You are on page 1of 17

Page |1

บทที่ 4 ความน่าจะเป็น (Probability)


ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นจะต้องประสบปัญหาต่าง ๆ ที่จะต้องตัดสินใจอยู่เสมอ การคาดคะเนผลที่
อาจเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจจึงเป็นสิ่งจำเป็น การคาดคะเนของเรามักจะทำอย่าง
คร่าว ๆ เพียงเพื่อตัดสินใจปัญหาแต่ละข้อ และการคาดคะเนนั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ในทางคณิตศาสตร์มีการ
กำหนดค่าเป็นตัวเลขเพื่อบอกค่าของการคาดคะเนว่ามีโอกาสจะเกิดขึ้นตามที่คาดไว้มากน้อยเพียงใดซึ่งเรียกว่า
“ความน่าจะเป็น”

ความน่าจะเป็น (Probability) หมายถึง จำนวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมีโอกาสที่


จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด เช่น ในกล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีแดง 5 ลูก สีขาว 3 ลูก หลับตาหยิบขึ้นมา 1 ลูก โอกาส
ที่จะหยิบได้ลูกบอลสีใดมากกว่ากัน
กรณีนี้ตอบได้ว่า โอกาสหยิบลูกบอลสีแดงได้มากกว่า เพราะในจำนวน 8 ลูก เป็นลูกสีแดงถึง 5 ลูก แต่มีลูกสีขาว
เพียง 3 ลูกเท่านั้น

การทดลองสุ่ม (Random Trial) หมายถึง การทดลองซึ่งทราบผลลัพธ์ว่าจะเกิดอะไรได้บ้าง แต่ไม่สามารถ


พยากรณ์ผลที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งว่าจะเป็นอะไร เช่น ในการโยนเหรียญเที่ยงตรง 1 เหรียญ เราทราบว่า ถ้าไม่ขึ้นหัว
ก็ต้องขึน้ ก้อย แต่ในการโยนแต่ละครั้งไม่อาจบอกได้ว่าจะขึ้นหัวหรือขึ้นก้อย
* ในการโยนเหรียญ หัว แทนด้วย H ก้อย แทนด้วย T

ปริภูมิตัวอย่างหรือแซมเปิลสเปซ (Sample space) หมายถึง เซตของผลทั้งหมดที่เกิดจากการทดลองสุ่ม


มักจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ S เช่น
ตัวอย่าง 1 จงหาผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด (sample space) ของการทดลองต่อไปนี้
1. โยนเหรียญ 1 เหรียญ 1 ครั้ง
S = {H, T} n(S) = ……………………………………………………
2. การทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง เมื่อสนใจแต้มที่ได้
S = {1,2,3,4,5,6} n(S) = ……………………………………………………
3. การทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง เมื่อสนใจแต้มที่ได้ว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่
S = {แต้มคู่, แต้มคี่} n(S) = ……………………………………………………
4. การโยนเหรียญ 2 อัน 1 ครั้ง
S = {HT,HH,TH,TT} n(S) = ……………………………………………………
Page |2

5. โยนเหรียญ 1 เหรียญ และทอดลูกเต๋า 1 ลูก


S=…………………………………………………………………………………………………. n(S) = ……………………
6. เพศของบุตรของครอบครัวหนึ่งที่มีบุตร 3 คน
S=…………………………………………………………………………………………………. n(S) = ……………………
7. การโยนเหรียญ 3 อัน 1 ครั้ง เมื่อสนใจจำนวนเหรียญที่ขึ้นหัว
S = {0,1,2,3} n(S) =……………………………………………

8. โยนเหรียญ 1 เหรียญ หากขึ้นหัวจะโยนเหรียญอีก 1 เหรียญ แต่ถ้าขึ้นก้อยจะโยนลูกเต๋า 1 ลูก


สามารถเขียนแผนภาพต้นไม้ได้ดังนี้

S = …………………………………………………………………………………………………………………………………
n(s) = ……………………………………….

ในบางครั้งเราอาจไม่ได้สนใจผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดลองสุ่ม แต่เราสนใจ
ผลลัพธ์เพียง บางส่วนที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองสุ่ม เราเรียกเซตของผลลัพธ์บางส่วนนี้ว่า เหตุการณ์
เหตุการณ์(Event) คือ เซตย่อย (subset) ของแซมเปิลสเปซ
Page |3

ตัวอย่าง 2 ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ 2 ครั้ง ผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้คือ S = {HH, HT, TH, TT}


• ถ้า E1 เป็นเหตุการณ์ที่ได้หัว 2 ครั้ง E1 = ………………………………….……… n(E1) = ………………

• ถ้า E2 เป็นเหตุการณ์ที่ได้หัวอย่างน้อย 1 ครั้ง E2 = …………………………………………… n(E2)= ………………


• ถ้า E3 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้หัวเลย E3 = ………………………………………………………… n(E3)= ………………

ตัวอย่าง 3 จงหาเหตุการณ์ต่อไปนี้
1. จากการทดลองโยนเหรียญ 1 เหรียญ และทอดลูกเต๋า 1 ลูก จงหาเหตุการณ์ที่เหรียญขึ้นหัวและลูกเต๋า
ออกแต้มคู่ E = ………………………………………………………………………………………………………… n(E) = ………………
2. จากการทดลองทอดลูกเต๋า 2 ลูก จงหาเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าออกแต้มเหมือนกันทั้ง 2 ลูก
E = ……………………………………………………………………………………………………………… n(E) = ………………
3. เพศของบุตรของครอบครัวหนึ่งที่มีบุตร 3 คน จงหาเหตุการณ์ที่ได้ลูกชายอย่างน้อย 1 คน
E = …………………………………………………………………………………………………………………… n(E) = ……………

เทคนิคการนับ (Counting Techniques)


ในการคำนวณหาค่าความน่าจะเป็นจะต้องทราบจำนวนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละการทดลอง แต่การ
ทดลองบางอย่างอาจมีผลลัพธ์เกิดขึ้นมาได้มากมายจนทำให้เสียเวลาในการเขียนผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ดังนั้น
จึงต้องอาศัยหลักการนับเพื่อช่วยในการคำนวณหาจำนวนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว
หลักการคูณ (Multiplication Rule)

เหตุการณ์หนึ่ง ประกอบด้วย n ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกเลือกทำได้ k1 วิธี และ ขั้นตอนที่สอง


เลือกทำได้ k2 วิธี และ ขั้นตอนที่สามเลือกทำได้ k3 วิธีไปเรื่อย ๆ จนถึงขั้นตอนที่ n เลือกทำได้ kn วิธี
จำนวนวิธีทั้งหมดจะเท่ากับ k1 x k2 x k3 x … x kn วิธี

ตัวอย่าง 4 ถ้ามีถนนเชื่อมระหว่างเมือง ก และเมือง ข 4 สาย และถนนเชื่อมระหว่างเมือง ข และเมือง ค 5 สาย


การเดินทางจากเมือง ก ไปยังเมือง ค โดยให้ผ่านเมือง ข จะทำได้กี่วิธี
วิธีทำ ขั้นตอนที่ 1 เดินทางจากเมือง ก ไปเมือง ข ทำได้4 วิธี
ขั้นตอนที่ 2 เดินทางจากเมือง ข ไปเมือง ค ทำได้ 5 วิธี
ดังนั้น จำนวนวิธีในการเดินทางจากเมือง ก ไปยังเมือง ค โดยให้ผ่านเมือง ข คือ 4 x 5 = 20 วิธี
Page |4

ตัวอย่าง 5 จงหาจำนวนผลลัพธ์ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ พร้อมกับทอดลูกเต๋า 1 ลูก


วิธีทำ ขั้นตอนที่ 1 โยนเหรียญ 1 เหรียญ ได้…………วิธี
ขั้นตอนที่ 2 ทอดลูกเต๋า 1 ลูก ได้ ……………..วิธี
ดังนั้น จำนวนผลลัพธ์ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ พร้อมกับทอดลูกเต๋า 1 ลูก เท่ากับ ……………………………….. วิธี

ตัวอย่าง 6 ชายคนหนึ่งมีเสื้ออยู่ 5 สีคือ สีฟ้า แดง เขียว เหลือง ส้ม มีกางเกงอยู่ 3 สีคือ สีดำ ขาว น้ำตาล และ มี
รองเท้าอยู่ 2 คู่อยากทราบว่า ชายคนนี้จะมีวิธีการแต่งตัวทั้งหมดกี่วิธีโดยไม่ซ้ำกัน
วิธีทำ ขั้นตอนที่ 1 สามารถเลือกเสื้อได้ ………… วิธี ขั้นตอนที่ 2 สามารถเลือกกางเกงได้ …………… วิธี
ขั้นตอนที่ 3 สามารถเลือกใส่รองเท้าได้ ……. วิธี
ดังนั้น ชายคนนี้จะมีวิธีการแต่งตัวทั้งหมด ……….…………………………………….วิธี

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (Probability of an event)


ความน่าจะเป็น หมายถึง ตัวเลขที่แสดงถึงโอกาสของการเกิดสิ่งที่เราสนใจ ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อย
เพียงใด

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆ หาได้จากสูตร
𝑛(𝐸)
𝑃(𝐸) =
𝑛(𝑆)
เมื่อ P(E) แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆที่เราสนใจ
n(E) แทน จำนวนผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่เราสนใจ
n(S) แทน จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ตัวอย่าง 7 เมื่อหยิบไพ่ 1 จากสำรับ ซึ่งมีไพ่อยู่ 52 ใบ จงหาความน่าจะเป็นที่ไพ่ใบนั้นจะเป็นโพแดง


วิธีทำ ไพ่ 1 สำรับ 52 ใบ มีโพแดงอยู่ 13 ใบ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
Page |5

ตัวอย่างที่ 8 จากการโยนเหรียญ 3 เหรียญ 1 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นที่เหรียญออกก้อย 2 เหรียญ


หัว 1 เหรียญ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ตัวอย่างที่ 9 ในการทอดลูกเต๋า 2 ลูก พร้อมกัน ความน่าจะเป็นที่จะได้ ผลรวมของแต้มบนหน้าลูกเต๋าเป็น 6
เป็นเท่าไร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตัวอย่างที่ 10 ถุงใบหนึ่งบรรจุลูกแก้วสีเหลืองและสีชมพูอย่างละลูก หากเขย่าถุงแล้วสุ่มหยิบลูกแก้วขึ้นมา 2
ลูกโดยหยิบทีละลูกแล้วใส่คืน ความน่าจะเป็นที่จะสุ่มหยิบได้ลูกแก้วสีเดียวกันทั้ง 2 ลูกเป็นเท่าไร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตัวอย่างที่ 11 กล่องใบหนึ่งมีลูกบอลขนาดเท่ากัน สีขาว 3 ลูก สีแดง 4 ลูก และสีฟ้า 2 ลูก ถ้าหยิบขึ้นมา 1 ลูก
ความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกบอลสีฟ้า คือข้อใด
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตัวอย่างที่ 12 จากการสอบถามนักเรียน 3 คน ว่าเคยไปเที่ยวเชียงใหม่หรือไม่ ถ้านักเรียนแต่ละคนมีโอกาส
เคยไปเที่ยวเท่าๆ กันแล้วความน่าจะเป็นที่มีนักเรียน 2 คนตอบว่าไม่เคยไปเที่ยวเป็นเท่าไร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
Page |6

สูตรในการหาแซมเปิลสเปซ
1. โยนเหรียญ 1 อัน n ครั้ง จะได้
n(S) = 2n (เหรียญมี 2 หน้า และ n คือ จำนวนครั้งที่โยน)
2. โยนเหรียญ n อัน 1 ครั้ง จะได้
n(S) = 2n (n คือจำนวนเหรียญที่โยน)
3. ทอดลูกเต๋า 1 ลูก n ครั้ง จะได้
n(S) = 6n (ลูกเต๋ามี 6 หน้า n คือจำนวนครั้งที่โยน)
4. ทอดลูกเต๋า n ลูก 1 ครั้ง
n(S) = 6n (n คือจำนวนลูกเต๋า)

กฎของความน่าจะเป็น
1. 0 ≤ P(E) ≤ 1
2. P(E) = 1 เมื่อ n(E) = n(S)
3. P(Φ) = 0 เมื่อไม่มีเหตุการณ์ที่สนใจ
4. P(S) = 1

แบบฝึกทักษะ
Level I :
1. โยนเหรียญบาท 1 อัน 3 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้หัวอย่างน้อย 2 ครั้ง เท่ากับเท่าใด
ก. 1/8 ข. 1/4 ค. 3/8 ง. 1/2

2. ในการโยนเหรียญที่เที่ยงตรง 1 เหรียญ 2 ครั้งจงหาความน่าจะเป็นที่เหรียญจะออกหัว 1 ครั้ง


ก. 3/4 ข. 1 ค. 1/4 ง. 1/2
Page |7

3. ครอบครัวหนึ่งมีบุตร 5 คน เป็นชายล้วน โอกาสบุตรคนที่ 6 จะเป็นชายเป็นเท่าใด


ก. 1/2 ข. 5/6 ค. 3/4 ง. 2/3

4. นักเรียนคนหนึ่งทำข้อสอบแบบถูกผิด 3 ข้อ โดยวิธีเดา จงหาความน่าจะเป็นที่เขาจะเดาถูกอย่างน้อย 2 ข้อ


เท่ากับเท่าใด
ก. 1/8 ข. 1/4 ค. 1/2 ง. 2/3

5. ทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะได้แต้มมากกว่า 6 เป็นเท่าใด


ก. 0 ข. 1/3 ค. 1/2 ง. 2/3

6. โยนเหรียญ 1 อัน และทอดลูกเต๋า 1 ลูก โอกาสที่เหรียญออกหัวแต่ลูกเต๋าหงายแต้มไม่เกิน 3 เป็นเท่าใด


ก. 1/4 ข. 1/3 ค. 1/2 ง. 3/4

7. โยนเหรียญ 1 อัน และทอดลูกเต๋า 1 ลูกพร้อมกัน ความน่าจะเป็นที่เหรียญจะหงายหัวและลูกเต๋าขึ้นแต้มคี่เป็น


เท่าใด
ก. 1/2 ข. 1/3 ค. 1/4 ง. 1/5
Page |8

8. ทอดลูกเต๋า 2 ลูก พร้อมกัน 1 ครั้ง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะได้ผลต่างของแต้มเป็น 3 เท่ากับข้อใด


ก. 5/36 ข. 1/6 ค. 7/36 ง. 2/9

9. โยนลูกเต๋า 2 ลูก พร้อมกัน 1 ครั้ง โอกาสที่จะมีลูกหนึ่งขึ้นแต้ม 1 อีกหนึ่งไม่ขึ้นแต้ม 1 เป็นเท่าใด


ก. 1/6 ข. 2/9 ค. 5/18 ง. 1/3

10. โยนลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มลูกเต๋าเป็นจำนวนเฉพาะเป็นเท่าใด


ก. 13/36 ข. 7/18 ค. 5/12 ง. 4/9

11. หยิบตัวอักษร 1 ตัว จากคำว่า “PROBLEM” ความน่าจะเป็นที่หยิบได้ตัวอักษรที่เป็นพยัญชนะคือข้อใด


ก. 2/7 ข. 3/7 ค. 4/7 ง. 5/7

12. สุ่มหยิบอักษร 1 ตัว จากคำว่า “COMPUTER” ความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้สระเป็นเท่าใด


ก. 1/8 ข. 1/4 ค. 3/8 ง. 1/2

13. หยิบลูกปิงปอง 1 ลูก จากกล่อง ซึ่งมีลูกปิงปองสีแดง 4 ลูก สีขาว 6 ลูก ความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกปิงปองสี


ขาวเท่ากับเท่าใด
ก. 1/10 ข. 2/5 ค. 3/4 ง. 3/5
Page |9

14. โอกาสที่จะหยิบเลขโดด 1 ตัว จากตัวเลขโดด 0, 1, 2, 3, …, 9 แล้วได้เลขคู่เป็นเท่าใด


ก. 2/5 ข. 1/2 ค. 3/4 ง. 3/5

15. มีสลากอยู่ 10 ใบ แต่ละใบเขียนตัวเลข 0 ถึง 9 ไว้ใบละตัว ถ้าสุ่มหยิบขึ้นมา 1 ใบ ความน่าจะเป็นที่ได้สลากที่


เขียนตัวเลขที่มีค่ามากกว่า 6 เท่ากับข้อใด
ก. 1/5 ข. 3/10 ค. 2/5 ง. 1/2

16. บัตรจำนวนหนึ่งมีหมายเลขกำกับอยู่บัตรละ 1 หมายเลข ตั้งแต่ 1,200 ถึง 2,200 สุ่มหยิบมา 1 ใบ โอกาสที่


จะ ได้บัตรที่ลงท้ายด้วย 00 เป็นเท่าใด
ก. 10/1001 ข. 11/1001 ค. 11/1000 ง. 1/100

17. เลือกจำนวนเต็มตั้งแต่ 20 ถึง 50 หนึ่งจำนวน ความน่าจะเป็นที่จะเป็นจำนวนคี่หรือหารด้วย 7 ลงตัว เป็น


เท่าไร
ก. 12/20 ข. 12/31 ค. 15/31 ง. 17/31

18. มีสลากหมายเลข 20 ถึง 40 ใบละหนึ่งหมายเลข โอกาสจะได้สลากหมายเลขที่ 8 หารลงตัว


แต่ 3 หารไม่ลงตัว เป็นเท่าใด
ก. 2/21 ข. 1/7 ค. 1/10 ง. 3/20

19. มีหมายเลข 0 ถึง 50 หมายเลขละหนึ่งใบ สุ่มหยิบขึ้นมาหนึ่งใบ ความน่าจะเป็นที่จะได้หมายเลขที่ 3 หรือ 7


หารลงตัวเป็นเท่าใด
ก. 22/51 ข. 11/25 ค. 21/50 ง. 7/17
P a g e | 10

20. มีหมายเลข 1 ถึง 50 หมายเลขละหนึ่งใบ สุ่มหยิบขึ้นมาหนึ่งใบ ความน่าจะเป็นที่จะได้หมายเลขที่ 6 หรือ 8


หารลงตัวเป็นเท่าใด
ก. 3/25 ข. 6/25 ค. 9/25 ง. 12/25 จ. 4/17

21. ทอดลูกเต๋า 2 ลูกหนึ่งครั้ง จงหาความน่าจะเป็นที่ผลรวมของลูกเต๋าทั้งสองมากกว่า 10


ก. 1/12 ข. 1/9 ค. 5/36 ง. 1/6

22. จากการเล่นเกมหมุนลูกศร 2 ครั้ง ความน่าจะเป็นที่ลูกศรจะตกอยู่บนหมายเลขที่เป็นจำนวนคู่ทั้งสองครั้ง


(เมื่อแต่ละช่องมีพื้นที่เท่ากัน) เท่ากับเท่าใด

ก. 3/25 ข. 6/25 ค. 9/25 ง. 12/25 จ. 4/25


23. ความน่าจะเป็นที่จะได้รับคำตอบจากนักเรียนชั้น ม.3 ทั้ง 3 คน ว่าเคยไปเที่ยวที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็น
เท่าไร
ก. 1/4 ข. 1/8 ค. 9/25 ง. 12/25

24. ถ้าหยิบไพ่ 1 ใบ จากไพ่ 1 สำรับ โดยไม่ดู ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะหยิบได้ K เท่ากับเท่าใด


ก. 1/52 ข. 1/26 ค. 1/13 ง. 1
P a g e | 11

25. ในการดึงไพ่หนึ่งใบ ออกจากไพ่หนึ่งสำรับ ความน่าจะเป็นที่จะได้ 10 คือเท่าใด


ก. 1/52 ข. 1/26 ค. 1/13 ง. 4/13

26. กล่องใบหนึ่งมีลูกแก้วสีแดง 3 ลูก สีขาว 3 ลูก และสีเหลือง 3 ลูก สุ่มหยิบลูกแก้วออกมาจากกล่อง 1 ลูก


จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกแก้วสีขาว
ก. 3/5 ข. 1/8 ค. 1/3 ง. 3/8

27. ถุงใบหนึ่ง มีลูกแก้วขนาดเดียวกัน 3 สี เป็นสีขาว 12 ลูก สีแดง 8 ลูก และสีเขียว 4 ลูก คละอยู่ในถุง สุ่มหยิบ
ขึ้นมา 1 ลูก ความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกแก้วสีแดงเป็นเท่าใด
ก. 1/12 ข. 1/6 ค. 1/3 ง. 1/2

28. กล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีขาวสีขาว 4 ลูก สีแดง 5 ลูก และสีน้ำเงิน 6 ลูก หยิบลูกบอลอย่างสุ่มออกจากกล่อง 1


ลูก จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกบอลสีขาวหรือสีแดงเป็นเท่าใด
ก. 1/3 ข. 2/3 ค. 3/5 ง. 4/5

29. ถุงใบหนึ่งมีลูกแก้วสีขาว 6 ลูก สีส้ม 3 ลูก สีน้ำเงิน 1 ลูก แดง 1 ลูก หยิบอย่างสุ่ม 1 ลูก ความน่าจะเป็นที่จะ
ได้สีส้มเป็นเท่าใด
ก. 1/3 ข. 1/11 ค. 3/11 ง. 8/11
30. มีปากกาอยู่ 3 ด้าม เป็นปากกาสีดำ สีแดงและสีน้ำเงิน สุ่มหยิบมา 1 ด้าม สังเกตดูสีแล้ววางกลับที่เดิม
ทำเช่นนี้ซ้ำๆ กัน 3 ครั้ง ความน่าจะเป็นที่ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เป็นปากกาสีเดียวกัน ครั้งที่ 3 เป็นสีอื่นเป็นเท่าใด
ก. 1/3 ข. 2/3 ค. 1/9 ง. 2/9
P a g e | 12

31. กล่องใบหนึ่งมีสลาก 8 ใบ บนสลากเขียนเลขโดด 1 ถึง 8 กำกับไว้ ใบละหนึ่งตัวถ้าสุ่มหยิบขึ้นมา 2 ใบ โดย


หยิบทีละใบแล้วใส่คืนก่อนหยิบใบที่สอง ความน่าจะเป็นที่จะได้ตัวเลข 2 ตัวที่มีผลคูณเป็นจำนวนที่เป็นกำลังสอง
สมบูรณ์ เท่ากับเท่าใด
ก. 1/8 ข. 11/64 ค. 3/36 ง. 3/16

32. ในการเลือกตัวเลข 2 ตัว จากตัวเลข 5 ตัว คือ 1, 2, 3, 4, 5 โดยเลือกทีละตัวและไม่ให้ซ้ำกัน ความน่าจะเป็น


ที่จะได้ตัวเลข 2 ตัว ที่มีผลบวกเป็น 6 เป็นเท่าใด
ก. 3/20 ข. 1/5 ค. ¼ ง.3/10

33. การทดลองหนึ่ง กระทำโดยเขียนตัวเลข 0,1,2,3 ใส่กระดาษที่มีขนาดเท่ากันแล้วพับใส่กล่องสุ่มหยิบขึ้นมา 2


ใบพร้อมกัน ความน่าจะเป็นผลรวมของตัวเลขบนกระดาษมากกว่า 3 เป็นเท่าใด
ก. 1/3 ข. 1/2 ค. 2/3 ง. 3/4

34. เขียนตัวเลข 1, 2, 3, 4, 5 ใส่กระดาษที่มีขนาดเท่ากันแล้วพับใส่กล่องสุ่มหยิบขึ้นมา 2 ใบพร้อมกัน ความ


น่าจะเป็นที่ตัวเลขบนกระดาษเป็นจำนวนคี่ทั้งสองใบ เป็นเท่าใด
ก. 1/3 ข. 1/2 ค. 2/3 ง. 3/4 จ. 3/10
P a g e | 13

35. กล่องใบหนึ่งมีถุงเท้าอยู่ 3 คู่ หยิบถุงเท้า 2 ข้าง โดยหยิบทีละข้าง ความน่าจะเป็นที่จะได้ถุงเท้าถูกคู่กัน


เท่ากับเท่าใด
ก. 1/5 ข. 2/5 ค. 3/5 ง. 4/5

36. กล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีแดง 3 ลูก สีขาว 2 ลูก สุ่มหยิบขึ้นมาพร้อมกัน 2 ลูก ความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกบอล


สีเดียวกันเป็นเท่าใด
ก. 1/5 ข. 2/5 ค. 3/5 ง. 4/5

37. มีบัตรอยู่ 4 ใบ แต่ละใบมีหมายเลขกำกับอยู่คือหมายเลข 2,4,6,8 ถ้าสุ่มหยิบพร้อมกัน 2 ใบ ความน่าจะเป็น


ที่จะได้หมายเลขรวมกันแล้ว 4 หารลงตัวคือข้อใด
ก. 1/3 ข. 1/4 ค. 1/2 ง. 2/3

38. นักเรียน 2 คน ดื่มน้ำ 3 ชนิดคือ น้ำเปล่า น้ำส้ม และน้ำมะนาว โดยวิธีสุ่ม ความน่าจะเป็นที่นักเรียนสองคน


จะ ดื่มน้ำไม่ซำ้ กันเป็นเท่าใด
ก. 1/3 ข. 4/9 ค. 5/9 ง. 2/3
P a g e | 14

39. นักเรียนทั้งหมดมี 15 คน มี 12 คนชอบคณิตศาสตร์และ 10 คนชอบภาษาไทย ถ้าสุ่มนักเรียน มา 1 คน จง


หาความน่าจะเป็นที่จะได้นักเรียนที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์อย่างเดียว
ก. 12/15 ข. 1/3 ค. 7/15 ง. 2/3

40. มีนักเรียน 50 คน ชอบฟุตบอล 26 คน ชอบเปตอง 14 คน และชอบทั้งสองอย่าง 4 คน ถ้าสุ่มนักเรียนมา 1


คน ความน่าจะเป็นที่จะได้นักเรียนที่ไม่ชอบทั้งสองชนิดเป็นเท่าใด
ก. 3/25 ข. 4/25 ค. 1/5 ง. 7/25

41. นักเรียนทั้งหมดมี 18 คน มี 14 คนชอบดูหนังไทย มี 10 คนชอบดูหนังจีน สุ่มเลือกนักเรียน 1 คน จงหา


ความน่าจะเป็นที่จะได้นักเรียนที่ชอบดูหนังไทยอย่างเดียว
ก. 14/18 ข. 10/18 ค. ½ ง. 4/9

42. ครูให้นักเรียน 4 คน คือ แดง เขียว ขาว และดำเข้าแถวถ่ายรูป โอกาสที่แดงจะยืนอยู่ริมเสมอ เป็นเท่าใด


ก. ½ ข. 1/3 ค. 1/4 ง. 3/4
P a g e | 15

43. นักเรียนกลุ่มหนึ่งมี 50 คน สายตาสั้น 30 คน ถนัดมือซ้าย 15 คน มีนักเรียนสายตาสั้นและ ถนัดมือซ้ายอยู่ 5


คน ถ้าสุ่มมา 1 คนความน่าจะเป็นไม่สายตาสั้นและไม่ถนัดซ้ายเป็นเท่าใด
ก. 1/7 ข. 1/6 ค. 1/5 ง. 1/4

44. ถุงใบหนึ่งมีลูกแก้วสีเหลือง 2 ลูก สีแดง 1 ลูก สุ่มหยิบลูกแก้วมา 2 ลูกพร้อมกัน ความน่าจะเป็นที่จะได้


ลูกแก้วสีแดงเป็นเท่าใด
ก. 1/2 ข. 1/3 ค. 2/3 ง. 1

45. กล่องใบหนึ่งมีบัตร 3 ใบ แต่ละใบมีตัวอักษร B, O, Y เขียนอยู่บัตรละหนึ่งตัว ถ้าสุ่มหยิบบัตร 3 ใบ โดยหยิบ


ทีละใบและไม่ใส่คืน ความน่าจะเป็นที่จะหยิบบัตรเรียงกันตามลำดับเป็นคำว่า “BOY” เป็นเท่าใด
ก. 1/9 ข. 1/6 ค. 1/4 ง. 1/3

46. มีสลาก 10 ใบ มีหมายเลขกำกับอยู่คือ 1 ถึง 10 ถ้าสลากหมายเลข 1 มีรางวัล 1,000 บาท สลากหมายเลข 2


มีรางวัล 500 บาท สลากหมายเลข 3 มีรางวัล 300 บาท และสลากหมายเลข 4 มีรางวัล 200 บาท ถ้าสุ่มหยิบ
สลากมา 2 ใบพร้อมกัน จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้เงินรางวัลรวมกันเป็น 500 บาทเป็นเท่าใด
ก. 7/45 ข. 1/45 ค. 1/43 ง. 2/45
P a g e | 16

47. มีบัตรดูละครอยู่ 5 ใบ ใบละ 200 บาท จำนวน 1 ใบ ใบละ 150 บาท จำนวน 2 ใบ ใบละ 100 บาท จำนวน
2 ใบ ถ้าสุ่มหยิบบัตรขึ้นมา 1 ใบจงหาความน่าจะเป็นที่จะได้บัตรราคามากกว่า 100 บาท ตรงกับข้อใด
ก. 3/5 ข. ½ ค. 1 ง. 1/5

48. ความน่าจะเป็นที่จะได้จำนวนนับที่น้อยกว่า 100 จากการจัดตัวเลข 0, 1, 2 โดยไม่ซ้ำกัน เท่ากับเท่าใด


ก. 0 ข. 1/5 ค. 3/5 ง. 11/15

49. ในการโยนลูกเต๋า 1 ลูก จำนวน 300 ครั้ง ได้ผลลัพธ์ดังนี้ แต้ม 1 2 3 4 5 6 จำนวน 10 44 36 40 45 125
ครั้งตามลำดับดังตาราง ความน่าจะเป็นที่จะเป็นจะขึ้นแต้ม 5 เป็นเท่าไร
แต้ม 1 2 3 4 5 6
จำนวน 10 44 36 40 45 125
ก. 1/125 ข. 6/125 ค. 3/20 ง. 4/7

50. ผลการสอบวิชาคณิตศาสตร์ชั้น ม.3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งผลปรากฏดังนี้


เกรด 0 1 2 3 4
จำนวน 18 31 48 40 23

ถ้าเลือกนักเรียนอย่างสุ่มมา 1 คน ความน่าจะเป็นที่จะได้นักเรียนสอบได้เกรด 2 หรือ 3 เป็นเท่าใด


ก. 0.25 ข. 0.30 ค. 0.42 ง. 0.55
P a g e | 17

ความน่าจะเป็ น
คณิตศาสตร์พน้ ื ฐาน ชัน้ มัธยมศึกษาปี ท ี่ 3

ชือ่ .............................................................................................
ชัน้ .......................................... เลขที่......................................

You might also like