You are on page 1of 140

¤Ù‹Á×ͼٌ½ƒ¡Ê͹¡ÕÌÒ

¤Ù‹Á×ͼٌ½ƒ¡Ê͹¡ÕÌÒ»˜¹¨Ñ¡ÊÕÅѵ

คูมือผูฝกสอนกีฬาปนจักสีลัต
§Ò¹¾Ñ²¹Òͧ¤¤ÇÒÁÃÙŒ
¡Í§ÇÔªÒ¡ÒáÕÌÒ
½†ÒÂÊÒÃʹà·ÈáÅÐÇÔªÒ¡ÒáÕÌÒ
¡ÒáÕÌÒáË‹§»ÃÐà·Èä·Â
¾.È. 2559 ËŒÒÁ«×éÍ-¢Ò www.satc.or.th
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

จัดทำ�โดย
กองวิชาการกีฬา
การกีฬาแห่งประเทศไทย
ห้ามซื้อ-ขาย พ.ศ. 2559
1
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

2
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

คำ�นำ�
ค�ำน�ำ
การกี ฬ าแห่ ง ประเทศไทย เป็ น องค์ ก รหลั ก ในการพั ฒ นากี ฬ าไปสู ่ ค วามเป็ น เลิ ศ และ
ในระดับอาชีพ ให้ประเทศเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้น�าทางการกีฬาของเอเชีย ดังนั้น การส่งเสริมบุคลากรให้
เกิดความสนใจในการเล่นกีฬาแล้ว ยังต้องส่งเสริมบุคลากรไปสู่ความเป็นเลิศและระดับอาชีพได้
ต่อไป
ดังนั้น การกีฬาแห่งประเทศไทยจึ ประเทศไทย งได้ได้ดด� า�ำเนิเนินนการจั การจัดดท�ท�าำคูคู่ ม่มื อือฝึ ก สอนกี ฬ าปันจักสีลัต
เพื่อให้เป็นหลักในการฝึกกีฬาชนิดนี้ อันถือได้ว่ามีรากฐานที่สืบเนื่องมายาวนานในประเทศไทย
ให้สู่ความเป็นเลิศ จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติได้สืบไป
หวังเป็นอย่อย่าางยิ
งยิ่งง่ ว่ว่าา คูคู่มม่ ืออื ฝึผูกฝ้ ผูกึ ้ฝสอนกีฬาปั
ึกสอนกี ฬาปันจันกจัสีกสีลลตั ัตจะเป็
จะเป็นนประโยชน์
ประโยชน์ตตอ่ ่อผูผูส้ ้สนใจ ผูฝ้ ้ฝกึ ึกสอน
นใจ ผู
นักกีฬา ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี และขอขอบคุณนางสาวยูวารีเยาะ อับดุลดานิง ผู้เรียบเรียงต้นฉบับ
ตลอดจนผู้มีส่วนสนับสนุนให้คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัตส�าเร็จไว้ในโอกาสนี้

การกีฬาแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2554
2559

3
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

คำ�นำ�
ค�ำน�ำ
ปันจักสีลัต เป็นกีฬาศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวที่ผสมผสานกลิ่นไอแห่งวัฒนธรรมและประเพณี
ดั้งเดิมของประเทศในแถบภูมิภาคแหลมมลายู ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์
และทางตอนใต้ของประเทศไทย ปันจักสีลัตในประเทศไทยยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ทั้งหนังสือ
ที่เกี่ยวกับปันจักสีลัตก็ยังมีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ที่สนใจ
หนังสือ “ปันจักสีลัต (ต่อสู้)” เล่มนี้ เป็นหนังสือซึ่งได้แปลจากต้นฉบับหนังสือชื่อ “Teknik
Dasar Pencak silaT TanDing” ผู้แต่ง คือ KoToT slameT HariyaDi ชาวอินโดนีเซียอดีตผู้ฝึกสอน
ปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นบุคคลผู้เชี่ยวชาญในด้านกีฬาปันจักสีลัต จึงเป็นหนังสือที่ให้
ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคพื้นฐาน เหมาะส�าหรับผู้ที่สนใจ จนสามารถน�าไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ทุกกระบวนท่าเนื่องจากมีภาพประกอบอย่างสมบูรณ์ และจะสามารถส่งเสริมให้เยาวชนหันมาสนใจ
กีฬากันมากขึ้นด้วย
ผู้แปลขอขอบคุณ อาจารย์ oong Maryono ผู้ให้ค�าแนะน�าเกี่ยวกับการแปลหนังสือเล่มนี้
ตั้งแต่เริ่มต้นจวบจนแปลส� าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณ พล.ต.อรรควุฒิ โพธิแพทย์ และ
คณะผู้บริหารสมาคมปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย ซึ่งสนับสนุนเผยแพร่ กีฬาปันจักสีลัตจนเป็น
ที่รู้จักกันโดยทั่วไปในปัจจุบัน
ดิฉันหวังว่า หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ให้ประโยชน์ แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป ได้เข้าใจกีฬา
ปันจักสีลัตและสามารถเล่นกีฬาปันจักสีลัตได้อย่างถูกต้อง จนสามารถพัฒนาการเล่นไปจนถึงระดับ
มืออาชีพต่อไปได้

ยูวารีเยาะ อับดุลดานิง
กรกฎาคม 2553

4
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

คำ�ค�นิำยนิยมม
ผมต้องขอขอบคุณ “ยูวารีเยาะ อับดุลดานิง” (คุณลูกสาวที่ผมมักเรียกชื่อเล่นๆ เธอว่า
“กะยา”) เด็กสาวรุ่นใหม่ผู้มีน�้าใจและเป็นผู้รักกีฬาปันจักสีลัตโดย “ธรรมชาติ” คือทุ่มเทแรงกาย
แรงใจ เวลา ความรู ้ และเสี ย สละยอมละอาชี พ คุ ณ ครู ม าให้ กั บ กี ฬ าปั น จั ก สี ลั ต โดยมิ ไ ด้ ห วั ง
ผลประโยชน์ใดๆ สมาคมเรา (และรวมถึงสังคมกีฬาเมืองไทยในภาพรวม) ต้องการบุคคลากรเช่นนี้
ครับ คือ มีทั้งความ “รู้” ความ “รัก” และเธอก็มีความเอื้ออารี “สามัคคี” กับคนรอบข้างเธอด้วย
ผมจึงต้องขอบคุณเธอโดยธรรมชาติเช่นกัน
ท่านทั้งหลายครับ ความรู้ดังแจ้งอยู่ในต�าราก็จริง แต่ในด้านการกีฬา หากไม่น�าเทคนิค
ทักษะ และ ฯลฯ จากในต�ารามาฝึกฝน มาซ้อม มาปฏิบัติ มาประยุกต์หรือพัฒนาให้เหมาะสมกับตน
จนท�าได้เป็นอัตโนมัติแล้ว สิ่งที่ผู้เขียนต�าราเล่มต้นต�าหรับ (ขออนุญาตกล่าวนาม R.KoToT slameT
HariyaDi) และผู้แปลเป็นต�าราไทย (กะยา/ยูวารีเยาะ) ก็คงจะเสียเวลาเปล่า เพราะยังประโยชน์แค่
เป็นตัวอักษรที่อยู่ในรูปเล่มบนหิ้งเท่านั้น..เรามาเริ่มสร้างเยาวชนของเราให้รักการกีฬากันดีกว่าครับ
ขอแนะน�ากีฬาปันจักสีลัตให้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่อยากให้ลูกหลานของเราหันมาเหลียวดู รวมทั้ง
ผู้ฝึกสอนด้วย เพราะเป็นกีฬาที่สร้างความแข็งแรง ความอดกลั้น ไหวพริบ และที่ส�าคัญ คือเป็นกีฬา
ที่สร้าง “คุณธรรม” ให้กับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินครับ

พลตรี อรรถวุฒิ โพธิแพทย์

5
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ค�คำำนิ�นิยมยม
ในการแข่งขันกีฬา เป้าหมายสูงสุด คือ ชัยชนะ นักกีฬาจึงจ�าเป็นต้องมีการฝึกฝนทักษะ
ยุทธวิธีการเล่น การน�าวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีในด้านต่างๆ มาใช้ในการพัฒนา
ความสามารถทางกีฬา นักกีฬาที่มีทักษะการเล่นที่ดีและถูกต้องจะเป็นปัจจัยส�าคัญที่ส่งผลต่อ
การประสบความส�าเร็จในการแข่งขัน
คู่มือปันจักสีลัตฉบับนี้ จะช่วยเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจมีความรู้และพัฒนาทักษะการเล่น
ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งเพิ่ ม ขึ้ น น� า ไปใช้ ใ นการออกก� า ลั ง กายเพื่ อ สุ ข ภาพ หรื อ ฝึ ก เพื่ อ ความเป็ น เลิ ศ
ก่อให้เกิดชื่อเสียงแก่วงศ์ตระกูลและประเทศชาติต่อไป
ผม หนึ่งในคณะกรรมการบริหารสมาคมปันจักสีลัต ขอขอบคุณ ยูวารีเยาะ อับดุลดานิง
ผู้จัดท�าเอกสารฉบับนี้ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งส�าหรับวงการกีฬาปันจักสีลัต ผมคาดหวังว่าคู่มือ
ฉบับนี้จะสร้างเสริมและพัฒนานักกีฬาปันจักสีลัต ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และยังท�าให้กีฬา
ปันจักสีลัตเป็นที่รู้จักและนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายต่อไป

นายนักรบ ทองแดง
กรรมการบริหารสมาคมปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย

6
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

คำค�ำ�นินิยยมม
ปันจักสีลัต เป็นศิลปะการต่อสู้อีกแขนงหนึ่งที่มีการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ
ทั้งในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน กีฬาแห่งชาติ ชิงแชมป์ประเทศไทย
ที่จัดขึ้นเป็นประจ�าทุกปี นอกจากนั้นปันจักสีลัตบรรจุอยู่ในหลักสูตรของสถาบันการพลศึกษาด้วย
ทุกวันนี้ปันจักสีลัตเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น แต่ในทางกลับกันหนังสือ และต�ารา
เกี่ยวกับปันจักสีลัตมีน้อยมากหรือค่อนข้างจ�ากัด
จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่อาจารย์ยูวารีเยาะ ได้แปลและเรียบเรียงหนังสือ
“ปันจักสีลัต (PencaKsilaT)” ถือได้ว่าเป็นงานที่ท�าได้ยาก เพราะต้องใช้เวลาศึกษา ค้นคว้าและอาศัย
ข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ถือเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการกีฬา

นายวันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต
อดีตผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัตทีมชาติไทย

7
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

คำค��ำนินิยยมม
ปันจักสีลัต เป็นกีฬาต่อสู้ป้องกันตัวของชาวมลายู หรือที่รู้จักกันว่า “ดีกา” ในเขต 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ข องประเทศไทย ปั จ จุ บั น ได้ มี ก ารแข่ ง ขั น ในระดั บ ชิ ง แชมป์ แ ห่ ง ประเทศไทย
ซึ่งแบ่งเป็นรุ่นยุวชนไม่เกิน 14 ปี เยาวชนไม่เกิน 18 ปี และรุ่นประชาชน ทั้งประเภทต่อสู้และร่ายร�า
เนื่ อ งจาก หนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ กี ฬ าปั น จั ก สี ลั ต มี น ้ อ ยในปั จ จุ บั น กระผมจึ ง ขอชื่ ม ชม
น.ส. ยูวารีเยาะ อับดุลดานิง อดีตนักกีฬาปันจักสีลัตทีมชาติไทยประเภทร่ายร�า ที่มีความตั้งใจศึกษา
ค้นหาความรู้เกี่ยวกับกีฬาปันจักสีลัตทั้งในและต่างประเทศ จนได้แปลหนังสือ “ปันจักสีลัต (ต่อสู้)”
เล่มนี้ได้เป็นผลส�าเร็จ ท�าให้เกิดประโยชน์ แก่วงการกีฬาปันจักสีลัต ที่สามารถน�าความรู้จากในต�ารา
เล่มนี้ไปพัฒนาฝีมือตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้

อับดุลเลาะ มะหลี
อดีตนักกีฬาปันจักสีลัตทีมชาติไทย

8
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

สารบัญ
ส�รบั ญ
บทที่ 1 บทน�า 1
ประวัติกีฬาปันจักสีลัต 1
บทที่ 2 ระเบียบการปฎิฏิบัติก่อนการซ้อมกีฬาปันจักสีลัต 7
บทที่ 3 เทคนิคพื้นฐานกีฬาปันจักสีลัต 12
3.1 เทคนิคการนั่งม้ากูดา กูดา (Kuda-kuda) 13
3.2 เทคนิคการร�า ซีกับ ปาซัง (Sikap Pasang) 19
3.3 เทคนิคการก้าวเท้า ลังกะห์ (Langkah) 25
3.4 เทคนิคการหลบ เบลาอัน (Belaan) 29
3.4.1 เทคนิคการหลบ ตังเกสสัน (Tangkisan) 29
3.4.2 เทคนิคการหลบ ฮินดารัน (Hindaran) 43
ทบทวนเทคนิคการหลบเพื่อป้องกันตัว 47
3.5 เทคนิคการออกอาวุธ ซือรังงัน (Serangan) 50
3.5.1 การต่อย ปูโกลลัน (Pukulan) 50
3.5.2 การศอก ซีกูวัน (Sikuan) 61
3.5.3 เทคนิคการเตะ ตึงดังงัน (Tendangan) 64
3.5.4 เทคนิคการเข่า ดึงกูลลัน (Dengkulan) 73
3.6 เทคนิค ล้ม รีดามัน (Redaman) 77
3.6.1 เทคนิคล้มหน้า จาโตฮ ดือปัน (Jatuh Depan) 78
3.6.2 เทคนิคล้มหลัง จาโตฮ บือลากัง (Jatuh Belakang) 80
3.6.3 เทคนิคล้มข้าง จาโตฮ ซ�าเป็ง (Jatuh Samping) 82
3.6.4 เทคนิคล้มม้วนหน้า จาโตฮ ปูโงง (Jatuh Punggung) 84

9
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.7 เทคนิค ท�าล้ม จาโตฮฮัน (Jatuhan) 86


3.7.1 เทคนิคการกวาด ซาปูฮวัน (Sapuan) 86
3.7.2 เทคนิคการหนีบล้ม กุนติงงัน (Guntingan) 94
ทบทวนกระบวนท่าเทคนิคการท�าล้ม 96
3.8 เทคนิคการจับขา ตังกัปปัน (Tangkapan) 99
3.8.1 เทคนิคการจับขาเข้าใน ตังกัปปัน ดาลัม (Tangkapan Dalam) 100
3.8.2 เทคนิคการจับขาออกนอก ตังกัปปัน ลูวัร (Tangkapan Luar) 101
3.9 เทคนิค การท�าล้ม บันเต็งงัน (Bantingan) 102
3.10 เทคนิคถ่วงดุลการท�าล้ม ปืรตาฮันนัน ตืรฮาดับ บันเต็งงัน
(Pertahanan Terhadap Bantingan) 115
นิยามค�าศัพท์กีฬาปันจักสีลัต 122
อ้างอิง 125
ประวัติผู้แปล 126

10
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

บทน�ำ
1 ประวัติควำมเป็นมำของกีฬำปันจักสีลัต
ปันจักสีลัต (PENCAK SILAT) เป็นศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวที่ใช้มือเปล่า รวมทั้งอาวุธประกอบ
การเล่น เช่น กระบอง มีด โซ่ เคียวเกี่ยวข้าว เป็นต้น นอกจากนั้นปันจักสีลัตเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันอย่างเป็น
ทางการ ปันจักสีลัตประเภทต่อสู้ใช้เทคนิคการต่อย การเตะ การท�าล้ม ส�าหรับการแข่งขันปันจักสีลัตประเภท
ร่ายร�า มีทั้งร่ายร�าเดี่ยว (ประกอบด้วยมือเปล่า มีด กระบอง) ร่ายร�าคู่ 2 คน และร่ายร�าทีม 3 คน ใช้ค�าสั่งใน
กระบวนท่าเทคนิค ตลอดจนค�าสั่งในการแข่งขันเป็นภาษามลายู
กีฬาปันจักสีลัต มีหลักฐานยืนยันกันว่ามีแหล่งก�าเนิดที่ประเทศอินโดนีเซีย และได้รับความนิยมกัน
อย่างแพร่หลาย ในเขตภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม รวมทั้ง
ภาคใต้ของประเทศไทย และปัจจุบันปันจักสีลัตได้แพร่หลายและมีการแข่งขันทั่วยุโรปแล้ว
แต่เดิมนั้น ปันจักสีลัตมีการฝึกฝนกันไว้เพื่อป้องกันตัว ฝึกให้เหล่าทหารใช้ป้องกันประเทศ และเพื่อ
ต่อสู้กับสัตว์ร้าย ที่น่าประหลาดใจคือ เทคนิคและกระบวนท่าของปันจักสีลัต เป็นการเลียนแบบจากสัตว์
นานาชนิด เช่น กระบวนท่าสีลัตเสือ ช้าง นกกระเรียน หรือท่าเดินย่องแมว เป็นต้น อย่างไรก็ตามการฝึก
ปันจักสีลัตจะต้องมีสมรรถภาพทางกายและจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยความแข็งแรง (Strength) พลังกล้ามเนื้อ
(Power) ความอดทน (Endurance) ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Flexibility) ความเร็ว
(Speed) ความว่องไว (Agility) และต้องมีสมาธิในการฝึกซ้อม ปัจจุบันปันจักสีลัตเป็นที่รู้จักในนามกีฬา
ศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวและได้รับอนุมัติให้มีการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์
ปันจักสีลัตนานาชาติ ซึ่งท�าหน้าที่ในการเผยแพร่ สนับสนุน รวมทั้งวางกฏ กติ ฎ กา การแข่งขันในปัจจุบัน
การแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ดูจะเป็นการแข่งขัน ปันจักสีลัต ชิงแชมป์โลกที่จะมีการแข่งขันตลอด 2 ปี 1 ครั้ง
แต่ละปีมสี มาชิกร่วมเข้าแข่งขันเพิม่ ขึน้ ทุกปี ล่าสุดมี มมากกว่ ากกว่า 40 ประเทศทัว่ โลก เป็นการแข่งขันทีแ่ ต่ละประเทศ
สมาชิก รอคอยเพื่อการช่วงชิงและครอบครองชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และในทวีปยุโรปมีการจัดการแข่งขัน
กันอย่างต่อเนื่อง ทั้งปันจักสีลัตชิงแชมป์แห่งอังกฤษ ชิงแชมป์แห่งฝรั่งเศส และปันจักสีลัตชิงแชมป์แห่ง
ยุโรปด้วย
ในภูมิภาคเอเชีย กีฬาปันจักสีลัต แข่งขันอย่างเป็นทางการในระดับซีเกมส์ (Sea Games) เอเชี่ยน
อิ น ดอร์ เ กมส์ บาหลี บี ช ปั น จั ก สี ลั ต ชิ ง แชมป์ แ ห่ ง เอเซี ย แปซิ ฟ ิ ก ซึ่ ง ปั จุ บั น เป็ น กี ฬ าที่ นิ ย มกั น มากขึ้ น
นอกจากนี้ทางสมาพันธ์ปันจักสีลัตนานาชาติ ได้ผลักดันกีฬาปันจักสีลัต ให้เข้าเป็นหนึ่งในการแข่งขัน
เอเชี่ยนเกมส์ (Asian Games) จนกระทั่งได้เข้าเป็นกีฬาสาธิตการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ (Asian Games)
ที่ปูซาน ประเทศเกาหลี ปี 2002 ส่วนในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน แม้กระทั่งสิงคโปร์ เริ่มแข่งขันกัน
ตั้งแต่ระดับอนุบาล ระดับมัธยม ระดับเขต ระดับมหาวิทยาลัย ไปจนถึงการแข่งขันต่างชมรม ทั้งนี้แม้ว่า

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 1 1
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ปันจักสีลัตจะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละชมรมมากมายแต่ทุกคนก็ยอมรับที่จะอยู่ภายใต้กฎ ข้อบังคับ หรือภายใต้


กติกาการแข่งขัน มาตรฐานสากลของสมาพันธ์ ปันจักสีลัตนานาชาติ IPSI (Ikatan Pencak Silat Indonesia)
นอกจากการแข่งขันแล้ว กีฬาปันจักสีลตั เป็นทีร่ จู้ กั กันในนาม ศิลปวัฒนธรรมประจ�าของแหลมมลายู
จึงมีการแสดง การละเล่นในทุกพื้นที่ทั่วภูมิภาค อาทิเช่น การแสดงในงานแต่งงาน งานบุญขึ้นบ้านใหม่
ไปจนถึงการเฉลิ
การเฉลิมมฉลองครองราชย์
ฉลองครองราชอัอนั ยิ่งใหญ่ ด้วยเป็นกีฬาที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มายาวนาน ว่าเป็น
กีฬาศิลปะป้องกันที่มีการฝึกด้วยการใช้พลังลมปราณ เพื่อความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถเล่น
ได้ทั้งหญิงและชาย เด็กและผู้สูงอายุ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจผสมผสานไปด้วยความงดงามของ
กระบวนท่าแต่แฝงไปด้วยความรุนแรงและเฉียบขาดตามแบบฉบับของปันจักสีลตั โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูท้ สี่ นใจ
กีฬาประเภทนี้ ต้องได้รับค�าแนะน�าที่ดีจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะต้องฝึกฝนด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง

.
ประโยชน์ของกำรเล่นกีฬำปันจักสีลัต

.
ปันจักสีลัตเป็นกีฬาต่อสู้ป้องกันตัว สามารถใช้ป้องกันตัวจากภัยอันตรายต่างๆ ทั้งจากคน
และจากสัตว์ร้าย
เป็นกีฬาที่ผสมผสานการเคลื่อนไหวต่างๆ มาใช้ร่วมกันทั้งการต่อย การเตะ การทุ่มท�าล้ม
การจับท�าให้ล้ม การวิ่ง การหลบหลีก การกระโดด ฯลฯ ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

.
ให้แข็งแรง ระบบต่างๆ ในร่างกายท�างานและประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย และระบบไหลเวียนของโลหิต

.
ผู้เล่นปันจักสีลัตจะมีไหวพริบดี อารมณ์มั่นคง สมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความ
กล้าหาญ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ และมีการตัดสินใจที่ดีและถูกต้อง
ปันจักสีลัตเป็นกีฬาที่มีกฎ กติกา มารยาทที่ดี ที่ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตาม มีความ
อดทน อดกลั้น มีน�้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

.
ระเบียบและกติกำกำรแข่งขันกีฬำปันจักสีลัต
1. อุปกรณ์กำรแข่งขัน
สนามการแข่งขันเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มจตุรสั ต้องปูพนื้ ด้วยเบาะ ซึง่ มีลกั ษณะราบเรียบไม่ยดื หยุน่
มีความหนาไม่
วามหนา 3-5 เซนติ เ มตร
เกิน 5 เซนติ หรื อแผ่
เมตร หรื ปผ่นนยางสั
ยางสังเคราะห์
ง เคราะห์ มี ค วามกว้
มีความกว้ า ง 10 เมตร
าง 10 เซนติ เมตร
ยาว ยาว 10 เซนติ
เมตร พื
10 เมตร พื้นทีน้ ่ตทีรงกลางมี
ต่ รงกลางมีลลักกั ษณะเป็
ษณะเป็นวงกลมเส้
วงกลมเส้นนผ่ผ่านศู
านศูนย์นกย์ลาง ยาว 8 เซนติ
เมตร
กลาง ยาว 8 เมตร
คือสังเวียนที่ท�าการแข่งขัน (Competition Ring) ซึ่งการแข่งขันผู้แข่งขันต้องแข่งภายใน
บริเวณนี้

2 2 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
.
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

ตรงกลางของสังเวียนทีท่ า� การแข่งขัน จะประกอบด้วยวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เมตร

.
และเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร วงกลมนี้จะเป็นเส้นที่แยกให้ผู้แข่งขันทั้งสองอยู่ห่างกันและ
เตรียมความพร้อมก่อนการเริ่มต้นของการแข่งขัน
มุมทั้งสองของนักกีฬา จะตั้งอยู่ในมุมทแยงของสนามแข่งขัน มีฝ่ายแดงและฝ่ายน�้าเงิน
ส่วนมุมที่เหลืออีกสองมุมเป็นมุมกลาง

แผนผังสนำมแข่งขันปันจักสีลัต

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 3 3
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

..
2. อุปกรณ์ในบริเวณสนำมแข่งขัน ประกอบด้วย

..
ถังน�้า ผ้าเช็ดหน้า และพรมเช็ดเท้า
นาฬิกาจับเวลา

..
ฆ้องหรืออุปกรณ์ซึ่งท�าหน้าที่อย่างเดียวกัน
สัญญาณไฟหรือสัญญาณอื่นๆ ที่ใช้ในการบอกยกแต่ละยก
ไฟสีแดง ไฟสีนา�้ เงิน หรืออุปกรณ์อะไรก็ตามทีส่ ามารถให้สญ
ั ญาณบอกผูช้ นะในการแข่งขัน

..
อุปกรณ์ส�าหรับช่วยเหลือผู้แข่งขัน
3. อุปกรณ์กำรแข่งขัน

.
ชุดแข่งขันกีฬาปันจักสีลัตสีด�า
เครื่องป้องกันร่างกาย
เครื่องป้องกันอวัยวะเพศ (กระจับ)

กำรแบ่งรุ่น ประเภทชำย
รุ่น A ตั้งแต่ 45 กก. ถึง 50 กก.
รุ่น B มากกว่า 50 กก. ถึง 55 กก.
รุ่น C มากกว่า 55 กก. ถึง 60 กก.
รุ่น D มากกว่า 60 กก. ถึง 65 กก.
รุ่น E มากกว่า 65 กก. ถึง 70 กก.
รุ่น F มากกว่า 70 กก. ถึง 75 กก.
รุ่น G มากกว่า 75 กก. ถึง 80 กก.
รุ่น H มากกว่า 80 กก. ถึง 85 กก.
รุ่น I มากกว่า 85 กก. ถึง 90 กก.
รุ่น J มากกว่า 90 กก. ถึง 95 กก.
กำรแบ่งรุ่น ประเภทหญิง
รุ่น A ตั้งแต่ 45 กก. ถึง 50 กก.
รุ่น B มากกว่า 50 กก. ถึง 55 กก.
รุ่น C มากกว่า 55 กก. ถึง 60 กก.
รุ่น D มากกว่า 60 กก. ถึง 65 กก.
รุ่น E มากกว่า 65 กก. ถึง 70 กก.
รุ่น F มากกว่า70 กก. ถึง 75 กก.
การจัดรุ่นเพิ่มเติม ท�าได้โดยการจัดให้แต่ละรุ่นมีน�้าหนักเพิ่มขึ้นต่างกัน 5 กก.
4 4 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

เวลำของกำรแข่งขัน
เวลาในการแข่งขัน การแข่งขันมี 3 ยก เวลาของแต่ละยก 2 นาที และเวลาส�าหรับการพัก ระหว่างยก
1 นาที ประเภทร่ายร�าต้องร่ายร�าทุกกระบวนท่าบังคับภายในเวลา 3 นาที

.
ค�ำสั่งที่ใช้ในกำรแข่งขัน
ค�าสัง่ ว่า “เบอร์ซเี ดีย” (Bersedia) หมายถึง การเตรียมความพร้อม ค�าสัง่ นีใ้ ช้สา� หรับเตือนผูแ้ ข่งขัน

..
กรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ให้เตรียมพร้อม ขณะที่การแข่งขันก�าลังจะ
เริ่มต้น

.
ค�าสัง่ ว่า “มูลาย” (Mulai) หมายถึง เริม่ ได้ ค�าสัง่ นีใ้ ช้เมือ่ ต้องการให้เริม่ แข่งขันหรือแข่งขันต่อไปได้
ค�าสั่งว่า “เบอร์เฮนตี” (Berhenti) หมายถึง หยุด ค�าสั่งนี้ใช้เพื่อหยุดการแข่งขัน

.
ค�าสัง่ ว่า “ปาซัง” (pasang) หมายถึง การจับคู่ ค�าสัง่ นีใ้ ช้เพือ่ ให้ผแู้ ข่งขันจับคูเ่ ตรียมพร้อมแข่งขัน
ตามแบบฉบับของปันจักสีลัต
เสียงฆ้อง เป็นสัญญาณให้เริ่มต้นหรือยุติการแข่งขัน จะมีค�าสั่งให้เริ่มหรือหยุดการแข่งขันควบคู่
ไปด้วย

เป้ำหมำย
เป้าหมาย คือ ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่นักกีฬาสามารถเข้ากระท�าได้ ตามก�าหนด (ยกเว้นคอและ
อวัยวะเพศ) ดังนี้ คือ
- อก
- ท้อง (บริเวณล�าตัวและเหนือขึ้นไป)
- ด้านข้างซ้าย - ขวา ของเอว
- บริเวณหลัง
แขนและขาอาจเป็นเป้าหมายของการเข้ากระท�า เพื่อที่จะให้คู่ต่อสู้ล้มลงได้ หรือหยุดคู่ต่อสู้ แต่การ
กระท�าที่แขนและขาจะไม่ได้คะแนน

.
กำรให้คะแนน
1. หลักกำรให้คะแนน ส�ำหรับกำรแข่งขันจำกเทคนิคของกำรต่อสู้มีดังต่อไปนี้

.
ได้ 1 คะแนน ส�าหรับการต่อสู้ถูกเป้าหมายด้วยการใช้มือ โดยคู่ต่อสู้ไม่ได้หลบหลีกป้องกัน
หรือตอบโต้
ได้ 2 คะแนน ส�าหรับการต่อสู้ถูกเป้าหมายด้วยการใช้เท้า โดยคู่ต่อสู้ไม่ได้หลบหลีกป้องกัน
หรือตอบโต้
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 5 5
.
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

.
ได้ 3 คะแนน ส�าหรับการต่อสู้ใช้เทคนิคการท�าให้ล้ม มีผลท�าให้การล้มสมบูรณ์ ภายใน
5 วินาที

.
ได้ 1+1 คะแนน ส�าหรับการตอบโต้ ป้องกัน หรือ หลบหลีกจากการเข้ากระท�าของคู่ต่อสู้อย่าง
ได้ผล และตามด้วยการเข้ากระท�าถูกเป้าหมาย ด้วยการใช้มือโดยทันที

.
ได้ 1+2 คะแนน ส�าหรับการตอบโต้ ป้องกัน หรือ หลบหลีกจากการเข้ากระท�าของคู่ต่อสู้อย่าง
ได้ผล และตามด้วยการเข้ากระท�าถูกเป้าหมาย ด้วยการใช้เท้าโดยทันที
ได้ 1+3 คะแนน ส�าหรับการตอบโต้ ป้องกัน หรือ หลบหลีกจากการเข้ากระท�าของคู่ต่อสู้อย่าง
ได้ผล และตามด้วยการใช้เทคนิคการท�าให้คู่ต่อสู้ล้มสมบูรณ์โดยทันที

.
2. ระบบเทคนิคกำรให้คะแนน
การใช้มือเข้ากระท�า จะได้คะแนนเมื่อการเข้ากระท�านั้นถูกเป้าหมายด้วยเทคนิค การใช้มือ

.
(ในลักษณะใดก็ได้ที่ไม่ผิดกติกา) ซึ่งการเข้ากระท�านั้นต้องหนักแน่น มีน�้าหนักและมีแรงส่ง
อย่างเห็นได้ชัด
การใช้เท้า หรือขาเข้ากระท�า จะได้คะแนนเมื่อการเข้ากระท�านั้นถูกเป้าหมายด้วยเทคนิค

.
การใช้เท้า (ในลักษณะใดก็ได้ทไี่ ม่ผดิ กติกา) ซึง่ การเข้ากระท�านัน้ ต้องหนักแน่น มีนา�้ หนักและ
มีแรงส่ง อย่างเห็นได้ชัด
การใช้เทคนิคการท�าล้ม จะได้คะแนนเมื่อผู้แข่งขันสามารถท�าให้คู่ต่อสู้ล้มลงโดยสมบูรณ์
ภายใน 5 วินาที นั่นคือ การท�าให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งถูกพื้น เทคนิคการท�าให้ล้มไม่ได้
เกี่ยวกับการปล�า้ การท�าลักษณะนี้ต้องเกิดขึ้นเนื่องจากความพยายามในการที่จะป้องกันตัว
จากการเข้าท�า หรือเกิดขึ้นเนื่องจากมีการเข้าท�าก่อน

กำรตัดสินผู้ชนะกำรแข่งขัน
1. การชนะคะแนน (Wining Score) การตัดสินชนะโดยคะแนน
2. การชนะโดยเทคนิค (Technical Win)
3. การชนะโดยสมบูรณ์ หรือการชนะโดยน๊อคเอาท์ (Absolute Win)
4. การชนะโดยให้ออก (ต้องตีความให้ออกเพราะอะไร) จากการแข่งขัน (Win due to Disqualification)
5. การชนะเนื่องจากคู่แข่งขันมีฝีมือต่างกันมาก (R.S.C.)
6. การชนะเนื่องจากคู่ต่อสู้ไม่มาท�าการแข่งขันที่สนามแข่งขัน หรือชนะโดยได้ผ่าน (Walk Over)

6 6 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลประเทศไทย
ัต

บทที่ 2
1. ระเบียบกำรปฏิบัติก่อนกำรฝึกซ้อมกีฬำปันจักสีลัต
ส�าหรับกีฬาทุกประเภทนั้นจะต้องมีระเบียบการปฏิบัติ หรือกฎกติกาการฝึกซ้อม ทั้งก่อนการซ้อม
ระหว่างการซ้อมและหลังการซ้อม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และป้องกันอุบัติเหตุ รวมทั้งเป็นการเชื่อม
สัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างครูบาอาจารย์และเพื่อนนักกีฬา ภายใต้กฏกติกาที่ได้วางไว้และยอมรับร่วมกัน
กีฬาปันจักสีลัต ก็เช่นเดียวกัน ระเบียบการปฏิบัติก่อนและหลังการซ้อม ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความส�าคัญ
และจ�าเป็นต้องกระท�า จะสามารถสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย จะรู้จักการแสดงความเคารพ ไม่ว่าจะ
เป็นการแสดงความเคารพระหว่างครูกับลูกศิษย์ พี่กับน้อง หรือกระทั่งการแสดงความเคารพระหว่างคู่ซ้อม
ด้วยกันเอง ซึ่งแต่ละทีม หรือชมรมจะมีการวางกฎ ระเบียบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างทีม
ภายในกฎ กติกาการซ้อมส่วนใหญ่ต้องระบุเวลาในการซ้อมอย่างชัดเจน (ซ้อมกี่ชั่วโมงต่อวัน กี่วันต่อ
สัปดาห์) ระบุถึงข้อห้ามและข้อควรกระท�าตั้งแต่ก่อนการซ้อมไปจนถึงเสร็จสิ้นการซ้อม อาทิเช่น ต้องร�าไหว้ครู
ประจ�าชมรมก่อนการซ้อม ต้องแสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ทุกครั้ง ห้ามมาสาย (เมื่อมาสายต้องถูก
ลงโทษ) ห้ามดื่มน�้าหรือรับประทานอาหารในระหว่างการซ้อม(เนื่องจากจะท�าให้เกิดอาการเสียดท้อง) ต้องขอ
อนุญาตผู้ฝึกสอนทุกครั้งเมื่อต้องการลากิจหรือลาป่วย (โดยการโทรแจ้ง หรือมีใบลา หรือแจ้งต่อผู้ฝึกสอน
โดยตรง) เป็นต้น
นักกีฬาจะได้รบั ประโยชน์จากกฎ กติกาการซ้อมได้อย่างมหาศาล ทัง้ ในเรือ่ งของมารยาทในการแสดง
ความเคารพผูท้ อี่ าวุโสกว่า ในเรือ่ งของการตรงต่อเวลา รูจ้ กั หน้าที ่ และความรับผิดชอบ จะส่งผลให้นกั กีฬาเป็น
ผู้ที่มีความเป็นระเบียบ มีวินัย มีมารยาทที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข
ในแต่ละทีม หรือชมรมจะมีการวางกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่แตกต่างกัน จากการที่ผู้เขียนได้ผ่านการ
เป็นนักกีฬาตั้งแต่อยู่ในชมรมเล็กๆ (ชมรมปันจักสีลัตนูซันตาราแห่งประเทศไทย) เป็นนักกีฬาปันจักสีลัตทีม
ชาติไทย จนกระทั่งเป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต ระเบียบข้อบังคับในการซ้อมที่ดี ควรประกอบ
ไปด้วย
1. จัดแถวอย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อย และผู้ฝึกสอนนับจ�านวนผู้เรียน
2. ผู้ฝึกสอนกล่าวน�าให้นักกีฬา หลับตานั่งสมาธิ ก่อนการซ้อม (แต่ละศาสนาอาจกล่าวบทสวด
เพื่อขอพรให้ปลอดภัยจากการซ้อม)
3. อ่านค�าปฏิญาณ ประจ�าชมรม (ถ้ามี)
4. ค�านับ แสดงความเคารพต่อผูฝ้ กึ สอน และจัดแถวให้เป็นระเบียบอีกครัง้ โดยการน�าของผูฝ้ กึ สอน
5. การอบอุ่นร่างกายก่อนการซ้อม (Warm up)
6. ท�าการซ้อมอย่างเคร่งครัด

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 7 7
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

7. อธิบายถึงประโยชน์ของการซ้อมในวันนี้
8. การคลายอุ่นหลังการซ้อม (Cool down)
9. หลังการซ้อมทุกครั้ง ให้แสดงความเคารพและขอบคุณผู้ฝึกสอน โดยวิธีการจับมือ หรือไหว้ จน
กระทั่งแสดงความเคารพต่อเพื่อนนักกีฬาด้วยกันเอง
การอบอุ ่ น ร่ า งกายก่ อ นการซ้ อ ม (Warm up) และการคลายอุ ่ น หลั ง การซ้ อ ม (Cool down)
จะเป็นไปตามการอบอุ่นร่างกายแบบมาตรฐานสากลของ วิทยาศาสตร์การกีฬา หรือหากไม่มีความรู้ด้าน
วิทยาศาสตร์การกีฬา ก็ให้เป็นไปตามประสบการณ์จากการได้เรียนรูส้ บื ต่อกันมา หรือจากผูท้ มี่ คี วามเชีย่ วชาญ
ในกีฬาปันจักสีลัตอย่างแท้จริง

ค�าอธิบาย วิธีการปฏิบัติ การจัดแถว การนั่งสมาธิ การกล่าวค�าปฏิญาณ และการแสดงความเคารพ


ดังนี้
1. วิธีการที่ดีในการจัดแถว คือ โดยปกติแล้วค�าสั่งการจัดแถวของกีฬาปันจักสีลัต ใช้ค�าสั่งที่เป็น
สากล เป็นค�าสั่งเฉพาะ ภาษามลายู (อินโดนีเซีย) ค�าสั่งเพื่อให้นักกีฬาอยู่ในท่าที่พร้อมจะท�าการซ้อม คือ
ค�าว่า ซียับ (siap) เมื่อนักกีฬาได้ยินค�าสั่งนี้จากผู้ฝึกสอนแล้ว ต้องตั้งตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง ขาสองข้างชิดกัน
ปล่อยแขนลงมาชิดล�าตัว หันหน้าไปทางข้างหน้า ค�าสั่งนี้เป็นค�าสั่งเริ่มต้น เพื่อให้นักกีฬาเตรียมพร้อมในการ
รับค�าสั่งต่อไป ค�าสั่ง ซ้ายหัน คือ ลันจัง กีรี (lencang kiri) ขวาหัน คือ ลันจัง กานัน (lencang kanan) กางแขน
คือ รันตังกัน ตางัน (rentangkan tangan) พักอยู่กับที่ คือ อิสตีเรฮัต ดี ตึมปัต (istirahat di tempat)
2. การนั่งสมาธิ คือ การหลับตานั่งสมาธิเพื่อท�าจิตใจให้สงบก่อนการซ้อม อาจจะเป็นการนั่งสมาธิ
เพื่อทบทวนการซ้อมครั้งที่แล้ว หรือการขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้การซ้อมในวันนี้เป็นไปด้วยความปลอดภัย
ปราศจากอุบัติเหตุ การนั่งสมาธิอาจจะหลับตาในขณะที่ยืนโดยให้ขาทั้งสองข้างชิดกัน หรือนั่งขัดสมาธิ ขึ้นอยู่
กับแต่ละทีม หรือชมรมที่จะวางระเบียบการนี้
3. การกล่าวค�าปฏิญาณ (ถ้ามี) คือ แต่ละทีม หรือ ชมรมต้องวางบทบัญญัติ หรือค�าปฏิญาณให้
ทุกคนกล่าว และทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เห็นด้วยกับค�าปฏิญาณนั้น ตัวอย่างค�าปฏิญาณของชมรม
นูซันตารา แห่งประเทศไทย คือ
ก. ข้าพเจ้า จะจงรัก ภักดี ต่อศาสน์ กษัตริย์ และประเทศชาติ
ข. ข้าพเจ้า จะเคารพ ต่อครูบาอาจารย์ และต่อนักกีฬาด้วยกัน
ค. ข้าพเจ้า จะสานต่อกีฬาปันจักสีลัตตราบจนชีวิตจะหาไม่
ง. ข้าพเจ้า จะปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ดังนี้อย่างเคร่งครัด
4. การแสดงความเคารพ คือ การแสดงความเคารพระหว่างผู้ฝึกสอนกับนักกีฬา โดยนักกีฬาควร
แสดงการขอบคุณส�าหรับการสอนในวันนี ้ อาจจะเป็นการจับมือหรือการไหว้ และต้องแสดงความเคารพระหว่าง

8 8 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

นักกีฬาด้วยกัน ขอบใจเพื่อนทุกคนที่ต้ังใจซ้อมจนการซ้อมเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งแต่ละชาติ แต่ละศาสนา


จะแสดงความเคารพที่แตกต่างกันออกไป จะสามารถก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่คณะ เกิดความรักใคร่
สามัคคี เพือ่ ให้ทมี ประสบความส�าเร็จ และสร้างชือ่ เสียงให้แก่ทมี ได้และทีส่ า� คัญการแสดงความเคารพนี ้ ไม่ใช่
แสดงเฉพาะเมือ่ อยูใ่ นระหว่างการซ้อมปันจักสีลตั เท่านัน้ แต่นกั กีฬาต้องแสดงความเคารพทุกครัง้ ทีม่ กี ารพบปะ
เจอหน้ากัน
ก่อนการซ้อมจะเสร็จสิ้น ผู้ฝึกสอนจะต้องสรุปการซ้อมในวันนี้ และอธิบายหัวข้อการซ้อมครั้งต่อไป
ซึ่งการชี้แจงดังกล่าว ผู้ฝึกสอนต้องให้นักกีฬานั่งลง และฟังอย่างตั้งใจ เมื่อถามนักกีฬาก็ต้องตอบด้วยเสียงที่
เด็ดขาด และหนักแน่น และนักกีฬาเองก็สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการซ้อมได้ ทุกคนจะช่วยกันลง
มติในข้อพิพาทในการซ้อมอย่างเป็นประชาธิปไตย

ตัวอย่ำงภำพ ระเบียบ กำรปฏิบัติที่ดี ในกีฬำปันจักสีลัต

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ท่ำ เตรียมซียับ (siap) ท่ำ ไหว้แสดงควำมเคำรพ (hormat khas Pencak Silat)
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 9 9
การกีฬาแห่งประเทศไทย
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

รูปที่ 3
ท่ำนั่งเพื่อเตรียมท�ำสมำธิ (berdoa)

รูปที่ 4
กำรไหว้เพื่อแสดงควำมเคำรพกันและกัน ซึ่งนิยมปฏิบัติทั้งก่อนและหลังกำรซ้อม
กำรแสดงควำมเคำรพเช่นนี้ จะปฏิบัติทุกครั้งเมื่อเจอกันไม่ว่ำจะเป็นในชมรม หรือตำมสถำนที่ต่ำง ๆ
10 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
10
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

รูปที่ 5
กำรจับมือ เช่นนี้ก็เป็นกำรแสดงควำมเคำรพอีกวิธีหนึ่ง เพื่อแสดงควำมเป็นมิตรต่อกัน
และกำรให้เกียรติซึ่งกันและกัน

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 11 11
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

บทที่ 3
3. เทคนิคพื้นฐำน กีฬำปันจักสีลัต
เทคนิคพื้นฐานถือว่าเป็นสิ่งที่จ�าเป็นอย่างยิ่งส�าหรับศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวทุกประเภท เพื่อให้นักกีฬา
สามารถพัฒนาฝีมอื ประสบความส�าเร็จในการแข่งขัน ตลอดจนเป็นทีย่ อมรับของสังคมล้วนแล้วแต่ตอ้ งมาจาก
การมีความรู้พื้นฐานที่สมบูรณ์ นักกีฬาจึงจ�าเป็นที่ต้องมีความพร้อมในด้านเทคนิคพื้นฐาน
การเรียนเกี่ยวกับเทคนิคพื้นฐานปันจักสีลัตที่ดี ผู้เรียนควรที่จะเอาใจใส่และตั้งใจเรียนให้มาก
เพื่อเป็นฐานที่มั่นคงก่อนที่จะเรียนในล�าดับขั้นสูงขึ้น เมื่อเทคนิคพื้นฐานถูกต้องและดีแล้วก็จะสามารถ
แสดงท่าทางได้อย่างสวยงาม ปัจจุบันยังคงมีนักกีฬาหลายท่านที่ยังแสดงท่าทางไม่ถูกต้อง จึงท�าให้ต้อง
เสียคะแนนในการแข่งขัน และเป็นปัญหาทีผ่ ฝู้ กึ สอนต้องวางแผนการซ้อมใหม่ เพือ่ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีก
บางครัง้ การฝึกซ้อมอย่างไม่เข้มงวด เพือ่ ให้นกั กีฬาได้กระบวนท่า แต่มองข้ามความถูกต้องของเทคนิค
พืน้ ฐานอย่างจริงจัง และนักกีฬาเองก็ใช้เทคนิคทีผ่ ดิ ๆ จนติดเป็นนิสยั เพราะนักกีฬาคิดว่าตนจะฝึกให้ได้ทว่ งท่า
อย่างรวดเร็วเลยมองข้ามความถูกต้องไปแล้วนัน้ จะท�าให้นกั กีฬาเสียเวลากลับมาเรียนเทคนิคตัง้ แต่ขนั้ พืน้ ฐาน
กันใหม่อีกครั้ง
ในส่วนของผู้ฝึกสอนเอง การเตรียมการสอนเทคนิคพื้นฐานเป็นสิ่งที่จา� เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้ฝึกสอน
ต้องขยันทบทวนกระบวนท่าพื้นฐานซ�้าแล้วซ�้าเล่า เพื่อให้นักกีฬาสามารถน�ามาใช้จริงได้อย่างอัตโนมัติ
เมื่อนักกีฬามีเทคนิคพื้นฐานที่ดีแล้ว การเรียนการสอนในกระบวนท่าต่อไป จะเป็นสิ่งที่ง่ายและประสบ
ความส�าเร็จได้ตามเป้าหมาย
ปัญหาทีส่ า� คัญของนักกีฬา คือ เมือ่ นักกีฬาใช้กระบวนท่าผิดๆ จนติดเป็นนิสยั และเมือ่ ผูฝ้ กึ สอนต้องการ
ที่จะเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ ผู้ฝึกสอนจึงต้องใช้ความพยายามอย่างสูงและอดทน
เป็นอย่างมากที่จะต้องย้อนกลับมาอธิบายว่า หากเทคนิคพื้นฐานถูกต้องแล้วจะสามารถน�าไปใช้ท�าอะไร?
ท�าอย่างไร? เพื่ออะไร? เป็นสิ่งที่ผู้ฝึกสอนควรค�านึงก่อนฝึกสอนด้วยการอธิบายเหตุผลทุกครั้ง เพื่อนักกีฬา
จะได้ทราบว่ากระบวนท่าไหนมีวตั ถุประสงค์ใด? และน�าไปปฏิบตั จิ ริงอย่างไร? จะสามารถช่วยกระตุน้ ให้นกั กีฬา
ตั้งใจซ้อมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น กระบวนท่านั่งม้าหรือภาษาอินโดนีเซียเรียกว่าท่า กูดา กูดา (kuda kuda)
เป็นเทคนิคพื้นฐานที่ส�าคัญในกีฬาปันจักสีลัต จุดประสงค์ของการซ้อมคือ เราจะมีวิธีการสอนอย่างไรเพื่อให้
ขาทั้งสองข้างอยู่ในต�าแหน่งที่พร้อมจะต่อสู้ สอนอย่างไรให้นักกีฬาเกิดความสมดุลของร่างกาย หรือจะสอน
อย่างไรเพือ่ ให้นกั กีฬาสามารถทนต่อการรับน�า้ หนักของตัวเอง ตลอดจนต้องสอนอย่างไรเพือ่ ให้การนัง่ ม้ามีสว่ น
ให้การเคลื่อนไหวในแต่ละกระบวนท่าว่องไว ดังนั้นท่านั่งม้า กูดา กูดา (kuda kuda) นี้จะช่วยให้นักกีฬา
เกิดความเคยชินกับการเคลื่อนไหวของขาให้สมดุลกับร่างกาย ผู้ฝึกสอนจึงต้องให้ความส�าคัญกับท่านั่งม้า

12 12 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

กูดา กูดา (kuda kuda) เป็นพิเศษ มิฉะนั้นแล้วนักกีฬาจะเกิดอันตรายกับระบบกล้ามเนื้อ ท�าให้เกิดอาการ


ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้
3.1 เทคนิคกำรนั่งม้ำกูดำ กูดำ (kuda-kuda)
กระบวนท่านั่งม้ากูดา กูดา (kuda kuda) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ท่านัง่ ม้า ทีม่ ชี อื่ ทางภาษาอินโดนีเซียว่า ดารีโบบต (dari bobot) คือกระบวนท่านัง่ ม้าจากการ
ถ่ายน�า้ หนักตัวลงทีข่ าทัง้ สองข้าง เพือ่ ให้ขาสามารถรับน�า้ หนักตัวทีก่ า� ลังย่อตัวลง ลักษณะของท่านัง่ ม้าประเภท
นี ้ คือ การย่อเข่าสูง กลาง ต�่า ในการรับน�้าหนักตัวของตนเอง เพื่อที่จะสามารถน�ามาใช้ควบคู่กับท่าทางในการ
เดินหน้า ถอยหลัง หันซ้ายหรือหันขวา เกิดความถูกต้องในการทรงตัวและอยู่ในท่วงท่าที่พร้อมจะต่อสู้
กระบวนท่านั่งม้า ดารีโบบต (dari bobot) มี 3 กระบวนท่า ได้แก่
1.1 กูดา กูดา รีงัน ( kuda-kuda ringan) คือ กระบวนท่าที่ถ่ายน�้าหนักตัวลงมาที่ขาเล็กน้อย
เท่านั้น โดยที่น�้าหนักตัวจะอยู่ที่ล�าตัวมากกว่าที่ขา กระบวนท่านี้เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่ต้องเป็นฝ่ายรุก
(ฝ่ายเข้าหาคู่ต่อสู้) เพื่อจะได้รีบหลบคู่ต่อสู้ได้อย่างรวดเร็ว
1.2 กูดา กูดา เซดัง (kuda-kuda sedang) คือ กระบวนท่านั่งม้าที่เป็นกระบวนท่ามาตรฐาน
การถ่ายน�้าหนักตัวจะถูกถ่ายลงมาที่ขาทั้งสองข้างเท่าๆ กัน เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่เป็นทั้งฝ่ายรับหรือฝ่ายรุก
ก็ได้
1.3 กูดา กูดา บือรัต (kuda-kuda berat) คือ กระบวนท่าที่น�้าหนักตัวถ่ายลงมาที่ขาทั้งสอง
ข้างเหมาะที่จะน�ามาใช้เมื่อเป็นฝ่ายรับ (ฝ่ายรับคู่ต่อสู้)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 13 13
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ภำพประกอบแสดงท่ำทำงนั่งม้ำ กูดำ กูดำ (kuda kuda)

รูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3


กูดา กูดา รีงัน (kuda-kuda กูดา กูดา เซดัง (kuda-kuda กูดา กูดา บือรัต (kuda-kuda
ringan) คือ การทิ้งน�้าหนักตัวลงที่ sedang) คือการทิ้งน�้าหนักตัวลง berat) คือ การทิง้ น�า้ หนักตัวลงทีข่ า
ขาทั้งสองข้าง และยืนตั้งตัวตรง ที่ ข าทั้ ง สองข้ า ง แยกขาพร้ อ ม ทัง้ สองข้าง แยกขาออกให้สามารถ
ขาข้างใดข้างหนึ่งอยู่ด้านหน้าใช้ ย่อเข่าเล็กน้อย ทรงตั ว เพื่ อ รั บ น�้ า หนั ก ตั ว เองได้
เดินหน้าและถอยหลัง ตัวตั้งตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง ดังรูป

14 14 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

2. ท่านั่งม้า ที่มีชื่อทางภาษาอินโดนีเซียว่า กูดา กูดา ดีตินเจา ดารี บึนโตะยา (kuda kuda ditinjau
dari bentuknya) คือ กระบวนท่านัง่ ม้า ทีส่ มาพันธ์ IPSI แห่งอินโดนีเซียได้ก�าหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ของ
กระบวนท่าเพื่อให้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก กล่าวคือ เมื่อต้องการท่าทางที่สวยงามแล้ว ก็จ�าเป็นที่ต้อง
ประกอบไปด้วยท่านั่งม้าซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการให้คะแนนในการแข่งขันมีความยุติธรรมมากที่สุด
กระบวนท่านั่งม้านี้จะใช้กระบวนท่า จากท่าดารีโบบต (dari bobot) ได้แก่ กูดา กูดา รีงัน (kuda-kuda ringan)
กูดา กูดา เซดัง (kuda-kuda sedang) กูดา กูดา บือรัต (kuda-kuda berat) เป็นพื้นฐานหลักในการน�าไป
ประกอบการแสดงท่าทางร่วมกัน ทัง้ การป้องกันตัวจริง การแข่งขันประเภทต่อสู ้ และการแข่งขันประเภทร่ายร�า

กระบวนท่า กูดา กูดา (kuda kuda ) ประเภทนี้สามรถแยกประเภทออกเป็น 4 กระบวนท่า คือ


2.1 กูดา กูดา ดือปัน (kuda kuda depan) คือ ท่านั่งม้าที่ต้องวางขาข้างใดข้างหนึ่งไว้ด้านหน้า
อีกข้างไว้ดา้ นหลัง ขาหลังตึงขาหน้าย่อเข่า พร้อมถ่ายน�า้ หนักตัวไปกับขาด้านหน้าเล็กน้อย และหันหน้าทิศทาง
เดียวกับขาที่อยู่ด้านหน้าแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
2.1.1 ท่า กูดา กูดาดือปัน ลูรุส (kuda-kuda depan lurus)
2.1.2 ท่า กูดา กูดา ดือปันเซรอง (kuuda- kuda depan serong)
2.2 กูดา กูดา บือลากัง (kada-kuda belakang) คือ ท่านั่งม้าที่ต้องวางขาข้างใดข้างหนึ่งไว้
ด้านหน้า อีกข้างไว้ด้านหลัง ขาหน้าและขาหลังงอเข่าเล็กน้อย พร้อมถ่ายน�้าหนักตัวลงไปที่ขาด้านหลัง
2.3 กูดา กูดา ซัมเปง (kuda-kuda samping ) คือ ท่านั่งม้าที่ให้ขาข้างใดข้างหนึ่งอยู่ด้านหน้า
พร้อมงอเข่า และอีกข้างไว้ด้านหลังและเหยียดขาตรง
2.4 กูดา กูดา ตืองะห์ (kuda-kuda tengah) คือ ท่านั่งม้าที่ให้ขาทั้งสองข้างกางออก ย่อเข่าลง
ทั้งสองข้าง พร้อมทิ้งน�้าหนักตัวลงไปที่ขาทั้งสอง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 15 15
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ภำพประกอบแสดงท่ำนั่งม้ำ (kuda kuda)

รูปที่ 1
กูดำ กูดำดือปัน ลูรุส
(kuda-kuda depanlurus)
วางขาข้างใดข้างหนึ่งไว้ด้านหน้า
พร้อมงอเข่าและทิง้ น�า้ หนักตัวลงบริเวณ
เข่ า และนิ้ ว เท้ า ส่ ว นขาด้ า นหลั ง ให้
เหยี ย ดตรงเป็ น แนวเฉี ย งกั บ ล� า ตั ว
ข้อควรระวังคือให้ขาด้านหน้าอยู่บน
เส้นขนานเดียวกันกับขาด้านหลัง และ
หันหน้าไปทิศทางเดียวกับขาด้านหน้า

รูปที่ 2
กูดำ กูดำ ดือปันเซรอง
(kuuda- kuda depan serong)
ลั ก ษณะการวางขาเหมื อ น กู ด า
กูดาดือปัน ลูรุส (kuda-kuda depan
lurus) ทุกประการ แต่จุดที่แตกต่างกัน
คือ ขาด้านหน้าและขาด้านหลังจะไม่อยู่
บนเส้นขนานเดียวกัน แต่จะให้ขาด้าน
หลังวางเป็นเส้นเฉียงกับขาด้านหน้า
เล็กน้อย

16 16 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปันาแห่
จักสีงลประเทศไทย
ัต

รูปที่ 3
กูดำ กูดำ บือลำกัง
(kada-kuda belakang)
วางขาข้างใดข้างหนึ่งไว้ด้านหน้าและ
งอเข่าปล่อยขาตามสบายโดยทิ้งน�้าหนักตัว
ลงเล็กน้อยเท่านัน้ ส่วนขาด้านหลังให้งอเข่า
วางขาหลังห่างจาก ขาหน้าเล็กน้อยและทิ้ง
น�้าหนักตัวลงบริเวณก้นและส้นเท้า ข้อควร
ระวังคือให้ขาด้านหน้าและขาด้านหลังอยู่
บนเส้นขนานเดียวกัน โดยหันหน้าไปทิศทาง
เดียวกับขาด้านหน้า

รูปที่ 4
กูดำ กูดำ ซัมเปง
(kuda-kuda samping)
วางขาข้างใดข้างหนึง่ ไว้ดา้ นหน้าพร้อม
งอเข่า ขาอีกข้างไว้ด้านหลังเหยียดขาตรง
เป็นแนวเฉียงกับล�าตัว กระบวนท่านี้จะทิ้ง
น�า้ หนักตัวไว้ทขี่ าทัง้ สองข้าง ข้อควรระวังคือ
ให้ขาด้านหน้าอยู่บนเส้นขนานเดียวกันกับ
ขาด้านหลัง และให้หนั ข้างล�าตัว (ระหว่างขา
ทั้งสองข้าง)

รูปที่ 5
กูดำ กูดำ ตืองะห์
(kuda-kuda tengah)
แยกขาทั้ ง สองข้ า ง พร้ อ มงอเข่ า ทิ้ ง
น�้าหนักตัวลงที่ขาทั้งสองข้าง หากผู้แสดง
ต้ อ งการให้ ก ระบวนท่ า นี้ ดู ส วยงามแล้ ว
ควรงอเข่าให้มาก ๆ ซึ่งผู้ที่สามารถงอเข่า
ได้มากนัน้ แสดงว่าเป็นผูท้ มี่ สี มรรถภาพของ
ขาสมบูรณ์แข็งแรง และต้องผ่านการซ้อมมา
อย่างหนักจึงจะสามารถแสดงท่าดังนี้ได้
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 17 17
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

กระบวนท่านั่งม้า หรือท่า กูดา-กูดา (kuda-kada) เป็นกระบวนท่านั่งม้าพื้นฐานที่มีความส�าคัญมาก


ส�าหรับกีฬาปันจักสีลัต กล่าวคือ กระบวนท่าทุกท่าของปันจักสีลัตจะสวยงามและสมบูรณ์ได้ด้วยท่านั่งม้า
ไม่ว่าจะเป็นท่าเตะ ท่าต่อย ท่าร่ายร�า ล้วนแล้วต้องใช้ท่านั่งม้าเป็นท่าพื้นฐานทั้งสิ้น ผู้ฝึกสอนจึงต้องให้
ความส�าคัญในการสอนท่านั่งม้าดังกล่าวเป็นอย่างมาก
ในการแข่งขันประเภทต่อสู้ ท่านั่งม้า กูดา-กูดา โบบต (kuda-kada bobot) ประเภท ริงงัน (ringan)
และ สือดัง (sedang) จะเป็นท่าที่นิยมใช้ควบคู่กับกระบวนท่าในท่านั่งม้า กูดา กูดา ดีตินเจา ดารี บึนโตะยา
(kuda kuda ditinjau dari bentuknya) มากที่สุด โดยกระบวนท่านี้นักกีฬาจะทิ้งน�้าหนักตัวลงในระดับที่
เล็กน้อยเท่านั้นท�าให้สามารถใช้ขาเตะคู่ต่อสู้ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และจะสามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้
ได้อย่างว่องไว ด้วยเช่นเดียวกัน
แต่ทา่ นัง่ ม้าประเภท กูดา กูดา บือรัต (kuda-kuda berat) ก็เป็นสิง่ ทีข่ าดไม่ได้โดยเฉพาะในการแข่งขัน
ประเภทต่อสู ้ เนื่องจากว่า หากนักกีฬาสามารถใช้กระบวนท่า กูดา กูดา บือรัต (kuda-kuda berat) ได้อย่าง
แข็งแรงและสมบูรณ์แล้ว นักกีฬาก็จะได้เปรียบคู่ต่อสู้ฝ่ายตรงข้ามในเรื่องพละก�าลังของขาที่เหนือกว่า
กล่าวคือ เมื่อโดนคู่ต่อสู้จับทุ่ม หรือเมื่อโดนคู่ต่อสู้เตะก็จะ แข็งแรง ไม่ล้มได้ง่ายๆ จึงเป็นข้อได้เปรียบส�าหรับ
นักกีฬา ดังนั้นท่านั่งม้า ประเภท กูดา กูดา บือรัต (kuda-kuda berat) ก็เป็นสิ่งที่ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาไม่ควร
มองข้ามเช่
มไม่นไเดี
ด้เยช่วกั
นเดีนยวกัน
ส�าหรับผูฝ้ กึ สอน จ�าเป็นต้องมีความอดทนเป็นอย่างสูงในการสอนกระบวนท่านัง่ ม้า กูดา-กูดา (kuda-
kuda) ทั้งหมด จะต้องหมั่นทบทวนกระบวนท่าอยู่เสมอ ซ�้าไปซ�้ามา ควรสอนให้นักกีฬาเดินหน้า ถอยหลังใน
กระบวนท่านั่งม้าแต่ละประเภทได้อย่างคล่องแคล่ว จะต้องใช้จิตวิทยาในการหาวิธีการสอนที่หลากหลาย
เพือ่ ไม่ให้นกั กีฬาเกิดความเบือ่ หน่ายและมีความสนุกสนานอยากทีจ่ ะซ้อมอยูต่ ลอดเวลา ก่อนทีจ่ ะเปลีย่ นเป็น
กระบวนท่าอื่นๆ ที่ยากยิ่งขึ้นไป
ข้อควรค�านึงของกระบวนท่านั่งม้า กูดา กูดา (kuda-kuda) คือ การวางขาให้ถูกต้อง เพื่อให้สามารถ
วางขาได้อย่างสมดุลกับร่างกาย สมดุลกับการวางแขน (ร่ายร�า) ไปจนถึงมีความสมดุลกับอวัยวะบางส่วน เช่น
หลัง ก้น อก ไหล่ เป็นต้น ดังนัน้ ผูฝ้ กึ สอนต้องหมัน่ ฝึกฝนให้นกั กีฬาน�ากระบวนท่านัง่ ม้า กูดา กูดา (kuda-kuda)
มาใช้ได้อย่างอัตโนมัต ิ เมื่อใช้แล้วจะเกิดท่วงท่าที่มีความสวยงาม ท่วงท่าที่มีความสมดุลกับร่างกาย จึงเป็น
ข้อได้เปรียบที่จะสามารถเอาชนะใจกรรมการ ในการตัดสินการแข่งขันได้

18 18 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

3.2 เทคนิคกำรร�ำซีกัป ปำซัง (Sikap pasang)


ซีกัป ปาซัง (sikap pasang) คือ กระบวนท่าร่ายร�าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ท�าให้ปันจักสีลัตมี
ความแตกต่างจากกีฬาศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวประเภทอื่น ซีกัป ปาซัง (sikap pasang) จะเป็นกระบวนท่าที่มี
การผสมผสานกันระหว่าง ขา แขน และท่านั่งม้ากูดา กูดา (kuda-kuda) น�ามารวมกันเป็นกระบวนท่าที่มีชื่อ
เฉพาะ ทั้งนี้แต่ละชมรมจะมีท่าของซีกัป ปาซัง (sikap pasang) หรือการร่ายร�าแตกต่างกันออกไป
ท่าร่ายร�าทีส่ วยงาม เกิดจากการฝึกฝนกันอย่างสม�า่ เสมอ จนสามารถน�ามาใช้ได้อย่างอัตโนมัต ิ นักกีฬา
สามารถเลื อ กสรรท่ า ร่ า ยร� า ที่ ต นเองถนั ด และชื่ น ชอบมาเป็ น ท่ า ประจ� า ตั ว ในการแข่ ง ขั น ประเภทต่ อ สู ้
ซึ่งเมื่อกระบวนท่าสวยงาม นักกีฬาจะเกิดความมั่นใจไปแล้วเกินครึ่ง ดังนั้นท่าร่ายร�าที่ดีจึงมีอิทธิพลต่อ
ความพร้อมและความมั่นใจทั้งร่างกายและจิตใจของนักกีฬาเป็นอย่างมาก
ชมรมแต่ละชมรม ประเทศแต่ละประเทศจะมีท่วงท่าการร่ายร� าที่ไม่ซ�้าแบบใคร ตัวอย่างเช่น
ชมรม ปันจักสีลัตนูซันตารา ได้ก�าหนดกระบวนท่าร่ายร�าพื้นฐานจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านกีฬาปันจักสีลัต
เป็นกระบวนท่าร่ายร�าประจ�าชมรม ทีม่ ชี มรมแตกสาขาอยูท่ วั่ ทุกมุมโลก ไม่วา่ จะเป็น ชมรมปันจักสีลตั นูซนั ตารา
แห่งประเทศอินโดนีเซีย ประเทศไทย ประเทศฟิลปิ ปินส์ ประเทศเยอรมัน และประเทศอิตาลี เป็นต้น ซึง่ นอกจาก
ชมรมนูซันตาราแล้ว ประเทศอินโดนีเซียผู้เป็นเจ้าต�านานของศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวปันจักสีลัต ก็ยังมีชมรม
ปันจักสีลัตอื่นอีกหลายชมรม ดังนั้นกระบวนท่าร่ายร�าในแต่ละชมรมก็ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 19 19
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

กระบวนท่ำร่ำยร�ำเบื้องต้นที่แต่ละชมรมจะน�ำมำใช้เพื่อเป็นพื้นฐำนเดียวกันมีอยู่ 2 ประเภท คือ


1. ท่าร่ายร�าแบบเปิด (Sikap Pasang Terbuka) คือท่าร่ายร�าที่มือและแขนกางออก และต้องไม่
บดบังร่างกาย
2. ท่าร่ายร�าแบบปิด (Sikap Pasang Tertutup) คือ ท่าร่ายร�าที่มือและแขน ต้องบังร่างกายเพื่อ
ปกป้องร่างกายจากการท�าร้ายของคู่ต่อสู้

รูปที่1 รูปที่ 2
ท่ำร่ำยร�ำแบบเปิด ท่ำร่ำยร�ำแบบปิด
(SikapPasangTerbuka) (Sikap Pasang Tertutup)
กางแขนออก ปล่อยแขนตามสบาย ท่าร่าย แขนทั้ ง สองข้ า งอยู ่ ใ นท่ า ที่ ป ิ ด เพื่ อ ปิ ด บั ง
ร�านีเ้ หมาะทีจ่ ะใช้เพือ่ เป็นท่าล่อลวงคูต่ อ่ สูใ้ ห้เข้ามา ร่างกายส่วนบน พร้อมก้มตัวเอนตัวไปทางข้างหน้า
ประชิดตัว พร้อมเฝ้าคอยการรุกของคู่ต่อสู้อย่าง เล็กน้อย ท่านี้จะใช้ได้ทั้งการเป็นฝ่ายรุกและเป็น
ระมัดระวัง เมื่อคู่ต่อสู้เผลอคิดว่าจะสามารถเข้าถึง ฝ่ายรับ
ตัวได้ง่ายแล้ว จึงค่อยหาทางโต้ตอบ

ท่าร่ายร�าทั้ง 2 ประเภท ดังนี้ นิยมใช้กันมากในขณะท�าการแข่งขันประเภทต่อสู้ เป็นกระบวนท่า


ร่ายร�าก่อนท�าการต่อสู ้ โดยร่ายร�าแบบเปิด ใช้เพื่อหลอกล่อ คู่ต่อสู้ และร่ายร�าแบบปิดใช้เพื่อป้องกันบริเวณ
ล�าตัว
20 20 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

ท่ำร่ำยร�ำพื้นฐำน นูซันตำรำ Nusantara (12 bentuk Sikap pasang Nusantara)

ท่ำที่ 1
เหยียดแขนขวาไปข้างหน้ามือซ้ายก�าหมัด
ยกขึ้นวางบริเวณหู พับศอก (หลังมือหันเข้าหู)
แยกขาออก โดยขาซ้ า ยอยู ่ ห น้ า งอเข่ า
ขาขวาถอยหลังให้ขาตึง ตามองคู่ต่อสู้

ท่ำที่ 2
กางแขนซ้ า ยไปทางด้ า นข้ า ง แขนขวา
พับศอกแบมือวางบริเวณใต้คาง
ยกขาขวา สูงประมาณเข่าซ้าย ตามองคู่ต่อสู้

ท่ำที่ 3
กางแขนออกทั้งสองข้าง แขนขวากางไป
ข้างหน้า (ต�่ากว่าใบหน้า) แขนซ้ายกางออกไป
ข้างหลัง (ชูสูงกว่าศีรษะ)
ขาขวาไขว้หลัง ขาซ้ายงอเข่าเล็กน้อย หันหน้า
มองตามแขนขวา

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 21 21
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ท่ำที่ 4
กางแขนออกทั้ ง สองข้ า งแขนขวากาง
ต�า่ บริเวณเอว แขนซ้ายกางยกสูงขึน้ เหนือศีรษะ
แยกขาออกทั้งสองข้าง งอเข่าเล็กน้อย
หันหน้าตรงตามล�าตัว

ท่ำที่ 5
ยกแขนขวาขึ้นพับศอกตั้งฉากกับใบหน้า
แขนซ้ายปิดล�าตัวมือจับเอว
ขาทั้ ง สองชิ ด ติ ด กั น หั น หน้ า ข้ า งล� า ตั ว
(ทางด้านแขนขวา)

ท่ำที่ 6
กางแขนขวาไปด้ า นข้ า งล�า ตั ว (ต�่ า กว่ า
ใบหน้า) แบบมือหงาย แขนซ้ายพับศอกตั้งมือ
วางใต้คาง
ขาขวาไขว้หน้าขาซ้าย งอเข่าเล็กน้อย ตาม
องคู่ต่อสู้ (หันหลังให้คู่ต่อสู้)

22 22 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

ท่ำที่ 7
แขนขวางอศอก มือขวาก�าหมัด
เข้าหาล�าตัว แขนซ้ายแบมือ วางมือ
บริเวณศอกขวา
แยกขาทั้งสองข้าง งอเข่า ตามอง
ที่ศอกขวา (มองคู่ต่อสู้เมื่อเข้าประชิด
ตัว)

ท่ำที่ 8
แขนขวาจับเข่าขวา แขนซ้ายพับ
งอศอกตั้งฉากเหนือศีรษะ
ขาขวางอเข่าเล็กน้อย ขาซ้าย
แยกออกเหยียดตรง ตามองคู่ต่อสู้

ท่ำที่ 9
แขนขวาพับศอก มือก�าหมัดวาง
บริเวณหู แขนซ้ายพับศอกตั้งฉากปิด
ตัวบริเวณอก
ก้าวขาขวาไปข้างหน้า งอเข่า แยก
ขาซ้ า ยวางด้ า นหลั ง ขาเหยี ย ดตึ ง
หน้ามองคู่ต่อสู้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 23 23
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ท่ำที่ 10
นัง่ ลงโดยขาขวาวางทับบนขาซ้าย
แขนทั้งสองกางออกแขนซ้ายยก
สูง เหนือศีร ษะ แขนขวากางต�่ า กว่า
ใบหน้ า หั น หน้ า มองตามทิ ศ ทาง
แขนขวา (เนื่ อ งจากเป็ น ท่ า แบบนั่ ง
จึงไม่นิยมใช้ในการแข่งขันประเภท
ต่อสู้)

ท่ำที่ 11
นั่ ง ลงโดยขาขวาพั บ เข่ าไป
ข้างหน้า ขาซ้ายวางด้านหลังงอเข่า
เล็กน้อย
แขนซ้ายยกสูงเหนือศีรษะงอศอก
เล็กน้อย แขนขวาวางบนพืน้ (เนือ่ งจาก
เป็นท่าแบบนั่ง จึงไม่นิยมใช้ในการ
แข่งขันประเภทต่อสู้)

ท่ำที่ 12
แขนขวาก�าหมัดวางบริเวณหน้าอก
แขนซ้ า ยเหยี ย ดไปข้ า งหน้ า แบมื อ
งอศอกเล็กน้อย
แยกขาทั้ ง สองข้ า งออก ล� า ตั ว
ตั้ ง ตรง อกผายไหล่ ผึ่ ง ตามองตาม
ทิศทางแขนซ้าย (เป็นท่าร่ายร�าพืน้ ฐาน
ที่นิยมน�ามาใช้มากที่สุด)

24 24 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

3.3 เทคนิคกำรก้ำวเท้ำ ลังกะห์ (Langkah)


การก้าวเท้าเป็นเทคนิคที่ใช้ในการเดินหน้าและเดินถอยหลัง ทั้งนี้ต้องอาศัยความสมดุลของร่างกาย
เท้า และแขน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การก้าวเท้าก็เป็นเทคนิคทีส่ �าคัญไม่แพ้เทคนิคอืน่ ๆ เนือ่ งจากในการแข่งขันไม่วา่ เราจะเป็นฝ่ายรุกหรือ
เป็นฝ่ายรับ การเคลือ่ นไหวของเท้ามีสว่ นส�าคัญมากทีส่ ง่ ผลให้นกั กีฬามีความพร้อมและมัน่ ใจ เพือ่ ให้การแข่งขัน
สมบูรณ์
บ่อยครัง้ ทีก่ ารต่อสูล้ ม้ เหลว ไม่เป็นอย่างทีต่ อ้ งการ ส่วนหนึง่ เนือ่ งจากว่าการก้าวเท้าของนักกีฬายังคง
บกพร่องอยู ่ เมือ่ นักกีฬาไม่มนั่ ใจในการก้าวเท้าของตนเอง ท�าให้คตู่ อ่ สูอ้ กี ฝ่ายสามารถอ่านการเคลือ่ นไหวและ
ตอบโต้ได้ทัน ความผิดพลาดที่นักกีฬาไม่สามารถก้าวเท้าอย่างถูกวิธี ท�าให้ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาต้องกลับมา
ซ้อมเทคนิคการก้าวเท้าอย่างหนักอีกครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เทคนิ ค การก้ า วเท้ า ของกี ฬ าปั น จั ก สี ลั ต จะมี เ ทคนิ ค พื้ น ฐานที่ น�า มาฝึ ก ฝนกั น อย่ า งแพร่ ห ลาย
ส่วนเทคนิคเฉพาะที่แต่ละทีมคิดค้น หรือน�ามาเป็นเทคนิคก้าวเท้าเฉพาะของแต่ละบุคคลนั้น ขึ้นอยู่กับทีมจะ
เป็นผู้สรรหา ทั้งนี้ในบทนี้ต้องขออธิบายถึงเทคนิคพื้นฐานเพื่อเป็นประโยชน์ในการคิดค้นเทคนิคใหม่ๆ และ
ยากยิ่งขึ้นไป

โครงสร้ำงกำรก้ำวเท้ำโดยรวม

1. a.A1-D1 : ก้าวหน้าซ้าย
b. A2-D1 : ก้าวหน้าขวา
c. A1-D2 : ก้าวหลังซ้าย
d. A2-D2 : ก้าวหลังขวา
2. a. A1-B1 : ก้าวข้างซ้าย
b. A2-B2 : ก้าวข้างขวา
3. a. A1-C1 : ก้าวเฉียงหน้าซ้าย
b. A2-C2 : ก้าวเฉียงหน้าขวา
c. A1-C3 : ก้าวเฉียงหลังซ้าย
d. A2-C4 : ก้าวเฉียงหลังขวา

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 25 25
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

1. ก้ำวเท้ำไปข้ำงหน้ำ ลังกะห์ ลูรุส (Langkah lurus)

a. ก้าวหน้าซ้าย (Langkah lurus depan kiri) b. ก้าวหน้าขวา (Langkah lurus depan kanan)

c. ก้าวหลังซ้าย (Langkah lurus mundur kiri) d. ก้าวหลังขวา (Langkah lurus mundur kanan)

2. ก้ำวเท้ำไปด้ำนข้ำง ลังกะห์ ซ�ำเป็ง (Langkah samping)

a. ก้าวข้างซ้าย (Langkah samping kiri) b. ก้าวข้างขวา (Langkah samping kanan)

26 26 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

3. ก้ำวเท้ำเฉียง ลังกะห์ เซรอง (Langkah serong)

a. ก้าวเฉียงหน้าซ้าย (Langkah serong depan kiri) b. ก้าวเฉียงหน้าขวา (Langkah serong depan kanan)

c. ก้าวเฉียงหลังซ้าย (Langkah serong mundur kiri) d. ก้าวเฉียงหลังขวา (Langkah serong mundur kanan)

4. ก้ำวเท้ำ ซีลัง ลังกะห์ เซลัง (Langkah Selang)

a. ก้าวซีลังซ้าย (Langkah Selang depan kiri) b. ก้าวซีลังขวา(Langkah Selang depan kanan)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 27 27
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

5. ก้ำวเท้ำ ปีลิน (Langkah Pilin)

a. ก้าวปีลินซ้าย Langkah Pilin ke kiri b. ก้าวปีลินขวา Langkah Pilin ke kiri

6.ก้ำวเท้ำ ปูตัร (Langkah Putar)

a. ก้าว ปูตัร ซ้าย Langkah Putar ke kiri b. ก้าว ปูตัร ขวา Langkah Putar ke kanan

28 28 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

3.4 เทคนิคกำรหลบเบลำอัน (Belaan)


เทคนิคการป้องกันตัวเป็นเทคนิคทีม่ คี วามจ�าเป็นอย่างยิง่ ทีต่ อ้ งเรียนรูแ้ ละฝึกฝนอย่างถูกวิธี โดยทัว่ ไป
มนุษย์ต้องป้องกันตัวเสมอเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น การต่อสู้เมื่อต้องอยู่ในสภาพเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ย่อมจ�าเป็น
ที่จะต้องป้องกันตัวจากอันตรายนั้นๆ
การตั้งรับที่ดีต้องตั้งรับอย่างมีสติ ตั้งรับอย่างไรให้ปลอดภัย ตั้งรับอย่างไรให้บาดเจ็บน้อยที่สุด และ
ตั้งรับอย่างไรเพื่อสามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทัน เทคนิคการป้องกันตัวหรือการเป็นฝ่ายรับนี้ ถือได้ว่าเป็นเทคนิค
ขั้นสูงและค่อนข้างยาก นักกีฬาจึงต้องหมั่นฝึกซ้อม จนเกิดเป็นทักษะเฉพาะตัว และเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยแล้ว
สามารถน�ามาใช้ได้อย่างอัตโนมัต ิ เช่น คูต่ อ่ สูเ้ ตะขาขวาตรงบริเวณล�าตัว ฝ่ายรับต้องรีบกระโดดสลับขาเข้าทาง
ข้างล�าตัวซ้ายของคูต่ อ่ สูจ้ งึ จะไม่โดนเตะ เป็นต้น แต่หากนักกีฬาไม่เคยฝึกฝนกระบวนท่าหลบหลีกเลย นักกีฬา
จะไม่สามารถหลบได้ทันและส่งผลให้เสียคะแนน และเจ็บตัวอีกด้วย
การแข่งขันกีฬา ปันจักสีลัต ประเภทต่อสู้นั้น หากนักกีฬาสามารถหลบหลีกและตอบโต้ได้ทันเวลา
จะสามารถเพิ่มคะแนนได้ +1 เช่น เมื่อหลบหลีกได้แล้ว และเตะโดนบริเวณล�าตัวคู่ต่อสู้ได้อีก คะแนนที่ควรได้
คือ 1+2 คะแนน เป็นต้น

เทคนิคกำรป้องกันพื้นฐำนหรือกำรหลบหลีกมี 2 ประเภท ได้แก่


3.4.1. เทคนิคกำรหลบ ตังเกสสัน (Tangkisan)
เทคนิค ตังเกสสัน (Tangkisan) เป็นเทคนิคเพือ่ ป้องกันตัว และตอบโต้คตู่ อ่ สู ้ โดยใช้อวัยวะ
ของร่างกาย บริเวณ ล�าตัว แขน และขา
เทคนิค ตังเกสสัน (Tangkisan) พืน้ ฐานทีน่ ยิ มน�ามาใช้ในสนามแข่งขันทัว่ ไป จนถึงสนาม
แข่งระดับนานาชาติ มี ด้วยกัน 6 เทคนิค คือ เทคนิค ตังเกสสัน (Tangkisan) ตือเปส (tepis) กือดิก (gedik)
สีกู (siku) จือปิ๊ด (jepit) ปอตอง (potong) กาลัง (galang) และลูตุด(lutut) เทคนิคการป้องกันตัวพื้นฐานนี้
ถือว่าเป็นเทคนิคที่ส�าคัญอย่างยิ่งส�าหรับนักกีฬา ผู้เขียนจึงมีภาพประกอบเพื่อให้ผู้สนใจสามารถฝึกฝนได้
อย่างต่อเนื่อง และเกิดทักษะอย่างอัตโนมัติในที่สุด ดังนี้

A. ตังเกสสัน ตือเปส (Tangkisan tepis)


เป็นเทคนิคที่ใช้ป้องกันตัวได้ดีเมื่อคู่ต่อสู้เตะเข้าบริเวณล�าตัว ซึ่งอวัยวะที่ใช้ป้องกัน คือ การใช้ฝ่ามือ
ปัดขาคู่ต่อสู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เตะโดนส่วนส�าคัญของร่างกาย
เทคนิคการป้องกันนี้ จะน�ามาใช้ได้ดีในกรณีที่คู่ต่อสู้เตะด้วยท่าเตะ ไซด์ คิก (Side kick) และ
ฟร้อน คิก (front kick) เป็นท่าที่นิยมกันมากในการแข่งขันระดับนานาชาติ เนื่องจากเป็นท่าที่ง่ายต่อการฝึกฝน
และสามารถป้องกันตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่นักกีฬาพึงระวังในการใช้เทคนิค ตือเปส คือ ต้องเก็บนิ้วทุกนิ้วให้ชิดกัน เพื่อป้องกันการกระแทก
จากแรงเตะ ซึ่งอาจจะเกิดการหักของนิ้วได้ ดังภาพประกอบ
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 29 29
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ตังเกสสัน ตือเปส ( Tangkisan tepis)


เทคนิคการซ้อมเพื่อการยืนกับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ยืนด้วยกระบวนท่า กูดา-กูดา ตืองะห์ รีงนั (kuda- แกว่งแขนจากเหนือศีรษะ ลงปัดป้องตัวตามการ
kuda tengah ringan) ชู แ ขนขวาขึ้ น เหนื อ ศี ร ษะ เตะของคูต่ อ่ สู ้ (ส่วนใหญ่การเตะจะประมาณเอวลงมา
นิ้วชิดกันทุกนิ้ว ( ตามองตาม) มือซ้ายก�าหมัดป้องตัว เล็กน้อย) พร้อมทัง้ ให้เปลีย่ นทิศทางของขาทัง้ สองตาม
บริเวณอก การปัดขา (ขาขวาบิดตรง ขาซ้ายงอเข่าเล็กน้อย)
เทคนิคการซ้อมเพื่อการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า
ใช้กระบวนท่า กูดา-กูดา ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3


ขาซ้ายวางข้างหน้า ขาขวาวาง ขาขวาชิดซ้าย ล�าตัวเอียงซ้าย แกว่งแขนป้องตัวจากข้างบน
ข้างหลังย่อตัวลง แขนทั้งสองข้าง เล็กน้อย พร้อมแขนซ้ายกางเหนือ พร้ อ มก้ า วขาขวาไปข้ า งหน้ า
ลง แขนทั
ป้องตัว สายตามองคู่ต่อสู้ ดังรูป ศีรษะ (เตรียมปัด) (ตามองฝ่ามือ)
30 30 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

B. ตังเกสสัน กือดิก (Tangkisan Gedik )


เป็นเทคนิคทีใ่ ช้ปอ้ งกันตัวได้ด ี เมือ่ คูต่ อ่ สูท้ งั้ เตะ และต่อย กล่าวคือเทคนิคนีจ้ ะสามารถรับมือได้ทงั้ เตะ
และต่อย โดยอวัยวะที่ใช้ป้องกันคือ ส่วนล่างของแขน
เทคนิคตังเกสสัน กือดิก (Tangkisan Gedik ) ต้องใช้ความระมัดระวังในการน�ามาใช้ เนื่องจาก
เทคนิคนี้ ต้องใช้แขนส่วนล่างซึง่ เป็นส่วนทีโ่ ดนบริเวณกระดูก หากคูต่ อ่ สูเ้ ตะเข้าอย่างหนักอาจท�าให้เกิดอาการ
บาดเจ็บ จนถึงขั้นแขนหักได้ กระบวนท่าของเทคนิค จะคล้ายเทคนิค ตังเกสสัน ตือเปส (Tangkisan tepis)
ต่างกันตรงที่ ต้องก�าหมัดและป้องตัวโดยใช้บริเวณแขน ส่วนเทคนิค ตังเกสสัน ตือเปส (Tangkisan tepis)
ใช้บริเวณฝ่ามือปัด

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 31 31
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ตังเกสสัน กือดิก (Tangkisan Gedik )


เทคนิคการซ้อมเพื่อการยืนกับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ยืนด้วยกระบวนท่า กูดา-กูดา ซ�าเป็ง รีงนั (kuda- แกว่งแขนจากเหนือศีรษะ ลงป้องตัวบริเวณลิ้นปี่
kuda samping ringan) ก� า หมั ด และชู แ ขนขวา และท้อง (หรือตามความสูงของขาและหมัดของคูต่ อ่ สู้
ขึ้นเหนือศีรษะ ตามองตาม มือซ้ายแบมือป้องตัว ขณะออกอาวุธ) พร้อมทั้งให้เปลี่ยนทิศทางของขาทั้ง
บริเวณอก สองตามแรงแกว่งของการปัด (ย่อเข่าขวาเข่าชี้ตรงไป
ด้านหน้า ส่วนขาซ้ายชี้ไปด้านข้าง)
เทคนิคการซ้อมเพื่อการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า
ใช้กระบวนท่า กูดา-กูดา ตืองะห์ รีงัน Kuda-Kuda tengah serong

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5


ขาซ้ายวางข้างหน้าขาขวาข้าง ขาขวาชิดขาซ้าย ล�าตัวเอียง แกว่งแขนป้องตัวจากข้างบน
หลังย่อตัวลง แขนทั้งสองข้างป้อง ซ้ า ยเล็ ก น้ อ ย พร้ อ มชู แ ขนซ้ า ย พร้ออมก้
พร้ มก้าวขาขวาไปข้
า วขาขวาไป างหน้ตามอง
า ตาม
ตัวสายตามองคู่ต่อสู้ มื อ ก� า หมั ด เหนื อ ศี ร ษะ แขนขวา องตามฝ่
ตามฝ่ า มืามืออ(ใช้
(ใช้ทท่ า่ านั่ งม้าา กูกู ด า-
แบมือป้องตัวระดับอก สายตามอง กูดา ตืองะห์ รีงัน (Kuda-Kuda
ตามหมัด ย่อเข่าเล็กน้อย tengah serong)
32 32 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลประเทศไทย
ัต

C. ตังเกสสัน จือเปด บำวะห์ (Tangkisan Jepit Bawah)


เป็นเทคนิคที่ใช้ป้องกัน อวัยวะส่วนส�าคัญของร่างกาย ในส่วนของบริเวณลิ้นปี่ ท้องน้อย ซี่โครง
ไปจนถึงบริเวณส่วนใบหน้า เนื่องจากเป็นเทคนิคที่สามารถป้องกันการเตะ (Front kick) หรือท่าเตะอื่นๆ
โดยการใช้แขนส่วนล่างทั้งสองข้างป้องกันไม่ให้โดนอวัยวะส�าคัญ
เทคนิคนี ้ นอกจากสามารถป้องกันตัวจากการเตะแล้ว ก็ยงั สามารถโต้ตอบกลับได้ดว้ ยการจับขาคูต่ อ่ สู้
แล้วผลักออกไป หรือจับขาแล้วท�าล้ม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดี การซ้อมด้วยเทคนิคนี้ ควรเป็นการซ้อมแบบคู่ ให้หนึ่งคนเป็นคนเตะและ
อีกหนึ่งคนเป็นผู้รับการตอบโต้ สลับกันไป

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 33 33
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ตังเกสสัน จือเปด บำวะห์ (Tangkisan Jepit Bawah)


เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรยืนกับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ยืนตัวตรงแยกขาเล็กน้อย มือทั้งสองข้างก�าหมัด ออกแรงดันหมัดทั้งสองข้างลงบริเวณเอว หรือ
(หงายขึ้น) วางบริเวณอกใกล้ รักแร้ บริเวณที่คู่ต่อสู้ออกอาวุธ แขนทั้งสองข้างไขว้หนีบขา
คู่ต่อสู้ (บริเวณที่ใช้ป้องกัน คือบริเวณกระดูกแขนใกล้
ข้อมือ)
เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5


ขาซ้ายวางข้างหน้าขาขวาข้าง ขาขวาชิ ด ขาซ้ า ยงอเข่ า ก้าวขาขวาไปข้างหน้า งอเข่า
หลังย่อตัวลง แขนทั้งสองป้องตัว เล็ ก น้ อ ย เอี ย งตั ว ไปทางขวา ขาซ้ายเหยียดตรง (เอียงตัวไปข้าง
สายตามองคู่ต่อสู้ เล็กน้อย ก�าหมัดไว้บริเวณอก หน้า) พร้อมออกแรงดันหมัด
34 34 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

D. ตังเกสสัน ปอตอง (Tangkisan Potong)


เทคนิค ตังเกสสัน ปอตอง (Tangkisan Potong) เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมาก ในการแข่งขันประเภท
ต่อสู้ เนือ่ งจากเป็นเทคนิคทีใ่ ช้ได้งา่ ยและมีประสิทธิภาพ แม้กระทัง่ นักกีฬาทีเ่ ข้าแข่งขันเป็นครัง้ แรกก็มกั จะน�า
เทคนิคนี้มาใช้ในการแข่งขัน
เทคนิคนี้สามารถใช้ป้องกันการเตะได้กับทุกกระบวนท่าเตะ ทั้งการเตะ ไซด์ คิก (Side kick),
ฟร้อน คิก (Front kick), ราวด์ คิก (Round kick) และ แบ๊ก คิก(Back kick) เป็นต้นทั้งนี้ นักกีฬาต้องออกแรง
ป้องกันตั้งแต่บริเวณไหล่ แขนไปจนถึงการเกร็งนิ้วมือ ใช้ส่วนแขนในการรับลูกเตะของคู่ต่อสู้ ดังนั้น นักกีฬา
ควรเกร็งแขน งอศอกเล็กน้อย ห้ามเหยียดแขนตรงเพราะแรงจากการเตะที่หนักแน่นอาจท�าให้แขนหักได้
นักกีฬาควรเกร็งบริเวณข้อมือและนิ้วมือไปพร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันการหักของนิ้วและข้อมือ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 35 35
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ตังเกสสัน ปอตอง (Tangkisan Potong)


เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรยืนกับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ขาชิ ด แขนขวาวางบนแขนซ้ า ย เพื่ อ ป้ อ งกั น แกว่งแขนขวาจากล�าตัวลงล่าง พร้อมแยกขาออก
การเตะหรือต่อยบริเวณล�าตัวบน (ขาซ้ายงอเข่า ขาขวาเหยียดตึง เอียงตัวไปทางขวา)

เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3


ขาซ้
ขาซ้าายวางวางข้
ยวางข้ า งหน้
างหน้าาขาขวา
ขาขวา ขาขวาชิดซ้ายเอียงตัวไปทาง ก้ า วขาขวาไปข้ า งหน้ า และ
ข้างหลังย่อตัวลง แขนทั้งสองข้าง ซ้าย งอเข่าเล็กน้อย มือทั้งสอง ย่ อ เข่ า ขาซ้ า ยเหยี ย ดตึ ง พร้ อ ม
ป้องตัวสายตามองคู่ต่อสู้ ก�าหมัดป้องตัว (แขนขวาอยู่บน แกว่ ง แขนขวาลงล่ า ง แขนซ้ า ย
แขนซ้ายอยู่ล่าง) ดังรูป ป้องอก
36 36 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

E. ตังเกสสัน กำลัง (Tangkisan Galang)


เทคนิค ตังเกสสัน กาลัง (Tangkisan Galang) ใช้บริเวณแขนส่วนล่างตั้งแต่ข้อศอกไปจนถึงหมัด
เป็นอวัยวะป้องกันหรือที่ต้องรับการออกอาวุธจากคู่ต่อสู้
ขณะที่พับศอก และยื่นออกนอกล�าตัว ให้พับศอกท�ามุม 90 องศา ของข้อศอก แกว่งแขนจากข้างล�า
ตัวเข้าป้องกันล�าตัว แขนอีกข้างปิดป้องอก ล�าตัวและเอวหมุนเปลีย่ นทิศทางไปตามแรงแกว่งของแขน (นักกีฬา
ต้องออกแรงเกร็งแขนเข้าหาล�าตัวเพื่อป้องกัน เมื่อคู่ต่อสู้ออกอาวุธ)
แต่เทคนิคนี้ ไม่นิยมน�ามาใช้ในการแข่งขันประเภทต่อสู้ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ใช้ป้องกันการเตะ
หรือต่อยระดับสูง (บริเวณใบหน้า) ซึ่งการแข่งขันประเภทต่อสู้ไม่อนุญาตให้นักกีฬา เตะหรือต่อยสูง เทคนิคนี้
จึงนิยมน�ามาใช้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 37 37
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ตังเกสสัน กำลัง (Tangkisan Galang)


เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรยืนกับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ยกแขนขวาก�าหมัด ยื่นออกจากล�าตัว แขนซ้าย แกว่งแขนจากข้างล�าตัว เข้าในล�าตัวเพื่อป้องตัว
แบมือป้องกันบริเวณอก แยกขาออกเล็กน้อย และบิดเอวตามแรงแกว่ง
เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5


ขาซ้ายวางหน้า ขาขวาวางหลัง ขาขวาชิดซ้ายงอเข่าเล็กน้อย ก้าวขาขวาไปข้างหน้า งอเข่า
ย่ อ ตั ว ลง แขนทั้ ง สองป้ อ งตั ว เอี ย งตั ว ไปทางขวา แขนขวาก� า ขาซ้ายเหยียดตึง เอียงตัวตามขา
ตามองคู่ต่อสู้ หมัด ยื่นออกไปนอกล�าตัว แขน ขวาพร้อมแกว่งแขนขวาจากข้าง
ซ้ายแบมือปิดป้องบริเวณอก ล�าตัวเข้าในล�าตัว แขนซ้ายแบมือ
ปิดป้องอก
38 38 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

F. ตังเกสสัน ซีกู (Tangkisan Siku)


เทคนิค ตังเกสสัน ซีกู (Tangkisan Siku) หรือเทคนิคการป้องกันด้วยการศอก เป็นเทคนิคป้องกันที่
อันตรายส�าหรับคู่ต่อสู้ เนื่องจากเทคนิคการศอกจะใช้แรงของข้อศอกปะทะกับล�าแข้งหรือบริเวณใด ๆ ในส่วน
ของขา จนอาจเกิดอาการช�้าของกล้ามเนื้อ หรือกระดูกร้าว ไปจนถึงขั้นกระดูกแตกหักได้เช่นกัน
ศอกเป็นอวัยวะส่วนทีแ่ ข็งแรงทีส่ ดุ อีกส่วนหนึง่ ของร่างกาย อวัยวะศอกจะเปลีย่ นเป็นอาวุธทีอ่ นั ตราย
ได้หากน�ามาใช้ปอ้ งกันตัวอย่างถูกวิธ ี เทคนิคการป้องกันด้วยการใช้ศอกนี ้ จะใช้แรงเหวีย่ งศอกจากล�าตัว ตัง้ แต่
หัวถึงเอวท�าหน้าทีอ่ อกแรงเหวีย่ งศอก และขาเอียงตามล�าตัว เพือ่ ช่วยให้การป้องกันด้วยศอกแข็งแรง สามารถ
ออกแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นักกีฬาควรใช้ความระมัดระวังในการซ้อม โดยเฉพาะเมื่อต้องซ้อมเข้าคู่ เพราะหากท�าการซ้อมอย่าง
ผิดวิธีอาจเกิดการบาดเจ็บสาหัสได้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 39 39
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ตังเกสสัน ซีกู (Tangkisan Siku)


เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรยืนกับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
แขนขวาพั บ ศอกล� า ตั ว เอี ย งข้ า ง มื อ ก� า หมั ด ออกแรงแกว่งศอกขวา แตะฝ่ามือซ้าย (ตัวและ
แขนซ้ายแบมือแตะหมัดขวา ขาขวางอเข่าเล็กน้อย เอวหมุนตามแรงแกว่งศอก) เปลีย่ นทิศทางขา (ขาซ้าย
ขาซ้ายเหยียดตรง งอเข่าเล็กน้อยขาขวาเหยียดตรง)
เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5


ขาซ้ายวางหน้า ขาขวาวางหลัง ขาขวาชิดขาซ้ายย่อเข่าเล็กน้อย ขาขวาก้ า วไปข้ า งหน้ า และ
ย่อตัวลง แขนทั้งสองข้างป้องตัว เอี ย งตั ว ไปทางซ้ า ย แขนซ้ า ย งอเข่า ขาซ้ายเหยียดตึง พร้อมศอก
สายตามองคู่ต่อสู้ งอศอกก� า หมั ด มื อ ขวางอศอก ด้ ว ยศอกซ้ า ย (แกว่ ง ศอกจาก
แบมือปิดหมัดซ้าย ด้านข้างเข้าในล�าตัว และมือขวา
แบมือปิดศอกซ้าย)
40 40 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

G. ตังเกสสัน ลูตุด (Tangkisan Lutut)


เทคนิค ตังเกสสัน ลูตุด (Tangkisan Lutut) เป็นเทคนิคที่ใช้ เข่าและหน้าแข้ง รับลูกเตะของคู่ต่อสู้ ซึ่ง
บริเวณนีเ้ ป็นบริเวณกระดูกทีน่ อกจากจะสามารถป้องกันตัวได้แล้ว ก็ยงั สามารถเป็นอาวุธตอบโต้ คูต่ อ่ สูไ้ ด้เช่น
เดียวกับเทคนิคการตอบโต้ด้วยศอก
เข่า และหน้าแข้งเป็นกระดูกที่แข็งแรง เป็นอวัยวะที่สา� คัญส�าหรับการเดิน ของร่างกายมนุษย์ แต่ก็
เป็นอวัยวะที่แตกหักได้ง่าย หากเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ดังนั้น ก่อนการซ้อมด้วยเทคนิคนี้ นักกีฬาควร
เตรียมความพร้อมส�าหรับการซ้อมอย่างระมัดระวัง ต้องหมั่นฝึกซ้อมอย่างจริงจังเพื่อให้เข่าและหน้าแข้งแข็ง
แรงก่อนที่จะน�าไปใช้ในสนามแข่งขัน หรือเพื่อป้องกันตัว
การฝึกซ้อม เพื่อให้เข่าและหน้าแข้งเกิดความแข็งแรงท�าได้ด้วยการเข้าคู่กับเพื่อนอย่างสม�่าเสมอ
เบื้องต้น นักกีฬาจะเกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อส่วนเข่าและหน้าแข้ง เนื่องจากยังไม่เคยเกิดการปะทะ
แต่เมื่อเข้าคู่กับเพื่อนอย่างสม�่าเสมอกล้ามเนื้อส่วนนี้จะเกิดความเคยชิน และแข็งแรง สามารถรับแรงปะทะ
จากการเตะได้ดีขึ้น
การป้องกันเพื่อให้นักกีฬาบาดเจ็บน้อยที่สุดจากการซ้อมด้วยเทคนิคนี้ ท�าได้ด้วยการนวดยาร้อน
ครีมร้อน หรือน�้ามันร้อน เช่น น�้ามันมวย เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกและอาการบาดเจ็บจะรู้สึกทุเลาลงได้
เทคนิค ตังเกสสัน ลูตุด (Tangkisan Lutut) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทคนิค ตังเกสสัน ลูตุด
ดารีลูวัร กือดาลัม (Tanglisan Lutut dari luar ke dalam) คือเทคนิคการเข่าโดยเหวี่ยงขาจากนอกเข้าในล�าตัว
และเทคนิค ตังเกสสัน ลูตุด ดารี ดาลัม กือ ลูวัร (Tanglisan Lutut dari dalam ke luar) คือ เทคนิคการเข่าโดย
เหวี่ยงขาจากในออกนอกล�าตัว
ข้อควรระวังส�าหรับการฝึกซ้อมด้วยเทคนิคนี ้ คือ ระวังอย่าใช้หน้าแข้งปะทะกับบริเวณหัวเข่า หรือหน้า
แข้งปะทะกับหน้าแข้งโดยเฉพาะส่วนกลางหน้าแข้ง ซึ่งเป็นส่วนกระดูกที่แข็งแรงที่สุด และเป็นส่วนที่สามารถ
แตกหักได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้นนักกีฬาควรใช้บริเวณข้างแข้งซึ่งเป็นส่วนที่มีกล้ามเนื้อหนา เป็นส่วนที่รับการ
ปะทะ หรือส่วนที่รับการออกอาวุธ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 41 41
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ตังเกสสัน ลูตุด (Tangkisan Lutut)


ดำรี ลูวัร กือดำลัม (dari luar ke dalam) คือ กำรเหวี่ยงจำกนอกเข้ำในล�ำตัว

รูปที่ 1 รูปที่ 2
พับขาขวายกขึน้ โดยให้เข่าตัง้ สูงกว่าเอวเล็กน้อย เหวี่ยงขาขวาจากข้างล�าตัวเข้าในล�าตัว(เพื่อรับ
ข้อเท้าเหยียดลงนิ้วเท้าชี้พื้น (ขาซ้ายเหยียดตรงรับน�้า การปะทะ) มือขวาก�าหมัด มือซายแบมื
้ อป้องตัว ดังรูป
หนักร่างกาย) มือขวาก�าหมัดมือซ้ายแบมือ ป้องตัว

ตังเกสสัน ลูตุด (Tangkisan Lutut)


ดำรี ดำลัม กือลูวัร (dari dalam ke luar) คือ กำรเหวี่ยงจำกข้ำงในออกนอกล�ำตัว

รูปที่ 3 รูปที่ 4
พับขาขวายกขึ้นตรงล�าตัวหันเฉียงไปทางซ้าย เหวี่ยงขาขวาจากในล�าตัวออกนอกล�าตัว พับขา
เข่าตั้งสูงกว่าเอว (ข้อขาเหยียดตรงนิ้วชี้พื้น) มือขวา ท�ามุมเฉียงกับล�าตัว ขาซ้ายงอเข่าเล็กน้อย มือขวา
ก�าหมัด มือซ้ายแบมือป้องตัว ก�าหมัด มือซ้ายแบมือป้องตัว ดังรูป
42 42 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

3.4.2 เทคนิคกำรหลบ ฮินดำรัน (Hindaran)


เทคนิค ฮินดารัน (Hindaran) คือเทคนิคการป้องกันตัวด้วยวิธีการหลบหลีกคู่ต่อสู้ ใช้ใน
การหลบหลีกเมือ่ คูต่ อ่ สูเ้ ข้าประชิดตัว โดยอาศัยปฏิภาณไหวพริบ ในการสังเกตุการเคลือ่ นไหวของคูต่ อ่ สู ้ นักกีฬา
จึงต้องอาศัยความคล่องตัวของร่างกายในการเคลื่อนไหว เพื่อให้สามารถหลบหลีกได้อย่างคล่องแคล่วและ
ตอบโต้ได้อย่างว่องไว
ผู้ฝึกสอน ต้องเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายในส่วนของความคล่องตัว เช่น การวิ่งอยู่กับ
ที่แต่สลับขาซ้ายขวาให้ไว การวิ่งขึ้นบันได(ขั้นบันไดขนาดเล็กเพื่อสลับขาได้คล่องแคล่ว) เป็นต้น
พื้นฐาน เทคนิค ฮินดารัน(Hindaran) ได้แก่ อีโกสัน (Egosan), อีละกัน (Elakan) และ
กือลิตัน (Kelitan) ดังนี้

A. อีโกสัน (Egosan)
เทคนิค อีโกสัน (Egosan) เป็นเทคนิคการหลบด้วยการใช้ขาทัง้ สองข้างสลับขาหลบเพือ่ เปลีย่ นทิศทาง
ของร่างกาย
เทคนิค อีโกสัน (Egosan) เป็นเทคนิคที่ง่ายต่อการน�าไปใช้ ไม่ยุ่งยากหลบด้วยทิศทางการสลับขา
ที่ไม่ซับซ้อน และสามารถหลบได้ไกลจากคู่ต่อสู้ นักกีฬาสามารถถอยหลบแบบตรงหรือหลบแบบเฉียงก็ได้
แม้ผู้เริ่มต้นเรียนก็สามารถน�ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิคการหลบ สามารถน�ามาใช้ได้กับทุกกระบวนท่าเตะ ไม่ว่าคู่ต่อสู้จะเตะด้วยกระบวนท่าใดก็จะ
สามารถหลบได้ทนั ดังนัน้ นักกีฬาควรฝึกซ้อมเทคนิคการหลบอย่างสม�า่ เสมอ รวมทัง้ ฝึกซ้อมกระบวนท่าในการ
โต้ตอบหลังจากที่คู่ต่อสู้เข้าประชิดตัว การตอบโต้ต้องตอบโต้อย่างรวดเร็วจึงจะสามารถเห็นผลได้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 43 43
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

เทคนิค กำรหลบ อีโกสัน (Egosan)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ตั้งท่า พร้อมปะทะ หน้ามองคู่ต่อสู้ เมื่ อ คู ่ ต ่ อ สู ้ ย กขาพร้ อ มเตะ นั ก กี ฬ ายกขาขวา
เตรียมถอยหลัง สายตามองขาคูต่ อ่ สูม้ อื ทัง้ สองป้องตัว

รูปที่ 4 รูปที่ 3
เมื่อคู่ต่อสู้ยืดขาเตะ นักกีฬารีบหลบถอยหลัง ถอยหลั ง ด้ ว ยการวางขาขวาไขว้ ห ลั ง ขาซ้ า ย
โดยก้าวขาซ้าย ยาวๆ หนึ่งก้าวและงอเข่า ขาขวา สายตามองขาคู่ต่อสู้
เหยียดตรง เอียงตัวไปตามขาซ้าย
44 44 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

B. อีละกัน ( Elakan)
เทคนิค การหลบอีละกัน( Elakan) เป็นเทคนิคการหลบด้วยการใช้ขาหลบเพียงข้างเดียวเพื่อเปลี่ยน
ทิศทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย
เทคนิคการหลบนี้จะเป็นเทคนิคการหลบที่ยากกว่าเทคนิคการหลบ อีโกสัน (Egosan) แต่ข้อดีของ
เทคนิคนี้ คือ เป็นเทคนิคที่สามารถหลบหลีกได้ทั้งการต่อยและการเตะ และหลบได้ไม่ไกลจนเกินไป นักกีฬา
จึงสามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทัน
เทคนิคนี้ ต้องใช้ขาข้างเดียวหลบหลีกคู่ต่อสู้ นักกีฬาต้องเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายในส่วนของ
การเคลื่อนไหว ความคล่องแคล่วว่องไว ปฏิกิริยาตอบสนอง รวมทั้งความอ่อนตัว

เทคนิค กำรหลบอีละกัน (Elakan)

รูปที่ 1
ตั้งท่า เตรียมพร้อม หน้ามองคู่ต่อสู้

รูปที่ 2 รูปที่ 3
เมือ่ คูต่ อ่ สูย้ กขาพร้อมเตะ ให้ยกขาขวาเตรียมถอย คู่ต่อสู้ยืดขาเตะแล้ว หลบด้วยการยกขาขวาวาง
วางข้างหลัง ข้างหลังทันที(ขาขวางอเข่า ขาซ้ายเหยียดตรง เอียงตัว
ไปตามขาซ้าย)
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 45 45
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

C. กือลิตัน (Kelitan)
เทคนิคการหลบ กือลิตัน (Kelitan) คือเทคนิคการหลบด้วยการใช้การเอียงขาเพื่อเปลี่ยนทิศทางของ
ร่างกาย เพื่อเอียงล�าตัวหลบการเตะของคู่ต่อสู้ เทคนิคนี้ ยังไม่ค่อยนิยมน�ามาใช้ในการแข่งขัน เนื่องจากไม่
สามารถหลบคูต่ อ่ สูไ่ ด้ไกลมากนัก เป็นการเสีย่ งทีจ่ ะหลบไม่ทนั แต่หากนักกีฬาฝึกฝนจนเกิดความคล่องตัวแล้ว
การหลบด้วยเทคนิคนี ้ จะเป็นการหลบทีด่ มี าก เนือ่ งจากนักกีฬาสามารถโต้ตอบได้ถงึ ตัวคูต่ อ่ สูม้ ากกว่าเทคนิค
การหลบประเภทอื่น ๆ
นักกีฬาต้องใช้ความไวของปฏิกิริยาตอบสนอง ใช้สมาธิ รวมทั้งความคล่องตัวของขาโดยเฉพาะเข่า
และล�าตัวต้องเอียงตัวเพื่อหลบการเตะของคู่ต่อสู้

เทคนิคกำรหลบ กือลิตัน (Kelitan)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ตั้งท่า เตรียมพร้อม หน้ามองคู่ต่อสู้ เมือ่ คูต่ อ่ สูย้ กขาเตะ นักกีฬาหลบด้วยการเอียงตัว
ไปทางด้านหลัง ขาซ้ายงอเข่า ขาขวาเหยียดตรง
ยกปลายขา เอียงหลังตามขาซ้าย

46 46 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลประเทศไทย
ัต

ทบทวนเทคนิคกำรหลบเพื่อป้องกันตัว

รูปที่ 1
การซ้ อ มเทคนิ ค ป้ อ งกั น ตั ว ตั ง เกสสั น กาลั ง
(Tangkisan kalang) นักกีฬาควรเอียงล�าตัวและเอว
ตามการแกว่งของแขน แขนที่ป้องกันควรเป็นข้างตรง
ข้ามกับขาที่ก้าวไปข้างหน้า เพื่อความสะดวกต่อการ
ตอบโต้

รูปที่ 2
การซ้อมเทคนิคป้องกันตัว ตังเกสสัน ปอตอง
(Tangkisan Potong) นักกีฬาควรฝึกซ้อมด้วยการ
งอศอกเล็กน้อย ไม่ควรเหยียดแขนตรง เพราะแรงเตะ
ที่หนักแน่น อาจท�าให้แขนหักได้ แขนที่ใช้ป้องกันควร
เป็นข้างเดียวกันกับขาที่ก้าวไปข้างหน้า

รูปที่ 3
การซ้อมเทคนิคป้องกันตัว ตังเกสสัน จือเปด
บาวะห์ (Tangkisan Jepit Bawah) นักกีฬาควร
ฝึกซ้อมโดยใช้บริเวณกระดูกข้อมือด้านบนในการ
ป้ องกั น ใช้ ใ หล่ ช ่ วยกดขาคู ่ ต ่ อสู ้ งอศอกเล็ก น้ อย
จะสามารถเพิ่มแรงกดได้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 47 47
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

รูปที่ 4
การซ้ อ มเทคนิ ค ป้ อ งกั น ตั ว ตั ง เกสสั น ซี กู
(Tangkisan Siku) นักกีฬาควรฝึกซ้อมการศอกเข้า
บริเวณข้อเท้าของคู่ต่อสู้ หรือบริเวณกลางหน้าแข้ง
เพราะเป็นบริเวณกระดูกที่มีกล้ามเนื้อหุ้มเพียงเล็ก
น้อยเท่านั้น เมื่อเกิดการปะทะ จะเกิดอาการเจ็บง่าย
หรือบาดเจ็บถึงขั้นกระดูกร้าวหรือแตกหักได้

รูปที่ 5
การซ้ อ มเทคนิ ค ป้ อ งกั น ตั ว ตั ง เกสสั น กื อ ดิ ก
(Tangkisan Gedik) นักกีฬาควรฝึกซ้อมด้วยการเกร็ง
แขน ชูแขนก�าหมัดเหนือศีรษะดึงจากบนลงมาป้องกัน
การเตะ ให้โดนบริเวณข้อเข่าของคู่ต่อสู้ ล�าตัวและ
เอวเอี ย งตามแขน ควรย่ อ เข่ า เล็ ก น้ อ ยเพื่ อ ให้ ก าร
ออกแรงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รูปที่ 6
การซ้อมเทคนิคป้องกันตัว ตังเกสสัน ตือเปส
(Tangkisan Tepis) นักกีฬาควรฝึกซ้อมด้วยการปัดขา
โดยใช้บริเวณ ฝ่ามือปัดขาคู่ต่อสู้ นิ้วมือชิดติดกัน
งอศอกเล็กน้อยเพือ่ ป้องกันการหักจากการเตะ ตัวและ
เอวเอียงตามการปัด แขนที่ใช้ปัดควรเป็นแขนข้าง
ตรงกันข้ามกับขาซึ่งก้าวไปข้างหน้า เพื่อสามารถ
ตอบโต้ได้ง่าย

48 48 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปันาแห่
จักสีงลประเทศไทย
ัต

รูปที่ 7
การซ้อมเทคนิคป้องกันตัว ตังเกสสัน ลูตุด ดาลัม
กือลูวัร (Tangkisan Lutut Dalam ke Luar ) นักกีฬา
ควรฝึ ก ซ้ อ มด้ ว ยการหมั่ น เหวี่ ย งขาจากในล� า ตั ว
ออกนอกล� า ตั ว เพื่ อ ให้ ก ระดู ก บริ เ วณสะโพกเกิ ด
ความเคยชิน และหมั่นเข้าคู่กับเพื่อนเพื่อรับการเตะ
จนกล้ า มเนื้ อ และกระดู ก หน้ า แข้ ง เคยชิ น กั บ การ
โดนปะทะ

รูปที่ 8
การซ้อมเทคนิคป้องกันตัว ตังเกสสัน ลูตดุ ลูวรั กือ
ดาลัม (Tangkisan Lutut Luar ke Dalam) นักกีฬา
ควรฝึกซ้อมด้วยการหมั่นเหวี่ยงขาจากนอกล�าตัวเข้า
ในล�าตัว เพือ่ ให้กระดูกบริเวณสะโพกเกิดความเคยชิน
เช่นเดียวกับการซ้อม เทคนิคป้องกันตัว ตังเกสสัน
ลูตุด ดาลัม กือลูวัร (Tangkisan Lutut Dalam ke
Luar)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 49 49
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.5 เทคนิคกำรออกอำวุธ ซือรังงัน (Serangan) ดังนี้


3.5.1 กำรต่อย ปูโกลลัน (Pukulan)
คือ เทคนิค การใช้หมัดต่อยคู่ต่อสู้ (การแข่งขัน ปันจักสีลัต ประเภทต่อสู้ใช้หมัดต่อย ได้ 1 คะแนน)
แต่ทั้งนี้ ก่อนที่นักกีฬาจะไปเรียนรู้ ประเภทของกระบวนท่าต่อย นักกีฬาควรจะเรียนรู้ วิธีการก�าหมัดอย่าง
ถูกวิธีก่อน เนื่องจากการก�าหมัดอย่างถูกวิธีจะช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการต่อย และท�าให้กระบวนท่าต่อย
แต่ละกระบวนท่าถูกต้อง สมบูรณ์
ก่อนที่จะเรียนรู้เรื่องกระบวนท่าต่อยแต่ละกระบวนท่า อันดับแรก นักกีฬาควรเริ่มจากการกางนิ้ว
การพับนิ้ว การก�าหมัดอย่างถูกวิธี ก่อนออกแรงต่อยหมัด และเริ่มฝึกฝนด้วยการต่อยแบบอยู่กับที่ ต่อด้วย
การต่อยแบบก้าวไปข้างหน้า
ในส่วนของความแข็งแรงในการต่อย นักกีฬาสามารถสร้างสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงได้ด้วย
วิธีการวิดพื้น เช่น วิดพื้นแบมือ วิดพื้นด้วยนิ้วมือ วิดพื้นยกตัวตบมือและวิดพื้นด้วยแขนข้างเดียว เป็นต้น

50 50 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปันาแห่
จักสีงลประเทศไทย
ัต

มึนบึนตุก กือปัลลัน (Membentuk Kepalan)


เทคนิค กำรก�ำหมัด

รูปที่ 1
แบมือ นิ้วชิดติดกัน นิ้วโป้งชี้ขึ้น

รูปที่ 2
พับนิ้วทั้ง 4 นิ้ว เข้าหาข้อพับกลางนิ้ว

รูปที่ 3
พับนิ้วอีกครั้ง ให้ชิดติดฝ่ามือ

รูปที่ 4
นิ้วโป้งกดทับนิ้วชี้ และนิ้วนาง พร้อมออกแรงก�าหมัด
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 51 51
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

กือซำละห์ฮัน อูมุม (Kesalahan Umum)


กำรก�ำหมัด ผิดวิธี

รูปที่ 1
หงายหมัดขึน้ เลยข้อมือ เมือ่ ต่อยด้วยหมัด
ดั ง นี้ อาจเกิ ด อาการบาดเจ็ บ ไปจนถึ ง
ข้อมือซ้น หรือหักได้

รูปที่ 2
หมัดคว�่าลง ต�่ากว่าข้อมือ เมื่อ
ต่อยด้วยหมัด ดังนี ้ อาจเกิดอาการบาดเจ็บ
ไปจนถึง ข้อมือซ้น หรือหักได้ เช่นกัน

รูปที่ 3
การต่อยอย่างถูกวิธี คือ การก�าหมัดเป็น
แนวตรงกับแขน พับข้อศอกเล็กน้อย แขน
และไหล่ (ช่วยในการออกแรงต่อยหมัด)

เมือ่ ต่อยหมัดนักกีฬาไม่ควรต่อยหมัดด้วยการเหยียดแขนตรง โดยไม่งอศอก และไม่ควรใช้ขอ้ พับศอก


เป็นส่วนของการออกแรงต่อย การต่อยด้วยวิธีที่ผิดนี้ นักกีฬาอาจเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณข้อพับศอกได้

52 52 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

A เทคนิคกำรต่อย ปูโกลลัน ดือปัน (Pukulan Depan)

เทคนิค การต่อย ปูโกลลัน ดือปัน (Pukulan Depan) เป็นเทคนิคที่นิยมน�ามาใช้ในการแข่งขันประเภท


ต่อสู้มากที่สุด เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ออกแรงหมัดได้เร็ว หนักแน่น และเมื่อต่อยแล้วนักกีฬาสามารถดึงแขน
กลับมาได้อย่างว่องไว
การซ้อม เทคนิคปูโกลลัน ดือปัน (Pukulan Depan) อย่างถูกวิธี คือ การก�าหมัดพับศอก วางบริเวณ
เอว ทัง้ แขนซ้ายและแขนขวา หงายหมัดขึน้ ยืดแขนส่งหมัดไปข้างหน้า เมือ่ สุดแขนแล้วให้คว�า่ หมัดลง (พับศอก
เล็กน้อย) หลังจากนั้น ต่อยหมัดไปข้างหน้า ทีละข้าง ข้างซ้ายหรือขวาก่อนก็ได้ ขาทั้งสองกางออก งอเข่า
เล็กน้อย
นักกีฬาควรออกแรงต่อยหมัด จากไหล่และแขน ล�าตัวและเอวบิดตามแรงต่อยของหมัด จะช่วยให้
หมัดแข็งแรงหนักแน่นไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแขน ช่วยให้ข้อพับศอกออกแรงน้อยลง และ
ไม่เกิดอาการบาดเจ็บตรงบริเวณข้อพับศอก การต่อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 53 53
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

เทคนิคการต่อย ปูโกลลัน ดือปัน ( Pukulan Depan)


การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3


ใช้กระบวนท่านั่งม้า (kuda ส่งหมัดขวายื่นไปข้างหน้า เมื่อสุดแขนแล้ว คว�่าหมัดลง
kuda tangah sedang) แยก (ไหล่และแขนช่วยออกแรงต่อย)
ขาออก งอเข่าเล็กน้อย แขนทัง้ สอง
ข้าง ก�าหมัด พับศอกวางบริเวณเอว
(หมัดหงาย)
เทคนิคการซ้อมเพื่อการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า
ใช้กระบวนท่า กูดา-กูดา ดือปัน เซรอง ( Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 6
รูปที่ 4 รูปที่ 5 ก้าวขาขวาไปข้างหน้า (ขาขวา
ขาซ้ายวางหน้า ขาขวาวางหลัง ขาขวาชิดขาซ้าย งอเข่า หันตัว งอเข่า ขาซ้ายเหยียดตรงเอียงตัวไป
ย่อตัวลง แขนทั้งสองข้างป้องตัว เอียงไปทางขวา เล็กน้อย แขนขวา ข้างหน้าเล็กน้อย) พร้อมออกแรง
ตามองคู่ต่อสู้ พับศอกก�าหมัดวางบริเวณเอว มือ ต่อยด้วยหมัดขวา แขนซ้ายพับศอก
ซ้ายแบมือ ปิดหมัดขวา แบมือป้องอก (ล�าตัวและเอวบิด
ตามแรงต่อย)
54 54 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝการกี
ึกสอนกีฬ าแห่
ฬาปั นจัง
กสีประเทศไทย
ลัต

B เทคนิคกำรต่อย ปูโกลลัน ซ�ำเป็ง (Pukulan Samping)


เทคนิคต่อย ปูโกลลัน ซ�าเป็ง (Pukulan Samping) ต้องใช้แขนเหวี่ยงหมัด จากข้างในล�าตัวออกนอก
ล�าตัว และใช้บริเวณหลังมือในการต่อย
การซ้อมเทคนิคอย่างถูกวิธี คือ ใช้แขนข้างใดข้างหนึ่ง พับศอกมือก�าหมัดและวางหมัดบริเวณใต้คาง
แขนอีกข้าง (ข้างที่ใช้ต่อย) พับศอกโอบตัว มือก�าหมัดและวางหมัดใต้ใบหู พร้อมเหวี่ยงแขนต่อย (ใช้หลังมือ
ในการต่อย)
ออกแรงต่อย โดยใช้ไหล่ชว่ ยเหวีย่ งหมัด เพือ่ ให้สามารถออกแรงได้ด ี ดังนัน้ ไม่ควรเกร็งล�าตัวช่วยออก
หมัด เนื่องจากจะท�าให้เสียพลังงานโดยใช่เหตุ และเสียความสมดุลของร่างกาย

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 55
55
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

เทคนิคกำรต่อย ปูโกลลัน ซ�ำเป็ง (Pukulan Samping)


กำรเคลื่อนไหวอยู่กับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ยืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย หันหน้าออกข้างตัว เหวี่ยงแขนขวาต่อย (จากข้างในล�าตัวออกนอก
แขนซ้ายป้องตัวมือก�าหมัดวางบริเวณคาง แขนขวา ล�าตัวใช้หลังมือต่อย) แขนซ้ายก�าหมัดป้องตัว
พับศอกโอบล�าตัว (ดังรูป)
เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5


ขาซ้ายวางหน้า ขาขวาหลัง ขาขวาชิดขาซ้าย งอเข่าเล็ก ก้าวขาขวาไปข้างหน้า (งอเข่า
ย่อตัวลง แขนทัง้ สองป้องตัวสายตา น้อย (เอียงตัวไปทางซ้าย หันหน้า ขาซ้ายเหยียดตรงเอียงตัวมาข้าง
หน้าเล็กน้อย) พร้อมหวีย่ งแขนขวา
มองคู่ต่อสู้ ออกข้างตัว) แขนซ้ายก�าหมัดป้อง
จากข้ า งในล� า ตั ว ออกต่ อ ยนอก
ตัววางใต้คาง แขนขวาโอบล�าตัวก�า ล�าตัว งอศอกเล็กน้อย (ดังรูป)
หมัดวางใกล้ใบหู
56 56 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

C. เทคนิคกำรต่อย ปูโกลลัน ซังโกล (Pukulan Sangkol)


เทคนิคการต่อย ปูโกลลัน ซังโกล (Pukulan Sangkol) หรือเรียกอีกชื่อว่า เทคนิคการต่อย อัปเปอร์ คัท
(Upper cut) คือ การต่อยกระทุ้งจากล่างขึ้นบน ส่วนใหญ่เน้นต่อยบริเวณ คาง ใบหน้า ลิ้นปี่ เป็นต้น
แต่เทคนิคนี้ไม่นิยมน�ามาใช้ในการเข่งขันประเภทต่อสู้ ไม่ใช่เพราะเทคนิคที่ไม่มีประสิทธิภาพ
แต่การต่อยด้วยเทคนิคนี้ โอกาสต่อยโดนใบหน้ามีสูง ซึ่งการต่อยใบหน้าเป็นการต่อยที่ผิดกติกา (กติกา
การแข่งขัน ห้ามนักกีฬาต่อยหรือเตะสูง ตั้งแต่ต้นคอถึงใบหน้า)
เทคนิคการซ้อม ปูโกลลัน ซังโกล (Pukulan Sangkol) อย่างถูกวิธี คือ แขนข้างใดข้างหนึ่งแบมือ
ป้องตัว ส่วนอีกข้างหนึ่ง มือก�าหมัดวางบริเวณใต้เอวเอียงตัวตามหมัดเล็กน้อย ส่งหมัดจากเอวกระทุ้งต่อย
ขึ้นบนเอวและล�าตัวบิดตามแรงต่อยหมัด

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 57 57
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

เทคนิคกำรต่อย ปูโกลลัน ซังโกล (Pukulan Sangkol)


กำรเคลื่อนไหวอยู่กับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
แขนซ้ า ยแบมื อ ป้ อ งตั ว แขนขวาก� า หมั ด วาง กระทุ้งแขนขวา จากด้านล่าง (เอว) ขึ้นบน (ล�าตัว
บริเวณใต้เอว (วางหมัดเลยล�าตัวเล็กน้อย) แยกขาออก หรือใบหน้า) หมัดหงาย แขนซ้ายป้องตัว ล�าตัวและ
ย่อเข่า ล�าตัวก้มลงตามหมัด เอวบิดตามแรงต่อย

เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5


ขาซ้ายวางหน้าขาขวาวางหลัง ขาขวาชิดขาซ้าย ล�าตัวเอียง ก้าวขาขวาไปข้างหน้า (ขาขวา
ย่อตัวลง แขนทัง้ สองป้องตัวสายตา ตามขาขวา งอเข่า แขนขวางอศอก งอเข่า ขาซ้ายเหยียดตรงเอียงตัวไป
ข้างหน้า) พร้อมกระทุ้งหมัดขวา
มองคู่ต่อสู้ มือก�าหมัดวางบริเวณเอว แขนซ้าย
ต่อยขึ้น (สูงระดับไหล่) แขนซ้าย
แบมือปิดหมัดขวา แบมือป้องตัว
58 58 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

D. เทคนิคกำรต่อย ปูโกลลัน ลิงกัร (Pukulan Lingkar)


เทคนิคการต่อย ปูโกลลัน ลิงกัร (Pukulan Lingkar) คือการต่อยหมัดด้วยวิธีการเหวี่ยงแขนจาก
ข้างล�าตัวเข้าในล�าตัว ไหล่และเอวช่วยออกแรงเหวี่ยงเพื่อให้การต่อยสมบูรณ์
เทคนิคนี้ไม่นิยมน�ามาใช้ในการแข่งขันประเภทต่อสู้เช่นเดียวกันกับเทคนิคการต่อย ปูโกลลัน ซังโกล
(Pukulan Sangkol) สาเหตุที่ไม่นิยมเนื่องจากการที่ต้องเหวี่ยงแขนจากนอกล�าตัว ท�าให้ออกหมัดช้า คู่ต่อสู้
อาจจับทางและตอบโต้ได้ทัน แต่หากนักกีฬาสามารถฝึกฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การต่อยว่องไว ก็สามารถ
น�ามาใช้ในการแข่งขันได้เช่นเดียวกัน
การต่อย ปูโกลลัน ลิงกัร (Pukulan Lingkar) อย่างถูกวิธี คือ แขนพับศอก มือก�าหมัด กางแขนออก
นอกล�าตัวท�ามุม 90 องศา ออกแรงหมัดจากแรงเหวี่ยงของไหล่ และเอวช่วยบิดให้หมัดออกแรงได้อย่าง
หนักแน่น แข็งแรง มีประสิทธิภาพมากขึน้ อวัยวะทีใ่ ช้ตอ่ ย คือ นิว้ ชีแ้ ละนิว้ กลาง เทคนิคนี ้ นักกีฬาสามารถต่อย
ข้างล�าตัว หรือบริเวณด้านหลังของคู่ต่อสู้ได้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 59 59
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

เทคนิคกำรต่อย ปูโกลลัน ลิงกัร (Pukulan Lingkar)


กำรเคลื่อนไหวอยู่กับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
แขนขวาพับศอก ท�ามุม 90 องศา มือก�าหมัดกาง เหวี่ยงหมัดขวาต่อยเข้าในล�าตัว ไหล่และเอวบิด
แขนออกนอกล�าตัว แขนซ้ายพับศอกแบมือป้องตัว หัน ตามแรงต่อย ขาซ้ายเอียงออกซ้ายเล็กน้อย
หน้ามองตามหมัด กางขาเล็กน้อย
เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5


ขาซ้ายวางหน้าขาขวาวางหลัง ขาขวาชิดซ้าย เอียงตัวไปทาง ก้าวขาขวาไปข้างหน้า (ขาขวา
ย่อตัวลง แขนทั้งสองข้างป้องตัว ขวา แขนขวาก�าหมัดพับศอก แขน งอเข่า ขาซ้ายเหยียดตรง เอียงตัว
ไปข้างหน้า) พร้อมออกแรงเหวี่ยง
ตามองคู่ต่อสู้ ซ้ายก�าหมัดป้องตัว (ดังรูป)
แขนต่ อ ยเข้ า ในล� า ตั ว แขนซ้ า ย
ป้องตัว ไหล่และเอวบิดตามแรงต่อย
60 60 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลประเทศไทย
ัต

3.5.2 เทคนิคกำรศอก ซีกูวัน (Sikuan)


เทคนิคการศอก ซีกูวัน (Sikuan) หรือ เทคนิคการศอก เป็นเทคนิคที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อ
คูต่ อ่ สูเ้ ข้าประชิดตัว หรือเข้าใกล้ เนือ่ งจากต้องพับศอกจึงเป็นอาวุธทีส่ นั้ แต่มคี วามแข็งแรงและอันตรายส�าหรับ
ผู้ที่โดนศอก
การศอกเป็นอาวุธที่อันตราย ผู้ที่โดนศอกจะเกิดอาการบาดเจ็บ กล้ามเนื้ออักเสบ กระดูกร้าว จนถึง
ขั้นแตกหักได้ และสามารถน�ามาใช้ในการแข่งขันประเภทต่อสู้ แต่ต้องระวังไม่ให้ศอกสูงจนเกินไป โดยเฉพาะ
บริเวณใบหน้า
เทคนิคศอก จะใช้ได้ดหี ากนักกีฬาใช้การศอกตัง้ รับ กล่าวคือ เมือ่ คูต่ อ่ สูเ้ ตะให้นกั กีฬาตอบโต้ดว้ ยการ
ศอกบริเวณขา บริเวณทีม่ กั จะโดน คือ เท้า ข้อขา และหน้าแข้ง เมือ่ คูต่ อ่ สูโ้ ดนศอกจะเกิดอาการบาดเจ็บ นักกีฬา
จะได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ทั้งนี้ นักกีฬาก็ควรฝึกฝนเทคนิคการศอกอย่างจริงจัง เน้นในเรื่องของปฏิกิริยา
โต้ตอบ ความมั่นใจในการออกอาวุธ และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขา (เพื่อการถอยหลบอย่างว่องไว)
เทคนิคการศอกในกีฬาปันจักสีลัต นิยมน�ามาใช้มี 2 กระบวนท่า คือ เทคนิคการศอก ซีกูวัน ซ�าเป็ง
ดาลัม (Sikuan Samping Dalam) และ ซีกูวัน ตูซุก ซ�าเป็ง (Sikuan Tusuk Samping)
กระบวนท่านั่งม้า กูดา กูดา ตืองะห์ รีงัน (Kuda kuda tengah Ringan ) เป็นกระบวนท่าซึ่งนักกีฬา
ต้องน�ามาใช้ในเทคนิคการศอก เพือ่ การเคลือ่ นไหวอยูก่ บั ที่ และเมือ่ นักกีฬารูว้ ธิ กี ารศอกอย่างถูกวิธแี ล้ว จึงเริม่
ฝึกซ้อมด้วยการเคลื่อนไหวแบบก้าวไปข้างหน้า
ข้อแนะน�าส�าหรับการศอก ซีกูวัน ซ�าเป็ง ดาลัม (Sikuan Samping Dalam) นักกีฬาควรกางข้อศอก
ออกนอกล�าตัว (ดึงศอกเลยไปข้างหลัง) เพือ่ สามารถเกร็งข้อศอก ออกอาวุธได้อย่างแข็งแรง หนักแน่น ไหล่และ
เอวบิดตามแรงศอกเพื่อความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ
ส�าหรับการศอก ซีกูวัน ตูซุก ซ�าเป็ง (Sikuan Tusuk Samping) เทคนิคกระบวนท่านั่งม้าเป็นเทคนิค
เดียวกันกับ เทคนิคการศอก ซีกูวัน ซ�าเป็ง ดาลัม (Sikuan Samping Dalam) จะแตกต่างกันตรงที่ขั้นตอนศอก
กล่าวคือ การศอก ซีกูวัน ตูซุก ซ�าเป็ง (Sikuan Tusuk Samping) ใช้แขนทั้งสองปิดป้องตัว ข้างที่ศอกวางบน
แขนข้างที่ไม่ศอก และออกแรงเหวี่ยงแขนศอกเต็มแรง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 61 61
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

เทคนิค ซีกูวัน ซ�ำเป็ง ดำลัม (Sikuan Samping Dalam)


กำรเคลื่อนไหวอยู่กับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ใช้กระบวนท่านัง่ ม้า กูดากูดา ตืองะห์ รีงนั (Kuda เหวี่ ย งแขน ศอกจากข้ า งล� า ตั ว เข้ า ในล� า ตั ว
kuda tengah ringan) แขนขวาพับศอกดึงศอกออก อย่างเต็มแรง ไหล่และเอวบิดตามการเหวีย่ ง แขนซ้าย
นอกล�าตัว ก�าหมัด (หมัดคว�า่ ) แขนซ้ายพับศอกแบมือ แบมื อ ป้ อ งล� า ตั ว ขาทั้ ง สองข้ า งเอี ย งไปทางซ้ า ย
วางทาบกับหมัดขวา ไหล่และเอวเอียงตามศอก เล็กน้อย
เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ดือปัน เซรอง (Kuda-Kuda depan serong)

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5


ขาซ้ายวางหน้าขาขวาวางหลัง ขาขวาชิดขาซ้าย งอเข่า เอียง ก้าวขาขวาไปข้างหน้า (งอเข่า
ย่ อ ตั ว ลง แขนทั้ ง สองป้ อ งตั ว ขาไปทางซ้ายเล็กน้อย พับศอกซ้าย ขาซ้ายเหยียดตรง เอียงตัวไปข้าง
ตามองคู่ต่อสู้ ดึงศอกออกนอกล�าตัว มือก�าหมัด หน้าเล็กน้อย) พร้อมออกแรงเหวีย่ ง
แขนขวาพับศอกแบมือ วางทาบ ศอกซ้าย (จากข้างล�าตัวเข้าในล�าตัว
หมัดซ้าย เต็ ม แรง) ไหล่ แ ละเอวบิ ด ตาม
แขนขวาแบมือป้องตัว
62 62 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลประเทศไทย
ัต

เทคนิค ซีกูวัน ตูซุก ซ�ำเป็ง (Sikuan Tusuk Samping)


กำรเคลื่อนไหวอยู่กับที่

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ใช้กระบวนท่านัง่ ม้า กูดากูดา ตืองะห์ รีงนั (Kuda เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างพร้อมกัน โดยแขนขวา
kuda tengah ringan) แขนทั้งสองข้างพับศอก แขน เหวีย่ งศอก แขนซ้ายพับศอกวางหมัดบริเวณเอว (หมัด
ขวาวางบนแขนซ้าย (ขวาศอก) มือทั้งสองข้างก�าหมัด หงาย)
หน้าหันออกข้างล�าตัว กางขาเล็กน้อย
เทคนิคกำรซ้อมเพื่อกำรเคลื่อนไหวไปข้ำงหน้ำ
ใช้กระบวนท่ำ กูดำ-กูดำ ตืองะห์ (Kuda-Kuda tengah)

รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที ่ 5


ขาซ้ายวางหน้า ขาขวาวางหลัง ขาขวาชิดขาซ้าย (หมุนตัว 180 ก้าวขาขวาออกข้างล�าตัว ขาทัง้
ย่อตัวลง แขนทั้งสองข้างป้องตัว องศา) งอเข่าเล็กน้อย แขนทั้งสอง สองข้ า งงอเข่ า แขนซ้ า ยผลั ก
สายตามองคู่ต่อสู้ พับศอก มือขวาก�าหมัด (ขวาศอก) ศอกขวา ใช้ไหล่ช่วยออกแรงศอก
มือซ้ายแบมือวางทาบบนหมัดขวา เพือ่ ความแข็งแรงยิง่ ขึน้
หน้าหันออกข้างขวา
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 63 63
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.5.3 เทคนิคกำรเตะ ตึนดังงัน (Tendangan)


คือ เทคนิค การเตะเป็นเทคนิค ทีน่ ยิ ม น�ามาใช้ในการแข่งขันกีฬาปันจักสีลตั ประเภทต่อสู้
มากที่สุด นักกีฬาสามารถท�าคะแนนจากการเตะได้ 2 คะแนนเมื่อเตะโดน บริเวณเป้าหมายที่ก�าหนด
จากประสบการณ์การแข่งขัน ปันจักสีลัตที่ผ่านมา สังเกตุได้ว่า นักกีฬาสามารถเอาชนะ
คู่แข่ง ด้วย เทคนิคการเตะ มากที่สุด การเตะจึงเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมน�ามาใช้ในการแข่งขันตลอดมา
ทั้งนี้เทคนิคการเตะในกีฬา ปันจักสีลัต มีมากมายหลายกระบวนท่า แล้วแต่ว่านักกีฬาจะน�าเทคนิคใดมาใช้ให้
เหมาะสมกับความถนัดของตนเอง
การเตะใช้อวัยวะส่วนขามากที่สุด พร้อมกับใช้ ล�าตัว เอว และก้นช่วยบิดส่งแรงเตะให้
สมบูรณ์และแข็งแรงมากขึ้น
วิธีการเตะที่ถูกวิธี คือ ต้องยกเข่าขึ้นสูงกว่าเอวเล็กน้อย ก่อนส่งขาเตะและเมื่อเตะแล้วก็
ให้พบั เข่ากลับเหมือนเดิมก่อนวางขาลงพืน้ แต่หา้ มยกเข่าสูงหรือต�า่ กว่าเอวมากจนเกินไป เนือ่ งจากหากยกเข่า
สูงหรือต�่ากว่าเอวมากๆ จะท�าให้การเตะไม่มีแรง และออกตัวช้า
การเตะที่ผิดวิธ ี จะท�าให้นักกีฬาเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณ เข่า เนื่องจากการเตะด้วยการ
ออกแรงเกร็งเข่ามากเกินไป ซึ่งการเตะที่ดีไม่ควรเตะเหยียดเข่าตึง ควรงอเข่าเล็กน้อย ออกแรงเกร็งทั้งขาไม่ใช่
ออกแรงเฉพาะเข่าอย่างเดียว หากเตะไปนานๆ จะท�าให้เกิดอาการบาดเจ็บ เรื้อรัง นักกีฬาสามารถสังเกตุได้
โดยเมื่อ ลุก นั่ง จะมีอาการเจ็บบริเวณเข่า และกล้ามเนื้อหลังข้อเข่า ท�าให้ต้องใช้เวลาในการรักษานาน และ
ขาอาจจะไม่สามารถออกก�าลังกายได้ตามปกติ
ล�าดับการฝึกซ้อมอย่างถูกวิธี ควรเริ่มต้นด้วยการเตะแบบส่งขาช้าๆ ก่อน เริ่มด้วยยกเข่า
พับขาเข้าใกล้ตัว เริ่มออกตัวส่งขาเตะช้าๆ เมื่อสุดขา (งอเข่าเล็กน้อย) ก็พับกลับและวางขาอย่างช้าๆ แต่ทั้งนี้
หากนักกีฬาอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ก็จะท�าให้การเตะสมบูรณ์ได้เร็วยิ่งขึ้น

64 64 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
การกีฬาแห่งประเทศไทย
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

รูปที่ 1 เทคนิคกำรเตะที่ผิดวิธี
การเตะด้วยการเหยียดเข่าตึงมากจนเกินไป จะท�าให้การเตะไม่มแี รง และออกตัวช้า ไปจนถึงจะท�าให้เกิด
อาการบาดเจ็บ บริเวณเข่าและกล้ามเนื้อใต้เข่า เรื้อรังได้

รูปที่ 2 เทคนิคกำรเตะที่ถูกวิธี
การเตะอย่างถูกวิธี คือ ไม่เหยียดเข่าตึงจนเกินไป ควรงอเข่าเล็กน้อย ออกแรงเกร็งขาทั้งขา ล�าตัว เอว ก้น
กลัไบด้ได้ทันทท่ันวท่งทีวงที
ไปจนถึงการเกร็งเท้า จะท�าให้ออกอาวุธเตะได้หนักแน่น รวดเร็ว และสามารถดึงขากลั

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 65
65
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

A เทคนิคกำรเตะ ตึงดันงัน ลูรูส (Tendangan Lurus)


เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เทคนิค การเตะ ฟรอนท์ คิก (Front kick) เป็นกระบวนท่าเตะที่ ง่ายต่อการน�ามา
ใช้ เป็นท่าเตะพื้นฐานของกีฬาศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวประเภทอื่น ๆ ด้วย
การเตะ ลูรูส (Lurus) เป็นเทคนิคการเตะไปข้างหน้า อันดับแรก ให้ยกเข่าขึ้นสูงกว่าเอวเล็กน้อย และ
ส่งขาเตะไปข้างหน้า โดยนิ้วเท้างอชี้ขึ้นข้างบน (ป้องกันการหักของนิ้วเท้า เมื่อปะทะกับคู่ต่อสู้) และขณะเตะก็
ไม่ควรออกแรงเกร็งหรือออกแรงเหยียดเข่าตึงจนเกินไป เพราะจะท�าให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณเข่าได้
การออกแรงเตะอย่างถูกวิธ ี คือ การออกแรงเกร็งเตะทัง้ ขา ล�าตัว เอว ก้น ช่วยส่งแรงบิดและช่วยให้การ
เตะแข็งแรง ออกตัวได้อย่างรวดเร็ว
บริเวณเป้าหมายส�าหรับนักกีฬาทีม่ คี วามถนัดในการเตะ ลูรสู (Lurus) คือ บริเวณล�าตัว ท้อง ไปจนถึง
ใบหน้า แต่อย่าลืมว่า กติกาการแข่งขัน กีฬาปันจักสีลัต ห้ามเตะสูง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
ยกเข่าขวาสูงกว่าเอวเล็กน้อย กระดกนิ้วเท้าชี้ขึ้น ส่งขาขวาเตะไปข้างหน้า ย่อเข่าเล็กน้อยไม่เหยียด
(ป้องกันอาการบาดเจ็บ หรือหักเมื่อปะทะ) เข่าตึงจนเกินไป เกร็งนิ้วเท้าชี้ขึ้นไปข้างบน ออกแรง
ช่วยตั้งแต่ ล�าตัว เอว ก้นไปจนถึงขาทั้งขา แขนทั้งสอง
ป้องตัว ดังรูป

66 66 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

B เทคนิคกำรเตะ ตึงดันงัน ซำบิต (Tendangan Sabit)


เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เทคนิค การเตะ ราวด์ คิก (Round kick) เป็นกระบวนท่าเตะที่ต้องเตะบริเวณข้าง
ล�าตัวของคู่ต่อสู้ และเป็นกระบวนท่าเตะพื้นฐานของกีฬาศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวประเภทอื่น ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
เทคนิค การเตะ ซาบิต (Sabit) เป็นการเตะออกข้าง ต้องบิดเอวช่วยเปลี่ยนทิศทางขา ซึ่งก่อนเตะขา
จะตรงหาคู่ต่อสู้ แต่เมื่อต้องการเตะให้บิดเอวเปลี่ยนทิศทางล�าตัวและขา ให้หันข้างให้คู่ต่อสู้แทน แล้วค่อยส่ง
ขาเตะ เหยียดขาตึง (งอเข่าเล็กน้อย) พร้อมเหยียดข้อขา เนื่องจากบริเวณหน้าเท้าเป็นบริเวณที่ปะทะกับคู่ต่อสู้
ต้องใช้ล�าตัว เอว และก้นช่วยบิด เพื่อให้การเตะมี
ารเตะมีคความแข็
วามเข็งแรง ออกตั
แรง ออกตัวเร็ว และสามารถพับขากลับได้
อย่างรวดเร็วอีกด้วย
ส�าหรับการเตะ ซาบิต (Sabit) ในการแข่งขันกีฬา ปันจักสีลัต ประเภทต่อสู้ เป็นการเตะที่จับขาได้ง่าย
มากทีส่ ดุ หากไม่มคี วามว่องไว และแข็งแรงของกล้ามเนือ้ ขาแล้ว นักกีฬาอาจโดนจับขาและโดนท�าล้มจนต้อง
เสียคะแนนได้ในที่สุด

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3


ยกเข่าขึ้นสูงกว่าเอวเล็กน้อย บิดเอว และล�าตัวเพื่อเปลี่ยน ส่งขาขวาเตะไปข้างหน้า ด้วย
ทิศทางล�าตัว (ขาซ้ายบิดตาม วิ ธี ก ารเหยี ย ดตึ ง ข้ อ ขา เพื่ อ ให้
เล็กน้อยเพื่อการทรงตัวที่ดี ดังรูป) บริเวณหน้าเท้าเป็นบริเวณที่โดน
คู ่ ต ่ อ สู ้ แขนทั้ ง สองข้ า งป้ อ งตั ว
(ดังรูป)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 67 67
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

C เทคนิคกำรเตะ ตึงดันงัน เต้ (Tendangan “T”)


เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เทคนิค การเตะ ไซด์ คิก (Side kick) เป็นกระบวนท่าเตะที่ใช้ข้างฝ่าเท้าเตะ และ
เป็นกระบวนท่าเตะพื้นฐานของกีฬาศิลปะต่อสู้ป้องกันตัวประเภทอื่นๆ เช่นเดียวกันกับ ท่าเตะ ลูรูส (Lurus)
และท่าเตะ ซาบิต (Sabit)
เทคนิคนี ้ เป็นเทคนิคทีน่ ยิ มน�ามาใช้ในการแข่งขันกีฬาปันจักสีลตั ประเภทต่อสูม้ ากทีส่ ดุ เนือ่ งจากเป็น
ท่าเตะที่มมีคีความแข็
วามแข็งงแรงกว่
แรงกว่าท่าท่าเตะอื
าเตะอื่นๆ และเป็ นท่นาเตะที
่นๆ และเป็ ่คู่ต่อ่คสูู่ต้ จั่อบสูขายากที
ท่าเตะที ่สุด เพราะท่
้ จับขายากที าเตะนีา้สเตะนี
่สุด เพราะท่ ามารถดึ งขาก
้สามารถ
ลัดึบงขากลั
ได้อย่บางรวดเร็
ได้อย่างรวดเร็
ว และง่วาและง่ ายต่อการหลบหลี
ยต่อการหลบหลี ก ก
นักกีฬาส่วนใหญ่จึงพยายามฝึกฝน กระบวนท่าเตะนี้เพื่อให้เกิดความช�านาญ เป็นท่าเตะประจ�าตัว
เนื่องจากจะได้เปรียบคู่แข่งขันอยู่มากหากช�านาญด้วยกระบวนท่าเตะเต้ “T” (side kick) นี้
เทคนิคการเตะ เต้ “T” (side kick) เริ่มต้นด้วยการยกเข่าขึ้นสูงกว่าเอวเล็กน้อย บิดล�าตัวและเอวเพื่อ
เปลี่ยนทิศทางล�าตัว (จากหันหน้าเข้าหาคู่ต่อสู้ เป็นออกข้างให้คู่ต่อสู้) ขาบิดตามการหมุนเอวเพื่อการทรงตัวที่
ดี ก่อนส่งขาเตะไปข้างหน้าให้หงายข้างฝ่าเท้าขึ้น (เนื่องจากข้างฝ่าเท้าเป็นบริเวณที่ปะทะกับคู่ต่อสู้) ออกแรง
เกร็งขาทั้งขาไปจนถึงเกร็งบิดฝ่าเท้า เพื่อการเตะที่แข็งแรง ออกตัวเร็ว และสามารถพับกลับมาได้เร็ว (ไม่ควร
เหยียดเข่าตึงมากจนเกินไป ควรงอเข่าเล็กน้อย)
เทคนิคที่นักกีฬามัก กระท�าผิดวิธี คือ นักกีฬามักเตะโดยไม่พับเข่าก่อนส่งขาเตะจนถึงไม่พับเข่าหลัง
จากเตะแล้ว และมักเตะเป็นท่าเตะ ซาบิต (Sabit ) แทนเนื่องจากวิธีการเตะคล้ายกันแต่ การเตะซาบิต
(Sabit) จะง่ายกว่าการเตะเต้ “T” (side kick)

68 68 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

เทคนิคการเตะ ตึงดันงัน เต้ (Tendangan “T”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ยกเข่าขึ้น สูงกว่าเอวเล็กน้อย บิดเอว ล�าตัว ก้นเพื่อเปลี่ยนทิศทางขา (จากหัน
หน้า เป็นหันข้าง บิดขาซ้ายเล็กน้อยเพื่อช่วยทรงตัว

รูปที่ 4 รูปที่ 3
รูป การเตะอย่างถูกวิธี จากด้านหน้า ส่งขาเตะไปข้างหน้า ด้วยวิธีการหงายฝ่าเท้าขึ้น
เหยียดขาตรง งอเข่าเล็กน้อย แขนทั้งสองข้างป้องตัว
(ดังรูป)
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 69 69
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

D เทคนิคกำรเตะ ตึงดันงัน จือจัก (Tendangan Jejag)


เทคนิคการเตะ จือจัก (Jejag) เป็นเทคนิคการเตะที่มีความเป็นเฉพาะตัวของกีฬาปันจักสีลัต เท่านั้น
ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประเภทอื่นยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และเทคนิคนี้ได้เข้ามาเป็นที่นิยมใช้ในการแข่งขัน
เช่นเดียวกับการเตะประเภท เต้ “T” (side kick)
รูปแบบการเตะของเทคนิคนี ้ จะคล้ายกับการเตะ ลูรสู (Lurus) คือ การพับเข่าขึน้ สูงกว่าเอว ก้มตัวเล็ก
น้อยเพื่อช่วยในการทรงตัว พร้อมส่งขาเตะโดยชี้ส้นเท้าขึ้น เนื่องจากส้นเท้าหรือฝ่าเท้า เป็นบริเวณที่ปะทะกับ
คู่ต่อสู้ (ใช้ส้นหรือฝ่าเท้าถีบล�าตัวคู่ต่อสู้) และเมื่อเตะแล้วล�าตัวจะเอนหลังเล็กน้อย

กำรเตะ ตึงดันงัน จือจัก (Tendangan Jejag)

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
ยกขาขวาขึ้ น สู ง กว่ า เอว งอเข่ า และหงาย ส่ง ขาเตะไปข้า งหน้ า (ส้ นเท้ าหรื อฝ่ าเท้ าเป็ น
ส้นเท้าขึ้น (ขาซ้ายงอเข่าเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว) บริเวณที่เตะหรือถีบคู่ต่อสู้) ขณะเตะล�าตัวเอียงหลัง
แขนทั้งสองป้องตัว (ดังรูป) เล็กน้อยเพื่อการทรงตัว (ดังรูป)

70 70 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลประเทศไทย
ัต

E เทคนิคกำรเตะ ตึนดังงัน บือลำกัน (Tendangan Belakang)


เทคนิคการเตะ ตึนดังงัน บือลากัน (Tendangan Belakang) หรือ รู้จักกันในชื่อว่า การเตะ แบกคิ แบ็ค ก
(Back kick) เป็นการเตะที่ต้องใช้การหมุนตัว หันหลังเตะคู่ต่อสู้ ดังนั้น นักกีฬาต้องหันหลังให้คู่ต่อสู้ขณะเตะ
และใช้ส้นหรือฝ่าเท้าเป็นอวัยวะที่เกิดการปะทะกับเป้าหมายของคู่ต่อสู้
เทคนิคการเตะวิธีนี้เป็นเทคนิคการเตะที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการซ้อมมากกว่าเทคนิคอื่นๆ
เนื่องจากการซ้อมผิดวิธ ี จะก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณหลัง ก้น และกล้ามเนื้อหน้าขาได้
การเตะวิธีน ี้ ต้องใช้แรงเหยียดออกตัวดันขา และเป็นท่าที่แข็งแรงมากกว่าท่าเตะอื่นๆ เพราะนักกีฬา
สามารถออกแรงช่วยเตะจากอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หมุนล�าตัว หันไหล่ บิดเอว เอนหลัง และก้นช่วย
ออกแรงดันเตะ เกร็งแขนป้องตัว และเหยียดส้นหรือฝ่าเท้า เพื่อการเตะที่สมบูรณ์ หากนักกีฬาซ้อมเข้าคู่ต้อง
ระวังในเรื่องของการออกแรงมากเกินไป เพราะอาจท�าให้หัวทิ่ม หน้าหงายปักพื้นได้เช่นกัน

วิธีกำรเตะที่นักกีฬำมักปฏิบัติผิดวิธี ดังนี้
1. ขณะหมุนตัว ถ้านักกีฬาหมุนตัวมากเกินไปหรือเตะหมุนตัวน้อยเกินไป จนเตะไม่โดนเป้าหมาย
(คู่ต่อสู้) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากนักกีฬาไม่สามารถประมาณการยืนของคู่แข่งหรือ ขณะหมุนตัวไม่มองคู่ต่อสู้
ว่าอยู่ตา� แหน่งใด ท�าให้เตะไม่โดนคู่ต่อสู้
2. ขณะหมุนตัว นักกีฬาหมุนตัวยังไม่เรียบร้อย (ไม่หมุนไหล่ตาม) แต่ส่งแรงเตะคู่ต่อสู้แล้ว เช่นนี้
จะท�าให้การเตะเอียงข้าง และเสียการทรงตัว อาจท�าให้นักกีฬาล้มลงได้
3. ขณะเหยียดขาเตะหากนักกีฬาไม่ก้มตัวหรือ ก้มหน้าเพียงเล็กน้อยก็ท�าให้ไม่สามารถทรงตัวได้
เช่นเดียวกัน หรือหากนักกีฬาไม่ใช้ส้นในการเตะแต่กลับใช้ข้างฝ่าเท้าแทน เช่น การเตะ Tendangan “T” (side
kick) จะท�าให้การเตะไม่มีแรง และอาจท�าให้เกิดอาการบาดเจ็บ บริเวณกล้ามเนื้อขาได้ เพราะนักกีฬาบิดขา
ผิดวิธี

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 71 71
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

การเตะ ตึนดังงัน บือลากัน (Tendangan Belakang)

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
ขณะประจันหน้ากับคู่ต่อสู้ ให้หันหลัง ขาขวา ยกขาขวาขึน้ เตรียมเตะไปทางด้านหลัง ก้มตัวลง
วางหน้า ขาซ้ายยกส้นเท้าขึ้น ย่อเข่าทั้งสองข้างเล็ก เล็กน้อย เพื่อการทรงตัว
น้อย แขนทั้งสองป้องตัว (ดังรูป)

ขั้นที่ 3
ส่งขาขวาเตะหลัง เหยียดขาตรงเพื่อการทรงตัว พร้อมก้มตัวลง (ยิ่งก้มต�่าก็จะยิ่งเตะสูงขึ้น) แขนทั้งสอง
ป้องตัว (ดังรูป)
72 72 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

3.5.4 เทคนิคกำรเข่ำ ดึง กู ลัน (Dengkulan)


เทคนิค การเตะ ดึ
เข่า ง กู ลัน (Dengkulan) หรือ เทคนิคการเข่า เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมกันมากขึ้น
ในการแข่งขันปันจักสีลัต เนื่องจากสามารถท�าให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บและได้คะแนน 2 คะแนน เมื่อเข่ เตะได้
า ตรง
เป้าหมาย คือ นักกีฬาเข่าโดนบริเวณ ท้อง หน้าอก และหลังของคู่ต่อสู้
แต่เนือ่ งจากการเข่าเป็นการออกอาวุธในระยะ ประชัน้ ชิด เพราะเป็นอาวุธทีส่ นั้ ผูฝ้ กึ สอนจึงควรฝึกฝน
อยางจริงจัง พร้อมทั้งแนะน�าการเข่าอย่างถูกวิธี ได้แก่ ให้นักกีฬาพับเข่ายกขึ้น เกร็งเข่าเป็นอาวุธ ล็อคข้อเท้า
เพื่อให้ข้อเท้าชี้ลงพื้น ให้ข้อเท้าอยู่ในแนวเดียวกันกับล�าแข้ง (เพื่อป้องกันการบาดเจ็บขณะปะทะกับคู่ต่อสู้)
ทั้งนี้ปันจักสีลัตอนุญาตได้แค่ยกขาขึ้นเข่า โดยห้ามไม่ให้จับหรือกดคอเข่า ห้ามใช้มือหรือแขนช่วย
โน้มตัวคู่ต่อสู้ เพราะถือว่ากระท�าผิดกติกา หรือ การเข่านั้นไม่เป็นคะแนน
เทคนิคการเข่าพื้นฐานมี 3 กระบวนท่า คือ เทคนิคการเข่า ดึง กู ลัน ดือ ปัน (Dengkulan Depan)
เทคนิคการเข่า ดึง กู ลัน ซ�า เป็ง ดา ลัม (Dengkulan Samping Dalam) และ เทคนิคการเข่า ดึง กู ลัน ซ�า เป็ง
ลู วัร (Dengkulan Samping Luar) ดังนี้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 73 73
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

A เทคนิค กำรเข่ำ ดึง กู ลัน ดือ ปัน (Dengulan depan)


เทคนิคการเข่านี้ เป็นเทคนิคการเข่าหน้า เริ่มเกร็งแรงเข่าตั้งแต่พับเข่ายกขึ้น ใช้เข่าบริเวณล�าตัว
ด้านหน้าคู่ต่อสู้

รูปที่ 1
พับเข่าขวา ยกขึ้นเข่าไปข้างหน้า (ใช้เข่าบริเวณ
ด้ า นหน้ า ล� า ตั ว คู ่ ต ่ อ สู ้ ) เอี ย งล� า ตั ว ไปข้ า งหลั ง
เล็กน้อย (เพื่อการทรงตัว แขนทั้งสองป้องตัว ดังรูป)

74 74 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

B เทคนิคกำรเข่ำ ดึง กู ลัน ซ�ำ เป็ง ดำ ล�ำ (Dengkulan Samping Dalam)


เทคนิค การเข่านี ้ ใช้เมือ่ ต้องการเข่าข้างล�าตัวคูต่ อ่ สู ้ และ สามารถเป็นได้ทงั้ การป้องกันตัวจากการเตะ
ของคู่ต่อสู้ (เมื่อคู่ต่อสู้เตะข้างล�าตัวนักกีฬา)
วิธกี ารเข่า คือ ให้ยกเข่าขึน้ ข้างล�าตัว และเหวีย่ งเข่าเข้าในล�าตัวเมือ่ ต้องการเข่าบริเวณด้านหน้าล�าตัว
คู่ต่อสู้ หรือยกเข่ากั้นเพื่อป้องกันตัวจากการเตะข้างของคู่ต่อสู้ได้เช่นเดียวกัน

ขั้นที่ 1
พับเข่าขวา ยกขึ้น ข้างล�าตัว (สามารถเหวี่ยงเข้า
ในล�าตัวได้ เมื่อต้องการป้องกันล�าตัวจากด้านหน้า)
ขาซ้ายงอเข่าเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว แขนทั้งสอง
ป้องตัว (ดังรูป)

ขั้นที่ 2
เหวี่ยงขาขวาจากข้างล�าตัว เข่าชี้เข้าในล�าตัวเมื่อ
ต้องการป้องกันล�าตัวหรือต้องการเข่าล�าตัวคู่ต่อสู้
(เข่าขวาเมื่อยกข้างล�าตัว ต้องอยู่ในลักษณะขวางกับ
ล�าตัว ดังรูป)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 75 75
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

C เทคนิคกำรเข่ำ ดึง กู ลัน ซ�ำ เป็ง ลู วัง (Dengkulan Samping Luar)


เทคนิคการเข่า ดึง กู ลัน ซ�า เป็ง ลู วัง (Dengkulan Samping Luar) เริ่มต้นด้วยการยกเข่าวาง
หน้าล�าตัว และเหวี่ยงเข่าออกข้างล�าตัว แตกต่างจาก เทคนิคการเข่า ดึง กู ลัน ซ�า เป็ง ดาลัม (Dengkulan
Samping Dalam) ซึ่งเริ่มต้นด้วยการยกเข่าจากข้างล�าตัวเหวี่ยงเข้าในล�าตัว
เทคนิคนี้ ใช้เพื่อปัดขาคู่ต่อสู้ ซึ่งเตะเข้าบริเวณล�าตัวนักกีฬาและนักกีฬายกเข่าเหวี่ยงออกข้างเพื่อ
ป้องกันการเตะ ดังนั้นคู่ต่อสู้จะเตะไม่โดนเป้าหมาย การเตะไม่เป็นคะแนน

ขั้นที่ 1
พับเข่าขวา ยกเข่าขึ้นจากในล�าตัว แขนทั้งสอง
ป้องตัว (ดังรูป)

ขั้นที่ 2
เหวี่ยงขาขวาจากในล�าตัวออกข้างล�าตัว (เพื่อ
ปัดขาคูต่ อ่ สูอ้ อกข้างล�าตัว) ขาซ้ายงอเข่าเล็กน้อยเพือ่
การทรงตัว แขนทั้งสองป้องตัว (ดังรูป)

76 76 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

3.6 เทคนิค ล้ม รีดำมัน (Redaman)


เทคนิค ล้ม รี ดา มัน (Redaman) หรือ เทคนิคการล้มเป็นเทคนิคที่ส�าคัญไม่แพ้เทคนิคอื่น ๆ ของ
กีฬาปันจักสีลัต เนื่องจากในสนามแข่ง นักกีฬาย่อมเป็นได้ทั้งฝ่ายรุก และฝ่ายรับ กล่าวคือ นักกีฬาย่อมเป็นได้
ทั้งผู้ทา� ล้มคู่ต่อสู้ หรือโดนคู่ต่อสู้ท�าล้ม การฝึกเทคนิคนี้จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการล้ม
หรือหากบาดเจ็บก็บาดเจ็บเพียงเล็กน้อยไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
ในสนามการแข่งขัน มักจะพบนักกีฬาเกิดอุบัติเหตุจากการล้มผิดวิธีบ่อย ๆ ส่วนใหญ่จะเกิดกับ
นักกีฬาหน้าใหม่ มีทงั้ ล้มหัวฟาดพืน้ บางคนหัวฟาดแล้วหลับไม่รสู้ กึ ตัว (อันตรายมาก) หรือหน้าฟาดพืน้ จนฟัน
หรือจมูกแตกหัก หรือใช้แขนข้างเดียวลงผิดวิธจี นแขนหัก หรือ นักกีฬาชายหรือหญิงล้มคว�า่ โดยไม่ยกตรงบริเวณ
อวัยวะส�าคัญจนท�าให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ เป็นต้น ดังนั้น เทคนิค รี ดา มัน (Redaman) จึงเป็นเทคนิคการ
ล้มพื้นฐานที่สา� คัญมากส�าหรับการแข่งขันประเภทต่อสู้ เพราะเมื่อนักกีฬาล้มอย่างถูกวิธี และถูกต้องแล้ว จะ
ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และสามารถแข่งได้จนจบเกม
ขณะซ้อมนักกีฬาควรหาอุปกรณ์นุ่ม ๆ เพื่อล้มบนอุปกรณ์หรือเบาะ แต่เบาะปันจักสีลัตเมื่อซื้อทั้ง
ชุดจะมีราคาแพง นักกีฬาจึงสามารถใช้อุปกรณ์อื่นแทนได้ เช่น เบาะกีฬายูโด เบาะกีฬาเทควันโด สนามหญ้า
หรืออาจจะเป็นทรายก็สามารถน�ามาใช้ในการฝึกฝนการล้มได้เช่นเดียวกัน
ขั้นแรก นักกีฬาควรซ้อมด้วยการวางท่าทางอย่างถูกวิธี และเริ่มด้วยการล้มจากฐานที่ต�่า ๆ เช่น
ควรซ้อมจากการนั่งแล้วล้ม ก่อนการซ้อมจากการยืนแล้วล้ม เมื่อซ้อมได้อย่างถูกต้องแล้ว ต่อไปจึงให้ซ้อมจับ
คู่กับคู่ซ้อม (ผลัดกันท�าล้ม) เป็นล�าดับต่อไป
อาการปวดเมือ่ ยเบือ้ งต้นจากการซ้อมครัง้ แรก คือ จะเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ บางคนถึง
ขั้นไม่สามารถหันคอได้เลย หรือบางคนแม้แต่อ้าปากก็ยังเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณกรามและใบหน้า เช่นนี้
เนื่องจากการล้มต้องใช้อวัยวะทั้งร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหัวซึ่งต้องเกร็งคอเพื่อไม่ให้ล้มหัวฟาดพื้น แต่เมื่อ
นักกีฬาฝึกฝนอย่างสม�า่ เสมอจนร่างกายเกิดความเคยชินแล้ว อาการบาดเจ็บดังกล่าวก็จะหายไป
เทคนิคการล้มพื้นฐาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับและฝึกฝนกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ เทคนิคการล้มหน้า
จาโตฮ ดือปัน (Jatuh Depan) เทคนิคการล้มหลัง จาโตฮ บือลากัง (Jatuh Belakang) เทคนิคการล้มข้าง
จาโตฮ ซ�าเป็ง (Jatuh samping) และเทคนิคการล้มม้วนหน้า จาโตฮ ปูโงง (Jatuh Punggung)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 77 77
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.6.1. เทคนิคกำรล้มหน้ำ จำโตฮ ดือปัน (Jatuh Depan)


การซ้อมเทคนิคนี้ เริม่ ต้นด้วยการซ้อม ด้วยการตัง้ เข่าชันพืน้ แล้วล้มหน้า (ยกล�าตัวขึน้ )คือ
เทคนิค จาโตฮ ดือ ปัน ซ�าเบล บืร ลูตุด (Jatuh Depan Sambil berlutut) เมื่อปฏิบัติถูกวิธีแล้ว ก็ให้ซ้อมต่อ
ด้วยการนั่งชันขาแล้วล้ม คือ เทคนิค จา โตฮ ดือ ปัน ดืองัน บืร จองกอก (Jatuh Depan degan berjongkok)
และต่อด้วยการซ้อมด้วยการยืนแล้วล้มตัวลง คือ เทคนิค จา โตฮ ดือ ปัน ดืองัน บืร ดีรี (Jatuh Depan dengan
berdiri) ดังนี้

A เทคนิค จา โตฮ ดือ ปัน ซ�าเบล บืร ลูตุด (Jatuh Depan Sambil berlutut)
คือ การฝึกล้มหน้าแบบชันเข่าแล้วล้ม เริม่ ต้น ด้วยการนัง่ วางเข่าชันพืน้ กางแขนทัง้ สองข้างไปข้างหน้า
สูงประมาณไหล่ (ฝ่ามือคว�่าลง ตามองไปข้างหน้า) ค่อย ๆ ส่งแขนไปข้างหน้า จนกระทั่งแขนถึงเบาะ พร้อมยก
ตัวขึ้นเพื่อป้องกันอวัยวะส�าคัญกระแทกพื้น (พับศอก ส่วนที่แตะเบาะคือบริเวณศอกถึงมือเท่านั้น และนิ้วเท้า
ช่วยยกล�าตัวขึ้นไม่ให้ส่วนขากระแทกพื้น)

B เทคนิค จา โตฮ ดือ ปัน ดืองัน บืร จองกอก (Jatuh Depan degan berjongkok)
คือ การฝึกล้มหน้าแบบนัง่ ส้น เริม่ ต้นด้วยการนัง่ บนส้นเท้าและนิว้ เท้าช่วยชันล�าตัวขึน้ กางแขนทัง้ สอง
ข้างไปข้างหน้า สูงประมาณไหล่ (ฝ่ามือคว�่าลง ตามองไปข้างหน้า) ค่อย ๆ ส่งแขนและดีดขาหรือกระโดดส่งตัว
ไปข้างหน้า จนกระทั่งแขนถึงเบาะ พร้อมยกตัวขึ้นเพื่อป้องกันอวัยวะส�าคัญกระแทกพื้น (พับศอก ส่วนที่แตะ
เบาะคือบริเวณศอกถึงมือเท่านั้น และนิ้วเท้าช่วยยกล�าตัวขึ้นไม่ให้ส่วนขากระแทกพื้น)

C เทคนิค จา โตฮ ดือ ปัน ดืองัน บืร ดีรี (Jatuh Depan dengan berdiri)
คือ การฝึกล้มหน้าแบบยืนแล้วล้มตัวลง ลักษณะและวิธีการล้มเหมือนกับการล้มทั้งสองประเภท
เพียงแต่การล้มด้วยวิธกี ารยืนนี้ ระยะห่างระหว่างล�าตัวก่อนล้มถึงพืน้ จะไกลกว่า ซึง่ การล้มวิธนี ี้ เป็นวิธกี ารล้ม
ที่มักจะพบเห็นขณะแข่งขันปันจักสีลัตมากที่สุด

78 78 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

เทคนิคกำรล้มหน้ำ รี ดำ มัน จำโตฮ ดือปัน Redaman Jatuh Depan

วิธีที่ 1
การล้มหน้าแบบชันเข่า
ชันเข่าทั้งสองบนพื้น ยื่นแขน
ทั้ ง สองไปด้ า นหน้ า (ฝ่ า มื อ
คว�่าลง)

วิธีที่ 2
(การล้มหน้าแบบชันขา)
พับเข่านัง่ ลงบนส้นขา ยืน่ แขน
ทั้ ง สองไปด้ า นหน้ า (ฝ่ า มื อ
คว�่าลง ดังรูป)

ขั้นตอนสุดท้ายของการล้มหน้า
ล้มตัวลงไปข้างหน้าในลักษณะนอนคว�า่ อวัยวะทีแ่ นบ
พื้น คือ เฉพาะข้อศอกไปจนถึงฝ่ามือ และปลายเท้า
เท่านั้น อวัยวะอื่นๆ ยกขึ้นไม่ติดพื้น (ดังรูป)

วิธีที่ 3
การล้มหน้าแบบยืน
ยื น ตั ว ตรง กางขาออก
เล็ ก น้ อ ย ยื่ น แขนไป
จังหวะการเอีย งตั ว เพื่ อ ข้างหน้า (ดังรูป)
การล้มแบบยืน ซึ่งขณะซ้อม
ต้ อ งค่ อ ยๆ เอี ย งตั ว ล้ ม ไป
ข้างหน้า
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 79 79
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.6.2 เทคนิคกำรล้มหลัง จำโตฮ บือลงกัง (Jatuh belakang)


เพื่อการฝึกฝนเทคนิคการล้มหลังอย่างถูกต้อง และแม่นย�า ควรฝึกขั้นแรกด้วยการนอน
แล้วล้มหลัง ต่อไปนั่งแล้วล้ม และขั้นสุดท้ายยืนแล้วล้มหลัง

A เทคนิค จา โตฮ บือ ลากัง ซ�า เบล ตีโดร (Jatuh Belakang sambil tidur)
คือ การฝึกล้มหลังด้วยวิธีการนอนแล้วล้มหลัง เริ่มต้นด้วยการนอนหงาย ยื่นแขนและขาทั้งสองข้าง
ไปข้างหน้า เกร็งคอยกศีรษะขึน้ (ไม่ให้ตดิ พืน้ ) และใช้แขนทัง้ สองข้างตีเบาะพร้อมวางขาทัง้ สองข้างสูพ่ นื้ สุดท้าย
ให้ยกก้นและเกร็งคอยกศีรษะขึ้น
อวัยวะที่อันตรายส�าหรับการล้มหลัง คือ การกระแทกของสันหลัง หรือก้นและศีรษะเมื่อตกกระแทก
พื้น ขั้นตอนสุดท้ายจึงต้องยกบริเวณก้นและเกร็งศีรษะไม่ให้กระแทกพื้นเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

B เทคนิค จา โตฮ บือ ลากัง ดือ งัน จอง กอก (Jatuh Belakang dengan jongkok)
คือ การฝึกล้มหลังด้วยวิธีการนั่งส้นแล้วล้มหลัง เริ่มต้นด้วยการพับเข่านั่งลงบนส้นเท้า (นิ้วเท้าช่วย
ยกส้นขึ้น) แขนทั้งสองข้างยื่นไปข้างหน้า (ฝ่ามือคว�่าลง) แล้วค่อยๆ วางก้นลงพื้น วางเอวและล�าตัวลงพื้นตาม
ล�าดับ แขนทั้งสองข้างตีเบาะ สุดท้ายให้ยกก้นและเกร็งคอยกศีรษะขึ้น

C เทคนิค จา โตฮ บือ ลากัง ดือ งัน บืร ดีรี (Jatuh Belakang dengan berdiri)
คือ การฝึกล้มหลังด้วยวิธกี ารยืนตัวตรงแล้วล้มหลัง เริม่ ต้นด้วยการยืนตัวตรง กางขาออกเล็กน้อย ยืน่
แขนทั้งสองข้างไปข้างหน้า (ฝ่ามือคว�่าลง) ต่อไปให้พับเข่านั่งลงบนส้นเท้าก่อนแล้วค่อยล้มหลัง สุดท้ายยกก้น
และเกร็งคอยกศีรษะขึ้นเช่นเดียวกับการล้มสองวิธีดังกล่าวข้างต้น

80 80 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

เทคนิคกำรล้มหลัง รี ดำ มัน จำ โตฮ บือ ลำ กัง (Redaman Jatuh Belakang)

วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 วิธีที่ 3


(การล้มหลังแบบนอน) นอนลง (การล้มหลังแบบชันขา) พับเข่า (การล้มหลังแบบยืน) ยื่นตัว
ยื่นแขนและขาชี้ไปข้างหน้า นัง่ ลงบนขาทั้งสอง ยกส้นขึ้นพร้อม ตรงกางขาออกเล็กน้อย ยืน่ แขนทัง้
ยื่นแขนไปข้างหน้า สองข้างไปข้างหน้า

รูปที่ 4
วางก้นลง ยื่นแขนไปข้างหน้า

รูปที่ 5
(ล้มหลังโดยสมบูรณ์) เกร็งคอ
ยกศีรษะและก้นขึน้ เพือ่ ป้องกันการ
กระแทกพื้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 81 81
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.6.3 เทคนิคกำรล้มข้ำง จำโตฮ ซ�ำเป็ง (Jatuh Samping)


เทคนิคการล้มข้าง จ�าเป็นอย่างยิ่งที่นักกีฬาต้องฝึกฝนการล้มข้างให้เกิดความถนัดและ
ถูกต้องแม่นย�าทั้ง ล้มข้างซ้ายและข้างขวา เพราะเมื่อต้องเจอสถานการณ์จริงนักกีฬาไม่สามารถคาดคะเนได้
ว่าจะล้มข้างไหน ดังนั้นนักกีฬาควรฝึกฝนจนเกิดความถนัดทั้งสองข้างจึงจะสามารถป้องกันการเกิดอันตราย
จากการล้มได้
เริ่มต้นการฝึกล้มข้าง จากการนอนหงายแล้วล้มข้าง ล�าดับต่อไปนั่งลงบนส้นเท้า (นั่งส้น
ข้างเดียว อีกข้างเหยียดขาไปข้างหน้า) แล้วล้มข้าง และฝึกฝนด้วยการยืนแล้วล้มข้างเป็นล�าดับสุดท้าย

A เทคนิค จา โตฮ ซ�า เป็ง ซ�าเบล ตีดูร (Jatuh Samping sambil tidur)
คือ เทคนิคการฝึกล้มข้างด้วยการนอน เริ่มต้นด้วยการฝึกล้มข้างขวาก่อน ให้นอนหงาย ยื่นแขนและ
ขาทัง้ สองข้างไปข้างหน้า เกร็งคอยกศีรษะขึน้ เมือ่ พร้อมแล้วเอียงตัวหันมาทางขวา และใช้แขนขวาตีเบาะ (แขน
ซ้ายป้องตัว) พร้อมให้ขาขวาเหยียดพื้น ขาซ้ายงอเข่าชันขึ้นเล็กน้อย และเกร็งคอยกศีรษะขึ้น

B เทคนิค จา โตฮ ซ�า เป็ง ดือ งัน จองกอก (Jatuh Samping dengan Jongkok)
คือ เทคนิคการฝึกล้มข้างด้วยการนั่งแล้วล้มข้าง เริ่มต้นด้วยการฝึกล้มข้างขวา โดยให้พับเข่าแล้วนั่ง
ลงบนส้นเท้าขวา (แขนขวาป้องตัว) ขาซ้ายพับเข่ายื่นขาไปข้างหน้าเล็กน้อย (ยื่นแขนซ้ายไปข้างหน้า) ค่อย ๆ
วางก้นลงหลังพร้อมขาขวาชันเข่า (แขนขวาป้องตัว) ขาและแขนซ้ายยกชีข้ นึ้ เมือ่ ถึงพืน้ ใช้แขนขวาตีเบาะ (แขน
ซ้ายป้องตัว) พร้อมให้ขาขวาเหยียดพื้น ขาซ้ายงอเข่าชันขึ้นเล็กน้อย และเกร็งคอยกหัวขึ้น

C เทคนิค จา โตฮ ซ�า เป็ง ดือ งัน บืร ดีรี (Jatuh Samping dengan berdiri)
คือ เทคนิคการฝึกล้มข้างด้วยการยืนแล้วล้มข้าง เริ่มต้นด้วยการฝึกล้มข้างขวาโดยให้ยืนตัวตรงแยก
ขาออกเล็กน้อย เมื่อพร้อมแล้วใช้แขนขวาป้องตัว ขาซ้ายและแขนซ้ายยกขึ้น จากนั้นค่อย ๆ เอนตัวลง (เอียง
มาทางขวา) พับเข่าแล้วนัง่ ลงบนส้นเท้าขวา (แขนขวาป้องตัว) ขาซ้ายพับเข่ายืน่ ขาไปข้างหน้าเล็กน้อย(ยืน่ แขน
ซ้ายไปข้างหน้า) ค่อย ๆ วางก้นลงหลังพร้อมขาขวาชันเข่า (แขนขวาป้องตัว) ขาและแขนซ้ายยกชี้ขึ้น เมื่อถึง
พื้น ใช้แขนขวาตีเบาะ (แขนซ้ายป้องตัว) พร้อมให้ขาขวาเหยียดพื้น ขาซ้ายงอเข่าชันขึ้นเล็กน้อย และเกร็งคอ
ยกศีรษะขึ้นทุกครั้ง
เทนนิคการล้มข้าง ใช้ส่วนของแขนข้างใดข้างหนึ่งและข้างล�าตัวลงพื้น แขนอีกข้างป้องตัวและ
เกร็งคอยกศีรษะขึ้นทุกครั้งเพื่อป้องกันการกระแทก

82 82 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

เทคนิคการล้มข้าง รี ดา มัน จา โตฮ ซ�าเป็ง (Redaman Jatuh Samping)

วิธีที่ 1 วิธที ี่ 2 วิธีที่ 3


(การล้มข้างแบบนอน) (การล้มข้างแบบชันขา) (การล้มข้างแบบยืน)
นอนลงยื่นแขนและขาชี้ไปข้างหน้า พับเข่านัง่ บนขาข้างใดข้างหนึง่ จากการยืนให้ยกขาและ
ขาอีกข้างเหยียดไปข้างหน้า แขนข้างใดข้างหนึ่ง (ดังรูป)
พร้อมยืน่ แขนตาม

ล้มตัวลง พร้อมยื่นแขนและ
ขาเหยียดไปข้างหน้า

เมื่อล�าตัวถึงพื้นให้ใช้แขนตีพื้น
ยกขาทั้งสองเหยียดตรงขึ้นบน
(ดังรูป)

ล้มข้าง ด้วยการใช้ข้างล�าตัว
แตะพื้น เกร็งคอและยกศีรษะขึ้น
(ดังรูป)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 83 83
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.64 เทคนิคกำรล้มม้วนหน้ำ จำโตฮ ปูโงง (Jatuh Punggung)


เทคนิคนี้จะใช้ทักษะ การล้มหน้า ล้มข้างและล้มหลังไปพร้อมๆ กันในท่าเดียว แล้วยังต้องใช้
เทคนิคพื้นฐานของกีฬายิมนาสติกในเรื่องของความสมดุลในการม้วนหน้า
เริ่มต้นด้วยการยืนตัวตรงแยกขาออกเล็กน้อย ยื่นแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้า แล้วก้มลงแขน
ทั้งสองข้างแตะพื้น (ขาเหยียดตรง) ค่อยๆ ดันก้นเพื่อม้วนตัว (ใช้แขนช่วยดันตัว) เมื่อล�าตัวแตะพื้นแล้วใช้แขน
ยกก้นขึ้น เข่าทั้งสองชันพื้น และเกร็งคอยกศีรษะ

84 84 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

เทคนิคกำรล้มม้วนหน้ำ รี ดำ มัน จำ โตฮ ปูโงง (Redaman Jatuh Punggung)

ยื น ตั ว ตรง แยกขา
ก้ ม ศี รษะลง มื อทั้ง สอง ออกเล็กน้อย ยืน่ แขน
แตะพื้น และค่อยๆ ยก ไปด้านหน้า
ส้นเท้าขึ้น

ยกส้นเท้าพร้อมยื่นล�าตัวม้วนไปข้างหน้า
(พับคอเข้าหาล�าตัว แขนค่อยๆ งอศอกตาม )

ล�าตัว ขณะม้วนหน้า (เกร็งแขนเพือ่ ช่วย


ให้ศีรษะและล�าตัวม้วนไปข้างหน้า)

เมือ่ ล�าตัวถึงพืน้ ใช้แขนตีเบาะ พร้อมยก


ก้นขึ้น โดยใช้ขาทั้งสองข้างยกก้น และ
เกร็งคอ ยกศีรษะขึ้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 85 85
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.7 เทคนิค ท�ำล้ม จำโตฮฮัน (Jatuhan)


เทคนิค จา โตฮ ฮัน (Teknik Jatuhan) หรือเทคนิคการท�าล้ม คือ เทคนิคเพื่อการท�าล้ม ใช้แขน
และขาช่วยผลักล�าตัวคู่ต่อสู้ นักกีฬาต้องใช้ความระมัดระวังในการฝึกฝนโดยเฉพาะเมื่อต้องฝึกซ้อมกับคู่ซ้อม
ทั้งนักกีฬาและคู่ซ้อมต้องปฏิบัติเทคนิคการล้มอย่างถูกวิธีก่อนจึงจะเข้ากระบวนการฝึกฝนวิธีการท�าล้มกับ
คู่ซ้อม
การท� า ล้ ม จะได้ ค ะแนนมากที่ สุ ด ในการแข่ ง ขั น กี ฬ า ปั น จั กสีวี ลั ต ประเภทต่ อ สู ้ กล่ า วคื อ ต่ อ ย
(ตรงเป้าหมาย) ได้ 1 คะแนน เตะ (ตรงเป้าหมาย) ได้ 2 คะแนน และเมื่อสามารถท�าล้มคู่ต่อสู้ จะได้ 3 คะแนน
ดังนั้นเมื่อนักกีฬาสามารถฝึกฝนการท�าล้มอย่างถูกวิธีและแม่นย�าแล้ว นักกีฬาจะเป็นฝ่ายได้เปรียบในการ
แข่งขัน
เทคนิคท�าล้มพื้นฐานเป็นที่นิยมและรู้จักกันทั่วไปมี 2 เทคนิค คือ เทคนิค ซา ปูฮ วัน (Sapuan) และ
เทคนิค กุน ติง งัน (Guntingan) ดังนี้

3.7.1 เทคนิค ซำ ปูฮ วัน (Sapuan)


คือ เทคนิคการท�าล้มด้วยการใช้ขาช่วยเกี่ยวล้ม ที่จะกล่าวนี้มี 6 กระบวนท่า ได้แก่ ซาปูวัน ตือ กัก
(Sapuan tegak), ซาปูวัน กือเปร็ก (Sapuan kepret), ซาเบ็ตตัน (Sabetan), ซาปูวัน รือ บะห์ ดือ ปัน (Sapuan
rebah depan), ซาปูวัน รือ บะห์ บือ ลา กัน (Supuan rebah belakang) และ บือ ซือ ตัน (besetan) ดังนี้

86 86 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

A เทคนิค ซำปูวัน ตือ กัก (Sapuan tegak)


คือ เทคนิคการท�าล้มด้วยการเหวี่ยงขา เพื่อปัดขาคู่ต่อสู้ (นักกีฬาใช้บริเวณฝ่าเท้าปัด บริเวณตาตุ่ม
หรือหน้าแข้งช่วงล่างของคู่ต่อสู้) แขนช่วยผลักล�าตัวคู่ต่อสู้เพื่อการท�าล้มที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังรูป

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
ยกขาขวาขึ้น แขนทั้งสองป้องตัว (เตรียมผลัก) เหวี่ยงขาขวาลงปัดล่าง หงายฝ่าเท้าขึ้น แขนขวา
ปัดลง (ผลักตัวคูต่ อ่ สู)้ แขนซ้ายป้องอก ขาซ้ายป้องตัว
เล็กน้อย (ดังรูป)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 87 87
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

B ซำปูวัน กือเปร็ก (Sapuan kepret)


คือ เทคนิคการท�าล้มด้วยการปัด หรือเตะบริเวณหน้าแข้งคู่ต่อสู้ ซึ่งใช้กระบวนท่าเดียวกันกับการเตะ
ซา บิต Sabit (Round kick) ใช้บริเวณหน้าเท้าเป็นบริเวณเตะหน้าแข้งคู่ต่อสู้
ความแตกต่างระหว่างการท�าล้ม ซาปูวัน กือเปร็ก (Sapuan kepret) กับ เตะ ซาบิต Sabit (Round
kick) คือ การเตะซาบิต ใช้แรงเหวียงขาจากเอวช่วยบิด และใช้แรงบริเวณหน้าแข้งส่วนล่างออกแรงเตะ
มากที่สุด แต่ ซาปูวัน กือเปร็ก (Sapuan kepret) จะออกแรงเกร็งตั้งแต่การพับเข่าแล้วเหวี่ยงขาเตะ (เตะเป็น
วงกลมเหมือนเตะบอล) แล้วปัดลงล่าง แต่ทั้ง 2 กระบวนท่าใช้บริเวณหน้าเท้าปัด หรือเตะเช่นเดียวกัน
เทคนิคการล้มวิธนี ี้ จะออกแรงทัง้ หมดเพือ่ การปัดหรือเตะ แต่ตอ้ งเก็บแรงไว้เพือ่ เกีย่ วขาคูต่ อ่ สูอ้ กี ด้วย
กล่าวคือเมื่อเหวี่ยงขาเตะหรือปัด แล้วต้องออกแรงเกี่ยว (พับเข่าเกี่ยว ยกขาขึ้น ทันที) เป็นล�าดับต่อจาก
การเตะ นักกีฬาควรระมัดระวังในการท�ามุม 45 องศาเมื่อปัด ไม่มากหรือน้อยไปกว่านี้ เนื่องจากมุมที่ 45 องศา
เป็นบริเวณที่เตะโดนหน้าแข้งคู่ต่อสู้พอดี ล�าตัวและเอวหมุนตามแรงเหวี่ยง ย

ซำปูวัน กือเปร็ก (Sapuan kepret)

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3


ยกขาขวาขึ้น เหยียดข้อขาให้ตึง เหวี่ยงขาปัดล่าง (ข้อเท้าเหยียด เมื่ อ ปั ด ขาแล้ ว ให้ ย กขาขึ้ น เพื่ อ
แขนทั้งสองป้องตัว (ดังรูป) ตรง) แขนทั้งสองป้องตัว เกี่ยวขาคู่ต่อสู้ ล�าตัวอยู่ในท่าเดิม
ไม่ตอ้ งบิด (ออกแรงเหวีย่ งขาอย่าง
เต็มก�าลังเพือ่ การท�าล้มทีส่ มบูรณ์)

88 88 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

C เทคนิค ซำเบ็ต ตัน (Sabetan)


เทคนิคการท�าล้มวิธนี มี้ ลี า� ดับขัน้ ตอน เหมือนกันกับการท�าล้ม ซาปูวนั กือเปร็ก (Sapuan Kepret) แตก
ต่างกันเพียงแค่บริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้ในการท�าล้ม กล่าวคือ ซาปูวัน กือเปร็ก (Sapuan Kepret ) ใช้หน้าเท้าปัด
หน้าแข้ง ส่วน ซาเบ็ต ตัน (Sabetan)ใช้ข้างฝ่าเท้าปัดหรือเตะบริเวณข้อขาหรือหน้าแข้งล่าง แล้วจึงยกขาเพื่อ
เกี่ยวขาคู่ต่อสู้เป็นล�าดับต่อไป

เทคนิค ซำเบ็ต ตัน (Sabetan)

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3


ยกขาขวาขึ้น แขนทั้งสองป้องอก เหวีย่ ง (แกว่ง) ขาขวาปาดล่าง คว�า่ เมือ่ ปัดขาแล้ว ให้พบั เข่าขวายกขึน้
(ดังรูป) ่ าลงปัด (ฝ่าเท้าเป็นบริเวณ เกี่ยวขาคู่ต่อสู ้ แขนทั้งสองป้องตัว
ฝาเท้
ปัดขา) แขนทั้งสองป้องอก ขาซ้าย (ดังรูป)
ลงย่อเข่าเล็กน้อย

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 89 89
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

D เทคนิค ซำ ปู วัน รือ บะห็ ดือ ปัน (Sapuan Rebah Depan)


คือ เทคนิคการกวาดหน้า โดยนักกีฬาต้องนั่งลงแล้วส่งขากวาดไปข้างหน้า อวัยวะที่ใช้กวาด คือ หน้า
เท้าไปจนถึงหน้าแข้ง
เนือ่ งจากเป็นเทคนิคทีต่ อ้ งนัง่ ลงก่อน แล้วค่อยส่งขากวาด เช่นนีน้ กั กีฬาต้องใช้ปฏิภานไหวพริบในการ
หาจังหวะขณะคู่ต่อสู้เมื่อเผลอ หรือไม่ทันระมัดระวังก่อนแล้วจึงหาจังหวะลงกวาด (กติกาการแข่งขันเมื่อฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่งตกถึงพื้น กรรมการจะบอกหยุดการแข่งก่อน และเมื่อนักกีฬาลุกขึ้นยืนแล้วกรรมการจึงจะเริ่มการ
แข่งขันใหม่ ทัง้ นีก้ ารกวาดหน้านักกีฬาต้องใช้พลังงานมาก หากใช้บอ่ ย ๆ นักกีฬาจะเหนือ่ ยได้งา่ ย การใช้เทคนิค
กวาดหน้าจึงต้องใช้เมื่อจ�าเป็นและต้องมั่นใจว่าใช้แล้วได้ผล)
ให้นักกีฬาใช้แขนป้องหน้าเสมอเมื่อลงกวาดหน้าเสร็จแล้ว เนื่องจากขณะคู่ต่อสู้ล้ม อาจล้มลงมาทับ
ตัวนักกีฬา หรือคู่ต่อสู้บางคนจะแกล้งเหยียบหน้า หรือแกล้งล้มโดยใช้เข่าลงทับบริเวณหน้า หรือล�าตัวของ
นักกีฬาได้ ดังนั้นการใช้แขนป้องตัวเป็นการปกป้องการเกิดอุบัติเหตุซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เสมอกับการแข่งขันกีฬา
ปันจักสีลัต ประเภทต่อสู้

90 90 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

เทคนิค ซำ ปู วัน รือ บะห์ ดือ ปัน (Sapuan Rebah Depan)

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
ก้มตัวลงมือซ้ายแตะพืน้ แขนขวาชูขนึ้ บังหน้า พับ ส่งขาซ้ายไปข้างหน้า (ฝ่าเท้าแตะพื้น) ขาขวาพับ
เข่าซ้ายวางลงพื้น ขาขวางอเข่า (ดังรูป) เข่า ชันเข่าขึ้น (ดังรูป)

รูปที่ 4
หลังจากปฏิบัติตามรูปที่ 3 แล้ว ให้ใช้ขาขวาปาด
รูปที่ 3
กวาดหน้าทันที (บริเวณที่ใช้กวาด คือบริเวณตั้งแต่
เลือ่ นก้นเข้าใกล้ขาซ้าย (ขาซ้ายพับเข่าเข้าหาตัว)
หน้าแข้งจนถึงหน้าเท้าและเข้ากวาดหน้าแข้งคู่ต่อสู้)
เข่าขวาพับเข่าติดพืพี้น (เตรียมกวาดหน้า) แขนขวาป้อง
แขนขวาป้องศรีษะเพื่อป้องกันการตอบโต้จากคู่ต่อสู้
ศีรษะ (ดังรูป)
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 91 91
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

E เทคนิค ซา ปู วัน รือ บะห์ บือ ลากัง (Sapuan Rebah Belakang)


คือ เทคนิคการกวาดหลัง ซึง่ นักกีฬาต้องหันหลังให้คตู่ อ่ สูก้ อ่ นแล้วนัง่ ลงหมุนตัวกวาด หรือปัดขาคูต่ อ่ สู้
ใช้อวัยวะบริเวณส้นเท้าหรือหน้าแข้งส่วนล่างกวาดขาคูต่ อ่ สู้ และคูต่ อ่ สูจ้ ะโดนกวาดบริเวณตาตุม่ ไปจนถึงหน้า
แข้งเช่นเดียวกัน
นักกีฬาต้องใช้ไหวพริบก่อนกวาดหลัง กล่าวคือ เมื่อคู่ต่อสู้เสียหลักยกขาเตะก็จะเหลือขาข้างเดียว
ซึ่งเป็นจังหวะที่เหมาะสมกับการกวาดหลังมากที่สุด

เทคนิค ซา ปู วัน รือ บะห์ บือ ลากัง (Sapuan Rebah Belakang)

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
หันหลังให้คู่ต่อสู้เข่าซ้ายวางพื้น เข่าขวาตั้งชันขึ้น หมุนและหันตัวตามข้างขวา วางก้นลงขาขวาไขว้
แขนทั้งสองป้องอก ขาซ้าย ดังรูป

ขั้นที่ 4 ขั้นที่ 3
กวาดขาขวาให้สดุ ขา งอเข่าซ้ายเล็กน้อย แขนขวาป้อง ยืน่ ขาขวาเหยียดตรงไปข้างหน้า หงายฝ่าเท้าขึน้ พร้อม
ศีรษะ แขนซ้ายชันพื้น (คู่ต่อสู้โดนกวาดบริเวณตาตุ่ม กวาดขาขวามาด้านหลัง (บริเวณหลังแข้งเป็นบริเวณ
ไปจนถึงหน้าแข้งล่าง) ทีก่ วาดคูต่ อ่ สู)้ ขาซ้ายพับเข่า แขนขวาป้องตัวและแขน
ซ้ายแตะพื้น)
92 92 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

F เทคนิค เบเซ ตัน (Besetan)


คือ เทคนิคการท�าล้มโดยใช้กระบวนท่า กลับกันของการท�าล้ม ตือกัก (Tegak) กล่าวคือ ท่าตือกัก
(Tegak) ต้องเหวี่ยงขาท�าล้มจากนอกล�าตัวเข้าในล�าตัว แต่การท�าล้ม เบเซ ตัน (Besetan) เป็นการท�าล้มจาก
การวางขาในล�าตัวเหวี่ยงออกนอกล�าตัว ใช้บริเวณส้นเท้าไปจนถึงหลังหน้าแข้งเป็นบริเวณเพื่อท�าล้ม และคู่
ต่อสู้จะโดนปัดบริเวณหน้าแข้ง
เทคนิคนี้ เป็นเทคนิคการท�าล้มด้วยการเหวีย่ งขา กล้ามเนือ้ ขาต้องแข็งแรง ต้องอาศัยความสมดุลของ
ร่างกาย ตลอดจนแรงผลักตัวคู่ต่อสู้ซึ่งต้องใช้กล้ามเนื้อแขนที่แข็งแรงในการผลัก เป็นอีกเทคนิคที่นักกีฬาต้อง
ใช้ความระมัดระวังในการฝึกซ้อม เพื่อกระบวนท่าที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
ได้ทุกเมื่อ เช่นกัน

เทคนิค เบเซ ตัน (Besetan)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
ยกขาขวาจากด้านหน้าล�าตัว หงายฝ่าเท้าขึ้น ขาซ้าย เหวี่ยงขาขวากวาดหลัง พร้อมยื่นแขนขวาส่งไปข้าง
งอเข่าเล็กน้อย แขนขวายื่นออกจากล�าตัว แขนซ้าย หน้า (ขาขวาปัดขาคู่ต่อสู้พร้อมแขนซ้ายผลักตัว ท�า
ป้องอก ดังรูป พร้อมกัน ) แขนซ้ายป้องตัวและเอียงตัวไปข้างหน้าเล็ก
น้อย

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 93 93
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.7.2 เทคนิคกำรหนีบล้ม กุน ติง งัน (Guntingan)


คือ เทคนิคการท�าล้มด้วยการกระโดดแล้วใช้ขาทั้งสองหนีบล�าตัวคู่ต่อสู้ เพื่อท�าล้ม (หนีบ
รูปกรรไกร) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทคนิคการท�าล้มที่ยากกว่าเทคนิคการท�าล้ม อื่น ๆ
ส�าหรับการซ้อมขั้นเริ่มต้นของเทคนิคนี ้ นักกีฬาต้องเริ่มกระโดดไปข้างหน้าด้วยการวาง
แขนทั้งสองข้างแตะพื้น แล้วยกตัวกระโดด ฝึกกระโดดอย่างสม�่าเสมอแล้วแขนจะสามารถรับน�้าหนักตัวจนได้
จังหวะการหนีบ (สลับขาเหมือนกรรไกร) เมื่อนักกีฬาฝึกซ้อมอย่างสม�่าเสมอและสามารถปฏิบัติได้อย่าง
คล่องแคล่วแล้วนักกีฬาจะสามารถกระโดดได้โดยไม่ต้องใช้แขนแตะพื้นช่วยอีกต่อไป
เทคนิคนี้ จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเมื่อใช้บริเวณน่องในการหนีบเพราะน่องสามารถเกร็ง
กล้ามเนื้อได้แข็งแรงมากกว่าบริเวณต้นขา การท�าล้มเทคนิคนี้เมื่อนักกีฬาหนีบคู่ต่อสู้แล้ว ผลก็คือ คู่ต่อสู้ต้อง
จ�ายอมแบกรับน�้าหนักตัวนักกีฬา คูต่ อ่ สูจ้ ะไม่สามารถทรงตัวได้หากคูต่ อ่ สูไ้ ม่แข็งแรงจริง จึงเป็นเหตุให้ตอ้ งล้ม
และเสียคะแนนไปในที่สุด

94 94 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

เทคนิค กุน ติง งัน (Guntingan)

ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
ก้มตัวลงวางแขนทั้งสองแตะพื้น แยกขาออก ขาขวา กระโดดยกก้นขึน้ ส่งขาทัง้ สองไปข้างหน้า (หนีบขาไขว้
พับเข่าชันพืน้ ขาซ้ายเหยียดตรง เอียงตัวไปตามขาขวา กรรไกรกลางอากาศ)

ขั้นที่ 4 ขั้นที่ 3
กระบวนท่าสุดท้ายเมื่อนักกีฬาตกถึงพื้น ต้องใช้แขน ขณะทีห่ นีบขาคูต่ อ่ สูอ้ ยูก่ ลางอากาศ ให้แยกขาออกซึง่
ขวาปิดป้องศีรษะ เพื่อป้องกันการตอบโต้จากคู่ต่อสู้ เป็นจังหวะที่คู่ต่อสู้ล้ม (เนื่องจากเป็นจังหวะที่คู่ต่อสู้
ต้องแบกรับน�้าหนักตัวของนักกีฬา นั่นเอง)

รูปที่ 5
ภาพการกระโดดกรรไกรจากด้านหน้า
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 95 95
การกีฬาแห่
คู่มืองผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ทบทวนกระบวนท่ำเทคนิคกำรท�ำล้ม

รูปที่ 1
เทคนิคการปัดขาอย่างถูกวิธ ี คือ ต้องใช้แขนดึงตัว
คู่ต่อสู้ไปพร้อม ๆ กัน

รูปที่ 2
เทคนิคการปัดขาด้วยหลังเท้า ใช้หลังเท้าปัดน่อง
คู่ต่อสู้

รูปที่ 3
เทคนิคการปัดด้วยการใช้ข้อเท้าเกี่ยว ต้องใช้
ข้ อ เท้ า นั ก กี ฬ าเกี่ ย วบริ เ วณข้ อ เท้ า คู ่ ต ่ อ สู ้ ด ้ ว ย
เช่นเดียวกัน

96 96 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬาปั
ฬนาแห่
จักสีงลัตประเทศไทย

รูปที่ 4
การปัดขาด้วยการปัดหรือเกีย่ วบริเวณข้อเท้าหน้า
(ตาตุ่ม) ของคู่ต่อสู้อย่างถูกวิธี

รูปที่ 5
เทคนิ ค การปั ด ขาด้ ว ย วิ ธี ก ารใช้ ก ล้ า มเนื้ อ ขา
ด้านหลัง หรือน่อง เกี่ยวพร้อมกับมือซ้ายดึงแขนขวา
มือขวาผลักตัวคู่ต่อสู้

รูปที่ 6
เทคนิ ค การปั ด ขาด้ ว ย วิ ธี ก ารล้ ม หน้ า คื อ
การปัดขาด้วยการล้มตัวลงและใช้ขาข้างใดข้างหนึ่ง
เกี่ยวขา บริเวณน่อง หรือข้อขาของคู่ต่อสู้

รูปที่ 7
เทคนิ ค การปั ด ขาด้ ว ย วิ ธี ก ารล้ ม หลั ง คื อ
การปัดขาด้วยการหมุนตัวล้มหลัง ใช้บริเวณข้อขาและ
น่องเป็นบริเวณปัดขาคู่ต่อสู้

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 97 97
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

รูปที่ 8
เทคนิคการท�าล้มด้วยวิธีการหนีบขาคู่ต่อสู้ คือ
นักกีฬาต้องใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งวางหรือผลักบริเวณ
น่อง และขาอีกข้างวางบริเวณข้อเท้าของคูต่ อ่ สู ้ (ขาทัง้
สองข้างต้องวางไขว้กัน หากข้างหนึ่งวางหน้าขา อีก
ข้างต้องวางหลังขาคู่ต่อสู้)

รูปที่ 9
เทคนิคการท�าล้มด้วยการกระโดดหนีบเอว คือ
นักกีฬาต้องใช้แรงกระโดดหนีบสูงขึ้นไปบริเวณน่อง
และเอวของคู่ต่อสู้ ใช้แขนช่วยดันตัวในการกระโดด
หนีบ

รูปที่ 10
เทคนิ ค การท� า ล้ ม ด้ ว ยการกระโดดหนี บ เอว
นักกีฬาต้องใช้แรงกระโดดทั้งตัวโดยไม่ต้องใช้แขน
ช่วยพยุงตัว วิธีนี้เป็นวิธีที่ยากกว่าวิธีอื่นๆ เนื่องจาก
ต้องหาจังหวะการกระโดดที่แน่นอนและต้องมั่นใจใน
การกระโดดเตะสามารถท�าให้คตู่ อ่ สูล้ ม้ ลงอย่างได้ผล
เนื่องจากคู่ต่อสู้จ� าเป็นต้องแบกรับน� าหนักตัวของ
นักกีฬาไว้ หากคู่ต่อสู้ไม่แข็งแรงก็จะเสียการทรงตัว
และล้มลงไปในที่สุด
98 98 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

3.8 เทคนิคกำรจับขำ ตังกัปปัน (Teknik Tangkapan)


คือ เทคนิคการจับขา โดยนักกีฬาต้องจับขาคู่ต่อสู้ก่อนที่จะหาวิธีท�าล้มคู่ต่อสู้ ซึ่งการจับขาถือได้
ว่ามีความส�าคัญมากในการแข่งขัน นักกีฬาคนใดสามารถจับขาคูต่ อ่ สูไ้ ด้ ก็ถอื ได้วา่ มีโอกาสท�าล้มได้สงู ถึง 80%
ดังนั้นการจับขาอย่างถูกวิธีจะสามารถเพิ่มความมั่นใจในการท�าล้มได้
บ่อยครั้งที่นักกีฬาไม่สามารถท� าล้มคู่ต่อสู้ได้เนื่องจากนักกีฬาไม่มั่นใจในการจับขาคู่ต่อสู ้
ซึ่งการท�าล้มในกีฬาปันจักสีลัต ต้องท�าล้มให้ได้ภายใน 5 วินาที แต่หากนักกีฬาไม่มั่นใจในการจับขา และยัง
เก้ๆ กังๆ เช่นนี้ท�าให้เสียเวลา และเสียโอกาสท�าล้มได้ในที่สุด
ในการแข่งขันประเภทต่อสู้มักจะเกิดอุบัติเหตุจากการแข่งขันเสมอ อุบัติเหตุที่พบบ่อยจะเป็นใน
เรื่องของ แขนหัก ปากแตก ขาหัก รวมไปถึงโดนจับทุ่มแล้วเกิดหลับไปโดยไม่รู้สึกตัวก็มี และอุบัติเหตุที่มักจะ
พบบ่อยมากที่สุดก็คือ แขนหัก หรือนิ้วหัก สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการจับขาคู่ต่อสู้อย่างผิดวิธ ี (เมื่อคู่ต่อสู้เตะ
คูต่ อ่ สูท้ กุ คนจะออกแรงเตะอย่างสุดก�าลังไม่มคี า� ว่าออมแรง ซึง่ โดยทัว่ ไปแรงขาจะมีความแข็งแรงมากกว่าแรง
แขนหรือนิ้วหลายเท่า การจับขาจึงเป็นเทคนิคที่ส�าคัญอย่างยิ่งในการฝึกฝนอย่างถูกวิธี)
ทั้งนี้ นักกีฬาต้องเสริมสร้างกล้ามเนื้อแขนด้วยการวิดพื้น เพราะนักกีฬาต้องตระหนักเสมอ
ว่าการจับขาเป็นการใช้แขนจับซึ่งแขนมีความแข็งแรงน้อยกว่าขา นอกจากนี้แล้ว การจับขาต้องใช้ปฏิภาณ
ไหวพริบ หาจังหวะเข้าจับอย่างรวดเร็ว และเมื ขาได้แแล้ล้ววนันักกกีกีฬฬาต้
และเมือ่ จับขาได้ าต้อองขยั
งรับบเข้เข้าาใกล้
ใกล้ลลา� ำ� ตัตัววคูคูต่ ต่ อ่ อ่ สูสูเ้ ้ พือ่ จะสามารถ
จะสามารถ
ผลัก ดึง ท�าล้มได้ภายในระยะเวลาที่ก�าหนด โดยเฉพาะเทคนิคการจับขา ตัง กัป ปัน ลู วัร (Tangkapan Luar)
เป็นเทคนิคการจับขาที่ใช้แขนข้างเดียวจับ แขนอีกข้างต้องรีบดันตัวคู่ต่อสู้ จึงจะมีโอกาสท�าล้มได้เนื่องจาก
คู่ต่อสู้ได้เสียการทรงตัวจากการที่ขาข้างหนึ่งถูกจับไว้แล้ว
เทคนิคการจับขาพื้นฐาน มี 2 กระบวนท่าได้แก่ เทคนิค การจับขาตังกัป ปัน ดาลัม (Teknik
Tangkapan Dalam) และเทคนิคการจับขา ตังกัปปัน ลูวัร (Teknik Tangkapan Luar)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 99 99
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.8.1 เทคนิค กำรจับขำเข้ำใน ตังกัป ปัน ดำลัม (Teknik Tangkapan Dalam)


คือ เทคนิคการจับขาจากข้างในล�าตัว ใช้แขนข้างเดียวจับขาอาศัยการดึงขาจากนอก
ล�าตัวเข้าในล�าตัว หรือจะใช้แขนทั้งสองข้างจับก็ได้
นักกีฬาไม่ควรใช้มอื หรือใช้นวิ้ รับขาคูต่ อ่ สูโ้ ดยเด็ดขาด เนือ่ งจากมือและนิว้ ไม่สามารถรับ
แรงเตะของคู่ต่อสู้ได้ และอาจเกิดอาการบาดเจ็บตามมาด้วยก็เป็นได้

กระบวนท่ำ กำรจับขำตังกัป ปัน ดำลัม (Teknik Tangkapan Dalam)

รูปที่ 1
คู่ซ้อมหันหน้าเข้าหากันเพื่อเตรียมซ้อมวิธีการจับขา

รูปที่ 2 รูปที่ 3
ขณะที่ คู ่ ต ่ อ สู ้ ย กขาขึ้ น เตะได้ แ ล้ ว ครึ่ ง ทาง ให้ แขนขวาจับขาในลักษณะให้ขาคูต่ อ่ สูอ้ ยูใ่ นล�าตัว
นักกีฬา เตรียมจับด้วยการส่งแขนลงต�่า แขนซ้ายป้อง แขนซ้ายช่วยจับเพือ่ หยุดการเคลือ่ นไหวของเข่า คูต่ อ่ สู้
ตัว (ดังรูป) (ขาคู่ต่อสู้จะถูกล๊อกโดยทันที)
100 100 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

3.8.2 เทคนิค กำรจับขำออกนอก ตังกัป ปัน ลูวัร (Teknik Tangkapan Luar)


คือ เทคนิคการจับขาออกนอกล�าตัว ใช้แขนข้างเดียวเท่านั้นในการจับ เนื่องจากแขนอีก
ข้างต้องช่วยผลัก หรือดัน หรือดึงล�าตัวคูต่ อ่ สู ้ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการล้ม ซึง่ เทคนิคนีต้ อ้ งใช้บริเวณข้อศอก
ไปจนถึงแขน (ข้อพับระหว่างศอก) รับลูกเตะ ทั้งนี้ต้องอาศัยปฏิภาณไหวพริบ ในการเข้าใกล้ล�าตัวคู่ต่อสู้ และ
แขนอีกข้างเตรียมรอจังหวะ ผลัก หรือ ดัน หรือดึงล�าตัวคู่ต่อสู้
นักกีฬาไม่ควรใช้กา� ลังแขนทัง้ หมดรับลูกเตะของคูต่ อ่ สู้ เพราะขาทีเ่ ตะเต็มก�าลังปะทะกับ
แขนทีเ่ กร็งรับเต็มก�าลังด้วยเช่นเดียวกันนัน้ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ แขนหักก็เป็นได้ ดังนั้นควรใช้ก�าลังรับเพียง
50% เท่านั้น อีก 50% ต้องเก็บแรงไว้กับแขนอีกข้างที่ต้องผลักตัวคู่ต่อสู้

กระบวนท่ำกำรจับขำตังกัป ปัน ลูวัร (Teknik Tangkapan Luar)

รูปที่ 1
คู่ซ้อมหันหน้าเข้าหากันเพื่อเตรียมซ้อมวิธีการจับขา

รูปที่ 2 รูปที่ 3
ขณะที่ คู ่ ต ่ อ สู ้ ย กขาขึ้ น เตะได้ แ ล้ ว ครึ่ ง ทาง ให้ ขั้นตอนสุดท้าย คือ แขนซ้ายจับขาคู่ต่อสู้ (รับขา
นักกีฬา เตรียมจับด้วยการส่ง แขนซ้ายลงต�่า (เตรียม ด้วยบริเวณข้อพับศอก) พร้อมใช้แขนอีกข้างผลักตัว
รับขา) ตาจ้องมองขาคู่ต่อสู้ (ดังรูป) คู่ตอ่ สู้ (ดังรูป)
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 101 101
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3.9 เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน (Teknik Bentingan)


คือ เทคนิคการท�าล้ม หลังจากที่นักกีฬาจับขาคู่ต่อสู้เป็นผลแล้ว เมื่อคู่ต่อสู้โดนจับขาข้างหนึ่งจะ
เสียการทรงตัว เป็นจังหวะที่ดีที่นักกีฬาสามารถท�าล้มคู่ต่อสู้ได้ แต่ทั้งนี้ นักกีฬาเองก็ต้องทรงตัวให้ดี เนื่องจาก
บ่อยครั้งในสนามการแข่งขันที่มักพบว่า นักกีฬาเองต้องล้มลงตามคู่ต่อสู้ไปด้วย ผลก็คือ กรรมการจะไม่ให้
คะแนนจากการล้มก็เป็นได้ เพราะถือได้วา่ นักกีฬาไม่ได้ทา� ให้คตู่ อ่ สูล้ ม้ แต่สาเหตุทคี่ ตู่ อ่ สูล้ ม้ เป็นเพราะนักกีฬา
ผิดพลาดทางเทคนิคเอง
เทคนิคการท�าล้มวิธีนี้ เป็นวิธีการท�าล้มหลังจากนักกีฬาสามารถจับขาคู่ต่อสู้ได้ และเมื่อจับได้
แล้วให้รบี เข้าใกล้ล�าตัวคูต่ อ่ สูท้ นั ที เพือ่ สามารถ ผลัก ดัน หรือดึงล�าตัวคูต่ อ่ สู้ แต่การเข้าใกล้คตู่ อ่ สูไ้ ด้ถกู ยกเว้น
กับวิธกี ารท�าล้ม แบบกระบวนท่าท�าล้ม บันเต็งงัน (Bentingan C) และกระบวนท่าท�าล้ม บันเต็งงัน (Bentingan
D) เนื่องจาก 2 เทคนิคนี้ เป็นการใช้มือทั้งสองข้างจับและเมื่อจับได้แล้วก็ต้องอาศัยการเหวี่ยงขาเพื่อท�าล้ม
นอกจากนี้แล้วการจับขาได้แล้วยกขาขึ้นสูง จะสามารถท�าให้คู่ต่อสู้เสียการทรงตัวและล้มได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้
ก็ต้องขึ้นอยู่กับปฏิภาณไหวพริบและความเฉลียวฉลาดของนักกีฬาที่จะสามารถเปลี่ยนเป็นวิธีการท�าล้ม
ง่าย ๆ แต่ได้ผล
ในกีฬาปันจักสีลตั เทคนิคการท�าล้มด้วยวิธนี ี้ ได้มกี ารคิดค้นเทคนิคใหม่ ๆ มากมายหลายกระบวน
ท่า ซึ่งแต่ละสนามการแข่งขันจะเพิ่มเทคนิคใหม่ๆ ให้เห็นกันอย่างต่อเนื่อง
ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าว ถึงเทคนิคการท�าล้มพื้นฐานที่นิยมน�ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในการ
แข่งขัน ซึ่งนักกีฬาต้องอาศัยความระมัดระวังในการฝึกซ้อมโดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าคู่กับคู่ซ้อม
เพื่อการฝึกซ้อมที่ดีและมีประสิทธิภาพ นักกีฬาควรฝึกได้ทั้งเป็นฝ่ายท�าล้ม และเป็นฝ่ายล้ม
เสียเอง เนื่องจากนักกีฬาจะได้เข้าใจเหตุและผลของการท�าล้ม ว่ามีลักษณะอย่างไร และเมื่อต้องตกเป็น
ฝ่ายล้มเองแล้วควรล้มลักษณะใด เพื่อสามารถทุเลาอาการบาดเจ็บลงได้
ขณะฝึกซ้อมนักกีฬาควรหาวิธแี ก้ไขการท�าล้ม กล่าวคือ เมือ่ นักกีฬาเป็นฝ่ายโดนคูต่ อ่ สูจ้ บั ขาแล้ว
นักกีฬาควรคิดหาวิธีแก้ไขสถานการณ์ เพื่อไม่ให้ตนเองล้มจนต้องเสียคะแนน เช่น เมื่อนักกีฬาโดนจับขาข้าง
หนึ่งแล้ว นักกีฬาพยายามใช้ขาอีกข้างกระโดดอยู่กับที่เพื่อไม่ให้เสียความสมดุลของร่างกาย ซึ่งจังหวะ
การกระโดดจะสามารถยืดเวลาการท�าล้มได้ เป็นต้น

102 102 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต


คู่มือผู้ฝการกี
ึกสอนกีฬ
ฬาปัาแห่
นจักงสีประเทศไทย
ลัต

ประเภทของเทคนิคกำรท�ำล้ม เทคนิค บันเต็งงัน (Teknik Bentingan)


เทคนิคการท�าล้ม บันเต็งงัน (Teknik Bentingan) พื้นฐาน มี 11 ประเภทแบ่งออกได้เป็นการท�าล้ม
ด้วยการจับขาเข้าใน ตังกัป ปัน ดาลัม (Tangkapan dalam) 6 ประเภท และ การท�าล้มด้วยการจับขาออกนอก
ตังกัป ปัน ลูวัร (Tangkapan luar) 5 ประเภท
เนื่องจากเทคนิคการท�าล้มที่จะกล่าวนี้ เป็นเทคนิคที่สามารถคิดค้นได้ทุกขณะ กล่าวคือ ขณะซ้อม
นักกีฬาอาจเจอวิธีการจับขาขึ้นมาใหม่และก็สามารถท�าล้มอย่างได้ผล วิธีการท�าล้มใหม่ๆ นั้น ก็ไม่สามารถที่
จะก�าหนดชือ่ เฉพาะได้ เพือ่ ให้เกิดความสะดวก จ�าง่ายในการเรียกชือ่ จึงก�าหนดชือ่ การท�าล้มเป็นตัวอักษร ตาม
อักขระภาษาอังกฤษ เช่น บันเต็งงัน เอ(BantinganA), บันเต็งงัน บี (BantinganB), บันเต็งงัน ซี (BantinganC)
เป็นต้น

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 103
103
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

กำรท�ำล้มด้วยกำรจับขำเข้ำใน ตังกัป ปัน ดำลัม (Tangkapan dalam)


1. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน เอ (Bantingan “A”)
เทคนิคนี้นักกีฬาต้องเสริมสร้างสมรรถภาพของกล้ามเนื้อแขนและขา เพื่อสามารถรับน�้าหนักตัวของ
คูต่ อ่ สูไ้ ด้ เป็นเทคนิคทีน่ กั กีฬาต้องใช้แขนออกแรงดึงตัวคูต่ อ่ สูแ้ ละขาออกแรงเกีย่ ว(หลังขา)ไปพร้อม ๆ กัน ดังนี้

บันเต็งงัน เอ (Bantingan “A”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
เมื่อคู่ต่อสู้เตะด้วยขาขวาบริเวณท้อง ให้จับขาคู่ มื อ ขวาจั บ ขาให้ แ น่ น ใช้ ข าซ้ า ยเตะหลั ง แข้ ง
ต่อสู้ด้วยแขนขวา มือซ้ายจับไหล่ (เตรียมดึง) (เตรียมเกี่ยว) คู่ต่อสู้

รูปที่ 4 รูปที่ 3
คู่ต่อสู้ล้มลงโดยใช้แผ่นหลังลงพื้น มือซ้ายออกแรงดึงตัว พร้อมขาซ้ายออกแรงเกี่ยว
เข้า เพื่อให้คู่ต่อสู้ล้มลง
104 104 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

2. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน บี (Bantingan “B”)


เทคนิคนี้จะท�าให้คู่ต่อสู้ล้มไปข้างหน้า โดยใช้แขนข้างหนึ่งจับขา อีกข้างผลักตัว และใช้ขาเกี่ยว
ขาคู่ต่อสู้(หน้าขา) ซึ่งต้องออกแรงผลักและเกี่ยวไปพร้อม ๆ กันคู่ต่อสู้จะเสียหลักล้มลงโดยสมบูรณ์

บันเต็งงัน บี (Bantingan “B”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
เมือ่ คูต่ อ่ สูเ้ ตะด้วยขาขวา ให้จบั ขาคูต่ อ่ สูด้ ว้ ยแขน แขนขวาจับขาขวาคู่ต่อสู้ (หมุนขาเปลี่ยนมาอยู่
ทั้งสองข้าง แยกขาออกเพื่อความสมดุลของร่างกาย ข้างล�าตัวด้านขวา) มือซ้ายเตรียมผลักล�าตัว

รูปที่ 4 รูปที่ 2
คู่ต่อสู้ล้มไปด้านหน้า ดังรูป ขาขวาถอยหลังมา 1 ก้าว (เตรียมเหวี่ยงคู่ต่อสู้)
ก้มตัวพร้อมกดขาลงต�่าเล็กน้อย
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 105 105
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน ซี ( Bantingan “C”)


เทคนิคนี ้ แขนมีสว่ นส�าคัญมากต่อการท�าล้ม นักกีฬาต้องเสริมสร้างกล้ามเนือ้ แขนให้แข็งแรง เช่น
การวิดพื้น การอุ้มเพื่อนนักกีฬา เป็นต้น เพื่อสามารถออกแรงดึงและเหวี่ยงคู่ต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง
ต้องฝึกฝนในเรื่องของการทรงตัว เพราะหากทรงตัวไม่ดีก็อาจจะล้มลงไปพร้อมกับคู่ต่อสู้ด้วย (การล้มด้วยกัน
อาจถือได้ว่า ล้มไม่สมบูรณ์และไม่เป็นคะแนน)

เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน ซี (Bantingan “C”)

รูปที่ 2
รูปที่ 1 ขาขวาถอยหลังมา 1 ก้าว (เตรียมเหวี่ยงคู่ต่อสู้)
เมื่อคู่ต่อสู้เตะด้วยขาขวา ให้นักกีฬาจับขาขวา ก้มตัวพร้อมกดขาลงต�่าเล็กน้อย
ด้วยมือทั้งสองข้าง แยกขาออกเล็กน้อยเพื่อความ
สมดุลของร่างกาย

รูปที่ 4 รูปที่ 3
คู่ต่อสู้ต้องเสียหลัก และล้มลง (ใช้ข้างล�าตัวล้ม) ดึงขาคู่ต่อสู้และเมื่อคู่ต่อสู้เสียจังหวะ เริ่มเหวี่ยง
ขา (เหวี่ยงไปทางขวา) พร้อมก้าวขาขวาไปข้างหน้า
106 106 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

4. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน ดี (Bantingan “D”)


เทคนิคการท�าล้มแบบ D มีลักษณะการเหวี่ยงที่คล้ายแบบ C แต่เทคนิคการล้มแบบ D ผลของ
การเหวี่ยง คือ นักกีฬาล้มหน้า ไม่ใช้ล้มข้างแบบ C ดังนั้นเพื่อการท�าล้มที่สมบูรณ์นักกีฬาต้องเสริมสร้างกล้าม
เนื้อแขนและการทรงตัว รวมทั้งควรฝึกฝนด้วยการเข้าคู่กับคู่ซ้อมแล้วสลับกันเป็นฝ่ายรุกและรับ

เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน ดี (Bantingan “D”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
เมื่อคู่ต่อสู้เตะด้วยขาขวา ให้นักกีฬาจับขาขวา ขาขวาถอยหลังมา 1 ก้าว (เตรียมเหวี่ยงคู่ต่อสู้)
ด้วยมือทั้งสองข้าง กางขาออกเล็กน้อยเพื่อความ ก้มตัวพร้อมกดขาลงต�่าเล็กน้อย
สมดุลของร่างกาย

รูปที่ 4 รูปที่ 3
คู่ต่อสู้ต้องเสียหลัก และล้มลง (ล้มหน้า) ดึงขาคู่ต่อสู้เมื่อคู่ต่อสู้เสียจังหวะ เริ่มเหวี่ยงขา
(เหวี่ ย งไปทางทิ ศ ทางซ้ า ย) พร้ อ มก้ า วขาขวาไป
ข้างหน้า
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 107 107
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

5. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน อี (Bantingan “E”)


เป็นเทคนิคที่ต้องใช้การเหวี่ยง และเมื่อคู่ต่อสู้เริ่มทรงตัวไม่อยู่ให้ใช้ขาปัดขาช่วยล้มอีกแรง เป็น
เทคนิคทีเ่ หมาะกับการรับลูกเตะ ซาบิต Sabit (Round kick) กล่าวคือ เมือ่ คูต่ อ่ สูเ้ ตะ ซาบิต Sabit (Round kick)
เป็นความโชคดีของนักกีฬาที่จะใช้เทคนิคนี้ท�าล้มได้อย่างง่ายดาย

เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน อี (Bantingan “E”)

รูปที่ 1
เมื่อคู่ต่อสู้เตะด้วยขาขวา ให้นักกีฬาจับขาขวาด้วยมือทั้งสองข้าง แยกขาออกเล็กน้อยเพื่อความสมดุล
ของร่างกาย

รูปที่ 2 รูปที่ 3
เหวี่ยงพร้อมดึงขาขวาคู่ต่อสู ้ เมื่อคู่ต่อสู้ต้องหมุน คู่ต่อสู้เสียหลักและล้มลง ด้วยการล้มหลัง
ตัวตามการเหวี่ยง นักกีฬาใช้ขาขวาก้าวปัดขา

108 108 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต


คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

6. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน เอฟ (Bantingan “F”)


เทคนิคนี้นักกีฬาต้องใช้ขาช่วยเกี่ยวขาคู่ต่อสู้ ดังนั้น นอกจากนักกีฬาต้องเสริมสร้างกล้ามเนื้อแขน
ฝึกฝนการทรงตัวแล้วนักกีฬายังต้องเสริมสร้างสมรรถภาพกล้ามเนื้อขา เช่น การวิ่งเร็ว (จับเวลา) การวิ่งขึ้นลง
บันได รวมทั้งต้องหมั่นเตะกระสอบทราย เพื่อสามารถให้มีแรงเกี่ยวขาคู่ต่อสู้ได้อย่างเป็นผลส�าเร็จ

เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน เอฟ (Bantingan “F”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
เมือ่ คูต่ อ่ สูเ้ ตะสูงด้วยขาขวา ใช้แขนทัง้ สองข้างจับ ใช้ขาขวาเกี่ยวขาซ้ายคู่ต่อสู้
ขาให้แน่น ก้าวขาซ้ายไปข้างหน้า

รูปที่ 4 รูปที่ 3
คู่ต่อสู้เสียหลักและล้มลงโดยสมบูรณ์ ขาขวาออกแรงเกีย่ วขาซ้าย พร้อมทัง้ แขนซ้ายช่วย
ดึงยกขาขวาคู่ต่อสู้ให้ล้มลง
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 109 109
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

7. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน จี (Bantingan “G”)


เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ง่ายและเมื่อนักกีฬาน�ามาใช้จริงแล้วมักจะใช้ได้เป็นผลส�าเร็จ นักกีฬาต้อง
ใช้แขนข้างหนึ่งจับขาคู่ต่อสู้ (ข้างที่คู่ต่อสู้เตะ) แขนอีกข้างต้องช่วยผลักล�าตัวพร้อมกับต้องใช้ขาช่วยเกี่ยวขาคู่
ต่อสู้ เพื่อให้การล้มสมบูรณ์
เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน จี (Bantingan “G”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
เมื่อคู่ต่อสู้เตะสูงด้วยขาขวา ใช้แขนซ้ายจับขาให้ ใช้ขาขวาเกีย่ วหลังขาซ้าย (หลังขา) มือขวาจับไหล่ เพือ่
แน่น ก้าวขาซ้ายไปข้างหน้า เตรียมผลักตัวคู่ต่อสู้

รูปที่ 4 รูปที่ ่3
คู่ต่อสู้เสียหลักและล้มลง (ล้มหลัง) ขาขวาออกแรงเกีย่ วขา พร้อมมือขวาออกแรงผลัก
คู่ต่อสู้
110 110 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปันาแห่
จักสีงลประเทศไทย
ัต

8. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน เอช (Bantingan “H”)


หรือเรียกกันอย่างติดปากว่าในภาษาอินโดนีเซียว่า มือ เงง ดอง (Mengendong) คือ การท�าล้ม
แบบอุ้ม เป็นเทคนิคที่นักกีฬาต้องจับอุ้มคู่ต่อสู้ก่อนแล้ววางลงพื้น ซึ่งนักกีฬาต้องใช้ก�าลังกล้ามเนื้อแขนยกอุ้ม
คู่ต่อสู ้ นักกีฬาสามารถฝึกฝนได้ด้วยการหมั่นอุ้มคู่ซ้อมแล้วพาเดิน หรือพาวิ่ง หรืออุ้มขึ้นบันได เป็นต้น
เทคนิคนี้เมื่อนักกีฬาสามารถฝึกฝนได้อย่างคล่องแคล่วแล้วจะเป็นผลดีต่อนักกีฬาเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากคู่ต่อสู้จะหาวิธีการแก้ไขสถานการณ์ (ไม่ให้ล้ม)ได้ยาก

เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน เอช (Bantingan “H”)

รูปที่ 1
แขนซ้ายคล้องขาคู่ต่อสู้ ดึงขาเข้าใกล้ตัว มือขวาจับบริเวณใต้ก้นเพื่อเตรียมยกตัว

รูปที่ 3 รูปที่ 2
คู่ต่อสู้ล้มลงโดยสมบูรณ์โดยวิธีล้มหลัง ยกหรืออุ้มตัวคู่ต่อสู ้ โดยใช้ก�าลังแขนทั้งสองข้าง
ช่วยยก
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 111 111
การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

9. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน ไอ (Bantingan “I”)


เทคนิคการท�าล้มวิธนี ี้ ต้องใช้มอื จับไหล่คตู่ อ่ สูแ้ ล้วออกแรงแขนช่วยกดลงเพือ่ ให้ลม้ ขณะทีค่ ตู่ อ่ สู้
ก�าลังเอียงตัวลงให้ยกขาคู่ต่อสู้(ข้างที่จับได้)ขึ้นเพื่อช่วยให้การล้มสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เป็นเทคนิคที่คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการม้วนหน้าก่อนตกถึงพื้น

เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน ไอ (Bantingan “I”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
เมื่อคู่ต่อสู้เตะสูงด้วยขาซ้าย ใช้แขนขวาจับขาให้ มือซ้ายกดไหล่ พร้อมปัดขาขวาคูต่ อ่ สูด้ ว้ ยขาซ้าย
แน่น มือซ้ายจับไหล่ (เตรียมกดตัว)

รูปที่ 4 รูปที่ 3
คู่ต่อสู้ล้มลงในลักษณะม้วนหน้า แล้วล้มหลัง เมื่อคู่ต่อสู้เริ่มก้มตัวลงให้ยกขาซ้าย สูงขึ้น เรื่อยๆ
จะช่วยให้คู่ต่อสู้เสียหลักมากขึ้น
112 112 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลประเทศไทย
ัต

10. เทคนิคการท�าล้ม บันเต็งงัน เจ (Bantingan “J”)


เทคนิคการท�าล้มวิธีนี้ ใช้ขั้นตอนการท�าล้มคล้ายกับ การท�าล้ม บันเต็งงัน ไอ Bantingan “I”
โดยวิธีการจับขาคู่ต่อสู้ ยกขึ้นสูงระดับไหล่ ใช้มือกดล�าตัวพร้อมขาเกี่ยว ออกแรงกดล�าตัวและเกี่ยวขาเพื่อให้
คู่ต่อสู้ล้มลง
เทคนิคนีใ้ ช้ขาช่วยเกีย่ วอีกแรงเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการล้ม (คูต่ อ่ สูล้ ม้ ลงในลักษณะม้วนหน้า
แล้วล้มหลัง)

เทคนิคการท�าล้ม บันเต็งงัน เจ (Bantingan “J”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
เมื่อคู่ต่อสู้เตะสูงด้วยขาซ้าย ใช้แขนขวาจับขา มือซ้ายกดไหล่ พร้อมปัดขาขวาคูต่ อ่ สูด้ ว้ ยขาซ้าย
ให้แน่น มือซ้ายจับไหล่ (เตรียมกดตัว)

รูปที่ 4 รูปที่ 3
คู่ต่อสู้ล้มลงในลักษณะม้วนหน้า แล้วล้มหลัง เมื่อคู่ต่อสู้เริ่มก้มตัวลงให้ยกขาซ้าย สูงขึ้น เรื่อย ๆ จะ
ช่วยให้คู่ต่อสู้เสียหลักมากขึ้น
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 113 113
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

11. เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน เค (Bantingan “K”)


เทคนิคการท�าล้ม บันเต็งงัน เค Bantingan “K” คือการท�าล้มด้วยการใช้แขนข้างหนึง่ จับขาคูต่ อ่ สู้
แขนอีกข้างใช้ผลักล�าตัวพร้อมขาเกี่ยว (ข้อขาคู่ต่อสู้) เพื่อช่วยให้การล้มสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เทคนิคกำรท�ำล้ม บันเต็งงัน เค (Bantingan “K”)

รูปที่ 1 รูปที่ 2
เมื่อคู่ต่อสู้เตะสูงด้วยขาขวา ใช้แขนซ้ายจับขาให้ ขาขวาเกีย่ วขาซ้าย มือขวาจับไหล่เพือ่ เตรียมผลัก
แน่น ก้าวขาซ้ายไปข้างหน้า ล�าตัว

รูปที่ 4 รูปที่ 3
คู่ต่อสู้ล้มลงอย่างสมบรณ์ (ล้มหลัง) ออกแรงทั้งผลักตัวและเกี่ยวขาคู่ต่อสู้ ไปพร้อมๆ กัน

เทคนิคการท�าล้ม นักกีฬาควรฝึกฝนกระบวนท่าให้เกิดความช�านาญทั้งการจับข้างขวา และข้างซ้าย


จึงจะสามารถสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันได้
114 114 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

3.10 เทคนิค เบอร์ ตำ ฮำน นัน ตืร ฮำ ดับ บัน เต็ง งัน (Teknik bertahanan terhadap
bantingan) คือ เทคนิคการถ่วงดุลเพื่อไม่ให้ล้ม ในกีฬาปันจักสีลัต ผู้ที่เป็นฝ่ายท�าล้มกระท�าหน้าที่เป็นฝ่ายรุก
และหากนักกีฬาตกเป็นฝ่ายโดนท�าล้มก็กระท�าหน้าทีเ่ ป็นฝ่ายรับ ซึง่ ไม่วา่ จะโดนท�าล้มด้วยเทคนิคหรือวิธกี ารใด
-ผู้ที่สามารถท�าล้มคู่แข่งได้จะได้รับคะแนน 3 คะแนนทันที การล้มจึงเป็นเทคนิคที่ผู้ฝึกสอนรวมทั้งนักกีฬา
ต้องตระหนักและฝึกฝนกันอย่างจริงจังก่อนลงสนามแข่งขันกีฬาปันจักสีลัตประเภทต่อสู้
ในสนามการแข่งขันกีฬาปันจักสีลตั ฝ่ายใดสามารถท�าล้มคูต่ อ่ สูไ้ ด้ ถือว่ามีความส�าคัญต่อการตัดสิน
ของกรรมการ การท�าล้มได้จะสามารถสร้างก�าลังใจและความมั่นใจให้กับนักกีฬา แต่ในทางกลับกันผู้ใดโดน
ท�าล้มไปเพียงแค่ครั้งเดียวก็อาจท�าให้หมดก�าลังใจและท้อถอย และคิดว่าตนเองต้องแพ้แน่นอนแล้ว จึงเป็น
หน้าที่ของผู้ฝึกสอนที่จะต้องแก้เกมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักกีฬาขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นการท�าล้มนอกจาก
จะเป็นอันตรายส�าหรับร่างกายที่อาจได้รับบาดเจ็บ แล้วยังอาจก่อให้เกิดบาดแผลต่อสภาพจิตใจนักกีฬาอีก
ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ก่อนการแข่งขันแต่ละสนาม ผู้ฝึกสอนรวมทั้งนักกีฬาจึงต้องหาวิธีแก้ไขสถานการณ์ หรือหา
วิธีการว่าท�าอย่างไร? เพื่อไม่ให้ล้มเมื่อโดนคู่ต่อสู้จับขา หรือช่วยกันคิดว่าจะมีเทคนิคใดจะสามารถถ่วงดุล
ไม่ให้เกิดการล้มไปตามสถานการณ์
เทคนิคการถ่วงดุลเพื่อไม่ให้ล้ม ที่มักพบเห็นกันบ่อยในสนามแข่งขันคือ เมื่อนักกีฬาโดนจับขามักจะ
ใช้วิธีการกอดคอ (ล็อคคอ) หรือ มักจะใช้ขาอีกข้างกระโดดย�่าอยุู่กับที่ หรือบางครั้งต้องใช้วิธีการตอบโต้ด้วย
การต่อยบริเวณล�าตัวเพือ่ ให้คตู่ อ่ สูพ้ ะวงว่าตนโดนต่อยและต้องเสียคะแนนจนต้องรีบปล่อยขา หรือบางคนเมือ่
โดนจับขาได้แล้วรีบมองหาเส้นขอบนอกเพื่อจะกระโดดออกนอกเส้น (การตกนอกเส้นสนามที่กา� หนดไม่เป็น
คะแนน) เป็นต้น ทัง้ นีแ้ ล้วแต่วา่ นักกีฬาว่าจะมีปฏิภาณไหวพริบ หรือจะใช้เทคนิคใดให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ที่ตนเองก�าลังเผชิญอยู่เพื่อสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการล้ม นั่นเอง
เทคนิคการท�าล้ม หรือเทคนิคการถ่วงดุลเพื่อไม่ให้ล้มเป็นเทคนิคที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองอย่าง
อัตโนมัติขณะท�าการแข่งขัน แต่เทคนิคเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้กับนักกีฬา ในกรณีที่นักกีฬาได้รับการฝึกฝนมา
อย่างหนักใช้เทคนิคได้อย่างคล่องแคล่ว ฝึกฝนซ�า้ ๆ จนเกิดความเคยชินหรือน�าเทคนิคออกมาใช้ได้อย่างอัตโนมัต ิ
ก่อนที่จะลงสนามแข่งขัน เนื่องจากในสนามนักกีฬาจะได้รับความกดดันอย่างมหาศาล (ตื่นเต้น หรือกลัวการ
พ่ายแพ้) หากไม่ช�านาญในกระบวนท่าก็ไม่สามารถที่จะน�าเทคนิคแต่ละกระบวนท่าออกมาใช้ได้
ดังนั้น นักกีฬาต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างหนักเพื่อจะสามารถเป็นฝ่ายได้เปรียบในการแข่งขัน

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 115 115


การกีฬาแห่คู่มงือประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

เทคนิคกำรถ่วงดุลเพื่อไม่ให้ล้มที่จะกล่ำวนี้มีอยู่ด้วยกัน 5 ประเภท ดังนี้


1. มือ ยือ รัง ดือ งัน ปูโกล ลัน (Menyerang dengan pukulan) ถ่วงดุลด้วยการต่อยตอบโต้
กล่าวคือเมือ่ คูต่ อ่ สูส้ ามารถจับขานักกีฬาได้แล้ว นักกีฬาต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่เพือ่ ไม่ให้คตู่ อ่ สูม้ โี อกาส
เข้าใกล้ตัว หรือมีโอกาสหาวิธีท�าล้ม ให้นักกีฬารีบส่งหมัดต่อยเข้าบริเวณล�าตัวคู่ต่อสู้ คู่ต่อสู้จะรู้สึกตกใจ และ
เกิดอาการพะวงกับการท�าล้ม หรือเมือ่ กรรมการเห็นสถานการณ์กจ็ ะบอกหยุดเกมชัว่ คราว เนือ่ งจากเห็นว่าการ
ท�าล้มนั้นหยุดชะงัก หรือการท�าล้มไม่เป็นผลส�าเร็จ นั่นเอง

รูปที่ 1
เมื่อต้องโดนคู่ต่อสู้จับขา ให้ส่งหมัดต่อย นอกจากจะสามารถท�าให้คู่ต่อสู้พะวงไม่มั่นใจในการท�าล้ม
เนื่องจากโดนต่อยแล้ว ยังสามารถท�าคะแนนได้อีก 1 คะแนน (เพื่อความสะดวกในการต่อยควรต่อยด้วยแขน
ข้างเดียวกันกับขาที่โดนจับอยู่)

116 116 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต


คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

2. มึน ดอ รอง บำ ฮู ลำ วัน กือ บือ ลำ กัง (Mendorong bahu lawan ke balakang) คือ
การถ่วงดุลด้วยการผลักไหล่คู่ต่อสู้ กล่าวคือ เมื่อนักกีฬาโดนจับขาและก�าลังจะโดนท�าล้ม เหตุการณ์เช่นนี ้
นักกีฬามักจะคิดว่าไม่ควรเข้าใกล้คู่ต่อสู้ เนื่องจากการเข้าใกล้คู่ต่อสู้จะเปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ท�าล้มได้ง่ายขึ้น
แต่ในทางกลับกัน การเข้าใกล้ขณะโดนจับขาบางครั้งก็เป็นโอกาสดีที่จะสามารถถ่วงดุลไม่ให้เกิดการล้มได้
นั่นก็คือ การเข้าใกล้เพื่อผลักล�าตัวคู่ต่อสู้ (ไหล่) พร้อมทั้งให้ออกแรงกดขาข้างที่ถูกจับ เพื่อให้คู่ต่อสู้รู้สึกหนัก
และเกิดอาการลังเลใจจนต้องปล่อยขาออก การล้มจึงไม่เป็นผลส�าเร็จ
เทคนิคการถ่วงดุลวิธีนี้ เหมาะสมที่จะน�ามาใช้ถ่วงดุลกับเทคนิคการล้มได้ทุกประเภท แต่ที่เหมาะสม
ที่สุด คือการท�าล้มด้วยเทคนิค บันเต็งงัน ซี และ ดี (Bantingan “C” และ “D”)

รูปที่ 2
เมื่อต้องโดนคู่ต่อสู้จับขา รีบเข้าใกล้และออกแรงผลักตัวคู่ต่อสู้ด้วยแขนทั้งสองข้าง พร้อมออกแรงเกร็งขา
ที่โดนจับ เพื่อให้คู่ต่อสู้รู้สึกหนักและเสียการทรงตัวเนื่องจากโดนผลักจนต้องปล่อยขา (เทคนิคนี้หากคู่ต่อสู้ไม่
แข็งแรงก็มีโอกาสที่จะล้มลงเองเนื่องจากต้านทานแรงผลักไม่ได้)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 117 117


การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

3. มึน จำ โยฮ กัน กำกี ปือ นุม ปู กือ บือ ลำ กัง (Menjauhkan kaki penumpu ke belakang)
คือ การถ่วงดุลด้วยการถอยหลังหลบ เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้สามารถกวาดขาได้ เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการท�าล้ม
เทคนิค บันเต็งงัน เอ บี จี และเค (Bantingan “A”, “B”, “G”, และ “K”) เนื่องจากเทคนิคนี้คู่ต่อสู้ต้องใช้ขาเกี่ยว
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการล้ม แต่นักกีฬาต้องออกแรงเกร็งขาข้างที่โดนจับด้วย เพื่อให้คู่ต่อสู้รู้สึกหนักทั้งยัง
ไม่สามารถกวาดขาได้อีก จนต้องปล่อยขา เนื่องจากไม่สามารถท�าล้มได้ภายในเวลาที่ก�าหนด

รูปที่ 3
เมือ่ ขาโดนคูต่ อ่ สูจ้ บั และคูต่ อ่ สูพ้ ยายามใช้ขาอีกข้างกวาดหรือเกีย่ วขานักกีฬาเพือ่ ท�าล้ม เช่นนี ้ ให้นกั กีฬา
งอเข่า หรือก้าวถอยหลัง เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้กวาดขาถึง พร้อมทั้งต้องออกแรงเกร็งขาข้างที่โดนจับ เพื่อให้นักกีฬา
รู้สึกหนัก จนต้องยอมปล่อยขา

118 118 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต


คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

4. มือ งำ ลัง งี กือ ระ กำกี ลำ วัง (Menghalangi gerak kaki lawan) คือการถ่วงดุลด้วยการจับ
กดเข่าคูต่ อ่ สู ้ ทัง้ นี ้ เมือ่ นักกีฬาโดนจับขาข้างหนึง่ แล้ว ให้ใช้มอื ข้างใดข้างหนึง่ กดบริเวณน่องหรือเข่าคูต่ อ่ สู้ และ
มืออีกข้างกดบริเวณไหล่ พร้อมทั้งออกแรงเกร็งลงที่ขา ข้างที่โดนจับ เพื่อให้คู่ต่อสู้รู้สึกหนักและไม่สามารถ
ท�าล้มได้ เทคนิคนี้สามารถน�ามาใช้ได้กับทุกกระบวนท่าการท�าล้ม

รูปที่ 4
เมื่อคู่ต่อสู้จับขาส�าเร็จ และพยายามใช้ขาเพื่อกวาดหรือเกี่ยวขาของนักกีฬาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการท�าล้ม ให้นักกีฬาใช้มือกดน่องหรือบริเวณเข่าของคู่ต่อสู้ พร้อมใช้แขนขวาผลักตัวเพื่อให้คู่ต่อสู้ปล่อยขา
หรือล้มลงเอง

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 119 119


การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

5. มือ มู ตัร ตู โบฮ ดัน มือ นำ ริก กำกี (Memutar tubuh dan menarik kaki) คือการถ่วงดุลด้วย
การหมุนตัวหันหลังพร้อมดึงขาออก เป็นเทคนิคทีน่ กั กีฬาต้องใช้กล้ามเนือ้ ขามากกว่าเทคนิคการถ่วงดุลประเภท
อื่น ๆ กล่าวคือ ขณะที่นักกีฬาโดนจับขาข้างหนึ่ง นักกีฬาต้องพยายามดึงขาตนเองให้หลุดออกจากการโดนจับ
พร้อมทั้งให้หมุนตัวหันหลังเพื่อให้คู่ต่อสู้ปล่อยขาง่ายขึ้น เทคนิคนี้สามารถใช้ได้กับทุกกระบวนท่าการท�าล้ม
ข้อควรระวัง ขณะที่นักกีฬาหมุนตัวหันหลัง สายตาต้องจ้องมองคู่ต่อสู้ตลอดเวลา เนื่องจากเมื่อ
หันหลังแล้วนักกีฬาไม่ทันระวัง ท�าให้คู่ต่อสู้ตอบโต้ ด้วยการเตะ หรือถีบหลัง จนอาจท�าให้นักกีฬาล้มลงหัวทิ่ม
ปักพื้นได้

รูปที่ 1
เมื่อคู่ต่อสู้จับขานักกีฬาเป็นผลส�าเร็จ

รูปที่ 2
นักกีฬารีบหมุนตัวหันหลัง (หน้ายังคงหันมองคู่ต่อสู้) พร้อมทิ้งน�าหนักลงที่ขาทั้งสองข้าง (เกร็งขา)

120 120 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต


คู่มือผู้ฝึกการกี ฬนาแห่
สอนกีฬาปั จักสีงลัตประเทศไทย

รูปที่ 3
เมื่อคู่ต่อสู้จับขานักกีฬาเป็นผลส�าเร็จ

รูปที่ 4
นักกีฬารีบหมุนตัวหันหลัง (หน้ายังคงหันมองคู่ต่อสู้) พร้อมทิ้งน�า้ หนักลงที่ขาทั้งสองข้าง (เกร็งขา)

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 121 121


การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

นิยำมค�ำศัพท์ปันจักสีลัต
Bersedia (p.5) = ค�าสั่งให้นักกีฬาพร้อมท�าการแข่งขัน
Mulai (p.5) = ค�าสั่งให้นักกีฬาเริ่มท�าการแข่งขัน
Berhenti (p.5) = ค�าสั่งให้นักกีฬาหยุดการเข้าปะทะ (ขณะแข่งขัน)
Pasang (p.5) = ค�าสั่งให้นักกีฬาตั้งท่าพร้อมแข่งขันตามท่าทางแบบฉบับของปันจักสีลัต
Siap (p.9) = ค�าสั่งให้นักกีฬาพร้อมท�าการซ้อม
lencang kiri (p.9) = ให้นักกีฬาซ้ายหัน
lencang kanan (p.9) = ให้นักกีฬาขวาหัน
rentangkan tangan (p.9) = ให้นักกีฬากางแขน
istirahat di tempat (p.9) = ให้นักกีฬาพักอยู่กับที่
hormat khas Pencak Silat (p.11) = การไหว้เพื่อแสดงความเคารพ
berdoa (p.11) = ท�าสมาธิ
kuda kuda (p.13) = กระบวนท่านั่งม้า
dari bobot (p.14) = การถ่ายน�้าหนักตัวลงที่ขาทั้งสองข้าง
depan (p.14) = ไปด้านหน้า
ringan (p.14) = เบา,เล็กน้อย
sedang (p.14) = เท่าๆ กัน
berat (p.14) = หนัก
bentuknya (p.16) = มาตรฐาน
lurus (p.16) = ตรงไปข้างหน้า
serong (p.16) = เฉียง
belakang (p.16) = ข้างหลัง
samping (p.16) = หันข้าง
tengah (p.16) = ตรงกลาง
sikap pasang (p.20) = การร�าที่เป็นแบบเฉพาะของปันจักสีลัต
Sikap Pasang Terbuka (p.21) = การร�าแบบกางแขนเปิด
Sikap Pasang Tertutup (p.21) = การร�าแบบแขนปิดล�าตัว
Langkah (p.26) = การก้าวเท้า
mundur (p.27) = การถอยหลัง
Selang (p.28) = การก้าวเอียง
Putar (p.29) = ก้าวกลับหลังหัน
122 122 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

Belaan (p.30) = การป้องกัน


Tangkisan (p.30) = การป้องด้วยแขน
Tepis (p.30) = การป้องด้วยฝ่ามือ
Gedik (p.30) = การป้องด้วยบริเวณข้อแขน
Siku (p.30) = การศอก
Jepit (p.30) = การป้องด้วยการใช้ช่วงแขนทั้งสองข้างหนีบไขว้ป้องกัน
Potong (p.30) = การตัด
Galang (p.30) = การป้องเข้าใน
Lutut (p.30) = เข่า
Bawah (p.35) = ข้างล่าง
Luar (p.43) = ข้างนอก
Dalam (p.43) = ข้างใน
Hindaran (p.45) = การหลบหลีก
Egosan (p.45) = การสลับขาหลบ
Elakan (p.45) = การหลบด้วยการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย
Kelitan (p.45) = การหลบด้วยการเอียงตัว
Serangan (p.52) = การออกอาวุธ
Pukulan (p.52) = การออกหมัด
Menbentuk (p.53) = การท�าให้ถูกวิธี
Kepalan (p.53) = ก�าหมัด
Kesalahan (p.54) = การท�าผิดวิธี
Samping (p.57) = การเหวี่ยงหมัด
Sangkol (p.59) = ต่อยกระทุ้ง
Lingkar (p.62) = เหวี่ยงหมุนครึ่งตัว
Tusuk (p.63) = ซ่อน
Tendangan (p.66) = การเตะ
Tendangan lurus (p.66) = การเตะไปด้านหน้า หรือ การเตะฟรอนท์คิก
Tendangan sabit (p.66) = การเตะข้าง หรือ การเตะราวด์คิก
Tendangan Jejag (p.72) = การเตะด้วยการใช้ส้น
Dengkulan (p.75) = เทคนิคการเข่า
Redaman (p.79) = ล้ม
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 123 123
การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

Jatuh (p.79) = ตก
Punggung (p.79) = บริเวณก้น
Sambil (p.80) = จนกระทั่ง
Berjongkok (p.80) = นั่งชันเขา่
degan (p.80) = กับ,ด้วย
Berdiri (p.80) = การยืน
Tidur (p.82) = การนอน
Jatuhan (p.88) = ตก, การตก, การตกหล่น
Sapuan (p.88) = การกวาด
Tegak (p.88) = ตั้งตรง
Kepret (p.88) = การปัดด้วยขา
Sabetan (p.88) = การปัดด้วยฝ่าเท้า
Rebah (p.92) = การปัดด้วยการนั่งปัด
Besetan (p.95) = การปัดกลับ
Guntingan (p.96) = การท�าให้ล้มแบบหนีบกรรไกร
Tangkapan (p.101) = การจับ
Bentingan (p.104) = การเหวี่ยงล้ม
Bertahanan (p.117) = การถ่วงดุล,แรงต้านทาน
Terhadap (p.117) = เจาะจง,เน้น
Menyerang (p.118) = การตอบโต้
Mendorong (p.119) = การผลัก
Menjauhkan (p.120) = การถอยให้ไกล
Kaki (p.120) = บริเวณขา
Menghalangi (p.121) = การกดแล้วดันออก
gerak (p.121) = การเคลื่อนใหว
ไหว
lawan (p.121) = คู่ต่อสู้
Memutar (p.122) = การหมุนตัว
tubuh (p.122) = บริเวณล�าตัว
menarik (p.122) = การดึงกลับ

124
124 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกการกี
สอนกีฬฬ
าปัาแห่
นจักสีงลประเทศไทย
ัต

อ้ำงอิง
Kotot Slamet Hariyadi.(2003). “Teknik Dasar Pencak Silat Tanding” PT. Dian Rakyat – Jakarta,Indonesia

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต 125 125


การกีฬาแห่คู่มงือผูประเทศไทย
้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

ประวัติของผู้แปล
ชื่อ นางสาวยูวารีเยาะ อับดุลดานิง เป็นพี่สาวคนโตจากบิดา ชื่อ นายอาแว อับดุลดานิง มารดาชื่อ
นางแวมือละห์ อับดุลดานิง เกิดที่ ต. ลูโบะสาวอ อ. บาเจาะ จ.นราธิวาส
กำรศึกษำ :
ประถมศึกษา โรงเรียน ราชประชานุเคราะห์ 9 อ�าเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน อัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์ อ�าเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน นราธิวาส อ�าเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ปริญญาตรี คหกรรมศาสตร์ศึกษา (เอกธุรกิจงานประดิษฐ์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
เทคนิคกรุงเทพ
ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (เอกการตลาด) มหาวิทยาลัย กรุงเทพธนบุรี
ผลงำนและประสบกำรณ์กำรกีฬำ :
กีฬาปันจักสีลัตชิงแชมป์โลก 2001 ณ ประเทศมาเลเซีย
กีฬาปันจักสีลัตชิงแชมป์เอเซียแปซิฟิก 2003 ณ ประเทศฟิลิปปินส์
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ณ ประเทศเวียดนาม
รางวัลเหริียญเงิน การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ณ ประเทศ อินโดนีเซีย
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ณ ประเทศฟิลิปปินส์
ผลงำนและประสบกำรณ์กำรท�ำงำน :
อาจารย์สอน โรงเรียนอิสลามสันติชน กลุ่มการงานอาชีพและกลุ่มพลศึกษา 2550-2553
ผูฝ้ กึ สอนชมรมปันจักสีลตั นูซนั ตาราอิสลามสันติชน นักกีฬาได้รบั รางวัล 5 เหรียญเงินจากการแข่งขัน
ประเภทร่ายร�า 2 เหรียญเงิน ประเภทต่อสู้ 3 เหรียญเงิน และได้รับรางวัล 2 เหรียญทองแดงจากประเภทต่อสู้
ในการแข่งขัน ปั ชนะเลิศศแห่
ปันจักสีลัตชิงชนะเลิ แห่งงประเทศไทย
ประเทศ ณ ห้ณางสรรพสิ นค้นาจัค้งาสีจัลงอน ภู
ห้างสรรพสิ สีลอนเก็ภูตเก็ ปีต 2552
ปี 2552
ผูฝ้ กึ สอนชมรมปันจักสีลตั นูซนั ตาราอิสลามสันติชน นักกีฬาได้รบั รางวัล 3 เหรียญทองจากการแข่งขัน
ประเภทร่ายร�า 4 เหรียญเงินจากการแข่งขันประเภทต่อสู ้ และ 2 เหรียญทองแดงจากการแข่งประเภทต่อสู้
ในการแข่งขันปันจักสีลัตชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย อ�าเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2553
ติดต่อ ผู้แปลได้ที่ E-mail reguya@hotmail.com
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 6 ม.2 ต.ลูโบะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส 96170
126 126 คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

127
คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต

คณะผู้จัดท�ำ
ที่ปรึกษา
นายสกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
นายราเชลล์ ได้ผลธัญญา รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
(ฝ่ายส่งเสริมกีฬา)
นายสังเวียน บุญโต รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
(ฝ่ายบริหาร)
นายณัฐวุฒิ เรืองเวส รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
(ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา)
พันโท รุจ แสงอุดม รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
(ฝ่ายกีฬาอาชีพและสิทธิประโยชน์)
นายประชุม บุญเทียม ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายสารสนเทศและวิชาการกีฬา

เรียบเรียงโดย
นางสาวยูวารีเยาะ อับดุลดานิง

กองบรรณาธิการ
นางรุ่งทิวา รอดโพธิ์ทอง ผู้อ�ำนวยการกองวิชาการกีฬา
นายวัชระ ค�ำเพ็ง หัวหน้างานพัฒนาองค์ความรู้
นางสาวหนึ่งฤทัย แสงกาศนีย์ นักวิชาการ 6
นางรวีวรรณ อรรถอินทรีย์ นักวิชาการ 6
นางสาวมธุรส สุขฤกษ์ พนักงานบริหารงานทั่วไป 3
นางสาวกรรณิกา จีนพวด ผู้ช่วยปฏิบัติงานฯ
นายสุวิทย์ สุขเลิศ ผู้ช่วยปฏิบัติงานฯ
นายปารย์ฐาเนกษ์ โศภิศภัทรพร ผู้ช่วยปฏิบัติงานฯ
นายนรุตภ์เดชษ์ งามแสง ผู้ช่วยปฏิบัติงานฯ
นายศาตรา เอื้อเฟื้อ ผู้ช่วยปฏิบัติงานฯ
นางสาวอรุณวรรณ แพทย์ปรีชา ผู้ช่วยปฏิบัติงานฯ

128
¤Ù‹Á×ͼٌ½ƒ¡Ê͹¡ÕÌÒ

¤Ù‹Á×ͼٌ½ƒ¡Ê͹¡ÕÌÒ»˜¹¨Ñ¡ÊÕÅѵ

คูมือผูฝกสอนกีฬาปนจักสีลัต
§Ò¹¾Ñ²¹Òͧ¤¤ÇÒÁÃÙŒ
¡Í§ÇÔªÒ¡ÒáÕÌÒ
½†ÒÂÊÒÃʹà·ÈáÅÐÇÔªÒ¡ÒáÕÌÒ
¡ÒáÕÌÒáË‹§»ÃÐà·Èä·Â
¾.È. 2559 ËŒÒÁ«×éÍ-¢Ò www.satc.or.th

You might also like