You are on page 1of 59

1

บทที่ 1
Basic photonic
1. คลื่น เป็นพื้นฐานที่จะใช้ในการศึกษาหัวข้อต่าง ๆ ต่อไป โดยในส่วนนี้จะครอบคลุมชนิดของคลื่น สมการของ
คลื่นซึ่งบ่งบอกถึงว่า คลื่นคืออะไร ความสําคัญของคลื่นฮาร์โมนิคซึ่งจะเกี่ยวข้องกับฟูเรียร์ซรี ี่ ทฤษฎีซุปเปอร์โพ
ซิชั่นและสมบัติของความเป็นเชิงเส้น คลื่นใน หนึ่งมิติ คลื่นในสามมิติ เฟสของคลื่น คลื่นระนาบ คลื่นทรงกลม
และ คลื่นทรงกระบอก
2. ทฤษฎี ส นามไฟฟ้ า ในข้ อ หั ว นี้ จ ะอธิ บ ายถึ ง แรงและประจุ ไ ฟฟ้ า ซึ่ ง จะบ่ ง บอกถึ ง ว่ า สนามเชิ ง แสงคื อ อะไร
(Optical Field) สมการของ แมกซ์เวลล์ทั้งในรูปของอินทิ เกรตชั่นและอนุพันธ์ สมการที่อธิบายถึงคุณสมบัติ
ของวัสดุ (ไดอิเล็กทริค แมกนีติก และ ความนําไฟฟ้า) ความหนาแน่นของพลังงาน พอยน์ติ้งเวกเตอร์ และ การ
เคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางที่มีการสูญเสีย
3. การหักเหและการสะท้อนของแสง ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการของ Fermat กฎการสะท้อนของแสง
กฎการหักเหของแสง สัมประสิทธิ์การสะท้อนของ Fresnel กําลังการส่งผ่าน กําลังการสะท้อน การสะท้อน
กลับหมดของแสงซึ่งเป็นปรากฏการณ์หลักที่ใช้ใน การส่งแสงผ่านเส้นใยนําแสง ปรากฏการณ์ที่แสงหายไป
อย่างรวดเร็วเมื่อมีการสะท้อนกลับหมดซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการสร้าง Fiber-optic couplers มุม
Brewster ซึ่งสามารถนํามาประยุกต์เป็นโพลาไรเซอร์ได้ และ การสะท้อนจาก multiple layers
4. แสงเชิงเรขาคณิต เนื้อหาในส่วนนี้จะครอบคลุมหลักการหาตําแหน่งภาพของ Gauss และ Newton สมการ
ช่างทําเลนส์ ตําแหน่งของจุด โฟกัสและระนาบหลักของระบบการเกิดภาพ จุดโฟกัสของระบบที่มีเลนส์สอง
เลนส์ F-number, Numerical Aperture อุปกรณ์ที่ใช้ใน ระบบภาพเช่น Aperture Stop, Field Stop,
Field Lens, Glare Stop, Baffle, Mirror, Prism, Immersion Lens, Thick Plate, Gradient Index Lens
(GRIN), Microscope และ Telescope รวมไปถึง Aberration ชนิดต่าง ๆ
2
5. ลําแสง Gaussian เนื้อหาในส่วนนี้จะศึกษาและวิธีการวัดตัวแปรที่สําคัญของลําแสง Gaussian ซึ่งเป็นแสงที่
ออกมาจาก GRIN Lens และ จากเลเซอร์ เมตริกซ์ ABCD สมการ Hermite-Gaussian ซึ่งอธิบายถึงโหมด
ต่าง ๆ ของลําแสงเลเซอร์ และ เรโซเนเตอร์ของระบบแสง
6. แหล่งกําเนิดแสง เนื้อหาในส่วนนี้จะกล่าวถึงแหล่งกําเนิดแสงชนิด LED และ เลเซอร์ รวมไปถึงหลักการของ
เลเซอร์ทั้งแบบต่อเนื่อง และแบบพัลส์
7. โพลาไรเซชั่น อธิบายถึงความหมายของโพลาไรเซชั่น ชนิดและการจําแนกโพลาไรเซชั่นของแสง (เชิงเส้น
วงกลม และ วงรี) ทรง กลมของ Poincare ผลการสะท้อนต่อโพลาไรเซชั่น การวิเคราะห์โพลาไรเซชั่นด้วย
Jones Matrix, Stroke Matrix และ Mueller Matrix โพลาไรเซชันจากการกระเจิงของแสง และอุปกรณ์
ทางโพลาไรเซชัน เช่น Dichroisim, Birefringent Materials, Beam Displacing Prism, Nicol Prism,
Glan-Foucault Prism, Glan-Thomson Prism, Rochon Prism, Wollaston Prism, Cube
Polarization Beam Splitter และ Phase Retardation Plates นอกจากนี้หัวข้อนี้จะแสดงความสัมพันธ์
ระหว่างสัมประสิทธิ์การสะท้อนของ Fresnel กับค่าการสูญเสียอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของโพลาไร
เซชั่น (Polarization Dependent Loss. PDL) และ เวลาหน่วงอันเนื่องมา จากการเปลี่ยนแปลงของโพลา
ไรเซชั่น (Polarization Mode Dispersion: PMD)

3
8. เส้นใยนําแสง ครอบคลุมพื้นฐานเบื้องต้นของเส้นใยนําแสง เช่น การสูญเสีย, Dispersion, โพลาไร
เซชั่น, Nonlinear phenomena, และ ชนิดของเส้นใยนําแสง เป็นต้น นอกจากนี้จะกล่าวถึงหลักการ
ของ อุปกรณ์ทาง Fiber Optics ชนิดต่าง ๆ เช่น Couplers, Switches and Routers,
Attenuators, Fiber Bragg Gratings, Multiplexers/Demultiplexers, Add/Drop
Multiplexers, Optical Amplifiers, Optical Circulators, Optical Isolators และ Wavelength
Monitors/Lockers เป็นต้น รวมไปถึงการวัดตัวแปรที่สําคัญ เช่น การสูญเสีย Dispersion, PDL,
PMD, SNR, Crosstalk Isolation, BER และ การสะท้อนกลับ
9. การแทรกสอดของแสง เรียนรู้หลักการแทรกสอดของแสง และ การแทรกสอดแบบต่างๆ เช่น
Young, Michelson, Mach Zehnder, Fiber loop mirror, Newton Ring การแทรกสอดอัน
เนื่องมาจากแผ่นไดอิเล็กทริค การแทรกสอดของคลื่นหลายคลื่น หลักการและ ประโยชน์ของการ
เคลือบฟิล์มบางชั้นเดียวและหลายชั้น การแทรกสอดของคลื่นผ่านสลิตสี่ช่อง และ การแทรกสอดตาม
แบบของ Fabry-Perot
10. การเลี้ยวเบนของแสง อธิบายถึงความหมายของการเลี้ยวเบนของแสง สมการเกรตติง้ การเลี้ยวเบน
ในบริเวณ Fresnel การเลี้ยว เบนในบริเวณ Fraunhofler และ ขนาดของจุดแสง (Diffraction
Limited Spot size) อันเนื่องมาจากรูปร่างของวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ผ่าน

4
11. โคฮีเรนจ์ จะอธิบายถึงคําว่าโคฮีเรนจ์ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสถิติลําดับที่หนึ่งและสอง จากนั้นจะ
พูดถึงโคฮีเรนจ์เชิงเวลา โคฮี เรนจ์เชิงสเพซ มูชั่วอินเทนซิตี้ ครอสสเปกตรัมเคนซิตี้ และ ความเป็น
โคฮีเรนจ์ของคลื่นระนาบ
12. Electro-Optics จะศึกษาหลักการควบคุมแสงด้วยสนามไฟฟ้า (Electro Optics) หลักการ
ควบคุมแสงด้วยเสียง (Acousto Optics) และ หลักการควบคุมแสงด้วยสนามแม่เหล็ก (Magneto
Optics) รวมไปถึงตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้หลักการเหล่านี้
13. การตรวจรับแสงและสัญญาณรบกวน อธิบายถึงหลักการและการทํางานของอุปกรณ์ตรวจรับแสง
ชนิดต่าง ๆ และ ชนิดของ สัญญาณรบกวน

เอกสารอ้างอิง
1. B. E. A. Saleh and M. C. Teich, Fundamentals of Photonics, John Wiley & Sons, 1991.
2. D. Derickson, Fiber Optic Test and Measurement, Prentice Hall, 1998.

5
คําจํากัดความของโฟโตนิกส์
(Photonics)
The technology of generating and harnessing light and other forms of radiant
energy whose quantum unit is the photon.

The science includes light emission, transmission, deflection, amplification and


detection by optical components and instruments, lasers and other light sources, fiber
optics, electro optical instrumentation, related hardware and electronics, and
sophisticated systems.

The range of applications of photonics extends from energy generation to detection


to communications and information processing.

Ref: Photonics Dictionary, Laurin Publishing Co. Ltd., 2000.(http://www.photonics.com)

6
• กฎการเคลื่อนแบบเส้นตรงของแสง
แสงเชิงเรขาคณิต
(Geometrical Optics) • กฎการสะท้อนของแสง
• กฎการหักเหของแสง
- 280 ปีก่อนคริสตกาล Euclid ได้อธิบายว่าในวัสดุเนื้อเดียวกัน (Homogeneous medium) แสงเดินทางเป็น
เส้นตรง และ แสงกําเนิดมาจากดวงตา
- 100 ปีก่อนคริสตกาล Hero of Alexandria อธิบายว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดย
จะเลือกระยะทางที่ สั้นที่สุด หลักการนี้ได้ถูกเรียกว่ากฎการเคลื่อนที่แบบเส้นตรงของแสง
- Alhazen (ค.ศ. 965-1039) ได้สรุปว่าแสงเดินทางด้วยความเร็วค่าๆ หนึ่ง ซึ่งความเร็วนี้จะมีค่าลดลงเมื่อแสง
เดินทางในวัตถุทมี่ ีความหนาแน่นมากขึ้น

Euclid Alhazen Hero of Alexandria 7


- ในปี ค.ศ. 1621 Willebrord Snell ได้เสนอกฏการหักเหของแสงขึ้น Snell ได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1626 ซึ่งในตอน
นั้นเขายังไม่ได้เผยแพร่กฏที่เขาค้นพบ อย่างไรก็ตามกฏการหักเหของแสงได้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกโดย Descartes โดย
ปราศจากการอ้างถึง Snell ซึ่ง หลายๆ คนเชื่อว่า Descartes ได้เห็นผลงานของ Snell ก่อนแล้ว
- Pierre de Fermat (ค.ศ. 1601-1665) ได้เสนอหลักการของเวลาทีน่ ้อยทีส่ ุด (Principle of least time) ซึ่ง
อธิบายว่าแสงจะเลือก เส้นทางที่สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางทีใ่ ช้เวลาที่น้อยที่สุด จากหลักการนี้เขาสามารถ
พิสูจน์ได้ว่าแสงมีความเร็วคงที่ค่าหนึ่งๆ และ ความเร็วนี้จะแปรผกผันกับค่าความต้านทางแสงของ Fermat
ขณะที่ดัชนีหักเหของแสงจะแปรผันกับค่าความต้านทางแสงของ Fermat

1
𝑣∝
𝑛

Snell Descartes Fermat 8


แสงเชิงคลื่น • การแทรกสอดของแสง
(Wave Optics) • การเลี้ยวเบนของแสง
- ปรากฏการณ์การแทรกสอดแรกของแสงทีถ่ ูกค้นพบ คือ สีต่าง ๆ ที่เกิดอันเนือ่ งมาจากแผ่นฟิล์มบาง
ปรากฏการณ์นี้ถูกค้นพบโดย Sir Isaac Newton (ค.ศ. 1624-1727) Robert Boyle (ค.ศ. 1627-1691) และ
Robert Hooke (ค.ศ. 1630-1703)
- Newton ยังค้น พบอีกว่าแสงขาวสามารถถูกแยกออกเป็นสีต่าง ๆ โดยใช้ปริซึม นอกจากนี้เขายังได้มีส่วน
เกี่ยวข้องกับทฤษฎีอนุภาคของแสง (Emission theory หรือ Corpuscular theory) ซึ่งอธิบายว่า แสงที่
เดินทางจากตัวกลางที่เปล่งแสงจะอยู่ในรูปของอนุภาคขนาดเล็ก ส่วน Robert Hooke ได้สังเกตเห็นส่วนสว่าง
เกิดขึ้นในส่วนที่เป็นเงาซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเลี้ยวเบนของแสง (Diffraction) อย่างไรก็ตามการ
เลี้ยวเบนของแสงในลักษณะนี้ได้ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Francesco Maria Grimaldi (ค.ศ. 1618-1663)

Newton Boyle Hooke Grimaldi 9


- - Christian Huygens (ค.ศ. 1629-1695) ได้ปรับปรุงทฤษฎีคลืน่ แสง ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐานที่สําคัญที่นําไปสู่
ทฤษฎีใหม่ทเี่ รียกว่า กฏของ Huygens กฏนี้มีใจความว่าทุก ๆ ตําแหน่งของอีเธอร์ซึ่งถูกแสงรบกวนจะเป็นจุด
ศูนย์กลางของสิ่งรบกวนตัวใหม่ ซึ่งจะเคลือ่ นทีใ่ นลักษณะของคลืน่ ทรงกลม (Spherical wave) การรวมตัวกัน
ของคลื่นทรงกลมเหล่านี้จะทําให้เกิดหน้าคลื่นใหม่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกับเส้นสัมผัสที่ลากผ่านจุดสัมผัส
ระหว่างเส้นสัมผัสนีก้ ับพื้นผิวของลูกบอลเหล่านี้

แหล่งกําเนิดแสง
Huygens

นอกจากนี้แล้วเขายังได้วิเคราะห์การหักเหสองครั้ง (Double refraction) ที่เกิดขึ้นในคริสตอล โดยสมมติ


ว่าในคริสตอลนอกจากจะมีคลืน่ ทรงกลมอยู่แล้วยังมีคลืน่ ทรงรีอีกด้วย แนวคิดนี้เป็นแนวคิดพืน้ ฐานที่นําไปสู่
การค้นพบโพลาไรเซชั่น (Polarization)

10
- ในปี ค.ศ. 1801 Thomas Young (ค.ศ. 1773-1829) ได้ตั้งกฏของการแทรกสอดขึ้น และ ได้อธิบายถึงสีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอัน
เนื่องมา จากแผ่นฟิล์มบาง นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 1817 Young ได้สมมุติฐานที่ว่าการสั่นสะเทือนของแสงนั้นเกิดในแนวขวาง
- ในปี ค.ศ. 1808 Etienne Louis (ค.ศ. 1775-1812) ได้ค้นพบว่าการสะท้อนของแสงมีผลต่อโพลาไรเซชันของแสง
- Augustin Jean Fresnel (ค.ศ. 1708-1827) ได้วิเคราะห์หลักการของ Huygens โดยอาศัยการทดลองของ Young ซึ่งทําให้
เขา สามารถอธิบายถึงการเคลื่อนทีเ่ ป็นเส้นตรง และ ปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนของแสงได้ นอกจากนี้เขายังได้คํานวณการ
เลีย้ วเบนของแสงอันเนือ่ งมาจากขอบของวัตถุ รูบนวัตถุ และ ฉากขนาดเล็ก ๆ อีกสิ่งหนึง่ ที่ Fresnel ได้ศึกษาคือ เขาได้
ร่วมกับ Arago ในการศึกษา โพลาไรเซชั่นของแสง และ เขาทั้งสองพบว่าแสงสองลําทีม่ ีโพลาไรเซชั่นตั้งฉากกันจะไม่ทําให้เกิด
การแทรกสอดขึ้น การศึกษานี้ได้ทําภายใต้ข้อสมมุติที่ว่าคลื่นแสงนั้นต้องไม่เป็นคลื่นตามยาว ในปี ค.ศ. 1821 Fresnel ยังได้
ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของการแยกออกของแสง (Dispersion) นอกจากนี้เขายังได้สรุปความสัมพันธ์ของความเข้มแสง และ โพลา
ไรเซชั่นของแสง เมือ่ แสงมีการสะท้อนหรือมีการหักเห ผ่านตัวกลาง ความสัมพันธ์นี้ถูกเรียกว่า กฎของ Fresnel และตัวแปรที่
ใช้ในการอธิบายถึงผลของการหักเหและการสะท้อนเรียกว่า สัมประสิทธิ์ของ Fresnel
- จากผลงานของ Fresnel, Foucault, Fizeau, Breguet และ Arago ทําให้สรุปได้ว่าแสงตามทฤษฎีคลื่นแสงนั้นจะมี ความเร็ว
ลดลงในวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งข้อสรุปนี้ตรงกันข้ามกับทฤษฎีอนุภาคของแสงทีอ่ ธิบายการหักเหของแสงในลักษณะที่
เกิดจากการดึงดูดกันของอนุภาคแสงและ ความเร็วแสงจะมีค่าสูงขึน้ ในวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง

11
Young Fresnel Arago
- - John Tyndal (ค.ศ. 1820-1893) เป็นบุคคลแรกที่แสดงให้เห็นปรากฏการณ์การสะท้อนกลับหมดของแสงซึ่งเป็นพื้นฐาน
ของการส่งแสงผ่านเวฟไกด์และเส้นใยแก้วยแสง
- - Josef Fraunhofer (ค.ศ. 1787-1826) ได้ค้นพบเส้นมืดหลายๆ เส้นจากสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ เส้นมืดเหล่านี้สอดคล้อง
กันกับเส้นการดูดกลืนแสงซึ่งค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1862 โดย Roger Wilhelm Bunsen (ค.ศ. 1811-1899) และ
Gustav Kirchhoff (ค.ศ. 1824-1827) การค้นพบ สเปกตรัมของแสงอาทิตย์นี้ได้นําไปสู่สาขาวิชาการวิเคราะห์สเปกตรัมขึ้น
- - James Clerk Maxwell (ค.ศ. 1831-1879) ได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งภายหลังต่อมาเขาได้สรุป
หลักการทางสนามแม่เหล็กไฟ ฟ้าเข้าเป็นชุดของสมการที่เรียกว่า สมการของ Maxell
- - ในปี ค.ศ. 1875 John Kerr (ค.ศ. 1824-1907) ได้ค้นพบปรากฏการณ์อิเล็กโตรออปติกส์อันดับสอง (Quadratic electro-
optics) และ ในปี ค.ศ. 1893 Friedrich Pockels (ค.ศ. 1865-1913) ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์อิเล็กโตรออปติกส์เชิงเส้น
(Linear electro-optics)

12
Tyndal Fraunhofer Bunsen Kirchhoff Maxwell Pockels
- Sir William Henry Bragg (ค.ศ. 1862-1942) ผู้พ่อ และ Sir William Lawrence Bragg (ค.ศ. 1890-1971) ผู้เป็นลูก
ได้ศึกษาการหักเหของแสงอันเนื่องมาจากโครงสร้างพีรีโอดิด (Periodic structure) ที่เกิดจากเสียงหรืออุลตร้าซาวด์
- ในปี ค.ศ. 1900 ทฤษฎีควอนตัมได้กําเนิดขึ้น โดย Max Planck (ค.ศ. 1858-1947) ทฤษฎีนี้สามารถอธิบายได้สั้นๆ ว่า
การสั่นของระบบไฟฟ้าจะก่อให้เกิดพลังงานในรูปของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบไม่ต่อเนื่อง หรือ ควอนตา (Quanta) ขึ้น
- ในปี ค.ศ. 1905 Albert Einstein (ค.ศ. 1879-1955) ได้ศึกษาทฤษฎีอนุภาคของแสงอีกครั้ง ภายใต้สมมุติฐานที่ว่า
พลังงานแสง หรือ ควอนตา นั้น อยู่ในอนุภาคของแสง หรือ เรียกว่า โฟตอน (Photon) จากหลักการนี้ทําให้เขาค้นพบ
ปรากฏการณ์แสงเหนี่ยวนําทางไฟฟ้า (Photoelectric effect) และ แสงเหนี่ยวนําทางเคมี (Photochemistry effect)
- ในปี ค.ศ. 1913 Niels Bohr (ค.ศ. 1885-1962) ประยุกต์ใช้ทฤษฎีควอนตัมกับโครงสร้างของอะตอม

H. Bragg L. Bragg Planck Einstein Bohr

13
- ในปี ค.ศ. 1927 Dirac ได้ศึกษาทฤษฎีพื้นฐานของควอนตัมในด้านผลกระทบของคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าต่อวัตถุ
- ในทศวรรษ 1960 เลเซอร์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยผู้มสี ่วนเกี่ยวข้องได้แก่ Nikolai G. Basov, Aleksandr M. Prokhorov, Charles
H. Townes, Arthur L. Schawlaw bla: Theodore H. Maiman
- ในปี ค.ศ. 1962 เซมิคอนดักเตอร์เลเซอร์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยทีมวิจัยจาก IBM, GE และ Lincoln Lab ของ MIT
- ในปี ค.ศ. 1966 เส้นใยแก้วนําแสงได้ถูกเสนอขึน้ โดย Charles Kao และ George Hockham เพื่อใช้ในการสื่อสารด้วยแสง และ
ในต้นทศวรรษ 1970 Schultz, Keck และ Maurer ได้พัฒนาเทคนิคที่ใช้ในการผลิตเส้นใยแก้วนําแสงที่ใช้มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
- ในปี ค.ศ. 1970 Arthur Ashkin ได้แสดงให้เห็นว่าแสงเลเซอร์สามารถนํามาใช้ในการจับอนุภาคขนาดไมครอนได้ซึ่งเป็นหลักการ
พื้นฐานเบื้องต้นในการนําเลเซอร์มาขับและเคลื่อนย้ายอะตอม (Optical tweezers) การนําเลเซอร์มาทําให้อะตอมเย็นลง (Laser
cooling of atoms) และการศึกษาสถานะของอะตอมที่เรียกว่า Bose-Einstein Condensation

Dirac Basov Prokhorov Townes Schawlaw Maiman Kao Hockham

Schultz, Keck และ Maurer Ashkin


14
กฎเส้นทางเดินของแสงที่สนั้ ที่สดุ

B
4
3 1

2
A

เส้นทางที่แสงสามารถเดินทางจากจุด A ไปยังจุด B มีให้เลือกได้หลายเส้นทาง เช่น เส้นทางที่ 1, 2, 3, และ 4

กฎของ Fermat

เมื่อลําแสงเคลื่อนที่จากจุด A ไปยังจุด B แสงจะเลือกเส้นทางที่สนั้ ที่สดุ เมื่อเทียบกับเส้นทางหลายๆ เส้นทาง


จากรูป แสงจะเลือกเส้นทางที่ 1

15
1.2.1 วัตถุที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Inhomogeneous medium)
ตัวอย่าง
ดัชนีหักเหของแสงเปลี่ยนแปลงตามแนวรัศมี
Gradient Index (GRIN) Lens
(Radial Gradient Index Lens)
r

Gradium Lens ดัชนีหักเหของแสงเปลี่ยนแปลงตามแนวยาวของเลนส์


(Gradium Lens) (Axial Gradient Index Lens)

z 16
1.2.1 วัตถุที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Inhomogeneous medium)
วัตถุ

แสงเข้า แสงออก

A B
x
ระยะทางที่แสงเดินทาง (Optical Path Length: OPL) สามารถคํานวณได้ดังนี้
𝐵

𝑂𝑃𝐿 = න 𝑛 𝑥 𝑑𝑥
𝐴

n(x) คือ ค่าดัชนีหักเหของแสงของวัตถุที่ตําแหน่ง x ในที่นี้ค่าความต้านทานแสงของ Fermat


ก็คือ n(x) นั่นเอง
17
1.2.1 วัตถุที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Inhomogeneous medium)

ค่าดัชนีหักเหของแสงของวัตถุจะมีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างความเร็วแสงในสูญญากาศ (c) ต่อ


ความเร็วแสงใน ตัวกลาง (v)
𝑐
𝑛=
𝑣

เช่น ค่าดัชนีหักเหของแสงของอากาศจะมีค่าเท่ากับ 1.0003 ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ซึ่ง


จะพบว่าความเร็วของ แสงในอากาศจะมีค่าใกล้เคียงกับค่าความเร็วแสงในสูญญากาศ

18
1.2.2 วัตถุแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete medium)

แสงเข้า n1 n2 n3 ... nN แสงออก

x1 x2 x3 xN

ระยะทางที่แสงเดินทาง (Optical Path Length: OPL) สามารถคํานวณได้ดังนี้


𝑁

𝑂𝑃𝐿 = ෍ 𝑛𝑖 𝑥𝑖
𝑖
R

เส้นทางเสมือน
𝑑(𝑂𝑃𝐿)
e ቤ
𝑑𝜀 𝜀=0
=0 กฎของ Fermat

P เส้นทางจริง Q 19
1.2.2 วัตถุแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete medium)
ตัวอย่าง จงพิสูจน์กฎการหักเหของแสงจากกฎของ Fermat x

n1 n2
𝑂𝑃𝐿 = 𝑛1 (𝑥 + 𝜀)2 +𝑧 2 + 𝑛2 (𝑥 ′ − 𝑥 − 𝜀)2 +𝑧′2
(x z
(x+e ,0)
𝑑(𝑂𝑃𝐿) 𝑛1 𝑥 𝑛2 𝑥 ′ − 𝑥
ቤ = − =0
𝑑𝜀 𝜀=0 2 2 e
𝑥 +𝑧 𝑥′ −𝑥 2 + 𝑧′2
q
(x ,0)
(0,z)
q
เนื่องจาก P z
𝑥 𝑥′ − 𝑥
= 𝑠𝑖𝑛𝜃 และ = 𝑠𝑖𝑛q′
𝑥2 + 𝑧2 𝑥′ −𝑥 2 + 𝑧′2

𝑛1 𝑠𝑖𝑛𝜃 − 𝑛2 𝑠𝑖𝑛𝜃′ = 0

𝑛1 𝑠𝑖𝑛𝜃 = 𝑛2 𝑠𝑖𝑛𝜃′
20
ตัวอย่างคลื่นที่พบในชีวิตประจําวัน
• คลื่นเสียงที่เราได้ยิน
• คลื่นแสงที่เราเห็น
• คลื่นหน้าที่เกิดจากการกระเพื่อมของหน้า
• คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ นําสัญญาณเสียงและภาพ
• ฯลฯ
คลื่นคืออะไร
คลื่นมีกี่ชนิด
คลื่นมีความเร็วเป็นอย่างไร
ทําไมต้องเรียนรู้เรื่องคลื่น

21
ทําไมต้องเรียนรู้เรื่องคลื่น ?

พื้นฐานสําหรับการศึกษา การเรียนรู้ และ การใช้งานทางด้าน

• การหักเห และ การสะท้อนของแสง (ผลของรอยต่อระหว่างวัสดุ)


• การแทรกสอดของแสง (ผลรวมของ สนามไฟฟ้า ณ จุดๆหนึ่ง)
• การเลี้ยวเบนของแสง (ผลของลักษณะและรูปร่างของพื้นผิว)
• โพลาไรเซชั่น ของแสง (ลักษณะการสั่นของสนามไฟฟ้า)
• การประมวลสัญญาณเชิงแสง (ฟูเรียร์ทรานฟอร์ม)
• การ เคลื่อนที่ของแสงในเส้นใยนําแสง และ เวฟไกด์
• การส่งแสงระหว่างเส้นใยนําแสงผ่านอากาศ
• ฯลฯ
22
ตัวอย่าง คลื่นในอุปกรณ์เส้นใยนําแสง

GRIN Lens

Cladding

(Ideal)
Core

23
1.3.1 คลื่น

• ถูกกําหนดด้วยสมการหนึ่งๆ ที่เป็นไปตามสมการของคลื่น
• คลื่นเป็นพาหนะที่พาโมเมนตัม(ปริมาณเวกเตอร์) และ พลังงาน (ปริมาณส เกลาร์) ไปด้วย
• ในอีกความหมายหนึ่งคลื่นก็คือรูปแบบของการรบกวนที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ โดย
รูปร่างของคลื่นไม่เปลี่ยนแปลง

24
1.3.2 คลื่นพัลส์ (Pulse wave)
• คลื่นที่มีช่วงเวลาการสั่นสะเทือนที่สั้น และ อาจมีรูปร่างที่พิเศษกว่าคลื่นทั่วไป
• ตัวอย่างของคลื่นชนิดนี้ได้แก่
เสียงปืน และ เสียงฟ้าร้อง (คลื่นพัลส์เสียง)
ฟ้าแลป (คลื่นพัลส์แสง)
• โดยทั่วไปแล้วคลื่นพัลส์สามารถแยกออกเป็นคลื่นย่อยต่อเนื่องได้หลายๆ คลื่นโดยใช้อนุกรมฟู
เรียร์(Fourier series) โดยคลื่น ย่อยแต่ละคลื่นจะมีความถีที่แตกต่างกัน
• ในกรณีที่คลื่นพัลส์นี้เคลื่อนที่ในตัวกลางที่มีดิสเพอร์ชั่น(Dispersive medium) จะส่งผลให้คลื่น
แต่ละความถี่เคลื่อนที่ด้วย ความเร็ว ไม่เท่ากันและผลสุดท้ายรูปร่างของคลื่นพัลส์จะเปลี่ยนไป
ดังนั้นถ้าจะให้คลื่นแต่ละความถี่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน คลื่นจะต้องเดินทาง ในตัวกลางที่
ไม่มีดสิ เพอร์ชั่น(Nondispersive medium) ยกตัวอย่างเช่น อากาศเป็นตัวกลางที่ไม่มีดิสเพอร์
ชั่นสําหรับคลื่นเสียง ส่วน สูญญากาศเป็นตัวกลางที่ไม่มีดิสเพอร์ชั่นสําหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
25
1.3.3 ชนิดของคลื่น
1.3.3.1 คลื่นตามยาว
คลื่นชนิดนี้จะมีการสั่นสะเทือนในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น และ คลื่นชนิดนี้
ต้องการตัวกลางใน การ เคลื่อนที่
ตัวอย่างของคลื่นตามยาวได้แก่
• คลื่นเสียง
• การเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีหักเหของแสงในคริสตอล เมื่อคริสตอลถูกขับดันด้วยคลื่นเสียง ซึ่งจะส่งผลให้
อะตอมภายในคริสตอลเกิดการจัดเรียงตัวสอดคล้องกับสัญญาณเสียงที่ส่งเข้าไปในกรณีที่สัญญาณมีลักษณะ
เป็นฟังก์ชน่ั ของซายน์จะได้ว่า ณ จุดสูงสุดของสัญญาณอะตอมจะจัดเรียงตัวกันหนาแน่นกว่าบริเวณอื่นทํา
ให้ดัชนีหักเหของแสงที่ตําแหน่งนี้มีค่ามากที่สุด ในทางตรงกันข้ามอะตอมจะอยู่ห่างกันที่บริเวณ ต่ําสุดของ
สัญญาณซึ่งทําให้ค่าดัชนีหักเหของแสง ณ ตําแหน่งนี้มคี ่าต่ําสุดคาบของการอัดตัว (L) จะขึ้นอยู่กับความถี่
และความเร็วของเสียงในคริสตอล คริสตอลชนิดนี้เป็นที่รู้จักทั่วไปว่า Acousto-optic device หรือ Bragg
cell ซึ่งค้นพบโดยสองพ่อลูกตระกูล Bragg
26
1.3.3 ชนิดของคลื่น
1.3.3.1 คลื่นตามยาว
L AOD
1
sine

~
qB

n n
x
(Transducer) RF ~
n
n
qB : Bragg Angle
n0 RF: Radio Frequency
x AOD: Acousto-Optic Device
n
27
1.3.3 ชนิดของคลื่น
1.3.3.2 คลื่นตามขวาง
สําหรับคลื่นชนิดนี้จะมีทิศทางของการสั่นสะเทือนตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของ
คลื่นชนิดนี้ได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปกติแล้วคลื่นตามขวางจะไม่ต้องการตัวกลางในการเคลื่อนที่
ยกเว้นคลื่นบน เส้นเชือก และ คลื่นน้ํา
ทิศทางการ
เปลี่ยนแปลง

ทิศทางการ เคลื่อนที่

นอกจากการแบ่งชนิดของคลื่นออกเป็นคลื่นตามยาวและคลื่นตามขวางแล้ว เรายังสามารถแบ่งคลื่น
ออกเป็น คลื่นเชิงกล และ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้อีกด้วย คลื่นเชิงกลจะต้องการตัวกลางในการ
เคลื่อนที่ และ ความเร็วของการเคลื่อนที่จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติความยืดหยุ่น (Elastic properties)
ของตัวกลางนั้น ๆ ในขณะที่คลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าจะไม่ต้องการตัวกลางในการเคลื่อนที่ 28
S S

y y
vt
y=g(x,0) y(x,t) = g(x t) = g(x-vt)

x x1 x
x1

สมมุติให้
Ψ(x,t)=g(x,t)

ฟังก์ชั่นนี้จะเคลื่อนที่จากกรอบ S ไปสู่ S’ ดังรูปโดยที่กรอบ S จะเป็นกรอบอ้างอิงที่เวลา t = 0 วินาที


ส่วนกรอบ S’ จะเป็นกรอบ S ที่เวลา t วินาที นอกจากนี้เราจะสมมุติว่าคลื่นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
โดยไม่มีการเปลี่ยนรูปร่าง
จากรูปจะได้ x1 = vt+ x1’ หรือ ณ ตําแหน่งใดๆบนแกน x จะได้ x = vt + x’ หรือ x’ = x – vt
29
ดังนั้นฟังก์ชั่นการสั่นสะเทือน ในกรอบ S’ สามารถเขียนได้ดัง

Ψ(x,t)=g(x-vt)

ฟังก์ชั่นตามสมการนี้เป็นรูปแบบของฟังก์ชั่นของคลื่นในหนึ่งมิติที่เคลื่อนที่ในทิศทาง +x

ในทํานองเดียวกันสําหรับคลื่นที่เคลื่อนที่ในทิศทาง -x ฟังก์ชั่นของคลื่นจะอยู่ในรูป

Ψ(x,t)=g(x+vt)

ดังนั้นรูปแบบของฟังก์ชั่นทั่วไปของคลื่นสามารถเขียนได้จากซุปเปอร์โพซิชั่นของคลื่นทั้งสองที่เคลื่อนที่ด้วย
ความเร็ว เท่ากันในทิศทางตรงกันข้าม

Ψ(x,t)=c1g1(x-vt)+c2g2(x+vt)

c1 และ c2 คือ ค่าคงที่ 30


การตรวจสอบดูว่าฟังก์ชั่นที่เราศึกษาอยู่นั้นเป็นฟังก์ชั่นในรูปของคลื่นทั่วไปหรือไม่

สามารถกระทําได้โดยดูฟังก์ชั่นที่เวลา t ถ้าฟังก์ชั่นนั้นยังคงรูปเดิมอยู่แสดงว่าเป็นฟังก์ชั่นของคลื่นทั่วไป

ตัวอย่าง จงพิสูจน์ว่าเมื่อเวลาผ่านไป t ฟังก์ชั่นทั่วไปของคลื่น Ψ(x,t)=g(x-vt) จะยังคงรูปแบบเดิม


ที่เวลา t, y(x,t) สามารถเขียนได้ดังนี้
Ψ 𝑥, 𝑡 + Δ𝑡 = 𝑔[ 𝑥 + 𝑣Δ𝑡 − 𝑣 𝑡 + Δ𝑡 ]

= 𝑔(𝑥 + 𝑣Δ𝑡 − 𝑣𝑡 − 𝑣Δ𝑡)

Ψ 𝑥, 𝑡 + Δ𝑡 = 𝑔 𝑥 − 𝑣𝑡 = Ψ(𝑥, 𝑡)

จะเห็นว่าที่เวลา t รูปแบบของฟังก์ชั่น y(x,t) ยังคงรูปเดิมอยู่จึงสรุปได้ว่า


ฟังก์ชั่นนี้เป็นฟังก์ชั่นของคลื่น 31
คลื่นฮาร์โมนิคเป็นคลื่นที่มีรูปแบบที่ง่ายที่สุดและเป็นคลื่นพื้นฐานของทุกคลื่น รูปร่างของคลื่นชนิดนี้เป็น
ฟังก์ชั่นของซายน์หรือโคซายน์ดังสมการ

s(𝑥, 𝑡) = 𝐴𝑠𝑖𝑛[𝑘 𝑥 − 𝑣𝑡 ]

k คือ ค่าคงที่มีหน่วยเป็นส่วนกลับของความยาว
A คือ ตําแหน่งหรือจุดสูงสุดของการสั่นสะเทือน

จากสมการสามารถพิจารณาได้อีกอย่างหนึ่งว่า การสั่นสะเทือนของ s(x,t) จะเปลี่ยนแปลงในลักษณะของ


ฟังก์ชันซายน์เมื่อเวลาและตําแหน่งเปลี่ยนไป

การที่คลื่นฮาร์โมนิคเป็นคลื่นพื้นฐาน (Elementary wave) ของทุก ๆ คลื่นนั้นอันเนื่องมาจากว่าใน


ความเป็นจริง แล้วคลื่นจะมีลักษณะซับซ้อนมากแต่ก็ยังสามารถแยกออกเป็นฮาร์โมนิคต่าง ๆ ที่มี
ความถี่ต่าง ๆ ได้โดยใช้อนุกรมฟูเรียร์
32
ความยาวคลื่น ()
ณ เวลาหนึ่งๆ เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ในทิศทางตามแกน X เป็นระยะทางเท่ากับค่าของความยาวคลื่น s(x,t) จะ
มีค่าเท่าเดิมดังรูป
s(x,0) หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ

sin[𝑘 𝑥 − 𝑣𝑡 ] = 𝑠𝑖𝑛[𝑘 𝑥 + 𝜆 − 𝑣𝑡 ]
x
จากความสัมพันธ์นี้จะได้ค่า k = 2/
ค่า k นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ค่าคงที่ของ

การเคลื่อนที่ของคลื่น

กรณีที่คลื่นเคลื่อนที่ในตัวกลางใด ๆ ค่า k จะมีค่าเท่ากับ 2n/0 และ ความเร็วแสงในตัวกลางจะมีค่า


เท่ากับ c/n ซึ่งบ่งบอกว่าความยาวคลืน่ และความเร็วแสงในตัวกลางจะลดลงอัน เนื่องมาจากดัชนีหักเหของ
แสงในขณะที่ความถี่หรือสีของแสงจะไม่เปลี่ยนแปลง
33
นอกจากนี้เรายังสามารถพิสูจน์ได้อีกว่า ณ ตําแหน่งใดๆเมื่อคลื่นเคลื่อนที่เป็นเวลาเท่ากับคาบของคลื่น (T)
ค่าของ s(x,t) จะไม่เปลี่ยนแปลงดังรูป
s(x,T/2)

sin[𝑘 𝑥 − 𝑣𝑡 ] = 𝑠𝑖𝑛[𝑘 𝑥 − 𝑣(𝑡 − 𝑇) ]


t

โดยที่ kvT= 2 หรือ v =  /T = f 


เมื่อ f คือ ความถี่ของคลื่น
T

ดังนั้นจากหลักการของความยาวคลื่นและคาบของคลื่นที่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้จะเห็นว่าการสั่นสะเทือน
หรือ ตําแหน่งของอนุภาคนั้นจะมีค่าซ้ําไปซ้ํามาทั้งในฟังก์ชั่นของตําแหน่งและเวลา
34
รูปแบบอื่น ๆ ของสมการคลื่นฮาร์โมนิค

s 𝑥, 𝑡 = 𝐴𝑠𝑖𝑛[𝑘 𝑥 ∓ 𝑣𝑡 ]

= 𝐴𝑠𝑖𝑛[2𝜋/𝜆 𝑥 ∓ 𝑣𝑡 ]

= 𝐴𝑠𝑖𝑛 𝑘𝑥 ∓ 𝜔𝑡

= 𝐴𝑠𝑖𝑛[2𝜋 𝑥/𝜆 ∓ 𝑡/𝑇 ]

= 𝐴𝑠𝑖𝑛[𝜔 𝑥/𝑣 ∓ 𝑡 ]

โดยที่ kv =  = 2T = 2 f คือค่าความเร็วเชิงมุมมีหน่วยเป็นเรเดียนต่อวินาที


1/ คือค่า เวฟนัมเบอร์ (Wave number) มีหน่วยเป็นส่วนกลับของความยาว

35
ในหัวข้อนี้จะ ยกตัวอย่างคลื่นฮาร์โมนิคทางเชิงกลซึ่งเป็นคลื่นฮาร์โมนิคชนิดหนึ่งโดยจะศึกษาการเคลื่อนที่ใน
หนึ่งมิติ ของอนุภาคซึ่ง จะมีอยู่หนึ่งอนุภาคที่เคลื่อนที่อยู่ดังรูป
x

จากกฎการสมดุลสําหรับอนุภาคของ Hooke จะได้แรง (F) ที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับ


F = −𝐶𝑥
เมื่อ C เป็นค่าคงที่ และ x คือ ระยะการเคลื่อนที่ของอนุภาคจากจุดสมดุล และ
จากกฎข้อที่สองของ Newton จะได้ แรงที่เกิดขึ้นมีค่าดังนี้
F = 𝑚𝑎
เมื่อ a คือค่าความเร่งของอนุภาค และ m คือมวลของอนุภาค 36
เราสามารถหาสมการการเคลื่อนแบบเชิงกลได้ดังนี้

F = 𝑚𝑎 = −𝐶𝑥
𝑑2 𝑥
𝑚 2 = −𝐶𝑥
𝑑𝑡
𝑚 𝑑2 𝑥
+𝑥 =0
𝐶 𝑑𝑡 2

สมการนี้เป็นสมการอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับที่สองซึ่งมีคําตอบอยู่ในรูปของ

𝑥(𝑡) = 𝑥0 𝑐𝑜𝑠 2𝜋𝜔𝑡 + 𝜙0


1 𝐶
เมื่อ 𝜔= เป็นความเร็วเชิงมุมของการเคลื่อนที่ของอนุภาค
2𝜋 𝑚

ซึ่งจากการคําตอบที่ได้จะพบว่า x(t) นี้ เป็นฟังก์ชั่นของคลื่นฮาร์โมนิคและแปรเปลี่ยนไปตามเวลา 37


นอกจากอนุภาคจะสั่นสะเทือนในทิศทางตามแกน x แล้วอนุภาคเหล่านี้ยัง เคลื่อนที่ในทิศทางตามแกน Z
ด้วย ความเร็ว y ด้วย ดังนั้นสมการที่สมบูรณ์ของคลื่นที่มีทิศทางการสั่นสะเทือนในแนวแกน X และ เคลื่อนที่
อยู่ในแนว แกน Z (คลื่นตามขวาง) จะอยู่ในรูปของอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับที่สอง

𝜕2𝑥 1 𝜕2𝑥
2
= 2 2
𝜕𝑧 𝑣 𝜕𝑡

ซึ่งจะทําให้คําตอบทั่วไปของสมการนี้อยู่ในรูปของ
𝑧 𝑧
𝑥 𝑧, 𝑡 = 𝐶1 𝑓 𝑡 − + 𝐶2 𝑔 𝑡 +
𝑣 𝑣

38
ในที่นี้เราจะพิสูจน์ให้เห็นว่ารูปแบบฟังก์ชั่นของคลื่น Ψ 𝑥, 𝑡 = 𝑔(𝑥 ∓ 𝑣𝑡) ที่ได้กล่าวไว้ในช่วงต้นก็
สอดคล้องกับสมการคลื่นในรูปของอนุพันธ์เช่นเดียวกัน ขั้นตอนแรกเราจะหาอนุพันธ์อันดับที่หนึ่งของฟังก์ชัน
ทั่วไปของคลื่น Ψ(𝑥, 𝑡) เทียบกับ x ก่อน
𝜕Ψ(𝑥, 𝑡) 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡)
= (1)
𝜕𝑥 𝜕𝑥′
ขั้นตอนต่อไป คือ การหาอนุพันธ์อันดับที่หนึ่งของรูปแบบฟังก์ชั่นทั่วไปของคลื่น Ψ(𝑥, 𝑡)เทียบกับ t ซึ่งจะได้

𝜕Ψ(𝑥, 𝑡) 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡) (2)


= ∓𝑣
𝜕𝑡 𝜕𝑥′

จะเห็นว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของ Ψ(𝑥, 𝑡) เทียบกับเวลาจะเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงของ


Ψ(𝑥, 𝑡) เทียบกับตําแหน่งคูณด้วยปริมาณสเกลาร์ v
39
เนื่องจากว่ารูปแบบฟังก์ชั่นทั่วไปของคลื่นประกอบด้วยตัวแปรสองตัว ดังนั้นเราจะต้องหาสมการอนุพันธ์
อันดับที่สอง ของ Ψ(𝑥, 𝑡) ด้วย จากสมการข้างต้นเราสามารถหาสมการอนุพันธ์อันดับที่สองของ Ψ(𝑥, 𝑡)
เทียบกับ x และ t ได้ดังนี้

𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑡) 𝜕 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡) 𝜕 2 𝑔(𝑥, 𝑡)


2
= =
𝜕𝑥 𝜕𝑥 𝜕𝑥′ 𝜕𝑥′2

𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑡) 𝜕 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡) 𝜕 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡)


= ∓𝑣 = ∓𝑣
𝜕𝑡 2 𝜕𝑡 𝜕𝑥′ 𝜕𝑥′ 𝜕𝑡
𝜕Ψ(𝑥, 𝑡) 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡)
เนื่องจากว่า = จะได้
𝜕𝑡 𝜕𝑡

𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑡) 𝜕 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡) 𝜕 𝜕Ψ(𝑥, 𝑡)


2
= ∓𝑣 = ∓𝑣
𝜕𝑡 𝜕𝑡 𝜕𝑥′ 𝜕𝑥′ 𝜕𝑡
40
𝜕Ψ(𝑥, 𝑡) 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡)
แทนค่า = ∓𝑣 จากสมการที่ 2 ลงในสมการข้างต้น จะได้
𝜕𝑡 𝜕𝑥′

𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑡) 𝜕 𝜕𝑔(𝑥, 𝑡) 𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑡)


2
= ∓𝑣 ∓𝑣 = 𝑣2
𝜕𝑡 𝜕𝑥′ 𝜕𝑥′ 𝜕𝑥′2

สมการนี้เป็นสมการของคลื่นในหนึ่งมิติซึ่งมีคําตอบอยู่ในรูปของสมการ

Ψ 𝑥, 𝑡 = 𝑐1 𝑔1 𝑥 − 𝑣𝑡 + 𝑐2 𝑔2 𝑥 + 𝑣𝑡

นอกจากนี้เราจะเห็นว่าถ้าทั้ง Ψ1 (𝑥, 𝑡) และ Ψ2 (𝑥, 𝑡) เป็นคําตอบของสมการคลื่นในหนึ่งมิติแล้วก็


ผลรวมของคําตอบทั้งสอง Ψ1 (𝑥, 𝑡)+ Ψ2 (𝑥, 𝑡) ก็เป็นคําตอบของสมการคลื่นในหนึ่งมิติเช่นเดียวกันซึ่ง
เป็นไปตาม ทฤษฎีซุปเปอร์โพซิชัน

41
พิสูจน์
𝜕 2 Ψ1 (𝑥, 𝑡) 1 𝜕 2 Ψ1 (𝑥, 𝑡) 𝜕 2 Ψ2 (𝑥, 𝑡) 1 𝜕 2 Ψ2 (𝑥, 𝑡)
จากสมการ = 2 และ = 2
𝜕𝑥 2 𝑣 𝜕𝑡 2 𝜕𝑥 2 𝑣 𝜕𝑡 2

𝜕 2 Ψ1 (𝑥, 𝑡) 𝜕 2 Ψ2 (𝑥, 𝑡) 𝜕2
2
+ 2
= 2 Ψ1 (𝑥, 𝑡) + Ψ2 (𝑥, 𝑡)
𝜕𝑥 𝜕𝑥 𝜕𝑥
1 𝜕 2 Ψ1 (𝑥, 𝑡) 𝜕 2 Ψ2 (𝑥, 𝑡)
= 2 2
+
𝑣 𝜕𝑡 𝜕𝑡 2

𝜕 2 Ψ1 (𝑥, 𝑡) 𝜕 2 Ψ2 (𝑥, 𝑡) 1 𝜕2
2
+ 2
= 2 2 Ψ1 (𝑥, 𝑡) + Ψ2 (𝑥, 𝑡)
𝜕𝑥 𝜕𝑥 𝑣 𝜕𝑡

จะเห็นว่า Ψ1 (𝑥, 𝑡) + Ψ2 (𝑥, 𝑡) ยังอยู่ในรูปทั่วไปของสมการคลื่น


42
เราสามารถใช้สมการที่ได้เรียนรู้ในหัวข้อที่แล้วซึ่งเป็นสมการคลื่นในหนึ่งมิติในแนวแกน x มาเขียนสม การ
คลื่นในหนึ่งมิติในแนวแกนที่เหลือคือ y และ 2 ได้เช่นกัน ดังนั้น สมการคลื่นในสามมิติสามารถ เขียน ได้ดังนี้

𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑦, 𝑧, 𝑡) 𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑦, 𝑧, 𝑡) 𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑦, 𝑧, 𝑡) 1 𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑦, 𝑧, 𝑡)


+ + = 2
𝜕𝑥 2 𝜕𝑦 2 𝜕𝑧 2 𝑣 𝜕𝑡 2

1 𝜕 2 Ψ(𝑥, 𝑦, 𝑧, 𝑡)
∇2 Ψ(𝑥, 𝑦, 𝑧, 𝑡) = 2
𝑣 𝜕𝑡 2

𝜕2 𝜕2 𝜕2
เมื่อ ∇2 คือ Laplacian operator มีค่าเท่ากับ 2 + + 2 เมื่อพิจารณาสมการคลื่นในสาม
𝜕𝑥 𝜕𝑦 2 𝜕𝑧
มิติ จะพบว่าสมการนี้มคี ําตอบอยู่ในรูปของ

Ψ(𝑥, 𝑦, 𝑧, 𝑡) = 𝐴𝑒 𝑗[(𝛼𝑥+𝛽𝑦+𝛾𝑧)∓𝜔𝑡]

เมื่อขนาดของคลื่น A สามารถเป็นได้ทั้งปริมาณสเกลาร์และเวกเตอร์ หรืออาจเขียนให้อยู่ในรูปทั่วไป 43


Ψ(𝑥, 𝑦, 𝑧, 𝑡) = 𝑐1 𝑓 𝛼𝑥 + 𝛽𝑦 + 𝛾𝑧 − 𝑣𝑡 + 𝑐2 𝑓 (𝛼𝑥 + 𝛽𝑦 + 𝛾𝑧 + 𝑣𝑡)

𝑘 𝑘
Ψ(𝑟,
Ԧ 𝑡) = 𝑐1 𝑓 𝑟Ԧ ∙ − 𝑣𝑡 + 𝑐2 𝑔 𝑟Ԧ ∙ + 𝑣𝑡
𝑘 𝑘

โดยที่ 𝛼 2 + 𝛽 2 + 𝛾 2 =1

,  และ  เป็นเวกเตอร์ขนาดหนึ่งหน่วยของ 𝑘 ในทิศทางตามแกน x, y และ z ตามลําดับ

44
x1
จากรูปสมการของคลื่นที่เป็นไปตามเส้นปะสามารถ
เขียนได้ดังนี้
x

Ψ(𝑥, 𝑡) = 𝐴𝑠𝑖𝑛 𝑘𝑥 − 𝜔𝑡 + 𝜀

สมการภายในวงเล็บก็คือค่าเฟสของคลื่น 𝜙 = 𝑘𝑥 − 𝜔𝑡 + 𝜖 โดยที่ e คือ ค่าความต่างเฟส


ระหว่างคลื่นทั้ง สอง หรือ ค่าความต่างเฟสของคลื่นเมื่อเทียบกับเฟสอ้างอิง โดยทั่วไปค่าความต่าง
2𝜋𝑥1
เฟสจะมีค่าเท่ากับ
𝜆

45
นอกจากนี้เรายัง สามารถหาค่าตัวแปรต่างๆที่อธิบายถึงคุณสมบัติของคลื่นจากสมการเฟสของคลื่นได้ดังนี้

𝜕𝜙
ความเร็วเชิงมุม () จะมีค่าเท่ากับ เมื่อ x มีค่าคงที่
𝜕𝑡 𝑥

𝜕𝜙
ค่าคงที่ของการเคลื่อนที่ (k) จะมีค่าเท่ากับ เมื่อ t มีค่าคงที่
𝜕𝑥 𝑡

ความเร็วเฟส (v) จะมีค่าเท่ากับ 𝜕𝑥


=
− 𝜕𝜙/𝜕𝑡 𝑥 𝜔
= =𝑣
𝜕𝑡 𝜕𝜙/𝜕𝑥 𝑡 𝑘
𝜙

เมื่อ  มีค่าคงที่ ความเร็วเฟสเป็นความเร็วที่คลื่นต้องรักษาไว้เพื่อที่จะรักษาให้เฟสมีค่าคงที่


ความเร็วเฟสจะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับความเร็วแสง
𝑑𝜔
ความเร็วกลุ่ม (𝑣𝑔 ) จะมีค่าเท่ากับ ซึ่งเป็นความเร็วของเอนเวลล็อปของผลรวมของกลุ่มคลื่น
𝑑𝑘
ที่ประกอบด้วยคลื่นที่มีความถี่ที่แตกต่างกัน หรือ ในอีกนัยหนึ่งก็คือเป็นความเร็วที่พลังงานของคลื่น
เคลื่อนที่ ค่าความเร็วกลุ่มจะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับความเร็วแสง 46
ผลคูณของความเร็วกลุ่มกับความเร็วเฟสจะมีค่าเท่ากับความเร็วแสงยกกําลังสองเสมอ

𝑣𝑝 𝑣𝑔 = 𝑐 2

เรายังสามารถพิจารณาทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นจากเฟสของคลื่นได้โดยกําหนดให้เฟสของคลื่นเป็น ค่าคงที่

ถ้า 𝜙 = 𝑘(𝑥 + 𝑣𝑡) ในที่นี้เมื่อเวลาเพิ่มขึ้น x จะต้องมีค่าเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อให้เฟสมีค่าคงที่ ดังนั้นในกรณีนี้


คลื่นจะ เคลื่อนที่ไปในทิศทาง +x

ในทางกลับกันถ้า 𝜙 = 𝑘(𝑥 − 𝑣𝑡) เมื่อเวลาเพิ่มขึ้น x จะต้องมีค่าลดลงเพื่อให้เฟสมีค่าคงที่ดังนั้นในกรณีนี้


คลื่น จะเคลื่อนที่ไปในทิศทาง -x

47
คลื่ น ระนาบคื อ คลื่ น ที่ มี ห น้ า คลื่ น เป็ น ระนาบแบน ตั ว อย่ า งของคลื่ น ชนิ ด นี้ ไ ด้ แ ก่ ค ลื่ น ที่ อ ยู่ ห่ า งจาก
แหล่งกําเนิดคลื่นมาก ๆ (Far-field region) คลื่นแสงที่มาจากดวงดาวที่อยู่ไกลออกไป หรือ การที่เรานํา
เลนส์มาวางไว้หน้าแหล่ง กําเนิดคลื่นทรงกลมที่ระยะห่างเท่ากับโฟกัส ของเลนส์เราก็จะได้คลื่นระนาบที่
ด้านหลังของเลนส์ดังรูป

แหล่งกําเนิด หน้าคลื่น
แสงแบบจุด ระนาบ

หน้าคลื่นทรงกลม

หน้าคลื่น พาราโบลอยด์
แหล่งกําเนิด หน้าคลื่น
แสงแบบจุด
ระนาบ
หน้าคลื่นทรงกลม
เลนส์นูน 48
z
หน้าคลื่น 𝑘 จากรูปถ้าคลื่นที่เคลื่อนที่อยู่เป็นคลื่นระนาบ
ระนาบ (𝑥, 𝑦, 𝑧)

𝑟Ԧ − 𝑟Ԧ0
𝑟Ԧ (𝑟Ԧ − 𝑟Ԧ0 ) ∙ 𝑘 = 0
(𝑥0 , 𝑦0 , 𝑧0 )
0 𝑟0 y

𝑘𝑥 𝑥 − 𝑥0 + 𝑘𝑦 𝑦 − 𝑦0 + 𝑘𝑧 𝑧 − 𝑧0 = 0

x 𝑘𝑥 𝑥 + 𝑘𝑦 𝑦 + 𝑘𝑧 𝑧 = 𝑘𝑥 𝑥0 + 𝑘𝑦 𝑦0 + 𝑘𝑧 𝑧0

𝑘𝑥 𝑥 + 𝑘𝑦 𝑦 + 𝑘 𝑧 𝑧 = ค่าคงที่

ดังนั้นจะเห็นว่าสําหรับคลื่นระนาบ 𝑘 ∙ 𝑟Ԧ = ค่าคงที่ นอกจากนี้เราจะเห็นว่าสมการคลื่นฮาร์โมนิคที่


ศึกษาในหัวข้อที่ 1.5 ก็เป็น ตัวอย่างหนึ่งของคลื่นระนาบเช่นกัน
49
คลื่ น ทรงกลมเป็ น คลื่ น ที่ มี ห น้ า คลื่ น เป็ น ทรงกลม ตั ว อย่ า งของคลื่ น ทรงกลมได้ แ ก่ ค ลื่ น ที่ เ กิ ด จาก
แหล่งกําเนิดคลื่นแบบจุด (Point source) หรือ ทรงกลม เช่น หลอดไฟดวงกลม เป็นต้น เพื่อเป็นการ
สะดวกในการหาสมการของคลื่นทรงกลม พิกัด ของตําแหน่งต่าง ๆ ที่ใช้จะเป็นพิกัดโพลาร์ซึ่งจะต่าง
จากกรณีของคลื่นระนาบที่ใช้พิกัด X,Y,Z หรือพิกัดคาร์ที่เซียน (Cartesian coordinate system)

หน้าคลื่นทรงกลม

rcosT T
P(r,T, I)
r

I y

x 50
จากรูปจะเห็นว่าฟังก์ชั่นของคลื่นทรงกลมมีลักษณะสมมาตร หรือ ในอีกนัยหนึ่งคือไม่ขึ้นอยู่กับค่า q
และ  ดังนั้นจากค่า Laplacian operator สําหรับพิกัดโพลาร์ ∇2 ≡ 𝑟12 𝜕𝑟
𝜕
𝑟2
𝜕
𝜕𝑟
เราสามารถ
เขียนสมการของคลื่นทรงกลมได้ดังนี้
1 𝜕2 1 𝜕 2 𝑟Ψ(𝑟,Ԧ 𝑡)
2
𝑟Ψ(𝑟)
Ԧ = 2
𝑟 𝜕𝑟 𝑣 𝜕𝑡 2
จากสมการข้างต้นเราสามารถสรุปได้ว่าคําตอบของสมการนี้จะอยู่ในรูปของ
1
Ψ 𝑟, 𝑡 = [𝑐1 𝑓 𝑟 − 𝑣𝑡 + 𝑐2 𝑔 𝑟 + 𝑣𝑡 ]
𝑟
ในกรณีที่คลื่นทรงกลมเป็นคลื่นฮาร์โมนิคด้วยจะได้คําตอบของสมการอยู่ในรูปของ
𝐴
Ψ(𝑟, Ԧ 𝑡) = cos[𝑘 𝑟 ∓ 𝑣𝑡 ]
𝑟
𝐴 𝑗[𝑘 𝑟∓𝑣𝑡 ]
Ψ(𝑟,Ԧ 𝑡) = 𝑒
𝑟
เมื่อ A บ่งบอกถึงค่าความแรงของแหล่งกําเนิดคลื่น 51
คลื่นทรงกระบอกเป็นคลื่นที่มีหน้าคลื่นเป็นทรงกระบอก ตัวอย่างของคลื่นชนิดนี้ได้แก่คลื่นที่เกิดจาก
หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบหลอดยาว หรือ อาจจะเป็นหน้าคลื่นที่เกิดจากการใช้เลนส์ทรงกระบอกมา
โฟกัสคลื่นระนาบก็ได้ดังรูป

หน้าคลื่น
หน้าคลื่น
ระนาบ
ทรงกระบอก

เลนส์ทรงกระบอก

ในกรณีนี้เราจะเริ่มต้นจาก Laplacian operator สําหรับพิกัดทรงกระบอก

2 2
1 𝜕 𝜕Ψ 1 𝜕 Ψ 𝜕 Ψ
∇2 Ψ 𝑟, 𝜃, 𝑧 = 𝑟 + 2 2+ 2
𝑟 𝜕𝑟 𝜕𝑟 𝑟 𝜕𝜃 𝜕𝑧
52
z

หน้าคลื่น P(r,q, z)

ทรงกระบอก
r sinq
rcosq
y
q r

เนื่องจากคลื่นทรงกระบอกจะไม่ขึ้นอยู่กับค่า z และ q ดังนั้นเทอมที่สองและสามของสมการข้างต้นสามารถ


ตัดทิ้งได้และจะเขียนใหม่ได้ดังนี้
1 𝜕 𝜕Ψ 𝜕 2Ψ 1 𝜕Ψ
2
∇ Ψ 𝑟, 𝜃, 𝑧 = 𝑟 = +
𝑟 𝜕𝑟 𝜕𝑟 𝜕𝑟 2 𝑟 𝜕𝑟
53
สมมุติว่าคลื่นฮาร์โมนิคอยู่ในรูป Ψ(𝑟,Ԧ 𝑡) = Ψ(𝑟)𝑒
Ԧ 𝑗𝜔𝑡 เราจะได้

𝜕 2 Ψ 1 𝜕Ψ 2 Ψ 𝑟Ԧ = 0
+ + 𝑘
𝜕𝑟 2 𝑟 𝜕𝑟

จะเห็นว่าสมการนี้อยู่ในรูปของสมการ Bessel ซึ่งมีคําตอบเมื่อ 𝑟 ≠ 0 คือ

Ψ 𝑟 = [𝑐1 𝐽𝑘 𝑟 + 𝑐2 𝐽−𝑘 𝑟 ]
โดยที่ 𝐽𝑘 (𝑟) คือ ฟังก์ชั่น Bessel ชนิดที่หนึ่งอันดับที่ k ในกรณีที่ r มีค่ามาก ๆ คําตอบของสมการ Bessel
สามารถที่จะเขียนให้อยู่ในรูปของตรีโกณเมตริกได้ดังนี้
𝐴 𝑗[𝑘 𝑟∓𝑣𝑡 ]
Ψ(𝑟, 𝑡) ≈ 𝑒
𝑟
𝐴
Ψ(𝑟, 𝑡) ≈ 𝑐𝑜𝑠[𝑘 𝑟 ∓ 𝑣𝑡 ]
𝑟 54
วิธีทางเชิงกล เลนส์
หน้าคลื่นทรงกลม

แหล่งกําเนิด
หน้าคลื่นระนาบ
แสงแบบจุด

วิธีควบคุมโพลาไรเซชั่น
LCD หน้าคลื่นทรงกลม ลําแสง

หน้าคลื่นระนาบ หน้าคลื่นระนาบ

LCD
V
55
Appendix I: The Laplacian Operator from Cartesian to Cylindricalcoordinates.

In cylindrical form:

For the x and y components, the transformations are

The z component does not change. Inversely;

56
The chain rule relates the Cartesian operators to the cylindrical operators:

Calculate the derivatives for the chain rule. First r:

Now φ, using implicit differentiation:

57
Therefore,

Now write the Cartesian derivatives in terms of the cylindrical derivatives.

And

From,
Then,

58
Appendix II: Gradient, divergence, Curl in Cylindrical coordinates.

59

You might also like