You are on page 1of 274

นลินี ยิ่งชาญกุล และ โภคิน ศักรินทร์กุล

ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
(Occupational Medicine in Family Practice)
ISBN 978-616-398-394-7
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2562 จ�ำนวน 500 เล่ม

ราคาเล่มละ 300 บาท


สงวนสิทธิ์

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data

นลินี ยิ่งชาญกุล.
อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว = Occupational medicine in
family practice.-- เชียงใหม่ : ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562.
272 หน้า.
1. อาชีวเวชศาสตร์. I. โภคิน ศักรินทร์กุล, ผู้แต่งร่วม. II. ชื่อเรื่อง.
616.9803
ISBN 978-616-398-394-7

จัดท�ำโดย : ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รูปเล่ม : ชนัญญา อัฎฐ์ประดิษฐ์
ปก : ชนัญญา อัฎฐ์ประดิษฐ์
พิมพ์ที่ :
Box Office Graphic Design
15 ถ.ประชาอุทิศ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทร.089-5615766
สนใจติดต่อ :
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ถ.อินทวโรส อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โทร 053-935462-3

II
ค�ำน�ำ
จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ท�ำให้งานในภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวมากขึน้ อย่าง
รวดเร็ว จ�ำนวนพนักงานในภาคอุตสาหกรรมมีจำ� นวนมากขึน้ มากขึน้ ตามไปด้วย ร่วมกับจ�ำนวนแรงงาน
นอกระบบทีม่ จี ำ� นวนเพิม่ มากขึน้ ท�ำให้เกิดความแตกต่างในหลายด้าน ทัง้ ความหลากหลายทางชาติพนั ธุ์
เพศสภาพของผู้ปฏิบัติงาน ลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการท�ำงานที่แตกต่างกัน การท�ำงานที่
เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ท�ำให้การดูแลสุขภาพมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จ�ำเป็นต้องอาศัยศาสตร์
การดูแลที่เฉพาะและหลากหลายในการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยแรงงาน
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีบทบาทเป็นผู้ดูแลสุขภาพทุกช่วงวัย การดูแลสุขภาพวัยแรงงาน
นับเป็นบทบาทหนึ่งที่ส�ำคัญ ซึ่งแรงงานมีทั้งที่ท�ำงานอยู่ในสถานประกอบการ หรือบางครั้งอาจแฝงอยู่
ในชุมชนที่ปฏิบัติงานอยู่ จึงจ�ำเป็นต้องดูแลให้ครบทุกมิติทางสุขภาพ ทั้งในแง่การส่งเสริมสุขภาพ การ
ป้องกันการเจ็บป่วย การวินจิ ฉัยโรคจากการประกอบอาชีพ การออกแบบหรือก�ำหนดรูปแบบการท�ำงาน
เพื่อลดความเสี่ยง การป้องกันการบาดเจ็บซ�้ำ การช่วยให้คนท�ำงานสามารถกลับมาท�ำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพภายหลังการเจ็บป่วย รวมถึงการจัดบริการเฝ้าระวังโรคในสถานประกอบการ
การด�ำเนินงานดังกล่าว จ�ำเป็นต้องใช้หลักอาชีวเวชศาสตร์ และหลักการของเวชศาสตร์ครอบครัว
หรือเวชปฏิบัติปฐมภูมิมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ทางบรรณาธิการจึงได้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อ
ให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์ในคลินิกหมอครอบครัว หรือแพทย์ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทั้ง
ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ หรือตติยภูมิ ที่ต้องดูแลสุขภาพของคนท�ำงานในวัยแรงงาน มีความรู้เพียงพอ
ในการท�ำเวชปฏิบัติดังกล่าว
ขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์ทุกท่านที่ร่วมกันเรียบเรียงเนื้อหา ให้ง่ายและเหมาะสมในการท�ำ
เวชปฏิบตั ขิ องแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ขอบพระคุณกองทุนเงินทดแทนทีส่ นับสนุนงบประมาณในการ
จัดท�ำหนังสือ และขอบพระคุณคณาจารย์และเจ้าหน้าทีภ่ าควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ร่วมกันด�ำเนินการให้หนังสือเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ไปได้ด้วยดี คณะผู้จัดท�ำ หวัง
เป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้ผู้อ่านสามารถน�ำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
ในการดูแลสุขภาพของคนท�ำงานในชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนสุขภาพดีและเข้มแข็งอย่างยั่งยืน หากมี
ข้อผิดผลาดประการใดผู้นิพนธ์ทุกท่านขอน้อมรับค�ำแนะน�ำและข้อเสนอแนะด้วยความยินดีย่ิง

พญ.นลินี ยิ่งชาญกุล และ นพ.โภคิน ศักรินทร์กุล


บรรณาธิการ

III
ค�ำนิยม
ปัจจุบัน สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นสังคมการผลิตมากขึ้น การแข่งขันทางการค้า มี
ผลกระทบ ต่อสุขภาพของคนในระบบการผลิตรูปแบบต่างๆมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัว มีบทบาทที่ส�ำคัญในการดูแลประชากรในพื้นที่ของตน ให้สามารถรักษาสุขภาพได้อย่าง
เหมาะสม ภายใต้ปจั จัยคุกคามต่าง ๆ รอบตัวทัง้ จากสังคมใกล้ตวั ครอบครัว ชุมชนและสิง่ แวดล้อมของ
การท�ำงานในรูปแบบต่าง ๆ ตามพลวัตน์ของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
ในปัจจุบัน จึงจ�ำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของการเจ็บป่วยเนื่องจากการท�ำงาน แนวทาง
การแก้ไขและสร้างเสริมสุขภาพในระดับทีส่ ามารถให้คำ� แนะน�ำเบือ้ งต้นทีถ่ กู ต้องแก่คนไข้และครอบครัวได้
หนังสือ “อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว” เล่มนี้ เป็นความพยายามที่จะรวบรวม
องค์ความรู้ด้านอาชีวเวชศาสตร์เบื้องต้นมาเรียบเรียงไว้เป็นแนวทางให้แพทย์ทั่วไป แพทย์เวชปฏิบัติ
ครอบครัวและผูส้ นใจ สามารถท�ำความเข้าใจสภาพปัญหาอาชีวเวชศาสตร์ทพี่ บโดยทัว่ ไป และบทบาท
ของแพทย์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือคนท�ำงาน ที่ควรทราบในการให้การดูแลเบื้องต้นและให้ค�ำแนะน�ำ
ส�ำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยอาศัยประสบการณ์ของการให้บริการปฐมภูมิแก่ประชากรกลุ่มนี้ในพื้นที่
ภาคเหนือตอนบน โดยกลุ่มผู้เขียนได้เรียบเรียงไว้อย่างกว้างขวางครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ของปัญหา
สุขภาพในกลุ่มคนท�ำงาน จึงเหมาะกับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ทั่วไป แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว ที่
ปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมถึงผู้ที่สนใจและมีส่วนเกี่ยวข้องในการท�ำงานเข้าใจและประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพ
ของคนท�ำงานในระดับปฐมภูมิได้เป็นอย่างดี

ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์
พ.บ., อว.เวชศาสตร์ครอบครัว
MSc. in Community Health in Developing Countries, University of London
ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2561-2562)

IV
ค�ำนิยม
นีค่ อื หนังสือส�ำหรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์ในคลินกิ หมอครอบครัว แพทย์อาชีวเวชศาสตร์
หรือแพทย์ที่ปฏิบัติงานทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ หรือตติยภูมิ ส�ำหรับดูแลสุขภาพของคนท�ำงานใน
วัยแรงงาน โดยอาศัยการบูรณาการหลักการด้านอาชีวเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัวหรือเวชปฏิบัติ
ปฐมภูมิ นับเป็นศาสตร์การดูแลที่เฉพาะและหลากหลายในการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยแรงงาน
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้ดา้ นอาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์ครอบครัว ครอบคลุมใน
การดูแลสุขภาพทุกช่วงวัย โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพวัยแรงงานในสถานประกอบการหรือในชุมชน เน้น
การดูแลให้ครบทุกมิติทางสุขภาพ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วย การวินิจฉัยโรคจาก
การประกอบอาชีพ การออกแบบหรือก�ำหนดรูปแบบการท�ำงานเพือ่ ลดความเสีย่ ง การป้องกันการบาดเจ็บซ�ำ้
การช่วยให้คนท�ำงานสามารถกลับมาท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายหลังการเจ็บป่วย รวมถึงการจัด
บริการเฝ้าระวังโรคในสถานประกอบการ
การดูแลสุขภาพวัยแรงงานมีความส�ำคัญอย่างยิง่ เนือ่ งจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
อย่างรวดเร็ว ท�ำให้มีพนักงานในภาคอุตสาหกรรมและแรงงานนอกระบบเพิ่มจ�ำนวนมากขึ้น เป็นเหตุ
ให้เกิดความแตกต่างเกิดขึ้น ทั้งความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เพศสภาพของผู้ปฏิบัติงาน ลักษณะ
งานและสภาพแวดล้อมในการท�ำงานที่แตกต่างกันและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ท�ำให้การดูแล
สุขภาพมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์การดูแลที่เฉพาะและหลากหลายในการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย
แรงงานจึงมีความส�ำคัญยิ่ง
หนังสือเล่มนี้ อ่านและเข้าใจได้ง่าย น�ำไปใช้ในเวชปฏิบัติได้ดี สามารถวางรากฐานและน�ำสู่
ความเข้มแข็ง ให้กับวงการแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเวชปฏิบัติ
ปฐมภูมิในที่สุด
ขอขอบคุณ กองทุนเงินทดแทนทีส่ นับสนุนให้จดั พิมพ์หนังสือ ขอบคุณผูน้ พิ นธ์ทกุ ท่านทีไ่ ด้รว่ ม
กันสร้างผลงานทางวิชาการ อันทรงคุณค่าเล่มนี้ออกเผยแพร่เป็นประโยชน์กับสังคมไทย

รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญประภา ศิวิโรจน์


สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)
หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

V 5
ค�ำนิยม
มนุษย์เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึง่ ในสามของชีวติ คือช่วงเวลาแห่งการท�ำงาน เพราะอย่างน้อย
8 ใน 24 ชั่วโมงของชีวิตคือการท�ำงาน หรือบางคนอาจจะมากกว่านั้น ทั้งนี้สาเหตุของปัญหาสุขภาพ
ของคนท�ำงานอาจเกิดได้จากสภาพการท�ำงานหรือสิ่งแวดล้อมในการท�ำงานที่ไม่เหมาะสม จึงจ�ำเป็น
ที่ประชากรกลุ่มวัยท�ำงานต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เป็นระบบ และได้มาตรฐานทางการ
แพทย์และการสาธารณสุข
ด้วยเหตุดังกล่าว อาชีวเวชศาสตร์ (Occupational Medicine) จึงถือก�ำเนิดมา เพื่อมุ่งดูแล
และปกป้องประชากรวัยท�ำงานให้หา่ งไกลจากการเจ็บป่วย ในขณะเดียวกันแพทย์ผปู้ ฏิบตั งิ านทางด้าน
นี้ จ�ำเป็นจะต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เพื่อท�ำหน้าที่วางแผนให้บริการและประเมินผลการ
ดูแลรักษาและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพได้อย่างครอบคลุม
กอปรกับในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายคลินิกหมอครอบครัว ที่มุ่งเน้นให้แพทย์ทั่วไปและ
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพประชากรได้อย่างเหมาะสม ฉะนั้นจึงมีความจ�ำเป็น
อย่างยิ่งที่จะต้องมีหนังสืออาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัวโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อ
ใช้ในการดูแลประชากรวัยท�ำงานให้มีสุขภาวะที่ดีตามบริบทแวดล้อม
หนังสือ “อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบตั คิ รอบครัว” เล่มนี้ เขียนโดย คณะแพทย์เฉพาะทางด้าน
เวชศาสตร์ครอบครัว ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านอาชีวเวชศาสตร์มาแล้วทั้งสิ้น อันเป็นจุดเด่นของหนังสือ
เล่มนี้ มีทงั้ หมด 10 บท แต่ละบทมีเนือ้ หาทีท่ นั สมัย ลุม่ ลึก และเหมาะสมต่อสภาวการณ์ในปัจจุบนั ทัง้ นี้
การจัดเรียงเนือ้ หามีการเรียบเรียงทีเ่ ป็นระบบ อ่านง่ายและท�ำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก เหมาะกับผูอ้ า่ น
ทีเ่ ป็นแพทย์ทวั่ ไปหรือแพทย์ผซู้ งึ่ ประกอบเวชปฏิบตั ิ ทีแ่ ม้จะไม่เคยมีพนื้ ฐานทางอาชีวเวชศาสตร์มาเลย
ก็สามารถท�ำความเข้าใจได้โดยง่าย ผู้เขียนได้เริ่มต้นน�ำเสนอตั้งแต่บทที่ 1 ที่ได้ชี้ให้เห็นถึงความหมาย
และความแตกต่างของอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย บทที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงการดูแลสุขภาพวัย
ท�ำงานแบบองค์รวม บทที่ 3 โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่พบได้
ในวัยท�ำงาน บทที่ 4 บทที่ 5 และบทที่ 6 กล่าวถึงการประเมินสุขภาพตามความเสีย่ ง การส่งเสริมสุขภาพ
ของผูป้ ระกอบอาชีพ การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสีย่ ง และการแปลผลการตรวจคัดกรอง เป็นขัน้ ตอน
ส�ำคัญส�ำหรับการปฏิบตั งิ านของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้องกับเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพทีเ่ กิดจาก
การท�ำงาน นับว่าเป็นความสอดคล้องของรูปแบบและแนวทางการท�ำงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
บทที่ 7 และบทที่ 8 มุ่งเน้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงานและการดูแลสุขภาพครอบครัว
ของผู้ประกอบอาชีพ ที่เน้นทักษะการดูแลสุขภาพในโลกยุคสมัยใหม่ บทที่ 9 นับว่ามีเนื้อหาที่ทันสมัย
ที่ได้กล่าวเกี่ยวกับปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน และบทที่ 10 ได้น�ำเสนอการสอบสวนโรค

VI
จากการประกอบอาชีพ ซึ่งมุ่งเน้นการน�ำเสนอขั้นตอนกระบวนการสอบสวนโรคที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
ทั้งยังเอื้อประโยชน์ให้แพทย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางอาชีวเวชศาสตร์ สามารถสอบสวนโรคอย่างเป็นระบบ
และถูกต้องตามหลักการ
ทั้ง 10 บทของคู่มือเล่มนี้เป็นประโยชน์ต่อการประกอบเวชปฏิบัติ เนื่องจากแพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัวเป็นแพทย์ผมู้ คี วามใกล้ชดิ กับประชากรมากทีส่ ดุ จึงเป็นโอกาสทีด่ ที คี่ มู่ อื เล่มนี้ จะสามารถท�ำให้
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของประชากรวัยท�ำงานและครอบครัว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิง่
ขึน้ รวมทัง้ เป็นแรงผลักดันทีส่ ำ� คัญยิง่ ต่อวงการอาชีวเวชศาสตร์ และการปฏิบตั งิ านทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับงาน
อาชีวเวชศาสตร์ในประเทศไทย เนือ่ งด้วยเนือ้ หาของคูม่ อื เล่มนี้ คณะผูเ้ ขียนได้นำ� เสนอองค์ความรู้ ข้อเท็จจริง
และข้อมูลทีท่ นั สมัย ภายใต้กรอบมาตรฐานทางการแพทย์ในระดับสากลไว้อย่างครบถ้วนและรอบด้าน
ในการนี้ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้ให้เขียนค�ำนิยมให้แก่ “หนังสืออาชีวเวชศาสตร์ใน
เวชปฏิบัติครอบครัว” เล่มนี้ เพราะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในเผยแผ่ความรู้ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ให้
แพร่หลายในวงการแพทย์ นอกจากนี้ยังรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือเล่มนี้ ที่ทางคณะแพทย์
ผู้เขียนได้ร่วมกันสรรค์สร้างและพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่วงการอาชีวเวชศาสตร์ และระบบ
การสาธารณสุขของประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

พญ.จุฑารัตน์ จิโน
พ.บ., วว.เวชศาสตร์ป้องกัน (อาชีวเวชศาสตร์)
วท.ม.การวิจัยและการจัดการสุขภาพ
อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

VII
สารบัญ
บทที่ 1 : อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 13
(Occupational Medicine and Occupational Health)

บทที่ 2 : การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 31
(Holistic Health Care in Workers)

บทที่ 3 : โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 47
(Common Occupational Disease in Primary Care)

บทที่ 4 : การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 67
(Health Risk Assessment)

บทที่ 5 : การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 83


(Health Promotion in Workers)

บทที่ 6 : การตรวจสุขภาพพนักงาน 97
(Worker Health Checkup)

VIII
สารบัญ
บทที่ 7 : การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 129
(Immunization in Workers)

บทที่ 8 : การดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพในครัวเรื อน 151


(Home - Based Worker Health Care)

บทที่ 9 : ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 167


(Gender Issues in Workplace)

67
บทที่ 10 : การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 185
(Occupational Disease Investigation)

ภาคผนวก 1 : ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่ อง ข้อแนะน�ำการเฝ้าระวังสุขภาพจาก 206


พิษสารเคมีกรณีดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพส�ำหรับผู้ประกอบอาชีพที่
สัมผัสสารเคมีส�ำหรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices:
Thai BEIs)

ภาคผนวก 2 : พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม 250


ในการท�ำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔

IX
รายนามผู้นพิ นธ์

พญ.กรรณิกา วินาพา นพ.กฤษฎิ์ ทองบรรจบ พญ.กวินทรา คันธรส


พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว, พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว, พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว,
หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์
พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน) พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน) พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน)
นายแพทย์ช�ำนาญการ นายแพทย์ช�ำนาญการ นายแพทย์ช�ำนาญการ
โรงพยาบาลล�ำพูน จังหวัดล�ำพูน โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดล�ำปาง โรงพยาบาลล�ำปาง จังหวัดล�ำปาง

นพ.เกรียงไกร บุญญประภา นพ.ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์


พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว, พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว,
หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์
พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน) พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน)
นายแพทย์ช�ำนาญการ นายแพทย์ช�ำนาญการ
ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่1 จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
กรมควบคุมโรค

X
รายนามผู้นพิ นธ์

พญ.นลินี ยิ่งชาญกุล นพ.พิสิษฐวุฒิ อยุทธ์ นพ.โภคิน ศักรินทร์กุล


พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว, พ.บ., วว.เวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา) พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว,
หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ อว.เวชศาสตร์ป้องกัน (อาชีวเวชศาสตร์)
พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน) พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน) นายแพทย์ช�ำนาญการพิเศษ (ด้านเวชกรรม)
อาจารย์ประจ�ำภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว อาจารย์ประจ�ำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลล�ำพูน จังหวัดล�ำพูน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พญ.มธุรมาศ สีเสน พญ.วรกัญญ์ เถาหมอ


พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว, พ.บ., วว.เวชศาสตร์ครอบครัว,
หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีวเวชศาสตร์
พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน) พื้นฐาน (หลักสูตร 2 เดือน)
อาจารย์ประจ�ำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน นายแพทย์ชำ� นาญการ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงพยาบาลล�ำพูน จังหวัดล�ำพูน

XI 11
ขอขอบพระคุณกองทุนเงินทดแทน
ส�ำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
ผู้สนับสนุนงบประมาณในการจัดพิมพ์

XII
บทที่ 1

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย
(Occupational Medicine and Occupational Health)

พญ.นลินี ยิ่งชาญกุล
เนื้อหา
• ที่มาและความหมายของอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย
• ความส�ำคัญของอาชีวอนามัยและความเกีย่ วข้องของงานอาชีวเวชศาสตร์
ในแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
• การเกิดโรคจากการท�ำงาน
• ความหมายของความเสี่ยงและปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยง
• การป้องกันการเกิดโรคจากการท�ำงาน
อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 13
บทน�ำ
หน่วยบริการปฐมภูมิในปัจจุบัน มีหน้าที่เป็นด่านหน้าในการประเมินและ
ตรวจรักษาสุขภาพของผู้ป่วย รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัยใน
ชุมชน ด้วยหน้าทีน่ ้ี ส่วนใหญ่แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์เวชปฏิบตั ทิ วั่ ไป
ทีป่ ฏิบตั งิ านในชุมชนมักจะเป็นผูท้ มี่ บี ทบาทในการดูแลกลุม่ ประชากรดังกล่าว ซึง่
การทีแ่ พทย์มพี นื้ ฐานด้านการดูแลประชาชนโดยใช้หลักการอาชีวเวชศาสตร์ จะช่วย
ป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการท�ำงานให้แก่ประชาชนได้ โดยเฉพาะกลุ่ม
วัยท�ำงาน ในบทที่ 1 นีจ้ ะเป็นการปูพนื้ ฐานความรูด้ า้ นอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย
ให้แก่ผอู้ า่ น เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจในหลักการของอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อจะสามารถ
น�ำไปสู่การปรับใช้ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยว่าโรคที่น�ำมาตรวจรักษานั้นอาจ
จะเกิดจากการท�ำงานได้ ซึง่ เรือ่ งของการประเมินความเสีย่ ง การดูแลสุขภาพแบบ
องค์รวม โรคทีพ่ บบ่อยจากการท�ำงาน รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและ
การรักษาโรคจากการท�ำงาน จะมีการลงรายละเอียดอีกครั้งในบทต่อ ๆ ไป

ที่มาและความหมายของอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย
เมื่อพูดถึงอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย ผู้อ่านบางส่วนอาจคิดว่าเป็น
เรือ่ งเดียวกัน แต่บางส่วนอาจคิดว่าเป็นคนละเรือ่ งกัน หรือบางส่วนอาจคิดว่ามีสว่ น
ที่ซ้อนทับกันอยู่ แท้จริงแล้ว อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย ทั้งสองศาสตร์นี้มี
ส่วนที่เกี่ยวข้องกันอยู่ โดยอาชีวเวชศาสตร์ (Occupational Medicine) เป็น
ศาสตร์ทางการแพทย์เฉพาะทางแขนงหนึง่ ในสาขาเวชศาสตร์ปอ้ งกัน (Preventive
Medicine) ที่เน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนท�ำงาน(1) โดยจะครอบคลุมตั้งแต่
กระบวนการส่งเสริมสุขภาพคนท�ำงาน การป้องกันและเฝ้าระวังโรค การรักษา
โรคทีเ่ กิดจากการท�ำงาน และการฟืน้ ฟูสขุ ภาพคนท�ำงานด้วย แต่เนือ่ งจากโรคจาก

14 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
การท�ำงานโดยส่วนใหญ่เป็นโรคทีไ่ ม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีความซับซ้อน
เพราะสาเหตุของโรคมักเป็นปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องมาจากการท�ำงาน แต่สามารถป้องกัน
ได้ด้วยหลักการด้านอาชีวอนามัยและองค์ความรู้ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ ซึ่งมุ่ง
เน้นกระบวนการของการป้องกันโรค ทีม่ สี าเหตุเกีย่ วเนือ่ งจากการท�ำงานเป็นหลัก
โดยกระบวนการนี้จะด�ำเนินการโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือแพทย์
อาชีวเวชศาสตร์ ผูซ้ งึ่ มีหน้าทีใ่ นการวินจิ ฉัยโรคจากการท�ำงาน เพือ่ น�ำสูก่ ระบวนการ
รักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ เฝ้าระวังโรค และป้องกันสุขภาพของคนท�ำงาน ซึ่งในอดีต
กลุม่ คนท�ำงานมักจะปฏิบตั งิ านอยูใ่ นโรงงานอุตสาหกรรม ศาสตร์นจี้ งึ ถูกเรียกในอดีต
ว่า “เวชศาสตร์อุตสาหกรรม” (Industrial Medicine) หลังจากนั้นก็มีการขยาย
ใช้ศาสตร์นี้ในวงการการเกษตรกรรมมาดูแลสุขภาพของเกษตรกร จึงถูกเรียกว่า
“เวชศาสตร์เกษตรกรรม” (Agricultural Medicine) และมีการขยายไปอีกหลาย
วงการ หลายอาชีพ แต่หลักการส�ำคัญคือเน้นที่การดูแลสุขภาพของคนท�ำงานใน
แต่ละอาชีพ ในทีส่ ดุ ศาสตร์นจี้ งึ ได้ถกู เรียกว่า “อาชีวเวชศาสตร์” (Occupational
Medicine) เพื่อให้สามารถใช้ในการดูแลสุขภาพของคนท�ำงานได้ในทุกอาชีพ (2)
ส่วนอาชีวอนามัย (Occupational Health)(3-5) เป็นศาสตร์ทางด้าน
สุขภาพ ทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งการดูแลสุขภาพของคนท�ำงานเช่นเดียวกัน ต่างกันตรงที่
อาชีวอนามัยจะด�ำเนินการโดยบุคลากรทางด้านสุขภาพทุกสาขาวิชาชีพ ไม่ได้
มีแต่เฉพาะแพทย์เท่านัน้ จะเห็นได้วา่ จริง ๆ แล้ว อาชีวอนามัยจะมีขอบเขตการท�ำงาน
ที่กว้างกว่าอาชีวเวชศาสตร์มาก การบริการอาชีวอนามัยนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมให้คนท�ำงานมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ จัดสภาวะแวดล้อมในการท�ำงาน
ไม่ให้คนท�ำงานเจ็บป่วยและเกิดโรคจากการท�ำงาน ไปจนถึงการฟื้นฟูสภาพและ
กลับเข้าท�ำงาน มีการจัดหรือปรับงานให้เหมาะสมกับสภาวะทางร่างกายและจิตใจ
ของคนงานแต่ละคน ผู้ที่จบการศึกษาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมา
เราจะเรียกว่า “นักอาชีวอนามัย” (Occupational Health Professional) แต่ถ้า

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 15
บุคคลนัน้ เข้าไปปฏิบตั งิ านในโรงงานอุตสาหกรรม และปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นเรือ่ งการดูแล
สุขภาพให้กับคนท�ำงาน รวมถึงดูแลด้านความปลอดภัยในโรงงาน บุคคลนั้นจะ
ถูกเรียกว่า “เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการท�ำงานระดับวิชาชีพ” (Safety
Officer) หรือเรียกแบบย่อว่า “จป.วิชาชีพ” ความแตกต่างของการเรียกชือ่ ข้างต้น
สามารถพบได้ในหลายศาสตร์ทางด้านสุขภาพ โดยแต่ละศาสตร์นนั้ จะมีชอื่ เรียกที่
แตกต่างกันออกไป ระหว่างแพทย์กับบุคลากรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แพทย์ที่ปฏิบัติงานใน
สาขานั้น ๆ ดังแสดงตัวอย่างในตารางที่ 1.1

ตารางที่ 1.1 : ตัวอย่างตารางเปรี ยบเทียบความแตกต่างของการเรี ยกชื่อ


ศาสตร์ต่าง ๆ ในวิชาชีพแพทย์และวิชาชีพอื่น(1)

การดูแลด้าน วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพอื่น


สุขอนามัย อาชีวเวชศาตร์ อาชีวอนามัย
และความปลอดภัย
สิ่งแวดล้อม เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม อนามัยสิ่งแวดล้อม
สุขภาพจิต จิตเวชศาสตร์ จิตวิทยา
การชันสูตรและ นิติเวชศาสตร์ นิติเวช
พิสูจน์หลักฐาน

16 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ความส�ำคัญของอาชีวอนามัยและความเกีย่ วข้องของงานอาชีวเวชศาสตร์
ในแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
ตามหลักการปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Triangle)(5)
ซึ่งเป็นหลักการที่อธิบายถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค ได้ระบุว่าการจะเกิดโรคจาก
การท�ำงานนั้น จะต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ คน (Host หรือ Man)
เชือ้ โรคหรือสิง่ คุกคาม (Agents หรือ Hazards) และสิง่ แวดล้อมทีเ่ อือ้ ในการก่อโรค
(Environment) ดังแสดงในรูปที่1.1 หากสถานที่ท�ำงานหรือสภาวการณ์ใดที่มี
ครบทั้ง 3 องค์ประกอบ จะเป็นเหตุที่ท�ำให้เกิดโรคจากการท�ำงานได้

Environment

Host Agent

รูปที่ 1.1 : ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Triangle)

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 17
ด้วยเหตุนี้ หลักของอาชีวอนามัย ซึ่งใส่ใจดูแลสุขภาพของคนท�ำงาน จะ
พยายามมองหาและระบุปัจจัยสามทางระบาดวิทยาที่อาจจะก่อให้เกิดโรคจาก
การท�ำงานได้ ซึ่งการควบคุมปัจจัยทั้ง 3 ด้านนี้ไม่ให้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จะช่วย
ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจากการท�ำงานให้แก่คนท�ำงานได้(6, 7)
ในปัจจุบนั มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจ�ำนวนหนึง่ ทีร่ ะหว่างศึกษาหลักสูตร
แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว หรือหลังจากส�ำเร็จการศึกษาแล้ว ได้เข้ามา
เรียนในสาขาอาชีวเวชศาสตร์นี้ และได้ทำ� เวชปฏิบตั ดิ า้ นอาชีวเวชศาสตร์อยูบ่ อ่ ย ๆ
แพทย์เหล่านีจ้ ะมีประสบการณ์และความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับโรคจากการท�ำงาน
ค่อนข้างมาก หรือแม้กระทัง่ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวทีไ่ ม่ผา่ นการอบรมหลักสูตร
อาชีวเวชศาสตร์ ในเนื้องานและการท�ำงานทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวนั้น จะ
ต้องมีการดูแลผูป้ ว่ ยและประชาชนทัว่ ไป ทัง้ ทีป่ กติและเจ็บป่วยแบบเป็นองค์รวม
และครอบคลุมทุกมิติ ทัง้ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาโรค
และการฟืน้ ฟูสขุ ภาพ ก็มกั จะต้องได้ตรวจสุขภาพคนท�ำงาน และส่งเสริมสุขภาพอยู่
เป็นระยะ บ่อยครัง้ โรคทีน่ ำ� ผูป้ ว่ ยให้มารักษาทีห่ น่วยบริการปฐมภูมกิ อ็ าจเป็นโรคที่
เกิดจากการท�ำงานได้เช่นกัน(8) ดังนัน้ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจึงควรจะมีความรู้
ความเข้าใจเกีย่ วกับเรือ่ ง “โรคจากการท�ำงาน” เป็นอย่างดี เพือ่ ทีจ่ ะได้สงั เกต ช่วย
หาสาเหตุและส่งต่อให้แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หรือแพทย์ทเี่ กีย่ วข้องได้อย่างเหมาะสม
เพือ่ รายงานความเสีย่ งการเกิดโรคจากการท�ำงานกลับไปยังสถานทีท่ ำ� งาน หรือแม้แต่ใน
สถานพยาบาลทีแ่ พทย์เวชศาสตร์ครอบครัวปฏิบตั งิ านอยูเ่ องนัน้ ก็มคี วามเสีย่ งอยู่
เสมอ ซึ่งถ้าแพทย์เข้าใจในหลักการของอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัยนั้น จะ
ช่วยปรับเปลี่ยนลักษณะการท�ำงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจ
จะเกิดจากการท�ำงาน หรือเกิดในสถานที่ท�ำงานได้

18 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ในปัจจุบันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารอัน
ทันสมัย ส่งผลให้ธุรกิจในอดีตซึ่งมักจะเป็นธุรกิจรายใหญ่ในรูปแบบของโรงงาน
อุตสาหกรรมถูกเปลีย่ นแปลงไป มีความนิยมทีล่ ดลง กลายมาเป็นการท�ำธุรกิจราย
ย่อยเพิม่ มากขึน้ หรือทีค่ นุ้ หูวา่ ธุรกิจแบบ SME การประกอบการลักษณะรายย่อย
นี้ จะยังไม่มกี ฎหมายรองรับในเรือ่ งของการดูแลสุขภาพของคนท�ำงานเหมือนดังที่
ต้องมีในธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งธุรกิจรายย่อยเหล่านี้มักจะกระจายอยู่ตาม
ชุมชนทีแ่ พทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะต้องมีสว่ นในการเป็นผูด้ แู ลชุมชนนัน้ ๆ ดังนัน้
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจึงควรใช้หลักการทางอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย
ในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน เพื่อดูแลสุขภาพของคนท�ำงานในชุมชนให้ปลอดภัย
เมือ่ คนในชุมชนมีสขุ ภาพทีด่ ี ดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธี ก็จะสามารถลดปัจจัยเสีย่ ง
ต่อโรคจากการท�ำงาน เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งในที่สุด

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 19
การเกิดโรคจากการท�ำงาน(9)
โดยธรรมชาติของการท�ำงานนัน้ แต่ละบุคคลมักจะมีการท�ำงานตามบทบาท
และหน้าทีใ่ นงานนัน้ ๆ ซึง่ มักจะมีรปู แบบทีซ่ ำ�้ ๆ กันในแต่ละวัน ดังนัน้ การเกิดโรค
จากการท�ำงานจึงมักจะมีรปู แบบของการเกิดโรคทีค่ ล้าย ๆ กันในแต่ละเนือ้ งาน(10, 11)
ในศาสตร์ของอาชีวเวชศาสตร์นั้น การเกิดโรคจากการท�ำงาน จะต้องมีคนท�ำงาน
(Host) ทีค่ อยสัมผัสกับสิง่ คุกคาม (Hazard) อยูเ่ ป็นระยะหรือบ่อย ๆ จึงก่อให้เกิด
เป็นโรคจากการท�ำงาน (Occupational Disease) ขึน้ มา ดังรูปที่ 1.2 โดยคุณลักษณะ
ที่แตกต่างกันในแต่ละตัวแปรนั้น จะก่อให้เกิดความเสี่ยง (Risk) ต่อการเกิดโรค
จากการท�ำงานที่แตกต่างกัน

Host Exposure Disease

Hazard

รูปที่ 1.2 : ธรรมชาติการเกิดโรคจากการท�ำงาน

20 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ความหมายของความเสี่ยงและปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยง
“ความเสีย่ ง” (Risk) หมายถึง โอกาสทีส่ งิ่ คุกคามจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
คนท�ำงาน ในแต่ละสภาวการณ์นนั้ จะเกิดมีความเสีย่ งทีแ่ ตกต่างกัน กรณีทโี่ อกาส
ทีส่ งิ่ คุกคามนัน้ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนท�ำงานมากจะเรียกว่า “มีความเสีย่ ง
มาก” (High Risk) ถ้ากรณีที่โอกาสที่สิ่งคุกคามนั้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
คนท�ำงานน้อยจะเรียกว่า “มีความเสี่ยงน้อย” (Low Risk) โดยปัจจัยที่มีผลต่อ
ความเสี่ยงมี 4 ชนิด ได้แก่ ชนิดของสิง่ คุกคาม ช่องทางการสัมผัส ปริมาณการสัมผัส
และตัวคนท�ำงาน ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดของแต่ละปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. ชนิดของสิ่งคุกคาม (Hazard)
การทีจ่ ะวินจิ ฉัยโรคและป้องกันโรคจากการท�ำงานได้นนั้ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
จะต้องรูจ้ กั สิง่ คุกคามทีก่ อ่ ให้เกิดโรคจากการท�ำงาน (Hazard) เสียก่อน ซึง่ สิง่ คุกคาม
ที่สามารถพบได้ในสถานที่ท�ำงานนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ สิ่งคุกคาม
ทางกายภาพ (Physical Hazard) สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical Hazard)
สิง่ คุกคามทางชีวภาพ (Biological Hazard) สิง่ คุกคามทางการยศาสตร์ (Ergonomic
Hazard) สิง่ คุกคามทางจิตใจ (Psychological Hazard) และสิง่ คุกคามด้านความปลอดภัย
(Safety Hazard) ซึ่งในบทนี้จะขอกล่าวลงรายละเอียดของสิ่งคุกคามในแต่ละ
หัวข้อเพียงสั้น ๆ เท่านั้น ดังต่อไปนี้

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 21
1. สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical Hazard) เป็นพลังงานทางฟิสิกส์
ในรูปแบบต่าง ๆ ที่หากอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม จะสามารถก่อให้เกิดโรคได้
ตัวอย่างของสิง่ คุกคามทางกายภาพ เช่น เสียงดังเกินไป แสงสว่างจ้าเกินไป แสงสว่าง
มืดเกินไป ความร้อนมากเกินไป กัมมันตภาพรังสีที่มากเกินไป ความกดอากาศที่
สูงหรือต�่ำเกินไป
2. สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical Hazard) เป็นรูปแบบของสารเคมี
ต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของธาตุหรือสารประกอบ สถานะเป็นของแข็ง ของเหลว
สารละลาย แก๊ส ฝุน่ ละออง ไอหรือควัน ซึง่ ถ้าคนท�ำงานได้รบั เข้าไปแล้วก่อให้เกิด
โรคได้(12) ตัวอย่างของสิ่งคุกคามทางเคมี เช่น โลหะต่าง ๆ ตัวท�ำละลาย ก๊าซพิษ
ยาฆ่าแมลง สารก�ำจัดศัตรูพืช ซึ่งหากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจะก่อ
ให้เกิดโรคได้
3. สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (Biological Hazard) เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่
สามารถพบได้ในสถานที่ท�ำงาน หากได้รับเชื้อโดยไม่ได้รับการป้องกัน หรือได้รับ
โดยบังเอิญ ก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน(13) ตัวอย่างของสิง่ คุกคามทางชีวภาพ
เช่น เชือ้ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชือ้ ไวรัสโรคพิษสุนขั บ้า เชือ้ ปรสิตมาลาเรีย เชือ้ แบคทีเรีย
แอนแทรกซ์ เชื้อวัณโรค เชื้อราจากช่องแอร์ในสถานที่ท�ำงาน
4. สิง่ คุกคามทางการยศาสตร์ (Ergonomic Hazard) หรือบางครัง้ เรียกว่า
สิง่ คุกคามทางด้านชีวกลศาสตร์ (Biomechanical hazard) เป็นปัจจัยของแรงทีม่ า
กระท�ำต่อสิง่ มีชวี ติ อันได้แก่ ท่าทางในการท�ำงาน น�ำ้ หนัก หรือแม้แต่การท�ำงานใน
ท่าเดิมซ�ำ้ ๆ ซึง่ จะสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนือ้
อันเนื่องมาจากการท�ำงานได้ ท่าทางในการท�ำงานก็ก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน หาก
การท�ำงานนั้นมีการจัดสภาพแวดล้อมของการท�ำงานและท่าทางการท�ำงานที่ไม่
เหมาะสม ตัวอย่างของสิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ เช่น การท�ำงานในท่าเดิมซ�้ำ ๆ

22 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
(Repetitive Work) การท�ำงานทีใ่ ช้แรงเกินก�ำลัง (Forceful Work) การท�ำงานที่
ต้องอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม (Malposition / Awkward Posture)
5. สิง่ คุกคามทางจิตใจ (Psychological Hazard) ในบางครัง้ สภาวะหรือ
สิง่ แวดล้อมในการท�ำงานทีส่ ง่ ผลกระทบทางใจ ก็สามารถท�ำให้เกิดความเครียดหรือ
ความเจ็บป่วย (Illness) จากการท�ำงานได้ ซึง่ สภาวะเหล่านีก้ อ่ ให้เกิดโรคจากการ
ท�ำงานได้เช่นกัน ตัวอย่างของสิง่ คุกคามทางจิตใจ เช่น การถูกหัวหน้างานต่อว่า หรือ
แม้กระทัง่ โอกาสความก้าวหน้าในการท�ำงานทีก่ อ่ ให้เกิดความกังวลใจ การทะเลาะ
กับเพือ่ นร่วมงาน ชัว่ โมงการท�ำงานทีย่ าวนานจนได้พกั ผ่อนน้อย การท�ำงานเป็นกะ
6. สิ่งคุกคามด้านความปลอดภัย (Safety Hazard)(2) เป็นสภาวะหรือ
สิ่งแวดล้อมในการท�ำงานที่ขาดความปลอดภัย (Safety) หรือในทางกลับกันคือ
สภาวะหรือสิ่งแวดล้อมในการท�ำงานที่มีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุ (Accident)
ได้มาก สิ่งคุกคามลักษณะนี้จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ (Injury) ได้ ตัวอย่างของ
สิง่ คุกคามทางความปลอดภัย เช่น ลักษณะงานทีต่ อ้ งปีนบันไดทีช่ ำ� รุด การเดินบน
พื้นลื่น การขับรถด้วยความเร็วสูง การท�ำงานกับเครื่องจักรขณะง่วงนอน

จากความเสีย่ งทีก่ ล่าวข้างต้น หากแพทย์สามารถซักประวัตเิ กีย่ วกับลักษณะ


ของการท�ำงาน และวิเคราะห์สิ่งคุกคามได้ ก็จะสามารถอธิบายให้คนท�ำงานหรือ
ผูป้ ว่ ยเข้าใจถึงโอกาสในการเกิดความเสีย่ งจากการท�ำงานทีเ่ กิดจากสิง่ คุกคามชนิด
ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม จะท�ำให้คนท�ำงานสามารถระมัดระวังตนเองไม่ให้เกิดโรค
จากการท�ำงานได้ หากสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งคุกคามได้อย่างถูกวิธี

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 23
2. ช่องทางการสัมผัส (Exposure)
ในทางอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย คนท�ำงานมีโอกาสจะสัมผัสกับสิง่ คุกคาม
ในสถานที่ท�ำงานได้หลายช่องทาง โดยผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้แก่ ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ ช่องทางการสัมผัสมีดังนี้ ทางการกิน การหายใจ การดูดซึม
ผ่านทางผิวหนัง การมองผ่านสายตา การได้ยนิ ผ่านทางหู การได้กลิน่ ผ่านทาง
จมูก การรับความรู้สึกร้อน เย็น สั่น กดทับ ทางผิวหนัง การทะลุผ่านร่างกาย
โดยตรง เช่น รังสี คลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้า การฉีดเข้าผิวหนังด้วยเครือ่ งฉีดแรงดันสูง
(High Pressure Cutaneous Injection) การรับรู้ผ่านทางจิตใจ โดยช่อง
ทางการสัมผัสทีพ่ บได้บอ่ ยจะมี 3 ช่องทาง คือ 3 ชนิดแรก ซึง่ ในจะอธิบายในบทนี้
1. การกิน (Ingestion) เป็นการสัมผัสสิง่ คุกคามประเภทเชือ้ โรคหรือสารเคมี
เข้าทางปาก บางครั้งคนงานอาจจะสัมผัสโดยไม่ตั้งใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้
เช่น สารเคมีหรือเชื้อโรคเลอะมือแล้วหยิบอาหารเข้าปากโดยไม่ล้างมือก่อนหยิบ
จับอาหาร เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปจึงได้รับสารเคมีหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
การสัมผัสด้วยการกินนี้จะพบได้ในอีกกรณี คือ คนงานที่สูบบุหรี่สารเคมีหรือ
เชือ้ โรคอาจเลอะติดมือไปและปนเปือ้ นทีบ่ หุ รี่ จะสามารถได้รบั สารเคมีหรือเชือ้ โรค
เข้าทางปากในขณะที่สูบบุหรี่ได้
24 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
2. การหายใจ (Inhalation) เป็นการสูดดมสารเคมีผา่ นเข้าทางรูจมูก ผ่าน
เข้าสูท่ างเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ โพรงจมูก กล่องเสียง หลอดลมขนาดใหญ่ แล้ว
ผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ หลอดลมขนาดเล็กและปอด ตามล�ำดับ
โดยสารเคมีที่สัมผัสนี้มักอยู่ในรูปแบบของก๊าซ ไอหรือควัน
3. การดูดซึมผ่านทางเข้าผิวหนัง (Skin Absorption) เป็นการสัมผัส
สารเคมีผ่านทางผิวหนัง สารเคมีที่ถูกดูดซึมมักอยู่ในรูปแบบของสารละลาย
(Solutions) หรือเชื้อโรคบางชนิด สารเหล่านี้สามารถแทรกซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่
ร่างกายจนก่อให้เกิดโรคได้ เช่น ยาฆ่าแมลง ตัวท�ำละลาย (Solvent)
ปัจจุบนั กรมควบคุมโรคได้มปี ระกาศเรือ่ ง "ข้อแนะน�ำการเฝ้าระวังสุขภาพ
จากสารเคมี กรณีดชั นีชวี้ ดั การได้รบั /สัมผัสสารเคมีทางชีวภาพส�ำหรับผูป้ ระกอบ
อาชีพทีส่ มั ผัสสารเคมีสำ� หรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices:
Thai BEIs)" ดังแสดงรายละเอียดในภาคผนวก 1 เพื่อเป็นข้อแนะน�ำในการดูแล
สุขภาพคนงานให้ปลอดภัยจากการสัมผัสสารเคมีทางชีวภาพซึง่ สถานประกอบการ
ควรจะมีการด�ำเนินการตามค�ำแนะน�ำ

3. ปริมาณการสัมผัส (Dose)
ปริมาณของสิ่งคุกคามที่สัมผัสก็มีผลต่อความเสี่ยงเช่นกัน โดยปริมาณนั้น
จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับจ�ำนวนของสิ่งคุกคามว่ามีมากน้อยแค่ไหน และยัง
ขึน้ กับระยะในการสัมผัส รวมถึงความเข้มข้นของสารหรือสิง่ คุกคามนัน้ ๆ อีกด้วย
เช่น คนงานคนที่หนึ่งสัมผัสกับเชื้อราในสถานที่ท�ำงานระยะเวลามากกว่าคนงาน
คนที่สอง คนงานคนที่หนึ่งย่อมมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราในที่
ท�ำงานได้มากกว่าคนที่สอง และตรงไปตรงมา คนงานที่สัมผัสสารเคมีในปริมาณ
ทีม่ ากกว่าและมีความเข้มข้นมากกว่า ย่อมมีโอกาสเกิดความเสีย่ งทีม่ ากกว่าคนงาน
ที่สัมผัสสารเคมีที่เจือจางว่าในระยะเวลาเท่ากัน

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 25
4. ตัวคนท�ำงาน (Host)
ลักษณะของคนท�ำงานทีแ่ ตกต่างกันก็มผี ลต่อความเสีย่ ง ในคนทีม่ สี ขุ ภาพดี
จะเสี่ยงที่จะเป็นโรคจากการท�ำงานน้อยกว่าคนที่มีสุขภาพอ่อนแอ คนท�ำงานที่
มีอายุแตกต่างกันก็มีผลต่อการเกิดโรคแตกต่างกันเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เด็ก
ทีท่ ำ� งานในโรงงานทีม่ สี ารตะกัว่ จะเกิดเป็นโรคจากพิษของสารตะกัว่ ได้มากกว่าคน
ท�ำงานที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว อีกตัวอย่างเช่น คนงานที่สูบบุหรี่ท�ำงานในเหมืองแร่จะมี
โอกาสเป็นโรคปอดจากใยแร่หินมากกว่าคนงานที่ไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคจากการท�ำงาน(14)
เมื่อเข้าใจในเรื่องของความเสี่ยงและปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงแล้ว การที่
จะช่วยดูแลสุขภาพของคนท�ำงานให้มสี ขุ ภาพดีได้นนั้ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
ควรจะต้องมีความเข้าใจในหลักการป้องกันโรคด้วย โดยทัว่ ไปแล้วการป้องกันโรค
แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. การป้องกันระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention) เป็นการป้องกัน
การเกิดโรคจากการท�ำงานตัง้ แต่โรคยังไม่เกิด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ (Health
Promotion) เช่น การปรับพฤติกรรม การออกก�ำลังกาย การงดสูบบุหรี่ การงดดืม่
สุรา นอกจากการส่งเสริมสุขภาพแล้วการป้องกันระดับปฐมภูมยิ งั ต้องมีการป้องกัน
ไม่ให้เกิดโรคด้วย (Disease Prevention) เช่น การปรับสิง่ แวดล้อม การฉีดวัคซีน
การให้รบั ประทานยาเพือ่ ป้องกันการติดเชือ้ ซึง่ ในทางอาชีวเวชศาสตร์ถอื ว่าการป้องกัน
ระดับนีเ้ ป็นการเตรียมตัวก่อนเข้าท�ำงาน เรียกว่า “ความสมบูรณ์รา่ งกายทีพ่ ร้อมและ
ไม่เป็นอุปสรรคต่อการท�ำงาน” (Fitness for work) ซึง่ ในการตรวจสุขภาพก่อนเข้า
ท�ำงานจะมีการประเมินเรือ่ งนีด้ ว้ ย
2. การป้องกันระดับทุตยิ ภูมิ (Secondary Prevention) เป็นการป้องกัน
โรคจากการท�ำงานในระยะที่เกิดโรคแล้ว แต่ป้องกันไม่ให้โรคเป็นมากขึ้นยิ่งขึ้น
26 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ได้แก่ การตรวจหาความผิดปกติตงั้ แต่ระยะเริม่ แรก (Early Detection) การรักษา
ตั้งแต่ระยะแรกของโรค (Early Treatment) นอกจากนัน้ หลังจากการรักษาแล้วก่อน
กลับเข้าสูก่ ารท�ำงานตามปกติ การดูแลแบบอาชีวเวชศาสตร์จะมีการประเมินก่อนกลับ
เข้าท�ำงาน (Return to work assessment) ว่าคนท�ำงานปลอดภัยจากความเสีย่ งต่อ
การเป็นโรคจากการท�ำงาน และสามารถพร้อมกลับเข้าท�ำงานได้หรือยัง
3. การป้องกันระดับตติยภูมิ (Tertiary Prevention) เป็นการป้องกันโรค
จากการท�ำงานในระยะทีโ่ รคเป็นมากแล้ว เพือ่ ไม่ให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพ
รวมถึงการฟืน้ ฟูสภาพ (Rehabilitation) และการดูแลเพือ่ กลับเข้าท�ำงาน (Return
To Work Management) หากโรคจากการท�ำงานนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้
จะมีการประเมินการสูญเสีย (Disable assessment) เพื่อจะได้ช่วยเหลือในเรื่อง
ค่าชดเชยตามสวัสดิการที่ผู้ป่วยมี

อีกรูปแบบหนึ่งในเรื่องการป้องกันการเกิดโรคจากการท�ำงาน หากจะ
ป้องกันการเกิดโรคจากการท�ำงาน โดยการป้องกันที่หลักของการเกิดโรคตาม
ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Triangle) การป้องกันรูปแบบ
นี้ คือ การหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัจจัยทั้งสามมาบรรจบกัน โดยด�ำเนินการป้องกันให้
ครบทั้ง 3 ด้าน(15) ได้แก่
1. ป้องกันสิ่งคุมคาม (Hazard Prevention) หากสิ่งคุกคามในสถาน
ที่ท�ำงานนั้นสามารถก�ำจัดได้ วิธีท่ีดีท่ีสุดคือ การก�ำจัดสิ่งคุกคามนั้นออกไปจาก
สถานที่ท�ำงาน (Elimination) และใช้สิ่งอื่นเข้ามาทดแทน (Substitution) หาก
สิ่งคุกคามนั้นไม่สามารถก�ำจัดออกไปได้หมด ควรลดการใช้โดยการลดปริมาณ
หรือความเข้มข้นของสารให้น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถท�ำได้ (Reduce quantity
or concentration)

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 27
2. ป้องกันที่สิ่งแวดล้อม (Environmental Prevention) สิ่งแวดล้อม
ลักษณะทีเ่ อือ้ อ�ำนวยให้เกิดโรคจากการท�ำงาน ควรได้รบั การก�ำจัดหรือควบคุม โดย
ต้องควบคุมทั้งที่แหล่งก�ำเนิด (Source) และทางผ่าน (Pathway) ของอันตราย
ที่น�ำมาสู่ตัวคน (Person)
3. ป้องกันทีค่ นท�ำงาน (Host Prevention) เป็นการป้องกันทีต่ วั คนท�ำงาน
เพือ่ ไม่ให้เกิดโรคจากการท�ำงาน เช่น การท�ำให้คนท�ำงานมีความต้านทางโรคมากขึน้
(Tolerance) การป้องกันไม่ให้คนทีเ่ สีย่ งต่อการเกิดโรค (Susceptible) เข้ามาท�ำงาน
การใส่อปุ กรณ์ปอ้ งกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE)

สรุป
ในการทีจ่ ะเกิดกระบวนการปกป้องและดูแลสุขภาพของคนท�ำงานได้อย่าง
ดีนั้น จ�ำเป็นต้องอาศัยการด�ำเนินการของแต่ละสถานประกอบการและสถานที่
ท�ำงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงและภยันอันตรายที่จะเกิดแก่
ผูป้ ฏิบตั งิ าน ทัง้ นี้ สถานประกอบการควรด�ำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมด้วยการท�ำงาน พ.ศ. 2554 ดัง
แสดงในภาคผนวก 2 ทั้งนี้ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวซึ่งมักพบผู้ป่วยในรูปแบบ
ของโรคจากการท�ำงานในชุมชน (Community occupational disease) ควรจะ
ท�ำงานร่วมกับแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ซึ่งมักพบผู้ป่วยในรูปแบบของโรคจากการ
ท�ำงานในสถานประกอบการ (Industrial occupational disease) เพื่อให้เกิด
ความเชื่อมโยงในการดูแลรักษากลุ่มประชากรในพื้นที่ได้ครอบคลุมยิ่งชึ้น อีกทั้ง
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวควรจะส่งต่อให้แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ได้อย่างเหมาะ
สมในผูป้ ว่ ยรายทีส่ งสัยว่าจะเกิดโรคจากการท�ำงานและต้องการการตรวจประเมิน
ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพื่อเอื้ออ�ำนวยให้เกิดการมีสุขภาพที่ดีและมีความปลอดภัยแก่
คนท�ำงานทุกคน
28 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เอกสารอ้างอิง

1. อดุลย์ บัณฑุกุล. ต�ำราอาชีวเวชศาสตร์ Textbook of Occupational Medicine.


กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข;
2554.
2. วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์สิรวิชญ์เดชธรรมนวพรรณผลบุญ. แรกเริ่มเรียนรู้อาชีวเวชศาสตร์
ชลบุรี: สัมมาอาชีวะ; 2554.
3. WHO. Occupational Health: A manual for Primary Health Care Workers.
Cario: World Health Organization; 2001.
4. Alli BOJG, International Labour Organization. Fundamental principles of
occupational health and safety Second edition. 2008;15.
5. Stellman JM. Encyclopaedia of occupational health and safety: International
Labour Organization; 1998.
6. Hethcote HW. Three basic epidemiological models. Applied mathematical
ecology: Springer; 1989. p. 119-44.
7. Lee S, Glass M, Harris JS, Bernard R, Blais M, Genovese E. Occupational
medicine practice guidelines: evaluation and management of common
health problems and functional recovery in workers: American College of
Occupational and Environmental Medicine; 2008.
8. วิวฒ
ั น์ เอกบูรณะวัฒน์. เวชปฏิบตั ดิ า้ นอาชีวเวชศาสตร์ Medical Practice in Occupational
Medicine. ชลบุรี: สัมมาอาชีวะ; 2556.
9. Hunter D. The diseases of occupations. Occupational Medicine. 2006;56(8):1-
520.

อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย 29
10. Costa G. Shift work and occupational medicine: an overview. Occupational
Medicine. 2003;53(2):83-8.
11. Knutsson A. Health disorders of shift workers. Occupational Medicine.
2003;53(2):103-8.
12. Jachuck SJ, Bound CL, Steel J, Blain PG. Occupational Hazard in Hospital Staff
Exposed to 2 per cent Glutaraldehyde in an Endoscopy Unit. Occupational
Medicine. 1989;39(2):69-71.
13. Szymanska JJAoA, Medicine E. Dental bioaerosol as an occupational hazard
in a dentist's workplace. 2007;14(2).
14. Goelzer B, Hansen CH, Sehrndt GA. Occupational exposure to noise:
evaluation, prevention and control/edited by Berenice Goelzer, Colin H.
Hansen, Gustav A. Sehrndt; 2001.
15. Health Organization W. Hazard prevention and control in the work
environment: : airborne dust. Geneva: World Health Organization; 1999.

30 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 2

การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม
(Holistic Health Care in Workers)

นพ.โภคิน ศักรินทร์กุล

เนื้อหา
• การแพทย์แบบองค์รวมคืออะไร
• การดูแลสุขภาพคนท�ำงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม
• องค์ประกอบของการดูแลสุขภาพคนท�ำงานแบบองค์รวม

การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 31
บทน�ำ
จากบทก่อนหน้านีท้ ไี่ ด้พดู ถึงหลักการของอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย
ในบทนีจ้ งึ จะเชือ่ มโยงการดูแลแบบองค์รวมโดยใช้หลักการทางเวชศาสตร์ครอบครัว
ทีด่ แู ลครบทุกมิตสิ ขุ ภาพ ผนวกเข้ากับแนวคิดในการดูแลแบบอาชีวเวชศาสตร์ เพือ่
ให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านสามารถน�ำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบท
ของแต่ละพื้นที่ได้ง่ายยิ่งขึ้น

การแพทย์แบบองค์รวมคืออะไร
Holistic Medicine = Medical treatment based on the belief that
the whole person must be treated, not just the part of their body that
has disease.(1) หากจะแปลความหมายเป็นภาษาไทย การแพทย์แบบองค์รวม
หมายถึง การรักษาที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่า การรักษาคนนั้นไม่ใช่เป็นเพียง
การรักษากายที่เจ็บป่วยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการดูแลองค์ประกอบ
ทุกๆ ด้านของคน ซึ่งประกอบไปด้วย กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ฉะนั้น
หากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลตนและผู้อื่นครบทั้งสี่ด้าน ก็ถือได้ว่าเป็น
ผู้ที่ใช้การแพทย์แบบองค์รวม
การพัฒนาการทางจิตวิญญาณ (spiritual development) หรือเกิด
การพัฒนาการทางคุณค่า(2) ที่มองเห็นว่ากาย จิต สังคม และจิตวิญญาณป็นเรื่อง
ที่แยกจากกันไม่ได้จนเกิดเป็นความสุขทางจิตวิญญาณ (Spiritual happiness)
นั้น แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสามารถใช้แนวทาง
การสื่อสารเชิงบวก (positive communication) หรือการสัมภาษณ์เชิงโนมน้าว
(motivational interview) กับผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง
ระหว่างการเจ็บป่วยทางกาย ทางจิต และปัจจัยทางจิตสังคม
32 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
นอกเหนือจากการสื่อสารเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างกาย จิต สังคม และ
จิตวิญญาณแล้ว การสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน
โรคยังมีความจ�ำเป็นส�ำหรับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัวอย่าง
เป็นองค์รวมด้วย เช่น การสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะ
สม การสื่อสาร เรื่องความปลอดภัยในการท�ำงาน การแนะน�ำให้ปฏิบัติตามกฎ
ระเบียบ ข้อบังคับที่จ�ำเป็นในสถานที่ท�ำงาน เป็นต้น และควรมีการทบทวนความ
เข้าใจของผู้ป่วยและครอบครัวทุกครั้งหลังให้ข้อมูล มีการสนับสนุนสื่อสิ่งพิมพ์
หรือสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเข้าถึงได้และน�ำไปสู่
การปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น ๆ รวมถึงมีการประเมิน
ภาวะสุขภาพเพื่อให้ทราบความเสี่ยงในการเกิดโรคด้วย

การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 33
ฉะนั้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม จึงช่วยให้เกิดความเป็นรูปธรรมใน
การบริการที่จะสามารถให้การดูแลได้ครบทุกมิติ ดังมีความพยายามที่จะท�ำให้
เกิดคลินิกสุขภาพดี หรือศูนย์สร้างเสริมสุขภาพดีในโรงพยาบาลหลายแห่ง
(Wellness Center) เพื่อบริการกลุ่มประชากรวัยท�ำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประเมินสถานะสุขภาพทั่วไป และให้
ค�ำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างผสมผสานใน
ทุกมิติของสุขภาพ ซึ่งจะท�ำให้ให้ประชากรวัยท�ำงานมีสุขภาพและคุณภาพชีวิต
ที่ดีตามวัย (Optimal well being and quality of life) โดยปกติจะแบ่งวัย
ท�ำงานออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ วัยท�ำงานตอนต้น วัยท�ำงานตอนกลาง และ
วัยก่อนเกษียนวัยทอง ซึ่งอาจมีชุดกิจกรรมที่จ�ำเพาะแตกต่างกันในบางรายการ
โดยมีกิจกรรมการด�ำเนินการ ดังนี้
1. Assessment and Monitor : ประเมินสภาพ ติดตาม สถานะสุขภาพ
อย่างองค์รวม 3 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย (สมรรถนะทางกายและหัวใจ ความอ้วน)
ด้านจิตใจ และด้านสังคม และหากพบประเด็นปัญหาเฉพาะ จึงจะมีการประเมิน
เฉพาะด้านต่อไป ซึง่ ถ้าเกินศักยภาพของสถานบริการปฐมภูมกิ ค็ วรจะมีการส่งต่อ
ให้ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม
2. Screening : จัดวางระบบคัดกรองความเสี่ยงตามปัญหาที่พบจาก
การประเมิน เช่น
a. คัดกรองโรคและความเสี่ยงสุขภาพพื้นฐานตามอายุ ที่มีหลักฐานว่า
คุ้มค่า ได้ประโยชน์
b. คัดกรองความเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
c. คัดกรองปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพ

34 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
3. Intervention : สนับสนุน ให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำ และบริการที่เป็น
การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคพื้นฐาน รวมถึงการสาธิตกระบวนการส่งเสริม
สุขภาพ ตลอดจนให้บริการที่เป็นปัญหาเฉพาะรายบุคคล (การออกก�ำลังกาย
การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพ การรับวัคซีน การลดเหล้าบุหรี่
การลดความเครียด ฯลฯ) ซึ่งกระบวนการที่เป็นมาตรการส่งเสริมสุขภาพเหล่านี้
ต้องมีคุณภาพ สามารถออกแบบตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่แตกต่าง
กันได้ โดยการใช้หลักการดูแลโดยอาศัยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นหัวใจส�ำคัญ
ในการดูแลผู้ป่วยแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
4. Follow up : ติดตามภาวะสุขภาพหรือความแข็งแรงอย่างต่อเนือ่ ง และ
ติดตามความก้าวหน้าในส่วนที่ด�ำเนินการตามที่ได้รับค�ำปรึกษา
5. Record : มีการบันทึกภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีสมุดสุขภาพ
ประจ�ำตัวผู้ใช้บริการ ทั้งที่เป็นเอกสารหรือ electronic เพื่อติดตามภาวะทาง
สุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับบันทึกลงในโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ
ทั้งนี้อาจมีการขยายกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรมสู่ชุมชนเพื่อเพิ่มการเข้าถึง
บริการผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลหรือคลินิกหมอครอบครัว รวมถึง
การสร้างความร่วมมือกับทีมหมอครอบครัวเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพครอบครัว
ของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริการปฐมภูมิดังรายละเอียดในบทที่ 8

การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 35
“ศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน :Wellness Center”

Hospital Based Company Based

Env Occ Env Occ


Mental Mental
NCDs Health NCDs Health
CD Vaccine CD Vaccine

"Wellness Center" "Wellness Center"


หน่วยบริการสุขภาพ (ห้องรักษาพยาบาล/
คลินิกความปลอดภัย)
ส่วนงานที่เชี่ยวชาญ
ในเรื่องนั้น เพื่อการดูแลที่มี
ประสิทธิภาพต่อไป

รูปที่ 2.1 : ตัวอย่างแนวคิด “ศูนย์สุขภาพดีวัยท�ำงาน”

ที่มา : รุ้งประกาย วิฤิทธิ์ชัย (2561) เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง "อาชีวอนามัยและ


ความปลอดภัยในคนท�ำงาน: จากนโยบายสู่การปฏิบัติ" วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 เวลา
8.00-16.30 น. ณ โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่

36 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
การดูแลสุขภาพคนท�ำงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม
“อโรคยา ปรมาลาภา : ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” คงไม่มีผู้ใด
ปฏิเสธข้อความนี้ เพราะความเจ็บป่วยเป็นต้นเหตุหนึ่งของความทุกข์ ซึ่งส่งผล
กระทบไม่เฉพาะกับผูท้ เี่ จ็บป่วยเท่านัน้ แต่ยงั มีผลไปถึงคนใกล้ชดิ คนในครอบครัว
และสังคมแวดล้อมอีกด้วย เช่น ลูกชายได้รบั บาดเจ็บจากอุบตั เิ หตุ ส่งผลให้พอ่ แม่
เกิดความไม่สบายใจ ต้องหยุดท�ำงานส่งผลเสียต่อการท�ำงาน เป็นต้น
การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวมมีจดุ เน้นอยูท่ กี่ ารสร้าง
เสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ของเราปราศจากโรค(2) แม้ในยามเจ็บป่วยก็สามารถท�ำการสร้างเสริมสุขภาพได้
เพราะการสร้างเสริมสุขภาพ คือกระบวนการเพิ่มความสามารถให้คนควบคุม
สุขภาพของตนได้มากขึน้ และท�ำให้สขุ ภาพดีขนึ้ (3) ฉะนัน้ คนทีไ่ ม่เจ็บก็ควรพยายาม
ควบคุมไม่ให้เจ็บป่วย คนทีเ่ จ็บป่วยแล้วก็ควบคุมไม่ให้เจ็บป่วยมากขึน้ หรือมีภาวะ
แทรกซ้อน ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
ในการสร้างเสริมสุขภาพนั้น กระบวนการที่จะช่วย “เพิ่มความสามารถ”
ในการควบคุมสุขภาพนั้นประกอบไปด้วย(3)
1. การมีสว่ นร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ใช่ปล่อยให้เรือ่ งการดูแล
รักษาสุขภาพเป็นเรื่องของหมอ หรือพยาบาล เนื่องจากการดูแลนั้นต้องเริ่มจาก
ตนเองแผ่ขยายไปสูก่ ารดูแลผูอ้ นื่ เริม่ ทีบ่ า้ นแผ่ขยายไปยังทีโ่ รงเรียน ทีท่ ำ� งาน หมอ
หรือพยาบาลท�ำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้ค�ำแนะน�ำเท่านั้น
2. ลงมือปฏิบัติ การอ่านหนังสือคู่มือการออกก�ำลังกายนับสิบนับร้อยเล่ม
คงไม่มีประโยชน์เท่ากับการออกก�ำลังวันละ 30 นาที หากมัวแต่ลังเลที่จะดูแล
สุขภาพแล้ว สุขภาพที่ดีขึ้นคงอยู่อีกไกล โรคภัยคงถามหาก่อน

การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 37
3. หมั่นสังเกตผลของการปฏิบัติ เมื่อเราลงมือลงแรงอะไรสักอย่างหนึ่งคง
ไม่ปฏิเสธทีจ่ ะคาดหวังถึงผลลัพธ์ของการกระท�ำนัน้ ๆ เช่น เมือ่ สอบก็อยากทราบ
คะแนน ฝากเงินก็อยากเห็นดอกเบีย้ การดูแลสุขภาพก็เช่นกันควรจะมีการสังเกต
ผลของการด�ำเนินการด้วย เช่น เหนื่อยน้อยลงในระยะทางวิ่งเท่าเดิม จ�ำนวนครั้ง
การเจ็บป่วยที่เล็กน้อยลดลง สมาธิที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของการท�ำงานที่เพิ่ม
มากขึ้น เป็นต้น
จากแนวคิดของการแพทย์แบบองค์รวม การดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวม
จึงไม่ใช่การดูแลเฉพาะเพียงร่างกายเท่านั้น แต่ยังต้องมีการดูแล และประเมินผล
การดูแลทางด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณด้วย โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

38 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
องค์ประกอบที่ 1 การดูแลสุขภาพกาย
สามารถท�ำได้โดยวิธีที่ทุก ๆ ท่านคุ้นเคย ยกตัวอย่างเช่น(4)
1. การลด ละ เลิกปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่
การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
2. การเพิ่มมาตรการป้องกันสุขภาพ เช่น การสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่
ขี่มอเตอร์ไซค์ การคาดเข็มขัดนิรภัย การปฏิบัติตามกฎและเครื่องหมายจราจร
การสวมถุงยางอนามัย การศึกษาฉลากยาหรืออาหารก่อนรับประทาน การดูแล
สุขภาพภายในช่องปากและฟัน การล้างมืออย่างถูกวิธี และการดูแลสุขอนามัย
ส่วนบุคคล (Personal hygiene) เป็นต้น
3. การธ�ำรงไว้ซึ่งความแข็งแรง เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย การออกก�ำลังกายอย่างน้อย 30
นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน
4. การประเมินสุขภาพกาย เช่น การวัดความดันโลหิต การตรวจสุขภาพ
ประจ�ำปี การเข้าร่วมแข่งขันกีฬา

การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 39
องค์ประกอบที่ 2 การดูแลสุขภาพใจ
หลากหลายสุภาษิตได้กล่าวเกี่ยวกับความส�ำคัญของใจไว้ เช่น “ใจเป็น
นาย กายเป็นบ่าว” “ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งทุกอย่างส�ำเร็จได้ด้วยใจ”
“จิตที่สงบ น�ำสุขมาให้” เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายของค�ำกล่าวทุก ๆ ค�ำกล่าวนั้นคือ
การท�ำใจให้สว่าง สะอาด และสงบ อันจะน�ำไปสู่ความแข็งแรงในด้านอื่น ๆ การ
ดูแลสุขภาพใจนั้นมีหลากหลายวิธี ขอยกตัวอย่างพอสังเขปดังนี้
1. การรักษาใจด้วยสติ คือการเอาจิตของเราไปผูกมัดไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่
ดีงาม ที่ไม่มีการปรุงแต่ง เช่น การก�ำหนดลมหายใจเข้า-ออก การภาวนาพุทโธ
การเพ่งกสิณ เป็นต้น หรือแม้แต่ผทู้ เี่ จ็บป่วยอยู่ การหมัน่ บอกกับตนเองว่า “ถึงแม้
ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ปว่ ยไปด้วย” ก็จะช่วยให้จติ ไม่เกิดความ
แปรปรวนของร่างกายครอบง�ำ(5)
2. การใช้วิชา “ธรรมานามัย” ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพแบบองค์
รวมทั้งกาย จิต และสิ่งแวดล้อม คิดค้นโดย ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ ในส่วนที่วา่ ด้วย
เรือ่ งของจิตนัน้ มีหลัก “จิตตานามัย” ซึง่ เป็นการฝึกจิตโดยการนัง่ สมาธิ เพือ่ ให้เกิด
ปัญญา ความสุขสบาย ไม่ตามใจกิเลส และตัณหาของตนเองที่เกิดขึ้น(6)

40 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
3. การฝึกจิตขณะออกก�ำลังกาย เช่น การร�ำมวยจีน ไท่เก็ก ชี่กง โยคะ ใน
ขณะทีร่ า่ งกายเคลือ่ นไหว จะมีการรับรูส้ ภาพการเคลือ่ นไหว หรือการก�ำหนดจิตใจ
ขณะเคลื่อนไหวไปด้วย

องค์ประกอบที่ 3 การดูแลสุขภาพทางสังคม
นักคิดทางสังคมหลายท่านได้อาศัยแนวคิดโครงสร้างหน้าทีน่ ยิ ม (Structural
functionalism) ทีเ่ ปรียบเทียบสังคมในลักษณะทีเ่ หมือนกับสิง่ ทีม่ ชี วี ติ (7) กล่าวคือ
แต่ละส่วนของสังคม (เช่น บ้าน โรงเรียน ที่ท�ำงาน วัด) เปรียบเสมือนอวัยวะของ
มนุษย์ (เช่น แขน ขา ศีรษะ ล�ำตัว) ต้องท�ำงานสอดคล้องกัน เพื่อให้เกิดการตอบ
สนอง ต่อความต้องการของร่างกาย เช่น เมือ่ หิวต้องใช้มอื หยิบอาหาร ปากและฟัน
ขบเคีย้ ว ส่งให้กระเพาะอาหารท�ำการย่อย และดูดซึมทีล่ ำ� ไส้ แต่ละส่วนของสังคม
ก็เช่นกันทีจ่ ะต้องท�ำงานตามหน้าทีท่ ตี่ นมีให้ดี เพือ่ ให้เกิดผลลัพธ์สดุ ท้ายคือสังคมที่
มีความสุข เช่น ครอบครัวต้องท�ำหน้าทีอ่ บรมขัดเกลา หาปัจจัยสีใ่ ห้แก่สมาชิก ครู
ในโรงเรียนต้องท�ำหน้าที่สั่งสอน อบรม ให้ความรู้แก่ศิษย์ ต�ำรวจในโรงพักต้องท�ำ
หน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เป็นต้น เมื่อแต่ละส่วนท�ำงานของตน

การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 41
ได้อย่างเต็มที่ และมีความสอดคล้องกัน ย่อมเกิดสังคมมีความสงบสุขตามมา วิธี
การที่จะท�ำการพัฒนาชุมชนหรือสร้างเสริมสุขภาพทางสังคม ควรจะเริ่มที่หน่วย
ทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ของสังคมก่อน นัน่ ก็คอื ครอบครัว ซึง่ ต้องท�ำหน้าทีใ่ นการพัฒนาสมาชิก
ของครอบครัวให้ดี โดยมีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการด�ำเนินการดังต่อไปนี(8)้
1. เปลี่ยนจุดประสงค์ของมนุษย์จากมุ่งก�ำไรสูงสุดเป็นการด�ำรงอยู่ร่วม
กันอย่างสันติ หรือเป็นสังคมสันติประชาธรรม
2. ส่งเสริมจิตส�ำนึกที่กว้างขวางหรือจิตส�ำนึกใหม่ที่ถูกต้อง
3. เสริมสร้างสายใยสังคมระดับจุลภาคหรือชีวิตชุมชน
4. พัฒนาเศรษฐกิจระดับมหาภาคให้สนับสนุนการรวมตัวทางสังคม
5. ปฏิรูปการจัดการศึกษาให้เป็นไปเพื่อส่งเสริมจิตส�ำนึกแบบใหม่ เป็น
การเรียนรู้แบบใหม่ ที่ส�ำนึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

องค์ประกอบที่ 4 การดูแลสุขภาพทางจิตวิญญาณ
เมื่อพูดถึงวิญญาณ หลายคนมักนึกถึงภูต ผี ปีศาจ หรือสิ่งที่จับต้องไม่ได้
มองไม่เห็น ซึ่งความเชื่อต่อสิ่งเหล่านี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่(9)
1. ความเชื่อในอ�ำนาจเหนือธรรมชาติ (Supernaturalism) เช่น ความเชื่อ
เรื่องจิตวิญญาณภูตผีตา่ ง ๆ การอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากสิ่งที่อยู่
เหนือธรรมชาติเป็นตัวบงการ มนุษย์ต้องอาศัยสื่อกลางในการติดต่อกับอ�ำนาจ
ดังกล่าว เช่น หมอผี ร่างทรง
2. ความเชื่อในธรรมชาติ (Naturalism) เป็นกระบวนการหาข้อเท็จจริง
อย่างมีเหตุผล เช่น วิทยาศาสตร์ รวมไปถึงพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นรากฐานของ
วิทยาศาสตร์ได้(10)

42 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
สุขภาพทางจิตวิญญาณจึงเป็นการน�ำความเชื่อข้างต้น มาเป็นกลยุทธ์ใน
การท�ำให้เกิดความรู้สึกในเนื้อในตัว มีศรัทธา มีปัญญาเข้าถึงความดีสูงสุด(11) ซึ่ง
เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นแล้ว ก็จะเกิดจิตที่เป็นอิสระ ไม่เห็นแก่ตัว และเข้าถึงปัญญาได้
โดยง่าย ท�ำให้เกิดสุขภาวะตามมา ทั้งนี้ความเชื่อดังกล่าวต้องเป็นความเชื่อที่ไม่มี
มิจฉาทิฐิมาเกี่ยวข้อง เช่น ความเชื่อในอ�ำนาจเหนือธรรมชาติของชาวกะเหรี่ยง
ม้ง ลาหู่ ลีซู อาข่า(12-15) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี
วัฒนธรรมของแต่ละกลุม่ ชาติพนั ธุ์ และมีวตั ถุประสงค์เป็นไปเพือ่ การด�ำรงชีวติ อย่าง
กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ ในปัจจุบันจึงมีการพูดถึงเรื่องการพัฒนาการ
ทางจิตวิญญาณมากขึ้น
การพัฒนาการทางจิตวิญญาณ (Spiritual development) หรือเกิด
การพัฒนาการทางคุณค่า(2) ที่มองเห็นว่ากาย จิต สังคม และจิตวิญญาณป็นเรื่อง
ที่แยกจากกันไม่ได้จนเกิดเป็นความสุขทางจิตวิญญาณ (Spiritual happiness)
นั้น แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสามารถใช้แนวทาง
การสื่อสารเชิงบวก (Positive communication) หรือการสัมภาษณ์เชิงโน้มน้าว
(Motivational interview) กับผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง
ระหว่างการเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิต และปัจจัยทางจิตสังคม
การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 43
นอกเหนือจากการสือ่ สารเรือ่ งความเชือ่ มโยงระหว่างกาย จิต สังคม และจิต
วิญญาณแล้วนัน้ การสือ่ สารข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ยังมีความจ�ำเป็นส�ำหรับการดูแลสุขภาพของผูป้ ว่ ยและครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม
ด้วย เช่น การสือ่ สารเพือ่ ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมสุขภาพทีไ่ ม่เหมาะสม การสือ่ สารเรือ่ ง
ความปลอดภัยในการท�ำงาน การแนะน�ำให้ปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบข้อบังคับทีจ่ ำ� เป็น
ในสถานทีท่ ำ� งาน เป็นต้น และควรมีการทบทวนความเข้าใจของผูป้ ว่ ยและครอบครัว
ทุกครัง้ หลังให้ขอ้ มูล มีการสนับสนุนสือ่ สิง่ พิมพ์หรือสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ย
และครอบครัวสามารถเข้าถึงได้และน�ำไปสูก่ ารปฏิบตั ิ เพือ่ ปรับเปลีย่ นพฤติกรรม
ทีไ่ ม่เหมาะสมนัน้ ๆ รวมถึงมีการประเมินภาวะสุขภาพเพือ่ ให้ทราบความเสีย่ งใน
การเกิดโรคด้วย ซึง่ จะมีการกล่าวถึงในบทต่อ ๆ ไป

สรุป
การดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวมมีความจ�ำเป็นที่จะต้องดูแลให้ครบ
ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยต้องมีการลงมือปฏิบัติ พร้อมไปกับ
การตรวจสอบรับรู้ถึงผลของการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แก้ไข ปรับปรุง ให้
เกิดพัฒนาการการดูแลสุขภาพของตนเอง แล้วแผ่ขยายไปสู่คนรอบข้าง และ
สังคม เพื่อให้เกิดความสุขแก่ทุกคนในสังคม อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการ
สร้างเสริมสุขภาพ

44 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เอกสารอ้างอิง
1. Longman Dictionary of Contemporary English: The Complete Guide to
Written and Spoken English 3rd ed. Great Britain: Clays Ltd.
2. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวิตและสังคม พิมพ์ครั้งที่2.
กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน; 2541.
3. อ�ำนาจ ศรีรัตนบัลล์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เครือข่ายโรงเรียนแพทย์
สร้างเสริมสุขภาพด้านอาชีวอนามัยครั้งที่1/2549; วันที่ 18 พฤษภาคม 2549; ณ คณะ
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.
4. สุรจิต สุนทรธรรม บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติอิงหลักฐานการตรวจและการสร้าง
เสริมสุขภาพในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน; 2543.
5. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). กายหายไข้ ใจหายทุกข์. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์;
2547.
6. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. งานชุมนุมแพทย์แผนไทยและสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 5
(สุขภาพดีได้ด้วยแพทย์แผนไทย); วันที่ 9-18 พฤษภาคม 2546; ณ อาคารพิพิธภัณฑ์
และศูนย์ฝกึ อบรมด้านการแพทย์แผนไทย (อาคารทางไทย) กระทรวงสาธารณสุข จังหวัด
นนทบุรี; นนทบุรี; 2546: 1-152.
7. เทพินทร์ พัชรานุรักษ์. สังคมวิทยาการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์ 2548.
8. ประเวศ วะสี. การพัฒนามนุษย์แนวใหม่เพือ่ อนาคตทีย่ งั่ ยืน. กรุงเทพมหานคร: หมอชาว
บ้าน; 2545.
9. ลัฐิกา จันทร์จิต บรรณาธิการ. การแพทย์แผนไทยสายใยแห่งชีวิตและวัฒนธรรม รวม
บทความวิชาการ เล่ม1. กรุงเทพมหาคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2540.
10. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม; 2541.

การดูแลสุขภาพพนักงานโดยการแพทย์แบบองค์รวม 45
11. ประเวศ วะสี. สู่สุขภาวะทางสังคมและจิตวิญญาณ สาระส�ำคัญจาการเสวนา เรื่อง “สู่
สุขภาพทางสังคมและจิตวิญญาณ”; วันที่ 21 กรกฎาคม 2544; ณ วิทยาลัยพยาบาลบรม
ราชชนนี กรุงเทพมหานคร. นนทบุร:ี ส�ำนักงานปฏิรปู ระบบสุขภาพแห่งชาติประเทศไทย;
2544:1-42.
12. อุไรวรรณ แสงศร. กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง การรักษาเยียวยา ผู้คน ชุมชน และสภาพ
สิ่งแวดล้อม(อาข่า). สถาบันวิจัยชาวเขา. 2545;20(1):1-22.
13. ทวิช จตุวรพฤกษ์. กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง การรักษาเยียวยา ผู้คน ชุมชน และสภาพ
สิ่งแวดล้อม(ลีซู). สถาบันวิจัยชาวเขา. 2545;20(1):1-33.
14. สุเมธ ทาริยะ. กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง การรักษาเยียวยา ผู้คน ชุมชน และสภาพสิ่ง
แวดล้อม(ม้ง). สถาบันวิจัยชาวเขา. 2545;20(1):1-12.
15. สารณีย์ ไทยานันท์ , นิภา ลาชโรจน์. กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง การรักษาเยียวยา ผู้คน
ชุมชน และสภาพสิ่งแวดล้อม(กะเหรี่ยง). สถาบันวิจัยชาวเขา. 2545;20(1):1-21

46 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 3

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ
(Common Occupational Disease in Primary Care)

นพ.ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์
เนื้อหา
• ความส�ำคัญของโรคจากการท�ำงานและผลกระทบ
• การซักประวัติโรคจากการท�ำงาน
• โรคจากการท�ำงานทีพ่ บได้บอ่ ยในเวชปฏิบตั ปิ ฐมภูมแิ ละการจัดการดูแลรักษา
บทน�ำ
จากทีผ่ อู้ า่ นได้รจู้ กั หลักการของอาชีวเวชศาสตร์และการดูแลแบบองค์รวม
แล้วในบทก่อนหน้านี้ ในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงโรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยใน
เวชปฏิบัติปฐมภูมิ ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมารับบริการที่สถานบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 47
และมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์เวชปฏิบตั คิ รอบครัวเป็นแพทย์ประจ�ำ
สถานบริการนัน้ ๆ ซึง่ ในความเป็นจริงผูป้ ว่ ยอาจจะเข้ามาตรวจด้วยอาการน�ำบาง
อย่าง ไม่ได้ให้ประวัติเกี่ยวกับการท�ำงานโดยตรง แพทย์ผู้ให้การรักษาควรจะมี
วิธีสังเกตและฉุกคิดว่า โรคดังกล่าวนั้นจะสามารถเกิดจากการท�ำงานได้บ้างหรือ
ไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรวัยท�ำงาน ควรมีการซักประวัติเกี่ยวกับอาชีพหรือ
ลักษณะการท�ำงาน ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการน�ำนั้นหรือไม่ โดยการซักประวัติ
จะต้องอาศัยความรูเ้ รือ่ งโรคจากการท�ำงาน ผนวกกับใช้เทคนิคการซักประวัตติ าม
หลักการดูแลผู้ป่วยโดยอาศัยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ในหัวข้อการเข้าใจผู้ป่วยทั้งคน
(Understanding the whole person) ของการดูแลแบบเวชศาสตร์ครอบครัว
จึงจะสามารถช่วยให้การสืบค้นโรคจากการท�ำงานท�ำได้ง่ายยิ่งขึ้น

ความส�ำคัญของโรคจากการท�ำงานและผลกระทบ
โรคจากการท�ำงานเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์หรือสัมผัส
สิ่งคุกคามในสถานที่ท�ำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุหรือเป็นตัวส่งเสริมท�ำให้เกิดสภาวะ
ของโรคขึ้นหรือท�ำให้สภาวะของโรคที่มีเดิมอยู่แล้วแย่ลง โรคจากการท�ำงานใน
ประเทศไทยพบประมาณร้อยละ 6.47 มีการรายงานต�ำ่ กว่าความเป็นจริงอยูค่ อ่ น
ข้างมาก โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ69 ของการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการ
ท�ำงานไม่มีการรายงาน(1, 2)

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจ�ำเป็นต้องมีทกั ษะในการคัดกรองผูป้ ว่ ยทีส่ งสัย


ว่าเกิดจากการสัมผัสสิง่ คุกคามจากการท�ำงานโดยเฉพาะโรคจากการท�ำงานทีพ่ บได้
บ่อย (ตารางที่ 3.1) และเมือ่ คัดกรองแล้วก็ตอ้ งสามารถวินจิ ฉัยโรคจากการท�ำงาน
ได้ รวมถึงการรายงานโรคจากการท�ำงานทีพ่ บ โดยวัตถุประสงค์ในการวินจิ ฉัยโรค
จากการท�ำงานนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและหาแนวทางป้องกัน รวมทั้งพิจารณา
ค่าทดแทนจากการเกิดโรคจากการท�ำงาน(3, 4)

48 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ในการควบคุมเพือ่ ป้องกันไม่ให้คนท�ำงานเกิดจากบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจาก
การท�ำงาน มีได้ตั้งแต่การก�ำจัดสิ่งคุกคาม ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าไม่สามารถ
ก�ำจัดสิง่ คุกคามนัน้ ได้ ก็ให้หาสิง่ อืน่ มาทดแทนสิง่ คุกคามนัน้ ขัน้ ต่อไปคือการควบคุม
ทางวิศวกรรม การควบคุมหลังจากนั้นจะเป็นการควบคุมทางบริหารจัดการ เช่น
การท�ำงานเป็นกะสั้นๆ การมีตารางพักท�ำงาน การหมุนเวียนงาน รวมถึงการฝึก
คนท�ำงาน ส่วนการป้องกันที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดคือ การใช้อุปกรณ์คุ้มครอง
ความปลอดภัยส่วนบุคคล(5)
ตารางที่ 3.1 : โรคจากการท�ำงานที่พบได้บ่อย
โรค ค�ำจ�ำกัดความ อาการ การทดสอบที่
ช่วยสนับสนุน
Asthma โรคหอบหืดที่เกิดขึ้นใหม่ หรือ ไอ หายใจหอบ Pulmonary
เคยเป็นโรคหอบหืดในตอน เหนื่อย แน่นหน้าอก function test
เด็ก แล้วมีอาการกลับมาเป็น มีเสียงวี้ด
ใหม่ เนื่องจากการสัมผัสสิ่ง
คุกคาม จากการท�ำงาน

Chronic ทางเดินหายใจอุดกั้นแบบ หายใจเหนื่อย ไอ Pulmonary


obstructive ถาวร เสียงวี้ด function test
pulmonary FEV1/FVC < 0.7 หายใจล�ำบาก (Spirometry)
disease เนื่องจากการสัมผัสสิ่งคุกคาม มีเสมหะเพิ่มมากขึ้น
(COPD) จากการท�ำงาน

Allergic เป็นปฏิกิริยาแบบ Delayed ส่วนใหญ่จะคัน Patch test


contact type hypersensitivity บริเวณที่สัมผัสสาร
dermatitis เนื่องจากการสัมผัสสารแปลก แต่ผื่นอาจจะเกิด
ปลอม นอกบริเวณที่สัมผัส
ได้ รวมทั้งมีผื่นแดง
และตุ่มที่ผิวหนัง

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 49
ตารางที่ 3.1 : โรคจากการท�ำงานที่พบได้บ่อย

โรค ค�ำจ�ำกัดความ อาการ การทดสอบที่


ช่วยสนับสนุน
Irritant เป็นการระคายเคืองแบบ รอยไหม้ คัน ไม่มี
contact Non - immune จากการที่ ปวด บวมเล็กน้อย
dermatitis สัมผัสสาร ในบริเวณที่สัมผัสสาร
อาจมีผิวแห้งหรือแตก
ได้หากเป็นเรื้อรัง

Carpal tunnel มีอาการทางระบบประสาท ปวด ชา เสียว การตรวจร่างกาย


syndrome ส่วนปลาย เนื่องมาจาก บริเวณที่ Median Abnormal nerve
Median nerve ถูกกดทับ nerve เลี้ยงที่มือ conduction
มีอาการอ่อนแรงและ studies
ชาบริเวณมือ
ซึ่งอาการมักเป็นมาก
ในตอนเช้า

Lateral เกิดจากการใช้ Extensor ปวดที่บริเวณ Lateral การตรวจร่างกาย


Epicondylitis tendon ที่แขนมากเกินไป Epicondyle
ของ Humerus
แรงบีบของมือ
ในการบีบมือลดลง

Medial เป็นเส้นเอ็นอักเสบที่พบบ่อย ปวดที่บริเวณ Medial การตรวจร่างกาย


epicondylitis ของ Flexor tendon epicondyle ของ
Humerus อาจจะมี
หรือไม่มี แรงบีบของ
มือ ในการบีบมือลด
ลงก็ได้

50 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตารางที่ 3.2 : การซักประวัติเกี่ยวกับการท�ำงานเพื่อประเมินโรคจาก
การท�ำงาน
ประเด็นที่ประเมิน รายละเอียดที่ประเมิน
ท่านท�ำงานเกี่ยวกับประเภทอะไร สิ่งคุกคามส่วนใหญ่ พบในอาชีพเกษตรกร
ช่างเสริมสวย ผู้ท�ำงานสัมผัสสารเคมี
พนักงานท�ำความสะอาด คนงานรับเหมา
ก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรม
เครื่องยนต์ เหมืองแร่ และบุคลากรทาง
การแพทย์
ในอาชีพของท่านต้องสัมผัสกับสารเคมี สิ่งคุมคามที่พบได้บ่อย เช่น Acrylics
ฝุ่น โลหะ รังสี เสียง หรือท�ำงานซ�้ำๆ แอลกอฮอล์ โครเมียม สารท�ำความสะอาด
หรือไม่ โคบอลต์ เครื่องส�ำอาง น�้ำมันส�ำหรับตัดงาน
น�้ำยาฆ่าเชื้อ นิกเกิล พืช วัตถุกันเสีย เรซิ่น ตัว
ท�ำละลาย การท�ำงานที่ชื้นแฉะ
เพื่อนร่วมงานของท่าน เพิ่มความคล้ายคลึงในการสัมผัสสิ่งคุกคามที่
เคยมีอาการเช่นเดียวกับท่านหรือไม่ พบได้บ่อย
ทบทวนประวัติระยะเวลาที่ได้ท�ำงาน สิ่งคุกคามมักพบในการท�ำงานอยู่ประจ�ำ
และลักษณะการท�ำงาน ช่องทาง ระยะเวลา ความเข้มข้นของสิ่ง
คุกคาม
ประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคาม การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
ส่วนบุคคล การระบายอากาศ
การควบคุมสิ่งคุกคาม การปิดกั้น
เวลาที่อาการเกิดขึ้นสัมพันธ์กับการ ถ้ามีความสัมพันธ์กันจะมีความส�ำคัญมาก
ท�ำงาน โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อท�ำงาน
และจะดีขึ้นเมื่อหยุดงาน
การสัมผัสสิ่งคุกคามอื่นนอกจากที่
ท�ำงาน สิ่งแวดล้อมที่บ้าน กิจกรรมยามว่าง

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 51
โรคจากการท�ำงานทีพ่ บได้บอ่ ยในเวชปฏิบตั ปิ ฐมภูมแิ ละการจัดการ
ดูแลรักษา

ต่อจากนี้ จะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับโรคจากการท�ำงานที่พบได้บ่อยในเวช
ปฏิบัติปฐมภูมิพอสังเขป ซึ่งควรน�ำไปประยุกใช้ในการประเมินหรือคัดกรองโรค
จากการท�ำงานเบื้องต้นเพื่อพิจารณาปรึกษาแพทย์อาชีวเวชศาสตร์หรือแพทย์
เฉพาะทางสาขาอื่น ๆ ต่อไป
1. โรคหอบหืดจากการท�ำงาน (Occupational Asthma)
โรคหอบหืดจากการท�ำงาน เป็นโรคปอดจากการท�ำงานที่
พบได้มากทีส่ ดุ โดยพบได้ประมาณร้อยละ 15 ของผูป้ ว่ ยโรคหอบ
หืดรายใหม่ในผู้ใหญ่(6) และพบว่ามากกว่า 250 สิ่งกระตุ้นที่เป็น
สาเหตุทำ� ให้เกิดโรคหอบหืดจาการท�ำงาน ดังแสดงในตารางที3่ .3
โดยพบว่าร้อยละ 90 ของโรคหอบหืดจากการท�ำงานเกิดจากสารก่อภูมแิ พ้ และอีก
ร้อยละ 10 ที่เหลือเกิดจากสารก่อการระคายเคือง ซึ่งสารก่อภูมิแพ้โมเลกุลขนาด
ใหญ่จะก่อให้การเกิดการสร้าง Immunoglobulin E (IgE) ขึ้น ส่วนสารก่อภูมิแพ้
โมเลกุลเล็กยังไม่ทราบกลไกแน่ชัดในการท�ำให้เกิดโรคหอบหืด(7-11)

52 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตารางที่ 3.3 : สิ่งกระตุ้นที่สัมพันธ์กับโรคหอบหืดจากการท�ำงาน
สิ่งกระตุ้น อาชีพ
คลอรีน คนงานโรงกระดาษ
ฝุ่นที่ก่อการระคายเคือง ผู้รับเหมาก่อสร้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย
ควัน พนักงานดับเพลิง พนักงานรักษาความปลอดภัย
สัตว์ ชาวนา เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
ละอองชีวภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่วิจัย
ยา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่วิจัย
เอนไซม์ คนท�ำเบเกอรี่ พนักงานท�ำความสะอาด
ยาง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
พืช ชาวนา คนท�ำเบเกอรี่ เกษตรกร
อาหารทะเล ผู้ท�ำการแปรรูปอาหารทะเล
Acid anhydrides ผู้ท�ำงานเกี่ยวกับ Epoxy resin
Diisocyanates ผู้ท�ำงานโรงงานพลาสติก คนท�ำงานฉนวนกันความร้อน
คนงานพ่นสีสเปรย์
Isocyanates ช่างทาสี
โลหะ คนงานถลุงโลหะ คนงานผสมโลหะ ช่างไฟฟ้า
ช่างเชื่อม
Persulfate ช่างท�ำผม
สีย้อม คนงานสิ่งทอ คนงานอุตสาหกรรมอาหาร
Rosin คนงานที่ท�ำงานเกี่ยวกับโลหะ
ฝุ่นไม้ ช่างไม้ คนงานโรงเลื่อย

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 53
อาการของโรคหอบหืดจากการท�ำงาน จะมีอาการเหมือนกับโรคหอบหืดทัว่ ไป
เช่น ไอ หายใจล�ำบาก แน่นหน้าอก มีเสียงวีด้ ซึง่ การจะวินจิ ฉัยแยกโรคหอบหืดจาก
การท�ำงานออกจากโรคหอบหืดทัว่ ไปได้นนั้ จ�ำเป็นต้องอาศัยประวัตกิ ารท�ำงานเข้า
มาช่วยในการวินจิ ฉัย โดยค�ำถามทีม่ คี วามไวมากทีส่ ดุ ในการวินจิ ฉัยโรคหอบหืดจาก
การท�ำงาน คือ “อาการของท่านดีขนึ้ ในวันทีไ่ ม่ได้ทำ� งานหรือไม่” นอกจากนี้ ต้อง
มีการตรวจวัด Airway Function การท�ำ Serial Peak Expiratory Flow การ
ท�ำ Spirometry การท�ำ Skin Prick Test การท�ำ Methacholine Challenge
หรือการท�ำ Specific Inhalation Challenge ร่วมด้วยเพือ่ น�ำมาประกอบในการ
วินิจฉัย ซึ่งหากต้องการตรวจเพิ่มเติมดังกล่าว ควรพิจารณาส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือแพทย์เฉพาะทางโรคปอด(12)

การจัดการโรคหอบหืดจากการท�ำงานเบื้องต้นคือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่
ท�ำให้เกิดโรคหอบหืด แต่อย่างไรก็ตามผูป้ ว่ ยมากกว่าร้อยละ 70 จะยังคงมีอาการ
อยู่ประมาณเกือบปีหลังจากหยุดสัมผัสสิ่งกระตุ้นไปแล้ว การใช้อุปกรณ์คุ้มครอง
ความปลอดภัยส่วนบุคคลจะช่วยลดอาการของโรคได้ รวมถึงต้องจัดการควบคุม
สิ่งกระตุ้นทั้งจากแหล่งที่ก่อให้เกิดสิ่งกระตุ้นและในบรรยากาศ
การรักษาด้วยยาส�ำหรับผูท้ เี่ ป็นโรคหอบหืดจากการท�ำงานนัน้ การรักษาจะ
เหมือนกับผู้ป่วยโรคหอบหืดทั่วไป โดยใช้ยาพ่นสเตอรอยด์ ยาพ่นขยายหลอดลม
และ Leukotriene Modifier(13)
การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยโรคหอบหืดจากการท�ำงานไม่ค่อยดี โดยพบว่า
มีผู้ป่วย 1 ใน 3 เท่านั้น ที่มีการท�ำงานของปอดหรืออาการในระยะยาวดีขึ้นหลัง
จากหยุดสัมผัสสิ่งกระตุ้น(14)

54 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
2. โรคถุงลมโป่งพองจากการท�ำงาน
โรคถุงลมโป่งพองเป็นสาเหตุการเสียชีวติ อันดับทีส่ ขี่ องโลก และ
พบว่าประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองมีสาเหตุมา
จากการท�ำงาน โดยสิ่งกระตุน้ ทีก่ อ่ ให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองจากการ
ท�ำงานพบว่ามาจาก ไอ แก๊ส ฝุ่น และควัน จากหลักฐานพบว่าโรคนี้มักพบในคน
ท�ำงานที่งานเกี่ยวกับ ฝุ่นถ่านหิน ซิลิกา ฝุ่นฝ้าย หรือควันแคดเมียม ร่วมกับการ
สัมผัสกับควันบุหรี่จะส่งเสริมท�ำให้เกิดโรคมากขึ้น และพบว่าความเสี่ยงในการ
เกิดโรคจะเพิ่มขึ้นในคนอายุมากกว่า 65 ปี จ�ำนวนและระยะเวลาที่สูบบุหรี(15-18) ่
การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพองจากการท�ำงานสามารถวินิจฉัยโดยการท�ำ
Spirometry โดยจะมีคา่ FEV1/FVC น้อยกว่าร้อยละ 70 ร่วมกับมีประวัติเสี่ยง
จากการท�ำงาน อาการของผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการหายใจล�ำบาก ไอ มีเสียงวี้ด
โดยจะมีอาการเป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะมีการอุดกั้นของหลอดลมแบบ
ถาวร(19, 20)
การจัดการโรคถุงลมโป่งพองจากการท�ำงาน สามารถท�ำได้หลายวิธี การป้องกัน
ปฐมภูมคิ อื การหาสิง่ คุกคามในทีท่ ำ� งานและการใช้อปุ กรณ์คมุ้ ครองความปลอดภัย
ส่วนบุคคล การป้องกันทุตยิ ภูมทิ ำ� ได้โดยการเฝ้าระวังสุขภาพโดยใช้แบบสอบถาม
อาการ ทัง้ นีต้ อ้ งมีการส่งเสริมสุขภาพและโน้มน้าวให้คนท�ำงานทีม่ กี ารสูบบุหรีอ่ ยู่
แล้วหยุดสูบบุหรี่ร่วมด้วย(21, 22)
3. โรคผิวหนังจากการท�ำงาน
โรคผิวหนังจากการท�ำงานเป็นสาเหตุอันดับสองของโรคที่เกิด
จากการท�ำงาน โดยพบอัตราการเกิด 2.3 ต่อ 10,000 คนท�ำงาน แต่
ในช่วงหลังพบว่า มีรายงานอัตราการเกิดโรคผิวหนังจากการท�ำงาน
ลดลง โดยเฉพาะในประเทศเขตยุโรป โดยอาการของโรคผิวหนังจากการท�ำงาน
ประมาณร้อยละ 90 - 95(23, 24) จะมีอาการแสดงดังตารางที่ 3.4
โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 55
ตารางที่ 3.4 : ความผิดปกติทางผิวหนังจากการท�ำงาน

ความผิดปกติทางผิวหนัง อาชีพ
สิว ช่างศิลป์ คนท�ำงานโรงงาน คนท�ำงานเกี่ยวกับยาง
มะตอย ช่างไม้ คนงานรับเหมาก่อสร้าง คนงานผลิตสี
ผิวหนังอักเสบจากสัมผัสชนิด เกษตรกร คนท�ำงานเกี่ยวกับปูน คนงานป่าไม้
ภูมิแพ้ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
ผิวไหม้ ผิวหนังอักเสบจากสัมผัสชนิดภูมิแพ้ คนงานผลิต
เครื่องดื่มอัดลม คนงานก่อสร้าง ชาวนา คนงานโรงาน
อาหาร คนงานที่ใช้ยาก�ำจัดศัตรูพืช
รูขุมขนอักเสบ วิศวกรโรงงาน คนงานโรงกลั่นน�้ำมัน คนงานสร้างถนน
คนงานตัดขนแกะ
ผิวหนังอักเสบจากสัมผัสชนิด คนงานเกี่ยวกับยานยนต์ ช่างเสริมสวย บุคลากร
ระคายเคือง ทางการแพทย์ คนงานผลิตสี ช่างทาสี
การบาดเจ็บแบบเชิงกล คนงานเกี่ยวกับยานยนต์ คนงานรับเหมาก่อสร้าง
คนงานโรงงานโลหะ คนงานโรงงานไม้
มะเร็งผิวหนัง คนงานผลิตเครื่องดื่มอัดลม คนกวาดปล่องไฟ
คนงานเหมืองถ่านหิน ชาวนา คนงานโรงงานโลหะ
คนงานขุดแร่ คนงานท�ำงานกลางแจ้ง
คนงานโรงตีพิมพ์ งานสร้างถนน คนงานปูหลังคา
การติดเชื้อที่ผิวหนัง เกษตรกร คนงานโรงงานอาหาร บุคลกรทางการแพทย์
คนขายเนื้อสัตว์

56 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
โรคผิวหนังอักเสบจากการท�ำงาน โดยปกติจะเกิดจากการสัมผัสสาร
(Contact Dermatitis) สามารถแบ่งได้เป็นชนิดระคายเคือง (Irritant Contact
Dermatitis) และชนิดภูมิแพ้ (Allergic Contact Dermatitis) โดยชนิดระคาย
เคืองนัน้ เป็นการอักเสบจากปฏิกริ ยิ า Phototoxic หรือการทีผ่ วิ หนังสัมผัสกับสาร
เคมี เช่น กรด ด่าง ตัว Oxidizing หรือ Reducing น�้ำ สารซักฟอก และน�้ำยา
ท�ำความสะอาด ซึ่งพบว่าร้อยละ 68 ท�ำงานในสภาวะที่เปียกชื้น ส่วนชนิดภูมิแพ้
นัน้ เกิดจากปฏิกริ ยิ าภูมแิ พ้ทผี่ วิ หนัง โดยสาเหตุทพี่ บได้บอ่ ยเกิดจาก โลหะ Epoxy
Acrylic Resins ส่วนเติมแต่งของยาง สารเคมีทางการเกษตร และสารเคมีทางการ
ค้า แต่กม็ วี ตั ถุบางอย่าง ทีส่ ามารถท�ำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสได้ ทัง้
ชนิดโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส(25)
การวินจิ ฉัยแยกโรคระหว่างโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสจากการท�ำงาน
ออกจากโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสทีไ่ ม่ได้เกิดจากการท�ำงานนัน้ ต้องอาศัย
ประวัตกิ ารท�ำงานเป็นตัวช่วยแยก รวมถึงประวัตเิ กีย่ วกับ Filaggrin Mutation หรือ
Adult Atopic Dermatitis หรือ Nickel Sensitivity ซึง่ พบว่าผูป้ ว่ ยทีม่ ี Filaggrin
Mutation และ Atopic Dermatitis จะมีความเสีย่ งในการเกิดโรคผิวหนังอักเสบ
จากการสัมผัสชนิดระคายเคืองมากที่สุด ส่วนการทดสอบ Patch Test สามารถ
ช่วยวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสชนิดภูมิแพ้ ซึ่งควรท�ำในกรณีที่รักษา
โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสไปแล้ว 3 เดือนอาการยังไม่ดีขึ้น(26)
สิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสจากการท�ำงาน
คือการป้องกันไม่ให้เกิดการสัมผัสสาร นอกจากนี้ ยังพบว่าการทาครีมทีป่ ราศจาก
น�ำ้ หอมหลังเลิกงานเป็นประจ�ำ จะสามารถป้องกันการเกิดโรคนีไ้ ด้ ส่วนการรักษา
นั้นจะรักษาเหมือนกับโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสที่ไม่ได้เกิดจากการท�ำงาน
โดยการใช้ยาทาสเตอรอยด์ และแพทย์ผรู้ กั ษาควรให้ความรูแ้ ก่ผปู้ ว่ ยในการลดการ
สัมผัสสิง่ คุกคาม และควรท�ำการส่งต่อให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านผิวหนังเมือ่ รักษาไม่ได้ผล
โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 57
หาสาเหตุการเกิดโรคไม่ได้ หรือการวินิจฉัยยังไม่แน่ชัด รวมทั้งขอข้อมูลสารเคมี
จากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเพื่อใช้ในการพิจารณาร่วม(27, 28)
กลวิธี ในการป้องกันโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสจากการท�ำงาน
มีหลากหลายวิธีดังนี้
• หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือสารก่อการระคายเคือง
• ใช้สารทดแทน
• จ�ำกัดระยะเวลาในการสวมถุงมือ แต่ถ้าจ�ำเป็นต้องสวมถุงมือเป็นเวลา
นานให้ใช้ Cotton Liners แทน
• ส่งเสริมการใช้น�้ำยาท�ำความสะอาดที่ปราศจากแอลกอฮอล์
• หลีกเลี่ยงการทาครีมที่มีส่วนประกอบของน�้ำหอมก่อนท�ำงาน
• ทาครีมที่ปราศจากน�้ำหอมหลังเลิกงานเป็นประจ�ำ
• ใช้การจัดการทางวิศวกรรมศาสตร์ เช่น การระบายอากาศ การใช้ระบบ
อัตโนมัติ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
• ให้ผทู้ ำ� งานได้รบั ความรูเ้ กีย่ วกับข้อมูลการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย
อย่างเหมาะสม

58 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
4. ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อจากการท�ำงาน
ความผิ ด ปกติ ข องกระดู ก และกล้ า มเนื้ อ จากการท� ำ งาน
เป็นการบาดเจ็บหรือเกิดความผิดปกติต่อกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ
กระดูกอ่อน และเส้นประสาท ที่เกิดจากการออกแรงแบบทันที
ทันใด หรือเกิดจากสัมผัสปัจจัยทางด้านกายภาพเป็นเวลานาน เช่น
การออกแรงเคลื่อนไหวซ�้ำๆ ท่าทางที่ผิดปกติ หรือการสั่นสะเทือน โดยความ
ผิดปกติที่พบในส่วนรยางค์ด้านบน ได้แก่ ความผิดปกติที่ไหล่ การปวดข้อศอก
ด้านนอก เอ็นข้อมืออักเสบและโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ รวมถึง
กล้ามเนื้ออักเสบ ข้อแพลง กล้ามเนื้อฉีกและปวดหลัง พบว่าประมาณครึ่งหนึ่ง
ของคนที่ท�ำงานโรงงานอุสาหกรรม จะเกิดความผิดปกติของกระดูกและกล้าม
เนื้อจากการท�ำงานได้(29)

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 59
แพทย์ผู้ท�ำการตรวจรักษาจึงควรสอบถามเกี่ยวกับประวัติการยกของหนัก
การสัมผัสแรงสั่นสะเทือน การท�ำงานโดยใช้แขนยกเหนือศีรษะ และลักษณะ
งานที่จะต้องออกแรงท�ำในท่าเดิมซ�้ำ ๆ ดังนั้น คนงานที่มีความเสี่ยงในการเกิด
ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อจากการท�ำงาน ควรได้รับการส่งเสริมสุข
ภาพในเรือ่ งของการออกก�ำลังกายและการควบคุมน�ำ้ หนัก เพือ่ ลดความรุนแรงของ
โรค การปรับเปลีย่ นสถานทีท่ ำ� งานถือเป็นประเด็นส�ำคัญ ในการป้องกันและรักษา
ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนือ้ จากการท�ำงาน โดยวิธกี ารก�ำจัดปัจจัยเสีย่ ง
ทีท่ ำ� ให้เกิดการควบคุมทางวิศวกรรม เช่น การปรับใช้อปุ กรณ์เสริมในการผ่อนแรง
การควบคุมท่าทางร่างกาย และการเคลื่อนไหวของงาน ส่วนการจัดการด้านการ
บริหารในการป้องกันการเกิดความผิดปกติดังกล่าวท�ำได้โดย การหมุนเวียนงาน
การพักการออกแรง และการเปลีย่ นแปลงท่าทางการเคลือ่ นไหวในการท�ำงาน(30, 31)

60 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
5. โรคการกดทับเส้นประสาทบริ เวณข้อมือ
ในความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนือ้ ในส่วนรยางค์ดา้ นบน
ทีเ่ กิดขึน้ จากการท�ำงาน พบว่าโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อ
มือเป็นโรคที่มีคา่ ใช้จา่ ยในการรักษาสูงที่สุด โดยพบว่า ปัจจัยเสี่ยง
ส่วนบุคคลในการเกิดโรคนี้ คือ ดัชนีมวลกายทีม่ ากกว่า 30 กิโลกรัม
ต่อตารางเมตร อายุทมี่ ากกว่า 50 ปี เพศหญิง การทีเ่ ป็นลูกจ้างใหม่ และการมีโรค
ร่วมทางกาย เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเบาหวาน หรือโรคไทรอยด์ ปัจจัยเสี่ยงใน
การท�ำงาน เช่น ไม่ได้มีการท�ำงานที่หลากหลาย การท�ำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมือ
มาก และการไม่มตี ารางพักระหว่างท�ำงาน(32) การรักษาส่วนใหญ่รกั ษาแบบอนุรกั ษ์
(การรักษาแบบไม่ผา่ ตัด) และการให้หยุดพักการใช้งาน การเปลีย่ นแปลงกิจกรรม
การดามข้อมือ การท�ำกายภาพ การให้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ รวม
ถึงการฉีดสเตอรอยด์ ส่วนการรักษาโดยการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีอาการ
รุนแรงหรือเป็นมานาน รักษาโดยวิธีอื่นไม่ได้ผล(33)

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 61
6. โรคปวดข้อศอก
โรคปวดข้อศอกเกิดจากการเคลื่อนไหวซ�้ำ ๆ ที่ด้านในหรือ
ด้านนอกของข้อศอก (Tennis elbow) โดยโรคปวดข้อศอกด้าน
นอกจะมีอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอกส่วนปลายของกระดูก
ต้นแขน มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “โรคปวดศอกเทนนิสเอลโบ” ส่วน
โรคปวดข้อศอกด้านในเกิดบริเวณข้อศอกด้านในส่วนปลายของกระดูกต้นแขน
มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “โรคปวดศอกนักกอล์ฟ” โดยปัจจัยเสี่ยงที่ท�ำให้เกิดโรคนี้ คือ
การท�ำงานที่ต้องออกแรง เช่น การงอหรือบิดข้อมือ การบิดหรือการหมุนแขน(34)
การรักษาโรคปวดข้อศอกส่วนใหญ่รักษาแบบอนุรักษ์และการให้หยุดพัก
การใช้งาน การฝังเข็ม การดาม การใช้ทายาแก้ปวด รวมถึงการรับประทานยาต้าน
การอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ส่วนการรักษาโดยการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมี
อาการรุนแรง อย่างไรก็ตามต้องมีการแนะน�ำการปรับเปลี่ยนหน้าที่การท�ำงาน
ร่วมด้วย และพบว่าโรคปวดข้อศอกด้านในมีการพยากรณ์ที่ดีใน 3 ปี มีอัตราการ
หายร้อยละ 81 (35, 36)
สรุป
โรคจากการท�ำงานทีพ่ บได้บอ่ ยส่วนใหญ่จะเป็นโรคทีเ่ กีย่ วกับระบบทางเดิน
หายใจ ระบบผิวหนังและระบบกระดูกกล้ามเนือ้ ดังนัน้ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
จะต้องมีทักษะในการคัดกรองโรคจากการท�ำงาน เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคจากการ
ท�ำงานให้ส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ต่อไป

62 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เอกสารอ้างอิง
1. Tarlo SM, Lemiere C. Occupational Asthma. 2014;370(7):640-9.
2. Beach J, Russell K, Blitz S, Hooton N, Spooner C, Lemiere C, et al. A systematic
review of the diagnosis of occupational asthma. 2007;131(2):569-78.
3. Adisesh A, Robinson E, Nicholson P, Sen D, Wilkinson M, Dermatology
SoCWGJBJo. UK standards of care for occupational contact dermatitis and
occupational contact urticaria. 2013;168(6):1167-75.
4. Nicholson P, Llewellyn D, English JJCD. Guidelines Development Group.
Evidence-based guidelines for the prevention, identification and management
of occupational contact dermatitis and urticaria. 2010;63(4):177-86.
5. Smedley JJCm. Concise guidance: diagnosis, management and prevention
of occupational contact dermatitis. 2010;10(5):487-90.
6. Baur X, Aasen TB, Burge PS, Heederik D, Henneberger PK, Maestrelli P, et al.
The management of work-related asthma guidelines: a broader perspective.
2012;21(124):125-39.
7. Tarlo SM, Liss GM, Blanc PDJPAMW. How to diagnose and treat work-related
asthma. 2009;119(10):660-6.
8. Tarlo SM, Malo J-LJAotATS. An official American Thoracic Society proceedings:
work-related asthma and airway diseases. Presentations and discussion
from the Fourth Jack Pepys Workshop on Asthma in the Workplace.
2013;10(4):S17-S24.
9. Baur X, Bakehe P, Vellguth HJJoOM, Toxicology. Bronchial asthma and COPD
due to irritants in the workplace-an evidence-based approach. 2012;7(1):19.
10. Anees W, Blainey D, Moore V, Robertson K, Burge PJOm. Differentiating
occupational asthmatics from non-occupational asthmatics and irritant-
exposed workers. 2011;61(3):190-5.

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 63
11. Meldrum M, Rawbone R, Curran A, Fishwick D. The role of occupation in
the development of chronic obstructive pulmonary disease (COPD). BMJ
Publishing Group Ltd; 2005.
12. Vandenplas O, Ghezzo H, Munoz X, Moscato G, Perfetti L, Lemiere C, et al.
What are the questionnaire items most useful in identifying subjects with
occupational asthma? 2005;26(6):1056-63.
13. Tarlo SM, Balmes J, Balkissoon R, Beach J, Beckett W, Bernstein D, et al.
Diagnosis and management of work-related asthma: American College of
Chest Physicians Consensus Statement. 2008;134(3):1S-41S.
14. Lytras T, Bonovas S, Chronis C, Konstantinidis AK, Kopsachilis F, Papamichail
DP, et al. Occupational Asthma guidelines: a systematic quality appraisal
using the AGREE II instrument. 2014;71(2):81-6.
15. Cullinan PJBmb. Occupation and chronic obstructive pulmonary disease
(COPD). 2012;104(1).
16. Jaakkola MSJT. Smoke and dust get in your eyes: what does it mean in the
workplace? 2009;64(1):1-2.
17. Hnizdo E, Sullivan PA, Bang KM, Wagner GJAJoE. Association between
chronic obstructive pulmonary disease and employment by industry and
occupation in the US population: a study of data from the Third National
Health and Nutrition Examination Survey. 2002;156(8):738-46.
18. Mastrangelo G, Tartari M, Fedeli U, Fadda E, Saia BJOM. Ascertaining the risk
of chronic obstructive pulmonary disease in relation to occupation using
a case–control design. 2003;53(3):165-72.
19. Omland o, Würtz ET, Aasen TB, Blanc P, Brisman J, Miller MR, et al.
Occupational chronic obstructive pulmonary disease: a systematic literature
review. 2014:19-35.
20. Diaz-Guzman E, Aryal S, Mannino DMJCicm. Occupational chronic obstructive
pulmonary disease: an update. 2012;33(4):625-36.

64 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
21. Boschetto P, Quintavalle S, Miotto D, Cascio NL, Zeni E, Mapp CEJJoOM,
et al. Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) and occupational
exposures. 2006;1(1):11.
22. Lewis L, Fishwick DJOm. Health surveillance for occupational respiratory
disease. 2013;63(5):322-34.
23. Caroe TK, Ebbehoj N, Agner TJCD. A survey of exposures related to recognized
occupational contact dermatitis in Denmark in 2010. 2014;70(1):56-62.
24. Stocks SJ, McNamee R, van der Molen HF, Paris C, Urban P, Campo G, et al.
Trends in incidence of occupational asthma, contact dermatitis, noise-induced
hearing loss, carpal tunnel syndrome and upper limb musculoskeletal
disorders in European countries from 2000 to 2012. 2015:oemed-2014-102534.
25. Nicholson PJJCid. Occupational contact dermatitis: known knowns and
known unknowns. 2011;29(3):325-30.
26. Zorba E, Karpouzis A, Zorbas A, Bazas T, Zorbas S, Alexopoulos E, et al.
Occupational dermatoses by type of work in Greece. 2013;4(3):142-8.
27. Holness DLJCoia, immunology c. Recent advances in occupational dermatitis.
2013;13(2):145-50.
28. Rosen RH, Freeman SJCD. Prognosis of occupational contact dermatitis in
New South Wales, Australia. 1993;29(2):88-93.
29. Descatha A, Leclerc A, Chastang J-F, Roquelaure YJJoo, medicine e. Medial
epicondylitis in occupational settings: prevalence, incidence and associated
risk factors. 2003;45(9):993.
30. Gerr F, Fethke NB, Anton D, Merlino L, Rosecrance J, Marcus M, et al. A
prospective study of musculoskeletal outcomes among manufacturing
workers: II. Effects of psychosocial stress and work organization factors.
2014;56(1):178-90.

โรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ 65
31. Van Eerd D, Munhall C, Irvin E, Rempel D, Brewer S, Van Der Beek A, et
al. Effectiveness of workplace interventions in the prevention of upper
extremity musculoskeletal disorders and symptoms: an update of the
evidence. 2016;73(1):62-70.
32. Harris-Adamson C, Eisen EA, Dale AM, al. e. Personal and workplace
psychosocial risk factors for carpal tunnel syndrome: a pooled study cohort.
Occup Environ Med 2013;8:529-37.
33. Leclerc A, Landre M-F, Chastang J-F, Niedhammer I, Roquelaure Y, Study
Group on Repetitive Work %J Scandinavian journal of work e, et al. Upper-
limb disorders in repetitive work. 2001:268-78.
34. Herquelot E, Guéguen A, Roquelaure Y, Bodin J, Sérazin C, Ha C, et al.
Work-related risk factors for incidence of lateral epicondylitis in a large
working population. 2013:578-88.
35. Descatha A, Dale AM, Jaegers L, Herquelot E, Evanoff BJOEM. Self-reported
physical exposure association with medial and lateral epicondylitis incidence
in a large longitudinal study. 2013;70(9):670-3.
36. Shiri R, Viikari-Juntura EJBp, rheumatology rC. Lateral and medial epicondylitis:
role of occupational factors. 2011;25(1):43-57.

66 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 4

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ
(Health Risk Assessment)

พญ.กวินทรา คันธรส

เนื้อหา
• หลักการทั่วไปในการประเมินความเสี่ยง
• ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ
• การจัดการความเสี่ยง

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 67
บทน�ำ
จากเนื้อหาในบทที่ 1 ที่ได้กล่าวถึงชนิดของสิ่งคุกคามและความเสี่ยง และ
บทที่ 3 ที่ได้กล่าวถึงโรคจากการท�ำงานที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติแล้วนั้น ในบทนี้
จะอธิบายถึงหลักการและขั้นตอนของการประเมินความเสี่ยง เพื่อให้ผู้อ่านได้
เข้าใจ ว่าเหตุใดคนท�ำงานบางคนที่ท�ำงานในที่ท�ำงานเดียวกัน ทั้งที่มีความเสี่ยง
เท่ากัน แต่ท�ำไมบางรายถึงเป็นโรคจากการท�ำงาน ในขณะที่บางรายไม่เป็นโรค
จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การสัมผัสสารเคมีจากการท�ำงานมีผลกระทบต่อ
สุขภาพมากกว่าการสัมผัสจากสิ่งแวดล้อม(1) แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยส่งเสริมอื่น เช่น
เศรษฐานะ สถานภาพการจ้างงาน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุข การสูบ
บุหรี่ และการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น(1)
ซึง่ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวควรรูจ้ กั วิธกี ารประเมินความเสีย่ งทางสุขภาพ
เพือ่ ทีจ่ ะได้ใช้ความรูใ้ นการท�ำเวชปฏิบตั ิ อธิบายให้ผปู้ ว่ ยเข้าใจ เพือ่ ส่งเสริมสุขภาพ
ให้แก่คนท�ำงานได้

หลักการทั่วไปในการประเมินความเสี่ยง(2)
การบ่งชี้ความเป็นอันตราย (Hazard Identification)
การประเมินขนาดและการตอบสนอง (Dose - Response Assessment)
การประเมินระดับการสัมผัส (Exposure Assessment)
การอธิบายลักษณะความเสี่ยง (Risk Characterization)

68 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตารางที่ 4.1 : ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงและตัวอย่างค�ำถามที่น�ำไปสู่
การประเมินความเสี่ยงสุขภาพ(2)
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง ตัวอย่างค�ำถามที่ผู้ประเมินใช้ถาม

การบ่งชี้ความเป็นอันตราย - มีสารใดบ้างที่เป็นอันตรายต่อคนอันตราย
(Hazard Identification) อย่างไร
- มีสารดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพผ่านช่องทาง
ใด (เช่น มลพิษทางอากาศ สูดดม)

การประเมินขนาดและ - จะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่สัมผัสสารเคมีนี้ใน
การตอบสนองต่อสาร ระดับที่ต่างกัน
(Dose - Response Assessment) - สารเคมีดังกล่าวท�ำให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่

การประเมินระดับการสัมผัส - มีแหล่งก�ำเนิดของสารเคมีที่ไหนบ้าง และ


(Exposure Assessment) ระยะเวลาการสัมผัสนานเท่าไร
- จ�ำนวนผู้สัมผัสสารเคมีหรือสิ่งคุกคามต่าง ๆ
- ช่องทางการรับสัมผัส
- ขนาดของการรับสัมผัส

การอธิบายลักษณะความเสี่ยง - สารเคมีที่ได้รับสัมผัสส่งผลต่อสุขภาพ
(Risk Characterization) อย่างไร
- ใครได้รับผลกระทบบ้าง
- ใครเป็นผู้มีความเสี่ยง
- ผู้ประเมินมั่นใจผลการวิเคราะห์หรือไม่

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 69
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ
หลังจากทีไ่ ด้รจู้ กั ขัน้ ตอนการประเมินความเสีย่ งแบบสังเขปแล้ว ต่อจากนี้
จะเป็นการอธิบายแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียดตามหัวข้อหลักของการประเมิน
ความเสี่ยง
1. การบ่งชีค้ วามเป็นอันตราย (Hazard Identification) เป็นการก�ำหนด
ว่า การสัมผัสต่อสารเคมีแต่ละชนิดนั้น จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างไรได้บ้าง
ไม่วา่ จะเป็น มะเร็ง ภาวะพิการแต่ก�ำเนิด หรือผลกระทบต่อระบบประสาท ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับว่าสารเคมีแต่ละชนิดนั้น มีจุดที่ท�ำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากน้อย
ขนาดไหน ซึ่งในทางปฏิบัติก็ควรระบุให้ชัดเจนว่าสารเคมี หรือสิ่งคุกคามต่าง ๆ
นั้น มีค่าความเป็นพิษหรือไม่ อย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ การได้มาซึ่ง
ข้อมูลของจุดที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของสารเคมีแต่ละชนิดนั้น เป็นการศึกษา
และวิจัยในสัตว์ทดลอง และอนุมานว่า ผลกระทบที่เกิดในสัตว์ทดลองนั้นจะเกิด
กับคนเช่นเดียวกัน(3)
การศึกษาทางระบาดวิทยาของกลุม่ คนทีไ่ ด้รบั สารเคมี เป็นแหล่งข้อมูลทีด่ ี
ที่สุดในการบ่งชี้ความเป็นอันตรายของสารเคมีหรือสิ่งคุกคามต่าง ๆ แต่ก็ยังมีข้อ
70 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
จ�ำกัดอยูม่ าก เนือ่ งจากเป็นการศึกษาทีค่ อ่ นข้างยาก ค่าใช้จา่ ยสูง และมีความเสีย่ ง
สูง(2) จากข้อจ�ำกัดที่กล่าวมาข้างต้น ท�ำให้การศึกษาด้านพิษวิทยาในสัตว์ทดลอง
จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ส�ำคัญ ในการบ่งชี้อันตรายของสารเคมีหรือสิ่งคุกคามต่าง ๆ
ซึ่งการศึกษาลักษณะนี้สามารถควบคุมได้ เพราะเป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการ
และจะสามารถระบุสาเหตุของการเกิดอันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาใน
สัตว์ทดลองก็ยงั คงมีขอ้ จ�ำกัด เนือ่ งจากสัตว์ทดลองทีใ่ ช้อาจไม่ใช่สายพันธุท์ เี่ หมาะสม
ที่จะน�ำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยง
การใช้ขอ้ มูลทางด้านพิษวิทยาของสัตว์ทดลองมาใช้ในการประเมินความเสีย่ ง
ต่อสุขภาพของคนนัน้ อยู่ภายใต้สมมุติฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ขนาดของ
สารเคมีที่เป็นพิษในคนและในสัตว์ทดลองมีขนาดใกล้เคียงกัน และหากสารเคมี
ที่พบเป็นสารก่อมะเร็งในคน ก็จะต้องพบว่า สารเคมีดังกล่าวนั้นก่อมะเร็งในสัตว์
ทดลองอย่างน้อย 1 สายพันธุ์ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สัตว์ทดลองแต่ละสายพันธุ์มี
ระบบเผาผลาญและการก�ำจัดของเสีย รวมไปถึงลักษณะทางร่างกายที่แตกต่าง
กันไป ดังนั้น ความแตกต่างดังกล่าวจึงต้องมีการศึกษาโดยละเอียด ก่อนจะสรุป
ผลความเป็นพิษต่อคน(4)
การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาส่วนมากมีข้อจ�ำกัดท�ำยากในการสรุปผล
เนื่องจาก
1. การหากลุ่มเปรียบเทียบ หรือกลุ่มควบคุมที่เป็นตัวแทนของกลุ่มที่ไม่ได้
รับสัมผัสสารที่แท้จริงท�ำได้ยาก
2. มีตัวแปรกวน (Confounding factors) เยอะและยากที่จะควบคุม เช่น
การสูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด เป็นต้น
3. ข้อมูลการได้รบั สารเคมีไม่แน่นอนเมือ่ เป็นการศึกษาย้อนหลัง ไม่สามารถ
ท�ำการประเมินการสัมผัสสารเคมีทเี่ กิดขึน้ ในอดีตได้ การท�ำงานในอดีตอาจมีการรับ

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 71
สัมผัสทีส่ งู กว่าในปัจจุบนั (4) ท�ำให้สร้างความสัมพันธ์ของการตอบสนองกับปริมาณ
พิษที่ได้รับ Dose - Response Relationship ได้ยากในงานทางระบาดวิทยา
4. การติดตามการเกิดโรคบางชนิดใช้เวลานาน
5. การศึกษาทางระบาดวิทยาที่ไม่พบการเกิดโรคจะไม่ได้ข้อสรุป

ในเรื่องเกี่ยวกับการบ่งชี้ความเป็นอันตราย มักใช้ในการระบุสารก่อมะเร็ง
โดยทีส่ ารก่อมะเร็งทีพ่ บในรายงานต่าง ๆ จะเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองอย่าง
น้อย 1 สายพันธุ์ ซึง่ สารเคมีสว่ นมากทีพ่ บว่าเป็นสารก่อมะเร็งเป็นการสรุปผลจาก
การศึกษาในสัตว์ทดลอง ส่วนใหญ่ไม่มีผลการศึกษาทางระบาดวิทยาว่าเป็นสาร
ก่อมะเร็งในคนหรือไม่(4) การจ�ำแนกประเภทของสารก่อมะเร็งที่นิยมใช้โดยทั่วไป
จะอ้างอิงตามการจัดกลุ่มสารก่อมะเร็งของ The International Agency for
Research on Cancer (IARC) ดังนี(5)้

72 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
Group 1 : Known Human Carcinogen
Group 2A : Probable Human Carcinogen
Group 2B : Possible Human Carcinogen
Group 3 : Not Classified as to Human Carcinogenicity
Group 4 : Probably Not Carcinogenic in Human
ในส่วนของสารเคมีที่ไม่ท�ำให้เกิดมะเร็ง เรียกว่า “Systemic Toxicant”
เป็นสารทีท่ ำ� ให้เกิดพิษต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ซึง่ อวัยวะทีเ่ กิดอันตราย
จะเป็นอวัยวะที่อยู่ห่างจากจุดที่ได้รับสัมผัสสารเคมี ส่วนการที่ผลจากสารเคมี
เกิดขึ้นที่ต�ำแหน่งที่มีการได้รับสัมผัสสารจะเรียกว่าเป็น “การเกิดพิษเฉพาะที่”
(Local Toxicity)

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 73
2. การประเมินขนาดและการตอบสนอง (Dose - Response Assessment)
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารเคมีใด ๆ ที่ได้รับสัมผัส กับ
ผลกระทบทางสุขภาพทีค่ าดว่าอาจจะเกิดจากสารเคมีนนั้ ๆ ซึง่ การประเมินในขัน้ ตอน
นี้ เราจะได้ข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง กล่าวคือ ให้สัตว์ทดลองได้รับสาร
เคมีทคี่ าดว่าเป็นสารตัวเดียวกับทีค่ นได้รบั หรือได้สมั ผัสและอยูใ่ นสิง่ แวดล้อมหรือ
ในสถานที่ท�ำงานลักษณะเดียวกันกับคน
สารเคมีที่ประเมินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามขนาดของ
การตอบสนอง คือ สารเคมีทมี่ ี Threshold dose และสารเคมีทไี่ ม่มี Threshold
dose หลักการพื้นฐาน คือ เราจะศึกษาขนาดและปริมาณที่แน่ชัดที่ไม่ก่อให้เกิด
ผลกระทบจากสารเคมีดังกล่าว กล่าวคือ การประเมินความเสี่ยงจากการตอบ
สนองต่อสารเคมีชนิด Non-threshold effect เราจะระบุจดุ สิน้ สุดทีต่ อบสนองต่อ
สารเคมี ได้ดที สี่ ดุ และจุดสูงสุดทีจ่ ะไม่ทำ� ให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพจากสารเคมี
นัน้ ๆ (NOAEL; no observes adverse effect level) หากสารเคมีใดไม่สามารถ
ระบุ NOAEL ได้ เนื่องจากไม่สามารถหาขนาดที่จะไม่ท�ำให้เกิดผลกระทบได้ ก็จะ
ใช้ค่าต�่ำสุดที่ท�ำให้เกิดผลกระทบ (LOAEL; lowest observed adverse effect
level) ดังแสดงในรูปที่ 4.1(6)
74 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
Liver toxicity

Response

(NOAEL)
(LOAEL)

Dose(mg/kg - day)

Benchmark Dose/
Concentration Lower
Confidence Limit
Response

(BMDL/BMCL)

Lowest-Observed-Adverse-
Effect Level (LOAEL)
Benchmark
Response No-Observed-Adverse-Effect Level
(NOAEL)
(BMR)
Benchmark Dose/Concentration

Dose or Concentration
Point of Departure
(POD)

รูปที่ 4.1 : การตอบสนองของร่างกายต่อขนาดของสารเคมี(7)


การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 75
3. การประเมินระดับการสัมผัส (Exposure Assessment)
หากกล่าวถึงการประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีที่มีผลกระทบ
ทางสุขภาพแล้วนั้น การจะท�ำให้ไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือ
การก�ำจัดแหล่งสารเคมีนั้นไป หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสต่อสารเคมีดังกล่าว แต่ใน
ทางปฏิบัติ การที่จะก�ำจัดสารเคมีแต่ละชนิดนั้นเป็นไปได้ยาก ฉะนั้น การประเมิน
ระดับของการสัมผัส จึงเป็นขั้นตอนที่จะประเมินการรับสาร การสัมผัสสารเคมี
ทั้งจากสิ่งแวดล้อม และในสถานที่ท�ำงาน ไม่ว่าจะสัมผัสโดยวิธีการรับประทาน
การสูดดม หรือการสัมผัสโดยตรงผ่านทางผิวหนังก็ตาม ผลของการประเมินระดับ
การสัมผัสจะออกมาในรูปของปริมาณสารเคมีต่อน�้ำหนักต่อเวลา เช่น มวลของ
สารเคมีที่ได้รับต่อน�้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน (mg/kg - day) หรือปริมาณสาร
เคมีที่ได้รับโดยเฉลี่ยต่อวันตลอดชีพ (Lifetime average daily dose - LADD)

76 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
การประเมินระดับการสัมผัสนี้ ขั้นแรกจะต้องทราบขนาดของประชากร
ที่ได้รับสารเคมีที่เราจะประเมิน ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้รับสัมผัสนั้น จะต้อง
เป็นประชากรทีส่ มั ผัสจริง ยกตัวอย่างเช่น มีกลุม่ บุคคลจ�ำนวนมากทีไ่ ด้รบั สารเคมี
ที่ปนเปื้อนมากับน�้ำ แต่หากสารเคมีดังกล่าวจะเจือปนเฉพาะน�้ำที่อยู่ในตัวอาคาร
เท่านัน้ ประชากรทีส่ มั ผัสก็จะลดลง นับเฉพาะกลุม่ บุคคลทีท่ ำ� งานในอาคารเท่านัน้
และการศึกษาระดับการสัมผัสนี้ จ�ำเป็นจะต้องทราบข้อมูลของแต่ละบุคคล ไม่
ว่าจะเป็นอายุ เพศ สภาวะสุขภาพ หรือแม้แต่เชื้อชาติ วัฒนธรรมการด�ำรงชีวิต
เนื่องจากการตอบสนองต่อสารเคมีนั้นค่อนข้างจะมีความจ�ำเพาะในแต่ละบุคคล
ตัวอย่างแผนผังการรับสัมผัสและการเกิดอาการ แสดงในรูปที่ 4.2

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 77
แหล่งก�ำเนิด

ทางเข้าสู่ร่างกาย ช่องทางการได้รับสัมผัส ความเข้มข้นในสิ่งแวดล้อม


เช่น ดิน/อาหาร/น�้ำ/อากาศ
หายใจ/กินดื่ม/ผิวหนัง Exposure Pathway สินค้าอุปโภคหรื อบริ โภคต่างๆ

ความเข้มข้นของการได้รับสัมผัส
Exposure concentrations

Intake คน
ปริ มาณที่คาดว่าได้รับ
Potential Dose

ปริ มาณที่วา่ ได้รับ


Applied Dose
Uptake
ปริ มาณภายในร่างกาย
Internal Dose

ปริ มาณที่ส่งผลกระทบทางชีวภาพ
Biological Effective Dose

ผลกระทบทางชีวภาพ
Biological Effective

อาการไม่พึงประสงค์
Adverse Effective

รูปที่ 4.2 : แผนผังการรับสัมผัสและการเกิดอาการ(9)

78 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
การสัมผัสสารเคมีนนั้ เกิดขึน้ ได้ทงั้ ทางตรงและทางอ้อม โดยปัจจัยส�ำคัญที่
จะมีผลต่อการรับสัมผัสสารนัน้ ขึน้ อยูก่ บั หลายองค์ประกอบ เช่น ความเข้มข้นของ
สารเคมีที่ได้รับสัมผัส ช่วงเวลาที่ได้รับต่อวัน ความถี่ที่ได้รับต่อปี จ�ำนวนปีที่ได้รับ
สาร น�้ำหนักตัว และระยะเวลาเฉลี่ยที่ได้รับ
4. การประเมินลักษณะความเสี่ยง (Risk Characterization)
ขั้นตอนการประเมินลักษณะความเสี่ยงนี้ ผู้ประเมินจะต้องแปลผลและ
สรุปผลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลใน 3 ขั้นตอนแรก เพื่อระบุถึงผลกระทบต่อ
สุขภาพของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับสัมผัสสารเคมีหรือสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ
ให้ออกมาในรูปของตัวเลขแสดงค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ
จากการสัมผัสสารเคมีหรือสิ่งคุกคามต่อสุขภาพต่าง ๆ เพื่อน�ำไปใช้ประโยชน์ใน
การป้องกันบุคคลหรือกลุ่มบุคคล หากจ�ำเป็นต้องสัมผัสสารเคมีหรือสิ่งคุกคาม
ต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต
ในทางอาชีวเวชศาสตร์ เราจะน�ำค่าที่คิดว่าปลอดภัยที่ค�ำนวณได้จาก
กระบวนการประเมินความเสี่ยง ร่วมกับประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
และน�ำมาพิจารณาในเชิงนโยบาย จนสามารถน�ำค่านั้นมาก�ำหนดเป็นค่าที่เรียก
ว่า Occupational Exposure Limit (OEL) ออกบังคับใช้ทางกฎหมาย (กรณี
องค์กรผูม้ อี ำ� นาจออกกฎหมาย) หรือเป็นค�ำแนะน�ำทางวิชาการ (กรณีองค์กรด้าน
วิชาการ) เพือ่ ให้สถานประกอบการต่าง ๆ ได้ใช้อา้ งอิง เพือ่ ควบคุมไม่ให้ระดับของ
สิง่ คุกคามในสิง่ แวดล้อมการท�ำงานสูงเกินกว่าระดับทีก่ ำ� หนด เพือ่ ความปลอดภัย
ของคนท�ำงาน(10) ตัวอย่างเช่น ค่า Permissible Exposure Limit (PEL) ทีก่ ำ� หนด
โดยองค์กร Occupational Safety and Health Administration (OSHA) แห่ง
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 79
การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
เมือ่ มีการประเมินความเสีย่ งทางสุขภาพแล้ว สิง่ ส�ำคัญต่อมาก็คอื การจัดการ
ความเสีย่ ง กระบวนการจัดการความเสีย่ งทีด่ จี ะต้องเลือกวิธกี ารจัดการความเสีย่ ง
ทีเ่ หมาะสม และเป็นไปได้ในทางปฏิบตั ิ และด�ำเนินการในช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมด้วย
ซึง่ จะต้องท�ำควบคูไ่ ปพร้อมกับการสือ่ สารความเสีย่ ง (Risk Communication) ซึ่ง
เป็นกระบวนการที่ท�ำเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงให้ตรงกัน
ทั้งผู้ประเมินและผู้ที่สัมผัสความเสี่ยง การน�ำเสนอข้อมูลเพื่อสื่อสารความเสี่ยง
นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ข้อมูลวิชาการที่สื่อสารต้องตรงกับความเป็นจริง ต้อง
ท�ำให้เกิดความตระหนักรูใ้ นอันตรายทีอ่ าจเกิดจากความเสีย่ งนัน้ โดยวิธกี ารอย่าง
ละมุนละม่อม เพือ่ ไม่ให้เกิดความตืน่ ตระหนกและหวาดกลัวจนมากเกินไป ทัง้ นีท้ งั้
นั้นกระบวนการสื่อสารความเสี่ยงควรเป็นไปเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ และท�ำให้
กลุ่มเสี่ยงนั้นสามารถดูแลตนเองและรับมือกับความเสี่ยงนั้นได้อย่างเหมาะสม(10)

สรุป
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงมีความจ�ำเป็นและมีความส�ำคัญในการน�ำ
ข้อมูลทีไ่ ด้มาวิเคราะห์ เพือ่ ให้ทราบถึงอันตรายของสิง่ คุมคามนัน้ ๆ แพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัวควรจะมีความสามารถในการประเมิน ซักประวัตเิ พือ่ สอบถามถึงความเสีย่ ง
ที่ผู้ป่วยอาจจะได้รับจากสถานที่ท�ำงาน หากแนะน�ำการดูแลตนเองเบื้องต้นแล้ว
ผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น หรือต้องการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือหรือวิธีเฉพาะ ควรส่งต่อให้
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์เพื่อท�ำการตรวจสอบเพิ่มเติมต่อไป

80 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เอกสารอ้างอิง
1. International Agency for Research on Cancer (IARC). Monographs on the
evaluation of carcinogenic risks to humans. (Online) [Accessed 2018
January 9] Available from: https://monographs.iarc.fr / ENG/Classification/
ClassificationsAlphaOrder.pdf.
2. Michael J.DiBartolomeis. Health Risk Assessment. In: Joseph LaDou, editor.
Current Occupational Environmental Medicine. Third edition. Singapore:
The McGraw-Hill Companies, Inc; 2004. 803-817
3. Backer RA. Risk Assessment of Chemical carcinogens. In: Ruchirawat
M, Shank RC, editors. Capacity Building Module. Environmental Center
Toxicology. Volume 3, Chulabhorn Research Institute. International Center
for Environmental and Industrial Toxicology (ICEIT). Bangkok: United Expo
Co., Ltd; 1992. p.49-75.
4. รศ.ดร. พรพิมล กองทิพย์. การประเมินการสัมผัสและความเสีย่ งต่อสุขภาพ. 1. กรุงเทพฯ:
หจก.เบสท์ กราฟฟิค เพรส; 2556.
5. World Health Organization International Agency for Research on Cancer
IARC Monographs on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. Lists
of IARC Evaluation. Lyon: IARC; 1993
6. Araya M, Chen B, Klevay LM, et al. 2003a. Confirmation of an acute no-
observed-adverse-effect and low-observed-adverse-effect for copper in
bottled drinking water in multi-site international study. Reg Tox Phamacol
38:389-399.
7. Araya M, Chen B, Klevay LM, et al. 2001. Determination of an acute no-
observed-adverse-effect level (NOAEL) for copper in water. Regul Tox
Phamacol 34(2):137-148.

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 81
8. Kolluru RV. Health Risk Assessment. Principles and Practices. In: Kolluru
RV. Bartell SM, Pitblado RM, Stricoff RS. editors. Risk Assessment and
Management Handbook for Environment, Health, and Safety Profrssionals..
New York: McGraw-Hill, Inc; 1996. p.4.3-4.68.
9. ดร.เพ็ญศรี วัจฉละญาณ. การประเมินความเสีย่ ง การจัดการความเสีย่ งและการตอบโต้
ความเสี่ยง. ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม: คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
10. สิรวิชญ์ เดชธรรม. ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ. ใน: วิวัฒน์ เอกบูรณะ
วัฒน์, สิรวิชญ์ เดชธรรม, นวพรรณ ผลบุญ. แรกเริม่ เรียนรูอ้ าชีวเวชศาสตร์. ชลบุร:ี สัมมา
อาชีวะ; 2554. หน้า 17-9.

82 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 5

การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ
(Health Promotion in Workers)

พญ.มธุรมาศ สีเสน

สุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ
• สุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ
• หลักการและความส�ำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ
• รูปแบบของการส่งเสริมสุขภาพ
• บทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาพผูป้ ระกอบ
อาชีพ

การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 83
บทน�ำ
เมื่ อ เข้ า ใจหลั ก การของอาชี ว เวชศาสตร์ แ ละโรคจากการท� ำ งานแล้ ว
อี ก องค์ ป ระกอบหนึ่ ง ในการดู แ ลสุ ข ภาพที่ ส� ำ คั ญ ไม่ น ้ อ ยกว่ า การรั ก ษาโรค
ก็ คือ การส่งเสริมสุขภาพ โดยในบทนี้จะกล่าวถึง ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและ
แนวทางการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้แพทย์น�ำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลคน
ท�ำงานให้มีสุขภาพดี

สุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ
ค�ำว่า “สุขภาพ” ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก หมายถึง ภาวะแห่ง
ความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และการด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุก มิใช่
เพียงการปราศจากโรคหรือทุพพลภาพเท่านั้น (1) ซึ่งการที่คนจะมีสุขภาพดีได้ขึ้น
อยู่กับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง (2) และจากตัวบุคคล เช่น พันธุกรรม เพศ และพฤติกรรมทางสุขภาพ
ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพนั้นถึงแม้วา่ จะเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลแต่ก็ถูกควบคุมโดย
อิทธิพลของปัจจัยอื่น เช่น รายได้ สถานะทางสังคม วัฒนธรรม การศึกษา หรือ
การเข้าถึงบริการทางสุขภาพ(3)

84 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
- บ้าน - นโยบายของรัฐ
- ที่ท�ำงาน - ระบบเศรษฐกิจ
- เพื่อนบ้านและชุมชน Macro-level - วัฒนธรรมและค่า
- ร้านอาหาร enverironment นิยมในการบริ โภค
- ตลาด - ระบบการผลิตและ
- ร้านสะดวกซื้อ กระจายอาหาร
Physical - การตลาดและ
enverironment การโฆษณา

- ความรู้ ทัศนคติ Social


ความชอบ enverironment
การให้คุณค่า
- พฤติกรรมและ
ความสามารถ Individual - เพื่อน
- วิถีชีวิต factors - ครอบครัว
- ปัจจัยทางชีวภาพ
- เช่น พันธุกรรม เพศ
อายุ
- รายได้

รูปที่ 5.1 : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกบริ โภคอาหาร ดัดแปลงจาก


An ecological framework depicting the multiple influences
on what people eat. (Story M et al., 2008)

จากรูปที่ 5.1 ข้างต้น แสดงถึงปัจจัยแต่ละระดับที่มีผลต่อพฤติกรรม


การรับประทานอาหารของบุคคล (4)
ยกตัวอย่างเช่น ผู้มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานที่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม
โดยจะเลือกรับประทานอาหารพลังงานต�่ำ แม้จะมีความรู้เรื่องโภชนาการและมี
แรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นปัจจัยส่วนบุคคล (Individual factors) ที่
เหมาะสม แต่อาหารที่จ�ำหน่ายในโรงอาหารของที่ท�ำงานเป็นอาหารที่ให้พลังงาน
สูง ถือเป็นปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment) และเพือ่ นร่วม
งานมักรับประทานน�้ำหวานและขนมขบเคี้ยวในเวลาพัก ถือเป็นปัจจัยแวดล้อม
การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 85
ทางสังคม (Social environment) ซึ่งอาจท�ำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่
ส�ำเร็จ ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพจึงต้องให้ความส�ำคัญกับปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผล
ต่อสุขภาพด้วย

หลักการและความส�ำคัญของการส่งเสริ มสุขภาพ
องค์การอนามัยโลกได้ให้ค�ำนิยามของการส่งเสริมสุขภาพ (Health
promotion) ว่าหมายถึงกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะใน
การควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเอง โดยในการส่งเสริมสุขภาพนั้น เรา
สามารถแบ่งประชากรออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสุขภาพดี กลุ่มที่มีปัจจัย
เสี่ยง กลุ่มที่มีอาการ และกลุ่มที่มีโรค ซึ่งแต่ละกลุ่มมีวิธีการส่งเสริมสุขภาพ
และเป้าหมายที่แตกต่างกัน (2) ดังแสดงในรูปที่ 5.2

กรอบแนวคิดและกลยุทธ์ส่งเสริ มสุขภาพในประชากร

กลุ่มสุขภาพดี กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง กลุ่มที่มีอาการ กลุ่มที่มี โรค

- ส่งเสริ มวิถีสุขภาพดี - ส่งเสริ มวิถีสุขภาพดี - ค้นหาปัญหาตั้งแต่ต้น - ให้การรักษา


- ป้องกันปัจจัยเสี่ยง - ป้องกันปัจจัยเสี่ยง - ให้การรักษา - คงไว้ซึ่งวิถีสุขภาพดี
- ป้องกันปัญหาสุขภาพ - ป้องกันปัญหาสุขภาพ - คงไว้ซึ่งวิถีสุขภาพดี - ฟื้นฟู
- ฟื้นฟู

รูปที่ 5.2 : กรอบแนวคิดเรื่ องการส่งเสริ มสุขภาพ ดัดแปลงจาก


Conceptual framework for health promotion
(Kumar S et al., 2012)
86 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เพราะเหตุ ใดจึงต้องมีการส่งเสริ มสุขภาพของคนท�ำงาน

เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ สุขภาพทีด่ สี ง่ ผลให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพมากขึน้ ใน


ขณะเดียวกันงานทีด่ ยี งั ท�ำให้บคุ คลมีสขุ ภาพดี เห็นคุณค่าในตนเองและมีปฏิสมั พันธ์
ทางสังคม (5) ซึง่ ในกลุม่ คนท�ำงานนัน้ นอกจากจะบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยด้วยโรคจาก
การท�ำงานแล้ว คนในวัยนีย้ งั มีปญ ั หาสุขภาพอืน่ ๆ ไม่วา่ จะเป็นโรคไม่ตดิ ต่อเรือ้ รัง
โรคติดเชือ้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และปัญหาสุขภาพจิต จากรายงานภาระโรค
และการบาดเจ็บในประชากรไทย พ.ศ. 2556 พบว่าวัยท�ำงานมีการเสียชีวิตจาก
โรคไม่ตดิ ต่อสูงทีส่ ดุ นอกจากนี้ การส�ำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ยังชี้ให้เห็นว่าคนวัยท�ำงานมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพมากกว่า
วัยอื่น เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ และยังมีความชุกของภาวะอ้วนมากที่สุด (6)
และเนื่องจากคนกลุ่มนี้เป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศและจะกลายเป็น
ผู้สูงอายุในอนาคต การส่งเสริมสุขภาพจึงมีความจ�ำเป็น เพือ่ ป้องกันการเจ็บป่วย
ที่เป็นอุปสรรคในการท�ำงานและให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยสูงอายุ

การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 87
การส่งเสริมสุขภาพไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อคนท�ำงานเท่านัน้ แต่ยังส่ง
ผลดีตอ่ สถานประกอบการ เนือ่ งจากการเจ็บป่วยและกระบวนการรักษาท�ำให้คน
ท�ำงานได้นอ้ ยลงหรือต้องขาดงาน โดยเฉพาะในภาวะเรือ้ รัง ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า หรือ
วิตกกังวล อ้วน ข้ออักเสบ การปวดหลังและคอ ทีเ่ ป็นสาเหตุสำ� คัญของการสูญเสีย
ผลิตภาพ (Productivity)(7) และหากพนักงานเจ็บป่วยจนท�ำงานไม่ได้ หน่วยงาน
ต้องเสียค่าใช้จา่ ยในการสรรหาพนักงานใหม่ เสียทรัพยากรในการอบรมพนักงาน
และผลงานทีล่ ดลงเนือ่ งจากการขาดประสบการณ์ของพนักงานใหม่ ซึง่ ในปัจจุบนั
มีการศึกษาทีช่ ใี้ ห้เห็นความสัมพันธ์ของสุขภาพของคนท�ำงานกับผลิตภาพของงาน
ที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายที่ลดลงของหน่วยงาน (8)

88 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
รูปแบบของการส่งเสริ มสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพแบ่งเป็น 3 รูปแบบตามแนวทางที่ใช้ ได้แก่
1. ใช้พนื้ ทีเ่ ป็นฐาน (Setting-based approach) เช่น ในโรงเรียน โรงพยาบาล
ตลาด หมู่บ้าน และสถานที่ท�ำงาน
2. ใช้ประชากรเป็นฐาน (Population-based approach) เช่น เด็ก วัยรุน่
สตรี ผู้สูงอายุ คนท�ำงาน
3. ใช้ประเด็นเป็นฐาน (Issue-based approach) เป็นการจัดการในประเด็น
จ�ำเพาะหรือเป็นความเสี่ยง เช่น การบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย การสูบบุหรี่
การป้องกันการบาดเจ็บ การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เป็นต้น

เราสามารถใช้หลายรูปแบบ
ร่วมกันได้ เช่น ส่งเสริ มสุขภาพใน
กลุ่มพนักงานวัยรุ่นโรงงานเรื่ อง
การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

องค์การอนามัยโลกได้ให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ โดยได้จดั การ


ประชุมในหัวข้อ กฎบัตรออตตาวาเพือ่ การส่งเสริมสุขภาพ (Ottawa Charter for
Health Promotion) เป็นครัง้ แรกทีก่ รุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ปี ค.ศ. 1986
โดยมีกลยุทธ์ 5 ประการ ซึง่ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทัง้ องค์กรสาธารณสุข ภาครัฐ
และเอกชน(9-11) ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย

การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 89
1. สร้างนโยบายสาธารณะเพือ่ สุขภาพ (Build healthy public policy)
ประกอบด้วยการบังคับใช้กฎหมายหรือนโยบายต่าง ๆ เช่น การคลัง ภาษี
หรือการปรับเปลี่ยนในองค์กร เพื่อน�ำไปสู่สินค้าและบริการที่ปลอดภัยและส่งผล
ดีต่อสุขภาพ เช่น การเพิ่มภาษีสุราและบุหรี่ การควบคุมปริมาณขนมขบเคี้ยวต่อ
บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งการด�ำเนินนโยบายเหล่านี้จ�ำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทั้งในและนอกภาคสาธารณสุข
2. สร้างสิง่ แวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อสุขภาพ (Create supportive environment)
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าสุขภาพของบุคคลมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
การส่งเสริมสุขภาพจึงต้องสร้างสภาวะในการอยูอ่ าศัยและการท�ำงานให้มคี วามปลอดภัย
และน่าพึงพอใจ เช่น สถานที่ท�ำงานถูกสุขลักษณะ ส่งเสริมให้มีการจ�ำหน่าย
อาหารที่มีประโยชน์ในสถานประกอบการ เป็นต้น อีกทั้งยังต้องมีการประเมิน
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลีย่ นแปลงด้านสิง่ แวดล้อม นอกจากนีก้ ารอนุรกั ษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมจะต้องถูกบรรจุในกลยุทธ์สง่ เสริมสุขภาพด้วย
3. เสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข็มแข็ง (Strengthen community
actions)
การส่งเสริมสุขภาพต้องมีการท�ำงานที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
มีการจัดล�ำดับความส�ำคัญของปัญหา การตัดสินใจ การวางกลยุทธ์ และการด�ำเนินการ
ตามกลยุทธ์ โดยหัวใจของกระบวนการนี้คือการเสริมสร้างอ�ำนาจของชุมชนเพื่อ
ให้เกิดความรูส้ กึ เป็นเจ้าของและเกิดการมีสว่ นร่วม ซึง่ ทรัพยากรทีใ่ ช้ทงั้ ทรัพยากร
มนุษย์และวัตถุตอ้ งมาจากชุมชนเอง ซึง่ ถ้าหากชุมชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างต่อเนือ่ ง
มีโอกาสในการเรียนรู้ และมีงบประมาณ ก็จะส่งผลให้ประสบความส�ำเร็จ ตัวอย่าง
เช่น การร่วมมือกันปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษไว้บริโภค โดยมีเกษตรกรในชุมชนที่
มีประสบการณ์เป็นทีป่ รึกษา และมีหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุนงบประมาณ
และเมล็ดพันธุ์
90 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
4. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skills)
การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนการพัฒนาบุคคลและสังคม โดยการให้ขอ้ มูล
ความรูด้ า้ นสุขภาพ และทักษะชีวติ เพือ่ ให้ประชาชนมีบทบาทในการควบคุมสุขภาพ
ของตนเอง ในกระบวนการนีต้ อ้ งอาศัยองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียน บ้าน ทีท่ ำ� งาน
และชุมชน ทีจ่ ะช่วยท�ำให้ประชนชนสามารถเรียนรูต้ ลอดชีวติ เพือ่ เตรียมตัวรับมือ
กับความเจ็บป่วย ตัวอย่างเช่น ให้ความรูเ้ รือ่ งการแปรงฟันและรักษาความสะอาด
ภายในช่องปากแก่นกั เรียนชัน้ ประถมศึกษา จัดอบรมและฝึกปฏิบตั กิ ารออกก�ำลัง
กายในพนักงานในสถานประกอบการ
5. ปรับเปลี่ยนบริการสาธารณสุข (Reorient health service)
การส่งเสริมสุขภาพต้องสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันของบุคคล
ชุมชน บุคลากรสาธารณสุข สถาบันบริการสาธารณสุข และรัฐบาล การบริการสุขภาพ
ต้องเคารพความต้องการในแต่ละวัฒนธรรม สนับสนุนบุคคลและชุมชนเพือ่ ให้มี
สุขภาพทีด่ ขี นึ้ และเปิดกว้างในการร่วมมือกับภาคสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และ
สิง่ แวดล้อม นอกจากนีใ้ นการปรับเปลีย่ นบริการทางสุขภาพต้องให้ความส�ำคัญกับ
การวิจยั สุขภาพ ตลอดจนหลักสูตรอบรมของบุคลากร เพือ่ น�ำไปสูก่ ารให้บริการที่
มองความต้องการของบุคคลแบบองค์รวม

การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 91
บทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบ
อาชีพ
ดังที่ทราบกันว่าบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวคือการดูแลแบบ
องค์รวมให้แก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน ทั้งในด้านกาย จิต สังคม และจิต
วิญญาณ ในประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งการดูแลนี้ไม่ได้มีเพียงการรักษาโรคเท่านั้น แต่
ยังรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอีกด้วย (12) ดังนั้นการส่งเสริมสุข
ภาพผู้ประกอบอาชีพจึงถือเป็นความรับผิดชอบของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่คมู่ อื การจัดบริการสุขภาพ
กลุ่มวัยท�ำงานแบบบูรณาการ 2558 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่ม
วัยท�ำงาน โดยคาดหวังให้เกิดการลดลงของการป่วยและตายในประชากรวัยท�ำงาน
จากโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง หัวใจ หลอดเลือด
สมอง และปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคจากการประกอบอาชีพ และอุบัติเหตุทางถนน
โดยมีผลลัพธ์ที่คาดหวังหลัก 6 ประเด็น (13) ดังรูปที่ 5.3

92 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
การจัดบริ การสุขภาพ
กลุ่มวัยท�ำงาน

1.การสร้างเสริ มสุขภาพ 2. การค้นหาผู้ป่วย ดูแลรักษา


ลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดี

1.1 การบังคับใช้กฏหมาย 2.1 การบริ การประเมิน


สุรา ยาสูบ สุขภาพกลุ่มวัยท�ำงาน

1.2 ต�ำบลจัดการสุขภาพ 2.2 คลินกิ NCD คุณภาพ


1.3 สถานที่ท�ำงาน
สถานประกอบการ
ปลอดโรค ปลอดภัย
กายใจเป็นสุข

3. ระบบสุขภาพอ�ำเภอ

รูปที่ 5.3 : การจัดบริ การสุขภาพกลุ่มวัยท�ำงาน

ในผลลัพธ์เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ลดพฤติกรรมเสี่ยงและลดป่วยนั้น
เป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับใช้กฏหมาย องค์กรชุมชน สถานที่ท�ำงานและ
สถานประกอบการ โดยแพทย์จะมีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ด�ำเนิน
งาน แกนน�ำชุมชน และสถานประกอบการ ในการส่งเสริมสุขภาพประชากรใน
ความรับผิดชอบ รวมทั้งอีกบทบาทของแพทย์ที่ขาดไม่ได้ก็คือ การดูแลบุคลากร
ในหน่วยงานของตนเอง
ในผลลัพธ์อื่น ๆ นั้นจะเห็นได้ว่าเป็นความรับผิดชอบของแพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัว ได้แก่
1. การประเมินสุขภาพกลุ่มวัยท�ำงาน ซึ่งเน้นการคัดกรองโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 93
2. การประเมินสุขภาพในกลุ่มอาชีพเฉพาะ เช่น ประเมินความเสี่ยงในการ
สัมผัสสารก�ำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร
3. คลินกิ NCD คุณภาพ ทีด่ แู ลทัง้ กลุม่ ทีป่ ว่ ยและกลุม่ ทีม่ คี วามเสีย่ งสูง โดย
เน้นการลดพฤติกรรมเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ออกก�ำลังกายไม่
เพียงพอ บริโภคเกลือมาก อ้วน รวมไปถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย
ซึ่งแพทย์ต้องท�ำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพและชุมชน
4. ระบบสุขภาพอ�ำเภอ แพทย์ต้องท�ำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ทั้งในการ
ออกมาตรการส่งเสริมสุขภาพ ด�ำเนินการ และการประเมินผล โดยมุ่งเน้นการมี
ส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

สรุป
กล่าวโดยสรุปคือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีบทบาทในการคัดกรองและ
ลดพฤติกรรมเสี่ยงของโรคที่เกิดในประชากรวัยท�ำงาน ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โรคติดเชือ้ และปัญหาสุขภาพจิต นอกจากนีย้ งั ต้องตระหนักอยูเ่ สมอว่าประชากร
กลุม่ นีม้ คี วามเสีย่ งทีจ่ ะเกโรคจากการท�ำงานถึงแม้จะไม่ได้มหี น้าทีโ่ ดยตรง ในการ
เข้าไปประเมินสิง่ คุกคามและความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดโรคจากการท�ำงาน ถึงแม้จะไม่ได้
มีหน้าทีโ่ ดยตรงในการเข้าไปประเมินสิง่ คุกคามและความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดโรคจากการ
ท�ำงานถึงแม้จะไม่ได้มหี น้าทีโ่ ดยตรงในการเข้าไปประเมินสิง่ คุกคามและความเสีย่ ง
ในสถานประกอบการ แต่แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นแพทย์คนแรกทีผ่ ปู้ ว่ ยมา
พบ จึงเป็นผูต้ ดั สินใจในการส่งต่อไปยังแพทย์อาชีวเวชศาสตรฺเพือ่ ครวจคัดกรองโรค
จากการท�ำงาน นอกจากนีแ้ พทย์เวชศาสตร์ครอบครัวยังมีบทบาทส�ำคัญในการให้
ความรูเ้ รือ่ งผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสิง่ คุกคาม เพือ่ ให้ผปู้ ระกอบอาชีพ
เกิดความตระหนักถึงอันตราย และส่งเสริมให้มีการป้องกันตนเองจากการสัมผัส
สิ่งคุกคามจากการท�ำงาน

94 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เอกสารอ้างอิง
1. World Health Organization. Constitution of the World Health Organization:
principles[Internet]. Geneva: [cite 2018 Apr 1]. [Available from: https://www.
who.int/about/mission/en/.
2. Kumar S, Preetha G. Health promotion: an effective tool for global health.
Indian journal of community medicine : official publication of Indian
Association of Preventive & Social Medicine. 2012;37(1):5-12.
3. World Health Organization. Health Impact Assessment [Internet]. Geneva:
[cite 2018 Apr 1]. [Available from: http://www.who.int/hia/evidence/doh/
en/index1.html.
4. Story M, Kaphingst KM, Robinson-O'Brien R, Glanz K. Creating healthy food
and eating environments: policy and environmental approaches. Annu.
Rev. Public Health. 2008 Apr 21;29:253-72.
5. Shreeve V, Steadman K, Bevan S. Healthy, working economies: improving
the health and wellbeing of the working age population locally. The Work
Foundation. 2015.
6. ส�ำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของ
ประชากรไทย พ.ศ. 2556. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์; 2558.
7. Loeppke R, Taitel M, Haufle V, Parry T, Kessler RC, Jinnett K. Health and
productivity as a business strategy: a multiemployer study. Journal of
Occupational and Environmental Medicine. 2009 Apr 1;51(4):411-28.
8. Hymel PA, Loeppke RR, Baase CM, Burton WN, Hartenbaum NP, Hudson TW,
et al. Workplace health protection and promotion: a new pathway for a
healthier and safer workforce. Journal of occupational and environmental
medicine. 2011 Jun 1;53(6):695-702.

การส่งเสริ มสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 95
9. World Health Organization. The Ottawa charter for health promotion: first
international conference on health promotion, Ottawa, 21 November 1986.
Geneva: World Health Organization; 1986.
10. World Health Organization. Regional strategy for health promotion for
South-East Asia. New Delhi: World Health Organization Regional Office for
South-East Asia; 2008
11. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. วิวัฒนาการการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่
2. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541.
12. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. ความส�ำคัญของเวชศาสตร์ครอบครัว. วารสารระบบบริการปฐม
ภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2553;1(4):4-6.
13. จุรพี ร คงประเสริฐ, นิตยา พันธุเวทย์, ณัฐธิวรรณ พันธุม์ งุ , ลินดา จ�ำปาแก้ว. คูม่ อื การจัด
บริการสุขภาพกลุม่ วัยท�ำงานแบบบูรณาการ 2558. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานกิจการ
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

96 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 6

การตรวจสุขภาพพนักงาน
(Worker Health Checkup)

พญ.วรกัญญ์ เถาหมอ

บทน�ำ
• ตรวจสุขภาพพนักงาน
• การจําแนกกลุ่มคนทํางานตามลักษณะงาน
• การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงในแต่ละคนท�ำงาน
• การทดสอบสมรรถภาพทางกายในงานอาชีวอนามัย

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 97
บทน�ำ
ในการตรวจสุขภาพพนักงานเพือ่ ค้นหาความผิดปกติทางสุขภาพ สิง่ หนึง่ ที่
ควรจะรูจ้ กั ไว้เบือ้ งต้นในด้านอาชีวเวชศาสตร์กค็ อื เรือ่ งของสิง่ คุกคาม (Hazard)
การสัมผัสสิง่ คุกคาม (Exposure) และการประเมินความเสีย่ ง (Risk Assessment)
ซึง่ ได้มกี ารอธิบายไปแล้วในบทที1่ ,3 เรียกได้วา่ เป็นหัวใจส�ำคัญของวิชาอาชีวเวชศาสตร์
เลยทีเดียว เมื่อมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพแล้ว สิ่งส�ำคัญต่อมาก็คือ
การจัดการความเสีย่ ง (Risk Management) ควบคูไ่ ปกับการสือ่ สารความเสีย่ ง (Risk
Communication) ดังนัน้ ในบทนีจ้ ะเชือ่ มโยงขัน้ ตอนหลังการประเมินเพือ่ ออกแบบ
การตรวจสุขภาพตามความเสีย่ งให้เหมาะสมกับพนักงานดังแสดงตัวอย่างในรูปที่ 6.1

98 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
รูปที่ 6.1 : ตัวอย่างแบบฟอร์มรายการแนะน�ำเพื่อการตรวจสุขภาพตาม
ความเสี่ยง โดยแยกเป็นแต่ละลักษณะงาน การสัมผัสสิ่งคุกคาม
การสัมผัสความเสี่ยง ชนิดสารเคมีที่สัมผัส

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 99
การตรวจสุขภาพพนักงาน
สามารถแบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี(1)้
1. การตรวจสุขภาพก่อนบรรจุเป็นพนักงาน สถานประกอบกิจการควร
พิจารณาเกี่ยวกับโรคติดต่ออันตรายตามที่กฎหมายก�ำหนด คือ โรคเรื้อนในระยะ
ติดต่อ วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะทีป่ รากฏอาการ โรคอืน่ ๆ ตาม
ทีส่ ถานประกอบกิจการก�ำหนด เช่น ไวรัสตับอักเสบเอส�ำหรับบุคคลทีจ่ ะท�ำงานใน
ห้องครัว
2. การตรวจสุขภาพก่อนบรรจุเข้าต�ำแหน่งงานหรือก่อนการเปลีย่ นงาน
ของลูกจ้าง เมือ่ มีลกู จ้างใหม่เข้าปฏิบตั งิ าน สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มกี าร
ตรวจสุขภาพครั้งแรกให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าท�ำงาน
หรือกรณีทมี่ กี ารเปลีย่ นงานของลูกจ้างโดยทีง่ านใหม่มอี นั ตรายแตกต่างไปจากเดิม
สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างให้เสร็จสิ้นภายใน
30 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนงาน

100 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
3. การตรวจสุขภาพระหว่างท�ำงานเป็นระยะ สถานประกอบการควรจัด
ให้มกี ารตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสีย่ งทางด้านเคมีและกายภาพให้กบั ลูกจ้าง อย่าง
น้อยปีละ 1 ครัง้ (หรือตามปัจจัยเสีย่ ง) หรือกรณีพบว่าผลการตรวจสุขภาพลูกจ้าง
มีสารเคมีในร่างกายสูงเกินกว่าระดับปกติ อาจมีการตรวจมากกว่า 1 ครั้ง โดย
พิจารณารายการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง
4. การตรวจสุขภาพเพือ่ ประเมินสภาวะสุขภาพหลังการประสบอันตราย
หรือเจ็บป่วย เป็นการตรวจเพื่อประเมินความแข็งแรงของร่างกาย และความ
สามารถในการกลับเข้าท�ำงานของลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และ
หยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป เพื่อสรุปว่าลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานเดิมได้หรือควร
ปรับเปลี่ยนงาน หากปฏิบัติงานเดิมได้ควรต้องมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม
5. การตรวจสุขภาพก่อนออกจากงาน สถานประกอบการควรจัดให้มกี าร
ตรวจสุขภาพก่อนออกจากงาน เพือ่ ทราบสภาวะสุขภาพของลูกจ้างทีก่ ำ� ลังจะออก
จากงาน เพื่อเก็บเป็นหลักฐานทางด้านสุขภาพจากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงทางด้าน
เคมีและกายภาพของลูกจ้าง

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 101
หากเป็นการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงทางด้านเคมีสามารถจ�ำแนก
แนวทางการตรวจออกเป็น 3 ลักษณะ(1) คือ
1. การตรวจผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นการตรวจสอบสถานะสุขภาพของ
ลูกจ้าง เพื่อดูอาการแสดงเริ่มแรกของความผิดปกติของสุขภาพของลูกจ้าง
2. การตรวจเพือ่ เฝ้าระวังการสัมผัส เช่นการตรวจปริมาณสารเคมีทรี่ า่ งกาย
ได้รับพิจารณาใช้ส�ำหรับสารเคมีที่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้และการเก็บตัวอย่าง
อากาศเพื่อประเมินการสัมผัสไม่พอเพียงที่จะประเมินปริมาณสารที่ร่างกายได้รบั
จากการท�ำงาน ซึง่ ท�ำได้โดยการเก็บสารคัดหลัง่ หรือเนือ้ เยือ่ จากร่างกายของลูกจ้าง
ตามเวลาการเก็บตัวอย่างที่ก�ำหนด
3. การตรวจผลกระทบทางร่างกาย เป็นการตรวจสถานะสุขภาพอื่น ๆ
เพื่อใช้ประกอบในการวินิจฉัยการก่อโรคโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์
ทั้งนี้แพทย์ควรพิจารณารายการตรวจสุขภาพโดยอาศัยข้อมูลสิ่งคุกคาม
ข้อมูลการรับสัมผัสสิ่งคุกคาม ข้อมูลการตรวจประเมินสิ่งแวดล้อมภายในสถาน
ประกอบการ และข้อมูลการประเมินความเสี่ยงที่สถานประกอบการระบุไว้ รวม
ถึงการศึกษาคู่มือ ค�ำแนะน�ำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท�ำงานของพนักงาน ทั้งนี้
อาจปรึกษาแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เพือ่ ร่วมก�ำหนดรายการตรวจสุขภาพให้จำ� เพาะ
และเหมาะสมกับความเสี่ยงของพนักงานแต่ละคน

การจ�ำแนกกลุ่มคนท�ำงานตามลักษณะงาน(2)
ในแต่ละสถานประกอบการอาจมีคนท�ำงานจ�ำนวนมาก เราอาจแบ่งคน
ท�ำงานออกเป็นกลุม่ ตามลักษณะงาน เป็นการจัดกลุม่ ทีเ่ หมือนกัน เพือ่ ให้งา่ ยต่อการ
พิจารณารายการตรวจสุขภาพในสถานประกอบการ โดยแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

102 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
1. งานธุรการและงานบริหาร (Clerical and administrative) ส�ำหรับ
ผู้ที่ท�ำงานเกี่ยวข้องกับการเตรียม การวิเคราะห์ข้อมูลและตัวเลข บัญชี งานพิมพ์
หรืองานเกีย่ วกับเครือ่ งใช้สำ� นักงานอืน่ ๆ งานธุรการ พนักงานเหล่านีจ้ ะท�ำงานใช้
สายตาที่ใกล้ แต่เกินกว่า 14 นิ้ว
2. กลุม่ งานเกีย่ วกับการตรวจสอบและงานทีท่ ำ� ใกล้เครือ่ งจักร (Inspection
and close machine work) บุคคลทีท่ ำ� งานเกีย่ วกับการตรวจสอบข้อบกพร่อง
หรือจุดเล็ก ๆ ของการท�ำงานของเครือ่ งจักรกล งานประกอบ งานประดิษฐ์ชนิ้ ส่วน
เล็ก ๆ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ใช้สายตาที่ห่างจากสายตาน้อยกว่า 14 นิ้ว
3. กลุ่มงานที่ควบคุมเครื่องจักร เครื่องกลที่เคลื่อนไหวได้ (Operator
of mobile equipment) บุคคลที่ท�ำงานเกี่ยวกับการขับรถบรรทุก รถยกของ
รถเครน รถพ่วง เป็นต้น เน้นความสามารถในการกะระยะที่วัตถุห่างจากนัยน์ตา
4. กลุม่ งานทีค่ วบคุมเครือ่ งจักร (Machine operators) บุคคลทีท่ ำ� งาน
เกี่ยวกับเครื่องจักร เช่น เครื่องกลึง เครื่องเจาะโลหะชนิดใหญ่ เช่น เลื่อยไฟฟ้า
เครื่องบดวัตถุ ขอบเขตสายตาจะอยู่ในระยะเหยียดแขน
5. กลุ่มงานช่างและผู้ที่ต้องท�ำงานอาศัยทักษะเฉพาะทาง (Mechanic
and Skill trade man) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานดังนี้ ช่างไม้ ช่างไฟ ช่างติดตั้ง
ช่างประปา คนงานก่อตึก ช่างทาสี เป็นต้น
6. กลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled labor) บุคคลที่ท�ำงานพื้นฐานทาง
ด้านความถูกต้อง ความสะอาดเรียบร้อย และการท�ำงานทีป่ ราศจากอุบตั เิ หตุ เช่น
คนท�ำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานยกของ

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 103
การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงในแต่ละคนท�ำงาน
การตรวจสุขภาพตามความเสีย่ งในแต่ละคนท�ำงานอาจไม่เหมือนกันทุกคน
เราจะใช้ลกั ษณะงานของแต่ละคนในการระบุวา่ คนท�ำงานแต่ละคนต้องตรวจสุขภาพ
ตามความเสีย่ งอะไรบ้าง จะต้องเริม่ จากการเดินส�ำรวจสถานประกอบการ (Walk
through survey) เพื่อเก็บข้อมูลว่า สถานประกอบการนี้ท�ำอะไร มีกี่แผนก มีคน
ท�ำงานกี่คน แต่ละแผนกท�ำหน้าที่อะไรบ้าง แต่ละแผนกต้องสัมผัสกับสิ่งคุกคาม
อะไรบ้าง รวมถึงแต่ละแผนกมีโอกาสเกิดความเสีย่ งในเรือ่ งใดบ้าง แล้วน�ำข้อมูลที่
ได้จากการเดินส�ำรวจสถานประกอบการ มารวมกับข้อมูลผลการตรวจสิง่ แวดล้อม
ในสถานประกอบการ เราจึงจะระบุได้วา่ คนท�ำงานแต่ละคนต้องตรวจสุขภาพตาม
ความเสี่ยงอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
• พนักงานทุกคน พนักงานทัว่ ไป พนักงานท�ำความสะอาด ยาม แม่บา้ น
และพนักงานที่ไม่มีความเสี่ยงจากการท�ำงาน หากพนักงานเหล่านี้ไม่มีโอกาส
สัมผัส Hazard เช่น เสียงดัง สารเคมี ฝุน่ ละออง หรือท�ำงานทีต่ อ้ งใช้ความละเอียด
ของสายตาหรืองานที่ต้องใช้ความช�ำนาญเฉพาะด้านอื่นๆ อาจตรวจสุขภาพเพียง
การตรวจสุขภาพเบือ้ งต้นตามแนวทาง "คูม่ อื การจัดบริการสุขภาพกลุม่ วัยท�ำงาน
104 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
แบบบูรณาการ 2558" เช่น ความดัน การตรวจร่างกายเบือ้ งต้นโดยแพทย์ การฟัง
เสียงหัวใจ การฟังเสียงปอด ความสมบูรณ์ของเลือด ปัสสาวะ ส�ำหรับในรายทีอ่ ายุ
35 ปีขนึ้ ไป หรือมีความเสีย่ ง เช่น น�ำ้ หนักตัวเกินมาตรฐาน ให้เพิม่ การตรวจระดับ
น�้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือดด้วย(3)
• พนักงานออฟฟิศ งานที่ท�ำประจ�ำคือ การนั่งพิมพ์เอกสารหน้าจอ
คอมพิวเตอร์ ในห้องติดเครือ่ งปรับอากาศไม่มเี สียงดัง ซึง่ จะเห็นได้วา่ ใช้สายตาเป็น
ประจ�ำ นอกจากการตรวจสุขภาพเพียงการตรวจสุขภาพเบือ้ งต้นเหมือนพนักงาน
ทั่ว ไปแล้ ว ควรจะตรวจสมรรถภาพการมองเห็ น แต่ หากดู จากผลการตรวจ
สิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการแล้ว พบว่าความสว่างที่บริเวณโต๊ะท�ำงานหน้า
จอคอมพิวเตอร์มคี วามสว่างเหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน พนักงานออฟฟิศอาจ
ไม่จ�ำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพการมองเห็น และการนั่งท�ำงานในห้องติดเครื่อง
ปรับอากาศที่จ�ำนวนคนในห้องไม่แออัด และไม่มีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเดิน
หายใจ อาจไม่จำ� เป็นต้องเอกซเรย์ปอด แต่ใช้การฟังเสียงปอดจากการตรวจร่างกาย
เบื้องต้นโดยแพทย์ได้
• พนักงานส่องชิ้นงาน ที่ต้องส่องชิ้นงานด้วยกล้องส่องชิ้นงาน เกือบ
ตลอดเวลาท�ำงาน อาจจ�ำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพการมองเห็น และอาจต้องดูผล
การตรวจความสว่างบริเวณโต๊ะท�ำงานว่ามีความสว่างตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
หากความสว่างไม่ถงึ เกณฑ์มาตรฐาน ควรปรับปรุงความสว่างบริเวณจุดท�ำงานให้
เหมาะสมตามประเภทของงาน เพื่อเป็นการถนอมสายตาของคนท�ำงาน
• พนักงานบัดกรี อาจต้องดูวา่ มีตะกัว่ เป็นส่วนประกอบในการบัดกรีหรือ
ไม่ ซึง่ คนท�ำงานอาจมีโอกาสสัมผัสไอระเหยของตะกัว่ จ�ำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพ
ของปอด และอาจต้องตรวจปริมาณของสารตะกัว่ ในเลือก (Lead in blood) เพือ่
ดูปริมาณการสัมผัสตะกัว่ ของร่างกาย ซึง่ ยังมีราคาแพง บางสถานประกอบการอาจ
ตรวจเช็คค่าตะกัว่ จากสิง่ แวดล้อมในสถานประกอบการแทน หากค่าตะกัว่ จากสิง่
การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 105
แวดล้อมในสถานประกอบการมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เราอาจไม่จ�ำเป็นต้อง
ตรวจ Lead in blood ก็ได้ แต่อาจจะใช้การตรวจเบื้องต้นด้วย Liver Function
Test (LFT) และ Creatinine (Cr) เพื่อเป็นการคัดกรองการสัมผัสสารเคมีของ
ร่างกายเบื้องต้น ในราคาที่ประหยัดกว่า หากพบ LFT และ Cr มีค่าผิดปกติ อาจ
ท�ำการตรวจเพิ่มเติมเป็นราย ๆ ไป ทั้งนี้ คนงานที่ได้รับไอระเหยจากการบัดกรี
อาจต้องตรวจเอกซเรย์ปอด (CXR) และสมรรถภาพปอดด้วย
• พนักงานแผนกตัดชิ้นงาน ขัดชิ้นงาน หากการท�ำงานตัดชิ้นงาน ขัด
ชิ้นงาน ในที่มีเสียงดังตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน
ควรตรวจการได้ยินเป็นประจ�ำทุกปี การตัดชิ้นงาน ขัดชิ้นงาน อาจส่งผลให้มีฝุ่น
ละอองจ�ำนวนมาก อาจต้องตรวจเอกซเรย์ปอด (CXR) และสมรรถภาพปอดด้วย
• พนักงานขับรถ นอกจากการตรวจสุขภาพเพียงการตรวจสุขภาพเบื้อง
ต้นเหมือนพนักงานทั่วไปแล้ว ยังจ�ำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพการมองเห็น เพื่อ
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
• บุคลากรทางด้านสาธารณสุข นอกจากการตรวจสุขภาพเพียงการตรวจ
สุขภาพเบือ้ งต้นเหมือนพนักงานทัว่ ไปแล้ว อาจต้องตรวจ CXR เพือ่ เป็นการคัดกรอง
วัณโรคทุกปี รวมถึงการตรวจไวรัสตับอักเสบบีด้วย เนื่องจากงานด้านสาธารณสุข
มีความเสี่ยงในการติดโรคได้
• แม่ครัวในสถานประกอบการ อาจต้องตรวจอุจจาระ เพื่อป้องกันการ
ระบาดของโรคบางชนิดผ่านทางอาหาร
ทั้งนี้ การเลือกรายการตรวจสุขภาพใด ๆ ควรขึ้นกับ ขึ้นกับการพิจารณา
ของแพทย์ผู้ท�ำการวินิจฉัย ความเห็นของเจ้าของสถานประกอบการ และความ
ยินยอมของลูกจ้าง รวมถึงการพิจารณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ
สุขภาพทั่วไปและการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
106 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
การทดสอบสมรรถภาพทางกายในงานอาชีวอนามัย(2)
ในการประกอบอาชีพแต่ละอาชีพจะมีขนาดการออกแรงกล้ามเนือ้ แตกต่าง
กัน ขึ้นกับลักษณะของการออกแรงในการท�ำงาน เช่น การยกของหนัก การหยิบ
จับชิ้นงานขนาดเล็ก การเคลื่อนย้ายวัสดุ การท�ำงานซ�้ำซาก หรือการท�ำงานแบบ
อยูก่ บั ที่ เป็นต้น ถ้าต้องการให้การท�ำงานปลอดภัยและท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ร่างกายคนท�ำงานต้องมีกล้ามเนือ้ ทีแ่ ข็งแรง เหมาะสมต่อลักษณะการท�ำงาน เป็นการ
ป้องกันการเกิดปัญหาความผิดปกติของระบบกล้ามเนือ้ และกระดูก เนือ่ งจากการ
ท�ำงานด้วยทางหนึง่ เพราะบางครัง้ มีขอ้ จ�ำกัดหลายประการในการปรับปรุงสภาพ
การท�ำงานหรือสิง่ แวดล้อมในการท�ำงาน หรือข้อจ�ำกัดในการออกแบบการท�ำงาน
ทีด่ ี การทดสอบสมรรถภาพทางกายซึง่ เป็นดัชนีชวี้ ดั ความสมบูรณ์ของร่างกาย จะ
สามารถบอกความสามารถหรือความแข็งแรงของร่างกายทีเ่ หมาะสมในการประกอบ
ภารกิจต่างๆ ได้ ดังนั้น คนท�ำงานทุกคนควรได้รับการตรวจสมรรถภาพทางกาย
การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 107
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย มี 3 อย่าง คือ
1. การวัดแรงบีบมือ (Grip Strength)
2. การวัดแรงเหยียดขา (Leg Strength)
3. การวัดความอ่อนตัว (Flexibility)
การแปลผล แบ่งได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่ ดีมาก ดี พอใช้ ค่อนข้างต�่ำ ต�่ำ
หากพบว่า สมรรถภาพกายอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจ ควรส่งปรึกษาแพทย์เพื่อหา
สาเหตุและท�ำการรักษาต่อไป หากเป็นอาการทีร่ กั ษาไม่ได้ แพทย์อาชีวอนามัยควร
พิจารณา Fit for work ให้แก่คนท�ำงาน และแจ้งต่อสถานประกอบการ เพือ่ จัดหา
ต�ำแหน่งงานทีเ่ หมาะสมต่อคนท�ำงานต่อไป เพือ่ ป้องกันการเกิดอุบตั เิ หตุในสถาน
ประกอบการจากการที่คนท�ำงานไม่มีสมรรถภาพดีพอในงานนั้นๆ

108 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
การตรวจสมรรถภาพปอด
ส�ำหรับในงานอาชีวอนามัย การคัดกรองโรคปอดจากการประกอบอาชีพ
นิยมใช้วธิ กี ารทดสอบปริมาตรและสมรรถภาพของปอดโดยใช้เครือ่ ง “Spirometry”
เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกในการตรวจ ปลอดภัยและมีความไวสูง แปล
ผลง่าย สามารถประเมินความผิดปกติของปอดในระยะเริ่มแรกได้ ซึ่งกลุ่มคนงาน
ที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอด คือ คนงานที่สัมผัสกับสิ่งคุกคามที่มีผลต่อ
ระบบทางเดินหายใจ เช่น กลุ่มท�ำงานที่เกี่ยวข้องกับฝุ่น ไอ ฟูม สารละลาย หรือ
สารเคมีตา่ ง ๆ คนทีท่ ำ� งานในสถานประกอบการทีม่ มี ลภาวะเป็นพิษสูง เช่น ท�ำงาน
ในโรงงานมีฝุ่น ท�ำเหมือง โม่หิน มีไอสารเคมี ซึ่งการท�ำSpirometryในงานอาชีว
อนามัย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มเสี่ยงเฝ้า
ระวังโรคปอดจากการประกอบอาชีพ

การแปลผลการตรวจสไปโรเมตรีย์ สามารถแปลผลออกมาได้ 4 แบบคือ


Normal Obstruction Restriction และ Mixed obstruction – restriction (4)
ดังตารางที่ 6.1 รายละเอียดของกรณีที่ไม่ปกติแต่ละประเภทมีดังนี้

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 109
1. ทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstruction) แบ่งเป็น ทางเดินหายใจส่วน
ล่างอุดกั้น (Lower airway obstruction) ได้แก่ โรคหืด (Asthma) และโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น (Upper airway
obstruction) เช่น vocal cord paralysis, tumor, post-polio, neoplasm,
goiter, tracheomalacia, mediastinal adenopathy, relapsing polychondritis,
fibrotic stricture, vocal cord dysfunction, foreign body
2. ภาวะปอดขยายตัวได้น้อยลง (Restriction) บางรายเกิดจากความ
ผิดปกติทอี่ ยูใ่ นปอด เช่น pulmonary fibrosis บางรายความผิดปกติอยูน่ อกปอด
เช่น กระดูกสันหลังคดงอ กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง (neuromuscular disease)
3. ภาวะ Mixed obstruction and restriction ปอดมีทั้งภาวะอุดกั้น
และขยายตัวได้ลดลง เช่น โรค Pneumoconiosis กลุ่มโรคปอดที่เกิดจาก
การประกอบอาชีพ เป็นต้น

110 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตารางที่ 6.1 : แสดงการจ�ำแนกความผิดปกติของการทดสอบสมรรถภาพปอด

ค่าที่ประเมิน Obstruction Restriction Mixed


FEV1 or normal
FVC or normal
FEV1/FVC or normal

การแปลผลการตรวจspirometry แนะน�ำให้เริ่มจากการดูค่าของ FEV1/


FVC ก่อนและตามด้วยการดูคา่ ของ FVC ดังแสดงในตารางที่ 6.2 และ 6.3 กรณีที่
พบมี obstruction ให้ดผู ลหลังให้ยาขยายหลอดลมว่าเป็นชนิด reversible หรือ
irreversible แล้วเมือ่ พบว่ามีความผิดปกติ ไม่วา่ จะเป็น obstruction restriction
หรือ mixed obstruction and restriction ให้อ่านระดับความรุนแรงร่วมด้วย
หากคนท�ำงานตรวจพบความผิดปกติของสมรรถภาพปอด ควรส่งพบแพทย์เฉพาะ
ทางเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาต่อไป

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 111
ความผิดปกติ เกณฑ์การวินจิ ฉัยตามมาตรฐาน การวินจิ ฉัยโดยใช้สไปโรเมตรี ย์
และ Fixed ratio
Obstruction FEV1/FVC < 5th percentile การวินิจฉัยโดยใช้สไปโรเมตรีย์
of pred* และ Fixed ratio
Restriction TLC*** < 5th percentile FEV1/FVC < 75%
of pred (<70% ในผู้ที่มีอายุมาก**)
Mixed defect FEV1/FVC และ FVC < 80% pred****
TLC < 5th percentile of pred FEV1/FVC < 75%
(<70% ในผู้ที่มีอายุมาก**) และ
FVC < 80% pred***

ตารางที่ 6.2 : ชนิดของความผิดปกติและเกณฑ์ที่ ใช้ ในการแปลผลการ


ตรวจสมรรถภาพปอด(4)

หมายเหตุ
*< 5th percentile of pred (predicted) หรือ Lower Limit of Normal
(LLN)
**ผู้มีอายุมาก = ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี หรือ ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี
***TLC = Total lung capacity
****การตรวจสไปโรเมตรีย์พบ FVC ต�่ำโดยที่ FEV1 /FVC ปกติหรือสูงกว่า
ปกติ แสดงว่าค่า FVC ที่ตำ�่ น่าจะเกิดจากมี restriction แต่ควรยืนยันว่ามี
restriction โดยการวัด TLC ถ้าสามารถท�ำได้

112 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตารางที่ 6.3 : การแบ่งระดับความรุนแรงของความผิดปกติ
(Restriction, Obstruction หรื อ Mixed defect)

ค่าที่ประเมิน ปกติ เล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง


(normal) (mild) (moderate) (severe)
%VC(FVC) > 80 66 - 80 50 - 65 < 50
%FEV1 > 80 66 - 80 50 - 65 < 50
%FEV1/FVC > 70 60 - 70 45 - 59 < 45
%FEF25 – 75% > 65 50 - 65 35 - 49 < 35

การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น (5)
ทักษะของสายตาเป็นสิง่ ส�ำคัญในบางอาชีพ บางประเทศจะถูกก�ำหนดเป็น
คุณสมบัติในการรับบุคคลเข้าท�ำงานที่จะต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต�่ำ เช่น อาชีพต�ำรวจ
หน่วยดับเพลิง นักบิน คนขับรถ บางอาชีพการปฏิบตั งิ านต้องใช้ทกั ษะของสายตา
สูง เช่น การประกอบชิ้นงาน กลุ่มที่ขับรถโฟล์คลิฟท์หรือขับรถเครน กลุ่มอาชีพ
ตรวจสอบสี งานออกแบบ เป็นต้น

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 113
กลุม่ ทีค่ วรรับการตรวจสมรรถภาพการมองเห็น ได้แก่ พนักงานทุกคน ควร
ได้รบั การตรวจเพือ่ เป็นข้อมูลพืน้ ฐาน นอกจากนีผ้ ทู้ ที่ ำ� งานละเอียดทีต่ อ้ งใช้สายตา
ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นทุกปี
ตัวอย่าง การตรวจสมรรถภาพการมองเห็นด้วยเครื่องตรวจ TITMUS ใช้
ทดสอบสมรรถภาพการมองเห็นในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (2)
1. การมองเห็นภาพคมชัดของงานทั้งในระยะใกล้และระยะไกล
2. การทดสอบในการมองความลึกของภาพ
3. การแยกสี
4. การทดสอบความสมดุลของกล้ามเนื้อตาทั้งในแนวตั้งแนวนอน
5. การทดสอบลานสายตา

114 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
จะท�ำอย่างไรเมื่อผลตรวจสายตาอาชีวอนามัยออกมาผิดปกติ (6)
เมื่อพบผลการตรวจที่ผิดปกติแบบต่าง ๆ จะแปลผลได้ในลักษณะต่อไปนี้
1. การมองภาพระยะไกลผิดปกติ (Far vision) สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
คือเกิดจากภาวะสายตาสัน้ (Myopia) หรือจากภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)
หรือจากภาวะสายตาสั้นร่วมกับสายตาเอียงเกิดร่วมกันก็เป็นได้ สามารถแก้ไขได้
ด้วยการตัดแว่นสายตาให้เหมาะสมกับสายตาของตนเอง นอกจากภาวะสายตาสัน้
และสายตาเอียงทีจ่ ะท�ำให้มองภาพระยะไกลได้ไม่ชดั เจนแล้ว ยังมีโรคในดวงตาอีก
มากที่เป็นสาเหตุท�ำให้มองไกลไม่ชัด เช่น แผลเป็นที่กระจกตา (Corneal scar)
กระจกตาโค้งผิดรูป (Keratoconus) ต้อเนื้อมาบดบังดวงตา (Pterygium) ภาวะ
เลือดออกในช่องหน้าม่านตา (Hyphema) ตาอักเสบจนเกิดหนองในช่องหน้า
ม่านตา (Hypopyon) โรคต้อกระจก (Cataract) โรคเบาหวานขึ้นตา (Diabetic
retinopathy) จอประสาทตาอักเสบ (Retinitis) จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
(Age related macular degeneration) มะเร็งทีจ่ อประสาทตา (Retinoblastoma)
และโรคอื่นๆ ในดวงตาอีกมากมาย
เมื่อพบผลตรวจการมองภาพระยะไกลของพนักงานผิดปกติ ควรตรวจ
ยืนยันด้วยการอ่าน Snellen Chart ก่อน หากเป็นไปได้ ควรให้แพทย์ที่เข้าไป
ตรวจสุขภาพในโรงงานท�ำการตรวจดูทดี่ วงตาของพนักงานทีม่ ผี ลผิดปกติดว้ ย เมือ่
แพทย์พบรายใดที่สงสัยจะมีภาวะผิดปกติอันตรายในดวงตา จะได้แนะน�ำให้ส่ง
ตรวจยืนยันและท�ำการรักษากับจักษุแพทย์ต่อไป
2. การมองภาพระยะใกล้ผิดปกติ (Near vision) ส่วนมากแล้วจะเกิด
จากภาวะสายตายาว (Hyperopia) หรือจากภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)
หรือจากภาวะสายตาสูงอายุ (Presbyopia) การแก้ไขปัญหาการมองภาพระยะ
ใกล้ผิดปกติจากปัญหาสายตายาว สายตาเอียง และสายตาสูงอายุนี้ ท�ำได้โดย

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 115
การตัดแว่นสายตาให้เหมาะสม นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคอื่นในดวงตาได้อีก
หลายชนิด ทั้งนี้ควรให้แพทย์ที่มาตรวจสุขภาพที่โรงงาน ท�ำการตรวจดูที่ดวงตา
รวมถึงซักประวัติเพื่อค้นหาโรค หากพบความผิดปกติจะได้แนะน�ำให้ไปรักษา
กับจักษุแพทย์ต่อไป
3. การมองภาพ 3 มิติผิดปกติ (Stereopsis) เป็นการดูความสามารถใน
การมองภาพเห็นความลึก (Depth perception) ปัญหาการมองเห็นความลึกจะ
เกิดขึ้นได้ หากมีการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างไม่ชัดเจน เช่น มี
ภาวะสายตาสั้น สายตาเอียง เป็นต้น การใส่แว่นช่วยแก้ไขภาวะสายตาสั้นหรือ
สายตาเอียง จะช่วยแก้ไขปัญหาความผิดปกติในการมองเห็นความลึกจากสาเหตุ
นี้ได้ อย่างไรก็ตาม อาจมีสาเหตุมาจากอย่างอื่น เช่น โรคตาขี้เกียจมาตั้งแต่เด็ก
(Amblyopia) แต่หากโรคตาขี้เกียจมาตรวจตอนโตแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้
4. การมองภาพสีผดิ ปกติ (Color vision) หรือตาบอดสี สาเหตุสว่ นใหญ่
เกิดจากกรรมพันธุ์ หากพบผลตรวจคัดกรองการมองภาพสีจากเครือ่ งตรวจสายตา
อาชีวอนามัยผิดปกติ แนะน�ำให้ทำ� การตรวจยืนยันกับแผ่นตรวจตาบอดสีมาตรฐาน
เช่น แผ่นตรวจอิชิฮาร่า (Ishihara test) เพื่อยืนยันอีกครั้งด้วย
5. ความสมดุลกล้ามเนื้อตาผิดปกติ (Phoria) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรอง
ภาวะตาเขแบบซ่อนเร้น (Phoria) คือภาวะที่มีตาเขแต่กล้ามเนื้อตายังสามารถ
ปรับสมดุล ดึงตามาให้เท่ากันได้ในสภาวะการมองปกติ แต่การมองในบางมุม
อาจพบว่าตาเขออกไป ภาวะนี้ต้องใช้การตรวจพิเศษจึงจะค้นพบ การตรวจตาเข
สามารถตรวจแยกได้ทั้งอาการตาเขในแนวระนาบ (Lateral phoria) และตาเข
ในแนวตั้ง (Vertical phoria) หากพบผลการตรวจความสมดุลของกล้ามเนื้อตา
ผิดปกติ ให้สงสัยว่าอาจมีอาการตาเขแบบซ่อนเร้น และหากมีอาการปวดตาหรือ
ปวดศีรษะเมื่อต้องเพ่งอะไรนาน ๆ ร่วมด้วย ควรส่งต่อให้ไปตรวจยืนยันและ

116 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ท�ำการรักษากับจักษุแพทย์
6. ลานสายตาผิดปกติ (Visual field) ผลการตรวจภาวะลานสายตา
ที่ผิดปกตินี้ อาจบ่งบอกถึงภาวะอันตรายบางอย่างในดวงตาได้ เช่น โรคต้อหิน
(Glaucoma) หากพบผลการตรวจลานสายตาผิดปกติจากเครือ่ งตรวจสายตาอาชีว
อนามัย ควรส่งตัวพนักงานไปพบจักษุแพทย์ เพื่อท�ำการวัดความดันลูกตา ตรวจ
วินิจฉัยหาสาเหตุ และท�ำการรักษาต่อไป

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 117
การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (7)
การตรวจสมรรถภาพการได้ยินด้วยเครื่องตรวจการได้ยิน (Audiometry)
มีวัตถุประสงค์เพื่อการคัดกรองและป้องกันโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง จึงมี
ความแตกต่างจากการตรวจการได้ยินเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคที่ตรวจกันอยู่ใน
สถานพยาบาลโดยทั่วไป
คนงานควรได้รับการตรวจการได้ยินครั้งแรก เมื่อท�ำงานในที่มีเสียงดัง
ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน และตรวจเป็นระยะ
ประจ�ำทุกปี เพื่อเฝ้าระวังการได้ยินที่เสื่อมลง หากเป็นการตรวจการได้ยินครั้ง
แรก ให้ตรวจภายใน 30 วันหลังจากที่รับคนงานเข้ามาท�ำงานเกี่ยวข้องกับเสียง
ดัง ซึ่งผลการตรวจครั้งแรกจะใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบผลการตรวจในปี
ต่อไป เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยโรคทางหูจากการท�ำงานที่พบได้
บ่อย ได้แก่ โรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง

118 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
โรคประสาทหูเสือ่ มจากเสียงดัง (Occupational noise-induced hearing loss)
บางครั้งเรียกว่า โรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดังเหตุอาชีพ เกิดจากการได้
รับเสียงดังในขณะทํางานเป็นหลัก สามารถตรวจพบได้ดว้ ยการอ่านผลออดิโอแกรม
ของโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง จะมีลักษณะเฉพาะ คือจะมีลักษณะเป็นรอย
บาก (Notch) ยุบลงที่ความถี่ 4,000 Hz ที่หูทั้ง 2 ข้างในระดับความรุนแรงที่
ใกล้เคียงกัน ดังแสดงในรูปที่ 6.2 ลักษณะที่ เป็น Notch นี้จะเป็นความผิดปกติ
แรกที่พบได้ในออดิโอแกรม และเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการทางคลินิก โดย
ปกติ ตําแหน่งที่เกิด Notch จะอยู่ที่ 4,000 Hz
แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจพบอยู่ที่ตําแหน่งอื่นระหว่าง 3,000 – 6,000 Hz
ก็ได้ (8)

รูปที่ 6.3 : ตัวอย่างลักษณะออดิโอแกรมที่พบในผู้ที่เป็นโรคประสาทหูเสื่อม


จากเสียงดัง

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 119
การรายงานผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
การแปลผลตรวจสมรรถภาพการได้ยนิ ในงานอาชีวอนามัย ให้พจิ ารณาโดย
ใช้เกณฑ์ที่ระดับ 25 dB HL หากมีระดับการได้ยินที่ความถี่ใดก็ตาม ของหูข้างใด
ก็ตามมีค่ามากกว่า 25 dB HLที่ความถี่ใด ๆ ให้รายงานผลว่ามีระดับการได้ยิน
ลดลงที่ความถี่นั้น ๆ (มีระดับการได้ยินผิดปกติ)
หากการตรวจครั้งใหม่เมื่อเทียบกับครั้งเดิม พบมีการได้ยินของคนท�ำงาน
ลดลงเกินระดับที่ยอมรับได้ (ตามเกณฑ์ของ NIOSH และ ตามกฎหมายไทย คือ
เกิดภาวะการเปลีย่ นแปลงระดับการได้ยนิ 15 dBA) ให้รายงานในผลการตรวจด้วย

ตัวอย่างการรายงานผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินแบบคัดกรอง กรณี
ไม่มี baseline ส�ำหรับเปรียบเทียบ แสดงในตารางที่ 6.4

ตารางที่ 6.4 : การแสดงผลระดับการได้ยินแบบค่าตัวเลขในรูปแบบตาราง


ของนาย ก ปี พ.ศ. 2560
ความถี่ 500 1000 2000 3000 4000 6000 8000
หูขวา 20 20 25 30 40 30 20
หูซ้าย 15 15 20 30 35 25 15

จากตารางที่ 6.4 นาย ก ได้ท�ำการตรวจสมรรถภาพการได้ยินเป็นครั้งแรก


ในปี พ.ศ. 2560 ผลการตรวจสามารถสรุปได้ดังนี้
หูขวามีระดับการได้ยินลดลงที่ความถี่ 3000, 4000, 6000 เฮิรตซ์
หูซ้ายมีระดับการได้ยินลดลงที่ความถี่ 3000, 4000 เฮิรตซ์
ไม่มีผลตรวจการได้ยินเปรียบเทียบ

120 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
กรณีมี baseline ส�ำหรับเปรียบเทียบ แสดงในตารางที่ 6.5
ตารางที่ 6.5 : การแสดงผลระดับการได้ยินแบบค่าตัวเลขในรูปแบบตาราง
ของนาย ก ปี พ.ศ. 2561

ความถี่ 500 1000 2000 3000 4000 6000 8000


หูขวา 20 20 25 30 40 30 20
หูซ้าย 15 15 20 35 45 25 15

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 121
จากตารางที่ 6.4 และ 6.5 เป็นผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินของนาย
ก ในปี พ.ศ. 2560 และ ปี พ.ศ. 2561 ผลการตรวจสามารถสรุปได้ดังนี้
หูขวามีระดับการได้ยินลดลงที่ความถี่ 3000, 4000, 6000 เฮิรตซ์
หูซ้ายมีระดับการได้ยินลดลงที่ความถี่ 3000, 4000 เฮิรตซ์
โดยหูขวามีระดับการได้ยนิ ทีค่ วามถี่ 4000 เฮิรตซ์ลดลง โดยมีการเปลีย่ นแปลง
ของสมรรถภาพการได้ยินตั้งแต่ 15dB ขึ้นไปเมื่อเทียบกับ ออดิโอแกรมพื้นฐาน
หูซ้ายไม่มีระดับการได้ยินลดลงเมื่อเทียบจากออดิโอแกรมพื้นฐาน
ในการแปลผลออดิโอแกรมเพื่อวินิจฉัยโรคจากการท�ำงานได้ แพทย์ควร
เปรียบเทียบผลออดิโอแกรมเป็น ซึ่งส่วนใหญ่เราจะแปลผลจากค่าที่ค่าการ
เปลี่ยนแปลง ดังนี้
• 15-dB Shift เกณฑ์พจิ ารณาคือ ถ้าระดับการได้ยนิ ทีค่ วามถี่ 500 1000
2000 3000 4000 หรือ 6000 Hz มีค่าเพิ่มขึ้นจาก baseline audiogram ตั้งแต่
15 dB HL ขึ้นไป ที่ความถี่ใดเพียงความถี่หนึ่งในหูข้างใดข้างหนึ่ง ถือว่ามีระดับ
การได้ยินเปลี่ยนแปลงเกินกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้

122 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
• 15-dB Shift TWICE (NIOSH Significant threshold shift)
เกณฑ์พิจารณาคือ ถ้าระดับการได้ยินที่ความถี่ 500 1000 2000 3000 4000
หรือ 6000 Hz มีคา่ เพิ่มขึ้นจาก baseline audiogram ตั้งแต่ 15 dB HL ขึ้นไป
ที่ความถี่ใดเพียงความถี่หนึ่งในหูขา้ งใดข้างหนึ่ง แล้วในการตรวจครั้งถัดมา ยังคง
มีภาวะนี้เกิดขึ้นที่ความถี่เดิมในหูข้างเดิมอีก ถือว่ามีระดับการได้ยินเปลี่ยนแปลง
เกินกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 123
เกณฑ์ Significant threshold shift ขององค์กร NIOSH
เกณฑ์ Significant threshold shift เป็นเกณฑ์การพิจารณา monitoring
audiogram เปรียบเทียบกับ baseline audiogram เกณฑ์นมี้ หี ลักในการพิจารณา
คือ ถ้าระดับการได้ยนิ ทีค่ วามถี่ 500 1000 2000 3000 4000 หรือ 6000 Hz มีคา่ เพิม่
ขึน้ จาก Baseline audiogram ตัง้ แต่ 15 dB HL ขึน้ ไป ทีค่ วามถีใ่ ดความถีห่ นึง่ ใน
หูขา้ งใดข้างหนึง่ (เกิดภาวะ 15-dB Shift) แล้วในการตรวจครัง้ ถัดมา (องค์กร NIOSH
สนับสนุนให้การตรวจครัง้ ถัดมาเป็น retest audiogram แต่อาจเป็น confirmation
audiogram ก็ได้) ยังคงมีภาวะนีเ้ กิดขึน้ ทีค่ วามถีเ่ ดิม ในหูขา้ งเดิม (เกิดภาวะ 15-dB
Shift TWICE) จะถือว่ามีการเปลีย่ นแปลงทีเ่ รียกว่า “Significant threshold shift”
เกิดขึน้ อันจะน�ำไปสูก่ ารด�ำเนินการเพือ่ ป้องกันโรคประสาทหูเสือ่ มจากเสียงดังต่อไป
ยกตัวอย่าง นาย ก ได้ท�ำการตรวจ baseline audiogram 1 ปีถัดมา นาย
ก ท�ำการตรวจ monitoring audiogram ทีค่ วามถี่ 4000 เฮิรต์ พบมีคา่ ระดับการ
ได้ยนิ เพิม่ ขึน้ จาก 25 เป็น 40 dB HL แปลผลได้วา่ กราฟ monitoring audiogram
มีภาวะ “15-dB Shift” แพทย์ผแู้ ปลผลจึงสัง่ ให้ผทู้ ำ� การตรวจท�ำการตรวจหา retest
audiogram ยืนยันซ�้ำอีกครั้งทันที หลังจากได้ท�ำการจัดหูฟังใหม่และอธิบายขั้น
ตอนการตรวจใหม่แล้ว ผลการตรวจ retest audiogram ที่ได้ ยังคงใกล้เคียง
กับ monitoring audiogram ที่ได้จากการตรวจในครั้งแรกเช่นเดิม แปลผลได้ว่า
เกิดภาวะ “15-dB Shift TWICE” ซึ่งก็คือเกิดมีภาวะ “Significant threshold
shift” ขึ้นแล้วนั่นเอง

124 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
จะท�ำอย่างไรเมื่อพบ “Significant threshold shift”
ผู้ให้บริการทางการแพทย์ต้องแจ้งผลไปที่สถานประกอบการ เพื่อนัดผู้เข้า
รับการตรวจมาท�ำการตรวจ Confirmation Audiogram เป็นการยืนยันซ�้ำ
ให้แน่นอนอีกรอบ โดยให้ท�ำการตรวจ Confirmation Audiogram ภายใน
30 วัน นับตัง้ แต่วนั ทีส่ ถานประกอบการทราบผลการตรวจ และหากผลการตรวจ
Confirmation Audiogram ยังคงพบมีภาวะ Significant threshold shift อยู่
ผู้ให้บริการทางการแพทย์จะต้องท�ำรายงานผลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งแก่
คนท�ำงานผู้นั้นและแจ้งแก่ Audiometric manager ของสถานประกอบการ จาก
นั้น Audiometric Manager จะท�ำการสอบสวนหาสาเหตุของ Significant
threshold shift ที่เกิดขึ้น ทั้งสาเหตุจากการท�ำงานและจากสิ่งแวดล้อม ในคน
ท�ำงานบางรายทีม่ คี วามจ�ำเป็นต้องพบแพทย์หคู อจมูก ต้องท�ำการส่งต่อคนท�ำงาน
รายนั้นไปพบแพทย์หูคอจมูก หากพบว่า Significant threshold shift ที่เกิดขึ้น
น่าจะเกิดจากการท�ำงาน สถานประกอบการจะต้องจัดสิ่งต่อไปนี้ให้คนท�ำงาน
1. ได้ใช้หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ปกป้องกันได้ยินของตนเองให้เหมาะสมขึ้น
เพื่อลดระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการท�ำงาน 8 ชั่วโมงเหลือ
น้อยกว่า 85 dBA
2. เข้ารับการอบรมเรื่องโครงการอนุรักษ์การได้ยิน รวมถึงความรู้เรื่อง
อันตรายจากเสียงดังเพิ่มเติม
3. ถ้าเป็นไปได้ควรจัดให้คนท�ำงานผูน้ นั้ เปลีย่ นไปท�ำงานในสภาพแวดล้อมที่
มีเสียงดังน้อยลง หรือหมุนเวียนสลับหน้าทีร่ ะหว่างคนท�ำงานด้วยกัน เพือ่ ลดระดับ
เสียงทีล่ กู จ้างได้รบั เฉลีย่ ตลอดระยะเวลาการท�ำงาน 8 ชัว่ โมงเหลือน้อยกว่า 85 dBA
4. การด�ำเนินการอืน่ ๆตามที่ Audiometric Manager เสนอแนะอย่างเป็น
ลายลักษณ์อักษรให้กับสถานประกอบการ

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 125
สรุป
การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงนั้นมีความส�ำคัญมาก ช่วยในการดูแล
สุขภาพพนักงาน และจะช่วยวินจิ ฉัยโรคจากการท�ำงานได้ตงั้ แต่ระยะเริม่ แรก เพือ่
นายจ้างจะได้ปรับลักษณะงานให้เหมาะสมกับลูกจ้างคนนัน้ ๆ เป็นการส่งเสริมสุข
ภาพคนท�ำงาน เพือ่ หลีกเลีย่ งการเกิดโรคจากการท�ำงานในระยะยาวทีอ่ าจจะเป็น
ถาวรจนสายเกินแก้

126 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เอกสารอ้างอิง
1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ลงวันที่ 3 เมษายน 2555).
2. ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.
คูม่ อื การใช้เครือ่ งมือทางด้านอาชีวเวชศาสตร์. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2556.
3. จุรีพร คงประเสริฐ, นิตยา พันธุเวทย์, ณัฐธิวรรณ พันธุ์มุง, ลินดา จ�ำปาแก้ว. คู่มือการ
จัดบริการสุขภาพกลุ่มวัยท�ำงานแบบบูรณาการ 2558 .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:
ส�ำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.
4. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. หนังสือประกอบการฝึกอบรมเจ้า
หน้าที่ตรวจสมรรถภาพปอด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ภาพ
พิมพ์; 2556.
5. จุฑาลัย ตันเทอดธรรม, วชร โอนพรัตน์วบิ ลู . โรคตาจากการท�ำงาน (Occupational eye
diseases). In: บัณฑุกลุ อ, editor. ต�ำราอาชีวเวชศาสตร์ (Textbook of Occupational
Medicine). กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวง
สาธารณสุข; 2554. p. 599-634.
6. นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, นพ.สมบูรณ์ ปัญญากรณ์. จะท�ำอย่างไรเมื่อผลตรวจสายตา
อาชีวอนามัยออกมาผิดปกติ [Internet]. 2554 [cited 15 กันยายน 2561 ]. [Available
from: http://www.summacheeva.org/index_article_vision.htm.

การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง 127
7. สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยและกลุ่มศูนย์การ
แพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลนพรัตน
ราชธานีกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพ
การได้ยิน. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพมหานคร: 2558.
8. ส�ำนักงานประกันสังคม. มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการท�ำงาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 3550. โยธิน เบญจ
วัง, วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ editors. นนทบุรี: ส�ำนักงานประกันสังคม; 2550.

128 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 7

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน
(Immunization in Workers)

พญ.กรรณิกา วินาพา

สรุป
• ความสําคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในวัยทํางาน
• การให้วัคซีนในวัยท�ำงานและแนวทางการให้วัคซีนชนิดต่าง ๆ
• การให้วคั ซีนเพือ่ สร้างเสริมภูมคิ มุ้ กันโรคทีจ่ ําเป็นสําหรับกลุม่ อาชีพต่าง ๆ

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 129


บทน�ำ
ในเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่คนท�ำงานดังที่ได้กล่าวไปแล้วใน
บทที่ 5 นอกจากการป้องกันการสัมผัสสิ่งคุกคามแล้ว สารบางอย่างเป็นสิ่งที่มอง
ไม่เห็น เช่น เชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
และแม้กระทั่งคนท�ำงานที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงก็สามารถติดโรคบางชนิดได้
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนจะเป็นตัวช่วยให้คนท�ำงานมีความคงทนต่อ
การติดเชื้อบางชนิดได้ ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างเสริมสุขภาพอย่างหนึ่ง ดังที่ได้
กล่าวไปแล้วในบทที่ 1 เรื่องของการป้องกันปฐมภูมิ ในบทนี้จะลงรายละเอียด
เกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิดที่ควรให้ในวัยท�ำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงาน
ได้ดีขึ้น ลดการเจ็บป่วยหรือการขาดงานจากการเจ็บป่วยขณะท�ำงาน

ความส�ำคัญของการสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันในวัยท�ำงาน
ประชากรวัยท�ำงานในประเทศไทยมีประมาณ 45 ล้านคน หรือประมาณ
ร้อยละ 68 ของประชากรไทยทั้งหมด(1) ซึ่งเป็นก�ำลังส�ำคัญในเชิงเศรษฐกิจของ
ประเทศ สุขภาพของคนในกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญ เพราะการมีสุขภาพดี จะส่ง
ผลให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีผลต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของประเทศ
การสร้างภูมคิ มุ้ กันโรคในวัยท�ำงานเป็นกระบวนการป้องกันโรคทางด้านสาธารณสุข
ที่มีความส�ำคัญ เพราะสามารถลดภาระของโรคติดต่อหลายโรคที่สามารถป้องกัน
ได้ด้วยวัคซีนในประเทศไทย

130 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
การสร้างเสริมภูมคิ มุ้ กันโรคโดยการรับวัคซีนมีความจ�ำเป็นในด้านช่วยป้องกัน
โรคการติดเชื้อ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ทั้งนี้สามารถ
ป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังบุคคลอื่นได้ และท�ำให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคใน
กลุ่มประชากร (Herd immunity) แม้ว่าวัคซีนป้องกันโรคบางอย่างอาจจะพบ
บ่อยและเป็นโรคส�ำคัญในเด็ก แต่ยงั มีโรคอีกมากมายทีห่ ากเกิดขึน้ ในวัยผูใ้ หญ่แล้ว
จะมีอาการรุนแรงกว่า วัคซีนจึงยังมีความส�ำคัญและจ�ำเป็นส�ำหรับวัยผูใ้ หญ่ ข้อบ่งชี้
และค�ำแนะน�ำทางการแพทย์ในการประกอบเวชปฎิบัติ ทั้งนี้วัคซีนหลายชนิดมี
ความคุม้ ค่าเมือ่ น�ำมาใช้ในวัยผูใ้ หญ่ จากผลการประเมินสถานการณ์การพัฒนางาน
ด้านการสร้างเสริมภูมคิ มุ้ กันโรคของประเทศไทยเมือ่ พ.ศ. 2550 และ 2557(2) ยัง
พบข้อด้อยในเชิงปฏิบัติหลายประการ เกี่ยวกับการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
โรคของประเทศ ซึง่ มีการให้บริการสร้างเสริมภูมคิ มุ้ กันโรคยังไม่เหมาะสมนักและ
ไม่ครอบคลุมทัว่ ถึง ท�ำให้มผี ลกระทบต่อการป้องกันควบคุมโรค และอาจเกิดการระบาด
ของโรคติดต่อทีป่ อ้ งกันได้ดว้ ยวัคซีนได้ เนือ่ งจากวัยท�ำงานส่วนใหญ่เป็นวัยทีม่ ชี ว่ ง
อายุระหว่าง 15 - 60 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ภูมิคุ้มกันเสื่อมลงเรื่อยๆ การสร้างเสริม
ภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงานนั้นมีประโยชน์ทั้งในด้านการลดการเข้ารับการรักษา
ที่โรงพยาบาล ลดการหยุดงาน ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดโรค
และลดการแพร่กระจายเชื้อได้(3, 4)

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 131


การให้วัคซีนในวัยท�ำงานและแนวทางการให้วัคซีนชนิดต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ของการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโดยการรับวัคซีนในวัยท�ำงาน ก็
เพื่อช่วยป้องกันโรคติดเชื้อซึ่งมีโอกาสพบได้ในตลอดช่วงชีวิตของคนเรา การคงไว้
ซึ่งการมีภูมิคุ้มกันที่สูงในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้นั้น จะต้องครบถ้วนทั้งใน
ประเด็นของจ�ำนวนครัง้ และระยะเวลาการได้รบั วัคซีนทีเ่ หมาะสม ตามข้อแนะน�ำ
ตามหลักวิชาการ ยกตัวอย่างเช่น วัคซีนบางชนิดจะกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันสูง
ขึ้นระดับหนึ่งแล้วระดับภูมิคุ้มกันก็จะลดลง ดังนั้น ร่างกายต้องได้รับการกระตุ้น
ตามจ�ำนวนครั้งที่ก�ำหนดจึงจะมีระดับภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงพอที่จะป้องกันโรค
การให้วัคซีนในวัยท�ำงานแสดงดังตารางที่ 7.1 และ 7.2

ตารางที่ 7.1 : ตารางการให้วัคซีนในวัยท�ำงานตามอายุ(5)

132 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตารางที่ 7.2 : วัคซีนป้องกันโรคส�ำหรับวัยผู้ ใหญ่หรื อวัยท�ำงานแต่ละ
ประเภท วิธีการบริ หารยา ผลข้างเคียง และข้อห้ามในการฉีดวัคซีน(1-7)

วัคซีน การให้วัคซีน ผลข้างเคียง ข้อห้ามหรื อ


ข้อพึงระวังในการฉีด
Tetanus, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1. ปฏิกิริยาเฉพาะที่ : ปวด ข้อห้าม
Diphtheria, ฉีดทุก 10 ปี บวมแดงต�ำแหน่งที่ฉีด ฝีจาก • ปฏิกริ ยิ าแพ้รนุ แรง เช่น
Pertussis Tdap : หญิงตั้ง เชือ้ แบคทีเรียหรือปราศจากเชือ้ Anaphylaxis จากการ
(dT, Tdap) ครรภ์ไตรมาสที่ 3 (Sterile abscess) Brachial ฉีดโด๊สก่อน
Vaccine neuritis • ปฏิกริ ยิ าแพ้รนุ แรง ต่อ
2. ปฏิกิริยาทั่วร่างกาย : ไข้ ส่วนประกอบของวัคซีน
3. ปฏิกริ ยิ าแพ้ : Anaphylaxis ข้อพึงระวัง
ปฏิกิริยาแบบ Arthrus-like • ผูป้ ว่ ยทีเ่ คยเป็น Guillain-
คือ บวมแดงเฉพาะทีอ่ ย่างมาก Barre syndrome ซึง่ เกิด
ขึน้ ภายใน 6 สัปดาห์หลัง
จากฉีดวัคซีนโด๊สก่อน

Influenza ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1. ปฏิกิริยาเฉพาะที่ : ข้อห้าม


Vaccine ปีละ 1 ครั้ง พบน้อย • ผูท้ แี่ พ้ไข่แบบรุนแรง
ทุกปี 2. ปฏิกิริยาทั่วร่างกาย : ไข้ Anaphylaxis
พบได้น้อยมีรายงานการเกิด
ข้อพึงระวัง
Guillain-Barre syndrome
• ผูป้ ว่ ยทีเ่ คยเป็น Guillain-
ได้ในอัตรา 1 ต่อหนึ่งล้านโด๊ส
Barre syndrome ซึง่ เกิด
มักเป็นผู้ใหญ่ท่ีมีประวัติเป็น
ขึน้ ภายใน 6 สัปดาห์หลัง
Guillain-Barre syndrome
จากฉีดวัคซีนโด๊สก่อน
มาก่อน ในเด็กพบน้อย
• ไข้สงู
Headache
3. ปฏิกิริยาแพ้ : ผู้ที่มีประวัติ
แพ้ไก่ หรือไข่แบบ anaphylaxis
มีโอกาสแพ้รุนแรง

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 133


ตารางที่ 7.2 : วัคซีนป้องกันโรคส�ำหรับวัยผู้ ใหญ่หรื อวัยท�ำงานแต่ละ
ประเภท วิธีการบริ หารยา ผลข้างเคียง และข้อห้ามในการฉีดวัคซีน(1-7)

วัคซีน การให้วัคซีน ผลข้างเคียง ข้อห้ามหรื อ


ข้อพึงระวังในการฉีด
MR, MMR ฉีดใต้ผิวหนัง 2 1. ปฏิกริ ยิ าทัว่ ร่างกาย : ไข้ 5 - 12 ข้อห้าม
Vaccine ครั้ง ห่างกัน 4 วันหลังฉีดวัคซีน ผืน่ transient • ผูท้ แี่ พ้neomycin หรือ
สัปดาห์ thrombocytopenia, อาการทาง เจลาติน อย่างรุนแรง
ระบบประสาท เช่น encephalitis • ตัง้ ครรภ์
หรือ encephalopathy อาจ • ผูป้ ว่ ยทีม่ ภี าวะภูมคิ มุ้ กัน
พบต่อมน�้ำเหลืองโต หรือต่อม บกพร่อง รวมทัง้ ผูป้ ว่ ย
น�้ำลายอักเสบ ติดเชือ้ เอชไอวีเฉพาะที่
2. ปฏิกริ ยิ าแพ้: พบได้นอ้ ยและ มีอาการรุนแรง (clinical
มักไม่รุนแรงอาจพบผื่นลมพิษ category C)
ตรงต�ำแหน่งทีฉ่ ดี วัคซีนซึง่ อาจ
ข้อพึงระวัง
เกิดจากการแพ้ตอ่ neomycin
• ได้รบั ผลิตภัณฑ์จากเลือด
หรือเจลาตินผสมอยู่เล็กน้อย
หรือ immunoglobulin
มาไม่นาน ระยะเวลาขึน้
อยูก่ บั ชนิดของผลิตภัณฑ์
ทีไ่ ด้
• ประวัตเิ กล็ดเลือด
ต�่ำ หรือidiopathic
thrombocytopenic
purpura

134 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตารางที่ 7.2 : วัคซีนป้องกันโรคส�ำหรับวัยผู้ ใหญ่หรื อวัยท�ำงานแต่ละ
ประเภท วิธีการบริ หารยา ผลข้างเคียง และข้อห้ามในการฉีดวัคซีน(1-7)

วัคซีน การให้วัคซีน ผลข้างเคียง ข้อห้ามหรื อ


ข้อพึงระวังในการฉีด

Hepatitis A ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1. ปฏิกิริยาเฉพาะที่ : พบน้อย ข้อห้าม


Vaccine 2 เข็ม ห่างกัน อาจท�ำ ให้มอี าการเจ็บ และบวม • ปฏิกริ ยิ าแพ้รนุ แรงเช่น
6-12 เดือน ตรงต�ำแหน่งที่ฉีดวัคซีน anaphylaxis จากการ
2. ปฏิกริ ยิ าแพ้: ไม่พบมีรายงาน ฉีดโด๊สก่อน
ผลข้างเคียงที่รุนแรง • ปฏิกริ ยิ าแพ้รนุ แรงต่อ
ส่วนประกอบของวัคซีน
ข้อพึงระวัง
• ตัง้ ครรภ์

Hepatitis B ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1. ปฏิกิริยาเฉพาะที่ : ข้อห้าม


Vaccine ระยะห่าง 0,1,6 ปวด บวม แดง • ผูท้ แี่ พ้ยสี ต์อย่างรุนแรง
เดือน 2. ปฏิกิริยาทั่วร่างกาย :
ไข้เบื่ออาหาร ปวดศีรษะความ
ผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
3. ปฏิกิริยาแพ้: Anaphylaxis

Varicella ฉีดใต้ผิวหนัง 2 1. ปฏิกิริยาเฉพาะที่ : ปวด ข้อห้าม


Vaccine ครั้ง บวมแดงต�ำแหน่งที่ฉีด • ผูท้ แี่ พ้เจลาติน Neomycin,
ห่างกันอย่างน้อย 2. ปฏิกิริยาทั่วร่างกาย : พบ Erythromycin,
1 เดือน ผื่น (Maculopapular rash Kanamycin อย่างรุนแรง
หรือ Vesicle) และไข้ได้เล็กน้อย • ผูป้ ว่ ยทีม่ ภี าวะภูมคิ มุ้ กัน
ภายหลังฉีดวัคซีน 5 - 26 วัน บกพร่อง รวมทัง้ ผูป้ ว่ ย
ติดเชือ้ เอชไอวีเฉพาะที่

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 135


วัคซีน การให้วัคซีน ผลข้างเคียง ข้อห้ามหรื อ
ข้อพึงระวังในการฉีด
มีอาการรุนแรง (clinical
category C) หรือ CD4
น้อยกว่า 15%
• ตัง้ ครรภ์
ข้อพึงระวัง
• ได้รบั ผลิตภัณฑ์จากเลือด
หรือ Immunoglobulin
ไม่นาน ระยะเวลาขึน้ อยู่
กับชนิดของผลิตภัณฑ์ที่
ได้
• ผู้ที่เคยได้รับยาต้าน
ไวรัส เช่น Acyclovir,
Famcyclovir
หรือValacyclovir
ภายใน 24 ชั่วโมงก่อน
การฉีดวัคซีน หากเป็น
ไปได้ ควรเลื่อนการได้
รับยาต้านไวรัสเหล่านี้
ออกไปก่อนอย่างน้อย
14 วันหลังฉีดวัคซีน
HPV ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1. ปฏิกริ ยิ าเฉพาะที่ : พบอาการ ข้อห้าม
Vaccine • ชนิด 2 สาย ปวดร้อยละ 80 และมีบวม แดง • ผูท้ มี่ ปี ระวัตแิ พ้รนุ แรงต่อ
พันธุ์ (16 และ18) ต�ำแหน่งที่ฉีดได้ ส่วนประกอบในวัคซีน
ฉีดจ�ำนวน3 ครั้ง 2. ปฏิกิริยาทั่วร่างกาย : อาจ ได้แก่ ยีสต์
โดยฉีดเดือนที่ 0, พบอาการไข้ ข้อพึงระวัง
1 และ 6 โดยทั่วไปไม่มีอาการข้างเคียง • ตัง้ ครรภ์
• ชนิด 4 สาย ที่รุนแรง
พันธุ์ (6,11,16
และ18)

136 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
วัคซีน การให้วัคซีน ผลข้างเคียง ข้อห้ามหรื อ
ข้อพึงระวังในการฉีด

ฉีดจ�ำนวน3 ครั้ง
โดยฉีดเดือนที่ 0,
2 และ 6

Rabies • ฉีดเข้ากล้ามเนือ้ 1. ปฏิกิริยาเฉพาะที่ : ปวด ข้อห้าม


Vaccine วันที่ 0 และ 7 บวมและแดงหรือคัน บริเวณ • ปฏิกริ ยิ าแพ้รนุ แรงเช่น
• ฉีดในผิวหนัง ที่ ฉี ด วั ค ซี น ในผู ้ ใ หญ่ พ บได้ Anaphylaxis จากการ
บริเวณต้นแขน ร้อยละ 15-25 ฉีดโด๊สก่อน
2 ข้างในวันที่ 0 2. ปฏิกิริยาทั่วร่างกาย : ปวด
และ 7 หรือ 21 ศีรษะ คลื่นไส้ปวดท้อง ปวด
เมื่อยกล้ามเนื้อ และมึนงงพบ
ได้ร้อยละ 10-20
3.ปฏิกิริยาแพ้: Immune
complex like reaction ใน
ผู้ที่ไ ด้รับ การฉีด กระตุ้น ด้วย
HDCV 2-21 วัน ภายหลังฉีด
วัคซีนมีอาการ ลมพิษ ปวดข้อ
ข้ออักเสบ angioedema คลืน่ ไส้
อาเจียน ไข้อ่อนเพลีย

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 137


ในบางครั้ง แพทย์ผู้ให้การรักษาอาจพบว่ามีคนท�ำงานบางราย ไม่ได้รับ
วัคซีนตามเกณฑ์แบบตรงไปตรงมา จะต้องมีการพิจารณาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น หรือ
วัคซีนบางชนิดมีรายละเอียดของโรคทีแ่ ตกต่างกันไป วิธกี ารพิจารณาการให้วคั ซีน
ขึ้นกับวัคซีนแต่ละประเภท ดังนี้

แนวทางการรับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก (dT Vaccine)


1. กรณีที่เคยได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของคอตีบครบ 3 ครั้ง
1.1 ได้รับเข็มสุดท้ายระยะเวลาเกิน 10 ปี ให้รับวัคซีน dT 1 ครั้งและ
กระตุ้น 1 ครั้งทุก 10 ปี
1.2 ได้รับเข็มสุดท้ายระยะเวลามากกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี ให้เจ้า
หน้าที่ให้ข้อมูลเรื่องระดับภูมิคุ้มกันคอตีบที่อาจลดระดับลง และให้ผู้รับบริการ
ตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่โดยสมัครใจ หากตัดสินใจฉีดวัคซีนให้ฉีดวัคซีน
dT 1 ครั้ง จากนั้นนัดกระตุ้น 1 ครั้งทุก 10 ปี
1.3 กรณีที่ผู้รับบริการอายุ 20 ปีและได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายตอนป.6
(ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายไม่เกิน 10 ปี) ให้ฉีดวัคซีน dT 1 ครั้ง จากนั้นนัดกระตุ้น
1 ครั้งทุก 10 ปี

138 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
2. กรณีที่ได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของคอตีบไม่ครบ 3 ครั้ง ควรให้
วัคซีน dT จนครบ 3 ครั้ง โดยพิจารณาดังนี้
2.1 หากได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของคอตีบมาแล้ว 1 ครั้ง ให้วัคซีน
dT อีก 2 ครั้ง โดยให้ทันทีเมื่อพบ 1 เข็ม (ต้องห่างจากเข็มที่เคยได้รับมาอย่าง
น้อย 1 เดือน) และเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 6 เดือน จากนั้นนัดกระตุ้น 1
ครั้งทุก 10 ปี
2.2 หากได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของคอตีบมาแล้ว 2 ครั้ง ให้วัคซีน
dT อีก 1 ครั้ง ระยะห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นนัดกระตุ้น
1 ครั้งทุก 10 ปี
3. กรณีที่ไม่มีประวัติ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ ให้รับวัคซีน dT 3 ครั้ง โดยเข็ม
ที่สองห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่สามห่างจากเข็มที่สอง 6 เดือน จากนั้น
นัดกระตุ้น 1 ครั้งทุก 10 ปี
ในกรณีทบี่ คุ คลนัน้ อาจเคยได้รบั วัคซีน tetanus มาก่อนแล้วหลายครัง้ แล้ว
การให้วัคซีน dT จ�ำนวน 3 ครั้ง อาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อ tetanus มาก จนเกิด
อาการไม่พงึ ประสงค์ภายหลังการได้รบั วัคซีน จึงควรให้คำ� แนะน�ำภายหลังได้รบั วัคซีน

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 139


แนวทางการรับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap Vaccine)
เป็นการให้วคั ซีนเข็มกระตุน้ โรคไอกรนด้วย Tdap ในวัยรุน่ 1 ครัง้ แทนการ
ฉีดวัคซีน dT ในช่วงวัยรุน่ หรือในวาระทีต่ อ้ งฉีดวัคซีน Td เช่น กรณีมบี าดแผลและ
แนะน�ำให้ฉดี Tdap แทน dT แก่สตรีตงั้ ครรภ์ในไตรมาสที่ 3 (ช่วงอายุครรภ์ 27-36
สัปดาห์) รวมถึงสมาชิกในบ้านทีม่ เี ด็กเล็ก และบุคลากรทีส่ มั ผัสเด็กทารก อายุนอ้ ย
กว่า 1 ปี เพราะจะต้องดูแลใกล้ชดิ กับทารก เพือ่ ป้องกันการติดเชือ้ ไอกรนในทารก

แนวทางการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)(1, 3-6)


กลุ่มประชากรผู้ใหญ่ที่มีข้อบ่งชี้ในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ได้แก่ กลุม่ ทีม่ คี วามเสีย่ งสูงทีอ่ าจเกิดโรคแทรกซ้อนหรือมีอาการไข้หวัดใหญ่รนุ แรง
ได้แก่บุคคลที่อายุ 65 ปีขึ้นไป สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ
3 เพราะมีอัตราตายสูงเมื่อมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ บุคคลที่เป็นโรคปอดอุดกั้น
เรือ้ รัง รวมทัง้ โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไตวายเรือ้ รัง โรคเลือดธาลัส
ซีเมีย หรือผูท้ มี่ ภี าวะภูมคิ มุ้ กันบกพร่อง ผูท้ ไี่ ด้รบั ยากดภูมคิ มุ้ กัน และกลุม่ อาชีพที่
มีโอกาสแพร่เชือ้ ไข้หวัดใหญ่ไปสูก่ ลุม่ ทีม่ คี วามเสีย่ งสูง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และ
บุคลากรทางการแพทย์ทเี่ กีย่ วข้องกับการดูแลรักษาผูป้ ว่ ย บุคลากรในสถานบริบาล
หรือสถานพักฟื้นคนชรา ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ให้การบริบาลที่บ้าน บุคคลที่พักอยู่ใน
บ้านเดียวกับประชากรที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่ดูแลทารกอายุต�่ำกว่า 6 เดือน และ
ประชาชนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่อยู่ในกลุ่มวัยท�ำงานที่ต้องพบปะหรืออาศัยอยู่กับ
กลุ่มคนจ�ำนวนมาก ซึ่งการให้วัคซีนนี้ สามารถช่วยลดการติดเชื้อ ลดความรุนแรง
140 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
วัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ประจ�ำปี (Seasonal
influenza) เป็นชนิด Inactivated Influenza Vaccine โดยทั่วไปแล้วเป็นชนิด
3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Influenza A (H1N1) Influenza A (H3N2) และ
Influenza B โดยการฉีดวัคซีนเพือ่ ป้องกันการติดเชือ้ ไข้หวัดใหญ่ตอ้ งเปลีย่ นแปลง
ไปตามชนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทีค่ าดว่าจะระบาดในปีนนั้ และในประเทศไทยพบ
การระบาดของโรคได้ทงั้ ปี แต่พบได้มากขึน้ ในช่วงฤดูฝนและช่วงเดือนมกราคมถึง
เดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น จึงต้องฉีดวัคซีนทุกปี แม้จะเป็นสายพันธุ์เดิมของวัคซีนที่
เคยฉีดก่อนหน้านี้ ทัง้ นี้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทใี่ ช้ไม่สามารถป้องกันไข้หวัด
นก (Avian influenza) หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เช่น สายพันธุ์ H7N9 ได้

แนวทางการรับวัคซีนโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR, MR


vaccine)(1-5)
แม้วา่ ภูมติ า้ นทานทีเ่ กิดจากการฉีดวัคซีนหัดจะอยูน่ าน แต่พบว่ามีรายงาน
ผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคหัดบ่อยขึ้น และพบได้ในผู้ใหญ่ที่เคยมีประวัติฉีดวัคซีนมาก่อน
นอกจากนีย้ งั มีการรายงานของการระบาดเกิดขึน้ ในสถานทีท่ มี่ กี ารรวมกลุม่ ของคน
ได้แก่ โรงเรียน สถานสงเคราะห์เด็ก เรือนจ�ำ และโรงงาน งานทีม่ คี นรวมกันอยูเ่ ป็น
จ�ำนวนมาก มักเป็นกลุม่ แรงงานทีม่ าจากหลายพืน้ ทีร่ วมกันและมีแรงงานต่างชาติ

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 141


วัยรุน่ หรือผูใ้ หญ่ทไี่ ม่มภี มู ติ า้ นทานต่อโรคหัด ได้แก่ บุคคลทีไ่ ม่เคยฉีดวัคซีน
และไม่เคยเป็นโรคหัดมาในอดีต หรือตรวจไม่พบภูมติ า้ นทานต่อโรคหัด นอกจากนี้
บุคลากรทางการแพทย์ผทู้ อี่ ายุนอ้ ยกว่า 40 ปี ควรได้รบั วัคซีนหัด โดยแนะน�ำให้ฉดี
วัคซีนหัด-คางทูม–หัดเยอรมัน (measles-mumps-rubella vaccine: MMR) 1 เข็ม
และฉีดเข็มกระตุ้นอีก 1 เข็มห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 4 สัปดาห์ โดยทั่วไปไม่มี
ความจ�ำเป็นต้องตรวจภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนหัด - คางทูม - หัดเยอรมันครบ

แนวทางการรับวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A vaccine)(1, 5, 8)


ในปัจจุบันยังคงพบการระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอเกิดขึ้น โดยส่วน
มากผูป้ ว่ ยทีต่ ดิ เชือ้ ไม่ทราบแหล่งทีม่ าของโรค ส่วนใหญ่มอี าชีพรับจ้าง เกษตรกรรม
และนักเรียน ผูป้ ว่ ยประมาณร้อยละ 80 เป็นกลุม่ เด็กโตและผูใ้ หญ่มอี ายุตงั้ แต่ 15
ปีขนึ้ ไป และมีแนวโน้มว่าผูป้ ว่ ยจะเป็นในกลุม่ วัยแรงงานและผูใ้ หญ่มากขึน้ เพราะ
มีโอกาสได้รบั เชือ้ จากการรับประทานอาหารและน�ำ้ นอกบ้านมากกว่าเด็ก การให้
วัคซีนในการป้องกันโรคไวรัสตับเอ จึงมีความส�ำคัญในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น
โดยเฉพาะในบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง ผู้ที่มีสัมพันธ์ระหว่าง
ชายกับชาย ผูต้ ดิ ยาเสพติด ผูท้ ที่ ำ� งานในห้องปฏิบตั กิ ารเกีย่ วกับไวรัสตับอักเสบเอ
ผู้ประกอบอาหาร ผู้ที่อยู่ในสถาบันที่มีคนอยู่ด้วยกันเป็นจ�ำนวนมาก เช่น สถาน
เลีย้ งเด็ก สถานกักกัน กองทัพ มีโอกาสเกิดการระบาดของโรคได้บอ่ ย นอกจากนัน้
ยังแนะน�ำให้วัคซีนแก่นักเดินทางที่เดินทางไปประเทศที่มีอุบัติการณ์ของโรคนี้สูง
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ ฉีดที่กล้ามเนื้อต้นแขนโดยฉีด 2
ครั้งห่างกัน 6 - 12 เดือน โดยทั่วไปไม่ต้องตรวจเลือดหา anti HAV IgG หลังการ
ฉีดวัคซีนครบ

142 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
แนวทางการรับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine)(1, 2, 4, 8)
โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส�ำคัญ โดยเฉพาะประเทศใน
ภูมิภาคแอฟริกาและเอเชีย ที่มีความชุกของการเป็นพาหะสูง ในประเทศไทยช่วง
ระยะ 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเพิ่มมากขึ้น จากอัตรา
ป่วย 2.85 ต่อประชากรแสนคนในปีพ.ศ. 2544 เพิ่มเป็น 9.23 ต่อประชากรแสน
คนในปี พ.ศ. 2553 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป โดย
เฉพาะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มี
รายงานว่าประมาณร้อยละ 5 - 10 ของบุคลากรที่ติดเชื้อ
ไวรัส ตับอักเสบบีติดเชื้อจากการสัมผัสเลือดและสารคัด
หลั่งของผู้ป่วย ซึ่งการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังนั้น
เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับ
และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบบีจากการท�ำงาน มีความสัมพันธ์กับความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ
เข็มทิ่มต�ำ และการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย วิธีการที่ดีที่สุดในการ
ป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีคือ การให้วัคซีนป้องกันซึ่งมีประสิทธิภาพใน
การป้องกันโรคสูงถึงร้อยละ 90 - 95
วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แนะน�ำในบุคคลที่มีความเสี่ยง
สูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ ผู้ติดยาเสพติด รักร่วมเพศ ผู้ป่วยโรคไต
ทีท่ ำ� การฟอกไต ผูป้ ว่ ยทีไ่ ด้รบั เลือดบ่อย เช่น Hemophilia Thalassemia บุคคล
ในครอบครัวที่ตรวจพบไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ บุคคลที่ทางาน
สัมผัสกับเลือด เพื่อหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโดยไม่จ�ำเป็น อาจจะมีการตรวจเลือด
เพื่อประกอบการพิจารณารับวัคซีน

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 143


ข้อแนะน�ำการให้วัคซีนมีดังนี้
• กรณีบุคคลที่เกิดในประเทศไทยก่อนปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากกระทรวง
สาธารณสุขได้ให้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีแก่เด็กแรกเกิดทุกคนตั้งแต่
ปีพ.ศ. 2535 จึงให้สอบถามประวัติการได้รับวัคซีนในอดีต หากไม่เคยได้รับวัคซีน
หรือมีประวัตกิ ารรับวัคซีนไม่ชดั เจน ให้ตรวจภูมคิ มุ้ กันต่อเชือ้ ไวรัสตับอักเสบบี หาก
ผลการตรวจเป็นลบให้ฉีดวัคซีน หรืออาจพิจารณาฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องเจาะเลือด
ตรวจก็ได้
• กรณีบคุ คลทีเ่ กิดในประเทศไทยหลังปีพ.ศ.2535 หากมีความประสงค์จะ
ฉีดวัคซีนโดยที่ไม่แน่ใจ หรือไม่ทราบประวัติการรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส
ตับอักเสบบีที่ชัดเจน ให้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม แล้วตรวจ anti HBs ภายหลังการฉีด
วัคซีน 2-4 สัปดาห์ หากพบว่าระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่า 10 IU/ml แสดงว่าร่างกาย
มีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วไม่จ�ำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีก
• ในส่วนของการตรวจ anti HBs หลังการฉีดวัคซีนครบ 1 เดือน ไม่มคี วาม
จ�ำเป็น นอกจากกรณีท่ีมีความเสี่ยงสูงที่จะติดโรค เช่น บุคลากรทางการแพทย์
หรือต้องการทราบว่าเป็นผูท้ ไี่ ม่ตอบสนองต่อวัคซีน (non-responder) ในปัจจุบนั
ไม่แนะน�ำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกหลังจากฉีด 3 เข็ม เนื่องจากการศึกษาระยะยาว
พบว่าภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานมากกว่า 10 ปี ถึงแม้วา่ ในบางรายจะตรวจไม่พบระดับ
ภูมคิ มุ้ กัน (Antibody) หรือพบในระดับต�ำ่ แต่ยงั มีระบบภูมคิ มุ้ กันความจ�ำเหลืออยู่
ซึง่ สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ การฉีดกระตุน้ อาจจะพิจารณาให้เฉพาะส�ำหรับผู้
ทีม่ สี ภาพภูมคิ มุ้ กันบกพร่อง เช่น ผูป้ ว่ ยไตวายทีต่ อ้ งฟอกไต (Hemodialysis) เป็น
ประจ�ำ

แนวทางการรับวัคซีนโรคอีสุกอี ใส (Varicella vaccine)(1, 4, 5, 9)


การติดเชือ้ อีสกุ อีใสในวัยผูใ้ หญ่ สามารถท�ำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
ได้ เช่น ปอดอักเสบ อาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่เฉพาะ

144 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
แต่ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ป่วยตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเท่านั้น
แต่ยังสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ที่สุขภาพปกติ การฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคอีสุกอีใสแก่วัยผู้ใหญ่จึงมีความส�ำคัญ หลังจากได้รับวัคซีนยังสามารถพบการ
ติดเชื้อภายหลังได้รับวัคซีน (ฺBreakthrough infection) ได้ เพียงแต่ว่าผู้ป่วยที่
เคยได้วัคซีน เมื่อมีการติดเชื้ออีสุกอีใสจะมีอาการไม่รุนแรงและระยะเวลาที่ป่วย
จะสัน้ กว่ากลุม่ ติดเชือ้ ทีไ่ ม่เคยได้รบั วัคซีนมาก่อน ผูใ้ หญ่ทใี่ ห้ประวัตวิ า่ เคยเป็นโรค
มาก่อนพบว่ามักเคยเป็นโรคจริงเนือ่ งจากลักษณะของโรคอีสกุ อีใสชัดเจน และมัก
มีภมู ติ า้ นทานแล้วจึงไม่มคี วามจ�ำเป็นต้องตรวจหาภูมคิ มุ้ กัน แต่ในกรณีทไี่ ม่ทราบ
หรือไม่มีประวัติเคยเป็นโรคมาก่อนควรตรวจภูมิคุ้มกันโรคอีสุกอีใสก่อนฉีดวัคซีน

กลุม่ อาชีพทีม่ โี อกาสสัมผัสโรคนีแ้ ละกระจายเชือ้ ได้มาก เช่น บุคลากรทางการ


แพทย์ บุคลากรทุกคนที่สัมผัสผู้ป่วยเด็กหรือที่ดูแลผู้ป่วยเด็ก รวมทั้งผู้ป่วยภาวะ
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ครูหรือครูพี่เลี้ยง บุคคลทั่วไปที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือ
ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน บุคคลที่อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควร
แนะน�ำให้รับวัคซีนทุกรายหากไม่มีข้อห้าม เนื่องจากวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
มาก จึงไม่มีความจ�ำเป็นต้องตรวจหาภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีน
รายละเอียดข้อห้ามในการให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่ก�ำลังมีไข้สูง
หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ที่ก�ำลังรับรังสีรักษา หรือ
ก�ำลังรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน รวมทั้งผู้ที่ได้รับ Prednisolone ตั้งแต่ 2 มก./
กก./วัน นานตัง้ แต่ 14 วันขึน้ ไป ถ้าจะให้วคั ซีนนีค้ วรให้หลังจากหยุดยาสเตียรอยด์
อย่างน้อย 1 เดือน หรือหลังจากหยุดยาเคมีบ�ำบัดอย่างน้อย 3 เดือน กรณีหญิง

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 145


วัยเจริญพันธุ์ที่ได้รับวัคซีนควรป้องกันการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนหลังจากฉีด
วัคซีน บุคคลทีเ่ พิง่ ได้รบั อิมมูโนโกลบูลนิ หรือผลิตภัณฑ์ของเลือด ผูท้ มี่ ปี ระวัตแิ พ้ยา
แบบ Anaphylaxis ต่อเจลาติน Neomycin หรือยาปฏิชวี นะอืน่ ทีบ่ รรจุในวัคซีน ผู้
ทีไ่ ด้รบั ยาแอสไพรินเป็นประจ�ำเพราะมีอาจความเสีย่ งต่อภาวะ Reye syndrome

แนวทางการรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV vaccine)(1, 5)


แม้วา่ วัคซีนนีจ้ ะสามารถป้องกันการติดเชือ้ HPV ได้ แต่
วัคซีนไม่สามารถขจัดการติดเชื้อที่มีอยู่และเป็น Persistent
Infection หรือรักษาโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแล้วได้ และ
การฉีดวัคซีนไม่สามารถทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งปาก
มดลูกได้ และไม่สามารถใช้รกั ษาผูป้ ว่ ยทีม่ ผี ล Pap smear ทีผ่ ดิ ปกติได้ ไม่สามารถ
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น เช่น ซิฟิลิส หนองใน การให้วัคซีนชนิดนี้พบ
ว่ามีประโยชน์และมีความคุ้มค่าในวัยท�ำงานหรือกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการ
รับเชื้อ HPV เช่น กลุ่มชายรักร่วมเพศ ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
ปัจจุบัน สปสช.สนับสนุนวัคซีนให้กับกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ตั้งแต่
ปีพ.ศ. 2560 ซึง่ ในอนาคตอาจขยายไปยังกลุม่ วัยท�ำงาน ทัง้ นีส้ ำ� หรับการฉีดวัคซีน
เข็มกระตุ้น (ฺฺBooster) ยังอยู่ในช่วงพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์

แนวทางการรับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies vaccine)(7)


โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การป้องกันจึงมีความส�ำคัญ กลุม่ อาชีพทีม่ คี วามเสีย่ งสูงต่อการสัมผัส
โรคตลอดเวลา เช่น สัตวแพทย์ ผู้ที่ท�ำงานเกี่ยวกับสัตว์ ผู้ท�ำงาน
ในห้องปฏิบัติการ หรือผู้เดินทางเข้าไปในถิ่นที่มีโรคพิษสุนัขบ้า
ชุกชุม การให้วัคซีนแบบก่อนการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (Pre-Exposure Rabies
Prophylaxis) จึงมีความจ�ำเป็น การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า สามารถฉีดได้ทั้ง

146 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เข้ากล้ามเนือ้ (Intramuscular regimen: IM) และฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal
regimen: ID) โดยการฉีดแบ่งเป็น 2 กรณี
1. ในกรณีประชาชนทั่วไปที่ต้องการฉีดวัคซีนแบบก่อนการสัมผัสโรค
ให้ได้ 2 วิธีคือ
1.1 การฉีดเข้ากล้าม (Intramuscular regimen: IM) ใช้วัคซีนชนิด
PVRV, CPRV, PCECV, PDEV 1 เข็มฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนในวันที่ 0 และ 7
1.2 การฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal regimen: ID) ใช้วัคซีนชนิด
PVRV (Verorab®), CPRV, PCECV 0.1 มล./จุดจ�ำนวน 2 จุด ฉีดเข้าในผิวหนัง
บริเวณต้นแขน 2 ข้างในวันที่ 0 และ 7 หรือ 21
2. ในกรณีของผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงในการสัมผัสโรคตลอดเวลา หรือผู้ที่มี
ภูมิคุ้มกันบกพร่องให้ได้ 2 วิธีคือ
2.1 การฉีดเข้ากล้าม (Intramuscular regimen: IM) ใช้วคั ซีนชนิด PVRV,
CPRV, PCECV, PDEV 1 เข็ม (1 มล. หรือ 0.5 มล.แล้วแต่ชนิดของวัคซีนใน 1
หลอดเมื่อละลายแล้ว) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนในวันที่ 0, 7 และ 21 หรือ 28
2.2 การฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal regimen: ID) ใช้วคั ซีนชนิด PVRV
(Verorab®), CPRV, PCECV 0.1 มล./จุดจ�ำนวน 1 จุดฉีดเข้าในผิวหนังบริเวณ
ต้นแขนในวันที่ 0, 7 และ 21หรือ 28

การให้วคั ซีนเพือ่ สร้างเสริมภูมคิ ม้ ุ กันโรคทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับกลุม่ อาชีพต่างๆ(3, 4, 8-10)


ในบางอาชีพทีม่ คี วามเสีย่ งต่อการติดเชือ้ บางชนิดสูง การให้ภมู คิ มุ้ กันเป็น
สิ่งจ�ำเป็น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลดอัตราการป่วย ลดการแพร่กระจายเชื้อ และ
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ดังแสดงในตารางที่ 7.3

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 147


ตารางที่ 7.3 : วัคซีนที่แนะน�ำให้ได้รับตามอาชีพ
อาชีพ วัคซีนที่จ�ำเป็น
บุคลากรทางการแพทย์ Influenza vaccine, MMR vaccine,
Tetanus vaccine ,Diphtheria vaccine,
Pertussis vaccine,Varicella vaccine,
Hepatitis B vaccine
บุคคลทีส่ มั ผัสใกล้ชดิ กับเด็ก เช่น ครู นักศึกษา Influenza vaccine, MMR vaccine,
ฝึกสอนพีเ่ ลีย้ งเด็ก ท�ำงานในสถานทีร่ บั เลีย้ งเด็ก Pertussis vaccine, Varicella vaccine,
นักจิตวิทยาเด็ก Hepatitis A vaccine

บุคคลที่สัมผัสกับขยะและสารคัดหลั่ง เช่น Hepatitis A vaccine


คนงานเก็บขยะ หน่วยซักฟอก Hepatitis B vaccine,Tetanus vaccine
หน่วยบ�ำบัดน�้ำเสีย หน่วยก�ำจัดขยะมูลฝอย
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ Hepatitis B vaccine, Rabies vaccine

กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับโรคติดต่อ Hepatitis B vaccine


ทางเพศสัมพันธ์ HPV vaccine

กลุ่มอาชีพหรือหน่วยงานด้านความปลอดภัย Hepatitis B vaccine, Tetanus vaccine


เช่น ต�ำรวจ หน่วยกู้ภัย บุคลากรทางทหาร Influenza vaccine
หน่วยงานที่ต้องสัมผัสกลุ่มแรงงานต่างชาติ MMR vaccine

กลุ่มอาชีพที่สัมผัสกับสัตว์เช่น สัตวแพทย์ Influenza vaccine


สัตวบาล นักศึกษาสัตวแพทย์ พนักงานใน Rabies vaccine
สวนสัตว์ หรือดูแลสัตว์ปา่ ที่มีความใกล้ชิดกับ
สัตว์ เช่น ให้อาหาร
ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะ MMR vaccine
เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ เช่น ผู้ดูแล Influenza vaccine
ผู้ป่วยและผู้พิการ ผู้ที่ท�ำงานในสถานรับดูแลผู้ Varicella vaccine
สูงอายุ

148 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
สรุป
การให้วัคซีนในกลุ่มคนท�ำงาน ควรให้ในเวลาและขนาดที่เหมาะสม ตาม
แต่ละบุคคลและแต่ละอาชีพ จึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึง่ แพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัวควรคัดกรองและให้คำ� แนะน�ำได้อย่างถูกต้องแม่นย�ำ เพือ่ สัง่ การรักษาได้
อย่างรวดเร็ว จะช่วยป้องกันคนท�ำงานจากการติดเชื้อในขณะท�ำงานได้

เอกสารอ้างอิง
1. ส�ำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.ต�ำราวัคซีนและการสร้าง
เสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2556.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2556.
2. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)กระทรวงสาธารณสุข.หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ
ส�ำหรับเจ้าหน้าที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2558.นนทบุรี:บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์
พริ้นท์จ�ำกัด; 2558.
3. David N.Specific immunization issues in the occupational health setting.
Occupational Medicine[Internet]. 2007[cite 2018 Aug 22] ; 57:557–563.Available
form: https://academic.oup.com/occmed/article-abstract/57/8/557/1474429
4. ส�ำนักโรคติดต่อทั่วไปกรมควบคุมโรค.ค�ำแนะน�ำการให้วัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์
และสาธารณสุข[Internet].นนทบุร:ี กระทรวงสาธารณสุข; 2553[สืบค้นเมือ่ 1 ต.ค.2561].
แหล่งข้อมูล: http://thaigcd.ddc.moph.go.th/mediapublics/download/177
5. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย.ค�ำนะน�ำส�ำหรับการให้วัคซีนป้องกันโรคส�ำหรับ
ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ[Internet].กรุงเทพมหานคร:สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย;
2561[สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค.2561].แหล่งข้อมูล:www.idthai.org/2015/dl_file.
php?file=file390_1_1513821623.pdf&n

การสร้างเสริ มภูมิคุ้มกันโรคในวัยท�ำงาน 149


6. กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน.แนวทางการให้บริการในคลินกิ วัคซีนผูใ้ หญ่ปี 2561[Internet].
กรุงเทพมหานคร:กรมควบคุมโรค; 2561[สืบค้นเมือ่ 22 ส.ค.2561].แหล่งข้อมูล:http://
dvpd.ddc.moph.go.th/storage/content/5ae2ca21d434d.pdf
7. คลินิกป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสถานเสาวภา สภากาชาดไทย.แนวทางการดูแลรักษาผู้
สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าสถานเสาวภา สภากาชาดไทย พ.ศ. 2561 และค�ำถามที่พบบ่อย.
กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด เพนตากอน แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง; 2561.
8. Ministry of Health.Immunisation Handbook 2017[Internet]. Wellington:
Ministry of Health; 2017 May[cite 2018 Aug 21]. Available form:http://www.
immune.org.nz/sites/default/files/resources/Immunisation%20Handbook%20
2017%202nd%20Ed%20-%20Chapter%204.pdf
9. Massachusetts Department of Public Health.Adult Occupational Immunizations
2016-2017[Internet]. Massachusetts:MDPH; 2016 Oct[cite 2018 Aug 21].
Available form:https://www.mass.gov/files/documents/2016/11/qn/
guidelines-adult.pdf
10.The national health and medical research council.Occupational
immunizations[Internet]. Queensland government: 2016 June[cite 2018 Aug
21]. Available form: https://www.qld.gov.au/health/conditions/immunisation/
occupational

150 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 8

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ
(Family Health Care of Workers in Primary Care)

นพ.กฤษฎิ์ ทองบรรจบ

เนื้อหา
• การดูแลด้านอาชีวอนามัยในเวชศาสตร์ครอบครัว
• แรงงานนอกระบบ สถิติ และคุณภาพชีวติ ของแรงงานนอกระบบ
• การดูแลแบบองค์รวมทีเ่ น้นการดูแลความเจ็บป่วยทีเ่ กีย่ วเนือ่ งมาจากอาชีพ
ของสมาชิกในครอบครัว

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ 151


บทน�ำ
ในการท�ำงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ทีม่ บี ริบทในการดูแลสุขภาพของผู้
ป่วยในทุกมิติแบบองค์รวม ดังที่ได้กล่างถึงหลักการแล้วในบทที่ 2 ผนวกกับหลัก
การดูแลแบบอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัยในบทอื่น ๆ ที่ผ่านมา นอกจาก
นั้นบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวยังต้องดูแลกว้างไปจนถึงระดับของ
ครอบครัวและชุมชนด้วย ในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงผู้ป่วยซึ่งเป็นคนท�ำงานที่
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะได้พบในชีวิตจริงในบริบทของสังคมไทย ซึ่งมักจะ
มีการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมภายในครัวเรือน นอกจากตัวคนท�ำงาน
แล้ว อาจจะมีบคุ คลอืน่ ทีไ่ ด้รบั ความเสีย่ งจากสิง่ คุกคามโดยไม่รตู้ วั แพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัวควรจะประเมินและให้คำ� แนะน�ำให้รอบด้าน เพือ่ ป้องกันไม่ให้เกิดความ
เสี่ยง หรือเกิดความเสี่ยงน้อยที่สุดแก่บุคคลทั้งครอบครัว

การดูแลด้านอาชีวอนามัยในเวชศาสตร์ครอบครัว
บทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวทีเ่ น้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
ในระบบบริการปฐมภูมิ ให้บริการสุขภาพด่านแรกทีส่ ามารถเข้าถึงได้ทกุ ระดับ ด้วย
แนวคิดและหลักการของการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) ของ
องค์การอนามัยโลก(1) คาดหวังให้ประชากรทุกคนมีสุขภาพและอนามัยที่ดีอย่าง
ทัว่ ถึง หลักการและแนวคิดของสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและอาชีวเวชศาสตร์
มีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ มีส่วนที่ท�ำงานในด้านป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
ของคนทัว่ ไป(2) มีการค�ำนึงถึงบริบทและสิง่ แวดล้อมรอบตัวทีอ่ าจส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพของผู้ป่วยด้วย การซักประวัติด้านการประกอบอาชีพและครอบครัวของ
ผู้ป่วย จะช่วยท�ำให้สามารถเข้าใจวิถีชีวิต ปัจจัยเสี่ยงในการท�ำงาน ที่อาจเป็นต้น
เหตุหรือเกีย่ วเนือ่ งกับการท�ำงานของผูป้ ว่ ยถึงการเจ็บป่วยได้(3, 4) โดยเฉพาะผูป้ ว่ ย
ที่มาด้วยกลุ่มอาการแสดงที่อธิบายได้ยากหรือหาสาเหตุไม่พบ ทั้งนี้การประเมิน

152 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
และการดูแลรักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการท�ำงานนั้น ส่งผลให้แพทย์เวชปฏิบัติ
ครอบครัวมีความท้าทายใหม่ๆ ในการท�ำงาน ทีข่ ยายขอบเขตการดูแลไปมากกว่า
ห้องตรวจรักษาโรคหรือโรงพยาบาล(5)
ในบางครัง้ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวอาจพบว่า ในชุมชนของตนเองมีการ
ใช้แรงงานนอกระบบ หรือมีการใช้บา้ นเป็นสถานประกอบการ ซึ่งอาจผลกระทบ
เรื่องสุขภาพของคนในครอบครัวหรือชุมชนได้

แรงงานนอกระบบ สถิติ และคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ


แรงงานนอกระบบ (Informal Workers) ตามนิยามขององค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ (International labor organization: ILO)(6) คือ คือ ผู้ใช้
แรงงานที่ท�ำงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานที่เป็นทางการ หรือไม่มีนายจ้างตาม
ความหมายของกฎหมายแรงงาน ไม่ได้ทำ� งานอยูใ่ นสถานประกอบการของนายจ้าง
ไม่มคี า่ จ้างหรือค่าตอบแทนทีแ่ น่นอน หรือเป็นผูป้ ระกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นผูท้ ี่
ท�ำงานชั่วคราว แรงงานอกระบบจึงเป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในกรอบความคุ้มครอง
ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือกฎหมายประกันสังคม ท�ำให้ไม่มีหลักประกัน
ความมัน่ คงใด ๆ ในการท�ำงาน ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งงานทีม่ นั่ คง ค่าตอบแทนแรงงาน
ทีเ่ ป็นธรรม สุขภาพความปลอดภัยในการท�ำงาน และความมัน่ คงในการด�ำรงชีวติ
เมื่อเข้าสู่วัยชรา

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ 153


ลักษณะอาชีพที่เป็นตัวอย่างของแรงงานนอกระบบ เช่น ผู้รับงานไปท�ำ
ที่บ้าน ผู้รับเหมาช่วงงานอุตสาหกรรมไปท�ำที่บ้าน (Industrial Outworkers)
คนงานที่ท�ำงานไม่ประจ�ำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างชั่วคราวตามฤดูกาล และ
ลูกจ้างที่ท�ำงานไม่เต็มเวลา (Part - time workers) ลูกจ้างในโรงงานห้องแถว
(Sweatshop) และคนงานที่ท�ำกิจการของตนเองอยู่ท่ีบ้านและโรงงานที่ไม่มี
การตรวจสอบจดทะเบียน (Own Account Workers) นอกจากนีย้ งั หมายรวมถึง
แรงงานอิสระทีท่ ำ� งานเพือ่ ความอยูร่ อด เช่น หาบเร่รมิ ถนน คนขัดรองเท้า คนเก็บ
ขยะ และแรงงานรับใช้ในบ้าน เป็นต้น
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization ;
ILO) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสนใจและก�ำหนดภารกิจในการท�ำงานเรื่อง
ของเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal economy)ไว้อย่างจริงจัง(7) จากสถานการณ์
ทั่วโลกในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2010 มีข้อมูลพบว่ามีแนวโน้มของผู้ใช้แรงงานนอก
ระบบ (Informal workers) ซึ่งไม่มีระบบนายจ้าง ลูกจ้างที่ชัดเจน ไม่มีสวัสดิการ
ไม่มเี งินเดือนประจ�ำ เพิม่ ขึน้ มาตลอดช่วง 35 ปีทผี่ า่ นมา โดยมีจำ� นวนเพิม่ ขึน้ เป็น
จ�ำนวนถึงร้อยละ 70 ของประชากรวัยท�ำงานทัง้ หมด ในกลุม่ ประเทศแอฟริกาทาง
ตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทัง้ นี้
กลุม่ ประเทศแถบละตินอเมริกามีผใู้ ช้แรงงานนอกระบบจ�ำนวนร้อยละ 58 และกลุม่
ประเทศแถบแอฟริกาเหนือมีจำ� นวนร้อยละ 50 ของประชากรวัยท�ำงานทัง้ หมด(6)
ทัง้ นีผ้ ลการส�ำรวจทัว่ โลกพบว่า มีผใู้ ช้แรงงานทีร่ ายงานว่าตนเองเป็นเจ้าของ
กิจการหรือเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and
Medium Enterprise: SME) โดยถือว่าผู้ใช้แรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นนายจ้าง
ตนเอง (Self employed) โดยที่พบได้ทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ประกอบกิจการ
ภายในบ้าน (Home - based workers) หรือประกอบกิจการในสถานที่ท�ำงาน
ภายนอกตัวบ้านออกไป (Workplace - based workers) ซึง่ ประชากรผูใ้ ช้แรงงาน

154 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
นอกระบบเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิง ซึ่งเป็นลักษณะของงานที่ใช้แรงงาน
ในครัวเรือน (Unpaid family worker) หรือ ลักษณะงานรับจ้างรับชิ้นงานจาก
โรงงานมาท�ำภายในบ้าน (Industrial outworker/Homeworker) มีปัญหาเรื่อง
มาตรฐานค่าจ้างขั้นต�่ำของแรงงาน เสี่ยงต่อไม่มีรายได้ที่แน่นอน ในขณะเดียวกัน
ผูช้ ายมักจะอยูใ่ นระบบแรงงานทีเ่ ป็นทางการ (Formal workers) โรงงานหรือสถาน
ประกอบการทีม่ นั่ คงกว่าและมีสวัสดิการทีด่ กี ว่า มีคา่ ตอบแทนขัน้ ต�ำ่ ทีแ่ น่นอนกว่า(8)
ส�ำหรับในประเทศไทย จากรายงานการส�ำรวจของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2559 พบว่า ในประเทศไทยมีจ�ำนวนประชากรผู้มีงานท�ำทั้งสิ้น 38.3
ล้านคน โดยเป็นแรงงานนอกระบบ คือ เป็นผูท้ ำ� งานทีไ่ ม่ได้รบั ความคุม้ ครอง หรือ
ไม่มหี ลักประกันทางสังคมจากการท�ำงาน จ�ำนวน 21.3 ล้านคน หรือ ร้อยละ 55.6
ของจ�ำนวนผูม้ งี านท�ำทัง้ หมด และทีเ่ หลือเป็นแรงงานในระบบจ�ำนวน 17 ล้านคน
คิดเป็นร้อยละ 44.0
เมือ่ พิจารณาตามเพศ พบว่า เพศชายมีจำ� นวนมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย คือ
เพศชาย 11.7 ล้านคน (ร้อยละ 54.9) และเพศหญิง 9.6 ล้านคน (ร้อยละ 45.1)
ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด แรงงานนอกระบบเหล่านี้พบมากที่สุด คือ ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 35.5 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 22.6 ภาคกลาง
ร้อยละ 21.0 และภาคใต้ร้อยละ 13.9 และที่พบน้อยที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร
ร้อยละ 7.0 ส่วนใหญ่ท�ำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 11.5 ล้านคน รองมาเป็น
ภาคการค้า การบริการ และภาคการผลิต ผลส�ำรวจยังชี้ถึงปัญหาของแรงงาน
นอกระบบทีต่ อ้ งการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากทีส่ ดุ คือ ปัญหาเกีย่ วกับค่าตอบแทน
ร้อยละ 56.0 รองลงมาเป็นงานที่ท�ำไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 16.1
และการท�ำงานหนัก ร้อยละ 14.7 ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีวันหยุด
ท�ำงานไม่ตรงเวลาปกติ ชัว่ โมงท�ำงานมากเกินไปและลาพักผ่อนไม่ได้ นอกจากนีก้ ลุม่
แรงงานนอกระบบเหล่านีม้ อี ตั ราการเกิดอุบตั เิ หตุในการท�ำงานคิดเป็น 10 เท่าของ

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ 155


แรงงานในระบบปกติ(8) ส�ำหรับการได้รบั บาดเจ็บหรืออุบตั เิ หตุจากการท�ำงานของ
แรงงานนอกระบบในปี พ.ศ. 2559 มีจำ� นวน3.3 ล้านคน โดยลักษณะของการเกิด
อุบตั เิ หตุหรือบาดเจ็บเกิดจากการถูกของมีคมบาดมากทีส่ ดุ ร้อยละ 65.0 รองลงมา
เป็น พลัดตกหกล้มร้อยละ 17.9 การชนและกระแทกโดยวัสดุร้อยละ 6.2 ไฟไหม้
หรือน�้ำร้อนลวก ร้อยละ 6.1 อุบัติเหตุจากยานพาหนะร้อยละ 2.5 ได้รับสารเคมี
เป็นพิษร้อยละ 1.7 และไฟฟ้าช็อตร้อยละ 0.4 ซึ่งอาจเป็นจากหลายเหตุปัจจัย
ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่า การป้องกันส่วนบุคคลและการดูแลสภาพแวดล้อม
ด้านความปลอดภัยในการท�ำงานของกิจการ หรือท�ำงานส่วนตัวในบ้าน อาจไม่ได้มี
มาตรฐานเพียงพอ เท่ากับระบบรักษาความปลอดภัยของสถานประกอบการตาม
กฎหมายของโรงงานใหญ่ทั่วไป

ถ้าบ้านเป็นสถานประกอบการจะส่งผลกระทบอย่างไร
สถานประกอบการทุกท่ีจะมีสิ่งคุกคามทางด้านสุขภาพ (Health hazard)
ซึ่งถ้าเป็นโรงงานจะมีระบบ ควบคุมสิ่งคุมคามท่ี่ดี แต่ถ้าบ้านเป็นสถานประกอบ
กิจการอาจไม่มีระบบควบคุมนั้น เมื่อสถานประกอบกิจการในการท�ำงานนั้นอยู่
ภายในตัวบ้าน สมาชิกในครอบครัวหรือเครือญาติที่อาศัยอยู่บ้านใกล้เรือนเคียง
เดียวกันมักจะกลายเป็นเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้ การท�ำงานภายในบ้านผูท้ ำ� งาน
มักไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และมักให้สมาชิกในครอบครัว เช่น ลูก
มาช่วยงานตัง้ แต่เด็ก เพือ่ ฝึกฝนและถ่ายทอดความช�ำนาญ จึงมีโอกาสสัมผัสปัจจัย
เสี่ยงตั้งแต่เด็ก เช่น เสียงดังจากเลื่อยไม้ สารเคมีในการทาสี เป็นต้น
นอกจากนั้น ประเทศไทยที่ก�ำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging society) น�ำมา
ซึง่ ความท้าทายหลายประการ โดยหนึง่ ในความท้าทายส�ำคัญ คือ ปัญหาผูส้ งู วัยที่
เป็นแรงงานนอกระบบ ส�ำนักงานสถิตแิ ห่งชาติรายงานว่า ในปี 2557 ประเทศไทย
มีประชากรอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ต้องหาเงินเลี้ยงปากท้องตัวเองโดยที่ไม่มีหลัก

156 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ประกันทางสังคมมากถึง 3.5 ล้านคน แล้วหากท่านเหล่านีย้ งั ต้องการท�ำงานโดยเป็น
ลักษณะท�ำงานในบ้านหรือกิจการส่วนตัวในครัวเรือน จึงท�ำให้คาดการณ์ได้วา่ การ
ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยที่มีการท�ำงานในบ้านจะเป็นประเด็นส�ำคัญที่ต้องดูแลต่อไป

การดูแลแบบองค์รวมที่เน้นการดูแลความเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่อง
มาจากอาชีพของสมาชิกในครอบครัว
เครือ่ งมือส�ำคัญของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการท�ำงานกับครอบครัว
คือ การเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วย รวมถึงบริบทครอบครัว โดยน�ำ
ข้อมูลมาช่วยให้เข้าใจผู้ป่วยและครอบครัวในทุกมิติอย่างครอบคลุมเป็นองค์รวม
เพื่อวางแผนการดูแลร่วมกันกับผู้ป่วยและครอบครัวโดยยึดผู้ป่วยและครอบครัว
เป็นศูนย์กลาง
ทั้งนี้ ในการเยี่ยมบ้านทางเวชศาสตร์ครอบครัว จะมีการใช้เครื่องมือ
INHOMESSS(9) ในเรือ่ งประเด็นความปลอดภัย (Safety) เพือ่ ดูแลด้านความปลอดภัย
ของสมาชิกในครอบครัวด้วย รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 8.1

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ 157


ตารางที่ 8.1 : องค์ประกอบในการประเมินความปลอดภัยภายในบ้าน
(Elements of Home Safety Assessment)(9)
พื้นที่ประเมิน ประเด็นค�ำถามที่ควรค�ำนึงถึง

ความปลอดภัยในครัว • มันเป็นเรื่องง่ายที่จะบอกเมื่อเตาหรือแก๊ส
(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เตาแก๊ส) เตาอบเปิดหรือปิด
• สมาชิกในครอบครัวสวมใส่เสื้อผ้าที่
หลวม เมื่อปรุงอาหารหรือไม่ โดยเฉพาะ
ครอบครัวที่ประกอบกิจการร้านอาหาร
เป็นต้น
ความปลอดภัยของห้องน�้ำ • มีที่ส�ำหรับมือยึดถือในต�ำแหน่งที่เหมาะสม
หรือไม่
• ที่นั่งชักโครกสามารถยกขึ้นได้หรือไม่ ถ้าจ�ำ
เป็น
• ห้องอาบน�้ำฝักบัวหรืออ่างอาบน�้ำมีพื้นผิวที่
ไม่ลื่น
• พื้นห้องน�้ำเนียนเรียบหรือไม่
• สถานประกอบกิจการร้านอาหารที่ต้องเปิด
เป็นห้องน�้ำสาธารณะ อาจต้องค�ำนึงถึง
ปัจจัยเสี่ยงด้านชีวภาพ เช่น เชื้อโรคหรือตัว
ก่อโรคที่อาจปนเปื้อนมาจากลูกค้าที่ป่วย
ด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร
บันได • บริเวณบันไดมีไฟส่องสว่างดีหรือไม่ ถ้ามี
พรมปูอยู่ตรงบันได
• ปัจจุบันมีสภาพปลอดภัยใช้งานได้ดีหรือไม่

158 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
พื้นที่ประเมิน ประเด็นค�ำถามที่ควรค�ำนึงถึง

แก๊ส หรือ ระบบสายไฟฟ้า • มีการวางระบบเป็นอย่างไร


• มีระบบการตรวจสอบและรักษาอย่างถูก
ต้องหรือไม่
เครื่องท�ำความร้อน • มีแผงการควบคุมที่สามารถเข้าถึงและง่าย
และเครื่องปรับอากาศ ต่อการอ่านหรือไม่
• มีเชื้อโรคที่สามารถติดต่อทางอากาศหรือไม่
• บ้านหรือสถานประกอบการ มีการตรวจ
สอบวัดระดับคลอรีนตกค้างของน�้ำใช้ และ
หมั่นดูแลท�ำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
เป็นประจ�ำหรือไม่
เครื่องท�ำน�้ำอุ่น • ระดับความร้อนในน�้ำร้อนต�่ำกว่ามาตรฐาน
หรือไม่ ( < 49°C)
แหล่งน�้ำใช้ • เป็นน�้ำที่มาจากแหล่งบริการสาธารณะหรือ
บ่อน�้ำขุดเองหรือไม่ อย่างไร
การกระท�ำในกรณีฉุกเฉิน • มีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินหรือมีโทรศัพท์
และเส้นทางการอพยพ หรือไม่ มีทางออกในกรณีฉุกเฉิน ?
สายไฟฟ้า • สายไฟฟ้าหลุดลุ่ยหรือวางข้ามเส้นทางเดิน
หรือไม่
แสงและไฟส่องสว่างเวลากลางคืน • จ�ำนวนวัตต์เพียงพอหรือไม่
เครื่องตรวจจับไฟและควันและเครื่อง • มีเครื่องดับเพลิงในบ้านหรือสถานประกอบ
ดับเพลิง การ และสามารถเข้าถึงได้หรือไม่

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ 159


พื้นที่ประเมิน ประเด็นค�ำถามที่ควรค�ำนึงถึง

• มีเครื่องตรวจจับไฟและควันในบ้านหรือไม่
• มีการชาร์ตแบตเตอรี่หรือเปลี่ยนอย่าง
สม�่ำเสมอหรือไม่
พรมและผ้าปูพื้นที่หลวม • พรมและผ้าปูพื้นที่หลวมสามารถท�ำให้
ปลอดภัย หรือเลิกใช้ได้หรือไม่
โต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ • เฟอร์นิเจอร์มีความแข็งแรงและความสมดุล
หรือไม่
สัตว์เลี้ยง • เป็นสัตว์ที่ง่ายต่อการดูแลและการให้
อาหารหรือไม่
• หากบ้านหรือสถานประกอบการมีลักษณะ
เป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ควรค�ำนึงถึงโรคติดต่อ
จากสัตว์สู่คน (Zoonotic disease) โดย
สมาชิกครอบครัวที่เป็นวัยเด็กและวัยผู้สูง
อายุ

ซึ่งเราควรค�ำนึงถึงอาชีพของสมาชิกทุกคนในครอบครัวว่า มีโอกาสที่จะ
เป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งกันและกันได้ โดยเฉพาะหากน�ำพาปัจจัยเสี่ยงกลับบ้านไปด้วย
หลังเลิกท�ำงาน เช่น โรคติดต่อต่างๆ ไข้หวัดใหญ่หรือวัณโรคในที่ท�ำงาน ฝุ่นไม้
ฝุ่นถ่านหิน หรือสารเคมีที่ติดไปกับเสื้อผ้าของพนักงาน แล้วน�ำกลับไปซักที่บ้าน
เสื้อผ้าของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีสารคัดหลั่งปนเปื้อน เชื้อโรคดื้อยา เป็นต้น
หากพบว่ามีความเสี่ยง ควรหากวิธีก�ำจัดหรือป้องกันความเสี่ยงนั้นๆ เพื่อไม่ให้ส่ง
ผลกระทบตามมาที่บ้านหรือครอบครัว

160 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
แผนภูมิครอบครัวกับการซักประวัติเน้นด้านอาชีพของสมาชิกทุกคนใน
ครอบครัว
เราสามารถประยุกต์ใช้แผนภูมิครอบครัวมาใช้ซักประวัติ เพื่อประเมิน
ความเชื่อมโยงของอาชีพและความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว ทั้งนี้อาจใช้
ชุดค�ำถามคัดกรองโรคจากการท�ำงานมาตรฐานและแบบรายงานปัจจัยเสี่ยงด้วย
ตนเอง ในการเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาความเสี่ยง และผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องจาก
การท�ำงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
ค�ำถามคัดกรองความเสี่ยงโรคจากการท�ำงาน (4)
1. งานและลักษณะงานของคุณและสมาชิกคนอื่นในครอบครัวคืออะไร
2. คุณคิดว่าปัญหาสุขภาพของคุณหรือของคนในครอบครัวอาจเกีย่ วเนือ่ งจาก
งานที่ท�ำอยู่หรือไม่
3. อาการของทีเ่ จ็บป่วยของคุณหรือสมาชิกคนในครอบครัวมีความเปลีย่ นแปลง
หรือไม่ เมื่อเทียบกับเวลาท�ำงานและขณะพักอยู่ที่บ้าน
4. ในปัจจุบัน คุณหรือคนในครอบครัวสัมผัส สารเคมี ฝุ่น โลหะหนัก รังสี
เสียง หรือการท�ำงานทีใ่ ช้ทา่ ทางซ�ำ้ ๆ บ้างหรือไม่ หรือในอดีตทีผ่ า่ นมาก่อนหน้านี้
คุณหรือคนในครอบครัวสัมผัส สารเคมี ฝุ่น โลหะหนัก รังสี เสียง หรือการท�ำงาน
ที่ใช้ท่าทางซ�้ำ ๆ บ้างหรือไม่
5. มีเพือ่ นร่วมงานหรือสมาชิกในครอบครัวมีอาการแบบเดียวกับทีค่ ณ ุ เป็น
บ้างหรือไม่
การแปลผล ถ้าค�ำตอบว่า “ใช่” ตัง้ แต่ 1 ข้อขึน้ ไป ให้สงสัยได้วา่ อาการเจ็บ
ป่วยที่เป็นอยู่อาจสัมพันธ์กับการท�ำงาน

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ 161


การรายงานประวัติด้านอาชีพและลักษณะงานในการท�ำงานด้วยตัวเอง
ของผู้ป่วย (SELF - ADMINISTERED OCCUPATIONAL HISTORY)
ส�ำหรับผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวทุกคน ควรได้รับการประเมินด้วย
แบบประเมินให้ตอบค�ำถามด้วยตนเอง เกีย่ วกับประวัตกิ ารท�ำงานทีผ่ า่ นมาและที่
ท�ำอยูใ่ นปัจจุบนั ควรท�ำการประเมินและปรับปรุงเป็นระยะสม�ำ่ เสมอ ดังตัวอย่าง
ในรูปที่ 8.1

รูปที่ 8.1 : ตัวอย่างการรายงานประวัติด้านอาชีพและลักษณะงานใน


การท�ำงานด้วยตัวเองของผู้ป่วย

162 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตัวอย่างความเสี่ยงที่เกิดจากอาชีพในครอบครัวและความส�ำคัญของการ
ดูแลสุขภาพทั้งครอบครัว
การประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ที่ต้องใช้แรงงานของคนในครอบครัว
โดยมีช่วงเวลาตามลักษณะและวิถีชีวิตของแต่ละอาชีพของครอบครัว ถึงแม้ว่า
สมาชิกครอบครัวแต่ละคนจะมีอาชีพหลักท�ำงานเป็นประจ�ำอีกอาชีพหนึ่งแล้ว
ก็ตาม จากรูปที่ 8.2 ผู้ป่วยเป็นพยาบาลวิชาชีพ ท�ำงานห้องผ่าตัดโรงพยาบาล
มาช่วยท�ำนาเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลด�ำนา เพาะปลูก ซึ่งชาวบ้านมักเพาะปลูกข้าวไว้รับ
ประทานเองในครัวเรือน ถ้ามีผลผลิตเหลือแล้วจึงขาย ท�ำให้อาจจะมีความเสี่ยง
ทางด้านการยศาสตร์และสารเคมีตามฤดูกาลทางเกษตรกรรมได้ ในฤดูเก็บเกี่ยว
ก็อาจพบความเสี่ยงในด้านกายภาพได้ ดังแสดงในรูปที่ 8.2 และ 8.3

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ 163


รูปที่ 8.2 : ตัวอย่างความเสี่ยงด้านสารเคมีและด้านการยศาสตร์จาก
งานในครอบครัว

รูปที่ 8.3 : ตัวอย่างความเสี่ยงด้านกายภาพจากเสียงดังและความสั่น


สะเทือนจากงานในครอบครัว

164 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ในครัวเรือนที่มีการประกอบอาชีพรับท�ำเฟอร์นิเจอร์ส่งห้างสรรพสินค้า
มีการท�ำงานเป็นประจ�ำแทบทุกวันที่บริเวณใต้ถุนบ้าน ระดับเสียงขณะก�ำลังใช้
เลื่อยตัดไม้ ซึ่งเกินระดับ 85 เดซิเบลเอ ที่เป็นระดับความดังของเสียงที่เป็น
ระดับเฝ้าระวังในโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านกายภาพ
ชั้นบนของบ้านมีลูกของลูกชายเจ้าของบ้านอาศัยอยู่ ซึ่งต้องสัมผัสปัจจัยเสี่ยงทั้ง
ด้านกายภาพและความปลอดภัย ทัง้ จากเสียงดังเกินมาตรฐาน ฝุน่ ไม้ และอุบตั เิ หตุ
จากซากไม้บริเวณใต้ถุนบ้าน ดังแสดงในรูปที่ 8.4

รูปที่ 8.4 : ตัวอย่างความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการท�ำงาน


ภายในครัวเรื อน

สรุป
การดูแลสุขภาพครอบครัวนั้น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมงาน
จ�ำเป็นต้องส่งเสริมสุขภาพและดูแลทัง้ ครอบครัว จึงจะช่วยสามารถลดการเกิดโรค
จากการท�ำงานในครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

การดูแลสุขภาพครอบครัวของผู้ประกอบอาชีพในระบบบริ การปฐมภูมิ 165


เอกสารอ้างอิง
1. Orynbassarova D. Family Medicine as a Model of Primary Health Services
Delivery: A Pilot Study in Almaty, Kazakhstan. Central Asian journal of global
health. 2015;4(1):209.
2. Sng J, Lee SM, Koh D. Bridging the gap between occupational medicine
and family medicine. 2008;37(2):158-61.
3. Lax MB, Grant WD., Manetti FA., Klein R. Recognizing occupational disease-
-taking an effective occupational history. 1998;58(4):935-44.
4. Suls MICHAEL.American family physician. The importance of taking an
occupational history. 2003;67(8):1684.
5. Vanichkachorn G, McKenzie J, Emmett E. Occupational Health Care. In:
Paulman PM, Taylor RB, Paulman AA, Nasir LS, editors. Family Medicine:
Principles and Practice. Cham: Springer International Publishing; 2017. p.
581-95.
6. Stuart E, Samman E, Hunt A. Informal is the new normal. 2018.
7. Charmes J. The Informal Economy Worldwide: Trends and Characteristics.
Margin: The Journal of Applied Economic Research. 2012;6(2):103-32.
8. Kongtip P, Nankongnab N, Chaikittiporn C, Laohaudomchok W, Woskie S, Slatin
C. Informal workers in Thailand: Occupational health and Social Security
Disparities. New solutions : a journal of environmental and occupational
health policy : NS. 2015;25(2):189-211.
9. Unwin BK, Jerant AF. The home visit. American family physician.
1999;60(5):1481-8.

166 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 9

ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน
(Gender Issues in Workplace)

นพ.เกรียงไกร บุญญประภา

บทน�ำ
• สถานการณ์สุขภาพในคนทํางานเพศหญิงในประเทศไทย
• ความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชายเกี่ยวกับลักษณะงานและ
ด้านร่างกาย
• ปัญหาสุขภาพของเพศหญิงที่เกี่ยวข้องกับการทํางาน
• กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทํางานในเพศหญิง
• สิ่งคุกคามต่อการเจริญพันธุ์สําหรับคนงานเพศหญิง
• การจ้างงานและการคุ้มครองทางสังคมสําหรับลูกจ้างเพศทางเลือก
• การค้าบริการทางเพศที่เปลี่ยนไป
ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 167
บทน�ำ
โรคจากการท�ำงานสามารถพบได้ทั้งในคนท�ำงานเพศชายและเพศหญิง
การป้องกันโรค การรักษาโรค การฟื้นฟูโรคอันเกี่ยวเนื่องจากการท�ำงานโดยส่วน
ใหญ่จึงมีความคล้ายคลึงกัน ในการคัดกรองความเสี่ยงโรคจากท�ำงานหรือตรวจ
ร่างกายประจ�ำปี โดยทัว่ ไปทัง้ สองเพศไม่ได้มคี วามแตกต่างกันมากนัก ดังทีไ่ ด้กล่าวถึง
แล้วในหลายบทก่อนหน้านี้ มีเพียงความเสีย่ งในบางประเด็นซึง่ เพศหญิงมีโอกาสที่
จะสัมผัสสิง่ คุกคาม ซึง่ ก่อให้เกิดความเสีย่ งได้มากกว่า ในบทนีจ้ งึ กล่าวถึงความเสีย่ งของ
เพศหญิงเป็นส่วนใหญ่ และจะกล่าวถึงลักษณะของลูกจ้างเพศทางเลือก (Lesbian
Gay Bisexual Transgender ; LGBT) ในปัจจุบันด้วย

สถานการณ์สุขภาพในคนท�ำงานเพศหญิงในประเทศไทย
จากสถิติผู้ประกันตนของส�ำนักงานประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
ในปี พ.ศ. 2559 มีสถานประกอบการทีข่ นึ้ ทะเบียนทัง้ สิน้ 435,303 แห่ง มีผป้ ู ระกันตน
ตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ทั้งสิ้น 14,041,681 คน พบว่าเป็น
เพศหญิงจ�ำนวน 7,378,252 คน โดยมีสัดส่วนเพศหญิงประมาณ 110 คน ต่อ
เพศชาย 100 คน ซึ่งในจ�ำนวนนี้พบว่า คนงานเพศหญิงเป็นผู้ประกันตนทั้งหมด
คิดเป็นร้อยละ 37.24 ของก�ำลังแรงงานในระบบ หรือคิดเป็นร้อยละ 21.30 ของ
ประชากรทั้งประเทศ(1) และมีอายุเฉลี่ยระหว่าง 30 – 34 ปี ดังแสดงในรูปที่ 9.1
ซึ่งข้อมูลจากกองทุนเงินทดแทน แสดงให้เห็นปัญหาสุขภาพในระบบแรงงาน
เพศหญิงได้บางส่วนเท่านัน้ เพราะยังมีอกี จ�ำนวนมากทีอ่ ยูน่ อกระบบประกันสังคม
เช่น แรงงานภาคเกษตร และแรงงานในชุมชน เป็นต้น(2)

168 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
หมายเหตุ : ผู้ประกันตน = ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40
รูปที่ 9.1 : แสดงจ�ำนวนผู้ประกันตนจ�ำแนกตามอายุและเพศของ
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ปี พ.ศ. 2559

ความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชายเกี่ยวกับลักษณะงาน
และด้านร่างกาย
เพศหญิงและเพศชาย มีความแตกต่างกันทัง้ ลักษณะการท�ำงานและทางด้าน
ร่างกาย เรือ่ งลักษณะงานในประเทศไทย โดยทัว่ ไปผูห้ ญิงมักจะท�ำงานทีบ่ า้ น และ
ท�ำงานนอกบ้านเพียงเล็กน้อย และจะต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ในครอบครัว
ส่วนผูช้ ายจะท�ำงานกลุม่ พวกใช้แรงงานมากกว่า นอกจากนี้ ผูห้ ญิงจะมีความทุกข์
จากการเลือกปฏิบัติ ถูกรุมท�ำร้าย และถูกก่อกวนได้บ่อยกว่าผู้ชาย
โดยเฉพาะถ้าประกอบอาชีพที่ไม่ได้รับการยอมรับในสังคมว่าเป็นงานของ
ผู้หญิง เรื่องทางด้านร่างกายเพศหญิงมีประจ�ำเดือน สามารถตั้งครรภ์ได้(3) และ
มีภาระในการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งในแต่ละช่วงอาจได้รับผลจากการสัมผัสสิ่งคุกคาม
ในสถานทีท่ ำ� งานได้ เช่น การยืนนาน ๆ สามารถส่งผลต่อน�ำ้ หนักทารกในครรภ์(3)
ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 169
และสารเคมีหลาย ๆ อย่าง สามารถท�ำให้เกิดความผิดปกติต่อการตั้งครรภ์และ
ทารกได้ ส่วนในเพศชายนั้นมีกระบวนการสร้างสเปิร์ม มีความไวต่อการสัมผัส
ทั้งสารเคมี ความสั่นสะเทือน และรังสี(3) โดยส่วนใหญ่น�้ำหนักและรูปร่างของ
ผู้ชายจะสูงใหญ่กว่าผู้หญิง ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างที่ส�ำคัญ เช่น ปริมาณ
เลือดในร่างกาย การใช้ออกซิเจนโดยเฉลี่ย ก�ำลังในการยกของหนัก เป็นต้น ซึ่ง
เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา ในการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ลดการบาดเจ็บจาก
กิจกรรมที่ต้องออกแรง(3)

ปัญหาสุขภาพของเพศหญิงที่เกี่ยวข้องกับการท�ำงาน(3)
การสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพของคนงานเพศหญิงนั้น จะแตกต่างกันตาม
เศรษฐานะของประเทศ และระดับการศึกษา เช่น คนงานเพศหญิงที่รายได้น้อย
และการศึกษาน้อยในประเทศทีผ่ ลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic
Product ; GDP) สูง มักมีการสัมผัสสิง่ คุกคามทางเคมีและทางกายภาพมาก ส่วนใน
ประเทศพัฒนาแล้ว คนงานเพศหญิงจะมีการสัมผัสสิง่ คุกคาม ทางชีวกลศาสตร์ เช่น
การเคลือ่ นไหวท่าทางซ�ำ้ ๆ ด้วยความถีม่ าก ๆ ท่าทางการท�ำงานทีอ่ นั ตราย เป็นต้น
และการสัมผัสสิง่ แปลกปลอมทางชีวภาพ ในการท�ำงาน รวมถึงประเด็นข้อแตกต่าง
ของลูกจ้างหญิง และหญิงตั้งครรภ์ อาจมีความแตกต่างเพิ่มเข้ามาอีกด้วย เช่น
งานลักษณะพิเศษหรืองานล่วงเวลาทีก่ ฏหมายให้ลกู จ้างหญิงมีครรภ์ทำ� ได้
สิทธิการลาคลอดและการท�ำหมัน
สิทธิการขอเปลี่ยนงานชั่วคราว
การห้ามเลิกจ้างหากตั้งครรภ์

170 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท�ำงานในเพศหญิง(4, 5)
กฎหมายในประเทศไทยทีบ่ งั คับใช้กบั การท�ำงานในเพศหญิง คือ พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 6) และกฎกระทรวงก�ำหนดอัตราน�้ำหนักที่
นายจ้างให้ลกู จ้างท�ำงานได้ พ.ศ. 2547 โดยมีเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับการท�ำงานของ
ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงและหญิงตั้งครรภ์ ดังนี้
ลักษณะงานที่ห้ามไม่ให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงท�ำงาน(4) ได้แก่
1. งานเหมืองแร่ หรืองานก่อสร้างที่ต้องท�ำใต้ดิน ใต้น�้ำ ในถ�้ำ ในอุโมงค์
หรือปล่องในภูเขา เว้นแต่ลักษณะของงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หรือร่างกายของลูกจ้าง
2. งานที่ต้องท�ำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
3. งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่ลกั ษณะของงานไม่
เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง
4. งานอื่นตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวงก�ำหนดอัตราน�ำ้ หนักทีน่ ายจ้างให้ลกู จ้างท�ำงานได้ พ.ศ. 2547
ได้ก�ำหนดให้นายจ้างใช้ลูกจ้างหญิงท�ำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็น
ของหนักไม่เกินอัตราน�้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อลูกจ้างหนึ่งคนไว้ ดังต่อไปนี้(5) น�้ำหนัก
20 กิโลกรัม สําหรับลูกจ้างซึง่ เป็นเด็กหญิงอายุตงั้ แต่ 15 แต่ยงั ไม่ถงึ 18 ปี น�ำ้ หนัก
25 กิโลกรัม สําหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง(5)
ในกรณีทนี่ ายจ้างให้ลกู จ้างซึง่ เป็นหญิงท�ำงานระหว่างเวลา 24.00 นาฬิกา
ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา และพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่า งานนัน้ อาจเป็นอันตราย
ต่อสุขภาพและความปลอดภัยของหญิงนั้น ให้พนักงานตรวจแรงงานรายงานต่อ
อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อพิจารณาและมีค�ำสั่งให้นายจ้าง เปลี่ยนเวลา

ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 171
ท�ำงาน หรือลดชั่วโมงท�ำงานได้ตามที่เห็นสมควร และให้นายจ้างปฏิบัติตาม
ค�ำสั่งดังกล่าว(4)
ลักษณะงานที่หา้ มไม่ให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ท�ำงาน(4) ได้แก่
1. งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
2. งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
3. งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
4. งานที่ท�ำในเรือ
5. งานอื่นตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามไม่ให้นายจ้างให้ลกู จ้างซึง่ เป็นหญิงมีครรภ์ทำ� งานในระหว่างเวลา 22.00
นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา ท�ำงานล่วงเวลา ท�ำงานในวันหยุด แต่ในกรณีที่
ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ท�ำงานในต�ำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ
หรืองานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี นายจ้างอาจให้ลูกจ้างนั้น ท�ำงานล่วงเวลาใน
วันท�ำงานได้เท่าที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ โดย
ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป(4)
ในกรณีทลี่ กู จ้างซึง่ เป็นหญิงมีครรภ์มใี บรับรองของแพทย์แผนปัจจุบนั ชัน้ หนึง่
มาแสดงว่า ไม่อาจท�ำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิ์ขอให้นายจ้าง
เปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการ ชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ และให้นายจ้าง
พิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้างนั้น และห้ามไม่ให้นายจ้างเลิกจ้าง
ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ ส�ำหรับสิทธิอื่น ๆ ของหญิงมีครรภ์ ได้แก่
ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน(4)

172 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
สิ่งคุกคามต่อการเจริ ญพันธุ์ส�ำหรับคนงานเพศหญิง(6)
ปัญหาที่ต้องให้ความส�ำคัญเป็นพิเศษส�ำหรับคนงานเพศหญิง เช่น หญิง
ภาวะมีบุตรยาก (Infertile) การสูญเสียทารกในครรภ์ (Fetal loss) น�้ำหนัก
แรกเกิดน้อย (Low birth weight) ภาวะคลอดก่อนก�ำหนด (Preterm delivery)
ความผิดปกติแต่ก�ำเนิด (Congenital anomalies) การเปลี่ยนแปลงของ
ประจ�ำเดือนและฮอร์โมน ดังแสดงที่ 9.1(6)
ตารางที่ 9.1 : แสดงสิ่งคุกคามสุขภาพในสถานที่ท�ำงานที่ส่งผล
ไม่พึงประสงค์ต่อการสืบพันธุ์เพศหญิง หรื อพัฒนาการ(6)
สิ่งคุกคาม ผลในมนุษย์ ข้อมูล งานที่มีความเสี่ยง
สนับสนุน
ก๊าซดมสลบ ความสามารถในการมีบุตรลดลง/ ?/+ บุคลากรทางการแพทย์
(Anesthetic gases) การแท้งตามธรรมชาติ,
การพิการแต่ก�ำเนิด
ยาต้านมะเร็ง การแท้งตามธรรมชาติ, ++/+ บุคลากรทางการแพทย์ เภสัชกร
การพิการแต่ก�ำเนิด
สารหนู (Arsenic) การแท้งตามธรรมชาติ, + เกษตรกร, งานผลิตสารปราบศัตรูพืช,
น�้ำหนักแรกเกิดน้อย งานผลิตสารกึ่งตัวน�ำ, งานผลิตสี ฯ
แคดเมี่ยม (Cadmium) น�้ำหนักแรกเกิดน้อย + งานผลิตเม็ดสี, โรงงานอัลลอย,
งานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
คาร์บอนไดซัลไฟด์ (CS2) การแท้งตามธรรมชาติ / +/? งานผลิตเส้นใยสังเคราะห์ (เรยอน),
ประจ�ำเดือนผิดปกติ งานท�ำยาง, การผลิตน�้ำยาล้างไข
คาร์บอนมอนนอกไซด์ การแท้งตามธรรมชาติ/ +/++ งานดับเพลิง, งานขับ-ซ่อมรถยนต์,
(CO) น�้ำหนักแรกเกิดน้อย งานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตร
ผลิตผลที่ได้จากการเติม การแท้งตามธรรมชาติ, น�้ำหนัก ? งานที่ใช้คลอรีนท�ำน�้ำให้สะอาด,
คลอรีน(Chlorination แรกเกิดน้อย,ประจ�ำเดือนผิดปกติ อุตสาหกรรมกระดาษ
by-product)
ดีดีที ประจ�ำเดือนผิดปกติ, การแท้งตาม ?/+ งานผลิตหรือใช้ยาฆ่าแมลง, งานอื่นๆที่
(Dichlorodiphenyl ธรรมชาติ, พัฒนาการของประสาท, สัมผัสสารดีดีที/ สัมผัสสารตกค้าง
trichloroethane) อายุการตั้งครรภ์น้อย/ คลอดก่อน
ก�ำหนด
ไดออกซิน (Dioxins) ประจ�ำเดือนผิดปกติ, การแท้งตาม ? งานที่สัมผัสควันจากการเผาไหม้/ งานที่ใช้
ธรรมชาติ,การพิการแต่ก�ำเนิด เตาเผา/ โรงกลั่นน�้ำมัน/ โรงผลิตน�้ำตาล

ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 173
ตารางที่ 9.1 : แสดงสิ่งคุกคามสุขภาพในสถานที่ท�ำงานที่ส่งผล
ไม่พึงประสงค์ต่อการสืบพันธุ์เพศหญิง หรื อพัฒนาการ(6)
สิ่งคุกคาม ผลในมนุษย์ ข้อมูล งานที่มีความเสี่ยง
สนับสนุน
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า การแท้งตามธรรมชาติ/ +/+ จากอุปกรณ์ไฟฟ้า/ เครื่องมือสื่อสาร
(Electromagnetic มะเร็งในเด็ก ต่างๆ/ งานเกี่ยวกับการสื่อสาร / ไฟฟ้า
field)
เอททิลีน ไกลคอล อีเธอร์ การแท้งตามธรรมชาติ ++ คนงานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
(Ethylene glycol ethers) สารกึ่งตัวน�ำไฟฟ้า
เอททิลีน ออกไซด์ การแท้งตามธรรมชาติ/ ภาวะการ +/? งานฆ่าเชื้ออุปกรณ์การแพทย์/
(Ethylene oxide) มีบุตรยาก โรงงานผลิตเอททิลีน ออกไซด์/
งานผลิตเอทิลีนไกลคอล
ตะกั่ว ภาวะการมีบุตรยาก, การแท้ง +/++ งานเกี่ยวกับแบตเตอรี่/ งานเชื่อม/
ตามธรรมชาติ,คลอดก่อนครบ /? งานหลอม/ งานซ่อมหม้อน�้ำรถยนต์/
ก�ำหนด/ ความผิดปกติของประสาท งานซ่อมสะพาน
พฤติกรรม / เข้าสู่วัยรุ่นล่าช้า โรงงานผลิตสารปราบศัตรูพืช/ งานผลิต
ปรอท ประจ�ำเดือนผิดปกติ, การแท้ง +/++ เครื่องมือแพทย์/ อุตสาหกรรม
ตามธรรมชาติ, น�้ำหนักแรกเกิดน้อย/ ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า/ อุตสาหกรรมท�ำ
ความผิดปกติของระบบประสาทส่วน ขนสัตว์/ งานผลิตสีทาบ้าน/ ทันตแพทย์
กลางจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติไป,
cerebral palsy, ความผิดปกติของ
ประสาทพฤติกรรม
สารปราบศัตรูพืช ภาวะการมีบุตรยาก, การสูญเสีย +/? เกษตรกร/ งานสนามกอล์ฟ/ งานพ่น
ทารก/ประจ�ำเดือนผิดปกติ, การ ผสมผลิตยาปราบศัตรูพืช
พิการแต่ก�ำเนิด
ความตึงเครียดทางกาย คลอดก่อนครบก�ำหนด, น�้ำ +/? งานที่มีความตึงเครียดทางกาย
(การยืนนานๆ การยก หนักแรกเกิดน้อย/ การแท้งตาม
ของหนักฯ) ธรรมชาติ
Phthalates คลอดก่อนครบก�ำหนด, โครงสร้าง ? งานที่ใช้ Phthalates เป็นสารเพิ่มความ
ผิดปกติ, premature thelarche อ่อน(Softener)/ มักปนเปื้อนอยู่ใน
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจาก PVC
โพลีไซคลิกอะโร น�้ำหนักแรกเกิดน้อย, น�้ำหนักแรก ? งานเกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี
มาติกไฮโดรคาร์บอน คลอดต�่ำกว่า 10th percentile สารหล่อลื่นจากปิโตรเลียม น�้ำมัน /
(Polycyclic aromatic ของเด็กที่มีอายุครรภ์เท่าเทียมกัน ช่างเครื่อง/ วศิวกร
hydrocarbons) (Small for gestational age)

174 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ตารางที่ 9.1 : แสดงสิ่งคุกคามสุขภาพในสถานที่ท�ำงานที่ส่งผล
ไม่พึงประสงค์ต่อการสืบพันธุ์เพศหญิง หรื อพัฒนาการ(6)
สิ่งคุกคาม ผลในมนุษย์ ข้อมูล งานที่มีความเสี่ยง
สนับสนุน
โพลีคลอริเนตไบฟีนิล น�้ำหนักแรกเกิดน้อย, การเข้มขึ้น +/? งานที่ใช้ PCB เป็นPlasticizers /งานผลิต
(Polychlorinated ของเม็ดสี / ประจ�ำเดือนผิดปกติ กระดาษcopy ชนิดไม่มีคาร์บอน
biphenyls)
รังสีแตกตัว ภาวะการมีบุตรยาก, ประจ�ำเดือน ++ รังสีแพทย์/ บุคคลากรทางทันตกรรม/
ผิดปกติ, การแท้งตามธรรมชาติ, ช่างท�ำนาฬิกา/ คนงานเกี่ยวกับปรมาณู
การพิการแต่ก�ำเนิด, มะเร็งในเด็ก
ตัวท�ำละลายอินทรีย์ ภาวะการมีบุตรยาก, ?/+ งานที่มีการใช้สารตัวท�ำละลาย
การสูญเสียทารก/น�้ำหนักแรกเกิด
ควันบุหรี่ น้อย, Sudden infant death +/++ สถานที่ท�ำงาน หรือสถานที่อื่นๆ
syndrome ที่มีการสูบบุหรี่
หน้าจอแสดงผล การแท้งตามธรรมชาติ, - งานที่ท�ำหน้าจอโทรทัศน์หรือ
(Video display การพิการแต่ก�ำเนิด คอมพิวเตอร์ฯ
terminals)

หมายเหตุ : + + = หลักฐานชัดเจน, + = หลักฐานมีจ�ำกัด, ? = หลักฐานเบื้องต้น/ หลักฐานยังมีความขัดแย้ง, - = ไม่มี


ความสัมพันธ์
ที่มา : ดัดแปลงมาจาก Environmental and occupational medicine 4th ed., J. Ladou (ed.)

ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 175
สิ่งคุกคามต่อการเจริ ญพันธุ์เฉพาะชนิด
สารเคมีที่รบกวนต่อมไร้ท่อ (Endocrine-disrupting chemicals; EDCs)
สารตัวท�ำละลาย การสัมผัสควันบุหรี่ สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ สิ่งคุกคามทาง
เคมี สิ่งคุกคามทางกายภาพ สิ่งคุกคามทางชีวภาพ ล้วนแล้วแต่สามารถพบได้ใน
สถานที่ท�ำงาน(7) ซึ่งสามารถป้องกันได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.2

ตารางที่ 9.2 : แสดงจุลชีพก่อโรคที่คุกคามต่อการสืบพันธุ์เพศหญิงใน


สถานที่ท�ำงาน(7)
สิ่งคุกคาม ผลในมนุษย์ งานที่ความเสี่ยง มาตรการป้องกัน
Cytomegalovirus ความบกพร่องแต่ก�ำเนิด, บุคลากรทางการแพทย์, การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี
(CMV) น�้ำหนักแรกเกิดน้อย, งานที่ใกลชิดกับเด็ก และ เช่น การล้างมือ
การพัฒนาการผิดปกติ เด็กทารก
Hepatitis B virus น�้ำหนักแรกเกิดน้อย บุคลากรทางการแพทย์ การฉีดวัคซีน
Human น�้ำหนักแรกเกิดน้อย, บุคลากรทางการแพทย์ การปฏิบัติตาม Universal
immunodeficiency มะเร็งในวัยเด็ก precaution
virus (HIV)
Human parvovirus การแท้งลูก บุคลากรทางการแพทย์, การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี
B19 งานที่ใกลชิดกับเด็ก และ เช่น การล้างมือ
เด็กทารก
Rubella (German ความบกพร่องแต่ก�ำเนิด, บุคลากรทางการแพทย์, การฉีดวัคซีน ก่อนการตั้งครรภ์
measles) น�้ำหนักแรกเกิดน้อย งานที่ใกล้ชิดกับเด็ก และ ถ้ายังไม่เคยมีภูมิคุ้มกัน
เด็กทารก

Toxoplasmosis การแท้งลูก, ความบกพร่อง บุคลากรทางการแพทย์, การฉีดวัคซีน ก่อนการตั้งครรภ์


แต่ก�ำเนิด, การพัฒนาการ งานที่ใกล้ชิดกับเด็ก และ ถ้ายังไม่เคยมีภูมิคุ้มกัน
ผิดปกติ เด็กทารก
Varicella zoster ความบกพร่องแต่ก�ำเนิด, งานดูแลสัตว์, สัตวแพทย์ การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี
virus (Chicken pox) น�้ำหนักแรกเกิดน้อย บุคลากรทางการแพทย์, เช่น การล้างมือ การฉีดวัคซีน
งานที่ใกล้ชิดกับเด็ก และ ก่อนการตั้งครรภ์ ถ้ายังไม่เคยมี
เด็กทารก ภูมิคุ้มกัน

176 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ปัญหาสุขภาพโดยทัว่ ไป ความเจ็บป่วยทีเ่ ป็นอยูเ่ ดิม และความเจ็บป่วยร่วม
ขณะตั้งครรภ์ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ หอบหืด ความดันโลหิตสูง การให้นมบุตร
อาจน�ำไปสู่การลาป่วย และบางครั้งจ�ำเป็นต้องเข้ารับรักษาในโรงพยาบาล หรือ
ความเสี่ยงของการบาดเจ็บในหญิงมีครรภ์จะมากที่สุดเมื่อท้องมีขนาดใหญ่ เช่น
หกล้มได้ง่ายเนื่องจากร่างกายเสียสมดุล ร่วมกับขนาดตัวก็ใหญ่ขึ้นท�ำให้ปฏิบตั ิ
หน้าที่ได้ยากยิ่งขึ้น อาการปวดหลังส่วนล่าง จึงอาจต้องจัดให้มีเวลาพักผ่อนให้ มี
ชั่ว โมงท� ำ งานสั้ น หรือระยะเวลาการท�ำงานที่ยื ด หยุ ่ น เพื่ อ หลี ก เลี่ ย งชั่ วโมง
การเดินทางทีเ่ หน็ดเหนือ่ ย ถ้าการท�ำงานเกีย่ วข้องกับการยืนนาน ๆ การปรับเปลีย่ น
งาน หรืองานพิเศษที่ต้องนั่งนิ่ง ๆ ควรต้องพิจารณาพร้อมกับการเจริญของครรภ์
ส�ำหรับนายจ้างควรจัดให้ลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ท�ำงานที่ต้องใช้รา่ งกายน้อย ๆ มี
ภาระงานทีเ่ บาต่อร่างกาย และท�ำงานทีเ่ หมาะสม เพือ่ ให้สามารถท�ำงานได้ตอ่ เนือ่ ง
จนกระทั่งถึงสัปดาห์ท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์(3)

การจ้างงานและการคุม้ ครองทางสังคมส�ำหรับลูกจ้างเพศทางเลือก(8)
ปัจจุบนั การให้ความส�ำคัญในเรือ่ งสิทธิและเสรีภาพมีมากขึน้ การแสดงออก
ทางเพศจึงมีเพิ่มมากขึ้น แต่ว่าประเด็นความหลากหลายทางเพศในคนกลุ่มน้อย
ทางเพศในประเทศไทยยังคงคลุมเครือ และไม่ได้รบั การเปิดเผยในแง่วชิ าการอย่าง
จริงจัง ในเรื่องของสวัสดิการการจ้างงานและประกันสังคมใน LGBT ผู้ให้ข้อมูลที่
เป็น LGBT รูส้ กึ ว่า ตนไม่ได้รบั สิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะไม่ได้รบั การรับรอง
สถานะคู่ชีวิตเพศเดียวกันภายใต้กฎหมายไทย(8)
คู่เพศเดียวกันไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ บ�ำเหน็จบ�ำนาญ และ
สิทธิคู่สมรสอื่น ๆ จากการจ้างงานของคู่ของตนดังเช่นคู่สมรสต่างเพศ ท�ำให้เกิด
การรณรงค์เพื่อกฎหมายคู่ชีวิตเพศเดียวกันในปัจจุบัน เมื่อกฎหมายไม่รับรอง

ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 177
สถานะคูช่ วี ติ เพศเดียวกัน ท�ำให้การทีค่ ชู่ วี ติ ไม่สามารถท�ำการตัดสินใจทีเ่ กีย่ วข้อง
ทางการแพทย์แทนคูข่ องตน อาจส่งผลต่อชีวติ ได้ เช่น กรณีคชู่ วี ติ ของหญิงรักหญิง
ที่เป็นข้าราชการระดับต้นรายหนึ่งประสบอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บร้ายแรง แต่
โรงพยาบาลปฏิเสธไม่ให้ข้าราชการรายนี้เซ็นหนังสือยินยอมให้ท�ำการรักษาได้
เนือ่ งจากกฎของโรงพยาบาลอนุญาตให้ญาติทางสายเลือดหรือคูส่ มรสเท่านัน้ เซ็น
ยินยอมได้ อีกทั้งไม่มีสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ เนื่องจากกฎของ
ทางราชการไม่ครอบคลุมถึงสวัสดิการประกันสังคมส�ำหรับคู่ชีวิตเพศเดียวกัน(9)
หรือกรณีที่คู่ชีวิตเพศเดียวกันไม่สามารถขอสินเชื่อธนาคารร่วมกันได้ ในขณะที่
คู่ชีวิตต่างเพศที่ไม่ได้ จดทะเบียนสมรสกันสามารถขอได้ ท�ำให้ต้องเสียโอกาสใน
การขอสินเชื่อเพื่อการลงทุน
ในเรือ่ งของความมัน่ คงในอาชีพ ลูกจ้าง LGBT หลายคนถูกกีดกัน มักกลาย
เป็นแรงงานนอกระบบ ได้คา่ จ้างต�ำ่ และมีความมัน่ คงในอาชีพน้อยกว่าลูกจ้างคน
อืน่ ๆ บ่อยครัง้ แม้วา่ ลูกจ้าง LGBT จะได้รบั การว่าจ้างในงานอาชีพกระแสหลัก แต่
ก็ยังรู้สึกขาดความมั่นคง เนื่องจากแรงต่อต้านและอคติ ทั้งโดยส่วนตัวและของ
องค์กรต่ออัตลักษณ์ทางเพศของตน ลูกจ้าง LGBT ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการ
ได้รบั การจ้างงาน แม้วา่ จะได้ผา่ นการฝึกอบรมทางวิชาชีพแล้วก็ตาม เช่น ในกรณี
นักศึกษาฝึกสอนข้ามเพศและมีโอกาสก้าวหน้าน้อยกว่า เพราะไม่มสี ถานะทีเ่ หมาะสม
ทางกฎหมาย หรือถูกกดดันให้ลาออกจากงานเพราะการปฏิบตั ทิ ไี่ ม่เป็นธรรม หรือ
กรณีลกู จ้างเกย์ถกู ไล่ออกเพราะเป็นเกย์ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลเกย์รายหนึง่ รูจ้ กั ครูคนหนึง่ ซึง่
สอนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นครูที่ดีละเป็น
ที่ชื่นชอบของนักเรียน แต่เมื่อฝ่ายบริหารของโรงเรียนทราบว่าเขาเป็นเกย์ก็ถูก
ไล่ออกทันที โดยมีเหตุผลว่า เขาไม่สามารถเป็นแบบอย่างทีด่ ใี ห้กบั เด็กนักเรียนได้

178 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
อคติทางวัฒนธรรมต่อคนทีม่ คี วามหลากหลายทางเพศค่อนข้างจะรุนแรงใน
สังคมชนบท ส่วนใหญ่อาชีพที่ LGBT ท�ำได้ คือการท�ำงานในไร่นาของครอบครัว
ท�ำงานรับจ้างในละแวกเพือ่ นบ้าน หรือรับจ้างท�ำงานอะไรก็ได้ทหี่ าเงินได้ การรณรงค์
เชิงสังคมเกี่ยวกับสิทธิ LGBT ไม่ได้รับการสนับสนุนในสังคมชนบท กลุ่ม LGBT
มักถูกมองข้าม และถูกกีดกันจากการให้เงินทุนสนับสนุนโดยรัฐ (เช่น ทุนขนาด
เล็กจากกองทุนหมูบ่ า้ น) และถูกกีดกันจากการมีสว่ นร่วมในโครงสร้างทางการเมือง
ท้องถิ่น อย่างไรก็ดี คนข้ามเพศจากชุมชนยากจนอื่น ก็พยายามหาหนทางใน
การเลี้ยงชีพ และให้ได้มาซึง่ การยอมรับ เพือ่ ให้มสี ถานะทางสังคม ซึง่ นอกจากจะ
ท�ำให้ได้มาซึง่ ทรัพย์สนิ แล้วยังน�ำมาซึง่ ความมัน่ คงทางจิตใจ และความตระหนักใน
คุณค่าของตัวเองด้วย(8)

การค้าบริ การทางเพศที่เปลี่ยนไป
การมีเซ็กส์เพือ่ แลกเงิน สิง่ ของ และ ท�ำเป็นอาชีพ ประเทศส่วนใหญ่ถอื ว่าเป็น
เพศวิถตี อ้ งห้าม เป็น อาชญากรรม ทีม่ บี ทลงโทษถึงจ�ำคุก ขณะทีผ่ ปู้ ระกอบอาชีพนี้
ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นผูห้ ญิง มักถูกประณามว่าเป็น ผูห้ ญิงชัว่ หรือนางกลางเมือง ส�ำหรับ
สังคมไทยมองว่า “โสเภณี” เป็นสิง่ ชัว่ ร้ายทีจ่ ำ� เป็นของสังคมการซือ้ ขาย บริการทาง

ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 179
เพศจึงมีสถานะกึง่ ผิดกฎหมายในบ้านเรา ดังตัวกฎหมายปัจจุบนั (10) เน้นการปราม
การค้าประเวณีมากกว่าการปราบ ขณะทีเ่ จ้าหน้าทีร่ ฐั โดยเฉพาะต�ำรวจก็ยงั ถูกมอง
ว่า รีดไถและรับส่วยจากสถานค้าบริการทางเพศ ดังงานวิจยั ของ ผาสุก พงษ์ไพจิตร
ที่ศึกษาเรื่องภาษีเถื่อนของโสเภณี เมื่อ พ.ศ. 2538 พบว่า มีมูลค่าหลายร้อยล้าน
บาทต่อปี(11) มิติของการค้าบริการทางเพศ ในสังคมไทยข้างต้นนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่
ได้เปลีย่ นแปลงไปมากนักในช่วงครึง่ ศตวรรษทีผ่ า่ นมา แต่สงิ่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปมาก
มหาศาลคือ รูปแบบของธุรกิจการค้าบริการทางเพศ ซึง่ จริงแล้วมีการเปลีย่ นแปลง
อยู่ตลอดเวลา สถานการณ์ปัจจุบันก็เปลี่ยนไปมากหากเปรียบเทียบกับเมื่อ 20 ปี
ทีแ่ ล้ว ถ้าดูจากข้อมูลการส�ำรวจเฝ้าระวังสถานการค้าบริการ โดยกรมควบคุมโรค
ที่ท�ำในทุกเดือนมกราคมอย่าง ต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 มีแนวโน้มชัดเจน
ว่า สถานบริการมีการปรับเปลี่ยนจากรูปแบบดั้งเดิม จากที่เป็น ส�ำนักหรือซ่อง
ขายบริการทางเพศอย่างเดียว มาอยู่ในรูปแบบการให้บริการเสริม และการชักจูง
ในด้านอืน่ เพิม่ ขึน้ และมีลกั ษณะแฝงตัวอยูก่ บั สถานบริการบันเทิงในรูปแบบต่างๆ
(บาร์ คาราโอเกะ ผับ คอกเทลเลาจ์ สวนอาหาร ฯลฯ) หรือสถานบริการอื่นมาก
ขึ้น (อาบอบนวด นวดแผนโบราณ หอพัก ร้านตัดผม ฯลฯ) มีรูปแบบการบริการ
เคลือ่ นทีม่ ากขึน้ และมีกลุม่ ค้าบริการอิสระไม่ขนึ้ กับตัวสถานบริการมากขึน้ ขณะ
ทีผ่ คู้ า้ บริการแม้สว่ นใหญ่เป็นผูห้ ญิง แต่กม็ ผี ชู้ ายขายบริการมากขึน้ อย่างชัดเจน(12)
ขบวนการจัดหาผู้หญิงเข้าสู่อาชีพนี้ก็เปลี่ยนแปลงชัดเจนเช่นกัน คือ จาก
ยุคต้น ๆ ที่หญิงสาวเข้าเมืองมาท�ำงานแล้วถูกหลอกให้ค้าประเวณี ปรับเปลี่ยน
เป็นยุคตกเขียว ที่นายหน้ารุกเข้าชนบทเพื่อหลอกเด็กมาค้าประเวณี และหรือพ่อ
แม่เป็นนายหน้าขายลูกสาวค้าประเวณีเสียเอง ถัดมาคือ ยุคจัดหาเด็กชาวเขาเผ่า
ต่าง ๆ เข้ามาค้าบริการในเมือง และตามด้วยการหาหญิงสาวจากประเทศข้างเคียง
เช่น เขมร ลาว พม่า และจีน ตอนใต้ มาค้าบริการทางเพศ จนถึงยุคไซเบอร์ที่เด็ก
และเยาวชนเสนอตัวขายบริการทางเพศแบบกึ่งสมัครใจ มีรูปแบบการให้บริการ
หลากหลาย(12-14)
180 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
จากฐานข้อมูลข่าวหนังสือพิมพ์เรื่องเพศในช่วง พ.ศ. 2540 - 2550 ยืนยัน
และให้ภาพชัดเจนต่อข้อสรุปข้างต้นว่าข่าวผูค้ า้ บริการอิสระโดยเฉพาะในรูปชัว่ คราว
มากขึ้น(15) ดังข่าวเกี่ยวกับนักเรียน นักศึกษาขายบริการ เริ่มมีข่าวมาตั้งแต่ พ.ศ.
2540 แต่เป็นข่าวมากขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2544-2545 จนน�ำมาสู่การจัดระเบียบ
สังคมรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเข้าตรวจค้นสถานบันเทิงและห้องพักในช่วงปี
พ.ศ. 2545 – 2546 จ�ำนวนข่าวในหัวข้อนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า เนื่องจาก
มีขา่ วจับเอเย่นต์ค้าบริการที่เป็นนักศึกษาข่าวนักศึกษา ค้าบริการเป็นอาชีพเสริม
มีมากขึ้น เริ่มมีข่าวนักเรียนขายบริการและเป็นนายหน้า(11) นอกจากนี้ บนพื้นที่
อินเตอร์เน็ตและสือ่ สมัยใหม่ ก็ถกู น�ำมาใช้เป็นช่องทางการค้าบริการทางเพศ เช่น
การซือ้ ขายบริการทางเพศผ่านห้องสนทนา ผ่านเว็บแคม ผ่านบริการของโทรศัพท์
เคลื่อนที่ หรือผ่านสื่อเครือข่ายทางสังคม (Line, facebook, Instagram) รวม
ถึงตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ ก็มีการโพสขายบริการ หรือน�ำเสนอรูปภาพส่วนตัวของ
ตนเองหรือผู้อื่นเพื่อขายบริการ(16)
อย่างไรก็ตามทัศนะสังคมไทย ทีม่ องผูค้ า่ บริการโดยเฉพาะผูห้ ญิงว่าคือ หญิง
คนชั่ว อย่างชื่อเรื่องนิยายของ ก. สุรางคนางค์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2480 ก็
ยังคงด�ำรงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง และน่าสังเกตว่า แม้ส่วนใหญ่ของผู้ชายไทยไม่ได้
เรียนรูป้ ระสบการณ์ทางเพศครัง้ แรกจากการซือ้ บริการ หลังยุคเอดส์ระบาดชัดเจน
แล้ว (หลัง พ.ศ.2530) แต่มิได้หมายความว่า การขายบริการทางเพศ ซึ่งส่วนใหญ่
แฝงฝังอยูใ่ นธุรกิจบันเทิงและบริการรูปแบบต่าง ๆ จะหดตัวลดลง กลับปรากฏว่า
ธุรกิจเซ็กส์ต้องห้ามกลับขยายตัวเป็นอุตสาหกรรมบริการที่ใหญ่โต ดังตัวเลข
ที่ ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตเจ้าของสถานอาบอบนวดขนาดใหญ่ ประมาณการว่า
ยอดรวมรายได้ที่เกิดจากธุรกิจให้บริการทางเพศทั่วประเทศในปี พ.ศ.2550 มี
ประมาณ 163,839 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 ของจีดีพ(17) ี

ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 181
สรุป
ในประเด็นของความแตกต่างทางด้านเพศ และปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องต้น
มีความส�ำคัญในแง่ของการลดปัญหาทางด้านสุขภาพอันมีสาเหตุเนื่องมาจาก
การท�ำงานได้ ซึ่งผู้มีอ�ำนาจ ควรตระหนักถึงความส�ำคัญให้ความยุติธรรม และมี
ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและสภาพการท�ำงาน เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน ตาม
บริบทโดยค�ำนึงถึงความเหมาะสมที่จะเป็นไปได้ เฉกเช่นเดียวกัน แพทย์ผู้ดูและ
ควรค�ำนึงปัจจัยด้านเพศ ในการดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังปัจจัยเสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้
ได้ เพื่อสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพของการท�ำงาน

182 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เอกสารอ้างอิง
1. ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2559. 2559.
2. รายงานประจ�ำปี 2559 ฝ่ายสถิตแิ ละรายงาน กองวิจยั พัฒนา: ส�ำนักประการสังคม,กระทรวง
แรงงาน; 2559.
3. วชร โอนพรัตน์วิบูล. สตรีกับการท�ำงาน. ในอดุลย์ บัณฑุกุล, บรรณาธิการ. ต�ำราอาชีว
เวชศาสตร์. 2554;1:447-49.
4. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (ลงวันที่12กุมภาพันธ์2541) และพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่2) พ.ศ.2551 (ลงวันที่15กุมภาพันธ์2551).
5. กฎกระทรวงกําหนดอัตราน�ำหนักทีน่ ายจ้างให้ลกู จ้างทํางานได้ฉบับกฤษฏีกา เล่ม 123,ตอน
ที่35 (ลงวันที่10มิถุนายน2547)พ.ศ. 2547,ราชกิจจานุเบกษา)
6. Reutman SR, and LeMasters, G.K. Evaluation of occupational exposures and
effects on male and female reproduction. In: W.N Rom (ed.), Environmental
and occupational medicine.4:143-56
7. The effects of workplace hazards on female reproductive health [online].
(n.d.). National Institute for Occupational Safety and Health [Available from:
https://www.cdc.gov/niosh/docs/99-104/.
8. บุษกร สุรยิ สาร. อัตลักษณ์และวิถที างเพศในประเทศไทย/ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ประจ�ำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในโครงการส่ง
เสริมสิทธิ ความหลากหลายและความเท่าเทียมในโลกของการท�ำงาน(PRIDE). กรุงเทพ:
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ; 2557.
9. จันทร์จิรา บุญประเสริฐ. ในชีวิตที่ถูกละเมิด: เรื่องเล่ากะเทย ทอม ดี้ หญิงรักหญิง ชาย
รักชาย และกฎหมายสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธีรนาถ
กาญจนอักษร และสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย; 2554.

ปัจจัยทางเพศสภาพที่เกี่ยวข้องกับงาน 183
10. ส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัตปิ อ้ งกันและปราบปรามการค้าประเวณี
พ.ศ. 2539; 2539.
11. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน. ชี้ถึงเวลา เปิดขายบริการทางเพศถูกกฎหมาย ลดปัญหา
สังคม. 2546.
12. กฤตยา อาชวนิจกุลจรรยาเศรษฐบุตรและสุภาณีเวชพงศา. จับตาสถานการณ์การค้าเด็ก
หญิงในรอบสิบปี ในยุคนโยบายยุติปัญหาโสเภณีเด็กขึ้นหิ้งรัฐไท. นครปฐม: สถาบันวิจัย
ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2537. 229-67 p.
13. กฤตยา อาชวนิจกุลและพรสขุเกิดสว่าง. เส้นทางแรงงานหญิงจากประเทศเพื่อน
บ้านสู่ ธุรกิจบริการทางเพศในประเทศไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.
14. พรพรรณ บูรณสัจจะ. การเปลยี่นแปลงลักษณะของการให้บริการทางเพศในรายงาน
เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจ�ำสัปดาห์2549. 73-5 p.
15. กุลภา วจนสาระ. มี ‘เรือ่ ง’ เพศแบบไหนในห้องสมุดและในข่าว. กรุงเทพมหานคร: แผน
งานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ มูลนิธสิ ร้างความเข้าใจเรือ่ งสุขภาพผูห้ ญิง (สคส.); 2551.
16. อิทธิพล ปรีติประสงค์. ‘ธุรกิจนอกระบบ’ ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบธุรกิจสื่อลามก
อนาจารบนอินเตอร์เน็ต รายงาน วิจัยของมูลนิธิคนึง ฤๅไชย, เอกสารอัดสําาเนา2546.
17. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. เปิดภาคนิพนธ์ "ชูวิทย์" มหาบัณฑิตมธ.ช�ำแหละเพศ
พาณิชย์แสนล้าน. 2551.

184 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
บทที่ 10

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ
(Occupational Disease Investigation)

นพ.พิสิษฐวุฒิ อยุทธ์

เนื้อหา
• ความส�ำคัญของการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ
• เกณฑ์การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
• การดําเนินการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ
• ปัจจัยและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนโรค

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 185
บทน�ำ
จากที่ผู้อ่านได้รู้จักเรื่องโรคและการเกิดโรคจากการท�ำงานแล้วนั้น ในบท
นี้จะพูดถึงขั้นตอนต่อไปหลังจากที่แพทย์ตรวจพบว่าโรคนั้นน่าจะมีสาเหตุมาจาก
การประกอบอาชีพ และมักจะเป็นโรคที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันในกลุ่มคนท�ำงาน
ลักษณะคล้ายโรคระบาด การท�ำงานด้านอาชีวเวชศาสตร์จงึ ต้องมีการสอบสวนโรค
จากการประกอบอาชีพ เพือ่ เป็นการเฝ้าระวังและควบคุมสิง่ แวดล้อมในการท�ำงาน
เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของคนท�ำงาน

เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติทางสุขภาพหรือโรคระบาดที่มีความส�ำคัญ โดย
ทั่วไปจะมีการด�ำเนินการสอบสวนโรค ซึ่งการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา เป็น
การคนหาขอเท็จจริงของเหตุการณ โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ขอ้ มูล คน หา
สาเหตุของโรค อธิบายการเกิดปญหา เพื่อนําไปสูการควบคุมปองกันโรคอย่าง
จ�ำเพาะเจาะจงส�ำหรับการระบาดครัง้ นัน้ ซึง่ เปนโอกาสในการสร้างองค์ความรูใ หม่
ผลงานวิจัย ตลอดจนเป็นการประเมินผลมาตรการการป้องกันและควบคุม
โรคทีด่ ําเนินการไปแลว โดยองค์การอนามัยโรค (WHO) ได้กล่าวถึงการระบาด
ไว้ว่า เป็นการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มากเกินกว่าปกติในชุมชนหรือพื้นที่ ไม่ว่าจะ
เป็นการระบาดในพื้นที่จ�ำกัด หรือขยายไปหลายประเทศ ซึ่งอาจเกิดได้ในไม่กี่วัน
หรือหลายสัปดาห์ หรือหลายปี ไม่วา่ จะเป็นผู้ป่วยรายเดียวในโรคอุบัติใหม่ หรือ
โรคอุบัติซ�้ำ หรือเป็นโรคเดิมในพื้นที่ที่มีจ�ำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ(1)
ส่วนการสอบสวนโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (Occupational
disease investigation) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International labor
organization, ILO) ได้ให้ความหมายครอบคลุมถึง การสอบสวนโรคจากการ
ประกอบอาชีพ (Occupational disease) อุบัติเหตุ (Occupational accident)
และภาวะเกือบอุบัติเหตุ (Near miss or Dangerous occurrence) ในสถานที่

186 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ท�ำงานหรือระหว่างการท�ำงาน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การหาว่าท�ำไมถึงเกิด
เหตุการณ์ขึ้นได้ เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อด�ำเนินการควบคุมป้องกันเหตุการณ์ที่จะ
เกิดซ�้ำขึ้นอีกในอนาคต ตลอดจนเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการท�ำงานและ
การจัดการด้านสุขภาพของคนท�ำงานที่ดีมากยิ่งขึ้น(2)
ประเทศไทยได้มกี ารเฝ้าระวังและติดตามการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะน�ำไปสู่การวางแผนและนโยบาย โดยข้อมูลในระบบเฝ้าระวัง
ดังกล่าว เป็นข้อมูลที่ได้มาจากหลาย ๆ แหล่ง สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ข้อมูลทางด้านสุขภาพของคน และข้อมูลสิ่งแวดล้อมในการท�ำงาน โดยจะมี
รายละเอียดประกอบดังต่อไปนี(3)้
1. ข้อมูลทางด้านสุขภาพ ได้แก่ ข้อมูลการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ และการตาย
ซึ่งได้มาจากฐานข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยของหน่วยบริการสาธารณสุข 43 แฟ้ม
รายงานการเฝ้าระวังโรค 506/2 รายงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury
surveillance) รายงานเหตุการณ์ (Event - based surveillance) ข้อมูลการตรวจ
สุขภาพประจ�ำปีตามความเสีย่ งให้กบั ลูกจ้างจากส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพ
และสิง่ แวดล้อม ข้อมูลผูป้ ระสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยเนือ่ งจากการท�ำงานจาก
ส�ำนักงานกองทุนเงินทดแทน
2. ข้อมูลสิ่งแวดล้อมในการท�ำงาน ได้แก่ ข้อมูลของสถานที่ท�ำงาน สถาน
ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม ข้อมูลสารเคมีที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลการตรวจวัด
สภาพแวดล้อมในที่ท�ำงาน
ตัวอย่างเช่น ขอมูลการบาดเจ็บหรืออุบตั เิ หตุจากการทํางานจากการสํารวจ
แรงงาน ของสํานักงานสถิตแิ ห่งชาติพบวา มีแรงงานทีเ่ คยไดรบั บาดเจ็บหรืออุบตั เิ หตุ
จากการทํางาน ในปี พ.ศ. 2560 จํานวน 4.28 ลานคน (ร้อยละ 11.4) ของแรงงาน
ทั่วประเทศ และขอมูลสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บปวยเนื่องจากการทํางาน

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 187
ของสํานักงานกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม มีผปู้ ระสบอันตรายหรือ
เจ็บปวยเนื่องจากการทํางานทั้งหมด 86,278 ราย (คิดเป็น 8.8 ตอลูกจาง 1,000
ราย) และประสบอันตรายกรณีรายแรง เทากับ 2.3 ต่อลูกจ้าง 1,000 ในปีเดียวกัน(4)

เกณฑ์การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
เมือ่ พบว่ามีโรคจากการประกอบอาชีพเกิดขึน้ ถึงเกณฑ์การออกสอบสวนโรค
ทีก่ ำ� หนดไว้ จะมีการด�ำเนินการสอบสวนโรค โดยระดับหรือขนาดของทีมสอบสวน
ขึ้นอยู่กับขนาดของความรุนแรงของเหตุการณ์นั้น เช่น ทีมสอบสวนระดับจังหวัด
หรือระดับเขต หรือระดับกรม เป็นต้น
เกณฑ์การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็น
เกณฑ์ให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response
team, SRRT) ระดับพื้นที่ออกสอบสวนโรค ไว้ดังนี้ (5)
1. มีเหตุการณ์หรือรายงานผู้ป่วยด้วยกลุ่มอาการคล้ายกัน ที่เกี่ยวข้องกับ
อาชีพหลายคนพร้อมกันในเวลาเดียวกัน อยู่ในสถานที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
2. มีผปู้ ว่ ยด้วยโรคจากการประกอบอาชีพ เมือ่ เจ็บป่วยแล้วมีผลต่อสุขภาพ
รุนแรง พบได้น้อย และเป็นโรคที่มีความส�ำคัญเชิงนโยบาย พบเพียง 1 ราย ต้อง

188 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
มีการด�ำเนินการสอบสวนโรค เช่น โรคซิลิโคสิส โรคจากแร่ใยหินแอสเบสตอส
โรคพิษตะกั่ว เป็นต้น
3. เกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัยหรือบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ มีการป่วย
และเสียชีวิตและมีแนวโน้มเกิดผลกระทบต่อสุขภาพรุนแรง
4. เหตุการณ์หรือผลกระทบต่อสุขภาพทีป่ ระชาชน องค์กร หรือหน่วยงาน
ต่างๆ ให้ความ สนใจ หรือได้รบั การร้องเรียนจากประชาชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบและ
ต้องการทราบ ข้อเท็จจริงหรือปัญหาที่แท้จริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5. มีขอ้ บ่งชีก้ ารปนเปือ้ นสารเคมีและหรือมลพิษจากสิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีเ่ สีย่ ง
ซึ่งส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้ใช้เกณฑ์นี้ร่วมกับ
การแบ่งระดับความรุนแรงอีก 1 ระดับทีเ่ รียกว่า เกณฑ์สำ� หรับเหตุการณ์ทมี่ คี วาม
ส�ำคัญสูง (Director critical information requirement, DCIR) ซึ่งเป็นข้อมูล
ส�ำคัญของเหตุการณ์ที่มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสาธารณสุขในวงกว้าง
มีความรุนแรงสูงต้องการการตอบสนองเร่งด่วยภายใน 24 ชั่วโมง ต้องแจ้งให้
ผู้บริหารระดับสูงทราบ เพื่อเพิ่มการตอบสนองที่รวดเร็วและขนาดทีมงานที่ใหญ่
มากขึ้น ดังตารางที่ 10.1

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 189
ตารางที่ 10.1 เกณฑ์การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ ส�ำนักโรค
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
เกณฑ์ส�ำหรับเหตุการณ์ที่มีความส�ำคัญสูง เกณฑ์เพิ่มเติมจาก DCIR
(Director critical information requirement, DCIR) (ไม่เข้าเกณฑ์ DCIR แต่เข้าเกณฑ์ของส�ำนักระบาด โดยย่อ)

โรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม • ผูป้ ว่ ยสงสัยโรค silicosis โรคจากแร่ไยหิน


• การเสียชีวติ ในเหตุการณ์เดียวกัน ในสถาน เอสเบสตอส ทีม่ ผี ปู้ ว่ ยตัง้ แต่ 1 รายขึน้ ไป
ประกอบการเดียวกันตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป และอยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกัน
• ผู้ป่วยสงสัยโรคพิษตะกั่ว ที่มีผู้ป่วยตั้งแต่
ภัยสุขภาพ 2 รายขึน้ ไป ด้วยอาการคล้ายกัน และอยู่
• โรงงาน สถานประกอบการ เหมืองแร่ ในสถานทีเ่ ดียวกันหรือใกล้เคียงกันในช่วง
บ่อขยะ ทีเ่ กิดระเบิด เพลิงไหม้ กัมมันตรังสี เวลา 12 เดือน
หรือสารเคมีรวั่ ไหลทีท่ ำ� ให้มผี เู้ สียชีวติ หรือ • ผูป้ ว่ ยสงสัยโรคพิษจากสารก�ำจัดศัตรูพชื
ต้องมีการอพยพประชากรไปอยูศ่ นู ย์พกั พิง ทีม่ ผี ปู้ ว่ ยเป็นกลุม่ ก้อนตัง้ แต่ 5 คนเป็นต้น
ชั่วคราว ไป ด้วยอาการคล้ายกัน และอยู่ในสถาน
ที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
• เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติภัยสาร
เคมีและรังสี

การด�ำเนินการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ(2, 5, 6)
แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การเตรียมตัวก่อนการสอบสวนโรค และการ
ลงพื้นที่สอบสวนโรค โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การเตรียมตัวก่อนการสอบสวนโรค หรือก่อนการลงพืน้ ที่ (Preparations
before starting the investigation)
1.1 การยืนยันการเกิดเหตุการณ์ (Verify) เป็นการยืนยันว่ามีเหตุการณ์
เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล การหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ
การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้อง
190 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
1.2 การทบทวนวรรณกรรม ความรู้ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การ
สอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ โดยมากจะรู้สาเหตุหรือสิ่งคุกคามก่อนออก
สอบสวน เช่นรูช้ นิดสารเคมี หรือรังสี หรือวัตถุอนั ตรายต่าง ๆ จึงสามารถทบทวน
และค้นคว้าข้อมูลเพิม่ เติมเชิงลึกและจ�ำเพาะเจาะจงก่อนการลงพืน้ ที่ ตลอดจนอาจ
น�ำมาใช้วางแผนในการขอผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ลงท�ำการสอบสวน หรือเป็นที่
ปรึกษาด้วย
การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีความจ�ำเป็นเป็นอย่างมากซึ่งมีผลต่อ
อ�ำนาจและขอบเขตของทีมสอบสวน ระดับอันตรายของสารต่าง ๆ ตามกฎหมาย
ก�ำหนด โดยกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ
คือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งแตกต่างจากการสอบสวนโรค
ติดต่อที่จะใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เป็นหลัก(7, 8)
1.3 การเตรียมทรัพยากร เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์จ�ำเป็นต่าง ๆ เพื่อการ
สอบสวน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ป้ายสัญญาณต่างๆ เพื่อให้เหมาะสม
กับเหตุการณ์นั้นๆ หากคาดว่าต้องไปอยู่ที่พื้นที่เป็นเวลานานต้องค�ำนึงถึงน�้ำและ
อาหารของทีมสอบสวน หรือเตรียมทีมช่วยเหลือที่จะช่วยสนับสนุนในส่วนนี้
1.4 ติดต่อประสานงานพื้นที่ ประเมินความปลอดภัยของพื้นที่ที่จะลง
สอบสวน โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติภัยซึ่งอาจเกิดอุบัติภัยซ้อนได้

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 191
2. การลงพื้นที่สอบสวนโรค (Outbreak investigation)(2, 5, 6)
เพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลทีค่ รบถ้วนสมบูรณ์จงึ ได้มกี ารแบ่งขัน้ ตอนการสอบสวนหลาย
ขัน้ ตอน และมีรายละเอียดค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามการท�ำงานในพืน้ ทีส่ ามารถท�ำ
ตามล�ำดับขัน้ หรือท�ำหลาย ๆ ขัน้ ตอนควบคูก่ นั ไป หรือเลือกท�ำขัน้ ตอนบางอย่าง
ก่อนได้ และในหลายครั้งไม่จ�ำเป็นต้องท�ำให้ครบทุกขั้นตอน ขอให้ทีมสอบสวน
ประยุกต์ให้เหมาะสมตามสถานการณ์นั้น ๆ โดยขั้นตอนการสอบสวนโรคมีดังนี้
2.1 การยืนยันการวินิจฉัยโรค (Verify the occupation disease)
ขั้นตอนนี้ เป็นการยืนยันว่าการวินิจฉัยโรคถูกต้องหรือไม่ และโรคที่เกิดขึ้นนั้น
เป็นโรคจากการประกอบอาชีพหรือไม่ ขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะเหมือนการตรวจ
โรควินิจฉัยโรคตามปกติ (ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ) แต่
มีการสอบถามข้อมูลด้านการท�ำงานและรายละเอียดของการท�ำงานเพิ่ม และ
มีการน�ำข้อมูลทั้งหมดมาประยุกต์เข้ากับ 9 ขั้นตอนการวินินิจฉัยโรคจากการ
ประกอบอาชีพ (9 steps to diagnose occupational disease) (9)
2.2 การยืนยันการระบาดของโรค (Confirm the outbreak) เพื่อ
เป็นการยืนยันว่ามีการระบาดขึน้ จริงและเป็นส่วนในการตัดสินใจในการด�ำเนินการ
สอบสวนต่อ การยืนยันการระบาดของโรคสามารถท�ำได้หลายวิธี ดังนี้

192 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
2.2.1. การทีม่ คี า่ กลางของเหตุการณเกิดมากกวาปกติในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน
เทียบกับ 3-5 ปียอ้ นหลัง เช่นมีคา่ มัธยฐาน (Median) ในช่วงนี้ มากกว่าค่ามัธยฐาน
ของ 3-5 ปียอ้ นหลังในช่วงเวลาเดียวกัน หรือค่าเฉลีย่ (Mean) ช่วงเวลานี้ มากกว่า
ค่าเฉลี่ยบวกกับสองเท่าของค่าความคลาดเคลื่อน (Mean+2SD) 3-5 ปีย้อนหลัง
ในช่วงเวลาเดียวกัน
2.2.2. มีผู้ป่วยโรคหรืออาการเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
2.2.3. มีผู้ป่วยโรคหรืออาการเดียวกัน แบบไม่เป็นกลุ่มก้อน
(Cluster) แต่มีผู้ป่วยอย่างน้อย 2 รายขึ้นไปมีความเชื่อมโยงกันทางระบาดวิทยา
(Epidemiological linkage)
2.2.4 ผู้ป่วย 1 รายที่มีความรุนแรงสูงมาก หรือตาย
2.3 ให้คำ� นิยามผูป้ ว่ ย/ผูเ้ กีย่ วข้อง และด�ำเนินการค้นหา (Define case
and conduct case finding) เนื่องจากในหลาย ๆ ครั้ง จ�ำนวนผู้ป่วยที่เข้ามา
รักษาน้อยกว่าที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจริง อาจยังมีผู้ป่วยและผู้ท่ีเกี่ยวข้องจ�ำนวน
มากที่ขาดหายไป ท�ำให้ข้อมูลที่เรามีอยู่ยังไม่สมบูรณ์ จ�ำเป็นต้องค้นหาผู้ป่วยให้
ครบถ้วน เพื่อจะได้รีบรักษาหรือด�ำเนินการอื่น ๆ ต่อไป
การตัง้ นิยามและค้นหาผูป้ ว่ ยหรือผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบ นิยมก�ำหนดนิยามให้
มีคณ
ุ ลักษณะ 3 ประการ คือ ลักษณะของบุคคลหรืออาการทีต่ อ้ งการเป็นอย่างไร
(Person) ขอบเขตของพืน้ ทีห่ รือทีอ่ ยูข่ องคนทีจ่ ะไปส�ำรวจ (Place) และก�ำหนดช่วง
เวลาที่เกี่ยวข้องเป็นขอบเขตของการส�ำรวจ (Time) เช่น ผู้ที่ท�ำงานหรืออาศัยใน
เขตโรงงานแห่งนี้ ทีม่ อี าการกระสับกระส่าย หรือหายใจเร็ว หรือเวียนศีรษะ อย่าง
น้อย 2 ใน 3 ของการอาการดังกล่าว ณ ช่วงวันที่ 1-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 193
2.4 ด�ำเนินการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลข้อมูล (Data collection
and analyzing the information) ท�ำการรวมรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้ท่ีมีส่วน
เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ป่วย ผู้ได้รับผลกระทบ เจ้าของสถานประกอบการ เจ้าหน้าที่ที่
เกี่ยวข้อง พยาน ผู้ร่วมเหตุการณ์ โดยการสอบสวนโรคจากการท�ำงานนั้น เพื่อน�ำ
ไปสู่การได้ข้อมูลที่ดี ควรยึดแนวการถามตามหลักการค้นหาข้อมูล 5Ws and 1H
ดังนี(2)้
• ใครเป็นผู้ป่วย หรือผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือผู้เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ใน
เหตุการณ์นี้ (Who)
• เกิดเหตุการณ์นที้ ไี่ หน มีลกั ษณะพืน้ ทีเ่ ป็นอย่างไร แผนกงานใด มีแผนที่
หรือไม่ (Where)
• เกิดเหตุการณ์นี้เมื่อไหร่ มีรายละเอียดการเกิดตามเวลา (Timeline)
อย่างไร (When)
• เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างและมีรายละเอียดอย่างไร (What)
• เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีปัจจัยใดเกี่ยวข้องบ้าง (How)
• ท�ำไมถึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นได้ (Why)
การวิเคราะห์ขอ้ มูลโดยทัว่ ไปจะใช้รปู แบบการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงพรรณนา
ในเบื้องต้น เช่นจ�ำนวน สัดส่วน ร้อยละ และนิยมอธิบายตามลักษณะบุคคล เวลา
และสถานที่
2.5 การตัง้ สมมติฐาน (Develop hypothesis) และการทดสอบสมมติฐาน
โดยกระบวนการทางสถิตหิ รือวิจยั (Analytical studies to test hypotheses or
conduct research) ขัน้ ตอนนีเ้ ป็นการค้นหาปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องหรือสาเหตุการโดย
กระบวนการทางสถิตหิ รืองานวิจยั เริม่ ตัง้ แต่การตัง้ สมมติฐานว่าเหตุการณ์หรือโรค
นีน้ า่ จะเกิดจากสาเหตุใดหรือมีสงิ่ ใดมาเกีย่ วข้องด้วย ออกแบบการศึกษา รวบรวม
และวิเคราะห์ข้อมูล ที่นิยมท�ำได้แก่ การศึกษาแบบ Case-control study หรือ

194 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
Cohort study ดังตัวอย่างการสอบสวนโรคจากจากการประกอบอาชีพ ตัวอย่าง
ที่ 4 ท้ายบทนี้ เรื่อง การศึกษา Case-control study ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้
ประกอบอาชีพแกะสลักหิน จังหวัดนครราชสีมา
2.6 การตรวจพิเศษทางสิง่ แวดล้อมหรือห้องปฏิบตั กิ าร (Environmental
and laboratory studies) ขัน้ ตอนนีม้ คี วามส�ำคัญและจ�ำเป็นมาก ในการสอบสวน
โรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อมเมือ่ เทียบกับการสอบสวนโรคทัว่ ไป การ
ตรวจให้เลือกตรวจให้เหมาะสมกับเหตุการณ์หรือโรคทีเ่ กิดขึน้ เช่น การตรวจระดับ
เสียง อุณหภูมิ ส่วนประกอบและความเข้มข้นของฝุ่น ระดับการปนเปื้อนสารเคมี
หรือโลหะหนัก หรือกัมตรังสีในสิ่งแวดล้อม การตรวจชนิดและความเข้มข้นของ
แก๊สต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้อาจต้องการเครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
จ�ำเป็นต้องมีการเตรียมตัวก่อนลงพื้นที่
2.7 ด�ำเนินการควบคุม ป้องกันโรค (Implement controls) การควบคุม
ป้องกันโรคเป็นขั้นตอนที่มีความส�ำคัญที่จะช่วยยับยั้งไม่ให้มีการแพร่กระจายโรค
หรือจ�ำกัดความเสียหาย ลดความรุนแรงของเหตุการณ์ลง การเลือกวิธปี ฏิบตั คิ วร
เลือกให้เหมาะสมกับสาเหตุหรือปัจจัยเสีย่ งทีไ่ ด้ทำ� การสอบสวนและตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการตามข้อมูลที่สอบสวนได้ โดยทั่วไปการด�ำเนินจะมีการท�ำตามล�ำดับ
ชั้นของมาตรการควบคุม (The hierarchy of control measures) เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมี 5 ล�ำดับ ดังนี้

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 195
2.7.1 การขจัดสิ่งคุกคาม (Elimination) เป็นวิธีการควบคุมที่มี
ประสิทธิภาพมากทีส่ ดุ และควรใช้เป็นล�ำดับแรกเสมอ เช่น งดใช้สารเคมีอนั ตราย
การยกเลิกวิธกี ารท�ำงานบางขัน้ ตอนทีอ่ นั ตราย ก�ำจัดอุปกรณ์/เครือ่ งมือทีอ่ นั ตราย
ยกเลิกการใช้สารชีวภาพที่อันตราย หากเป็นการระบาดของโรคติดเชื้อในสถานที่
ท�ำงานสามารถด�ำเนินการโดยก�ำจัดเชื้อโรคและแหล่งรังโรค เป็นต้น
2.7.2 การแทนที่ (Substitution) เป็นการทดแทนสิ่งคุกคามหรือ
วัตถุอนั ตราย ปรับเปลีย่ นเป็นสิง่ หรือกระบวนการทีม่ อี นั ตรายน้อยกว่า เช่นการใช้
สารเคมีทมี่ คี วามรุนแรงน้อยกว่าหากเกิดการรัว่ ไหลหรือสัมผัส การขึน้ รูปโดยการ
พิมพ์สามมิตทิ ดแทนการขึน้ รูปโดยการปัม๊ โลหะ การเปลีย่ นเครือ่ งจักรทดแทนทีม่ ี
ความปลอดภัยสูงขึ้น เป็นต้น
2.7.3 วิธีทางวิศวกรรม (Engineering controls) โดยการออกแบบ
ใหม่ หรือปรับปรุงแบบทางวิศวกรรม โดยมีการปรับเปลีย่ นหรือติดตัง้ อุปกรณ์เพือ่
ลดอันตราย เช่น การติดตัง้ ฉนวนกันเสียงเพือ่ ป้องกันเสียงดังระหว่างเครือ่ งจักรและ
จุดทีม่ คี นท�ำงาน การติดตัง้ ระบบระบายอากาศเพือ่ น�ำไอระเหยทีอ่ นั ตรายออกไป
หรือการออกแบบระบบไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วไหล การติดตั้งปุ่ม
กดฉุกเฉินให้ง่ายต่อการควบคุม การออกแบบอุปกรณ์หรือเครื่องจักรให้หยิบจับ
ทดแทนคนในจุดที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หน้าเตาหลอมโลหะ เป็นต้น
2.7.4 การบริหารจัดการ (Administration controls) ใช้เสริมกับ
มาตรการต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อช่วยลดการสัมผัสกับสิ่งคุกคาม ซึ่งการควบคุมด้าน
บริหารจัดการสามารถท�ำได้โดยวิธกี ารต่างๆ เช่น การก�ำหนดช่วงเวลาในการท�ำงาน
การท�ำงานทีม่ คี วามเสีย่ งให้นอ้ ยทีส่ ดุ และมีชว่ งเวลาพักทีเ่ หมาะสมในการท�ำงานที่
ร้อนหรือเย็นจัด สถานที่อับอากาศ มีการระบุคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของ
ผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสมในงานนั้น ๆ เช่น อายุ เพศ ระดับสมรรถภาพของร่างกาย

196 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ความช�ำนาญในการใช้เครือ่ งจักรอันตราย ตลอดจนการฝึกอบรมให้ผทู้ มี่ คี วามเสีย่ ง
ทราบถึงอันตราย ขั้นตอนการท�ำงานที่ถูกต้องและปลอดภัย หากเป็นการระบาด
ของโรคติดต่อหรือกัมมันตรังสีรวั่ ไหล ขัน้ ตอนนีอ้ าจหมายรวมถึงการบริหารคนป่วยและ
ผู้สัมผัส โดยคัดแยกผู้ป่วยโรคติดต่อหรือผู้ป่วยกัมมันตรังสี (Isolation patients)
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายต่อเนื่องกันไป ตลอดจนการจ�ำกัดพื้นที่ผู้สัมผัสโรค
(Quarantine) แต่ยังไม่มีอาการเพื่อเฝ้าดูการด�ำเนินของโรค เป็นต้น
2.7.5 การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal
protective equipment) หมายถึงเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ หรือวัตถุใด ๆ ที่เมื่อ
สวมใส่แล้วจะสามารถปกป้องร่างกายจากความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บ
ป่วยจากงานที่ท�ำหรือสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ปอ้ งกัน
ดวงตา อุปกรณ์ปอ้ งกันเสียง ถุงมือป้องกันของแหลมคมหรือสารเคมี รองเท้าป้องกัน
นิว้ เท้าจากการกระแทก เป็นต้น อย่างไรก็ตามการใช้อปุ กรณ์ปอ้ งกันอันตรายส่วน
บุคคล ถือว่าเป็นมาตรการควบคุมทีม่ ปี ระสิทธิภาพน้อยทีส่ ดุ ซึง่ โดยทัว่ ไปจะน�ำมา
ใช้เสริมกับมาตรการควบคุมอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังมีการปรับตัว/ปรับปรุงผู้มีความเสี่ยง (Modify host
response) เช่นในงานบางงานมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบางโรค สามารถเพิ่ม
การป้องกันโดยให้วคั ซีนป้องกันล่วงหน้า (Pre-exposure prophylaxis) เช่น การ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตวแพทย์ หรือบุคลกรท�ำงานเกี่ยวกับปศุสัตว์
เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงในการป้องกันและความคุมเหตุการณ์ให้ได้ผล
มากทีส่ ดุ ควรใช้มาตรการหลาย ๆ อย่างควบคูก่ นั ไป และรีบด�ำเนินการอย่างรวดเร็ว
2.8 การเผยแพร่ข้อมูล จัดท�ำรายงาน (Completing the report/
documenting the information) การสือ่ สารผลการสอบสวนจะท�ำให้ผทู้ เี่ กีย่ วข้อง
ทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ ท�ำให้สามารถน�ำไปวางแผนด�ำเนินการเร่งด่วนในเหตุการณ์

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 197
ครั้งนี้ หรือใช้เป็นองค์ความรู้ในการจัดการหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก การจัดท�ำ
เอกสาร มีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
2.8.1 บทสรุปแก่ผบู้ ริหาร (Executive summary) ความยาวประมาณ 1-3
หน้า เพื่อแจ้งให้ผู้บริหารทราบโดยเร็วทันทีหลังจากการสอบสวน ประกอบด้วย
ความเปนมา ผลการสอบสวนที่สําคัญ แนวโน้มของเหตุการณ์ กิจกรรมควบคุมที่
ไดดําเนินไปแลว ขอเสนอเพื่อพิจารณาดําเนินการตอไป
2.8.2 รายงานฉบับเต็ม (Full report) ทําขึ้นเพื่อสรุปรายละเอียดซึ่งมี
เนื้อหาที่สมบูรณ์ รายงานจะประกอบด้วยเนื้อหาต่าง ๆ อาธิ เช่น ความเปนมา
วัตถุประสงค์ วิธกี าร ผลการสอบสวน กิจกรรมควบคุมปอ งกัน ผลของการควบคุม
ป้องกันที่ไดดําเนินการไปแล้ว ปญหาและขอจํากัดในการสอบสวน วิจารณผล
สรุปผล ขอเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอางอิง รายชื่อทีมสอบสวนโรค
และผูเขียนรายงาน
2.8.3 รายงานบทความวิชาการ (Scientific article) เปนเป็นการเขียน
บทความวิชาการที่สามารถใชเผยแพรผลการสอบสวนในวงกวาง เขียนขึ้นเพื่อ
ตีพิมพเผยแพรในวารสารวิชาการ ซึ่งจะมีประโยชนอยางมากในการเข้าถึง
องค์ความรู้หรือผลการสอบสวนแก่ผู้ที่สนใจ

ปัจจัยและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนโรค(10)
ปัจจัยที่ท�ำให้การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ประสบความส�ำเร็จนั้น จะเกิดจากบุคลากรมีความรูเ้ ฉพาะทางและมีความช�ำนาญ
เฉพาะด้านร่วมสอบสวนโรค ทีมสอบสวนโรคได้มกี ารร่วมประชุมเตรียมความพร้อม
วางแผนงานทุกครั้ง และมีการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ผู้บริหารให้ความ
ส�ำคัญและสนับสนุน

198 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ปัญหาและอุปสรรคในการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม
ได้แก่ การขาดแคลนผูม้ คี วามช�ำนาญในการร่วมทีม ข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณและ
บุคลากรสนับสนุน เครื่องมือในการตรวจสิ่งแวดล้อมไม่ครบถ้วน ข้อจ�ำกัดใน
การตรวจสารเคมีหรือสิ่งแวดล้อมที่มีค่าใช้จ่ายสูง
ข้อแนะน�ำส�ำหรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ไม่ได้ศึกษาระบาดวิทยาภาคสนาม อาจไม่
สามารถด�ำเนินการสอบสวนโรคในต�ำแหน่งหัวหน้าทีมได้ อย่างไรก็ตามควรเข้าไป
มีสว่ นร่วมเพือ่ ช่วยเหลือแพทย์อาชีวเวชศาสตร์หรือแพทย์เวชศาสตร์ปอ้ งกันแขนง
ระบาดวิทยาในการสืบค้นและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับพื้นที่ ตลอดจนร่วมเป็นทีม
ปฏิบัติการ (Operation team) ในฐานะแพทย์ประจ�ำคลินิกหมอครอบครัว

ตัวอย่าง การสอบสวนการโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างที่ 1 การสอบสวนกรณีชีวิตจากการขาดอากาศในที่อับอากาศ
จากการบํารุงรักษาท่อบ�ำบัดน�้ำเสีย สถานีสูบน�้ำเสีย จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2557(11)
มีพนักงานเสียชีวิต 4 ราย และหมดสติ 1 ราย จากการสอบสวนพบว่า บริเวณ
ท�ำงานเป็นบ่อพักน�้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.80 เมตร ลึก 4.60 เมตร ขณะท�ำงาน
พนักงานไม่ได้สวมอุปกรณ์ปอ้ งกันส่วนบุคคล เมือ่ เริม่ ท�ำงานพนักงานคนแรกหมด
การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 199
สติทนั ทีหลังลงไปในท่อบ�ำบัดน�ำ้ เสีย่ พนักงานคนที่ 2-4 พยายามเข้าช่วยเหลือและ
หมดสติตามกัน ต่อมาเสียชีวิตทั้ง 4 ราย การตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อมพบปริมาณ
แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟล์ 41.2 ppm เกินมาตรฐาน TLV-TWA 10 ppm ได้ควบคุม
โดยปรับการระบายอากาศ อบรมคนงานและสถานประกอบการท�ำงานในที่อับ
อากาศและสงสัยมีแก๊สพิษ การจัดเครื่องมือในท�ำงานและอุปกรณ์ป้องกันส่วน
บุคคลที่เหมาะสม

ตัวอย่างที่ 2 การสอบสวนผู้ป่วยหมดสติ/เสียชีวิต ขณะอาบน�้ำในห้องน�้ำ


โดยใช้เครื่องท�ำน�้ำอุ่นระบบแก๊ส จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2556(12)จากการสอบสวน
พบผู้ป่วยตามนิยามทั้งหมด 3 ราย เสียชีวิต 2 ราย (อัตราป่วยตาย ร้อยละ 66.7)
ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยวเพศหญิงเชื้อชาติไทย อาการที่พบ ได้แก่ อาเจียน
และหมดสติ ระยะเวลาตั้งแต่อาบน�้ำจนเสียชีวิต 40 - 60 นาที ทุกแห่งเป็น
ห้องน�้ำซึ่งติดตั้งเครื่องท�ำน�้ำอุ่นระบบแก๊ส และใช้ปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง
ตัวเครื่องผลิตจากแหล่งเดียวกันและไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ผลการส�ำรวจ
สิ่งแวดล้อมพบว่า ระดับแก๊ส CO > 1,000 ppm. (ค่ามาตรฐาน <200 ppm.
และค่า Immediately dangerous to life or health concentrations; IDLHs
1,200 ppm.) ค่า Propane >1000 ppm. (ค่ามาตรฐาน < 1,000 ppm. และ
200 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
IDLHs 2,000 ppm.) และ ค่า Carbondioxide >10,000 ppm. (ค่ามาตรฐาน
< 5,000 ppm. และ IDLHs 40,000 ppm.) ด�ำเนินการควบคุมโดยจัดท�ำช่อง
และติดพัดลมระบายอากาศ (ภายหลังปรับปรุง ตรวจวัดหลังแก๊สหลังจากจุดไฟ
ไม่พบแก๊สในระดับเกินมาตรฐาน) ให้ความรู้และขอความร่วมมือผู้ประกอบการ
ห้องน�้ำที่ติดตั้งเครื่องท�ำน�้ำอุ่นระบบแก๊ส ภายในห้องต้องจัดให้มีระบบการไหล
เวียนอากาศทีด่ โี ดยต้องมีชอ่ งลมให้อากาศเข้าออกและติดตัง้ พัดลมระบายอากาศ

ตัวอย่างที่ 3 การสอบสวนผูป้ ว่ ยเสียชีวติ ด้วยโรค Silicosis จังหวัดนครราชสีมา


พ.ศ. 2550(13)จากการสอบสวนพบ ผู้เสียชีวิต 1 ราย ท�ำงานเกี่ยวกับแกะสลักหิน
นาน 32 ปี การส�ำรวจสิ่งแวดล้อมในอากาศพบฝุ่นซิลิก้า เกินมาตรฐานจ�ำนวน
5 ตัวอย่าง จากการค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงและตรวจประเมินสมรรถนะปอด
จ�ำนวน 108 คน ผลการทดสอบมีคา่ คาดคะเน FVC ต�ำ่ กว่าร้อยละ 80 จ�ำนวน 34
คน (ร้อยละ 31.5) มีคา่ FEV1 ต�่ำกว่าร้อยละ 80 จ�ำนวน 22 คน (ร้อยละ 20.4)
การแปลผลการทดสอบสมรรถภาพปอด พบว่ามีความผิดปกติ 29 ราย คิดเป็น
ร้อยละ 34.3 ในจ�ำนวนคนที่ผลการทดสอบผิดปกติ มีความผิดปกติแบบ Mild
restriction, moderate severe restriction และ very severe restriction
ร้อยละ 64.9 16.2 และ 5.4 ตามล�ำดับ
การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 201
ตัวอย่างที่ 4 การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคปอดฝุ่นหินในกลุ่มผู้
ประกอบอาชีพแกะสลักหิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560(14)เป็นการศึกษาเป็น
แบบ Case-control study ในกลุม่ ตัวอย่างทีเ่ ป็นผูป้ ระกอบอาชีพแกะสลักหิน ใช้
นิยามผูป้ ว่ ยซิลโิ คสิสจากการวินจิ ฉัยของแพทย์ตาม เกณฑ์ ILO เก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นผู้ป่วย 70 ราย และผู้ไม่ป่วย 84 ราย ผลการศึกษาพบผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 48.1
ปี ระยะเวลาทํางานเฉลี่ย 10.8 ปี ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรค
เฉลี่ย 2.7 ปี พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระยะเวลา
ในการทํางาน ลักษณะงานที่ทํา และการไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองจากฝุ่น
หินให้ครบถ้วนทุกครั้ง ที่โดยค่า Adjusted odds ratio เท่ากับ 5.77 5.14 5.13
4.67 3.46 และ 3.37 ตามล�ำดับ

สรุป
ในการปฏิบตั งิ านในด้านการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพนัน้ แพทย์
เวชศาสตร์ครอบครัวควรรูจ้ กั หลักการและขัน้ ตอนของการสอบสวนโรค เพือ่ เป็นการ
เฝ้าระวังโรคและรายงานโรคได้อย่างทันท่วงที นอกจากนีย้ งั ควรมีการท�ำงานร่วมกับ
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็นทีมเดียวกัน แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีหน้าทีใ่ นการ
ให้ข้อมูลและรายละเอียดเรื่องโรคที่สงสัย เพื่อให้แพทย์อาชีวเวชศาสตร์สามารถ
สอบสวนโรคได้อย่างแม่นย�ำและรวดเร็วยิ่งขึ้น หากท�ำงานอย่างเป็นระบบจะช่วย
คุ้มครองสวัสดิภาพของคนท�ำงานได้
202 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
เอกสารอ้างอิง
1. Jonh Rainford. World Health Organization outbreak communication planning
guide. 2008 ed. Geneva: WHO Document Production Services; 2008.
2. Labour Administration. Investigation of Occupational Accidents and Diseases:
A Practical Guide for Labour Inspectors. 1st ed. Geneva: International Labour
Office; 2015.
3. ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบ
อาชีพและสิง่ แวดล้อม. นนทบุร:ี ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม; 2558.
1-24 p.
4. ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2560. ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและ
สิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2561. 1-67 p.
5. ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. แนวทางการสอบสวนโรคจากการ
ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (Occupational and Environmental disease
investigation). นนทบุร:ี ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม กรมควบคุม
โรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558. 1-96 p.
6. ค�ำนวณ อึ้งชูศักดิ, ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, และชุลีพร จิรพงษา.
พื้นฐานระบาดวิทยา Basics of Epidemiology. นนทบุรี: สมาคมนักระบาดวิทยาภาค
สนาม; 2557.
7. วศิน และชวัลพร. พระราชบัญญัตกิ ารสาธารณสุข พ.ศ. 2535. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา; 2535.
8. ศูนย์กฏหมายกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ
พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ 203
9. อดุลย์ บัณฑุกุล. การวินิจฉัยโรคจากการท�ำงานโดยใช้ Nine steps in Occupational
Diseases Diagnosisวรสารกรมการแพทย์ 2559; 1: 8-12.
10. กลุม่ ข่าวกรองและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม.
รายงานการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพประจ�ำปีงบประมาณ 2558. นนทบุรี:
ส�ำนักโรคจากการประกอบอาชีพ; 2558. 1-31 p.
11. อมรรัตน์ ตันติทิพย์พงศ์และคณะ. การสอบสวนกรณีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหรือ
ในที่อับอากาศ จากการบ�ำรุงรักษาสถานีสูบน�้ำเสียศรีสุทัศน์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
วันที่ 26 มีนาคม 2557: Weekly Epidemiological Surveillance Report (WESR);
2557. 1-7 p.
12. ชูพงศ์ แสงสว่าง และคณะ. รายงานการสอบสวนเบือ้ งต้นเสนอผูบ้ ริหาร กรณีการสอบสวน
กลุม่ ผูป้ ว่ ยหมดสติ/เสียชีวติ ขณะอาบน�ำ้ ในห้องน�ำ้ โดยใช้เครือ่ งท�ำน�ำ้ อุน่ ระบบแก๊ส อ.ฝาง
จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2556: Weekly Epidemiological Surveillance Report (WESR);
2556. 3-6 p.
13. วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์. การสอบสวนกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรค Silicosis บ้านน�้ำเมา
หมู่ที่ 6 ต�ำบลลาดบัวขาว อ�ำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา: Weekly Epidemiological
Surveillance Report (WESR); 2551. 5-9 p.
14. นิธริ จุ น์ เพ็ชร์สนิ เดชากุลและคณะ. การศึกษาปัจจัยเสีย่ งของการเกิดโรคปอดฝุน่ หินในกลุม่
ผูป้ ระกอบอาชีพแกะสลักหิน อ�ำเภอสีควิ้ จังหวัดนครราชสีมา: Weekly Epidemiological
Surveillance Report (WESR); 2560. 9-96 p.

204 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
ภาคผนวก
ภาคผนวก 1

206 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
207
208 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
209
210 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
211
212 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
213
214 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
215
216 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
217
218 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
219
220 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
221
222 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
223
224 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
225
226 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
227
228 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
229
230 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
231
232 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
233
234 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
235
236 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
237
238 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
239
240 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
241
242 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
243
244 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
245
246 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
247
248 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
249
ภาคผนวก 2

250 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
251
252 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
253
254 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
255
256 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
257
258 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
259
260 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
261
262 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
263
264 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
265
266 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
267
268 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
269
270 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว
271
Improving the Safety and Health of Young Workers
(ILO, 2018)

272 อาชีวเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติครอบครัว

You might also like