You are on page 1of 12

รายงาน

เรื่อง ลีลาศประเภทจังหวะTango

โดย
นางสาว อารยา กัสนุกา เลขที่28
มัธยมศึกษาปีที่ 6/14

เสนอ
นายกรณ์ มะลิลา
โรงเรียนกัลป์ยาณวัตร
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของรายวิชา พ33102
คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา พ33102 พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ได้


ศึกษาหาความรู้ในเรื่องลีลาศประเภทจังหวะTango และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียนที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมี


ข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

อารยา กัสนุกา

สำรบัญ

ประวัติลีลาศ 1
รูปแบบของจังหวะ แทงโก้ 2
ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้ 3-4
จังหวะแทงโก้ 5-8
อ้างอิง 9
1

ประวัติลลี าศ

1.ประวัติลีลาศในประเทศไทย
แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ว่ากีฬาลีลาศแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่จาก
การสันนิษฐานเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โดยมีบันทึก
ของหม่อมแอนนา ว่าได้ลองแนะนำให้ท่านรู้จักกับการเต้ นของชนชั้นสูง แต่ท่านกลับรู้จักการเต้นชนิดนั้นได้ดี
อยู่แล้ว จึงคาดว่าน่าจะทรงศึกษาจากตำราต่างประเทศด้วยพระองค์เอง ต่อมาลีลาศค่อย ๆ เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย
ๆ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และมีการจัดตั้ง สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ ขึ้นใน
พ.ศ. 2475 โดยมี หม่อมเจ้าไวทยากร วรวรรณ เป็นประธาน และจัดการแข่งขันเต้นรำขึ้นที่ วังสราญรมย์ โดย
มี พลเรือตรี เฉียบ แสงชูโต และ คุณประนอม สุขุม เป็นผู้ชนะในครั้งนั้น และคำว่า "ลีลาศ" ก็ได้ถูกบัญญัติขึ้น
ในปี พ.ศ. 2476 และเกิด สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย ขึ้นมาแทน สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ หลังจากเกิด
สงครามโลกครั้งที่ 2 การเต้นลีลาศก็ซบเซาลงไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่งยื่นจด
ทะเบียนสมาคมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2491 และใช้ชื่อว่า สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา
2

รูปแบบของจังหวะ แทงโก้

2.รูปแบบของจังหวะ แทงโก้
ถึงเวลาของแทงโก้แล้ว ซึ่งเปรียบเสมือนว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่ง คุณจะมีเวลาเพียงแค่ 15 วินาที ที่จะผ่อน
คลายร่างกายและจิตใจจากอาการสวิง และการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระจากการเต้น “วอลซ์ ” จังหวะแทงโก้มี
ความแตกต่างกับจังหวะอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด มันไม่มีการขึ้นและลง (Rise and Fall) ไม่มีการสเวย์ของลำตัว
(Body Sway) การเปลี่ยนท่าทางการเข้าคู่ (Holding) ต้นขาเบี่ยงเข้าหากัน และผู้เต้นควรเตรียมพร้อมทั้ง
ร่างกายและจิตใจ เพื่อที่จะทำให้เกิดอาการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (Staccato Actions) ตามที่จังหวะนี้
ต้องการ เมื่อจังหวะแทงโก้ตั้งเค้าที่จะเริ่ม คุณลองใส่ความรู้สึกลงไปว่า คุณเป็นผู้ชม หรือผู้เข้าแข่งขันคู่หนึ่งที่
อยู่ในสนามแข่งขัน ระดับความตึงเครียดและการเตรียมพร้อมจะมีสูงขึ้นอย่างผิดปกติวิสัย เปรียบเสมือนว่า
สงครามย่อยๆ กำลังจะปะทุขึ้นบนฟลอร์การแข่งขันอย่างไรอย่างนั้น สิ่งที่ข้าพเจ้าพยายามจะอธิบายอยู่ ณ
ที่นี้ คือ คู่เต้นรำจำนวนมากไม่เคยได้ฝึกฝนการสับเปลี่ยนโดยฉับพลัน จากการเต้นจังหวะ วอลซ์ มาเป็น
หลักการพื้นฐานของ แทงโก้ … เพียงแค่ 15 วินาที ! ควรคำนึงถึงเสมอว่าต้นแบบของแทงโก้ เมื่อเริ่มเตรียมเข้า
คู่เพื่อการแข่งขัน คุณควรเตรียมพร้อมในการแผ่รัศมี เพื่อที่จะฉายแววของความเย่อหยิ่ง ยะโส ซึ่งเป็นแบบ
ฉบับของชาวสเปน/อาร์เจนติน่า ก่อนหน้าที่ดนตรีจะเริ่มบรรเลง และก่อนที่จะเริ่มในย่างก้าวแรก เหล่า
กรรมการตัดสินล้วนเป็นผู้ที่ไวมากต่อการรับรู้ และสังเกตการแผ่รัศมีนี้ในทันทีทันใด ข้อสรุปของข้าพเจ้าตรง
นี้คือ การแข่งขันจังหวะแทงโก้นี้ ตั้งเค้าก่อนที่ดนตรีจะเริ่มบรรเลงเสียอีก
3

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้

3.ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้

เอกลักษณ์เฉพาะ คือ มั่นคง และน่าเกรงขาม โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และเลื่อนไหล การกระแทกกระทั้นเป็น


ช่วงๆ (Staccato Action)

การเคลื่อนไหว เฉียบขาด อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง

ห้องดนตรี 2/4

ความเร็วต่อนาที 33 บาร์ต่อนาที ตามกฎ IDSF

การเน้นจังหวะ บีทที่ 1 และ 3 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที

การขึ้นและลง ไม่มีการขึ้นและลง

หลักพลศาสตร์ ความสมดุลย์ที่ดีร่วมกับการใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการขับเคลื่อนอย่างโล่งอิสระ


4

การสื่อความหมายของจังหวะ แทงโก้

3.การสื่อความหมายของจังหวะ แทงโก้

ลองพิจารณาซิว่า การเต้นแทงโก้ของคุณต้องไม่ดูเหมือนหุ่นยนต์ แต่ท่าทางการเคลื่อนไหวต้องแผ่รังษีคล้าย


สัตว์ ดั่งแมว หรือ เสือ นอกเหนือจากนั้น ความสำนึกในหลายๆ รูปแบบของการเต้น ต้องใส่ความรู้สึกที่หยิ่ง
ยะโส ตามแบบฉบับของชาวสเปน มันไม่มีการขึ้นและลง ไม่มีการสเวย์ของลำตัว ต้นขา และเข่าเบี่ยงชิดซึ่งกัน
และกันเล็กน้อย (ให้นึกถึงความรู้สึกที่เพรียว ชะลูด) ด้านขอบในของเท้าให้เก็บเข้าหากันเล็กน้อยตลอดเวลา
ฝ่ายหญิงให้ยืนเบี่ยงไปทางขวาของชายมากกว่าที่เคย และสร้างกริยา ท่าทางที่เย่อหยิ่ง และเชื่อมั่น คู่เต้นรำ
ต้องแผ่รังษี ในการดูดซับความรู้สึกของลำตัวซึ่งกันและกันไว้ สำหรับการเพิ่มแรงโน้มถ่วงที่ลงพื้น มีไว้ใน
สถานการณ์ที่ต้องการสับเปลี่ยน ให้เป็นความฉับพลันที่สงบนิ่ง การใช้เท้าสนับสนุน (Supporting Foot)
มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเหมือนกับทุกๆ จังหวะ การเคลื่อนลำตัวให้ผ่านเท้า และลีลาท่าทางการก้าวย่างของ
โครงสร้างท่าเต้น จะเพิ่มศักยภาพให้กับแทงโก้ของคุณ ในด้านการแสดงออก รากเหง้าของจังหวะ แทงโก้ คือ
การเต้นรำที่เหมือน “ศิลปการการละคร และการให้อารมณ์ ” (Drama and Mood) การให้จังหวะที่
ถูกต้องในรูปแบบท่าเต้น แสดงให้เห็นถึงความเฉียบคม และความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการเคลื่อนไหว
และความสงบนิ่ง การต่อต้านหรือการต่อสู้ขัดขืน พัฒนาไปสู่คุณภาพของความเฉียบพลัน ในการเคลื่อนไหว
ของจังหวะ แทงโก้
5

4.จังหวะแทงโก้ (Tingo)
จังหวะแทงโก้จัดอยู่ในประเภทบอลรูมหรือโมเดิร์น ดนตรีในจังหวะนี้จะมีลีลา และท่วงทำนองกระตุ้น
เร้าอารมณ์ แต่แบ่งไว้ดังภาพ นุ่มนวลคล้ายอารมณ์รักของหนุ่มสาว

4.1 การก้าวพื้นฐาน (Basic Movement)

การจับคู๋มี 2 แบบ คือ จับแบบบอลรูมปิดและจับแบบ Promenade โดยทั้งคู่ยืดลำตัวแยกจากกันเป็นรูปตัว V

4.2 ขั้นการวาดลวดลาย (Figure)

ประกอบไปด้วย Open Promenade , Progressive Side Step , One Walk , Progressive Link

การเต้นแทงโก้ในยุคนั้น มีการเต้นที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าได้รับการฝึกสอนจากใคร การเต้นไม่มี


หลักเกณฑ์ใดๆ บางสเต็ปก็เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศส บางสเต็ปก็เรียกเป็นภาษาเสปน เมื่อคนนิยมกันมากจึงมี
การปรับปรุงหลักเกณฑ์และให้ดีขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งมีข้อกำหนดแบบอย่างลวดลายที่ตายตัวมาจนถึง
ปัจจุบันนี้
6

Open Promenade เป็นลวดลายที่ผู้เริ่มหัดลีลาศของไทยนิยมหัดกันที่เรียกว่าแถวได้ 8 แต่ลวดลาย


นี้มี 4 ก้าวแรกเท่านั้น ส่วน 4 ก้าวหลังเป็น Progressive Side Step ส่วนของ Open Promenade
ประกอบด้วย

ชาย โดยมีการเคลื่อนไหวดังนี้

- ก้าวเท้าซ้ายไปข้าง ๆ นับ 1

- ก้าวเท้าขวาไขว้ตัดลำตัวนับ 2

- ก้าวเท้าซ้ายสั้น ๆ แยกออกข้างและเยื้องไปข้าหน้า

- ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า โดยก้าวเท้าออกนอกคู่

หญิง โดยมีการเคลื่อนไหวดังนี้

- ก้าวเท้าขวาไปข้าง ๆ

- ก้าวเท้าซ้ายตัดลำตัว

- ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายจนกระทั่งหันหน้าเฉียงเข้ากลางแนว
เต้นรำ

- ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังตรง ๆ
7

Progressive Side Step เป็นการเคลื่อนไหวเท้า

ชาย มีการเคลื่อนไหวดังนี้

- ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตัดลำตัว

- ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องมาข้างหลัง

- ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไขว้ไปทางขวา

หญิง มีการเคลื่อนไหวดังนี้

- ถอยเท้าขวาไปข้างหลังเฉียงไขว้ไปทางหลังเท้าซ้าย

- ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้าหน้า

- ถอยเท้าขวาไปข้างหลังเฉียงไขว้ไปทางขวาหลังเท้าซ้าย

One Walk เป็นท่าเชื่อม 1 ก้าว


ชาย - ก้าวเท้าขวา

หญิง - ถอยเท้าซ้าย
8

Progressive Link เป็นลวดลายที่ใช้เปลี่ยนท่าจับคู่จากชายเปิดไปเป็นแปดเปิดหรือ Promenade


ชาย มีการเคลื่อนไหวดังนี้

- ก้าวเท้าซ้ายตัดลำตัวไปทางขวา

- ก้าวเท้าขวาแยกไปข้าง ๆ เยื้องไปข้างหลังเล็กน้อย

หญิง มีการเคลื่อนไหวดังนี้

- ถอยเท้าขวาไปข้างหลังไขว้ไปทางหลังเท้าซ้าย

- ถอยเท้าขวาไปข้างหลังไขว้ไปทางหลังเท้าซ้าย

- ถอยเท้าซ้ายมาข้าง ๆ เยื้องไปข้างหลัง พร้อมหมุนตัวรอบทางขวา


9

อ้างอิง

https://pattawan111.blogspot.com/p/blog-page.html
https://musical-manman.blogspot.com/2012/05/blog-post.html

You might also like