You are on page 1of 13

SMP Summary - เซต

หัวข้อ
1. เซต
2. การดำเนินการระหว่างเซต
3. การแก้ปัญหาโดยใช้เซต

1. เซต
คำว่า เซต (Set) ใช้สำหรับกล่าวถึงกลุ่มของสิง่ ต่าง ๆ ทำให้เราทราบว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่ม และสิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม
เช่น เซตของจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกิน 3

เรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า สมาชิก (Element or Member)


จะได้ว่า สิ่งที่อยู่ใน เซตของจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกิน 3 ได้แก่ 1, 2 และ 3

การเขียนเซต
สามารถเขียนได้ 2 แบบ ดังนี้
1.แบบแจกแจงสมาชิก โดยเขียนสมาชิกทุกตัวของเซตลงในวงเล็บปีกกา ({ }) และใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)
คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัว
กำหนดให้ 𝐴 เป็นเซตของจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกิน 3 จะได้ 𝐴 แบบแจกแจงสมาชิก คือ
𝐴 = {1,2,3}
2.แบบบอกเงื่อนไข โดยใช้ตัวแปรแทนสมาชิกแล้วบรรยายสมบัติของตัวแปรนั้น
กำหนดให้ 𝐴 เป็นเซตของจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกิน 3 จะได้ 𝐴 แบบบอกเงื่อนไข คือ
𝐴 = {𝑥 |𝑥 เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าไม่เกิน 3} หรือ 𝐴 = {𝑥|𝑥 เป็นจำนวนเต็มบวกซึ่ง 𝑥 ≤ 3}

ความเป็นสมาชิกของเซต
ใช้สัญลักษณ์ “∈” แสดงถึง “เป็นสมาชิกของ” และ
ใช้สัญลักษณ์ “∉” แสดงถึง “ไม่เป็นสมาชิกของ”
จาก 𝐴 = {1,2,3} จะได้ 1 ∈ 𝐴 แต่ 4 ∉ 𝐴 เพราะ 1 เป็นสมาชิกของ 𝐴 แต่ 4 ไม่เป็นสมาชิกของ 𝐴

เซตจำกัดและเซตอนันต์
เซตจำกัด (Finite set) คือ เซตที่มีจำนวนสมาชิกเป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ หรือ ศูนย์ และ 𝑛(𝑆) แทนจำนวน
สมาชิกของเซตจำกัด 𝑆 ใด ๆ
เช่น
𝐵 = {2,3,4,5} จะได้ว่า 𝐵 มีสมาชิกทั้งหมด 4 ตัว นั่นคือ 𝑛(𝐵 ) = 4
𝐶 = {𝑥 |𝑥 เป็นจำนวนนับที่มีค่าไม่เกิน 10} จะได้ว่า 𝐶 มีสมาชิกทั้งหมด 10 ตัว นั่นคือ 𝑛(𝐶 ) = 10
𝐷 = ∅ หรือ { }
เรียก 𝐷 ว่า เซตว่าง (Null set or Empty set) คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก จะได้ว่า 𝑛(𝐷) = 0

เซตอนันต์ (Infinite set) คือ เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด


เช่น
𝐸 = {1,2,3, … }
1
𝐹 = {𝑥|𝑥 = 𝑛 โดยที่ 𝑛 เป็นจำนวนนับ}

เอกภพสัมพัทธ์
เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe) คือ เซตที่บ่งบอกถึงขอบเขตของสิ่งที่จะพิจารณา มักเขียนแทนด้วย 𝑈 โดย
มีข้อตกลงว่า เมื่อกำหนดเอกภพสัมพัทธ์ใด ๆ แล้ว เราจะไม่กล่าวถึงสิ่งอื่นที่อยู่นอกเหนือจากสมาชิกในเอกภพ
สัมพัทธ์นี้
เช่น
กำหนดให้ 𝐴 = {𝑥|𝑥 2 = 1} และ 𝑈 คือเซตของจำนวนเต็ม
จะได้ 𝐴 = {−1,1}
แต่ถ้ากำหนดให้ 𝑈 เป็นเซตของจำนวนเต็มบวก
จะได้ 𝐴 = {1}
เอกภพสัมพัทธ์ที่พบบ่อย ได้แก่
ℝ แทนเซตของจำนวนจริง
ℚ แทนเซตของจำนวนตรรกยะ
ℚ′ แทนเซตของจำนวนอตรรกยะ
ℤ แทนเซตของจำนวนเต็ม
ℕ แทนเซตของจำนวนนับ
โดยทั่วไปมักกำหนดเอกภพสัมพัทธ์ลงในการเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข
เช่น
𝐴 = {𝑥 ∈ ℤ|𝑥 2 = 1} จะได้ 𝐴 = {−1,1}

เซตที่เท่ากัน
บทนิยาม : เซต 𝐴 เท่ากับเซต 𝐵 ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต 𝐴 เป็นสมาชิกของเซต 𝐵 และ สมาชิกทุกตัว
ของเซต 𝐵 เป็นสมาชิกของเซต 𝐴
เช่น
𝐴 = {1,2,3} และ 𝐵 = {2,1,3} จะได้ว่า 𝐴 และ 𝐵 เป็น เซตที่เท่ากัน (Equal sets or Identical
sets) เขียนแทนด้วย 𝐴 = 𝐵
หากมีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต 𝐴 ไม่เป็นสมาชิกของเซต 𝐵 หรือ มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต 𝐵 ไม่
เป็นสมาชิกของเซต 𝐴 จะได้ว่า เซต 𝐴 ไม่เท่ากับเซต 𝐵 เขียนแทนด้วย 𝐴 ≠ 𝐵
สับเซต
บทนิยาม : เซต 𝐴 เป็นสับเซตของเซต 𝐵 ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต 𝐴 เป็นสมาชิกของเซต 𝐵
เช่น
𝐴 = {1,2,3} และ 𝐵 = {1,2,3,4} พบว่า สมาชิกทั้งหมดของเซต 𝐴 ต่างก็เป็นสมาชิกของเซต 𝐵 ซึ่ง
กล่าวได้ว่า เซต 𝐴 เป็น สับเซต (Subset) ของเซต 𝐵 เขียนแทนด้วย 𝐴 ⊂ 𝐵
หากมีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต 𝐴 ไม่เป็นสมาชิกของเซต 𝐵 จะได้ว่า เซต 𝐴 ไม่เป็นสับเซตของเซต 𝐵
เขียนแทนด้วย 𝐴 ⊄ 𝐵
ข้อสังเกต :
1. จากบทนิยามเซตที่เท่ากัน จะได้ว่า 𝐴 = 𝐵 ก็ต่อเมื่อ 𝐴 ⊂ 𝐵 และ 𝐵 ⊂ 𝐴
2. เซตว่างเป็นสับเซตของเซตทุกเซต กล่าวคือ ถ้า 𝐴 เป็นเซตใด ๆ แล้ว ∅ ⊂ 𝐴
3. เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวเอง กล่าวคือ ถ้า 𝐴 เป็นเซตใด ๆ แล้ว 𝐴 ⊂ 𝐴

เพาเวอร์เซต
เพาเวอร์เซต (Power set) คือเซตของสับเซตทั้งหมด
ถ้ากำหนดให้ 𝐴 เป็นเซตใด ๆ แล้ว เพาเวอร์เซตของเซต 𝐴 เขียนแทนด้วย 𝑃(𝐴)
เช่น
กำหนดให้ 𝐴 = {1,2,3} จะได้ว่า
𝑃(𝐴) = {∅, {1}, {2}, {3}, {1,2}, {1,3}, {2,3}, {1,2,3}}
ข้อสังเกต : ถ้า 𝐴 เป็นเซตโดยที่ 𝑛(𝐴) = 𝑥 แล้ว จำนวนสมาชิกของ 𝑃(𝐴) หรือ
𝑛(𝑃 (𝐴)) = 2𝑛(𝐴) = 2 𝑥

แผนภาพเวนน์
แผนภาพเวนน์ (Venn diagram) คือ แผนภาพแสดงเซต โดยการเขียนแผนภาพโดยมากมักจะแทนเอกภพ
สัมพัทธ์ 𝑈 ด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนเซตอื่น ๆ ซึ่งเป็นสับเซตของ 𝑈 จะแทนด้วยวงกลมหรือวงรี
ตัวอย่าง
𝐴 และ 𝐵 เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ 𝑈 เขียนแผนภาพเวนน์ได้ ดังนี้
2. การดำเนินการระหว่างเซต
เป็นการสร้างเซตใหม่จากเซตที่กำหนดให้ ซึ่งมีเอกภพสัมพัทธ์เดียวกัน โดยมีการดำเนินการของเซตทั้งหมด 4
ลักษณะ ได้แก่
2.1 อินเตอร์เซกชัน
กำหนดให้ 𝐴 และ 𝐵 เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ 𝑈 อินเตอร์เซกชัน (Intersection) ของ 𝐴 และ 𝐵 เขียน
แทนด้วย 𝐴 ∩ 𝐵 ดังบทนิยาม
บทนิยาม : 𝐴 ∩ 𝐵 = {𝑥 ∈ 𝑈|𝑥 ∈ 𝐴 และ 𝑥 ∈ 𝐵}
เช่น 𝑈 = {1,2,3,4,5}, 𝐴 = {1,2,3} และ 𝐵 = {2,3,4} จะได้ 𝐴 ∩ 𝐵 = {2,3}
อาจเขียนแสดง 𝐴 ∩ 𝐵 ได้ด้วยแผนภาพ ดังนี้

2.2 ยูเนียน
กำหนดให้ 𝐴 และ 𝐵 เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ 𝑈 ยูเนียน (Union) ของ 𝐴 และ 𝐵 เขียนแทนด้วย
𝐴 ∪ 𝐵 ดังบทนิยาม
บทนิยาม : 𝐴 ∪ 𝐵 = {𝑥 ∈ 𝑈|𝑥 ∈ 𝐴 หรือ 𝑥 ∈ 𝐵}
เช่น 𝑈 = {1,2,3,4,5}, 𝐴 = {1,2,3} และ 𝐵 = {2,3,4} จะได้ 𝐴 ∪ 𝐵 = {1,2,3,4}
อาจเขียนแสดง 𝐴 ∪ 𝐵 ได้ด้วยแผนภาพ ดังนี้

2.3 ผลต่างระหว่างเซต
กำหนดให้ 𝐴 และ 𝐵 เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ 𝑈 ผลต่างระหว่างเซต (Difference of sets) ของ 𝐴
และ 𝐵 เขียนแทนด้วย 𝐴 − 𝐵 ดังบทนิยาม
บทนิยาม : 𝐴 − 𝐵 = {𝑥 ∈ 𝑈|𝑥 ∈ 𝐴 และ 𝑥 ∉ 𝐵}
เช่น 𝑈 = {1,2,3,4,5}, 𝐴 = {1,2,3} และ 𝐵 = {2,3,4} จะได้ 𝐴 − 𝐵 = {1} และ
𝐵 − 𝐴 = {4}
อาจเขียนแสดง 𝐴 − 𝐵 ได้ด้วยแผนภาพ ดังนี้

อาจเขียนแสดง 𝐵 − 𝐴 ได้ด้วยแผนภาพ ดังนี้

ข้อสังเกต : 𝐴 − 𝐵 ≠ 𝐵 − 𝐴

2.4 คอมพลีเมนต์
กำหนดให้ 𝐴 เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ 𝑈 คอมพลีเมนต์ (Complement) ของ 𝐴 เขียนแทนด้วย 𝐴′
ดังบทนิยาม
บทนิยาม : 𝐴′ = {𝑥 ∈ 𝑈|𝑥 ∉ 𝐴}
เช่น 𝑈 = {1,2,3,4,5}, 𝐴 = {1,2,3} และ 𝐵 = {2,3,4} จะได้ 𝐴′ = {4,5} และ
𝐵′ = {1,5}
อาจเขียนแสดง 𝐴′ ได้ด้วยแผนภาพ ดังนี้

อาจเขียนแสดง 𝐵′ ได้ด้วยแผนภาพ ดังนี้


สมบัติของการดำเนินการของเซต
กำหนดให้ 𝐴, 𝐵 และ 𝐶 เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ 𝑈 จะได้
1. 𝐴 ∪ 𝐵 = 𝐵 ∪ 𝐴
𝐴∩𝐵 =𝐵∩𝐴
2. (𝐴 ∪ 𝐵) ∪ 𝐶 = 𝐴 ∪ (𝐵 ∪ 𝐶 )
(𝐴 ∩ 𝐵) ∩ 𝐶 = 𝐴 ∩ (𝐵 ∩ 𝐶 )
3. 𝐴 ∪ (𝐵 ∩ 𝐶 ) = (𝐴 ∪ 𝐵) ∩ (𝐴 ∪ 𝐶 )
𝐴 ∩ (𝐵 ∪ 𝐶 ) = (𝐴 ∩ 𝐵) ∪ (𝐴 ∩ 𝐶 )
4. (𝐴 ∪ 𝐵)′ = 𝐴′ ∩ 𝐵′
(𝐴 ∩ 𝐵)′ = 𝐴′ ∪ 𝐵′
5. 𝐴 − 𝐵 = 𝐴 ∩ 𝐵′
6. 𝐴′ = 𝑈 − 𝐴

3. การแก้ปัญหาโดยใช้เซต
จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด 𝑆 ใด ๆ เขียนแทนด้วย 𝑛(𝑆)
กำหนดเซตจำกัด 𝐴, 𝐵 และ 𝐶 ซึ่งเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ 𝑈 ที่เป็นเซตจำกัด จะได้ว่า
1. 𝑛(𝐴 ∪ 𝐵) = 𝑛(𝐴) + 𝑛(𝐵 ) − 𝑛(𝐴 ∩ 𝐵)
2. 𝑛(𝐴 ∪ 𝐵 ∪ 𝐶 ) = 𝑛(𝐴) + 𝑛(𝐵) + 𝑛(𝐶 ) − 𝑛(𝐴 ∩ 𝐵) − 𝑛(𝐴 ∩ 𝐶 )
−𝑛(𝐵 ∩ 𝐶 ) + 𝑛(𝐴 ∩ 𝐵 ∩ 𝐶 )
3. 𝑛(𝐴′ ) = 𝑛(𝑈) − 𝑛(𝐴)

เทคนิคพิเศษ
1. ถ้ามีเซตที่เท่ากันสองเซต ซึ่งอาจหาได้จากสมบัติการดำเนินการของเซต แล้ว จำนวนสมาชิกของทั้งสองเซตนั้น
จะเท่ากัน
2. เราสามารถแทนค่าแต่ละอาณาบริเวณของแผนภาพเวนน์ได้ด้วยตัวแปร จากนั้น ให้ตั้งสมการซึ่งหาได้จาก
จำนวนสมาชิกของเซตต่าง ๆ จากโจทย์กำหนดให้ เมื่อตั้งสมการถูกต้องแล้วก็สามารถแก้สมการเพื่อหาค่าของ
ตัวแปรต่าง ๆ ได้

---------------------------------------------------------
SMP Summary - ตรรกศาสตร์

หัวข้อ
1. ประพจน์
2. การเชื่อมประพจน์
3. การหาค่าความจริงของประพจน์
4. การสร้างตารางค่าความจริง
5. รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน
6. สัจนิรันดร์
7. การอ้างเหตุผล
8. ประโยคเปิด
9. ตัวบ่งปริมาณ
10. ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณตัวเดียว
11. สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

1. ประพจน์
ประพจน์ (Statement) คือ ประโยคหรือข้อความที่เป็นจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะอยู่ในรูป
ประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธก็ได้
ตัวอย่างประโยคหรือข้อความที่เป็นประพจน์
3 เป็นตัวประกอบของ 9 มีค่าความจริงเป็นจริง
25 หารด้วย 4 ลงตัว มีค่าความจริงเป็นเท็จ
ค่าความจริง (Truth value) ในทางตรรกศาสตร์ ใช้สำหรับเรียกการเป็น จริง (True) หรือ เท็จ (False)
ของแต่ละประพจน์
ตัวอย่างประโยคหรือข้อความที่ไม่เป็นประพจน์
กรุณาอย่าวิ่งบนอาคารเรียน
ออกไปให้พ้น

2. การเชื่อมประพจน์
นิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก เช่น 𝑝, 𝑞, 𝑟, 𝑠 แทน ประพจน์ย่อย (Atomic statement) ทีจ่ ะ
นำมาเชื่อมเป็น ประพจน์เชิงประกอบ (Compound statement) โดยมี ตัวเชื่อม (Connective) ได้แก่
“และ” “หรือ” “ถ้า…แล้ว…” “ก็ต่อเมื่อ”
ถ้ามี 𝑝 เป็นประพจน์ใด ๆ แล้ว จะมีกรณีเกี่ยวกับค่าความจริงที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด 2 กรณี คือ จริง แทนด้วย
สัญลักษณ์ 𝑇 และ เท็จ แทนด้วยสัญลักษณ์ 𝐹
ถ้ามี 𝑝 และ 𝑞 เป็นประพจน์ใด ๆ แล้ว จะมีกรณีเกี่ยวกับค่าความจริงที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด 4 กรณี แสดงได้ดัง
ตารางค่าความจริง (Truth table) ของประพจน์ 𝑝 และ 𝑞 และประพจน์เชิงประกอบที่เกิดจากตัวเชื่อมต่าง ๆ
ได้ดังนี้
ตัวเชื่อม และ (And) หรือ (Or) ถ้า…แล้ว… ก็ต่อเมื่อ
(If…then…) (If and only if)
เขียนแทนด้วย 𝑝 𝑞 𝑝∧𝑞 𝑝∨𝑞 𝑝→𝑞 𝑝↔𝑞
𝑇 𝑇 𝑇 𝑇 𝑇 𝑇
𝑇 𝐹 𝐹 𝑇 𝐹 𝐹
𝐹 𝑇 𝐹 𝑇 𝑇 𝐹
𝐹 𝐹 𝐹 𝐹 𝑇 𝑇

ถ้า…แล้ว…
ประพจน์ซึ่งตามหลังคำว่า ถ้า เรียกว่า เหตุ และประพจน์ซึ่งตามแล้วคำว่า แล้ว เรียกว่า ผล

นิเสธของประพจน์
ถ้ามี 𝑝 เป็นประพจน์ใด ๆ แล้ว นิเสธ (Negation) ของ 𝑝 เขียนแทนด้วย ~𝑝 และแสดงตารางค่าความจริงได้
ดังนี้
𝑝 ~𝑝
𝑇 𝐹
𝐹 𝑇

3. การหาค่าความจริงของประพจน์
เมื่อทราบค่าความจริงของแต่ละประพจน์ย่อย จะสามารถหาค่าความจริงของประพจน์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปได้
ตัวอย่าง
กำหนดให้ 𝑝 และ 𝑞 เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็น จริง และ เท็จ ตามลำดับ แล้ว จงหาค่าความจริงของ
ประพจน์ ~𝑝 → (𝑝 ↔ 𝑞)
จาก 𝑝 เป็นจริง และ 𝑞 เป็นเท็จ จะได้ 𝑝 ↔ 𝑞 เป็นเท็จ
จาก 𝑝 เป็นจริง จะได้ ~𝑝 เป็นเท็จ
จาก ~𝑝 เป็นเท็จ และ 𝑝 ↔ 𝑞 เป็นเท็จ จะได้ ~𝑝 → (𝑝 ↔ 𝑞) เป็นจริง

4. การสร้างตารางค่าความจริง
ประพจน์ย่อยใด ๆ เช่น 𝑝 และ 𝑞 ที่ยังไม่กำหนดค่าความจริง เรียกว่า ตัวแปรแทนประพจน์ใด ๆ
ประพจน์ที่มีตัวเชื่อม เช่น ~𝑝, 𝑝 ↔ 𝑞 และ ~𝑝 → (𝑝 ↔ 𝑞) เรียกว่า รูปแบบของประพจน์
ในการพิจารณาค่าความจริงของรูปแบบของประพจน์ในกรณีนี้ จึงต้องกำหนดค่าความจริง ของประพจน์ย่อยทุกกรณี
ที่เป็นไปได้
ตัวอย่าง
กำหนดให้ 𝑝 และ 𝑞 เป็นประพจน์ใด ๆ แล้ว จงสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ ~𝑝 → (𝑝 ↔ 𝑞)
𝑝 𝑞 ~𝑝 (𝑝 ↔ 𝑞) ~𝑝 → (𝑝 ↔ 𝑞)
𝑇 𝑇 𝐹 𝑇 𝑇
𝑇 𝐹 𝐹 𝐹 𝑇
𝐹 𝑇 𝑇 𝐹 𝐹
𝐹 𝐹 𝑇 𝑇 𝑇

5. รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน
รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน คือ รูปแบบของประพจน์สองรูปแบบใด ๆ ที่มีค่าความจริงตรงกัน กรณีต่อกรณี
ตัวอย่าง
𝑝 → 𝑞 สมมูลกับ ~𝑝 ∨ 𝑞 เขียนแทนด้วย 𝑝 → 𝑞 ≡ ~𝑝 ∨ 𝑞
𝑝 𝑞 𝑝→𝑞 ~𝑝 ~𝑝 ∨ 𝑞
𝑇 𝑇 𝑇 𝐹 𝑇
𝑇 𝐹 𝐹 𝐹 𝐹
𝐹 𝑇 𝑇 𝑇 𝑇
𝐹 𝐹 𝑇 𝑇 𝑇

รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรทราบ
กำหนดให้ 𝑝, 𝑞 และ 𝑟 เป็นประพจน์ใด ๆ แล้ว
𝑝 ≡ ~(~𝑝)
𝑝∧𝑞 ≡𝑞∧𝑝
𝑝∨𝑞 ≡𝑞∨𝑝
~(𝑝 ∧ 𝑞 ) ≡ ~𝑝 ∨ ~𝑞
~(𝑝 ∨ 𝑞 ) ≡ ~𝑝 ∧ ~𝑞
𝑝 → 𝑞 ≡ ~𝑝 ∨ 𝑞 ≡ ~𝑞 → ~𝑝
𝑝 ↔ 𝑞 ≡ (𝑝 → 𝑞 ) ∧ (𝑞 → 𝑝)
𝑝 ∧ (𝑞 ∨ 𝑟) ≡ (𝑝 ∧ 𝑞 ) ∨ (𝑝 ∧ 𝑟)
𝑝 ∨ (𝑞 ∧ 𝑟) ≡ (𝑝 ∨ 𝑞 ) ∧ (𝑝 ∨ 𝑟)

6. สัจนิรันดร์
บทนิยาม : สัจนิรันดร์ (Tautology) คือ รูปแบบของประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริงทุกกรณี
ตัวอย่าง
รูปแบบของประพจน์ [(𝑝 → 𝑞) ∧ 𝑝] → 𝑞 เป็นสัจนิรันดร์
𝑝 𝑞 𝑝→𝑞 (𝑝 → 𝑞) ∧ 𝑝 [(𝑝 → 𝑞) ∧ 𝑝] → 𝑞
𝑇 𝑇 𝑇 𝑇 𝑇
𝑇 𝐹 𝐹 𝐹 𝑇
𝐹 𝑇 𝑇 𝐹 𝑇
𝐹 𝐹 𝑇 𝐹 𝑇
การตรวจสอบความเป็นสัจนิรันดร์
ในกรณีรูปแบบของประพจน์เชื่อมด้วย “ถ้า…แล้ว…” จะตรวจสอบความเป็นสัจนิรันดร์ด้วยวิธีการ หาข้อขัดแย้ง
โดยสมมุติให้รูปแบบของประพจน์ที่กำหนดให้เป็น เท็จ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เพียงกรณีเดียวคือ เหตุเป็นจริง และ ผล
เป็นเท็จ แล้วจึงหาค่าความจริงของประพจน์ย่อย
หากมีข้อขัดแย้ง แสดงว่า รูปแบบของประพจน์นั้นเป็นสัจนิรันดร์
หากไม่มีข้อขัดแย้ง แสดงว่า รูปแบบของประพจน์นั้นไม่เป็นสัจนิรันดร์

7. การอ้างเหตุผล
การอ้างเหตุผล คือการอ้างว่า เมื่อมีประพจน์ที่เป็นเหตุ ชุดหนึ่ง แล้วสามารถสรุปประพจน์ผลได้ โดยการอ้างเหตุผล
ประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ เหตุ ได้แก่ประพจน์ 𝑝1 , 𝑝2 , … , 𝑝𝑛 และ ผล คือประพจน์ 𝐶 โดยใช้
ตัวเชื่อม ∧ เชื่อมเหตุทั้งหมดเข้าด้วยกัน และเชื่อม → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผล ดังนี้
(𝑝1 ∧ 𝑝2 ∧ … ∧ 𝑝𝑛 ) → 𝐶
การอ้างเหตุผลนี้จะ สมเหตุสมผล (Valid) ก็ต่อเมื่อรูปแบบของประพจน์ข้างต้น เป็นสัจนิรันดร์
การอ้างเหตุผลนี้จะ ไม่สมเหตุสมผล (Invalid) ก็ต่อเมื่อรูปแบบของประพจน์ข้างต้น ไม่เป็นสัจนิรันดร์
การตรวจสอบความสมเหตุสมผลใช้วิธีเดียวกับการตรวจสอบสัจนิรันดร์

8. ประโยคเปิด
บทนิยาม : ประโยคเปิด คือ ประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่มีตัวแปร
พิจารณาประโยค "𝑥 = 3" ประโยคนี้ยังไม่ทราบว่า 𝑥 มีค่าเท่ากับเท่าใด แต่ถ้าแทน 𝑥 ด้วย 3 ก็จะได้ประโยคที่
เป็นจริง แต่ถ้าแทน 𝑥 ด้วย 2 ก็จะได้ประโยคที่เป็นเท็จ
ประโยค “𝑥 = 3" เป็น ประโยคเปิด และ 𝑥 เป็น ตัวแปร
ประโยคเปิดจะยังไม่สามารถบอกค่าความจริงได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ จนกว่าจะแทนตัวแปรในประโยคเปิดด้วย
สมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์
กำหนดให้เอกภพสัมพัทธ์เป็นเซตของจำนวนจริง
พิจารณาประโยค 2𝑥 + 4 = 6 จะพบว่าประโยคนี้เป็นประโยคเปิด เพราะมีตัวแปร 𝑥 และเมื่อแทน 𝑥 ด้วย
จำนวนจริงใด ๆ แล้วจะได้ประพจน์ เช่น
แทน 𝑥 ด้วย 0 ได้ 2(0) + 4 = 6 เป็นเท็จ
แทน 𝑥 ด้วย 1 ได้ 2(1) + 4 = 6 เป็นจริง
แทน 𝑥 ด้วย 2 ได้ 2(2) + 4 = 6 เป็นเท็จ
สัญลักษณ์แทนประโยคเปิดใด ๆ ที่มี 𝑥 เป็นตัวแปร เขียนแทนด้วย 𝑃(𝑥)
การเชื่อมประโยคเปิด สามารถเชื่อมด้วยตัวเชื่อมต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับการเชื่องประพจน์

9. ตัวบ่งปริมาณ
ตัวบ่งปริมาณ (Quantifier) ในทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ “สำหรับ…ทุกตัว” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ∀ และ
“สำหรับ…บางตัว” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ∃
ตัวอย่าง
∀𝑥 แทน สำหรับ 𝑥 ทุกตัว
∃𝑥 แทน สำหรับ 𝑥 บางตัว
ประโยคเปิดที่มีตัวบ่งปริมาณ (Quantified statement) คือ ประโยคหรือข้อความที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นตัว
บ่งปริมาณและส่วนที่เป็นประโยคเปิด
ตัวอย่าง
“สำหรับ 𝑥 ทุกตัว 𝑥 + 𝑥 = 2𝑥 เมื่อเอกภพสัมพัทธ์เป็นเซตของจำนวนจริง” สามารถเขียนแทนด้วย
∀𝑥 ∈ ℝ[𝑥 + 𝑥 = 2𝑥] หรือ ∀𝑥 [𝑥 + 𝑥 = 2𝑥], 𝑈 = ℝ
“สำหรับ 𝑥 บางตัว 2𝑥 = 4𝑥 − 2 เมื่อเอกภพสัมพัทธ์เป็นเซตของจำนวนเต็ม” สามารถเขียนแทนด้วย
∃𝑥 ∈ ℤ[2𝑥 = 4𝑥 − 2] หรือ ∃𝑥[2𝑥 = 4𝑥 − 2], 𝑈 = ℤ

10. ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณตัวเดียว
การพิจารณาค่าความจริงของประโยคเปิดที่มีตัวบ่งปริมาณนั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาแต่ละส่วนของประโยคที่มีตัวบ่ง
ปริมาณ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ตัวบ่งปริมาณ
ส่วนที่ 2 ประโยคเปิด
ส่วนที่ 3 เอกภพสัมพัทธ์
บทนิยาม : กำหนดให้ประโยคเปิดที่มีตัวแปร 𝑥 คือ 𝑃(𝑥) และเอกภพสัมพัทธ์คือ 𝑈 แล้ว
∀𝑥 ∈ 𝑈[𝑃(𝑥)] มีค่าความจริงเป็นจริง ก็ต่อเมื่อ เมื่อแทนตัวแปร 𝑥 ใน 𝑃(𝑥) ด้วยสมาชิกแต่ละตัวในเอก
ภพสัมพัทธ์ แล้วได้ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริงทั้งหมด
∀𝑥 ∈ 𝑈[𝑃(𝑥)] มีค่าความจริงเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อ เมื่อแทนตัวแปร 𝑥 ใน 𝑃(𝑥) ด้วยสมาชิกอย่างน้อยหนึ่ง
ตัวในเอกภพสัมพัทธ์ แล้วได้ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นเท็จ
∃𝑥 ∈ 𝑈[𝑃(𝑥)] มีค่าความจริงเป็นจริง ก็ต่อเมื่อ เมื่อแทนตัวแปร 𝑥 ใน 𝑃(𝑥) ด้วยสมาชิกอย่างน้อยหนึ่ง
ตัวในเอกภพสัมพัทธ์ แล้วได้ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริง
∃𝑥 ∈ 𝑈[𝑃(𝑥)] มีค่าความจริงเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อ เมื่อแทนตัวแปร 𝑥 ใน 𝑃(𝑥) ด้วยสมาชิกแต่ละตัวในเอก
ภพสัมพัทธ์ แล้วได้ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นเท็จทั้งหมด
ตัวอย่าง
1
กำหนดให้ 𝑈 = {1,2,3} และ 𝑃(𝑥) แทนประโยค “𝑥 เป็นจำนวนจริง” จะได้ว่า
∀𝑥[𝑃(𝑥)] มีค่าความจริงเป็นจริง เพราะ
1
𝑃(1) แทน เป็นจำนวนจริง ซึ่งเป็นจริง
1
1
𝑃(2) แทน 2 เป็นจำนวนจริง ซึ่งเป็นจริง
1
𝑃(3) แทน 3 เป็นจำนวนจริง ซึ่งเป็นจริง
และ
∃𝑥[𝑃(𝑥)] มีค่าความจริงเป็นจริง เพราะ
มี 𝑥 = 1 ∈ 𝑈 ที่ทำให้ 𝑃(𝑥) เป็นจริง
11. สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ
จากบทนิยามของสมมูลหรือนิเสธ
“ประพจน์สองประพจน์จะสมมูลกันก็ต่อเมื่อมีค่าความจริงเหมือนกันกรณีต่อกรณี”
“ประพจน์สองประพจน์จะเป็นนิเสธกันก็ต่อเมื่อมีค่าความจริงตรงข้ามกันกรณีต่อกรณี”
จะได้ว่า
ประโยคเปิดที่มีตัวบ่งปริมาณที่สมมูลกัน มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ประโยคเปิดต้องสมมูลกัน โดยใช้หลักการเทียบกันกับ รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน
2. ตัวบ่งปริมาณต้องเป็นชนิดเดียวกัน
ประโยคเปิดที่มีตัวบ่งปริมาณที่เป็นนิเสธกัน มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ประโยคเปิดต้องเป็นนิเสธกัน
2. ตัวบ่งปริมาณต้องต่างชนิดกัน
ตัวอย่าง
กำหนดให้ 𝑈 เป็นเอกภพสัมพัทธ์ 𝑃(𝑥) และ 𝑄(𝑥) เป็นประโยคเปิดใด ๆ จะได้ว่า
∀𝑥[𝑃(𝑥)] สมมูลกับ ~∃𝑥[𝑃(𝑥)] และเป็นนิเสธกับ ∃𝑥[~𝑃(𝑥)]
∀𝑥[𝑃(𝑥) → 𝑄(𝑥)] สมมูลกับ ∀𝑥[~𝑃(𝑥) ∨ 𝑄 (𝑥)]
และเป็นนิเสธกับ ∃𝑥[𝑃(𝑥) ∧ ~𝑄 (𝑥)]

---------------------------------------------------------

You might also like