You are on page 1of 2

จาก..สัมมาทิฏฐิ สู่..

สัมมาญาณ
โดย อ.สุภีร์ ทุมทอง

สัมมาทิฏฐิ, ญาณ, ปัญญา, วิชชา ฯลฯ ชื่อต่างๆ เหล่านี้ ความหมายโดยคร่าวๆ แล้วเหมือนกัน


หรือใกล้เคียงกัน ทางคัมภีร์อภิธรรมแสดงไว้ว่า คำเหล่านี้เป็นคำไวพจน์ของปัญญา ซึ่งเป็นเจตสิกอย่าง
หนึ่งที่เกิดประกอบกับจิต ปัญญานั้นเป็นสิ่งยอดเยี่ยม เป็นตัวตัดสินชี้ขาดการปฏิบัติ เมื่อรู้เข้าใจความจริง
แจ่มแจ้งแล้ว ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นไว้ ปล่อยวาง จึงหลุดพ้นได้ ดังท่านเรียกว่า วิชชาและวิมุตติ

คราวนี้ เราจะมาทำความเข้าใจปัญญาแต่ละระดับในบางแง่มุม โดยเฉพาะความเชื่อมโยงต่อ


เนื่องกัน ในการปฏิบัติตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘ ขอให้ดูคำแปลพระพุทธพจน์ ๒ แห่งดังต่อไปนี้

แห่งที่ ๑ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อวิชชาสูตร มีข้อความว่า


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชา เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุ ศลธรรมทั้งหลาย หิริ และโอตตัปปะ ก็มี
ตามมาด้วย
ผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีสัมมาทิฏฐิ
ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ

แห่งที่ ๒ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มหาจัตตารีสกสูตร มีข้อความว่า


สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติก็มีพอเหมาะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
สัมมาทิฏฐินั้นมี ๒ ระดับ คือ
(๑) ปุญญภาคิยสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิอันเป็นฝ่ายบุญ เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ ให้ผลวิบาก
เป็นกองทุกข์ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง คือ ความเห็นว่า ผลวิบากของทานมีอยู่จริง ผลวิบากของการ
บูชามีอยู่จริง ผลวิบากของการทำมงคลกิริยาต่างๆ มีอยู่จริง ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วมีอยู่จริง
โลกมนุษย์นี้มีสำหรับสัตว์อื่น โลกอื่นมีสำหรับมนุษย์ การปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติถูกต่อมารดามีผลมาก การ
ปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติถูกต่อบิดามีผลมาก ท่านผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นแล้วสอนคนให้รู้ตามมีอยู่จริง โดย
ย่อในเบื้่องต้น เรียกว่ากัมมัสสกตาญาณ
(๒) โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิชั้นโลกุตตระ อันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นองค์ประกอบ
ของมรรค ได้แก่ ความรู้ในอริยสัจ ๔ คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุเกิดทุกข์ ความรู้ในความดับทุกข์
ความรู้ในหนทางข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่าสัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ

เมื่อนำพระสูตรแห่งที่ ๑ แห่งที่ ๒ และสัมมาทิฏฐิ ๒ ระดับมาเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ก็ได้ความว่า


เบื้องต้น เมื่อมีสัมมาทิฏฐิอันเป็นฝ่ายบุญ มีกัมมัสสกตาญาณ รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม มี
ความหนักแน่นในเหตุและผล ในอวิชชาสูตรเรียกว่าวิชชา ความเห็นถูกต้องระดับนี้ ก่อให้เกิดหิริและ
โอตตัปปะ ละเว้นการทำทุจริตต่างๆ เป็นความรู้พื้นฐานสำคัญในการเข้าถึงกุศลสิ่งดีงามทั้งหลาย เป็น
ปัจจัยไปสู่การปฏิบัติเพื่อรู้ความจริง เห็นคล้อยตามหลักสัจธรรม เป็นสัมมาทิฏฐิระดับโลกุตตระ เมื่อมี
สัมมาทิฏฐิระดับโลกุตตระนี้เป็นหัวหน้า ก็ทำให้การปฏิบัติองค์มรรคข้ออื่นๆ มีได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง
และตรงประเด็น ได้เป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ เมื่อปฏิบัติองค์อริยมรรคทั้ง ๘ ครบถ้วนบริบูรณ์ ทำให้
เกิดมีสัมมาญาณและสัมมาวิมุตติ ได้เป็นพระอรหันต์

ดังนั้น ผู้ต้องการถึงความหลุดพ้นถูกต้องอย่างแท้จริง จึงต้องเริ่มด้วยสัมมาทิฏฐิระดับพื้นฐาน มี


กัมมัสสกตาญาณ ต่อด้วยสัมมาทิฏฐิระดับโลกุตตระ รู้อริยสัจ ๔ ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามอริยมรรคมีองค์ ๘
จึงจะก่อให้เกิดดวงตา ก่อให้เกิดญาณอย่างถูกต้อง สัมมาญาณและสัมมาวิมุตติจึงมีได้

เหตุเกิดของสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการ ได้แก่ (๑) ปรโตโฆสะ เสียงจากผู้อื่น คือเสี ยงธรรมจาก


พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๒) โยนิโสมนสิการ การทำไว้ในใจให้แยบคาย ใส่ ใจให้ ถูกต้อง น้อม
ธรรมะที่ได้ฟังเข้ามาในใจ

_____________________

You might also like