You are on page 1of 20

1

รายงาน
เรื่อง บาสเกตบอล

จัดทำโดย
นายพศวีร์ มุ่งงาม รหัส 6210051
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องที่ 7
เลขที่ 23

เสนอ
อาจารย์บุญลอด ศรีเจริญ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา พ32202 บาสเกตบอล


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
วันที่ 16 มกราคม 2567
2

คำนำ

รายงานฉบับนี้่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา พ32202 บาสเกตบอล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เพื่อให้ได้


ศึกษาหาความรู้ในเรื่องทักษะต่าง ๆ ในการเล่นบาสเกตบอล เพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า
รายงานนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้ เพื่อ
ปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

นายพศวีร์ มุ่งงาม
ผู้จัดทำ
วันที่ 16 มกราคม 2567
3

สารบัญ
หน้า
คำนำ ๒
บทนำ ๔
ทักษะพื้นฐานการอบอุ่นร่างกายก่อนเล่น ๔
ทักษะการพื้นฐานการเลี้ยงบอล ๙
ทักษะการเลี้ยงบอลไปกลับ ๑๑
ทักษะเลี้ยงบอลซิกแซก ๑๒
ทักษะพื้นฐาน ส่ง - รับบอล ๑๒
ทักษะเคลื่อนที่ส่งรูปแบบต่างๆ ๑๓
ทักษะเคลื่อนที่ส่ง 3 คน ๑๕
ทักษะการชู้ต ๑๕
ทักษะการเคลื่อนที่ชู้ต ๑๗
ทักษะการป้องกัน ๑๙
ทักษะการเล่นทีม ๒๐
เอกสารอ้างอิง ๒๑
4

บาสเกตบอล
บทนำ
บาสเก็ตบอลเป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายาม
ทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า (basket) ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐานตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี
พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ เนสมิท บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากล กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจาก
ในวายเอ็มซีเอลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นกีฬาอาชีพมีการจัดตั้งลีกเอ็น
บีเอ (National Basketball Association, NBA) ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงทั่วโลก

ทักษะพื้นฐานการอบอุ่นร่างกายก่อนเล่น (warm up)


ความสำคัญของการอบอุ่นร่างกาย
การออกลังกายโดยการเล่นบาสเกตบอล เป็นการที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และ
ต่อเนื่อง โดยปกติแล้วระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเราจะอยู่ในระดับปกติเมื่อไม่ได้ออกกำลังกาย ดังนั้น
หากเคลื่อนไหวร่างกายในทันที โดยร่างกายยังไม่พร้อมอาจส่งผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันต่อการเคลื่อนไหวที่
รุนแรงหรือรวดเร็วจะทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การอบอุนร่างกาย เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวช้า ๆ เบา ๆ และค่อย ๆ เพิ่มความเร็วและออกแรงให้
หนักขึ้น เพื่อกระตุ้นและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น การอบอุ่นร่างกายเป็นการ
ทำให้ร่างกายพร้อมที่จะเล่นกีฬา และการออกกำลังกายที่หนักขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบ
กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ รวมทั้งระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด เพิ่มความสามารถในการแสดง
ทักษะทางการกีฬา ลดปัญหาการบาดเจ็บที่กำลังประสบอยู่ และป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะ
เป็นการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ กระดูก และเส้นเอ็นต่าง ๆ ดังนั้น การอบอุ่นร่างกายก่อนการออกำลัง
กายจึงเป็นการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น
เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการใช้งานหรือการออกกำลังกาย ด้วยเหตุนี้การอบอุ่นร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่
ควรมองข้ามเมือ่ ต้องออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
ประโยชน์ของการอบอุ่นร่างกาย
1. ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดีขึ้น อัตราการเต้นหัวใจค่อยๆ ทำงานเพิ่มขึ้นอย่าง
เหมาะสม เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างเพียงพอ ปรับความดันโลหิต
ให้เหมาะสม กับสภาพการทำงานในขณะนั้น ทำให้ลดปัญหาความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวหัวใจวายเฉียบพลันลด
ความเสี่ยงต่อการเกิดคลื่นหัวใจผิดปกติ และปัญหาความดันโลหิตสูง การเป็นลมหน้ามืด
2. ทำให้ระบบหายใจทำงานดีขึ้น อัตราการถ่ายเทออกซิเจนจากเลือดไปยังกล้ามเนื้อสูงขึ้น การ
หายใจถี่ หรือหอบเกินไปขณะเล่นกีฬา อัตราการหายใจค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนที่หายใจเข้า
ไปได้อย่างพอเพียง ไม่เหนื่อยหอบเร็ว เพิ่มความสามารถในการรับออกซิเจน เพิ่มความจุของปอดสามารถรับ
ออกซิเจนที่หายใจเข้าไปได้มากขึ้น เลือดก็
5

ได้รับออกซิเจนมากขึ้น การหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ทำให้ระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้ อดี
กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น
และช่วงของการเคลื่อนไหวของข้อต่อให้มากขึ้น การเล่นกีฬาจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดปัญหาการ
บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้เป็นอย่างดี
4. ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มที่ การสั่งงานของระบบประสาทรวดเร็วขึ้น กระตุ้นให้ระบบ
การเคลื่อนไหวของร่างกายทำงานอย่างประสานสัมพันธ์กัน เกิดความคล่องแคล่ว
ว่องไว มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดี เล่นกีฬาได้อย่างเต็มสมรรถนะ ทักษะการเล่นจะดีขึ้นเมื่อร่างกายพร้อม เล่น
กีฬาได้อย่างสนุกสนานและและแสดงทักษะได้สวยงาม
5. ทำให้เพิ่มแรงจูงใจที่จะเล่นกีฬาหรือแข่งขัน มีจิตใจที่ฮึกเหิมพร้อมที่จะเล่น เกิดความเชื่อมั่นใน
ตนเอง มีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะหรือแสดงทักษะการเล่นอย่างเต็มที่ ช่วยลด
ความวิตกกังวล ความเครียดต่างๆ การอบอุ่นร่างกายจึงเป็นผลดีต่อจิตใจและอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง
6. ทำให้อัตราการเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงานสูงขึ้น ทำให้มีแรงเล่นกีฬาได้อย่างยาวนาน
7. ลดการบาดเจ็บจากการใช้เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายมากเกินไป เนื้อเยื่อต่างๆ ทนต่อการใช้งานที่
หนักขึ้น ทำให้ไม่ฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้ง่ายและลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บได้มากขึ้น
ข้อเสียของการขาดการอบอุ่นร่างกายก่อนการเล่นกีฬา
ปัญหาการบาดเจ็บจากการกีฬา ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดการอบอุ่นร่างกาย การอบอุ่นร่างกายไม่
ถูกต้องเหมาะสมและไม่เพียงพอ บางคนรู้แต่ก็ยังละเลย จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการอบอุ่นร่างกาย ทำให้
เกิดปัญหาการบาดเจ็บ ขาดความไม่พร้อมในการเล่นกีฬาและบางทีอาจถึงกับเสียชีวิตจากการเล่นกีฬาก็มใี ห้
อยู่เสมอ
โทษของการขาดการอบอุ่นร่างกาย สรุปได้ดังนี้
1. ลดประสิทธิภาพในการเล่นกีฬา เล่นกีฬาได้ไม่เต็มความสามารถ เนื่องจากร่างกายยังไม่พร้อม
2. มีโอกาสที่จะบาดเจ็บในการเล่นกีฬามาก โดยเฉพาะการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เอ็น
รวมทั้งระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ
3. ลดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบ
กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ระบบหายใจและระบบประสาท เป็นต้น
4. สมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ ลดลง เช่น ความแข็งแรง ความเร็ว ความคล่องแคล่ว ความอ่อน
ตัว เป็นต้น
5. เกิดภาวะความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเกิดความวิตกกังวล ว่าร่างกายไม่พร้อม เมื่อ
ร่างกายทำงานที่หนัก ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียด กล้ามเนื้อตึงตัว การเคลื่อนไหวไม่ดี
6. เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อและเอ็นได้ง่าย เพราะเป็นอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนไหว เกิด
ความตึงมากที่สุด โอกาสที่บาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ จึงเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในขณะเล่นกีฬา
ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกาย
6

1. การอบอุ่นร่างกายทั่วไป (General Warm up)


1.1 การหมุนข้อต่อต่าง ๆ การอบอุ่นร่างกายควรเริ่มต้นด้วย การหมุนข้อต่อต่าง ๆ จะ
เริ่มจากข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก ข้อไหล่ คอ เอว สะโพก ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า เพื่อเป็นการเพิ่มการหล่อลื่นให้แก่
ข้อ โดยการทำอย่างช้าๆ หมุนตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกันไป โดยพยายามทำจากส่วนล่างของร่างกาย
เช่น ข้อเท้า น่อง เรื่อย ๆ ไปจนถึงศีรษะ
1.2 เคลื่อนไหวร่างกายแบบแอโรบิก เพื่อเพิ่มการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต และให้
อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น โดยการวิ่งช้า ๆ หรือเดินเร็ว ๆ หรือการบริหารกาย เป็นต้น
1.3 การยืดเหยีย ดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มช่วงของการเคลื่อนไหว เพิ่มความยืดหยุ่นแก่
กล้ามเนื้อ เป็นการลดการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อและข้อต่อ เป็นกิจกรรมที่สำคัญมากที่ต้องทำ
ต่อจากการอบอุ่นร่างกายทั่วไป
ตัวอย่างวิธีการอบอุ่นร่างกาย
การอบอุ่นร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที สามารถทำได้หลายเทคนิค ตัวอย่างเช่น
ท่าที่ 1 : ยืดกล้ามเนื้อขา
นั่งราบลงกับพื้นแยกขาซ้ายและขวาออกจากกันให้มากที่สุดแล้ว ก็ก้มตัวลงไปข้างหน้า จากนั้นจะเอน
ไปด้านซ้ายและขวาโดยใช้มือจับปลายเท้าให้ได้ ซึ่งครั้งแรกอาจจะยังจับไม่ได้เนื่องจากกล้ามเนื้อยังตึงอยู่แต่
เมื่อทำแล้ว ก็จ ะสามารถแตะที่ป ลายเท้าได้ ท่านี้ทำครั้งละประมาณ 10-15 วินาที โดยทำท่าละ 3 ครั้ง
(http://www.peaksportthailand.com/news/content/warm-up.html)

ท่าที่ 2 : ยืดโนขาหนีบด้านใน
นั่งราบลงกับพื้นแบะเท้าออก จับปลายเท้าชิดเข้าหากัน จากนั้นเอามือจับเท้าไว้ทั้งสองข้าง เอาแขน
และศอกกดขาเอาไว้ และค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้าทำค้างไว้ 10-15 วินาที ซึ่งครั้งแรกอาจจะก้มลงได้น้อยก็ไม่
ต้องฝืน พอครั้งต่อไปหลังจากกล้ามเนื้อยืดแล้วก็จะก้มได้มากขึ้น โดยทำ 3 ครั้ง

ท่าที่ 3 : ยืดส่วนน่องและกล้ามเนื้อ
7

นั่งลงแล้วยืดขาซ้ายไปด้านหน้าและก้มลงจับที่ปลายเท้าเข้ามาหาตัวเองค้างไว้ประมาณ 15
วินาที ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นข้างขวาทำเหมือนเดิมค้างไว้ 10-15 วินาที ซึ่งท่านี้นอกจากจะได้ยืดส่วนน่องและ
กล้ามเนื้อต้นขาแล้ว ยังได้ในส่วนหลังอีกด้วย ทำท่าละ 3 ครั้ง
ท่าที่ 4 : ยืดกล้ามเนื้อหลัง
นั่งราบกับพื้นเอาขาไขว้ไปทางด้านขวา ก่อนจะบิดตัวมาทางด้านซ้าย เพื่อยืดกล้ามเนื้อส่วนหลัง
โดยใช้ศอกขาที่ไขว้เอาไว้ ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วก็มาทำอีกข้างให้เหมือนกัน โดยทำท่าละ 3 ครั้ง

ท่าที่ 5 : ยืดหัวไหล่
ยืนตรงแล้วประสานมือไว้เหนือศรีษะ หงายมือขึ้น และยืดให้ตรงค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ก่อน
ทำท่าเหมือนเดิมแต่คราวนี้เปลี่ยนมาเป็นประสานมือไว้ข้างหลังและยืดเป็นแนวตรงค้างไว้ประมาณ 10 วินาที
โดยทำท่าละ 3 ครั้ง
ท่าที่ 6 : ยืดหัวไหล่ด้านข้าง
ยืนตรงยืดแขนซ้ายออกมาด้านหน้าแล้วให้มือขวาดันข้อศอกเอาไว้ก่อนจะบิดตัวไปทางขวาค้างไว้
ประมาณ 10 วินาที จากนั้นก็สลับข้างเปลี่ยนมาเป็นยืดแขนขวาออกมาด้านหน้าแล้วใช้มือซ้ายดันข้อศอกเอาไว้
ก่อนจะปิดตัวไปทางขวาค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำทั้งสองด้านท่าล่ะ 3
8

นอกจากนี้ยังมีวิธีการการอบอุ่นร่างกายอื่น ๆ อีกหลายวิธี ซึ่งเป็นวิธีใดก็แล้วแต่ที่สำคัญต้องให้มีผลต่อ


การทำงานของหัวใจ และปอด และให้เกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อทั่วร่างกาย เช่นท่ากาย
บริหารต่อไปนี้
1. วิ่งเหยาะ ๆ รอบสนาม
2. กระโดดปรบมือเหนือศีรษะ
3. ก้ม - เงยศีรษะ (บริหารคอ)
4. หมุนแขนไปด้านหน้าและหลังเป็นวงกลม (บริหารข้อต่อหัวไหล่)
5. ยืนตรงดึงเข่าทีละข้างเข้าชิดอก (บริหารข้อเข่า และขา)
6. ก้มตัวแตะพื้นขาเหยียดตึง (ความอ่อนตัว)
7. มือประสานท้ายทอยบิดตัวสลับซ้าย ขวา (บริหารเอว และลำตัว)
8. นอนหงายยกศีรษะขึ้นมาดูปลายเท้า (บริหารคอ)
9. วิดพื้น (สร้างความแข็งแรงให้ข้อมือ แขน และไหล่)
10. นอนคว่ำ ยกลำตัวท่อนบนและขาพ้นจากพื้น (บริหารหลัง)
11. บริหารข้อมือและข้อเท้า
12. แขนเหยียดตึงเหนือศีรษะพร้อมกับเอียงลำตัวด้านข้างซ้ายและขวา
13. ยืนไขว้ขาก้มแตะ
14. กระโดดตบใต้ขา สลับซ้ายขวา
15. ก้มแตะสลับปลายเท้า

ทักษะการพื้นฐานการเลี้ยงบอล
การเล่นกีฬาบาสเกตบอลให้เก่งและมีความสามารถพื้นฐานสำคัญอันดับแรกต้องเรียนรู้ทักษะการ
ครอบครองลูกบาสเกตบอลทีมไหนที่สามารถครอบครองลูกบาสเกตบอลได้ย่อมได้เปรียบที่จะทำประตูฝ่ายตรง
ข้ามและนำไปสู่ช ั ย ชนะ การเลี้ยงลูก บาสเกตบอล หมายถึง โดยการใช้นิ้ว และปลายนิ ้ว ทั้ง 5 แตะลู ก
บาสเกตบอลกดลงกระทบพื้นแล้วให้กระดอนขึ้นลง ครั้งเดียวหรือหลายครั้งจะเป็นการเลี้ยงลูกอยู่กับที่ หรือ
เคลื่อนที่ หรือเลี้ยงลูกสูง หรือต่ำ ขึ้นอยู่กับโอกาสหรือความต้องการของผู้เลี้ยง การเลี้ยงลูกบาสเกตบอลจะใช้
ในกรณีที่นำลูกเข้าไปยิงประตู เพื่อหลอกล่อและหลบหลีกคู่ต่อสู้ หรือในกรณีที่ไม่สามารถส่งลูกให้ผู้เล่นฝ่าย
เดียวกันได้ทัน การเลี้ยงลูกในขณะแข่งขันโดยไม่มีความจำเป็น เช่น เลี้ยงลูกเพื่อโชว์ลวดลายจะทำให้เสียเวลา
และโอกาสในการทำประตู หรืออาจจะถูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามแย่งลูกไปครอบครองได้ การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล
เป็นทักษะที่จำเป็นที่ผู้เล่นทุกคนทักษะการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล ใช้สำหรับนำลูกบาสเกตบอลเคลื่อนที่ไปกับ
ตั ว เองหรื อ การครอบครองลู ก บาสเกตบอลไว้ก ั บ ตั ว เองซึ ่ งตามระเบีย บการ เล่ น กี ฬ าบาสเกตบอลการ
ครอบครองลูกบอลไว้นั้นต้องไม่นานเกิน 5 วินาที ถ้าผู้เล่นยังต้องการครอบครองลูกบอลไว้อีก จึงจำเป็นต้อง
เลี้ยงลูกบอลเพื่อรอจังหวะการเล่นต่อไป และการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลยังถือเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของฝ่ายรุก ที่
9

จะดึงฝ่ายป้องกันให้ออกมาจากเขตประตู หรือให้ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันมีเวลาจัดตำแหน่งในการยืนหรือเข้าทำ
ประตูเมื่อมีโอกาส

เทคนิคการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล
1. การเลี้ยงบอลตํ่า (The low or control dribbling) เป็นวิธีเลี้ยงบอลของผู้เล่นเมื่อถูกป้องกันอย่างใกล้ชิด
ผู้เลี้ยงบอลต้องย่อตัวฝ่ามืออยู่ บนลูกบอล ในการเลี้ยงบอลให้ลูกบอลกระทบพื้ นในระดับตํ่า และควรควบคุม
ลูกบอลอยู่ข้างลําตัว เพื่อป้องกันการแย่งหรือปัดบอล จากฝ่ายตรงข้าม
การเลี้ยงลูกบาสเกตบอลต่ำ ใช้สำหรับการหลบหลีกฝ่ายตรงข้าม หรือล่อหลอกฝ่ายตรงข้าม เพราะการ เลี้ยง
ลูกบาสเกตบอลต่ำนี้ช่วยให้มีความคล่องแคล่วว่องไวในการเลี้ยงลูกบอลสำหรับการเคลื่อนไหวได้ดี
วิธีปฏิบัติ เข่าทั้งสองงอมากกว่าการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลสูง ศีรษะและไหล่โน้มไปข้างหน้า ถ้าใช้มือ
ขวาเลี้ยงลูกบอล มือ ซ้ายให้กางออกเล็กน้อย เพื่อช่วยการทรงตัว สายตามองไปข้างหน้า และควบคุมการ
กระดอนด้วยนิ้วมือและข้อมือ ลูกที่กระดอน ขึ้นให้สูงประมาณ

https://th.wikipedia.org/wiki

2. การเลี้ยงบอลสูง (The high or speed dribbling) ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วในทิศทางตรง


ระดับการเลี้ยงลูก บาสเกตบอลสูงจากพื้นประมาณระดับอกถึงไหล่ของผู้เลี้ยงลูกบอลเมื่อผู้เล่นเลี้ยงบอลขณะ
ไม่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามป้องกันและต้องใช้ ความเร็ว สามารถ ใช้วิธีการเลี้ยงลักษณะนี้โดยการผลักลูกบอลไป
ข้างห น้าให้ลูกบอลกระทบพื ้นกระดอนระดับเอว มือไม่จําเป็นต้องอยู่ด้านบนของลูกบอล สามารถอยู่ด้านหลัง
ของลูกเพื่อผลักไปข้างหน้าได้อย่าง รวดเร็ว
10

วิธีปฏิบัติ ให้โน้มตัวไปข้างหน้า ใช้นิ้วมือและข้อมือกดลูกบอลให้กระดอนขึ้นมาระดับเอว หรือสูงกว่า


เล็กน้อย นิ้วมือกด ลูกบอลทางส่วนบนค่อนมาทางด้านหลัง เพื่อให้ลูกพุ่งไปข้างหน้ าแล้วก้าวเท้าตามลูกไป

3. การเลี้ยงบอลเปลี่ยนตําแหน่ง (The change-of-pace dribble) การเลี้ยงบอลชนิดนี้มีความสําคัญอีก


ประการหนึ่ง เนื่องจากทําให้ผู้เล่นฝ่ายป้องกัน ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผู้เลี้ยงบอลนั้นจะเคลื่อนที่เร็วช้า หยุด
อยู่กับที่ และส่งบอลหรือยิงประตู
4. การเลี้ยงบอลสลับ ซ้าย-ขวา (The crossover dribbling) การเลี้ยงบอลต้องใช้เพียงมือเดียวในการเลี้ยง
บอล หากฝ่ายตรงข้ามป้องกันอย่าง ใกล้ชิดและผู้เลี้ยงบอลเลี้ยงข้างหน้าฝ่ายตรงข้าม อาจถูกแย่งหรือปัดได้ง่าย
ดังนั้นควรเลี้ยงบอล สลับซ้าย-ขวา เพื่อหลีกเลี่ยงและหลบหลีกการแย่งหรือการปัดจากฝ่ายตรงข้าม แต่หากฝึก
ทักษะ ชนิดนี้ไม่ชํานาญอาจทําให้ฝ่ายตรงข้ามแย่งหรือปัดบอลได้
5. การเลี้ยงบอลไขว้หลัง (The behind-the-back dribble) เป็นวิธีการเลี้ยงบอลเพื่อต้องการหลอกล่อฝ่าย
ตรงข้ามให้เสียจังหวะเพื่อชิงพื้นที่หรือ ตําแหน่งในการเปลี่ยนทิศทาง เป็นการใช้มือออกแรงกดและผลักลูก
บอลจากด้านหลังไปด้านหน้า อีกข้างหนึ่ง เป็นลักษณะของการไขว้สลับด้านหลัง
6. การเลี้ยงบอลลอดใต้ขา (The between-the-legs-dribble) เป็นวิธีการเลี้ยงบอลที่ใช้มือกดลูกบอลให้ลอด
ใต้ขาใช้ขณะเมื่อผู้เล่นฝ่ ายตรงข้าม ป้องกันอย่างใกล้ชิด เพื่อหลบหลีกและเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ทํา
ให้ฝ่ายตรงข้ามเสียจังหวะและเสียพื้นที่ตําแหน่ง
7. การหมุนตัวเลี้ยงบอล (The reverse dribble) เป็นวิธีการเลี้ยงบอลเพื่อหลบหลีกฝ่ายตรงข้ามและเปลี่ยน
ทิศทาง ใช้ลําตัวบังลูก บอลยากต่อการแย่งหรือปัดลูกบอล ทําเมื่อผู้เล่นฝ่ ายตรงข้ามเข้าประชิดตัวให้ใช้มือ
ผลักลูกบอลไป ยังตําแหน่งอีกด้นหนึ่งพร้อมกับหมุนตัวไปด้านเดียวกันนั้น (ซ้ายหรือขวาก็ได้)

ทักษะการเลี้ยงบอลไปกลับ
ทักษะการเลี้ยงบอลไปกลับ ใช้สำหรับนำลูกบาสเกตบอลเคลื่อนที่ไปกับตัวเองหรือการครอบครองลูก
บาสเกตบอลไว้กับตัวเอง เป็นการฝึกทักษะการครอบครองลูกบอลไว้ เพื่อรอจังหวะการเล่นต่อไป การวิ่งเลี้ยง
ลูก ทำได้โดย
1. ยืนในท่าทรงตัวแบบเท้านำเท้าตาม ให้ลำตัว ศีรษะโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
11

2. ใช้มือข้างที่ครอบครองลูกบอลข้างเดียวกดลูกบอลทุ่มลงกับพื้น โดยใช้ข้อมือกระดกขึ้นกดลูกบอลติดต่อกัน
เพื่อควบคุมทิศทางและความสูง ต่ำของลูกบอลด้วยนิ้วมือ ทั้ง ๕ นิ้วให้ ลูกบอลกระดอนสูงระดับเอว แต่ไม่เกิน
ระดับไหล่
3. ใช้มือบังคับลูกบอลเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ ไปและกลับ

ทักษะเลี้ยงบอลซิกแซก
การเลี้ยงบาสเกตบอลซิกแซก หรือฝึกหัดเลี้ยงบอลหลบหลีกเครื่องกีดขวาง การจัดแถวจัดเป็นแถว
ตอน หัวแถวเริ่มเลี้ยงลูกซิกแซก ซ้าย-ขวา เป็นรูปสลับฟันปลา หลบหลีกเครื่องกีดขวางที่วางไว้ แล้วเลี้ยงซิก
แซกกลับไปกลับมา

ทักษะพื้นฐาน ส่ง - รับบอล


การรับ-ส่งลูกบาสเกตบอล (Passing) การส่งลูกบาสเกตบอลมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบ
นํามาใช้ในการเล่น บาสเกตบอลได้ เป็น อย่า งดี จะใช้แบบไหนช่ว งไหนก็ อยู่ ที่ส ถานการณ์ข องการเล่ น
ประกอบด้วย แบบการส่งลูกบาสเกตบอล ดังนี้
1. การส่งบอลสองมือระดับอก (The two-handed chest pass) เป็นการส่งบอลที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก
เนื่องจากเป็นพื้นฐานในการส่งบอล ใช้เมื่อ ไม่มีผู้เล่นฝ่ ายตรงข้ามโดยส่งบอล ไป-มา ระหว่างผู้เล่นของทีม
วิธีการฝึก ให้ถือลูกบอลสองมือ ระดับอกดึงบอลเข้าหาลําตัว เก็บศอก กางนิ้วมือออกขณะปล่อยลูกบอลแขน
และมือเหยียดออก และสลัดข้อมือเพื่อช่วยส่งแรง
12

2. การส่งบอลสองมือกระดอนพื้น (The two-handed bounce pass) เป็นวิธีการส่งบอลขั้นพื้นฐาน ใช้เมื่อ


ส่งบอลให้เพื่อนร่วมทีมที่ถูกป้องกันทางด้านหลัง หรือผู้เล่นฝ่ายป้องกันพยายามแย่งบอลจากด้านหน้า หรือ
ขณะที่การส่งบอลสองมือระดับอก ไม่สามารถใช้ได้
3. การส่งบอลสองมือเหนือศีรษะ (The two-handed overhead pass) เป็นการส่งบอลให้กับผู้เล่นตําแหน่ง
เสาหลัก (Post) ล่างและบน บางครั ้งใช้กับ การเล่นลูกเร็ว (Fast break) หรือการส่งบอลเข้าเล่น
4. การส่งบอลมือเดียวเหนือไหล่ (The one-hand baseball pass) เป็นการส่งบอลที่มีระยะไกลประมาณครึ่ง
สนามซึ่งปกติการส่งสองมือ ไม่สามารถส่ง ได้ แต่ไม่เหมาะกับการส่งบอลที่มีระยะไกลมากเกินไป ใช้ประโยชน์
สําหรับการส่งบอลเร็ว (Fast break)
5. การส่งบอลมือเดียวด้วยการผลัก (The one-hand push pass) 12 เป็นการผลักลูกบอลอย่างรวดเร็ว ใช้
สําหรับระยะสั้น ๆ วิธีฝึก ให้ลูกบอลอยู่บริเวณ ระดับหู งอศอกเพื่อให้เกิดแรงส่ง เป็นการส่งบอลแนวตรงและ
สามารถหลอกฝ่ ายตรงข้ามได้
6. การส่งมือเดียวย้อนหลัง (The behind-the back pass) เป็นการส่งลูกบอลที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัว
ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก และสามารถ หลอกคู่ต่อสู้ได้
การรับลูกบาสเกตบอล มีวิธีการรับ ลูกบาส ยังไง ไม่ให้พลาด
วิธีการรับลูกบาสเกตบอลนั้น ตาของผู้เล่นจะต้องมองดูเสมอ และทำการใช้มือทั้งสองจับลูกบอล ซึ่งจะต้องทำ
การกะระยะความเร็ว และระดับความสูงต่ำของลูกให้ดี และจะต้องยืนในท่าทรงตัวเสมอ เพื่อการเคลื่อนตัวไป
ยังจุดต่อไป โดยลูกบอลที่ลอยมายังผู้รับ สามารถแยกระดับของลูกบาสที่ลอยมาได้ 3 ระดับ คือ
1. ระดับต่ำ คือ ระดับที่ต่ำกว่าสะโพกลงไป
2. ระดับกลาง คือ ระดับที่เหนือสะโพกขึ้นไปจนถึงศีรษะ
3. ระดับสูง คือ ระดับสูงกว่าศีรษะ
โดยหลักการในการรับลูกทั้ง 3 ระดับ มีหลักการเดียวกัน นั่นก็คือ ยื่นมืออกไปรับบอล และผ่อนแรงบอลเพื่อ
ลดแรงกระแทก อีกทั้งครองบอลให้ดี พร้อมที่จะเล่นลูกต่อไปด้วยมือทั้งสองข้าง

ทักษะเคลื่อนที่ส่งรูปแบบต่าง ๆ
การเคลื่อนไหวเบื้องต้นของกีฬาบาสเกตบอล มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ
และต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการทรงตัวของผู้เล่น การเคลื่อนไหวแบบ
13

ต่าง ๆ การกระโดด การหยุด การหมุนตัว ตลอดทั้งการครอบครองลูกบาสเกตบอล และการสร้างความคุ้นเคย


กับลูกบาสเกตบอล
1. การยืนทรงตัว วิธีปฏิบัติการยืนทรงตัว คือ ยืนแยกเท้าประมาณช่วงไหล่ หรืออาจยืนด้วยเท้านำเท้าตามก็ได้
น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เข่างอ หน้ามองตรง แขนกางออกเล็กน้อย
2. การเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ
2.1 การเคลื่อนไหวไปด้านข้าง ใช้สำหรับป้องกันคู่ต่อสู้โดยการเคลื่อนไหวตามคู่ต่อสู้ไปทางด้านข้าง มี
วิธีปฏิบัติดังนี้ ยืนในท่าการทรงตัว เคลื่อนเท้าขวาไปทางด้านข้างขวาแล้วลากเท้าซ้ายตามไป ให้อยู่ในท่าการ
ทรงตัว ถ้าเคลื่อนเท้าซ้ายไปทางซ้ายให้ลากเท้าขวาตามเท้า ซ้ายไปและอยู่ในท่าการทรงตัว มือทั้งสองยกขึ้น
และจะต้องส่ายอยู่เสมอ
2.2 การเคลื่อนไหวไปด้านหน้าและถอยหลัง ใช้เคลื่อนไหวในการป้องกันได้ดีกว่าที่จะติดตามคู่ต่อสู้ไป
ปฏิบัติต่อเนื่องจากการเคลื่อนไหวไปทางด้านข้างมีวิธีปฏิบัติดังนี้ ยืนในท่าเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่หน้า (เท้านำเท้า
ตาม) ห่างกันพอประมาณ น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหน้าเล็กน้อย โน้มตัวไปข้างหน้า เข่างอเล็กน้อย สะโพกต่ำ ศีรษะ
ตั้งตรง ตามองไปขางหน้า แขนที่ยกขึ้นไปข้างหน้าจะเป็นข้างเดียวกับเท้า คือ เท้าซ้ายอยู่หน้า แขนซ้ายจะยก
อยู่ข้างหน้า แขนอีกข้างหนึ่งยกออกไปทางด้านข้างลำตัว นิ้วมือกางออกและส่ายไป – มา เสมอ เมื่อต้องการ
เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ให้ลากเท้าหน้านำไปแล้วลากเท้าหลังตาม เมื่อต้องการถอยหลังให้ถอยเท้าหลังแล้วลาก
เท้าหน้าตาม
2.3 การเปลี่ยนทิศทาง จังหวะที่ 1 สมมุติว่าผู้เล่นวิ่งมา และต้องการเปลี่ยนทิศทางไปทางขวา ให้ก้าว
เท้าซ้ายยาวกว่าปกติเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวไปตกที่เท้าซ้าย งอเข่าลง เพื่อให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายใกล้พื้น
มากกว่าที่ขณะวิ่งมาตามปกติ ซึ่งจะช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น
จังหวะที่ 2 ให้บิดไหล่ ศีรษะ และสะโพกขวาไปทางขวา พร้อมกับก้าวเท้าขวาไปวางข้างหน้า เฉียงไป
ทางขวา แล้วเข้าสู่ท่าวิ่งตามปกติ วิธีนี้อาจเรียกว่าเปลี่ยนทิศทางโดยการเอี้ยวตัว หลบ ถ้าผู้เล่นจะเปลี่ยน
ทิศทางไปทางซ้ายก็ให้ปฏิบัติในทำนองเดียวกัน
2.4 การเปลี่ยนช่วงก้าว การเปลี่ยนช่วงก้าว ใช้ในการหลบหลีกฝ่ายรับ โดยเฉพาะเมื่อใช้การเล่นแบบ
คนต่อคน วิธีการคือ ก้าวเท้าให้ยาวขึ้นหรือสั้นลงกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้ความเร็วในการเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป
จากเดิม จะช้าลงหรือเร็วขึ้นตามแต่สถานการณ์ในขณะนั้น คู่ต่อสู้ที่ตามประกบตัวมักจะ เสียการทรงตัว ต้อง
กระทำให้กลมกลืน อย่าให้คู่ต่อสู้คาดเดาเจตนาของเราได้ล่วงหน้า
2.5 การวิ่งตัด การวิ่งตัดเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่จะทำให้ฝ่ายรุกสามารถหลบหลีกฝ่ายป้องกัน ซึ่งเป็น
เทคนิคที่ต้องผสมผสานกันกับการเปลี่ยนทิศทาง และการเปลี่ยนช่วงก้าว วัตถุประสงค์ของการวิ่งตัด คือ
เพื่อให้ฝ่ายรุกอยู่หน้าฝ่ายป้องกัน เพื่อรับลูกบาสเกตบอลจากการส่งของฝ่าย เดียวกันได้
3. การกระโดด เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องใช้ตลอดการแข่งขัน เช่น กระโดดยิงประตู กระโดดรับบอล กระโดดแย่ง
บอล เป็นต้น โดยการย่อเข่า แขนแนบลำตัวค่อนไปข้างหลัง น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าทั้งสองข้าง กระโดดโดยเหวี่ยง
แขนทั้งสองข้างนำไปก่อน แล้วตามด้วยการยืดเข่าและข้อเท้าตาม
14

4. การเคลื่อนที่และการหยุด การเคลื่อนที่ต่อไปนี้เป็นลักษณะการเคลื่อนที่ของฝ่ายรุก เพื่อหนีการป้องกันของ


ฝ่ายตรงข้าม เพื่อจะรับบอลจากฝ่ายเดียวกัน ประกอบด้วยการหยุดด้วยเท้านำ เท้าตาม และการหยุดด้วยเท้า
คู่ นอกจากนี้ฝ่ายรุกจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวหลาย ๆ แบบ บางครั้งอาจต้องใช้การเปลี่ยนช่วงก้าว การ
เปลี่ยนทิศทาง เพื่อให้พ้นจากการติดตามของฝ่ายตรงข้าม
5. การหมุนตัว คือ การที่ผู้เล่นจับหรือถือลูกบอลอยู่แล้วใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลักอยู่กับที่บนพื้น แล้วก้าว
หมุนตัวไปมาตามทิศทางต่าง ๆ เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้มาแย่งลูกบอลจากมือ

ทักษะเคลื่อนที่ส่ง 3 คน
การรับ-ส่งลูกบอล 3 คนอ้อมหลัง โดยใช้ผู้ฝึก 3 คน ยืนอยู่ในตำแหน่งดังรูป ผู้ฝึกคนที่ 1 ถือลูกบอลไว้
แล้วปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ส่งลูกให้ 2 แล้ววิ่งอ้อมหลัง 2 ไปข้างหน้า
2. ส่งลูกให้ 3 แล้ววิ่งอ้อมหลัง 3 ไปข้างหน้า
3. ส่งลูกให้ 1 แล้ววิ่งอ้อมหลัง 1 ไปข้างหน้า
1 ส่งลูกให้ 2 แล้ววิ่งอ้อมหลัง 2 ไปข้างหน้า

ทักษะการชู้ต การยิงลูกบาสเกตบอล (Shooting)


(http://www.digitalschool.club/digitalschool/health3_1/sport3_1/UNIt5/5-2.php)
ความสำคัญและหลักเบื้องต้นในการยิงประตู
การยิงประตูนับเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นบาสเกตบอลซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของการเล่นกีฬายาสเกต
บอลคือทีมที่สามารถนำลูกบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าอีกทีมจะเป็นทีมที่ชนะ
การยิงประตู คือการนำลูกบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม สามารถทำได้หลายวิธีและไม่มี
ข้อจำกัดเช่นเดียวกับการส่งลูกบอล แต่โอกาสการใช้และจุดมุ่งหมายของการยิงประตูกับการส่งลูกบอลต่างกัน
คือการยิงประตูจะให้ได้ผลมีความแม่นยำ ควรปล่อยลูกบอลให้วิ่งลอยเป็นวิถีโค้งและควรให้ลูกบอลหมุนกลับ
เล็กน้อย ลูกบอลก็จะลงห่วงประตูได้ง่ายขึ้น ซึ่งมุมที่ใช้ในการยิง ประตูควรจะประมาณ 15-60 องศา ขึ้นอยู่กับ
ความชำนาญของผู้ยิงประตูและมีองค์ประกอบอื่น ได้แก่ ระยะทางและรูปร่างของผู้เล่นเอง เช่น ผู้เล่นตัวสูง มุม
ในการยิงประตูก็จะน้อยกว่าคนตัวเตี้ย ระยะทางที่ยิงประตูก็เช่นกัน ถ้ายิงประตูใกล้ มุมการยิงจะแม่นยำกว่า
การยิง ประตูระยะไกล ซึ่งมีผลของแรงที่ใช้ส่งลูกบอลในการยิงประตูมาเกี่ยวข้องด้วยคือ ถ้ายิงระยะไกลๆ ใช้
มุมในการยิงประตูกว้าง มากลูกบอลก็จะลอยขึ้นสูง ทำให้ใช้แรงในการส่งลูกมาเกินไป โอกาสการยิงประตูก็จะ
15

ให้ความแม่นยำน้อย สรุปได้ว่าความโค้งของ วิธีการยิงประตูขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยด้วยกันคือ ตัวผู้ยิงประตูและ


ระยะในการยิงประตู
จุดที่ใช้เล็งหรือการกะระยะในการยิงประตู
สำหรับจุดที่ใช้เล็งหรือการกะระยะในการยิงประตูบาสเกตบอล จะเล็งที่จุดศูนย์กลางของห่วงประตู แต่
เนื่องจากการยิงประตูนั้นเราจะส่งลูกบอลออกไปเป็นวิถีโค้งประกอบกับในเกมแข่งขันผู้เล่นมีกำลังแขนลด
น้อยลงฉะนั้นเวลายิงประตูควรจะเล็งที่ขอบในของห่วงประตูที่อยู่ด้านไกลตัว
ส่วนการยิงประตูโดยอาศัยแป้นประตูกระทบลูกบอลให้ลงห่วงประตูนั้น จะใช้เส้นของรูปสี่เหลี่ยมเล็ก
ของแป้น ประตูเป็นจุดเล็งกะระยะ หรือเป็นจุดที่ส่งลูกบอลออกไปกระทบ โดยยึดหลักดังนี้ คือ ให้เล็งที่เส้นข้าง
ประตูที่อยู่ใกล้ตัวผู้ยิงประตูถ้ายิงตรงจุดกลางประตูให้เล็งที่เส้นบนของรูปสี่เหลี่ยม
ระยะทางที่ยิงประตู
ระยะทางที่ยิงประตู แบ่งเป็น 3 ระยะ ไดแก่
1. การยิงประตูระยะใกล้ คือการยิงประตูบริเวณเขตโทษ เป็นการยิงประตูที่หวังผล 80-100%
2. การยิงประตูระยะกลาง คือการยิงประตูบริเวณนอกเขตโทษ แต่ไม่เกินเส้นเขตการยิงประตู 3
คะแนนเป็นการยิงประตูที่หวังผล60-80%
3. การยิงประตูระยะไกล คือการยิงประตูนอกบริเวณที่กล่าวมาแล้วใน 2 และ 2 เป็นการยิงประตูที่หวัง
ผล 40-60%
หลักในการยิงประตู
1. การยิงประตูสายตาต้องจับอยู่ที่ห่วงประตู หรือถ้ายิงกระทบแป้นประตู ตาก็จับที่สี่เหลี่ยมเล็กของแป้น
ประตู ซึ่งเป็นจุดกระทบ เมื่อยิงประตู
2. รู้จักการส่งแรงในการปล่อยลูกบอลเพื่อยิงประตู ควรยิงประตูโดยให้ลูกบอลวิ่งลอยเป็นวิถีโค้ง และ
ควรให้ลูกบอลหมุนกลับเล็ก น้อย ลูกบอลก็จะลงห่วงประตูได้ง่ายขึ้น
3. ควรรักษาการทรงตัวที่ดีขณะยิงประตู หรือยิงประตูไปแล้วก็ตามและพร้อมที่จะติดตามลูกบอลที่ยิง
ออกไปแล้วลูกไม่ลงห่วง
4. มีความมั่นใจในการยิงประตูทุกครั้งว่าลูกต้องลงห่วงประตู
5. ควรได้รับการฝึกหัดที่ถูกต้องและอย่างสม่ำเสมอ
6. ขณะยิงประตูต้องสามารถเปลี่ยนจังหวะการยิงประตูได้ เช่น ทิ้งจังหวะให้ช้าลง หรือเร่งจังหวะการยิง
ประตูให้เร็วขึ้นได้
7. ขณะยิงประตูต้องสามารถเปลี่ยนเป็นทักษะอื่นแทนได้ เช่น ทำท่ายิงประตูแล้วเปลี่ยนเป็นส่งลูกบอล
แทน หรือเลี้ยงลูกบอลต่อไป หรือหลอกล่อฝ่ายตรงข้ามก่อนแล้วจึงยิงประตู
8. ควรมีความสามารถในการยิงประตูได้หลายแบบหลายวิธี เช่น ยืนยิงประตู กระโดดยิงประตู เหวี่ยงยิง
ประตู
9. การก้าวเท้ายิงประตูควรมีความสามารถยิงประตูให้ลูกบอลลงห่วงทุกครั้ง (100%) ในขณะที่ไม่มีฝ่าย
ตรงข้ามป้องกัน
16

10. ต้องมีสมรรถภาพที่ดี โดยเฉพาะความแข้งแรงของมือ แขน หัวไหล่และขา และกล้ามเนื้อท้อง


วิธีปฏิบัติ
1. จากท่าเตรียมถือครอบครองลูกบอล ก้าวเท้าเดียวกันกับมือที่ใช้ยิงประตูไปข้างหน้าตามความถนัด
(ความยาวของช่วงก้าวเท้า)
2. ยกลูกบอลขึ้นระดับศีรษะบิดมือที่ใช้ยิงประตู โดยตั้งมือหันฝ่ามือออกตั้งศอก มืออีกข้างหนึ่งประคอง
ข้างลูกบอล
3. ตำแหน่งลูกบอลอยู่เยื้องมาด้านมือที่ใช้ยิงประตูเล็กน้อยระดับเหนือศีรษะ
4. สายตาเล็งที่เป้าหมาย ห่วงประตู
5. ส่งแรงจากเท้า ลำตัว แขนและมือที่ใช้ยิงประตู (มืออีกข้างที่ประคองลูกบอลปล่อยนิ่งไว้) ตามลำดับ
โดยให้วิถีของลูกบอล เป็นวิถีโค้ง
6. การบังคับทิศทางจะใช้ปลายนิ้วมือบังคับ และชี้ทิศทางที่ยิงประตู

ทักษะการเคลื่อนที่ชู้ต
การยิงประตูเป็นหัวใจสําคัญของการเล่นบาสเกตบอล ทีมใดที่ยิงประตูได้แม่นยํากว่า แม้ว่าทักษะอื่น
จะอ่อนไปบ้าง ก็ยังมีทางประสบชัยชนะได้ การโยนลูกบอลออกจากมือเพื่อหมาย ห่วงประตูแต่ละครั้งด้วย
ความมั่นใจ ด้วยความหวังและมีความแม่นยําสูงเพียงใด ย่อมหมายถึง ความหวังแห่งชัยชนะด้วย ดังนั้น ผู้เล่น
ทุกคนจะต้องฝึกฝนวิธียิงประตูแบบต่างๆให้ชํานาญ
1. การยืนยิงประตู (The set shot) โดยทั่วไปในการแข่งขันไม่นิยมใช้ลักษณะการยิงประตูชนิดนี้
ระหว่างนาฬิ กาเดิน เนื่องจากง่ายต่อการสกัดกั ้นส่วนมากใช้ในการโยนโทษ
2. การก้าวกระโดดขึ้นควํ่ามือยิงประตู (The lay-up shot) ผู้เล่นควรฝึกการยิงประตูลักษณะนี ้เป็น
อันดับแรก การยิงประตูลักษณะนี ้เป็นการพา ลูกบอลเคลื่อนที่ซึ่งใช้แรงส่งจากจังหวะการก้าวและกระโดด
ลอยตัวยกมือ งอเข่า และปล่อย ลูกบอลกระทบกระดานหลัง
3. การก้าวกระโดดขึ้ นหงายมือยิงประตู (The underhand shot) การยิงประตูลักษณะนี้คล้ายกับ
การก้าวกระโดดยิงประตูต่างกันที่จังหวะสุดท้ายของ การปล่อยลูกบอลต้องหงายมือและแขนทําให้ลูกบอลอยู่
ด้านบนมือ แล้วจึงใช้ข้อมือช่วยส่งแรง กระทบกระดานหลัง
4. การกระโดดยิงประตู (The jump shot) เป็นลักษณะการยิงประตูที่มักพบมากระหว่างการแข่งขัน
เนื่องจากยากต่อ การป้องกัน โดยเฉพาะหากผู้เล่นยิงประตูมีความสูง
5. การฮุ้กบอล (The hook shot) นิยมใช้มากกับผู้เล่นตําแหน่งเสาหลักล่าง (Low-post) การยิง
ประตูลักษณะนี้มี ความแม่นยําสูงและยากต่อการป้องกัน เนื่องจากแขนผู้เล่นยิงประตูห่างจากผู้เล่นฝ่ ายป้อง
กัน โดย วิธีการปฏิบัติ สามารถเริ่มเมื่อผู้เล่นยิงประตูหันหลังให้ห่วงประตู การฮุ้กต้องมีการกระโดดและ 13
การทรงตัวที่ดี ผู้เล่นควรฝึกหัดการใช้ทั้งมือซ้ายและขวา หากใช้มือขวาให้ยกเข่าขวา หากใช้มือ ซ้ายให้ยกเข่า
ซ้าย ปล่อยบอลให้ใช้ข้อมือตวัดลูกบอลข้ามศีรษะ
17

6. การยัดห่วงประตู (Dunking) การยิงประตูลักษณะนี้เป็นความสามารถเฉพาะตัวพิเศษของผู้เล่นที่


มีความสูงหรือ กระโดดสูง และเนื่องจากไม่มีช่วงของลูกบอลลอยในอากาศทําให้ยากต่อการป้องกัน สามารถ
ใช้ได้ทั้งมือเดียวหรือสองมือ ทั้งด้านหน้าหรือด้านหลังของผู้เล่นยิงประตู เป็นการสร้างความเชื่อมั่น ต่อทีมและ
ทําลายขวัญของฝ่ายตรงข้ามได้
7. การก้าวกระโดดหมุนตัวยิงประตู (The reverse lay-up shot) การยิงประตูลักษณะนี้เป็นการใช้
ห่วงประตูและกระดานหลัง เป็นแนวป้องกันจาก ผู้เล่นฝ่ ายป้องกันจากด้านหลังใช้ได้ดีเมื่อผู้เล่นพาบอลตาม
แนวเส้นหลัง หรือรับลูกบอลภายใน เขตกําหนด 3 วินาที และหันหลังให้กับห่วงประตู
8. การปัดบอลเข้าห่วงประตู (Tapping or tip-in) การปัดบอลเพื่อเข้าห่วงประตูตามกติกาถือเป็นการ
ยิงประตูลักษณะหนึ่ง เป็นการใช้นิ้วมือรองใต้ลูกบอลดีดลูกบอลเข้าห่วงประตู การยิงประตูลักษณะนี้ต้องอาศัย
ช่วงจังหวะเวลาและ จังหวะของการกระโดดลอยตัวที่ดี เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการดีดลูกบอล

ที่มา: https://www.shutterstock.com/th/image-vector/basketball-player-ballshooting-position-1400816477
ทักษะการป้องกัน (Defense)
การป้องกันที่ดีต้องมีพื้นฐานการเคลื่อนที่ของเท้า ( Foot-work ) ที่ดี ผู้เล่นฝ่ายป้องกันจะต้อง
คาดคะเนว่าฝ่ายรุกจะก้าวเท้าหรือเคลื่อนที่ไปทิศทางใด เพื่อหาตำแหน่งหารขืนป้องกันได้ถูกต้องและไม่ทำให้
เกิดการละเมิดกติกา ในการเล่นบาสเกตบอลทีม ทีมใดที่มีการป้องกันที่ดี ย่อมส่งผลถึงการได้เปรียบฝ่ายตรง
ข้ามในระหว่างการเล่น ทีมป้องกันอาศัยทักษะการป้องกันส่วนบุคคล การประสานงานภายในทีมตามรูปแบบที่
กำหนดไว้ จะทำในทีมประสบความสำเร็จได้ การป้องกันพื้นฐานแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ การป้องกันเป็นเขต
หรือโซน (Zone Defense) และ การป้องกันแบบคนต่อคน (Man to Man Defense) และรูปแบบการป้องกัน
แบบผสม
1. การป้องกันเป็นเขตหรือโซน (Zone Defense) หมายถึงการป้องกันที่มีการแบ่งเนื้อที่หรือพื้นที่ให้ผู้เล่น
ในทีมรับผิดชอบ ในการควบคุมและป้องกันพื้นที่ของตนเองให้ดีที่สุด สายตาจะต้องจับอยู่ที่ลูกบอลตลอดเวลา
2. การป้องกันแบบคนต่อคน (Man to Man Defense) การป้องกันแบบคนต่อคนหรือตัวต่อตัว คือการ
ป้องกันที่ได้มอบ หมายหน้าที่ให้ผู้เล่นแต่ละคนรับผิดชอบในการป้องกันและควบคุมผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็น
รายบุคคล ผู้เล่นฝ่ายรับจะต้องรับผิด ชอบติดตามฝ่ายรุกคนใดคนหนึ่งตลอดเวลาในสนามแข่งขันเป็นเงาตาม
ตัว เพื่อคอยป้องกัน ซึ่งผู้เล่นฝ่ายรับต้องมองที่ลูกบอลและคู่ของตัวเองตลอดเวลา
ข้อดีของการป้องกันแบบคนต่อคน
1. ผู้เล่นฝ่ายรับจะสามารถป้องกันไม่ให้ฝ่ายรุกเล่นได้สะดวก
2. ผู้เล่นฝ่ายรับสามารถจัดคู่ป้องกันฝ่ายรุกได้เหมาะสมตามความสามารถ
18

3. ผู้เล่นฝ่ายรับสามารถปรับการเล่นของฝ่ายรุกให้เข้ากับสภาพที่ตนเองถนัด เช่น ดึงเกมให้ช้าหรือเร็ว


4. ผู้เล่นฝ่ายรับจะทราบหน้าที่ของตัวเองอย่างแน่นอน สามารถรับผิดชอบหน้าที่อย่างอิสระ
ข้อเสียของการป้องกันแบบคนต่อคน
1. ผู้เล่นจะต้องมีสภาพร่างกายสูง เพราะจะต้องเคลื่อนที่ติดตามฝ่ายรุกตลอดเวลา
2. จะทำให้เกิดการฟาวล์ได้ง่าย มีโอกาสเสียลูกโทษมากที่สุด
3. ผู้เล่นจะถูกบังคับจากฝ่ายรุกได้ง่าย หากมีความคล่องแคล่วและมีความสามารถเฉพาะตัวต่ำกว่า
4. จะต้องอาศัยความสัมพันธ์และการประสานงานของทีมสูงมาก จึงมีโอกาสพลาดได้ง่าย
5. อาจถูกฝ่ายรุกตอบโต้ด้วยการรุกแบบลักไก่ได้ง่าย
3. การป้องกันแบบผสมผสาน (Zone and Man to Man Defense) หมายถึงการป้องกันแบบคนต่อคน
และแบบโซนผสมกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่จำเป็นในการแข่งขันหรือเล่นทีม

ทักษะการเล่นอื่น ๆ
การสกัดกั้นเข้าแย่งลูกบอล (Blocking out and Rebounding )
การเข้าแย่งลูกบอลเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งของการแข่งขัน การแย่งลูกบอลได้หมายความถึง
ผู้เล่นทีมนั้นมีโอกาสพาลูกบอลขึ้นทำประตูฝ่ายตรงข้ามได้ การแย่งลูกบอลได้ดีภายหลังจากอีกทีมหนึ่งยิงประตู
ไม่เป็นผลย่อมส่งปลายและสามารถทำให้ทีมนั้นได้รับชัยชนะ ผู้เล่นที่กระโดดสูงย่อมได้เปรียบต่อการแย่งลูก
บอล แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถเสริมให้การแย่งลูกบอลได้ดีขึ้นนั่นคือ ตำแหน่งการยืนและช่วงจังหวะการ
เข้าแย่งที่ดี รวมถึงการป้องกันมิให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในพื้นที่ที่ลูกบอลจะไปยังตำแหน่งนั้น
การกำบัง ( Screening )
เป็นการป้องกันที่ถูกต้องโดยผู้เล่นฝ่ายรุกยืนด้านข้างหรือด้านหลังของฝ่ายป้องกัน เพื่อกันให้ผู้เล่น
ร่วมทีมที่ครอบครองบอลหลุดจากการป้องกันเพื่อส่งบอล เลี้ยงบอลหรือยิงประตู การกำบังต้องยืนบังตาม
ทิศทางที่ฝ่ายป้องกันจะเคลื่อนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เล่นที่ได้รับการกำบัง หากผู้เล่นที่เข้ากำบังที่ผิด
ตำแหน่งหรือผิดทิศทางประสิทธิภาพของการกำบังลดลงและอาจถูกฝ่ายป้องกันแย่งบอลไปได้
การกำบังแล้วหมุนตัวรับบอล ( Pick and Roll )
เป็นวิธีการผสมผสานระหว่างผู้เล่นกำบังและผู้เล่นร่วมทีมที่ครอบครองบอล หลังจากผู้เล่นทำการ
กำบังแล้วให้หมุนตัวเพื่อเตรียมรับบอลจากการส่งบอลของเพื่อนร่วมทีม หากสามารถยืนตำแหน่งและกระทำ
ได้ ด ี ก ารขึ ้ น ทำประตูส ามารถกระทำได้โ ดยง่ าย การกำบั ง ชนิ ด นี ้ ใ ช้ ม ากเมื ่ อ ผู ้ เล่น ฝ่ า ยตรงข้า มป้ อ งกัน
ลักษณะ man-to-man

ทักษะการเล่นทีม
การเล่นบาสเกตบอลในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรุกหรือฝ่ายป้องกันก็ตาม ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมี
ความสามารความสามารถในการเล่น ได้ท ุ ก ตำแหน่ง หน้ าที ่ จึ ง จะทำให้ท ี ม มีป ระสิท ธิ ภ าพและประสบ
19

ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ในการเล่นบาสเกตบอลเป็นทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน แต่ละฝ่ายจะมีผู้เล่น


ตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบ ตลอดจนคุณลักษณะเฉพาะตำแหน่ง
ตำแหน่งของผู้เล่น (Position of Players)
1. ผู้เล่นหน้าซ้าย หรือเรียกว่าปีกซ้าย (Left Forward) เป็นผู้เล่นที่มีหน้าที่สำคัญที่สุด คือการรุกควร
มีคุณสมบัติเป็นผู้เล่นที่มี ความเร็วสูง มีความคล่องตัวดี มีทักษะต่างๆในการเล่นดี สามารถยิงประตูแบบต่างๆ
ได้ดีแม่นยำ ส่วนใหญ่ถนัดการเล่นด้านซ้าย มากกว่าขวา
2. ผู้เล่นหน้าขวา หรือเรียกว่าปีกขวา (Right Forward) มีหน้าที่และคุณสมบัติเหมือนหน้าซ้าย แต่
ส่วนใหญ่ถนัดการเล่นด้าน ขวามากกว่าซ้าย
3. ผู้เล่นหลังซ้าย หรือเรียกว่าการ์ดซ้าย (Left Guard) เป็นผู้เล่นที่มีหน้าที่สำคัญที่สุด คือการป้องกัน
และเปิดเกมรุก ควรมี คุณสมบัติในการนำลูกขึ้นแดนหน้า เพื่อเปิดเกมรุกอย่างรวดเร็ว ทั้งรับและส่งลู ก
สามารถเลี้ยงลูกได้ดี ยิงประตูระยะไกลได้ แม่นยำ กระโดดแย่งบอลได้ดี ควรมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าผู้เล่นหน้ามี
ความถนัดการเล่นด้านซ้ายมากกว่าขวา
4. ผู้เล่นหลังขวา หรือเรียกว่าการ์ดขวา (Right Guard) มีหน้าที่และคุณสมบัติเหมือนการ์ดซ้าย แต่
ส่วนใหญ่ถนัดการเล่น ด้านขวามากกว่าซ้าย
5. ผู้เล่นกลาง หรือเรียกว่าเซ็นเตอร์ (Center) เป็นผู้เล่นที่มีการเล่นลูกบอลบริเวณพื้นที่ใต้ห่วงประตู
มากที่สุด ทั้งการรุกและป้องกัน ควรมีลักษณะสูงใหญ่ มีการหมุนตัวและสามารถยิงประตูในพื้นที่ใต้ห่วงประตู
ได้แม่นยำ สามารถกระโดดแย่งบอลได้ดี
20

เอกสารอ้างอิง
งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2563. การอบอุ่นร่างกายหรือ
การวอร์มอัพ (Warm Up) สำคัญอย่างไร
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1442. เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567.
นันทรัตน์ ศรีสวัสดิ์. 2560. แนวทางการพัฒนาการสอนกีฬาบาสเกตบอล ตามกระบวนการสอนแบบการ
เรียนรู้เชิงรุก.วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/6347/1/Fulltext.pdf. เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม
2567.
Peak sport Thailand. การยืดเส้นยืดสายก่อนเล่นกีฬา. 2022.
http://www.peaksportthailand.com/news/content/warm-up.html. เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม
2567.
การเล่นเป็นทีม. http://www.digitalschool.club/digitalschool/health3_1/sport3_1/Unit3/3_5.php
เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567.
ทักษะการยิงประตู. 2567. https://www.shutterstock.com/th/image-vector/basketball-player-
ballshooting-position-1400816477 เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2567.

You might also like