อความมัน
่ คงด้านพลังงาน หรือบางครัง

เพราะไม่มเี อกชนทีม
่ ค
ี วามสามารถพอทีจ
่ ะดาเนินกิจการประเภทนัน
้ ๆ
นโยบายการผลิต
นโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดการผลิต หรือกรรมวิธีในการผลิต จนกระทั่งออกเป็นสิ นค้า
หรือบริการสาเร็จรูปเพื่ อตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค

ซึ่งบางครัง
้ ในการผลิตอาจเกิดปัญหา รัฐบาลจึงต้องออกนโยบายเพื่ อช่วยเหลือ
หรือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น
การควบคุมราคา
คือ การกาหนดราคาขัน
้ สูง โดยรัฐบาลจะเข้ามากาหนดราคาขัน
้ สูง
เมื่อเห็นว่าราคาสินค้าหรือบริการในตลาดสูงเกินไปทาให้ผบ
ู้ ริโภคเดือดร้อน
จึงกาหนดราคาขัน
้ สูง ณ ระดับทีต
่ า่ กว่าราคาดุลยภาพของตลาด
ซึ่งหมายความว่า ผู้ขายหรือผูผ
้ ลิตจะคิดราคาจากผูบ
้ ริโภคได้ไม่เกิน
กว่าระดับราคาทีร
่ ฐ
ั บาลกาหนด

โดยมักจะใช้ในภาวะสินค้าขาดแคลนมาก เช่น ภาวะสงคราม


ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือแทรกแซงไม่ให้ราคาสูงเกินไป

ช่วยเหลือผู้บริโภค
การประกันราคา
คือการกาหนดราคาขัน
้ ต่า ณ ระดับราคาที่สูงกว่า
ราคาดุลยภาพของตลาด เพื่อช่วยเหลือผูผ
้ ลิต
ในภาวะทีส
่ ินค้าหรือบริการตกต่า ซึ่งนิยมใช้กับ
ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีความยืดหยุน
่ ของอุปสงค์นอ
้ ย
แต่อป
ุ ทานควบคุมได้ยาก เพราะขึ้นกับ ดิน ฟ้า อากาศ
ถ้าผลผลิตมีมาก ราคาก็จะตก กระทบกระเทือน
ต่อรายได้เกษตรกร

ช่วยเหลือผู้ผลิต
นโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง (แบงก์ชาติ)
เป็นผู้ควบคุม เพื่ อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หาก
เศรษฐกิจภายในประเทศกาลังเข้าสู่ ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะ
ประกาศนโยบายทางการเงินออกมา
เพื่ อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลัก ๆ
แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด
นโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง (Fiscal policy) คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้
และรายจ่ายของรัฐบาล รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax)
ประเภทต่าง ๆ นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปรับสมดุลทาง
เศรษฐกิจอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
เมื่อรัฐบาลตัดสิ นใจเพิ่ มหรือลดภาษี ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ
ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นอัตราภาษีมีผลให้เงินสดที่อยู่ในมือเราลดลง เนื่องจากรายได้
ส่ วนหนึ่งต้องนาไปจ่ายภาษีมากขึ้น เงินที่เหลือจะใช้จา่ ยก็จะลดลง ทาให้เศรษฐกิจ
ชะลอตัว นโยบายการคลังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
นโยบายการคลัง (ต่อ)
1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จา่ ย
มากกว่ารายได้ภาษีที่จด
ั เก็บได้ หรือที่เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” (deficit budget)
กรณีนี้จะใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่ อกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าไป
ในระบบเศรษฐกิจ

2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (contractionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลจ่าย


ั เก็บได้ หรือการเพิ่ มภาษีเพื่ อดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ อาจจะ
น้อยกว่ารายได้ภาษีที่จด
เรียกว่า งบประมาณเกินดุล (surplus budget) จะใช้ก็ต่อเมื่อยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อใน
ระบบเศรษฐกิจ
ภาษีทางตรง
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้และทรัพย์สน
ิ ต่าง ๆ ของบุคคล หรือนิติบค
ุ คล โดยส่วนใหญ่จะไม่สามารถ
ผลักภาระภาษีไปยังผู้อ่ น
ื ได้ โดยทั่วไปภาษีทางตรง ได้แก่

• ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

• ภาษีเงินได้นิติบุคคล

• ภาษีปา้ ย

• ภาษีโรงเรือน

• ภาษีบารุงท้องที่

• ภาษีมรดก

• ภาษีทรัพย์สน
ิ ต่าง ๆ โดยจะเรียกเก็บจากรายได้ หรือความมัง
่ คัง
่ ของบุคคล หรือนิติบุคคลที่จด
ั เก็บ
ภาษีทางอ้อม
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผูบ
้ ริโภค เมื่อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยเป็นภาษีทส
ี่ ามารถ
ผลักภาระทางภาษีทง
ั้ หมด หรือบางส่วนไปยังผูซ
้ ้อ
ื หรือผูบ
้ ริโภค เป็นผูร
้ บ
ั ชาระภาษีอากรแทนผู้ขาย
โดยทั่วไปภาษีทางอ้อม ได้แก่

• ภาษีมล
ู ค่าเพิม

• ภาษีสรรพามิต

• ภาษีธร
ุ กิจเฉพาะ

• ภาษีศล
ุ กากร

• ภาษีทางการค้า

• ค่าธรรมเนียมอากรต่าง ๆ ที่จะเรียกเก็บจากรายจ่ายของบุคคล โดยมิได้พจ


ิ ารณาฐานะความมัง
่ คั่งของบุคคล
หรือนิติบุคคล นั้น
การควบคุมราคา
ภาระงาน
นักเรียนทาใบงาน
เรื่อง นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

กาหนดส่ง ภายในวันนี้ ก่อน 16.00 น.


แหล่งอ้างอิงข้อมูล
Nuwee Luxsanakulton. ( 14 สิงหาคม 2561 ). นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563,
จาก https://www.coolontop.com/monetary-fiscal-policy/

กรมส่งเสริมการส่งออก. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563,


จาก http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EC112/ec112-12-2.pdf
เอกสารประกอบการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส32103)
สาระเศรษฐศาสตร์ ชัน ้ มัธยมศึกษาปีที่ 5
จัดทาโดย
นายญาณาธิป วงศ์สุภา
ตาแหน่ง ครู
โรงเรียนนครบางยางพิ ทยาคม อาเภอนครไทย จังหวัดพิ ษณุโลก
สานักงานเขตพื้ นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39

You might also like