You are on page 1of 2

ใบความรู้ที่ 1 การอ่านโน้ตดนตรีไทย

การอ่านโน้ตดนตรีไทย
ก่อนที่จะมีฝึกอ่านโน้ตดนตรีไทยนั้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ในด้านของ จังหวะ และ ทำนอง เสียก่อน
ทำนอง หมายถึง เสียงสูง กลาง ต่ำ นำมาเรียบเรียงกันจนทำให้เกิดเป็นทำนองที่ไพเราะ
จังหวะ หมายถึง อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างมีระบบ โดยจังหวะในที่นี้ยกตัวอย่างให้
เป็นจังหวะของการปรบมือจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จังหวะคือ
จังหวะตก หมายถึงจังหวะหนักหรือจังหวะที่ปรบมือแล้วทำให้เกิดเสียง
จังหวะยก หมายถึง จังหวะที่เรายกมือออกจากันหรือจังหวะที่ไม่เกิดเสียงใดๆ
สัญลักษณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในการอ่านโน้ตดนตรีไทย
การบันทึกโน้ตดนตรีไทย ดนตรีไทยในหนึ่งบรรทัด มีห้องทั้งหมด 8 ห้อง ในแต่ละห้องสามารถบรรจุโน้ตได้ 4 ตัว
ในหนึ่งห้อง แบ่งออกได้เป็น 4 จังหวะ คือ /_ _ _ _/ เรียงลำดับ จากจังหวะที่ 1 2 3 และ 4 โดยกำหนดให้
จังหวะที1่ เป็นจังหวะยก
จังหวะที2่ เป็นจังหวะตก
จังหวะที3่ เป็นจังหวะยก
จังหวะที4่ เป็นจังหวะตก
ในการอ่านโน้ตดนตรีไทยนั้น ก่อนอื่นจะต้องฝึกนับจังหวะ 1 ถึง 4 วนกันไปเรื่อยๆ เสียก่อน แล้วให้ทำการ
ปรบมือโดยที่ให้จังหวะตก ไปตกอยู่ที่จังหวะตัวที่ 2 และ 4 นั่นก็แสดงว่าจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่ไม่ได้ปรม
มือนั้นเอง หรือก็คือจังหวะยกนั้นเอง
ตัวอย่าง /_ _ _ ด/_ _ _ ร/_ _ _ ม/_ _ _ ฟ/_ _ _ ซ/_ _ _ ล/_ _ _ ท/_ _ _ ด/
เมื่อเราสังเกตจะเห็นได้ว่าในแต่ละห้องนั้นจะมีโน้ตอยู่ตำแหน่งของตัวที่ 4 ของทุกห้อง ส่วน ตำแหน่งที่ 1 2
และ 3 ไม่มีโน้ตอยู่เมื่อเรานับหรือปรมมือในตำแหน่งเหล่านั้น เราจึงไม่ต้องออกเสียงโน้ตตัวใด แต่เมื่อเรานับหรือ
ปรบมือไปถึงจังหวะที่ 4 เราจะต้องออกเสียงตัวโน้ต เพราะโน้ตทุกตัวอยู่ในจังหวะที่ 4 ของทุกห้อง เพราะฉะนั้นให้เรา
ทำการปรบมือตามปกติพอถึงจังหวะที่มีโน้ตจึงค่อยเปล่งเสียงโน้ตนั้นออกมา
การอ่านโน้ตดนตรีไทยจึงไม่ค่อยยากมีหลักการง่ายๆ คือ ปรมมือตามปกติ โดยให้คำนึงถึงจังหวะตก และ
จังหวะยก แล้วก็ดูโน้ต ถ้ามีโน้ตอยู่จังหวะไหนก็ทำการเปล่งเสียงในจังหวะนั้น
สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนดนตรีไทยและยังไม่มีพื้นฐานด้านดนตรีมาก่อนอาจจะไม่เข้าใจลักษณะการอ่านโน้ตเพลง
ไทยดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการอ่านจึงขอใช้หลักการอ่านโน้ตไทยตามหลักทฤษฎีของ พ.ท.พระอภัยพลรบ
(เพ็ง เพ็ญกุล) ซึ่งเป็นผู้แต่งตำราดนตรีวิทยาเมื่อ พ.ศ.2450 แล้วบัญญัติหลักการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรขึ้นถือเป็น
ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมมากโดยใช้ตัวอักษรไทยมาเปรียบเทียบให้ตรงกับเสียงของโน้ตสากลดังนี้
ด=โด ร=เร ม =มี ฟ=ฟา ซ=ซอล ล=ลา ท=ที
ในกรณีที่โน้ตเสียงสูงจะใช้การประจุดไว้บนเสียงโน้ต เช่น ดํ = โด สูง เป็นต้นหลักการนี้จะทำให้ผู้ที่เริ่ม
เรียนจะเข้าใจได้ง่ายสำหรับวิธีการบันทึกโน้ตไทยนั้นจะใช้การบันทึกไปบนช่องตารางโดยแบ่งออกเป็นบรรทัด ๆ
ละ 8 ห้อง ในแต่ละห้องจะมีบรรจุโน้ตไว้ 4 ตัวถ้าเป็นอัตราจังหวะ 2 ชั้นโน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องจะเป็นโน้ตเสียง
ตกจังหวะซึ่งในที่นี้จะอธิบายเฉพาะการอ่านโน้ตแบบอัตรา 2 ชั้นเป็นหลัก
ตัวอย่างการบรรทึกโน้ตดนตรีไทย
1.โน้ตแบบ 4 ตัวต่อ 1 ห้อง
ดดดด รรรร มมมม ฟฟฟฟ ซซซซ ลลลล ทททท ดํดดํ ดํ ํ

2.โน้ตแบบ 3 ตัวต่อ 1 ห้อง


-ดดด -รรร -มมม -ฟฟฟ -ซซซ -ลลล -ททท -ดํดดํ ํ

3.โน้ตแบบ 2 ตัวต่อ 1 ห้อง (ตัวที่ 2 และตัวที่ 4)


-ด-ด -ร-ร -ม-ม -ฟ-ฟ -ซ-ซ -ล-ล -ท-ท -ดํ-ดํ

4.โน้ตแบบ 2 ตัวต่อ 1 ห้อง (ตัวที่ 3 และตัวที่ 4)


--ดด --รร --มม --ฟฟ --ซซ --ลล --ทท --ดํดํ

5.โน้ตแบบ 1 ตัวต่อ 1 ห้อง (ตัวที่ 4)


---ด ---ร ---ม ---ฟ ---ซ ---ล ---ท ---ดํ

6.โน้ตแบบ 1 ตัวต่อ 2 ห้อง (ซึ่งเป็นโน้ตแทนเสียงที่ยาวห่าง ๆ การมี–คือแทนเสียงโน้ตตัวนั้น)


---- ---ด ---- ---ร ---- ---ม ---- ---ฟ

จากวิธีการบันทึกโน้ตไทยทั้ง 6 แบบถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเริ่มอ่านโน้ตเพลงอัตรา 2 ชั้นที่จะนำมา


ศึกษาและสามารถครอบคลุมวิธีการอ่านโน้ตเพลงได้ทั้งหมด เพราะการศึกษาเพลงไทยนั้นควรจะต้องทราบถึงวิธีการ
อ่านโน้ตไทยเสียก่อน

You might also like