You are on page 1of 8

บันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบกฎกระทรวงระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
พ.ศ. ๒๕๖๔

หลักการ

กําหนดหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการระบบการขนสงน้ํามันทางทอ

เหตุผล

โดยที่เปนการสมควรรักษาความปลอดภัยในการประกอบกิจการน้ํามันและป องกัน
มิใหเกิดอัคคีภัยหรืออันตรายแกชีวิตและทรัพยสินของประชาชน และโดยที่มาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๑)
(๓) (๕) และ (๗) แหงพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติใหการขนสงน้ํามัน
ลั ก ษณะของท อ ที่ ใช ใ นการขนส ง น้ํ า มั นและการบํ า รุ ง รัก ษาท อ ส ง น้ํ า มั น และวิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ง าน
และการจัดใหมีและบํารุงรักษาอุปกรณหรือเครื่องมืออื่นใดเพื่อประโยชนในการขนสงน้ํามันทางทอ
รวมทั้ งการอื่ น ใดอัน จํ า เปน เพื่ อ ให บ รรลุ วั ต ถุป ระสงคในการปฏิ บัติ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ ดั งกลา ว
ใหกระทําโดยการออกกฎกระทรวง จึงจําเปนตองออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวง
ระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
พ.ศ. ๒๕๖๔

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ ง (๑) (๓)


(๕) และ (๗) แห ง พระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิ ง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๗ วรรคสาม
แห ง พระราชบั ญ ญั ติ ควบคุม น้ํ า มั นเชื้ อ เพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่ งแก ไขเพิ่ม เติ มโดยพระราชบั ญ ญั ติ
ควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงานออกกฎกระทรวงไว
ดังตอไปนี้
ข อ ๑ กฎกระทรวงนี้ ใ ห ใ ช บั ง คั บ เมื่ อ พ น กํ า หนดหนึ่ ง ร อ ยแปดสิ บ วั น นั บ แต
วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนตนไป
ขอ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
“น้ํา มัน” หมายความว า น้ํามันตามกฎกระทรวงว าด วยการกํา หนดหลั ก เกณฑ
วิ ธีการ และเงื่อ นไขเกี่ย วกับ การแจง การอนุญ าต และอั ตราคา ธรรมเนี ย มเกี่ย วกั บ การประกอบ
กิจการน้ํามันเชื้อเพลิง
“ระบบการขนสงน้ํามันทางทอ ” หมายความวา ระบบการขนส งน้ํ า มั น ทางท อ
ตามกฎกระทรวงวา ดวยการกํา หนดหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจง การอนุญาต
และอัตราคาธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง
“ทอสงน้ํามัน” หมายความวา ทอที่ใชสําหรับการขนสงน้ํามัน รวมถึงสวนประกอบ
ของทอและอุปกรณ ซึ่งไมวาจะวางอยูเหนือพื้นดิน ใตพื้นดิน ในน้ํา หรือวางอยูบนสิ่งปลูกสรางใด

หมวด ๑
บททั่วไป

ข อ ๓ ระบบการขนส ง น้ํ า มั น ทางท อ จะต อ งได รั บ ความเห็ น ชอบรายงาน


การประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอมตามกฎหมายวา ดวยการสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอ ม
แหงชาติแลว

ขอ ๔ ผูประกอบกิจการควบคุมตองจัดเก็บเอกสารและขอมูลของระบบการขนสง
น้ํามันทางทอเพื่อใหพนักงานเจาหนาที่ตรวจสอบไดตลอดอายุการใชงานของระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
โดยอยางนอยตองมีเอกสารและขอมูล ดังตอไปนี้

(๑) คูมือการออกแบบ กอสราง ปฏิบัติการ และบํารุงรักษาระบบการขนสงน้ํามันทางทอ


(๒) แบบที่ใชในการกอสรางระบบการขนสงน้ํามันทางทอ พรอมรายละเอียดตาง ๆ
(๓) รายงานผลการทดสอบและตรวจสอบตาง ๆ ตามที่กําหนดไวในกฎกระทรวงนี้
(๔) รายงานการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดที่เกี่ยวกับระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
(๕) รายงานการฝกซอมแผนฉุกเฉินและแผนปองกันและระงับอัคคีภัย
(๖) แผนผังแสดงตําแหนงที่ตั้งและจํานวนอุปกรณที่ใชสําหรับการปองกันและระงับอัคคีภัย

หมวด ๒
ลักษณะของแผนผัง แบบกอสราง และทอ

ขอ ๕ ระบบการขนสงน้ํามันทางทออยางนอยตองมีแผนผัง แบบ และรายการอื่น


ดังตอไปนี้
(๑) แผนผังโดยสังเขปแสดงตําแหนงที่ตั้งของระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
(๒) แผนผังบริเวณแสดงแนวทอของระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
(๓) แบบกอสรางระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
(๔) แบบแสดงการเชื่อ มตอ ของระบบการขนสงน้ํ า มันทางท อกับ ระบบทอ น้ํ า มั น
ในคลังน้ํามันหรือสถานที่ประกอบกิจการน้ํามันอื่น หรือระบบการขนสงน้ํามันทางทออื่น
(๕) แบบกอสรางเครื่องหมายแสดงในเขตระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
(๖) แบบกอสรางลิ้นปดเปดควบคุมการไหลของน้ํามัน และสถานีสูบน้ํามัน
(๗) รายการคํา นวณความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัย ของระบบการขนสง
น้ํามันทางทอ
แผนผังและแบบกอสรางตามวรรคหนึ่งตองมีมาตราสวนที่แสดงรายละเอียดตาง ๆ
ใหสามารถตรวจสอบไดอยางชัดเจน

ขอ ๖ แบบกอสรางตามขอ ๕ วรรคหนึ่ง (๓) อยางนอยตองมีรายละเอียด ดังตอไปนี้


(๑) แนวทอและระดับของระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
(๒) ตําแหนงที่ตั้งของแนวทอทุกระยะการเปลี่ยนแปลงแนวทอ พรอมรายละเอียด
โดยรอบแนวทอ

(๓) รูปตัดแนววางทอตามยาวตลอดแนวทอและความกวางของแนวทอหากเปนทอ
ที่อยูใตพื้นดินตองระบุความลึกของแนววางทอ
(๔) รูปตัดตามขวางแสดงรายละเอียดการวางทอ
(๕) ขนาดทอ ความยาวทอ ความหนาของผนังทอ พรอมทั้งระบุปริมาตร
(๖) ตําแหนงที่ตั้งของลิ้นปดเปดควบคุมการไหลของน้ํามัน สถานีสูบน้ํามัน และที่ตั้ง
ของเครื่องหมายแสดงในเขตระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
(๗) แผนภาพแสดงอุปกรณของระบบการขนสงน้ํามันทางทอ

ข อ ๗ ท อสง น้ํามันตองเปน ทอ เหล็ ก ที่ มีคุณ สมบั ติ เหมาะสมและมี คา ความเค น
(stress) ไมน อ ยกว า ๑๒๔ นิ วตั นต อ ตารางมิ ล ลิ เมตร และค า ความเค น คราก (yield strength)
ไมน อ ยกว า ๑๗๒ นิวตันตอตารางมิลลิ เมตร หรือเป น ท อที่ทํา มาจากวัส ดุ อื่น ที่ มีค วามปลอดภั ย
และความมั่นคงแข็งแรงไมต่ํากวาคุณสมบัติท่ีกําหนดในกฎกระทรวงนี้ โดยตองไดรับความเห็นชอบ
จากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ทอและอุปกรณที่ใชในระบบการขนสงน้ํามันทางทอตองเปนชนิดที่ใชกับน้ํามัน
และไมทําปฏิกิริยากับน้ํามัน

หมวด ๓
การออกแบบ การกอสราง การติดตั้ง และการทดสอบและตรวจสอบ

ขอ ๘ การออกแบบ การกอสราง และการทดสอบและตรวจสอบระบบการขนสง


น้ํามันทางทอ ใหเปนไปตามมาตรฐานที่ประกาศโดยสมาคมวิศวกรเครื่องกลแหงประเทศสหรัฐอเมริ กา
ลํ า ดั บ ที่ ASME B31.4 เรื่ อ ง Pipeline Transportation Systems for Liquids and Slurries
หรือมาตรฐานอื่นที่ไมต่ํากวาตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา
ขอ ๙ ทอสงน้ํามันที่อยูนอกเขตสถานีสูบน้ํามันและสถานที่ประกอบกิจการควบคุม
ตองวางอยูใตพื้นดิน หากไมสามารถวางอยูใตพื้นดินได ตองไดรับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิ จ
พลังงานและตองดําเนินการ ดังตอไปนี้
(๑) ทอสงน้ํามันตองวางอยูบนฐานรองรับที่มีความมั่นคงแข็งแรง
(๒) มีการปองกันมิใหยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดมากระทําใหเกิดการชํารุดเสีย หาย
ตอทอสงน้ํามัน
(๓) กรณีทอสงน้ํามันพาดผานทางสัญจร ใหมีขอความแสดงระยะความสูงจากพื้นผิว
จราจรถึงจุดต่ําสุดของทอ โครงสราง หรือสวนประกอบอื่น ๆ ของทอสงน้ํามัน
ขอ ๑๐ การติดตั้งทอสงน้ํามันตองมีการปองกันการกัดกรอนอยางนอย ดังตอไปนี้

(๑) การติ ด ตั้ ง ท อ ส ง น้ํ า มั น ใต พื้ น ดิ น ต อ งมี ก ารป อ งกั น การกั ด กร อ นด ว ยไฟฟ า
(cathodic protection) ซึ่งมีระดับการปองกันไมมากกวา - ๘๕๐ มิลลิโวลต
(๒) การติ ดตั้งทอส งน้ํ ามันตองมีการเคลือบทอสงน้ํามั นด วยสารเคลือบที่สามารถ
ยึดติดกับผนังทออยา งคงทนแข็งแรง ทนตอสภาพแวดลอม และสามารถใชงานรวมกับการปองกัน
การกัดกรอนดวยไฟฟา (cathodic protection) ได
ขอ ๑๑ การติดตั้งทอสงน้ํามันใตพื้นดินที่ลอดผานทางสัญจรระบบราง ตองใหผนัง
ทอสงน้ํามันหรือวัสดุหุมทอสงน้ํามันอยูใตพื้นดินไมนอยกวา ๑.๗๐ เมตร หรือเปนไปตามกฎหมาย
ที่เกี่ยวของกําหนด
กรณีที่ มีก ารติ ดตั้ ง ท อ ส ง น้ํา มั น ใต พื้ นดิ นนอ ยกวา ระยะที่กํ า หนดตามวรรคหนึ่ ง
การติดตั้งทอตองมีการรองรับน้ําหนักไดไมต่ํากวากรณีตามวรรคหนึ่ง โดยผูประกอบกิจการควบคุม
ตองเสนอแบบกอสรางทอที่มีการรองรับน้ําหนักดังกลาว เพื่อขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจ
พลังงานกอนการติดตั้ง

ขอ ๑๒ การติดตั้งทอสงน้ํา มันใตพื้นดินที่ลอดผานทางสัญจรทางบก ตองให ผนั ง


ทอสงน้ํามันหรือวัสดุ หุมทอสงน้ํา มัน อยูใตพื้นดินไมนอยกวา ๑.๒๐ เมตร หรือเปนไปตามกฎหมาย
ที่เกี่ยวของกําหนด
กรณีที่ มีก ารติ ดตั้ ง ท อ ส ง น้ํา มั น ใต พื้ นดิ นนอ ยกวา ระยะที่กํ า หนดตามวรรคหนึ่ ง
การติดตั้งทอตองมีการรองรับน้ําหนักไดไมต่ํากวากรณีตามวรรคหนึ่ง โดยผูประกอบกิจการควบคุม
ตองเสนอแบบกอสรางทอที่มีการรองรับน้ําหนักดังกลาว เพื่อขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจ
พลังงานกอนการติดตั้ง
ข อ ๑๓ การติ ด ตั้ ง ท อ ส ง น้ํ า มั น ใต พื้ น ดิ น ที่ ล อดผ า นแม น้ํ า ลํ า คลอง ทะเล
หรือ ทางสั ญ จรทางน้ํา ต อ งให ผ นั ง ท อส ง น้ํ า มั น หรือ วั ส ดุหุ ม ทอ ส ง น้ํ า มั น อยู ใ ต พื้น ดิน ไม น อ ยกว า
๑.๒๐ เมตร หรือเปนไปตามกฎหมายที่เกี่ยวของกําหนด
กรณีที่ มีก ารติ ดตั้ ง ท อ ส ง น้ํา มั น ใต พื้ นดิ นนอ ยกวา ระยะที่กํ า หนดตามวรรคหนึ่ ง
การติดตั้งทอตองมีการรองรับน้ําหนักไดไมต่ํากวากรณีตามวรรคหนึ่ง โดยผูประกอบกิจการควบคุม
ตองเสนอแบบกอสรางทอที่มีการรองรับน้ําหนักดังกลาว เพื่อขอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจ
พลังงานกอนการติดตั้ง
ขอ ๑๔ ทอสงน้ํามันใตพื้นดินที่ติดตั้งโดยวิธีการขุดเปด ตองทําการฝงเทปเตือน
สีเหลืองไวเหนือแนวทอที่ระดับความลึกอยางนอย ๐.๓๐ เมตร โดยตองมีขอความเตือนเปนตัวอักษร
สีดําตลอดแนวทอ ดังตอไปนี้
(๑) ระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
(๒) ชื่อผูประกอบกิจการควบคุม
(๓) หมายเลขโทรศัพทติดตอกรณีฉุกเฉิน

ผู ป ระกอบกิ จ การควบคุ ม ต อ งจั ด ให มี ร ะบบการรับ แจ ง เหตุ ต ามวรรคหนึ่ ง (๓)
และผูรับผิดชอบเพื่อรับแจงเหตุและประสานงานกับหนวยงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง
ขอ ๑๕ ระบบการขนสงน้ํามันทางทอตองมีอุปกรณนิรภัยอยางนอย ดังตอไปนี้
(๑) ลิ้นปดเปดควบคุมการไหลของน้ํามัน
(๒) ลิ้นปดเปดนิรภัยแบบระบายความดัน
(๓) ลิ้นปดนิรภัยกรณีฉุกเฉิน
ข อ ๑๖ แนวเขตระบบการขนส ง น้ํา มั น ทางท อ ต อ งจั ด ให มี เ ครื่ อ งหมายแสดง
ในบริ เ วณเขตระบบการขนส ง น้ํ า มั น ทางท อ ตามประกาศกรมธุ ร กิ จ พลัง งานว า ด ว ยหลั ก เกณฑ
การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนสงน้ํามันทางทอ
ข อ ๑๗ การตรวจสอบระบบการขนสงน้ํ ามัน ทางท อ ผูป ระกอบกิ จ การควบคุ ม
ตองดําเนินการตามระยะเวลา ดังตอไปนี้
(๑) ตรวจสอบพื้นที่แนวทอสงน้ํามัน อยางนอยทุกสองสัปดาห
(๒) ตรวจสอบการป อ งกั น การกั ด กร อ นด ว ยไฟฟ า (cathodic protection)
อยางนอยทุกหกเดือน
(๓) ตรวจสอบระบบควบคุมการขนสง ระบบปองกัน การเกิดอุบัติเหตุ และระบบ
ปองกันและระงับอัคคีภัย อยางนอยทุกหนึ่งป
(๔) ตรวจสอบและสอบเทียบอุปกรณควบคุมและเครื่องมือวัด อยางนอยทุกหนึ่งป
(๕) ทดสอบและตรวจสอบการรั่วซึม และความมั่นคงแข็งแรงของระบบการขนสง
น้ํามันทางทอ อยางนอยทุกสิบป
กอนดําเนินการทดสอบและตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง (๕) ผูประกอบกิจการควบคุม
ตองแจงใหกรมธุรกิจพลังงานทราบลวงหนาไมนอยกวาสิบหาวันทําการ และเมื่อดําเนินการแลวเสร็จ
ใหจัดทํารายงานสรุปผลการทดสอบและตรวจสอบใหกรมธุรกิจพลังงานทราบ

หมวด ๔
การปองกันและระงับอัคคีภัย

ข อ ๑๘ บริ เ วณอั น ตรายของระบบการขนส ง น้ํ า มั น ทางท อ ระบบไฟฟ า


เครื่องใช ไฟฟา อุ ปกรณไฟฟา และระบบป องกัน อันตรายจากฟ าผา ตองเป นไปตามกฎกระทรวง
วาดวยระบบไฟฟาและระบบปองกันอันตรายจากฟาผาของสถานที่ประกอบกิจการน้ํามัน
ข อ ๑๙ ห า มทํ า การใด ๆ ที่ ก อ หรื อ อาจก อ ให เ กิ ด เปลวไฟหรื อ ประกายไฟ
ภายในเขตระบบการขนสงน้ํามันทางทอและสถานีสูบน้ํามัน ยกเวนกรณีก ารปฏิบัติงานซ อ มแซม
หรือการดําเนินการอื่นใดซึ่งอยูภายใตการควบคุมของผูประกอบกิจการควบคุม
ขอ ๒๐ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทํา ใหระบบการขนสงน้ํามันทางทอชํารุดเสี ย หาย
เกิ ด การรั่ ว ไหลของน้ํ า มั น หรื อ เกิ ด เหตุ เ พลิ ง ไหม ผู ป ระกอบกิ จ การควบคุ ม ต อ งดํ า เนิ น การ
ใหเปนไปตามหลักเกณฑและวิธีการที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานประกาศกําหนด

ขอ ๒๑ บริเวณสถานีสูบน้ํามันตองติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแหงหรือน้ํายา
ดับเพลิงขนาดบรรจุไมนอยกวา ๖.๘ กิโลกรัม และมีความสามารถในการดับเพลิงไมนอยกวา 3A 40B
ตามมาตรฐานระบบปองกันอัคคีภัยของสมาคมวิศวกรรมสถานแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ
หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเทาตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา อยางนอยสองเครื่อง
ตอเครื่องสูบน้ํามันหนึ่งเครื่อง
ผูประกอบกิจการควบคุมตองจัดใหมีการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงตามวรรคหนึ่ ง
อยางนอยทุกหกเดือน
ขอ ๒๒ บริเวณเครื่องสูบน้ํามันตองจัดใหมีปายเตือนโดยใชตัวอักษรสีแดงมีความสูง
ไมนอยกวา ๒.๕๐ เซนติเมตร บนพื้นสีขาว และมีขอความอยางนอย ดังตอไปนี้
“อันตราย
๑. หามสูบบุหรี่
๒. หามทําใหเกิดเปลวไฟหรือประกายไฟ”
ข อ ๒๓ ผู ป ระกอบกิ จการควบคุ มต องจัด ให มี การเตรี ย มพร อ มรั บ เหตุ ฉุ ก เฉิ น
อยางนอย ดังตอไปนี้
(๑) จัดทําแผนฉุกเฉินและแผนปองกันและระงับอัคคีภัย
(๒) ดําเนินการฝกซอมแผนฉุกเฉินและแผนปองกันและระงับอัคคีภัย อยางนอยปละ
หนึ่งครั้ง
(๓) จัดทํารายงานการฝกซอมแผนฉุกเฉินและแผนปองกันและระงับอัคคีภัย
การเตรียมพรอมรับเหตุฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ผูประกอบกิจการควบคุมตองจัดใหมี
การประสานงานรวมกับองคกรหรือหนวยงานที่เกี่ยวของในพื้นที่แนวทอ เพื่อการระงับเหตุในแตละ
พื้นที่ไดทันทวงที

หมวด ๕
การเลิกใชงานระบบการขนสงน้ํามันทางทอ

ข อ ๒๔ ในกรณีที่ผูป ระกอบกิจ การควบคุมมี ความประสงค จะเลิก ใชง านระบบ


การขนสงน้ํา มันทางทอ ผูประกอบกิจการควบคุมตองแจงตอกรมธุ รกิ จพลังงาน โดยแนบเอกสาร
ที่ ระบุ วันที่ เลิก ใช งาน ตํ าแหนง ขนาด และความยาวของทอ และรายละเอีย ดอื่ น ๆ ของระบบ
การขนสงน้ํามันทางทอที่จะเลิกใชงาน พรอมทั้งมาตรการในการจัดการและตรวจสอบระบบการขนสง
น้ํามันทางทอดังกลาวใหมีความปลอดภัย และมาตรการในการปองกันสิ่งแวดลอ มในบริ เวณพื้ น ที่
โดยรอบของระบบการขนสงน้ํามันทางทอภายในหกสิบวันกอนวันที่เลิกใชงานระบบการขนสงน้ํามัน
ทางทอ เพื่อเสนอใหอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานพิจารณาใหความเห็นชอบ
เมื่อไดรบั ความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานแลว ใหผูประกอบกิจการควบคุม
ปฏิบัติตามมาตรการที่ไดรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาที่อธิบดีกรมธุรกิจพลัง งาน
กําหนด

บทเฉพาะกาล

ขอ ๒๕ ระบบการขนสงน้ํามันทางทอที่ไดรับใบอนุญ าตหรือไดรับความเห็ นชอบ


แบบแปลนและแบบก อ สรา งตามกฎหมายว า ด วยการควบคุม น้ํา มั น เชื้ อ เพลิ ง อยูใ นวัน ก อ นวั น ที่
กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ ใหไดรบั ยกเวนไมตองปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ เวนแต
(๑) ขอ ๑๖ ขอ ๑๗ วรรคหนึ่ ง (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข อ ๑๙ ขอ ๒๐ ขอ ๒๑
ขอ ๒๒ และขอ ๒๔ ตองปฏิบัติใหถูกตองนับแตวันที่กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ
(๒) ข อ ๔ ขอ ๑๕ และข อ ๒๓ ต อ งปฏิ บั ติ ให ถู ก ต องภายในหนึ่ ง ป นั บ แต วั น ที่
กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ
(๓) ขอ ๑๗ วรรคหนึ่ง (๕) และวรรคสอง ตองปฏิบัติให ถูกตองภายในระยะเวลา
ดังตอไปนี้
(ก) ในกรณีที่ไมมีประวัติการทดสอบและตรวจสอบหรือมีแตไดทําการทดสอบ
และตรวจสอบครั้งสุดทายเปนเวลาเกินสิบปนับถึงวันที่กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ ใหดําเนินการทดสอบ
และตรวจสอบตามขอ ๑๗ วรรคหนึ่ง (๕) ภายในสองปนับแตวันที่กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ
(ข) ในกรณีที่มีประวัติการทดสอบและตรวจสอบโดยไดทําการทดสอบและตรวจสอบ
ครั้งสุดทายเปนเวลาไมเกินสิบปนับถึงวันที่กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ ใหดําเนินการทดสอบและตรวจสอบ
ตามขอ ๑๗ วรรคหนึ่ง (๕) ภายในสิบปนับแตวันที่ไดทําการทดสอบและตรวจสอบครั้งสุดทาย เวนแต
ระยะเวลาที่ตองทําการทดสอบและตรวจสอบดังกลาวเหลือไมถึงสองปนับแตวันที่กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ
ใหดําเนินการทดสอบและตรวจสอบตามขอ ๑๗ วรรคหนึ่ง (๕) ภายในสองปนับแตวันที่กฎกระทรวงนี้
ใชบังคับ

ใหไว ณ วันที่ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

(นายสุพัฒนพงษ พันธมีเชาว)
รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงาน

ปลัดกระทรวง...................................วันที่........../......../........
รองปลัดกระทรวง.............................วันที่........../......../........
อธิบดี................................................วันที่........../......../.........
รองอธิบดี..........................................วันที่........../......../.........
ผอ.กธน. ...........................................วันที่........../......../.........
หน.คท. .............................................วันที่........../......../.........
เจาหนาที่...........................................วันที่........../......../.........
เจาหนาที่พิมพ/ทาน .........................วันที่........../......../.........

You might also like