You are on page 1of 2

๗.

หลักการและที่มาของหลักสูตร

การได้มาหรือความจำเป็ นในบริบทเชิงพื้นที่ในการจัดทำหลักสูตร ที่


จะเป็ นประโยชน์ส่งผลต่อการนำไปใช้ในการพัฒนา คุณภาพการจัดการ
อาชีวศึกษาและคุณภาพผู้เรียน

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน (Disruptive
Technology) ซึง่ นอกจากจะส่งผลกระทบ
ต่อระบบเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนใน
ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่ต้องเผชิญ กับเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวัน
มากมาย รวมไปถึงด้านการเรียนการสอนในสถานศึกษา ดังนัน
้ การศึกษา
ของไทยจำเป็ นต้องกำหนดเป้ าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วางแผน
พัฒนา และเตรียมกำลังคนที่จะเข้าสู่ ตลาดงานเมื่อสำเร็จการศึกษาใน
ระดับต่าง ๆ ปรับหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่น
หลากหลาย ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา (COVID-19) มีการแพร่ระบาด ในหลายประเทศรวมถึง
ประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความปลอดภัย โดยให้
สถานศึกษาจัดให้มี การเรียนการสอนด้วยการไม่ต้องเข้าชัน
้ เรียน
(Online) หรือ จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (On-site) บางครัง้ ขึน

อยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COMID-19)

จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนต่อครูผู้
สอนในอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน
โดย ส่วนมากครูผู้สอนไม่มีความชำนาญในการนำเอาสื่อ Social Media
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แก่ผเู้ รียน เมื่อเกิดเหตุการณ์
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) มากยิ่งขึน
้ จนส่งผล
ให้ สถานศึกษาต้องการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online)
ทำให้กระบวนการเรียนการสอนที่ผ่านมาไม่ ประสบผลสำเร็จ ผลการ
เรียนของผู้เรียนโดยส่วนมากอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าการจัดการเรียนการ
สอนใน สถานศึกษา (On-site)

อาชีวศึกษาจังหวัดน่าน จึงได้เล็งเห็นปั ญหาดังกล่าวและมีความ


ประสงค์ที่จะพัฒนาครูผู้สอน
ในอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน มีการประยุกต์และพัฒนาทักษะสื่อดิจิทัล ใช้ใน
เพื่อบูรณาการการจัดการเรียนการสอน ออนไลน์ จึงเป็ นสิ่งจำเป็ นสำหรับ
ครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ และสอดคล้องกับนโยบาย
ของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา “อาชีวศึกษา ยกกำลัง
สร้างคุณภาพ นำปริมาณ” ให้มีการพัฒนาสื่อ การเรียนรู้ (On-site On-
Air Online On-Demand) เพื่อการเรียนรู้ที่กระตุ้นความสนใจใคร่รู้ให้
เกิดแก่ผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้ และเรียนรู้
อย่างมีปฏิสัมพันธ์ เพลิดเพลินและสนุกกับการเรียนรู้ จนเกิดความรู้
ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า
หรือสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ สำนักงาน
อาชีวศึกษาจังหวัดน่าน จึงได้จัดโครงการพัฒนาทักษะการจัดการ เรียน
การสอนโดยใช้ส่ อ
ื ดิจิทัลสำหรับครูผู้สอน

You might also like