You are on page 1of 151

วารสาร ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๔

วารสาร ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


Journal of Fine and Applied Art, Khon Kaen University
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๔
ISSN : 1906-6023
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Journal of Fine and Applied Arts , Khon Kaen University
ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ http://fa.kku.ac.th/
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๔ ISSN : ๑๙๐๖-๖๐๒๓
เจ้าของ ผู้จัดพิมพ์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๑๒๓ ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๒
วัตถุประสงค์
โทรศัพท์/โทรสาร ๐๔๓-๒๐๒๓๙๖
เพื่อส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่ผลงาน
ด้านวิชาการและผลงานสร้างสรรค์
ทางศิลปกรรม และเป็นสื่อเชื่อมโยงบุคลากร
ในวิชาชีพศิลปกรรมและผู้ที่สนใจ
คณะที่ปรึกษา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านศิลปวัฒนธรรม
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.สุมนต์ สกลไชย
บรรณาธิการ
รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กองบรรณาธิการ
Professor Dr.Krishna Carkarvati Banares University
Professor Dr.Tan Sooi Beng University Saint Malaysia
ศาสตราจารย์สุวิทย์ ธีรศาศวัต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รองศาสตราจารย์ ดร.บุษกร สำ�โรงทอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุตย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รองศาสตราจารย์ ดร.ประมาณ เทพสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
รองศาสตราจารย์ ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ประทีป นักปี่ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รองศาสตราจารย์เทพศักดิ์ ทองนพคุณ มหาวิทยาลัยบูรพา
รองศาสตราจารย์นพพร ด่านสกุล มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง
รองศาสตราจารย์พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รองศาสตราจารย์ฉันทนา เอี่ยมสกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์
อาจารย์ภาณุ อุดมเพทายกุล
อาจารย์ธรณัส หินอ่อน
ออกแบบปก ฝ่ายจัดการ
สำ�รวย เย็นเฉื่อย เอมอร รุ่งวรวุฒิ
กำ�หนดการเผยแพร่
ปีละ ๒ ฉบับ (มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม - ธันวาคม)
การเผยแพร่
มอบให้ห้องสมุดหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และจำ�หน่ายทั่วไป
พิมพ์ท ี่
หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา
๒๓๒/๑๙๙ หมู่ ๖ ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทร. ๐๔๓-๓๒๘๕๘๙-๙๑ โทรสาร. ๐๔๓-๓๒๘๕๙๒
E-mail : klungpress@hotmail.com
ผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของบทความประจำ�ฉบับ
ศาสตราจารย์สุชาติ เถาทอง รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี
รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ� รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา อินทรสุนานนท์
รองศาสตราจารย์ ดร.นิรัช สุดสังข์ รองศาสตราจารย์นพพร ด่านสกุล
รองศาสตราจารย์รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม รองศาสตราจารย์อรวรรณ บรรจงศิลป์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกิจ พลประถม ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณภพ เตชะวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภัสสร เลิศอนันต์

ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ได้พิมพ์เผยแพร่ในวารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย


ขอนแก่นฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะตัวของผูเ้ ขียน และกองบรรณาธิการไม่จ�ำ เป็นต้องเห็นด้วย และ
ไม่มขี อ้ ผูกพันด้วยประการใด ๆ อนึง่ กองบรรณาธิการวารสารยินดีรบั พิจารณาบทความจากนักวิชาการ
นักศึกษา ตลอดจนผูอ้ า่ น และผูส้ นใจทัว่ ไป เพือ่ นำ�ลงตีพมิ พ์ สำ�หรับบทความวิจยั และบทความวิชาการ
ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University

Volume 3 Number 2 July – December 2011 ISSN : 1906-6023


Publisher
Faculty of Fine and Applied Arts , Khon Kaen University
123 , Muang, Khon Kaen, 40002, Thailand
Tel./ Fax. 66 4320 2396
http://fa.kku.ac.th/
Objective
To distribute research contributions of academic and creative work in the area of Fine and
Applied Arts and remain informed of research progress. as well as to exchange their ideas in the
field of Find and Applied Arts.
Advisory Board
President
Advisor for Art, Culture and Alumni Affairs
Professor Dr. Wanchai Watthanasap, M.D.
Professor Dr. Sumon Sakolchai , Ph.D.
Editor in Chief
Assoc.Prof.Dr.Chalermsak Pikulsri
Editorial Board
Professor Dr.Krishna Carkarvati Banares University
Professor Dr.Tan Sooi Beng University Saint Malaysia
Professor Suwit Theerasasawat  Khon Kaen University
Assoc.Prof.Dr.Bussakorn Sumrongthong Chulalongkorn University
Assoc.Prof.Dr.Supachai Singyabuth Mahasarakham University
Assoc.Prof.Dr.Pramarn Thepsongkhroh Thaksin University
Assoc.Prof.ML.Surasawasdi Sooksawasdi Chiangmai University
Assoc.Prof.Pratheep Nakpi Naresuan University
Assoc.Prof.Thepsakdi Thangnopkoon Burapha University
Assoc.Prof.Nopporn Dansakul Ramkhamhaeng University
Assoc.Prof.Pongsin Aroonrat Silpakorn University
Assoc.Prof.Chantana Ieamsakul Thammasat University
Assistant Editors
Assist.Prof.Duangjan Nachaisin
Mr.Tharanat Hin-on
Mr.Panu Udompethaikool
Editorial Manager
Aim-Aon Rungworawut
Cover Design
Somroay Yenchauy
Publication
Two Issues Per Year
Issue No.1 (January – June)
Issue No.2 (July – December)
Distribution
Free distribution to departments, faculties, and libraries in Khon Kaen University, libraries
of government sector and higher educational institution in Thailand
Contact Address
Klung Nana Wittaya Printing
232/199 M.6, Srijan Road, Muang, Khon Kaen 40002 Thailand
Tel. 66 4332 8589-91 Fax. 66 4332 8592
E-mail : Klungpress@hotmail.com
Peer Reviewers
Professor Suchat Thaothong
Assoc.Prof.Dr.Chalermsak Pikulsri
Assoc.Prof.Dr.Niyom Wongpongkham
Assoc.Prof.Dr.Kanchana Intarasunanont
Assoc.Prof.Dr.Nirat Soodsang
Assoc.Prof.Nopporn Dansakul
Assoc.Prof.Raksarn Wiwatsinudom
Assoc.Prof.Orawan Banchongsilpa
Assist.Prof.Dr.Sukit Polpratom
Assist.Prof.Watanapun Krutasaen
Assist.Prof.Ronnapop Techawong
Assist.Prof.Duangjan Nachaisin
Assist.Prof.Prapatsorn Lertananta

บทบรรณาธิการ

วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับนีเ้ ป็นฉบับครบรอบ
3 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้รับความไว้วางใจจากอาจารย์ นักวิชาการอิสระ
นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปที่หลากหลายครอบคลุมกลุ่มศิลปกรรมในทุกสาขาวิชา
ทั้งด้านทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ นาฏยศิลป์ ประยุกต์ศิลป์ ดังจะเห็นได้จากจำ�นวน
บทความที่หลั่งไหลและเพิ่มขึ้นเป็นจำ�นวนมากอย่างต่อเนื่อง

สำ�หรับบทความที่นำ�เสนอในฉบับนี้ มีบทความที่หลากหลายครอบคลุม
แขนงศิลปกรรมเช่นเคย ประกอบด้วยบทความด้านการออกแบบ ด้านวัฒนธรรมและ
ด้านการดนตรี บทความด้านสุนทรียภาพในกลอนลำ�ของหมอลำ�กลอน เป็นบทความ
วิจัยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบและปัจจัยเกื้อหนุนต่อการสร้างสรรค์ผลงาน
ผลของการวิจัยจะนำ�ไปสู่การค้นหาหลักการและแนวทางในการที่จะประสบความ
สำ�เร็จในการเป็นหมอลำ�กลอน สำ�หรับบทความเรื่องชุดการสอนขับร้องเพลงชาติ
ไทย เป็นผลงานวิจยั ทีท่ ดลองใช้กบั นักเรียนระดับประถมศึกษาประโยชน์ของชุดการ
สอนจะช่วยให้นักเรียนสามารถร้องเพลงชาติไทยได้อย่างถูกต้องทั้งทำ�นอง จังหวะ
และอักขระวิธี ส่วนผลงานสร้างสรรค์ในวารสารฉบับนีเ้ ป็นผลงานจิตรกรรมสือ่ ผสมที่
อาศัยมรดกทางวัฒนธรรมอีสานมาเป็นรากฐานของผลงาน ภายใต้ชอื่ รอยวัฒนธรรม
อีสาน ส่วนบทความเรื่อง ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น
บทความที่เชื่อมโยงถึงการนำ�เอาวัสดุธรรมชาติที่อยู่ในชุมชน เพื่อประโยชน์ใช้สอย
อย่างไม่เบียดเบียน เป็นผลผลิตทีส่ อดคล้องกับขนบประเพณี คติความเชือ่ ของชุมชน
นอกจากนี้ยังได้อธิบายขั้นตอนการผลิตตลอดจนนำ�เสนอวิธีการพัฒนารูปแบบเพื่อ
ให้สอดคล้องกับพลวัตของสังคม ในขณะที่บทความเรื่องการออกแบบเมืองมรดก
โลก “หลวงพระบาง” และอัตลักษณ์ที่ยังคงอยู่ ได้นำ�เสนอความเชื่อมโยงระหว่าง
อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ หากเมืองมรดกโลกสามารถสร้างภาพแห่งความสัมพันธ์
นี้ได้ การสื่อสารถึงอัตลักษณ์จะทำ�ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บทความเรื่องสุดท้าย
เป็นการวิจัยในชั้นเรียนด้านดนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ
โดยใช้รปู แบบการสอนทักษะปฏิบตั ขิ อง เดวีสแ์ ละสอดแทรกคุณธรรมด้านความเพียร ซึง่ ชีใ้ ห้
เห็นถึงพัฒนาการทีด่ ขี นึ้ หลังจากทดลองใช้ นับเป็นประโยชน์อย่างยิง่ ซึง่ สามารถนำ�ไปปรับใช้
กับการเรียนรู้ในเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ทั้งดนตรีไทย ดนตรีพื้นเมืองและดนตรีตะวันตก

ในนามของกองบรรณาธิการใคร่ขอขอบคุณนักวิชาการทุกท่านทีใ่ ห้เกียรติสง่ บทความ


ตีพิมพ์เผยแพร่ ตลอดทั้งผู้อ่านที่กรุณาติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี


บรรณาธิการ
สารบัญ
สุนทรียภาพในกลอนลำ�ของหมอลำ�กลอน : 1
องค์ประกอบและปัจจัยเกื้อหนุนต่อการสร้างสรรค์
Aesthetics in Lam Klon Texts :
Elements and Supportive Factors for Creativities
ราตรี ศรีวิไล บงสิทธิพร,
เจริญชัย ชนไพโรจน์
สุภณ สมจิตศรีปัญญา
Ratree Srivilai Bongsithiporn
Jarernchai Chonpairot
Suphon Somchitsripanya

ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 24
A Study of The Efficiency of Teaching The Thai National Anthem to
Primary School Children
สุกิจ ลัดดากลม
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์
อรวรรณ บรรจงศิลป
Sukit Laddaklom

รอยวัฒนธรรมอีสาน 38
Cultural Clue of a Community in Isan
จุรีรัตน์ ทวยสม
Churirat Thuaisom
สารบัญ
ระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น 2 มิติร่วมสมัย 56
System and Process of Contemporary 2 Dimensional
Animated Film Production
นิพนธ์ คุณารักษ์
Niphon Kunaruck

ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในจังหวัดนครศรีธรรมราช 69
Krachud Basketry Product in Nakhon Si Thammarat
เรวัต สุขสิกาญจน์
Rewat Suksikarn

การศึกษาพัฒนาการทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยใช้รูปแบบ 93
การสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies’ Instruction Model For
Psychomotor Domain) และสอดแทรกคุณธรรมด้านความเพียร
ของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา 864 382 ทักษะดนตรีไทย 2
The Study of a Development of Khuy-Peang-Or Skill Through
Davies’ Instruction Model for Psychomotor Domain and Establishing
Virtue of The Attempt in 864 382 Thai Music Skill II
จรัญ กาญจนประดิษฐ์
Jarun Kanchanapradit

การออกแบบสัญลักษณ์ในเมืองมรดกโลก “หลวงพระบาง” 118


และอัตลักษณ์ที่ยังคงอยู่
The design of the symbol in the world heritage site, “Luang Pra-
bang”, and the identity of the remains.
กษม อมันตกุล
Kasama Amantakul
สุนทรียภาพในกลอนลำ�ของหมอลำ�กลอน
: องค์ประกอบและปัจจัยเกื้อหนุนต่อการสร้างสรรค์

Aesthetics in Lam Klon Texts : Elements and Supportive Factors
for Creativities

ราตรี ศรีวิไล บงสิทธิพร1 เจริญชัย ชนไพโรจน์2 สุภณ สมจิตศรีปัญญา3


Ratree Srivilai Bongsithiporn, Jarernchai Chonpairot,
and Suphon Somchitsripanya

บทคัดย่อ
กลอนลำ�เป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญยิ่งในการสร้างชื่อเสียงให้แก่หมอลำ�
ถ้ากลอนลำ�ดีกท็ �ำ ให้ผฟู้ งั ประทับใจ กลอนลำ�จะดีมสี นุ ทรียภาพก็ขนึ้ กับประสบการณ์
และทักษะความรู้ความชำ�นาญของผู้แต่งกลอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบทางสุนทรียภาพในกลอนลำ� ของ
หมอลำ�กลอน และ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการสร้างสรรค์กลอนลำ�ที่มี
สุนทรียภาพ มีการเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้
1
นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสนทนากลุ่ม มีการเก็บข้อมูล


ภาคสนาม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ถึง เดือนตุลาคม 2553 โดยการสัมภาษณ์
การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ข้อมูลภาคสนาม ได้จากการ สัมภาษณ์ การสังเกต
และ การสนทนากลุ่ม จากผู้รู้ 5 คน ผู้ปฏิบัติ 15 คน ผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 10 คน ใน
เขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำ�นาจเจริญ
และอุบลราชธานี ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดนี้ประกอบด้วย นักวิชาการ หมอลำ� นักแต่ง
กลอนลำ� และผูจ้ ดั รายการวิทยุดา้ นหมอลำ� นำ�ข้อมูลมาตรวจสอบความถูกต้องด้วย
วิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำ�เสนอผลการวิจัยใน
รูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทางสุนทรียภาพในกลอนลำ�ของหมอลำ�
กลอน ด้านเนือ้ หา ซึง่ ได้แก่ เรือ่ ง ความรัก ความเชือ่ คำ�สอน ความงามของธรรมชาติ
วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านรูปแบบหรือฉันทลักษณ์ของกลอนลำ�
ได้แก่ กลอนร่าย กลอนกาพย์ กลอนเยิ้น และ กลอนเพลง ด้านศิลปะในการใช้
ถ้อยคำ� ได้แก่ การใช้ถ้อยคำ�ที่สื่อความหมายได้ตรง ชัดเจน กระชับ การใช้คำ�สัมผัส
คำ�อุปมาอุปมัย คำ�ทีเ่ ป็นสุภาษิต คำ�คม และโวหารทีก่ อ่ ให้เกิดความสะเทือนอารมณ์
แก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง
ปัจจัยทีเ่ กือ้ หนุนต่อการสร้างสรรค์กลอนลำ�ทีม่ สี นุ ทรียภาพนัน้ ผูแ้ ต่งกลอน
ลำ�แต่ละคนนั้น จะต้องมีความรู้ดังต่อไปนี้ คือ 1. ความรู้ด้านเนื้อหา 2. ความรู้ด้าน
รูปแบบและฉันทลักษณ์ และ 3. ความรู้ด้านศิลปะในการใช้ถ้อยคำ� ซึ่งความรู้และ
ทักษะทั้ง 3 ด้านนี้ ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของนัก
แต่งกลอนลำ�แต่ละคน ประสบการเหล่านี้ได้แก่ 1. การศึกษาเล่าเรียนทั้งนอกระบบ
และในระบบโรงเรียน 2. การมีอาชีพศิลปินหมอลำ� 3. ประสบการณ์พิเศษในชีวิต
4. การเรียนรูจ้ ากครู 5. การมีประสบการณ์ทางภาษา วรรณกรรมและขนบธรรมเนียม
ประเพณีจากการบวชเรียน 6. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 7. การมีใจรักและขยัน
หมั่นเพียรด้านการแต่งกลอน และ 8. ความรักในการอ่าน การคิด การสังเกต และ
การใฝ่ฝัน ของนักแต่งกลอนลำ� ประสบการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ต่างก็มีส่วนช่วย

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3

โดยสรุป กลอนลำ�เป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญยิ่งส่วนหนึ่งที่ช่วยให้หมอลำ�
มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ฟัง การที่ผู้แต่งกลอนลำ�จะแต่งกลอนให้มีสุนทรียภาพ
ได้นั้น ต้องเป็นผู้มีความรู้และทักษะทั้งสามด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบและ
ฉันทลักษณ์ และด้านศิลปะในการใช้ถ้อยคำ� ด้วยเหตุนี้ จึงสมควรที่จะมีหลักสูตร
การประพันธ์วรรณกรรมท้องถิน่ ในทุกระดับการศึกษา เพือ่ ส่งเสริมให้เกิดผูป้ ระพันธ์
กลอนลำ�ทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถจำ�นวนมากขึน้ อันจะช่วยส่งเสริมให้หมอลำ�มีกลอน
ลำ�ที่มีสุนทรียภาพมาใช้ลำ�เพื่อความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ฟังสืบไป

ABSTRACT
A Klon Lam text is very important factor for enhancing the
fame of a molam singer. If a klon lam text is is good, it will impress
the audience. A good klon lam text, with aesthetics, depends on the
experiences and skills of a klon lam text writer. This qualitative research
aimed at : 1) examining the aesthetics elements in klon lam text of
molam klon singers; and 2) investigating the supportive factors in klon
lam text creation. The research tools consisted of an interview form,
an observation form, and a group discussion form Written documents
and fieldwork data were gathered. Fieldwork data were collected
through interviews, observations, and group discussions through 5
key-informants, 15 casual informants, and 10 general informants in Nong
Khai, Udon Thani, Khon Kaen, Maha Sarakham, Roi Et, Amnat Charoen,
and Ubon Ratchathani. These informants were academicians, senior
molam singers, klon lam text writers, and radio program promoters
on lam singing. The data were checked for their accountability with
the triangulation technique, analyzed in accordance with the given
objectives, and the research results were presented in a descriptive
analysis form.
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
4 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

The results of the study revealed that the aesthetics elements


in a klon lam text of lam klon singing were classified into 3 elements
: content, form, and arts of word using. A klon lam contents included
love, beliefs, proverbs, the beauty of natural sceneries, and customs;
the overall form and internal form of a klon lam text consisted of
klon rai, klon kap, klon nyoen, and klon phleng forms; and the arts of
word using included : a straight, clear, brief, and the use of rhyming,
metaphoric, proverb, incisive, and emotional impressive words that
affected the emotion of the readers and the audience.
In terms of he supportive factors for the aesthetics klon lam
text creativities, it was found that the individual writer had to posses the
3 following aspects of knowledge : 1) content aspect; 2) poetic form
aspect; and 3) arts of word using aspect. The 3 aspects of knowledge
and skill of each klon lam writer were acquired through the following
experiences : school attending, formal and informal; 2) lam singing
experiences; 3) extraordinary experience in life; 4) learning from teacher;
5) experiences in languages, literature, and customs in monkhood;
6) self studies; 7) love and diligence in klon lam writing; and 8) the love in
reading, thinking, observing, and dreaming. Each of these experiences,
knowledge on klon lam content, knowledge on klon lam form, and
knowledge on the art of words using, had eventually been formed
the 3 necessary supportive factors for the creation of aesthetical klon
lam texts.
In conclusion, a klon lam text is one of the most important
elements that helps a molam becoming popularized among the
audience. To become an able klon lam text writer in writing an

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5

aesthetical text, one has to posses 3 aspects of knowledge and skills.


These include content, literary form, and arts of word using. Therefore,
local poetry writing should be established in all school system levels.
Then we can build up more able klon lam text writers to create
aesthetical klon lam texts for molam singers. Molam singers can use
them in their performances to continuously serve the audience in terms
of knowledge and entertainment.

บทนำ�
ศิลปินหมอลำ�นับเป็นอาชีพหนึง่ ของชาวอีสาน ซึง่ สืบทอดกันมาแต่โบราณ
แบ่งเป็นยุคต่าง ๆ คือ ยุคลำ�พื้น ยุคลำ�โจทย์แก้ ยุคลำ�ชิงชู้ ยุคลำ�กลอน ยุคลำ�หมู่
ยุคลำ�เพลิน และยุคลำ�ซิ่ง ตามลำ�ดับ ศิลปินประเภทหมอลำ�กลอนนับเป็นศิลปินที่
อยู่ในความนิยมของประชาชนตลอดมาทุกยุคทุกสมัย เพราะการลำ�กลอนเป็นการ
ลำ�ที่เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระนานับประการ ให้ทั้งความรู้และความบันเทิง มีทำ�นอง
และจังหวะลีลาที่หลากหลายและไพเราะ เป็นที่ประทับใจและให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง
ชาวอีสานตลอดมาจนปัจจุบัน คือมีทั้งทำ�นองลำ�ทางสั้น ลำ�ทางยาว ลำ�เดิน และ
ลำ�เต้ย (คงฤทธิ์ แข็งแรง : 10-32)
ในอดีตนัน้ การเลือกอาชีพศิลปินหมอลำ�เป็นความต้องการของพ่อแม่หรือ
ของเยาวชนเอง เมื่อพ่อแม่หรือเยาวชนคนใดชอบหรือศรัทธาในหมอลำ�คนใดก็จะ
ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหมอลำ�คนนั้น ๆ และต้องไปอยู่ประจำ�รับใช้งานบ้านและ
กิจการต่าง ๆ ของครู ครูกจ็ ะสอนและมอบบทกลอนให้เป็นลำ�ดับจนจบหลักสูตรออก
ไปเป็นอาชีพหมอลำ�ได้ กลอนใดดีมีความไพเราะมาก ๆ ผู้ฟังก็ติดใจและประทับใจ
บางคนถึงกับจำ�ได้ติดปาก ยิ่งตอนหลังที่มีแผ่นเสียงหมอลำ�มาเปิดในงานบุญต่าง ๆ
ผู้ฟังก็จำ�ได้ทั้งบทและทำ�นองลำ� หมอลำ�ที่ลำ�กลอนเหล่านั้นก็กลายเป็นผู้มีชื่อเสียง
เป็นที่รู้กันทั่วภาคอีสาน หมอลำ�กลอนบางคนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วภูมิภาค มี
คนติดต่อว่าจ้างไปลำ�ตลอดเวลา องค์ประกอบที่ทำ�ให้หมอลำ�กลอนมีชื่อเสียงได้นั้น
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
6 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ได้แก่ บุคลิกดี ปฏิภาณไหวพริบดี การพูดจาดี อัธยาศัยไมตรีดี มีความรูด้ ี ความจำ�ดี


เสียงดี มีศิลปะการนำ�เสนอที่ดี และองค์ประกอบทีสำ�คัญยิ่งประการหนึ่งคือมี
กลอนลำ�ดี (สุนทร ทองเปาว์; 2537; 85-99)
กลอนลำ�ทีด่ นี นั้ แม้เวลาจะล่วงเลยไปนานเท่าใด กลอนนัน้ ก็ยงั คงความเป็น
อมตะไว้ได้เสมอ เช่นกลอน “ล่องโขง” ซึ่งลำ�โดยหมอลำ�ขันทอง ธงภักดิ์ กลอน
“ลมพานต้องหัวนาป่าข้าวถอก” ลำ�โดยหมอลำ�บุญยัง สุภาพ กลอนลำ�เหล่านี้เป็น
ที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการหมอลำ�ทั้งในหมู่หมอลำ�และผู้ฟังตั้งแต่
ยุคที่เริ่มมีแผ่นเสียง คือประมาณปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา (เจริญชัย ชนไพโรจน์,
2526; 1-19)
ลักษณะทางสุนทรียภาพของวรรณกรรมกลอนลำ�หรือวรรณกรรมร้อยกรอง
ที่ดีนั้นมีอะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ นั้นผู้วิจัยได้รวบรวมตัวอย่างจากงานวิจัยเกี่ยวกับการ
วิเคราะห์วรรณกรรมร้อยกรองหลายท่าน พบว่า มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ 1) ดูท ี่
รูปแบบ (ฉันทลักษณ์) เนื้อหาสาระ และกลวิธีในการปรุงแต่ง ให้เป็นที่ชื่นชอบของ
ผู้อ่านหรือผู้ฟัง (สุนทร ทองเปาว์ : 2537, 2) งานเขียนเป็นสิ่งที่ผูกพันกับชีวิตใน
สังคม กล่าวคือ สภาพความเป็นไปของสังคมคือวัตถุดิบของนักเขียน ที่นักเขียน
จะหยิบมาร้อยเรียงให้คนอ่านมองเห็นภาพ (รัญจวน อินทรกำ�แหง : 2518, 5)
3) สุนทรียภาพทางภาษามีสองลักษณะคือ สุนทรียภาพทางเสียงและสุนทรียภาพ
ทางความหมาย รูปแบบมีสองลักษณะคือ รูปแบบการใช้ฉันทลักษณ์และรูปแบบใน
การนำ�เสนอ (อรอนงค์ เชือ้ นิล : 2547, 33-88) 4) องค์ประกอบทางวรรณกรรมของ
ลำ�เต้ยประกอบด้วย ฉันทลักษณ์ การใช้ถอ้ ยคำ�สำ�นวน และเนือ้ หา (สุดใจ สุนทรส :
2535, 49-144) และ 5) องค์ประกอบของวรรณกรรมร้อยกรองได้แก่ ฉันทลักษณ์
เนื้อหา และศิลปะการใช้ภาษา (สมพงษ์ บุตรกำ�พี้ : 2541, 193-195)
เมื่อหันมาดูตัวอย่างกลอนลำ�ที่นับว่ายอดเยี่ยมและเป็นอมตะที่สุดกลอน
หนึ่งและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป คือ กลอน “ลำ�ยาวล่องโขง” ซึ่งลำ�โดยหมอลำ�
ขันทอง ธงภักดิ์ พบว่ามีองค์ประกอบดังนี้ คือ เป็นบทกลอนที่ประกอบด้วยถ้อยคำ�
สำ�นวนทีเ่ ลือกสรรแล้วเป็นอย่างดี หาทีต่ �ำ หนิบม่ ไิ ด้ ขึน้ ต้นด้วยถ้อยคำ�สำ�นวนทีเ่ ป็น
อุปมาอุปมัยทีก่ นิ ใจและสะเทือนอารมณ์ยงิ่ นัก มีเนือ้ หาเป็นการพรรณนาธรรมชาติ
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 7

ทิวทัศน์อนั สวยงามตามสองฟากฝัง่ แม่นาํ้ โขง มีทงั้ การพรรณนาถึงความรูส้ กึ นึกคิดที่


มีต่อความงดงามของธรรมชาติ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพสักการะ
เช่น กล่าวถึง พระธาตุพนม ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งโขง มีผู้คนไปไหว้ตลอดเวลา กล่าวถึง
ลักษณะของเกาะแก่ง ลักษณะการไหลของสายนํ้าที่คดเคี้ยว และเวิ้งว้างและวังวน
ต่าง ๆ รวมทัง้ นํา้ ตกลีผ่ ี อันลือชือ่ และน่าสะพรึงกลัว และไหลออกทะเลทีเ่ มืองไซ่งอ่ น
ประเทศเวียดนามในที่สุด (เจริญชัย ชนไพโรจน์ : 2526, 1-8)
กลอนลำ�อีกกลอนหนึ่งคือ กลอน “ลมพานต้องหัวนาป่าข้าวถอก” ซึ่งลำ�
โดยหมอลำ�บุญยัง สุภาพ ก็เป็นอีกกลอนหนึ่งที่มีความไพเราะเป็นที่นิยมของผู้ฟัง
ปรากฏในแผ่นเสียงหมอลำ�กลอน ที่นิยมเปิดตามงานบุญในหมู่บ้านชนบทอีสาน ใน
อดีตนั้น คนทุกเพศทุกวัย เมื่อได้ฟังเสียงลำ� กลอน “ลมพานต้องหัวนาป่าข้าวถอก”
ต่างเกิดอารมณ์ที่เป็นปิติ มองเห็นภาพ ท้องนาในฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวสุกเหลืองเต็มนา
สายลมหนาวโชยมา พร้อมกับ เสียงขันของนกกะทา นํ้าในนาเริ่มลด กบเขียดเริ่ม
หาที่อาศัยในรูปู ควายบัวแล กำ�ลังยืนพักอยู่ใต้ต้นคอม บรรยากาศเหล่านี้ ทำ�ให้ผู้ท ี่
ได้ยินได้ฟังเกิดอารมณ์หลาย ๆ อย่าง ทั้งอิ่มเอม และอ้างว้างระคนกัน (เจริญชัย
ชนไพโรจน์ : 2526, 4)
ไม่วา่ จะเป็นในอดีตหรือในปัจจุบนั หมอลำ�จะลำ�ได้ดนี นั้ จะต้องมีบทกลอน
ที่ดี เนื้อหาดี บุคคลที่จะเขียนกลอนลำ�ได้ดีนั้น ก็ต้องมีพรสวรรค์ โดยทั่วไปแล้ว
หมอลำ�กับผูแ้ ต่งกลอนลำ� มักไม่ใช่บคุ คลเดียวกันเพราะศิลปินทัง้ สองประเภทนี้ ต้อง
ใช้ประสบการณ์ ความรู้ และความสามารถสูง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยงั มีศลิ ปินหมอลำ�
บางท่าน ที่มีความชำ�นาญทั้งด้านการลำ�และการแต่งกลอนลำ� (คงฤทธิ์ 2537, 2-3)
หมอลำ�วันนา แก้วภิรมย์ ศิลปินหมอลำ�สีพนั ดอน ระดับปรมาจารย์ของลาว เคยพูดไว้
ในลักษณะเตือนใจให้เป็นข้อคิดว่า ความไพเราะเพราะพริ้งของลำ�สีพันดอนนั้น
ขึ้นกับความเฉลียวฉลาดของผู้ลำ� ความเก่งของหมอลำ�ก็ขึ้นกับการค้นคว้ารํ่าเรียน
และมีความคิด สร้างสรรค์ หาจังหวะทำ�นองลำ� ให้แปลกใหม่เรื่อย ๆ มีเนื้อหาสาระ
สำ�คัญของกลอนลำ� ที่ทันยุคทันสมัย และไพเราะจับใจ หมอลำ�จะดีจะดังได้นั้น
จะอาศัยแต่เสียงดี ก็ยงั ไม่เพียงพอ เนือ้ หาสาระทีเ่ ป็นแก่นแท้ของกลอนลำ� ก็ตอ้ งให้
ดี เช่นเดียวกัน​ (ทองคำ� อ่อนมะนีสอน: 1998, 248)
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
8 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ตัวกลอนลำ� เป็นปัจจัยสำ�คัญยิ่งที่นำ�ศิลปินผู้ลำ�ไปสู่


ความมีชื่อเสียง ผู้วิจัยนอกจากจะมีอาชีพเป็นหมอลำ�แล้วยังมีอาชีพเป็นนักเขียน
กลอนลำ�ด้วย จึงอยากจะศึกษาถึงองค์ประกอบสำ�คัญทีท่ �ำ ให้กลอนลำ�มีความไพเราะ
เป็นอำ�มตะเป็นทีย่ อมรับในวงการศิลปินหมอลำ� นักแต่งกลอนลำ� ตลอดจนประชาชน
ทั่วไป เกี่ยวกับคุณลักษณะทางสุนทรียศาสตร์ของบทกลอนนี้สามารถบ่งชี้ได้ใน
หลายองค์ประกอบ เช่น เพียบพร้อมด้วยทักษะในการใช้คำ� กวีสามารถมองเห็น
ทางในการนำ�เอาเสียงและความหมายมาผสมกลมกลืนกัน กลายเป็นกวีโวหาร
ทีก่ วีจะทำ�ได้ดงั นี้ เขาจะต้องศึกษาเรือ่ งความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์มาเป็นอย่างดี
(Lehmann: 1996, 111-123)
ในแง่ของนักแต่งกลอนลำ� จากงานวิจยั ของเสงีย่ ม บึงไสย พบว่า คุณสมบัติ
ของนักแต่งกลอนลำ�มี 4 ประการ คือ 1) เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาและ
ฉันทลักษณ์ของคำ�ประพันธ์ รู้จักเลือกถ้อยคำ�สำ�นวน และรูปแบบที่เหมาะสมใน
การประพันธ์ เพื่อสื่อความหมายที่ต้องการแก่ผู้ฟัง 2) เป็นผู้มีความรู้เรื่องทำ�นอง
และจังหวะลีลาของการลำ� เพราะผู้แต่งจะต้องแต่งให้เข้ากับทำ�นองและจังหวะ
ลีลาของแต่ละทำ�นอง 3) เป็นผู้มีนิสัยรักการค้นคว้าและขยันหมั่นเพียร เพื่อให้มี
ความรูก้ ว้างขวาง สามารถนำ�เนือ้ หาสาระไปใส่ในกลอนลำ�ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
และสอดคล้องกับสถานการณ์ของยุคสมัย อันจะทำ�ให้ฟังเกิดความเชื่อถือศรัทธา
ว่ากลอนนั้นมีคุณค่าและสนใจที่จะฟังลำ�ยิ่งขึ้น 4) เป็นผู้มีพรสวรรค์และปฏิภาณ
ไหวพริบในการถ่ายทอดความรูส้ กึ นึกคิดลงในกลอนลำ� เพือ่ ผูฟ้ งั จะได้เข้าใจตรงตามที ่
ผู้แต่งต้องการจะสื่อ (เสงี่ยม บึงไสย 2533: 30-31)
จากการวิจัยเกี่ยวกับการลำ�สีพันดอนในประเทศสาธารณประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ว่าด้วยคุณสมบัติของนักแต่งกลอนลำ�สีพันดอนระดับปรมาจารย์
พบว่า �อาจารย์
����������������������������������������������������������������
แต่งกลอนลำ�ส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ในวัด
ผู้มีความรู้อย่างกว้างขวางในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ฎีกา วิชาต่าง ๆ ที่สังคมเคารพ
นับถืออย่างสูง หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นเซียง ทิตย์ จารย์ จารย์ซา จารย์ครู และมหา
ทีส่ กึ ออกจากวัดมาเป็นคฤหัสแล้ว เป็นผูป้ ระพันธ์ ประดิษฐ์แต่งกลอนเพือ่ ให้หมอลำ�

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9

ไปลำ� และพบว่าอาจารย์ผู้แต่งกลอนลำ�เก่ง ๆ ส่วนใหญ่ไม่เป็นหมอลำ� คือลำ�ไม่เป็น


แต่กม็ หี มอลำ�ระดับปรมาจารย์บางคนมีพรสวรรค์ และความสามารถพิเศษประจำ�ตัว
คือทัง้ แต่งกลอนเก่งและลำ�เก่ง หมายความว่า แต่งเอง ลำ�เอง (ทองคำ� อ่อนมะนีสอน
: 1998,39-40)
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาเรื่อง “สุนทรียภาพในกลอน
ลำ�ของหมอลำ�กลอน : องค์ประกอบและปัจจัยเกื้อหนุนในการสร้างสรรค์”

ความมุ่งหมายของการวิจัย
๑. เพือ่ ศึกษาถึงองค์ประกอบทางสุนทรียภาพในกลอนลำ�ของหมอลำ�กลอน
๒. เพือ่ ศึกษาปัจจัยทีเ่ กือ้ หนุนต่อการสร้างสรรค์กลอนลำ�ทีม่ สี นุ ทรียภาพ

นิยามศัพท์เฉพาะ
สุนทรียภาพ หมายถึงสภาวะความงามหรือความไพเราะที่มีอยู่ในงาน
วิจติ รศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น งานดุรยิ างคศิลป์ นาฏยศิลป์ ทัศนศิลป และวรรณศิลป์
ซึ่งในที่นี้หมายถึงสุนทรียภาพของด้านวรรณศิลป์ประเภทกลอนลำ�
หมอลำ�กลอน หมายถึง หมอลำ�คู่ ชายหนึ่ง-หญิงหนึ่ง ลำ�ด้วยทำ�นองลำ�
พื้นบ้าน โต้ตอบสลับกันไปมาและมีหมอแคนหนึ่ง เป่าประสานเสียงลำ�
กลอนลำ � หมายถึ ง คำ � ประพั น ธ์ ที่ เ ป็ น บทร้ อ ยกรองพื้ น บ้ า นอี ส าน
ที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นเพื่อให้หมอลำ�กลอน นำ�ไปใช้ลำ� ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
กลอนลำ�ทางสั้น กลอนลำ�ทางยาว และกลอนลำ�เต้ย
กลอนลำ�ทีม่ สี นุ ทรียภาพ หมายถึงกลอนลำ�ทีม่ รี ปู แบบและฉันทะลักษณ์ดี
เนื้อหาดี และมีถ้อยคำ� สำ�นวนดี
รูปแบบของกลอนลำ� หมายถึงโครงสร้างทีเ่ ป็นส่วนประกอบของกลอนลำ�
คือ ส่วนต้นได้แก่ กลอนขึน้ ส่วนกลาง ได้แก่ตวั กลอนหรือเนือ้ ในกลอน และส่วนท้าย
ได้แก่ กลอนลง

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


10 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฉันทลักษณ์ของกลอนลำ� หมายถึง ลักษณะอันเป็นข้อกำ�หนดทีเ่ ป็นความ


สัมพันธ์ภายในแต่ละส่วนและระหว่างส่วนต่าง ๆ ของกลอนลำ�แต่ละกลอน คือกลอน
ร่าย กลอนตัด กลอนเยิ้น และกลอนเพลง ซึ่งกลอนแต่ละประเภทก็มีฉันทลักษณ์ที่
แตกต่างกัน
ปัจจัยเกื้อหนุน หมายถึงองค์ประกอบทีมีส่วนช่วยให้นักแต่งกลอนลำ�
สามารถสร้างสรรค์กลอนลำ�ได้อย่างมีสุนทรีภาพ ซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัยคือ ความรู้ด้าน
รูปแบบและฉันทะลักษณ์ ความรู้ด้านเนื้อหา และความรู้ด้านศิลปะการประพันธ์

กรอบแนวคิดในการวิจัย
กลอนลำ�ทีม่ สี นุ ทรียภาพ คือกลอนลำ�ทีไ่ ด้รบั ความนิยมเป็นเวลาอันยาวนาน
หรือเป็นอมตะ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำ�คัญดังนี้ คือ 1) มีรูปแบบและฉันทลักษณ์ดี
2) มีเนื้อหาสาระดี และ 3) มีศิลปะการประพันธ์ดี ส่วนองค์ประกอบหรือปัจจัย
เกือ้ หนุนทีจ่ ะให้ผปู้ ระพันธ์แต่งกลอนลำ�ให้มสี นุ ทรียภาพได้นนั้ ก็มลี กั ษณะคล้ายคลึง
กัน คือ 1) ผู้ประพันธ์ต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับรูปแบบและฉันทลักษณ์ของการ
ประพันธ์ดี 2) มีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำ�มาใช้ในการประพันธ์ 3) มีศิลปะใน
การประพันธ์ 4) หากผู้ประพันธ์มีความรู้เกี่ยวกับทำ�นองลำ�และจังหวะลีลาของการ
ลำ�ด้วยแล้ว ก็ยงิ่ จะช่วยให้ประพันธ์กลอนลำ�มีสนุ ทรียภาพดียงิ่ ขึน้ และ 5) ผูป้ ระพันธ์
ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาตนเองให้ทันสมัยและทัน
ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี ดังแสดงในแผนผังข้างล่าง

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 11

1. กลอนลำ�ที่มีสุนทรียภาพ

1.1 รูปแบบและ 1.2 เนื้อหาดี 1.3 ศิลปะการประพันธ์


ฉันทลักษณ์ดี หรือศิลปะในการใช้ถ้อยคำ�ดี

2. ปัจจัยเกื้อหนุนสำ�หรับ
ผู้ประพันธ์กลอนลำ�

2.1 มีความรู้ด้านรูปแบบ 2.2 มีความรู้ด้านเนื้อหาดี 2.3 มีความรู้ด้านศิลปะการ


และฉันทลักษณ์ดี คือมีความรู้รอบตัว ประพันธ์ดี มีความรู้ทั้งทางอักษร
ทั้งทางโลกทางธรรม ศาสตร์และภาษาศาสตร์ดี
มีวามคิดสร้างสรรค์
และหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สุนทรียศาสตร์ เป็นศาสตร์หรือวิทยาการที่ว่าด้วย ความงาม หรือความ
ไพเราะของงานวิจิตรศิลป์ ส่วนสุนทรียภาพ เป็นสภาวะความงามหรือความไพเราะ
ทีม่ อี ยูใ่ นงานวิจติ รศิลปแขนงต่าง ๆ เช่น งานดุรยิ างคศิลป์ ทัศนศิลป และวรรณศิลป์
คำ�ว่าสุนทรียภาพนี้ในวัฒนธรรมต่างๆ ก็ใช้คำ�แตกต่างกันไป เช่น ฝรั่งใช้คำ�ว่า
aesthetics ส่วนอินเดียใช้ค�ำ ว่า รส หรือ ระสะ (rasa) สุนทรียภาพเป็นประเด็นทีอ่ ยู่
ในความสนใจของนักปราชญ์ชาวอินเดียมานาน เริม่ จากตำ�รานาฏยศาสตร์ เป็นตำ�รา
ทีว่ า่ ด้วยนาฏกรรม นับเป็นแนวคิดทีส่ �ำ คัญ โดยเริม่ จากศิลปะการละครนำ�ไปสูศ่ ลิ ปะ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


12 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แขนงอื่น ๆ ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น งานประติมากรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์


จิตรกรรม และวรรณกรรม (Venkataraman: 2003, 11) ในบรรดานักวิชาการทาง
วรรณกรรมของไทยก็ใช้หลายคำ� ในความหมายของสุนทรียภาพ แตกต่างกันไป เช่น
ภาพพจน์ (สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. : 2525, 51-63) กวีโวหาร(อรอนงค์ เชือ้ นิล: 2547,
101) และ อลังการ (กุสุมา รักษ์มณี: 2534, 24-25)
สุนทรียศาสตร์เป็นประแด็นที่อยู่ในความสนใจของนักคิดชาวอินเดียมา
ตัง้ แต่สมัยโบราณ นับแต่ทฤษฎีนาฏยศาสตร์ของภรตะทีว่ า่ ด้วยการละครของอินเดีย
ซึง่ เชือ่ ว่าแต่งขึน้ ในคริสต์ศตวรรษทีส่ อง จนถึงงานของอนาทะ กุมาระสวามี ทีว่ า่ ด้วย
ศิลปะของอินเดีย ภรตะได้แบ่งอารมณ์ หรือ ระสะ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของมนุษย์ออก
เป็น 8 ประเภท เรียกว่า สถายิภาวะ อันหมายถึงอารมณ์ที่ถาวรหรืออารมณ์ที่เป็น
หลัก ประกอบด้วย ระติ (รัก) หัสะ (รื่นเริง) โกรธะ (โกรธ) อุตสาหะ (กล้าหาญ)
ภะยะ (กลัว) ยุคุปสะ (เกลียด) วิสมะยะ (พิศวง) และ โศกะ (โศก) อารมณ์ทั้งแปดนี้
เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวของบุคคล และอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอาจได้รับการ
กระตุน้ ให้เกิดขึน้ ด้วยเหตุปจั จัยทีก่ ล่าวถึงในทฤษฎีน ี้ คำ�ว่า ระสะ นี้ มีความหมายตาม
ถ้อยคำ�ว่า รส หมายถึง ชิม ชูรส รู้สึก หรือ สิ่งจำ�เป็น ระสะจึงเป็นความรู้สึกชื่นชม
ทางสุนทรียศาสตร์ ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เป็นสื่อทางศิลปะ อันได้แก่ ดนตรี นาฏศิลปะ
ละคร วรรณกรรมร้อยกรอง และจิตรกรรม (Venkataraman : 2003, 35-36)
ในหนังสือ ตำ�รานาฏยศาสตร์จากฉบับภาษาสันสกฤตของอินเดียของ
ท่าน ภรตะ ซึ่งท่าน ศาสตราจารย์ แสง มนวิฑูร.ผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤต ของไทย
ได้ แปล เป็นภาษาไทย ชื่อว่า นาฏยศาสตร์ ตำ�รารำ�. ซึ่งจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร
เมื่อ ปี พ.ศ.2511 ตอนที่เกี่ยวกับรส หรือระสะในนาฏยศาสตร์ มีใจความว่า สิ่งที่
เรียกว่ารส ในนาฏยศาสตร์ มี 8 อย่างคือ 1) ศฤงคาระรส (รสคือเหตุให้เกิดความรัก)
2) หาสยะรส (รสคือเหตุให้เกิดการหัวเราะ) 3) กรุณารส (รสคือความกรุณา)
4) เราทระรส (รสคือความดุร้าย) 5) วีระรส (รสคือความกล้า) 6) ภยานกะรส
(รสคือความกลัว) 7) พีภตั สะรส (รสคือความเบือ่ ) 8) อัทภุตะรส (รสคือความอัศจรรย์
ใจ) (ภรตะ แปลโดย แสง มนวิทูร: 2511, 279)

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 13

สุนทรียภาพหรือความงดงามทางภาษา มี 2 ลักษณะคือ สุนทรียภาพทาง


เสียง และสุนทรียภาพทางความหมาย สุนทรียภาพทางเสียงปรากฏใน 2 ลักษณะ
คือ การเล่นเสียงในลักษณะสัมผัสสระและสัมผัสอักษร และลักษณะการเล่นคำ�ใน
ลักษณะการซํ้าคำ� ผสมผสานกับการใช้กวีโวหารในลักษณะต่าง ๆ เช่น การอุปมา
อุปมัย การเสริมสร้างความงามทางด้านเสียงและความหมาย ทำ�ให้ผอู้ า่ นเกิดอรรถรส
(อรอนงค์ เชื้อนิล : 2547, 101-104)
กวีโวหาร หมายถึงการใช้ถ้อยคำ� ที่มีความหมายลึกซึ้ง มุ่งให้เกิดอารมณ์
ความรู้สึกมากกว่าข้อเท็จจริง อาจเป็นการกล่าวในสิ่งที่มีความหมายตรงกันข้าม
หรือเป็นการกล่าวเกินความเป็นจริง หรือเป็นการเปรียบเทียบกับตำ�นาน นิทาน
หรือวรรณคดีของเก่า ผู้อ่านต้องตีความจึงจะพบความหมายที่ลึกซึ้ง ซ่อนอยู่
(รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ : 2526, 51-62)
อลังการ คือการใช้ถอ้ ยคำ�ทีไ่ พเราะ และโวหารทีม่ คี วามหมายลึกซึง้ ให้เป็น
ประหนึ่งอาภรณ์ของบทประพันธ์ อลังการแบ่งเป็นอลังการทางเสียง และอลังการ
ทางความหมาย (กุสมุ า รักษ์มณี 2534, 24-25) การทีเ่ ราจะเกิดความชืน่ ชมในงาน
ศิลปะแขนงใดแขนงหนึง่ นัน้ อาจจะเกิดขึน้ กับทุกท่านทีไ่ ด้สมั ผัส แต่การทีจ่ ะอธิบาย
งานชิ้นนั้น ๆ มีความงดงามอย่างไร เป็นสิ่งที่ทำ�ได้ไม่ง่ายนัก เพราะเป็นเรื่องจิตและ
อารมณ์ แต่อย่างไรก็ตามข้าพเจ้า (เจริญชัย ชนไพโรจน์) ในฐานะที่มีประสบการณ์
โดยเป็นผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้ชม และผู้เขียนกลอนลำ�อยู่บ้าง ใคร่ขอเสนอข้อสังเกตส่วนตัว
เกีย่ วกับ “สุนทรียภาพในวรรณกรรมท้องถิน่ อีสาน” พอสังเขป ดังต่อไปนี้ (เจริญชัย
ชนไพโรจน์.: 2547, 1-21)
เกี่ยวกับสุนทรียภาพในวรรณกรรมนี้ เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก
ไม่สามารถจะวัดได้ด้วยการวัดทางปริมาณ ว่า วรรณกรรมที่มีความงดงามหรือ
สุนทรียภาพ จะต้องมีความยาวเท่าไร มีกี่บทมีกี่วรรค แต่ละวรรคจะต้องมีกี่พยางค์
เหล่านี้ เป็นต้น แต่ต้องขึ้นกับความเหมาะเจาะขององค์ประกอบต่าง ๆ ของงาน
วรรณกรรมนัน้ ๆ ว่าโดยภาพรวมแล้วก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์แก่ผชู้ มผูฟ้ งั ได้
มากน้อยเพียงใด ซึง่ องค์ประกอบทีส่ �ำ คัญได้แก่ 1) เนือ้ หา 2) ศิลปะในการประพันธ์
และ 3) รูปแบบและฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
14 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลอนลำ � เป็นงานวรรณกรรมประเภทร้อยกรอง แบ่งตามเนื้อหาได้


หลากหลายประเภท เช่น กลอนเกี้ยว กลอนนิทาน กลอนศีลธรรม กลอนพรรณนา
ธรรมชาติ และกลอนวิชาการ ส่วนทำ�นองลำ�ทีน่ ยิ มใช้ในวงการหมอลำ�มีอยู ่ 5 ทำ�นอง
คือ ทำ�ทำ�นองลำ�ทางสั้น ทำ�นองลำ�ทางยาว ทำ�นองลำ�เต้ย ทำ�นองลำ�เพลิน และ
ทำ�นองลำ�เดิน ลำ�ทางสั้นเป็นทำ�นองลำ�แบบเนื้อเต็ม ไม่มีเอื้อน ทำ�นองลำ�ทางยาว
เป็นทำ�นองลำ�แบบมีเอื้อน แสดงถึงอารมณ์โศก สะอึกสะอึ้น ทำ�นองลำ�เต้ยเป็น
ทำ�นองเพลงแบบสมัยนิยม มี 4 ทำ�นองคือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยหัว
โนนตาล ลำ�เพลินเป็นทำ�นองแบบลำ�ทางยาว แต่มีท่วงที่ลีลาสนุกสนานเพลิดเพลิน
ส่วนลำ�เดินนั้นในสมัยก่อนหมายถึงทำ�นองเดินดง เป็นลำ�ทางสั้นแต่ใช้แคนลายน้อย
อย่างลำ�ทางยาว ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะกลอนลำ�นั้น มี 2 ลักษณะคือ กลอน
ตัด (หรือกลอนกาพย์ก็เรียก) และกลอนเยิ้น กลอนตัดใช้สำ�หรับลำ�ทางสั้น ที่เรียก
ว่ากลอนตัดเพราะตัดเป็นวรรคใครวรรคมัน จบลงวรรคใดก็ได้ ไม่ต้องรอจบเป็นบท
ส่วนกลอนเยิ้นใช้สำ�หรับทั้ง ลำ�ทางสั้น ลำ�ทางยาว ลำ�เพลิน ลำ�เดิน ลำ�เต้ยธรรมดา
และ เต้ยหัวโนนตาล ที่เรียกว่ากลอนเยิ้น เพราะจะจบได้ก็ต้องครบองค์ทั้ง 4 วรรค
นั่นเอง จึงใช้เวลานานกว่ากลอนตัด (เจริญชัย ชนไพโรจน์ : 2526, 20-27)

1. ตัวอย่างทำ�นองอ่าน กลอนลำ�ทางสั้น “กลอนแก้มแป่งแซ่ง” พร้อม


ฉันทลักษณ์
(คำ�ที่ขีดเส้นใต้เป็นคำ�สัมผัสนอก คำ�ที่เป็นตัวเอนเป็นคำ�สัมผัสใน)

มัก ฮูป อ้าย หวัง จ่อ ใจ จด

คือ พระ บฏ เขา เขียน รูป พิมพ์ ใน เจี้ย

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15

อยาก ขอ เป็น เมีย อ้าย ซาย ลำ� ซิ ได้ เบิ่ง

คือ ซิ เถิง ซั้น ฟ้า เว ลา เข้า สู่ เตียง



2. ทำ�นองอ่าน กลอนลำ�ทางยาว “ลมพานต้อง”
(คำ�ที่ขีดเส้นใต้เป็นคำ�สัมผัสนอก คำ�ที่เป็นตัวเอนเป็นคำ�สัมผัสใน)

นํ้า ขาด ข้อน ขัง บวก วัง เลิก

เข้า ดอ สุก เต็ม นา บัดห่า ลม พาน ยู้

เถิง ระ ดู ตัด กก เข้า ลมหนาว มา ดัง วี่ ๆ

เสียง ปี่ ดัง อูด เอ้า หลัง หน้า สนั่น เนือง

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


16 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3. ทำ�นองอ่านกลอนเต้ยโขง “เต้ยหัวหงอกหยอกสาว”
แสดงฉันทลักษณ์ที่มีสัมผัสนอก

มะ พร้าว ยิ่ง แก่ ยิ่ง มัน

ถึง อา- ยุ ต่าง กันก็อย่า หวั่นอย่า ไหว

สำ� คัญอยู่ ที่ หัว ใจ

สำ� คัญอยู่ ที่ หัว ใจ

ถ้า จะรัก ใครมัน ห้าม ไม่ อยู่

เห็น ใจ เถิด หนู อย่า ว่า รบ กวน

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 17

กลอนลำ�มีอยู่ 2 ลักษณะคือ กลอนเยิ้น และ กลอนตัด คำ�ว่า “กลอนเยิ้น”


ถ้าแปลความหมายตามศัพท์กห็ มายถึง กลอนทีม่ ลี ลี าเยิน่ เย้อ ส่วนคำ�ว่า “กลอนตัด”
แปลว่า กลอนที่มีลีลากระชับ ตัดสิ่งที่เยิ่นเย้อ ออกไป กลอนเยิ้น 1 บทมี 4 วรรค
และมีฉันทลักษณ์ เช่นเดียวกับกลอนอ่าน และกลอนผญาเกี้ยว แต่ต่างกันที่ กลอน
อ่าน เน้นเฉพาะสัมผัสใน ไม่เน้นสัมผัสนอก แต่กลอนลำ�เน้นทั้งสัมผัสใน และสัมผัส
นอก ส่วนกลอนตัดนั้น ไม่มีกำ�หนดจำ�นวนวรรค ดังตัวอย่างต่อไปนี้

กลอนเยิ้น
(คำ�ที่ขีดเส้นใต้เป็นคำ�สัมผัสนอก คำ�ที่เป็นตัวเอน เป็นคำ�สัมผัสใน)
ลมพานต้อง หัวนาป่าข้าวถอก
ผักพ่องเป็น ดอกดัว้ ตามต้าย ระหว่างหนอง
หมองใจกลั้น กระสันแดอยู่กลางท่ง
ผมป่งเอยดัดกูดคู้ เป็นคลื่นจั่งทะเล
กลอนตัด
(คำ�ที่ขีดเส้นใต้เป็นคำ�สัมผัสนอก คำ�ที่เป็นตัวเอน เป็นคำ�สัมผัสใน)
ฟังเดออ้าย ซายเซ็งคนเก่ง
อย่าซะอวดซะเบ่ง วาดใหญ่พาโล
เอาแต่คุยโว ๆ ว่ามีว่ามั่ง
ว่าเงินคำ�ล้นอั่ง เต็มหีบเต็มไห

วิธีการวิจัย
เป็ น การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ผสมผสานระหว่ า งการวิ จั ย ภาคสนามและ
การวิเคราะห์กลอนลำ�โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบทางสุนทรียภาพในกลอน
ลำ�ของหมอลำ�กลอน จากกลอนลำ�อมตะ ที่ได้รับการแนะนำ�เลือกสรรจากผู้รู้
จากศิลปินหมอลำ�อาวุโส จากผู้ให้ข้อมูลทั่วไป เช่น หมอลำ�เคน ดาเหลา, หมอลำ�
บุญยังสุภาพ, หมอลำ�ฉวีวรรณ, ดำ�เนิน พระภิกษุสทุ ธิสมพงษ์ สท้านอาจ, หมอลำ�ทอง
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
18 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เจริญ ดาเหลา, หมอลำ�บุญช่วง เด่นดวง, หมอลำ� ศรีพร แสงสุวรรณ, หมอลำ�สมาน


หงษา และอาจารย์นมุ่ เย็นใจ และจากการเลือกของผูว้ จิ ยั เอง (หมอลำ�ราตรี ศรีวไิ ล)
ประกอบด้วย กลอนลำ�ทางสั้น จำ�นวน 3 กลอน กลอนลำ�ทางยาว จำ�นวน 3 กลอน
และกลอนลำ�เต้ยจำ�นวน 2 กลอน กลอนลำ�ทางสั้นได้แก่ 1. กลอนเลี้ยงน้องไว้ซะ
ก่อนคนสวย 2. กลอนเกีย้ วชมโฉม 3) กลอนเดินดงกลอนลำ�ทางยาวได้แก่ 1. กลอน
ล่องโขง 2. กลอนลมพานต้องหัวนาป่าข้าวถอก 3. กลอนช้างฉัททันฑ์ กลอนลำ�เต้ย
ได้แก่ 1. กลอนหัวหงอกหยอกสาว และ 2. กลอนเต้ยผสม ผู้วิจัยแบ่งประเด็นใน
การวิเคราะห์ทางสุนทรียภาพออกเป็น 3 ประเด็น คือ ด้านเนือ้ หาของกลอนลำ� ด้าน
รูปแบบและฉันทลักษณ์ของกลอนลำ� และด้านศิลปะในการใช้ถ้อยคำ�

ผลการวิจัย
องค์ประกอบทางสุนทรียภาพในกลอนลำ�ของหมอลำ�กลอน มี 3 ด้าน
ดังต่อไปนี้
1. ด้านเนือ้ หาของกลอนลำ� พบว่ากลอนลำ�ทีม่ สี นุ ทรียภาพ ได้แก่ กลอน
ลำ�ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อ คำ�สอน ความรัก พรรณนาความงามของธรรมชาติ
วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณี
2. ด้านรูปแบบและฉันทลักษณ์ของกลอนลำ� ทีม่ สี นุ ทรียภาพได้แก่ กลอน
ลำ�ที่มีรูปแบบและฉันทลักษณ์ที่ถูกต้องตามแบบแผน ในลักษณะของ กลอนร่าย
กลอนกาพย์ (กลอนตัด) กลอนเยิ้น (กลอนอ่าน หรือ กลอนนิทาน) และ กลอนเพลง
3. ด้านศิลปะในการใช้ถ้อยคำ�ในกลอนลำ�ที่มีสุนทรียภาพ พบว่า เป็น
กลอนลำ�ที่มี การใช้ถ้อยคำ� ได้ลึกซึ้งกินใจ เห็นภาพพจน์ เป็นผญาหรือปรัชญา ทั้ง
ทางโลกทางธรรม และเป็นคติสอนใจ ที่สื่อความหมายได้ตรง ชัดเจน และกระชับ
การใช้ถ้อยคำ�ที่มีทั้งคำ�สัมผัสนอก สัมผัสใน เกาะก่ายกันไปอย่างสละสลวย มีการ
ใช้ถ้อยคำ�ที่เป็นคำ�อุปมาอุปมัย ถ้อยคำ�ที่เป็นสุภาษิต คำ�คม และถ้อยคำ�ที่ก่อให้
เกิดความสะเทือนอารมณ์แก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง แต่ละวรรคมีจำ�นวนถ้อยคำ�จำ�นวน
พอเหมาะกับจังหวะและทำ�นองลำ�เป็นอย่างดี
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 19

ปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการสร้างสรรค์กลอนลำ�ที่มีสุนทรียภาพ
เกี่ ย วกั บ ปั จ จั ย ที่ เ กื้ อ หนุ น ต่ อ ผู้ แ ต่ ง กลอนลำ � ให้ ส ามารถสร้ า งสรรค์
กลอนลำ�ได้อย่างมีสุนทรียภาพนี้ ผลการวิจัยจากสัมภาษณ์นักแต่งกลอนลำ�ที่
มีชื่อเสียง พบว่า มีปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ 1. ความรู้ด้านเนื้อหา 2. ความรู้ด้าน
รูปแบบและฉันทลักษณ์ และ 3. ความรู้ด้านศิลปะในการใช้ถ้อยคำ� ซึ่งความรู้และ
ทักษะทั้ง 3 ด้านนี้ ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของ
นักแต่งกลอนลำ�แต่ละคน ประสบการณ์เหล่านี้ได้แก่ 1. การศึกษาเล่าเรียนทั้ง
นอกระบบและในระบบโรงเรียน 2. การมีอาชีพศิลปินหมอลำ� 3. ประสบการณ์
พิเศษในชีวิต 4. การเรียนรู้จากครู 5. การมีประสบการณ์ทางภาษา วรรณกรรม
และขนบธรรมเนียมประเพณีจากการบวชเรียน 6. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
7. การมีใจรักและขยันหมั่นเพียรด้านการแต่งกลอน และ 8. ความรักในการอ่าน
การคิด การสังเกต และการใฝ่ฝัน ของนักแต่งกลอนลำ� ประสบการณ์ทั้งหลาย
เหล่านี้ต่างก็มีส่วนช่วยเกื้อหนุนต่อผู้แต่งกลอนลำ�ให้สามารถสร้างสรรค์กลอนลำ�ได้
อย่างมีสุนทรียภาพ

อภิปรายผล
จากการวิจัยพบว่าสุนทรียภาพที่โดดเด่นใน กลอนพญาช้างฉัททันต์ ซึ่งจัด
อยู่ในลำ�ดับที่ 1 ใน 10 ในบรรดากลอนลำ�ที่ไพเราะที่สุด เป็นเรื่องของเนื้อหา ที่เป็น
เรื่องนิทานชาดก เป็นคติธรรมสอนใจ แก่ประชาชน และก่อให้เกิดความสะเทือน
อารมณ์ ผลการวิจัยในประเด็นนี้ สอดคล้องกับงานวิจัยของนํ้าเพชร ศิริพร ที่กล่าว
ว่า งานด้านวรรณศิลป์ เป็นงานทีเ่ กีย่ วกับศิลปะการใช้ภาษา ทีก่ วีสามารถถ่ายทอด
ความรู้สึกนึกคิดของตนออกมา ด้วยถ้อยคำ�ภาษาที่ได้เลือกสรรกลั่นกรองแล้ว จึง
ทำ�ให้ภาษาที่ใช้มีความไพเราะ ทำ�ให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการ
ตามไปด้วย ภาษาที่กวีได้เลือกสรรมา อาจมีลักษณะพิเศษ เช่น การซํ้าคำ� การซํ้า
ความ และลีลาจังหวะของคำ�ที่ไพเราะ ซึ่งสามารถจะถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก
ของกวีให้แก่ผู้อ่าน ได้ตรงตามที่กวีต้องการ คุณค่าของวรรณกรรมร้อยกรองในเชิง
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
20 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วรรณศิลป์คือ บทร้อยกรองเป็นทั้งสื่อและสาร มีรูปแบบและเนื้อหาทำ�ให้เห็นความ


งามของภาษาที่กวีนำ�มาผูกร้อยอย่างเป็นระเบียบ (นํ้าเพชร ศิริพร 2544: 2) ใน
เนื้อหา สามารถใช้คำ�ที่ลึกซึ้งกินใจ เห็นภาพพจน์และเป็นคติสอนใจ สอดคล้องกับ
ทองคำ� อ่อนมณีสอน (1998: 19-40) กลอนลำ�ทีม่ สี นุ ทรียลึกซึง้ ต้องเป็นกลอนทีถ่ กู
ตามลักษณะฉันทลักษณ์ทบี่ งั คับไว้ในการประพันธ์แต่ละชนิด สอดคล้องกับเจริญชัย
ชนไพโรจน์ (2526: 20-27)
เกี่ยวกับลักษณะของกลอนที่ไพเราะมีสุนทรียภาพนั้นพบว่า ในการแต่งที่
ทำ�ให้กลอนลำ�ไพเราะ ต้องให้ เนื้อหาของกลอนขึ้น เนื้อในกลอน และกลอนลง อยู่
ในประเด็นเดียวกัน เมือ่ แต่งเสร็จแล้ว มีการตรวจทาน ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข
และมีการทดลองลำ�ด้วยตนเอง ขณะแก้ไข รวมทั้ง ฉันทลักษณ์และสัมผัสต่าง ๆ ที่
นำ�มาใช้นั้น ต้องพิถีพิถันสรรหาคำ�ที่ไพเราะมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ
นภาลัย สุวรรณธาดา กล่าวว่า บทร้อยกรองมีคุณค่าในตัวเอง คือมีความงาม ด้าน
รูป (ฉันทลักษณ์และสัมผัส) ด้านรส (รสแห่งวรรณคดี) ด้านพจน์ (ถ้อยคำ�ภาษาที่
ไพเราะและทำ�ให้เกิดภาพพจน์) ด้านเสียง (เสียงอันไพเราะของถ้อยคำ�) บทร้อย
กรองมีคณ ุ ค่าต่อผูแ้ ต่ง ทัง้ ด้านจิตใจ ด้านสติปญ
ั ญา ด้านสังคม และมีคณ
ุ ค่าทางการ
สื่อสารจากผู้แต่งถึงผู้อ่าน (นภาลัย สุวรรณธาดา 2533: 31-47)
ผลจากการวิเคราะห์สนุ ทรียภาพด้านศิลปะการใช้ถอ้ ยคำ� กลอน “ลมพาน
ต้องหัวนาป่าข้าวถอก” พบว่าผูแ้ ต่งได้ใช้เทคนิคในการพรรณนาธรรมชาติอนั สวยงาม
ในฤดูเกี่ยวข้าว ซึ่งมีข้าวสุกเหลือทั่วท้องนา เห็นภาพลมพัดข้าวในนา เสียงนกร้อง
เสียงปี่ซังข้าว ภาพควายยืนพักใต้ต้นไม้ กะปู กบ เขียด หาที่หลบซ่อน เร้าใจให้
ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดอารมณ์สุนทรี แล้วนึกถึงตนเอง นึกถึงความรัก นึกถึงคนรัก เกิด
ความปีติในการได้อ่านได้ยิน นับเป็นวิธีการที่ได้ผลต่ออารมณ์ความรู้สึกเป็นอันมาก
ซึ่งสอดคล้องกับหลักการด้านวรรณศิลป์ ของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น นราธิป
ประพันธ์พงศ์ กล่าวถึงวรรณศิลป์ว่า เป็นศิลปะการสื่อสาร ความชัดเจนด้วย
ภาษา หรือเป็นศิลปะการถ่ายความรูส้ กึ นึกคิดของผูป้ ระพันธ์ ให้แก่ผอู้ ่าน ผูช้ ม เพือ่
ให้มีจินตนาการเล็งเห็นภาพความชัดเจนอย่างละเอียดลออที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 21

วรรณคดีย่อมใช้ประโยชน์ทางภาษาหรือถ้อยคำ�ในทุกทางที่จะจับใจผู้อ่านได้ คือทั้ง
ในทางความหมาย (พระวรวงศ์เธอกรมหมื่น นราธิปพงศ์ประพันธ์ : 2506)

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์
1. สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องด้านดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียน สำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัด ควรนำ�ผลการวิจัยนี้ไป
ใช้ประโยชน์ในการวางแผนทำ�นุบำ�รุงและส่งเสริม ในการสร้างหลักสูตร ตลอดจน
วางแผนในการเรียนการสอนดนตรีพื้นบ้านสาขาหมอลำ�
2. หน่วยงานต่าง ๆ ทีท่ �ำ หน้าทีส่ ง่ เสริมวัฒนธรรมพืน้ บ้านควรหาสือ่ กลอน
ลำ�ที่มีสุนทรียภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีโอกาสได้ฟังกลอนลำ�
และเสียงลำ�ทีไ่ พเราะและเพือ่ ให้เกิดความรูส้ กึ รักและหวงแหนในวัฒนธรรมท้องถิน่
ข้อเสนอแนะในการทำ�วิจัย
1. ควรทำ�วิจัยเรื่องศาสตร์และศิลป์ในการประพันธ์กลอนลำ�
2. ควรทำ�การวิจัยเรื่องวิธีการปรับปรุงแก้ไขกลอนลำ�ให้มีสุนทรียภาพ

บรรณานุกรม
กุสุมา รักษมณี. 2534. การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คงฤทธิ์ แข็งแรง. 2535. กลอนลำ�ของหมอลำ�สุทธิสมพงษ์ สะท้านอาจ. ปริญญา
นิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
เจริญชัย ชนไพโรจน์. 2526. “กลอนลำ�อมตะ” วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาสารคาม 2,1 (ม.ค.-มิ.ย.) 1-19

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


22 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

_______. 2547. “เคล็ดลับการสร้างสรรค์ทำ�นองลำ�”. บทความทางวิชาการที่


นำ�เสนอในการประชุมสัมมนาทางวิชาการครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 5-6
(กุมภาพันธ์) ณ อาคารภูมิพลสังคีต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย
มหิดล ศาลายา นครปฐม
_______2526. ปึ้ ม กลอนลำ � มหาสารคาม: ภาควิช าดุ ริย างคศาสตร์ คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
_______2547. “สุนทรียภาพในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสาน” บทความทาง
วิชาการเสนอในการประชุมสัมมนา ของประชาคมวิจัยไทศึกษาและ
สถาบั น วิ จั ย ศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมอี ส าน ณ สถาบั น วิ จั ย ศิ ล ปะและ
วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อ วันที่ 23 (สิงหาคม)
ทองคำ� อ่อนมะนีสอน 1998. มรดกลำ�สีพันดอน-ลำ�โสม. เวียงจัน : มูลนิธิโตโยต้า
แห่งปะเทศญี่ปุ่น.
ภรตมุนี. 2511. นาฏยศาสตร์ของภรตมุนี. แปลโดย แสง มนวิฑูร. พระนคร: กรม
ศิลปากร.
รัญจวน อินทรกำ�แหง. 2518. วรรณคดีวิจารณ์ ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
พิฆเณศ.
ราตรี ศรีวิไล และ เจริญชัย ชนไพโรจน์. 2538 . “กลอนลำ�: ว่าด้วย ทำ�นอง
รูปแบบ ฉันทลักษณ์ และเนือ้ หา” วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 1
ฉบับที่ 1-2 (มกราคม-ธันวาคม) หน้า 101-102
รื่นฤทัย สัจจพันธ์. 2526. ความรู้ทั่วไปทางภาษาและวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง.
วาคฏะ. 2504. อลังการศาสตร์ของวาคภุฏ. แปลจากวาคภุฏลังการ โดย ป.ส.
ศาสตรี. กรุงเทพฯ: พระจันทร์.
สมพงษ์ บุตรกำ�พี้. 2541. วิเคราะห์วรรณกรรมร้อยกรองในวารสารสยามรัฐ
สัปดาห์วิจารณ์. (พ.ศ. 2531-2537) วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 23

สุดใจ สุนทรส. 2535. ลำ�เต้ย. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัย


ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2525. วรรณคดีวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุนทร ทองเปาว์. 2537. ประวัติและงานของหมอลำ�บุญชื่น บุญศรี. ปริญญา
นิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
เสงี่ยม บึงไสย. 2533. บทบาทของหมอลำ�กลอนด้านการเมือง. ปริญญานิพนธ์
ศศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
อรอนงค์ เชื้อนิล. 2547. วิเคราะห์บทร้อยกรองของสุจิตต์ วงษ์เทศ. วิทยานิพนธ์
กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Chonpairot, Jarernchai. 1990. Lam Khon Sawan: A Vocal Genre of
Southern Laos. Ph.D. Dissertation, Kent, Ohio: Kent State
University.
Lehmann ,W. P. 1996. “Poetic Principles in the South Asian Literary
Tradition Interrelatedness of Grammar, Prosody and Other
Elements of Language” College Literature v23 p111-23 (F)
Menon, Usha. 2009. “The Hindu Concept of Rasa and the Cultural
Psychology of Emotions”, Psychological Studies (March)
54:3-22
Venkataraman, Kalpakam. 2003.Rasa in Indian Aesthetics: Interface of
Literature and Sculpture. Ph.D. Dissertation. Urbana: University
of Illinois Urbana-Champaign.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

A STUDY OF THE EFFICIENCY OF TEACHING THE THAI NATIONAL
ANTHEM TO PRIMARY SCHOOL CHILDREN

สุกิจ ลัดดากลม1
บทคัดย่อ
งานวิจยั เรือ่ ง ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับนักเรียนชัน้ ประถม
ศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และประเมินประสิทธิภาพของชุดการสอน
ขับร้องเพลงชาติไทย ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และสมมติฐานที่ตั้งไว้คือ 70/70
เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ คื อ ชุ ด การสอนที่ ผู้ วิ จั ย ได้ ส ร้ า งขึ้ น
ได้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความน่าเชื่อถือของชุดการสอน ผลที่ได้อยู่ในระดับที่ดีมาก
ในเครื่องมือนั้นประกอบไปด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน แผนการสอน ใบความรู้
และแบบทดสอบ โดยใช้ระยะเวลาที่ใช้ในการสอนทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในงานวิจยั ครัง้ นีค้ อื นักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาค
เรียนที่ 2 ปีการศึกษา2553 โรงเรียนวัดนิมมานรดี จำ�นวน 36 คน
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับนักเรียน
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 71.10/74.40 ซึง่ สูงกว่าเกณฑ์ทกี่ ำ�หนดไว้คอื
1
นักศึกษาปริญญาโท ดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 25

70/70 และผลการทดสอบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่า


t (t – test)ที่ระดับ นัยสำ�คัญ .05 t มีค่า 9.40 ดังนั้นสรุปได้ว่าชุดการสอนขับร้อง
เพลงชาติไทย มีประสิทธิภาพ และทำ�ให้ผลการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นหลังจบการ
เรียนการสอน
คำ�สำ�คัญ : ชุดการสอน/เพลงชาติไทย

ABSTRACT
The study of the development of teaching package for singing
Thai National Anthem at Prathom 5 student aimed at development
and assessment efficiency of the package with the criteria of efficiency
of 70/70.
The instruments in the study included teacher-made teaching
package which was inspected for its reliability by expert. The reliability
of the package was very satisfactory. The package was consist of
teacher’s manual, lesson plan, information sheet, and tests. The
duration of the teaching was 6 lessons of 30 minutes for each
lesson.
The subject in the study were 36 prathom 5 students of
Nimmannoradee Primary School the students were enrolled in the
second semester of 2010.
The results of the study revealed that the teaching package
for prathom 5 students had the efficiency of 71.10/74.40 which was
higher than the pre-determined criteria of 70/70 the test of difference
between the pretest and post test mean scores with the t-test was
statistically significant at .05 level of significant with the t-value of 9.40.
It could be concluded from the study that the package was efficient
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
26 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

and it increased the student’s score after the implementation of the


package.
KEY WORDS: TEACHING PACKAGE / THAI NATIONAL ANTHEM

ความสำ�คัญและที่มาของปัญหา
เพลงชาติเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกราชทีไ่ ม่ถอื ว่าเป็นเมืองขึน้ แก่ใคร
เพลงชาติยังเป็นเพลงที่หล่อหลอมจิตใจคนในชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้
เกิดความรักชาติมคี วามเป็นพีน่ อ้ งกัน ในการแข่งกีฬาระหว่างชาติแต่ละครัง้ นอกจาก
จะมีการเชิญธงชาติไปประดับแล้วยังมีการร้องเพลงชาตินนั้ ๆเมือ่ ทำ�การแข่งขันหรือ
เมื่อได้รับเหรียญทอง ซึ่งเป็นการเคารพต่อชาติของนักกีฬาผู้นั้น สำ�หรับผู้ที่ได้ยิน
เพลงชาติ บ้างก็ยืนตรง บ้างก็ร้องเพลงชาติตามต้นเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เอามือขวา
จับหน้าอกตรงหัวใจ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อชาตินั่นเอง (สุกรี เจริญสุข,
2534: 4)
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน มีธงชาติและเพลงชาติไทย ที่ทุกคนในชาติรู้จัก
และร้องได้ ถ้านึกทบทวนดูในวัยเด็ก เมือ่ ผูใ้ หญ่เปิดวิทยุหรือ โทรทัศน์ ในเวลา 8.00 น.
และ 18.00 น . ได้ยินเพลงชาติไทยแต่เป็นการได้ยินได้ฟังเพียงผ่านหู ไม่ได้ฟังอย่าง
ตั้งใจ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2535: 1-3) และเมื่อไปโรงเรียนก่อนเข้าห้องเรียนจะต้อง
เข้าแถวและยืนตรงเคารพธงชาติ พร้อมทั้งร้องเพลงชาติในขณะที่มีการเชิญธงชาติ
ขึ้นสู่ยอดเสา
จากประสบการณ์ ในการสอนดนตรีวิชาขับร้องของผู้วิจัยได้ท�ำ การสอน
นักเรียนในช่วงอายุระหว่าง 10 - 12 ปี พบว่าเป็นช่วงอายุทมี่ คี วามสำ�คัญต่อการเรียน
ดนตรี และการขับร้องเพลงเป็นอย่างมาก เด็กสมควรได้เริ่มสะสมความรู้ทางดนตรี
อย่างถูกต้อง เนื่องจากวัยนี้เริ่มมีความสนใจการอ่านมากขึ้นรู้จักแก้ไขปัญหาของ
ตัวเองได้ มีความสนใจในเรือ่ งทีย่ ากและซับซ้อนมากขึน้ เริม่ มีความเข้าใจสือ่ ต่างๆรอบ
ตัวมากขึ้น พฤติกรรมที่กล่าวมานี้มีความสอดคล้องกับพัฒนาการทั่วไปของผู้เรียน
ที่อยู่ในวัยเด็ก วัยประถมศึกษา (อายุ 6 – 12 ปี) ฌอง พีอาเจตน์ (Jean Piaget)
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 27

1896 – 1980 นักจิตวัทยาพัฒนาการชาวสวิส เรียกวัยนีว้ า่ Concrete Operational


Stage เป็นวัยที่กำ�ลังเจริญเติบโต วัยแห่งการจดจำ�หากได้รับการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง
ย่อมได้รับสิ่งผิดๆเหล่านั้นด้วย
มีขอ้ สังเกตจากโครงการไทยสามัคคีไทยเข้มแข็ง ซึง่ ได้จดั ให้มขี นึ้ ในระหว่าง
วันที่ 18 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2552 โดยรัฐบาลในสมัยนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมาตรี ได้มีความคิดที่จะสร้างแนวทางการรวม
พลัง สร้างความสามัคคี ของคนไทยทัง้ ชาติจงึ จัดให้ทกุ จังหวัดจัดการแสดงทีเ่ กีย่ วกับ
เอกลักษณ์ของชาติโดยนำ�เสนอประวัตศิ าสตร์ ในแต่ละจังหวัดโดยสังเขป และทำ�พิธี
เคารพธงชาติและร้องเพลงชาติอย่างพร้อมเพรียงกันโดยการรวบรวมกลุม่ ข้าราชการ
นักเรียน พ่อค้า และประชาชนของจังหวัดมารวมตัวกันในเวลา 18.00 น. ของทุกวัน
ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2552 โดยจะเรียงชื่อจังหวัดตามลำ�ดับ
อักษรจนครบทุกจังหวัด และให้จังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดสุดท้ายในวันที่
5 ธันวาคม 2552 จากที่ผู้วิจัยได้ฟังการร้องเพลงชาติตามโครงการดังกล่าว พบว่า
ยังมีคน ไทยอีกเป็นจำ�นวนมากที่ยังร้องเพลงชาติไม่ถูกต้อง ทั้งในด้านเนื้อร้องการ
ออกเสียง อักขระ พยัญชนะ ควบกลํ้า ทำ�นอง และจังหวะ เนื่องจากยังไม่มีการ
เรียนการสอนอย่างจริงจัง ในโรงเรียน และขาดความเอาใจใส่ที่จะฝึกร้องให้ถูกต้อง
ขาดการอบรมสั่งสอนให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในความหมายของเนื้อร้องเพลงชาติ
แม้ว่าเพลงชาตินี้จะร้องกันมานานแต่นักเรียนก็ยังร้องไม่ค่อยถูก ถึงแม้ผู้ใหญ่ก็เช่น
กันใน 10 คน จะร้องถูกไม่ถึง 5 คน นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตุจากสถาบันระดับ
อุดมศึกษา ทีไ่ ม่มกี ารร้องเพลงชาติในเวลา 08.00 น. และไม่มกี ารยืนตรงเคารพธงชาติ
หรือถ้ามีก็กระทำ�โดยไม่พร้อมเพรียงกัน บางคนได้ยินเพลงชาติก็จะยืนตรงเคารพ
ธงชาติ แต่บางคนก็เดินไป – มา ตามปกติไม่หยุดยืนตรงเคารพธงชาติ ซึ่งสาเหตุที่
ทำ�ให้คนไทยร้องเพลงชาติไทยไม่ถูกต้องและไม่ไพเราะอาจมาจาก
1) การถ่ายทอดเพลงชาติไทยจากครูไปสูน่ กั เรียนยังด้อยคุณภาพอยูม่ าก
ส่วนใหญ่ถา่ ยทอดด้วยวิธกี ารสอนแบบบอกเล่า หรือแบบปากเปล่า ถ้าผูถ้ า่ ยทอดร้อง
เพลงชาติไม่ถูกต้องตามแบบฉบับ นักเรียนผู้รับก็ร้องเพลงชาติแบบไม่ถูกต้องด้วย

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


28 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2) โรงเรียนส่วนใหญ่อยู่ในชนบทยังขาดอุปกรณ์ประกอบการเรียนการ
สอนเพลงชาติ เช่น เทปบันทึกเสียงจากต้นแบบฉบับ โน้ตเพลง เป็นต้น
3) โอกาสที่นักเรียนจะได้ฝึกฝนร้องเพลงชาติอย่างถูกต้องมีน้อยมากวัน
หนึ่งมีโอกาสร้องเพลงชาติ ( แบบผิดๆถูกๆ ) ในพิธีเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาตอนเช้า
ก่อนเข้าห้องเรียนเท่านั้น แม้จะมีกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ซึ่งก็ต้องร้องเพลงชาติ
เพือ่ เชิญธงชาติขนึ้ สูย่ อดเสาก็เป็นเพียงกิจกรรมของนักเรียนบางกลุม่ ไม่ทวั่ ถึงกัน จึง
ยังผลให้นักเรียนส่วนมากด้อยทักษะในการร้องเพลงชาติได้อย่างถูกต้อง
4) ผู้ใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงความสำ�คัญของเพลงชาติไม่พยายามที่จะฝึกฝน
ตนเองให้รอ้ งเพลงชาติได้อย่างถูกต้องเพือ่ เป็นแบบฉบับทีด่ แี ก่นกั เรียนในสถานศึกษา
ซึ่ง น้อยนักทีจ่ ะได้เห็นครู อาจารย์ทุกคนร่วมร้องเพลงชาติไปกับนักเรียน ในพิธีเชิญ
ธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาตอนเช้า
ผู้วิจัยได้ไปเก็บข้อมูลและเห็นว่าเด็กนักเรียนร้องเพลงชาติในลักษณะของ
การฟังไม่ได้ศัพท์ แล้วจับเอามาร้อง ยกตัวอย่าง เช่น เด็กเล็กๆหลายๆคนมักจะ
ร้องเพลงชาติ ในประโยคแรกว่า “ประ เทศ ป ไท ลวม มะ เลื้อ ชาติเชื้อไทย” แล้ว
ท่อนที่ร้องว่า “ด้วยไทยล้วนหมาย” มักจะร้องว่า “ด้วย ดี ด้วน ม้าย” ซึ่งเด็กทุกๆ
คนมักจะร้องเช่นนี้จนกระทั่งเมื่ออ่านหนังสือได้แล้ว มาอ่านเนื้อเพลงชาติ จึงได้รู้
ว่าเนื้อร้องที่แท้จริงคืออะไร หรือถ้าโรงเรียนใดมีครูที่เข้มงวดเรื่องการร้องเพลงชาติ
ก็จะจัดการสอนให้นกั เรียนร้องเพลงชาติได้อย่างถูกต้อง ตามทำ�นอง เนือ้ ร้อง จังหวะ
และอารมณ์เพลง ซึ่งจะทำ�ให้สามารถร้องได้อย่างไพเราะ ผู้วิจัยได้ไปเก็บข้อมูล
โรงเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาจำ�นวน 5 โรงเรียนในตอนเช้าโดยหมุนเวียนสลับ
เปลี่ยนกันไปเพื่อฟังเพลงชาติของแต่ละโรงเรียน พบว่าบางโรงเรียนร้องเพลงชาติ
ได้ไพเราะ พร้อมเพรียงกัน มีดนตรีประกอบการขับร้อง บางโรงเรียนเปิดเพลงชาติ
ทีม่ เี สียงร้องพร้อมเสียงดนตรีแล้วให้นกั เรียนร้องเพลงชาติไปพร้อมๆ กัน และมีบาง
โรงเรียนให้นักเรียนร้องปากเปล่า โดยมีนักเรียนที่มีเสียงไพเราะ เป็นต้นเสียงร้องนำ�
และนักเรียนทั้งโรงเรียนร้องตามการร้องแบบนี้จะพบว่า นักเรียนทั้งโรงเรียนจะร้อง
ระดับเสียงและจังหวะไม่ตรงกัน ไม่มีการตั้งระดับเสียงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ร้องนำ�

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 29

บางวันอาจขึน้ ต้นด้วยเสียงสูง บางวันอาจจะเริม่ ต้นด้วยเสียงตํา่ และนักเรียนบางคน


มีจังหวะไม่แน่นอน เริ่มต้นประโยคก่อนจังหวะ หรือ ทีหลังจังหวะ บางคนร้องด้วย
จังหวะไม่สมํ่าเสมอช้าไปบ้างเร็วไปบ้าง บางคนจบก่อนบางคนจบทีหลัง
จากสาเหตุดังกล่าวคิดว่าน่าจะได้มีการพิจารณาถึง ปัจจัยสำ�คัญที่จะช่วย
ให้การสอนขับร้องเพลงชาติประสบความสำ�เร็จนั่นคือ
1) การปรับปรุงเทคนิคและวิธกี ารสอนขับร้องเพลงชาติไทยให้มคี ณ ุ ภาพ
ดีขึ้นกว่าเก่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้และดำ�เนินการอย่างต่อเนื่องและสมํ่าเสมอ
2) การให้บุคลากรทุกๆคนในโรงเรียนร้องเพลงชาติให้อย่างถูกต้องและ
ร่วมร้องเพลงชาติในขณะเชิญธงขึน้ สูย่ อดเสาพร้อมๆกับนักเรียนเป็นประจำ�วันทุกวัน
3) บรรจุเพลงชาติเป็นเพลงบังคับในหลักสูตร วิชาขับร้อง – ดนตรี ทัง้ ใน
ระดับมัธยมและประถม รวมทั้งวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยด้วย
4) ขอความร่วมมือกับทุกกลุ่มสังคมย่อยในชุมชนทั้งส่วนราชการและ
เอกชนให้สนับสนุน และส่งเสริมการร้องเพลงชาติ ให้ได้ถูกต้องตามแบบฉบับกับ
ประชาชนทุกระดับ ซึ่งจะต้องมีการประสานงานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
5) รณรงค์ทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนชาวไทยเกิดค่านิยม และเจตคติที่
ดีต่อการร้องเพลงชาติไทยอย่างถูกต้องและช่วยกันอนุรักษ์เพลงชาติไทยของเราไว้
ให้ถาวรสืบไป
เพื่อช่วยให้เด็กไทยสามารถร้องเพลงชาติได้อย่างถูกต้อง ผู้วิจัยจึงได้ สร้าง
ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติ ขึน้ สำ�หรับใช้ในการสอนระดับ ประถมศึกษา ผูว้ จิ ยั หวัง
ว่าชุดการสอนชุดนีจ้ ะช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะให้กบั ผูเ้ รียนให้
ร้องเพลงชาติไทยได้อย่างถูกต้อง ทั้งเนื้อร้อง ทำ�นอง จังหวะ และ ร้องได้ด้วยความ
ไพเราะ รวมทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำ�นึกให้รักชาติบ้านเมือง เกิดความภาคภูมิใจใน
ความเป็นชาติไทย

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


30 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ระเบียบวิธีวิจัย
ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นี้ คือ นักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
วัดนิมมานนรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่กำ�ลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปี
การศึกษา 2553 จำ�นวน 335 คน
กลุม่ ตัวอย่างในการวิจยั ครัง้ นีค้ อื นักเรียนทีก่ �ำ ลังเรียนอยูใ่ นระดับชัน้ ประถม
ศึกษาปีที่ 5/2 มี โรงเรียนวัดนิมมานนรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำ�นวน
36 คน เลือกใช้ประชากรโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือในการวิจัยมีดังนี้
1. ศึกษาหลักการ และข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับประวัตเิ พลงชาติไทย ธงชาติไทย
จากตำ�รา เอกสาร และข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
2. ศึกษาพัฒนาทักษะทางด้านการขับร้องและเนื้อหาการเรียนการสอน
ขับร้องของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
3. ศึกษาวิธีการสร้างชุดการสอนจากเอกสารตำ�ราและงานวิจัย
4. ดำ�เนินการสร้างชุดการสอนโดยผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดจาก “ระบบการ
ผลิตชุดการสอนแผนจุฬา” ของ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ
5. ขั้นตอนการสร้างชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย ผู้วิจัยได้กำ�หนด
เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ต้องการไว้เพื่อ จะได้เป็นแนวทางในการทดลองใช้ชุด
การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอน และคู่มือ
6. ผู้วิจัยได้นำ�ชุดการสอนที่สร้างขึ้นให้กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ตรวจแก้ไขและให้ข้อเสนอแนะ
7. ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้รับจากข้อเสนอแนะนำ�ไปทดลองใช้
กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีขั้นตอนดังนี้ ครั้งที่ 1 ใช้เครื่องมือกับนักเรียน
วัดนิมมานรดีจ�ำ นวน 3 คน โดยใช้ชดุ การสอนทีผ่ วู้ จิ ยั ได้สร้างขึน้ เพือ่ นำ�ไปแก้ไขและ
ปรับปรุงเพื่อให้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 31

8. ทำ�การแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องเพือ่ นำ�ไปให้ผเู้ ชีย่ วชาญเพือ่ ตรวจสอบ


ความน่าเชื่อถือของแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนแบบทดสอบหลัง
เรียน กิจกรรม สื่อการสอน การวัดผล ประเมินผล และนำ�ไปทดลองใช้กับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งที่ 2 ใช้นักเรียน วัดนิมมานรดีจำ�นวน 6 คน โดยใช้ชุด
การสอนทีผ่ เู้ ชีย่ วชาญตรวจสอบความน่าเชือ่ ถือ เพือ่ รวบรวมปัญหา ข้อบกพร่องของ
ชุดการสอน
9. ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้รับการเสนอแนะจากการทดลองใช้ใน
กลุ่มทดลองและ
10. นำ�ชุดการสอนไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5/2 โรงเรียนวัดนิมมานรดี จำ�นวน 36 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผล
11. สร้างแบบวัดเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดการ
สอนขับร้องเพลงชาติไทยสำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ซึ่งผู้วิจัยได้ ใช้
เกณฑ์การประเมิน ระดับคุณภาพ (Rubric Scoring)  กำ�หนดคำ�บรรยายคุณภาพ
ตามประเด็นที่ต้องการประเมิน จำ�แนกตามระดับ  4 ระดับ   ความหมายของระดับ
เป็นดังนี้
4 คะแนน หมายถึง ดีมาก
3 คะแนน หมายถึง ดี
2 คะแนน หมายถึง พอใช้
1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

การเก็บรวบรวมข้อมูล
นำ�ชุดการสอนไปทดลองใช้จริงกับกลุม่ ตัวอย่างจริง คือ นักเรียนทีเ่ รียนอยู่
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 /2ของ โรงเรียนวัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
จำ�นวน 36 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ได้ทำ�ตามขั้นตอนดังนี้
1. ดำ�เนินการสอนตามขั้นตอนที่กำ�หนดไว้
2. บันทึกภาพถ่ายวีดิโอ การปฏิบัติการเรียนการสอนทุกครั้ง
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
32 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3. ประเมินผลจากใบบันทึกผลการเรียนในแต่ละครั้ง
4. การให้คะแนนการปฏิบัติ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ชั้นเรียนชั้นครู และ
การประกวดขับร้องเพลงชาติไทย
5. การประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน
การสอน ของชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย

การวิเคราะห์ข้อมูล
นำ�ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดการสอนดังนี้
1. รายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ของเครื่องมือก่อนนำ�
ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
1. นางจุรี ทรงสกุล ครูเชี่ยวชาญ สาขาคีตศิลป์สากล
วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
(ข้าราชการบำ�นาญ)
2. นางวณี ลัดดากลม ผูท้ รงคุณวุฒิ สาขาคีตศิลป์สากล คณะศิลปศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กระทรวงวัฒนธรรม
3. นายสันติ ลุนเผ่ ศิลปินนักร้องเพลงปลุกใจ รักชาติ
4. นางวาณี จูฑังคะ ศิลปินอาวุโสงานดุริยางค์สากล สำ�นักการ
สังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
5. ผศ. ประไพศรี สงวนวงศ์ อาจารย์ประจำ�คณะครุศาสตร์อตุ สาหกรรม
วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ สถาบันเทคโนโลยี
ราชมงคล (ข้าราชการบำ�นาญ)
2. การประเมินประสิทธิภาพของชุดการสอน ตามเกณฑ์ที่กำ�หนดไว้ คือ
70/70 เป็นการประเมินผลจากการใช้ชดุ การสอนในระหว่างการใช้ชดุ การสอน และ
หลังสิ้นสุดการใช้ชุดการสอนโดยครูผู้สอน
3. การประเมินผลจากใบบันทึกผลการเรียน หลังการสอนในแต่ละครั้ง
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 33

4. การประเมินผลจากคะแนนการประเมินผลระหว่างเรียน
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้
- คำ�นวนค่าสถิติพื้นฐาน
- หาประสิทธิภาพของชุดการสอนตามเกณฑ์ 70/70 คือ 70 ตัวแรก
หมายถึง ค่าเฉลี่ยร้อยละ 70 ของคะแนนประเมินผลระหว่างเรียน และ 70 ตัวหลัง
หมายถึง ค่าเฉลี่ยร้อยละ 70 ของคะแนนประเมินผลหลังเรียน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จำ�นวน คะแนนระหว่างเรียน คะแนนหลังเรียน
นักเรียน คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย E1 คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย E2
36 156 18.40 71.10 20 14.88 74.40

จากตารางแสดงคะแนนการประเมินผล สรุปได้วา่ ชุดการสอนขับร้องเพลง


ชาติไทย นักเรียนมีคะแนนเฉลีย่ ของการประเมินผลระหว่างเรียนได้ 18.40 คิดเป็น
คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.10 และผลคะแนนเฉลี่ยของการประเมินผลหลังเรียนได้
14.88 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 74.40
จากผลคะแนนสรุปว่า นักเรียนสามารถทำ�คะแนนในแบบทดสอบระหว่าง
เรียนได้ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 71.10 และนักเรียนสามารถทำ�แบบ
ทดสอบหลังเรียนได้คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 74.40 ดังนั้นสรุปได้ว่า ชุดการ
สอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 71.10/74.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำ�หนดไว้คือ 70/70

ผลการทดสอบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
จำ�นวนนักเรียน คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ค่า t
36 20 11.11 14.88 9.40*
* ค่า t มีนัยสำ�คัญที่ ระดับ .05 (α .05 = 1.96)

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


34 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากตารางที่ 3 การทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลัง
เรียน โดยการทดสอบค่า t (t-test) ที่ระดับ นัยสำ�คัญ .05 t มีค่า 9.40 ซึ่งแสดงว่า
ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน มีนัยสำ�คัญทางสถิติ ดังนั้น
สรุปได้ว่าชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย มีประสิทธิภาพ และทำ�ให้ผลการเรียน
ของนักเรียนสูงขึ้นหลังจบการเรียนการสอน

สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจยั จากการใช้ชดุ การสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับนักเรียนชัน้
ประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปผลได้ดังนี้คือ
1. ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำ�หนด
ไว้คือ 70/70 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของการประเมินระหว่างเรียนคือ
71.10 และมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของการประเมินผลการเรียนหลังเรียนคือ 74.40
ซึ่งสูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลการทดสอบคะแนนก่อนเรียนหลังเรียน พบว่าค่า t (t-test) ทีร่ ะดับ
นัยสำ�คัญ .05 t มีค่า 9.40 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน
มีนยั สำ�คัญทางสถิติ ดังนัน้ สรุปได้วา่ ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย มีประสิทธิภาพ
และทำ�ให้ผลการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นหลังจบการเรียนการสอน
3. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อชุดการสอนและกิจกรรมการเรียน
การสอน ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 นัน้
มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.5 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก

อภิปรายผลการวิจัย
เนื่องจากแบบทดสอบมีความหลายหลาย มีทั้งความรู้ความจำ�ความเข้าใจ
มีการให้คะแนนทั้งแบบที่ครูให้ผู้ให้คะแนนมีความหลากหลาย และแบบที่นักเรียน
ประเมินด้วยตนเอง รูบริคจึงทำ�ให้เกิดความแตกต่างของคะแนน เพราะนักเรียน

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35

เป็นผู้ประเมินตนเอง พื้นฐานความรู้ของนักเรียนไม่ส่งเสริมให้ทำ�คะแนนได้ดีมาก
เท่าทีท่ คี่ วร หรือใช้การเดาเพือ่ ทำ�แบบฝึกหัด จึงทำ�ให้ระดับของคะแนนแตกต่างกัน
สมมติฐานของการประเมินงานวิจยั จึงอยูท่ ี่ 70/70 และเมือ่ ได้ท�ำ การทดลองใช้เครือ่ ง
มือกับกลุ่มตัวอย่างแล้วนั้น ผลที่ได้ออกมาคือ 71.10/74.40 ซึ่งผลของการประเมิน
สูงกว่าสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้
การวิจัยครั้งนี้พบว่าชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทยที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น มี
ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ทตี่ งั้ ไว้คอื 70/70 เพราะว่าชุดการสอนทีส่ ร้างขึน้ มีสาเหตุ
ดังนี้
1. ในการสร้างชุดการสอนนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาขั้นตอนการสร้างชุดการ
สอนอย่างมีระบบศึกษาเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และความ
สนใจของผู้เรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรมและการวัดการประเมินผลที่เหมาะสม
ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสร้างชุดการสอนของการผลิตชุดการสอน (ดร.ชัยยงค์
พรหมวงศ์ และคณะ) ได้ทำ�การทดลองและวิจัยเกี่ยวกับการผลิตชุดการสอนที่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ พ.ศ. 2518 และได้เรียนผลงานนัน้ ว่า “ระบบการผลิต
ชุดการสอนแผนจุฬา” (ไชยยศ เรืองสุวรรณ,2521: 233-234) จากนัน้ นำ�ชุดการสอน
ที่ได้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนำ�ไปทดลองใช้ และแก้ไขปรับปรุงอีกครั้ง ก่อนนำ�
ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จึงทำ�ให้ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ในการสร้างกิจกรรมที่ใช้ในการสร้างชุดการสอนนั้น ได้คำ�นึงถึงความ
เหมาะสม ความสนใจ และธรรมชาติของเด็ก ซึ่งไม่เน้นที่คำ�อธิบายของครู แต่เริ่ม
ด้วยการให้นกั เรียนสังเกตครูซงึ่ เป็นผูท้ �ำ ตัวอย่างให้ดอู ย่างชัดเจนก่อน หลังจากนัน้ ให้
นักเรียนได้ลงมือปฏิบตั เิ องด้วยตนเอง ซึง่ สอดคล้องกับ (กุลยา ตันติผลาชีวะ 2545:
733) กล่าวว่าเด็กวัยนีเ้ ป็นวัยแห่งการเรียนรู้ สามารถสังเกตและสะสมประสบการณ์
การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผ่านการสัมผัส การเห็นตัวแบบ
3. ระหว่างการใช้ชุดการสอน ผู้วิจัยใช้คำ�ชม การให้รางวัล เพื่อเป็นแรง
จูงใจ ซึง่ เป็นส่วนสำ�คัญหนึง่ ของการกระตุน้ ให้นกั เรียนสนใจ ตัง้ ใจ และให้ความร่วมมือ
ในกิจกรรมดังที่ (เยาวพา เดชะคุปต์ 2542: 63) กล่าวเกี่ยวกับแรงจูงใจว่า การจัด
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
36 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สิ่งเร้าที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบสนองโดยการสร้างแรงจูงใจจากการให้รางวัล
เพื่อความพึงพอใจในการเรียน การใช้การเสริมแรงครูควรให้การเสริมแรง โดยการ
ชมเชยหรือให้แรงจูงใจในวิธีต่าง เช่น การให้รางวัล
4. กิ จ กรรมในชุ ด การสอนมี ห ลายกิ จ กรรม ซึ่ ง เน้ น การเรี ย นรู้ ผ่ า น
ประสบการณ์ของนักเรียนซึง่ สอดคลล้องกับ (ปิยมาภรณ์ สบายแท้, 2545:45) กล่าวว่า
กิจกรรมการเรียนการสอนทางดนตรีควรเป็นไปในรูปแบบของประสบการณ์ที่จัดไว้
ให้กบั ผูเ้ รียนได้มสี ่วนร่วมในการปฏิบตั ิดว้ ยตนเอง เช่นเดียวกับ (นวลศิริ เปาโรหิตย์,
2518: 40)กล่าวว่า ถ้าเด็กประสบความสำ�เร็จในสิ่งที่เรียนรู้ ก็จะเกิดความรู้สึก
ว่าตนเองมีความสามารถที่จะเผชิญปัญหาต่างๆในสิ่งต่างๆได้ในชีวิตประจำ�วัน
เพราะเหตุนี้จึ้งทำ�ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาในเรื่องของการขับร้องให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าวพบว่าชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย สำ�หรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นนั้นเป็นชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์ทตี่ งั้ ไว้ สามารถนำ�ไปใช้ประกอบการสอนวิชาดนตรี หรือเป็นกิจกรรมเสริมใน
วิชาอื่นๆ
จากการทดลองใช้ชดุ การสอนพบว่า เมือ่ สิน้ สุดการเรียนการสอนนัน้ นักเรียน
มีระดับคะแนนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 70/70 แต่ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนน
ระหว่างเรียน มีนัยสำ�คัญทางสถิติ ดังนั้นสรุปได้ว่าชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย
มีประสิทธิภาพ และทำ�ให้ผลการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นหลังจบการเรียนการสอน
ชุดการสอนขับร้องเพลงชาติไทย เพราะชุดการสอนมีการลำ�ดับขั้นตอนทางด้าน
การเรียนรู้แบบเป็นระบบ มีการทำ�กิจกรรมอย่างสมํ่าเสมอในทุกๆ แผนการสอน
มีการลำ�ดับความยากง่ายของกิจกรรม และระยะเวลาทีใ่ ช้ในการทำ�กิจกรรมมีความ
เหมาะสมกับเนือ้ หาทีต่ อ้ งสอน และเหมาะสมกับสมาธิของเด็กนักเรียน จึงทำ�ให้เด็ก
นักเรียนมีความเข้าใจในเรือ่ งของธงชาติ เพลงชาติไทย และการขับร้องทีถ่ กู ต้อง โดย
กำ�หนดเนื้อหาและกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กัน มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 37

บรรณานุกรม
กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2545. การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนปฐมวัยศึกษา.
กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์และคณะ. 2542. เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาการสอน.
กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521. หลักการทฤษฎีและนวกรรมของการศึกษา. กาฬสินธุ์
: ประสานการพิมพ์ หน้า 233-234.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. 2535. กิจกรรมดนตรีส�ำ หรับครูดนตรี. กรุงเทพมหานคร : สำ�นัก
พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลศิริ เปาโรหิตย์. 2518. จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง
ปิยมาภรณ์ สบายแท้. 2545. การศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอนเรื่องทฤษฎี
ดนตรีสากลพื้นฐาน ผ่านทักษะขับร้องประสานเสียง. วิทยานิพนธ์ศิลป
ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
เยาวพา เดชะคุปต์. 2542. การจัดการศึกษาสำ�หรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : บริษทั
สำ�นักพิมพ์แม็ค จำ�กัด.
สุกรี เจริญสุข. 2534. เพลงชาติ. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔



รอยวัฒนธรรมอีสาน
Cultural Clue of a Community in Isan

จุรีรัตน์ ทวยสม¹
Churirat Thuaisom

บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์เรื่อง รอยวัฒนธรรมอีสาน ได้รับแรง
บันดาลใจมาจากวิถชี วี ติ ของคนในท้องถิน่ ชนบทอีสาน การทอเสือ่ เป็นงานหัตถกรรม
อย่างหนึง่ ของครัวเรือนซึง่ ถือว่าเป็นมรดกทางภูมปิ ญ ั ญาของคนอีสาน การสร้างสรรค์
วิทยานิพนธ์ครัง้ นี ้ มีความมุง่ หมายเพือ่ ศึกษาเทคนิควิธกี ารในการสร้างงานหัตถกรรม
โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่น และสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสมเพื่อ
สื่อความหมายถึงรอยแห่งวัฒนธรรมอีสาน โดยใช้เทคนิคการย้อมสี การถักทอ
การผูก การสอดประสาน เป็นผลงานทัศนศิลป์จำ�นวน 5 ชิ้น
ผลจากการสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์พบว่า การนำ�ต้นกกซึ่งเป็น
วัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่นมาตัดสอยออกเป็นเส้น ตากแห้ง ย้อมสี และถักทอให้
เกิดความงามทางด้านทัศนศิลป์การสอดผสานกันอย่างหนาแน่นของเส้นกก มีการ
ผูกมัดเป็นปม และการเว้นระยะห่างของเส้นแสดงออกถึงการสะสมความดีงามทีถ่ กู
ถ่ายทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ และแสดงถึงความผูกพันของคนในท้องถิน่ ลักษณะของเส้นกก

¹ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาทัศนศิลป์ หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต


คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 39

ที่เป็นเส้นตรงและเส้นโค้งเปรียบเสมือนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นที่มีความแตกต่าง
กัน แต่ทงั้ หมดถูกหล่อหลอมรวมกันเป็นสังคมเดียวกัน ส่วนสีโทนนํา้ ตาลแสดงออก
ถึงความรักและความอบอุ่นของคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ การจัดองค์ประกอบใน
ผลงานพบว่ารูปทรงและทัศนธาตุทสี่ อื่ แสดงถึง ความดีงามของวิถชี วี ติ คนในท้องถิน่
ด้วยวัสดุต้นกกมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่กำ�หนด สามารถถ่ายทอดความงามด้าน
ทัศนศิลป์ที่ไม่เพียงเป็นการถ่ายทอดสาระความดีงามของวัฒนธรรมเท่านั้น แต่รอย
วัฒนธรรมคือการถ่ายทอดความดีงามจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งปัจจุบันกำ�ลังเลือนหายไป
โดยสรุป การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ชุดนี้ ได้ก่อให้เกิดข้อค้นพบ
ใหม่ในผลงานด้านทัศนศิลป์ ประเภทจิตรกรรมสือ่ ผสม โดยนำ�วัสดุทอ้ งถิน่ คือต้นกก
มาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้านศิลปะขั้นสูงที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตน สามารถสื่อให้
ผู้ชมผลงานเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงร่องรอย
ทางวัฒนธรรมที่มีความผูกพัน ความประทับใจในความงามของวิถีชีวิตคนใน
ท้องถิน่ อีสาน ซึง่ ถือเป็นสิง่ มีคณ
ุ ค่าทางจิตใจและประวัตศิ าสตร์ทางวัฒนธรรม
ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นได้อีกด้วย
คำ�สำ�คัญ : วัฒนธรรม, ท้องถิ่น, จิตรกรรมสื่อผสม

ABSTRACT
This created thesis on ‘Cultural Clue of a Community in Isan’
was influenced by the way of life of a Isan community. As family
handicraft, weaving reed mats was regarded as an intellectual heritage
of Isan people. The aims of this thesis were to study techniques of
creating handicraft using natural materials that grew in the rural areas
and to create mixed media painting in order to display cultural clues in
an Isan community. The techniques used were dyeing, weaving, tying,
and inserting the reed threads making five visual arts.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


40 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

The results of the study revealed that the reeds, a kind of a


natural plant, grew in the rural area of Isan. They were carefully sliced in
full length as threads. Before weaving into mats, the threads were left
to expose to the sun and later dyed. The reed mats were considered to
be fine visual arts. The dry reed threads were densely weaved together
with both ends knotted. The space between threads represented
the accumulation of goodness passing down from one generation to
the next and close relations among people in the community. The
straight and curved threads were comparatively similar to the people’s
way of life that had differences among themselves, yet they were
melted together to be one. The color tone, such as, brown indicated
love and warmth of the people in the community. In addition, the
organization of factors found in the visual arts illustrated shapes and
visual elements representing goodness of the people’s way of life
using the reed threads that were related to the content of the study. As
a whole, the organization of factors could not only transmit the visual
beauty, such as, content, goodness of culture, but also the cultural
clue that transmitted goodness, now was in the stage of fading away,
from one generation to the next.
In conclusion, this thesis had discovered something new in
the visual arts. It was the mixed media painting using the reed threads
creating an advanced art with its own cultural identity. It enabled the
viewers to fully appreciate the value of art and reflected cultural clues
of close ties, impression of the beauty of Isan people’s way of life which
were valued highly mentally, culturally and identically.
Keywords : Cultural, Community, Mixed Media Painting

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 41

บทนำ�
ศิลปหัตถกรรมการถักทอของไทยมีมานานแต่โบราณ ไม่มีการจดบันทึก
ไว้เป็นหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเริ่มทำ�กันมาตั้งแต่ยุคสมัยใด แต่มีการค้นพบหลักฐาน
ทางโบราณคดีที่ยืนยันถึงการทำ�มาหากินของชุมชนบ้านเชียง อำ�เภอหนองหาน
จังหวัดอุดรธานี ว่ามีร่องรอยอารยธรรมเก่าแก่ของโลก คือ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ
เครื่องปั้นดินเผา และเศษผ้าที่ติดอยู่กับกำ�ไลสำ�ริดของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
อายุ 2,400-3,500 ปี เมื่อนำ�มาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่าเป็นเศษผ้า
ที่ทำ�ด้วยป่านหรือปอชนิดหนึ่ง ฝีมือค่อนข้างหยาบ นอกจากนี้ยังค้นพบเศษผ้า
ทีแ่ หล่งโบราณคดีทภี่ าคอีสานอีกหลายแห่ง เช่น ทีบ่ า้ นนาดี อำ�เภอหนองหาน จังหวัด
อุดรธานี บ้านดอนกอก อำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ทีพ่ บเศษผ้าและแกลบติดอยู่
ในขวานเหล็กชนิดคมกว้าง จากหลักฐานดังกล่าวบ่งบอกว่าภาคอีสานมีวัฒนธรรม
การถักทอราว 3,000 ปีมาแล้ว การทอผ้าเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองชนิดหนึ่ง
ที่นิยมทำ�กันมาช้านานในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและ
บางจังหวัดในภาคกลางตั้งแต่อดีต มีจุดมุ่งหมายอยู่ 2 ประการคือ การทอผ้าเพื่อใช้
ในชีวติ ประจำ�วัน และการทอผ้าทีใ่ ช้ในพิธกี รรม ยังไม่ได้ผลิตเพือ่ จำ�หน่ายเป็นสินค้า
อย่างในปัจจุบัน ผ้าของชาวอีสานจัดได้ว่าเป็นผ้าที่มีชื่อเสียงแต่ละท้องถิ่น แต่ละ
ชาติพนั ธุ์ จะปรากฏเอกลักษณ์ของตนเอง ลวดลายของผ้ามีความวิจติ รประณีต บรรจง
ยกตัวอย่างเช่น ผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่ทอเป็นลายมัดหมี่ กับผ้าที่ทอเป็นลายขิด
เฉพาะลายขิดมีการคิดค้นและพัฒนาจำ�นวนไม่น้อยกว่า 100 ลายและสามารถนำ�
ไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าถุง เสือ้ โสร่ง ผ้าปู ผ้าเบีย่ ง หมอน ทีน่ อน ผ้าห่อคัมภีร ์
เป็นต้น (ธนาคารแห่งประเทศไทย สำ�นักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกับ
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547 : 1)
ผ้า เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ นอกจาก อาหาร ที่
อยูอ่ าศัย และยารักษาโรค ในสังคมเกษตรจะมีการทอผ้าเพือ่ ใช้สอยภายในครอบครัว
การทอผ้าของไทยมีมานานแต่โบราณ จากอดีตจนถึงปัจจุบนั มนุษย์ได้พฒ ั นาการทอ
ผ้าทัง้ รูปแบบเทคนิค การย้อมสี และการออกแบบลวดลาย ดังปรากฏในจดหมายเหตุ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


42 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

และพงศาวดารครั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการทอผ้าตาม


กลุ่มชนต่าง ๆ ของไทย เช่น ข่า กระโส้ กระเลิง ส่วย เป็นต้น กลุ่มชนชาวไทยแต่ละ
กลุม่ มีสงิ่ ทอทีง่ ดงาม มีเอกลักษณ์ในการคิดค้นรูปแบบและลวดลายทีแ่ ตกต่างกันไป
ลักษณะพิเศษเหล่านี้เกิดจากพื้นฐานคติความเชื่อดั้งเดิมและสภาพแวดล้อมของ
แต่ละกลุ่มชนที่สืบสานต่อกันมา งานหัตถกรรมสิ่งทอของไทยจึงนับว่าเป็นสิ่งที่มี
คุณค่ามีบทบาทสำ�คัญหลายประการ ทัง้ ยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางภูมปิ ญ ั ญา
ของกลุม่ ชนทีไ่ ด้แก้ไขปรับปรุงให้มคี วามเหมาะเจาะลงตัว งานสิง่ ทอของชนชาวไทย
จึงมีเสน่หค์ วรค่าแก่การอนุลกั ษณ์ยงิ่ ลวดลายสีสนั ทีป่ รากฏอยูบ่ นผ้าทอแต่ละผืนนับ
ได้ว่าเป็นงานศิลปะที่มีความประณีตละเอียดอ่อน เป็นมรดกอันลํ้าค่าที่คนรุ่นหลัง
สมควรจะภาคภูมิใจและสืบสานความรู้เชื่อมต่อโยงไปสู่อนาคต เพื่อคนรุ่นลูกหลาน
จะได้รับการสืบทอดต่อ ๆ ไปในวันข้างหน้า (อัจฉรี จันทมูล, 2549 : 1)
การประกอบอาชีพเกษตรกรรมควบคู่กับงานหัตถกรรม กล่าวคือ ทำ�นา
ทำ�สวน เลี้ยงสัตว์ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกฝ้าย ปั้นหม้อ ตีเหล็ก ทอผ้า ทอเสื่อ
และงานหัตถกรรมจักสานเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่น กระบุง ตะกล้า กระด้ง
กระติบข้าว เป็นต้น ผลตอบแทนที่ได้จากการผลิต คือ ข้าว อาหาร ของใช้ เครื่อง
นุง่ ห่ม หรือปัจจัยสีซ่ งึ่ เพียงพอสำ�หรับใช้ในครัวเรือน การประกอบอาชีพทัง้ สองอย่าง
นี้ เป็นวิถีการผลิตที่ชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติมาเกื้อหนุน ซึ่งได้อาศัยความรู้ที่
เกิดจากการสะสมประสบการณ์ของกลุ่มชนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นกลาย
เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอเสื่อถือเป็นงานหัตถกรรมชนิดหนึ่งที่คลุกคลีกับคนใน
ท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน โดยลวดลายส่วนใหญ่ในอดีตยังไม่นิยมใช้สีสันเท่าที่ควร
เนือ่ งจากจุดประสงค์ของการทอเสือ่ ดัง้ เดิมเพือ่ ประโยชน์ใช้สอยในบ้านเรือนเท่านัน้
ในการใช้ลวดลายสีสนั ในเสือ่ แต่ละผืนจึงมีการย้อมสีของเส้นกกบ้างในบางส่วน สลับ
กับเส้นกกที่ไม่ย้อมสีเลย หรือในเสื่อแต่ละผืน ไม่ได้ย้อมสีของเส้นกกเลยทั้งผืน สีท ี่
ใช้ย้อมเส้นกกเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีเหลืองได้จากขมิ้น สีแดงได้จาก
มูลครัง่ เป็นต้น การทอเสือ่ ใช้ผทู้ อ 2 คนช่วยกันทอ คนที่ 1 เรียกว่า ผูส้ ง่ กกจะนัง่ อยู่
ข้างนอกโครงกี่ทอเสื่อ ทำ�หน้าที่คอยสอดเส้นกก และคนที่ 2 เรียกว่า ผู้กระแทกฟืม

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 43

ทำ�หน้าทีจ่ บั ฟืมพลิกควํา่ ลงและหงายขึน้ ให้ผสู้ ง่ กกคอยสอดเส้นกก และกระแทกฟืม


ทอเส้นกกเข้ากันให้แน่น แล้วพันริมกันขอบเส้นกกหลุด ซึง่ เรียกว่า “การตลบขอบ”
หรือเรียกตามภาษาอีสานว่า “ไพ” ปฏิบตั เิ ช่นนีไ้ ปตลอดจนสำ�เร็จเป็นผืน ขัน้ ตอนการ
ทอเสือ่ จึงจำ�เป็นต้องมีผทู้ อร่วมกัน 2 คน ซึง่ แสดงถึงความสามัคคีของคนทีอ่ าศัยอยู่
ภายในชุมชนเดียวกัน และการทอเสื่อถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกสืบทอดกันมา
แต่ช้านานจวบจนถึงปัจจุบัน
จากเหตุผลดังกล่าวผู้สร้างสรรค์ได้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์
ผลงานศิลปะจิตรกรรมสือ่ ผสม (Mixed Media Painting) แนวเรือ่ ง รอยวัฒนธรรม
อีสาน เพื่อสะท้อนความรู้สึกในแง่สายใย ความผูกพัน ความสามัคคี ภายใต้กรอบ
วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิน่ อีสาน โดยใช้วสั ดุจากธรรมชาติในท้องถิน่ คือ ต้นกก
และเทคนิคกระบวนการด้านงานหัตถกรรมอีสาน เช่น กระบวนการทอเสื่อ ผสม
ผสานกับการสอด การส่าน ของต้นกกสร้างเป็นรูปทรงแบบนามธรรม (Abstract)
โดยกำ�หนดรูปทรงมาจากจินตนาการ ความรู้สึก ความประทับใจในสภาพแวดล้อม
ของอำ�เภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่ผู้สร้างสรรค์อาศัยอยู่ตั้งแต่
วัยเยาว์ จากรูปทรงเดิมของเสือ่ ทีถ่ กู ผลิตขึน้ เพือ่ ประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือน ทัง้ หมด
ถูกนำ�มาลดทอนรูปทรงเหลือเพียงสาระรูปทรงเป็นแบบนามธรรม (Abstract) ที่
มีความหมายในด้านศิลปะสื่อสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นบ่งบอกถึงรอย
วัฒนธรรมอีสาน เพราะเสื่อที่ทอในแต่ละผืนจะไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่เสื่อผืน
หนึง่ เท่านัน้ แต่ในเสือ่ ผืนนัน้ ยังหล่อหลอมไว้ดว้ ยวิถชี วี ติ วัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาความ
สามารถ ความชำ�นาญของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย

แนวความคิด
คุณค่าความดีงามของวัฒนธรรมอีสาน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน
ท้องถิ่นที่มีความผูกพันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติมาอย่างยาวนาน ชาวบ้านรู้จัก
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์งานด้านหัตถกรรมให้เกิดประโยชน์
ใช้สอยในการดำ�เนินชีวติ และในการประกอบอาชีพโดยอาศัยการใช้ภมู ปิ ญ
ั ญาท้องถิน่
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
44 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

งานด้านหัตถกรรมถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การทอ
เสือ่ เป็นหนึง่ ในงานหัตถกรรมทีค่ ลุกคลีกบั คนในท้องถิน่ มายาวนาน เส้นกกจากหนึง่
เส้นเล็ก ๆ ถูกถักทอรวมกันกลายเป็นผืนเดียวกันอย่างแน่นแฟ้น สะท้อนถึงวิถีชีวิต
ของคนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันที่มีความรักและความผูกพัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกัน
และกัน วิถชี วี ติ ดังกล่าวถูกหล่อหลอมด้วยกาลเวลามายาวนานก่อเกิดเป็นความงาม
ของรอยวัฒนธรรมอีสาน โดยแสดงออกเป็นผลงานศิลปะจิตรกรรมสือ่ ผสม (Mixed
Media Painting) เทคนิคย้อมสี การถักทอ การผูกมัด การสอด การสาน ของเส้นกก
และใช้กรรมวิธขี องกระบวนการทอเสือ่ มาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะทีใ่ ห้ความรูส้ กึ
ทางสุนทรียศาสตร์

ความมุ่งหมายของการสร้างสรรค์
1. เพื่อศึกษากระบวนการทอเสื่อกก ซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของคนในท้อง
ถิ่นอีสาน และเทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุธรรมชาติผ่าน
กระบวนการด้านงานหัตถกรรมอีสาน
2. เพือ่ สร้างสรรค์ผลงานทีแ่ สดงออกถึงรอยวัฒนธรรมอีสานผ่านทัศนธาตุ
ต่าง ๆ ทางศิลปะเกิดเป็นผลงานศิลปะจิตรกรรมสือ่ ผสม (Mixed Media Painting)

ขอบเขตของการสร้างสรรค์
1. ขอบเขตของแนวเรือ่ ง (Theme) คุณค่าความดีงามของวัฒนธรรมอีสาน
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นที่มีความผูกพันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ชาวบ้านรู้จักใช้ทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์งานด้านหัตถกรรมให้
เกิดประโยชน์ใช้สอยในการดำ�เนินชีวิตและในการประกอบอาชีพ โดยอาศัยการใช้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การทอเสื่อเป็นหนึ่งในงานหัตถกรรม
ที่คลุกคลีกับคนในท้องถิ่นมายาวนาน เส้นกกจากหนึ่งเส้นเล็ก ๆ ถูกถักทอรวมกัน
กลายเป็นผืนเดียวกันอย่างแน่นแฟ้น สะท้อนถึงการใช้วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
ก่อเกิดคุณค่าความงามของรอยวัฒนธรรมอีสาน
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 45

2. ขอบเขตของรูปทรง (Form) กำ�หนดรูปทรงมาจากรูปทรงเดิมของเสือ่


ทั้งหมดถูกนำ�มาดัดแปลงลดทอนรูปทรงเหลือเพียงสาระรูปทรงเป็นแบบนามธรรม
(Abstract) ทีม่ คี วามหมายในด้านศิลปะ สือ่ สะท้อนถึงวิถชี วี ติ ของคนในท้องถิน่ โดย
ใช้ทัศนธาตุของเส้น และสี เป็นตัวกำ�หนดรูปทรง คือลักษณะของการใช้เส้นที่มีทั้ง
เส้นตั้งและเส้นนอนผสมผสานกันอยู่ในชิ้นงาน รวมถึงการนำ�เอาวัสดุจากธรรมชาติ
คือ ต้นกก มาใช้เป็นวัสดุหลักของผลงาน เส้นกกมีการย้อมสีโทนนํ้าตาลที่ให้
ความรู้สึกถึงความอบอุ่น นอกจากนี้ยังกำ�หนดรูปทรงโดยการจัดองค์ประกอบของ
เส้นให้มคี วามหนา-บาง สลับกัน และการเว้นระยะห่างของเส้น เพือ่ ถ่ายทอดถึงช่วง
กาลเวลาของวัฒนธรรมอีสาน
3. ขอบเขตของเทคนิคและกระบวนการ (Technique & Process)
เป็นการสร้างสรรค์ศิลปะประเภท จิตรกรรมสื่อผสม (Mixed Media Painting)
โดยใช้วัสดุต้นกกมาสอยออกเป็นเส้น ย้อมสี แล้วสร้างรูปทรงด้วยเทคนิคการถักทอ
การผูกมัด การสอด การสาน การบีบทับของเส้นหรือการเว้นระยะของเส้นกก
ผ่านกระบวนการทอเสือ่ ลักษณะการเรียงตัวของเส้นกกทีแ่ ตกต่างกัน การทอซํา้ กัน
หลาย ๆ ครัง้ และการเว้นช่องว่างให้เห็นจังหวะของเส้น เพือ่ แสดงความรูส้ กึ ทีด่ งี าม
และความผูกพันของวัฒนธรรมอีสาน

วิธีดำ�เนินการสร้างสรรค์
วิธดี �ำ เนินการสร้างสรรค์ เป็นขัน้ ตอนหนึง่ ซึง่ มีการกลัน่ กรองเพือ่ ให้ได้บรรลุส ู่
เป้าหมาย โดยมีขั้นตอนในการดำ�เนินการ ดังนี้
1. ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ตรงในวัยเยาว์ของผูส้ ร้างสรรค์
และข้อมูลจากหนังสือ ผลงานศิลปนิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ทเี่ กีย่ วข้อง และเอกสาร
ที่เกี่ยวกับ วัฒนธรรมการถักทอบนแผ่นดินอีสาน เอกลักษณ์การถักทอ ทฤษฎีทาง
สุนทรียศาสตร์ องค์ประกอบศิลป์ ศิลปะสื่อผสม (Mixed Media) และข้อมูลจาก
ผลงานการสร้างสรรค์ของศิลปินที่มีอิทธิพลด้านแนวเรื่อง ด้านรูปทรง ด้านเทคนิค
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
46 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิธีการ เกี่ยวกับวัฒนธรรมอีสาน นำ�ข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวความคิด


รวบยอด รูปทรง รวมทั้งวัสดุและกลวิธี
2. ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 การวิเคราะห์หาความชัดเจนของแนวเรือ่ ง จากแรงบันดาลใจใน
ประสบการณ์ตรงของผูส้ ร้างสรรค์ วิถชี วี ติ ของคนในท้องถิน่ อีสานเป็นวิถกี ารดำ�เนิน
ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่มีความผูกพันระหว่าง
มนุษย์กับธรรมชาติมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบสงบเรียบง่าย พึ่งพาอาศัย
ซึง่ กันและกัน ภายใต้กรอบวัฒนธรรมอันดีงาม การถักทอของเส้นกกจากส่วนเล็ก ๆ
จนกลายเป็นผืนเดียวกันอย่างแน่นแฟ้น และการทอเสือ่ นัน้ จำ�เป็นต้องมีสองคนช่วย
กันทอจนเป็นผืน ซึ่งสะท้อนถึงการใช้วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นเดียวกันที่มีความรัก
ความสามัคคี และความผูกพัน ก่อเกิดคุณค่าความงามของวัฒนธรรมอีสาน
2.2 การวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปทรงสัญลักษณ์ รูปทรงที่สร้างขึ้นเป็น
แบบนามธรรม (Abstract) ถูกนำ�มาดัดแปลงลดทอนจากรูปทรงเดิมของเสือ่ จนเหลือ
เพียงรูปทรงที่แสดงสาระความดีงามของวัฒนธรรมอีสาน โดยใช้ทัศนธาตุของเส้น
และสี เป็นตัวกำ�หนดรูปทรง คือลักษณะของการใช้เส้นที่มีทั้งเส้นตั้ง เส้นนอนและ
เส้นโค้งผสมผสานกันอยู่ในชิ้นงาน รวมถึงการนำ�เอาวัสดุจากธรรมชาติ คือ ต้นกก
ย้อมสีโทนนํา้ ตาลมาใช้เป็นวัสดุหลักของผลงาน นอกจากนีย้ งั กำ�หนดรูปทรงโดยการ
จัดองค์ประกอบของเส้นให้มคี วามหนา-บาง สลับกัน และการเว้นระยะห่างของเส้น
เพื่อถ่ายทอดถึงช่วงกาลเวลาของวัฒนธรรมอีสาน
2.3 การวิเคราะห์เพื่อค้นหาเทคนิคและกลวิธี เพื่อตอบสนองแนว
เรื่อง การกำ�หนดวัสดุในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสื่อผสม (Mixed Media
Painting) คือการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น คือ ต้นกก นำ�มาสร้างสรรค์
เกิดเป็นผลงานด้านศิลปะผ่านกระบวนการงานด้านหัตถกรรมอีสาน โดยใช้เทคนิค
การย้อมสี การถักทอ การสอด การสาน การบีบทับของเส้นหรือการเว้นระยะห่าง
ของเส้นกกในผลงาน นอกจากนีผ้ สู้ ร้างสรรค์ยงั ได้ทดลองด้านวัสดุ ด้านรูปทรง และ
ด้านเทคนิคกระบวนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของผลงาน และผลงานมีความ
สอดคล้องเหมาะสมกับแนวเรื่องให้ได้มากที่สุด
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 47

3. ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน
3.1 การจัดทำ�ข้อมูลให้เป็นภาพร่าง โดยการนำ�เอาข้อมูลทีไ่ ด้จากการ
ศึกษาข้อมูลจากสภาพแวดล้อม และข้อมูลจากเอกสาร มาวิเคราะห์หารูปทรง โดย
คำ�นึงถึงแนวความคิด เพิ่มเติม แก้ไข เพื่อพร้อมที่จะนำ�ไปขยายในการสร้างสรรค์
ผลงานจริง การหาข้อมูลและการเก็บรวมรวบข้อมูลจากประสบการณ์ในวัยเยาว์ที่
มีความผูกพัน ซึมซับ ในรูปแบบของการดำ�รงชีวิตที่เรียบง่ายของผู้คนในท้องถิ่น จึง
นับว่าเป็นข้อมูลที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้สร้างสรรค์เกิดจินตนาการสร้างสรรค์ผลงาน
แล้วเริม่ ร่างรูปทรงต่าง ๆ ลงบนกระดาษ ด้วยดินสอ โดยใช้หลักการจัดองค์ประกอบ
ศิลป์ เช่น การเลือกใช้สี เส้น รูปร่าง รูปทรง พืน้ ผิว พืน้ ทีว่ า่ ง หลักการสร้างดุลยภาพ
แบบสมมาตร และหลักความกลมกลืน แล้วระบายสีด้วยดินสอสีไม้ ให้ได้ภาพร่างที่
สมบูรณ์สามารถตอบสนองแนวคิดได้
3.2 ขัน้ ตอนการขยายภาพร่าง นำ�เอาวัสดุจริงมาสร้างสรรค์ตามภาพ
ที่ร่างไว้ โดยขณะที่สร้างสรรค์ผลงานมีการปรับเปลี่ยน แก้ไข ตัดทอน และปรับปรุง
ผลงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อหาความเหมาะสมของผลงานที่สอดคล้องกับความมุ่ง
หมายมากที่สุด โดยการผสมผสานกระบวนการทอเสื่อและกระบวนการงานด้าน
หัตถกรรมท้องถิ่นอื่น ๆ เข้าด้วยกันเกิดเป็นผลงานศิลปะจิตรกรรมสื่อผสม (Mixed
Media Painting)
3.3 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานจริง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
จิตรกรรมสื่อผสม (Mixed Media Painting) มีกระบวนการที่เป็นขั้นตอนและได้
กำ�หนดกระบวนการต่าง ๆ จากการกำ�หนดภาพร่างแล้วจึงนำ�เอาวัสดุตา่ ง ๆ ทีเ่ ตรียม
ไว้ เช่น ต้นกก วัสดุจากธรรมชาติ เหล่านี้นำ�มาประกอบกันตามอย่างกรรมวิธีที่เป็น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาทิเช่น การย้อมสี การถักทอ สอดสาน การแทรก กระบวนการ
สร้างสรรค์ผลงานมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ เพื่อให้เหมาะสมกับแนวทางตามจุด
มุ่งหมายที่ต้องการศึกษาค้นคว้าของผลงานให้มากที่สุด

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


48 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพประกอบ 1 ชื่อภาพ รอยวัฒนธรรมอีสาน # 1


เทคนิค การถักทอ การผูกมัด การสาน การสอด
ขนาด 200 x 180 เซนติเมตร

ภาพประกอบ 2 ชื่อภาพ รอยวัฒนธรรมอีสาน # 2


เทคนิค การถักทอ การผูกมัด การสาน การสอด
ขนาด 220 x 200 เซนติเมตร

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 49

ภาพประกอบ 3 ชื่อภาพ รอยวัฒนธรรมอีสาน # 3


เทคนิค การถักทอ การผูกมัด การสาน การสอด
ขนาด 200 x 170 เซนติเมตร

ภาพประกอบ 4 ชื่อภาพ รอยวัฒนธรรมอีสาน # 4


เทคนิค การถักทอ การผูกมัด การสาน การสอด
ขนาด 200 x 180 เซนติเมตร
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
50 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพประกอบ 5 ชื่อภาพ รอยวัฒนธรรมอีสาน # 5


เทคนิค การถักทอ การผูกมัด การสาน การสอด
ขนาด 120 x 600 เซนติเมตร

4. ขั้นตอนการเผยแพร่ผลงาน
4.1 การเขียนเอกสารประกอบการสร้างสรรค์ การเขียนเอกสาร
ประกอบการสร้างสรรค์ เพือ่ อธิบายถึง ทีม่ า จุดมุง่ หมาย ขอบเขต และวิธกี าร ตลอดจน
ผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากการสร้างสรรค์ และเป็นหลักฐานทางวิชาการของหลักสูตร
ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเป็นเอกสาร
สำ�หรับผู้ศึกษาต่อไป
4.2 การเผยแพร่ผลงานในรูปแบบนิทรรศการ การเผยแพร่ผลงานใน
รูปแบบนิทรรศการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือตีพมิ พ์ผลงาน ลักษณะบทความ
ในวารสารวิชาการระดับชาติ

สรุปผลการสร้างสรรค์
การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ แนวเรือ่ ง รอยวัฒนธรรมอีสาน แสดงออก
เป็นผลงานศิลปะจิตรกรรมสื่อผสม (Mixed Media Painting) ผู้สร้างสรรค์ได้มุ่ง
แสดงออกถึง ความงามของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นที่มีชีวิตความ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 51

เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
ชาวบ้านรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์งานด้านหัตถกรรมให้
เกิดประโยชน์ใช้สอยในการดำ�เนินชีวิตและในการประกอบอาชีพโดยอาศัยการใช้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานด้านหัตถกรรมถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดจาก
รุน่ สูร่ นุ่ เส้นใยจากต้นกกหนึง่ เส้นเล็ก ๆ ถูกถักทอรวมกันเป็นผืนเดียว เปรียบเสมือน
วิถชี วี ติ ของคนทีอ่ าศัยอยูใ่ นท้องถิน่ เดียวกันทีม่ คี วามรักและความผูกพัน พึง่ พาอาศัย
ซึ่งกันและกัน วิถีชีวิตดังกล่าวถูกหล่อหลอมด้วยกาลเวลามาอย่างยาวนานก่อเกิด
เป็นวัฒนธรรมอันดีงาม ดังนั้นในการสร้างสรรค์ผลงานจึงได้ทำ�การศึกษาค้นคว้า
ข้อมูลจากหนังสือ ตำ�รา และเอกสารที่เกี่ยวกับ วัฒนธรรมการถักทอบนแผ่นดิน
อีสาน เอกลักษณ์การถักทอ สีสนั และลวดลายการถักทอ ทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์
องค์ประกอบศิลป์ ศิลปะสือ่ ผสม (Mixed Media) และอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรม
เพือ่ ทำ�การวิเคราะห์ดา้ นแนวเรือ่ ง การทดลองสร้างสรรค์ทงั้ ด้านรูปทรง และด้านวัสดุ
โดยความหมายของวัสดุที่ไม่ได้ให้ความหมายของวัสดุใหม่ ดัง เกษม ก้อนทอง ได้
กล่าวว่า ให้เห็นถึงร่องรอยของการใช้งานอันยาวนาน ซึ่งสามารถแปรเปลี่ยนคุณค่า
ของวัสดุ จากวัสดุที่มีประโยชน์ในการใช้งานเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นวัสดุทาง
วัฒนธรรมทีเ่ ต็มเปีย่ มไปด้วยชีวติ และคุณค่าทางความรูส้ กึ โดยวัสดุและเทคนิควิธกี าร
นั้นเปรียบได้กับการหล่อหลอมไว้ด้วยวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาความสามารถ
ความชำ�นาญของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นตามกาลเวลา

อภิปรายผล
ในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ผู้สร้างสรรค์ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานตาม
กระบวนการอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ผลงานเป็นระยะ ๆ จนเกิดพัฒนาการ
ตามลำ�ดับ สามารถอธิปรายผลได้ดังนี้
ข้อค้นพบใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์
1. ความรู้สึกที่บริสุทธิ์ ความผูกพัน ความประทับใจในความงามของ
วิถีชีวิตคนในท้องถิ่นอีสาน ซึ่งถือเป็นสิ่งมีคุณค่าทางจิตใจและประวัติศาสตร์ทาง
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
52 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัฒนธรรมทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิน่ ทีส่ ามารถนำ�มาใช้กล่อมเกลาจิตใจให้เกิดความ


สุข ความอบอุน่ สายใยสัมพันธ์ของคนในท้องถิน่ เดียวกัน แสดงออกผ่านกระบวนการ
งานด้านหัตถกรรมการทอเสื่อ และเทคนิควิธีการผสมผสานของกระบวนการทาง
หัตถกรรมอืน่ ๆ รวมกัน ถ่ายทอดความงามด้านทัศนศิลป์ผา่ นทัศนธาตุของเส้น และสี
ทีไ่ ม่เพียงเป็นการถ่ายทอดสาระความดีงามของวัฒนธรรม แต่รอยวัฒนธรรมคือการ
ถ่ายทอดความดีงามจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งปัจจุบันกำ�ลังเลือนหายไป
2. เส้น ผูส้ ร้างสรรค์เลือกใช้เส้นทีไ่ ด้จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิน่ เป็นหลัก
คือ เส้นกก ลักษณะของเส้นมีทั้งเส้นตั้ง เส้นนอน และเส้นโค้ง ผสมผสานกันอยู่ใน
ชิ้นงาน รวมถึงการแสดงออกของเส้นที่มีจังหวะของเส้นที่ขาดหาย และเส้นที่หนา
ทึบ แต่ละเส้นสือ่ ความหมายของช่วงเวลาการดำ�เนินวิถชี วี ติ ของคนในท้องถิน่ ทีม่ มี า
อย่างยาวนาน และถูกผันแปรปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา เกิดมิติทางสังคมที่ดีงาม
3. สี ในผลงานวิทยานิพนธ์ชุดนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้เลือกใช้สีโทนนํ้าตาล ซึ่ง
เป็นสีที่มีลักษณะคล้ายสีของดินอีสาน เพื่อแสดงออกถึงความเป็นพืน้ ถิ่นอีสาน และ
สีโทนนํ้าตาลยังเป็นสีที่แสดงออกถึงความรัก ความอบอุ่น ของคนในท้องถิ่น
4. วัสดุ ในผลงานก่อนวิทยานิพนธ์และผลงานวิทยานิพนธ์ผู้สร้างสรรค์
นำ�วัสดุจากธรรมชาติทอ้ งถิน่ อีสาน มาถ่ายทอดแสดงออกถึงร่องรอยของวัฒนธรรม
อีสาน โดยนำ�วัสดุท้องถิ่น คือ ต้นกกมาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้านศิลปะขั้นสูงที่มี
อัตลักษณ์เฉพาะตน สามารถสือ่ ให้ผชู้ มผลงานเกิดความซาบซึง้ ในคุณค่าของศิลปะ
และสะท้อนให้เห็นถึงร่องรอยทางวัฒนธรรมที่มีความผูกพัน ความประทับใจใน
ความงามของวิถีชีวิตคนในท้องถิ่นอีสาน ซึ่งถือเป็นสิ่งมีคุณค่าทางจิตใจและถือเป็น
ประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
5. เทคนิควิธกี าร ผูส้ ร้างสรรค์ได้น�ำ ส่วนประกอบทางรูป คือ เส้น นํา้ หนัก
ที่ว่าง สี ลักษณะพื้นผิว และส่วนประกอบทางวัสดุ คือ วัสดุจากธรรมชาติ
ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ผสมผสานกับกระบวนการงานด้านหัตถกรรมท้องถิ่น โดยนำ�เอา
กระบวนการงานหัตถกรรมการทอเสื่อมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน การนำ�เส้นกก
มาทอเข้าด้วยกันทั้งผืน เป็นการถักทอโดยสร้างรูปทรงใหม่ มีการสร้างช่องว่างที่

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 53

ขาดหายไปด้วยการตลบขอบ และการกำ�หนดเส้นให้มกี ารเคลือ่ นไหว บางช่วงมีการ


กดทับของเส้นให้แน่น บางช่วงดึงเส้นให้โผล่ขึ้นมาจากผลงาน และการสอดแทรก
ของผลงานให้เกิดมิติ เพื่อถ่ายทอดให้เห็นช่วงเวลาของวิถีชีวิตที่มีสาระเกิดเป็นรอย
วัฒนธรรมอีสาน

ข้อเสนอแนะ
จากการสร้างสรรค์ผลงานทางทัศนศิลป์ แนวเรื่อง รอยวัฒนธรรมอีสาน
ผู้สร้างสรรค์ได้ทำ�การศึกษาค้นคว้าข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับแนว
เรือ่ ง รูปทรง และเทคนิควิธกี ารของผลงานตนเองในทุกกระบวนการอย่างถีถ่ ว้ น จน
สามารถเกิดเป็นผลงานจิตรกรรมสื่อผสม (Mixed Media Painting) ที่มีลักษณะ
เฉพาะตน สามารถสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกตามความมุ่งหมายที่ผู้สร้างสรรค์
ต้องการถ่ายทอด และสามารถเป็นแนวทางความรู้ส�ำ หรับผู้ที่มีความสนใจในการ
สร้างสรรค์ผลงานประเภทจิตรกรรมสื่อผสม (Mixed Media Painting) รูปแบบ
นามธรรม (Abstract) หรือในแนวเรือ่ งทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับวิถชี วี ติ คนในท้องถิน่ อีสาน
หรือการใช้เทคนิค และวิธีการประเภทเดียวกัน และนอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานที่ควรพิจารณาในรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
1. การเริ่ ม ต้ น สร้ า งสรรค์ ผ ลงานควรมี ก ารเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล อย่ า งลึ ก ซึ้ ง
พิจารณาในภาพรวมของความเป็นตัวตนของผู้สร้างสรรค์ให้ดีก่อนจะตัดสินใจว่าจะ
ทำ�งานรูปแบบใด รวมถึงการกำ�หนดแนวความคิดให้ชดั เจน การศึกษาสภาพแวดล้อม
ในท้องถิน่ ทีเ่ ราศึกษาตามความเป็นจริง กับความรูส้ กึ ภายในของผูส้ ร้างสรรค์ และทำ�
ภาพร่างก่อนปฏิบัติงานจริงทุกครั้ง นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงการมีความลุ่มลึก
ในส่วนสำ�คัญของกระบวนการสร้างสรรค์ในทุก ๆ ส่วน เช่น การกำ�หนดแนวเรื่อง
รูปทรง เทคนิคกระบวนการ และวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงาน
2. การใช้วสั ดุในผลงาน ต้องเข้าใจความหมายของตัววัสดุกอ่ น และไม่ตอ้ ง
ให้ความหมายใหม่กับวัสดุ เพราะในตัววัสดุเองมีความหมายอยู่แล้ว ถ้าเราให้ความ
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
54 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายใหม่กับวัสดุ ผลปรากฏที่ได้อาจยากต่อการเข้าถึงผลงานตามความมุ่งหมายที่
ต้องการถ่ายทอดก็ได้ เนื่องจากการรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่พบเห็นของแต่ละบุคคล
นั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิหลังและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
3. ในการเลือกใช้เทคนิค จะต้องมีความสอดคล้องกับแนวเรือ่ งทีต่ อ้ งการ
สร้างสรรค์และผู้สร้างสรรค์ควรหมั่นทดลองหาเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานอยู่
เสมอ จะทำ�ให้เกิดพัฒนาการ ได้มาซึ่งทักษะกระบวนการค้นพบสิ่งใหม่ และความ
เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตนในที่สุด
จากการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจิตรกรรมสื่อผสม (Mixed Media
Painting) แนวเรื่อง รอยวัฒนธรรมอีสาน นี้ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุง
ในแต่ละช่วงระยะของการสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ผลงานตรงตามความมุ่งหมายมาก
ที่สุด ในการสร้างสรรค์ได้ใช้รูปแบบนามธรรม (Abstract) เทคนิคเส้นใยจากวัสดุ
ธรรมชาติ คือ ต้นกก จนเกิดเป็นผลงานทัศนศิลป์ โดยการย้อนนึกถึงความประทับใจ
ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นอีสาน สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าความงาม
ของวัฒนธรรมอีสาน วิถีชีวิตของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน ถูกหล่อหลอม
รวมกันด้วยกาลเวลาก่อเกิดเป็นสาระความดีงามของวัฒนธรรมอีสานที่ถูกถ่ายทอด
จากรุน่ สูร่ นุ่ วิทยานิพนธ์ฉบับนีเ้ ป็นผลงานการสร้างสรรค์ทางด้านความคิดสร้างสรรค์
และจากประสบการณ์ทผี่ สู้ ร้างสรรค์ได้รบั การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งจากคณะกรรมการ
อาจารย์ที่ปรึกษา จนตรงตามความมุ่งหมายของการสร้างสรรค์ผลงานมากที่สุด
กระนัน้ การสร้างสรรค์ผลงานยังต้องมีการค้นหา แก้ไข และปรับปรุง เพือ่ นำ�ไปสูก่ าร
พัฒนาในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอยู่ตลอดเวลา

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 55

เอกสารอ้างอิง
เกษม ก้อนทอง. 2549. ศิลปะสื่อประสม. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
ชลูด นิม่ เสมอ. 2544. องค์ประกอบศิลป์. พิมพ์ครัง้ ที่ 6. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำ�นักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกับ สถาบันวิจัย
ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2547. ผ้าไหม
อีสาน ความอลังการของแพรพรรณ. ขอนแก่น : ธนาคารแห่งประเทศไทย
สำ�นักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
พิทกั ษ์ น้อยวังคลัง. 2544. การวิจยั ทางทัศนศิลป์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
ศุ ภ ชั ย สิ ง ห์ ย ะบุ ศ ย์. 2546. สุ น ทรี ย ศาตร์ ใ นงานทั ศ นศิ ล ป์ . มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัจฉรี จันทมูล และบุญชู ศรีเวียงสา. 2549. ลวดลายและการพัฒนาศักยภาพ
ภูมิปัญญาต่อการจัดการผ้าทอพื้นบ้านที่ส่งผลเสริมสร้างความเข้มแข็ง
และการพึง่ ตนเองแก่ชมุ ชนท้องถิน่ : ศึกษากรณีผา้ ลายสร้อยดอกหมาก
ในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจยั
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


ระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น
2 มิติร่วมสมัย

System and Process of Contemporary 2
Dimensional Animated Film Production

นิพนธ์ คุณารักษ์1
Niphon Kunaruck

บทคัดย่อ
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนระบบและกระบวนการผลิต
ไปตามสภาพการเปลีย่ นแปลงทางเทคโนโลยี การแข่งขันทางด้านการผลิต และการ
เปลีย่ นแปลงของโลก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามามีบทบาทสำ�คัญอย่างมาก
ในการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น แต่รูปแบบภาพยนตร์แอนิเมชั่นแบบ 2 มิติยังคง
ได้รับความนิยมสูงไม่เปลี่ยนแปลงและมีการยกระดับคุณภาพทางภาพสูงขึ้นอย่าง
ชัดเจนถือเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางภาพในภาพยนตร์แอนิเมชัน่ อันเกิดจาก
ระบบและกระบวนการผลิตของภาพยนตร์แอนิเมชัน่ 2 มิตแิ บบร่วมสมัยในปัจจุบนั

1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นักศึกษาปริญญาเอก สาขานิมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 57

Abstract
Animated film industries in the world have been modifying
systems and processes to meet changing conditions : Technological
Changes, Production Challenges, and Global Shifts. Computer
graphics technology have came a very important role in the production
of animated film. But 2 Dimensional Animated Film still popular, do not
have changing and its improving to the high quality of the visuals as
innovation and technology in animated film. Arising from the system
and process of contemporary 2D animated film production in present.

บทนำ�
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นในปัจุบัน ได้รับความนิยมและมีการเติบโตมากขึ้นใน
ตลาดและสือ่ ทีข่ ยายตัว เพิม่ ขึน้ เช่น โทรทัศน์ เคเบิลทีวี วีดทิ ศั น์ และสือ่ อินเตอร์เน็ท
และจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก.
การขยายวงกว้างของตลาดผลิตภัณฑ์และการบริโภคภาพยนตร์แอนิเมชั่น ทำ�ให้
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นมีการผลิตและมีการรับชมในประเทศต่างๆ มากขึ้น นับว่า
เป็นการเกิด “โลกใหม่ของการผลิต” ที่ทำ�ให้เกิดระบบและกระบวนการผลิต
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่มีความเฉพาะและแตกต่างจากการผลิตภาพยนตร์ที่ใช้
คนแสดง (Live Action) โดยขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี, ทักษะของแรงงานที่แตกต่าง
กันและมีสถานที่ที่ผลิตที่แตกต่างจากการผลิตภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงเป็นผลมา
จากโลกาภิวัตน์ แม้ว่าทั้งภาพยนตร์แบบที่ใช้คนแสดงและภาพยนตร์แอนิเมชั่น
จะมีโครงสร้างและเครือข่ายการผลิตขนาดใหญ่ โดยกลุม่ บริษทั สือ่ ทัว่ โลกเช่นเดียวกัน
ก็ตาม (Yoon. 2008)
ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนิเมชัน่ 3 มิติ (3D Graphics and Anima-
tion) ได้ถูกนำ�มาใช้และมีบทบาทสูงในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ และภาพยนตร์

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


58 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แอนิเมชั่น รวมทั้งงานอื่นๆ อย่างหลากหลาย (Giambruno,1997; p11-15) แต่


กระบวนผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นในปัจจุบันนั้น ก็ยังมีความแตกต่างกันไปตาม
ลักษณะเฉพาะของสตูดิโอ ตามขนาดของหน่วยผลิต(production unit) ตาม
ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรม,และตามประเภท,
ลักษณะหรือเทคนิคการผลิตผลงานภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เช่น ภาพยนตร์แอนิเมชั่น
เทคนิค 3 มิติ กับ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเทคนิค 2 มิตินั้น มีความแตกต่างในระบบ
และกระบวนการผลิตอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีระบบดิจิทัลเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่ง
ในการผลิตก็ตาม
จากระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นประเภท 2 มิติแบบ
ดั้งเดิม (Traditional Ani-mation) ได้เปลี่ยนแปลงวิวัฒน์สู่ระบบและกระบวนการ
ผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นประเภท 2 มิติแบบดิจิทัล (Digital Animation) จากการ
ตัดเส้นหมึกด้วยมือ (Tracing) และระบายสีลงโดยตรงบนแผ่นเซล (Cel) ได้แปร
เปลีย่ นเป็นการสร้างเส้นและระบายสีดว้ ยสัญญาณดิจทิ ลั แทน จากการถ่ายลงฟิลม์ ที
ละภาพและตัดต่อฟิลม์ ด้วยมือ สามารถใช้ระบบดิจติ อลในการประมวลผลภาพแทน
ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดทรัพยากรการผลิตได้มากกว่า
แม้ว่าระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกแอนิเมชั่น 3 มิติจะมีบทบาทสูงมากใน
กระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน่ ทัว่ โลกในปัจจุบนั แต่สตูดโิ อผูผ้ ลิตจำ�นวนมาก
ยังคงผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นประเภท 2
มิติอยู่อย่างเหนียวแน่นมั่นคง และใช้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกแอนิเมชั่น
3 มิติ เป็นเพียงเพื่อสนับสนุนหรือเสริมให้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นประเภท 2 มิตินั้น
สามารถผลิตได้ ง่าย รวดเร็ว ประหยัด และมีความสมบูรณ์สวยงามมากขึ้น ดังจะ
เห็นได้จากผลงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นประเภท 2 มิติชั้นดีจำ�นวนมากจากประเทศ
ญี่ปุ่น ที่ผลิตและจำ�หน่าย แพร่กระจายอยู่ในตลาดโลก
เหตุ ผ ลสำ � คั ญ ที่ ส ตู ดิ โ อผู้ ผ ลิ ต ในประเทศญี่ ปุ่ น เกาหลี อเมริ ก า และ
ประเทศในยุโรป ยังคงผลิตงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นร่วมสมัยประเภท 2 มิติอย่าง
เหนียวแน่น และพัฒนาคุณภาพด้านภาพ เนือ้ เรือ่ ง รวมทัง้ นวัตกรรม เทคโนโลยี และ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 59

สุนทรียภาพด้านภาพยนตร์แอนิเมชั่นอย่างต่อเนื่องนั้น มาจากความเชื่อ ทัศนคติ


และรสนิยมที่ฝังลึกของผู้ผลิตและผู้ชมกลุ่มเป้าหมายที่เชื่อว่า ภาพยนตร์แอนิเมชั่น
ประเภท 2 มิติที่มนุษย์มีบทบาทและสร้างสรรค์นั้น มีความสวยงาม ให้คุณค่าทาง
อารมณ์ หรือมีสุนทรียภาพ มากกว่าภาพยนตร์แอนิเมชั่นประเภทคอมพิวเตอร์
กราฟิก 3 มิติล้วนๆ ที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของโปรแกรมและศักยภาพของระบบ
อุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก แม้จะมีมนุษย์เป็นผู้กำ�หนดหรือใช้งานก็ตาม
ดังทีก่ ล่าวแล้วว่า ระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน่ ประเภท
2 มิตแิ บบร่วมสมัยในปัจจุบนั นัน้ มีความแตกต่างแยกย่อยกันออกไป แต่สามารถสรุป
ภาพรวมระบบและกระบวนการผลิตได้ดังนี้ คือ
ระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นประเภท 2 มิติแบบ
ร่วมสมัยในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่เช่นเดียวกับระบบและกระบวนการ
ผลิตภาพยนตร์และภาพยนตร์แอนิเมชั่นโดยทั่วไป คือ 1) ขั้นวางแผนเตรียมการ
ผลิต(Pre-Production) 2) ขั้นการผลิต (Production) และ 3) ขั้นหลังการผลิต
(Post-Production) ซึ่งในรายละเอียดจะใช้ระบบและกระบวนผลิตของสตูดิโอใน
ประเทศญี่ปุ่น คือ Anime International Co,Inc.(AIC)(1982) มาเป็นแนวทางเพื่อ
การทำ�ความเข้าใจร่วมกัน ตามแบบจำ�ลองที่ประยุกต์ขึ้น (แบบจำ�ลองที่ 1) โดยมี
ระบบและกระบวนการผลิต ดังนี้คือ

1. ขั้นวางแผนเตรียมการผลิต(Pre-Production)
1.1 ขั้นกำ�หนดแนวคิดและโครงการผลิต
ในขั้นนี้ นับว่าเป็นขั้นตอนแรก จากความคิดริเริ่ม หรือมีแนวคิดที่จะ
ผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน่ หรือเป็นขัน้ มีแผนหรือการวางแผน (Planning) เพือ่ เตรียม
การผลิต การเริ่มต้นนั้นมี 2 ลักษณะ ด้วยกัน
- ลักษณะแรก คือ ได้แนวคิดหลักหรือความต้องการทีจ่ ะผลิตมาจาก
มีเรือ่ งต้นฉบับ (Original Author) อาจได้มาจากแอนิเมเตอร์หรือผูก้ ำ�กับฯ นำ�เสนอ
ผ่านผูอ้ �ำ นวยการสร้างหรือโปรดิวเซอร์ในสตูดโิ อผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน่ (Anima-

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


60 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

tion Production Studio) และเสนอแนวคิดหรือโครงการต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตฯ


(Production Companies) ที่ต้องการลงทุนผลิต
- ลักษณะที่สอง คือ บริษัท ผู้ผลิตฯมีความต้องการจะผลิตจะติดต่อ
ไปยังสตูดิโอผลิตฯ หรือติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์จากหนังสือการ์ตูน หรือ คอมมิคส์ หรือ
นวนิยาย เพื่อเป็นต้นเรื่องสำ�หรับการผลิต เป็นต้น

แบบจำ�ลองที่ 1 : ระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น 2 มิติร่วมสมัย


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 61

1.2) ขั้นวางแผนงานการผลิต
ในขัน้ ตอนนี้ จะเป็นขัน้ ตอนทีจ่ ะได้มา ซึง่ แนวคิด (Concept) เนือ้ เรือ่ ง
(Story) อันจะนำ�ไปสูก่ ารพัฒนาเป็นโครงการผลิตแอนิเมชัน่ (Project) ซึง่ ในขัน้ นีน้ นั้
จะมีการประชุมพิจารณาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง เช่น ผู้อำ�นวยการสร้าง
(Producer) ผูก้ �ำ กับ (Director) ฝ่ายการตลาด (Marketing) และฝ่ายอืน่ ๆ ฯลฯ เพือ่
พิจารณาความเหมาะสมของโครงการ, แผนงานการผลิตรวมทั้งแผนงานการตลาด
และแผนงานอืน่ ๆทีเ่ กีย่ วข้อง อย่างรัดกุมและครอบคลุม โดยการควบคุม กำ�กับดูแล
และอำ�นวยการผลิตของผู้อำ�นวยการสร้าง(Producer)
1.3) ขั้นกำ�หนดรูปแบบและเนื้อหาการผลิต
ในขั้นนี้ จะประกอบด้วยส่วนผลิตหลักๆ 2 ด้าน คือ
1.3.3) ด้านกำ�หนดเนื้อหาเรื่องราว(Scenario Writing) เป็นการ
เอาแนวคิดโครงเรื่อง และเรื่องราวหลัก มาพัฒนาเป็นบทภาพยนตร์แอนิเมชั่น
สตอรี่บอร์ด และ “แอนิเมชั่นจำ�ลอง” หรือที่เรียกกันว่า แอนิเมติก(Animetic) ผู้ที่
มีบทบาทสำ�คัญ คือ ผู้เขียนบท (Scripts/ Scenario Writer), ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด
(Storyboarder) และผู้กำ�กับภาพยนตร์แอนิเมชั่น(Director) และหากผู้กำ�กับฯ
นั้นมีความสามารถทางด้านการเขียนบท ศิลปะและการออกแบบด้วย ก็อาจจะ
ทำ�หน้าที่ทั้งเขียนบท วาดสตอรี่บอร์ด และการกำ�กับภาพยนตร์แอนิเมชั่นอีกด้วย
1.3.2) ด้านการกำ�หนดรูปแบบและงานออกแบบผลิต(Designing)
คือ ขัน้ ทีด่ �ำ เนินการออกแบบด้านศิลปะ เช่น งานออกแบบคาแรคเตอร์ตวั แสดงหลัก
ตัวแสดงรอง และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ(Characters Design) ออกแบบเครือ่ งยนต์
กลไก (Mecha Design) (ซึ่ง คำ�ว่า “Mecha Design” หรือ “Mechs Design” นั้น
ในงานแอนิเมชัน่ ญีป่ นุ่ มักใช้ค�ำ ว่า “Mecha Design” คือ งานออกแบบคาแรคเตอร์
ส่วนทีเ่ ป็นเครือ่ งจักร กลไก เครือ่ งอิเลคทรอนิกส์ หุน่ ยนต์ ยานอวกาศ ยานยนต์ ฯลฯ
ต่างๆ ซึง่ มักพบได้ในภาพยนตร์แอนิเมชัน่ ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์) งานออกแบบ
ฉากหลัง (Background Design) และงานออกแบบเกี่ยวกับสี (Color Design) ของ
ภาพยนตร์โดยรวมทัง้ หมด เช่น สีหลัก และสีของเฉด หรือเงาของตัวแสดง (Shading)

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


62 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สีในช่วงเวลาต่างๆ เช่น กลางวันหรือกลางคืน สีโดยรวมขององค์ประกอบภาพที่จัด


วางปัจจัยต่างๆร่วมกัน(Layout)ในแต่ละฉาก ฯลฯ
ทั้งนี้อาจต้องคำ�นึงถึงด้วยว่า ส่วนใดที่จำ�เป็นหรือสมควรจะต้องใช้เทคนิค
คอมพิวเตอร์กราฟิกแอนิเมชั่น 3 มิติเข้ามาสนับสนุน เช่น ฉากตึก อาคาร สถานที่
หรือตัวแสดง เช่น หุ่นยนต์ สัตว์ประหลาด หรือ อุปกรณ์ เครื่องยนต์กลไกต่างๆ เช่น
ปืน รถยนต์ เครื่องบิน ยานอวกาศ ฯลฯ ซึ่งต้องมีการออกแบบเพื่อเตรียมการสร้าง
โมเดลหรืออืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบและกระบวนการผลิตแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก
แอนิเมชัน่ 3 มิติ เพือ่ เตรียมการไปสูข่ นั้ ผลิตต่อไป รวมทัง้ งานศิลปะและงานออกแบบ
ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสตูดิโอที่จะดำ�เนินการอีกด้วย
ในกรณีทภี่ าพยนตร์แอนิเมชัน่ นัน้ เป็นลักษณะของภาพยนตร์ประเภทซีรสี ์
ก็จะมีขั้นตอนของการจัดแบ่งบทภาพยนตร์ออกเป็นตอนๆ และมีการกระจายบท
ภาพยนตร์ ออกไปยังผู้เขียนสตอรี่บอร์ดและผู้กำ�กับในแต่ละตอนต่อไป
2. ขั้นการผลิต (Production)
2.1) แผนกออกแบบจัดวางองค์ประกอบงาน(Layout Designer)
เมือ่ เตรียมการผลิตแล้ว งานส่วนต่างๆ ถูกส่งมาสูข่ นั้ การผลิต โดยเริม่
จากการนำ�เอาแนวคิดหลัก สตอรีบ่ อร์ด และงานออกแบบต่างๆ มาพิจารณาลักษณะ
ของการออกแบบจัดวางองค์ประกอบต่างๆ (Layout)ในแต่ละฉากแต่ละช็อต ก่อน
กระจายงานส่วนต่างๆ ไปยังแต่ละแผนกผลิต ผู้รับผิดชอบงานออกแบบจัดวางองค์
ประกอบ (Layout Designer) นี้ ต้องพิจารณาถึงภาพรวมของแนวคิด (Concep-
tualization) โดยต้องเข้าใจ และมองภาพรวมของงานได้อย่างถูกต้องชัดเจน จึงจะ
สามารถจำ�แนกและกระจายงานได้อย่างเหมาะสม ตรงตามความต้องการในการผลิต
ของผู้กำ�กับฯหรือบริษัทผู้ผลิตฯ
2.2) แผนกวาดแอนิเมชั่นหลัก( Key Animators)
งานแผนกที่สำ�คัญในส่วนนี้ ได้แก่ แผนกวาดแอนิเมชั่นหลัก (Key
Animators) คือ ผู้วาดภาพลายเส้นเคลื่อนไหวเฟรมหลักในแต่ละช็อต เช่น เมื่อใช้
ระบบ 18 ภาพต่อวินาที ผู้วาดแอนิเมชั่นหลักก็จะวาดภาพที่ 1 / 5 / 9 /13 /18

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 63

โดยประมาณ ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ท่าทางการเคลือ่ นไหวในช็อตนัน้ ๆ ด้วยว่ามีลกั ษณะเป็น


เช่นไร
2.3) แผนกวาดภาพลายเส้นแอนิเมชั่นแทรกระหว่างเฟรมภาพ
(Inbetweeners)
งานวาดภาพลายเส้นแอนิเมชัน่ แทรกระหว่างเฟรมภาพ (Inbetween-
ers) คือ งานที่เมื่อผู้วาดแอนิเมชั่นหลักวาดภาพหลักที่ 1 / 5 / 9 /13 /18 มาให้
ผู้วาดภาพลายเส้นแอนิเมชั่นแทรกระหว่างเฟรมภาพ ก็จะวาดภาพแทรก คือภาพที่
2-3-4 / 6-7-8 / 10-11-12 / 14-15-16-17 โดยประมาณ จนได้ภาพเคลื่อนไหวที่
ครบสมบูรณ์ในแต่ละช็อต โดยในส่วนนีจ้ ะต้องมีการกำ�กับ ดูแล และตรวจสอบความ
ถูกต้องสมบูรณ์ของงานการเคลือ่ นไหว โดยผูก้ �ำ กับภาพการเคลือ่ นไหว(Animation
Directors) และที่ปรึกษาด้านภาพแทรกระหว่างเฟรม (Inbetweeners Frame
Supervisors) ให้มีความเคลื่อนไหวที่ได้อารมณ์ความรู้สึกต่อเนื่องกันในแต่ละช็อต
หลายสตูดิโอจะมีแผนกตรวจสอบ (Checker) เพื่อทำ�หน้าที่นี้โดยตรง
2.4) แผนกเขียนภาพฉากหลัง(Background Artists)
อีกส่วนคือแผนกเขียนภาพฉากหลัง (Background Artists) เป็นแผนก
ที่นำ�เอาภาพฉากหลังที่ออกแบบไว้ มาวาดภาพระบายสี ตกแต่งให้สมบูรณ์สวยงาม
อาจวาดระบายสีดว้ ยมือ หรือใช้แบบดิจทิ ลั (Digital Painting) ก็ได้ เช่น ใช้โปรแกรม
Adobe Photoshop หรือ Corel Painter เป็นต้น งานศิลปะฉากหลังนั้น ถือว่า มี
ส่วนสำ�คัญทางด้านสุนทรียภาพอย่างมากในการผลิตผลงานภาพยนตร์แอนิเมชั่น
2.5) แผนกตัดเส้น(Clean-Up)
หลังจาก งานวาดภาพแอนิเมชัน่ หลัก และวาดภาพแทรกระหว่างเฟรม
ผ่านการตรวจสอบแล้ว แผนกตัดเส้น (Clean-Up or Tracing) จะทำ�การตัดเส้น
โดยลอกตามภาพวาดลายเส้นแอนิเมชั่นหลักและแทรกเฟรม ที่ส่วนใหญ่เป็นลาย
เส้นดินสอและดินสอสี การตัดเส้นจะตัดเส้นด้วยปากกาหมึกดำ� โดยคำ�นึงถึงการต่อ
เส้นให้ติดต่อกันทุกจุด ไม่ให้มีส่วนขาด เพื่อให้เกิดพื้นที่อาณาบริเวณของส่วนต่างๆ
ที่สามารถจะลงสีได้ง่าย ได้ด้วยการใช้การคลิกเพื่อเทสีครั้งเดียวในแต่ละส่วน ซึ่ง

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


64 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เป็นกระบวนการลงสีดว้ ยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในแผนกงานต่อไป นอกจากจะใช้วธิ ี


ตัดเส้นด้วยมือแล้ว ยังสามารถตัดเส้นแบบดิจทิ ลั โดยการนำ�ไปลงเส้นด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานผลิต เช่น Adobe Photoshop หรือ Adobe Illus-
trator เป็นต้น
2.6) แผนกระบายสีดิจิทัล (Digital Painters)
เมื่อทำ�การตัดเส้นแล้ว แต่ละภาพจะถูกสแกนเป็นภาพดิจิทัล แผนก
ลงสีจะทำ�การลงสีในแต่ละส่วนแต่ละภาพ ไล่เรียงกันไปทีละช็อต ซึ่งการลงสีนั้น
ส่วนใหญ่มกั จะเลือกใช้โปรแกรม Adobe Photoshop หรืออาจจะใช้โปรแกรมอย่าง
เช่น Toonz หรือ Toon Boom ฯลฯ ขึ้นอยู่กับสตูดิโอผู้ผลิตจะเลือกและกำ�หนดใช้
ในการผลิต
2.7) แผนกภาพพิเศษ (Special Effect Artis)
แผนกนี้จะเป็นแผนกที่เชี่ยวชาญการสร้างเทคนิคภาพพิเศษ เช่น ภาพหมอก
ควัน ไฟไหม้ ระเบิด หิมะ ฝนฟ้าผ่า นํา้ ไหล แสงประกาย ฯลฯ ซึง่ ผูว้ าดหรือผูส้ ร้างจะ
ต้องมีทกั ษะเฉพาะทางหรือความรูใ้ นเทคนิคเหล่านีอ้ ย่างสูง แม้วา่ เทคนิคภาพพิเศษ
เหล่านี้ จะสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกแอนิเมชัน่ 3 มิตทิ ำ�ได้ แต่บางฉาก
บางงาน เทคนิคแบบ 2 มิติ กลับดูนา่ สนใจ กลมกลืนและมีคณ ุ ค่าทางอารมณ์มากกว่า
ซึง่ ในงานแผนกสร้างภาพฉากหลัง แผนกตัดเส้น แผนกระบายสีดจิ ทิ ลั และ
แผนกภาพพิเศษ นั้น ต้องมีการตรวจสอบ แนะนำ� ปรับปรุงแก้ไขจากฝ่ายที่ปรึกษา
การระบายสีเฟรมภาพ (Painted Frame Supervisors) และการกำ�กับคุณภาพและ
ความเหมาะสมจากฝ่ายออกแบบสี(Color Design) เพื่อให้เกิดความกลมกลืนใน
ภาพรวมทั้งหมด
2.8) แผนกคอมพิวเตอร์กราฟิกแอนิเมชั่น 3 มิติ (Computer
Graphic 3D Animation)
การผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน่ ร่วมสมัยในปัจจุบนั แผนกนี้ นับว่ามีความ
สำ�คัญอย่างมากเช่นกัน ในขั้นนี้ หากมีส่วนงานที่ต้องใช้เทคนิคแบบคอมพิวเตอร์
กราฟิกแอนิเมชั่น 3 มิติ มาสนับสนุนสตูดิโอผู้ผลิตก็ส่งให้แผนกคอมพิวเตอร์กราฟิก

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 65

แอนิเมชัน่ 3 มิติ หรืออาจว่าจ้างสตูดโิ ออืน่ ดำ�เนินการก็ได้ แผนกนีก้ ด็ ำ�เนินการสร้าง


โมเดล ใส่พนื้ ผิว ใส่ตวั ควบคุมการเครือ่ งไหวแบบต่างๆ ในส่วนตัวแสดงหลัก ตัวแสดง
รอง ภาพฉากหลัง หรือ งานเทคนิคภาพพิเศษ (Visual & Special Effect) เช่น ภาพ
หมอกควัน ไฟไหม้ ระเบิด หิมะ ฯลฯ ซึ่งอาจมีระบบ กระบวนการ และชื่อเรียก
แตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย ขึน้ อยูก่ บั ทีส่ ตูดโิ อเลือกใช้โปรแกรมอะไรในการผลิต
เช่น MAYA, 3D Studio Max, Light Wave ฯลฯ เป็นต้น
เมือ่ ได้ภาพหรืองานตามทีต่ อ้ งการทัง้ ด้านเทคนิค 2 มิติ และ/หรือ งาน
3 มิติ แล้ว งานส่วนนัน้ ๆ ถูกส่งไปยังผูก้ �ำ กับภาพ (Cinematography Director) เพือ่
พิจารณาหรือกำ�หนด เกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานภาพพิเศษ (Visual Effects) หรือ
เทคนิคการเคลื่อนไหวทางกล้อง (Camera Movement) ก่อนนำ�ไปสู่ขั้นตอนต่อไป
2.9) แผนกคอมโพซิสภาพ(Composite)
คือ แผนกงานทีร่ วมองค์ประกอบของงานแต่ละแผนกมาไว้รว่ มกัน เช่น
ฉากหลัง, ภาพตัวคาแรคเตอร์, ภาพหุน่ ยนต์ที่สร้างจากโปรแกรมแบบ 3 มิติ หมอก
ควันไฟ ระเบิด ฯลฯ เทคนิคการแพนภาพ ( Pan),การทำ�ภาพพร่ามัว (Motion Blur)
ฯลฯ ต่างๆ เป็นต้น ทัง้ นีก้ ารคอมโพซิสงานในแต่ละช็อต จะต้องเป็นไปตามสตอรีบ่ อร์ด
และความต้องการของผู้กำ�กับภาพยนตร์แอนิเมชั่น
2.10) แผนกตัดต่อ(Editing)
จากขั้นตอนการคอมโพซิสภาพช็อตต่างๆมาแล้ว ช็อต (Shots) ต่างๆ
จะถูกนำ�มาตัดต่อเรียงร้อยเข้าด้วยกันเป็นฉาก (Scene) หรือเป็นตอน ในขั้นนี้ยัง
เป็นขัน้ ตัดต่อเบือ้ งต้นหรือตัดต่อแบบหยาบ (Rough Cut) เพือ่ ให้ผกู้ ำ�กับภาพยนตร์
แอนิเมชั่นพิจารณาปรับปรุง แก้ไข หรือให้ความเห็นชอบก่อนก่อนดำ�เนินการ
ขั้นตอนต่อไป
3. ขั้นหลังการผลิต (Post-Production)
ขั้นนี้เรียกว่าขั้นหลังการถ่ายทำ� เมื่อใช้กับการถ่ายทำ�ภาพยนตร์แบบ
ใช้คนแสดง (Live Action) หรือการถ่ายทำ�ภาพยนตร์แอนิเมชั่นแบบทีละเฟรม ใน
ปัจจุบันนิยมการใช้ระบบสัญญาณ ดิจิทัลในการบันทึกเสียง เรียกว่า ระบบ Digital

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


66 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Sound Mixing และการตัดต่อภาพ เรียกว่าระบบ Digital Non Linier Editing ซึ่ง


ระบบดิจทิ ลั ดังกล่าวนี้ สามารถช่วยให้การทำ�งานง่าย ประหยัด รวดเร็วและมีคณ ุ ภาพ
ทีด่ ขี นึ้ รวมทัง้ สามารถแปลงสัญญาณดิจทิ ลั ออกมาเป็นสือ่ ในลักษณะต่างๆ เช่น ฟิลม์
ภาพยนตร์ แถบวีดิทัศน์ระบบต่างๆ หรือ ไฟล์ดีวีดี ฯลฯ ได้โดยง่าย ขั้นตอนนี้ โดย
สรุป ประกอบด้วย
3.1) การบันทึกเสียง ( Sound Recording)
ได้แก่ การบันทึกเสียงผู้แสดง หรือตัวคาแรคเตอร์ต่างๆ (Voice
Recording ) ตามบทสนทนา หรือการแสดงกริยาเสียงต่างๆ และเสียงประกอบต่างๆ
เช่น เสียงบรรยากาศ เสียงเอฟเฟคต่างๆ (Sound Effects) เช่น เสียงระเบิด, เสียง
ไฟประทุ, เครื่องสัญญาณอิเลคทรอนิกส์ ฯลฯ รวมทั้งเสียงดนตรี (Music) ด้วย ใน
ขัน้ นีเ้ ป็นขัน้ การทำ�งานด้านเสียงทัง้ หมดให้สมบูรณ์ เช่น การบันทึกเสียงผูแ้ สดงใหม่
จากทีไ่ ด้บนั ทึกไว้เบือ้ งต้นเพือ่ เป็นแนวทางในการวาดภาพเคลือ่ นไหวของปากในการ
พูด หรือเสียงอืน่ ๆ เพือ่ คำ�นวณเวลา (timing) การเคลือ่ นไหวต่างๆ มาทำ�การบันทึก
แยกเสียง ผสมเสียง (mixing) ทั้งหมดให้มีความสมบูรณ์
3.2) การล้างและพิมพ์เป็นฟิล์มภาพยนตร์(Film Developing
and Printing Process)
คือ ในขั้นนี้ จากแบบจำ�ลองข้างต้น จะหมายถึง เป็นงานด้านการนำ�
สัญญาณภาพดิจิทัลที่ได้ตัดต่อไว้ อย่างมีความลงตัวตามเวลา ตามเสียงบทสนทนา
ความยาวของตอน หรือ สัญญาณวีดิโอต้นฉบับ (Video Master) มาถ่ายลงบนฟิล์ม
ภาพยนตร์ (transferred to film) ล้างเป็นฟิลม์ เนกาทีฟ (Film Negative) พิมพ์เป็น
ฟิล์มโพซิทีฟ (Film Positive) หรือที่เรียกว่า Answer Print หรือ Work Print เพื่อ
ใช้ในการบันทึกร่วมกับสัญญาณเสียง การพิมพ์ฟลิ ม์ ต้นฉบับแบบ Interpositive(IP)
หรือ Internegative (IN) รวมถึงการพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์เพื่อการฉาย (Release
Print) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำ�ในห้องแล็ปภาพยนตร์ (Film Lab)
3.3) การบันทึกเสียงกับภาพร่วมกัน(Dubbing)
คือ การนำ�แถบเสียง และแถบฟิล์มภาพยนตร์หรือ Work Print มา

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 67

บันทึกร่วมกัน ลงบนฟิลม์ อีกชุดหนึง่ เพือ่ ให้การบันทึกภาพและเสียงซิงก์ (synchro-


nize) กัน ซึ่งจะได้ฟิล์มต้นฉบับที่มีทั้งเสียงและภาพร่วมกัน ตรงกัน ก่อนจะพิมพ์
เป็นฟิล์มภาพยนตร์ที่เหมาะสมสำ�หรับการฉายในโรงภาพยนตร์
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการผลิตทั้งหมดแล้ว ผลงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นก็
จะนำ�ไปสู่ขั้นตอนในการจัดจำ�หน่าย หรือขั้นตอนการทำ�การตลาด เช่น การฉายใน
โรงภาพยนตร์, การขายลิขสิทธิ์ให้กับสถานีโทรทัศน์, หรือ ผลิตจำ�หน่ายในรูปของ
OVA (Original Video Animation) ซึ่งการจัดจำ�หน่ายไปทั่วโลกนั้น จะต้องจัดทำ�
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นฉบับภาษาต่างประเทศ หรือมีตัวอักษรคำ�บรรยาย (subtitle)
ภาษาต่าง ๆ เพื่อความเป็นมาตรฐานสากล

สรุป
ระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน่ ประเภท 2 มิตริ ว่ มสมัยนัน้
ได้มีการพัฒนากระบวนการผลิตอยู่อย่างต่อเนื่อง ตามความเจริญก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ซึ่งระบบและกระบวนการผลิตนี้สามารถ
ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ได้ ไม่ยึดถือตายตัวมากนัก ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบและ
กระบวนการผลิต ให้เหมาะสมกับลักษณะของผลงาน และขนาดของสตูดิโอผู้ผลิต
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเป็นสำ�คัญ

บรรณานุกรม
Anime International Co,Inc.(AIC). 1982. Introduction of Anime Production.
http://www.aicanime.com/introanime/index.html.
Giambruno, Mark. 1997. 3D Graphics and Animation. USA. New Riders
Publishing.
Halas, John.1990. The Contemporary Animator. USA. Butterworth-
Heinemann.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


68 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Long, Ben and Schenk, Sonja. 2000. Digital Filmmaking Handbook.


USA. CHARLES RIVER MEDIA,INC.
Ohannian, Thomas A. 1993. Digital Nonlinear Editing : New
Approaches to Editing Film and Video. USA. Butterworth-
Heinemann.
Yoon, Hyejin. 2008. The Animation Industry: Technological Changes,
Production Challenge, and Global Shifts. Dissertation:Doctor
of Philosophy Degree, Ohio State University,

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในจังหวัด
นครศรีธรรมราช

Krachud Basketry Product in Nakhon Si Thammarat

เรวัต สุขสิกาญจน์1
Rewat Suksikarn

บทคัดย่อ
ผลิตภัณฑ์จักสานของไทยเป็นศิลปะชาวบ้าน ที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้สอยใน
ชีวิตประจำ�วัน โดยทำ�ขึ้นจากวิธีการ จัก สาน ถัก ทอ จากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
แสดงออกมาในรูปแบบของศิลปะ เพื่อตอบสนองอารมณ์ ความนึกคิด และนำ�ไป
สูก่ ารใช้งานได้ดว้ ย มูลเหตุส�ำ คัญทีท่ �ำ ให้เกิดผลิตภัณฑ์จกั สานขึน้ คือ ความจำ�เป็น
ในการดำ�รงชีวติ สิง่ แวดล้อมทางธรรมชาติตามภูมศิ าสตร์ ความเชือ่ ขนบประเพณี
และศาสนา ผลิตภัณฑ์จกั สานกระจูด เป็นสินค้าหนึง่ ตำ�บลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ของจังหวัด
นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปทั้งประเทศ โดยแหล่งวัตถุดิบและการ
ผลิตทีส่ �ำ คัญอยูท่ ี่ ตำ�บลเคร็ง อำ�เภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกระบวนการ
ผลิตเริม่ ต้นตัง้ แต่เตรียมกระจูดเพือ่ ใช้สาน การคัดขนาด การผึง่ แดด การย้อมสี และ

1
อาจารย์ ป ระจำ � สาขาวิ ช าการออกแบบอุ ต สาหกรรม สำ � นั ก วิ ช าสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ แ ละ
การออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
70 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การสาน ลายสานที่นิยมกันโดยทั่วไปคือ ลายสอง รูปแบบของผลิตภัณฑ์จักสาน


กระจูดที่มีอยู่แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.ประเภทดั้งเดิม ประกอบด้วยเสื่อและ
กระสอบ 2.ประเภทพัฒนาส่งเสริม มีพัฒนาการ 3 ชนิด ด้วยกัน ได้แก่ 1.) การนำ�
เสื่อกระจูดมาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ เสริมด้วยกระดาษแข็ง เข้าขอบและขึ้นรูปด้วย
การกุน๊ ริมด้วยผ้า เช่น กระเป๋าสุภาพสตรี 2.) การขึน้ รูปด้วยการสานโดยใช้โครงสร้าง
ในตัวเองยึดเกาะกันด้วยแรงขัด เช่น กระสอบ 3.) ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้รบั การออกแบบและ
ประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการปรับปรุงรูปแบบตามความคิดสร้างสรรค์ของ
ชุมชนเอง เช่น กระเป๋าสุภาพสตรีหลากหลายรูปแบบ บรรจุภณ ั ฑ์ ชิน้ ส่วนของเครือ่ ง
เรือน เป็นต้น ส่วนรูปแบบผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นเอกลักษณ์ของชุมชนได้แก่ เสือ่ กระสอบ
ใส่ของสารพัดประโยชน์ และกระเป๋าสุภาพสตรี จึงง่ายสำ�หรับการพัฒนารูปแบบ
และต่อยอดทางความคิดของทุกหน่วยงาน ซึ่งส่วนใหญ่พัฒนากระเป๋าหลากหลาย
รูปแบบแล้วแต่ความนิยมของกลุ่มผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่
เปลี่ยนแปลง ทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวโน้มการบริโภควัสดุที่ผลิตจาก
ธรรมชาติ การผสมผสานกับวัสดุสมัยใหม่ และการมีส่วนร่วมในการคิดประยุกต์รูป
แบบของผลิตภัณฑ์ดว้ ยตัวเองของผูบ้ ริโภค ซึง่ จะทำ�ให้การสืบสานหัตถกรรมท้องถิน่
คงอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยต่อไป
คำ�สำ�คัญ: ผลิตภัณฑ์จักสาน, กระจูด, ตำ�บลเคร็ง, อำ�เภอชะอวด, นครศรีธรรมราช

Abstract
The weaves products of Thailand is villagers arts, at a human
create to utility in the everyday life, by the way weaving and knitting
from the inventory that get easy in the locality, express come to
the arts, respond the temper, think, and bring about to the usability.
Important cause is born the products weaves, to be the necessity in
the living, natural environment follows geography, belief, tradition,
and religion. Krachud basketry product are one of the well known
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 71

handicrafts OTOP (One Tambon One Product) in Nakhon Si Thammarat.


The villagers in Kreng-substrict, Cha-uad district, Nakhon Si Thammarat
are the most famous in producing Krachud products, there is the
procedure produces initial since materials prepare for use to weave,
size select, sunning, dyeing and weaving, stripes weaves that like to
generally is Lai Song, the format of Krachud basketry product that exists
can divide 2 kind; 1. Original kind, compose a mat and sack, 2. Develop
and encourage kind, there are 3 type developments, for example 1.)
Krachud mat cut out the products, add with cardboard, reach the
edge and formed to hem with cloth, such as a lady bag, 2.) formed
with the weaving by structure in oneself hold together such as a sack,
3.) products that have to design and applied, products is adaptation
follows the creativity of the community by oneself, such as a various
of lady bags, packaging, a part of furniture etc., the identity of the
community products for example mat, a multi-purpose sack and lady
bag, then easy to design product and development of every institute,
the majority develops various bag depend upon the favor consumer
group, for conform to the context of the social modify of environment
conservation, tendency that product from nature, integration of modern
materials, and participating in applied and design products with oneself
of a consumer, which make handicraft locality inheritance remain the
way of Thai life.
Keyword: Basketry Product, Krachud, Kreng sub-district, Cha-aud district,
Nakhon Si Thammarat

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


72 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทนำ�
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่กลุ่มชนได้สั่งสมประสบการณ์ ใช้สติปัญญา
ในการปรับตัวเพื่อการดำ�รงชีพท่ามกลางสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ที่มีความ
แตกต่างกันในแต่ละสังคมและวัฒนธรรม การแก้ปญ ั หาเพือ่ ให้เกิดความสะดวกในการ
ประกอบภารกิจประจำ�วัน กลุม่ ชนนัน้ ๆ จึงมีการสร้างสรรค์สงิ่ ต่างๆ อันเป็นรูปธรรม
เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้สอยดำ�รงชีพ (นวลลออ ทินานนท์. 2542: 1)
เพราะฉะนั้นจึงเกิดการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ส�ำ หรับใช้ในการดำ�รงชีพ เครื่องใช้
ในการกินอยู่ เครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วัน สำ�หรับตอบสนองความสะดวกสบาย โดย
การสร้างสรรค์จากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น และความเรียบง่ายของสังคมเกษตรกรรม
ของประเทศไทย อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ในดินสินในนํา้ การดำ�รงชีวติ อยูแ่ บบ
เศรษฐกิจพอเพียง การผลิตและใช้โดยคนๆ เดียวกัน ในการผลิตเครื่องไม้เครื่องมือ
ตลอดจนทุกสิง่ ทุกอย่างทีส่ ามารถทำ�เองได้ในครัวเรือน เหล่านีล้ ว้ นมีมาแต่อดีตกาล
การสืบสานของวัฒนธรรมจากรุ่นต่อรุ่นด้วยการกระทำ�ให้เห็นเป็นแบบอย่าง โดย
ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือเครื่องจักรอันทันสมัย ลักษณะภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น
ทรัพยากรธรรมชาติและวัสดุในการนำ�มาผลิต นำ�มาสร้างสรรค์เป็นเครื่องใช้ใน
รูปแบบต่างๆ และทีส่ �ำ คัญคือการแสดงเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิน่ วิธกี ารเลือกใช้วสั ดุ
ทีเ่ หมาะสมกับการใช้สอย และคตินยิ มของท้องถิน่ เข้าไปในการผลิตเครือ่ งมือเครือ่ ง
ใช้ ฯลฯ ซึง่ ต้องใช้เวลาในการสะสมประสบการณ์เพือ่ พัฒนาให้สมบูรณ์ทสี่ ดุ เท่าทีจ่ ะ
ทำ�ได้ อาจใช้เวลาหลายชัว่ ชีวติ คนจากบรรพบุรษุ สืบต่อมาจนถึงคนในยุคปัจจุบนั จน
เป็นทีย่ อมรับและเป็นทีพ่ อใจในกลุม่ ชนหรือชุมชนท้องถิน่ นัน้ ๆ จนเกิดเป็นคตินยิ ม
เป็นแบบแผนสืบต่อมา (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. 2539:130 )
ผลิตภัณฑ์จักสานของไทย ถือว่าเป็นศิลปะชาวบ้าน ที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อ
ใช้สอยในชีวิตประจำ�วัน โดยทำ�ขึ้นจากวิธีการ จัก สาน ถัก ทอ จากวัสดุที่หาได้
ง่ายในท้องถิ่น แสดงออกมาในรูปแบบของศิลปะ เพื่อตอบสนองอารมณ์ ความ
นึกคิด แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบไปมากแล้ว และถึงขั้น
ส่งออกไปต่างประเทศแล้วก็ตาม แต่โดยลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์จกั สานอันเป็น

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 73

เอกลักษณ์ประจำ�ถิ่น แต่ละภูมิภาคหลายสิ่งหลายอย่างยังคงอยู่เป็นส่วนมาก ภาค


ใต้ของประเทศไทยก็เป็นแหล่งหนึ่งของการสร้างสรรค์การจักสานมาช้านาน จน
เป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไป ถึงคุณค่าของประโยชน์ใช้สอยและความงาม
วัสดุธรรมชาติที่นำ�มาจักสานหลายชนิดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เช่น เตยปาหนัน
ย่านลิเพา กระจูด เป็นต้น ผลิตภัณฑ์จกั สานกระจูด เป็นหนึง่ ในสินค้าหนึง่ ตำ�บลหนึง่
ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเภทเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง
(สำ�นักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. 2552)และเป็นทีร่ จู้ กั ของคนทัว่ ไป
ทั้งประเทศ โดยแหล่งผลิตที่สำ�คัญและเป็นแหล่งของวัตถุดิบด้วย อยู่ที่ ตำ�บลเคร็ง
อำ�เภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด จาก
ชุมชนนี ้ เป็นการศึกษาข้อมูลเบือ้ งต้นตัง้ แต่ขนั้ ตอนของกระบวนการผลิต จนสำ�เร็จ
เป็นผลิตภัณฑ์ และแยกชนิดของรูปแบบผลิตภัณฑ์ทมี่ อี ยูใ่ ห้งา่ ยสำ�หรับผูท้ ตี่ อ้ งการ
ศึกษา เพื่อนำ�มาเป็นฐานในการพัฒนาลวดลายและพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับ
บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลง และเป็นการสืบสานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นให้คงอยู่
คู่กับวิถีชีวิตของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชสืบไป

กระจูด
กระจูด เป็นพันธุ์ไม้จำ�พวกกก (Sedge) ชนิดหนึ่งในตระกูล Cyperac-
cae มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Lepironia articalata ซึ่งอยู่ทางเกาะมาดากัสการ์
มอริเชียส ลังกา สุมาตรา แหลมมลายู และหมู่เกาะต่างๆ ในแหลมมลายู อินโดจีน
ตอนริมฝั่งทะเลฮ่องกง บอร์เนียว ตลอดถึงออสเตรเลีย ริมฝั่งตะวันออก การที่
ต้นกระจูดแพร่หลายไปได้อย่างกว้างขวาง น่าจะมีผู้นำ�เอาไปปลูกจากที่ใดที่หนึ่งใน
ประเทศไทย

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


74 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รูปที่ 1 ลักษณะของต้นกระจูดที่ชอบขึ้นในที่ๆ มีนํ้าขังอยู่ตลอดเวลา


ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

ลักษณะลำ�ต้นของกระจูดตรงกลม ตามภาพตัดขวางเรียวยาว 50-200


เซนติเมตร หนา 2-7 มิลลิเมตร ภายในกลวง มีแผ่นบางกัน้ เป็นระยะ โคนลำ�หุม้ กาบ
2-3 กาบ มีเมล็ด 4-5 เมล็ด ดอกออกใกล้ปลายยอดหรือที่ยอด รูปรี รูปไข่ สีนํ้าตาล
หรือม่วงเมื่อแก่จัด ยาว 10-35 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-7 มิลลิเมตร
ใบประดับรูปเรียวกลม ปลายแหลมคล้ายลำ�ประดับด้านบนของช่อต่อจากลำ� กาบรอง
ดอกเล็ก รูปไข่ มีหลายอัน เรียงสลับเกยกันแน่น แหล่งวัสดุที่สำ�คัญๆ ในภาคใต้ อยู่
แถบลุ่มทะเลสาบสงขลา คือบริเวณทะเลน้อยและบริเวณพรุควนเคร็งในเขตจังหวัด
นครศรีธรรมราช และริมฝัง่ ทะเลด้านอ่าวไทย คือบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา
และนราธิวาส แหล่งกระจูดในเขตพืน้ ทีข่ นึ้ เองตามธรรมชาติและทีน่ ำ�มาปลูกทำ�เป็น
นากระจูด รวมพื้นที่อันเป็นแหล่งกระจูดทุกแหล่ง มีไม่น้อยกว่า 10,000 ไร่ แหล่ง
ผลิตส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณพื้นที่เดียวกันกับแหล่งวัสดุ หมู่บ้านที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่ง
ผลิตผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดที่สำ�คัญ คือ หมู่บ้านทะเลน้อย ตำ�บลทะเลน้อยและ
ตำ�บลพนางตุง อำ�เภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และตำ�บลเคร็ง อำ�เภอชะอวด จังหวัด
นครศรีธรรมราช ในบทความฉบับนีจ้ ะขอนำ�เสนอเฉพาะผลิตภัณฑ์จกั สานกระจูดใน
เขตพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้น

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 75

การทำ�นากระจูด พืน้ ทีท่ จี่ ะปลูกกระจูดได้ตอ้ งมีนาํ้ ขังตลอดปีหรือจะแห้งสัก


2-3 เดือน การปลูกหรือการทำ�นากระจูดมีกรรมวิธีคล้ายกับการทำ�นาข้าว คือก่อน
ปลูกชาวนาจะต้องตกแต่งพืน้ ทีใ่ ห้เรียบ แต่ไม่ตอ้ งยกคันนา เพียงแต่ท�ำ เขตให้มองเห็น
เป็นสัดส่วนว่าพื้นที่ใดเป็นของใคร การปลูกกระจูดต้องทำ�ในช่วงเวลาที่พื้นที่นามี
นํา้ ขังหรือนํา้ แฉะๆ โดยนำ�กล้ากระจูด มาปักเป็นกอๆ กอหนึง่ ๆ จะมีกระจูดประมาณ
10-20 ต้น ปักให้ห่างกันประมาณ 70-100 เซนติเมตร จากนั้นก็คอยถอนหัวหรือ
ต้นอ่อนของกระจูด ประมาณ 12 เดือน กระจูดก็จะโตพอถอนมาใช้งานได้ กระจูด
ส่วนหนึ่งก็จะถูกถอนไปใช้งาน เหลือต้นอ่อนหรือต้นที่ความยาวยังไม่พอไว้ถอนครั้ง
ต่อไป นากระจูดแต่ละแปลงสามารถถอนกระจูดหมุนเวียนต่อเนื่องกันไปได้ 9-10
ปี จึงจะมีการปลูกใหม่ ครอบครัวหนึ่งจะปลูกกระจูดประมาณ 1 ไร่ ซึ่งก็พอเพียง
ต่อการใช้ตลอดไป เพราะเมือ่ ถอนต้นกระจูดไปใช้แล้ว ก็จะแตกต้นใหม่ขนึ้ มาแทนที่
หมุนเวียนกัน

ขั้นตอนและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด
1. การเตรียมกระจูดเพือ่ ใช้สาน ในการนำ�กระจูดมาสานนัน้ ชาวบ้านจะ
ต้องเตรียมถอนต้นกระจูด เมื่อโตขึ้นเต็มที่แล้วประมาณ 2-3 ปี การถอนกระจูดโดย
ทัว่ ไป มักจะทำ�หลังช่วงฤดูฝนไปแล้ว เพราะต้นกระจูดจะขึน้ สูงชะลูดและมีตอกบาง
สะดวกแก่การนำ�ไปตำ�ให้แบน จะทำ�ให้ตอกจูดไม่มรี อยแตก กระจูดทีไ่ ด้ในช่วงระยะ
นี้ ตอกจะมีความเหนียวนุม่ ไม่เปราะแตกง่าย ส่วนวิธกี ารถอนนัน้ จะใช้วธิ รี วบปลาย
หลายเส้นทำ�ให้แน่นแล้วกระตุกหรือกระชากแรงๆ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


76 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รูปที่ 2 วิธีการถอนกระจูด
ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

รูปที่ 3 วิธีการคัดขนาดและตัดปลายให้มีความยาวเสมอกัน
ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 77

1.1 การคัดขนาด ใช้วิธีหยิบปลายส่วนที่ยื่นลํ้าเหนือต้นอื่นดึงออกไป ได้


กระจูดที่ยาวลงไปจนถึงสั้นที่สุดเป็นมัดๆ มัดหนึ่งจะมีกระจูดประมาณ 500 ตอก
หรือ ซี่ ใช้สานได้เสือ่ 1 ผืน ขนาดทัว่ ไปคือ 4x4 ฟุต มัดกระจูดทีใ่ ส่ได้ครัง้ ละประมาณ
5 มัด จะนำ�ไปตัดปลายทิ้งให้มีความยาวเสมอกัน จากนั้นจึงนำ�ไปคลุกดินโคลนใน
บริเวณที่เตรียมไว้ โดยการขุดหลุมขนาดกว้างและยาวกว่ามัดกระจูดเล็กน้อย นำ�
ดินโคลนหรือดินเหนียวปนทรายบางส่วนละลายนํ้าในบ่อ เอามัดกระจูดลงแช่คลุก
ให้ทั่ว พอเกาะติดผิวกระจูดบางๆ เหตุผลที่ต้องนำ�กระจูดไปคลุกนํ้าดินโคลนนั้น
ก็เพื่อป้องกันไม่ให้กระจูดเหี่ยวหรือแตกหักง่ายเวลาผึ่งแดด เมื่อแห้งแล้วจะมีผิว
ขาวนวล

รูปที่ 4 การนำ�กระจูดไปคลุกดินโคลน
ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

1.2 การผึ่งแดด จะใช้วิธีตั้งมัดกระจูดในแนวดิ่ง กางออกเป็นฐานหรือวาง


เรียงกระจูดให้กระจายไปบนพืน้ ดินซึง่ มีหญ้าขึน้ อยูเ่ รียบๆ ถ้ามีแดดจัด ใช้เวลาเพียง
2-3 วัน จะทำ�ให้กระจูดแห้งเร็ว และนำ�มารวมกันบริเวณใต้ถุนบ้าน

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
78 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รูปที่ 5 การผึ่งแดดจะใช้วิธีกางเป็นฐานหรือวางเรียงให้กระจาย
ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

กระจูดทีแ่ ห้งดีแล้ว จะนำ�ไปตำ�หรือทิม่ ให้แบน ชาวบ้านจะใช้วธิ เี อากระจูด


ไปวางบนพื้นเรียบๆ และใช้เท้าเหยียบยํ่าไปมาจนกระทั่งกระจูดแตกหมดทุกตอก
เมื่อถึงเวลากลางคืน ก็จะนำ�ออกไปวางไว้ในที่แจ้ง ให้ถูกนํ้าค้างชื้นๆ พอให้เส้น
กระจูดอ่อนตัว ไม่เปราะหักง่าย พอถึงตอนใกล้รุ่งหรือยามเช้า ก็จะนำ�กระจูดไป
วางลงบนพื้นไม้กระดานผิวเรียบที่เตรียมไว้ และใช้เท้าทั้งสองข้างขึ้นไปเหยียบบน
มัดกระจูด และใช้ไม้ซงึ่ ชาวบ้านเรียกว่า “สาก” ทุบตำ�หรือทิม่ ไม้ทบุ มีลกั ษณะกลม
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.50 เมตร และที่
บริเวณกึง่ กลางของความยาวจะทำ�เป็นทีจ่ บั เว้าลงไป นอกเหนือจากการตำ�กระจูดให้
แบนโดยใช้แรงคนแล้ว ที่ ตำ�บลเคร็ง อำ�เภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ได้ใช้
เครือ่ งรีดด้วยลูกกลิง้ เพือ่ รีดกระจูดให้แบน ช่วยประหยัดแรงงานและเวลา ในการรีด
จะป้อนต้นกระจูดทางด้านราง ป้อนในปริมาณที่เพียงพอกับการสานเสื่อ 1 ผืน โดย
พยายามให้ความหนาของกระจูดมีเท่ากันตลอดราง โดยวิธีนี้จะทำ�การรีดกระจูดซํ้า
กันถึง 4 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 79

รูปที่ 6 การใช้งานของเครื่องรีดกระจูดและลักษณะของกระจูดที่ผ่านการรีดแล้ว
ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

1.3 การย้อมสี การย้อมสีจะย้อมตอกกระจูดในส่วนที่จะนำ�ไปสานเป็น


ลวดลายเท่านั้น โดยนำ�กระจูดหลังจากตำ�ให้แบนเรียบแล้ว นำ�ไปล้างเอาดินโคลน
ที่จับติดกับผิวนอกของกระจูดออกให้หมด แล้วจึงนำ�กระจูดไปจุ่มในปี๊บสังกะสีที่ใส่
นํ้าสีต้มจนเดือด เมื่อตอกกระจูดดูดนํ้าสีได้ที่แล้ว ก็แล้วนำ�มาล้างนํ้าธรรมดาอีกครั้ง
แล้วแขวนผึ่งแดดให้แห้ง

รูปที่ 7 เส้นตอกกระจูดที่ย้อมสีและไม่ย้อมสี
ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
80 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2. การผลิตผลิตภัณฑ์จกั สานกระจูด ขัน้ ตอนการผลิตผลิตภัณฑ์จกั สาน


กระจูด มีขั้นตอนและรายละเอียดในการผลิต พอสรุปได้ดังนี้
2.1 การสาน การศึกษาเกี่ยวกับการสานกระจูดสามารถแยกประเด็นได้
ดังนี้
2.1.1 ลายสาน ลายสานกระจูดแต่เดิมมีเพียงไม่กี่ลาย ลายสานที่
นิยมกันโดยทั่วไปคือ ลายสอง ใช้สานผลิตภัณฑ์ประเภทดั้งเดิม เช่น เสื่อ กระสอบ
นอน กระสอบนั่งและกระสอบหมาก เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการย้อมสีกระจูดจึงมีการ
ประดิษฐ์คิดลายหลากหลายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทำ�ให้มีลายสานที่ปรากฏชื่อลาย
และไม่ปรากฏชือ่ ลายเกิดขึน้ มากมาย แล้วแต่วา่ ชาวบ้านจะประยุกต์ตามความถนัด
ของตนเอง แต่ในชุมชนตำ�บลเคร็ง อำ�เภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวบ้าน
ไม่ค่อยนิยมสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ๆ ส่วนมากจะผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสียส่วนใหญ่
2.1.2 วิธีสาน การสานกระจูดมีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามชนิดและ
รูปแบบของผลิตภัณฑ์ เช่น การสานเสือ่ จะเริม่ สานจากริมปลายเส้นตอกด้านหนึง่ ไป
จนสุดปลายเส้นตอกอีกด้านหนึง่ โดยการวางเส้นตอกสลับส่วนโคนและส่วนปลายที
ละเส้น ทั้งนี้เพราะส่วนโคนของเส้นตอกจะมีขนาดโตกว่าส่วนปลาย ซึ่งการวางเส้น
ตอกแบบนี้ จะทำ�ให้เสื่อมีรูปทรงสวยงาม ริมเสื่อทั้งสองด้านก็ยาวเสมอกัน แต่ถ้า
เป็นภาชนะจำ�พวกกระสอบนั่งหรือกระสอบหมาก จะเริ่มต้นสานจากกึ่งกลางของ
เส้นตอกแล้วค่อย ๆ สานขยายออกไปจนจดริมทุกด้าน
2.1.3 ผูส้ าน ผูส้ านมีทงั้ ผูห้ ญิงและผูช้ าย แต่สว่ นใหญ่จะเป็นผูห้ ญิง มี
ตั้งแต่อายุ 12 -13 จนถึงคนชราอายุ 60-70 ปี แต่โดยเฉลี่ยเป็นหญิงที่อยู่ในเกณฑ์
อายุตั้งแต่ 20 – 60 ปี เป็นแรงงานสำ�คัญในการผลิต
2.1.4 เวลาและสถานที่ ส่วนใหญ่จะสานในเวลากลางวัน เมือ่ ว่างจาก
ภารกิจประจำ�วัน โดยนั่งสานกันอยู่ภายในบ้าน ชานบ้าน หรือบริเวณบ้าน มีการนั่ง
จับกลุ่มพูดคุยกันพลางสานกันไปพลาง ระหว่างสมาชิกในครัวหรือเพื่อนบ้านใกล้
เคียง ส่วนท่านั่งในการสานมักจะนั่งชันเข่าข้างใดข้างหนึ่งตามความถนัดของผู้สาน
หรือการนั่งขัดสมาธิธรรมดา

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 81

2.1.5 การเก็บริม ผลิตภัณฑ์จกั สานกระจูดเมือ่ สานเสร็จแล้วจะต้องมี


การเก็บริม เพื่อป้องกันมิให้เส้นตอกกระจูดหลุดได้ง่าย สามารถทำ�ได้ 2 วิธี คือ การ
เย็บกุ๊นริม โดยการตัดส่วนริมของชิ้นส่วนริมของผลิตภัณฑ์ให้เรียบร้อย แล้วนำ�มา
เย็บกุน๊ ริมด้วยผ้ายืด ด้วยจักรเย็บผ้า ผลิตภัณฑ์ทใี่ ช้วธิ กี ารเก็บริมลักษณะนี้ เช่น เสือ่
ที่มีลวดลาย หมวก กระเป๋า เป็นต้น และการเก็บริมแบบทั่วไป ซึ่งเรียกว่า “เม้ม”
สามารถทำ�ได้ 2 แบบ คือ การพับกลับ ใช้วิธีการพับปลายเส้นตอกกลับเข้าหาด้าน
ในของผลิตภัณฑ์ตามลายสานเดิม และการช่อริม ใช้วธิ กี ารพับปลายเส้นตอกทีเ่ หลือ
ให้คุมกันเอง คล้ายกับการถักแล้วใช้มีดหรือกรรไกรตัดส่วนที่เหลือออกทิ้งไป

รูปที่ 8 ลักษณะท่านั่งชันเข่าและนั่งขัดสมาธิ ในการสานผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด


ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

2.2 การประกอบรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ นำ�กระจูดทีส่ านแล้วมาตัดเป็น
ชิน้ ส่วนต่างๆ ตามแบบและชนิดของผลิตภัณฑ์ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ทสี่ านเป็นผลิตภัณฑ์
ได้เลย เช่น กระบุง กระสอบหมาก เสื่อ เป็นต้น ขั้นตอนก่อนการตัดชิ้นส่วนเพื่อ
ประกอบนีบ้ างทีกม็ กี ารนำ�ผลิตภัณฑ์ชนิ้ ส่วนมาทาวานิช หรือเคลือบแล็คเกอร์ เพือ่
ป้องกันแมลงและรักษาผลิตภัณฑ์ให้มอี ายุการใช้งานทีย่ าวนานด้วย แต่บางคนก็ไม่
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
82 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทาเคลือบเพราะต้องการให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด แล้วแต่กลุ่มเป้าหมาย และการ


รักษารูปทรงของผลิตภัณฑ์ ก็จะทากาวลาเท็กซ์ผสมนํ้าแล้วนำ�ไปตากแดดจนแห้ง
จากนัน้ จึงนำ�มาประกอบกับชิน้ ส่วนต่าง ๆ ทีเ่ ตรียมไว้ จนสำ�เร็จเป็นผลิตภัณฑ์จกั สาน
กระจูดที่สมบูรณ์

รูปที่ 9 ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดที่รอการประกอบชิ้นส่วน
ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

รูปที่ 10 ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดเคลือบกาวเพื่อรักษารูปทรง
ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 83

รูปที่ 11 ขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด (กระเป๋า)


ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

รูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด
ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ชาวบ้านสร้างสรรค์
ขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำ�วัน ตามสภาพสังคม วัฒนธรรม และสภาพ
แวดล้อมของท้องถิน่ ซึง่ จะเข้ามากำ�หนดรูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยผ่านการสืบทอด
มาจากบรรพบุรุษ ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไป
ของสภาพของสังคมในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้สานได้พัฒนา คิดค้น ประดิษฐ์รูปแบบ
ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดใหม่ๆ ขึ้น ทั้งจากการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเองในหมู่
ชาวบ้าน หรือแม้แต่การที่หน่วยงานของรัฐเข้ามาช่วยโดยการส่งผู้เชี่ยวชาญมาสอน
การประดิษฐ์สร้างสรรค์รปู แบบใหม่ๆ ซึง่ ก่อให้เกิดความประณีต สวยงาม และแปลก
ใหม่ แยกตามประเภทของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ดังนี้
1. ประเภทดั้งเดิม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่นิยมทำ�กันมาเป็นเวลาช้านาน จน
ไม่อาจทราบได้ว่าเริ่มต้นเมื่อใด แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ เสื่อและกระสอบ
1.1 เสื่อกระจูด หรือที่คนภาคใต้เรียกว่า “สาดจูด” ลวดลายของเสื่อ
กระจูดที่ ตำ�บลเคร็ง อำ�เภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่นิยมสานลาย

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


84 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มาตรฐาน คือ ลายขัดสอง เพราะใช้เวลาในการสานไม่นาน และเป็นที่นิยมของกลุ่ม


ลูกค้าเป็นอย่างมาก ในการประดับตกแต่งบ้าน หรือใช้สำ�หรับปูลาดในหลายโอกาส
เช่น ตากข้าวหรือสิ่งของอื่นๆ งานประเพณีต่างๆ และหลากหลายสถานที่ เช่น ห้อง
นอน ห้องรับแขก และหน้าโรงมหรสพ หรือจะใช้ประกอบทำ�เป็นฝาบ้าน หรือเพดาน
บ้านก็ได้ ชาวบ้านทัว่ ไปนิยมใช้กนั อย่างกว้างขวางเพราะมีความทนทาน คุม้ ค่า ราคา
ไม่แพง

รูปที่ 12 เสื่อกระจูดลายขัดสอง
ที่มา : ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

1.2 กระสอบ ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีทั้งกระสอบนั่ง กระสอบหมาก และ
สมุก ไว้ใส่ของสารพัดประโยชน์ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์ขึ้นมาตั้งแต่สมัย
บรรพบุรุษ

รูปที่ 13 กระสอบหมากและกระสอบใส่ของสารพัดประโยชน์
ที่มา : วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (2539)

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 85

2. ประเภทพัฒนาส่งเสริม หลังจากที่รัฐมีหน่วยงานในการส่งเสริม
อุตสาหกรรมและพัฒนาอาชีพของประชากรขึน้ แล้ว เจ้าหน้าทีข่ องรัฐได้เข้าไปให้ค�ำ
แนะนำ�กรรมวิธใี นการผลิต ช่วยเสริมแนวความคิดเรือ่ งรูปแบบให้สอดคล้องกับความ
ต้องการของคนรุน่ ใหม่ สามารถขยายตลาดให้กว้างขวางขึน้ กว่าเดิม เช่น ทำ�เป็นเสือ่
สำ�หรับใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว กระเป๋าถือ หมวกแบบต่างๆ เป็นต้น หน่วยงาน
สำ�คัญทีม่ สี ว่ นในการส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมประเภทนีใ้ ห้เป็นทีร่ จู้ กั แพร่หลาย
ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและกรมการพัฒนาชุมชน โดยส่งคนเข้าไปศึกษาหา
ทางส่งเสริมพัฒนาทัง้ ในเรือ่ งรูปแบบและกรรมวิธกี ารย้อมสี รูปแบบของผลิตภัณฑ์มี
พัฒนาการ 3 ประเภท ได้แก่
2.1 การนำ�เสือ่ กระจูดมาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ เสริมด้วยกระดาษแข็ง
เข้าขอบและขึ้นรูปด้วยการกุ๊นริมด้วยผ้า กุ๊นธรรมดา หรือวัสดุอย่างอื่น เช่น หนัง
วัสดุสังเคราะห์ เป็นต้น

รูปที่ 14 กระเป๋าสุภาพสตรี และ กระเป๋าเอกสาร กุ๊นขอบด้วยหนัง


ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

2.2 การขึน้ รูปด้วยการสานโดยใช้โครงสร้างในตัวเอง ยดึ เกาะกันด้วยแรงขัด


จะทรงตัวได้ดีเฉพาะทรงกระบอก และส่วนก้นมักจะน้องมีมุมคล้ายกรวยเป็นมุม
สำ�หรับรับนํ้าหนัก

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


86 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รูปที่ 15 กล่องใส่ของสารพัดประโยชน์
ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

2.3 ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้รบั การออกแบบและประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ทเี่ กิดจาก


การปรับปรุงรูปแบบตามความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชนเอง และหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนารูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยและ
ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบัน

รูปที่ 16 กระเป๋าสุภาพสตรี
ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 87

รูปที่ 17 ซองเอกสาร หรือ อื่น ๆ ที่มีขนาดเล็ก


ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

รูปที่ 18 บรรจุภัณฑ์ใส่ผ้าทอ
ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

รูปที่ 19 ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดทดลองสานกับเชือกกล้วย
ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
88 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รูปที่ 20 ผลิตภัณฑ์กระจูดสานกับเชือกฟางเป็นถาดผลไม้
ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

รูปที่ 21 ภาชนะกระจูดสานขึ้นรูปด้วยตัวเองสองชั้นโดยไม่มีรอยต่อ
ที่มา: ถ่ายภาพเมื่อ เมษายน 2552

รูปที่ 22 ผลิตภัณฑ์กระจูดสานชิ้นส่วนของเครื่องเรือน ส่วนที่รองนั่ง


ที่มา: เรวัต สุขสิกาญจน์ (2552)

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 89

บทสรุป
จากการศึกษาขั้นตอนและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด ของ
ตำ�บลเคร็ง อำ�เภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้นำ�มาสรุปผลในด้านของ
คุณค่าที่เกิดจากประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าทางความงามและศิลปะของผลิตภัณฑ์
จักสาน ให้สอดคล้องกับกรอบทฤษฎีของวิบูลย์ ลี้สุวรรณ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. คุณค่าทีเ่ กิดจากประโยชน์ใช้สอย (Functional value) แบ่งอย่างกว้างๆ
ได้เป็น คุณค่าทีไ่ ด้รบั จากประโยชน์ใช้สอยทางกาย ได้แก่ การสร้างผลิตภัณฑ์จกั สาน
เพือ่ เอือ้ อำ�นวยความสะดวกสบายในการดำ�รงชีวติ เช่น เพือ่ ใช้ในการอุปโภคบริโภค
และการประกอบอาชีพ ในส่วนของผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดนั้นมีความหลาก
หลายของการใช้งาน ตั้งแต่ใช้ในครัวเรือน เช่น เสื่อ ใช้สำ�หรับปูลาดในหลายโอกาส
กระสอบ และสมุกนั้นมีหลายขนาดมาก และมีให้เห็นจนชินตา จนเป็นเอกลักษณ์
ของผลิตภัณฑ์ชนิดนีไ้ ปเลยทีเดียว นอกจากนัน้ ก็ยงั มีผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งบ้าน
เช่น ทีใ่ ส่ซองจดหมาย ใส่ดอกไม้ไว้ข้างฝา กระเป๋าสตรีก็เป็นทีน่ ยิ มกันมากสำ�หรับ
ผูใ้ ช้ ตลอดจนการประยุกต์ให้มกี ารใช้งานเกือบครบในบรรดาผลิตภัณฑ์เพือ่ ประดับ
ตกแต่ง
2. คุณค่าทางความงามและศิลปะ (Aesthetic value & Artistic value)
คุณค่าทางด้านความงามและศิลปะของผลิตภัณฑ์จกั สานนัน้ เกิดจากองค์ประกอบ
ต่างๆ ที่อาจวิเคราะห์ได้ดังนี้
2.1 คุณค่าทางความงามและศิลปะที่เกิดจากรูปทรง โครงสร้าง และ
ลวดลาย จากการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในเชิงศิลปะ จะเห็นถึงความ
สามารถ และลักษณะเด่นในการเลือกใช้รูปทรง โครงสร้าง และลวดลายในการ
สร้างสรรค์ผลงาน ส่วนใหญ่จะเป็นรูปทรงที่เรียบง่าย ลักษณะของความสมดุลใน
ลักษณะเท่ากันทั้งสองข้าง (Symmetry Balance) ความกลมกลืนกันดูสบายตา
และลงตัวอย่างสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถใช้โครงสร้างของตัวเองในการวางตั้งและ
ทรงตัว ส่วนลวดลายที่เป็นที่นิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ก็คือลายขัดสอง
เพราะเป็นลวดลายที่เรียบง่าย และสามารถจะประยุกต์รูปแบบของผลิตภัณฑ์ได้
หลากหลายรูปแบบ
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
90 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2.2 คุณค่าทางความงามและศิลปะทีเ่ กิดจากการเลือกใช้วสั ดุ รูปทรง


กับการเลือกใช้วัสดุของผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างให้
เกิดความงดงามและความมีคณ ุ ค่าทางศิลปะ ซึง่ จะพบจากการใช้รปู ทรงของกระเป๋า
แต่ละรูปแบบ เหมาะสมกับการใช้งานและสะดวกสบาย ผสมผสานกับความงามที่
เกิดจากผิว (Texture) และสีของการย้อม ความงามของผิวเป็นสิ่งหนึ่งช่วยให้เกิด
ความงามและคุณค่าทางศิลปะได้อีกลักษณะหนึ่ง ผิวของผลิตภัณฑ์จักสานนี้หมาย
ถึงผิวของวัสดุธรรมชาติโดยตรง ซึง่ มีลกั ษณะเฉพาะตนทีแ่ ตกต่างกันไป เป็นลักษณะ
เฉพาะของผลิตภัณฑ์จักสาน ต่างไปจากงานศิลปหัตถกรรมอื่นๆ
2.3 คุณค่าที่เกิดจากการแสดงออก การทำ�ผลิตภัณฑ์จักสานเป็น
กระบวนการสร้างสรรค์ลักษณะหนึ่ง ที่มีองค์ประกอบต่างๆ หล่อหลอมเข้ากับ
กระบวนการทางเทคนิคด้วย ดังนั้น ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดจึงมีการแสดงออก
ของผู้สานแฝงอยู่ด้วย การแสดงออกที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์จักสานนี้แบ่งออกเป็น
3 ลักษณะ คือ
2.3.1 การแสดงออกทางอารมณ์ (Temperamental Expres-
sion) ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดมีความอ่อนช้อยละมุนละไมของลวดลายขัด และ
ลวดลายต่างๆ ซึง่ ผูส้ านสร้างสรรค์ออกมา เช่น ลายลูกแก้ว ลายบองหยอง เป็นต้น
เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์และการแสดงออกที่สื่อออกมาถึงความ
ประณีตของลวดลาย
2.3.2 การแสดงออกเชิงศิลปะ (Art Expression) การ
แสดงออกเชิงศิลปะที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดเป็นสื่อที่แสดงให้เห็นถึง
ชีวิต จิตใจ คตินิยมในเรื่องความงามและศิลปะของผู้คนในท้องถิ่นได้ค่อนข้างดี
แต่ในระยะหลังจะมีเรือ่ งของผลประโยชน์เข้ามาเกีย่ วข้อง จนทำ�ให้ขาดการคำ�นึงถึง
กระบวนการสร้างสรรค์และความงามไป
2.3.3 คุณค่าทีเ่ กิดจากเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะถิน่ (Local
Characteristics) เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด ที่ตำ�บลเคร็ง อำ�เภอ
ชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ถกู เลือนหายไปบางส่วน เนือ่ งจากเหตุผลทางการ
ตลาด และการแข่งขันกับชุมชนใกล้เคียงเกีย่ วกับราคา ปริมาณของผลผลิต เพือ่ ความ
อยู่รอดของครอบครัว

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 91

เพราะฉะนั้น การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จักสาน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือ


ท้องถิ่นใดก็ตาม ที่มีวัตถุดิบอันเป็นจุดเด่น หรือเป็นที่รู้จักของคนส่วนใหญ่อยู่แล้ว
ก็ยงั ต้องพัฒนารูปแบบอยูต่ ลอดเวลา ทัง้ ในด้านของประโยชน์ใช้สอย และความงาม
ทางศิลปะ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองมีคุณค่าพอที่จะแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะ
ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และที่สำ�คัญต้องขายได้ด้วย

บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ม.ป.ป., ออกแบบผลิตภัณฑ์กระจูด. กรุงเทพฯ: กรม
ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
แกล้วทนง สอนสังข์. 2546. การศึกษางานศิลปหัตถกรรมกระจูดใน จ.นราธิวาส
พัทลุง และสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา
ศิลปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นวลลออ ทินานนท์. 2544. การศึกษางานหัตถกรรมพืน้ บ้านในจังหวัดนครนายก.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิบลู ย์ ลีส้ วุ รรณ. 2539. เครือ่ งจักสานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริน้ ติง้ ส์
เฮาส์.
กัลยา ภิรมย์รักษ์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เรวัต สุขสิกาญจน์ เป็นผู้สัมภาษณ์, บ้าน
เลขที่ 169 หมู่ 1 ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 18
เมษายน พ.ศ.2552.
เผียน และ รุ่น คงเกื้อ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์,เรวัต สุขสิกาญจน์ เป็นผู้สัมภาษณ์, บ้าน
เลขที่ 6 หมู่ 1 ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมือ่ วันที ่ 18 เมษายน
พ.ศ.2552.
มะลิวลั ย์ คงเกือ้ เป็นผูใ้ ห้สมั ภาษณ์, เรวัต สุขสิกาญจน์ เป็นผูส้ มั ภาษณ์, บ้านเลขที่ 6
หมู่ 1 ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.
2552.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


92 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ลัดดา เอียดทอง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, เรวัต สุขสิกาญจน์ เป็นผู้สัมภาษณ์, บ้านเลขที่


27 หมู่ 1 ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 18 เมษายน
พ.ศ.2552
Retrieved (March 3, 2009) http:// www.nakhonsithammarat.go.th/
shrine.php.
Thaitambon. (2009). ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด. (Retrieved March 20, 2009)
www.thaitambon.com.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


การศึกษาพัฒนาการทักษะการเป่าขลุย่ เพียงออโดยใช้
รูปแบบการสอนทักษะปฏิบตั ขิ องเดวีส์ (Davies’ Instruction

Model for Psychomotor Domain) และสอดแทรกคุณธรรม
ด้านความเพียรของนักศึกษาทีเ่ รียนรายวิชา 864 382 ทักษะ
ดนตรีไทย 2
The study of a development of khluy-peang-or skill
through davies’ instruction model for psychomotor domain
and establishing virtue of the attempt in 863382 thai music
skill II

จรัญ กาญจนประดิษฐ์ 1
Jarun Kanchanapradit
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการเป่าขลุ่ย
เพียงออของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีไทย เครื่องมือเอกขลุ่ยเพียงออชั้นปีที่ 2 คณะ
ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้รปู แบบการสอนทักษะปฏิบตั ขิ องเดวีส์
(Davies’ Instruction Model For Psychomotor Domain) และสอดแทรก
คุณธรรมด้าน ความเพียร ในรายวิชา 864 382 ทักษะดนตรีไทย 2 ผลการวิจยั พบว่า
1
อาจารย์ประจำ�สาขาวิชา สายดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
94 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การใช้ รู ป แบบการสอน ทั ก ษะปฏิ บั ติ ข องเดวี ส์ (Davies’ Instruc-


tion Model For Psychomotor Domain) สามารถพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ย
เพียงออ 5 ทักษะ คือ การระบายลม การตีนิ้ว การพรมนิ้ว การครั่นลม และการเป่า
โหยหวน ได้อยู่ในระดับดี สามารถช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจทักษะย่อยต่างๆ ก่อนที่
จะเชื่อมโยงทักษะต่างๆ ที่ใช้ในแต่ละบทเพลงได้ ในการเป่าขลุ่ยประเภทเพลง
เดี่ ย วจำ � เป็ น ที่ จ ะต้ อ งใช้ เ ทคนิ ค ให้ ป ระสานกลมกลื น กั น 3 ส่ ว น คื อ เรื่ อ งนิ้ ว
เรื่องลมและเรื่องลิ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีทักษะย่อยต่างๆมากมายโดยที่ผลจากการ
เรียนรู้ทักษะการเป่าขลุ่ยอย่างเป็นลำ�ดับขั้นตอนช่วยผู้เรียนสามารถจดจำ�จดและ
แยกแยะทักษะต่างๆ เหล่านั้นได้ชัดเจนก็จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะตนเอง
ได้รวดเร็วมากขึ้น
การสอดแทรกความเพียร ในการเรียนทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออจากผล
การวิจัย พบว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นของผู้เรียนนั้นแสดงออกมาในเชิงคุณภาพได้
อยู่ในระดับดีสามารถใช้ความเพียรของตนเองฝึกทักษะต่างๆ จนสามารถบรรเลง
บทเพลงที่กำ�หนดได้ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ในเชิงปริมาณโดยการกำ�หนดชั่วโมงฝึก
ซ้อมด้วยตนเองต่อสัปดาห์นั้นพบว่า ผู้เรียนมีชั่วโมงการฝึกซ้อมอยู่ในระดับน้อย
และการกำ�หนดชั่วโมงฝึกซ้อมนี้สามารถกระตุ้นความรู้สึกให้มีความเพียรได้เพียง
น้อยนิด แต่หากกำ�หนดให้ผเู้ รียนได้แสดงผลงานในโอกาสต่างๆ เช่น ประกวดดนตรี
หรือคอนเสิร์ต พบว่าสามารถสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความเพียรในการฝึกซ้อม
มากที่สุด

ABSTRACT
The objective of this study is to develop to the skill of second
year student in performing Khluy-Peang-Or, Thai classical Music, at
Department of Thai classical Music, Faculty of Fine and Applied Arts,
Khon Kean University through Davies’ Instruction Model for Psycho-
motor Domain and establishing virtue of Attempt. The study found as
follow ;
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 95

The application of Davies’ Instruction Model For Psychomotor


Domain enriches the students’ Khluy-Peang-Or skills in 5 techniques
of Rabay-Lom, Tee-Niew, Prom-Niew, Krun-Lom and Pao- Hoy-Hwun to
a good level. The application also assists the students’ understanding
of basic skills to be able to associate those skills to perform the songs
later. In performing Khluy-Peang-Or solo song requires 3 master skills,
those are fingers, blowing and tongue, which greatly consist of details.
The result of studying those details in order helps the students to
remember clearly and able to distinguish those specific skills better.
As well as, the ability to associate those skills and their relation is
developed. Thus, the skill development of students is in a good level
In collaborating the attempt in the study of Khluy-Peang-Or
skills development, the research found that the students with attempt
attitude are positive. The students’ behavior in attempt is in good level.
Although, in quantitative manner of rehearsing hours, which students are
selves-planners of their own rehearsing times, found that the students
have an actual rehearsing hours per week in a low level. Therefore, fix
schedule of rehearsing has put a pressure condition to the students,
which causes the stress and boredom of rehearsal. Although, rehearsing
with a clear purpose of performing such as for competition or concert,
the students are a lot more active in rehearsal they are also motivated
to be assiduous in rehearsing, thus, the students are developed their
skills continuously

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


96 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา
วัฒนธรรมการเรียนดนตรีไทยแต่อดีตเป็นวัฒนธรรมการถ่ายทอดแบบมุข
ปาฐะซึ่งต้องอาศัยความใกล้ชิดระหว่างครูและศิษย์รวมทั้งการสั่งสมประสบการณ์
ในการแสดงผลงานของนักดนตรีเพือ่ พัฒนาฝีมอื ของตนเอง ต่อมาเมือ่ ด้านดนตรีไทย
ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาของชาติจึงทำ�ให้องค์ความรู้ทางวิชาชีพนั้นแพร่หลายและมี
ความก้าวหน้าทางวิชาการขึ้นเป็นลำ�ดับ การเรียนการสอนด้านทักษะ เพื่อมุ่งเน้น
พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคลในปัจจุบันได้มีการปรับและประยุกต์ใช้
กระบวนการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ตามหลักวิชาการการศึกษามากขึ้น แสดง
ให้เห็นถึงการเติบโตและพัฒนาระบบการศึกษาดนตรีไทยทีม่ กี ารต่อยอดองค์ความรู้
โดยไม่มีที่สิ้นสุด
การเรียนการสอนปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย ผู้สอนจะต้องเลือกรูปแบบที่
เหมาะสมกับธรรมชาติของผูเ้ รียนแล้ว ผูเ้ รียนเองจำ�เป็นจะต้องมีความเพียรพยายาม
ในการฝึกฝนด้วยตนเองอยูเ่ สมอเพือ่ จะได้เพิม่ พูนประสบการณ์ให้มคี วามเข้าใจและ
สามารถปฏิบตั ทิ กั ษะต่างๆ ได้ตามศักยภาพของตนเองและพร้อมทีจ่ ะพัฒนาต่อไปได้
ขลุย่ เพียงออ เป็นเครือ่ งดนตรีชนิดหนึง่ ทีม่ ที กั ษะเฉพาะในการเป่า เช่น การ
เป่าเสียงควง การพรมนิว้ เป่าเสียงโหยหวน เสียงครัน่ ลม และการระบายลม เป็นต้น
ซึง่ ทักษะดังกล่าวนี้ หากผูส้ อนสามารถแยกเป็นทักษะย่อยสำ�หรับฝึกในแต่ละทักษะ
ให้ถูกต้องทุกวิธีการแล้ว จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงทักษะต่างๆ ใน
การบรรเลงแต่บทเพลงได้ถูกต้องและสมบูรณ์มากขึ้น
รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies’ Instructional Model
for Psychomotor Domain) เป็นรูปแบบการสอนทีเ่ น้นทักษะปฏิบตั โิ ดยตรง และมี
การแบ่งแนวทางการสอนเป็น วิธกี าร 5 ขัน้ ตอน คือ ขัน้ ที่ 1) ขัน้ สาธิตทักษะหรือการก
ระทำ� ขั้นที่ 2) ขั้นสาธิตและให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย ขั้นที่ 3) ขั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติ
ทักษะย่อย ขั้นที่ 4) ขั้นให้เทคนิควิธีการ ขั้นที่ 5) ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆ
เป็นทักษะที่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วพบว่า เป็นวิธีการสอนทักษะที่สามารถ
นำ�มาประยุกต์ใช้กับวิธีการเรียนการสอนทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออได้เป็นอย่างดี

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 97

ผู้วิจัยมีความตระหนักถึงการพัฒนาทักษะรายบุคคลของผู้เรียนเป่าขลุ่ย
เพียงอออย่างต่อเนือ่ ง และพบว่าหากมีการจัดการเรียนการสอนทีเ่ หมาะสมสามารถ
กระตุ้นให้ผู้เรียนสามารพัฒนาทักษะตนเองได้เต็มตามศักยภาพตามลำ�ดับรวมทั้ง
พยายามปลูกฝังความเพียรให้กับผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบตนเองจนเกิดเป็นนิสัยเพื่อ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเองต่อไป
การด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้หลักการสอนจากสองแนวความคิด
คือ การเรียนการสอนระบบมุขปาฐะของไทยกับวิธีการเรียนสอนจากแนวคิดของ
นักการศึกษาตะวันตกมาจัดการเรียนการสอนโดยนำ�รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ
ของเดวีส์ (Davies’ Instructional Model for Psychomotor Domain) และ
สอดแทรกคุณธรรมด้านความเพียรมาพัฒนาการเรียนการสอน ในรายวิชา 864
382 ทักษะดนตรีไทย 2 เพือ่ พัฒนาทักษะการเป่าขลุย่ เพียงออของผูเ้ รียนให้สามารถ
ปฏิบัติกลวิธีการเป่าขลุ่ยในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ โดยใช้รูปแบบการ
สอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies’ Instructional Model for Psychomotor
Domain) และสอดแทรกคุณธรรม ด้านความเพียรมาพัฒนาการเรียนการสอนใน
รายวิชา 864 382 ทักษะดนตรีไทย 2
2. เพื่อสอดแทรกคุณธรรมด้านความเพียรในการเรียนทักษะการเป่าขลุ่ย
เพียงออ

สมมติฐานของการวิจัย
1. ผูเ้ รียนมีทกั ษะการเป่าขลุย่ เพียงออได้ดขี นึ้ ภายหลังการสอนแบบทักษะ
ปฏิบัติของเดวีส์ (Davies’ Instructional Model for Psychomotor Domain)
2. ผู้เรียนสามารถใช้หลักธรรมด้านความเพียรในการพัฒนาตนเองได้

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


98 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขอบเขตของการวิจัย
1. ดำ�เนินการวิจยั ในรายวิชา 864 382 ทักษะดนตรีไทย 2 สำ�หรับผูเ้ รียน
เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยเพียงออ
2. ดำ�เนินการวิจยั เฉพาะหน่วยการเรียนรูท้ ี่ 5 เรือ่ ง พืน้ ฐานการเป่าเพลง
เดี่ยว
3. เพลงประจำ�หน่วยการเรียนรู้สำ�หรับทำ�วิจัย คือ เพลงขึ้นพลับพลา
สองชั้น เพลงบังใบ สองชั้น และเพลงลมพัดชายเขา สองชั้น

ข้อตกลงเบื้องต้น
1. การวิจัยครั้งนี้ใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูล เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา คือ
เทอมปลายของ ปีการศึกษา 2553
2. บทเพลงทีท่ �ำ วิจยั 3 เพลง คือ ขึน้ พลับพลา สองชัน้ บังใบ สองชัน้ และ
ลมพัดชายเขา สองชั้น

นิยามศัพท์เฉพาะ
ขลุย่ เพียงออ หมายถึง ขลุย่ ชนิดหนึง่ เป็นขลุย่ ขนาดกลางยาวประมาณ
45 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ระดับเสียงตํา่ สุด คือ โด ของไทย
(อนุโลม เท่ากับเสียง Bb ของเปียโน) ใช้เป็นหลักเทียบเสียงในวงเครื่องสาย
ถ้าเล่นวงมโหรีแล้วขลุ่ยเพียงออต้องมีเสียงได้ระดับเดียวกับลูกฆ้องวงใหญ่
ลูกที่ 10 เรียกว่า ลูกเพียงออ
ความเพียร หมายถึง ความขยันฝึกซ้อมทักษะทางการเป่าขลุ่ยอย่าง
ต่อเนื่องจนสามารถพัฒนาทักษะของตนเองได้ตามเป้าหมายสูง
ทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ หมายถึง กลวิธีการเป่าขลุ่ยแบบต่างๆ
เช่น เสียงควง พรมนิ้ว โหยหวน ครั่นลม ระบายลม
รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ หมายถึง การสอนโดยแยก

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 99

ทักษะย่อยๆ ทีใ่ ช้ในการเป่าขลุย่ เพียงออ แล้วเชือ่ มโยงทักษะต่างๆ ในบทเพลง


ด้วยวิธีการ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1) ขั้นสาธิตทักษะหรือการกระทำ� ขั้นที่ 2) ขั้น
สาธิตและให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย ขั้นที่ 3) ขั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย
ขั้นที่ 4) ขั้นให้เทคนิควิธีการ ขั้นที่ 5) ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆ
เป็นทักษะที่สมบูรณ์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผูเ้ รียนสามารถพัฒนาทักษะการเป่าขลุย่ ด้วยเทคนิคต่างๆ สำ�หรับเพลง
เดี่ยวขั้นพื้นฐานได้
2. ผู้เรียนมีความเพียรในการพัฒนาทักษะของตนเองรวมถึงเห็นความ
สำ�คัญของความเพียร
3. คณาจารย์สาขาวิชาดนตรีไทย สายวิชาดุริยางคศิลป์ สามารถนำ�วิธี
ดำ�เนินงานหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้มาเป็นแนวทางสำ�หรับปรับใช้กับรายวิชา
อื่นๆ ในกรณีที่มีความจำ�เป็นได้

วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้รวบรวมทฤษฎีหลักการและผลงาน
วิจยั โดยมีหวั ข้อสำ�คัญตามลำ�ดับดังนี้ วิธกี ารสอนเป่าขลุย่ เพียงออ รูปแบบการเรียน
การสอนที่เป็นสากล ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ วิธีการสอนสอดแทรกคุณธรรมและ
ความเพียร
วิธีการสอนเป่าขลุ่ยเพียงออ
รังสี เกษมสุข (2535 : 27-33) ได้สรุปแนวทางการสอนเป่าขลุ่ยไทยจาก
ประสบการณ์ การเรียนทีไ่ ด้รบั ถ่ายทอดมาจากครูเกลีย้ ง ศิรโิ ภคา ซึง่ เป็นลูกศิษย์คน
หนึ่งของครูเทียบ คงลายทอง เป็นขั้นตอน ดังนี้ คือ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


100 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขั้นแรก วิเคราะห์ความสนใจของผู้เรียนว่าใครมีความตั้งใจจริงแค่ไหนไม่
เกณฑ์บังคับ ให้เรียนทุกคน
ขั้นที่สอง เปิดโอกาสให้เลือกตามความสนใจเมื่อผู้เริ่มเรียน ใครสนใจจริง
ก็สอนเป็นกิจกรรมนอกเวลา
ขั้นที่สาม สาธิตการเป่าขลุ่ยโดยเลือกเพลงสาธิตให้เหมาะกับวัยและครูก็
เริ่มปลูกฝังวัฒนธรรมการไหว้ครูดนตรีและฝึกเป่าเพลงง่ายๆ เช่น เพลงลาวเจริญศรี
เพลงลาวครวญ เป็นต้น และครูจะร่วมเล่นด้วยกันซึง่ จะให้เรียนและฝึกฝนเพลงทีไ่ ม่
ยากเกินไปสามารถปฏิบัติได้และเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน
ขั้นที่สี่ ครูจะพาไปเข้าสังคมดนตรีในกิจกรรมนอกโรงเรียน ทำ�ให้ผู้เรียน
รู้สึกสนุก ภูมิใจ รู้สึกอยากเล่น ชื่นชม และเชื่อมั่นและมีความเคารพศรัทธาในตัวครู
ขัน้ ทีห่ า้ ครูเริม่ สอนหลักการจริงจังเริม่ ตัง้ แต่หลักการเรียนแบบแล้วปฏิบตั ิ
ตาม โดยเคร่งครัด ครูจะเน้นระเบียบวินยั มากครูวางขัน้ ตอนจากง่ายไปหายาก เช่น
การบังคับลม การหายใจ การใช้นิ้วเป็นขั้นตอน (มี- ซอล - ลา) และค่อยๆ สอน
ซับซ้อนมากขึ้น (เร-ฟา-ที-โด)
ขั้นที่หก ฝึกทักษะในแต่ละขั้นตอนให้ถูกต้องชัดเจนแล้วตรวจสอบความ
แน่ใจ ตามขั้นที่ 1 จากนั้นจังผ่านมาขั้น ที่ 2 ขั้นที่ 3-4-5
ขั้นที่เจ็ด การเรียนรู้กลเม็ด คือสิ่งที่พลิกแพลงให้การเป่าขลุ่ยไพเราะ แปร
เปลี่ยนอารมณ์ จากหลักการไปสู่สร้างสรรค์ เรียนรู้กลเม็ดการใช้นิ้วเล่นพลิกแพลง
การใช้ลมผ่อนสั้นผ่อนยาวทั้งลม ที่เรียบตรงนุ่มนวลและแหบสูง จนสามารถบังคับ
ให้ลมและนิ้วสัมพันธ์กันได้ถูกต้อง
ขั้นที่แปด การเรียนรู้หลักการระบายลม เมื่อครูเห็นว่าเป่าได้ดีแล้วครูจะ
ฝึกให้มีกลเม็ด ในการระบายลม สามารถเป่าขลุ่ยให้มีเสียงต่อเนื่องไม่ขาดสายและ
สามารถหายใจได้ปกติ โดยไม่ขาดเสียงนับว่าเป็นวิทยาการที่ลํ้าลึก
ขัน้ ทีเ่ ก้า เมือ่ ความสามารถของผูเ้ รียนเป็นรูปธรรม การเรียนรูค้ อื เป่าเป็น
แล้ว ครูกจ็ ะไปออกงาน คือ ร่วมกิจกรรมในสังคมดนตรีจริงๆ และเป็นกิจกรรมเสริม
การเรียนรู้ของผู้เรียน ขั้นตอนนี้ มีปัญหาตัวแปรสิ่งใหม่ๆ แปลกเข้ามาทำ �ให้สิ่งที่

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 101

เรียนมาตามขั้นตอนเกิดไขว้เขว สับสน ผู้เรียนจะต้องปรับตัว ประการแรกประหม่า


ประการที่สองความมั่นใจในการแสดงออก ประการที่สามความกล้าแสดงออกใน
สิ่งที่เรียนไปแล้ว ประการที่สี่ความสามารถหรือความแม่นในหลักการบังคับเสียง
และจังหวะในเพลงที่บรรเลง แรกๆ ก็จะถูกบ้างผิดบ้างรู้จักปรับไปในตัวจนถูกต้อง
ประการทีห่ า้ ความสามารถในการแก้ปญ ั หา ครูให้ผเู้ รียนแก้ปญ
ั หาด้วยตัวเองโดยไม่
แนะนำ�ทำ�อะไรทัง้ สิน้ ขณะทีอ่ อกงานกิจกรรม ประการทีห่ กสุขภาพพละกำ�ลังต้องมี
อนามัยดีเข้มแข็งเล่นได้อดทน ตลอดลอดฝั่ง
ขั้นที่สิบ เมื่อจบขั้นที่เก้าแล้วครูจะพากลับสำ�นักเพื่อสัมมนาปัญหาของ
แต่ละบุคคล แล้วครูจะตั้งคำ�ถามนำ�เพื่อให้ตอบว่าสิ่งทีเรียนไปแล้วสามารถแสดง
การเป่าขลุ่ยได้ถูกต้อง เปรียบเทียบกับความสามารถที่ออกงานแสดงว่าแตกต่างกัน
อย่างไร ผู้เรียนเกิดความสับสนซึ่งครูจงใจสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนอยากรู้ค�ำ ตอบโดย
ค้นหาด้วยตนเองว่าเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น
ขัน้ ทีส่ บิ เอ็ด ครูสรุปลำ�ดับขัน้ เหตุการณ์ตา่ งๆ ถึงความแตกต่างระหว่างภาค
ปฏิบตั จิ ากทฤษฎีกบั การนำ�ไปใช้ในชีวติ จริงแตกต่างกันอย่างไร ซึง่ ความแตกต่างครู
จะกระตุน้ ให้คดิ ว่า จุดประสงค์หลักของการเรียนดนตรีจะต้องแสดงออกจะแสดงออก
ดีไม่ดีขึ้นอยู่กับความพร้อม ในด้านต่างๆ เช่น อันดับแรกความมั่นใจ อันดับสองการ
กล้าแสดงออก สามารถวิเคราะห์แยกแยะ ขจัดสิ่งที่ไม่ถูกต้องออก ผู้เรียนรู้จัก
ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นอยู่เสมอและเน้นว่าประสบการณ์ตนเอง ก็เป็นสิ่งสำ�คัญที่
จะต้องเรียนรู้และทำ�ได้
ขัน้ ทีส่ บิ สอง จากนัน้ ครูจะให้ยอ้ นกลับไปทบทวนสิง่ ทีส่ อนมาแล้วให้ถกู ต้อง
ชัดเจนยิง่ ขึน้ ในขณะเดียวกันครูกแ็ สดงให้ดเู ป็นตัวอย่างโดยเล่นร่วมกับผูเ้ รียนเหมือน
สังคมดนตรีภายนอกและพาไปร่วมกิจกรรมในสังคมดนตรีบอ่ ยครัง้ ในขณะเดียวกันก็
สอนเพิ่มเติมมากขึ้นตามลำ�ดับขั้น สามารถเรียนรู้ได้ดีและออกไปหาประสบการณ์
ด้วยตนเองได้
ในเรื่องเดียวกัน รังสี เกษมสุข(2535) ยังได้สรุปหลักการการสอนขลุ่ย
ของครูเทียบ คงลายทอง โดยมีหลักการสรุปดังนี้ 1) ทดสอบพื้นฐาน สังเกตแวว
ไหวพริบของผู้เรียน
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
102 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2) เริ่มฝึกบรรเลงเพลงเดี่ยวเพื่อเน้นความลุ่มลึกของท่วงทำ�นองและกลวิธีต่างๆ
3) สอดแทรกกลเม็ดเด็ดพรายหรือลูกเล่น 4) ฝึกสมาธิของการบรรเลงควบคุม
ใจ นิ้ว ลม ให้สัมพันธ์กันอย่างแน่นสนิท 5) ฝึกการเป่าสร้างสรรค์สามารถทำ�ขลุ่ย
เสียงต่างๆ แปรเปลี่ยนอารมณ์ ที่ลุ่มลึก 6) ฝึกให้เป่าขลุ่ยดีเป็นนิสัย
นอกจากนี้ รังสี เกษมสุข (2535 : 32-33) ได้สรุปธรรมชาติของการเรียนรู้
ของการเป่าขลุ่ย ต่างระดับกันไป เป็น ระดับต้น ระดับกลางและระดับสูง คือ
ระดับต้น คือ การเรียนรู้ระดับสัญญา หมายถึง ผู้เรียนเป่าขลุ่ย สามารถ
เป่าได้ เป่าเป็น เป็นการเรียนรู้พื้นฐานทั่วๆ ไป
ระดับกลาง คือ การเรียนรูร้ ะดับทิฏฐิ คือ มีจติ ใจ ยึดมัน่ ผูกพันกับการเป่า
ขลุย่ มีความรูร้ อบหลัก รูท้ ฤษฎีตา่ งๆ ตามภาษาโรงเรียนเรียกว่าเรียนเจนจบหลักสูตร
สามารถเป่าขลุ่ยได้ เรียกว่า เป่าเก่ง
ระดับสูง คือ การเรียนรู้ระดับญาณ คือ เรียนรู้ หยั่งเห็นชัดแจ้ง (Insight)
ซึ่งเกิดจากการฝึกฝนจิตใจเป็นความรู้ภายใน (ใจ) สามารถเป่าขลุ่ยได้เหนือชั้นปกติ
เรียกว่า เป่าดี
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบ หมายถึง รูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรมที่บุคคลแสดงออก
มาในลั ก ษณะหนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ทางความคิ ด ที่ บุ ค คลใช้ ใ นการสื บ สอบหา
คำ�ตอบความรู้ความเข้าใจจะต้องมีองค์ประกอบที่สำ�คัญคือ 1) รูปแบบจะต้องนำ�
ไปสู่การทำ�นาย (prediction) ผลที่ตามมาซึ่งสามารถพิสูจน์ทดสอบได้ กล่าวคือ
สามารถนำ�ไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้ 2) โครงสร้างของรูปแบบจะ
ต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้
อธิบายปรากฏการณ์นั้นได้ 3) รูปแบบจะต้องสามารถช่วยจินตนาการ (imagina-
tion) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้ง
ช่วยขยายขอบเขตของการสืบเสาะความรู้ 4) รูปแบบควรจะประกอบด้วยความ
สัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิง
เชือ่ มโยง (associative relationships) (ทัศนา แขมณีอา้ งใน Keeves.1997 : 386-387)

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 103

รูปแบบการเรียนการสอนทีเ่ ป็นสากลมีหลากหลายรูปแบบ ทัศนา แขมมณี


กล่าวถึงทฤษฎี ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพและมีผู้นิยมนำ�ไปใช้ในการ
เรียน การสอนซึ่งได้จัดกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธพิสัย (cognitive
domain)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective
domain)
3. รูปแบบการเรียนการสอนทีเ่ น้นการพัฒนาด้านทักษะพิสยั (psycho–
motor domain)
4. รูปแบบการเรียนการสอนทีเ่ น้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (proc-
ess skills)
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (integration)

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (psycho–motor
domain)
รู ป แบบการเรี ย นการสอนในกลุ่ ม นี้ เ ป็ น รู ป แบบที่ มุ่ ง ช่ ว ยพั ฒ นาความ
สามารถของผูเ้ รียน ในด้านการปฏิบตั ิ การกระทำ�หรือการแสดงออกต่างๆ ซึง่ จำ�เป็น
ต้องใช้หลักการวิธกี ารทีแ่ ตกต่าง เป็นรูปแบบทีส่ ามารถช่วยให้ผเู้ รียนเกิดการพัฒนา
ทางด้านทักษะ

รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบตั ขิ องเดวีส์ (Davies’ Instructional Model


for Psychomotor Domain)
เป็นรูปแบบการเรียนการสอนทีช่ ว่ ยพัฒนาความสามารถของผูเ้ รียนในด้าน
การปฏิบตั ิ การกระทำ� หรือการแสดงออกต่างๆ กล่าวคือ เน้นการพัฒนาด้านทักษะ
พิสยั ซึง่ รูปแบบการเรียนการสอนในด้านนีม้ รี ปู แบบทีย่ อมรับกันทัว่ ไปในวงการการ
ศึกษา คือ รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (Simpson) รูปแบบ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


104 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (Harrow) และรูปแบบการเรียนการ


สอนทักษะปฏับัติของเดวีส์ (Davies) (ทิศนา แขมณี, 2551 : 243-244)
ทฤษฎี หลักการ แนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบตั ขิ อง
เดวีส์
เดวีส์ (1971 : 50-56) ได้นำ �เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ
ปฏิบัติไว้ว่า ทักษะส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยทักษะย่อยๆ จำ�นวนมากการฝึกให้
ผู้เรียนสามารถทำ�ทักษะย่อยๆ เหล่านั้นได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อมโยงต่อกันเป็นทักษะ
ใหญ่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำ�เร็จได้ด้วยดีและรวดเร็ว
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถด้านทักษะปฏิบัติของผู้เรียนโดย
เฉพาะอย่างยิ่งทักษะ ที่ประกอบด้วยทักษะย่อยจำ�นวนมาก
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นสาธิตทักษะหรือการกระทำ�
ขั้นที่ 2 ขั้นสาธิตและให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย
ขั้นที่ 3 ขั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย
ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการ
ขั้นที่ 5 ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆ เป็นทักษะที่สมบูรณ์
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถปฏิบัติทักษะได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ
การสอนสอดแทรกคุณธรรมและความเพียร
คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่ดีงาม ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Moral
เทียบเคียงเท่ากับ ผู้มีศีลห้า จำ�ง่ายๆ คือ ความมีจิตปกติ สงบ ร่มเย็น ไม่ฟูแฟบตาม
ปัจจัยที่รับกระทบจนเกินพอดี
จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่ใช้ดำ�เนินชีวิตอันประเสริฐถูกแปลเป็น
ภาษาอังกฤษว่า Ethic เป็นคำ�ที่มาจากปรัชญาตะวันตก หมายถึง จรรยาบรรณ
ในการครองอาชีพที่ดีงาม จำ�ง่ายๆ คือ การทำ�หน้าที่ให้ถูกตรงหน้าที่ไม่เห็นแก่

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 105

สินจ้างอามิสตามกระแสของสังคม พุทธศาสนาเชือ่ ว่าคุณธรรมแท้เป็นสัจธรรมเละเชือ่


ว่าการได้ร่างกายมนุษย์เหตุมีคุณธรรมของความเป็นมนุษย์รู้จักกันในนามว่า ศีลห้า
การสมาทานศีลห้าไม่ใช่เรื่องที่ใครควรโต้แย้งเพราะเป็นสัจธรรมที่ผู้รักษาศีลห้าจะ
ได้รับ สวัสดิภาพโดยส่วนตนและโดยส่วนสังคมโดยอำ�นาจของศีล ในทุกยุคสมัย
ผู้จะเชื่อมั่นในอำ�นาจของศีลและธรรมจะมีระดับต่างกันหลักของพุทธธรรมแบ่ง
ศรัทธาของคนเป็น 4 เหล่า ดังสังเขปต่อไปนี้ 1) พวกที่มีปัญญาเจือในศรัทธาสูงยิ่ง
2) พวกที่ต้องเข้าร่วมในเหตุการณ์ 3) พวกที่ต้องอาศัยกัลยาณมิตรอยู่ใกล้ชิด
4) พวกทีพ่ ระพุทธเจ้าแนะนำ�ให้ปล่อยวาง กล่าวโดยสรุป จะเป็นการสอนสอดแทรก
คุณธรรมในชัน้ เรียนธรรมดาจะมีกลวิธเี หมือนกันไม่ได้แม้โดยหลักการเดียวกันก็ตาม
(ไพเราะ ทิพยทัศน์. 2547)
คุณธรรมความเพียร
คุณธรรมด้านความเพียรเป็นสิ่งสำ�คัญต่อ การศึกษาที่จะช่วยให้ผู้เรียน
ประสบความสำ�เร็จ ดังพระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่
พระราชทาน แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ วิทยาเขตสงขลา
วันที่ 25 กันยายน 2521 ว่า
“…คำ�ว่าเพียรและคำ�ว่าอดทนเป็นคุณสมบัติหรือคุณธรรมที่จะต้องปฏิบัติ
โดยเฉพาะผูท้ กี่ �ำ ลังศึกษาเพือ่ การศึกษาเพราะว่าการศึกษานี้ หมายความว่าการเรียน
การหาความรูข้ องผูท้ ศี่ กึ ษา ก็เป็นสิง่ ทีย่ ากลำ�บาก จึงต้องมีความเพียรความอดทน …
เราเป็นคน เราเป็นนักศึกษาหรือนักเรียน หรือแม้จะไม่ใช่นกั เรียนนักศึกษาก็เรียนอยู่
เสมอ ศึกษาอยู่เสมอ … คนเราเรามีปัญญา ควรจะมีปัญญา หมายความว่ามีความ
เข้าใจ เข้าใจด้วยเหตุผลได้ รู้จักใช้เหตุผล รู้จักเลือกสิ่งที่ดีที่งาม รู้ว่าอันนี้ดี อันนี้ไม่ดี
ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง...”
โดยสรุปหลักคำ�สอน คือ ผู้ที่กำ�ลังศึกษาต้องมีความเพียรและอดทน และ
มีปัญญาและเหตุผล รู้จักว่าอะไรดี อะไรไม่ดี (http://www.mfa.go.th.)
ในพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของคำ�ว่า
“เพียร” ไว้วา่ น.ความบากบัน่ ความกล้าแข็ง.พยายามจนกว่าจะสำ�เร็จ (ส.วีรยฺ ะ ป.วิรยิ )

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


106 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

และอธิบายความหมายของ คำ�ว่า “วิริยะ” หมายถึง ความเพียร ความบากบั่น


ความกล้า วิริยภาพก็ใช้ (ป.ส.วีรฺย)

วิธีการดำ�เนินการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลๆ ทั้งด้านเอกสารและงานวิจัยรวมถึงบทเพลงต่างๆ ที่ใช้ใน
รายวิชา ดังรายละเอียดดังนี้ 1) วิธสี อนการเป่าขลุย่ ไทย เป็นการศึกษาหลักการการ
สอนเป่าขลุย่ ของสำ�นักครูเทียบ คงลายทอง 2) วิธกี ารสอนแบบเน้นผูเ้ รียนเป็นสำ�คัญ
เป็นการศึกษารวบรวมหลักการทฤษฎีทางการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ (SCL)
โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies’ Instruction Model For
Psychomotor Domain) มาปรับใช้กับวิธีการสอนทักษะดนตรีไทยของสำ�นักครู
เทียบ คงลายทอง 3) การสอดแทรกคุณธรรมในชั้นเรียน เป็นการนำ�หลักธรรมด้าน
ความเพียรมาสอดแทรกคุณธรรมในชัน้ เรียนเพือ่ นำ�มาเป็นสิง่ ช่วยปลูกฝังคุณธรรมให้
กับผูเ้ รียนเล็งเห็นคุณค่าและประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะจนสามารถบรรเลงเพลง
ได้อย่างสมบูรณ์ 4) การสอนทักษะขลุ่ยเพียงออในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พื้นฐานการ
เป่าเพลงเดีย่ ว 2 กลุม่ คือ เพลงท่อนเดียวและเพลงสองท่อน ได้แก่ เพลงขึน้ พลับพลา
(ทางโอด) เพลงบังใบ (โอด-พัน) เพลงลมพัดชายเขา (โอด-พัน)
ประชากร เป็นนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีไทยเครือ่ งมือเอกขลุย่ เพียงออชัน้ ปี
ที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีไทยเครื่องมือเอกขลุ่ยเพียงออ
ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น โดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำ�นวน 2 คน
ระยะเวลาในการศึกษา ศึกษาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง พื้นฐานการ
เป่าเพลงเดี่ยว จำ�นวน 3 แผน 8 สัปดาห์ ตามปฏิทินดำ�เนินการดังนี้

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 107

ตารางที่ 1 ปฏิทนิ การจัดแผนการเรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้ โดยการใช้รปู แบบ


การสอนทักษะปฏิบตั ขิ องเดวีส์ (Davies’ Instruction Model For Psychomotor
Domain) ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

ระยะเวลา หน่วยการ สอดแทรก


หน่วย เพลง หมายเหตุ
เรียนรู้ คุณธรรม
1 3 สัปดาห์ เพลงโหมโรง โหมโรงมหาราช
โหมโรงไอยเรศ
2 2 สัปดาห์ เพลงดำ�เนิน กล่อมนารี เถา
ทำ�นอง พม่าเห่ เถา
3 2 สัปดาห์ เพลงบังคับ แขกกุลิต เถา
ทาง โสมส่องแสง เถา
4 1 สัปดาห์ เพลงลา ปลาทอง เถา
5 8 สัปดาห์ พื้นฐาน ขึ้นพลับพลา ความเพียร - ระบายลม
การเป่าเพลง สองชั้น - ตีนิ้ว
เดี่ยว บังใบ สองชั้น - พรมนิ้ว
ลมพัดชายเขา สองชั้น - ครั่นลม
- โหย-หวน
หมายเหตุ นักศึกษาจะต้องเรียนเพลงตามลำ�ดับที่กำ�หนดให้จนครบทุกเพลง หาก
ไม่ผ่านในหน่วยใดก็ไม่สามารถดำ�เนินกิจกรรมต่อไปได้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แผนการสอน เป็นแผนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยรูปแบบการสอนทักษะ
ปฏิบัติของเดวีส์ มีรูปแบบการสอน 5 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 สาธิตทักษะ ขั้นที่ 2 สาธิต
และให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย ขั้นที่ 3 ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยโดยไม่มีแบบอย่าง
ขั้นที่ 4 ให้เทคนิคและวิธีการขั้นที่ 5 เชื่อมโยงทักษะย่อย
แบบประเมินทักษะย่อย แบบประเมินทักษะ เป็นการทดสอบทักษะการเป่า
ขลุ่ยเทคนิคต่างๆ ของผู้เรียนดังนี้ การระบายลม การตีนิ้ว การพรมนิ้ว การครั่นลม
การเป่าโหย-หวน ทั้งนี้แบบทดสอบทักษะจะใช้ทดสอบใน 3 ระยะคือ ก่อนเรียน
ระหว่างเรียน หลังเรียน
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
108 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แบบประเมินด้านความเพียร เป็นแบบประเมินคุณธรรมด้านความเพียร
แต่ละบุคคล 2 ประเด็น คือ 1) ความรูส้ กึ ทางคุณธรรม จากแบบวัดเจตคติเรือ่ งความ
เพียรทีส่ ร้างขึน้ และ 2) พฤติกรรมการแสดงออกทางคุณธรรม 2 ด้าน คือ เชิงปริมาณ
จากสมุดบันทึกจำ�นวนชัว่ โมงฝึกซ้อมด้วยตนเองนอกเวลาเรียน และ เชิงคุณภาพการ
แสดงผลงานในการสอบปลายภาค เพลงลมพัดชายเขา สองชั้น
แบบประเมินการแสดงผลงานการเป่าเพลงเดีย่ ว เป็นการทดสอบทักษะ
การเป่าขลุ่ยโดยกำ�หนดให้ผู้เรียนทดสอบ 1 เพลง คือ เพลงลมพัดชายเขา สองชั้น
ตามเกณฑ์ดงั นี้ บุคลิกภาพ ความแม่นยำ�ของจังหวะและทำ�นอง คุณภาพเสียงและ
รสมือ ควบคุมเสียงหนัก-เบา ความไพเราะเหมาะสมกับทำ�นองเพลงการควบคุมแนว
การบรรเลง (ช้า-เร็ว ต่อเนื่องเหมาะสม กลมกลืน)

เพลงลมพัดชายเขา สองชั้น (ทำ�นองหลัก)


ท่อน 1
---ม -ซซซ ---ล -ซซซ -มํ-รํ -ดํ-ท -ล-ท -ดํ-รํ
---ท -ท-ท -มํ-รํ -ท-ล ---ฟ -ม-ฟ -ล-ฟ -ม-ร
---ด -รรร ---ม -รรร -มํ-รํ -ดํ-ท -ล-ท -ดํ-รํ
---ท -ท-ท -มํ-รํ -ท-ล -ร-ซ -ล-ท -รํ-ท -ล-ซ
ท่อน 2
---ม -ซซซ ---ล -ซซซ -ท-ล -ซ-ม -ร-ม -ซ-ล
-ทรํล ทลซม -ร-ม -ซ-ล -รํ-ท -ล-ซ ---ล ---ท
-ซลท -รํ-มํ -ซํ-มํ -รํ-ท -ท-ล -ซ-ม -ร-ม -ซ-ล
-ทรํล ทลซม -ร-ม -ซ-ล ---ล ---ท ---รํ ---มํ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 109

เพลงลมพัดชายเขา สองชั้น (โอด-พัน)


ท่อน 1 (โอด)
-ซํมํ-รํ -ดํ-ทดํ- -ทลซลท -ดํ-รํ
มํรํดํ-ซ
- -สะบัด -ครั่น--
กระทบ- ลง-ขึ้น
---- -“รํ”-ท ---รํ -“รํ”-ล ---ร -มร-มฟ -ล“ล”-ฟ -ม-ร
-ควง- -ควง- หวน-โหย -ควง- -ครั่น--
---ด -รด-ร -รฟ-ม- ฟ- ม-ร ---มซ -ซฟ-ซ-ลท -ดํ-ท -ดํ-รํ
-โหย- -ครั่น- -โหย --ครั่น
---- -“รํ”-ท -ลซลท -รํ-มํรํ- -ร-มซ ---ลท -รํ-ท -ล-ซ
“รํ”- ล
-ควง- -สะบัด -โหย -กระทบ

(พัน)
ลซมรม ซลซซ ทลซม ซมลซ ซํมํซํรํ มํรํดํซ รซลท ลทดํรํ
ทลทท ทรํทท ลทรํมํ รํดํทล ฟมลร มฟมฟ ลทลฟ ลฟมร
ซลทซ ลทดํล ทดํรํท ดํรํมํรํ ซํมํรํดํ มํรํดํท ลซลท ลทดํรํ
ทลทท ทรํทท มํรํซํมํ รํท-ล -ร-ซ -ล-ท -รํ-ท -ล-ซ

ท่อน 2 (โอด)
--- ---ซ ---ล -ซซซ -รํท-ล -ซ-ล-ซม รด-รม -ซ-ม-ซล
-ตีนิ้ว- -ครั่น-
-กระทบ-
หวน กระทบ
-“ล”-ซ -ล-ซล-ซม -ร-ม -ซ-ล -“ล”-ล -ท-ลท-ลซ ---รํล -ทล-ซ-ลท
-ควง- -ควง- -กระทบ-
-ซลท -รํ-ท-รํมํ
---ซํมํ -รํ-มํ-รํท ---ซ -ล-ซ-ล-ซม -ล-ม -ซ-ม-ซล
-โหย- -ครั่น- -โหย --ครั่น
---ซ -ฟซ-ลซ-ม -ร-ม -ซ-ม-ซล ---ล ---ท -มํ-ท -รํ-มํ
-ควง- -กระทบ
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
110 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

(พัน)
--รม ซลซม ซมรม ซลซม ลทรํล ทซลม ซมรม ลซทล
ทรํมํรํ ทลซม ซลทซ ลซทล มํรํซํมํ รํทลซ รมลซ ทลรํท
ซทลท มํทรํมํ รํทํมํรํ ทลรํท ซลทรํ ทลซม รมซม ลมซล
ทททรํ ทลซม ซลทซ ลท-ล ---ล ---ท ---รํ ---มํ

ซีดบี นั ทึกผลงาน พร้อมแฟ้มสะสมโน้ตเพลง ผูเ้ รียนต้องจดบันทึกการฝึก


ซ้อมส่วนตัวรวมถึงบันทึกผลงานเสียงของตนเอง ในช่วงทดสอบทั้ง 3 ระยะ เพื่อนำ�
มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมชั้นฟังเพื่อให้ผู้เรียนประเมินและวิเคราะห์ตนเอง รวม
ทั้งรู้จักวิพากษ์ผู้อื่นในประเด็นต่างๆ จากการฟังผลงานของตนเองย้อนหลัง เป็น
วิธกี ารหนึง่ ทีช่ ว่ ยให้ผเู้ รียนทราบจุดดีจดุ บกพร่องของตนเองโดยมีอาจารย์ผสู้ อนร่วม
ประเมินและวิพากษ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมเสริมทักษะด้านการฟัง
และการวิเคราะห์รู้จักประเมินตนเอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำ�ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพแล้วนำ�เสนอ ดังนี้
1. หาค่าคะแนนเฉลี่ย จากคะแนนที่ได้ทำ�กิจกรรมต่างๆ โดยใช้สูตร

x = ∑X
N

2. แล้วนำ�ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบดูค่าคะแนนต่างๆ ในการ
เรียนทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ 5 ทักษะ คือ การระบายลม การตีนิ้ว การพรมนิ้ว
การเป่าครั่นลม การเป่าโหย-หวน

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 111

ผลการวิจัยและอภิปรายผล
ส่วนที่ 1 ผลสรุปพัฒนาการด้านทักษะ
การ การตีนิ้ว การ การเป่า การเป่า โดยรวม
เพลง
ระบายลม พรมนิ้ว ครั่นลม โหย-หวน
x ร้อยละ x ร้อยละ x ร้อยละ x ร้อยละ x ร้อยละ x ร้อยละ
ผู้เรียนคนที่ 1 2.83 94.43 2.5 83.33 2.2 72.21 2.7 88.89 3 100 2.63 87.77

ผู้เรียนคนที่ 2 2.00 66.66 2.17 72.22 2.33 77.75 1.83 61.11 2.17 72.22 2.03 70.00
เกณฑ์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยและคะแนนร้อยละ
80 – 100 = ดีมาก / 60 – 79 = ดี / ตํ่ากว่า 60 = ต้องปรับปรุง

จากตารางสรุประดับพัฒนาการระหว่างเรียนและหลังเรียน จำ�แนกตาม
รายบุคคลและตามทักษะโดยการสอบเพลงขึ้นพลับพลา สองชั้น เพลงบังใบ สอง
ชัน้ และเพลงลมพัดชายเขา สองชัน้ พบว่าผูเ้ รียนคนที่ 1 มีลำ�ดับคะแนนทักษะต่างๆ
5 ด้าน ดังนี้
คะแนนสูงสุด คือ ด้านการเป่าโหย-หวน(100%) รองลงมา คือ ด้านการ
ระบายลม (94.43%) การเป่าครั่นลม (88.89%) การตีนิ้ว (83.33%) และอันดับ
สุดท้าย คือ การพรมนิว้ (72.21%) ซึง่ อยูใ่ นเกณฑ์ดโี ดยมีภาพรวมด้านพัฒนาการใน
การเรียนมีระดับพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คือ 87.77%
สำ�หรับระดับพัฒนาการ ระหว่างเรียน และหลังเรียนของผู้เรียนคนที่ 2
มีลำ�ดับคะแนนทักษะต่างๆ 5 ด้าน ดังนี้ คะแนนสูงสุด คือ ด้านการพรมนิ้ว
(77.75%) รองลงมาคือ การตีนวิ้ (72.22%) การเป่าโหย-หวน (72.22%) การระบาย
ลม(66.66%) และอันดับสุดท้าย คือ การเป่าครั่นลม (61.11%) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี
โดยมีภาพรวมด้านพัฒนาการในการเรียนมีระดับพัฒนาการอยู่ ในเกณฑ์ดี คือ 70%

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


112 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่วนที่ 2 สรุป การแสดงผลงานเพลงเดี่ยวลมพัดชายเขา สองชั้น


ทักษะ
บุคลิกภาพ ความแม่นยำ� คุณภาพเสียง การควบคุมแนว รวม
ที่ ผู้เรียน ทำ�นอง-จังหวะ และรสมือ การบรรเลง 20
5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน คะแนน
1 ผู้เรียนคนที่ 1 5 3.5 4 3.5 16
2 ผู้เรียนคนที่ 2 4 3 3.5 3.5 14
เกณฑ์การประเมิน
ระดับ 17-20 = ดีมาก / ระดับ 13-16 = ดี / ระดับ 10-12 = ปานกลาง / ระดับ
ตํ่ากว่า 10 = ต้องปรับปรุง

จากตารางสรุปการแสดงผลงานเพลงเดีย่ วลมพัดชายเขา สองชัน้ ปรากฏว่า
ผู้เรียนคนที่ 1 มีระดับคะแนน 16 คะแนน หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับดี สำ�หรับ
ผู้เรียนคนที่ 2 มีระดับคะแนน 14 คะแนน มีคุณภาพอยู่ในระดับดี เช่นกัน
ส่วนที่ 3 ผลประเมินด้านความเพียร
๑) จากแบบวัดเจตคติ พบว่า ผู้เรียน พบว่า มีผลคะแนนทางเจตคติเป็น
บวก หมายถึง เป็นผู้ที่เห็นความสำ�คัญและประโยชน์ของความเพียร
๒) พฤติกรรมการแสดงออกทางคุณธรรม
๒.๑) เชิงปริมาณ จากสมุดบันทึกการฝึกซ้อมนอกตารางเรียนด้วย
ตนเอง
ที่ ผู้เรียน ชั่วโมง/สัปดาห์ ระดับ ผลประเมิน
1ผู้เรียนคนที่ 1 4 3 ปานกลาง
2ผู้เรียนคนที่ 2 3 2 น้อย
เกณฑ์การประเมิน
ระดับ 5 หมายถึง ตั้งแต่ 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ = ดีมาก
ระดับ 4 หมายถึง 6-7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ = ดี
ระดับ 3 หมายถึง 4-5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ = ปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ = น้อย
ระดับ 1 หมายถึง น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ = น้อยที่สุด

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 113

จากตารางสรุปจำ�นวนชัว่ โมงการฝึกซ้อมนอกตารางเรียน ปรากฏว่า ผูเ้ รียน


คนที่ 1 มีชวั่ โมงฝึกซ้อมเฉลี่ยต่อสัปดาห์เท่ากับ 4 ชัว่ โมง อยูใ่ นระดับ 3 ผลประเมิน
การฝึกซ้อมด้วยตนเองเชิงปริมาณอยูใ่ นระดับ ปานกลาง ส่วนผูเ้ รียนคนที่ 2 มีชวั่ โมง
ฝึกซ้อมเฉลี่ยต่อสัปดาห์เท่ากับ 3 ชั่วโมง อยู่ในระดับ 2 ผลประเมินการฝึกซ้อมด้วย
ตนเองเชิงปริมาณอยู่ในระดับน้อย
๒.๒) เชิงคุณภาพ ได้แก่ ความสมบูรณ์ของการแสดงผลงาน ปลายภาค
ตารางที่ 2 สรุป การแสดงผลงาน เพลง เดี่ยวลมพัดชายเขา สองชั้น
ทักษะ
บุคลิกภาพ ความแม่นยำ� คุณภาพเสียง การควบคุมแนว รวม 20
ที่ ผู้เรียน ทำ�นอง-จังหวะ และรสมือ การบรรเลง คะแนน
5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน
1 ผู้เรียนคนที่ 1 5 3.5 4 3.5 16
2 ผู้เรียนคนที่ 2 4 3 3.5 3.5 14
เกณฑ์การประเมิน
ระดับ 17-20 = ดีมาก
ระดับ 13-16 = ดี
ระดับ 10-12 = ปานกลาง
ระดับตํ่ากว่า 10 = ต้องปรับปรุง

จากตารางสรุปการแสดงผลงาน เพลงเดีย่ วลมพัดชายเขา สองชัน้ ปรากฏว่า
ผู้เรียนคนที่ 1 มีระดับคะแนน 16 คะแนน หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับดี สำ�หรับ
ผู้เรียนคนที่ 2 มีระดับคะแนน 14 คะแนน มีคุณภาพอยู่ในระดับดี เช่นกัน

สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
จากข้อสรุปผลการวิจยั การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนด้านทักษะการเป่า
ขลุ่ยเพียงออ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies’ Instruction
Model For Psychomotor Domain) และสอดแทรกคุณธรรมด้านความเพียรใน
รายวิชา 864 382 ทักษะดนตรีไทย 2 มีข้อค้นพบที่จะได้นำ�มาอภิปรายผลดังนี้

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


114 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1) หลักสำ�คัญของการสอนปฏิบัติ การสอนรายวิชาปฏิบัติสิ่งสำ�คัญ
ที่สุด คือ ตัวอย่างที่ดี หรือการสาธิตการฝึกปฏิบัติเป็นลำ�ดับขั้นตอนและการให้
เวลาที่เหมาะสมกับผู้เรียน การสาธิต คือสิ่งสำ�คัญที่ผู้สอนต้องปฏิบัติให้ผู้เรียนเห็น
เชิงประจักษ์ให้ผู้เรียนได้สังเกตเพื่อลอกเลียนแบบ หรือเรียกว่า “การลอกลายครู”
การลอกลายนี้ผู้เรียนต้องใช้การสังเกตทั้งการดูและการฟังเพื่อจดจำ�วิธีการบรรเลง
รวมถึงจดจำ�รายละเอียดของเสียงต่างๆ สำ�หรับงานวิจยั เล่มนี้ผวู้ จิ ยั ได้ศกึ ษาค้นคว้า
รูปแบบการสอนทักษะปฏิบตั ขิ องเดวีสแ์ ละพบว่าเป็นแนวทางการสอนรูปแบบหนึง่
ทีส่ ามารถ นำ�มาปรับใช้กบั การสอนปฏิบตั ดิ นตรีไทยได้โดยการนำ�แนวความคิดเรือ่ ง
การฝึกทักษะย่อยให้ชำ�นาญแล้วเชือ่ มโยงทักษะย่อยทัง้ หมดให้สมบูรณ์ ในงานวิจยั
เล่มนี้ผู้วิจัยได้นำ�แนวความคิดดังกล่าวมาใช้การสอนเรื่องพื้นฐานการเป่าเพลงเดี่ยว
โดยนำ�เพลงอัตราสองชัน้ มาประดิษฐ์ท�ำ นองให้มลี กั ษณะ เป็นเพลงเดีย่ ว คือ มีท�ำ นอง
โอด- พัน เพือ่ เป็นพืน้ ฐานในการเป่าเพลงเดีย่ วในระดับสูงต่อไป ผูเ้ รียนจำ�เป็นจะต้อง
หมัน่ ฝึกฝนขยันอดทนต่อการฝึกซ้อมและหมัน่ ฝึกฝนทักษะย่อยต่างๆ ให้ถกู ต้องตาม
หลักวิธีการ
การเรียนการสอนทักษะทางดนตรีไทยผู้เรียนอาจใช้ระยะเวลาเพื่อให้เกิด
ความชำ�นาญ ทางทักษะใดทักษะหนึ่งไม่เท่ากัน ฉะนั้นหากผู้สอนนำ�ทักษะการ
บรรเลงขั้นสูงต่างๆ แยกเป็นทักษะย่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนฝึกฝนตามลำ�ดับขั้นความ
ง่าย-ยาก ก็จะทำ�ให้ผเู้ รียนรูจ้ กั ฟังและพิจารณาเสียงดนตรีมากขึน้ ทำ�ให้สามารถเข้าใจ
และมองเห็นรายละเอียดได้มากขึ้น ผลจากงานวิจัยทำ�ให้ผู้วิจัยพบหลักสำ�คัญของ
การสอนปฏิบัติดนตรีไทย คือ ตัวอย่างต้องดี ทำ�ให้มีขั้นตอน สอนให้รู้จักคิด จดจ่อ
จิตในความเพียร
2) การสอดแทรกความเพียรในการเล่นดนตรี โดยปกติคุณธรรมด้าน
ความเพียรกับการ เล่นดนตรีเป็นของคู่กัน นักดนตรีที่มีฝีมือเป็นมืออาชีพทุกคน
ล้วนต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก และต่อเนื่องเพื่อพัฒนาฝีมือตนเองและรักษา
คุณภาพของตนเองไว้ตลอดเวลา แต่ในปัจจุบันบริบทต่างๆ มีผลทำ�ให้ผู้เรียนดนตรี
ไทยคนหนึ่งๆ ขาดความมุ่งมั่นและทุ่มเทต่อการเรียนและการฝึกฝนตนเอง บางครั้ง

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 115

อาจมีเป้าหมายเพียงแค่ เล่นได้ เล่นเป็น เท่านัน้ ไม่สามารถพัฒนาตนเองอยูใ่ นระดับ


เล่นเก่งและเล่นดีได้ ผู้สอนซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดและมีบทบาทสำ�คัญต่อผู้เรียน คือ ผู้ที่
สามารถ ช่วยพัฒนาผู้เรียนได้ดีที่สุด

ผลสะท้อนความคิดเห็นจากผู้สอน
ผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถมีโอกาสที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่งได้
คือ ผู้สอน ต้องมีความสามารถทางทักษะดนตรี มีการจัดการที่ดี เข้าใจธรรมชาติ
และความแตกต่างของผู้เรียน จึงจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และทีส่ �ำ คัญต้องมีการสอดแทรกคุณธรรมทีด่ ี ของนักดนตรีให้กบั ผูเ้ รียนไปพร้อมกับ
การเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นทั้งคนเก่งและคนดี สำ�หรับ การสอดแทรกความ
เพียรในการเล่นดนตรีให้กับผู้เรียนนั้นสามารถทำ�ได้หลายวิธี เช่น 1) ทำ�ให้เห็น เช่น
ครูเองต้องหมั่นฝึกซ้อมตนเองเมื่อมีเวลา 2) ให้กำ�ลังใจ คือ ชี้แนะหรือนำ�ผู้เรียนให้
เห็นศักยภาพของตนเอง และ 3) วางกรอบเป้าหมาย คือ สร้างเงื่อนไข มอบหมาย
หน้าที่หรือตั้งกฎเกณฑ์ในการเรียน
แนวทางทัง้ 3 ข้อดังกล่าวนี้ ได้น�ำ มาปรับใช้ในงานวิจยั เล่มนีแ้ ละทีส่ �ำ คัญใน
การวางกรอบเป้าหมายให้ผู้เรียนเกี่ยวกับความเพียรได้ผลที่ปรากฏ พบว่า เป็นสิ่งที่
น่าพอใจระดับดีมากเพราะผูเ้ รียนสามารถพัฒนาทักษะตนเองได้จริงและสิง่ ทีพ่ บเกีย่ ว
กับพัฒนาการทางทักษะด้านการเป่าขลุย่ ของผูเ้ รียนในงานวิจยั นี้ คือ 1) การกำ�หนด
ตารางฝึกซ้อม สามารถควบคุมวินัยของผู้เรียนได้แต่ต้องทำ�อย่างต่อเนื่อง 2) หาก
ต้องการให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะตนเองอย่างต่อเนื่องและเกิดความเพียรด้วยตนเอง
ต้องอาศัยปัจจัยดังนี้ คือ ควรมีโอกาสแสดงผลงาน เช่น คอนเสิร์ต หรือประกวด
ดนตรีและการต่อเพลงประเภทเพลงเดี่ยวที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นลำ�ดับจากง่าย
ไปหายากจะทำ�ให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะตนเองได้อย่างรวดเร็ว

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


116 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม
กิง่ ฟ้า สินธุวงษ์. 2547. “หลักการจัดประสบการณ์การณ์เรียนการสอนทีเ่ น้นผูเ้ รียน
เป็นสำ�คัญ”. คูม่ อื อาจารย์ การพัฒนาการเรียนการสอนทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็น
สำ�คัญ. สำ�นักนวัตกรรมการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยขอนแก่น : หจก.
โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
เกณฑ์ ม าตรฐานไทย. 2545. สำ � นั ก มาตรฐานอุ ด มศึ ก ษา สำ � นั ก ปลั ด ทบวง
มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ภาพพิมพ์.
คณะศิลปกรรมศาสตร์. 2552. คู่มือนักศึกษาปีการศึกษา 2552. มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.
จรัญ กาญจนประดิษฐ์. 2552. ขลุย่ เพียงออ : ทฤษฎีและหลักการปฏิบตั ,ิ เอกสาร
ประกอบการสอนสาขาวิชาดนตรีไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.
. 2553. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเป่าขลุ่ยเพียง
ออ โดยใช้รปู แบบการสอนแบบทางตรง (Direct Instruction Model)
และสอดแทรกคุณธรรมด้านอิทธิบาท 4 ในรายวิชา 864381 ทักษะ
ดนตรีไทย 1. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไพเราะ ทิพยทัศน์. 2547 . “การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการเรียนการ
สอน” คูม่ อื อาจารย์ การพัฒนาการเรียนการสอนทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นสำ�คัญ.
สำ�นักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์
คลังนานาวิทยา.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2525. พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์
อักษรเจริญทัศน์.
รังสี เกษมสุข. 2535. โลกทรรศน์ขลุ่ยไทย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมณี. 2551. รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย.
กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 117

ศักดา ไชกิจภิญโญ. 2547. “การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผูเ้ รียนเป็นสำ�คัญ”.


คู่มืออาจารย์ การพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำ�นักนวัตกรรมการเรียนการสอน : หจก.โรงพิมพ์
คลังนานาวิทยา.
เว็บไซต์
http://www.mfa.go.th. (20 กรกฎาคม 2553.)

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


การออกแบบสัญลักษณ์ในเมืองมรดกโลก
“หลวงพระบาง” และอัตลักษณ์ที่ยังคงอยู่
7
The design of the symbol in the world heritage site,
"Luang Prabang", and the identity of the remains.

กษม อมันตกุล1
Kasama Amantakul

มนุษย์มคี วามแตกต่างจากสัตว์อนื่ ๆ คือ การรูจ้ กั สร้างสรรค์ สร้างความคิด


หรือทีเ่ รียกว่า มีสติปญ
ั ญา  สามารถแสดงความรูส้ กึ นึกคิดแห่งตนได้อย่างสร้างสรรค์
กว้างไกล โดยมีสอื่ นำ�หลายๆ รูปแบบ เช่น การแสดง การออกท่าทาง การแสดงทาง
เสียง การสร้างภาพที่เป็นสัญลักษณ์ ตลอดจนการผสมผสานและอาศัยสิ่งแวดล้อม
ต่างๆ มาประกอบกัน ทำ�ให้เกิดเป็นสิง่ ทีม่ คี ณ
ุ ค่าแก่ชวี ติ และสามารถนำ�มาใช้สอยให้
เกิดประโยชน์ตามความเหมาะสมในการดำ�เนินชีวิต เช่น การแต่งกาย การประดับ
ประดา การตกแต่งที่อยู่อาศัย สถานที่ทำ�งาน อาคาร ร้านค้า ถนนหนทางและ
สิ่งแวดล้อม  เพื่อให้เกิดความรื่นรมย์ เกิดความสุขทางใจ เป็นการคลายเครียด ซึ่ง
ก่อนทีจ่ ะได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ตกแต่งทัง้ ร่างกายตนเอง และสิง่ แวดล้อมทัง้ หลายนัน้
จะต้องเริม่ ด้วยการออกแบบ ซึง่ จำ�เป็นต้องเข้าใจถึงความเป็นมา การพัฒนาทางการ
ออกแบบ หลักของการออกแบบ รวมทั้งหน้าที่ประโยชน์ใช้สอยและความงาม
สิ่งดังกล่าวเหล่านี้ รวมเรียกว่า "การสร้างสรรค์ศิลปะ"

อาจารย์ประจำ�สายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


1
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 119

ในปัจจุบันภาพสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายภาพ เป็นสื่อที่มีบทบาทอย่าง
มากในสังคมชีวติ ประจำ�วัน ถ้าเรามองไปรอบ ๆ ตัวจะเห็นสือ่ ทีเ่ ป็นเครือ่ งหมายภาพ
ปรากฏอยู่ทั่วไปตามท้องถนนหรือแม้กระทั่งสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆไม่ว่าจะเป็นใน
เมืองหรือในต่างจังหวัดการออกแบบสัญลักษณ์ให้บรรลุเป้าหมาย นักออกแบบควร
คำ�นึงถึงหลักสำ�คัญ 3 ประการคือ
1. ความงามของสัญลักษณ์ จะต้องเกี่ยวโยงกับสุนทรียภาพ (Aesthetic
Form) คือความงดงามของรูปแบบของสัญลักษณ์ไม่ว่าจะเป็น Representation
หรือ Abstract ก็ตาม
2. ต้องเหมาะสมกับกาลเวลาทุกยุคทุกสมัย ควรหลีกเลีย่ งสิง่ ทีเ่ ป็นความ
นิยมชั่วคราว
3. ต้องนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ สามารถลอกเลียนด้วยวิธตี า่ ง ๆ
เช่นการย่อหรือขยายได้

Abstact
Humans are different from other animals is known to generate
creative ideas, or that intelligence is a sense of their creative range.
There are many forms of media such as a gesture to show off the sound.
To create a symbol. The integration and the environment combine
to cause life is valuable and can be utilized to benefit the most in
life such as dressing and garnish Modern residential buildings, shops,
streets, workplaces and the environment. To achieve a more pleasing.
Their mental health. To relieve stress. Prior to the creation of artificial
self-appointed body. And all that. It begins with the design. The need
to understand before. Development of the design. The core of the
design. The utility function and beauty. These include such things as
"artistic creativity".
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
120 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

The icons or images. The media plays a huge role in everyday


life.If we look around to see the media as the image appears every-
where on the streets or even.Attractions, whether in cities or in rural
areas designed to achieve a target. Design should take into account
the 3 main reasons.
1. The beauty of the symbol. To be associated with aesthetics
(Aesthetic Form) is beautiful. The form of a symbol. Abstract Represen-
tation or not.
2. Must be suitable for all ages over time. Should be avoided,
what is the most popular temporary
3. To be utilized in several respects. Can mimic a variety of
ways such as zoom in or out.

สัญลักษณ์ (SYMBOL)
จากวิวัฒนาการของระบบการเชื่อมประสานกับผู้ใช้ด้วยรูปภาพ ทำ�ให้เกิด
ปัญหาในการออกแบบขึน้ จำ�นวนหนึง่ โดยเฉพาะการใช้ภาพสัญลักษณ์ เพือ่ สือ่ ความ
หมายการทำ�งานให้ผู้ใช้รับทราบ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำ�คัญเป็นอย่างมาก เพราะหาก
ออกแบบสัญลักษณ์ที่ไม่ดี ทำ�ให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าใจโปรแกรมได้ ก็แทบจะเรียกได้
ว่า ระบบการเชือ่ มประสานกับผูใ้ ช้ลม้ เหลว หรือไม่เป็นมิตรต่อผูใ้ ช้ ดังนัน้ การใช้ภาพ
สัญลักษณ์ทเี่ หมาะสม, ชัดเจน และง่ายต่อการเข้าใจ จะสามารถส่งเสริมให้โปรแกรม
ระบบงานที่เราสร้างขึ้นประสบความสำ�เร็จไปได้ระดับหนึ่ง
นักออกแบบจะต้องใช้ความรูค้ วามสามารถอย่างยิง่ ในการวิเคราะห์เนือ้ หา
ของสารทีจ่ ะต้องการสือ่ ความหมาย และสังเคราะห์ให้เป็นรูปลักษณ์ทใี่ ช้เป็นสิง่ แทน
อันสามารถจะบอกได้ถงึ ความหมาย ทัง้ ยังต้องใช้ความสามารถในการเขียนภาพ หรือ
ผลิตภาพสัญลักษณ์ให้ประณีตคมชัด เพื่อสื่อความหมายได้ถูกต้องชัดเจน ในการ
ออกแบบสัญลักษณ์ นักออกแบบจะมีแหล่งบันดาลใจสำ�คัญ 2 ประการคือ
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 121

1. จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (Natural Form) ได้แก่ ภาพดอกไม้ ใบไม้


ภูเขา ทะเล สัตว์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ จัดเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดจากธรรมชาติ
(Natural Symbol)
2. จากรูปแบบทีม่ นุษย์สร้าง (Manmade Form) ได้แก่ อาคารบ้านเรือน
เครื่องใช้ สิ่งของต่าง
ซึง่ การแสดงบทบาทของสัญลักษณ์ (Symbol) เครือ่ งหมาย (Sign / Mark /
Logotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งใดๆ ที่กำ�หนดขึ้นมาใช้แทนความหมายอีกสิ่ง
หนึง่ เพือ่ ใช้สอื่ สารข้อมูล ทีใ่ ช้แทนคำ�พูดทีย่ าวและยากได้ และเป็นศัพท์ทคี่ รอบคลุม
การใช้เรียกสัญลักษณ์รูปแบบต่างๆ ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่สามารถแยก
ย่อยเพื่อใช้เรียกตามรายละเอียดการใช้งานได้อีก ซึ่งมีชื่อเรียกหลากหลายตาม
ลักษณะของการใช้งาน เช่น เครื่องหมายภาพ (Pictographs / Pictograms) ตรา
สัญลักษณ์ (Logo) เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) ป้ายสัญลักษณ์ (Signage)
สัญลักษณ์นำ�โชค (Mascot) พระราชลัญจกร หรือ ตราประทับ (Seal) ตราประจำ�
แผ่นดิน (Emblem) ตราประจำ�ตระกูล (Coat of arms) ฯลฯ (ขาม จาตุรงคกุล
2550:102 )
ที่มาของสัญลักษณ์ภาพ

สัญลักษณ์ภาพ (Graphic Symbol)

ภาษาเขียน (Phonograms) ภาษาภาพ (Logograms)


ประเภทเลียนแบบธรรมชาติ
(Image - Related)
ประเภทถ่ายทอดจากความคิด
(Concept - Related)
ประเภทอิสระ
(Arbitrary)

ภาพที่ 1 ภาพแสดงที่มาของสัญลักษณ์ภาพ (ขาม จาตุรงคกุล 102 : 2550)


ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
122 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เครือ่ งหมายภาพในการจราจร (Information on Traffic) หมายถึง คำ�สัง่


การเตือน การบอก กฎระเบียบข้อบังคับ ให้ผขู้ บั ขีแ่ ละเดินทางได้ทราบถึงสภาพการ
จราจรข้างหน้า และให้ปฏิบตั ติ าม ซึง่ มีความจำ�เป็นและสำ�คัญมากในการดำ�รงชีวติ
รูปแบบจึงมักยึดตามหลักสากลเหมือนๆ กันทุกประเทศ แต่การออกแบบก็ต่างกัน
ไปตามแนวคิดของแต่ละประเทศ

ภาพที่ 2 เครื่องหมายภาพในการจราจรสากล
( www.zoneza.com /ป้ายจราจร-สัญลักษณ์จราจร 22.11.11)

แนวคิดอัตลักษณ์ (Identity)
อัตลักษณ์คืออะไร อัตลักษณ์คือความรู้สึกนึกคิดต่อตนเองว่า "ฉันคือใคร"
ซึง่ จะเกิดขึน้ จากการปฏิสงั สรรค์ระหว่างตัวเรากับคนอืน่ โดยผ่านการมองตัวเองและ
คนอืน่ มองเราในนัน้ และในขณะเดียวกัน อัตลักษณ์ จะถูกกล่าวควบคูไ่ ปกับเรือ่ งของ
อำ�นาจ นิยามความหมายหรือการสร้างภาพแทนความจริงเมื่ออัตลักษณ์ไปสัมพันธ์
กับแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ดูจะมีความหมายที่แตกต่างจากความหมายที่เข้า
ที่เข้าใจกันโดยสามัญสำ�นึกมาก (เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา ,2543:1) อัตลักษณ์
แตกต่างจากบุคลิกภาพในประเด็นที่ส�ำ คัญหลายประการ เราอาจมีบุคลิกภาพร่วม
กับบุคคลอืน่ แต่การมีอตั ลักษณ์รว่ มมีนยั ของการเกีย่ วพันกับการตืน่ ตัวบางอย่างใน
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123

ตัวของเรา เช่นเราเลือกที่จะแสดงตัวตนกับกลุ่มหรืออัตลักษณ์ที่เฉพาะ ซึ่งบางครั้ง


เราอาจมีตัวเลือกมากกว่าคนอื่น และอัตลักษณ์ต้องการความตระหนัก บางอย่างที่
เกี่ยงข้องกับส่วนที่เป็นของเรา บุคลิกภาพอธิบายลักษณะต่างที่บุคคลทั่วไปน่าจะมี
เช่น การเข้าสังคมเก่งหรืออาจเป็นคุณลักษณะภายใน แต่อัตลักษณ์ต้องการพื้นฐาน
บางอย่าง อาจถูกจัดประเภทด้วยการมีลกั ษณะบุคลิภาพ แต่เราต้องแสดงตนเองกับ
อัตลักษณ์ความสำ�คัญของการแสดงตัวตน คือการมีอัตลักษณ์เหมือนกับกลุ่มหนึ่ง
และมีความแตกต่างกับอีกกลุ่มอื่น หากลองคิดถึงสถานการณ์ที่เราพบกับใครสัก
คนในครัง้ แรก และเรากำ�ลังพยายามค้นหาว่าเขาคือใคร ด้วยการตัง้ คำ�ถามว่าเขามา
จากไหนและเขาทำ�อะไรในสถานการณ์ตา่ งๆ สิง่ เหล่านีเ้ ป็นการกำ�ลังพยายามค้นหา
สิ่งที่เกี่ยวกับตัวของบุคคลนี้และสิ่งที่ทำ�ให้เขาเหมือนกับเราด้วย และสิ่งที่ทำ�ให้เขา
แตกต่างจากเรา คุณได้ยินเสียงคนกลุ่มหนึ่งกำ�ลังสนทนาแล้วพูดภาษาเดียวกับคุณ
คุณจะรับรู้ด้วยความรู้สึกของการระลึกรู้และความเป็นเจ้าของร่วมกับกลุ่มนั้นการ
ที่คุณมีบางอย่างร่วมนี้ ได้นำ�เสนอช่วงของการระลึกรู้และการมีบางอย่างร่วมกับ
ผู้อื่นผู้ที่มีอัตลักษณ์ร่วมกับคุณ อัตลักษณ์ถูกแสดงออกให้เห็นด้วยการคล้ายกัน
นัน่ คือมันเกีย่ วกับบุคคลทีเ่ หมือนเราและความแตกต่างของบุคคลทีไ่ ม่เหมือนกับเรา
จากแนวคิดการแสดงลักษณะสำ�คัญของอัตลักษณ์ คือ มันยังเป็นเรือ่ งของ
การใช้สญ ั ลักษณ์ เพราะการแสดงออกซึง่ ความสัมพันธ์ตา่ งๆ จะกระทำ�โดยผ่านระบบ
สัญลักษณ์ที่หลายรูปแบบอีกด้านหนึ่งอัตลักษณ์ก็ยังเกี่ยวข้องกับ มิติ "ภายใน" ของ
ความเป็นตัวเราอย่างมากทัง้ ในด้านของอารมณ์ ความรูส้ กึ เรา เพราะมนุษย์ให้ความ
หมายหรือเปลี่ยนแปลงความหมายที่เกี่ยวกับตนเอง ในกระบวนการที่เขาสัมพันธ์
กับโลกและปริมณฑลของอัตลักษณ์และตัวตนที่มันซ้อนทับกันอยู่ จึงมีการจัดแบ่ง
ประเภทของอัตลักษณ์เป็น 2 ระดับคือระดับอัตลักษณ์ส่วนบุคคล และอัตลักษณ์
ทางสังคม ทีจ่ ะใช้แสดงตน เช่น การทีส่ งั คมกำ�หนดบทบาทหน้าที่ และระบบคุณค่าที่
ติดตัวมา ความเป็นพ่อ ความเป็นเพือ่ นความเป็นสามีภรรยา เข็มโรงเรียน ผ้าทีพ่ นั คอ
ของทีม ภาษาหรือบางทีอ่ าจเห็นได้จากเสือ้ ผ้าทีใ่ ส่ สัญลักษณ์และการสร้างภาพแทน
ความจริงเป็นสิง่ สำ�คัญในการแสดงให้เห็นแนวทางหรือทีเ่ รามีอตั ลักษณ์รว่ มกับบุคคล

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


124 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บางคนและการแยกแยะตัวเราด้วยการสร้างความต่างจากคนอืน่ ในความเข้าใจนีเ้ อง
แม้ว่าในฐานะของบุคคลเราควรจะยอมรับในอัตลักษณ์ต่างๆ อย่างตั้งใจ อัตลักษณ์
เหล่านัน้ ยังเป็นผลผลิตทีส่ �ำ คัญของสังคมทีเ่ ราอาศัยอยูแ่ ละความสัมพันธ์ระหว่างตัว
เรากับคนอืน่ อัตลักษณ์จงึ ได้จดั เตรียมการเชือ่ มโยงระหว่างบุคคลกับโลกทีเ่ ขาอาศัย
อยู่ นอกจากนีอ้ ตั ลักษณ์ยงั รวม ถึงเรือ่ งว่า "ฉันมองตัวฉันเองอย่างไร และคนอืน่ มอง
ฉันอย่างไร" มันเข้าไปเกีย่ วกันตัวตน และสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายใน มันเป็นการกำ�หนดตำ�แหน่ง
ทีร่ ะลึกรูจ้ ากสังคม ซึง่ เกิดขึน้ จากการทีค่ นอืน่ รับรูด้ ว้ ยไม่ใช่แค่เรารับรูเ้ ท่านัน้ อย่างไร
ก็ตามการที่เรามองตัวเราอย่างไรและคนอื่นมองเราอย่างไรมันอาจไม่สอดคล้องกัน
เสมอไปอัตลักษณ์ถกู สร้างขึน้ มาได้อย่างไร มันถูกก่อตัวขึน้ มาโดยผ่านการปฏิสงั สรรค์
ระหว่างบุคคล ในบุคคลหนึง่ ๆ ก็จะมีอตั ลักษณ์ทหี่ ลากหลาย และเมือ่ บุคคลยอมรับ
ในอัตลักษณ์ใดอัตลักษณ์หนึง่ ในขณะเวลานัน้ มันมีกระบวนการทีแ่ ตกต่างกันในการ
แทนที่ ในขณะที่บุคคลทำ�การกำ�หนดตำ�แหน่งของตนเอง และถูกกำ�หนดตำ�แหน่ง
ในทางสังคม กระบวนการทีเ่ กิดขึน้ นีไ้ ด้ คำ�นึงถึงจุดเน้นทีค่ วามแตกต่าง ความหลาก
หลายในการสร้างอัตลักษณ์ที่เท่าเทียมกับ การตั้งคำ�ถามว่าอัตลักษณ์ทั้งหลายนี้ได้
เชื่องโยงกับสังคมได้อย่างไร การมุ่งเป้าหมายไปที่ความสำ�คัญต่อมุมมองทางสังคม
ของอัตลักษณ์จะนำ�เราไปสำ�รวจโครงสร้างต่างๆโดยผ่านชีวิตของเราที่ถูกจัดการ
อัตลักษณ์ตา่ งๆ ของเราทีถ่ กู จัดเก็บไว้เข้าทีด่ ว้ ยโครงสร้างต่างๆทางสังคมและเราก็มี
ส่วนร่วมในการก่อตัวของอัตลักษณ์ของตัวเราเองด้วยเช่นกัน การเปลีย่ นแปลงความ
หมายของ อัตลักษณ์ ที่ปรากฏขึ้นมามันมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการทำ�ความ
เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในปัจจุบัน ในบริบทของโลกาภิวัฒน์ มิติเวลาที่
เร่งเร็วขึน้ และมิตพิ นื้ ทีท่ ดี่ หู ดแคบเข้ามาเพราะการปฏิวตั เิ ทคโนโลยีการสือ่ สารทำ�ให้
การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมเป็นไปอย่างหลากหลายและซับซ้อนและรวดเร็ว การ
เปลีย่ นแปลงประสบการณ์เกีย่ งกับเวลา พืน้ ทีแ่ ละแบบแผนการให้คณ ุ ค่า การใช้ชวี ติ
ประจำ�วันมีผลอย่างยิง่ ต่อความรูส้ กึ ทีเ่ รามีเกีย่ วกับตนเอง สิง่ ทีเ่ คยเป็นมาตรฐานของ
ระบบคุณค่าและการนิยามอัตลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางศาสนา ค่านิยมเรื่อง
เพศ คุณค่าประเพณีวฒ ั นธรรมเก่าๆ หรือค่านิยมของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ล้วนแล้วกระทบ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 125

กระทั่งในรูปแบบต่างๆ จากพลังของโลกาภิวัฒน์ การปรับเปลี่ยนนี้แสดงออกได้


หลายลักษณะ ทัง้ ในระดับจุลภาคในแง่แบบแผนชีวติ ประจำ�วันของปัจเจกชน ในแง่
การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จนถึงระดับที่กลายไปเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
เราจะเห็นได้จากขบวนการทางศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมใหม่ได้เกินขึ้นมา
ราวกับดอกเห็ดในประเทศต่างๆ มันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ทำ�ให้ต้องมีการ
ทบทวนคำ�ว่า "วัฒนธรรม" หรือ "ขบวนการเคลือ่ นไหวทางสังคม" กันใหม่ ขบวนการ
เหล่านีต้ อ้ งการเสนอความหมายและทิศทางใหม่ในเชิงสังคมวัฒนธรรม กระบวนการ
สร้างตัวตนและอัตลักษณ์ของกลุม่ เกิดจากการผสมผสานองค์ประกอบทางวัฒธรรมที่
ซับซ้อน

เมืองมรดกโลก “หลวงพระบาง”
ประเทศสาธารณประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว...ประเทศ เล็ ก ๆ ที่ มี
ประชากรประมาณห้าล้านคน แม้จะน้อยนักแต่หากว่าลาวมีแผ่นดินทีก่ ว้างใหญ่กว่า
236,800 ตารางกิโลเมตร เป็นอาณาจักรแห่งขุนเขาและสายนํ้าที่ยังสมบูรณ์ดังเช่น
ครัง้ หนึง่ ไทยเราเคยมี นานมาแล้วทีน่ กั เดินทาง นักท่องเทีย่ วใฝ่ฝนั ถึงหลวงพระบาง
หรืออาณาจักรล้านช้าง ในอดีตเดิมทีหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของลาว
มาก่อน เมื่อองค์การยูเนสโก้ยกให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ชื่อของหลวง
พระบางจึงขจรขจายไปไกล การท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบางจึงมีชื่อเสียงมากที่สุด
ของลาวก็ว่าได้ "ตัวเมืองอันสงบ อบอุ่นด้วยรอยยิ้มและมิตรไมตรี" ตัวเมืองหลวง
พระบางนัน้ ตัง้ อยูร่ มิ แม่นาํ้ คานไหลมาบรรจบกับแม่นาํ้ โขงช่วงที่ คดโค้งสวยงาม หัน
ไปทางไหนแลเห็นแต่สีเขียวจากป่าดงพงไพรนานมาแล้วที่ เมืองหลวงพระบางเป็น
เมืองหลวง พระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาวในเขตลุ่ม
นํ้าโขง แม่นํ้าคาน แม่นํ้าอู ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ณ ดินแดนริมนํ้าโขงซึ่งคือหลวง
พระบาง ซึ่งตรงกับแนวความคิดของ ศรัณย์ บุญประเสริฐ (11:2551) ที่กล่าวใน
คูม่ อื นำ�เทีย่ วหลวงพระบาง ว่า เมืองหลวงพระบางนอกจากจะมีวดั วัง หรือบ้านเรือน
ยุคอาณานิคมแล้ว สิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าน่าเรียนรูท้ สี่ ดุ แล้ว วัฒนธรรมของคนหลวงพระบาง
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
126 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คนหลวงพระบางเป็นคนสนุกสนาน จริงใจ แต่ก็ไว้ตัวอยู่ในที แม้คนหลวงพระบาง


จะไม่ใช่คนเย่อหยิ่ง แต่ก็ภาคภูมิใจในบ้านเมืองของตน ถึงหลวงพระบางจะมิใช่
เมืองหลวงของประเทศ แต่เป็นเมืองสำ�คัญที่สุดโดยเฉพาะในมิติทางวัฒนธรรม
เพราะอาจกล่าวได้ว่าความเป็นลาวอยู่ที่เมืองหลวงพระบางนั่นเอง
แม้กระนั้นหลวงพระบางก็ไม่เหมือนบ้านเมืองอื่นซึ่งเคยผ่านสงครามมา
โชกโชน จนผู้คนที่ผ่านห้วงกรรมเช่นนั้นมักมีจิตใจกระด้างเอาแต่ตัวรอด บางครั้ง
กล่าวได้ว่าถึงกับเห็นแก่ตัว แต่คนหลวงพระบางกลับมิได้เป็นเช่นนั้น การที่สังคม
เมืองหลวงยังมีพุทธศาสนาเป็นแกนรากฐานที่มั่นคง ทำ�ให้พวกเขาไม่คิดโทษผู้ใด
ไม่โกรธแค้นใคร ยินดีเก็บรอยแผลร้าวลึกไว้ในใจตนมากกว่าจะระบายใส่ผู้อื่น
บทเรียนทีผ่ า่ นมาเหล่านีห้ ล่อหลอมคนหลวงพระบางให้พดู น้อยระวังคำ�พูด
บางครั้งอาจจะดูเหมือนคุ้นเคยเป็นกันเองมาก แต่สักพักก็อาจรู้สึกว่ามีบางสิ่ง
บางอย่างที่ไม่อาจเข้าใจได้อยู่ลึกๆ

ภาพที่ 3 แผนที่ประเทศสาธารณประชาธิปไตย ภาพที่ 4 แผนที่เมืองหลวงพระบาง


ประชาชนลาว (www.gotoknow. (www.bloggang.com/picture 22.11.11)
org/media /file/334180 22.11.11)

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 127

หลวงพระบางได้รบั การขึน้ ทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวดั วา


อารามเก่าแก่มากมาย มีบา้ นเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตัง้ อยูร่ มิ
นํา้ โขงและนํา้ คาน ซึง่ ไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอนั งดงาม และชาวหลวงพระบาง
มีบคุ ลิกทีย่ มิ้ แย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีทงี่ ดงาม ซึง่ ตรงกับ
เกณฑ์พิจารณาของยูเนสโกดังนี้
1. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการ
ออกแบบทางสถาปัตยกรรมอนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมทิ ศั น์ ตลอดจน
การพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิด
ขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
2. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทน
ของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
3. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณี
แห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้
ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำ�เพาะเจาะจงใน
โบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทัง้ เมืองได้รบั การขึน้ ทะเบียนให้เป็นมรดก
ของมวลมนุษยชาติ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็น
เมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระหว่างปี พ.ศ.
2536-2537 องค์การยูเนสโกเข้ามาสำ�รวจหลวงพระบางตามข้อเสนอให้เมืองนี้
ได้เป็นมรดกโลก ด้วยชัยภูมทิ คี่ อ่ นข้างโดดเดีย่ วของเมืองหลวงพระบาง และด้วยการ
ทีฝ่ รัง่ เศสย้ายศูนย์กลางการบริหารปกครองไปอยูท่ เี่ วียงจันทน์ ยังผลให้ราชธานีเก่า
แก่อย่างหลวงพระบางคงบรรยากาศแบบโบราณเอาไว้ได้จน กระทั่งทุกวันนี้ แม้ใน
ยุคสงครามกลางเมืองอันยืดเยื้อ หลวงพระบางก็ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ แต่การ
คุกคาม ที่แท้จริงนั้นเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1990 เมื่อลาวเริ่มเปิดประเทศต้อนรับโลก
ภายนอกและการพัฒนาความเจริญอีกครั้ง โชดดีที่องค์การสหประชาชาติให้ความ

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


128 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สนใจกับปัญหานีแ้ ละส่งคณะผูแ้ ทนเข้ามาทำ� การสำ�รวจ รายงานทีไ่ ด้รบั ทำ�ให้ยเู นสโก


ประกาศยกย่องให้หลวงพระบางเป็น “ เมืองที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้อย่างดีที่สุด
ในเอเชียอาคเนย์”

ภาพที่ 5 วิถชี วิ ติ ทีแ่ สดงถึงขนบธรรมเนียม ภาพที่ 6 การแต่ ง กายแม่ ห ญิ ง ลาว


ประเพณีของชาวหลวงพระบาง ที่ แ สดงถึ ง วั ฒ นธรรมการ
ถ่ายภาพโดย กษม อมันตกุล แต่งกายในปัจจุบันถ่ายภาพ
โดย กษม อมันตกุล

บริเวณเมืองเก่าหลวงพระบางระหว่างแม่นํ้าโขงกับแม่นํ้าคานบนพื้นที่ 2
ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมวัดเชียงทอง หอพิพิธภัณฑ์ วัดใหม่สุวันนะพูมาราม และ
พระธาตุพสู ี ได้รบั การ “ ขึน้ ทะเบียนให้เป็นมรดกโลก” ในการประชุมคณะกรรมการ
มรดกโลกครั้งที่ 19 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538
ด้วยเงินช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์และบำ�รุงรักษาโบราณสถานจากองค์การ
สหประชาชาติ เป็นเครื่องประกันอนาคตของหลวงพระบางได้เป็นอย่างดี
เป้าหมายหลักของยูเนสโกคือ การคงบรรยากาศแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ของหลวงพระบาง ตลอดจนอนุรักษ์สถาปัตยกรรมทั้งของลาวและฝรั่งเศส รวมถึง
ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ไว้ ในปี ค.ศ. 1998 ยูเนสโกได้วา่ จ้างสถาปนิกฝรัง่ เศส

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 129

สองคนกับสถาปนิกลาวอีกห้าคน ให้เข้ามาปฏิบตั ภิ ารกิจดังกล่าว ปัจจุบนั พวกเขาได้


คัดสิ่งปลูกสร้างที่เป็นโบราณสถานสำ�คัญทางประวัติศาสตร์ ออกมาได้มากถึง 700
แห่ง ซึง่ กำ�ลังอยูใ่ นขัน้ ตอนการขึน้ ทะเบียนแบ่งแยกหมวดหมูแ่ ละทำ�เรือ่ งร้องขอการ
คุม้ ครองจากทางการ นอกจากนี้ ยังห้ามการปลูกตึกสูงหรือการพัฒนาความเจริญใดๆ
อันจะสร้างความเสียหายให้กบั สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมของเมืองหลวงพระบาง
อีกด้วย
ซึ่งตรงการข้อการพิจารณาให้สถานที่แห่งหนึ่ง แห่งใดเป็นมรดกโลกนั้น
คณะกรรมการมรดกโลกมีเกณฑ์การพิจารณา 6 ข้อ โดยสถานที่นั้นต้องผ่านเกณฑ์
อย่างน้อย 1 ข้อ แต่เมืองหลวงพระบางนั้น ผ่านเกณฑ์พิจารณาถึง 3 ข้อได้แก่
เกณฑ์ ข้อที่ 1 : คือ หลวงพระบางถือเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านช้าง
มาแต่นบั อดีต จวบจนปัจจุบนั เมืองนีย้ งั นับเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศ
ลาวอยูแ่ ละเป็นแหล่งของศิลปะรวมทัง้ สถาปัตยกรรมแบบล้านช้างทีโ่ ดดเด่นชัดเจน
เกณฑ์ ข้อที่ 2 : คือ หลวงพระบางมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมยุค
โคโลเนียลซึง่ ยังคงสภาพค่อนข้าง สมบูรณ์อยู่ ถือเป็นแบบอย่างของเมืองซึง่ ประกอบ
ด้วยสถาปัตยกรรมยุคนี้ที่ชัดเจน
เกณฑ์ ข้อที่ 3 : คือ ทำ�เลของหลวงพระบางแสดงถึงภูมิปัญญาในการตั้ง
ถิ่นฐานของมนุษย์ และสะท้อนวัฒนธรรมในการจัดสรรทรัพยากรซึ่งยังคงดำ�รงอยู่
อย่างต่อเนื่องมากระทั่งปัจจุบัน ความเป็นมรดกโลกของเมืองหลวงพระบางที่เห็น
เป็นรูปธรรมที่สุดคือ สถาปัตยกรรมของวัด และอาคารบ้านเรือนแบบโคโลเนียล

การออกแบบสัญลักษณ์เครือ่ งหมายจราจร ทีย่ งั คงความเป็น


อัตลักษณ์ในเมืองมรดกโลก
โลกปัจจุบันไม่เพียงเป็นบริบทเท่านั้นแต่มันยังเป็นหัวใจหลักของการเกิด
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว มันเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน การ
ปฏิิวัติของระบบการสื่อสารคมนาคมได้ทำ�ลายความต่างในเรื่องของมิติพื้นที่และ
มิตเิ วลา ทำ�ให้การติดต่อสัมพันธ์กนั ถีข่ นึ้ และเข้มข้นขึน้ ทำ�ให้โลกดูหดแคบเข้า ทำ�ให้
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
130 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การหยิบยืมผสมผสานทางวัฒนธรรม ซับซ้อนและหลากหลาย สิ่งเหล่านี้กระทบต่อ


จิตสำ�นึก ทำ�ให้เกิดการทบทวนค้นหาตำ�แหน่งของตนเอง ในอีกด้านหนึง่ การทบทวน
และการสร้างความหมายใหม่ๆแก่อัตลักษณ์ นำ�ไปสู่การเสนอค่านิยมและแบบแผน
ชีวิตแบบใหม่ขึ้นมา ทำ�ให้การสร้างภาพอัตลักษณ์กลายเป็นส่วนสำ�คัญของระบบ
บริโภคนิยม และการเปลี่ยนแปลงของจิตสำ�นึกและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ
ตนเอง โดยมุ่งศึกษากรณีตัวอย่างของการสร้างอัตลักษณ์ในสื่อทางคอมพิวเตอร์ ซึ่ง
อาจกล่าวได้ว่าเป็นการจำ�ลองโลกที่มีลักษณะกึ่งนามธรรมที่ขนานกับโลกของความ
เป็นจริง สำ�หรับ สื่อทุกวันนี้ประกอบด้วยโลก(ทัศน์)ที่ลอกเลียนความจริง , ความ
จริงที่เหนือจริง , เช่น การนำ�เสนอความลามกอนาจารและวิธีการวิภาษวิธีอันหนึ่ง
เกีย่ วกับสือ่ และสังคมทีไ่ ด้รบั การหดให้สนั้ ลงในเรือ่ งราวใหม่อนั หนึง่ ซึง่ เป็นการการ
กำ�หนดโดยเทคโนโลยี

ภาพที่ 7 ภาพแสดงโปสเตอร์ ร ณรงค์ ใ ห้ แ ต่ ง กายสุ ภ าพในเมื อ งหลวงพระบาง


ถ่ายภาพโดย กษม อมันตกุล
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 131

ซึ่งตรงกับทฤษฎีของการออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์ที่กล่าวไว้ว่า
ภาพสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายภาพ เป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำ�วัน
ถ้าเรามองไปรอบ ๆ ตัวจะเห็นสื่อที่เป็นเครื่องหมายภาพปรากฏอยู่ทั่วไปจะต้องมี
การนำ�หลักทฤษฎีมาประยุกต์ในการออกแบบสื่อสัญลักษณ์ นักออกแบบจะต้องใช้
ความรู้ความสามารถอย่างยิ่งในการวิเคราะห์เนื้อหาของสาร ที่จะต้องการสื่อความ
หมาย และสังเคราะห์ให้เป็นรูปลักษณ์ทใี่ ช้เป็นสิง่ แทนอันสามารถจะบอกได้ถงึ ความ
หมาย ทัง้ ยังต้องใช้ความสามารถในการเขียนภาพ หรือผลิตภาพสัญลักษณ์ให้ประณีต
คมชัด เพื่อสื่อความหมายได้ถูกต้องชัดเจนในการออกแบบสัญลักษณ์ นักออกแบบ
จะมีแหล่งบันดาลใจสำ�คัญ 2 ประการคือ
1. จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (Natural Form) ได้แก่ ภาพดอกไม้
ใบไม้ ภูเขา ทะเล สัตว์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ฯลฯจัดเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดจาก
ธรรมชาติ(Natural Symbol)
2. จากรูปแบบที่มนุษย์สร้าง (Manmade Form) ได้แก่ อาคารบ้าน
เรือน เครื่องใช้ สิ่งของต่าง ๆ เรียกว่า สัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น (Conventional
Symbol) นอกจากนี้การออกแบบสัญลักษณ์ให้บรรลุเป้าหมาย นักออกแบบควร
คำ�นึงถึงหลักสำ�คัญ 3 ประการคือ
1. ความงามของสัญลักษณ์ จะต้องเกี่ยวโยงกับสุนทรียภาพ (Aesthetic
Form) คือความงดงามของรูปแบบของสัญลักษณ์ไม่วา่ จะเป็น Representation หรือ
Abstract ก็ตาม
2. ต้องเหมาะสมกับกาลเวลาทุกยุคทุกสมัยควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นความ
นิยมชั่วคราว
3. ต้องนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการสามารถลอกเลียนด้วยวิธตี า่ ง ๆ
เช่น การย่อหรือขยายได้

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


132 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพที่ 8 เครื่ อ งหมายจราจรในเมื อ งหลวง ภาพที่ 9 เครื่องหมายจราจรสากล


พระบาง ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความ ที่พบเห็นได้ทั่วไปเกือบ
เป็ น วั ฒ นธรรม แต่ ง กายของชาว ทุ ก ประเทศ ถ่ า ยภาพ
หลวงพระบาง ถ่ายภาพโดย กษม โดย กษม อมันตกุล
อมันตกุล

ภาพที่ 10 เครื่องหมายจราจรในเมืองหลวงพระบางที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็น
วัฒนธรรมแต่งกายของ ชาวหลวงพระบาง ถ่ายภาพโดย กษม อมันตกุล

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 133

สรุป
สัญลักษณ์ในทุกลักษณะที่ทำ�การออกแบบ ผู้ออกแบบควรจะพิจารณาให้
ชัดเจนก่อนว่างานออกแบบนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานออกแบบ
สามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย มีความชัดเจน สามารถดึงดูด
ความสนใจได้ดี ภาพเครื่องหมายสามารถนำ�ไปใช้งานได้หลายลักษณะ มีรูปแบบที่
น่าเชื่อถือ เกิดจากความเชื่อมั่นและยอมรับ มีความเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ
ผู้ออกแบบจะละเลยไม่ได้ ในการออกแบบสัญลักษณ์ ควรจะยึดหลักกว้าง ๆ เพื่อ
เป็นแนวคิด ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับความงาม
2. แนวคิดเกี่ยวกับความหมาย
3. แนวคิดในการสร้างความเด่นและน่าสนใจ
4. ความเหมาะสมในการออกแบบและการใช้งาน
ในความเป็นจริง เราพบเห็นสัญลักษณ์ที่มีผู้ออกแบบไว้แล้ว และมีการนำ�
มาใช้อยูโ่ ดยทัว่ ไป ซึง่ เราอาจนำ�ภาพสัญลักษณ์เหล่านัน้ มาใช้หรือประยุกต์ หรือเป็น
แนวทางในการออกแบบสร้างภาพสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายได้ สัญลักษณ์ที่นำ�
มาใช้อาจเป็นรูปภาพ ตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายต่าง ๆ เรานำ�มาใช้ได้ทุก
เรือ่ งราวทีจ่ ะนำ�เสนอ ให้เหมาะสมและสามารถสือ่ ความหมายได้ตรงจุดประสงค์ได้
มากที่สุด
แต่การออกแบบสัญลักษณ์ที่อยู่ในเมืองที่มีบริบททางวัฒนธรรมจนได้เป็น
เมืองมรดกโลกนั้นยังต้องคำ�นึงถึงข้อจำ�กัดหลายๆอย่าง โดยที่นักออกแบบต้องให้
ความสำ�คัญของการที่จะต้องคงความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทุกประการ เช่น
หลวงพระบางถือเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศลาวอยูแ่ ละเป็นแหล่งของ
ศิลปะรวมทัง้ สถาปัตยกรรมแบบล้านช้างทีโ่ ดดเด่นชัดเจน , หลวงพระบางมีความโดดเด่น
ทางสถาปัตยกรรมยุคโคโลเนียลซึ่งยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ , ทำ�เลของหลวง
พระบางแสดงถึงภูมปิ ญ ั ญาในการตัง้ ถิน่ ฐานของมนุษย์และสะท้อนวัฒนธรรมในการ
จัดสรรทรัพยากรซึง่ ยังคงดำ�รงอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งมากระทัง่ ปัจจุบนั ความเป็นมรดกโลก
ของเมืองหลวงพระบางที่เห็นเป็นรูปธรรมที่สุดคือวัด
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
134 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เพราะฉะนั้นการออกแบบสัญลักษณ์หรือแม้กระทั่งอะไรก็ตามในเมือง
มรดกโลกหลวงพระบางจึงจำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงหลักการออกแบบเพียงอย่างเดียวไม่
ได้จำ�เป็นที่จะต้องคำ�นึงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรม ที่เมืองมรดกโลกหลวงพระบางนั้นยังคงดำ �รงสภาพและวิถีซึ่งเป็น
อัตลักษณ์ของเมืองแห่งมรดกโลกให้คงอยู่ประจักษ์แก่สายตานักท่องเที่ยวทั่วทุก
สารทิศที่มารับรู้ถึงความเป็นเมืองมรดกโลกตามนานเท่านาน

บรรณานุกรม
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.2545.การคิดเชิงสร้างสรรค์.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพ : ซัค
เซสมีเดีย
_______.2546.การคิดเชิงมโนทัศน์.พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพ : ซัคเซสมีเดีย
_______.2549.ลายแทงนักคิด.กรุงเทพ : ซัคเซสมีเดีย
ชัยรัตน์ อัศวางกูล. 2548.ออกแบบให้โดนใจ,พิมพ์ครัง้ ที ่ 2 .กรุงเทพฯ : วิทอินบุค๊ ส์
ทองเจือ เขียดทอง. 2542.การออกแบบสัญลักษณ์.กรุงเทพฯ : สิปประภา
ประชิด ทิณบุตร . 2530.การออกแบบกราฟิค .กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
พงษ์ ผาวิจิตร. 2547.IDEA GETS RICH . กรุงเทพ: เอ.อาร์.พี.มีเดีย
พงษ์ศักดิ์ ชัยศิริ. 2544.เทคนิคการออกแบบกราฟิค. กรุงเทพฯ: เอช.เอ็น
ราชบัณฑิตยสถาน. 2540.มาตรฐานโครงสร้างอักษรไทย แบบราชบัณฑิตยสถาน.
กรุงเทพฯ อรุณการพิมพ์
รัชภูมิ ปัญส่งเสริม . 2537.10 ยอดกราฟิกดีไซน์สายพันธ์ไทย. กรุงเทพฯ : CORE
FUNCTION
วรพงศ์ วรชาติอุดมพงษ์.2545.อักษรประดิษฐ์ .กรุงเทพฯ : บรูพาสาส์น
______.2545.บทความรู้ทางการออกแบบพาณิชย์ศิลป์ ออกแบบกราฟิค .
พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาการ
วิรุณ ตั้งเจริญ. 2541.มหาวิทยาลัย การวิจัยและทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : สันติศิริ
การพิมพ์
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 135

วิรุณ ตั้งเจริญ. 2537.ออกแบบ 2 มิติ. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์


วิรุณ ตั้งเจริญ. 2545.ออกแบบกราฟิค.กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์
ศาสตรพันธุ์. 2535.เครื่องหมายการค้าและตรา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กล่องพัฒนา
ศิริพงษ์ พยอมแย้ม. 2537.เทคนิคงานกราฟิค. โอ.เอส. เพริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพฯ
ศิริพรณ์ ปีเตอร์ . 2549.การออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
สกน ภู่งาม. 2547.พื้นฐานการออกแบบกราฟิก.กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์
สุชาติ เถาทอง. 2539.หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : นำ�อักษรการพิมพ์
โสภณาจ และ สาทิสลักษณ์. 2526.ภาพสัญลักษณ์สากล.กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์
โอเดียนสโตร์
สำ�นักงานคณะกรรมการคุม้ ครองผูบ้ ริโภค สำ�นักนายกรัฐมนตรี. 2549.สคบ.กับการ
คุ้มครองผู้บริโภค.พิมพ์ครั้งที่ 10 . กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์
สัจธรรม สุภาจันทร์. 2547.หลักการคอมพิวเตอร์กราฟิก.กรุงเทพฯ : วังอักษร
อนันต์ ลีระกุล. 2547.แนวคิดในการออกแบบและวิเคราะห์.กรุงเทพ : บรรกิจ
1991
อนุทนิ วงศ์สรรคกร. 2543.10 บทความทางเลขศิลป์ศกึ ษาเชิงไปรเวท. กรุงเทพฯ:
โฟคัลอิมเมจ พริ้นติ้ง กรุ๊ป
อดิเรก สอนปรินท์. 2541.Font Symbol & Process Color Chart. กรุงเทพฯ
: หจก.เกียรติกรการพิมพ์
อดิศักดิ์ คงสัตย์. 2548.สร้างสื่อสิ่งพิมพ์ ขอเป็น Adobe Indesign . นนทบุรี :
บายเนเจอร์ พับลิชชิ่ง
อุบลรัตน์ ศิริพยุงศักดิ์ . 2547.สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อสารมวลชน วัฒนธรรม
และสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 4 . กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา. 2543.ระบบป้ายสัญลักษณ์.กรุงเทพฯ : พลัสเพลส

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔


136 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความจากงานวิจัย
เพื่อพิมพ์ในวารสาร
“ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น”

1. เป็นบทความด้านศิลปกรรม สาขาทัศนศิลป์ คีตศิลป์และนาฏยศิลป์


2. เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในกรณีเป็นภาษาอังกฤษต้องผ่านการตรวจสอบ
ความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาก่อนส่งบทความมายังกองบรรณาธิการ
3. ต้องระบุชอื่ บทความ ชือ่ – นามสกุลจริง ของผูเ้ ขียนบทความ พร้อมวุฒกิ ารศึกษา
ตำ�แหน่งและสถานที่ทำ�งานอย่างชัดเจน เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. ต้นฉบับบทความต้องมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ขนาดอักษร Cordia 16
พร้อมทัง้ แฟ้มข้อมูลอีเลคโทรนิค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ ถึงคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถนนมิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 หรือส่งอีเมล์
ที่ aimaonan@kku.ac.th โดย นางเอมอร รุ่งวรวุฒิ เป็นผู้ประสานงาน
โทรศัพท์/โทรสาร 043-202396 มือถือ 08-1935-5803
5. ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
6. หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาต
ให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
7. บทความต้องมีสาระสังเขปทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวรวมกัน
ไม่เกิน 1 หน้า กระดาษ A4
8. บทความทีส่ ง่ มาเพือ่ ตีพมิ พ์จะได้รบั การกลัน่ กรองจากผูท้ รงคุณวุฒอิ ย่างน้อยสองท่าน
ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ
9. บทความทีไ่ ม่ผา่ นการพิจารณาให้ตพี มิ พ์ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผเู้ ขียนทราบ
แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๕๔


วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 137

การอ้างอิง
การอ้างอิง ใช้วธิ กี ารอ้างอิงแบบแทรกในเนือ้ หา โดยวงเล็บเฉพาะ ชือ่ - สกุล
ผูแ้ ต่ง (สำ�หรับคนไทย) ชือ่ สกุล (สำ�หรับชาวต่างประเทศ) ปีพมิ พ์และหน้าของเอกสาร
ทีอ่ า้ งถึงต่อท้ายข้อความทีต่ อ้ งการอ้าง แต่ถา้ ชือ่ ผูแ้ ต่งทีอ่ า้ งถึงเป็นส่วนหนึง่ ของ
บทความ ให้วงเล็บเฉพาะปีทพี่ มิ พ์และหน้าของเอกสารต่อ จากชือ่ ผูเ้ ขียนได้เลย
(ผู้แต่ง, ปีพิมพ์: เลขหน้า) เช่น (Lerner, 2003: 20) สำ�หรับรายละเอียดอื่น ๆ
ให้ดูได้ที่บรรณานุกรมท้ายบทความดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปแบบบรรณานุกรม

ผู้แต่ง. ปีพิมพ์. ชื่อหนังสือ/เอกสาร. สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์.


ผูแ้ ต่ง. ปีพมิ พ์. “ชือ่ บทความในหนังสือ” ใน ผูแ้ ต่งหนังสือ/บรรณาธิการ. ชือ่ หนังสือ.
สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์. หน้า เลขหน้าที่พิมพ์.
ผูแ้ ต่ง. ปีพมิ พ์. “ชือ่ บทความในวารสาร” ชือ่ วารสาร ปีท,ี่ ฉบับที่ (เดือน) : หน้าทีพ่ มิ พ์.

ตัวอย่างบรรณานุกรม

หนังสือ
สงัด ภูเขาทอง. 2532. การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
เรือนแก้วการพิมพ์.
Assen, C. 1998. Architecture of Siam: A Cultural History Interpretation.
Kuala Lampur : Oxford University.

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๕๔


138 วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทความในหนังสือ
Fainstein, Susan. 2002. “The Changing World Economy and Urban
Restructuring” in Fainstein, S. and S. Campbell, eds. Reading
in Urban Theory. 2nd.ed. Cambridge: Blackwell. pp. 110-123.

บทความในวารสาร
จิระนันท์ พิตรปรีชา. 2532. “อยูเ่ มืองลาวกับผุย ชนะนิกอน นายกรัฐมนตรีสสี่ มัย”
ศิลปวัฒนธรรม 10, 9 (กรกฎาคม) : 110-123.

บทความจากแหล่งข้อมูลอินเตอร์เน็ต
Wikipedia. (2007). Social control. Retrieved March 19, 2007,
from http://en.wikipedia.org/wiki/Social_control

ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๕๔


พิมพ์ที่ : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา 232/199 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
Tel. 0-4332-8589-91 Fax. 0-4332-8592 E-mail : klungpress@hotmail.com 2554 รหัส 08
ใบบอกรับเป็นสมาชิก วารสารศิลปกรรมศาสตร์
ข้าพเจ้า ....................................................................................................................
ขอสมัครเป็นสมาชิกวารสารศิลปกรรมศาสตร์ กำ�หนด ............ ปี ตัง้ แต่ปที ี่ ...............
ฉบับที่ .................................. ถึงปีที่ ...................................... ฉบับที่ ....................
โดยจัดส่งไปที่ ..........................................................................................................
.................................................................................................................................
.................................................................................................................................
.................................................................................................................................
.................................................................................................................................
พร้อมนี้ ข้าพเจ้าได้จดั ส่งธนาณัต/ิ ตัว๋ แลกเงิน มูลค่า ....................... บาท มาด้วยแล้ว

ลงชื่อ ............................................... ผู้สมัคร


(...............................................)

อัตราค่าสมาชิก 1 ปี ( 2 ฉบับ) ส่งเป็นธนาณัติหรือตั๋วแลกเงิน มูลค่า 180 บาท


สั่งจ่าย ปณ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในนาม นางอนุวรรณ นาคเสนีย์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002

ส่งมาที่
นางอนุวรรณ นาคเสนีย์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เลขที่ 123 อำ�เภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น 40002

You might also like