You are on page 1of 20

ประวัติยิมนาสติก

ยิมนาสติกเริ่มเล่นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานระบุชัดเจน แต่สันนิษฐานว่า
ชาวกรีกโบราณเป็ นประเทศแรกที่สนใจและมีบทบาทสำ คัญต่อกีฬา
ยิมนาสติกซึ่งจะเห็นได้จากคำว่ายิมนาสติก ก็เป็ นภาษากรีกโบราณ หมาย
ถึง" ศิลปะแห่งการเปลือยเปล่า"ทั้งนี้เพราะว่าในสมัยกรีกนั้นการออกกา
ลังกายทุกประเภทจะไม่สวมเครื่ องแต่งกายมีการประกวดทรวดทรง
แข่งขันกีฬากลางแจ้ง ผู้ที่ชนะก็ถูกสร้างรูปปั้ นแสดงไว้บริเวณสนามกีฬา
ที่เรียกว่ายิมเนเซียม กิจกรรมทุกประเภทที่มีการเล่นออกกาลังกายจะเล่น
อยู่ในยิมเนเซียมทั้งหมด ดั้งนั้น ยิมนาสติกในสมัยกรีก จึงเปรียบเสมือน
กับการพลศึกษาในปั จจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มี
สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ต่อมาเมื่ อกีฬาแต่ละประเภทมี
วิวัฒนาการมีกฎ ระเบียบ กติกา ของตนเองขึ้น จึงแยกตัวออกไป คง
เหลือกิจกรรมยิมนาสติกที่เห็นกันในปั จจุบัน ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้รุกราน
ประเทศกรีก ก็ได้นำกิจกรรมยิมนาสติกมาฝึ กให้กับทหาร เพื่อสร้างความ
แข็งแกร่งให้แก่กองทัพ เมื่ ออาณาจักรโรมันเสื่ อมอำนาจลง กิจกรรม
ยิมนาสติกก็ได้รับความสนใจและความนิยมน้อยลงตามไปด้วย จนกระทั้ง
ถึงยุคกลาง ระหว่างศตวรรษที่ ๑๔ กิจกรรมยิมนาสติกของกรีกก็ได้รับ
การฟื้ นฟู ประชาชนมีความสนใจมากขึ้นเป็ นลำดับ ในสมัยนี้ มีการฝึ กขึ้น
และลงม้าที่ทำจากไม้ มีการแสดงกายกรรม การเล่นผาดโผน หรือยืดหยุ่น
การทรงตัว ตามสถานที่สาธารณะ จึงทำให้กิจกรรมยิมนาสติกแพร่หลาย
ไปในทวีปยุโรป กิจกรรมยิมนาสติกได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริงใน
ศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ ซึ่งเป็ นยิมนาสติกที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ
บุคคลสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากีฬายิมนาสติก ได้แก่

นายโจฮัน เบสโดว์

๑. นายโจฮัน เบสโดว์ ( Johann Basedow ) ชาวเยอรมัน เห็นประโยชน์


และคุณค่าของวิชายิมนาสติก จึงได้บรรจุ วิชานี้ไว้ในหลักสูตรพลศึกษา
ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๓๑๙ และได้ดำเนินการสอนเป็ นคน
แรก กิจกรรมที่นำมาสอน เช่น การวิ่ง ขี่ม้า เดินทรงตัวบนคานไม้ ม้า
ขวาง และว่ายน้ำ เป็ นต้น

นายโจฮัน กัตส์ มัธส์


๒. นายโจฮัน กัตส์ มัธส์ ชาวเยอรมัน(พ.ศ. ๒๓๐๒-พ.ศ. ๒๓๖๑) ได้นำ
กิจกรรมยิมนาสติกสมัยกรีกมาประยุกต์กับการออกกาลังกายสมัยใหม่
โดยเขียนเป็ นตารางยิมนาสติกเล่มแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๖
ชื่อ Gymnastic For Youth หรือยิมนาสติกสำหรับเยาวชน และได้สร้าง
โรงยิมเนเซียมแห่งแรกขึ้น มีกิจกรรมที่ฝึ ก ได้แก่ ไม้กระดก ไต่เชือก ราว
ทรงตัว และม้าขวาง เป็ นต้น เขาจึงได้สมญาว่า ปู่แห่งกีฬายิมนาสติก
นายเฟรดริค จาน

๓. นายเฟรดริค จาน ชาวเยอรมัน(พ.ศ. ๒๓๒๑-พ.ศ. ๒๓๙๕) ได้คิด


ประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับยิมนาสติกไว้มากมาย เช่น ราวเดี่ยว ราวคู่ ม้าหู
หีบกระโดด ม้ายาวชนิดสั้น (Buck) และในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ ได้สร้างสถาน
ที่ฝึ กยิมนาสติกโดยเฉพาะเรียกว่า เทอนเวอเรียน (Tarnverein) โดยได้
รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ทาให้กีฬายิมนาสติกแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
เขาจึงได้สมญาว่า บิดาแห่งกีฬายิมนาสติก
นายอดอฟ สปี ช

๔. นายอดอฟ สปี ช ชาวสวิส (พ.ศ. ๒๓๓๕ -พ.ศ. ๒๔๐๑) เห็นคุณค่า


และประโยชน์ของกีฬายิมนาสติก ได้บรรจุวิชายิมนาสติกไว้ในหลักสูตร
ของโรงเรียนในสวิตเซอร์แลนด์ และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
ของยิมนาสติก
นายดัดเลย์ เอ ซาเกนท์

๕. นายดัดเลย์ เอ ซาเกนท์ (Dudley A Sargen) ชาวอเมริกา(พ.ศ.


๒๓๘๓ -พ.ศ.๒๔๖๗) เป็ นครูสอนยิมนาสติกที่วิทยาลัยโบวดอย
(Bowdoin lleqen) เขาได้บรรจุยิมนาสติกไว้ในหลักสูตรระดับวิทยาลัย
อย่างเป็ นทางการ

นอกจากนั้นยังมีสมาคมที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกีฬา
ยิมนาสติก คือ สมาคม Y.M.C.A. (The Young Men’s Christian
Association) ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ยิมนาสติกไว้ในโรงยิมเนเซียม และ
มีครูสอนเพื่อบริการแก่สมาชิกที่เข้ามาเล่น จึงทำให้ยิมนาสติกได้รับความ
นิยมและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศในแถบเอเชียที่มีการฝึ ก
อย่างจริงจังคือ จีน รัสเซีย และญี่ปุ่น
กีฬายิมนาสติกเริ่มต้นจากประเทศกรีก เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วใน
ประเทศเยอรมัน และได้แพร่หลายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้
สอนเป็ นชาวเยอรมัน กีฬายิมนาสติกเป็ นที่นิยมมากในประเทศ
สหรัฐอเมริกาจึงทาให้ขาดครูผู้สอน ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ได้มีการตั้ง
วิทยาลัยยิมนาสติกขึ้นเป็ นแห่งแรกที่เมือง อินเดียนาโปลิส มลรัฐ
อินเดียนา

ยิมนาสติกมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิ ค ครั้งที่ ๑ ณ กรุงเอเธนส์


ประเทศกรีก กิจกรรมที่แข่งขัน เช่น การวิ่ง กระโดดสูง กระโดดไกล พุ่ง
แหลน ว่ายน้า ราวเดี่ยว ราวคู่ คาน-ทรงหัว และฟรีเอ็กเซอร์ไซส์ เป็ นต้น

พ.ศ. ๒๔๓๐ มีการก่อตั้งสหพันธ์ยิมนาสติกสากลขึ้นที่เมืองลีซ ประเทศ


สวิสเซอร์แลนด์
พ.ศ. ๒๓๔๙ มีการแข่งขันยิมนาสติกชายขึ้นเป็ นครั้งแรก
พ.ศ. ๒๔๗๑ การแข่งขันเพิ่มประเภทหญิง
พ.ศ. ๒๔๗๗ เริ่มบรรจุม้ากระโดดและราวต่างระดับ เข้าไว้ในการแข่งขัน
ยิมนาสติก
พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้กำหนดให้ชายแข่งขันท่าชุดของแต่ละอุปกรณ์ ๑๒ ท่า
หญิง ๘ ท่า ทีมหนึ่ง มีนักกีฬา ๘ คน
พ.ศ. ๒๔๙๕ กำหนดอุปกรณ์แข่งขันของชาย มี ๖ อุปกรณ์ หญิงมี ๔
อุปกรณ์ ยิมนาสติกนี้เรียกว่ายิมนาสติกสากล (Artistic Gymnastics)
พ.ศ. ๒๕๑๓ มียิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี (Modern Rhythmic
Gymnastics) เกิดขึ้น
พ.ศ. ๒๕๑๕ ประเทศไทยเป็ นสมาชิกสหพันธ์ยิมนาสติกสากล
ประวัติความเป็ นมาของกีฬายิมนาสติก ในประเทศไทย
การเริ่มเล่นยิมนาสติกในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่
สันนิษฐานว่า เริ่มเล่นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะในสมัยนี้ได้ส่งคนไปศึกษา
ต่างประเทศ เมื่อกลับมาก็ได้นาเอาวิชายิมนาสติกมาเผยแพร่ โดยเริ่ม
สอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อมากระทรวงศึกษาธิการเห็น
ว่าวิชายิมนาสติกมีประโยชน์ในการพัฒนาร่างกายและจิตใจ จึงให้
อาจารย์ร้อยเอกขุนเจนกระบวนหัด ซึ่งศึกษาวิชานี้มาจากต่างประเทศ
เปิ ดสอนยิมนาสติกที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดเป็ นวิชาหนึ่งในการ
สอน และจัดเข้าไว้ในหลักสูตรโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และโรงเรียน
ฝึ กหัดครูพลานามัย

- พ.ศ. ๒๕๑๑ ยิมนาสติกในประเทศไทยได้รับการพัฒนาขึ้น เมื่อมี


การก่อตั้งสมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.
๒๕๑๑ คณะกรรมการโอลิมปิ กไทยและสหพันธ์ยิมนาสติกสากลรับรอง
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ประเทศไทยจึงได้รับความร่วมมือจากต่างประเทศ
เช่น ประเทศญี่ปุ่น เดนมาร์ค ส่งนักยิมนาสติกมาสาธิตการเล่นกีฬาชนิด
หนึ่ง

- พ.ศ. ๒๕๑๕ มีการสอนในวิทยาลัยพลศึกษา มหาวิทยาลัย


ศรีนครินทรวิโรฒอย่างจริงจังและเริ่มมีการแสดงโชว์ตามสถานที่ต่าง ๆ
และประเทศไทยได้เข้าเป็ นสมาชิกสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (F.I.G) อย่าง
เป็ นทางการ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ในปี เดียวกัน

- พ.ศ.๒๕๒๐ ได้มีการอบรมเกี่ยวกับกติกาและการจัดการแข่งขัน
แก่ครูอาจารย์และผู้สนใจเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกีฬายิมนาสติก
มากยิ่งขึ้น และในปี นี้ได้จัดให้กีฬายิมนาสติกเป็ นกีฬาหนึ่งในการแข่งขัน
กีฬาวิทยาลัยศึกษา

- พ.ศ. ๒๕๒๑ ประเทศไทยเป็ นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์


ครั้งที่ ๘ ยิมนาสติกเป็ นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดให้มีการแข่งขันขึ้นเป็ น
ครั้งแรก ซึ่งก็ได้รับความสนใจเข้าชมรมจากประชาชนและเยาวชนมากพอ
สมควร และในปี นี้เองกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้วิชายืดหยุ่นซึ่งเป็ นพื้น
ฐานของกีฬายิมนาสติก เป็ นวิชาบังคับในหลักสูตรของโรงเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น

- พ.ศ. ๒๕๒๕ และ พ.ศ. ๒๕๒๙ ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬา


ยิมนาสติกเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ถึงแม้จะไม่ได้เหรียญ
รางวัล แต่ก็เป็ นการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักกีฬามากขึ้นแต่ถ้าเป็ นการ
แข่งขันในกีฬาซีเกมส์ ซึ่งเป็ นการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทย
ประสบความสำเร็จในกีฬายิมนาสติกมาก โดยเฉพาะในประเภทชาย

- พ.ศ. ๒๕๓๗ การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ ๑๒ ณ เมืองฮิโร


ชิมา ประเทศญี่ปุ่น นักกีฬายิมนาสติกของจีนครองความยิ่งใหญ่ทั้ง
ประเภทชาย และประเภทหญิงสำหรับนักกีฬาของไทยที่เข้าร่วมแข่งขันก็
ประสบความสำเร็จใจการแข่งขันอุปกรณ์ห่วงพอสมควร คือ นายอมรเทพ
แววแสง

- พ.ศ. ๒๕๓๘ การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๑๘ ณ จังหวัด


เชียงใหม่ ประเทศไทย นักกีฬายิมนาสติกของไทย ครองความยิ่งใหญ่ทั้ง
ประเภทชาย และประเภทหญิงโดยได้เหรียญทองทั้งประเภททีม และ
ประเภทเดี่ยวรวมทุกอุปกรณ์ และในแต่ละอุปกรณ์ก็ได้เหรียญทองเกือบ
ทุกประเภท

ปั จจุบันกีฬายิมนาสติกในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมและมีการ
พัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการที่นักกีฬาไทยมี
อันดับความสามารถอยู่ในอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคและภายในทวีป

เล่าซือ หันกุ้นหลาน ซึ่งเป็ นอาจารย์ในวิทยาลัย พลศึกษาปั กกิ่ง จนถึงวัน


แข่งขัน ซึ่งมีนักกีฬาประกอบด้วย

นักกีฬาชาย

1. นายอารีกุล ณ นคร
2. นายนธี ขำวัฒนพันธ์
3. นายคำนึง อมรนรชัย
4. นายไชยยงค์ วงษาพรหม
5. นายชาญชัย ขันติศิริ
6. นายเทิดชัย เพียรชอบ
7. นายมานิตย์ หยูมาก
นักกีฬาหญิง
1. นางสาวสืบสาย บุญวีรบุตร
2. นางสาวสุพัตรา บุญหลี
3. นางสาวลัดดา เรืองมโนธรรม
4. นางสาวกรุณา ผ่องผิวกาย
5. นางสาวกัลยา วรรณ คำลือ
6. นางสาวอุษากร พันธ์วานิช

การแข่งขันครั้งนั้นนักยิมนาสติกไทยจะทำคะแนนได้ไม่สูงนัก แต่ก็นับว่า
เป็ นนักยิมนาสติก รุ่นแรกและครั้งแรกที่มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันถึงระดับ
สากล

ภายหลังจากการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 เป็ นต้นมา สมาคม


ยิมนาสติกก็ได้ให้มี การจัดแข่งขันประจำปี ของสมาคม เพื่อเตรียมนักกีฬา
ชาย – หญิง ไว้สำหรับส่งเข้าร่วมการแข่งขันระหว่างประเทศเรื่อยมา

 กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2525 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิ ลิปปิ นส์


ทีมชายและหญิงไทย ได้ครองเหรียญทอง ทั้งนี้ภายใต้การสอนของ
อาจารย์คำนึง อมรนรชัย และอาจารย์ไกรพล บุญประเสริญ ซึ่งมี
คณะอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ อาทิ อาจารย์จิรภา สุวรรณษา แห่ง
โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่ ( ปั จจุบันสอนที่วิทยาลัยพลศึกษา
จังหวัดศรีสะเกษ ) อาจารย์งามพล สุขเกษม แห่งโรงเรียนบุญวาทย์
วิทยาลัยจังหวัดลำปาง อาจารธีรจิตร จันทรเสน แห่งศูนย์ฝึ กกีฬา
ไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร เป็ นต้น
 กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2528 ณ กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย นักกีฬายิมนาสติกไทยก็คงความเป็ นเจ้าซีเกมส์ไว้ได้
อีกเช่นกัน เพราะสามารถพิชิตเหรียญทองได้จำนวน 8 เหรียญ
 กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2530 ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศ
อินโดนีเซีย ทีมยิมนาสติกชายพบความสำเร็จเช่นเดียวกับครั้งก่อน

ส่วนการแข่งขันกีฬายิมนาสติกภายในประเทศ นับตั้งแต่ก่อนการแข่งขัน
กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 จนถึงปั จจุบันนั้นมีการจัดการแข่งขัน ดังนี้
 การแข่งขันกีฬายิมนาสติกนักเรียนกรมพลศึกษา จัดโดยกรม
พลศึกษาและมีการแข่งขันทุก ๆ ปี จนถึงปั จจุบัน
 การแข่งขันกีฬายิมนาสติกวิทยาลัยพลศึกษาแห่งประเทศไทย จัด
โดยวิทยาลัยพลศึกษามีการแข่งขันครั้งแรกในกีฬาวิทยาลัย
พลศึกษาแห่งประเทศไทย เดิมเรียกกีฬาวิทยาลัยพลศึกษาหรือกีฬา
วอพอ (ว.พ.) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2520
 การแข่งขันกีฬายิมนาสติกชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย จัดโดย
สมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย ประจำทุก ๆ ปี เริ่มจัดครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2522 และต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้รับถ้วยรางวัล
พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในการจัดการแข่งขันต่อมาจนถึงปั จจุบัน
 การแข่งขันกีฬายิมนาสติกในกีฬาแห่งชาติ จัดโดยการกีฬาแห่ง
ประเทศไทย ซึ่งเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่
20 ที่จังหวัดร้อยเอ็ดในปี พ.ศ. 2529
 การแข่งขันกีฬายิมนาสติกในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ จัดโดยการกีฬา
แห่งประเทศไทย ซึ่งเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกในกีฬาเยาวชนแห่ง
ชาติ ครั้งที่ 5 ที่จังหวัดราชบุรี ในปี พ.ศ. 2532
 การแข่งขันกีฬายิมนาสติกนักเรียน นักศึกษาแห่งประเทศไทย จัด
โดยกรมพลศึกษา ซึ่งเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกในกีฬานักเรียน
นักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 ที่จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ.
2539

ประวัติความเป็ นมาของยิมนาสติกของไทย จะเห็นได้จาก อาจารย์ ขวัญ


ชัย เชาว์สุโข เป็ น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริม
ยิมนาสติกยุคใหม่มาโดยตลอด ซึ่งผลสำเร็จจนเป็ นที่ยอมรับในวงการ
ยิมนาสติก ต่างพากันขนานนามให้ถือเป็ น “ บิดายิมนาสติกเมืองไทย”
ยิมนาสติกสากล
ในปี พ.ศ. 2495 ได้กำหนดให้ประเภทชายมี 6 อุปกรณ์ และหญิงมี 4
อุปกรณ์

อุปกรณ์ในประเภทชาย
1. ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (Floor exercise)
2. ม้าหู หรือม้าหมุน (Pommel horse)
3. ห่วง (Rings)
4. ม้ากระโดด (Long horse)
5. บาร์คู่ (Parallel bars)
6. บาร์เดี่ยว (Horizontal bar)
อุปกรณ์ในประเภทหญิง
1. ม้ากระโดด (Vaulting horse)
2. บาร์ต่างระดับ (Uneven bers)
3. คานทรงตัว (Balance bars)
4. ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (Floor exercise)

ยิมนาสติกประเภทนี้ จะมีเฉพาะประเภทหญิงเท่านั้น เป็ นการแสดงบน


ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ โดยจะเป็ นการเคลื่อนไหวประกอบเสียงดนตรี และ
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น

1. บอล (Ball)
2. ริบบิ้น (Ribbin)
3. คทา หรือคลับ (Club)
4. ห่วง (Hoop)
5. เชือก (Robe)
ยิมนาสติกทั้งสองประเภทคือ ยิมนาสติกสากล และยิมนาสติกลีลา
ประกอบดนตรี จะอยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ยิมนาสติกสากล

ยิมนาสติกกายกรรม หรือยิมนาสติกผาดโผน
ยิมนาสติกกายกรรมถือกำเนิดมาพร้อมๆ กับยิมนาสติกลีลา
ประกอบดนตรี ยิมนาสติกชนิดนี้มิได้ขึ้นกับสหพันธ์ยิมนาสติกสากล
ลักษณะของการเล่นหรือการแข่งขันมีทั้งประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และ
ประเภททีม เป็ นลักษณะของการต่อตัว ผสมกับการแสดงท่ายืดหยุ่น หรือ
การตีลังกาทั้งบนฟลอร์ และกลางอากาศขณะต่อตัวในการแสดงประเภท
คู่และทีมจะมีเสียงดนตรีประกอบ โดยผู้เล่นจะต้องแสดงให้เข้ากับเสียง
ดนตรีตามจังหวะอย่างต่อเนื่องและกลมกลืน กำหนดเวลาในการแสดง 2-
3 นาที

ในประเภทเดี่ยวผู้แสดงจะต้องแสดงท่ายืดหยุ่นติดต่อกันเป็ นชุด
ชุดละ 4-5 นาที จำนวน 3-6 ชุด (ท่าสมัคร 3 ชุด ท่าบังคับ 3 ชุด) และ
จะต้องแสดงให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เช่นเดียวกัน

การจัดการแข่งขันนั้นจะจัดแยกออกต่างหากซึ่งในการแข่งขันกีฬา
โอลิมปิ กยังไม่ได้บรรจุเข้าแข่งขัน แต่ยิมนาสติกชนิดนี้เป็ นที่นิยม และได้
รับความสนใจจากผู้ชมเป็ นอันมาก

ยิมนาสติกสมัยปั จจุบันนี้นับว่าก้าวหน้าไปมาก ท่าของการออก


กำลังกายต่างๆ แต่ละประเภทของอุปกรณ์ นิยมแสดงเป็ นชุด ชุดละ
หลายๆ ท่าติดต่อกัน กติกาที่ใช้ในการแข่งขันสากลหรือมาตรฐานโลก
เรียกว่า International Federation of Gymnastic ประเทศที่มีผลงาน
ทางยิมนาสติกอันเป็ นที่รู้จักทั่วโลก นอกจากประเทศในยุโรปและ
สหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีประเทศในทวีปเอเชียคือ รัสเซีย และญี่ปุ่น การ
ดำเนินงานของกีฬายิมนาสติกของแต่ละประเทศนั้นดำเนินไปในรูปของ
สมาคมแห่งชาติ สำหรับประเทศในแหลมทอง ก็มีบางประเทศที่มีการ
ดำเนินงานในรูปดังกล่าว เช่น พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็ นต้น โดยการ
แข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 5 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งประเทศ
พม่าเป็ นเจ้าภาพ ยิมนาสติกก็เป็ นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่จัดให้มีการ
แข่งขันเป็ นครั้งแรกการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิ ก

ยิมนาสติกประกอบเพลงเริ่มเข้าสู่กีฬาโอลิมปิ กในประเภทกลุ่ม
จนถึง ปี พ.ศ. 2499 และในการแข่งขันยิมนาสติกโลกแต่ละครั้งจะมีการ
เล่นบนราวทรงตัว ราวคู่และม้ากระโดดเท่านั้น ผู้เข้าแข่งขันต้องแสดงทุก
อุปกรณ์ ในปี พ.ศ. 2499 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิ กได้มีการตัดการแข่งขัน
ยิมนาสติกประกอบเพลงออกไป โดยมีข้อยุติว่ายิมนาสติกประกอบเพลง
น่าจะเป็ นกีฬาที่ทุกคนเล่นได้เองอย่างอิสระ อย่างไรก็ตามในประเทศ
โซเวียต รัสเซีย และกลุ่มประเทศสังคมนิยม ก็ยังเล่นและจัดการแข่งขัน
จนกระทั่งมีการประกาศจากสมาพันธ์ยิมนาสติกโลก (International
Federation of Gymnastics) ในปี พ.ศ. 2505

แต่แล้วในปี พ.ศ. 2506 ก็ได้มีการแข่งขันยิมนาสติกแนวใหม่


ประกอบเพลงระดับโลกขึ้น และได้จัดการแข่งขันทุกๆ ปี ในปี พ.ศ. 2521
ได้มีการแข่งขันชิงแชมป์ ระดับยุโรปขึ้นเป็ นครั้งแรก และได้นำการแข่งขัน
เข้าสู่กีฬาโอลิมปิ กเป็ นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งจะจัดขึ้นในนครลอส
แองเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา

ยิมนาสติกกายกรรม หรือยิมนาสติกผาดโผน
เป็ นยิมนาสติกประเภทยืดหยุ่นและต่อตัว ซึ่งจะมีการต่อตัวแบบ
ต่างๆ ลักษณะคล้ายกับกายกรรม กีฬาประเภทนี้ยังไม่แพร่หลาย และ
ไม่มีการแข่งขันในกีฬาใหญ่ๆ ซึ่งการแข่งขันนั้นจะจัดแยกต่างหาก ในกีฬา
โอลิมปิ กยังไม่ได้บรรจุเข้าในการแข่งขัน แต่ก็เป็ นที่นิยมและได้รับความ
สนใจจากผู้ชมอย่างมาก และยิมนาสติกประเภทนี้ก็ได้รับความนิยม
พร้อมๆ กับยิมนาสติกลีลาประกอบดนตรี

สำหรับความเป็ นมาของยิมนาสติกในประเทศไทยนั้น
ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าได้เริ่มมาแต่สมัยใด หากจะถือว่า
ยิมนาสติก คือ กีฬาหรือกรีฑาตามความหมายเดิมนั้นก็นับได้ว่า ไทยมีมา
นานควบคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยก็ว่าได้ เพราะมีหลักฐานว่า คนไทยมี
การเล่นกีฬาประจำชาติ เช่น มวยไทย กระบี่กระบอง เพื่อรักษา
สมรรถภาพของร่างกายให้อยู่ในระดับสูงเสมอ เพื่อพร้อมที่จะทำศึก
สงครามป้ องกันประเทศเป็ นสำคัญ

สำหรับยิมนาสติกในความหมายปั จจุบัน คือ ออกกำลังกายโดยใช้


อุปกรณ์ประกอบนั้นเข้าใจว่ามีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว เพราะมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศได้นำความรู้ และ
ประสบการณ์มาเผยแพร่ เช่น บรรจุวิชายิมนาสติกและยืดหยุ่นเข้าไว้ใน
หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ

พ.ศ. 2430 และใน พ.ศ. 2441 ได้มีการจัดแผนการศึกษาขึ้นเป็ น


ครั้งแรกได้บรรจุวิชาพลศึกษา เป็ นวิชาบังคับในชั้นประถมศึกษาและ
มัธยมศึกษาและได้มีการสอนวิชายิมนาสติกและยืดหยุ่นด้วย
ตั้งแต่นั้นเป็ นต้นมา การออกกำลังกายแบบยิมนาสติกและยืดหยุ่น
นี้ ก็ได้มีบทบาท และเป็ นส่วนสำคัญในการจัดหลักสูตรวิชาพลศึกษาใน
โรงเรียนสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ทินกร อ่อนสหลวย

You might also like