You are on page 1of 6

6506710117 ณัฐณิชา เทียมพุดซา

อุตสาหกรรมดนตรีในยุค Digital Disruption


อุตสาหกรรมดนตรีคืออะไร? หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำนี้บ่อย ๆ ในวงการดนตรี แต่ยังไม่เคยทราบจริง ๆ สักทีว่า
อุตสาหกรรมดนตรีคืออะไร โดย Creative Thailand (2563) ได้อธิบายคำว่า อุตสาหกรรมดนตรี หรือ Music industry ว่า
“อุตสาหกรรมดนตรี ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความซับซ้อน เพราะเกี่ยวเนื่องไปด้วยบุคคลหลายฝ่ายที่มี
ช่องทางของรายได้หลักมาจากการผลิตดนตรี โดยทีมงานฝ่ายต่าง ๆ ทัง้ เบื้องหน้าและเบื้องหลัง จะแยกย่อยไปตาม
ภาคส่วนความรับผิดชอบที่ต่างกัน แต่เนื่องด้วยความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและเทคโนโลยีที่ทำให้พฤติกรรม
ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อรูปแบบของอุตสาหกรรมดนตรีจนต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา”
ในอุตสาหกรรมดนตรีนั้น ประกอบไปด้วยบทบาทขององค์กรและอาชีพต่าง ๆ มากมาย ทั้งผู้ที่ดำเนินงานอยู่เบื้องหน้าอย่าง
ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดผลงานดนตรีสู่ผู้ฟัง หรือฝ่ายที่ดำเนินงานอยู่เบื้องหลังอย่างค่ายเพลง ฝ่าย
ประพันธ์เพลง ฝ่ายดูแลจัดการศิลปิน ฝ่ายผลิตและจัดจำหน่าย ฝ่ายควบคุมการแสดงสด เป็นต้น การเข้ามาของเทคโนโลยี
ทำให้หลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมดนตรีได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งกับฝ่ายผลิต กับผู้บริโภค หรือแม้กระทั่งตัว
ของดนตรีก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้สามารถแบ่งยุคของอุตสาหกรรมดนตรีได้เป็น 2 ช่วงหลัก ๆ คือช่วงก่อนยุค
ดิจิทัลและหลังยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมดนตรีก่อนยุคดิจิทัล
ในยุคนั้นหากคนต้องการเสพดนตรีใหม่ ๆ นอกจากการรอฟังจากรายการวิทยุแล้ว ยังมีการจำหน่ายสิ่งหนึ่งที่
เรียกว่าวัตถุบันทึกเสียง ซึ่งสร้างความสะดวกให้กับผู้ฟังได้มากที่สุด ณ ขณะนั้น เพียงแค่ซื้อวัตถุบันทึกเสียงและมีเครื่องเล่น
ก็สามารถฟังเพลงทีอ่ ยากฟังได้ทันที ในยุคนั้นอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงจึงมีความรุ่งเรืองมาก เนือ่ งจากแหล่งรายได้หลัก
ของอุตสาหกรรมดนตรีมาจากการจำหน่ายวัตถุบันทึกเสียง วัตถุบันทึกเสียงมี 3 รูปแบบ ได้แก่
แผ่นไวนิล เกิดขึ้นในปี 1887 โดย Emile Berliner เป็นผู้คิดค้นขึ้น เขาได้ตั้งชื่อมันว่า Gramophone ยอดขายของ
แผ่นไวนิลครองตลาดวัตถุบันทึกเสียงจนถึงปี 1983 ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยตลับเทป
ตลับเทป เกิดขึ้นในปี 1963 โดย Philips Company เป็นผู้คิดค้น ในช่วงแรก ๆ ยอดขายของตลับเทปยังไม่ดีมาก
นัก แต่หลังจากที่มีการปรับปรุงคุณภาพเสียงของตลับเทป ยอดขายของตลับเทปก็มากขึ้นจนทำให้กลายเป็นคูแ่ ข่งของแผ่น
ไวนิล จนมียอดขายนำหน้าแผ่นไวนิลในปี 1984
แผ่นซีดี หรือชื่อเต็มคือ Compact Disc เกิดขึ้นในปี 1982 โดย Philips Company และ Sony Corporation
จุดเด่นของแผ่นซีดีคือสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นไวนิลและตลับเทป และในปี 1992 ยอดขายของแผ่นซีดีก็ได้นำหน้า
ยอดขายตลับเทปในที่สุด แต่หลังจากนั้นไม่นานนัก อุตสาหกรรมดนตรีก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากการ
เข้ามาของเทคโนโลยีที่เรียกว่า MP3 ทำให้เกิดการเปลี่ยนผันกลายเป็นอุตสาหกรรมดนตรีในยุคดิจิทัล
2

อุตสาหกรรมดนตรีในยุคดิจิทัล
หลายปีก่อนหน้านี้ผู้คนส่วนใหญ่เสพดนตรีผ่านแผ่นซีดีมาตลอด จนกระทัง่ มีการกำเนิดขึ้นของ MP3 ที่เกิดจากกลุ่ม
Moving Picture Experts Group เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ของ Digital Content โดย MP3 ใช้เทคนิคบีบอัดแบบ Lossy ซึ่ง
จะนำเอาเสียงที่หูมนุษย์ไม่สามารถได้ยินออกไป จึงทำให้ขนาดไฟล์เล็กลงแต่ยังสามารถคงคุณภาพเสียงไว้เหมือนเดิมได้
และในปี 1999 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว คือเมื่อบริษัท
Napster ได้ออกซอฟต์แวร์ฟรีที่ทำให้ทั่วโลกสามารถร่วมแชร์ไฟล์เพลง MP3 กันได้ เหตุการณ์นี้ทำให้ยอดขายของตลับเทป
และแผ่นซีดีสั่นคลอนอย่างหนัก หลาย ๆ ค่ายเพลงได้ฟ้องร้องบริษัท Napster จนต้องหยุดบริการในที่สุด แต่สถานการณ์ก็
ไม่ดีขึ้น เนื่องจากยังมีซอฟต์แวร์ตัวอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่ให้บริการเหมือนกับ Napster ทำให้ค่ายเพลงไม่สามารถยับยั้งการ
เผยแพร่ MP3 ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ และเนื่องจากผู้บริโภคคุ้นชินกับการดาวน์โหลดเพลง MP3 มาฟังแบบไม่เสียเงิน จึงไม่
สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ยอมจ่ายเงินซื้อเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์เหมือนเดิมได้ ในเวลาต่อมาหลาย ๆ ค่าย
เพลงก็ได้ตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจการจำหน่ายเพลงออนไลน์ ในปี 2003 บริษทั Apple ได้เปิดเว็บไซต์จำหน่ายเพลงออนไลน์ทมี่ ี
ชื่อว่า iTunes ขึ้น เป็นอีกหนึ่งช่องทางเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อและดาวน์โหลดเพลงได้อย่างถูกลิขสิทธิ์ และหลังจาก
นั้นก็มีแพลตฟอร์มเกิดขึ้นอีกอย่าง Youtube ที่สามารถฟังเพลงผ่านทางออนไลน์ได้เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต และแพลตฟอร์ม
สตรีมมิงอย่าง Spotify ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคจากการดาวน์โหลดสู่การฟังเพลงออนไลน์หรือการ
สตรีมมิงแทน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Online Music Streaming
Online Music Streaming คือ บริการเช่าเพลงผ่านระบบดิจิทัล เพียงแค่จ่ายค่าบริการรายเดือน ผู้ฟังก็สามารถ
ฟังเพลงได้อย่างไม่จำกัด ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพื่อดาวน์โหลดเพลงทีละเพลงอีกต่อไป ใช้งานได้สะดวกผ่านสมาร์ท
โฟนหรือคอมพิวเตอร์ โดยมีแพลตฟอร์มผู้ให้บริการสตรีมมิงมากมาย อย่างเช่น Spotify, Apple Music, Youtube Music,
Tidal, Joox เป็นต้น
Music Streaming
หลังจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาในอุตสาหกรรมดนตรี ทำให้ Music Streaming นั้น
ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการสตรีมมิงมากมาย แต่แพลตฟอร์มที่
ผู้คนส่วนมากนิยมใช้คงเป็นสตรีมมิงยักษ์ใหญ่ที่เป็นลำดับ 1 และ 2 ของโลกอย่าง Spotify และ Apple Music พัชชา พูน
พิริยะ (2561) ได้รวบรวมข้อมูลของแพลตฟอร์มทั้งสองไว้ว่า

“บริษัท Midia Research ระบุว่า Spotify ยังครองตลาดมิวสิกสตรีมมิงในช่วงกลางปี 2018 ได้ถึง 36%


เท่ากับช่วงปลายปี 2017 ด้วยยอดผู้ใช้งานกว่า 83 ล้านคน ข้อมูลจาก GlobalWebIndex ระบุว่า ในทวีปยุโรปมี
ผู้ใช้งาน Spotify สูงถึง 22% และมีผู้ใช้งาน Spotify ในแถบลาตินอเมริกาสูงถึง 46% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในหมู่
บริการสตรีมมิงมิวสิกอื่นๆ ในขณะที่ Apple Music ก็มีการขยับเปอร์เซ็นต์ขึ้นในตลาดมิวสิกสตรีมมิงอยู่ที่ 19%
ด้วยยอดผู้ใช้งาน 43.5 ล้านคน (ข้อมูลจาก Midia Research ในช่วงกลางปี 2018) และทำให้ Apple Music ติด
อันดับบริการสตรีมมิงมิวสิกที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดอันดับ 2 ในต้นปี 2018 โดยมีตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็น
3

คีย์หลักของการเติบโต ข้อมูลจาก Loup Ventures ระบุว่า Apple Music ถือเป็นบริการสตรีมมิงมิวสิกที่ครองใจ


คนมากกว่า Spotify เพราะ Apple Music มียอดการเปลี่ยนจากแอ็กเคานต์ฟรี เป็นแบบจ่ายเงินสูงกว่าอยู่ที่
0.64% เมื่อเทียบกับ Spotify ที่มีเพียง 0.24% เท่านั้น”

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทั้งสองแพลตฟอร์มนี้มีความสำคัญต่อ Music Streaming ในปัจจุบันอย่างมาก เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่


ผูฟ้ ังเพลงทั่วโลกเลือกใช้บริการ และเมื่อผู้ฟังเพลงส่วนใหญ่ใช้บริการสตรีมมิง ก็ส่งผลให้สตรีมมิงนั้นมีอิทธิพลต่อ
อุตสาหกรรมดนตรีอย่างมาก พัชชา พูนพิริยะ (2561) ได้กล่าวถึงอิทธิพลที่สตรีมมิงมีต่ออุตสาหกรรมดนตรีไว้ว่า

“จากผลการศึกษาของ Axios รายได้ทงั้ หมดจากบริการสตรีมมิงมิวสิกในสหรัฐอเมริกาเพิม่ สูงขึ้นเท่าตัว


จาก 1.7 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2016 มาเป็น 3.4 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 ซึ่งตัวเลข
ในปี 2018 นี้รวมถึงรายได้จากสมาชิกที่สมัครแบบจ่ายเงินจำนวน 2.5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ตลาดของสตรีมมิงมิวสิกนั้นโตเร็วและยิ่งใหญ่ขนาดไหน เมื่อผู้ใช้งานหันมาพึ่ง
ช่องทางสตรีมมิงมิวสิกในการฟังเพลง อุตสาหกรรมสตรีมมิงมิวสิกก็ยิ่งมีบทบาทมากยิ่งขึ้น European
Commission’s Joint Research Center และมหาวิทยาลัย University of Minnesota ได้ทำรีเสิร์ชถึง
พฤติกรรมของผู้ฟังเพลงจากแพลตฟอร์มสตรีมมิงมิวสิก โดยการรวบรวมข้อมูลจากเพลงฮิตรายวันจำนวน 200
เพลงจาก Spotify ตลอดปี 2016 และ 2017 พวกเขาพบว่า เพลย์ลิสต์ที่ถูกสร้างขึ้นโดย Spotify สามารถทำให้
เพลงหนึ่งเพลงกลายเป็นฮิตได้เลยทีเดียว เช่นถ้า Spotify ตั้งใจเพิ่มเพลงใดเพลงหนึ่งเข้าไปในเพลย์ลิสต์ Today’s
Top Hits ซึ่งมียอดผู้ติดตามอยู่ที่ประมาณ 18.5 ล้านคน (จำนวนตามช่วงเวลาที่มีการรีเสิร์ช ปัจจุบันมีผู้ติดตาม
เพลย์ลิสต์ดังกล่าวประมาณ 22 ล้าคน) ก็จะทำให้เพลงนั้นๆ ได้รับการสตรีมสูงถึงประมาณ 20 ล้านครั้งโดยเฉลี่ย
ซึ่งถ้าแปลงยอดสตรีมเหล่านั้นให้กลายเป็นเงินที่ศิลปินจะได้รับแล้ว ก็อยู่ที่ประมาณ 116,000-163,000 ดอลลาร์
สหรัฐเลยทีเดียว”
จากข้างต้นแสดงให้เห็นว่าสตรีมมิงมีอทิ ธิพลต่ออุตสาหกรรมดนตรีมาก ทั้งจำนวนรายได้ที่ได้จากแค่ในสหรัฐอเมริกาเพิม่ ขึ้น
เป็นเท่าตัว ยังไม่รวมกับประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บริการสตรีมมิงอีก และยังสามารถทำให้เพลง ๆ นึงเป็นที่นิยมขึ้นมาเพียงแค่เพิ่ม
เพลง ๆ นั้นเข้าไปในเพลย์ลิสต์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างรายได้และชื่อเสียงให้ศิลปินเป็นอย่างมาก
บริการสตรีมมิงในปัจจุบันนั้นได้เติบโตขึ้นอย่างมาก และได้กลายเป็นแหล่งรายได้หลักแหล่งใหม่ของอุตสาหกรรม
ดนตรี ภายในปี 2030 ตลาดของบริการสตรีมมิงจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยธนาคาร Goldman Sachs ได้คาดการณ์ว่า
จะมีมูลค่าถึง 37,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์ว่าในอนาคตที่บริการสตรีมมิงเป็นแกนหลักของ
อุตสาหกรรมดนตรี จะทำให้ศิลปินใหม่มีพื้นที่ในการแสดงความสามารถของตัวเอง เพื่อให้เติบโตได้ง่ายขึ้น
4

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อมี Digital Music


จากที่เมื่อก่อนแหล่งรายได้หลักของอุตสาหกรรมดนตรีมาจากการจำหน่ายวัตถุบันทึกเสียง แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา
สู่อุตสาหกรรมดนตรีเกิดเป็น Digital disruption ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้านใหญ่ ๆ ที่ชัดเจน
ที่สุด
1. ศิลปิน ค่ายเพลง ฯลฯ
เมื่อรายได้จากการจำหน่ายวัตถุบันทึกเสียงลดน้อยลง ทำให้ศิลปินหรือค่ายเพลงต่าง ๆ ต้องเปลี่ยน
ช่องทางหารายได้มาเป็นการหารายได้จากธุรกิจเพลงดิจิทัล โดยการแพร่กระจายเพลงผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต
พัฒนาบริการดาวน์โหลดเพลงในรูปแบบของไฟล์ดิจิทัล และต่อยอดโปรดักต์งานเพลงรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น เช่น
การทำคลิปมิวสิกวิดีโอ การทำเสียงเพลงรอสาย เป็นต้น ทั้งยังหารายได้เพิ่มจากการจัดงานคอนเสิร์ต การโปรโมท
เพลงหรือศิลปินผ่านอินเทอร์เน็ต ซึง่ การใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตหรือใช้ Social Media ในการโปรโมทก็มีข้อดีอยู่
มาก เพียงแค่โปรโมทผลงานเพลงผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงผู้ฟังเพลงได้ ไม่จำเป็นต้องเสียเงิน
โปรโมทเพื่อสื่อสารกับกลุ่มผู้ฟังเพลงดังสมัยก่อน และการโปรโมทผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตยังช่วยทำให้ศิลปินหน้า
ใหม่ ๆ ได้เป็นทีร่ ู้จัก หาฐานแฟนเพลงได้มากขึ้น
2. ผู้บริโภค
ผู้บริโภคส่วนใหญ่จากเดิมที่เคยเสพผลงานเพลงจากการซื้อวัตถุบันทึกเสียงอย่างแผ่นไวนิล ตลับเทป หรือ
แผ่นซีดี เมื่อเกิด Digital Disruption ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนเป็นการฟังเพลงผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้
ง่ายกว่า ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดการขาดสำนึกของ
ผู้บริโภคตามมา เนื่องจากมีการเกิดรูปแบบการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ทำได้อย่างง่ายดาย จนผู้บริโภคบางส่วนมีความคิด
ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเงินเพื่อที่จะซื้อเพลงฟังอีกต่อไป อย่างเว็บไซต์ 4Shared.com ที่สามารถเข้าไปดาวน์
โหลดเพลงได้ทันที แต่รายได้ที่เกิดจากการดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวจะไม่ได้เข้าศิลปิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
เจ้าของผลงานอย่างมาก จึงมีการพัฒนาร้านขายเพลงออนไลน์และแพลตฟอร์มสตรีมมิง เป็นการจ่ายค่าสมาชิก
รายเดือนเพื่อที่จะฟังเพลงได้อย่างไม่จำกัดผ่านอุปกรณ์อะไรก็ได้ พฤติกรรมการฟังเพลงที่ผิดลิขสิทธิ์ของผู้บริโภคก็
ลดลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาใช้บริการสตรีมมิงมากขึ้น จนทำให้สตรีมมิงกลายเป็นแหล่งรายได้หลักของ
อุตสาหกรรมดนตรีในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีผู้บริโภคบางส่วนที่ชอบการสะสมวัตถุบันทึกเสียงต่าง ๆ เนื่องจากมองว่า
มันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และมีคุณค่าทางจิตใจ
3. ยอดขายของวัตถุบันทึกเสียงและ Digital Music
ยอดขายก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิด Digital Disruption ใน
อุตสาหกรรมดนตรีได้อย่างชัดเจน โดยสามารถดูได้จากรูปภาพดังต่อไปนี้
5

ภาพที่ 1 แสดงยอดขายของวัตถุบันทึกเสียง ภาพที่ 2 แสดงยอดขายของ Digital Music


ตั้งแต่ปี 2516-2564 จาก RIAA (2565) ตั้งแต่ปี 2548-2564 จาก RIAA (2565)

จากทั้งสองภาพ แสดงให้เห็นว่ายอดขายของ Digital Music มีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ในขณะที่การเติบโตของ


ยอดขายของวัตถุบันทึกเสียงนั้นไม่แน่นอน บางปีก็เพิม่ ขึ้น บางปีก็ลดลง ทั้งนี้หมดนี้เป็นผลมาจาก Digital
Disruption ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมดนตรีตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ภายในอุตสาหกรรมดนตรีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ตั้งแต่ที่ยังไม่มีการเข้ามาของเทคโนโลยีก็มีการ
แทนที่กันของรูปแบบการฟังเพลงใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ จากการฟังเพลงจากแผ่นไวนิลเป็นตลับเทป จากตลับเทปสู่แผ่นซีดี จน
เมื่ออุตสาหกรรมดนตรีก้าวเข้าสู่ยุค Digital Disruption ก็เปลีย่ นจากการซื้อแผ่นซีดีเพื่อฟังเพลงมาเป็นการฟังเพลงผ่าน
ช่องทางอินเทอร์เน็ต จนเกิดเป็นแพลตฟอร์มการสตรีมมิงอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงการเปลี่ยนแปลงอาจเกิด
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่ออุตสาหกรรมดนตรีบ้าง แต่จากการศึกษาหาข้อมูลก็ทำให้เห็นชัด
ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ของทั้งฝ่ายผู้ผลิตผลงานและผู้บริโภค ที่จะทำให้
อุตสาหกรรมดนตรีไม่มีวันหายไปและจะพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมาเสมอ
6

บรรณานุกรม
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (สิงหาคม 2558). ธุรกิจการบริการเพลง : Digital Music พลิกโฉมวงการดนตรี.
สืบค้นจาก https://api.dtn.go.th/files/v3/5cff756c1ac9ee073b7bec97/download
ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. (1 เมษายน 2555). MUSIC STREAMING เทรนด์อนาคตของอุตสาหกรรมเพลง. สืบค้นจาก
https://www.nuttaputch.com/music-streaming/
ณทิตา ทรัพย์สินวิวัฒน์. (26 กรกฎาคม 2550). อุตสาหกรรมเพลงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการนวัตกรรม
สื่อสารสังคม, 5(1), 160.
พัชชา พูนพิริยะ. (17 ธันวาคม 2561). Streaming Music: ปัจจุบันและอนาคตของบริการฟังเพลงออนไลน์
อะไรกำลังรอเราอยู่. สืบค้นจาก https://thestandard.co/streaming-music-market-trends/
พิสชา คำบุยา. (14 ธันวาคม 2562). ยุคดิจิทัลมิวสิก ฟังเพลงง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส. สืบค้นจาก
https://www.prachachat.net/columns/news-400915
มาทำความรู้จัก อุตสาหกรรมดนตรี คืออะไร และมีบทบาทเช่นไร. (29 พฤษภาคม 2563). สืบค้นจาก
https://cactusmusicandvideo.com/มาทำความรู้จัก-อุตสาหกร/
มนต์ทิพา วิโรจน์พันธ์. (12 มิถุนายน 2563). Music industry 101 อุตสาหกรรมดนตรีมอี ะไรบ้าง. สืบค้น จาก
https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=32473
ย่งเส็ง. (13 พฤศจิกายน 2564). วิวัฒนาการของการฟังเพลง.
สืบค้นจาก https://www.yongsengmusical.com/content/5673/วิวัฒนาการของการฟังเพลง
อุตสาหกรรมดนตรี. สืบค้นจาก https://hmong.in.th/wiki/World_music_market
อภิศิลป์ ตรุงกานนท์. (1 มกราคม 2551). ผลกระทบของเพลงดิจิตอลต่ออุตสาหกรรมเพลงในปี 2001 ตอนที่ 1.
สืบค้นจาก https://macroart.net/2008/01/digital-distribution-and-music-industry1/
Proplugin. (15 ธันวาคม 2564). MP3 ไฟล์เพลงในตำนาน ที่อยู่ในใจคนฟังเพลงหลายคน. สืบค้นจาก
https://www.proplugin.com/prohifi_th/article/post/mp3-legendary-file-article#:~:text=จุดกำเนิด
ของ%20MP3%20เกิด,มาตรฐานใหม่ของ%20Digital%20Content
WP. (22 กุมภาพันธ์ 2561). ถอดบทเรียน “บอย โกสิยพงษ์” เมื่อ Digital Disrupt วงการเพลง ต้องปรับโมเดลธุรกิจ
เพื่ออยู่รอด สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/02/boyd-kosiyabong-digital-disruption-in-
music-industry/

You might also like