You are on page 1of 5

คู่มือผู้ปกครองนักว่ายน้า มือใหม่ ตอนที่ 1

โดย Nutterfly เมื่อ 22 พฤษภาคม 2561

“อยากเชียร์เค้า ต้องเข้าใจ”

บทความนี ผมตังใจเขียนขึนมาเพื่อเป็นก้าลังใจและเพื่อนร่วมทางให้กับผู้ปกครองที่เพิ่งน้าบุตรหลานมาเป็น
นักกีฬาว่ายน้านะครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการดูแลสนับสนุนบุตรหลานในการเป็นนักกีฬาว่ายน้านะ
ครับ หวังว่าเมื่ออ่านจบแล้วจะพอมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

ในวันที่ลูกเริ่มเข้ามาเป็นนักกีฬาทีมโรงเรียน หรือสโมสร ผู้ปกครองคงเริ่มต้นด้วยความตื่นเต้น และคาดหวังต่างๆ


นานากันไป เช่น

1) สบายใจ ที่ลูกมีกิจกรรมอะไรสักอย่างเป็นจุดเริ่มต้น
2) ตื่นเต้น ดีใจ ลูกจะเริ่มเป็นนักกีฬาแล้ว
3) กังวล สงสาร ว่าลูกเราจะไหวมั้ย
4) คาดหวัง จริงจัง ตั้งมั่น ว่าลูกจะต้องมีวินัย ใส่ใจ ไม่วอกแวก ตั้งแต่วันแรกๆที่เริ่มว่าย (ในวัย 5-7 ปี)

เมื่อน้องๆเริ่มมาเป็นนักกีฬา และได้ฝึกซ้อมไปสักระยะ ก็ถึงเวลาที่ผู้ปกครองและนักกีฬา (อาจจะ) รอคอย คือ


“วันที่ลูกจะลงแข่งขัน” เพราะในวันแข่งขันนั้น อาจจะเกิดความรู้สึกต่างๆมากมาย เช่น
1) วันที่เราจะได้ไปเที่ยวสระว่ายน้้าอื่นๆ นอกเหนือจากสระที่เราซ้อม (เด็ก)
2) วันที่จะได้ทดสอบฝีมือว่า น้องๆมีพัฒนาการ
เป็นอย่างไร (ผู้ปกครอง, โค้ช)
3) วันที่ไม่ค่อยอยากให้ถึงเลย เพราะกังวลว่า เรา
จะว่ายสู้คนอื่นได้หรือไม่? หรือเราจะว่ายครบ
ระยะมั้ย? ลูกเราจะสู้คนอื่นได้มั้ย? (เด็ก,
ผู้ปกครอง)

คู่มือผู้ปกครองนักว่ายน้า มือใหม่ ตอนที่ 1 โดย Nutterfly


ทีนี้ ผมขออนุญาตให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันสักนิดนะครับ
1. การแบ่งฮีท (Heat) หรือชุด ในการแข่งขันนั้นจะมีการแบ่งฮีท ให้มีจ้านวนนักกีฬาประมาณ 6-10 คน
ตามจ้านวนลู่ที่มีในสระว่ายน้้านั้นๆ แต่โดยปกติก็จะเป็น 8 คนต่อฮีท โดยมาตรฐานนั้นจะจัดฮีทตามเวลา
ที่นักกีฬาส่งมาตอนสมัคร แล้วจัดฮีทโดยฮีทแรกจะเริ่มจากนักกีฬาที่เวลาค่อนข้างช้า ไปจนถึงฮีทสุดท้าย
ซึ่งนักกีฬามีเวลาเร็วที่สุด

2. เหรียญรางวัล รายการแข่งขันว่ายน้้าระดับเยาวชนส่วนใหญ่ ช่วงปี 2550 - ปัจจุบัน (2561) นั้นจะเป็น


การแข่งขันทีม่ อบรางวัลให้ก้าลังใจน้องๆในแบบต่างๆ ดังนี้
2.1. “แจกเหรียญทุกฮีท (ชุด)” คือ ในแต่ละฮีทนั้นหากน้องสามารถเข้าเส้นชัยในอันดับ 1-3 ได้ ก็จะ
ได้รับเหรียญรางวัล นั่นแปลว่า หากรายการนั้นมีจ้านวนฮีททั้งหมด 6 ฮีท เราจะพบว่ามีเหรียญ
ทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงทั้งหมดอย่างละ 6 เหรียญ แต่ว่า น้องๆที่ได้เหรียญทอง 6
คนนั้นจะท้าเวลาได้เร็วช้าต่างกันไป
2.2. “แจกเหรียญเฉพาะอันดับ 1-3” คือ มีการแจกเหรียญรางวัลให้เฉพาะผู้ที่ท้าเวลาได้เป็นอันดับ
1-3 ของรายการนั้นๆ โดยการน้าผลเวลาของนักกีฬาที่ลงแข่งในรายการนั้นๆมาจัดล้าดับกัน ซึ่ง
ปกติในการแจกเหรียญแบบนี้ จะมีเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง เพียงอย่างละ 1
เหรียญ ต่อรายการ

คู่มือผู้ปกครองนักว่ายน้า มือใหม่ ตอนที่ 1 โดย Nutterfly


2.3. “แจกเหรียญเฉพาะอันดับ 1-3 แบบ Plus” คือ จะมีการแบ่งผู้ชนะออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.3.1. Heat winner หรือ ผู้ชนะประจ้าฮีท (ชุด)
2.3.2. Event winner หรือ ผู้ชนะประจ้ารายการ
ซึ่งรางวัลที่แจกให้นักกีฬาจะเป็นดังนี้ ผู้ที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 1 ในฮีท จะได้รับเป็น ริบบิ้น เขียนไว้ว่า
“Heat winner” มีเพียง 1 คน ส่วนผู้ชนะประจ้ารายการ หรือ “Event winner” จะเป็นการเรียงผลเวลาของ
น้องๆที่ลงแข่งทุกฮีท แล้วมอบรางวัลเป็นเหรียญให้กับผู้ท้าเวลาได้ในอันดับ 1-3 และส่วนใหญ่ผู้จัดการแข่งขัน
มักจะมี ริบบิ้น ให้กับนักกีฬาที่ได้อันดับ 4 ถึง อันดับ8 หรือ ถึงอันดับ 10 ที่เขียนว่า “4th place”, “5th place”
ตามล้าดับกันไป วิธีการแจกเหรียญรางวัลแบบนี้ จะพบได้ในกลุ่มโรงเรียนนานาชาติ วิธีการแบบนี้ก็จะมีเหรียญ
รางวัลอย่างละ 1 เหรียญ และเป็นริบบิ้น เป็นการท้าให้เห็นความแตกต่างของรางวัลระหว่างผู้ชนะในฮีท และผู้
ชนะในรายการ แต่ยังคงให้ก้าลังใจกับเด็กได้อย่างทั่วถึง

คู่มือผู้ปกครองนักว่ายน้า มือใหม่ ตอนที่ 1 โดย Nutterfly


ทีนี ลองอ่านเหตุการณ์สมมตินีนะครับ

ในวันแข่งขันครังแรกของน้องสปีด
น้องลงแข่งขันในครั้งแรกว่ายฟรีสไตล์ 25 เมตร อยู่ในฮีทที่ 1 (คือฮีทที่ช้าที่สุด) จากทั้งหมด 6 ฮีท
ผลแข่งขัน น้องสามารถว่ายเข้าเส้นชัยได้ที่ 1 ในฮีท
รางวัล ได้เหรียญทอง (จากการเข้าที่ 1 ในฮีท)
“เย้!!!!!! ทั้งน้องสปีดและผู้ปกครองดีใจมาก ในวันแรกที่น้องลงแข่งขัน”
เวลาผ่านไป 3 เดือน จากวันที่ลงแข่งขันครังแรก
น้องสปีดได้ท้าการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง และลงแข่งขันฟรีสไตล์ 25 เมตร ครั้งนี้ ชื่อของน้องสปีดได้ไปอยู่ในฮีทที่ 2
จากทั้งหมด 6 ฮีท
ผลแข่งขัน น้องสามารถว่ายเข้าเส้นชัยได้ที่ 3
รางวัล ได้เหรียญทองแดง (จากการเข้าที่ 3 ในฮีท)
“พ่อครับ วันนี้ผมได้ที่ 3 ผมว่ายแย่ลงเหรอครับ”
เวลาผ่านไป 6 เดือน จากวันที่ลงแข่งขันครังแรก
น้องสปีดยังคงฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง และลงแข่งขันฟรีสไตล์ 25 เมตรอีกครั้ง ครั้งนี้ น้องได้อยู่ในฮีทที่ 3 จาก
ทั้งหมด 6 ฮีท
ผลแข่งขัน น้องเข้าเส้นชัยในอันดับ 6
รางวัล ไม่ได้เหรียญกลับบ้าน
“น้องสปีดร้องไห้ เสียใจ” และ ผู้ปกครองถามน้องว่า “ท้าไมว่ายแย่แบบนี้หละครับ?”
สิ่งที่เกิดขึ้นกับความรู้สึกน้องสปีดจะเป็นอย่างไร? ท่านผู้อ่านคงเดากันได้นะครับ

ทีนี้ถ้าผมบอกข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ ท่านคิดว่า เราควรชมเชย หรือต้าหนิน้อง?


แข่งครังที่ 1 แข่งครังที่ 2 แข่งครังที่ 3

เวลาที่ท้าได้ 45 วินาที 42 วินาที 39 วินาที

รางวัลที่ได้ เหรียญทองในฮีท เหรียญทองแดงในฮีท ????

คู่มือผู้ปกครองนักว่ายน้า มือใหม่ ตอนที่ 1 โดย Nutterfly


แข่งขันกับเวลาที่ตนเองท้าได้

ในการเชียร์กีฬาด้านความเร็วนั้น ผลแพ้ชนะเกิดจากเวลาที่ท้าได้ ดังนั้นเราก็ควรจะประเมินผลจากเวลาที่ท้าได้


หรือพัฒนาการเป็นหลัก ซึง่ ศัพท์ที่เราจะได้ยินริมสระกันหนาหู คือ “PB” หรือ Personal Best time หรือ เวลาที่
ดีที่สุดที่เคยท้าได้ ส่วนเหรียญรางวัลคือสิ่งตอบแทน การท้าเวลาที่ดี ดังค้ากล่าวว่า “เหรียญรางวัลนันเป็นดัง
มายา แต่เวลานันคือของจริง” เวลาคือข้อมูลพัฒนาการของน้องที่จับต้องได้ ฉะนั้น ถ้าน้องสามารถท้าเวลาได้ดี
ขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นข่าวดีนะครับ การแข่งขันกับตนเองนั้น จะท้าให้น้องๆนักกีฬาพยายามต่อไปเรื่อย เพราะจะมีแค่
เพียงว่า ว่ายเร็วกว่าเดิม หรือว่ายช้ากว่าเดิม และสุดท้ายเมื่อว่ายได้เร็วพอ เมื่อนั้นเหรียญรางวัลจะมาเป็นรางวัล
ตอบแทนให้เรา เราอาจต้องตอบค้าถามให้ได้ว่า เรามีความสุขกับพัฒนาการของบุตรหลานหรือเหรียญรางวัล
มากกว่า (อาจจะลองกลับไปอ่านช่วงต้นของบทความในวันแรกที่ลูกเริ่มมาเป็นนักกีฬานะครับ)

สุดท้ายนี้ ผมขอฝากตารางส้าหรับใช้ในวันแข่งขัน ให้ท่านผู้ปกครองได้ลองน้าไว้ร่วมเชียร์บุตรหลานในวันแข่งขัน


นะครับ โดยสิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องเขียนไว้ก่อนไปถึงสระแข่งขัน ก็คือ “สถิติที่น้องท้าได้ล่าสุด” และ “สถิติที่ดี
ที่สุด” ซึ่งเมื่อน้องลงแข่งขันแล้ว ผู้ปกครองจะได้เห็นว่า น้องมีพัฒนาการจากล่าสุดอย่างไร และสามารถท้าได้ดี
ที่สุดหรือไม่? ซึ่งจากตรงนี้ จะท้าให้ท่านผู้ปกครอง สามารถวางแผนการให้รางวัลกับบุตรหลานของท่านได้สะดวก
ด้วย

“ก้าลังใจเพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นพลังผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้น้องๆท้ากิจกรรมได้อย่างมีความสุข”

คู่มือผู้ปกครองนักว่ายน้า มือใหม่ ตอนที่ 1 โดย Nutterfly

You might also like