You are on page 1of 150

1

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 1
หลักสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
หัวข้อเนื้อหา
1. ความหมายของหลักสิทธิมนุษยชน
2. ลักษณะของสิทธิมนุษยชนที่สาคัญ
3. ความสาคัญของสิทธิมนุษยชน
4. ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
5. ลักษณะการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
6. ประวัติความเป็นมาของหลักสิทธิมนุษยชน
7. พัฒนาการของหลักสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย
8. แนวทางการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชน
9. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
10. ศาสนากับหลักสิทธิมนุษยชน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนบทเรียนนี้แล้วสามารถ
1. บอกความหมาย ประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของหลักสิทธิมนุษยชนและการเคารพ
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคมโลกและสังคมไทยได้
2. ยกตัวอย่างและวิเคราะห์สาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยได้
3. บอกประโยชน์และความสาคัญของหลักสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ที่มีต่อตนเองและสังคมโดยรวมได้
4. บอกความสอดคล้ อ งระหว่ า งแนวคิ ด ทางศาสนาที่ ต นนั บ ถื อ กั บ หลั ก สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน
และการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้

วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. วิธีสอน
1.1 บรรยาย
1.2 อภิปราย
1.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรม
1.4 เรียนรู้ด้วยตนเอง
2
2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 ผู้เรียนศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตารา ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสรุปด้วย
ตนเองก่อนเรียน
2.2 บรรยายและอภิปรายโดยใช้สื่อการเรียน คือ เอกสารประกอบการสอนประจาวิชาและ
PowerPoint
2.3 แบ่ งกลุ่ ม ทากิจ กรรมตามที่ผู้ ส อนและผู้ เรียนกาหนดร่ว มกันและนาเสนอ โดยเน้ นการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง
2.4 ผู้สอนบรรยายสรุปเนื้อหา จากนั้นให้ผู้เรียนทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. PowerPoint
3. แบบฝึกหัด
4. วีดีโอใน YouTube

การวัดและการประเมินผล
1. สังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
2. การนาเสนองาน
3. การทาแบบฝึกหัดท้ายบท
3

บทที่ 1
หลักสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิมนุษยชน (human rights) และการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นแนวคิดที่อยู่ควบคู่กัน
โดยเป็น แนวคิดที่มีรากฐานมาจากแนวคิดที่ว่ามนุษย์ทุกคนที่เกิดมานั้นมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ อย่างมั่นคง
และมีคุณค่า โดยไม่มีบุคคลใดหรือสิ่งใดจะมาทาลาย หรือลดคุณค่าในการมีชีวิตอย่างมั่นคงของบุคคลอื่น
ได้ นอกจากนี้แนวคิดในวัฒ นธรรมตะวันตกที่ ยึดถือว่ามนุษย์มีสิทธิโดยธรรมชาติในฐานะที่เกิด มาเป็น
มนุษย์ โดยมนุษย์มีความชอบธรรมในด้านจริยธรรมที่จะรักษาชีวิตของตนเอง มีอิสรภาพทางความคิด
และเชื่อว่าไม่ว่าแต่ละบุคคลคนจะมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ อย่างไรมนุษย์ทุกคนก็มีศักดิ์ศรีแห่ง
ความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกันทั้งสิ้น

ความหมายของหลักสิทธิมนุษยชน
นักวิชาการ และหน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนไว้ ดังนี้
ณรงค์ เหล่าธีระเชาวน์ (2546, หน้า 3) ได้ให้ความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนว่า คือ สิทธิที่
มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของ
บุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทา ที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้ รับการคุ้มครองตาม
รัฐธรรมนูญ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (2560, หน้า 4) สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐาน
มาจากความเชื่อ ปรัช ญา คา สอนทางศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรมของสังคมและวัฒ นธรรมต่าง ๆ
ในโลกที่เชื่อว่ามนุ ษย์ที่เกิดมาทุกคนมีสิ ทธิที่จะมีชีวิตอยู่ เช่น ทุกศาสนามีบัญ ญัติห้ ามการทาลายชีวิต
มนุษย์ นอกจากนั้นมีปรัชญาความเชื่อในวัฒนธรรมตะวันตกที่ว่ามนุษย์มีสิทธิโดยธรรมชาติในฐานะที่เกิด
เป็นมนุษย์ โดยมนุษย์มีความชอบธรรมในด้านจริยธรรมที่จะรักษาชีวิตของตนเอง มีอิสระทางความคิด
และเชื่ อ ว่ าไม่ ว่ าแต่ ล ะคนจะมี ค วามแตกต่ า งกั น ในด้ า นใด ทุ ก คนมี ศั ก ดิ์ ศ รี แ ห่ งความเป็ น ม นุ ษ ย์ โดย
เท่าเทียมกัน
วนัส ปิยะกุลชัยเดช (2561, หน้า 16) ได้ให้ความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนไว้ว่า เมื่อ ประกอบ
กันระหว่างคา ว่า “สิทธิ” และ “มนุษย์” แล้วควรจะให้คานิยามว่าเป็นอานาจอันชอบธรรมของสิ่งมีชีวิตที่
เรียกว่ามนุษย์ โดยอานาจนี้จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและบทบัญญัติทางศาสนา
โรสาลิ น ฮิ ก กิ น ส์ (Higgins, 2003, pp. 661-665) ได้ ให้ ค วามหมายของสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนไว้ ว่ า
สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่โดยธรรมชาติ ซึง่ สิทธินี้เป็นสิทธิที่รัฐไม่สามารถลบล้างด้วยคาสั่ง
หรือการใช้อานาจ แม้แต่ละประเทศจะมีข้อบังคับและระเบียบแบบแผนที่แต่ต่างกัน แต่สิทธิมนุษยชนเป็น
สิ ท ธิ ที่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนได้ รั บ จากการเป็ น สมาชิ ก ของประชาคมโลกและกฎหมายระหว่ า งประเทศ
4
มอริซ แครนตัน (Cranston, 1973, p. 6) ได้ กล่าวถึงสิ ทธิมนุ ษยชนว่ า คือ สิ ทธิทางศีล ธรรม
ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ เป็นสิทธิที่มีเฉพาะในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์เท่านั้น แครนตันได้อธิบายเพิ่มเติม
ว่า สิทธิมนุษยชนยังถือเป็นทั้งสิทธิใน 2 ลักษณะ คือ สิทธิทางกฎหมายและสิทธิทางศีลธรรมด้วย
United Nations Non-Governmental Liaison Service (NGLS) ( United Nations Non-
Governmental Liaison Service, 2008, p. 2) ได้ให้ความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนว่า คือ สิทธิ ที่
เป็ น ของมนุ ษ ย์ ทุ กคนไม่ ว่าจะสั ญ ชาติ ใด มีรสนิ ยมทางเพศใด หรือ นั กถื อศาสนาใด ต่างเท่ าเที ยมกั น
โดยมนุษย์ทุกคนต้องได้รับมอบสิทธิมนุษยชนโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
สรุปได้ว่า ความหมายของหลักสิทธิมนุษยชน คือ แนวคิดที่รับประกันว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อม
กับ ศักดิ์ศรีและความเสมอภาคเท่ าเทีย มกันในความเป็นมนุษย์ โดยสิ ทธิมนุษยชนนี้มีความเป็ นสากล
และปฏิเสธการเลื อกปฏิบั ติจ ากความแตกต่างของมนุษย์ ในเรื่องเชื้อชาติ สถานภาพทางกาย สุ ขภาพ
และวัฒนธรรม ที่ถูกกาหนดขึ้นในแต่ละสังคมอย่างแข็งขัน นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
ถ่ายทอดหรือถ่ายโอนให้แก่ผู้ใดได้

ลักษณะของสิทธิมนุษยชนที่สาคัญ
ลักษณะของสิทธิมนุษยชนที่สาคัญมีดังต่อไปนี้ (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 36)
1. สิ ท ธิพื้ น ฐานของมนุ ษย์ ทุ กคน (primary right) มนุ ษ ย์ที่ เกิดมาและมีชีวิตรอดทุ กคนต่างมี
ความศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ถูกแบ่งแยกหรือถูกเลือกปฏิบัติ
2. สิทธิส่วนบุคคล (personal right) เป็นสิทธิของแต่ละบุคคลที่บุคคลอื่นบุคคลใดจะมาก้าวล่วง
หรือละเมิดมิได้ การก้าวล่วงพื้นที่หรือสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่นบุคคลใดถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
3. สิ ท ธิของพลเมือง (civil right) เป็น สิ ท ธิของพลเมืองในฐานะที่ เป็ นสมาชิกของประเทศใด
ประเทศหนึ่งตามกฎหมาย ซึ่งประเทศที่พลเมืองนั้นถือสัญชาติอยู่ต้องได้รับการคุ้มครองให้มีชีวิตอย่าง
มั่นคง ซึ่งสิทธิพลเมืองได้แก่
3.1 สิ ท ธิ ท างสั ง คม (social right) เป็ น สิ ท ธิ ข องพลเมื อ งทางสั งคมที่ จ ะต้ อ งได้ รับ บริ ก าร
ในฐานะที่ เป็ น สมาชิ ก ของสั งคม เช่ น สิ ท ธิ ในการได้ รับ บริก ารด้ านต่ าง ๆ จากหน่ ว ยงานของรัฐ ตาม
ความเหมาะสม เป็นต้น
3.2 สิ ท ธิ ท างสวั ส ดิ ก ารสั ง คม (social welfare right) เป็ น สิ ท ธิ ข องพลเมื อ งที่ จ ะได้ รั บ
สวัสดิการสังคมเพื่อความมั่นคงในชีวิต เช่น สิทธิ ในการเข้าถึงยารักษาโรคและวัคซีน สิทธิในเรื่องของ
กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพของสาขาอาชีพต่าง ๆ
3.3 สิทธิทางวัฒนธรรม (cultural right) ได้แก่ สิทธิของพลเมืองในที่จะเลือกรับหรือเลือก
ปฏิเสธที่จะนับถือหรือเข้าร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น การนับถือศาสนา รสนิยมทางเพศ
การใช้ภาษา และการสมาคมทางด้านศิลปะต่าง ๆ

ความสาคัญของสิทธิมนุษยชน
ในปั จ จุบั นสิ ทธิมนุ ษยชนมีความส าคัญ ในฐานะเป็นแนวคิดกระแสหลั กของโลก เช่นเดียวการ
ปกครองในระบอบประชาธิ ป ไตย (democracy) และระบบเศรษฐกิจ แบบเสรีทุ น นิ ย ม (capitalism)
5
สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนคื อ แนวคิ ด ที่ ส่ ง เสริ ม และค้ าประกั น อย่ า งแข็ ง ขั น ถึ ง การมี อ ยู่ ข องความเสมอภาค
และการมีคุณค่าในตัวเองของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่กาเนิดอย่างไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ทั้งนี้ ในสภาวะของสังคม
โลกในปั จจุบั นสิทธิมนุษยชนไม่ใช่ ประเด็นสาคัญที่ต้องคานึงของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็น
ประเด็นที่ทุก ๆ สังคมทั่วโลกต้องให้ความสาคัญ เพราะแนวคิดสิทธิมนุษยชนได้ถูกนาไปใช้ เป็นประเด็น
สาคัญหนึ่งการสร้างความสั มพันธ์ระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทั้ง ความสัมพันธ์ด้านทางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศ (กุมพล พลวัน, 2547, หน้า 2-3) เช่น การออกแถลงการณ์ไม่เห็น
ด้วยต่อการบังคับใช้แรงงานในมณฑลซินเจีย งของประเทศจีนในการผลิตฝ้ายของบริษัทเครื่องแต่งกาย
ยักษ์ใหญ่ของโลก เช่น H&M Nike Uniqlo และ Adidas หรือกรณีที่ประเทศอเมริกาประกาศคว่าบาตร
ทางการทูตโดยการงดส่งนักการทูตและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่ง 2022 โดยอ้างว่า
ประเทศจี น ฆ่า ล้ างเผ่ าพั น ธุ์ ช าวมุ ส ลิ มอุย กูร์ เป็น ต้น ด้ว ยสาเหตุ และความส าคัญ ดัง ที่ กล่ าวมาข้างต้ น
ประเทศไทยในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ มีผูกพันตามพันธกรณีแห่งกฎบัตร
สหประชาชาติ จึงจาเป็นต้องให้ความสาคัญ กับประเด็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน โดยการพยายามปฏิบัติ
ตามหลักการที่ตกลงไว้ในปฏิญญากับประเทศสมาชิกอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เพราะการกระทาดังกล่าว
ล้วนมีความสาคัญทั้งในมิติการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก และมิติประชาธิปไตยที่ไปด้วยกันเป็นอย่างดี
กั บ แนวคิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนในสั ง คมไทย โดยหลั ก สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนมี ค วามส าคั ญ พอจะกล่ า วได้ ดั ง นี้
(ชวรัตน์ มารุ่งเรือง, หน้า 5-6)
1. มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะถือสิทธิครอบครอง ซื้อขาย กดขี่ ทรมาน หรือ
การลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย
2. มนุษย์มีสิทธิและมีอิสรภาพ ในการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ รวมไปจนถึงการพัฒนาศักยภาพ
ของตนเอง
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดเป็นมนุษย์มีคุณค่าในตนเอง มีความภาคภูมิใจ ไม่ควรเหยียดหยาม
บุคคลอื่นด้านชื่อเสียง เกียรติยศ การประจานต่อสาธารณชนให้เกิดความเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศักยภาพไม่เท่าเทียมกันแม้ถิ่นกาเนิด เชื้อชาติภาษา
ศาสนา สีผิว สุขภาพ สถานภาพทางสังคม และการศึกษาที่แตกต่างไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นบุคคลจึงพึง
ได้รับการคุ้มครองจากรัฐในฐานะพลเมืองของรัฐโดยเท่าเทียมกัน
สรุปว่า สิทธิมนุษยชนมีความสาคัญในแง่ของการเป็นสิ่งค้าประกันว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้จะ
ดารงชีวิตอย่างมีคุณ ค่าและมีศักดิ์ศรีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และมนุษย์ทุกคนจะต้องไม่ถูกเลื อก
ปฏิบัติเพื่อให้บุคคลนั้นถูกลดคุณค่าหรือทาให้เกิดความรู้สึกต่าต้อยด้อยค่า ทั้งนี้ ก็ เพื่อทุก ๆ สังคมเกิด
ความตระหนักและความคานึงถึงการมีคุณค่าและการมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งทั้งสองสิ่งถือว่าเป็น
คุณสมบัติที่สาคัญที่มนุษยทุกคนต้องมีเพื่อนาไปสู่การดาเนินชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข

ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นักวิชาการได้ให้ความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนไว้ ดังนี้
บรรเจิ ด สิ งคะเนติ (2558, หน้า 89) ได้ให้ ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ สิ่ งที่มี
ลักษณะเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น ไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาษา อุดมการณ์ทางการเมือง หรือชนชั้น
6
ทางสังคม ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์นี้มีอยู่เพื่อให้มนุษย์ทุกคนมีอิสระในการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง
โดยถือว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่มคี ุณค่าที่บุคลอื่นจะมาละเมิดมิได้
บุ ญ ศรี มี ว งศ์ อุ โ ฆษ (2548, หน้ า 100) ได้ ให้ ค วามหมายของค าว่ า ศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์
หมายถึง ความมีค่าของมนุษย์แต่ละคนทั้งในแง่ของความมีค่าในตัวเองและในสถานภาพของความเป็น
มนุษย์ของแต่ละคนด้วย ทั้งยังเป็นส่วนที่เป็นสาระสาคัญของมนุษย์แต่ละคนอันไม่อาจจะพรากได้
ทิพรัตน์ เติมเพ็ชร (2550, หน้า 24) ได้ให้ความหมายของ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” หมายความ
ถึ ง คุ ณ ค่ า ที่ มี ใ นตั ว ตนของมนุ ษ ย์ อั น ติ ด ตั ว มาแต่ ก าเนิ ด และเป็ น คุ ณ ค่ าสู ง สุ ด ของความเป็ น มนุ ษ ย์
เป็ น คุ ณ ค่ าในการด ารงชี วิต อย่ างปลอดภั ย และเป็ น อิ ส ระ และเป็ น คุ ณ ค่ าอั น ควรได้ รั บ การคุ้ ม ครอง
และเคารพในตัวตนของมนุษย์จากมนุษย์ด้วยกัน อย่างเท่าเทียมกัน
อาทิตย์ชัย เกรียงไกรวงศ์ (2559, หน้า 17) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ คุณค่าสูงสุดที่มีอยู่ใน
เฉพาะสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์เท่านั้น คุณค่าสูงสุดนี้ไม่ขึ้นอยู่กับข้อจากัดใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น สัญชาติ
ลั ก ษณะทางกายภาพ หรื อ ความเชื่ อ ศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ เป็ น คุ ณ ค่ า ที่ ต้ อ งได้ รั บ การคุ้ ม ครอง
และเคารพจากมนุ ษย์ด้วยกั นอย่ างเสมอภาค และคุณ ค่านี้ จะไม่ถูกพรากไปจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า เป็น
มนุษย์ได้ในทุกกรณี
เอมมานู เอล ค้ านท์ (Kant, 1998) (อ้ า งถึ งใน อาทิ ต ย์ ชั ย เกรี ย งไกรวงศ์ , 2559, หน้ า 6) ให้
ความหมายของ “ศักดิ์ศรี” ว่าหมายถึงความอิสระของมนุษย์ ไม่สามารถมีมนุษย์ คนใดที่สามารถใช้มนุษย์
คนอื่นให้เป็นดั่งเครื่องมือตามความประสงค์ของตนเอง แต่กลับกันมนุษย์จะต้องปฏิบัติต่อมนุษย์ในแบบ
เดียวกับที่ควรต้องปฏิบัติต่อตนเองด้วยความความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุก
คนโดย ยึดโยงอยู่กับศีลธรรมทางศาสนา
กุน เธอร์ เดอริก (Duerig, 1989) (อ้างถึงใน บรรเจิด สิงคะเนติ , 2558 หน้า 89) กล่าวว่าคาว่า
“ศักดิ์ศรี” คือ พลังอานาจจากกระบวนการระลึกรู้ในตัวตน ซึ่งสร้างให้มนุษย์ทุกคนมีความความแตกต่าง
กัน ศั กดิ์ศ รี ส่ งผลให้ บุ ค คลกระท าสิ่ งใด ๆ ได้ บ รรลุ ต ามเป้ าประสงค์ ซึ่งการกระท าใด ๆ ที่ ก ล่ าวมานี้
ผู้กระทาจะเป็นผู้กาหนดด้วยตนเอง
เคล้ าส์ สเทม (Stem, 1994) (อ้างถึงใน บรรเจิด สิ งคะเนติ , 2558 หน้ า 89) กล่ าวว่า ศักดิ์ศ รี
ความเป็นมนุษย์ คือ สมบัติล้าค่าที่อยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน สิ่งนี้จะติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่เกิดโดยไม่
มีข้อจากัดในเรื่อง สัญชาติ รสนิยมทางเพศ ความเชื่อ หรือสิ่งใด ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของบุคคล
กล่าวโดยสรุป ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ สิ่งสาคัญอันมีค่าที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกตนเองว่า
มนุษย์ การมีสิ่งสาคัญนี้เป็นสาเหตุให้ มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะดารงชีวิตอยู่อย่างสง่าผ่าเผย และรังเกียจ
การที่มีบุคคลใดมาปฏิบัติต่อตนเองให้ต้องรู้สึกต่าต้อยด้อยค่า ดังนั้น จึงเป็นความชอบธรรมของมนุษย์
ทุกคนที่จะดูแลรักษาศักดิ์ศรีของตนเองจากบุคคลใดก็ตามที่พยายามจะทาลายหรือลดคุณค่าสิ่งสาคัญนี้

ลักษณะการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มนุษย์บอกตนเองว่าเป็นสัตว์เป็นสัตว์ประเสริฐ เนื่องจากมนุษย์นอกจากจะมีร่างกาย มีสมองที่คิด
ได้ลึกซึ้งมากกว่าสัตว์เดรัจฉานแล้ว มนุษย์ยังมีอีกส่วนหนึ่ง คือ จิตวิญญาณ ซึ่งจิตวิญญาณที่กล่าวถึงนี้
จะเป็ น ตั ว ที่ ฉุ ด รั้ ง ไม่ ให้ ม นุ ษ ย์ ก ระท าสิ่ ง ที่ ผิ ด ศี ล ธรรมและจริ ย ธรรม ท าให้ ม นุ ษ ย์ ส ามารถควบคุ ม
7
สั ญ ชาตญาณดิ บ ของตนเองที่ มี ค วามต้ อ งการกิ น อาหาร ต้ อ งการมี ที่ อ ยู่ อ าศั ย มี ค วามต้ อ งการทาง
กามารมณ์ และมีความโลภ ทาให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ซึ่งถูกผลักดันโดยสัญชาตญาณเป็นหลัก
และขณะเดียวกันก็เป็นตัวแปรสาคัญที่แยกแยะระหว่างมนุษย์ที่มีระดับการพัฒนาจิตวิญญาณสูง เป็นคนดี
กับมนุษย์ที่มีระดับการพัฒนาจิตวิญญาณต่า เป็นคนเห็นแก่ตัว โหดเหี้ยมทารุณ ไร้ความเมตตาปรานี ฯลฯ
นอกเหนือจากที่ต้องมีปัจจัย 4 เพื่อการดารงชีวิตแล้ว มนุษย์ยังถูกผลักดันด้วยความปรารถนาที่
จะเป็ น ที่ ย อมรั บ ของคนในสั งคม เพื่ อ ให้ เกิ ด ความเคารพตนเอง และต้ อ งการความเคารพจากผู้ อื่ น
จากความปรารถนาดั งกล่ าวนี้ ได้ น าไปสู่ ค วามรู้ สึ ก ของความต้ อ งการมี ศั ก ดิ์ ศ รี อั น ได้ แ ก่ ศั ก ดิ์ ศ รีข อง
ความเป็นมนุษย์ ในแนวคิดทางตะวันตก เช่น ศาสนาคริสต์ถือว่ามนุษย์เป็นภาพลักษณ์แห่งพระผู้เป็นเจ้า
ทาให้มนุษย์คือภาพสะท้อนถึงความเป็นพระผู้ทรงมหิทธานุภาพของพระองค์ ในส่วนของศาสนาอื่น ๆ
อาทิ เช่น ศาสนาพุทธ ก็ยกย่องให้ มนุษย์แตกต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่น ๆ เช่นกัน มนุษย์จึงเกิดมา
พร้ อ มกั บ สิ ท ธิ ต ามธรรมชาติ แ ละจากพระผู้ ส ร้ า งให้ มี ศั ก ดิ์ ศ รี โดยศั ก ดิ์ ศ รี ข องความเป็ น มนุ ษ ย์
คื อ การสามารถที่ จ ะด ารงชี วิ ต ด้ ว ยความเชื่ อ มั่ น และภาคภู มิ ใจในคุ ณ ค่ า ของตนเองและในสั ง คม
และระบบการเมืองที่ดีก็ ควรต้องมีมาตรการและกระบวนการที่จะให้มนุษย์ ในสังคมหรือระบบการเมือง
นั้น ๆ สามารถธารงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของตนเองไว้ได้ สังคมใดหรือระบบการเมืองใดก็ตามที่ทา
ให้มนุษย์อีกส่วนหนึ่งถูกกระทาเสมือนเป็นทาสย่อมถือเป็นการทาลายศักดิ์ศรีของมนุษย์ เพราะมนุษย์ที่มี
จิตใจสูงย่อมจะไม่กระทาต่อมนุษย์ (ลิขิต ธีรเวคิน , 2550) ซึ่งการกระทาที่ถือว่าเป็น ลักษณะการละเมิด
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีด้วยกันหลายประการพอจะสรุปได้ ดังนี้
1. มีพฤติกรรมที่กระทาการให้มนุษย์กลายเป็นวัตถุโดยฝ่ายอานาจรัฐ
2. การลงโทษอาญาที่มีลักษณะทารุณโหดร้ายจนเกินไป
3. การหลีกเลี่ยงมิให้มีการได้สิทธิและเสรีภาพ
4. การทาลายชื่อเสียง
5. การเลือกปฏิบัติ
6. การกดดันลงให้รู้สึกต่าต้อย
7. การตีตราบาป
8. การตามล่า
9. การเหยียดหยาม
10. การตัดสินอันไม่สมควร

ประวัติความเป็นมาของหลักสิทธิมนุษยชน
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุ ดลง แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนได้รับการยอมรับและถูก
นานาประเทศทั่ ว โลกให้ ค วามส าคั ญ มากยิ่ ง ขึ้ น เนื่ อ งจากประชาคมโลกได้ รั บ รู้ แ ละตระหนั ก ถึ ง
ความโหดร้ายทารุณ ของสงครามและการฆ่าล้ างเผ่ าพันธุ์ การกระทาย่ายีที่ มนุษย์ได้กระท าต่อมนุษ ย์
ด้วยกันซึ่งผลจากสงครามครั้งนี้นาไปสู่การพัฒนากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (International
Human Rights Laws) ขึ้น ซึ่งเป็นหลักการ ข้อตกลง ระบบ และกลไกด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นมาตรฐาน
และได้ รั บ การยอมรั บ ในระดั บ สากลเพื่ อ ปกป้ อ งคุ้ ม ครองสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของทุ ก คนในโลกนี้
8
ดังนั้ น ในปั จ จุ บั น ความเชื่อ และแนวคิ ดที่ ว่ามนุ ษ ย์ทุ ก คนมี สิ ท ธิและศัก ดิ์ศ รีแห่ งความเป็ น มนุ ษ ย์โดย
เท่ าเที ย มกั น จึ งได้ รั บ การคุ้ ม ครองโดยหลั กการ และกฎหมายสิ ท ธิม นุ ษ ยชนระหว่างประเทศรวมถึ ง
กฎหมายในระดับประเทศ เช่นรัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ ซึ่งบัญญัติหลักการสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย
ใน พ.ศ. 2488 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน เพื่อร่างกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ
เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน จากนั้นสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซ่ึงประกอบด้วยสมาชิกประเทศต่าง ๆ
ได้ลงมติรับรองและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นหลักการสาคัญในการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนของประชาคมโลกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 และถึงแม้ว่าปฏิญญาฉบับนี้จะไม่ใช่
สนธิสัญญาระหว่างประเทศแต่ก็จัดเป็นกฎหมายจารีตระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่สาคัญที่สุด
ซึ่งประเทศต่าง ๆ จา ต้องเคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชนที่ได้ตราไว้ในปฏิญญาฉบับนี้ โดยที่ ปฏิญญา
ฉบั บ นี้ ยั งเป็ น พื้ น ฐานส าคั ญ ของสนธิ สั ญ ญาหรือ กฎหมายระหว่ างประเทศด้ านสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนอื่ น ๆ
อีกหลายฉบับ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒ นธรรมนอกจากนั้น ปฏิญญาฉบับนี้ ยังเป็นพื้นฐานของ
หลั ก การสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนในรั ฐ ธรรมนู ญ และกฎหมายในระดั บ ประเทศของประเทศต่ า ง ๆ อี ก ด้ ว ย
สิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจาแนกกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ส่วนคือ สิทธิทาง
การเมืองและสิทธิของพลเมือง โดยยังคลอบคุลมไปจนถึงการมีชีวิตอย่างมั่นคงและมีเสรีภาพของมนุษย์
ปราศจากการถูกกระทาทรมานเยี่ยงทาส เสมอภาคกันด้วยหลักนิติธรรม สิทธิในการกาหนดทิศทาง ๆ
การเมือง เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในทางวัฒนธรรม และความเชื่อ เป็นต้น ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ
สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งรวมถึงสิทธิในการทางาน สิทธิทางการศึกษา สิทธิดา้ นอาหาร และสิทธิที่จะ
ได้รับบริการทางด้านสาธารณสุข เป็นต้น (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, 2560, หน้า 5-8)
ลั ก ษณะเฉพาะของสิ ท ธิม นุ ษ ยชนที่ ระบุ ไว้ ในปฏิ ญ ญาสากลว่าด้ ว ยสิ ท ธิ มนุ ษ ยชน (วรากรณ์
พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 39) คือ
1. เป็นสิทธิที่ติดตัวมากับความเป็นมนุษย์ (inherent) หมายถึง เมื่อคนเกิดมาก็มีสิทธิมนุษยชน
ติดตัวมาด้วย ดังนั้นสิทธิเหล่านี้จะไม่มีการให้ หรือซื้อ หรือสืบทอดมา
2. เป็นสิทธิที่เป็นสากล (universal) คือ เป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนเหมือนกันไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ
เพศ หรือนับถือศาสนาใด ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มาจากพื้นฐานสังคมหรือการเมืองอย่างใด มนุษย์ทุกคนเกิดมามี
อิสรเสรี มีความเท่าเทียมกันในสิทธิและศักดิ์ศรี
3. เป็นสิทธิที่ไม่สามารถถูกพรากไป หรือยกให้แก่กันได้ (inalienable) คือ ไม่มีใครจะมาพราก
เอาสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนไปจากบุ ค คลใดบุ ค คลหนึ่ ง ได้ ถึ ง แม้ ว่ า กฎหมายของประเทศจะไม่ ย อมรั บ รอง
สิทธิมนุษยชน หรือแม้จะละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม ประชาชนของประเทศนั้นก็ยังมีสิทธิมนุษยชนอยู่
4. เป็ น สิ ทธิที่ ไม่ถูกแยกออกจากกั น (indivisible) กล่ าวคือ สิ ท ธิม นุษ ยชนที่ ได้รับ การรับ รอง
ภายใต้ ป ฏิ ญ ญาสากลว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนซึ่ ง ประกอบด้ ว ยสิ ท ธิ ส องส่ ว นคื อ สิ ท ธิ พ ลเมื อ งและ
สิทธิทางการเมืองกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมนั้นจะต้องไม่ถูกแยกออกจากกัน สิทธิทั้งสอง
ส่วนนี้จ ะต้องได้รับ การเคารพ ปกป้ อง และเติมเต็ม เพื่อที่จะให้ บุคคลทุกคนสามารถดารงชีวิตอย่างมี
ศักดิ์ศรี
นอกจากนั้นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ระบุห ลักการที่สาคัญไว้เพื่อใช้เป็นแนวทาง
ปฏิบัติ คือ หลักความเสมอภาค (equality) และการไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) ซึ่งหมายถึง
9
การที่ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา
ความเชื่อทางการเมืองสถานภาพทางการเกิดหรือสถานภาพอื่น ๆ

พัฒนาการของหลักสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย
จรั ญ โฆษณานั น ท์ (2545, หน้ า 519-526) ได้ กล่ าวถึ งพั ฒ นาการของมนุ ษ ย์ สิ ท ธิม นุ ษ ยชนใน
สังคมไทยไว้ว่าเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ในยุคเริ่มเปิดประเทศภายหลัง การทาสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับประเทศ
อังกฤษ เช่น เหตุการณ์ ใน ร.ศ. 103 ในสมัยรัช กาลที่ 5 ซึ่งเริ่มมี ช นชั้นสูงบางกลุ่ ม ที่จบการศึกษาจาก
ตะวันตกเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง เหตุการณ์ ร.ศ. 130 ที่คณะทหารหนุ่มก่อการกบฏเมื่อ
เปลี่ ย นแปลงการปกครอง การปฏิ วั ติ เปลี่ ย นแปลงการปกครองในวั น ที่ 24 มิ ถุ น ายน พ.ศ. 2475
พร้อมประกาศหลัก 6 ประการของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งกล่าวถึงหลักการเรื่องสิทธิความเสมอภาค และ
อิ ส รเสรี ภ าพ รวมไปจนถึ งการต่ อ สู้ ภ ายใต้ ก ารปกครองของรั ฐ บาลทหารตั้ งแต่ พ.ศ. 2490 เรื่อ ยมา
จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ไทยจะให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2491 แต่แนวคิดสิท ธิมนุ ษ ยชนแบบอุดมการณ์ เสรีนิยมตะวันตกก็เติบโตอย่างเชื่องช้าใน
สังคมไทย ท่ามกลางบริบททางการเมืองที่ล้าหลังเป็นเผด็จการ แม้จะมีการต่อสู้และเรียกร้องสิทธิและ
เสรี ภ าพอย่ างเข้มข้น เช่น ในช่ว งหลั งเหตุการณ์ 14 ตุล าคม 2516 และช่ว งหลั งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม
2519 ต่อมาเรื่องของมนุษยชนเป็นปรากฏการณ์ความสนใจและมีการถกเถียงกันอย่างมาก จนกระทั่งมี
การก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนขึ้น เพื่อศึกษากฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติ
ที่แย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อสิทธิมนุษยชน ทั้งปัญหาภายในและภายนอกประเทศในสมัยของรัฐบาล
พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ แต่ก็ล้มเหลวเพราะความไม่ต่อเนื่องของอายุ สภาผู้แทนราษฎร ความเป็นอิสระ
ความเป็นกลางในการทางาน รวมไปจนถึงเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือง อย่างไรก็ตามภายหลังการเกิด
เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิ ทธิมนุษยชนอย่าง
รุนแรงครั้งสาคัญของสังคมไทย ซึ่งจากชัยชนะของประชาชนในเหตุการณ์ดังกล่าวได้ มีผลผลักดันในการ
สร้างสานึกสิทธิมนุษยชนที่จริงจังในสังคมไทย
เมื่อรัฐบาลของนายอานันท์ ปัณยารชุน ได้บริหารประเทศได้นาประเทศเข้าสู่การเป็นสมาชิกของ
ประชาคมโลกภายใต้ ก ติ ก าระหว่ า งประเทศว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ พ ลเมื อ งและการเมื อ ง จนถึ ง การจั ด ตั้ ง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 ที่ดูจะเป็นความหวังครั้ง
สาคัญของผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ไร้อานาจที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่อยมาในสังคมไทย องค์การดังกล่าวถือ
เป็ น หนึ่ งกลไกส าคั ญ ของรั ฐ ที่ มี บ ทบาทในระดั บ หนึ่ งในด้ านการคุ้ ม ครองสิ ท ธิม นุ ษ ยชนในสั งคมไทย
ซึ่งยังมีอาชีพอื่นอีกที่ทาหน้าที่นี้ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติ ธรรม และผู้ตรวจการแผ่นดิน
รั ฐ สภา เป็ น ต้ น แต่ ดู เหมื อ นรากเหง้าและปั ญ หาการละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนก็ ยังด ารงอยู่ ในสั งคมไทย
อันเป็นผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น ระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเผด็จการ อานาจนิยม ระบบทุนนิยม
หรือวิถีพัฒนาที่มิได้เอาความเป็นมนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นที่ตั้ง วัฒนธรรมความเชื่อที่ล้าหลัง
จนก่อมายาคติผิด ๆ ที่ไม่ศรัทธาคุณค่าความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียม เป็นผลให้เกิดความรุนแรง
และสนับสนุนการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนจนฝังรากลึกมาถึงปัจจุบัน
10

ภาพที่ 1.1 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535


ที่มา: บีบีซีไทย, 2561

สั ง คมไทยในระยะเวลา 20-30 ปี ที่ ผ่ า นมา เน้ น ความส าคั ญ ของเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย ม


ได้ทาให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจากการพยายามพัฒนาประเทศเพื่อส่งเสริมภาคเศรษฐกิจ
รัฐบาลได้บั งคับ ใช้กฎหมายโดยไม่คานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับชุมชนท้องถิ่น เห็ นได้จากการจัดการ
ทรัพยากรในภาคอีสาน เช่น การประกาศเขตวนอุทยานกับที่ดินทากินของชาวบ้าน การให้สัมปทานป่า
แก่ ก ลุ่ ม อิ ท ธิ พ ลภายนอกชุ ม ชน ด้ ว ยการส่ งเสริ ม การปลู ก พื ช พาณิ ช ย์ แ ละการพั ฒ นาอุ ต สาหกรรม
(เสน่ห์ จามริก, 2546, หน้า 35-40) หรือกรณีเขื่อนปากมูล ที่หลังจากการสร้างเขื่อนได้ทาให้วิถีชีวิตของ
ชาวบ้ า นเปลี่ ย นแปลงไป ระบบนิ เวศที่ ลุ่ ม น้ ามู ล ก็ ถู ก เปลี่ ย นแปลง เกิ ด วิ ก ฤตในการท ามาหากิ น
ชาวบ้านจานวนไม่น้อยต้องอพยพไปทางานต่างถิ่น สภาพความเป็นป่าลดสูญเสียไป เป็นเหตุให้ชาวบ้าน
ไม่สามารถทาประมงได้ผลเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ทั้งที่เมื่อก่อนระบบนิเวศในบริเวณนี้มีความสมบูรณ์
ปริมาณของสัตว์น้ามีจานวนพอเพียง (กฤษฎา บุญชัย และคณะ, 2556, หน้า 2) นอกจากนี้แล้วยังมีกรณี
การละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ อีกที่มาจากนโยบายบางประการของรัฐ เช่น นโยบายการประกาศสงคราม
กับยาเสพติด และการบริหารจัดการปัญหาการก่อความไม่สงบใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยรัฐบาล
ของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชิน วัตร จนน าไปสู่การละเมิด สิ ทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษ ย์ใน
ลักษณะต่าง ๆ เช่น การฆ่าตัดตอน การอุ้มฆ่า การซ้อมทรมาน หรือกรณีการนาชาวโรฮิงญามาค้ามนุษย์
ในบริ เวณจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ เมื่ อ พ.ศ. 2558 ก็ ได้ ป รากฎหลั ก ฐานการละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ย ชนใน
เหตุการณ์ครั้งนี้อย่างชัดเจน เป็นต้น
11

ภาพที่ 1.2 นโยบายปราบปรามยาเสพติดของ ทักษิณ ชินวัตร


ที่มา: คมชัดลึก, 2562

แนวทางการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชน
ถึงแม้ว่าแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนจะเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ โดยเท่าเทียม
กัน โดยกาเนิ ด แต่ในทางปฏิ บั ติสิ ท ธิเหล่ านั้น อาจจะถูกละเมิด หรือถูกลิ ดรอนเนื่องจากการที่เราเป็ น
พลเมื อ งซึ่ งอยู่ ภ ายใต้ ก ารปกครองโดยอ านาจรั ฐ โดยที่ แ ต่ ล ะรั ฐ มี แ นวคิ ด ทางการเมื อ งการปกครอง
หรือการดาเนิ น นโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒ นธรรม ที่ต่างกันไป ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อ
การละเมิดสิทธิของประชาชนบางกลุ่มของประเทศ เช่น รัฐบาลบางประเทศไม่อนุญาตให้ประชาชนของ
ตนแสดงความคิดเห็นที่ตรงข้ามกับรัฐบาล ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ในการแสดง
ความคิดของมนุ ษย์ หรือการที่รัฐบาลมีแผนการพัฒ นาทางเศรษฐกิจที่ส่ ง ผลให้ มีการไล่รื้อที่อยู่อาศัย
หรือที่ทากินของชุมชนโดยที่ชุมชนไม่สมัครใจ หรือไม่มีการชดเชยให้เหมาะสมกับความเสียหายที่คนใน
ชุมชนได้รับ ซึ่งถือว่าเป็ นการที่รัฐบาลละเมิด สิทธิมนุษยชนของประชาชนเช่นกัน หรือในบางประเทศ
รัฐบาลไม่สนใจดูแลประชาชน พลเมืองบางกลุ่มของตน เช่น ในประเทศที่มีคนจากหลายเชื้อชาติหลาย
เผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ชนกลุ่มน้อยหรือชนพื้นเมืองบางกลุ่มอาจจะไม่ได้รับการดูแล หรือถูกละเมิดสิทธิ
ในด้านต่าง ๆ เช่น ถูกบังคับใช้แรงงาน นอกจากนั้นบุคคลอื่นที่ไม่ ใช่รัฐบาลหรือเจ้า หน้าที่ของรัฐก็อาจจะ
ทาการละเมิดสิทธิมนุ ษยชนได้เช่นกัน เช่น ในกรณีที่บริษัทหรือ เอกชนเข้ าแอบอ้างสิทธิและยึดครอง
ที่ดินทากินหรือที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือทาอุตสาหกรรม หรือการที่
บริ ษั ทเอกชนไม่จ่ ายค่าตอบแทนที่ เป็ นธรรมให้ กับ ลู กจ้ าง หรือไล่ ลู กจ้ างหญิ งที่ ตั้งครรภ์อ อกจากงาน
หรือการที่สามีทุบตีภรรยา หรือพ่อแม่ทาทารุณกรรมต่อลูก ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นกัน
การกระทาที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลาย ๆ กรณีถือเป็นการกระทาผิดทางกฎหมาย
ถ้าประเทศนั้น ๆ มีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครอง เช่น กรณีของการจ่ายค่าแรงที่เป็นธรรมซึ่งกฎหมายใน
12
หลายประเทศได้ ก าหนดอั ต ราค่ า จ้ า งขั้ น ต่ าไว้ ซึ่ ง ถ้ า มี ก ารละเมิ ด สิ ท ธิ ผู้ เสี ย หายสามารถฟ้ อ งร้ อ ง
และดาเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายได้ แต่ในบางประเทศหรือบางวัฒนธรรมมีการนากฎหมายทาง
ศาสนาหรือประเพณีปฏิบัติบางประการมาใช้ ซึ่งอาจจะขัดต่อแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน เช่น การขลิบ
อวั ย วะเพศของเด็ ก หญิ ง ซึ่ งมี ค วามเจ็ บ ปวดมาก หรื อ อาจจะท าให้ ผู้ ถู ก ขลิ บ ถึ ง แก่ ชี วิต ซึ่ งความเชื่ อ
และการปฏิ บั ติ ป ระเพณี เหล่ า นี้ เป็ น เรื่ อ งที่ ล ะเอี ย ดอ่ อ น และต้ อ งมี ก ารท าความเข้ า ใจเพื่ อ ให้ เกิ ด
การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นต่อไป ทั้งนี้ ในการที่จะเกิดกระบวนการตามหลักการสิทธิมนุษยชน สิ่งที่
จะต้องคานึ งถึง คือ การมีผู้ ทาหน้ าที่ รับ ผิ ดชอบ (duty bearers) ด้วยความเคารพ (respect) ปกป้อง
(protect) และผลักดันในสิทธินั้นเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม (fulfill) ซึ่งผู้ที่ต้องรับผิดชอบหลักก็คือ “รัฐ” โดย
ผู้ที่ถือสิทธิ (rights holders) สามารถเรียกร้องให้ รัฐปกป้อง คุ้มครองและเติมเต็มสิทธิของตน และใน
ขณะเดียวกันผู้ถือสิทธิหรือประชาชนแต่ละคนก็ต้องมีความรับผิดชอบที่จะไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย
โดยพอจะขยายความหน้าที่ของรัฐในการเป็นผู้รับผิดชอบให้เกิดหลักการสิทธิมนุษยชนได้ ดังนี้ (แอมเนสตี้
อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, 2560, หน้า 13-15)
1. เคารพ (respect) หมายถึง กฎหมาย นโยบาย และโครงการของรัฐ รวมถึงการปฏิบัติของ
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่นาไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น รัฐจะต้องไม่ออก
กฎหมายจากัดเสรีภาพในการนับถือศาสนา หรือไม่ดาเนินนโยบายที่จะส่งเสริมให้บริการขั้นพื้นฐานของรัฐ
เช่น ด้านสาธารณสุ ข และการศึกษาเป็ น กิจการเชิ งพาณิ ช ย์ ซึ่งจะส่ งผลต่อการเข้าถึงบริการเหล่ านั้ น
ของผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ที่ยากลาบากในสังคม เป็นต้น
2. ปกป้ อง (protect) หมายถึง การที่ รัฐ จะต้อ งมี กฎหมาย นโยบาย หรือมาตรการที่ จะดูแ ล
หรือป้องกันไม่ให้กลุ่ม หรือบุคคลใดซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่น
เช่น การมีมาตรการให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานหรือการออกกฎหมายหรือมาตรการคุ้มครอง
ผู้หญิงและเด็กจากการถูกกระทารุนแรงโดยบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่น เป็นต้น
3. เติ ม เต็ ม (fulfill) หมายถึ ง การที่ รั ฐ จะต้ อ งออกกฎหมาย หรื อ ด าเนิ น นโยบายเพื่ อ ให้
สิทธิมนุษยชนที่ ทุกคนพึงจะได้รับได้เกิดขึ้นจริง เช่น การที่รัฐมีนโยบายและจัดสรรงบประมาณเพื่อให้
ทุกคนได้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
เมื่อวัน ที่ 10 ธัน วาคม พ.ศ. 2491 ในที่ประชุมสมัช ชาขององค์การสหประชาชาติ สมัยสามัญ
สมัยที่ 3 ได้มีข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งถือเป็น หลักฐานสาคัญสาหรับการสร้าง
แนวคิด ด้านสิ ทธิม นุ ษ ยชนให้ แพร่ กระจายไปทั่ว โลก และปฏิ ญ ญาสากลฉบั บ นี้ จะเป็ นพิ ม พ์ เขียวของ
กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดสิทธิมนุษยชนทุกฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปฏิญญาสากลว่า
ด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับนี้เป็นหลักการทีเ่ หล่าประเทศสมาชิกในองค์การสหประชาชาติ (United Nations)
ได้ร่วมกันบัญญัติขึ้นเพื่อผลักดันให้แนวคิด สิทธิมนุษยชนมีบรรทัดฐานไปทั่วโลก โดยประเทศไทยได้เป็น
48 ประเทศเริ่มแรก ที่ยกมือโหวตร่วมยืนยันการบังคับใช้ ปฏิญญาฉบับนี้ ในการประชุมที่กรุงปารีส เมือง
หลวงของประเทศฝรั่ งเศส ทั้งนี้ เมื่อ วัน ที่ 10 ธันวาคม 2551 เนื่ องในโอกาสการครบรอบ 60 ปี ของ
การประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยได้ร่วมกับประชาคมโลกในการฉลองวาระ
13
สาคัญดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับหลักการสากลด้านสิทธิมนุษยชน
ให้กับประชาชนได้รับทราบโดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองซึ่งไม่ควรถูกละเมิดและการเคารพสิทธิ
ของผู้ อื่ น ซึ่ ง จะช่ ว ยส่ ง เสริ ม สั น ติ สุ ข ภายในสั ง คมเพื่ อ ให้ บ รร ลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ดั ง กล่ า ว กระทรวง
การต่างประเทศจึงได้ปรับปรุง คาแปลภาษาไทยของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีความทันสมัย
และเข้าใจง่ายขึ้นสาหรับบุคคลทั่วไป โดยยังยึดถือเนื้อหาสาระของปฏิญญาฯ เป็นสาคัญ และถือเป็นหนึ่ง
ในกิจกรรมสาคัญของการฉลองครบรอบ 60 ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งกระทรวงการ
ต่างประเทศหวังว่าการปรับ ปรุงคาแปลภาษาไทยของปฏิญ ญาดังกล่ าว จะช่วยให้ ผู้ อ่านได้รับความรู้
ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานทั้ง 30 ข้อ ที่ระบุอยู่ในปฏิญญาฉบับนี้ และสามารถ
นาไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของแต่ละบุคคลต่อไป โดยปฏิญญาสากลที่กระทรวงการต่างประเทศได้
จัดทาคาแปลใหม่ พอจะสรุปอย่างคร่าว ๆ ได้ ดังนี้ (กระทรวงต่างประเทศ กรมองค์กรระหว่างประเทศ,
2551, หน้า 20-31)
1. ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมในเรื่องของศักดิ์ศรี อิสรภาพ เสมอภาค และสิทธิ มนุษย์ควรปฏิบัติต่อ
กันด้วยความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน
2. มนุ ษ ย์ จ ะไม่ ถู ก แบ่ ง แยก หรื อ เลื อ กปฏิ บั ติ ในประเด็ น เรื่ อ ง ผิ ว เพศ สั ญ ชาติ วั ฒ นธรรม
อุดมการณ์ทางการเมือง สถานะทางเศรษฐกิจ ถิ่นกาเนิดหรืออื่น ๆ นอกเหนือจากนี้จะไม่มีการแบ่งแยก
ด้วยเหตุปัจ จัย ทางการเมือง กฎหมาย หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่บุคคลสังกัด หรือจะไม่ถูก
แบ่งแยกไม่ว่าดินแดนนี้จะเป็นเอกราช อยู่ในการปกป้อง หรือปราศจากการปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้
ข้อบังคับใด ๆ เกี่ยวกับอธิปไตยจากประเทศอื่น
3. สิทธิในการมีชีวิต มนุษย์ทุกคนกาเนิดมาพร้อมกับ มีสิทธิในการที่จะมีชีวิต และดารงชีวิตนั้น
อย่างมีคุณค่าและมั่นคง
4. ไม่ตกเป็นทาส สังคมโลกในยุคปัจจุบันปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงในการที่ บุคคลใดจะตกอยู่ในความ
เป็นทาส หรือถูกบังคับให้จายอมเป็นทาส รวมไปจนถึงการปฏิเสธการประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทาส
เช่น การค้าทาส
5. ไม่ถูกทรมาน บุคคลใดจะกระทาการให้ผู้อื่นรู้สึกทรมานด้วยวิธีการใด ๆ เช่น การลงโทษอย่าง
โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือการย่ายีศักดิ์ศรีไม่ได้
6. ได้รับการคุ้มครองทางกฎมาย ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายในฐานะที่เป็น
สมาชิกของสังคมหนึ่ง ๆ รวมถึงการได้สิทธิการคุ้มครองจากกฎหมายระหว่างประเทศ
7. เท่ า เที ย มกั น ตามกฎหมาย ทุ ก คนต้ อ งอยู่ ภ ายใต้ ค วามคุ้ ม ครองของกฎหมายที่ เป็ น ธรรม
ปราศจากการเลือกปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทาที่ขัดกับหลักปฏิญญาสากลฉบับนี้
8. สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาที่สมเหตุสมผลจาก
ศาลที่มีอานาจในสังคมหนึ่ง ๆ จากการพฤติกรรมของผู้ใดที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งได้ ผู้ถูกกระทาได้รับ
สิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
9. ไม่ถูกคุมขังโดยพลการ บุคคลใดจะถูกจับกุมคุมขัง หน่วงเหนี่ยว หรือเนรเทศโดยพลการไม่ได้
10. ได้ รับ การพิ จ ารณาอย่ างเป็น ธรรม ทุ กคนย่อมมี สิ ทธิ ที่ จะได้รับการพิ จารณาคดี ตามหลั ก
นิติธรรมอย่างเสมอภาคจากศาลที่ชาอานาจตุลาการอย่างมีอิสระปราศจากอคติในการตัดสิน เพื่อกาหนด
โทษใด ๆ ต่อผู้อยู่ภายใต้กฎหมายนั้น
14
11. เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะตัดสิน
11.1 บุคคลใดหรือคณะใดของตามที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทาความผิดในทางอาญา มีสิทธิที่
จะได้ รั บ การปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายในลั ก ษณะของผู้ ป ราศจากมลทิ น จนกว่ า จะสามารถพิ สู จ น์ โ ดย
กระบวนการยุติธรรมว่ามีความผิดจริงจากการพิจารณาคดีที่โปร่งใส ซึ่งบุคลลนั้นหรือคณะนั้น ต้องได้รับ
สิทธิที่จาเป็นทั้งปวงเพื่อต่อสู้ในคดี
11.2 บุ คคลใดจะถูกตัดสิ น ว่ามีความผิ ดทางอาญาโดยที่ กกฎหมายอาญาของสั งคมนั้น ๆ
ไม่ได้กาหนดเอาไว้มิได้ รวมถึงต้องไม่ลงโทษผู้กระทาผิดทางอาญารุนแรงเกินกว่าที่กฎหมายของสังคม
นั้น ๆ กาหนดไว้เช่นกัน
12. สิทธิความเป็นส่วนตัว บุคคลใดจะลุกล้าหรือคุกคามความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่พานักหรือ
อุปกรณ์สื่อสาร ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายจากลุกล้าหรือคุกคามในลักษณะดังกล่าว
13. เสรีภาพในการเดินทาง
13.1 ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการเคลื่อนย้ายที่พานักไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ที่อยู่ใน
เขตแดนที่ตนเองเป็นสมาชิก
13.2 ทุ ก คนมี สิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพที่ จ ะเคลื่ อ นย้ ายออกนอกประเทศใด ๆ รวมถึ งประเทศ
ที่ตนเองเป็นสมาชิก รวมไปจนถึงการมีสิทธิเสรีภาพที่จะกลับเข้าสู่ประเทศที่ตนเองเป็นสมาชิกโดยจะมีผู้ใด
มาขัดขวางไม่ได้
14. สิทธิที่จะลี้ภัย
14.1 ทุกคนมีสิทธิที่ลี้ภัยไปยังที่ใด ๆ อันเนื่องมาจากการประหัตประหาร
14.2 สิทธิที่จะลี้ภัยนี้ต้องสอดคล้องกับหลักการและวัต ถุประสงค์และหลักการขององค์การ
สหประชาชาติ
15. สิทธิที่จะมีสัญชาติ
15.1 ทุกคนมีสิ ทธิ ที่ จะมีสั ญ ชาติห นึ่งตามถิ่นกาเนิ ดหรือตามที่กฎหมายของสั งคมหนึ่ง ๆ
บัญญัติไว้อย่างเป็นธรรม
15.2 บุ ค คลใดจะถูกเพิ กถอนสั ญ ชาติของตนโดยพลการ หรือถูกปฏิ เสธสิ ทธิที่ จะเปลี่ ย น
สัญชาติของตนไม่ได้
16. เสรีภาพในการแต่งงาน
16.1 ชายและหญิงที่บรรลุนิติภาวะ ย่อมมีสิทธิที่จะแต่งงานโดยปราศจากการข้อจากัดใด ๆ
อันเนื่องจากผิว ภาษา วัฒ นธรรม หรือสถานะทางสังคม มนุษย์ย่อมมีสิทธิอย่างเสมอภาคกันในการใน
การแต่งงานและการหย่าร้าง
16.2 การแต่งงานต้องไม่ถูกบั งคับให้กระทาหรือไม่กระทาใด ๆ สิ ทธิที่จะกระทาการใด ๆ
เกี่ยวกับการแต่งงานเป็นของคูท่ ี่จะแต่งงานเท่านั้น
16.3 ครอบครั ว เป็ น หน่ ว ยธรรมชาติ แ ละพื้ น ฐานของสั ง คม และย่ อ มมี สิ ท ธิ ที่ จ ะได้ รั บ
ความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ
17. สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน
17.1 ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยตนเอง และโดยร่วมกับผู้อื่น
17.2 บุคคลใดจะถูกเอาทรัพย์สินไปจากตนตามอาเภอใจไม่ได้
15
18. เสรีภาพในการนับถือศาสนา มนุษย์มีเสรีภาพและมีสิทธิที่จะมีความคิด ความศรัทธา และมี
ศาสนา โดยรวมไปจนสิทธิและเสรีภ าพในการเลือกและไม่เลือกที่จะนับถือในศาสนาใด ๆ มีสิ ทธิและ
เสรีภาพในการกระทาที่แสดงออกถึงศาสนาและความเชื่อของตนเอง หรือความศรัทธาของตนเองต่อ
หลักการในด้านต่าง ๆ ของศาสนาหรือความเชื่อนั้น เช่น ข้อบัญญัติในการปฏิบัติตน และการประกอบ
พิธีกรรม ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะและทั้งโดยลาพังส่วนตัวและโดยการสมาคม
19. เสรีภ าพในการแสดงออก มนุ ษ ย์ มี สิ ท ธิ และเสรีภ าพในการแสดงออกในด้านต่าง ๆ เป็ น
การแสดงออกที่จะต้องไม่ปรากฎการเข้ามาแทรกแซงและแสวงหาผลประโยชน์จากการรับและการส่งสาร
โดยผู้ใด ทั้งนี้ การแสดงออกเหล่านั้นจะไม่มพี รมแดนมาเป็นอุปสรรคขวางกั้น
20. เสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติ
20.1 ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการชุมนุม ร่วมประชุมและการตั้งสมาคมโดยสันติ
20.2 บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมหนึ่งได้
21. การมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
21.1 มนุ ษย์ มีสิ ทธิร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ทั้งโดยทางตรงหรือ
ทางอ้อมอย่างไร้ข้อจากัด
21.2 มนุษย์มีสิทธิที่ได้รับการบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดหาให้อย่างเท่าเทียมกัน
21.3 ความต้ องการของประชาชนผู้ เป็ น เจ้าของแห่ งอานาจจะต้ องเป็ นพื้ นฐานส าคัญ ต่ อ
การใช้ อ านาจของผู้ ป กครอง โดยความต้ อ งการนี้ จ ะต้ อ งปรากฏให้ เห็ น จากการเลื อ กตั้ งที่ ป ราศจาก
การฉ้อฉล การเลือกตั้งต้องเป็นไปอย่างเสมอภาค การลงคะแนนโดยประชาชนต้องไม่เปิดเผย หรือใช้
วิธีการลงคะแนนอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน
22. การได้ รั บ การดู แ ลและคุ้ ม ครองจากรัฐ ทุ ก คนในฐานะที่ เป็ น สมาชิ ก ของสั งคมมี สิ ท ธิใน
หลักประกันทางสังคม สิทธิในการบรรลุถึงซึ่งสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม อันจาเป็นยิ่งสาหรับ
ศักดิ์ศรีของตนและการพัฒนาบุคลิกภาพของตนอย่างอิสระ ผ่านความพยายามแห่งชาติและความร่วมมือ
ระหว่างประเทศและตามการจัดการและทรัพยากรของแต่ละรัฐ
23. สิทธิในการทางาน
23.1 ทุกคนมีสิทธิในการงาน ในการเลือกงานโดยอิสระในเงื่อนไขที่ยุติธรรม และเอื้ออานวย
ต่อการทางาน และในการคุ้มครองต่อการว่างงาน
23.2 ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างที่เท่าเทียมกันสาหรับงานที่เท่าเทียมกัน โดยปราศจาก
การเลือกปฏิบัติใด
23.3 ทุกคนที่ทางานมีสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม และเอื้ออานวยต่อการประกัน
ความเป็ น อยู่ อัน ควรค่ าแก่ ศักดิ์ ศรีข องมนุษ ย์ส าหรับ ตนเองและครอบครัว และหากจาเป็ น ก็จะได้รับ
การคุ้มครองทางสังคมในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมด้วย
23.4 ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อความคุ้มครองแห่งผลประโยชน์
ของตน
24. สิทธิในการพักผ่อน ทุกคนมีสิทธิในการพักผ่อนและการผ่อนคลายยามว่าง รวมทั้งจากัดเวลา
ทางานตามสมควรและวันหยุดเป็นครั้งคราว โดยได้รับค่าจ้าง
25. คุณภาพชีวิตที่ดี
16
25.1 มนุ ษ ย์ มี สิ ท ธิ ที่ จ ะมี บ รรทั ด ฐานอั น เหมาะสมและพอเพี ย งส าหรั บ สุ ข ภาพอนามั ย
คุณภาพชีวิตของครอบครัวและของตนเอง รวมถึง ปัจจัย 4 และบริการทางสังคมที่จาเป็น มนุษย์ยังมีสิทธิ
ในการประกันในประเด็นอื่น ๆ เช่น ยามตกงาน ทุพพลภาพ หย่าร้าง เป็นผู้สูงวัย หรือมีข้อจากัดจากการ
ดารงชีพในประเด็นอื่น ๆ ที่อยู่เหนือการควบคุมของตนเอง เช่น สภาวะการใช้ชีวิตในช่วงสงครามหรือโรค
ระบาด เป็นต้น
25.2 มารดาและเด็กย่อมมีสิทธิที่จะรับการดูแลรักษาและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งปวง
ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกสมรส จะต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน
26. สิทธิในการศึกษา
26.1 มนุษย์มีสิทธิในการศึกษา โดยจะต้องเป็นการให้การศึกษาโดยรัฐต้องอุดหนุนอย่างน้อย
ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รัฐจะต้องมีการบังคับให้เยาวชนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา เปิด
ให้ ก ารศึ ก ษาเฉพาะทางวิช าอาชี พ ปรากฎเป็ น การทั่ ว ไป ส่ ว นการศึ กษาในระดั บ ที่ สู งขึ้ น ไปรัฐ จะต้อ ง
ดาเนินการให้มีการเข้าถึงอย่างเสมอภาคตามศักยภาพและความเหมาะสม
26.2 การศึกษาต้องมีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและบุคลิกภาพของมนุษย์ พัฒนาหลัก
คิดพื้นฐานเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อีกทั้ง จะต้องส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมี
ทักษะการเป็นพลเมืองแห่งโลก เช่น ขันติธรรมทางวัฒนธรรม และการสื่อสาร และสร้างการมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ เพื่อสันติที่จัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ
26.3 ผู้ปกครองย่อมมีสิทธิเบื้องแรกที่จะเลือกประเภทการศึกษาให้แก่บุตรของตน
27. การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม
27.1 มนุ ษ ย์ มี สิ ท ธิ แ ละมี เสรี ภ าพในประเด็ น ทางวั ฒ นธรรมของตนเอง เพื่ อ ที่ จ ะเกิ ด
ความจรรโลงใจกับศิลปะ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ของสังคม
27.2 มนุ ษ ย์ มี สิ ท ธิ ที่ จ ะได้ รั บ ผลประโยชน์ แ ละได้ รั บ การปกป้ อ ง งานสร้ า งสรรค์ ท าง
ศิลปวัฒนธรรมและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์
28. สั น ติ ภ าพระหว่างประเทศ ทุ ก คนย่ อ มมี สิ ท ธิในระเบี ย บทางสั งคมและระหว่างประเทศ
ซึ่งจะเป็นกรอบให้บรรลุสิทธิและอิสรภาพที่กาหนดไว้ในปฏิญญานี้อย่างเต็มที่
29. เคารพสิทธิผู้อื่น
29.1 ทุกคนมีหน้าที่ต่อชุมชน ซึ่งการพัฒนาบุคลิกภาพของตนโดยอิสระและเต็มที่ จะกระทา
ได้ก็แต่ในชุมชนเท่านั้น
29.2 ในการใช้สิทธิและอิสรภาพแห่งตน ทุกคนต้องอยู่ภายใต้ข้อจากัดเพียงเท่าที่มีกาหนดไว้
ตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อวัตถุประสงค์ของการได้มาซึ่งการยอมรับและการเคารพสิทธิและอิสรภาพอันควร
ของผู้ อื่ น และเพื่ อ ให้ ส อดรั บ กั บ ความต้ อ งการอั น สมควรทางด้ านศี ล ธรรม ความสงบเรี ยบร้อ ยของ
ประชาชน และสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย
29.3 สิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ ไม่อาจใช้ขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
ไม่ว่ากรณีใด ๆ
30. ไม่มีใครเอาสิทธิเหล่านี้ไปจากเราได้ ไม่มีบทใดในปฏิญญานี้ที่อาจตีความได้ว่า เป็นการให้
สิทธิใดแก่รัฐ กลุ่มคน หรือบุคคลใดในการดาเนินกิจกรรมใด หรือการกระทาใด อันมุ่งต่อการทาลายสิทธิ
และอิสรภาพใดที่กาหนดไว้ ณ ที่นี้
17
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทั้ง 30 ข้อ นี้ถือเป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสาเร็จสาหรับ
ประชาคมโลกในเรื่องของการอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพต่อกันของมนุษย์ โดยการคานึงถึงปฏิญญานี้เป็น
เนืองนิตย์ จะมุ่งมั่นส่งเสริมการเคารพสิทธิ และอิสรภาพเหล่านี้ ด้วยการศึกษา และให้มีการยอมรับและ
ยึดถือโดยสากลอย่างมีประสิทธิผล ด้วยมาตรการอันก้าวหน้าในแต่ละประเทศและระหว่างประเทศ

ศาสนากับหลักสิทธิมนุษยชน
ศาสนาสอนให้มนุษย์รู้ถึงความหมาย เป้าหมาย และคุณค่าของชีวิตมนุษย์ และชี้ให้เห็นหนทางที่
จะไปถึงจุดนั้น ศาสนาเห็นว่าชีวิตมนุษย์มีคุณค่า ทุกศาสนามีบัญญัติห้ามการทาลายชีวิตมนุษย์ มนุษย์มี
สิทธิที่จะมีชีวิต และมนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี ถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือ
หญิง ไม่ว่าจะมีสีผิวอะไร รวยหรือจน ดีหรือเลว ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็ นมนุษย์เท่าเทียมกัน ในความคิด
ของศาสนาแนวเทวนิ ย มที่ มี ค วามเชื่ อ ในพระผู้ เป็ น เจ้ า ซึ่ ง เป็ น ผู้ ส ร้ า งสรรพสิ่ ง เห็ น ว่ า มนุ ษ ย์ เป็ น ผู้ มี
ความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์มีศักยภาพพิเศษเหนือสรรพสิ่งทั้งมวล และมีความสามารถ
ที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ในศาสนาอเทวนิยมเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพที่จะไปถึงนิพพานหรือ
หลุดพ้นจากทุกข์ ศาสนาสอนให้มนุษย์ดาเนินชีวิตร่วมกันอย่างสันติ มีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกัน
ด้วยความเคารพรัก และรับใช้ซึ่งกันและกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยความเมตตากรุณ าฉันพี่น้อง อนึ่ง คาว่า
“สิทธิมนุษยชน” ไม่มีอยู่ในภาษาของศาสนาใด ๆ เพราะเป็นคาศัพท์ที่พึ่งเกิดขึ้นแต่ในแง่ของความหมาย
ของสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนนั้ น มี อ ยู่ ในทุ ก ศาสนา ดั งนั้ น การจะเข้ าใจเรื่ อ งสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนจึ งไม่ ใช่ เพี ย งศึ ก ษา
จากกฎหมายหรือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่ต้องกลับไปทาความเข้าใจกับหลักธรรม
ของศาสนาด้ว ย ซึ่ งศาสนาที่ ย กมาเป็ น ตั ว อย่ างได้แ ก่ ศาสนาพุ ท ธ ศาสนาคริส ต์ และศาสนาอิ ส ลาม
(วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 48-49)
1. ศาสนาคริสต์ สอนว่ามนุษย์เป็นผู้มีชีวิต ชีวิตนี้ ประทานให้โดยองค์พระผู้เป็นเจ้า “พระผู้เป็น
เจ้ า ทรงปั้ น มนุ ษ ย์ ด้ ว ยผงคลี ดิ น ระบายลมปราณเข้ า ทางจมู ก มนุ ษ ย์ จึ งเป็ น ผู้ ชี วิ ต ” และมนุ ษ ย์ เป็ น
ภาพลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบหมายให้มนุษย์ปกครองดูแลสรรพสิ่งที่พระองค์ทรง
สร้าง มนุษย์สามารถที่จะใช้สรรพสิ่งเหล่านั้นเพื่อความดารงอยู่และเจริญทวีจานวนมากขึ้น “พระผู้เป็นเจ้า
ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระองค์และตามพระฉายาของพระองค์นั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์
ขึ้น และได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง ” พระผู้เป็นเจ้าต้องการให้มนุษย์มีความสามารถพัฒนาตนเองไป
จนถึงขั้นใกล้เคียงกับองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่ อมีส่วนร่วมในพระราชานุภาพของพระองค์ มนุษย์ทุกคนจึงมี
ศักดิ์ศรีตามที่พระผู้เป็นเจ้าทรงให้ “พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้ต่ากว่าพระเจ้า เพียงแต่หน่อยเดียว
และสวมศักดิ์ศรีจับเกียรติให้แก่เขาพระองค์ทรงมอบอานาจให้ครอบครองบันดาลพระหัตถกิจของพระองค์
พระองค์ทรงให้สิ่งทั้งปวงอยู่ใต้ฝ่าเท้าเขา”
2. ศาสนาอิสลามสอนว่าพระอัลเลาะห์เป็นผู้ให้ชีวิตและความตาย คุณค่าของความเป็นมนุษย์ไม่มี
ความแตกต่างกัน ทุกคนล้วนเกิดจาก อาดัมผู้ที่ดีที่สุดตามทัศนะของพระอัลเลาะห์ คือผู้ที่สารวมตนให้พ้น
จากความชั่ว ชาวอาหรับที่ดีที่สุดไม่ได้ดีกว่าชนชาติอื่น ชนชาติอื่นก็ไม่ได้ดีกว่าชาวอาหรับ คนผิวดาและคน
ผิวขาวก็ไม่ได้ดีกว่ากัน โดยข้อแตกต่างเหล่านั้น เว้นแต่โดยการสารวมตนให้พ้นจากความชั่ว มนุษย์มีชีวิต
เพื่อทาความเข้าใจในสัจจะ โดยมีอัลกุรอานเป็นเครื่องนาทาง โดยอาศัยประสบการณ์และวิทยาการของ
18
มนุษย์มาช่วยให้เข้าใจชัดเจนขึ้น มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าใจความจริงจนถึงความจริงที่อยู่เหนือ
ธรรมชาติ สามารถที่ จ ะมี ค วามรู้ ส านึ ก สู งขึ้ น เกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ระหว่ า งตั ว เขากั บ พระผู้ เป็ น เจ้ า
และสากลจักรวาล
3. สั ง คมไทยอั น มี ป ระชากรส่ ว นใหญ่ นั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธเป็ น หลั ก ที่ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ
หลั ก สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและการเคารพศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ม าอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ห ลั ง เหตุ ก ารณ์
พฤษภาทมิ ฬ 2535 ได้ ถู กผู้ รู้ และนั ก วิช าการาการศึ ก ษาถึงความสอดคล้ องและเกื้อ หนุ น กั น ระหว่าง
2 แนวคิด อย่างแพร่หลายโดยศาสนาพุทธนั้นมีแนวคิด ว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในวรรณะใดก็มีความ
เสมอภาคเท่าเทียมกัน “วรรณะทุกวรรณะต่างเสมอกันโดยกรรม คือทาดีย่อมได้รับผลดี ทาชั่วย่อมได้รับ
ผลชั่ว” มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในชีวิตของตน เพราะทุกคนมีความรักชีวิต ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะทาลายชีวิตผู้อื่น
ดังที่พระธรรมปิฎกได้กล่าวไว้ว่า “หลักจริยธรรมบอกว่ามนุษย์ไม่ควรเบียดเบียนกัน ไม่ควรทาลายชีวิตกัน
เพราะเป็นหลักความจริงหรือสัจธรรมว่าชีวิตแต่ละชีวิตรักตัวเอง รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวภัยกลัว ความตาย
ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าพูดให้เข้ากับภาษาปัจจุบันก็ถือว่ามนุษย์แต่ละคน แม้แต่ที่เป็นสัตว์แรกเกิด ก็มีสิทธิใน
ชีวิตของตนเอง” พุทธศาสนาเคารพสิทธิในชีวิต ตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิขึ้นในครรภ์มารดา ศาสนาพุทธยัง
สอนว่าการดารงชีวิตอย่างสมกับความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่สาคัญ ” และชีวิตจะดารงอยู่ได้ต้องมีสิ่งที่จาเป็น
และขาดไม่ได้สาหรับชีวิตคน” พุทธศาสนาได้กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้เป็นที่รู้จักกันในคาว่าปัจจัย 4 หมายถึงสิ่งที่
ค้าจุ น ชีวิต หรือสิ่ งที่ ชีวิตต้องอาศัย ศาสนาพุ ทธเชื่อว่ามนุษ ย์มีศักยภาพสู งส่ ง สามารถที่จะมีความรู้
มีสติปัญญาจนถึงขั้นนิพพาน เห็นแจ้งมีความสุขอันสมบูรณ์ได้ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองไปได้อย่างแทบ
จะไม่มีขอบเขต ดังที่พระธรรมปิฎ กกล่าวว่า ความเป็นสัตว์พิเศษของมนุษย์อยู่ที่ตรงนี้ คือการที่ศึกษา
เรียนรู้ ฝึก หัดพัฒนาได้แทบไม่มีที่สิ้นสุด
จะเห็นว่าคาสอนเรื่องของคนของศาสนาทั้ง 3 ศาสนาที่ยกมาข้างต้น ต่างก็สอดคล้องกับแนวคิด
ของสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนในเรื่ อ งสิ ท ธิ พื้ น ฐานของความเป็ น มนุ ษ ย์ ธรรมชาติ ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ นี้ เ ป็ น
สิทธิพื้นฐานของสิทธิมนุษย์ชน คือ สิทธิในชีวิต สิทธิที่จะได้รับการยอมรับนับถือ สิทธิในการดาเนินชีวิต
และพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ชอบธรรม สิทธิเหล่านี้ไม่สามารถแยกจากกันได้ สิทธิมนุษย์ชนนี้มาพร้อม
กับความเป็นมนุษย์และทุกคนมีสิทธิ์เหล่านี้เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใด มีสีผิวอะไรหรือมีฐานะอย่างไร
ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะละเมิดได้
19

ภาพที่ 1.3 หนึ่งในผลการศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนาพุทธกับสิทธิมนุษยชน


ที่มา: ฐานข้อมูลศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน, 2564

บทสรุป
ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ได้ถูกประชาคมโลกให้ความสาคัญและพัฒ นากรอบแนวคิดให้เกิดเป็นรูปธรรมมาอย่าง
ต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถออกเป็นปฏิญญาสากลที่นานาประเทศให้การยอมรับและปฏิบัติตามได้เป็น
ผลสาเร็จ โดยสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ถือเป็นแนวคิดที่ต้องอยู่ควบคู่กัน
เพื่ อ เป็ น การยื น ยั น ถึ ง สิ ท ธิที่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนพึ ง มี ไม่ ว่า จะเป็ น ความเท่ าเที ย มกั น การอยู่ อ ย่ า งมี คุ ณ ค่ า
และมี ศั ก ดิ์ ศ รี การมี สิ ท ธิ เสรี ภ าพ และความเสมอภาคของบุ ค คลที่ ได้ รั บ การรั บ รองจากรั ฐ นั้ น ๆ
และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยสังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ประชาชนมีวัฒนธรรมที่แตกต่าง
หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ภาษา ศาสนา อาหาร และการแต่งกาย ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย
แตกต่างแต่ไม่แตกแยกมีความเคารพต่อกันในฐานะความเป็นมนุษย์ จึงทาให้สังคมไทยไม่มีการละเมิดสิทธิ
มนุ ษยชนในเรื่องการแบ่ งชนชั้น หรือเผ่ าพันธุ์ แต่ อย่างไรก็ตามยังคงปรากฏการละเมิดสิ ทธิมนุษยชน
ในลักาณะอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การล่วงละเมิดทางเพศ แรงงานผิด
กฎหมาย หรือการลงโทษทางอาญาที่รุนแรงเกิดความเป็นจริง เป็นต้น ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวนี้ ประเทศ
ไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกที่ลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ต้องให้ความสาคัญและพยายาม
แก้ไขปัญหาเพื่อให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยหมดไปอย่างยั่งยืน
20

คาถามท้ายบท
จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงบอกความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2. จงบอกพัฒนาการของหลักสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย
3. จงยกตัวอย่างเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ใน
สังคมไทยที่นั กศึกษาสนใจพร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ที่นักศึ กษายกมาสอดคล้องกับหลักปฏิญญา
สากลว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนในข้อใด
4. จงบอกประโยชน์และความสาคัญของการเรียนเรื่องหลั กสิทธิมนุษยชนและการเคารพ
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มีต่อตัวนักศึกษาและสังคมโดยรวม
5. จงยกตัวอย่างและอธิบายว่าแนวคิดของศาสนาที่นักศึกษานับถือมีความสอดคล้องกับ หลัก
สิทธิมนุษยชนและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างไร
21

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 2
วิถีและหลักปฏิบัตติ นของพลเมืองภายใต้การปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย
หัวข้อเนื้อหา
1. ความหมายและแนวคิดของความเป็นพลเมือง
2. ประวัติศาสตร์ของความเป็นพลเมือง
3. ลักษณะของพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย
4. การปฏิ บั ติ ต นตามหลั ก การสากลและความส าคั ญ ของการปฏิ บั ติ ต นเป็ น พลเมื อ งดี ต าม
วิถีประชาธิปไตย
5. แนวทางและการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในหน่วยต่าง ๆ ของสังคมไทย
6. คุณธรรมพลเมืองไทยตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนบทเรียนนี้แล้วสามารถ
1. บอกความหมาย แนวคิด และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของความเป็นพลเมืองได้
2. บอกลักษณะของพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยได้
3. บอกแนวทางและสามารถปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของสังคมไทยได้อย่าง
เหมาะสม
4. นาหลักคุณธรรม 4 ข้อ “มีวินัย พอเพียง สุจริต จิตอาสา” ภายใต้แผนแม่บทคุณธรรมแห่งชาติ
ไปปรับใช้กับชีวิตได้

วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. วิธีสอน
1.1 บรรยาย
1.2 อภิปราย
1.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรม
1.4 เรียนรู้ด้วยตนเอง
22
2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 ผู้เรียนศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตารา ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสรุปด้วย
ตนเองก่อนเรียน
2.2 บรรยายและอภิ ป รายโดยใช้ สื่ อ การเรี ย น คื อ เอกสารประกอบการสอนประจ าวิ ช า
และ PowerPoint
2.3 แบ่ งกลุ่ ม ท ากิ จ กรรมตามที่ ผู้ ส อนและผู้ เรี ย นก าหนดร่ ว มกั น และแสดงบทบาทสมมติ
โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.4 ผู้สอนบรรยายสรุปเนื้อหา จากนั้นให้ผู้เรียนทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. PowerPoint
3. แบบฝึกหัด
4. วีดีโอใน YouTube

การวัดและการประเมินผล
1. สังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
2. การแสดงบทบาทสมมติ
3. การทาแบบฝึกหัดท้ายบท
23

บทที่ 2
วิถีและหลักปฏิบัตติ นของพลเมืองภายใต้การปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย
พลเมื อ งดี ถื อ เป็ น ก าลั ง ที่ ส าคั ญ ยิ่ ง ของประเทศ เพราะพลเมื อ งที่ ดี ย่ อ มมี ค วามประสงค์
หรื อ มีจุ ดมุ่ งหมายที่ จ ะน าพาให้ ป ระเทศของตนเองมี ก ารพั ฒ นาและมี ความเจริญ ก้าวหน้ า อยู่เป็ น นิ จ
โดยสั งคมไทยได้ พ ยายามน าแนวคิ ด ว่าด้ว ยความเป็ น พลเมื อ งมาใช้อ ย่ างเป็ น รูป ธรรมใน พ.ศ. 2539
โดยสถาบั น นโยบายการศึ กษาซึ่งมีส่ ว นผลั กดั นให้ เกิด (ร่าง) รัฐธรรมนูญ ฉบั บ ประชาชน พ.ศ. 2540
จากแนวคิดดังกล่ าวท าให้ ทั้ งภาครัฐ และเอกชนร่วมกันสร้างและผลั กดัน โครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างใน
สังคมไทยเกิดสานึกความเป็นพลเมืองขึ้ น เช่น การปฏิรูปการศึกษามีการนารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่
ความเป็นพลเมืองบรรจุลงในหลักสูตรทั้งระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา รวมไปจนถึงการสร้าง
กระแสสังคมเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ทั้ง ทางโทรทัศน์และโซเชียลมีเดีย ดังนั้น
ความหมายของ “พลเมือ งที่ ดีภ ายใต้การปกครองในรูป แบบประชาธิปไตย” คือ สมาชิกของสั งคมที่
มองเห็นการเมืองว่าเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมที่ต้องร่วมรับผิดชอบไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องของนักการเมือง
ข้าราชการ หรือรัฐบาลอีกทั้งยังต้องเป็นผู้ให้ด้วยจิตสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์
ส่วนตน เคารพกฎหมาย มีความรับผิดชอบและพร้อมที่จะนาพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าด้วย

ความหมายและแนวคิดของความเป็นพลเมือง
1. ความหมายของความเป็นพลเมือง
ค าว่ า “พลเมื อ ง” อาจจะเป็ น ค าที่ ไม่ คุ้ น หู ม ากนั ก ส าหรั บ คนส่ ว นใหญ่ ซึ่ งต่ า งจากค าว่ า
“ประชาชน” และ “ราษฎร” ที่มักจะใช้หรือได้ยินกันโดยทั่วไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคา ว่าพลเมืองใช้
เพื่ อ สื่ อ ให้ เห็ น ถึ ง คนที่ มี ส านึ ก ไปกว่ า การเป็ น เพี ย งประชาชนผู้ ร อรั บ ประโยชน์ จ ากภาครั ฐ เท่ า นั้ น
ก่ อ นอื่ น เราคงจะต้ อ งมาท าความเข้ าใจความหมายที่ แ ท้ จ ริงของจากรูป ศั พ ท์ ข องค าว่ า “พลเมื อ ง ”
(citizen) “ประชาชน” (people) และ “ราษฎร” (subject) ว่ า มี ค วามหมายแตกต่ า งกั น อย่ า งไร
(สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555, หน้า 9-11)
1.1 ประชาชน หมายถึ ง คนทั่ ว ไป คนของประเทศ เช่น เราเป็น ประชาชนคนธรรมดาไม่ มี
อภิสิทธิ์ ใด ๆ ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรู้กฎหมายใครจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่ได้
1.2 ราษฎร แปลว่ า คนของรั ฐ ความหมายเดิ ม หมายถึ งสามั ญ ชน คื อ คนที่ ไม่ ใช่ ขุ น นาง
โดยในสมั ย รั ช กาลที่ 4 สั งคมไทยโบราณนั้ น ประชาชนเป็ น ไพร่ห รือ ทาสเกือ บทั้ งหมด พอมาถึงช่ว ง
รัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ย นแปลงการบริห ารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ มีการเลิ กทาส ทาให้ ประชาชน
กลายเป็นราษฎรที่ไม่ต้องรับใช้เจ้าขุนมูลนาย และมีสถานะทางกฎหมายเทียบเท่ากันในความหมายคือ
“ผู้ที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐและต้องปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองเช่นเดียวเหมือนกันหมด “ราษฎร”
จึ ง หมายถึ ง คนธรรมดา หมู่ ค นที่ มิ ใ ช่ ข้ า ราชการ หรื อ ทหารต ารวจ มี ค วามหมายคล้ า ยกั บ ค าว่ า
24
“ประชาชน” แต่ มี ค วามหมายเป็ น ทางการน้ อ ยกว่ า ค าว่ า ประชาชน เช่ น เราเป็ น ราษฎรธรรมดา
แต่ถ้าผู้บริหารประเทศคดโกงฉ้อราษฎร์บังหลวงเราก็ต้องไปคัดค้าน คาว่าราษฎรอาจหมายถึงคนทั่วไป
ของอาเภอหรือจังหวัดก็ได้ เช่น ที่จังหวัดนี้ราษฎรทามาหากินทางเกษตรกรรม จังหวัดของเราได้ชื่อว่าเป็น
จังหวัดที่ราษฎรยากจนที่สุด
1.3 พลเมือง หมายถึง หมู่คนที่เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมี
พลเมือง 60 ล้านคน คา ว่าพลเมือง แปลว่า กาลังของเมือง หมายถึง คนทั้งหมดซึ่งเป็นกาลังของประเทศ
ทั้งในทางเศรษฐกิจ การทหาร และอานาจต่อรองกับประเทศอื่น โดยความหมายของ คาว่า พลเมือง
จึงหมายถึงคนที่สนับสนุนเป็นกาลังอานาจของผู้ปกครอง เป็นคนที่อยู่ในการควบคุมดูแลของผู้ปกครอง
เช่น รัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศเพื่อให้พลเมืองมีความอยู่ดีกินดี
กล่าวโดยสรุป คาว่า “พลเมือง” มีความแตกต่างจากคาว่ า “ประชาชน” และ “ราษฎร”
ตรงที่ ว่าพลเมืองจะแสดงออกถึงความพยายามในการรักษาสิ ทธิต่าง ๆ ของตนรวมถึงการมี ส่ วนร่ว ม
ทางการเมืองโดยการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภ าพในการแสดงความคิดเห็ น ความเป็นพลเมือง (citizen)
มีความหมายที่ส ะท้ อนให้ เห็ น ถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิ ดชอบของสมาชิกทางสั งคมที่ มีต่อรัฐ
ต่างจากคาว่าประชาชน ที่กลายเป็น ผู้รับ คาสั่ง ให้ ทาตามผู้อื่น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญ จึงอยู่ที่
การเปลี่ยนให้ประชาชนคนธรรมดาได้กลายเป็นพลเมืองที่มีสิทธิกาหนดทิศทางของประเทศได้
ในขณะที่นักวิชาการท่านอื่น ๆ ได้ให้ความหมายของความเป็นพลเมืองไว้หลากหลาย ดังนี้
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2554, หน้า 3) ได้ให้ความหมายของคาว่าพลเมืองว่า คือ บุคคลที่
ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะที่จะนาประเทศไปสู่สันติสุขด้วยวิถีประชาธิปไตย ซึ่งรวมการมีอิสรภาพการพึ่งพา
ตัวเองได้ การมีสิ ทธิ การเคารพสิทธิ มีความรับผิดชอบต่อส่วน รวมเคารพกติกาบ้านเมือง ไม่ใช้ความ
รุนแรง และที่สาคัญต้องเป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะ
สมชาย แสวงการ (2558, หน้ า 3) กล่ าวว่า ความเป็นพลเมือง คือ บุคคลที่เป็น สมาชิกของ
สังคมที่ใช้สิทธิเสรีภาพ โดยมีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิผู้อื่น เคารพความแตกต่าง เคารพกติกา ซึ่งต่าง
จากคาว่า ประชาชนที่กลายเป็นผู้รับคาสั่งทาตามผู้อื่น ดังนั้ น ความสาคัญของการเป็นพลเมืองจึงอยู่ที่
การพยายามจะใช้สิทธิที่พึงมีเพื่อกาหนดทิศทางของสังคมและประเทศชาติ
อเนก เหล่ า ธรรมทั ศ น์ (2561) กล่ า วว่ า "ประชาชน" (people) “ราษฎร” (subject)
และพลเมื อ ง (citizen) เหมื อ นเป็ น ค าเดี ย วกั น แทบจะแทนกั น ได้ ทั้ งที่ จ ริงแล้ ว ประชาชน หมายถึ ง
คนที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง (non-ruler) ประชาชน คือ เป็นสมาชิกของสังคมที่มีสถานะทางกฎหมาย มีสิทธิทาง
การเมืองอย่ างเสมอภาคกัน ส่ว นราษฎรนั้ น คือ สมาชิกของสั งคมที่เน้นเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย
รู้ถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามความเป็นราษฎรมีความแตกต่างจากความเป็น
พลเมือง ตรงที่ราษฎรมักจะขาดความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับรัฐในทุก ๆ มิติ ในขณะที่ความเป็น
พลเมืองจะมีความกระตือรือร้นที่ อยากจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับรัฐอย่างแข็งขัน หรือในบางโอกาสพลเมือง
สามารถดาเนินการในกิจกรรมบางอย่างแทนรัฐได้
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (2562) กล่าวว่า พลเมือง คือ บุคคลที่สามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาความ
เป็นส่วนรวม ความเป็นสาธารณะของชุมชนนั้นด้วยการพัฒนาตามคุณสมบัติของพลเมืองที่พึงประสงค์
ที่ไม่ใช่ต ามความต้อ งการของรั ฐ แต่ เพื่ อให้ ความเป็ นสั งคมส่ ว นรวมดี ขึ้น จากมุม มองของพลเมือ งเอง
ในแบบที่ไม่ใช่ถูกสั่งสอนหรือสั่งการ
25
วรากรณ์ พูล สวัส ดิ์ (2562, หน้า 54) ได้ให้ ความหมายของความเป็นพลเมืองว่า คือ คนที่มี
สิทธิและหน้ าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ภ ายใต้ผู้ปกครอง
เดียวกัน มักมีวัฒ นธรรมเดียวกัน เช่น ประเทศจะเจริญหากผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองหรือพลเมืองมี
ศีลธรรม พลเมืองส่วนใหญ่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม
ประเพณีท้องถิ่นแตกต่างไปจากพลเมืองในภาคอื่น
ชาญชัย ฤทธิร่วม (2562, หน้า 49-60) ได้อธิบายความหมายของความเป็นพลเมืองว่า หมายถึง
คนที่ มี ค วามต้ อ งการจะท าประโยชน์ ให้ แ ก่ สั งคมและประเทศ คุ ณ สมบั ติ ข องผู้ เป็ น พลเมื อ ง ได้ แ ก่
การรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง เคารพและสนับสนุนให้สาถบันหลักของชาติมั่งคงแข็งแรง มุ่งมั่ นที่จะ
พัฒนาศักยภาพตนเองให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอยู่สม่าเสมอ ตระหนักและเห็นคุณค่าของ
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
วิ นิ จ ผาเจริ ญ (2563, หน้ า 57) อธิ บ ายว่ า ค าว่ า “พลเมื อ ง” มี ค วามแตกต่ า งจากค าว่ า
ประชาชน และราษฎร พลเมื อ งมี ห มายถึ ง ประชาชนที่ เป็ น “ก าลั งของบ้ านเมื อง” ใช้ ชี วิต เพื่ อ สร้ าง
ประโยชน์ให้แก่สังคมและพลเมืองจะไม่สร้างภาระหรือสร้างปัญหาให้แก่สังคม
ในขณะที่ พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ ใ ห้ ค วามหมายของค าว่ า
“พลเมือง” “วิถี”และ “ประชาธิป ไตย” ไว้ คือ “พลเมือง” หมายถึง ประชาชน ราษฎร ชาวประเทศ
“วิถี” หมายถึง สาย แนว ถนน ทาง “ประชาธิปไตย” หมายถึง ระบอบการปกครองที่ ถือมติปวงชน
เป็นใหญ่
ดั ง นั้ น ค าว่ า “พลเมื อ งในวิ ถี ป ระชาธิ ป ไตย” จึ ง หมายถึ ง บุ ค คลที่ มี คุ ณ สมบั ติ ที่ ส าคั ญ
คือ เป็นผู้ที่ตระหนักและเห็นคุณค่าของหลักการทางศีลธรรม ยึดแนวทางสายกลางในการดารงชีวิต เคารพ
และกระทาการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดต่อ กฎหมาย บาเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคม ด้วยใจหรือ
ความรู้สึกที่ต้องการจะเป็นผู้ให้ มุ่งหวังให้สังคมและประเทศพัฒนาบนพื้นฐานตามหลักการประชาธิปไตย
(สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555, หน้า 11-12)
กล่ า วโดยสรุ ป ความพลเมื อ ง คื อ การเป็ น สมาชิ ก ที่ มี คุ ณ ภาพของสั ง คมใดสั ง คมหนึ่ ง
ที่มีลั กษณะอุป นิ สัย กระตือรือร้น ต้องความเป็นไปในสังคม มีความพยายามจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการ
ดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐทั้งการสนับสนุนและการคัดค้านในบางกรณี พลเมืองเป็นสมาชิกของสังคมที่
รู้ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่อันสาคัญของตนเอง โดยเฉพาะการปฏิบัติตามกฎหมาย จารีต และประเพณี
อย่างเคร่งครัด

2. แนวคิดของความเป็นพลเมือง
เราอาจแบ่งแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองออกเป็น 3 แนวคิดหลัก ซึ่งความเป็นพลเมือง
ทั้ง 3 แนวคิดนี้ ต้องดาเนินไปร่วมกันไม่อาจแยกขาดจากกัน ได้ ดังนี้ (เอกภูมิ เจียมวิทยานุกูล และคณะ,
2562, หน้า 95)
2.1 ความเป็ น พลเมือ งชาติ ตามขนบ (traditional citizenship) แนวคิด ความเป็ น พลเมื อ ง
แบบเดิมนั้นให้ ความสาคัญกับ “การเป็นสมาชิกภายใต้กฎหมายของรัฐชาติที่ตนสังกัด” หรือที่เรียกว่า
“ความเป็ น พลเมื อ งภายใต้ ก ฎหมาย” (legal citizenship) สิ่ ง ส าคั ญ ส าหรั บ การเป็ น พลเมื อ งที่ ดี
26
ตามแนวคิ ดนี้ คื อ การมี ความรู้ เกี่ ย วกั บ รั ฐ บาลและหน้ าที่ พ ลเมื อ งตามกฎหมาย เช่น การไปเลื อกตั้ ง
และจ่ายภาษี
2.2 ความเป็ น พลเมื อ งโลก (global citizenship) แนวคิด ความเป็ น พลเมื อ งโลกวิพ ากษ์
ความเชื่ อ ที่ ว่า พลเมื อ งจะต้ อ งผู ก ติ ด กั บ ความเป็ น ชาติ แ ละวัฒ นธรรมชาติ ที่ ต นสั งกั ด เพี ย งหนึ่ งเดี ย ว
ซึ่งตีกรอบความเป็นพลเมืองไว้คับแคบและกีดกันกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมอัน
แตกต่างหลากหลายออกจากความเป็นพลเมือง แนวคิดความเป็นพลเมืองโลกตระหนักถึงความเชื่อมโยง
และการพึ่งพาอาศัย กันในระดับ โลก และมีจิตส านึกร่วมถึงปัญ หาในระดับโลก เช่น ปัญหาโรคระบาด
พลเมืองตามแนวคิดพลเมืองโลกจึงต้องตระหนักและให้ความสาคัญกับการบูรณาการความเป็นตัวเองเข้า
มาเป็นหนึ่งเดียวกับสังคมโลก เช่น ความสามารถในการสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและ
เชื่ อ มโยงกั น ระหว่ างสั งคนของตนกั บ สั ง คมโลก และทั ก ษะในการปฏิ บั ติ งานร่ว มกั น กั บ กลุ่ ม คนที่ มี
ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นต้น
2.3 ความเป็ นพ ลเมื อ งดิ จิ ทั ล (digital citizenship) แนวคิ ด นี้ ก ล่ า วถึ ง ทั ก ษ ะและ
ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วมในระบบสังคม การเมือง และเศรษฐกิจแบบดิจิทัล
อย่ างมี คุ ณ ภาพ ปลอดภั ย และมี ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อสั งคม โลกยุ คปั จ จุบั น ได้ มี ก ารปฏิ วัติเทคโนโลยี
การสื่อสารอย่างรวดเร็ว และโลกดิจิทัลได้เปิดช่องทางและโอกาสอันหลากหลายให้กับพลเมืองยุคดิจิทัล
โดยพลเมืองดิจิทัลนี้ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูล และข่าวสาร ๆ อย่างไร้พรมแดน พวกเขาเหล่านี้
สามารถสมาคมกับ ผู้ ที่มีความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเสรีและง่ายดายมากขึ้น ทาให้ เกิดความคิด
สร้างสรรค์ใหม่ ๆ หรือสามารถหาคาตอบใหม่ ๆ ให้ แก้สั งคมได้ นอกจากนี้แนวคิดนี้ยัง ทาให้ เสรีภ าพ
ในการแสดงออกทั้งการพูด การเขีย น การแสดงออก และการโฆษณาของพลเมืองดังและไกลมากขึ้น
อย่างไรก็ตามจากความก้าวหน้านี้ทาให้เราต้องเผชิญกับความท้าทายหรือความอันตรายในประเด็นใหม่ ๆ
เช่น การสอดแนมความเป็ นส่วนตัว ผ่านเทคโนโลยี หรือพวกอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่น พวกแก๊ง
คอลเซ็นเตอร์ที่กาลังแพร่ระบาดหลอกหลวงสังคมอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ในฐานะพลเมืองดิจิทัลจึงต้อง
ตระหนักถึงโอกาส ความเสี่ยง และพยายามพัฒนาทักษะและความรู้ที่จาเป็นในโลกใหม่ เพื่อสร้างความ
เข้าใจถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ความรับผิดชอบในโลกออนไลน์อย่างเคร่งครัด

ภาพที่ 2.1 แนวคิดความเป็นพลเมือง


27

ประวัติศาสตร์ของความเป็นพลเมือง
เราสามารถอธิบายพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการเกิดแนวคิดความเป็นพลเมืองของมนุษย์
ได้พอสังเขป ดังนี้ (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2554, หน้า 5-7)
1. ยุคสมัยอารยธรรมกรีกและโรมัน ประมาณ 750 ปีก่อนศริส ตกาลจนถึง ค.ศ. 400 ในยุคนี้
ความเป็นพลเมืองเป็นเอกสิทธิ์ของพวกอภิสิทธิ์ชน ที่ร่ารวย มั่งคั่ง และมีอิทธิพลทางการเมืองและสังคม
ท าให้ บุ ค คลเหล่ า นี้ มี แ ต้ ม ต่ อ ในการปฏิ บั ติ ต นตามหน้ า ที่ พ ลเมื อ งได้ ม ากกว่ า บุ ค คลกลุ่ ม อื่ น เช่ น
การสมัครรับการเลือกตั้ง การเป็นทหาร เป็นต้น ในยุคสมัยนี้ความเป็นพลเมืองยึดโยงอยู่กับชาติกาเนิด
และสถานะทางสั งคม ประชาชนส่ ว นใหญ่ ไม่ มี สิ ท ธิในความเป็ น พลเมื อ ง โดยเฉพาะ เด็ ก สตรี ทาส
คนป่าเถื่อน และเชลย
2. ยุคยุโรปสมัยกลาง ประมาณ ค.ศ. 500–1400 สมัยกลางของยุโรปเป็นยุคของการปกครองโดย
กษัต ริย์ ในลั กาณะการใช้อานาจแบบสมบู รณาญาสิ ทธิราชย์ (absolute monarchy) บนพื้ นฐานของ
ระบอบการปกครองเช่นนี้ แนวคิดความเป็นพลเมืองย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีความสาคัญ สังคมยุโรปในสมัยนี้เน้น
ความส าคั ญ ไปที่ ส ถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ เท่ านั้ น พลเมื อ งถู ก กี ด กั น จากการมี ส่ ว นร่ ว มทางการเมื อ ง
ดังนั้น สามัญชนในยุโรปจึงไม่ต้องคุณลักษณะการเป็นพลเมือง ไม่มีสัญญาประชาคมระหว่างประชาชน
กับ รั ฐ มีแ ต่ค วามสั ม พั น ธ์ ในลั ก ษณะนายกับ บ่ าวระหว่างกษั ต ริย์กั บ ประชาชน ดั งพระราชดารัส ของ
พระเจ้ า หลุ ย ส์ ที่ 14 แห่ ง ฝรั่ ง เศสซึ่ ง ได้ รั บ การขนานพระนามว่ า สุ ริ ย ะกษั ต ริ ย์ (Sun King) ที่ ว่ า
“ข้าพเจ้าคือรัฐ”
3. ยุคแห่ งการปฏิวัติในยุโรปและอเมริกา ประมาณ ค.ศ. 1789-1850 นับตั้งแต่การเกิดปฏิวัติ
ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา กระแสแนวคิดแบบเสรีนิยม (liberalism)
ก็ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก ซึ่งกระแสเสรีนิยมที่นาเสนอเรื่องของ สิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ
นี้ได้ก่อให้เกิดแนวคิดที่ว่าผู้ปกครองและรัฐต้องแยกออกจากกัน ตามหลักการที่ว่าประชาขนต้องนับถือรัฐ
มากกว่าตัวบุคคลที่ปกครองรัฐ หากผู้ปกครองเป็นคนเลวร้ายผู้ใต้ปกครองก็สามารถล้มล้างการปกครอง
นั้นได้ ความเป็นพลเมืองที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและรัฐ จึงเกิดขึ้น ในยุคสมัยนี้ความศรัทธา
ในสถาบันพระมหากษัตริย์ถึงถูกแทนที่ด้วยอุดมคติที่มีต่ออุดมการณ์ทางการเมือง
4. ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เป็นช่วงเวลาที่แนวคิดอย่างเสรีนิยมทาให้ ความหมาย
ของความเป็นพลเมืองกลายเป็นเรื่องของบุคคลที่ให้ความสาคัญกับ สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ จากการให้
ความสาคัญกับหลักการ 3 ข้อ ดังกล่าวก่อให้เกิดแนวคิดเรื่องความที่เสมอภาคกัน ในประเด็นปัญหาต่าง ๆ
ในสั งคมขณะนั้ น เช่ น ประเด็ น ปั ญ หาเรื่อ งชนชั้ น การสมรส หรือการทางาน แต่ ก ระนั้ น ในยุค สมัย นี้
ความเสมอภาคก็ยังเป็นได้แค่ความเสมอภาคที่ยังไม่ได้ถูกนามาปฏิบัติจริงอย่างทั่วถึงแม้จะถูกบัญญัติไว้
เป็นกฎหมายก็ตาม
5. ยุ คหลั งสงครามโลกที่ 2 หรือตั้งแต่หลัง ค.ศ. 1945 ภายหลังความสูญเสียจากสงครามโลก
ครั้งที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของพลเมือง ทั้งด้านสิทธิทางการเมือง และสิทธิทางสังคม เริ่มถูกยกให้เป็น
ประเด็นสาคัญอย่างเร่งด่วน จากการตื่นตัวดังกล่าวส่งผลให้รัฐขยายบทบาทหน้าที่ของตนเองเพื่อ คุ้มครอง
พลเมืองทางด้านสังคมด้วย ดังนั้นในยุคนี้จึงได้เกิดแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการขึ้น ซึ่งแนวคิดรัฐสวัสดิการนี้ได้
ส่งผลกระทบต่อทัศนคติ ต่อพลเมือง เช่น อาจจะทาให้พลเมืองเห็นว่าไม่จาเป็นต้องตอบแทนอะไรแก่รัฐ
28
เนื่องจากเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดูแล และคุ้มครองตนเองในฐานะที่ตนเองเป็นพลเมือง ดังนั้น จะเห็นได้ว่า
ประชาชนในยุ โ รปและอเมริ ก าในช่ ว งเวลานี้ มั ก ไม่ ค่ อ ยท าตามหน้ า ที่ ข องตน เช่ น การไปเลื อ กตั้ ง
หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐจัดขึ้น
อย่างไรก็ตามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นี้เป็นยุคที่ประชาคมโลกมุ่งเน้นในเรื่องของความร่วมมือ
และการเกื้อกูลกันของของนานาประเทศในทุก ๆ มิติ การพัฒนาความเป็นพลเมืองกลับกลายเป็นประเด็น
ที่มีความสาคัญและถูกส่งเสริมอย่างมาก เพราะแนวคิดความเป็นพลเมืองนั้นมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลง
การสร้างองค์ความรู้ ทักษะ ค่านิยม และทัศนคติของมนุษย์ให้มีความสามารถในการร่วมกัน มีส่วนร่วมใน
เรื่ อ งของความเป็ น ธรรม และสั น ติ ภ าพของโลก โดย มี แ นวทางและมุ ม มอง รวมถึ งวิธี ด าเนิ น การที่
หลากหลายขึ้นอยู่กับการนาไปปรับใช้ในแต่ละบริบท เพื่อสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนมั่นคงสืบไป

ภาพที่ 2.2 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14


ที่มา: ข่าวสดออนไลน์, 2561

ลักษณะของพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย
การเป็ น พลเมื อ งจะต้ อ งมี คุ ณ ลั ก ษณะอย่ า งไรนั้ น แต่ ล ะสั งคมจะเป็ น ผู้ ก าหนดคุ ณ ลั ก ษณะ
ของการเป็นพลเมืองเอง คุณลักษณะที่ดีของการเป็นสมาชิกในแต่ละสังคมจะต้องมีคุณ ลักษณะพื้นฐาน
เช่น ความเมตตา ความเอื้ออาทร ซื่อสัตย์ และการเคารพกฎหมายหรือคาสั่งของรัฐ เป็นต้น และจะต้องมี
คุณลักษณะเฉพาะอย่างที่สังคมนั้น ๆ ต้องการให้พลเมืองพึงปฏิบัติ เช่น ในสังคมไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ได้เน้นคุณลักษณะของพลเมืองว่าต้อง มีความพอเพียง มีวินัย มีความสุจริต และการเน้นให้พลเมืองเห็น
ความสาคัญของการทาประโยชน์เพื่อส่วนรวมด้วยการมีจิตอาสา หรือในสังคมประชาธิปไตยต้องการบุคคล
ที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพเสียงส่วนน้อย ในขณะที่สังคมอื่น ๆ เช่น สังคมในประเทศที่เป็น
สังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์อย่างประเทศ จีน เกาหลีเหนือ หรือเวียดนาม ก็อาจจะต้องการคุณสมบัติของ
พลเมืองที่แตกต่างออกไปได้เช่น ต้องการพลเมืองที่เชื่อฟังคาสั่งของรัฐอย่างเคร่งครัด เสียสละความสุข
ของตนเองเพื่อชาติหรือผู้นา เป็นต้น อนึ่ง การปกครองในระบอบ “ประชาธิปไตย” เป็นการปกครองที่
29
อานาจอธิป ไตยเป็ นของประชาชน แต่การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะประสบความสาเร็จได้นั้น
จะต้องสร้างประชาชนให้เป็น “พลเมือง” ด้วย กล่าวคือ ต้องสร้างในประชาชนสามารถตระหนักและดารง
ตนอยู่ ในแนวทางที่เหมาะสมกับ ระบอบประชาธิปไตยได้ ปริญ ญา เทวานฤมิตรกุล (2555) (อ้างถึงใน
จินตนา ศรีนุกูล, 2557, หน้า 11) ได้อธิบายว่า “พลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย” ต้องประกอบไป
ด้วยคุณลักษณะสาคัญ 6 ข้อ ดังนี้
1. รั บ ผิ ด ชอบตนเองและพึ่ ง ตนเองได้ การปกครองในระบอบประชาธิ ป ไตย คื อ รู ป แบบ
การปกครองที่อานาจเป็นของประชาชน ในปัจจุบันสังคมประชาธิปไตยของไทยผลักดันให้ประชาชนคน
ไทยมีสถานะเป็นเจ้าของชีวิตตนเองและเป็นเจ้าของประเทศ มีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของตนเอง ต่าง
จากในสมัย ก่อนทาให้ ป ระชาชนมี สิ ทธิและเสรีภ าพอย่างเต็มที่ ภ ายใต้กฎหมาย ดังนั้น “พลเมือง” ใน
ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นไท กล่าวคือเป็นอิสระชน ที่พึ่งพาตนเองและสามารถรับผิดชอบต่อตนเองได้
ไม่ ย อมตกอยู่ ภ ายใต้ อิ ท ธิพ ลอ านาจอั น ไม่ เป็ น ธรรม ซึ่ งบุ ค คลใดจะมี “ความเป็ น พลเมื อ ง” ในสั งคม
ประชาธิปไตยของประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ และแท้จริงได้ ก็ต่อ เมื่อบุคคลนั้นมีความรับผิดชอบต่อ
ตนเองและพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสมไม่กระทาตัวเป็นภาระต่อ ครอบครัว ชุมชน และสังคมนั่นเอง

ภาพที่ 2.3 การพึ่งพาตนเองถือเป็นทางออกที่สาคัญในช่วงวิกฤต


ที่มา: สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ, 2564

2. เคารพหลักความเสมอภาค ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่ ประชาชนเป็นเจ้าของ


อานาจอธิป ไตย โดยในระบอบประชาธิปไตยได้เน้นย้าว่าประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็น ใคร มีลักษณะ
ทางกายภาพอย่ างไร อยู่ ในวัฒ นธรรมไหน มีส ถานะทางเศรษฐกิจอย่างไร ประชาชนทุ กคนล้ ว นแต่
เสมอภาคเท่ าเที ย มกั น ในฐานะการมี ศั ก ดิ์ ศ รีค วามเป็ น มนุ ษ ย์ แ ละในฐานะการเป็ น เจ้ าของประเทศ
ดังนั้น “การเป็นพลเมืองที่ดี” ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงต้องเคารพหลักความเสมอภาค
ด้ ว ยการตระหนั ก ว่ า มนุ ษ ย์ ทุ ก คนเสมอภาคเท่ า เที ย มกั น ด้ ว ยการปฏิ บั ติ ต่ อ มนุ ษ ย์ ในลั ก ษณะเป็ น
แนวระนาบ (horizontal) ในขณะที่ลักษณะสังคมที่มีการใช้อานาจเผด็จการ หรือสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น
อย่างระบบศักดิน าจะมี โครงสร้างสังคมในลั กษณะเป็นแนวดิ่ง (vertical) ซึ่งสังคมในลั กษณะนี้จะไม่มี
ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ประชาชนถูกจากัดทางความคิดและการกระทา อนึ่ง การที่มนุษย์ปฏิบัติ
หรือมองเห็นมนุษย์ด้วยกันเป็นแนวดิ่งเช่นนี้ทาให้สังคมเกิดการแบ่งแยกคนออกเป็นระดับชั้น มีคนที่อยู่สูง
30
กว่าและมีคนที่อยู่ต่ากว่า ซึ่งคนที่อยู่ต่ากว่ามักจะยอมจานนให้บุคคลที่อยู่สูงกว่าดูหมิ่นดูแคลนและเหยียบ
ย่าศักดิ์ศรีความเป็ นมนุษย์อยู่เสมอ ทาให้ ประชาชนที่อยู่ในลักษณะสังคมแบบแนวดิ่ง มิใช่ลักษณะของ
“ความเป็นพลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตย

ภาพที่ 2.4 ความเสมอภาคเป็นหลักการสาคัญของระบอบประชาธิปไตย


ที่มา: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, 2562

3. การเคารพความแตกต่าง เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ และประชาชนในแต่ละประเทศ


ย่ อมมี ความแตกต่างกัน ในมิติ ต่าง ๆ เช่น สี ผิ ว ภาษา การแต่งกาย อาชีพ ความเชื่อ หรือ อุ ดมการณ์
ทางการเมือ ง มากบ้ างน้ อยบ้ างตามแต่ ล ะสั งคม ประชาธิป ไตยจึ ง ต้ อ งยอมรับ ความหลากหลายของ
ประชาชนภายในประเทศของตน ดั ง นั้ น เพื่ อ มิ ให้ ค วามแตกต่ า งน ามาซึ่ ง ความแตกแยกในสั ง คม
ประชาธิปไตย “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยจึงจาเป็นต้องยอมรับและเคารพในความแตกต่างของ
กันและกัน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างสันติ โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่แตกต่างไปจาก
ตนเอง พลเมื อ งจะต้ อ งยอมรั บ ว่ า บุ ค คลอื่ น มี สิ ท ธิ ที่ จ ะแตกต่ า งไปจากตั ว ของเรา และต้ อ งยอมรั บ
โดยไม่ จ าเป็ น ที่ จ ะต้ อ งท าความเข้ า ใจว่ า ท าไมเขาเหล่ า นั้ น จึ ง มี ค วามแตกต่ า งจากเรา ดั ง นั้ น
“ความเป็ น พลเมื อ ง” ในระบบประชาธิ ป ไตยจึ งท าให้ เราต้ อ งสามารถคุ ย เรื่อ งวัฒ นธรรม ความเชื่ อ
หรื อ แม้ ก ระทั่ ง เรื่ อ งการเมื อ งกั บ คู่ ส นทนาได้ แม้ ว่ า คู่ ส นทนาของเราจะมี ค วามแตกต่ า งจากเรา
ทั้งทางวัฒนธรรม ความเชื่อ หรืออุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น
4. เคารพสิทธิ บุคคลอื่น แม้ตามหลักการในระบอบประชาธิปไตยจะออกแบบให้ ประชาชนใน
สังคมเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ ที่จะทาสิ่งใด ๆ ภายใต้กฎหมาย แต่หากมีการใช้
สิทธินั้นโดยคานึงถึงแต่ตนเอง ครอบครัว และพวกพ้องเป็นที่ตั้ง โดยปราศจากการคานึงถึงสิทธิของบุคคล
อื่น โดยไม่ ตระหนั ก ว่า การกระท านั้ น จะส่ งผลกระทบในด้ านลบแก่บุค คลใดนั้ น ย่อมจะก่อให้ เกิ ดการ
กระทบกระทั่งกันจนอาจนาไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมได้ หากเป็นเช่นนั้นสังคม
แบบประชาธิปไตยก็จะกลายเป็นอนาธิปไตย (anarchism) หากทุกคนยึดถือแต่ผลประโยชน์และสิทธิของ
ตนเอง ครอบครัว และพรรคพวกเป็นใหญ่ สุดท้ายสังคมและประเทศย่อมเสียหาย ดังนั้น สิทธิในระบอบ
ประชาธิปไตยจึงจาเป็นต้องมี ข้อจากัด กล่าวคือ สิทธิย่อมมาควบคู่กับกาลเทศะ ใช้สิทธิได้เท่าที่ไม่ละเมิด
สิทธิของบุคคลอื่น จึงจะเรียกว่า“ความเป็นพลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตย
31
5. เคารพกฎและกติกา ระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยให้ความสาคัญอย่างยิ่งกับ
กฎและกติกาของสังคมทั้งที่บัญญัติ ไว้ และไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งถือเป็นข้อตกลงที่ประชาชนทุก
คนในสังคมต้องถูกบังคับใช้ร่วมกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งปฏิบัติตน
ตามอ าเภอใจอย่ างไรขอบเขต แต่ ถึ งแม้ จ ะมี ก ฎกติ ก าทางสั งคมหรือ มี ก ฎหมายที่ บั ญ ญั ติ ไว้ แต่ ห าก
ประชาชนไม่เคารพ หรือไม่ป ฏิบั ติตามกฎกติกาทางสั งคมหรือกฎหมายก็ ย่อมไม่ มีความหมาย ดังนั้ น
เพื่อให้ห ลักการประชาธิป ไตยเกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมเราจะส่งเสริมและผลั กดันให้ สมาชิก ในสังคมมี
พฤติกรรมที่ยึดมั่นและเคารพในกฎกติกาต่าง ๆ และที่สาคัญต้องยอมรับผลของการละเมิดกฎและกติกา
นั้น กล่าวได้ว่า “ความเป็นพลเมือง” ที่ดีในระบอบประชาธิปไตยนั้น จึงต้องเคารพ “กฎและกติกา” อนึ่ง
ถ้าหากมีปัญหาหรือมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคม ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องยึดมั่นในแนวทางสันติวิธีโดยใช้กฎและ
กติกาในการแก้ไขปัญหานั้นอย่างตรงไปตรงมา ไม่เล่นนอกกติกาและไม่ใช้กาลังหรือความรุนแรง

ภาพที่ 2.5 การเคารพกติกาถือเป็นรากฐานสาคัญของสังคมประชาธิปไตย


ที่มา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561

6. รับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่ส่งเสริม
ให้สมาชิกในสังคมทาทุกอย่างได้ตามใจปรารถนา แต่เป็นรูปแบบการปกครองที่ให้ความสาคัญสูงสุดแก่
สังคมส่วนรวม ดังนั้น นอกจากต้องให้ความสาคัญในสิทธิและเสรีภาพ และมีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น
แล้ว “พลเมือง” ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ดีต้องใช้สิทธิเสรีภาพของตนที่ได้มานั้นเพื่อรับผิดชอบต่อ
สังคมเช่นกัน กล่าวคือ ประเทศหรือสังคมของเรานั้นจะดีขึ้นหรือแย่ลงไม่ได้มีปัจจัยมาจากที่ตัวของสังคม
เอง การที่ประเทศหรือสังคมจะดีขึ้นหรือแย่ลงล้วนมากจากปฏิบัติตนของสมาชิกภายในสังคมนั้น ๆ ทั้งสิ้น
ดั ง นั้ น “พลเมื อ ง” จึ ง ต้ อ งเห็ น ความส าคั ญ ที่ จ ะมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ การกระท าของตนเอง ทั้ ง นี้
“ความเป็นพลเมือง” ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการระลึกอยู่เสมอว่าการปฏิบัติตนของตนเอง
ย่อมส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบให้ กับสังคมอยู่เสมอไม่มากก็น้อย ดังนั้น เมื่อสังคมเกิดปัญหา
พลเมืองจึงควรเห็ นตนเองเป็ นส่ วนหนึ่งของปัญหา และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานั้น โดยเริ่มต้นที่
ตนเอง เช่น การไม่ก่อปัญหาการลงมือแก้ไขปัญหาโดยเริ่มทาจากตนเอง ไม่ใช่เอาแต่เรียกร้องบุคคลอื่น
หรือเรียกร้องรัฐบาลให้แก้ปัญหา ส่วนตนเองนิ่งเฉยหรือเป็นผู้ก่อปัญหานั้นเสียเอง เป็นต้น
32

ภาพที่ 2.6 ลักษณะของพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย


ที่มา: สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555

การปฏิบัติ ตนตามหลักการสากลและความสาคัญ ของการปฏิบั ติตนเป็นพลเมื องดีตาม


วิถีประชาธิปไตย
1. การปฏิบัติตนตามหลักการสากลในระบอบประชาธิปไตย
ในการด ารงชี วิ ต ในสั ง คมหลั ก ประชาธิ ป ไตยที่ ส าคั ญ ที่ ใ ช้ เป็ น แนวทางปฏิ บั ติ มี ดั ง นี้
(สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555, หน้า 20-22)
1.1 หลั ก เหตุ ผ ล ในวิถี ชี วิต ของสั งคมประชาธิป ไตยผู้ ค นต้อ งรู้จัก รับ ฟั งเหตุผ ลของผู้ อื่ น
ไม่ดื้อดึงในความคิดเห็นของตนจนคนอื่นมองเราเป็นคนมี มิจฉาทิฐิ (ความเห็นผิดจากทานองคลองธรรม)
1.2. หลักความเสมอภาค ในสังคมประชาธิปไตยแม้คนจะแตกต่างกันเรื่อง เพศ ผิวพรรณ
ชนชั้ น ถิ่ น ที่ อ ยู่ อ าศั ย ศาสนา หรื อ อุ ด มการณ์ ท างการเมื อ ง แต่ ทุ ก คนควรจะมี ค วามเท่ า เที ย มกั น
โดยกฎหมายโดยเฉพาะในเรื่องต่อไปนี้
1.2.1 ความเสมอภาคทางการเมือง ทุกคนมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งถ้ามีคุณสมบัติครบถ้วน
ตามกฎหมาย และทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน
1.2.2 ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ทุกคนไม่ว่ารวยหรือจน สีผิวใด มียศถาบรรดาศักดิ์
หรือไม่ ต้องไม่ถูกกีดกันในการประกอบอาชีพการงาน
1.2.3 ความเสมอภาคทางโอกาส คือทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา การรักษาพยาบาล
และการรับการบริการจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน
1.3 หลักสิทธิและเสรีภาพ
1.3.1 สิ ท ธิ คื อ ประโยชน์ ที่ บุ ค คลพึ ง ได้ รั บ ตามกฎหมาย เช่ น บุ ค คลมี สิ ท ธิ ได้ รั บ
การศึกษาการรักษาพยาบาลมีสิทธิในทรัพย์สินของตน
33
1.3.2 เสรีภาพ คือ ทุกคนมีอิสระในการทาอะไรก็ได้ตามที่ตนต้องการแต่ต้องอยู่ภายใต้
ขอบเขตของกฎหมายและกติตาของสังคม และเสรีภาพนั้นต้องไม่กระทบต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ของสังคมหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการสมาคม เป็นต้น
1.4 หลักการยึดเสียงข้างมาก คือ การดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้มติจากเสี ยงส่วนใหญ่
แต่ไม่ละเมิดสิทธิหรือเพิกเฉยต่อเสียงส่วนน้อย ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของสังคมจะใช้มติเสียงข้างมาก
แต่ในขณะเดียวกันเสียงส่วนน้อยก็ได้รับ การรับฟังและนาไปพิจารณา ก็เพื่อการดารงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่าง
สงบและสันติ
1.5. หลักภราดรภาพ คือ หลักการที่เน้นย้าว่ามนุษย์ปฏิบัติต่อกันด้วยความรัก ช่วยเหลือ
เกื้อกูลกันเปรียบเสมือนดังเครือญาติ ไม่แบ่งแยกกีดกันกันเพราะความแตกต่าง

2. ความสาคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
เราสามารถยกความสาคัญของการที่สมาชิกภายในสังคมสามารถปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตาม
วิถีประชาธิปไตย ดังนี้ (สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555, หน้า 22-23)
2.1 ทาให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคงเพราะการที่ทุกคนมีส่วนร่วมใน
การในการพัฒนาสังคมและประเทศตามกาลัง ส่งผลให้งานหรือโครงการต่าง ๆ ทั้งในระดับชุมชนจนถึง
ระดับชาติประสบความสาเร็จ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยไม่
แบ่งชั้นวรรณะ จากที่กล่าวมาย่อมส่งผลให้การทางานมีประสิทธิภาพและผลของงานนั้นสัมฤทธิ์ผลตาม
เป้าหมาย
2.2 เกิดความความสามัคคีหรือความเป็นเอกภาพขึ้น ในหน่วยต่าง ๆ ของสังคม เพราะเมื่อมี
การร่วมกันทากิจกรรมเขาเหล่านั้นย่อมเกิดความผูกพัน ความเอื้ออาทรต่อกัน ส่งผลให้เกิดการการทางาน
อย่างเป็นเอกภาพจนงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้
2.3 สังคมมีความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย การที่สมาชิกในสังคมสมัครใจเคารพและ
กระท าตามกฎและกติ ก าของสั ง คม ส่ ง ผลให้ สั งคมนั้ น ๆ มี ค วามสงบสุ ข และพั ฒ นาไปข้ า งหน้ า ได้
อย่างรวดเร็วและมั่นคง
2.4 สังคมมีหลักนิติรัฐและนิติธรรม สมาชิกทุกคนรู้ถึง สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ เสมอภาคเท่า
เทียมกันตามกฎหมาย ทาให้สมาชิกในสังคมไม่ถูกละเลย เพิกเฉย ทางกฎหมาย สมาชิกในสังคมทุกคนอยู่
ภายใต้หลักกฎหมายร่วมกัน
2.5 สั งคมมี ค วามมี ค วามปรารถนาดี ต่ อ กั น ช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล กั น บนรากฐานของหลั ก
คุณธรรม และศีลธรรมตามวิถีระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการช่วยเหลือเกื้อกูลมีน้าใจ และมีการแบ่งปันกัน
ทั้งยามปกติและยามลาบาก ย่อมทาให้สังคมเกิดการสมัครสมานสามัคคีกัน
34

แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี และการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ในหน่วยต่าง ๆ ของสังคมไทย
1. แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยของสังคมไทย
แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยนั้นมีความจาเป็นอย่างยิ่งสาหรับ
บุคคลทุกคนที่เป็นสมาชิกของสังคม โดยเฉพาะประเทศไทยในปัจจุบันที่รัฐบาลพยายามผลักดันแนวคิด
เกี่ยวกับความเป็ นพลเมืองที่ดีให้ แก่กลุ่มคนทุกระดับมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา
โดยพอจะยกแนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีได้ ดังนี้ (สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555,
หน้า 36-38)
1.1 การปฏิ บั ติ ต นเป็ น พลเมื อ งดี ต ามกฎหมาย บุ ค คลมี ห น้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย
ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้กว้าง ๆ แต่มีความหมายครอบคลุมกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย
เอกชน มหาชน หรื อ กฎหมายระหว่ างประเทศ รวมทั้ งกฎหมายระดั บ ต่ าง ๆ เช่ น พระราชบั ญ ญั ติ
พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง เป็นต้น เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎหมายใดก็ต้องปฏิบัติตาม
กฎหมายนั้ น ๆ อย่ า งเคร่ ง ครั ด เพราะกฎหมายแต่ ล ะฉบั บ นั้ น ได้ มี ก ารร่ า งและประกาศใช้ ใ น
ราชกิ จ จานุ เบกษาอย่ า งเปิ ด เผยต่ อ สาธารณชน จึ ง เป็ น หน้ า ที่ ข องชาวไทยทุ ก คนที่ จ ะต้ อ งศึ ก ษา
และทาความเข้าใจเรื่องกฎหมายเพื่อไม่ให้เสียเปรียบหรือได้รับโทษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
1.2 การปฏิ บั ติ ต นเป็ น พลเมื อ งดี ต ามวัฒ นธรรมไทย วัฒ นธรรมเป็ น สิ่ งที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้างขึ้ น
และเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคมในการดาเนินชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่แสดงออกถึงความ
เจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว และความก้าวหน้า ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับว่า
เป็ น สิ่ งดีงาม โดยสร้างเป็ น กฎเกณฑ์แบบแผน เพื่อนาไปปฏิบัติให้ เป็นไปตามรูปแบบเดียวกัน ถือเป็ น
“มรดกแห่ งสังคม” เพราะวัฒ นธรรมเป็ น สิ่ งที่มนุษย์ได้รับมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดให้ แก่อนุช น
รุ่น หลั ง จนเป็ น วิถีของสั งคมเป็ น วัฒ นธรรมที่ เกิดจากการเรียนรู้ เช่น กริยาท่ าทาง การพู ดการเขีย น
การแต่งกาย มารยาทต่าง ๆ การเป็นพลเมืองดีในแง่หนึ่งก็คือการปฏิบัติ ต่อยอด และสืบสาน วัฒนธรรม
ไทยที่ดีงามซึ่งแต่ละบุคคลยึดถือปฏิบัติตามบริบทของแต่ละชุมชน สังคม และท้องถิ่นภายในประเทศ
1.3 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี คือ สิ่งที่ปฏิบัติ
สืบ ทอดกัน มาและถือว่าเป็ น สิ่ งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามของแต่ล ะสั งคมอาจเหมือนกัน หรือแตกต่างกันก็ได้
และสิ่ ง ที่ ดี ง ามของสั ง คมหนึ่ ง เมื่ อ เวลาผ่ า นไปสั ง คมนั้ น อาจเห็ น เป็ น สิ่ ง ไม่ ดี ง ามก็ ไ ด้ วั ฒ นธรรม
และประเพณี ไทยเป็ น กิจ กรรมที่สื บ ทอดมายาวนาน และสั งคมยอมรับว่าเป็นสิ่ งดีควรอนุรักษ์ไว้ เช่น
ประเพณีการบวช การแต่งงานการเผาศพ การทอดกฐิน การเข้าพรรษา รวมถึงประเพณีท้องถิ่นที่นิยม
ปฏิ บั ติ กั น ในแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น เช่ น ภาคกลางมี ป ระเพณี วิ่ ง ควายอุ้ ม พระด าน้ า ประเพณี ท าขวั ญ ข้ า ว
ภาคใต้มีป ระเพณี การแข่งขันนกเขาชวา ประเพณี บุญ วันสารทเดือนสิบ หรือการชิงเปรต ภาคเหนือมี
ประเพณี ปอยส่างลอง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประเพณีไหลเรือไฟ บุญบั้งไฟ แห่เทียนเข้าพรรษา
แห่ผีตาโขน เป็นต้น
35

ภาพที่ 2.7 ประเพณีการแข่งขันนกเขาชวาถือเป็นประเพณีสาคัญของภาคใต้


ที่มา: ข่าวภาคใต้ชายแดน, 2560

2. การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในหน่วยต่าง ๆ ของสังคมไทย
ในแต่ละหน่วยต่าง ๆ ของสังคมตั้งแต่ระดับหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมอย่างระดับครอบครัวไป
จนถึงระดับประเทศย่อมมีแนวทางการปฏิบัติตนที่มีความแตกต่างกันไป โดยพอจะขยายความได้ ดังนี้
(สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555, หน้า 39-42)
2.1 การปฏิบั ติตัวเป็ นพลเมืองดีในระดับครอบครัว ครอบครัวประกอบด้วยบุคคลหลัก ๆ
คือ บิดา มารดา และบุตร ธิดา การที่ครอบครัวจะมีความสุขสมาชิกภายในครอบครัวต้องปฏิบัติตนเป็น
สมาชิกที่ทาดีต่อกัน กล่าวคือ บิดา มารดา ควรปฏิบัติต่อบุตรโดยเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้ทาสิ่งที่ เหมาะสม
ตามหลักศีลธรรมที่สังคมยึดถือไม่ให้ประพฤติชั่ว ส่งเสียให้เล่าเรียนตามกาลัง สอนมารยาทที่ดีงามในสังคม
ไม่ ล งโทษโดยใช้ ค วามรุ น แรง เป็ น ต้ น ในขณะเดี ย วกั น บุ ต ร ธิ ด า พึ ง ปฏิ บั ติ ต่ อ บิ ด า มารดา โดยมี
ความกตั ญ ญู ก ตเวที เลี้ ย งดู บิ ด า มารดา ช่ ว ยกิ จ การของครอบครั ว ประพฤติ ต นเป็ น คนดี เป็ น ต้ น
นอกจากนี้สามีและภรรยาควรปฏิบัติตนให้เหมาะสมต่อกัน โดยยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกันเคารพและ
ซื่อสัตย์ ไม่นอกใจ รู้จักขยันใช้จ่ายอย่างประหยัดมีเหตุผล และมีความเข้าใจกัน
2.2 การปฏิบัติตัวเป็น พลเมืองดีในระดับสถานศึกษา การเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกภายใน
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยอันประกอบไปด้วย ครู อาจารย์ ลูกศิษย์ และเพื่อนร่วมชั้นนั้น การเป็นสมาชิก
ที่ดีต้องควรจะปฏิบัติตนต่อกันอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมเกื้อกูลให้สมาชิกในหน่วยประสบความสาเร็จใน
มิติด้านการศึกษา กล่าวคือ ครู อาจารย์มีหน้าที่อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ กิริยามารยาทต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์
ให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีเมตตา
มีความยุ ติธรรม ปฏิบั ติตนต่อลู กศิษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนลู กศิษย์ควรปฏิบัติต่อครู อาจารย์
โดยประพฤติตนเป็นคนว่านอนสอนง่าย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ขยันตั้งใจเรียน มีความกตัญญูกตเวที
ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นนอกจากนี้นักเรียน นักศึกษาทุกคนควรปฏิบัติต่อกันในลักษณะกัลยาณมิตร มีน้าใจเผื่อแผ่
ช่วยเหลือกัน มีความรักใคร่สามัคคีซื่อสัตย์ต่อกันไม่ทาร้ายกันทั้งกาย วาจา ใจ
2.3 การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีในระดับชุมชนและท้องถิ่น การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีใน
ชุมชนและท้องถิ่นก็มีความสาคัญไม่ต่างจากระดับอื่น ๆ เพราะชุมชนและท้องถิ่นในหน่วยขนาดย่อมที่
36
สมาชิ ก ในหน่ ว ยมี ค วามใกล้ ชิ ด กั น ในลั ก ษณะเปรี ย บเสนทอนเป็ น เครื อ ญาติ อี ก ทั้ ง ยั งถื อ ว่ า ชุ ม ชน
และท้องถิ่นเป็นรากฐานที่สาคัญอันจะประกอบกันเป็นสังคมและประเทศชาติ หากชุมชนและท้องถิ่นมี
ความเข้ ม แข็ งพลเมื อ งมี คุ ณ ภาพ สั งคมโดยรวมและประเทศชาติ ย่ อ มเข้ ม แข็ งมี คุ ณ ภาพตามไปด้ ว ย
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในระดับชุมชนและท้องถิ่น คือ การให้ความร่วมมือในการรักษาความสะอาด
ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้มีความน่าอยู่ เช่น การจัดการป่าชุมชน ไม่เผาขยะ ไม่เผาของ
เหลือทิ้งจากผลผลิตทางการเกษตร เสียภาษีหรือเงินบารุงต่าง ๆ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น
การเสียภาษีที่ดินภาษีป้าย ค่าจัดเก็บ คัดแยก และบาบัดขยะ ติดตามดูแลและตรวจสอบการให้บริการ
สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยกันอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และร่ ว มกั น ช่ ว ยเหลื อ สนั บ สนุ น เจ้ า หน้ า ที่ รั ฐ ในการป้ อ งกั น อาชญากรรมต่ า ง ๆ เช่ น การลั ก ขโมย
การซื้อ-ขายยาเสพติดไม่ให้เข้ามาภายในชุมชนและท้องถิ่นได้ เป็นต้น

ภาพที่ 2.8 พลเมืองดีในระดับชุมชนและท้องถิ่น


ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 2564

2.4 การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดี ในระดับประเทศ การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีของประเทศ


ถือ ว่าเป็ น สิ่ งส าคั ญ อย่ างยิ่ งและถื อเป็ น หน้ าที่ ของสมาชิ ก ของทุ ก ๆ สั งคมที่ อ าศัย อยู่ ภ ายในประเทศ
เดียวกัน แม้สมาชิกในสังคมจะมีความแตกต่างกันในของความเชื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง วัฒ นธรรม
และประเพณี ต่าง ๆ แต่ทุกคนก็ความเหมือนกันในแง่ของความต้องการที่จะให้สังคมและประเทศชาติ
ของตนพัฒนาขึ้น ซึ่งหากทุก ๆ คนสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางที่เหมาะสม เช่น ไม่ปฏิบัติตนอันเป็น
การละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลอื่น ไม่รวมตัวกันในทางที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
อันดีงามของสังคม ธารงรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เสียภาษีอากร และมีส่วนร่วมในหน่วยราชการหรือการป้องกันประเทศ ประเทศชาติ
และสังคมโดยรวมย่อมพัฒนาก้าวหน้าไปได้
37

ภาพที่ 2.9 การเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่สาคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย


ที่มา: มติชนออนไลน์, 2561

คุณธรรมพลเมืองไทยตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2259-2564)
เป็นแผนแม่บทระดับชาติโดยประกาศต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องน าแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่ งชาตินี้ไปเป็นแผนแม่บท (master plan) เพื่อจัดทากรอบ
และวางทิศทางในการปฏิบัติการในการส่งเสริมคุณธรรมของทุกหน่วยงาน โดยนากลไกประชารัฐมาใช้เป็น
แนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อให้พลเมืองในสังคมไทยมีคุณธรรมและมีคุณลักษณะที่เหมาะสมเป็นศักยภาพ
ของสังคมและประเทศต่อไปในอนาคต (กระทรวงวัฒ นธรรม คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ,
2559, หน้า 3)
เหตุ ผ ลและความจ าเป็ น ที่ ต้องมีแผนแม่บ ทส่ งเสริม คุณ ธรรมแห่ งชาติ มี เหตุผ ลส าคัญ จาเป็ น
3 ประการ ดังนี้
1. คนไทยได้ ต ระหนั ก ในความส าคั ญ ของชาติ ยึ ด มั่ น ในหลั ก ธรรมทางศาสนาที่ ต นนั บ ถื อ
และจงรักภักดีต่อสาบันพระมหากษัตริย์ ให้คงอยู่คู่สังคมไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน
2. เกิดสังคมคุณธรรม อยู่ร่วมกันด้วยความสมานฉันท์ภายใต้หลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมอันดีงามตามแผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี และโมเดลประเทศไทย 4.0
ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายในเพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว
3. แก้ไขปัญหาวิกฤตคุณธรรมของคนในชาติให้ “คุณธรรมนาการพัฒนา” ด้วยการบูรณาการของ
ทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
38

ภาพที่ 2.10 แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ


ที่มา: กระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ, 2564

กระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ (2561, หน้า 24-110) ได้พิจารณา


คัดเลือกคุณธรรมเป้าหมายที่จะรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดกับคนไทยในช่วงต้นของแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม
4 ด้าน ได้แก่ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” ซึ่งสามารถสรุปใจความได้ ดังนี้
“พอเพีย ง” คือ คุณ ธรรมพื้น ฐานที่จะนาไปสู่ คุณ ธรรมอื่น ๆ มีความหมายถึง การดาเนินชีวิต
บนทางสายกลางไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไปในลักษณะที่เหมาะสมกับตนเอง พยายามทาสิ่งต่าง ๆ
อย่ า งมี เหตุ มี ผ ล ใช้ ค วามรู้ ในการกระท าใด ๆ อย่ า งรอบด้ า นบนพื้ น ฐานของความพอดี พอเหมาะ
และพอประมาณ ไม่เอารัดเอาเปรียบสั งคมและสิ่ งแวดล้ อม ดารงตนในความไม่ประมาท มี ภูมิคุ้มกัน
ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม คุณลักษณะของ “คนหัวใจพอเพียง” ได้แก่ ไม่เป็นผู้บริโภค
นิยม (consumerism) หรือวัตถุนิยม (materialism) มีคุณธรรมและศีลธรรมเป็นพื้นฐานในการดาเนิน
ชีวิต ดังนั้น “ความพอเพียง” จึงถือเป็นปรัชญาในการสาคัญในการดาเนินชีวิตที่ถูกต้องของคนไทยและ
สังคมไทย
“วินั ย” คือ การยึดมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ทั้งวินัยต่อตนเองในการผลักดันชีวิตให้
ก้าวหน้า วินัยต่อองค์กร สังคม ปฏิบัติตามจริยธรรม จรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมาย การสร้างวินัย
ในสังคมไทยก็เพื่อเสริมสร้างให้ การประพฤติปฏิบัติตนของคนไทยมีความเข้มแข็ง เคารพกติกาการอยู่
ร่วมกัน ซึ่งทุกคคนควรมีทั้งวินั ยในตนเองและวินัยเพื่อส่ วนรวม “คนมีวินัยในตนเอง” ได้แก่คนที่ รู้จัก
วางแผนและแบ่งเวลาเป็น เปิดใจรับทุกคาแนะนา หรือคาติชม และนาความผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไข
ส่วน “คนที่ทีวินัยเพื่อส่วนรวม” คือ คนที่มวี ินัยที่กระทาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมมีระเบียบ
แบบแผน สังคมไม่เกิดความสับสนวุ่นวาย อนึ่ง วินัยในตนเองและวินัยเพื่อส่วนรวมไม่ได้แยกออกจากกัน
อย่างชัดเจนแต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน คือ ถ้าบุคคลในสังคมมีวินัยส่วนตนหลาย ๆ ด้านและทาจนเป็น
39
นิสัยวินัยส่วนตนนั้นก็ไปผสานเข้ากับวินัยส่วนตนของบุคคลอื่นจนกลายเป็นวินัยของสังคมและส่งผลต่อ
การพัฒนาสังคมนั้นไปโดยปริยาย
“สุ จ ริ ต ” หมายถึ ง ความซื่ อ ตรง ความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ยึ ด มั่ น ยื น หลั ก ในการรัก ษาความจริ ง
ความถูกต้อง ความเป็นธรรมทั้งปวง นอกจากตนเองจะเป็นคนซื่อตรงแล้ว ต้องกล้าปฏิเสธการกระทาที่ไม่
ซื่อตรง ไม่ซื่อสัตย์ของบุ คคลอื่นที่จะทาให้ส่วนรวมเกิดความเสียหาย ทั้งนี้ ก็เพื่อแก้ไขวิกฤติการทุจริต
ที่ ต้น ทาง หากสั งคมใดมี ส มาชิก ที่ ไม่ สุ จริต อยู่ เป็ น จานวนมากสั งคมนั้ น ย่ อมประสบปั ญ หาการทุ จ ริต
และคอรัปชั่น การแก้ปัญหาการทุจริต และคอรัปชั่นให้ได้ผล จาเป็นจะจะต้องปลูกฝังให้คนในสังคมเห็น
คุณ ค่าของความสุ จ ริต ซื่อ ตรง ซื่ อสั ต ย์ และมองการทุจ ริต และการคอรัป ชั่น ว่าเป็น สิ่ งที่ ห น้ ารังเกีย จ
มีระบบและกระบวนการหล่อหลอมขัดเกลาทางสังคมตั้งแต่เด็ก ครอบครัว ชุมชน องค์กร และสังคม
“จิ ต อาสา” เป็ น ค าศั พ ท์ ใหม่ ที่ เกิ ด ขึ้ น มาไม่ น าน เป็ น ค าที่ แ ยกมาจากค าว่ า “อาสาสมั ค ร”
โดยเลือกผสมคาว่า “จิต”กับ “อาสา” เข้าด้วยกัน เพราะงานอาสาสมัครเป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญที่จะ
พั ฒ นาไปสู่ ก ารสร้ า งจิ ต ส านึ ก ใหม่ (new consciousness ) นอกจากนี้ จิ ต อาสายั ง มี ค วามหมายถึ ง
การเป็นผู้ที่ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะและอาสาลงมือทาอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิใช่หน้าที่ของตน ด้วยความรัก
และความสามัคคี เพื่อประโยชน์ ของผู้ อื่น ของสั งคม และของประเทศชาติ โดยมิได้ห วังผลตอบแทน
ทาความดีเพื่อความดี เอื้ออาทร ต่อคนร่วมสังคม ทาอย่างสม่าเสมอจนเป็นนิสัย

ภาพที่ 2.11 คุณธรรม 4 ข้อ ตามแผนแม่บทฯ ได้แก่ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา”

บทสรุป
พลเมื อ งดี หมายถึ ง สมาชิ ก ของสั ง คมที่ ป ระพฤติ ป ฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บกฎเกณฑ์ ข องสั ง คม
มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบในบทบาท หน้ า ที่ ข องตนเอง ปฏิ บั ติ ต นได้ อ ย่ า งเหมาะสมไม่ ล ะเมิ ด ล่ ว งล้ าสิ ท ธิ
และเสรีภาพของบุคคลอื่น พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สาคัญของทุก ๆ สังคมกล่าวได้ว่าทุกสังคมย่อม
ต้องการพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ เป็นกาลังสาคัญในการพัฒ นาความเจริญก้าวหน้า มีส่วนร่วมในการ
40
สร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ กล่าวคือ การที่จะทาให้สังคมมีความสงบสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ได้นั้น คนในสังคมทุกคนจะต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ และพยายามดารง
ต้น ให้ ส อดคล้ อ งกับ วัฒ นธรรม ประเพณี ตลอดจนหน้ าที่ ต ามที่ บั ญ ญั ติ ไว้ ในรัฐ ธรรมนู ญ โดยเฉพาะ
สังคมไทยเองก็ต้องการพลเมืองที่มีคุณลักษณะสาคัญ เช่น มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักในการดาเนิน
ชี วิ ต เคารพกฎหมาย เคารพสิ ท ธิ เสรี ภ าพของผู้ อื่ น มี ค วามรับ ผิ ด ชอบต่ อ ตนเอง ต่ อ สั งคม มี ค วาม
กระตือรือร้นที่เข้ามาตรวจสอบ สนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐเพื่อแก้ปัญหาจองประเทศ
และที่สาคัญที่สุด คือ ทาตามสิทธิและหน้าที่ของตนเอง หากเราสามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
ตามกาละเทศะไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป ย่อมได้รับการยกย่องว่าเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของชุมชนและ
ประเทศ เพราะค่าของคนอยู่ที่ผลของการปฏิบัติงานตามบทบาทที่ตนเองได้รับ โดยมีความรับผิดชอบเป็น
หัวใจสาคัญ และเมื่อทุกคนปฏิบัติได้เช่นนี้แล้วสังคมไทยก็จะเป็นสังคม “พลเมืองเข้มแข็ง” เป็นพลเมืองที่
ดีตามระบอบประชาธิปไตยซึง่ มีประชาชนเป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง

คาถามท้ายบท
จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงบอกความหมายและแนวคิดของความเป็นพลเมือง
2. จงบอกลักษณะของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
3. จงบอกสาคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
4. จงบอกแนวทางการปฏิบั ติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทยระดับต่าง ๆ
ตามความคิดของนักศึกษา
5. จงบอกแนวทางการน าหลั ก คุ ณ ธรรม 4 ข้ อ ในแผนแม่ บ ทส่ งเสริ ม คุ ณ ธรรมแห่ งชาติ ไป
ประยุกต์ใช้กับการศึกษาในมหาวิทยาลัย
41

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 3
พหุวัฒนธรรมและการยอมรับความแตกต่างของบุคคล
หัวข้อเนื้อหา
1. ความหมายของพหุวัฒนธรรม
2. ความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรม
3. แนวคิดและวิธีการการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
4. หลักคิดทางปรัชญากับการยอมรับความแตกต่างของบุคคล

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนบทเรียนนี้แล้วสามารถ
1. บอกความหมายและลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรมได้
2. บอกสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้
3. นาแนวคิดและวิธีการการอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมไปปรับใช้กับตนเองได้
4. เข้าใจและยอมรับในความแตกต่างทางความคิดและการกระทาของคนอื่นได้

วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. วิธีสอน
1.1 บรรยาย
1.2 อภิปราย
1.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรม
1.4 เรียนรู้ด้วยตนเอง

2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 ผู้เรียนศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตารา ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสรุปด้วย
ตนเองก่อนเรียน
2.2 บรรยายและอภิปรายโดยใช้สื่อการเรียน คือ เอกสารประกอบการสอนประจาวิชาและ
PowerPoint
2.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรมการโต้วาทีในหัวข้อตามที่ผู้สอนและผู้เรียนกาหนดร่วมกัน โดยเน้น
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.4 ผู้สอนบรรยายสรุปเนื้อหา จากนั้นให้ผู้เรียนทาแบบฝึกหัดท้ายบท
42

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. PowerPoint
3. แบบฝึกหัด
4. วีดีโอใน YouTube

การวัดและการประเมินผล
1. สังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
2. การโต้วาที
3. การทาแบบฝึกหัดท้ายบท
43

บทที่ 3
พหุวัฒนธรรมและการยอมรับความแตกต่างของบุคคล
การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเป็นหนึ่งรูปแบบในการดิ้นรนเอาชีวิตรอดของมนุษย์ตั้งแต่ยุคบรรพกาล
เมื่ อ การโยกย้ า ยถิ่ น พั ด พาผู้ ค นต่ า งความเชื่ อ ต่ า งภาษา ต่ า งวิ ถี ชี วิ ต เข้ า มาอาศั ย อยู่ ร วมกั น สั ง คม
พหุวัฒ นธรรมจึงเกิดขึ้นโดยทั่วไป และนามาซึ่งความสวยงามและความบาดหมางของมนุษย์เรื่อยมาใน
ประวั ติ ศ าสตร์ แต่ ก ระนั้ น ในโลกสมั ย ใหม่ ค วามแตกต่ างทางด้ า นวั ฒ นธรรมจนน าไปสู่ ค วามขั ด แย้ ง
บาดหมางของมนุษย์กาลังจะถูกขจัดให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา
ในศตวรรษที่ 21 นี้ ห นึ่ ง ในทั ก ษะที่ ส าคั ญ ที่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนต้ อ งมี คื อ ความเข้ า ใจในความแตกต่ า ง
ทางวัฒนธรรมและต่างกระบวนทัศน์ ทังนี้ เพราะประเทศไทยของเราเองเป็นประเทศที่มีผู้คนหลากหลาย
ชาติพั น ธุ์ และวัฒ นธรรม อาศัย อยู่ ร่ วมกัน มาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ เราจึงสามารถกล่ าวได้ว่า
ประเทศไทยหรือสังคมไทยมีความเป็ นสังคมพหุวัฒ นธรรม แม้บางช่วงเวลาที่ผ่านมารัฐจะมีการนาเอา
นโยบายชาตินิยมและการกลืนทางวัฒนธรรมมาใช้ได้ลดทอนการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของไทยลงบ้าง
แต่เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ภายหลังจากนั้นระบอบเสรีประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิของ
มนุษยชนที่ตั้งแต่ห ลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ทาให้พัฒนาการการเป็นสังคมพหุวัฒ นธรรมของไทยเป็น
สากลมากขึ้น เรามีกฎหมายคุ้มครองกลุ่ มชาติพั น ธุ์ต่าง ๆ ให้ มีสิ ทธิดารงชีวิตในสั งคมตามวัฒ นธรรม
ประเพณี และวิถีชีวิต โดยไม่ ถูกรบกวนเรามีแผนปฏิรูปประเทศด้านสั งคมตามยุท ธศาสตร์ช าติ 20 ปี
ที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม พ.ศ. 2561-2564 ถือเป็นนโยบายสังคมพหุวัฒนธรรม
ในระดับชาติฉบับแรก ๆ ของประเทศ

ความหมายของพหุวัฒนธรรม
นั ก วิ ช าการและหน่ ว ยงานต่ า ง ๆ ได้ ใ ห้ ค วามหมายของพหุ วั ฒ นธรรม (multicultural)
ไว้หลากหลายซึ่งพอจะนามากล่าวได้ ดังนี้
สานักข่าวประชาไท (2561) ได้ให้ความหมายของพหุวัฒนธรรมว่า คือ การอยู่รวมกลุ่มของคนที่มี
ความหลากหลายทางด้ า นต่ า ง ๆ เช่ น ภาษา ศาสนา การแต่ ง กาย หรื อ สิ่ ง ที่ มี ค วามหลาหลายมา
ผสมกลมกลืนกันแต่อาจจะไม่กลมกลืนกันเสียทีเดียว
สถาบั น เอเชี ย ศึ ก ษา ศู น ย์ มุ ส ลิ ม ศึ ก ษา (2549, หน้ า 135) กล่ า วว่ า พหุ วั ฒ นธรรมหมายถึ ง
ลักษณะสังคมที่ปรากฏถึงการมีอยู่ของประชากรหรือ กลุ่มคนที่มีความไม่เหมือนกันในมิติทางวัฒนธรรม
ต่าง ๆ เช่น อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อ วิถีชีวิต และการสื่ อสารหรือการมี ปฏิสั มพัน ธ์ระหว่างกัน
พหุวัฒนธรรมอาจหมายความรวมถึงรวมถึงบุคคลที่มาจากพื้นฐานหรืออัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน
44
ศู น ย์ ม านุ ษ ยวิ ท ยาสิ ริ น ธร (2564) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของพ หุ วั ฒ นธรรมว่ า หมายถึ ง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพรมแดนประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งความหลากหลายที่ เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่
รั บ รู้ กั น ทั่ ว ไปและเป็ น เรื่ อ งปกติ สั ง คมที่ มี ค วามหลากหลายทางวั ฒ นธรรมจะแตกต่ า งจากสั ง คม
ที่มีก ารหลอมรวมทางวัฒ นธรรม กล่ าวคือ สั งคมที่ มีการหลอมรวมวัฒ นธรรมจะมีวัฒ นธรรมของชน
กลุ่มน้อยที่ถูกครอบงาหรือถูกบดบังจากวัฒนธรรมที่มีอานาจเหนือกว่า และส่งผลทาให้วัฒนธรรมของชน
กลุ่ ม น้ อ ยเลื อ นหายไป หรื อ สู ญ เสี ย ความเป็ น ตั ว เอง ส่ ว นสั งคมที่ มี ค วามหลากหลายทางวัฒ นธรรม
คือสั งคมที่ป ระกอบด้ว ยวัฒ นธรรมของคนกลุ่ มต่ าง ๆ ซึ่งยังมีพ ลั งในตัว เอง ไม่ ถูกท าลาย หรือ ตกอยู่
ใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมอื่น
The American Heritage Dictionary of English Language (2000) (อ้ า ง ถึ ง ใ น แ พ ร
ศิริศักดิ์ดาเกิง, 2549, หน้า 20) ได้ให้ความหมายคาว่าพหุวัฒ นธรรม เป็นคาคุณศัพท์ หมายถึง สิ่งใดที่
เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์วัฒนธรรมที่หลากหลาย หรือการรวมวัฒนธรรมที่หลากหลาย อีกความหมาย
หนึ่งหมายถึง สิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางสังคม และการศึกษาว่าด้วยเรื่องการส่งเสริมประโยชน์ของ
วัฒ นธรรมที่ ห ลากหลายภายในสั งคมหนึ่ งมากกว่าจะให้ ค วามส าคั ญ กั บ วัฒ นธรรมกระแสหลั ก เพี ย ง
วัฒนธรรมเดียว
The Columbia Encyclopedia (2001) (อ้ า งถึ ง ใน แพร ศิ ริ ศั ก ดิ์ ด าเกิ ง , 2549, หน้ า 20)
ได้ให้ความหมาย คาว่าแนวคิดพหุวัฒนธรรม เป็นคาศัพท์ที่อธิบายถึงการดารงอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมที่
หลากหลายในท้องถิ่นหนึ่ง โดยปราศจากการครอบงาทางวัฒนธรรม พหุวัฒนธรรมพยายามที่จะก้าวข้าม
ผ่าน เชื้อชาตินิยม เพศนิยม และการแบ่งแยกและกีดกันในรูปแบบต่าง ๆ
กรกฎ ทองขะโชค (2562) ได้ ให้ ค วามหมายของพหุ วั ฒ นธรรมว่ า หมายถึ ง ความแตกต่ า ง
หลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ที่ให้ผู้คนที่มีความแตกต่างสามารถอยู่ร่วมกันได้บนหลักการของ
ความเท่ าเที ย ม มี สิ ท ธิในการด ารงรั ก ษาไว้ ซึ่ งเอกลั ก ษณ์ ข องกลุ่ ม ตน ซึ่ งการได้ รับ สิ ท ธิ ดั งกล่ าวเป็ น
ภาพสะท้อนสาคัญหนึ่งของประชาธิปไตย
พระมหานภดล ปุ ญฺ ญ สุ ว ฑฺ ฒ โก (2560, หน้ า 5) กล่ า วว่ า สั ง คมพหุ วั ฒ นธรรมหมายถึ ง
ความหลากหลายหรือความไม่เหมือนกันในประเด็นทางวัฒนธรรม เช่น ความหลากหลายทางเชื้อชาติ
และความหลายหลายทางความเชื่อ เป็นลักษณะของสังคมที่ไม่เบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบ เป็นสังคมที่
เปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ เพื่อทาให้สังคมเดินหน้าไปสู่สังคมประชาธิปไตย
อย่างราบรื่นและสันติ
ล าพอง กลมกู ล (2561, หน้ า 81) ได้ ก ล่ า วว่ าพหุ วั ฒ นธรรม คื อ สั งคมที่ มี ลั ก ษณะอ่ อ นตั ว
มีการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายอย่างราบรื่น บนหลักการพื้นฐาน เช่น การมีขันติธรรม
และยอมรับในความแตกต่าง การอาศัยร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมต้องเปิดใจให้กว้างเพื่อยอมรับคนที่
ต่างจากตนเอง และต้องพยายามปรับตัวให้ผสมผสานกลมกลืนกัน มีความรับผิดชอบต่อ การกระทาและ
คาพูด ของตนเองที่อาจส่งผลกระทบให้เกิดความบาดหมาง รวมถึงการรู้ถึงสิทธิ เสรีภาพ และบทบาท
หน้าที่ของตนเอง
กล่ าวโดยสรุป พหุ วัฒ นธรรม คือ สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒ นธรรมที่ มีพลั งในตนเอง
อั น เกิ ด จากการผสมผสานแลกเปลี่ ย นกั น ทางวัฒ นธรรมบนพื้ น ฐานของการยอมรั บ ถึ งการมี อ ยู่ ข อง
วัฒนธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเสมอภาคกัน ไม่เบียดเบียนและลดคุณค่าของวัฒนธรรมของคนกลุ่มอื่น
45

ความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรม
ความคิดเรื่ อง “พหุ วัฒ นธรรม” ที่เกิด ขึ้นและแพร่ห ลายในโลกตะวันตกจนกลายเป็ นเสมือ น
หลักการทางปรัชญาการเมืองของหลายประเทศนับจาก ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา เกิดขึ้นจากเงื่อนไขของ
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งทาให้เกิดการเคลื่อนย้ายกลุ่มคนจากประเทศไปอีกประเทศ
หนึ่งอย่างกว้างขวาง ทาให้แต่ละประเทศได้พบกับความแตกต่างของผู้คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมกันมากขึ้น
ขณะเดียวกัน จานวนและความหนาแน่นในแต่ละพื้นที่ของคนต่างชาติต่างวัฒนธรรมที่มีมากขึ้นในแต่ละ
ประเทศก็ได้ทาให้การรวมกลุ่มก้อนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นความแตกต่างของกลุ่มคนในประเทศ
หนึ่ง ๆ จึงปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กระบวนการผสมกลมกลืน (assimilation)
ของแต่ละสังคมที่เคยทางานได้ในระดับหนึ่ง ก็เริ่มไม่สามารถที่จะกลมกลืนได้อีกต่อไป เพราะการผสม
กลมกลืนมีความหมายซ้อนของการบังคับให้วัฒนธรรมของกลุ่มย่อยอยู่ภายใต้วัฒนธรรมใหญ่ของชาตินั้น
ซ่อนเร้นอยู่ แต่ความหนาแน่นและเข้มข้นของกลุ่มคนต่างวัฒ นธรรมในแต่ละพื้นที่ที่ทวีขึ้นได้ ทาให้ ไม่
สามารถที่จะยอมอยู่ภายใต้การผสมกลมกลืนแบบเดิมอีกต่อไปการต่อรองกับรัฐจากฐานของกลุ่มชาติพันธุ์
และวัฒนธรรมจึงค่อย ๆ ขยับเคลื่อนขึ้นเป็นเรื่องสาคัญมากยิ่งขึ้น จนกล่าวได้ว่านับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970
เป็นต้นมา “อัตลักษณ์” ได้กลายมาเป็นประเด็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องประสบและต้องแสวงหาหนทาง
ในการจัดการให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นมากที่สุด ความก้าวหน้ามากที่สุด
ความขัดแย้งในแนวคิดพหุวัฒนธรรมเริ่มแพร่หลายภายหลังเหตุการณ์ 911 โดยเฉพาะในประเทศ
สหรัฐอเมริกา ได้เกิดความท้าทายแนวคิดในเรื่อง “สังคมพหุวัฒนธรรม” อย่างรุนแรง เพราะได้นามาซึ่ง
การสถาปนาระบอบการเมืองที่ยึ ดโยงอยู่กับ ความหวาดกลั วและความรุนแรง (politics of fear and
violence) ผู้นาทางการเมืองฝ่ายขวาของกลุ่มประเทศตะวันจานวนไม่น้อ ยได้ก้าวขึ้นมามีอานาจผ่านการ
เลือกตั้งของประชาชน ด้วยเงื่อนไขของความหวาดกลัวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ปรากฏชัดเจน
มากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา การเมืองของความหวาดกลัวได้ขยายตัวไปในทุกมิติของชีวิตผู้คน ไม่ว่าจะเป็น
ความกลัวผู้อพยพต่างชาติ ความกลัวอาชญากรรม (ที่ ผูกไว้กับคนต่างวัฒนธรรม) ความกลัวการคุกคาม
ทางเพศ รวมไปถึงความกลัวต่อการขยายตัวของเพศทางเลือก (LGBTQ ) ซึ่งความหวาดกลัวทุกมิติเช่นนี้
ได้ทาให้คนพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงต่อกันมากขึ้น (อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, 2561)
นอกจากเหตุการณ์ 911 ที่ท าให้ เกิ ดความขัด แย้งของแนวคิด พหุ วัฒ นธรรมในตะวันตกแล้ ว
ในประเทศไทยเองตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 จนถึง
ปัจจุบันก็ปรากฎความขัดแย้งในแนวคิดพหุวัฒ นธรรม ยกตัวอย่างเช่น ใน พ.ศ. 2481-2487 สมัยของ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เกิดความขัดแย้งอันมีสาเหตุเนื่องมาจาก “สังคมพหุ วัฒ นธรรม” เมื่อรัฐมี
แนวคิ ด ที่ จ ะเปลี่ ย นแปลงสั ง คมให้ มี วั ฒ นธรรมเป็ น แบบแผนเดี ย วกั น ทั้ งหมดตามแนวคิ ด ชาติ นิ ย ม
(nationalism) ซึ่งขัดแย้งกับลักษณะพื้นฐานสังคมไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒ นธรรม จนนาไปสู่
ความพยายามในการครอบงาชนกลุ่มน้อยในสังคมไทย โดยมีการตั้งหน่วยงานและออกกฎหมายที่บังคับให้
ผู้คนต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมที่เป็นแบบตะวันตกซึ่งรัฐเป็นผู้ออกแบบให้ และต้องการกลืนกลายให้คน
ทุกกลุ่ มในสั งคมนั บ ถือศาสนาพุทธเพียงศาสนาเดียว ส่ วนศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาอิส ลามกลายเป็น
ศาสนาต้องห้าม หากใครก็ตามฝ่าฝืนนโยบายหรือกฎระเบียบทางวัฒ นธรรมเหล่านี้ก็จะถูกลงโทษอย่าง
รุนแรง การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและอยู่ภายใต้รูปแบบทางวัฒนธรรมเดียวกันของพลเมือง
46
ภายใต้ผู้นาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามในครั้งนี้นั้น ได้สร้างความเดื อดร้อนและความไม่พอใจให้กับคน
ทุ ก กลุ่ ม จนน าไปสู่ ค วามขั ด แย้ งระหว่ า งประชาชนกั บ รั ฐ และระหว่ า งประชาชนกั บ ประชาชนอย่ า ง
กว้ างขวางโดยเฉพาะในบริ เวณจั งหวั ด ชายแดนภาคใต้ ซึ่ ง ประชาชนส่ ว นใหญ่ นั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลาม
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550) (อ้างถึงใน พุทธพล มงคลวรวรรณ, 2557, หน้า 87) กล่าวว่ากลุ่มคนที่ได้รับความ
เดือดร้อนมากที่สุด คือ พลเมืองที่มีอัตลักษณ์แตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทยในภาคกลางอย่างมาก ๆ เช่น
พลเมืองในกลุ่มชาติพันธุจีนและมลายู อย่างไรก็ตามหลังสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วแนวคิด
ที่พยายามกลืนกลายวัฒนธรรมของไทยก็ค่อย ๆ หายไป
อย่างไรก็ตามสังคมไทยในช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมาประเด็นความขัดแย้งและการถกเถียงใน
เรื่องพหุวัฒนธรรมยังคงปรากฎอยู่เรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นการพยายามผลักดันเพื่อแก้กฎหมายในประเด็น
ความเท่าเทียมทางเพศของกลุ่ม LGBTQ+ การพยายามผลักดันเพื่อแก้กฎหมายเกี่ยวกับการทาแท้งของ
กลุ่มสตรี หรือกรณีการจัดการด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ และพื้นที่ทากินของรัฐกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
ไม่ ว่ าจะเป็ น กลุ่ ม มลายู มุ ส ลิ ม ในภาคใต้ ในกรณี ค วามขั ด แย้ งเกี่ ย วกั บ การสร้ า งนิ ค มอุ ต สาหกรรมที่
อาเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ยืดเยื้อมาเกือบ 10 ปี (คณะทางานหยุดการพัฒนาสงขลา-สตูลสู่การเป็น
จังหวัดอุตสาหกรรมหนัก , 2554, หน้า 48) หรือ -กรณีการไล่รื้อพื้นที่ทากินของกระเหรี่ยงบางกลอยใน
อาเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี (สดานุ สุขเกษม, 2562, หน้า 2-3)

ภาพที่ 3.1 เหตุการณ์ 911 นามาซึ่งกระแสต่อต้านคนต่างวัฒนธรรมไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา


ที่มา: พีพีทีวีออนไลน์, 2561

ใน ค.ศ. 1996 แซมมวล ฮั น ติ ง ตั น (Samuel P. Huntington) นั ก วิ ช าการด้ า นรั ฐ ศาสตร์


ชาวอเมริกันได้เขียนหนังสือที่น่าสนใจเรื่อง The clash of civilizations ประเด็นสาคัญในหนังสือเล่มนี้
คือการที่ผู้เขียนได้จัดวางความขัดแย้งหลักของโลกในปัจจุบันไว้อยู่บนฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรม
(Huntington, 1996, p.13) และแนวคิดนี้ของฮันติงตันได้แพร่ขยายและได้รับการยอมในแวดวงวิชาการ
47
อย่ างกว้างขวางอัน เนื่ อ งมาจากผลกระทบด้ านลบของการท าให้ เป็ น “สั งคมพหุ วัฒ นธรรม” นั่ น เอง
ดังนั้ น การจะคิดถึงการสร้าง “สังคมพหุ วัฒ นธรรม” ที่จะนามามาซึ่งการอยู่ร่ว มกันอย่างสงบสันติจึง
ต้องการการมองไปข้างหน้าให้กว้างขวางมากขึ้นขณะเดียวกันก็จาเป็นที่จะต้องไตร่ตรองถึงข้อจากัดของแต่
ละสังคมด้วย (อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, 2561)

ภาพที่ 3.2 หนังสือ The clash of civilizations


ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 2562

แนวคิดและวิธีการการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
1. แนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
แนวคิ ด ของพหุ วั ฒ นธรรมมี ค วามซั บ ซ้ อ นมากกว่ า การด ารงอยู่ ข องความหลากหลาย
หรือความแตกต่างทางวัฒ นธรรมในสังคม แต่พหุวัฒนธรรมให้ความสาคัญในประเด็นเรื่องความเข้าใจ
ความเคารพ และรั บ รู้ ถึ ง อ านาจที่ ไ ม่ เท่ า เที ย มกั น ของคนในสั ง คม ตระหนั ก รู้ ใ นความได้ เปรี ย บ
และเสี ย เปรี ย บของการเป็ น สมาชิกของกลุ่ มใดกลุ่ ม หนึ่งที่ มีลั ก ษณะที่ แตกต่างกัน เช่น เชื้อชาติ เพศ
รสนิยมทางเพศ ศาสนา หรือสถานะทางสังคม ในโลกพหุวัฒนธรรม ผู้คน รับเอาความแตกต่างของผู้อื่น
เข้ามาเป็นหนึ่งในการดารงชีวิตของตัวเอง การมองสังคมพหุวัฒนธรรมที่ยึดโยงกับมิ ติการศึกษาชาติพันธุ์
สิทธิ และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความเป็นพลเมือง จึงถูกวิจารณ์ว่าเป็นการมองพหุวัฒนธรรมใน
ระดั บ ผิ ว เผิ น เพราะเพิ ก เฉยต่ อ ความแตกต่ า งที่ แ ท้ จ ริง ซึ่ งเกิ ด จากการไร้อ านาจ ความยากจน และ
ความรุน แรง ของคนกลุ่ มคนที่ มีความหลากหลายในสั งคมหนึ่ ง ๆ นักวิช าการจึงมีการเสนอแนวคิดที่
น่าสนใจ เช่น (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 102-103)
1.1 พหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ (critical multicultural) ที่มุ่งวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมที่ไม่
เป็นธรรม และสิ่งที่ทาให้เกิดความไม่เท่าเทียม เช่น การเหยียดหยามทางเชื้อชาติความยากจนจากการถูก
48
เลือกปฏิบัติ แนวคิดทางสังคมพหุวัฒนธรรมแนวนี้เชื่อว่าการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องเริ่มจากการเข้าใจ
ที่มาของอานาจ และการใช้อานาจ มองวัฒนธรรมว่าเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เปลี่ยนแปลงได้ภายใต้ความสัมพันธ์
เชิงอานาจที่ไม่เท่าเทียม
1.2 แนวคิ ด พลเมื อ งแห่ งโลก (cosmopolitanism) เป็ น อี ก แนวคิ ด หนึ่ งที่ ถู ก น ามาใช้ เป็ น
แนวทางสนับสนุนการอยู่ร่วมกับความหลากหลายที่น่าสนใจ คือ ซึ่งให้ความสาคัญกับการยอมรับคุณค่า
ของคนที่ต่างไปจากตัวเอง และเชื่อว่าคุณค่านั้นสามารถทาให้เราเติบโตทางความคิด แนวคิดนี้ทาให้บุคคล
ที่มคี วามแตกต่างกันสามารถสร้างความสัมพันธ์กันได้บนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน ทาให้คนใน
สังคมเต็มใจและเปิดรับที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับ “คนอื่น” เรียนรู้ความหลากหลายข้ามวัฒนธรรมอย่างยินดี
ไม่ตีกรอบโลกทัศน์ของตัวเองไว้กับความคิดที่ตายตัว ไม่ตัดสินว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรปกติ และอะไร
เบี่ยงเบน เป็นสมาชิกของสังคมที่พร้อมเสมอกับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเองไปสู่สิ่งที่ดีกว่า มีมุมมอง
กว้างไกล และหัวใจที่เปิดกว้าง
สาหรับสังคมไทยไม่ใช่มีเพียงแค่ความหลากหลายของกลุ่มคนที่ดารงชีวิตอยู่ด้วยกันมาช้านาน
ในประวัติศาสตร์ แต่ในช่ว ง 30 ปี มานี้ สี สั น ของความหลากหลายของสั งคมไทยยิ่งมีเพิ่ มมากขึ้นจาก
แรงงานต่างชาติที่โยกย้ายข้ามพรมแดนเข้ามาแสวงหาความก้าวหน้า โดยเฉพาะแรงงานจากประเทศเพื่อน
บ้ านเช่ น เมี ย นมา ลาว และกัม พู ช า สั งคมพหุ วัฒ นธรรมของไทยได้ ค่อ ย ๆ ผสมผสานกลกลื น ความ
หลากหลายดังกล่ าวอย่างถ้ อยทีถ้อยอาศัย แม้ในบางครั้งจะมีความขัดแย้งบ้างแต่ห าใช่ความขัดแย้งที่
รุนแรงจนส่งผลให้เกิดการประหัตประหารกัน อย่างไรก็ตามในอนาคตข้างหน้าประเทศไทยอาจจะประสบ
กับความกับความท้าทายดังกล่าว ว่าจะสามารถดาเนินไปบนความถ้อยทีถ้อยอาศัยดังเดิมได้อีกหรือไม่
เมื่อความแตกต่างหลากหลายได้เพิ่มปริมาณที่เข้มข้นและรุนแรงมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คนไทยยังไม่เปิด
ใจรับแรงงานต่างชาติ มีความรู้สึกไม่เห็นด้วยที่จะให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทางานในประเทศ เพราะกลัว
การแย่งงานและทาให้ค่าแรงของคนไทยต่าลง คนไทยส่วนใหญ่หวาดระแวงว่าแรงงานจากประเทศเพื่อน
บ้านไม่มีความซื่อสัตย์และไม่จงรักภักดีต่อนายจ้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตามถ้าหากสมาชิกในสังคมไทยใน
อนาคตสามารถซึมซับแนวคิดแบบพหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์หรือแนวคิดพลเมืองแห่งโลกได้มากเพียงพอ
มุมมองในแง่ลบดังกล่าวย่อมไม่รุนแรง

2. วิธีการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
จากปัญหาที่กล่าวในข้างต้นจึงจาเป็นจะต้องรู้จักแนวทางในการอยู่ร่วมกันของผู้คนภายใต้
พหุ วัฒ นธรรม ทั้ งนี้ เพื่ อการดารงชี วิต ของมนุ ษย์ เป็ นไปอย่างปกติสุ ข และสงบสุ ข ด้ว ยการเสริมสร้าง
“ทักษะทางสังคม” เพื่อพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันภายในสังคมที่มีความหลากหลาย ซึ่งทักษะสังคมที่กล่าว
มานี้ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร การพูด การฟัง การทางานเป็น ทีมทักษะการเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ๆ
ที่หลากหลาย กฎกติกาต่าง ๆ ในสังคม และทักษะการรู้จักและเข้าใจผู้อื่นอย่างถ่องแท้ ทั้งนี้เพื่อสร้าง
ความสัมพันธ์แก่กลุ่มคนในสังคมไปในทางที่ดี โดยจะต้องเริ่มเรียนรู้ทักษะสังคมพื้นฐานนี้ตั้งแต่วัยเด็ก
โดยพอจะยกแนวทางหรื อ วิ ธี ก ารอยู่ ร่ ว มกั น ในสั ง คมที่ มี ค วามหลากหลายทางวั ฒ นธรรมได้
ดังนี้ (คอลัฟ ต่วนบูละ และคณะ, 2559, หน้า 18-19)
2.1 การอยู่ร่วมกันต้องมีความเข้าใจในหลักศาสนาหรือความเชื่อซึ่งกันและกัน
2.2 มีการปฏิสัมพันธ์กันโดยไปมาหาสู่ระหว่างกัน ไม่แบ่งแยกตัดขาดกัน
49
2.3 มีคุณธรรม และจริยธรรม รู้ความต้องการของเขาของเรา
2.4 การระงับข้อพิพาทด้วยความความเห็นใจกัน โดยไม่พูดถึงเรื่องผิดหรือถูก
2.5 กรอบในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในหมู่บ้าน คือ เรื่องสั้นทาให้หาย เรื่องยาวทาให้สั้น
2.6 ให้ความเสมอภาคกับคนทุกกกลุ่ม
2.7 ดูแลช่วยเหลือกันบทพื้นฐานของการเป็นชุมชนเดียวกัน สังคมเดียวกัน
นอกจากจะมีหลักในการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม ซึ่งเป็นแนวทางให้ทุกกลุ่ม
ในสั งคมควรปฏิบั ติ ยั งมีห ลั กธรรมอีกประการหนึ่งที่ควรพิจารณาในหนทางการอยู่ร่วมกันอย่างสัน ติ
คือ การอดทนอดกลั้นในความแตกต่าง คือ การยอมรับในความแตกต่างซึ่งโดยพื้นฐานของมนุษย์ย่อมมี
ความแตกต่ างทั้ งในเรื่ อ งทางกายภาพและพฤติ ก รรม การอดทนอดกลั้ น จะเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ คนในสั ง คม
มีความยอมรับและเคารพซึ่งกันและกัน อันนามาซึ่งการสร้างเอกภาพของการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความ
หลากหลายได้ (ดูภาพที่ 3.3)

ภาพที่ 3.3 การอยู่ร่วมกันต้องมีความเข้าใจในหลักศาสนาหรือความเชื่อซึ่งกันและกัน


ที่มา: ทีนิวส์, 2559

หลักคิดทางปรัชญากับการยอมรับความแตกต่างของบุคคล
นักปรัชญาได้มีการถกเถียงเรื่องหลั กเกณฑ์ ที่จะนามาใช้ในการตัดสินการคิด และกระทาของ
มนุษย์ว่าเพราะเหตุใดมนุษย์จึงคิด เชื่ อ และทาในสิ่งที่แตกต่างกันมาเป็นเวลายาวนาน แต่ก็ยังหาข้อยุติ
ไม่ได้ว่าหลักเกณฑ์ใดถูกต้องที่สุด โดยพอจะยกหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินความคิดและการกระทาของ
มนุษย์ได้เป็น 4 แนวคิดด้วยกัน คือ สัมพัทธนิยม (relativism) ประโยชน์นิยม (utilitarianism) มโนธรรม
สัมบูรณ์ (moral absolutism) และค้านท์ (kantian) โดยแต่ละแนวคิดมีรายละเอียดพอจะกล่าวได้ ดังนี้
50
1. สัมพัทธนิยม (relativism)
1.1 ความหมาย
ความหมายของคาว่า สัมพัทธนิยม อธิบายได้ดังนี้ คาว่า สัมพัทธ์ (relative) คือ ขึ้นอยู่กับ
หรือเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งอื่นหมายความว่าสิ่ง ๆ หนึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นเป็นสิ่งกาหนดพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลง
ไปตามปั จ จัย ภายนอกหรือขึ้น อยู่ กับ เงื่อนไขและปัจจัยหลายอย่าง ไม่มีความแน่นอนตายตัวในตัวเอง
ส่วนคาว่า สิ่งสัมพัทธ์ คือ สิ่งที่ความมีอยู่ของมันขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งอื่นไม่ได้ดารงอยู่
ด้วยตัวของมันเอง เช่น การขับเรือด้วยความเร็ว 60 ก.ม./ช.ม. ถามว่าเป็นการขับ เรือเร็วหรือไม่ คาถามนี้
ยังตัดสินไม่ได้จนกว่าจะทราบเสียก่อนว่าขับที่ไหน ถ้าขับในแม่น้าหรือลาคลองที่มีชุมชนอยู่ตามแนวฝั่งถือ
ว่าขับรถเร็วเกินไป แต่ถ้าขับในทะเลเปิดก็อาจถือว่าขับในระดับความเร็วที่ปกติ ดังนั้น การตัดสินว่าขับเรือ
เร็วหรือไม่ จึงเป็นสิ่งสัมพัทธ์หรือขึ้นอยู่กับสถานที่ ๆ เรือลานั้นแล่นอยู่
สารานุ กรมคาศัพ ท์ ทางปรัช ญาของมหาวิท ยาลั ยสแตนฟอร์ด (Stanford University,
2020) ได้ให้ความหมายของคาว่า สัมพัทธนิยม ไว้ว่า คือ มุมมองที่ว่า ความจริง และความเท็จ ความถูก
และความผิด มีมาตรฐานของการอธิบายที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อจากัดของบริบทที่ก่อให้เกิด
สิ่งเหล่านั้น กล่าวโดยสรุป สัมพัทธ์นิยม คือ แนวคิดทางปรัชญาที่เชื่อว่า ความดี ความชั่ว มิได้มีคุณค่าที่ดี
อยู่ ใ นตั ว เอง แต่ ขึ้ น อยู่ กั บ สิ่ ง อื่ น คุ ณ ค่ า ทางจริ ย ธรรม หรื อ ความดี ความชั่ ว ความถู ก ความผิ ด
เป็นสิ่งสัมพัทธ์ คือ ผันแปรตามตามสภาพการณ์และเวลา ดังนั้นการกระทาอย่างหนึ่ง เช่น การพูดปด
จะถูกผิ ด ดี ชั่ว ยั งตอบไม่ได้จ นกว่าจะทราบก่อนว่า ใครโกหกใคร โกหกทาไม โกหกแล้ว เป็นอย่างไร
เช่น ถ้าแพทย์โกหกคนไข้เพื่อหวังผลดีในการรักษาการโกหกเช่นนี้ก็ถือว่าไม่ผิด
1.2 ประเภทของสัมพัทธนิยม
โดยสัมพัทธ์นิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัมพั ทธ์นิยมส่วนบุคคล และสัมพัทธ์นิยม
ทางสังคม (บุญมี แท่นแก้ว, 2541, หน้า 109-110)
1.2.1 สัมพัทธ์นิยมส่วนบุคคล หมายถึง ความเชื่อที่ว่า ความดี ความชั่ว เป็นเรื่องส่วน
บุคคลคนแต่ละคนทัศนคติและมีประสบการณ์ในชีวิตที่แตกต่างกัน การลงมือกระทาสิ่งใดอาจถูกวิจารณ์
ว่าเป็นการกระทาที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมก็ได้ พวกโซฟิสต์ (Sophist) ซึ่งเป็นกลุ่มนักปรัชญาในสมัย
กรีกโบราณได้กล่าวว่า “มนุษย์ คือ ตราชั่งวัดคุณค่าทั้งมวล” จากคาอธิบายนี้หมายความว่า การให้คุณค่า
ในการกระทาต่าง ๆ ของมนุษย์ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล เช่น ใครที่เชื่อว่าผีมีจริงเค้าก็จะเชื่อ ใครที่ไม่
เชื่ อ ว่ าผี มี จ ริ ง ก็ จ ะไม่ เชื่ อ สิ่ ง ที่ ค น ๆ หนึ่ งให้ คุ ณ ค่ าว่ าเป็ น สิ่ งที่ มี ป ระโยชน์ ก็ เพราะว่า สิ่ งนั้ น เป็ น ที่ เขา
ปรารถนาและสิ่งที่คน ๆ หนึ่งให้คุณค่าว่าไรประโยชน์ก็เพราะว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เขาไม่ปรารถนา เช่นกัน
ดังนั้นจึงทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้จึงไม่มีคุณค่า ในตัวเอง คุณค่าต่าง ๆ บนโลกทั้ง ความดี ความชั่ว ความมี
ประโยชน์ ความไม่มีประโยชน์ ความสวยงาม หรือความน่าเกลียด ล้วนมาจากการตัดสิน หรือการให้คุณค่า
ของปัจเจกชนเหล่านั้น
1.2.2 สัมพัทธ์นิยมทางสังคม หมายถึง ความเชื่อที่ว่า การให้คุณค่าต่าง ๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ
บริบทของสังคมนั้น ๆ แนวคิดนี้เชื่อว่าสุดท้ายแล้ว สังคมนั้น ๆ จะเป็นตัวตัดสินหรือเป็นตัวให้คุณค่าในสิ่ง
ต่าง ๆ กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างหรือถูกกล่อมเกลาขึ้นบนหลักการทางคุณธณรมและศีลธรรมของ
สังคมที่เขาเกิดและเติบ โต ความรู้สึ กที่ เกิดขึ้นในตัวของมนุษย์ ทั้ง ชอบ ไม่ช อบ สวย ไม่ส วย นั้นไม่ได้
เกิดขึ้นเองตามธณรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมที่เจริญเติบโตขึ้นมาเนื่องจากสังคมมีจารีต
51
ที่แตกต่างกัน มีค่านิ ย มไม่เหมือนกัน ดังนั้น สิ่ งที่ถือว่าดี ชั่ว ถูก ผิ ด จึงไม่เหมือนกัน เช่น บางสังคมมี
ค่านิยมว่าหนึ่งผัวหลายเมียไม่ผิดศีลธรรมในขณะที่อีกสังคมยัดถือในค่านิยมผัวเดียวเมียเดียว หรือในสังคม
ตะวันตกมักมีค่านิยมว่าแมวดาเป็นสัตว์อัปมงคลนาความโชคร้ายมาสู่ผู้เลี้ยง ในขณะที่สังคมไทยกลับ มี
ค่านิยมว่าแมวดาเป็นแมวมงคลนาพาทรัพย์ศฤงคารมาสู่เจ้าของ เป็นต้น (ดูภาพที่ 3.4)

ภาพที่ 3.4 คนไทยโบราณเชื่อว่าแมวดานาทรัพย์มาสู่ผู้เป็นเจ้าของ


ที่มา: อดิเทพ พันธ์ทอง, 2562

1.3 เกณฑ์การตัดสินความคิดและการกระทา
เกณฑ์การตัดสิน จริยธรรมขึ้นอยู่กับจารีตประเพณีของแต่ละสังคม สัมพัทธนิยมพวกที่
สองนี้ มีความเห็ น ว่าความดี ความชั่ว ความถูก ความผิ ด ไม่มีจริง เราควรใช้ค่านิ ยม ขนบธรรมเนี ยม
ประเพณีในแต่ละสังคมเป็นเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมในสังคมเหล่านั้นด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้ (บุญมี แท่นแก้ว,
2541, หน้า 109-110)
1.3.1 ตามสภาพความจริ ง ที่ เป็ น อยู่ คนเราตั ด สิ น ว่ า อะไรถู ก อะไรผิ ด ตามค่ า นิ ย ม
และขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละสังคมที่เขาอาศัยอยู่ แล้วความชอบ ความไม่ชอบ หรือค่านิยมของ
แต่ละคนไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เป็นสิ่งที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมที่เขาเจริญเติบโตขึ้นมา
1.3.2 เมื่อความดี ความชั่วไม่มีจริง คนเราก็ควรปฏิบัติตามจารีตประเพณีเป็นแนวทางใน
การดาเนินชีวิตที่ได้รับการทดสอบจากรุ่นก่อน ๆ มาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อปฏิบัติแล้วจะเกิดประโยชน์สุข
ต่อหมู่คณะ ประสบการณ์ ของคนแต่ละรุ่นได้สร้างประเพณีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้น
ดังนั้นจึงเป็นการปลอดภัยที่จะปฏิบัติตามแนวทางการดาเนินชีวิตที่ได้รับการทดสอบจากคนรุ่นก่อนแล้วว่า
เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่
1.3.3 คนในแต่ล ะสั งคมมักยึดถือว่าค่านิ ยมและจารีตประเพณี ของตนดีที่ สุ ด ถูกที่ สุ ด
แต่ ว่าในแต่ ล ะสั งคมย่ อมมีจ ารีตประเพณี ที่ แตกต่างกันไป ดังนั้น จึงไม่ ควรใช้ห ลั กศีล ธรรมหรือจารีต
ประเพณีของสังคมหนึ่ง ไปตัดสินการกระทาของคนในอีกสังคมหนึ่ง เพราะไม่มีประเพณีของใครดีกว่าใคร
ประเพณีและค่านิยมที่เหมาะสมในสังคมหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมและเกิดผลเสียได้ ถ้านาไปใช้ในอีกสังคม
หนึ่ ง ที่ มี ส ภาพแวดล้ อ มที่ ไม่ เหมื อ นกั น ดั ง ที่ รู ธ เบเนดิ ค ต์ นั ก มานุ ษ ยวิ ท ยาชาวอเมริ กั น กล่ า วว่ า
“...มาตรฐานของวัฒนธรรมแหล่งต่าง ๆ มีตั้งแต่ด้านบวกไปจนถึงด้านลบ พวกเราคงทึกทักเอาเองว่า เรื่อง
การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ชนทุกเผ่าคงพร้อมใจกันประณาม รังเกียจ แต่ตรงกันข้ามการทาลายชีวิตมนุษย์นั้น ใน
52
บางแห่ งไม่ถือว่าเป็ น เรื่องที่น่ าตาหนิ ถ้าหากความสั มพันธ์ในระหว่างเพื่อนบ้านถึงขั้นที่จะต้องกระทา
เช่นนั้น บางแห่งมีประเพณีให้ฆ่าลูกหญิงคนแรก บางแห่งสามีมีสิทธิ์ในความเป็นความตายของภรรยาอย่าง
เต็มที่ และบางแห่งถือเป็นหน้าที่ของลูกที่จะต้องฆ่าพ่อฆ่าแม่ ก่อนท่านจะถึงชราภาพ บางแห่งคนจะถูก
ประหารชีวิต เพราะการขโมยไก่เพีย งตัวเดียว...หรือเพราะเขาผู้ นั้นเกิดในวันพุ ธ …” (บุญ มี แท่นแก้ว ,
2541, หน้า 110)

2. ประโยชน์นิยม (utilitarianism)
2.1 ความหมาย
ประโยชน์ หมายถึ ง สิ่ ง ที่ มี ผ ลใช้ ไ ด้ ดี ส มกั บ ที่ คิ ด มุ่ ง หมายไว้ ผลที่ ไ ด้ ต ามต้ อ งการ
สิ่ งที่ เป็ น ผลดี ห รื อ เป็ น คุ ณ สิ่ งที่ เป็ น ประโยชน์ หมายถึ ง สิ่ งที่ ก่ อ ให้ เกิ ด ความสุ ข หรื อ ให้ ห ลุ ด พ้ น จาก
ความทุ กข์ ประโยชน์ นิ ย ม หมายถึง ทรรศนะทางจริยศาสตร์ที่ ถือ เอาประโยชน์ สุ ขเป็ น เกณฑ์ ตัด สิ น
ความผิดความถูก ความดี และความชั่ว (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ , 2562, หน้า 109) กล่าวคือ การสร้างให้เกิด
ความสุขที่สุดมีค่าเท่ากับการทาความดี ดังนั้น แนวคิดประโยชน์นิยม ใช้ความสุขเป็นตราชั่งเพื่อตัดสิน
คุณค่าต่าง ๆ จากการกระทาของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับผลของการกระทานั้น เช่น หากอยู่ในสภาวการณ์ที่ต้อง
ตัดสินใจเลือกกระทาสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินว่าการระทานั้นคือการการทาควรทาหรือเป็นการ
กระทาที่ไม่ควรทาก็คือ ประโยชน์สุขอันเป็นผลจากการกระทานั้น แนวคิดประโยชน์นิยมมองว่าความสุข
เป็นเป้าหมายหรือเป็นความปรารถนาสูงสุดของมนุษย์ คุณ ค่าของทุกสรรพสิ่งยึดโยงอยู่กับว่ามันจะนาพา
ความความสุ ข มาสู่ สั ง คมได้ ม ากน้ อ ยขนาดไหน ไม่ มี อ ะไรมี ค่ า ในตั ว เองนอกจากความสุ ข ดั ง นั้ น
การตัดสินใจให้คุณค่ากับการกระทาของมนุษย์ จึงต้องใช้ “ความสุข” เป็นตราชั่งในการตัดสิน กล่าวคือ
ถ้า การกระท าใดเป็ น ประโยชน์ ม ากกว่าการระท านั้ น ย่ อมดี กว่ า อย่างไรก็ ต ามประโยชน์ ตามแนวคิ ด
ประโยชน์ นิ ย มนี้ ไม่ ได้ ห มายถึ งประโยชน์ สุ ขของปั จเจกบุ ค คล แต่ ห มายถึงประโยชน์ สุ ขของคนทั่ ว ไป
ซึ่งประโยชน์กล่าวว่า หมายถึงสิ่งที่ก่อประโยชน์สุขมากที่สุด แก่คนจานวนมากที่สุด หลักนี้รู้จักกันในนาม
“หลักมหาสุข” (ชาตรี ชุมเสน, 2556, หน้า 152)
ประโยชน์นิยมจะมีแนวคิดที่สอดคล้องกับพวกสัมพัทธนิยม ในแง่ที่ถือว่าธรรมชาติของ
ความจริงและความดีมีลักษณะไม่เด็ดขาดตายตัวภายในตัวของมันเอง แต่พวกประโยชน์นิยมจะมีทัศนะ
เพิ่มเติมออกไปในแง่ที่ถือว่า ดี ชั่ว สัมพัทธ์ห รือขึ้นอยู่กับผลประโยชน์สุ ข หรืออีกนัยหนึ่งพวกนี้ถือว่า
ความดีเป็ นสิ่ งเดีย วกับ ความสุข จากการที่ถือว่าความดีเป็นสิ่ งเดียวดับความสุขนี่เอง พวกนี้จึงใช้ห ลั ก
มหสุข (the greatest happiness principle) เป็นเกณฑ์ตัดสิน ดี ชั่ว ใจความโดยสรุปของหลักมหสุขมี
ว่าการกระทาดีที่สุ ดคือการกระท าที่ก่อให้ เกิดผลประโยชน์ สุขมากที่สุ ดแก่คนจานวนมากที่สุ ด แต่ถ้า
การกระทาใดก่อให้ เกิดทั้งสุขและทุกข์ป นกัน ก็ต้องแสวงหาความสุ ขนั้ นด้วยความรอบคอบ คือ ต้อง
คานวณดูว่าความสุขหรือความทุกข์ด้านไหนจะมีมากกว่ากัน ถ้าให้สุขมากกว่าก็จะเป็นการกระทาดี และ
ถ้าในบางกรณีทุกการกระทาล้วนแต่ก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งสิ้น ก็จะต้องเลือกกระทาในสิ่งที่ก่อให้เกิดทุกข์
น้อยที่สุด เพราะในสถานการณ์ที่เลือกไม่ได้อันที่ก่อให้เกิดความทุกข์น้อยที่ สุด ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทาที่
ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้แล้วพวกประโยชน์นิยมยังมีแนวความคิดต่อไปอีกว่า จารีต
ประเพณี กฎหมาย และหลักคาสอนของศาสนา ล้วนแต่เป็นเครื่องมือนาความสุขมาสู่มวลมนุษย์ ดังนั้น
การปฏิบัติตาม 3 สิ่งนี้ถือว่าไม่ขัดแย้งกับหลักการของพวกประโยชน์นิยม แต่ถ้าเมื่อใดการละเมิดทั้ง 3 สิ่ง
53
นี้แล้วก่อให้เกิดผลประโยชน์สุขขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่เดิม พวกประโยชน์นิยมย่อมถือว่าการละเมิดดังกล่าว
นั้นถือเป็นการกระทาที่ดีและถูกต้อง (ชาตรี ชุมเสน, 2556, หน้า 152 153)
2.2 ประเภทของประโยชน์นิยม
การพิจารณาความถูกผิดจากผลของการกระทาโดยพิจารณาจากประโยชน์ที่เกิดตามมา
จากการกระทาเฉพาะในแต่ล ะครั้งนั้ น ทาให้ เกิดปัญ หาว่าศีล ธรรมจะมีลั กษณะสั มพัทธ์ หรือสามารถ
เปลี่ ยนแปลงไปได้ตามสถานการณ์ ทั้งนี้เพราะว่าการกระทาอย่างเดียวกันในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
อาจให้ผลที่แตกต่างกัน อันจะทาให้ค่าความดีความชั่วของการกระทาอย่างเดียวกันต่างกัน ประโยชน์นิยม
ที่สร้างปัญหาชนิดนี้เรียกว่า “ประโยชน์นิยมเชิงการกระทา” (act utilitarianism) ซึ่งให้ผู้กระทาพิจารณา
ผลที่ตามมาจากการกระทาเป็นกรณี ๆ ไป ดังนั้น นักประโยชน์นิยมจึงได้พัฒนา “ประโยชน์นิยมเชิงกฎ”
(rule utilitarianism) ขึ้นมา ตามแนวคิดอย่างหลังนี้ผู้กระทาจะไม่ตัดสินความถูก ผิด ของการกระทาโดย
พิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของการกระทาแต่ละครั้ง แต่จะดูผลที่เกิดขึ้นถ้าสมมติให้การกระทานั้นเป็นหลัก
ปฏิ บั ติ ทั่ ว ไป หรื อ อี ก นั ย หนึ่ ง ผู้ ก ระท าตามหลั ก นี้ แ ล้ ว ผลลั พ ธ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จะน ามาซึ่ ง มหสุ ข หรื อ ไม่
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536, หน้า 413)
เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างประโยชน์นิยมเชิงการกระทา และประโยชน์นิยมเชิงกฎ
จะขอยกตั ว อย่ า งต่ อ ไปนี้ สมมติ ว่ า ต ารวจคนหนึ่ ง จั บ ผู้ ร้ า ยมาได้ และแน่ ใจว่ า ถ้ า น าไปขึ้ น ศาลตาม
กระบวนการยุติธรรม ผู้ร้ายก็คงถูกปล่อยตัวดังเช่นที่ผ่านมา เพราะไม่มีใครกล้าเป็นพยานเอาผิด ถ้าตารวจ
คนนี้ยึดถือประโยชน์นิยมเชิงการกระทา ก็จะพิจารณาว่าถ้ายิงผู้ร้ายทิ้งกลางทาง จะก่อให้เกิดประโยชน์สุข
มากกว่าที่จะนาตัวคนร้ายไปดาเนินคดีหรือไม่ ถ้าคาตอบคือใช่ การยิงคนร้ายทิ้งก็ถือว่าถูกต้อง แต่ถ้าเห็น
ว่าจะนาทุกข์มาให้มากกว่า (เช่น แก๊งของคนร้ายอาจจะมาแก้แค้นตารวจ) ก็จะต้องตัดสินว่าไม่ควรยิง
คนร้าย อย่างไรก็ตาม ถ้าตารวจคนนี้ยึดถือประโยชน์นิยมเชิงกฎ เขาก็จะพิจารณาว่าจะเกิดมหสุขตามมา
หรื อ ไม่ ห ากตั้ งเป็ น กฎให้ ใช้ ร่ ว มกั น ว่า "เมื่ อ ใดที่ ต ารวจคนใดจั บ ผู้ ร้ายได้ โดยแน่ ใจว่า คนร้ ายผิ ด จริ ง
และถ้านาตัวไปดาเนินคดีแล้วผู้ร้ายจะถูกปล่อยให้มาทาความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านอีก ตารวจคนนั้นก็จง
ยิงคนร้ายทิ้ง ในกรณีนี้มีผู้มองว่าหากให้อานาจตารวจในการพิจารณาความผิดเองอาจเกิดความไม่สงบขึ้น
ในสั งคมได้ ดังนั้ น จึ งห้ ามยิ งทิ้ งคนร้ ายในทุก กรณี ไม่ ว่าการยิงทิ้ งแต่ ล ะครั้งจะนามาซึ่งมหสุ ขหรือไม่
(วิทย์ วิศทเวทย์, 2535, หน้า 135)
2.3 เกณฑ์การตัดสินความคิดและการกระทา
ประโยชน์นิยมถือว่า หลักที่จะตัดสินการกระทาอันใดอันหนึ่งว่าถูกหรือผิด ควรทาหรือ
ไม่ควรทาอยู่ที่ผลของการกระทานั้น ถ้าทาแล้วเกิดผลดี ทาให้มนุษย์มีความสุขมากขึ้น การกระทานั้นก็
เป็ น การกระทาที่ถูกต้องควรท า แต่ถ้าท าแล้ ว เกิดผลเสี ยมากกว่าผลดี ท าให้ มนุ ษย์มี ความสุ ขน้อยลง
การกระทานั้น ก็ผิดไม่ควรทา ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกทาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัวที่จะตัดสินก็คือ ถ้าผลที่จะ
เกิดขึ้นจากการกระทานี้ดีกว่าการกระทาอื่นก็เป็นสิ่งควรทา และถ้าถามต่อไปว่าเอาอะไรตัดสินว่าผลที่เกิด
จากการกระทานั้นดีกว่าผลที่เกิดจากการกระทานี้ คาตอบก็คือ อันที่ให้ประโยชน์สุขมากกว่าถื อว่าดีกว่า
ประโยชน์นิยมเห็นว่าความสุขเป็นสิ่งเดียวที่ดีที่สุดสาหรับมนุษย์ ไม่มีอะไรมีค่าในตัวเองมากกว่าความสุข
ทุกสิ่ งที่ถือกัน ว่าดีหรือมีค่าก็เพราะว่ามันทาให้ มนุษย์มีความสุข ดังนั้นในการที่จะตัดสินว่าการกระทา
อันหนึ่งดีหรือเลว ควรทาหรือไม่ จึงต้องใช้ความสุ ขเป็นตัวตัดสิน กล่าวคือ การกระทาใดที่ให้ประโยชน์สุข
แก่มนุษย์มากกว่า การกระทานั้นก็ดีกว่าควรทามากกว่า โดยเหตุนี้ตามทัศนะของกลุ่มประโยชน์นิยมนี้
54
ในการตั ด สิ น คุ ณ ค่ า ความคิ ด และการกระท ามี ห ลั ก เกณฑ์ พ อสรุ ป ได้ ดั ง นี้ (บุ ญ มี แท่ น แก้ ว , 2541,
หน้า 111)
2.3.1 จะต้องกาหนดในสิ่งที่สามารถให้ประโยชน์สุขที่สุดและยาวนานที่สุด
2.3.2 จะต้องเลือกเอาสิ่งที่เลวน้อยที่สุด ถ้าหากไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เลือก
2.3.3 จะต้องยึดเอาประโยชน์สุขจานวนมากที่สุดของคนจานวนมากที่สุดในสังคมนั้น ๆ
2.3.4 จะต้องไม่ลดประโยชน์สุขของตนให้ น้อยลงไปกว่าประโยชน์ของผู้อื่น หรือไม่ลด
ประโยชน์ของผู้อื่นให้น้อยไปกว่าประโยชน์ของตน นั่นคือจะต้องให้เกิดความสุขเสมอหน้ากัน
2.3.5 จะต้องไม่คานึงถึงเจตนาในการกระทาเป็นสาคัญ แต่จะถือเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้น
อันเป็นผลสาคัญยิ่งกว่า
2.3.6 จะต้ องคานึ งตั ว ผู้ ก ระท านั้ น ด้ ว ยว่าเป็ น ผู้ ห นึ่ งที่ จะได้ รับ ผลของการกระท านั้ น
เหมือนกันกับผู้อื่นในสังคม

3. มโนธรรมสัมบูรณ์ (moral absolutism)


3.1 ความหมาย
มโนธรรม หมายถึง ความสานึกทางศีลธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่โดยธรรมชาติ “รู้เองด้วย
จิตสานึก” ส่วนสัมบูรณ์มีความหมายตรงข้ามกับคาว่าสัมพัทธ์ หมายถึง ที่มีอยู่เอง ที่เป็นอยู่เอง ที่มีอยู่ด้วย
ตนเอง มโนธรรมสั ม บู ร ณ์ เป็ น แนวคิ ด ที่ ต้ อ งการตอบค าถามทางจริ ย ธรรมที่ ว่ า คุ ณ ค่ าทางความคิ ด
และการกระท าเป็ น สิ่ งสั ม พั ท ธ์ห รื อ เป็ น สิ่ งสั ม บู รณ์ ถ้าการกระท าอย่ างหนึ่ งดี มั นจะดี เสมอไปหรือ ไม่
ไม่ว่าจะกระทาที่ไหน ทาเมื่อไหร่ ทาแล้วเกิดผลอย่างไร มีเกณฑ์ตัดสินที่เป็นมาตรฐานแน่นอนตายตัว
หรือไม่ (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 110) เมื่อสัมบูรณ์มีความหมายตรงข้ามกับคาว่าสัมพัทธ์ ดังนั้น
กลุ่มนี้ จึงมีทัศนะที่ตรงข้ามกับ พวกสั มพัทธนิยม กลุ่ มนี้มองว่าความดี ความชั่ว เป็นสิ่ งแน่นอนตายตัว
ถ้าการกระทาอันหนึ่งดี มันต้องดีเสมอโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทานั้นว่า จะทาให้มนุษย์
เป็นสุขหรือทุกข์มากขึ้น ไม่ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ตัดสิน ถ้าการกระทาอย่างเดียวกัน คนหนึ่ งตัดสินว่าดี
อีกคนตัดสินว่าเลวต้องมีใครใดคนหนึ่งผิดและอีกคนถูก เมื่อมีทัศนะว่าความดี ความเลว เป็นสิ่งสัมบูรณ์
แน่นอนตายตัวแล้ว กลุ่มนี้จึงถือว่า เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่ถูกต้องสูงสุดนั้นมีเพียงเกณฑ์เดียว และเป็น
เกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว หากสัมพัทธนิยมถือว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นอัตวิสัย (subjective) เป็นเรื่องของความ
ต่ างจิ ต ต่ างใจที่ แต่ ล ะคนจะตั ด สิ น ว่ าการกระท านี้ ดี ห รือ เลวตามความรู้สึ ก นึ ก คิ ด หรือ ตามประเพณี
และค่ า นิ ย มของตนกลุ่ ม นี้ ก็ ถื อ ว่ า ค่ า ความดี ความชั่ ว มี อ ยู่ จ ริ ง และเป็ น วั ต ถุ วิ สั ย (objective)
ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามการตัดสินของแต่ละคน ดังนั้นกฎศีลธรรมจึงแน่นอนตายตัวเกณฑ์ตัดสินถูก ผิด ดี
ชั่ว จึงต้องมีเกณฑ์เดียว (ชาตรี ชุมเสน, 2556, หน้า 151)
3.2 ประเภทของมโนธรรมสัมบูรณ์
แนวคิดของมโนธรรมสัมบูรณ์ถือว่าค่าทางจริยธรรมเป็นสิ่งสัมบูรณ์คือแน่นอนตายตัว
แนวคิดสัมบูรณนิยมจึงจัดเป็นแนวคิดประเภทหนึ่งของมโนธรรมสัมบูรณ์ สมบูรณนิยม คือ ทัศนะที่เห็นว่า
ค่าทางจริยธรรมเป็นสิ่งสัมบูรณ์ในตัวมันเอง ความดีความชั่วเป็นสิ่งแน่นอนตายตัว ความดีความชั่วเป็นสิ่ง
ที่มีอยู่ด้วยตัวของตัวเอง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไข ไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทา ไม่ขึ้นกับความเห็น
55
หรือการกาหนดของบุคคลหรือสังคม สัมบูรณ์นิยมถือว่า เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่ถูกต้องที่สุดนั้นมีเพียง
เกณฑ์เดียวและเป็นเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ดังนั้นแนวคิ ดนี้จึงเห็นว่ามีมาตรฐานตายตัวที่แน่นอนอันใด
อันหนึ่งมาตัดสินความดีได้ สิ่งนั้น คือ มโนธรรม (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ , 2562, หน้า 111) ในขณะที่ศาสนา
โดยทั่วไปมีทัศนะแบบ สัมบูรณนิยม และถือว่าเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่ถูกต้อง ที่สุดมีเพียงเกณฑ์เดียว คือ
คาสอนในศาสนาตนเท่ านั้น เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมอื่นใดที่ขัดแย้งกับคาสอนในศาสนาของตนย่อมเป็น
เกณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง (ชาตรี ชุมเสน, 2556, หน้า 151)
3.3 เกณฑ์การตัดสินความคิดและการกระทา
กลุ่ มมโนธรรมสั มบู รณ์ ถือว่ามโนธรรม (conscience) ของแต่ล ะคนเป็ นเกณฑ์ ตัดสิ น
จริยธรรม “มโนธรรม คือ จิตสานึกที่มีอยู่โดยธรรมชาติและมีอยู่ในจิตใจของแต่ละคนในฐานะเป็นมนุษย์
เป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดีและยังสามารถตัดสินใจได้ว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด ”
(บุญมี แท่นแก้ว, 2541, หน้า 112) มโนธรรมสัมบูรณ์เสนอเกณฑ์ในการตัดสินการกระทาของมนุษ ย์ว่า
การกระทาอย่างหนึ่งจะดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ควรทาหรือไม่ควรทา ต้องใช้มโนธรรมตัดสินการกระทาที่
สอดคล้องกับมโนธรรม ถือ ว่าเป็นการกระทาที่ถูกหรือดี ถ้าขัดแย้งกับมโนธรรมถือเป็นการกระทาที่ผิด
หรือเลว มโนธรรมสัมบูรณ์ถือว่า มนุษย์เรามีมโนธรรมประจาใจอยู่ด้วยกันทุ กคน มโนธรรมนี้เป็นจิตสานึก
ภายในที่บอกให้เรารู้ได้ทันทีว่า อะไรดีอะไรชั่ว โดยที่เราไม่ต้องคิดหาเหตุผลหรืออ้างอิงหลักเกณฑ์ใด ๆ
เช่น เมื่อเราเห็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันแต่งงานกันเองเราก็รู้สึกขึ้นมาทันทีว่าเป็นการกระทาที่ไม่ถูกต้อง
ทั้ง ๆ ที่เราก็อธิบายไม่ได้ เหมือนกันว่า ทาไมพี่น้องจึงแต่งงานกันเองไม่ได้ แต่ความรู้สึกของเราบอกเรา
เช่นนั้น ความรู้สึกอย่างนี้เรียกว่ามโนธรรม (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 111)
ในประเด็นคาถามที่ว่า มโนธรรมบอกให้เรารู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ชั่ว กลุ่มมโนธรรม
สัมบู รณ์อธิบายว่ า ความดี ความชั่ว มีอยู่ในการกระทาอย่างเป็นวัตถุวิสัย คาว่าวัตถุวิสัย อย่างที่กล่าว
มาแล้ ว ในข้ างต้ น หมายความว่า ความดี ความชั่ ว ขึ้ น อยู่ กั บ วัต ถุ ห รือ สิ่ งที่ ถู ก ตั ด สิ น ไม่ ได้ ขึ้ น อยู่ กั บ
ความรู้สึกชอบไม่ชอบของผู้ตัดสิน มนุษย์มีความสามารถในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ เองโดยตรง ความสามารถ
ในการรับรู้ได้เองโดยตรงนี้ เรียกว่า อินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นอินทรีย์ที่ทาให้เรารู้ถึง รูป รส กลิ่น
เสี ย ง สั ม ผั ส ได้โดยตรง การที่ มโนธรรมของเราบอกกับ ตัวเราว่าการกระท านี้ ดีห รือชั่ว ก็เป็ น การรับ รู้
โดยตรงเช่นกัน เมื่อเรามีลิ้นเป็นอินทรีย์รับรู้ความหวานของน้าตาลได้โดยตรง เราก็มีมโนธรรมเป็นอินทรีย์
รับรู้ความดีของความคิดและการกระทาต่าง ๆ ได้โดยตรงเช่นกัน (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 111)
ความดี ความชั่ว ความถู ก หรือ ความผิ ด เป็ น คุ ณ สมบั ติ ท างจริย ธรรม เป็ น สิ่ งที่ เป็ น
นามธรรมมองเห็นไม่ได้ จับต้องไม่ได้ แต่รับรู้ได้ด้วยอินทรีย์ทางจิตหรือวิญญาณที่เป็นนามธรรมเช่นกัน
อินทรีย์ทางจิตหรือความสามารถรับรู้ค่าทางจริยธรรมนี้ชาวมโนธรรมสัมบูรณ์บางพวกเรียกว่า ปัญญา
(intellect) บางพวกก็เรีย กว่า อิน ทรีย์ ทางศีล ธรรม (moral faculty) บางพวกก็เรียกว่า “มโนธรรม”
อนึ่ง กลุ่มมโนธรรมสัมบูรณ์อธิบายว่า เหตุที่บางครั้งมนุษย์เราตัดสินความดี ความชั่ว ไม่ตรงกันทั้ง ๆ ที่มี
มโนธรรมเหมือนกัน ก็เพราะว่ามโนธรรมของมนุษย์บางคนถูกบดบังด้วยกิเลสตัณหา ทาให้เห็นผิดเป็น
ชอบและมโนธรรมของมนุษย์บางคนยังพัฒนาไม่ เต็มที่ ทาให้ไม่สามารถตัดสินความดีความชั่วได้ถูกต้อง
ครบถ้วน (ชาตรี ชุมเสน, 2556, หน้ า 152) ดังนั้น มนุษย์ที่ได้รับการพัฒ นาถึงจุดหนึ่งแล้ว ในที่นี้อาจ
หมายถึงการบรรลุธรรม หรือการมีดวงตาเห็นธรรม มนุษย์นั้นจะเห็นเหมือนกันเองว่าอะไร คือ ความดี
อะไร คือ ความชั่ว อะไร คือ ความถูกต้อง อะไร คือ ความผิดบาป
56

ภาพที่ 3.5 ศีลธรรมที่ศาสดาบัญญัติถือเป็นความถูกต้องอันสมบูรณ์


ที่มา: โพสต์ ทูเดย์, 2560

4. ค้านท์ (kantian)
4.1 ความหมาย
เอมานู เ อล ค้ า นท์ เป็ น นั ก ปรั ช ญาที่ มี ชื่ อ เสี ย งชาวเยอรมั น ซึ่ ง มี ชี วิ ติ อ ยู่ ร ะหว่ า ง
ค.ศ. 1724-1804 โดยปรั ช ญาจริ ย ธรรมของค้ านท์ ต้ อ งการตอบปั ญ หาที่ ว่ า ถ้ าการกระท าอย่ างหนึ่ ง
ก่อให้ เกิดผลดีอย่างมหาศาลแต่วิธีการนั้ น เลวร้าย การกระทาอย่างนี้ถูกหรือผิด เราควรใช้ผลของการ
กระทาหรือวิธีการกระทาเป็ น เครื่องตัดสิน ความถูกความผิ ดของการกระทา ค้านท์เป็นนักปรัช ญาผู้ มี
ทรรศนะว่าศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกับความสุข การกระทาที่ผิดหลักศีลธรรมแม้จะก่อให้เกิดประโยชน์สุข
แก่มนุษย์มากเพียงใดก็ยังคงเป็นการกระทาที่เลว ดังนั้น หลักการจึงสาคัญกว่าผลได้ ลัทธิของค้านท์มีชื่อ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเจตจานงนิยม หรือ บริสุทธิ์นิยมเพราะแนวคิดนี้ถือเอาเจตนาอันบริสุทธิ์เป็นเกณฑ์
ตัดสินการกระทา โดยความหมายของคาว่าเจตจานงนิยม พอจะอธิบายได้ ดังนี้ คือ เจตนา หมายถึง ตั้งใจ
จงใจ มุ่งหมาย เจตจานง หมายถึง ความจงใจ แรงปรารถนา ซึ่งเป็นพลังอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้มนุษย์
กระทาการต่าง ๆ เจตจานงนิยม คือ กลุ่มที่ถือเอาเจตนาหรือแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดการกระทาเป็นมาตรการ
ในการตัดสินการกระทา ดังนั้น แนวคิดของค้านท์ คือ แนวคิดที่ถือเจตนาหรือแรงจูงใจเป็นเกณฑ์ตัดสิน
คุณค่าทางจริยธรรม
เจตจานงนิยมเป็นแนวคิดที่ถือว่า ค่าทางจริยธรรมเป็นสิ่งสัมบูรณ์ หมายความว่า ดี ชั่ว
ถูก ผิด ซึ่งเป็นค่าทางศีลธรรมนั้นจะต้องตายตัวเป็นสากลไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นบุคคล
57
สั งคมหรื อ สภาพแวดล้ อ มใด ๆ การกระท าใดก็ ต ามถ้ าเป็ น การกระท าที่ ดี จะกระท าที่ ไหน เมื่ อ ไหร่
ย่อมต้องเป็นการกระทาที่ดีเสมอ ค้านท์ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดประโยชน์นิยมที่ถือผลของการกระทาเป็น
เกณฑ์ตัดสินความดี ความชั่ว เพราะผลก็คือประโยชน์การกระทาดีคือการกระทาที่ก่อให้เกิดประโยชน์
แต่ประโยชน์ไม่ได้เป็นสิ่งตายตัวเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ถ้าถือประโยชน์เป็นเครื่อง
ตัดสิน ความดีก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ไม่คงที่แน่นอน (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 111)
นอกจากนี้แต่แนวคิดของค้านท์ยังแตกต่างไปจากพวกสัมบูรณนิยมในแง่ที่ถือเอาเจตนา
เป็นเกณฑ์ในการตัดสินดีชั่ว โดย ถือว่า การทาดี คือ การทาโดยเจตนาดีแต่คาว่าเจตนาดีตามความหมาย
ของค้านท์จะมีความหมายแตกต่างออกไปจากของคนทั่วไป ตามความหมายของคนทั่วไปเมื่อ เอ่ยคาว่า
เจตนาดี จะหมายถึง ความปรารถนาดี หรือตั้งใจที่จะให้เกิดผลในทางที่ดี เจตนาดีในที่นี้จะมีค่าเท่ากับใช้
ผลที่ ได้เป็ น เครื่องวัดการกระท า เหมือนทัศนะของพวกประโยชน์นิยมนั่น เอง ส่ วนคาว่าเจตนาดีตาม
ความหมายของค้ านท์ หมายถึง การท าตามหน้ าที่ โดยไม่ น าเอาอารมณ์ ห รือ ความรู้สึ กใด ๆ เข้ ามา
เกี่ยวข้องกับการกระทานั้น การทาหน้าที่นั้นจะต้องเกิดจากความสานึกของเหตุผล และเป็นการทาหน้าที่
โดยไม่มุ่งหวังสิ่งใดเป็นเงื่อนไขตอบแทน (ทาหน้าที่โดยไม่มีเงื่อนไข ทาหน้าที่เพื่อหน้าที่เท่านั้น) ค้านท์เรียก
การท าหน้ า ที่ เ พื่ อ หน้ า ที่ ดั ง กล่ า วนี้ ว่ า เป็ น การท าตามค าสั่ ง เด็ ด ขาด (categorical imperative)
(ชาตรี ชุมเสน, 2556, หน้า 152)
4.2 ประเภทของแนวคิดแบบค้านท์
อย่างที่กล่าวในตอนต้นว่าแนวคิดของค้านท์ คือ การใช้เจตนาเป็นเครื่องตัดสินการกระทา
ของมนุษย์ว่าอะไรดี อะไรถูกต้อง ถ้ากระทาด้วยเจตนาดี ถือว่าเป็นการกระทาดี กระทาที่ถูกต้องโดยไม่
ต้องคานึงถึงผลว่าจะเป็นอย่างไร ในทางตรงกันข้าม ถ้าเจตนาไม่ดี ย่อมเป็นการตัดสินได้ว่าเป็นการกระทา
ที่ชั่ว ไม่ดี คุณค่าทางจริยธรรมย่อมมีความ แน่นอน ตายตัว และมีอยู่จริงในตัวของมันเองโดยไม่ขึ้นอยู่กับ
เงื่อนไขใด ๆ เช่น บุคคล สังคม หรือสถานที่ เป็นต้น ความดีนี้ไม่ว่าจะปฏิบัติเมื่อใดสถานที่ใด ในโอกาสใด
ย่ อ มเป็ น ความดี ทั้ ง นั้ น ค้ านท์ ผู้ ริ เริ่ ม แนวคิ ด นี้ นี้ ก ล่ า วว่ า “การกระท าที่ ดี คื อ การกระท าด้ ว ยเจตนาดี
และการกระทาด้วยเจตนาดีนี้เอง หมายถึง การกระทาตามหน้าที่ ” ดังนั้นการกระทาที่ดีคือการกระทา
ตามหน้าที่นั่นเอง โดยไม่ต้องหวังผลตอบแทนใด ๆ นั่นคือทาหน้าที่เพื่อหน้าที่ ไม่ใช่ทาหน้าที่เพื่อสิ่งอื่น
หรือวัตถุอื่น แม้จะเป็นทางรูปธรรมหรือนามธรรม เช่น ทหารเข้าสู่สงคราม ถ้ามีศัตรูมารุกรานก็จาเป็นต้อง
ฆ่ า ศั ต รู นั้ น หรื อ เพชฌฆาตที่ มี ห น้ า ที่ ป ระหาร ชี วิ ต นั ก โทษ (ฆ่ า นั ก โทษ) ก็ เป็ น การกระท าตามหลั ก
จริยธรรม เป็นการกระทาที่ถูกต้อง เพราะเขาได้กระทาตามหน้าที่ของเขาแล้ว (บุญมี แท่นแก้ ว, 2541,
หน้า 111-112)
ดังนั้น แนวคิดแบบหน้าที่นิยม (formalism) จึงถือว่าเป็นแนวคิดที่อยู่ในแนวคิดเดียวกับ
แนวคิดของค้านท์ แนวคิดหน้าที่นิยมนี้เชื่อในหลักความเป็นสากล โดยอิงหลักการที่ว่าเมื่อคิดจากหลัก
เหตุผลแล้ว เราสามารถให้ทุกคนกระทาในสิ่งที่เรากาลังจะกระทาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ การกระทานั้นก็ถือว่า
ผิด จากหลักการนี้ การโกหกไม่เคยเป็นสิ่งถูกต้อง แม้จะโกหกเพื่อปกป้องคนที่เรารัก หรือเป็นการโกหก
สีขาว (White lie) ที่ทาไปเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับคนอื่น ๆ เพราะหากเรายอมให้ทุกคนโกหกได้ สังคม
ก็จะวุ่นวาย สาหรับค้านท์นั้น ตัวการกระทาสาคัญกว่าเนื้อหาหรือผลของการกระทา ค้านท์เชื่อว่าความดี
เชิงศีลธรรมเป็นสิ่งที่คนรู้ได้เองจากการใช้เหตุผล โดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรือสภาพสังคม
(นภัทร มะลิกุล, 2562) แนวคิดหน้าที่นิยมนี้จึงมุ่งให้คุณค่ากับกฎเกณฑ์ นโยบายและมาตรฐานการปฏิบัติ
58
รวมถึงหลั กจริ ยธรรมเกี่ย วกับ การพูดความจริง การพู ดความเท็จ การปกปิดความลั บ ความยุติธ รรม
และการรักษาคามั่นสัญญา เป็นต้น
4.3 เกณฑ์การตัดสินความคิดและการกระทา
การจะตัดสินว่าการกระทานั้น ดี หรือ เลว ต้องดูที่เจตนาหรือแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดการ
กระทานั้น ถ้าการกระทานั้นเกิดจากเจตนาดีมันก็เป็นการกระทาที่ดีแต่ถ้าเกิดจากเจตนาชั่ว มันก็เป็นการ
กระทาที่ชั่ว การที่ค้านท์หรือแนวคิดเจตจานงนิยมถือเอาเจตนาเป็นตัวตัดสินการกระทาเพราะเจตนาจะมี
อยู่ทุกครั้งที่มีการกระทา และเจตนานั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในความควบคุมของผู้กระทา เจตนาหรือแรงจูงใจจึง
เป็ น สิ่ งส าคั ญ ที่ สุ ด ในการพิ จ ารณาปั ญ หาทางศีล ธรรม (สุ จิต รา รณรื่น , 2540, หน้ า 84) การมี ชี วิต ที่
เหมาะสมสาหรับค้านท์ คือ การมีชีวิตอยู่บนหลักการและศีลธรรม กล่าวคือ ชีวิตที่เหมาะสมต้องอยู่กับการ
ทาตามหน้ าที่ไม่ใช่การทาตามความสุ ขหรือความต้องการส่ วนตน ความมี สานึกในหน้าที่ จะก่อให้ เกิด
ศีล ธรรมสามารถขจั ด หรื อ เอาชนะอารมณ์ ที่ ก่ อ ให้ เกิ ด กิ เลสต่ าง ๆ ได้ ส าหรับ ค้ านท์ ก ารปฏิ บั ติ ต นที่
เหมาะสม คือ การปฏิบัติตนอันเกิดจากเจตจานงที่ดี เป็นการปฏิบัติตนที่เกิดจากความตระหนักและการ
เห็นถึงคุณค่าความสาคัญ ในในการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นการกระทาที่เกิด
จากหลักเหตุผลและและหลักศีลธรรม
สาหรับค้านท์การกระทาที่ดี คือ การทาตามเหตุผล การทาตามเหตุผลคือ การทาตาม
หลั ก การที่ ว่ า จงอย่ า ใช้ ม นุ ษ ย์ เป็ น เครื่ อ งมื อ เพื่ อ การใด ๆ ค้ า นท์ ถื อ ว่ า มนุ ษ ย์ เป็ น สิ่ ง มี ค่ า ในตั ว เอง
เป็นจุดหมายในตัวเอง ดังนั้น การใช้มนุษย์เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายใด ๆ ย่อมเป็นสิ่งผิดศีลธรรม
เสมอ ไม่ว่าเป้าหมายนั้นจะเป็นไปเพื่อตัวเองหรือผู้อื่นก็ตาม การโกหกผิดก็เพราะว่าเป็นการใช้คนที่ถูก
โกหกเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าโกหกหลอกลวงเอาทรัพย์ของผู้อื่นก็เท่ากับ
ใช้คนที่ถูกหลอกเป็นเครื่องมือของเรา การที่หมอโกหกคนไข้เพื่อไม่ให้คนไข้เกิดความวิตกจริตแม้จะเป็น
การกระทาเพื่อประโยชน์ของคนไข้เองก็ถือเป็นความผิด เพราะใช้คนไข้เป็ นเครื่องมือเพื่อตัวของหมอเอง
และคนไข้ จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าแนวคิดของค้านท์นั้นค่อนข้างเข้มงวดและปฏิบัติจริงได้ค่อนข้างยาก
เพราะถ้าทาผิดกฎศีลธรรมก็ถือว่าเป็นการกระทาที่ผิดทันที ไม่ว่าทาแล้วจะเกิดผลดีมากแค่ไหนต่อใคร
ก็ตาม แม้การฆ่าตัวตายตามหลักของค้านท์ก็ต้องถือว่าผิดเพราะเป็นการใช้ชีวิตของตนเองเป็นเครื่องมือ
ช่วยให้ตนพ้นจากความทุกข์ เป็นต้น (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536, หน้า 413)
กล่ าวโดยสรุ ป ทั ศ นะของค้ านท์ ดี ชั่ ว มี ลั ก ษณะเด็ ด ขาดแน่ น อนตายตั ว ของมั น เอง
และเครื่ องมื อ ที่ ใช้ ตัด สิ น ดี ชั่ ว คื อ เจตนาดี หมายถึ ง การท าตามหน้ าที่ ที่ ออกมาจากค าสั่ งเด็ ด ขาด
และสามารถจงใจให้กลายเป็นกฎสากลได้ ซึ่ง สามารถสรุปหลักการของทฤษฎี และเกณฑ์ในการตัดสิน
คุ ณ ค่ าทางจริ ย ธรรมใน ทรรศนะของค้ า นท์ ซึ่ งมี ลั ก ษณะที่ เข้ ม งวดและสอดคล้ อ งกั บ ศาสนา ไว้ ดั งนี้
(สิวลี ศิริไล, 2537)
4.3.1 คุณค่าทางจริยธรรมมีอยู่จริง เป็นอิสระ ตายตัว และไม่เปลี่ยนแปลง
4.3.2 เกณฑ์การตัดสินคุณค่าความคิด ความประพฤติหรือการกระทาของมนุษย์มีเพียง
เกณฑ์เดียว
4.3.3 เกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าความคิด ความประพฤติ หรือการกระทาของมนุษย์ คือ
เจตนา
59
4.3.4 หลักการต้องอยู่เหนือผลประโยชน์ทั้งมวล ความดี หรือความถูกต้องเป็นคนละเรื่อง
กับความสุข

บทสรุป
การดารงอยู่ของมนุษย์ร่วมกันในสังคมหนึ่ง ๆ ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม สมาชิก
ในสังคมมีคุณธรรมพื้นฐานที่สาคัญ คือ การมีขันติธรรมไม่แบ่งแบกหรือเลือกปฏิบัติ ใช้หลักคุณธรรม
ดังกล่ าวนี้ เพื่ อ ปรับ ตัว ให้ ผ สมผสานกลมกลื น กับ ผู้ คนกลุ่ ม ต่าง ๆ ที่ มีความแตกต่ างหลาก พึ งระลึ ก ถึง
ผลกระทบที่จะตามมาทั้งด้านดีและด้านไม่ดีจากการกระทาและคาพูดของตนเอง รวมไปจนถึงการเคารพ
ในหน้าที่ เสรีภาพ และสิทธิ ของคนคนทุกกลุ่ม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทย จึงควรยึดแนวทาง
ปฏิบัติ ดังนี้ เรียนรู้ความแตกต่าง เปิดใจให้กว้าง พร้อมรับสิ่งใหม่ ศึกษา วิถีชีวิต วัฒ นธรรม ความเชื่อ
ศาสนา ภาษา ของชนกลุ่มอื่น ผ่านแหล่งความรู้ที่หลากหลาย และควรศึกษา ด้วยใจที่เป็นกลาง ปราศจาก
อคติ เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือกิจกรรมที่มีคนจากหลายวัฒนธรรมมาทากิจกรรมร่วมกัน
ยึดมั่นในขันติธรรม มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง ปรับวิธีคิดและท่าทีให้เป็นกลาง สอดคล้องกับ
สภาพสังคมแห่งความหลากหลาย เคารพและให้ เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม โดยไม่เยาะ
เย้ยถากถาง หรือลบหลู่ดูหมิ่น ความเป็นอัตลักษณ์ของกันและกัน คานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน มีความ
ยุ ติธ รรม ไม่ เลื อ กปฏิ บั ติห รื อให้ สิ ท ธิพิ เศษเฉพาะคนกลุ่ มใดกลุ่ ม หนึ่ ง ไม่ก ระท าการที่ ก่ อให้ เกิด ความ
เสี ย หาย หรื อ ความเจ็ บ ปวดทั้ ง ทางร่ า งกายและทางจิ ต ใจ แก่ เพื่ อ นร่ ว มสั ง คมปฏิ บั ติ ต ามหน้ า ที่
สิทธิ เสรีภาพของตน โดยไม่ไปละเมิดหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น

คาถามท้ายบท
จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงบอกความหมายของสังคมพหุวัฒนธรรมมาพอสังเขป
2. จงบอกลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรมมาพอสังเขป
3. จงบอกสาเหตุของความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรม
4. จงบอกวิธีปฏิบัติตนเพื่อให้อยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างราบรื่นและมีความสุข
5. จงวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของแนวคิดทั้ง 4 แนวคิด พร้อมทั้งบอกเหตุผลว่านักศึกษาเห็นด้วย
กับแนวคิดใดมากที่สุด
60
61

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 4
การใช้แนวทางสันติวิธเี พื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทย
หัวข้อเนื้อหา
1. ความหมาย สาเหตุ และประเภทของความขัดแย้ง
2. ความหมาย สาเหตุ ประเภท และลักษณะของความรุนแรง
3. ความหมายและหลักคิดของสันติวิธี
4. ประเภทของสันติวิธี
5. การจัดการความขัดแย้งและความรุนแรงตามแนวทางสันติวิธี
6. คุณค่าและความสาคัญของสันติวิธี

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนบทเรียนนี้แล้วสามารถ
1. บอกความหมาย สาเหตุ และประเภทของความขัดแย้งได้
2. บอกความหมาย สาเหตุ ประเภท และลักษณะของความรุนแรงได้
3. ประยุกต์ใช้แนวทางสันติวิธีในชีวิตประจาวันอย่างเหมาะสมได้
4. บอกความสาคัญของสันติวิธีที่มีต่อตนเองและสังคมได้

วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. วิธีสอน
1.1 บรรยาย
1.2 อภิปราย
1.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรม
1.4 เรียนรู้ด้วยตนเอง

2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 ผู้เรียนศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตารา ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสรุปด้วย
ตนเองก่อนเรียน
2.2 บรรยายและอภิปรายโดยใช้สื่อการเรียน คือ เอกสารประกอบการสอนประจาวิชาและ
PowerPoint
62
2.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรมและนาเสนอในหัวข้อตามที่ผู้สอนและผู้เรียนกาหนดร่วมกัน โดยเน้น
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.4 ผู้สอนบรรยายสรุปเนื้อหา จากนั้นให้ผู้เรียนทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. PowerPoint
3. แบบฝึกหัด
4. วีดีโอใน YouTube

การวัดและการประเมินผล
1. สังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
2. การนาเสนองาน
3. การทาแบบฝึกหัดท้ายบท
63

บทที่ 4
การใช้แนวทางสันติวิธเี พื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทย
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมดังนั้นมนุษย์จึงมีความจาเป็นต้องอยู่รวมกันเพื่อพึงพาอาศัยกัน จุดเด่นของ
มนุษย์ คือ การมีความคิด ความต้องการ และการกระทาที่สลับซับซ้อน แตกต่างกันไปในตัวของมนุษย์
แต่ละคน ซึ่งจากความซับซ้อนดังกล่าวที่แตกต่างกันแต่เมื่อต้องมาอยู่รวมกันเพื่ อทากิจกรรมต่าง ๆ ย่อม
นามาซึ่งความขัดแย้งอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ความขัดแย้งในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษย์เกิดขึ้นในทุก ๆ
ระดับ ของสั งคม เช่น ความขัดแย้งภายในครอบครัว ความขัดแย้งภายในองค์กร หรือแม้กระทั่งความ
ขัดแย้งระหว่างสังคม หลายครั้งความขัดแย้งได้นามาซึ่ง ความรุนแรงและความสูญเสียมากมายเพียงเพราะ
คิดว่าการใช้ความรุนแรง หรือการใช้อานาจกดขี่ บีบบังคับคู่ขัดแย้งของตนให้ยอมศิโรราบจะสามารถแก้ไข
ปัญหาความขัดแย้งได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วความรุนแรงเป็นเพียงหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาอย่างฉาบฉวย
เท่านั้น มิใช่เป็นทางออกที่ยงั่ ยืนในการจัดการความขัดแย้งแต่อย่างใด
ในบริ บ ทของสั งคมไทยในปั จ จุ บั น ประเด็ น ปั ญ หาทางด้ านสาธารณสุ ข เศรษฐกิ จ การเมื อ ง
และวัฒ นธรรม มีความสลั บ ซับ ซ้อนยิ่ งขึ้น สามารถนาไปสู่ ความเครียดและความขัดแย้งทางสังคมใน
มากมายหลายด้ า น ไม่ ว่ า จะเป็ น ความขั ด แย้ ง ในด้ านนโยบายสาธารณ ะ ความขั ด แย้ ง ด้ า น
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งด้านแรงงาน และที่ดูจะรุนแรงและน่ากังวลมากที่สุดคือ
ความขัดแย้งในด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและปัญหาด้านการเมือง ซึ่งยืดเยื้อยาวนานนามาสูญเสียมาสู่
มิติต่าง ๆ ของประเทศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ซึ่งความขัดแย้งแต่ละด้านที่สั่งสมมา ก็ มีแนวโน้มจะทาให้
สังคมไทยนิยมใช้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความรุนแรงในระดับครอบครัว ปัญหาความขัดแย้ง
และความรุนแรงในครอบครัว มักนาไปสู่การทาร้ายร่างกายจนบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตได้ง่ายที่สุด เพราะ
ลักษณะความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดขั้นปฐมภูมิของสมาชิกในครอบครัว มักใช้อารมณ์ และความรู้สึกในการ
แก้ไขปัญหามากกว่าการใช้หลักเหตุผล ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาโดยการใช้
สันติวิธีจึงเป็น ทางออกที่เหมาะสมและถือว่ามีความจาเป็นเพื่อที่จะลดการสูญเสียทั้งร่างกาย เสียชีวิต
และทรัพย์สิน

ความขัดแย้ง
1. ความหมายของความขัดแย้ง
Webster Dictionary (Merriam-Webster, 2022) ได้ อ ธิ บ ายว่ า ความขั ด แย้ ง (conflict)
มาจากภาษาละติน คือ “Confligere” ซึ่งแปลว่า การต่อสู้ (fight) การทาสงคราม (warfare) ความไม่ลง
รอยต่ อ กั น หรื อ เข้ า กั น ไม่ ได้ (Incompatible) ตรงกั น ข้ า มกั น (opposition) ความพยายามที่ จ ะเป็ น
เจ้าของ การเผชิญหน้า เพื่อมุ่งร้าย การกระทาที่ไปด้วยกันไม่ได้ คือ มีลักษณะตรงกันข้าม คือ การไม่ถูก
กั น เมื่ อ บุ ค ค ล มี ค ว าม คิ ด ค ว า ม ส น ใจ ค ว าม ต้ อ งก าร ห รื อ ก า รก ร ะ ท า ที่ ไม่ เห มื อ น กั น
64
รัฐพล เย็นใจมา และสุรพล สุยะพรหม (2561, หน้า 224) ได้ให้ความหมายของความขัดแย้ง
ไว้ ส องมิ ติ ดั ง นี้ 1) ในมิ ติ เชิ งสร้ า งสรรค์ หมายถึ ง ความขั ด แย้ ง ที่ ก่ อ ให้ เกิ ด การแข่ งขั น การพั ฒ นา
และน าไปสู่ น วัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่ งส่ งผลบวกต่อ หน่ว ยงาน องค์ก รต่ าง ๆ โดยในบางกรณี ค วามขั ดแย้ ง
สามารถน าไปสู่ ก ารเจรจาเพื่ อ หาทางออกร่ ว มกั น อย่ างสั น ติ ได้ 2) ในมิ ติ เชิ ง ไม่ ส ร้า งสรรค์ หมายถึ ง
ความขัดแย้งที่ นาไปสู่ผลเสีย สร้างผลกระทบให้เกิดสภาพความตึงเครียดแก่ตนเอง ครอบครัว องค์กร
และสังคม และสุดท้ายความขัดแย้งนี้อาจนาไปดูสภาวะการใช้ความรุนแรงในลักษณะต่าง ๆ เพื่อแก้ไข
ปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงทางวาจา และการใช้ความรุนแรงทางร่างกาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า183) นิยาม
ค าว่ า ความขั ด แย้ ง ประกอบด้ ว ยค าสองค า กล่ า วคื อ ขั ด ซึ่ งหมายถึ ง การไม่ ท าตาม ฝ่ า ฝื น ขื น ไว้
และแย้ ง หมายถึ ง ไม่ต รงหรื อ ลงรอยเดี ย วกัน ต้านไว้ ทานไว้ ฉะนั้ น จึงสรุป ได้ ว่า ความขั ดแย้ง นั้ น
หมายถึง การที่บุคคลทั้งสองฝ่ายไม่ลงรอยกันจึงพยายามที่จะต้านทานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ตนเองมีความคิด
หรือการกระทาที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นในครอบครัวหรือสังคม
ชัย วัฒ น์ สถาอานั น ท์ (2539, หน้า 13) ให้ ความเห็ นต่อความขัดแย้งเชิงประวัติศาสตร์ว่า
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ มีความขัดแย้งกันมาโดยตลอด ในทุก ๆ ระดับของสังคม กล่าวคือ มนุษย์มี
ความความแตกต่างอันเนื่องมาจากผลแห่งพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคม บ่อยครั้งที่ความขัดแย้ง
ส่งผลให้มนุ ษย์เกิด ความคิดสร้างสรรค์อัน ยังประโยชน์แก่สังคม โดยความขัดแย้งเกิดขึ้นตั้งแต่มีมนุษย์
2 คน ในโลก การดารงอยู่ ของมนุ ษย์ อีกคนหนึ่งหมายถึงโอกาสที่ มนุษย์คนแรกจะเข้าไปสวมบทบาท
และหรือครอบครอง แย่งชิงทรัพย์สิน หรือดารงตนอยู่ในที่ของอีกคนจนเกิดเป็นความขัดแย้งขึ้นนั่นเอง
ชมิดท์ (Schmidt, 1974, pp.6-8) ให้ความหมายของความขัดแย้งว่า หมายถึงการที่บุคคล
2 ฝ่าย มีข้อมูล ค่านิยม ความเชื่อ ความคิดเห็น และความรู้สึกที่แตกต่างกัน
โธมัส (Thomas, 1979, p. 259) อธิบายว่า ความขัดแย้ง คือ สถานการณ์ที่ความต้องการหรือ
ความปรารถนาเพื่อไปสู่เป้าหมาย ของตนเองหรือกลุ่มของตนเองถูกขัดขวางโดยบุคคลอื่นหรือกลุ่มอื่น
กอร์ ท เนอร์ (Gortner, 1981, p. 195) อธิ บ ายว่ า ความขั ด แย้ ง คื อ การปะทะกั น ใน
หลากหลายมิติ ระหว่างบุ คคลหรื อระหว่างกลุ่ม หรือมากกว่ า เพื่อให้ ได้ตามความต้องการหตือความ
ปรารถนา เช่น หน้าที่การงาน เงิน หรือทรัพยากรต่าง ๆ เป็นต้น
โดยสรุ ป ความขั ด แย้ ง หมายถึ งสภาวะที่ ม นุ ษ ย์ มี ค วามคิ ด ความต้ อ งการ การให้ คุ ณ ค่ า
ความสนใจและการกระท าที่ แ ตกต่ างกั น โดยการแตกต่ างนั้ น อาจท าให้ ผ ลประโยชน์ ห รือ เป้ าหมาย
มีการขัดกัน สวนทางกัน ไม่สามารถตกลงหรือหาข้อสรุปอันจะเป็นที่พึงพอใจแก่คู่ขัดแย้งได้ ความขัดแย้ง
ในบางครั้งอาจนามาซึ่งความรุนแรงจนนาไปสู่ความสูญเสียทั้งร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินได้ อย่างไรก็ตาม
ความรุนแรงยังมีมิติที่นาไปสู่การแข่ง การพัฒนา จนนาไปสู่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้เช่นเดียวกัน

2. สาเหตุของความขัดแย้ง
อรุณ รักธรรม (2531) (อ้างถึงใน ขจรจิต บุนนาค, 2554, หน้า 138-139) ได้แสดงทัศนะว่า
สาเหตุของความขัดแย้งมีอยู่ด้วยกัน 6 ข้อ ได้แก่
1. จากความแตกต่างกันในเรื่องของข้อมูล ข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารที่ขัดแย้งกัน
อาจทาให้ผู้รับสารมีความคิดและการกระทาที่แตกต่างกันจนเกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันได้
65
2. จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน การที่มนุษย์มีเป้าหมายแตกต่างกันอาจนามาซึ่ง
สภาวการณ์ให้เกิดความขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม การจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ที่เหมือนกัน และ
จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์นั้นมีอยู่อย่างจากัดก็อาจนามาซึ่งความขัดแย้งได้เช่นกัน
3. ค่ า นิ ย มของคนแตกต่ า งกั น ซึ่ งความแตกต่ า งของค่ านิ ย มนี้ จะท าให้ วิ ถี แ ห่ งความคิ ด
ความเชื่อ และการปฏิบัติแตกต่างกันออกไป หรือยากที่ จะทาให้เกิดความกลมกลืนกัน อันจะนาไปสู่ความ
ขัดแย้งในที่สุด
4. ระบบโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมของสังคมอาจเป็นเหตุนาไปสู่ความขัดแย้งได้ บางครั้งระบบ
หรือโครงสร้างต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในสังคม ไม่ได้ให้ความเสมอภาคและความเท่าเทียมแก่บุคลากรที่อยู่ใน
ระบบหรือโรงสร้ างนั้ น ยกตัว อย่ างเช่น โครงสร้างของพรรคการเมืองไทย ที่ ส มาชิกพรรคต้องเชื่อฟั ง
และปฏิบัติตามมติของพรรคเท่านั้น ซึ่งในบางครั้งมติของพรรคดังกล่าวอาจไปบั่นทอนหรือจากัดความคิด
และการกระทาของสมาชิกพรรคจนทาให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคได้ หรือระบบการทางาน
ในบางองค์กรที่ทางานในลักษณะไม่มีการหมุนเวียนบทบาทหน้าที่ในการทางาน อาจทาให้พนักงานใน
องค์กรทาแต่งานเดิม ๆ ขาดการทางานที่ห ลากหลายและท้าทายความสามารถ จนเกิดความรู้สึกเบื่อ
หน่าย จาเจ และหมดไฟในการทางาน เป็นต้น
5. การเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตามมาคือโอกาส เมื่อโอกาสมีน้อยหรือไม่
เพีย งพอต่ อความต้องการ ย่ อมน ามาซึ่งความขั ดแย้งได้ ง่าย เช่น ฤดูกาลในการโยกย้ายตาแหน่งของ
ข้าราชการ ก็อาจน าไปสู่การวิ่งเต้นเพื่อการโยกย้ายไปสู่ตาแหน่งงานที่ดีห รือสู งขึ้นย่อมนามาซึ่งความ
ขัดแย้งได้ กล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสถานะ การยอมรับ และผลประโยชน์ของคนใน
สังคม ดังนั้น ระดับการเปลี่ยนแปลงยิ่งมีมากและสาคัญมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสสร้างความความขัดแย้งมาก
ขึ้นเท่านั้น
6. พฤติกรรมส่วนบุคคล มีผลทาเกิดความขัดแย้ง ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมของบุคคลจะนาไปสู่
สัมพันธภาพ ดังนั้น ถ้าพฤติกรรมของคนไม่แตกต่างกันมากนัก โอกาสเกิดความขัดแย้งก็น้อยลง

3. ประเภทของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทแล้วแต่จะใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง แต่ในที่นี้
จะแบ่งประเภทความขัดแย้งโดยนาบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ประเภทด้วยกัน
(กุญชรี ค้าขาย, 2546)
1. ความขัดแย้ งภายในตัว บุคคล ความขัดแย้งในตัว เองของมนุ ษย์เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพราะ
มนุษย์มีทางเลือกที่จะคิดและตัดสินใจกระทาสิ่งใด ๆ ซึ่งผลลัพธ์ จากการะกระทานั้นอาจนามาทั้งผลดีและ
ผลเสียต่อตนเองได้อยู่เสมอ และเมื่อมนุษย์มีทางเลือกในการที่จะคิดและตัดสินใจในเรื่องใหญ่หรือเรื่อง
สาคัญมากเท่าใด ความขัดแย้งในตนเองที่เกิดจากความไม่มั่นใจหรือความลังเลใจในผลลัพธ์ที่จะตามจึง
ย่ อ มเกิ ด ขึ้ น มากเท่ า นั้ น ในสภาวะที่ ไ ม่ มั่ น ใจหรื อ ลั ง เลใจเช่ น นี้ อ าจท าให้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก ไม่ มั่ น คง
หรือความรู้สึกความเครียดได้ นอกจากนี้ ความขัดแย้งภายในตัวบุคคลในอาจเกิดขึ้นจากความคาดหวังใน
ผลสาเร็จของงานที่ยาก หรือคุณค่าที่ตนเองมีต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่สอดคล้องกับการให้คุณค่าของสังคมส่วนใหญ่
จนเกิดความสับสน ขัดแย้ง และไม่เชื่อมั่นในตนเองได้
66
2. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลเห็นไม่สอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความ
เชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม บุคลิกภาพ หรือประสบการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมแสดงออก
ของแต่ละบุคคล และทาให้เกิดความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ได้ นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างบุคคลอัน
เกิดจากการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัด ทาให้บุคคลที่ไม่ได้รับสิ่งที่ตนต้องการในขณะที่
คนอื่นได้รับ อาจเกิดความไม่พอใจและกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลขึ้นได้
3. ความขัดแย้งระหว่างปัจเจกบุคคลกับกลุ่ม เกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิกในกลุ่มแตกแถวไม่ปฏิบัติตน
ตามกฎหรือระเบียบที่สมาชิกในกลุ่มตกลงร่วมกัน กล่าวคือ มนุษย์มักจับกลุ่มอยู่ร่วมกับมนุษย์คนอื่น ๆ
โดยค านึ งถึ งสิ่ งที่ เหมื อ นกั น เป็ น ที่ ตั้ ง ไม่ ว่า จะเป็ น ลั ก ษณะนิ สั ย พฤติ ก รรม วัฒ น ธรรม หรือ ทั ศ นคติ
และกลุ่มแต่ ละกลุ่มก็จะมีการกาหนดแนวทางและข้อตกลงที่เป็นบรรทัดฐานร่วมกันภายในกลุ่มเพื่อให้
สมาชิ ก ภายในกลุ่ ม ปฏิ บั ติ ต าม แต่ ม นุ ษ ย์ เป็ น สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ ก ารเปลี่ ย นแปลงลั ก ษณะนิ สั ย พฤติ ก รรม
วัฒ นธรรม หรือทัศนคติ ไปตามประสบการณ์ของตนเองที่แตกต่างกั น ดังนั้น เมื่อมีสมาชิกบางคนเปิด
ความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมากจากการได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ สมาชิกคนนั้นก็อาจจะไม่อยากปฏิบัติ
ตามบรรทัด ฐานที่ กลุ่ มวางไว้อีกต่อไป นานวันเข้าอาจท าให้ กลุ่ ม เกิดความแตกแยกและขัดแย้งกัน ได้
ทางออกที่ดีที่สุดคือการให้ สมาชิกที่ไม่ปฏิบั ติ ตามบรรทัดฐานของกลุ่ มแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อไปเป็น
สมาชิกของกลุ่มอื่น ๆ ที่เข้ากับลักษณะนิสัย พฤติกรรม วัฒนธรรม หรือทัศนคติในปัจจุบันแทน
4. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม เกิดจากการที่มนุษย์แต่ละกลุ่มมีความต้องการในมิติต่าง ๆ ที่
แตกต่างกันและเหมือนกันแต่มีอยู่อย่างจากัด ดังนั้น เมื่อกลุ่มคนที่มีลักษณะนิสัย พฤติกรรม วัฒนธรรม
หรื อ ทั ศ นคติ ที่ แ ตกต่ างกั น ต้ อ งมาเกี่ ย วข้อ งหรือ มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์กั น ความขั ด แย้ง ย่ อมเกิ ด ขึ้น เนื่ อ งจาก
แต่ละกลุ่มต่างต้องการให้กลุ่มของตนเองบรรลุเป้าหมายในสิ่ งที่ต้องการ โดยยอมที่จะสร้างความขัดแย้ง
หรือสร้างความบาดหมางไม่ลงรอยกันกับกลุ่มอื่น ๆ โดยความสมัครใจ เพราะเกรงว่า กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งมีความ
ต้องการสวนทางกัน จะทาให้กลุ่มตนเองไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือเกรงว่ากลุ่มอื่น ๆ ที่มีความต้องการ
เหมือนกับกลุ่มตนเองในสิ่งที่มีอยู่อย่างจากัด จะเข้ามาแข่งขันหรือช่วงชิงในสิ่งที่กลุ่มของตนเองต้องการไป
อย่ า งไรก็ ต ามความขั ด แย้ ง ในลั ก ษณะนี้ บ างครั้ ง ก็ เกิ ด เป็ น มิ ติ ค วามขั ด แย้ ง แบบสร้ า งสรรค์ ได้ เช่ น
การกระตุ้นให้เกิด การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ภายในกลุ่ม ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ และพัฒนาศักยภาพ
ของกลุ่มเพื่อทาให้การทางานประสบความสาเร็จ
5. ความขัดแย้งระหว่างองค์กร เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรกับองค์กร ซึ่งอาจ
เกิดขึ้นจากระบบการแข่งขันเสรีและจากการแข่งขันก็นาไปสู่ความขัดแย้งได้
67

ภาพที่ 4.1 ความขัดแย้งที่มีสาเหตุมาจากอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงรุนแรงในสังคมไทย


ที่มา: สุวิชา เป้าอารีย์, 2562

ความรุนแรง
1. ความหมายของความรุนแรง
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization [WHO], 2002, p. 5) ได้ให้ความหมาย
ของความรุนแรงว่า หมายถึง การจงใจใช้อานาจหรือการใช้กาลังทาร้ายเพื่อข่มขู่หรือกระทาต่อตนเอง
ผู้อื่น ต่อกลุ่ ม บุ คคล หรือชุมชน ซึ่งมีผลทาให้ เกิดหรือมีแนวโน้มที่จะมีผ ลให้ เกิดการบาดเจ็บ ล้ มตาย
หรือเป็นอันตรายต่อจิตใจ หรือเป็นการยับยั้งการเจริญงอกงาม หรือการกีดกั้น หรือปิดกั้น ทาให้สูญเสีย
สิทธิบางประการ และขาดการได้รับในสิ่งที่สมควรจะได้รับ
อรอนงค อินทรจิตร และนรินทร กรินชัย (2542, หน้า 3) ไดให้ความหมายของความรุนแรงไว
ว่า ความรุนแรง หมายถึง ลักษณะพฤติกรรมและการกระทาทีเ่ ป็นการล่วงละเมิดให้บุคคลอื่นที่มิใช่ตนเอง
เกิดความทุกข์ท รมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจทั้งในที่สาธารณะและในพื้นที่ส่วนตัว โดยการบังคับ
ขู่เข็ญ กัก ขังหน่ ว งเหนี่ ย ว ท าร้ายร่ างกาย การละเมิ ดทางเพศ รวมไปจนถึ งการจากัด หรือ การกี ดกั น
สิทธิเสรีภาพเพื่อให้บุคคลอื่นกระทาหรือไม่กระทาในสิ่งที่ตนเองต้องการ
บุญ วดี เพชรรัตน (2543, หน้า 200) ไดให้ความหมายของความรุนแรงไววา ความรุนแรง
หมายถึง พฤติกรรมที่ปลดปล่ อยความโกรธ ความกลัว และภาวะหวาดหวั่น ไปยังบุคคลอื่น เช่น คนรอบ
ข้าง หรือวัตถุสิ่งของด้วยขาดการยับยั้งชั่งใจ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยการทาอันตรายผู้อื่น ซึ่งอาจเป็น
อันตรายสาหัสจนถึงแกชีวิตได้
ฐาศุกร์ จั น ประเสริฐ และคณะ (2554, หน้ า 93) ได้ ให้ ความหมายของความความรุน แรง
ว่าคือพฤติกรรมใด ๆ ที่เป็นการทาลายสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางความคิด ทางร่างกาย
และทางวาจา เช่น การบังคับขืนใจ ทรมาน และทาร้ายร่างกายจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็นต้น ซึ่งส่งผล
กระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ ผู้ถูกกระทาเกิดทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกาย จิตใจ และเกิดการสูญเสีย
ทางทรัพย์สินต่อทั้งของตนเองและผู้อื่น
68
ขจรจิต บุนนาค (2554, หน้า 140) ได้ให้ความหมายของความรุนแรงไว้ว่า คือ พฤติกรรมหรือ
การกระทาใด ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ของกลุ่มบุคคล หรือชุมชนทั้งทางร่างกาย
วาจาหรือใจ โดยใช้กาลังบังคับ ขู่เข็ญ ทาร้ายร่างกาย ทุบตี เป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกาย
และจิตใจ หรือก่อให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเป็นการยับยั้งหรือปิดกั้น
ความเจริญ ทาให้สูญเสียสิทธิบางประการ
คี น (Keane, 1996, pp. 66-67) ได้ ใ ห้ ค วามหายของความรุ น แรงว่ า คื อ การใช้ ก าลั ง
ทางกายภาพต่อมนุษย์ชนิดที่ทาให้คนผู้นั้นถูกสกัดให้ หยุด ถูกรบกวน หรือละเมิด หลู่เกียรติ หรือทาให้
เสื่อมเสีย เป็นการกระทาด้วยกาลังทางกายภาพต่อร่างกายของผู้อื่น โดยที่เขาไม่พึงปรารถนา อันส่งผลให้
เขาต้องรับ ทุกข์จากระดับ เพียงตนกตกใจ ไปถึงนิ้วรอยขูดขีด ปวดศีรษะ ไม่สบาย ไปจนถึงกระดูกหั ก
หัวใจวาย แขนขาขาด หรือ เสียชีวิต
กล่าวโดยสรุป ความรุนแรง คือ การกระทาให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน หรืออาจ
ทาให้สูญเสียสิทธิบางประการ และขาดการได้รับในสิ่งที่สมควรจะได้รับ ซึ่งการระทาดังกล่าวอาจเกิดจาก
การกระทาของบุคคลนั้นต่อตนเองหรือต่อบุคคลอื่นหรือสังคมโดยรวมก็ได้

2. สาเหตุของความรุนแรง
สาเหตุของการใช้ความรุนแรงเกิดจากปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกัน ซึ่งพอจะกล่าวถึงได้ ดังนี้
(วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 100)
2.1 ความเชื่อของผู้ใช้ความรุนแรงทีม่ ักจะมีความเชื่อที่ผิด ๆ ว่า
2.1.1 การทุบตีด่าว่าเป็นสิ่งที่ทาได้
2.1.2 การใช้ความรุนแรงเป็นวิธีการแก้ไขปัญหา
2.1.3 ความรุนแรงควบคุมอีกฝ่ายหนึ่งได้
2.1.4 ผู้มีอานาจมีสิทธิทาอะไรก็ได้กับผู้ที่ด้อยกว่า
2.1.5 สามีเป็นใหญ่ ลูกและภรรยา คือ ผู้อ่อนแอ และเป็นสมบัติของสามีหรือบิดามารดา
2.1.6 ความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว มิใช่ประเด็นสาธารณะ
2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ความรุนแรงและผู้ถูกกระทา เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว
2.2.1 ครอบครัวที่มีสามีหรือบิดาเป็นใหญ่ สามี หรือบิดามีอานาจเหนือผู้อื่นในครอบครัว
ทั้งทางพละกาลัง รายได้ การศึกษา สามี หรือบิดาใช้อานาจในทางที่ผิดมาข่มเหงคนในครอบครัว เรียกว่า
สามีหรือบิดาต้องเป็นผู้นา ผู้อื่นในครอบครัวต้องเป็นผู้ตามต้องเชื่อฟัง
2.2.2 ครอบครัวที่สามีด้อยอานาจในสังคม ทาให้เมื่ออยู่กับครอบครัวสามีเกิดพฤติกรรม
ข่มภรรยาเพื่อสร้างปมเด่น
2.2.3 ความเชื่อว่าสามีเป็นเจ้าของภรรยา
2.2.4 ความขัดแย้งไม่ลงตัวในชีวิตแต่งงาน
2.2.5 การขาดความรู้ในการดาเนินชีวิตคู่
2.2.6 การไม่จดทะเบียนสมรส หรือการที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงย้ายไปอยู่บ้านร่วมบ้านกับ
เครือญาติของอีกฝ่าย
2.3 ลักษณะส่วนตัวของผู้กระทาความรุนแรง
69
2.3.1 เป็ น กมลสั น ดาน ถู ก ปลู ก ฝั ง มาตั้ ง แต่ เ ด็ ก เลี ย นแบบบิ ด ามารดาที่ ช อบใช้
ความรุนแรงได้แบบอย่างจากหนังสือ โทรทัศน์ ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนในเรื่องรับผิดชอบ ชั่ว ดี หรือมา
จากครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น
2.3.2 เป็นการเรียนรู้ว่าหากทาแล้วได้ผลไม่มีใครว่าจะทาซ้าและรุนแรงขึ้น
2.3.3 มีความเครียดและต้องระบายออกโดยใช้ความรุนแรงกับคนอื่นที่ด้อยอานาจกว่า
บางครั้งดื่มสุราเพื่อให้ กล้าแสดงความรุนแรงออกมาและโทษว่าเป็นความผิดของสุรา บุคคลประเภทนี้
มักจะสุภาพนอบน้อมและไม่กล้ากระทากับคนที่มีอานาจมากกว่า
2.3.4 เจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างที่ทาให้ควบคุมตนเองไม่ได้ เช่น โรคทางสมอง
จะเห็นได้ว่าความรุนแรงโดยมากล้วนมาจากบุคคลใกล้ตัว โดยเฉพาะสมาชิกภายในครอบครัว
จากผลสารวจใน พ.ศ. 2560 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครั ว ซึ่งเป็นการสารวจครั้งแรกของประเทศไทย ได้สุ่มสารวจจากกลุ่ม
ตัวอย่าง 2,280 ครัวเรือน ผลปรากฏว่าจากกลุ่มตัวอย่างมีถึง 1 ใน 3 ที่ประสบปัญหาความรุนแรงภายใน
ครอบครัว ทั้งนี้ แบ่ งเป็ นความรุนแรงทางด้านจิตใจมากที่สุดถึงร้อยละ 32.3 ความรุนแรงทางร่างกาย
ร้อยละ 10 และความรุนแรงทางเพศ ร้อยละ 5 โดยความรุนแรงทางเพศ พบถึงร้อยละ 93 เป็นลักษณะ
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่เต็มใจหรือข่มขืน และผู้กระทาส่วนใหญ่เป็นบุคคลในครอบครัว ดังนั้น จึงเป็นเรื่อง
ที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยให้ไม่ยอมรับต่อความรุนแรง
และต้องไม่มองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวหรือ เรื่องภายในครอบครัว แต่ถือเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิและต้องแจ้ง
พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าควบคุม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเยียวยา
ผู้ ก ระท าและผู้ ถู ก กระท า ที่ ส าคั ญ ต้ อ งเริ่ ม จากการสร้ า งให้ ส ถาบั น ครอบครั ว มี ค วามปลอดภั ย
มีความเข้มแข็งและไร้ความรุนแรง (มติชนออนไลน์, 2561)

3. ประเภทของความรุนแรง
การกระทาความรุนแรงสามารถแบงออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก ความรุนแรงที่เกิดจากความ
ตั้งใจ (intentionality) และความรุนแรงที่เกิดจากความไม่ ได้ตั้งใจ (unintentionality) โดยบัญชีจาแนก
โรคระหว่างประเทศ ฉบั บ แกไขครั้ งที่ 10 (International Classification of Diseases and Related
Health Problem: ICD-10) ไดจาแนกกลุ่มของความรุนแรงจากการบาดเจ็บที่เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ
(unintentional injuries) ว่าเป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ (accident) หรือเหตุการณไม่คาดคิด
(random events) ในขณ ะที่ ก ลุ่ ม การบาดเจ็ บ ที่ เ กิ ด จากความตั้ ง ใจ (intentional injuries) นั้ น
เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการใช้ความรุนแรง (violence) ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้จัดประเภทของความ
รุน แรงไว้ 3 ประเภท คือ 1) การทาร้ายตนเองหรือ การฆ่าตัว ตาย 2) การกระท ารุน แรงต่อ บุค คลอื่ น
เช่น คนในครอบครัว เด็ ก ผู้ สู งอายุ ผู้ ห ญิ ง คนใกล้ ชิด หรือ กลุ่ ม วั ยรุ่น เป็ น ต้ น และ 3) ความรุนแรง
ทางสังคม เช่น การทาสงคราม การก่อม็อบ และการก่อการร้าย เป็นต้น (สานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพ
ระหว่างประเทศ, 2550, หน้า 7)
ในขณะที่ กัลตุง (Galtung, 1990, pp. 291-305) นักวิชาการด้านสันติศึกษา ได้จัดประเภท
ของความรุนแรงไว้ ดังนี้
70
3.1 ความรุนแรงทางตรง (direct violence) เป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนและคนทั่วไป
น่าจะเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นความรุนแรง เพราะร่างกายเกิดอาการผิดปกติ หรือเสียหายอย่างชัดเชนจน
ผู้อื่นมองเห็นได้เป็นที่ประจักษ์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น เลือดไหล เสียชีวิต รวมถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ในมิติต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
3.2 ความรุ น แรงเชิ งโครงสร้ าง (structural violence) หมายถึ ง โครงสร้างที่ ส่ งผลให้ เกิ ด
ความไม่เสมอภาคและนามาซึ่งการกระทาในลักษณะเบียดเบียดกันในโครงสร้างนั้น ผู้ที่อยู่ด้านบนของ
โครงสร้างมักเบียดเบียนผู้ที่อยู่ด้านล่างของโครงสร้าง ผ่านความสัมพันธ์ที่มีต่อกันในมิติต่าง ๆ เช่น ใน
โครงสร้างของการทางาน และในโครงสร้างของระบบเครือญาติ เป็นต้น ความไม่เสมอภาคที่บุคคลต่าง ๆ
ต้องจายอมศิโรราบในโครงสร้างลักษณะนี้ ทาให้เกิดความทุกข์ทรมานจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาจาก
ความยากจน ปัญหาการขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค ปัญหาการบริการด้านสุขภาพ หรือปัญหาด้าน
โอกาสทางสังคม ปัญหาการเจริญกก้าวหน้าในอาชีพ เป็นต้น นอกจากผลกระทบทางร่างกายแล้ว ความ
รุนแรงเชิงโครงสร้าง ยังมีผลต่อจิตใจ และจิตวิญญาณของผู้คนในสังคม
3.3 ความรุ น แรงเชิ งวั ฒ นธรรม (cultural violence) คื อ ระบบความเชื่ อ ที่ ท าให้ ก ารเอา
รัดเอาเปรียบ รวมทั้งการทาร้ายร่างกายและจิตใจระหว่างคนในสังคมกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ หรือต้อง
ยอมรับวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นกรอบความหมายที่คนใช้ในการทาความเข้าใจตนเองและชีวิตทางสั งคม
มีแง่มุมที่ให้ความชอบธรรมกับความรุนแรงหลายรูปแบบ ทาให้ปรากฏการณ์ที่เป็นความรุนแรงทางตรง
และความรุนแรงเชิงโครงสร้างกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือเป็นเรื่องถูกต้อง หลายสิ่งหลายอย่างที่ทาให้
เกิดความทุกข์ยากทางกายและทางใจให้ กับคนในสังคมจึงไม่ถูกจัดหรือมองเห็นเป็นความรุนแรง เช่น
การชกมวย ในความเข้าใจของคนทั่วไปไม่นับว่าเป็นความรุนแรง แต่เป็นกีฬาที่เป็นที่ยอมรับและมีผู้สนใจ
ติดตามมากมายหรือความเชื่อที่ว่าผู้ที่มีอานาจมีสิทธิกระทาอะไรก็ได้กับผู้ที่ด้อยกว่า เป็นต้น

รูปที่ 4.2 ความรุนแรงในครอบครัวถือเป็นปัญหาสังคมที่ต้องรีบแก้ไข


ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 2562

4. ลักษณะของความรุนแรง
ส านั ก งานพั ฒ นานโยบายสุ ข ภาพระหว่ า งประเทศ (2550, หน้ า 9) ได้ แ บ่ ง ลั ก ษณะของ
ความรุนแรงออกเป็น 4 ลักษณะ ตามวิธีการที่ใช้ในการแสดงออกถึงความรุนแรง ดังนี้
71
4.1 ความรุน แรงทางร่ างกาย (physical violence) หมายถึง อาการบาดเจ็บ โดยผู้ กระท า
ความรุ น แรง ในรู ป แบบการทุ บ เตะ กั ด หรื อ วิธี อื่ น ที่ ก่ อ ให้ บุ ค คลอื่ น เกิ ด ความเสี ย หายทางร่างกาย
เช่ น การผิ ด รู ป ของกระดู ก เลื อ ดคั่ ง ฟกช้ า และสมองได้ รั บ ความกระทบกระเทื อ น ทั้ ง นี้ ลั ก ษณะ
ความรุนแรงดังกล่าวต้องคานึงถึงบริบทของแต่ละวัฒนธรรมด้วย ทั้งนี้ ความบาดเจ็บดังกล่าวต้องเป็นเหตุ
เกิดจากความตั้งใจไม่ใช่เกิดจากอุบัติเหตุ
4.2 ความรุนแรงทางเพศ (sexual violence) หมายถึง พฤติกรรมต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อ
บังคับ ชักจูง ล่อล่วง และข่มขู่ ให้บุคคลอื่นเป็นเครื่องสนองสนองความต้องการในเรื่องเพศของผู้แสดง
พฤติกรรมนั้น ทั้งนี้ รวมถึงพฤติกรรมที่สนองความต้องการทางเพศนั้นอาจมีการเสนอหรือแลกเปลี่ยนใน
ลักษณะของผลประโยชน์ตอบแทน
4.3 ความรุนแรงทางจิตใจ (psychological violence) หมายถึง การทาร้ายจิตใจ ควบคุม
บังคับอย่างไม่มีเหตุผล ทาให้ได้รับความอับอาย รู้สึกด้อยค่าหรือลดคุณค่าความเป็นมนุษย์
4.4 ความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความสูญเสียหรือการละเลยทอดทิ้ง (deprivation or neglect)
หมายถึง การไม่ได้รับการดูแลเอาใจใสและคุ้มครองอย่างเหมาะสมเพียงพอ รวมถึงการทอดทิ้งทางกาย
อนึ่ ง การทอดทิ้ งทางกายนี้ หมายถึง ไม่ให้ อาหารอย่างเพี ยงพอ ไมดู แลสุ ขภาพ ไมดูแลยามเจ็บป่ ว ย
ไม่คุ้มครองจากอันตรายหรืออุบัติเหตุ เช่น
4.4.1 ทอดทิ้ ง ไวกั บ บุ ค คลรั บ จ้ า งเลี้ ย งเด็ ก หรื อ ที่ ส าธารณะ เช่ น สถานรั บ เลี้ ย งเด็ ก
สถานพยาบาล บ้านพักคนชรา เป็นต้น
4.4.2 ละทิ้งโดยไมจัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
4.4.3 ตั้ ง ใจเพิ ก เฉยหรื อ ละเลยที่ จ ะกระท าสิ่ ง ใด ๆ อั น เป็ น อุ ป สรรคขั ด ขวางต่ อ
การดารงชีวิตตามอัตภาพหรือสุ ขภาพพลานามัย ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิด อันตรายต่อจิตใจและร่างกาย
หรื อ การลงมื อ กระท าในลั ก ษณะใด ๆ ซึ่ งส่ งผลกระทบหรื อ เป็ น อุ ป สรรคต่ อ การพั ฒ นาศั ก ยภาพใน
ด้านต่าง ๆ ของมนุษย์โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน

ภาพที่ 4.3 ประเภทและลักษณะของความรุนแรง


ที่มา: สานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2550
72

ความหมายและหลักคิดของสันติวิธี
1. ความหมายของสันติวิธี
ศู น ย์ ป ระสานงานวิ ช าการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ผู้ ได้ รั บ ผลกระทบจากความไม่ ส งบจั งหวั ด
ชายแดนใต้ (ศวชต.) (2553) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของสั น ติ วิ ธี ว่ า คื อ เป็ น กระบวนการแก้ ไ ขปั ญ หา
ความขัดแย้งในลักษณะหนึ่ง ที่ให้มุ่งเน้นการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสมานฉันท์ ไม่เลือกใช้ความรุนแรงใน
การแก้ไขปัญหา วางตนเองอยู่บนทางสายกลางปราศจากอคติและความเอนเอียง ตระหนักและมองเห็น
ประโยชน์ในความหลากหลายของมนุษย์ ถือความยุติธรรมเป็นใหญ่ นาหลักนิติธรรมและนิติรัฐมาแก้ไข
ปัญหา เมื่อเป็ นเช่น นี้ สัน ติวิธีจึง ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้แนวทาง
สันติวิธียังรวมถึงการเปิดใจยอมรับความเจ็บปวดหรือความทุกข์ของคู่ขัดแย้ง มีความความอดทนอดกลั้น
ต่อปัญหาสันติวิธีจึงไม่ใช่ "ปฏิบัติการทางจิตวิทยา" แต่ปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนคู่ขัดแย้งไปสู่การเป็นพันธมิตร
เพื่อแสวงหาทางออกอย่างเท่าเที่ยมและเสมอภาคร่วมกัน
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ (2560, หน้า 7) ได้นิยามความหมายของ
สันติวิธีว่าเป็นวิธีการตอบสนองกลับต่อสภาวการณ์การใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดย
สันติ แนวทางนี้ไม่ใช่การขาดความกระตือรือร้น (passive) และการเพิกเฉย (inaction) แต่เป็นพฤติกรรม
ที่อยู่บนพื้นฐานของการไม่ใช่ความรุนแรงในการแก้ปัญหาซึ่งต้องใช้เวลาและความอดทนอดกลั้นเพื่อให้
เกิดผลสาเร็จ เช่น การชุมชนประท้วง การพูด เขียน หรือการโฆษณา การขัดขวางหรือไม่ให้ความร่วมมือ
ในกิจกรรมบางอย่างของรัฐ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง รวมไปจนถึงการมองคู่ขัดด้วยความเข้าใจ
และพยามไกล่เกลี่ยปัญหาโดยการปราศจากความรุนแรง เป็นต้น
มารค ตามไท (2541) (อ้างถึงใน บุษบง ชัยเจริญวัฒ นะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ, 2560,
หน้า 7) ได้ให้ความหมายของสันติวิธี คือ กระบวนการที่ปัจเจกชน กลุ่มชน หรือมวลชน ใช้เพื่อให้ได้ในสิ่ง
ที่ตนเองต้องการบางอย่าง หรือเป็นกระบวนการที่ประชาชนกระทาเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐหรือผู้
กุมอานาจรัฐกระทาหรือไม่กระทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เช่น การจัดชุมนุมหยุดงาน
ประท้วง การคว่าบาตรทางด้านเศรษฐกิจ หรือวิธีฝืนกฎหมาย (ดื้อแพ่ง) เช่น การปิดถนน เป็นต้น
พระโสภา ธมฺมทีโป (2563, หน้า 25-26) ได้ให้ความหมายของสันติวิธี ว่าเป็นวิธีการจัดการ
กับความขัดแย้งที่เน้นความสงบ ไม่รุนแรง สันติวิธีเป็นทางเลือกหลักเมื่อเผชิญกับความขัดแย้ง ที่ยึดมั่นใน
หลักมนุษยธรรม เพื่อปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
สานักงานปลัดกระทรวงหมาดไทย สถาบันดารงราชานุภาพ (2551, หน้า 3) ได้ให้ความหมาย
ของสั น ติ วิ ธี ว่ า คื อ 1) การแก้ ปั ญ หาโดยไม่ ใช้ ค วามรุ น แรง 2) การขจั ด เงื่ อ นไขแห่ ง ความ รุ น แรง
และสร้างเงื่อนไขแห่งสันติ 3) ทัศนคติที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เช่น ความเอื้ออาทร ความใจกว้าง
เป็นต้น
กล่ าวโดยสรุ ป สั น ติวิธี คือ การแก้ไขปัญ หาความขัดแย้งที่ ปฏิ เสธการใช้ความรุนแรงเป็ น
เครื่องมืออย่างสิ้นเชิง ปราศจากอคติและความเกลียดชัง เป็นลักษณะการปฏิบัติต่อคู่ขัดแย้งโดยมีความ
ปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง
73
2. หลักคิดของสันติวิธี
สันติวิธี คือ การปฏิเสธการใช้ความรุนแรง เพราะการใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความแตกร้าว
ยากที่จะประสานกลับมาดังเดิมได้ อักทั้งความรุนแรงยังนามาซึ่งความสูญเสียและผลกระทบทางจิตใจ
และร่างกายแก่ผู้ถูกกระทา การใช้แนวทางสันติวิธีเป็นให้ประสบผลสาเร็จนั้นเป็นเรื่องยากผู้ใช้ต้องมีความ
อดทนออดกลั้นเป็นอย่างมาก หากผู้ใช้แนวทางสันติวิธีมีความใจร้อน หุนหันพลันแล่น ขาดความรู้ความ
เข้าใจในหลักคิดของสัน ติวิธี การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งย่อมไม่ประสบความสาเร็จ ดังนั้น การสร้าง
ความเข้าใจเกี่ย วกับ หลั กคิดของสั น ติวิธี จึงเป็น สิ่ งส าคัญ ซึ่งหลั กคิดของสั นติวิธี ส ามารถแบ่งออกเป็ น
8 ประการ ดังต่อไปนี้ (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ, 2560, หน้า 8-9)
1. ปฏิ เสธการใช้ ค วามรุ น แรงอย่ า งสิ้ น เชิ ง หลั ก คิ ด นนี้ ม องว่ า ความรุ น แรงเป็ น การสร้ า ง
บาดแผลทั้ ง ร่ า งกายและจิ ต ใจซึ่ ง ส่ ง ผลกระทบอย่ า งมากต่ อ งผู้ ถู ก กระท า การที่ คู่ ก รณี ตั ด สิ น ใจใช้
ความรุนแรงต่อกันเพื่อการแก้ไขปัญหาจะทาให้ความขัดแย้งระหว่างกันยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น ความรุนแรง
จะทาให้ ข้อเสนอหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของผู้กระทาหมดคุณ ค่าหรือหมดความชอบธรรมไป ฉะนั้นแม้ว่า
จะข้อเสนอหรือเงื่อนไขที่สมเหตุสมผลเพียงใด แต่ หากพฤติกรรมในการเรียกร้องเพื่อข้อเสนอหรือเงื่อนไข
นั้นใช้ความรุนแรง จนไม่เป็นที่ยอมรับตามหลักการสากล ข้อเสนอหรือเงื่อนไขนั้นย่อมไม่ได้รับ การยอมรับ
จากคู่ขัดแย้งและสังคม
2. โจมตีที่ “ปัญหา” ไม่โจมตีที่ “ตัวบุคคล” หลักคิดนี้เป็นการแยกปลาออกจากน้า คือ การไม่
มองความขัดแย้งเป็นองค์รวมแต่ต้องพยายามแยกปัญหากับตัวบุคคลออกจากกัน เพื่อให้คู่ขัดแย้งมองเห็น
ปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขยายความได้ว่า เมื่อเกิดสถาวการณ์แห่ งความขัดแย้งเราจะต้องแก้ไขปัญหาใน
สภาวการณ์นั้น โดยไม่มีเป้าหมายเพื่อจัดการหรือโจมตีตัวบุคคลที่ก่อให้เกิดสภาวการณ์นั้น หากเรากระทา
เช่นนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขัดแย้งจะยิ่งทวีความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การตัดตัวแปรคือตัวบุคคล
ออกไปจากปัญหา จะทาให้การแก้ไขปัญหาง่ายขึ้น เพราะคู่ขัดแย้ง ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องหาวิธีเพื่อปกป้อง
ตนเองและโจมตีอีกฝ่าย
3. สร้ า งความสั ม พั น ธ์ อั น ดี หลั ก คิ ด นี้ คื อ การไม่ ม องคู่ ขั ด แย้ ง เป็ น ศั ต รู พยายามสมาน
ความสั ม พั น ธ์ ข องเราและคู่ ขั ด แย้ ง บนพื้ น ฐานของความไว้ เนื้ อ เชื่ อ ใจต่ อ กั น (trust) ซึ่ ง การสร้ า ง
ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนั้น ถือว่าเป็นกระบวนการแรก ๆ ที่สาคัญซึ่งต้องดาเนินการในแนวทางการแก้ไข
ปั ญ หาด้วยสัน ติวิธี เนื่ องจากในการจัดการความขัดแย้งนั้ นก่อนที่ จะเกิดกระบวนการเจรจาไกล่ เกลี่ ย
ผู้เกี่ยวข้องทั้งตัวของคู่ขัดแย้งเองก็ดีหรือคนกลางที่เคยช่วยเหลือก็ดี จะต้องพยายาฟื้นฟูความสัมพันธ์ ของ
คู่ขัดแย้งให้กลับมาอยู่ในระดับที่สามารถจะลดหรือเลิกมีอคติต่อกันได้ เพราะหากคู่ขัดแย้งมีความสัมพันธ์
ที่อยู่ในระดับ ที่ ดีคู่ขัดแย้ ง คู่ขัดแย้ งก็จะลดทิฐิ ความต้องการเอาชนะ หรือการรักษาผลประโยชน์ของ
ตนเองลง และจะเปิดใจยอมรับฟังรวมถึงพยายามมองปัญหาด้วยมุมมองของอีกฝ่ายมากยิ่งขึ้น จนกระทั่ง
ในท้ายที่สุดก็อาจจะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างที่บัวไม่ช้าน้าไม่ขุ่น
4. ไม่มุ่งเอาชนะกันแต่สร้างความร่วมมือกัน หลักคิดนี้คือการมองคู่ขัดแย้งว่าไม่ใช่คู่แข่งหรือ
ศัต รูที่ เราพยายามจะต้ องเอาชนะให้ ได้ บางครั้งในในการแก้ ไขความขัด แย้งนั้ นคู่ ขัด แย้ งจะต้ องปรับ
กระบวนการคิดว่าจากความขัดแย้งนี้สุดท้ายแล้วมันไม่จาเป็นเลยว่าจะต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้ เพราะหากคิด
เช่นนั้นคู่ขัดแย้งที่อยู่ในสถานการณ์เป็นรองยอมกลัวการพ่ายแพ้และจะพยายามทาทุกอย่างเพื่อให้ตนเอง
เป็นฝ่ายชนะให้ได้ เช่น การใช้ความรุนแรง และการเล่นนอกกติกาในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการใช้ข้อมูลอัน
74
เป็นเท็จ การใส่ร้ายป้ายสี หรือการติดสินบน ซึ่งการพยายามเอาชนะกันเช่นนี้ยังแต่ จะทาให้ความขัดแย้ง
กลายเป็นฝีที่กลัดหนองรอการปะทุ หากแต่ถ้าคู่ขัดแย้งกระทาในทางตรงกันข้ามคือการมองคู่ขัดแย้งว่า
เป็นคนที่มีหัวอกเดียวกัน เป็นคนที่อยากจะแก้ไขปัญหาที่กาลังประสบอยู่ไม่ต่างจากเรา และหันหน้ามา
ร่วมมือคิดหาทางออกอย่างสันติและสงบร่วมกันได้
5. ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่ าย หลั กคิดนี้เชื่อว่าการแก้ไขปัญ หาความขัดแย้งที่ไม่
ประสบความส าเร็จ เป็ น เพราะข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องขั้นพื้น ฐานของฝ่ ายใดฝ่ายหนึ่งถูกละเลยหรือ
เพิกเฉย จนเป็นสาเหตุให้ฝ่ายที่ถูกละเลยหรือเพิกเฉยต้องตัดสินใจสร้างหรือกระทาบางอย่างที่เป็นลักษณะ
การใช้ความรุนแรง เพื่อให้ คู่ขัดแย้งจ าเป็ นต้องกลับมาให้ ความสนใจต่อข้อเสนอ หรือข้อเรียกร้อง ขั้น
พื้นฐานของตนเอง ดังนั้น ถ้าจะแก้ไขความขัดแย้งข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องขั้นพื้นฐานของคู่ขัดแย้งจะต้อง
ได้รับการตอบสนองเสียก่อน
6. มองทุกคนมีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน หลักคิดนี้เชื่อว่าการมองคู่ขัดแย้งว่าเป็นมนุษย์ที่มี
ศัก ดิ์ ศรี มี คุ ณ ค่ า เหมือ นกั บ เราจะเป็ น ปั จ จั ย ส าคัญ ที่ จะป้ องกั น การใช้ ความรุน แรง เพราะการท าลาย
หรื อ การท าร้ายบุ ค คลอื่ น ที่ เราคิ ด ว่ ามี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ที่ บ างครั้งก็ ท าสิ่ งที่ ดี งาม บางครั้งก็ ท าในสิ่ งที่
ผิดพลาด และมนุษย์ทุกคนมีทั้งความดี และความไม่ดีอยู่ในตัว เมื่อเราเข้าใจว่าเค้ากับเราไม่แตกต่างกัน
เช่นนี้ ความคิดของเราที่จะกระทาต่อเขาด้วยความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจย่อมน้อยลงไปด้วย ในทาง
ตรงกันข้ามหากเรามองผู้อื่นอย่างจงเกลียดจงชัง เราจะกระทาความรุนแรงต่อเขาได้ง่าย เช่น สภาวการณ์
ของสังคมไทยในช่วงสงครามเย็นที่มีกระแสการมองคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากตนเองว่า
ไม่ใช่มนุ ษ ย์ จนน ามาซึ่งการใช้ค วามรุน แรงต่อกั น เป็ นวงกว้าง เช่น กรณี ก ารละเมิดสิ ท ธิมนุษ ยชนใน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้น ซึ่งสะท้อนว่าในบางครั้งความเกลียดชังทาให้
มนุษย์เราไม่ได้มองว่า “มนุษย์” ทุกคนคือ “มนุษย์” แต่เรากลับมองว่าใครบ้างควรถูกนับว่าเป็น “มนุษย์”
เมื่ อ เรามองว่ า คนที่ มี อุ ด มการณ์ ท างการเมื อ งแตกต่ า งจากเรา “ไม่ ใช่ ม นุ ษ ย์ ” เราจึ ง พร้ อ มที่ จ ะใช้
ความรุนแรงต่อเขาในทุกรูป แบบ ทั้งการทรมาน ขมขืน และการฆ่าอย่างไร้ความปราณี อันเป็นวิธีคิด
และวิธีปฏิบัติที่ตรงข้ามกับสันติวิธีอย่างสิ้นเชิง
7. เน้ น ทั้งเหตุผ ลและความรู้สึ ก หลั กคิดนี้เชื่อว่า การใช้ ห ลั กเหตุผล ตรรกะ หรือข้อข้อมูล
หลักฐานเพียงอย่างเดียวในบางกรณีก็ไม่สามารถจัดการความขัดแย้ง ได้ เนื่องจากมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มี
จิตใจและความรู้สึกเป็นตัวขับเคลื่อนการกระทา การจัดการความขัดแย้งโดยใช้แต่หลักเหตุผลเพียงอย่าง
เดียวโดยเพิกเฉยต่อความคิดความรู้สึกของคู่ขัดแย้ง เปรียบเสมือนคนซึ่งป่วยเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่สามารถ
รั ก ษาเยี ย วยาแต่ เ พี ย งทางร่ า งกายได้ แ ต่ ต้ อ งรั ก ษาเยี ย วยาในเรื่ อ งของจิ ต ใจควบคู่ กั น ไปด้ ว ย
หากเราสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยใช้หลักเหตุผลและหลักของความรู้สึกจิตใจควบคู่กันได้ โรคที่
ชื่อว่าความขัดแย้งย่อมได้รับการรักษาให้ หายขาดได้ ดังเช่น ตัวอย่างการเจรจาสร้างสันติภ าพระหว่าง
เกาหลี ใต้ กั บ เกาหลี เหนื อ ในพ.ศ. 2561 ซึ่ งมี คความขัด แย้ งทางอุ ด มการณ์ ท างการเมื อ งกั น มาอย่ าง
ยาวนานตั้งแต่โลกอยู่ในสภาวการณ์แห่งสงครามเย็น ไม่สามารถหาข้อยุติหรือหาข้อตกลงระหว่างกันได้
แต่ ภ ายหลั งจากที่ คู่ เจรจาทั้ ง 2 ประเทศ แสดงความจริ งใจต่ อ กั น ที่ จ ะสร้ า งสั น ติ ภ าพให้ เกิ ด ขึ้ น แก่
คาบสมุทรเกาหลี เช่น การที่ เกาหลีเหนือสั่งปิดหรือระงับโครงการเกี่ยวกับนิวเคลียร์ หรือที่เกาหลีใต้ส่ง
นักร้องนักแสดงกว่า 150 คน ไปเปิดการแสดงคอนเสิร์ต ณ กรุงเปียงยาง เมืองหลวงของประเทศเกาหลี
75
เหนือ แม้นว่าการพยายามยุติปัญหาความขัดแย้งของทั้ง 2 เกาหลี จะยังไม่สามารถยุติได้เป็นการถาวรแต่
ถือว่าความพยายามดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีต่อเป้าหมายสูงสุดนั่นคือการรวมชาติในอนาคต
8. กล้าและสร้างสรรค์ หลักคิดนี้เชื่อว่าการใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งล้วนมี
แรงผลักดันมาจากความรู้สึกกลัว เช่น การกลัวสูญเสียอานาจหรือการกลัวสูญเสียผลประโยชน์ ดังนั้น
คู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบมักถูกความรู้สึกกลัวเข้าครอบงาได้ง่ายและพยายาม
จะทาทุกวิถีทางเพื่อรักษาอานาจหรือผลประโยชน์ของตนเองเอาไว้โดยการใช้ความรุนแรง ดังนั้นการจะ
แก้ปัญหาตามแนวทางสันติวิธีคู่คัดแย้งต้องเปลี่ยนความ “กลัว” ให้เป็นความ “กล้า” คือ ต้องมีความกล้า
ที่จะเผชิญหน้ากับความจริง กล้าที่จะตั้งคาถาม กล้าคิด กล้ากาจัดอคติ กล้าที่จะยอมสูญเสีย อานาจหรือ
ผลประโยชน์ของตนเองลง หากสามารถพูดคุยกับคู่ขัดแย้งบนพื้นฐานคาว่า “กล้า” ได้ดังนี้ ความกล้าย่อม
นาพาเราไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
โดยสรุป หลักคิดของสันติวิธี คือหลักคิดที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดารงอยู่บนพื้นฐานของ
การมีเหตุผลและความรู้สึก สามารถเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติได้ การแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้ งบางครั้งบางคราวก็ ง่ายบางครั้งบางคราวก็เป็น เรื่องยากเย็น แสนเข็ญ โดยเฉพาะการใช้
แนวทางสันติวิธีเพื่อแก้ไขปัญหานั้นมักใช้เวลานานกว่าจะสมฤทธิ์ผล ผู้ใช้ต้องมีความอดทนอดกลั้นเป็น
อย่างมาก จนอาจทาให้ผู้ใช้แนวทางสันติวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาเกิดความรู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่าย หรือหมดความ
ศรั ท ธาในแนวทางนี้ ได้ แต่ ห ากเรารู้ แ ละเข้ าใจถึ งหลั ก คิ ด ของสั น ติ วิ ธีที่ ยื น ยั น ว่ า มนุ ษ ย์ ส ามารถยุ ติ
ความขัดแย้งระหว่างกันอย่างสันติได้ ก็ทาให้นักสันติวิธีทั้งหลายเชื่อมั่นได้ว่าสันติวิธีคือการแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้งที่เหมาะสมและยั่งยืนที่สุด

ประเภทของสันติวิธี
ยีนส์ ชาร์ป (Gene Sharp) ปรมาจารย์ด้านสันติวิธี ชาวอเมริกันผู้เขียนหนังสือ The Politics of
Nonviolent Action ได้จ าแนกประเภทของสั นติวิธีออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้ (มนตรี วิวาห์ สุข, 2555,
หน้า 102-104)
1. การไม่ ต่ อ ต้ า น (nonresistance) กลุ่ ม คนที่ เชื่ อ ถื อ หลั ก การนี้ จ ะปฏิ เสธความรุ น แรงทาง
กายภาพทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็ น ระกับ ปั จเจกชน ระดับรัฐ หรือระดับ นานาชาติก็ตาม และจะปฏิบัติตาม
หลั กการทางศาสนาของตนโดยเคร่ งครัด ไม่ ยอมมี ส่ ว นร่ว มในการท าสงคราม โดยอาจยอมเสี ยภาษี
หรือทาตามที่รัฐประสงค์ ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับหลักความเชื่อทางศาสนาของตนเอง อีกทั้ง ยังยินยอมรับ
ความทุกข์ ทรมานในฐานะส่วนหนึ่งของภาระความเชื่อของตน และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับระเบียบทางสังคมที่ไม่
สอดคล้องกับความเชื่อหรือศรัทธาของตน
2. การตกลงประนี ป ระนอมอย่างจริงจัง (active reconciliation) กลุ่มคนที่เชื่อถือหลักการนี้
ปฏิ เสธความรุ น แรงและเชื่ อ ว่ า การจะแก้ ปั ญ หาได้ เฉพาะในระดั บ ปั จ เจกชนนั้ น จะกระท าได้ ก็ ด้ ว ย
การประสานประโยชน์และประนีประนอมกันอย่างจริงจัง ในท่ามกลางความขัดแย้ง กลุ่มนี้จะพยายาม
หาทางเปลี่ยนทัศนะหรือนโยบายของกลุ่มที่เป็นปัญหา ด้วยการพยายามชี้แจงแสดงเหตุผลให้ฝ่ายตรงข้าม
ยอมรั บ โดยไม่ เข้ า มาด าเนิ น การโดยตรง และไม่ มี ก ารก าหนดยุ ท ธวิ ธี ทั้ ง นี้ โดยมี ฐ านคิ ด ที่ ส าคั ญ
3 ประการ คือ
76
2.1 พยายามปรับปรุงชีวิตของตนเองก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงผู้อื่น
2.2 เชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนมีความสาคัญและมีคุณค่าไม่ว่าจะได้ประกอบกรรมทาผิดอย่างไร
2.3 เชื่อว่ามนุษย์ทุกรูปทุกนามสามารถเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ คือ เปลี่ยนไปสู่สันติภาพ
และความยุติธรรม
3. การต่อต้านทางศีลธรรม (moral resistance) กลุ่มนี้เชื่อมั่นว่าความชั่วเป็นสิ่งที่ต้องต่อต้านแต่
ด้วยการใช้วิธีการในทางศีลธรรมและสันติเท่านั้น โดยให้ความสาคัญกับความรับผิดชอบทางศีลธรรมใน
ระดับปัจเจกชน หมายรวมถึงการที่บุคคลปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมกับความชั่ว เช่น การทาสงครามและการที่
ปัจเจกชนจะต้องทาการบางอย่างเพื่อต่อสู้กับความชั่ว เช่น การพูด การเขียน หรือการสั่งสอน ผู้ที่เชื่อ
ในการต่ อ ต้ า นในทางศี ล ธรรมนั้ น แม้ จ ะไม่ สู้ ให้ ค วามส าคั ญ กั บ การวิ เคราะห์ สั ง คมโดยรวม หรื อ มุ่ ง
เปลี่ยนแปลงสังคมทั้งระบบ แต่โดยทั่วไปก็สนับสนุนการปฏิรูปทางสังคมทีละเล็กละน้อยโดยเฉพาะการ
เปลี่ยนแปลงที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ระบบการศึกษา และพยายามชักจูงเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น
4. การไร้ความรุนแรงเป็นบางเรื่อง (selective nonviolence) ลักษณะเด่นของกลุ่มนี้คือการที่
บุคคลอาจปฏิเสธจะมีส่วนร่วมในการใช้ความรุนแรงบางเรื่อง โดยมากมักจะเป็นสงครามระหว่างประเทศ
แต่ในบางสถานการณ์คน ๆ เดียวกันนี้อาจจะเต็มใจจะใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง
ที่จริงคนส่วนใหญ่อาจจะตกอยู่ภายใต้กลุ่มนี้ คือมักจะไม่เห็นด้วยที่ประเทศของตนจะทาสงคราม แต่อาจ
เห็นด้วยที่รัฐของตนจะใช้ความรุนแรงจัดการกับปัญหาบางอย่างภายในสังคมของตนเอง
5. สัตยาเคราะห์ (satyagraha) สั ตยาเคราะห์ เป็นภาษาสั นสกฤต มี 2 คาแปล คือ ความจริง
และการตามหา มีความหมายว่า พลังแห่งสัจจะ ถือเป็นอาวุธสันติสาหรับการต่อสู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรงโดยผู้
ต่อสู้ต้องถือหลักของสั จจะและอหิงสา ตลอดจนต่อสู้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจและความถูกต้องคานธีเรียก
วิธีการของสัตยาเคราะห์อีกอย่างหนึ่งว่า "การดื้อแพ่ง" การต่อสู้กับฝ่ายปรปักษ์ผู้ต่อสู้จะต้องมีความอดทน
และเห็นใจฝ่ายตรงข้าม ความอดทนคือ การยอมรับทุกข์ด้วยตนเอง ไม่ใช่การทาให้ผู้อื่นได้รับทุกข์หัวใจ
ของสัตยาเคราะห์ คือ การอุทิศชีวิตให้กับสิ่งที่ตนเชื่อว่าถูกต้องความสาเร็จของสัตยาเคราะห์จะมีได้ด้วย
เงื่อนไข 4 ประการ คือ (ชาตรี ชุมเสน, 2556, หน้า 19-20)
5.1 ผู้ปฏิบัติสัตยาเคราะห์จะต้องไม่เกลียดชังฝ่ายตรงข้าม
5.2 ประเด็นในการต่อสู้จะต้องเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาจริงจัง เป็นเรื่องถูกต้องทานองคลองธรรม
5.3 ผู้ปฏิบัติสัตยาเคราะห์ต้องพร้อมที่จะยอมทนทุกข์ทรมานจนถึงที่สุด
5.4 การสวดภาวนาเป็ น ปั จ จั ย ที่ สู งส่ งส าหรับ สั ตยาเคราะห์ เพราะศรัท ธาในพระเจ้าเป็ น
สิ่งจาเป็น แม้ว่าการปฏิบัติสัตยาเคราะห์ไม่ใช่เรื่องที่กระทาได้ง่าย แต่คานธีได้อุทิศชีวิตปฏิบัติด้วยตนเอง
ในการต่ อ สู้ เ พื่ อ ความยุ ติ ธ รรมของสั ง คมในระดั บ ต่ า ง ๆ ที่ พ บว่ า มี ก ารกดขี่ ข่ ม เหงทางวรรณะ
กลุ่มที่ใช้สันติวิธีตามแนวทางของคานธี ผู้คนที่เชื่อถือในสัตยาเคราะห์ หรือหลักแห่งสัจจะนี้
จะมุ่งเข้าถึงสัจธรรมด้วยความรักและการกระทา คานธีเชื่อว่าเมื่อเกิดความชั่ วขึ้นในสังคม บ่อยครั้งต้อง
ท้ า ทายความชั่ ว นั้ น ๆ และปฏิ บั ติ ก ารไร้ ค วามรุ น แรงมากมายหลายวิ ธี จ ะเข้ า มาแทนที่ ก าร จลาจล
การปฏิบัติด้วยความรุนแรง หรือการสงครามได้ คานธีเชื่อว่าสัตยาเคราะห์ที่มีรากฐานอยู่บนความเชื่อ
อันมั่นคงภายในใจคนนั้นมีประสิทธิภาพเหนือกว่าสันติวิธีหรือปฏิบัติการไร้ความรุนแรงชนิดที่นามาใช้เป็น
นโยบายชั่วคราว
77
6. การปฏิ วัติ ไร้ ค วามรุ น แรง (nonviolent revolution) กลุ่ ม คนที่ เชื่อ ว่าปั ญ หาสั งคมใหญ่ ๆ
ในโลกปัจจุบั น มีรากฐานอยู่ที่ชีวิตทางสังคมและปัจเจกชน ดังนั้น จะแก้ปัญหาสังคมเหล่านั้นได้ก็ด้วย
การเปลี่ ย นแปลงจากพื้น ฐานในระดับ ปั จเจกชนและสั งคมเท่านั้น กลุ่ มคนที่ เชื่ออย่างนี้มั กจะยอมรับ
แนวทาง 4 ประการ คือ
6.1 ให้ปัจเจกชนพัฒนาชีวิตของตนเอง
6.2 พยายามให้สังคมยอมรับเอาหลักการแนวสันติ เช่น สันติวิธี ความเสมอภาค การร่วมมือ
ความยุติธรรม และอิสรภาพเป็นค่านิยมหลัก
6.3 สร้างสรรค์ระเบียบทางสังคมที่เสมอภาคมากขึ้น และมีเสรีภาพมากขึ้น
6.4 ต่อสู้กับความชั่วทางสังคมด้วยปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ลักษณะพิเศษของกลุ่มคนนี้คือ
การผูกการปฏิบัติเข้ากับการไม่ใช้ความรุนแรงอย่างเหนียวแน่น

ภาพที่ 4.4 มหาตมะ คานธี


ที่มา: THE STANDARD, 2020

การจัดการความขัดแย้งและความรุนแรงตามแนวทางสันติวิธี
แนวทางปฏิบัติขั้นพื้นฐานทีน่ ักสันติวิธีนามาใช้ปฏิบัติการเพื่อแก้ไขสภาวการณ์แห่งความขัดแย้งมี
อยู่ด้วยกันหลายแนวทาง ดังนั้น การเลือกว่าจะนาแนวทางใดมาใช้นั้น ขึ้นอยู่กับบริบทหรือปัจจัยแวดล้อม
เป็นกรณี ๆ ไปโดยเฉพาะ เราสามารถสรุป แนวทางการปฏิบัติขั้นพื้นฐานได้เป็น 9 แนวทาง ดังต่อไปนี้
(บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ, 2560, หน้า 10-13)
1. การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง (mediation) หมายถึง กระบวนการที่คู่ ขัดแย้งสมัครใจมา
พูดคุย อภิปรายถึงความแตกต่างกันในเรื่อง ต่าง ๆ และเป็นกระบวนการที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างตกลง
พร้ อ มใจกั น ให้ มี ค นกลางเป็ น ผู้ ไกล่ เกลี่ ย โดยหลั ก การส าคั ญ ของการเจรจาไกล่ เกลี่ ย โดยคนกลางมี
4 ประการ คือ
1.1 แยกคนออกจากปัญหา
1.2 พิจารณาถึงจุดสนใจและผลประโยชน์ร่วมของคู่กรณี โดยไม่มุ่งเน้นที่จุดยืน
1.3 สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับคู่กรณี
1.4 ใช้กฎ กติกาในกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อความยุติธรรม
78
คุณสมบัติของการเป็นคนกลางที่ดี คือ 1) มีความเป็นมิตรและเป็นที่ยอมรับทางสังคม เคารพต่อ
ความคิดเห็นของบุคคล 2) มีประสบการณ์หรือความชานาญในการจัดการความขัดแย้ง 3) มองโลกในแง่ดี
มี ค วามรู้ สึ ก ร่ ว ม 4) มี ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ แ ละมี ขั น ติ 5) เปิ ด ใจยอมรั บ และสร้ า งความเชื่ อ ใจ
และ 6) มีความใจเย็น ฉลาดเฉลียว และมั่นใจในศักยภาพของตนเอง
2. การเจรจาต่อรอง (negotiation) หมายถึง กระบวนการในการสร้างความสมานฉันท์ พยายาม
หาข้อสรุป ที่ลงตัวของคู่กรณี ทั้ง 2 ฝ่าย โดยคู่กรณีต่างฝ่ายต่างพยายามนาเสนอข้อจากัดหรือข้อเสนอ
ต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนให้คู่กรณีได้รับผลประโยชน์ในลักษณะทั้ง 2 ฝ่าย (win-win) ทั้งนี้ การเจรจาต่อรอง
ต้องไม่มีสูตรสาเร็จที่ตายตัว เนื่องจากเป็นการพูดคุยกับ “คน” มีตัวแปรหรือปัจจัยให้การเจราสาเร็จหรือ
ล้มเหลวมากเป็น จานวนมาก นอกจากนี้ กระบวนการเจรจาต่อรองนี้ไม่จาเป็นต้องอาศัยคนกลางหรือ
บุคคลที่สาม มุ่งเน้นการเจรจาต่อรองเฉพาะคู่ขัดแย้งเป็นหลัก หรือหากคู่ขัดแย้งไม่สามารถเจรจาต่อรองได้
อาจมีการมอบอานาจให้ตัวแทนมาเจรจาก็ได้ หลักการสาคัญในการเจรจาต่อรองที่ควรยึดถือปฏิบัติ คือ
2.1 ยอมรับสถานะของคู่ขัดแย้ง
2.2 เข้าใจจุดยืน มุมมอง และเหตุผลของคู่ขัดแย้ง
2.3 เห็นส่วนดีของคู่ขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นทัศนคติหรือพฤติกรรม
2.4 มองคู่ ขั ด แย้ ง ว่ า เป็ น ผู้ ที่ ส ามารถเป็ น ฝ่ า ยเดี ย วกั บ เราได้ หรื อ ตกลงกั น ได้ โ ดยได้ รั บ
ผลประโยชน์ร่วมกัน
2.5 เจรจากับคู่ขัดแย้งอย่างสุภาพและเปิดเผย
3. การใช้อนุญาโตตุลาการ (arbitration) เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีการตัดสินโทษ
ผู้ทาหน้าที่ในการตัดสิน เรียกว่า “อนุญาโตตุลาการ” อย่างไรก็ตาม แม้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ
จะมี ผู้ ตั ดสิ น โทษ แต่ก ระบวนการนี้ ก็ต่ างไปจากระบบการตั ดสิ น โทษของศาล คื อ อนุ ญ าโตตุล าการ
สามารถหาข้อมูลอื่นมาพิจารณาเสริมได้ โดยไม่ต้องมุ่งตัดสินจากเนื้อที่คู่กรณีกาลังเป็นประเด็นขัดแย้ง
โดยตรง อนึ่ง การตัดสินของอนุ ญาโตตุลาการจะมีผลออกมาอย่างไรนั้น คู่กรณี จะนาไปปฏิบัติห รือไม่
ปฏิบัติก็ได้ โดยให้ดูว่าในระยะเวลาที่มีการดาเนินการโดยคณะอนุญาโตตุลาการนั้น คู่กรณีได้มีการตกลง
หรือลงลายมือชื่อในสัญญาเกี่ยวกับผลการตัดสินไว้อย่างไรเป็นหลัก
4. กระบวนการนิติบั ญญัติ (legislation) สภาวการณ์แห่ งความขัดแย้ง ในบางประเด็นมีผลสื บ
เนื่องมาจากกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ ของรัฐที่ไม่เป็นธรรมเอื้อผลประโยชน์ต่อบุคคลหรือกลุ่มหนึ่ง ๆ
หรือกฎหมายและนโยบายของรัฐที่ล้าสมัยไม่เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสั งคม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย
เกี่ย วกับการสมรส กฎหมายเกี่ยวกับ การเกณฑ์ทหาร หรือนโยบายการประกาศสงครามกับยาเสพติ ด
นโยบายทวงคืนผืนป่า ที่กาหนดและบังคับใช้ จนสร้างปัญหาความขัดแย้งในสังคมเป็นวงกว้างทั้งในอดีต
และปัจจุบัน เช่น นโยบายทางคืนผืนป่าที่ออกมาภายหลังจากที่มีการเข้าไปใช้ประโยชน์ ล่วงมาแล้วของ
ประชาชนเป็ น เวลาหลายรุ่ น จนประชาชนขาดผื น ดิ น ในการท ามาหากิ น ความขั ด แย้ ง ในลั ก ษณะนี้
จะต้ อ งแก้ ไขที่ ตั ว บทกฎหมายหรื อ การใช้ ก ระบวนการนิ ติ บั ญ ญั ติ เช่ น การร่ า งกฎหมายป่ า ชุ ม ชน
หรือการออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนเพื่อแก้ไขสภาวการณ์ดังกล่าว เป็นต้น
5. การเจรจาไกล่ เกลี่ ย ข้ ามวัฒ นธรรม (cross cultural mediation) เป็น การเจรจาไกล่ เกลี่ ย
เพื่อให้คขู่ ัดแย้งซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกันได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีคนกลาง (mediator)
ทาหน้าที่ไกล่เกลี่ย ซึ่งคนกลางนี้จาเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจ และเปิดใจต่อวัฒนธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย ที่สาคัญ
79
ในการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลางต้องเลือกใช้ภาษากลางที่เข้าใจได้ง่ายและมีความเหมาะสมต่อคู่ขัดแย้งทั้ง
2 ฝ่ายซึ่งมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน โดยการใช้ภาษากลางในการเจรจานี้ต้องได้รับการยินยอมจากคู่ขัดแย้ง
ทั้ง 2 ฝ่ายก่อน
6. การสานเสวนา (dialogue) เป็ น กระบวนการที่ มุ่ งแก้ ไขปั ญ หาความขั ด แย้ งในระดั บ กลุ่ ม
กล่าวคือ การสานเสวนาเป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อการจัดการกับความขัดแย้ง โดยอาศัยคนกลางซึ่งเป็น
บุคคลที่หน้าเชื่อถือ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นแม่งานหรือ ช่วยทาหน้าที่อานวยการให้เกิดการพูดคุย
สนทนากันระหว่างกลุ่มบุคคลที่ เกี่ยวข้องในสถานการณ์ความขัดแย้ง อันมีความซับซ้อน ความตึงเครียด
และส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งกระบวนการพูดคุยในลักษณะกลุ่มโดยผ่านคนกลางผู้เป็นแม่งาน
หรือคอยช่วยอานวยการเช่นนี้จะทาให้กลุ่มที่มีความขัดแย้งเกิดการลดอคติ และสามารถสร้างความเข้าใจ
อันดีต่อกันได้ นอกจากนี้การสานเสวนายังเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย และยังสามารถช่วยเยียวยาบาดแผลในจิตใจของผู้เข้าร่วมการสานเสวนาด้วย เพราะเมื่อผู้เข้าร่วม
การสานเสวนาได้มีโอกาสพูดหรือบอกเล่าความรู้สึกที่มีในใจ ก็เปรียบเสมือนได้แบ่ง ปันและแลกเปลี่ยน
มุมมอง ทัศนคติ ความรู้สึก ในใจของตนเองเพื่อเป็นการระบายความไม่สบายอกไม่สบายใจให้กับคนอื่นได้
รับรู้ โดยมีผู้เข้าร่วมสานเสวนาคอยรับฟัง และแนะนาด้วยความเห็นอกเห็นใจ เป็นต้น
7. การไต่สวน (inquiry) เป็นปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสภาวการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศเป็น
สาคัญ การปฏิบั ติการโดยใช้การไต่สวนนี้ จากการประชุมสันติภ าพ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
เมื่อ ค.ศ. 1899 ซึ่งมีเนื้อหาสาระในการประชุมครั้งนี้ในประเด็นของแนวทางการไต่สวนว่า หากประเทศที่
เป็ น คู่ขัดแย้งอยู่ในสภาวการณ์ ที่ขัดแย้งกัน อย่างรุนแรงจนไม่ส ามารถใช้วิธีทางการทูตในการยุติความ
ขัดแย้งนั้นได้ หน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการไต่สวน เพื่อช่วยในการศึกษา
วิเคราะห์ปัญหาและอานวยความสะดวกต่าง ๆ อีกทั้งมีหน้าที่ดาเนินการสืบค้นข้อมูลเพื่อนามาไต่สวนหา
ข้อเท็จด้วยความบริสุทธิ์โปร่งใส โดยคณะกรรมาธิการไต่สวนนั้นต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหา
มี ค วามรอบรู้ ในศาสตร์ ด้ า นต่ า ง ๆ เช่ น ความรู้ ด้ า นกฎหมาย ประวั ติ ศ าสตร์ และวั ฒ นธรรม โดย
การปฏิบัติการต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการไต่สวน ต้องได้รับความเห็น ชอบจากประเทศคู่ขัดแย้งอย่าง
น้อยหนึ่งประเทศในดินแดนที่จะมีการไต่สวน
8. ไม่ให้ความร่วมมือ (non-cooperation) เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นตอบโต้การกระทาต่าง ๆ ของรัฐ
โดยประชาชนอย่างสันติ กล่าวคือ การปฏิเสธในการมีส่วนร่วม เป็นลักษณะการปฏิบัติตนที่มีเจตจานงที่
จะระงับ หรื อยั บ ยั้ งการมี ส่ ว นร่ ว มที่ ม อบให้ แก่ บุ ค คล หน่ ว ยงาน องค์ ก ร หรือ การใช้ อานาจของรั ฐ
เพื่อเป็ นการแสดงออกให้ คู่ขัดแย้งอย่างเช่นรัฐ เห็นว่าแท้จริงแล้วอานาจในการปกครองล้วนมีที่มาจาก
การยอมรับ และสนั บ สนุ น ของประชาชน และเมื่อใดก็ตามที่ประชาชนต่างพร้อมใจกันเพิกถอนความ
ยินยอมนั้น บุคคล หน่วยงาน องค์กร หรือรัฐบาลที่ใช้อานาจรัฐ ก็ไม่อาจดาเนิน การใช้อานาจนั้นต่อไปได้
ซึง่ วิธีการไม่ให้ความร่วมมือสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
8.1 ปฏิเสธความร่วมมือด้านสังคม อาทิ การประท้วงหยุดเรียนของนักเรียนนักศึกษา
8.2 ปฏิเสธความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ อาทิ การคว่าบาตรทางเศรษฐกิจ
8.3 ปฏิเสธความร่วมมือทางการเมือง อาทิ การปฏิเสธในการลงประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ
9. อารยะขัดขืน (civil disobedience) เป็นปฏิบัติการทางสันติวิธีในลักษณะการปฏิเสธอย่าง
สั น ติ ซึ่งแนวคิดนี้ เป็ น แนวคิดที่พั ฒ นามาจากหลั กการเรื่อง“อหิ งสา” ของมหาตามะ คานธี กล่ าวคื อ
80
อารยะขัดขืน ปฏิบัติการที่ปฏิเสธการบั งคับ ใช้อานาจโดยรัฐ เป็นวิธีการหนึ่งในการจากัดอานาจรัฐโดย
ประชาชนด้วยวิธีการอย่างผู้ที่เจริญ ขยายความได้ว่าเป็นวิธีการที่ทาไปโดยเปิดเผย ไม่ใช้ความรุนแรง และ
ที่สาคัญคือต้องยอมรับผลการกระทานั้นตามกฎหมาย ผู้ใช้สันติวิธีแนวนี้หวังผลให้เกิดความเป็นธรรมขึ้น
ในภาคสังคมและการเมือง สังเกตว่า “อารยะขัดขืน” เป็นการใช้สันติวิธีในลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกัน
กับวิธีการ “ไม่ให้ความร่วมมือ” กล่าวคือ การไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายหรือนโยบาย
ของรั ฐบาล โดยต้องการให้ สั งคมเห็ น ว่ามีความอยุติธ รรมอัน เกิดจากกฎหมายหรือนโยบายนั้ น ๆ ซึ่ง
ลักษณะเด่นของ “อารยะขัดขืน” ที่แตกต่างจากการไม่ให้ความร่วมมือก็คือการมุ่งเน้นละเมิดกฎหมายโดย
ผู้ละเมิดจะยอมรับผลของการละเมิดกฎหมายนั้น
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งแนวทางที่ถือว่าเป็นแนวทางเดียวกับหลักปฏิบัติแบบสันติวิธี และถือเป็น
แนวทางที่ถูกหยิบ ยกมากล่ าวอ้างเสมอเมื่อเกิดการชุมนุมประท้ว งทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่
พ.ศ. 2547 เป็ น ต้น มา คือ แนวทางสัน ติวิธีแบบอหิงสา (Ahimsa) ซึ่งอหิ งสา หมายถึง การไม่ใช้ความ
รุ น แรง ไม่ เพี ย งแค่ ก ารฆ่ า สั ต ว์ ตั ด ชี วิ ต เท่ า นั้ น หากแต่ ต้ อ งใคร่ ค รวญในการปฏิ บั ติ เฉพาะกรณี ๆ
ไป คานธี ได้ขยายความเกี่ยวกับแนวทางแบบอหิงสาว่าคือหนทางที่จะไปสู่พระเจ้าหรือสัจจะ ซึ่ งถ้าสังคม
มนุษย์ไม่ยึดในแนวทางอหิงสามนุษย์จะทาร้ายและเบียดเบียนกันเอง หลักการสาคัญ ของแนวคิดอหิงสา
คือ การสร้างความเสมอภาคเป็น ธรรมให้กับทุกสรรพชีวิตบนโลก บุคคลที่ปฏิบัติการตามแนวคิดหรือ
หลักการอหิงสาจะต้องมีจิตใจที่เข็มแข็งและมีความรักต่อทุกสรรพสิ่ง เช่น แสดงออกถึงความรักอันบริสุทธิ์
ต่อบุคคลที่เป็นศัตรูกับเราอันเป็นเรื่องยากที่จะทาได้ หรือต้องศึกษาและทาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ
การมีชีวิตและความตาย กล่าวคือ บุคคลที่ปฏิบัติการตามหลักการอหิงสาต้องมีความเสียสละเป็นที่ตั้งไม่
หวั่น เกรงหากต้องสูญ เสีย ในสิ่ งที่ ตนเองรักและหวงแหน คานธีอธิบายว่าสิ่ งที่มนุษย์ควรหวั่นกลัวที่สุ ด
คือ พระเจ้า และหลักการอหิงสาถือเป็นคุณ ธรรมขั้นสูง ที่ขับเคลื่อนพัฒ นาการทางประวัติศาสตร์ของ
มนุษย์ ทาให้มนุษย์ยังคงสามารถดารงเผ่าพันธุ์มาได้ (ชาตรี ชุมเสน, 2556, หน้า 19)
แม้สันติวิธีจะเป็นแนวทางการขจัดความขัดแย้งและความรุนแรงที่ได้รับการยอมรับในสังคมโลก
แต่ ก ระนั้ น ยี น ชาร์ ป กลั บ กล่ า วว่ า สั น ติ วิ ธี ไม่ ใช่ ย าวิ เศษที่ ใช้ แ ล้ ว จะประสบความส าเร็ จ ทุ ก ครั้ ง ไป
ดังนั้น จึงนับเป็นความท้าทายของผู้ที่ยึดถือแนวทางนี้ในการขจัดปัญหาความขัด แย้งและความรุนแรงที่
ต้องมีความกล้าหาญ เสี ยสละ และอดทนยิ่ง เพื่อให้ สุดท้ายแนวทางสันติวิธีบรรลุ ผลตามเป้าหมายได้
(จันจิรา สมบัติพูนศิริ, 2561)

ภาพที่ 4.5 อหิงสา


ที่มา: ยุทธนา ภาระนันท์, 2552
81

คุณค่าและความสาคัญของสันติวิธี
เพราะเหตุ ไรจึ ง ต้ อ งใช้ สั น ติ วิ ธี เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการจั ด การความขั ด แย้ ง และความรุ น แรง
จากคาถามข้างต้น จึงต้องมีการตั้งคาถามกลับไปว่า มีวิธีการหรือเครื่องมือจัดการปัญหาอื่น ๆ อีกหรือไม่ที่
ดีกว่า หรือสมบูรณ์กว่าแนวทางสันติวิธี ซึ่งเป็นวิธีการที่ทาให้ทุกคนสามารถพบทางออก และยอมรับกับ
ท างออกของปั ญ ห าด้ ว ยกั น ได้ ทุ กฝ่ า ย โดยไม่ มี ฝ่ า ยใดฝ่ า ยห นึ่ ง ถู ก ละเลยห รื อ ถู ก ท อดทิ้ ง
ในเมื่ อสั งคมโลกในยุ ค ปั จ จุ บั น เห็ น พ้ อ งต้ อ งกัน ว่าสั น ติ วิ ธีน่ าจะเป็ น วิธีก ารหรือ แนวทางหนึ่ งที่ ดี ที่ สุ ด
(best alternative) ในการแสวงหาความยุติธรรมที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน จึงนาไปสู่ประเด็นของการตอบ
คาถามที่ว่าทาไมจึงต้องใช้สันติวิธี อนึ่ง เมื่อวิเคราะห์จากปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้านแล้ว เราสามารถพบ
คาตอบในเบื้องต้น ดังนี้ (พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร), 2554, หน้า 203-207)
1. สันติวิธีเป็นวิธีที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม เพราะสนัติวิธีเน้นการอยู่ร่วมกันด้วยศีลธรรมพื้นฐาน
เช่น ความเมตตา ความเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การไม่เบียดเบียนทั้ง กาย วาจา และใจ
2. สันติวิธีเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ สันติวิธีเป็นวิธีการที่เน้นการเรียนรู้
จากความผิ ดพลาด แบ่ งปั น ความสุ ข และความทุ กข์ระหว่างเพื่ อนมนุษ ย์ ด้วยการเข้าใจความจริงที่ว่า
“เรารักความสุข เกลียดความทุกข์ฉันใด คนอื่นก็รักสุความสุขและกลัวความทุกข์เช่นเดียวกัน”
3. สันติวิธีสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย กล่าวคือ สันติวิธีและประชาธิปไตยต่างส่งเสริม
การใช้ ก ารแก้ ไขปั ญ หาความขั ด แย้ งโดยปราศจากความรุน แรง มุ่งส่ งเสริม การมี ส่ ว นร่ว มของบุ ค คล
กลุ่มต่าง ๆ ในสังคม กระบวนการประชาธิปไตยนาไปสู่การสร้างสัมพันธภาพอันดีในทุกระดับของสังคม
มนุษย์ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
4. ความเป็นเลิศของสันติวิธี สันติวิธีเป็นวิธีเดียวที่ พยายามปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางร่างกาย วาจา และจิตใจ สันติวิธี ยกย่องและให้เกียรติในความเป็นเลิศของ
มนุษย์ที่มักเรียนรู้ ปรับปรุง และพัฒนาตัวเองจากความผิดพลาดอยู่เสมอ
5. สันติวิธีเป็นวิธีการทีน่ ามาซึ่งการสูญเสียน้อยที่สุด ผิดกับการใช้ความรุนแรงที่ผู้ใช้มักอ้างว่าเป็น
วิธีการสุ ดท้ายที่ส ามารถบรรลุ เป้ าหมายได้ในระยะเวลาอัน สั้น และเป็นรูปธรรม แต่ แท้จริงแล้ วการใช้
ความรุนแรงย่อมทาให้ความขัดแย้งดารงอยู่แต่ถูกกดทับหรือซ่อนเอาไว้เพื่อรอวันปะทุเท่านั้น

บทสรุป
การที่ มี ค วามขั ด แย้ ง เกิ ด ขึ้ น ในระดั บ ใดหรื อ พื้ น ที่ ใ ดก็ ต าม หากต้ อ งใช้ ค วามพยายามใน
การแก้ปัญหาดังกล่าแนวทางสันติวิธีจึงเป็นคาตอบที่ดีที่สุดเสมอ การใช้แนวทางสันติวิธีซึ่งก็คือการต่อสู้
โดยไม่ใช้ความรุนแรง แนวทางสันติวิธีไม่ทาให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต กล่าวได้ว่าแนวทาง
สันติวิธีย่อมนาไปสู่สันติสันติภาพ ยิ่งเมื่อมองจากมุมมองของผู้นาแนวทางสันติวิธีไปใช้เท่ากับว่าสันติวิธี
เป็นทั้งการเดินทางและเป็นเป้าหมายในตัว ของมันเอง หมายความว่าทุกครั้งที่มีการใช้ แนวทางสันติวิธี
สันติภาพย่อมได้บังเกิดขึ้นแล้วในขณะที่ใช้นั่นเอง ซึ่งสันติภาพที่เกิดขึ้นทุกขณะที่ใช้แนวทางสันติวิธีนี้เมื่อมี
ผู้ใช้มากเข้าก็จะทาให้ความขัดแย้งและความรุนแรงในเรื่องต่าง ๆ คลี่คลายลงไปกลายเป็นความสาเร็จที่
ขยายขึ้นผู้ใช้แนวทางสันติวิธีจะต้องเป็นผู้มีกาลังใจในการที่จะใช้แนวทางสันติวิธีอย่างไม่ย่อท้อและมีความ
อดทน เพราะความขัดแย้ งและความรุน แรงได้บ างเรื่องต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการแก้ไข ดังนั้ น
82
ความสาเร็จ ในเรื่องการใช้ แนวทางสั นติวิธีแก้ไขปัญ หาความขัดแย้งและความรุนแรงต่าง ๆ จึงอาจไม่
สามารถประจักษ์ แก่ผู้ใช้ได้ในระยะเวลาอัน สั้น แต่เมื่อแนวทางสันติวิธีถูกนามาใช้สันติวิธีก็เกิดขึ้นแล้ว
โดยเฉพาะผู้ใช้ได้ประจักษ์แก่ใจของตนเอง

คาถามท้ายบท
จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงบอกสาเหตุของความขัดแย้งมาพอสังเขป
2. จงบอกลักษณะของความรุนแรงมาพอสังเขป
3. จงนิยามความหมายของสันติวิธีตามความเข้าใจของนักศึกษา
4. จงยกตั ว อย่ า งการใช้ แ นวทางสั น ติ วิ ธี เพื่ อ แก้ ไขปั ญ หาความขั ด แย้ ง และความรุ น แรงใน
ชีวิตประจาวันของนักศึกษา
5. จงบอกประโยชน์และความสาคัญของสันติวิธีที่มีต่อตัวนักศึกษาและสังคม
83

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 5
สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
หัวข้อเนื้อหา
1. ความหมายของสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ความสาคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
3. สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย
4. คุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย
5. สิทธิและอานาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
6. พระราชกรณียของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
7. หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
8. แนวทางการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนบทเรียนนี้แล้วสามารถ
1. บอกความหมายและความสาคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้
2. บอกคุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทยได้
3. นาหลักการทรงงาน 23 ข้อ ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตตนเองได้อย่างเหมาสม
4. มีส่วนร่วมในการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ตามโอกาสที่เหมาะสม

วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. วิธีสอน
1.1 บรรยาย
1.2 อภิปราย
1.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรม
1.4 เรียนรู้ด้วยตนเอง

2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 ผู้เรียนศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตารา ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสรุปด้วย
ตนเองก่อนเรียน
84
2.2 บรรยายและอภิปรายโดยใช้สื่อการเรียน คือ เอกสารประกอบการสอนประจาวิชาและ
PowerPoint
2.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรมส่งเสริมและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ภายในมหาวิทยาลัย
2.4 ผู้สอนบรรยายสรุปเนื้อหา จากนั้นให้ผู้เรียนทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. PowerPoint
3. แบบฝึกหัด
4. วีดีโอใน YouTube

การวัดและการประเมินผล
1. สังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
2. การทากิจกรรม
3. การทาแบบฝึกหัดท้ายบท
85

บทที่ 5
สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
สถาบั น พระมหากษัตริย์เป็ น หนึ่งในสามของสถาบันหลัก ที่ดารงอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน
พระมหากษัตริย์ตั้งแต่โบราณกาลล้วนมีพระราชประสงค์ที่จะปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้ร่มเย็นเป็น
สุ ข โดยเฉพาะพระมหากษั ตริ ย์ ในสมัย กรุงรัตนโกสิ น ทร์ทั้ ง 10 รัช กาล ต่ างทรงมุ่ งมั่ นที่ จะท านุ บ ารุง
บ้ า นเมื อ งให้ เจริ ญ รุ่ งเรื อ งก้ า วหน้ าเท่ าทั น การเปลี่ ย นแปลงของโลกมาโดยตลอด แม้ ภ ายหลั ง มี ก าร
เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองใน พ.ศ. 2475 ที่ส่งผลให้พระมหากษัตริย์มิได้ทรงเป็นผู้ปกครองประเทศ
โดยตรงอีกต่อไป แต่กระนั้น ก็ทรงสร้างคุณูปการให้ กับสังคมไทยอย่างอเนกอนันต์ เป็นที่กระจ่างชัดต่อ
สายตาประชาชนทั้งในประเทศและนอกประเทศ พระมหากษัตริย์ในสังคมไทยทรงมีฐานะเป็นประมุขแห่ง
รัฐ ทรงดารงตนโดยยึดหลักคุณธรรมและศีลธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง ทรงทาหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
และเป็น ที่ยึ ดเหนี่ ยวจิตใจอัน ส าคัญ ยิ่งเพื่อนาพาประเทศผ่านพ้น วิกฤตการณ์ ต่าง ๆ ที่ร้ายแรงได้อย่าง
เหมาะสม อาจกล่าวได้ว่าพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ของปวงชนชาวไทยทุก ๆ พระองค์
ทรงรั บ ภาระที่ จ ะมี ห น้ า ที่ บ าบั ด ทุ ก ข์ บ ารุ ง สุ ข แก่ ป ระชาชนเพื่ อ ให้ ป ระเทศมี ค วามสงบร่ ม เย็ น
เช่นที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภู มิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทยราษฎรชาวไทยมาโดยตลอดกว่า 70 ปี อย่างไม่ทรงเห็น
แก่ความเหน็ดเหนื่อย

ภาพที่ 5.1 พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี


ที่มา: โรม บุนนาค, 2562
86

ความหมายของสถาบันพระมหากษัตริย์
คาว่า “กษัตริย์” ในภาษาสันสกฤต หมายถึง “ผู้ป้องกันหรือนักรบ” ซึ่งก็สอดคล้องกับบทบาท
หน้าที่ของวรรณะกษัตริย์ในระบบวรรณะของสังคมอินเดีย นอกจากนี้ยังมีคาที่สื่อถึงองค์พระมหากษัตริย์
อีกหลากหลายคาพอจะยกตัวอย่างได้ ดังนี้ (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 78)
1. พระราชา หรือ ราชัน หมายถึง ผู้เป็นหัวหน้าเผ่า เป็นนักปกครอง
2. จักรพรรดิราช หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่เหนือมวลมหากษัตริย์ทั้งหลายในสากลจักรวาล ซึ่งปรัมปรา
คติในศาสนาพุ ทธยั งได้อ้างไว้อีกด้ว ยว่า พระชาติสุ ดท้ ายของผู้ ที่ สั่ งสมบุ ญ ญาธิการมามากพอส าหรับ
การบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จะสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นพระบรมศาสดาเอกของโลกผู้เป็นเลิศในทาง
ธรรมหรือพระจักรพรรดิราชผู้เป็นใหญ่ในทางโลก
3. ธรรมราชา หมายถึง ผู้รักษาและปฏิบัติธรรมทั้งเป็นต้นเหตุแห่งความยุติธรรมทั้งปวง อันได้รับ
อิทธิพลมาจากศาสนาพุทธจากอินเดียและลังกา
4. พระเจ้ า อยู่ หั ว หมายถึ ง ค าเรี ย กถื อ บุ ค คลที่ ผู้ เรีย กแสดงความเคารพเทิ ด ทู น อย่ างสู งสุ ด
และเป็นยอดของมงคลทั้งปวง พระเจ้าอยู่หัวหรือพระพุทธเจ้าอยู่หัวหมายถึงการยอมรับพระราชสถานะ
ของพระบุคคลผู้นั้นว่าทรงเป็นองค์พระพุทธเจ้า
5. พระเจ้ าแผ่ น ดิน หมายถึง ผู้ ป กครองที่ เป็ น เจ้าของแผ่ น ดิ น คื อผู้ น าที่ มีสิ ท ธิ์ขาดในกิจการ
ของแผ่นดินและสามารถพระราชทานที่ดินให้ แก่ผู้ใดผู้ห นึ่งได้ แต่ในสังคมไทยพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็น
เจ้ าของแผ่ น ดิน ผู้ ท รงบ ารุ งรัก ษาแผ่ น ดิน ให้ มี ความอุดมสมบู รณ์ เพื่ อ ให้ ป ระชาชนสามารถใช้ที่ ดิน ใน
พระราชอาณาเขตของพระองค์ให้เกิดประโยชน์
ในขณะที่หากดูเฉพาะในสังคมไทยนั้น เราก็มีคาเรียกที่สื่อถึงองค์พระมหากษัตริย์เป็นการเฉพาะ
อี ก หลายค า เช่ น ค าว่ า “ในหลวง” “พ่ อ หลวง” “พ่ อ ของแผ่ น ดิ น ” ซึ่ งโดยรวมนั้ น มี ค วามหมายว่ า
คือ ผู้ปกครองที่เปรียบเสมือนพ่ออยู่เหนือเกล้าเหนือชีวิต
กล่าวโดยสรุป สถาบันพระมหากษัตริย์จึงหมายถึงสถาบันที่อยู่สูงสุด องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งถือ
เป็นจุดศูนย์กลางของสถาบันนี้ เป็นพระประมุขของชาติ ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความจงรักภักดี ทรงเป็นที่
ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน เป็นที่เคารพรัก เทิดทูนอย่างสูงยิ่งของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ

ความสาคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
ตั้งแต่ ก ารเปลี่ ย นแปลงการปกครองใน พ.ศ 2475 สถาบั น พระมหากษั ต ริย์ ” ก็ เป็ น 1 ใน 3
สถาบั น หลั ก ส าคั ญ ของประเทศไทยมาโดยตลอด โดยมี บ ทบาทมี คุ ณู ป การน าพาคนไทยสร้ า งชาติ
รักษาเอกราช วัฒนธรรม และความเป็นไทยให้คงอยู่ ท่ามกลางการรุกคืบขยายอิทธิพลทางความคิดของ
ชาติตะวันตก ทั้งด้านการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันได้นาพาประเทศให้พัฒนาเติบโต
ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกแทรกซึมไปทั่ว ซึ่งไทยเป็นหนึ่งใน
ไม่กี่ป ระเทศที่ ยั งปกครองด้ว ยระบอบประชาธิปไตยอันมีพ ระมหากษั ตริย์ท รงเป็ นประมุข และรักษา
เอกลั กษณ์ ความเป็ น ชาติไว้ได้อย่ างน่ าภาคภูมิใจ ในปัจจุบันที่ ความเปลี่ ยนแปลงเกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว
และรุ น แรงผ่ านเทคโนโลยี หลายคนมองว่ าสถาบั น พระมหากษั ต ริย์ ได้ กลายเป็ น คู่ ขัด แย้ งของความ
87

เปลี่ ย นแปลงนั้ น แต่ ห ากมองอย่ างเป็ น ธรรมเราไม่ ส ามารถตั ด ขาดสถาบั น หลั ก ของชาติ อย่ างเช่ น
สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ อ อกจากการเป็ น องคาพยพของการการเปลี่ ย นแปลงของประเทศได้
ประเทศไทยจะพัฒนาไปได้ต้องอาศัยพลังของสถาบันหลักที่เรามีมาดั้งเดิมใช้เป็ นแรงหนุนในการพัฒนา
ประเทศต่อไป อีกทั้ง ต้องการย้าเตือนคนยุคใหม่อย่าดูแคลนสิ่งที่มีมาแต่อดีต ของเก่าหรือสถาบันดั้งเดิม
ไม่ ใช่ ข องล้ า ส มั ย และของให ม่ ห รื อ สถาบั น ให ม่ ไม่ ใช่ เ ป็ น สิ่ งน าสมั ยและใช้ ไ ด้ ดี เ สม อไป
(อเนก เหล่าธรรมทัศน์, 2564)
ความสาคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ การเป็นแกนกลางในการแห่งความมั่นคงของสังคม
ควบคู่ไปกับสถาบันชาติ และสถาบันศาสนา ซึ่งความสาคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ปรากฏเป็นแถบสี
น้ าเงิน ซึ่งมีป ริมาณที่ใหญ่ ที่ สุ ดอยู่ ตรงกลางธงไตรรงค์อันเป็ นธงประจาชาติของประเทศไทย มาตั้งแต่
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงริเริ่มให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติ
ไทยตั้ ง แต่ พ.ศ. 2460 เป็ น ต้ น มามาจนถึ ง ปั จ จุ บั น โดยพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว
ได้ทรงพระราชนิพนธ์ความหมายของธงไตรรงค์ไว้ดังนี้ แดง คือ โลหิตเราไซร์ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติ
ศาสนา (แดงหมายถึงสถาบันชาติ) ขาว คือ บริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายถึงพระไตรรัตน์ และธรรมคุ้มจิตใจ
(ขาวหมายถึงสถาบันศาสนา) น้าเงิน คือ สิโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นส่วนพระองค์ (น้าเงินหมายถึง
สถาบันพระมหากษัตริย์) สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และ สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นอันหนึ่งอัน
เดี ย วกั น ไม่ อ าจแยกจากกั น ได้ ตามค ากล่ า วที่ ว่ า “พระมหากษั ต ริ ย์ คู่ ช าติ พุ ท ศาสน์ คู่ ไ ทย ”
(วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562, หน้า 78)

รูปที่ 5.2 สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นแกนกลางของสังคมไทย

สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์มีประวัติความเป็นมายาวนานควบคู่กับสังคมไทย ในระยะเวลาที่ผ่านมา
สถาบั น พระมหากษัตริย์ ได้มีการปรับ เปลี่ ยนหรือพัฒ นาแนวคิดและสถานะและความสั มพันธ์ระหว่าง
ตนเองกับราษฎรมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องไม่แปลกแยกกับบริบทของสังคมในแต่ละ
88

ยุคสมัย โดยพอจะกล่าวถึงสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยได้ ดังนี้ (วิไลเลขา ถาวรธนสาร


และคณะ, 2536, หน้า 50-57)

1. บิดาของราษฎร (Patriarchal Monarchy)


นักวิชาการเชื่อว่าลักษณะหรือสถานะความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นลักษณะความสัมพันธ์ของคนไทย
มาตั้งแต่เดิม พระมหากษัตริย์ของสุโขทัยทรงมีสถานะเป็นบิดาของครอบครัวใหญ่ หรือที่เราเรียกลักษณะ
ความสั ม พั น ธ์เช่ น นี้ ว่า “บิ ดาปกครองบุ ต ร” โดยถือ ว่าพระมหากษั ตริย์เป็ น พ่ อที่ ให้ สิ ท ธิ แ ละเสรีภ าพ
และมีความใกล้ชิดกับประชาชน มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ประชาชน
ส่วนประชาชนในฐานะที่เป็นบุตร มีหน้าที่ให้ความเคารพและเชื่อฟังพ่อขุน ความสัมพันธ์ภายใต้ลักษณะ
แบบบิ ด ากั บ บุ ต รท าให้ พ ระมหากษั ต ริ ย์ กั บ ประชาชนมี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ใกล้ ชิ ด ระหว่ างกั น กล่ าวคื อ
ประชาชนมี สิ ท ธิถ วายฎี กา หรื อร้ อ งทุ ก ข์โดยตรงต่อ พระมหากษั ต ริย์ เช่ น ในสมั ยพ่ อขุ น รามค าแหง
ได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าประชาชนต้องการถวายฎีกาก็จะไปสั่นกระดิ่ง พระองค์ก็จะเสด็จออกมา
ทรงชาระความให้ นอกจากนี้ พระมหากษั ตริย์ มีห น้าที่ส าคัญ อีกประการหนึ่ง คือ ต้องสนับสนุนบารุง
ประชาชนในทางเศรษฐกิจ และอบรมสั่งสอนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ประดุจดังพ่อที่คอยดูแลส่งเสริมลูก

2. กษัตริย์ผู้ทรงธรรม (King or Righteousness)


กษัตริย์ผู้ทรงธรรมหรือธรรมราชานี้ เชื่อว่าบุคคลที่เป็นกษัตริย์ต้อ งมีธรรมมะสูงส่ง น่าเกรง
ขามและน่าเลื่อมใสกว่าบุคคลทั่วไป เพราะได้รับฉันทามติจากชุมชนให้ทาหน้าที่ ปกป้อง คุ้มครอง ตัดสิน
คดี ได้โดยชอบธรรม ดังนั้น สถานะของการเป็นพระมหากษัตริย์ตามแนวคิดนี้จึงไม่ได้มาจากชาติกาเนิด
แต่ ต้ อ งเป็ น บุ ค คลที่ ยึ ด มั่ น ในหลั กศี ล ธรรมทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุ ท ธ ความสั ม พั น ธ์ระหว่า ง
พระมหากษัตริย์กับราษฎรจึงอยู่ในรูปแบบของพันธสัญญา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์จะทาหน้าที่ปกป้อง
คุ้มครองประชาชน และประชาชนจะตอบแทนโดยให้ผลประโยชน์แก่พระมหากษัตริย์นั้น เห็นได้ว่าเป็น
ความสัมพันธ์ทางหน้าที่มากกว่าการยอมรับในบุ ญญาธิการ โดยหลักธรรมทางศาสนาที่พระมหากษัตริย์
จะต้องยึดถือคือทศพิธราชธรรม 10 ประการ ราชจรรยานุวัตร 4 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
จากแนวคิ ด ของกษั ต ริ ย์ แ บบธรรมราชานี้ เชื่ อ ว่าถ้ าพระหมากษั ต ริย์ พ ระองค์ ใดสามารถปฏิ บั ติ ต าม
หลักเกณฑ์และหน้าที่สาคัญดังกล่าวข้างต้นได้ครบถ้วน พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นจะได้รับการยกย่องให้
เป็นจักรพรรดิราช หรือจักรวาทิน (กษัตริย์แห่งจักรวาล universal sovereign) ที่แผ่อานาจและบารมี
ไพศาลไปทั่วทุกทิศด้วยธรรม
89

ภาพที่ 5.3 จักรพรรดิราช


ที่มา: ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, 2563

3. กษัตริย์ผู้เป็นเทวราช (Divine King, Deva Raja)


สถานะของพระมหากษั ต ริ ย์ ในลั ก ษณะนี้ ได้ รับ อิ ท ธิพ ลจากศาสนาพราหมณ์ ข องอิ น เดี ย
ซึ่ ง แพร่ ห ลายเข้ า มาในดิ น แดนต่ า ง ๆ ของเอเชี ย ตอนออกเฉี ย งใต้ ม าตั้ ง แต่ ร าวพุ ท ธศตวรรษที่ 10
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าไทยได้รับแนวคิดดังกล่าวนี้มาจากเขมรและมอญ แนวคิดแบบเทวราชาเชื่อว่า
สถานะของพระมหากษัตริย์เป็นการอวตาร (incarnation of god) ลงมาของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์
เช่น พระศิว ะ และพระนารายณ์ หรื อได้กับ การเลื่ อนฐานะขึ้น ไปเป็น ภาคหนึ่งของเทพเจ้าทั้ ง 2 องค์
มิ ใช่ เป็ น มนุ ษ ย์ ธ รรมดาอี ก ต่ อ ไป ในสถานะนี้ พ ระมหากษั ต ริ ย์ จึ งได้ มี ส ถานะสู งส่ งกว่ าสถานะอื่ น ๆ
ในสั งคมไทยที่ นั บ ถื อศาสนาพุ ท ธได้ มี การน าเอาแนวคิ ดของศาสนาพุ ท ธเข้ ามาผสมผสานกับ แนวคิ ด
เทวราชาด้วย โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
ดังนั้น สถานะของพระมหากษัตริย์จึงเปรียบประดุจเทพเจ้า บรรดาข้าราชการและราษฎร
ต่าง ๆ จึงต้องปฏิบัติต่อพระองค์เช่นเดียวกับที่พระองค์เป็นเทพพระเจ้า ดังเช่น พระราชวังที่ประทับของ
พระมหากษั ต ริ ย์ จ ะเป็ น สถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ จ ะละเมิ ด มิ ได้ ราษฎรสามั ญ ชนจะมองดู พ ระพั ก ตร์ ข อง
พระมหากษัตริย์มิได้ ภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ตลอดจนผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ต้องเป็นภาษาพิเศษ
ที่ใช้กับเทพเจ้าซึ่งเรียกกันว่าราชาศัพท์ พระราชโองการของพระมหากษัตริย์จะมีอานาจประดุจโองการ
ของเทพเจ้าที่มนุษย์จะขัดขืนมิได้ นอกจากนี้ยังมีพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ซึ่งถือว่า
เป็ น พิ ธี ที่ ศัก ดิ์ สิ ท ธิ์ มี ค วามสลั บ ซับ ซ้ อ น เช่น พระราชพิ ธีบ รมราชาภิ เษก และพระราชพิ ธีถวายน้ าฯ
ในขณะที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ เองก็ พ ยามสร้ า งบรรยากาศอั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ ห้ เกิ ด ขึ้ นแวดล้ อ มพระองค์
เพื่อให้ราษฎรมีความเกรงกลัวว่าดุจเดียวกับที่เกรงกลัวต่อเทพเจ้า สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้พระราชอานาจที่มี
90

ต่ อ ราษฎรเพิ่ ม พู น มากขึ้ น และสามารถปกครองราษฎรได้ อ ย่ า งเด็ ด ขาด ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง


พระมหากษั ต ริ ย์ กั บ ราษฎรในสถานะนี้ จึ ง ห่ า งเหิ น กั น เป็ นความสั ม พั น ธ์ แ บบเทพเจ้ า กั บ มนุ ษ ย์
หรือนายกับบ่าว

ภาพที่ 5.4 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก


ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 2562

คุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยทรงอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ในประวัติศาสตร์สถาบัน พระมหากษัตริย์ทาสิ่งที่เป็นคุณู ปการอย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติ
และสั งคม ทั้ งในฐานะที่ ก่ อ ให้ เกิ ด การสร้ า งชาติ การท านุ บ ารุ ง รั ก ษาและพั ฒ นาชาติ การส่ ง เสริ ม
ศิลปวัฒนธรรมระบบสาธารณสุข และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยพอจะกล่าวคุณูปการด้านต่าง ๆ ของสถาบัน
พระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทยได้ ดังนี้
1. สถาบั น พระมหากษัตริย์ทรงเป็ นศูนย์รวมจิตใจของราษฎร พระมหากษัตริย์ทรงทาให้ เกิด
ความส านึ ก เป็ น อั น หนึ่ งอั น เดี่ ย วกั น แม้ ว่าสถาบั น การเมื อ งการปกครองจะแยก นิ ติ บั ญ ญั ติ บริห าร
และตุลาการ ออกจากกันเพื่อถ่วงดุลอานาจ แต่อานาจนั้นก็อยู่ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
ทาให้ทุกสถาบันมีจุดรวมกัน นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ยังทาให้เกิดความสานึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ระหว่างหมู่ชนภายในชาติ โดยที่ต่างเคารพสักการะและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริ ย์รวมกัน แม้จะมี
ความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ทาให้เกิดความเป็นปึกแผ่น และเป็นพลังที่สาคัญยิ่งของ
ชาติ กล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติเป็นศูนย์รวมจิตใจ ก่อให้เกิดความสมานสามัคคี
และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ เกิดเอกภาพทั้งในทางการเมืองการปกครองในหมู่ประชาชน
นอกจากนี้ ส มาชิ ก ของราชวงศ์ ทุ ก ๆ พระองค์ ยั ง ทรงแสดงออกอย่ า งชั ด เจนถึ ง ความรั ก
ความห่ ว งใยที่ พ ระองค์มี ต่ อราษฎรทุ ก หมู่ เหล่ า ทรงโปรดให้ เข้ าเฝ้ าเนื่ องในวโรกาสต่าง ๆ ท าให้ เกิ ด
ความผูกพัน ใกล้ชิดระหว่างสถาบั น พระมหากษัตริย์กับราษฎร ท าให้ ทรงทราบถึงสุขทุกข์ของราษฎร
สมาชิกของราชวงศ์ทุก ๆ พระองค์ทรงเสด็จพระราชดาเนินไปทุกหนแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกันดารหรือ
91

พื้นที่อันตราย เพื่อพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้กับราษฎร จากที่กล่าวมาย่อมแสดงให้เห็นว่า


สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทยอย่างมั่นคงมาโดยตลอด
2. สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสืบเนื่องของสังคม องค์พระมหากษัตริย์
ทรงท าหน้ าที่เป็ น ประมุ ขของสั งคมไทยสื บเนื่องต่อกันมาโดยไม่ขาดสายตลอดระยะเวลาตามโบราณ
ราชประเพณี หากนับตั้งแต่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาไม่เคยมีช่วงเวลาใดที่ดินแดนไทยปราศจากซึ่งการมี
องค์พ ระมหากษั ตริ ย์ เป็ น ผู้ ป กครอง กระนั้ น แม้ภ ายหลั งการเปลี่ ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ 2475
แล้วก็ตามปรากฎว่าถึงรัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงไปกี่ชุดกี่สมัยก็ตาม แต่องค์พระมหากษัตริย์ยังคงอยู่คู่กับ
สั งคมไทยมาโดยตลอด ซึ่ งการด ารงอยู่อ ย่ างมั่ น คงของสถาบั น พระมหากษั ต ริย์ช่ ว ยให้ ก ารปกครอง
มีความราบรื่นปราศจากความสับสนวุ่นวาย
3. สถาบันมหากษัตริย์เป็นอัครศาสนูปถัมภก พระองค์ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนใน
ชาติซึ่งมีศาสนาที่แตกต่างกัน ในแต่ละพื้นที่มาโดยตลอด ปรากฎหลั กฐานอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยปลาย
อยุธยาเป็นต้นมาที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงอนุญาตให้ชาวตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้ตาม
ก าลั ง ในปั จ จุ บั น องค์ พ ระมหากษั ต ริ ย์ แ ละสมาชิ ก ของราชวงศ์ ทุ ก ๆ พระองค์ ได้ ท รงอุ ป ถั ม ภ์
และบารุงรักษานาความเจริญก้าวหน้ามาสู่ทุก ๆ ศาสนาอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน แม้ว่าพระองค์จะทรง
เป็นพุทธมามกะก็ตาม เช่น ทรงเสด็จไปพบปะราษฎรที่เป็นมุสลิมเนื่องในโอกาสสาคัญ ๆ ทางศาสนาอยู่
เสมอ ด้ว ยเหตุนี้ จึ งก่อ ให้ เกิด ความสงบราบรื่น ปราศจากความขัด แย้ งรุนแรงระหว่างผู้ ต่ างศาสนาใน
สังคมไทย
4. สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงมีส่ ว นส าคั ญ ในการรัก ษาผลประโยชน์ ข องราษฎรและท าให้
การบริหารงานประเทศเป็นไปด้วยดี พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าราษฎรทุกคนในประเทศนี้คือราษฎรของ
พระองค์ ไม่ แ บ่ งแยกว่า ใครจะมี อุ ด มการณ์ ท างการเมื อ งแบบใด เป็ น เสรี นิ ย ม หรือ เป็ น อนุ รัก ษ์ นิ ย ม
ดังนั้ น จึ งเป็ น หน้ าที่ ข องพระองค์ ที่ จ ะต้ องพยายามรักษาผลประโยชน์ อัน จะเกิด แก่ ราษฎรเป็ น ส าคั ญ
การที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ท รงมี พ ระราชอ านาจที่ จ ะยั บ ยั้งพระราชบั ญ ญั ติ หรือพระราชทานคาแนะน า
ตักเตือน ให้คาปรึกษา และการสนับสนุนในกิจการต่าง ๆ ทั้งของฝ่ายบริหาร นิติบัญญั ติ และตุลาการ
ตามรัฐธรรมนูญเมื่อทรงเห็นว่าการระทาต่าง ๆ จะส่งผลให้ราษฎรของพระองค์ได้รับผลกระทบในทาง
เสียหาย ซึ่งจัดได้ว่าพระองค์ทรงมีส่วนรวมอันสาคัญในการรักษาผลประโยชน์ของราษฎร และก่อให้เกิด
ผลดี ใ นการบริ ห ารการปกครองประเทศด้ ว ย การกระท าเช่ น นี้ เ ป็ น การท าให้ อ า นาจทั้ ง 3 เสา
คือ ฝ่ ายบริห าร นิติบั ญญั ติ และตุล าการ เกิดความสานึก เกิดความระมัดระวัง และรอบคอบมิให้เกิด
ความเสียหายต่อส่วนรวม
5. สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์สาคัญของสังคมไทย สถาบันพระมหากษัตริย์ถือ
เป็นกลไกสาคัญประการหนึ่งในการยับยั้งแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงในสังคมได้ ซึ่งปรากฎชัดแจ้งในหลาย
เหตุการณ์ว่าการแก้ไขวิกฤตการณ์ของพระองค์ สามารถยับยั้งความแตกแยกอย่างรุนแรงภายในสั งคมจน
อาจนามาสู่สงครามกลางเมืองจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจานวนมากได้ เพราะองค์พระมหากษัตริย์เป็นที่
เคารพเทิดทูนของทุกฝ่าย ทรงอยู่เหนือความขัดแย้งและทรงวางตนเป็นกลางทางการเมือง ด้วยเหตุนี้
พระองค์จึงสามารถขจัดปัดเป่าวิกฤตการณ์สาคัญของสังคมมิให้แตกร้าว ลุกลามบานปลาย จนยากที่จะ
ผสานกลั บ คื น มาได้ เช่ น การทรงแก้ ไขวิก ฤตการณ์ ท างการเมื อ งของไทยในเหตุ ก ารณ์ พ ฤษภาทมิ ฬ
92

พ.ศ 2535 หรือการแนะนาวิธีการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในบริเวณกรุงเทพฯ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน


พ.ศ. 2538 เป็นต้น
6. สถาบั น พระมหากษัตริย์ ทรงส่ งเสริม ความมั่นคงของประเทศ โดยการยึดเหนี่ ยวจิตใจของ
ประชาชนและกองทัพ เมื่อเกิดการคุกคามอานาจอธิปไตยของชาติ องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงดารง
ตาแหน่งเป็นจอมทัพไทย ได้ทรงใส่พระทัยในการพัฒนากองทัพทั้งทางวัตถุและจิตใจ ทรงเสด็จไปเยี่ยม
เพื่อปลอบขวัญทหาร ทรงพระราชทานข้าวของใช้ ที่จาเป็นต่อการยังชีพในแนวหน้า ทั้งยังทรงช่วยเหลือ
อนุ เคราะห์ เมื่ อ บาดเจ็ บ ทุ พ พลภาพ พิ ก าร หรือ เสี ย ชี วิต ให้ แ ก่ ท หารและครอบครัว ท าให้ เกิ ดขวั ญ
และกาลังใจแก่ทหาร ข้าราชการอย่างดียิ่งพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชอธิปไตยของชาติอย่าง
เต็ ม ก าลั งความสามารถ เช่ น การเกิ ด การคุ ก คามของคอมมิ ว นิ ส ต์ ในช่ ว งสงครามเย็ น หรื อ การก่ อ
ความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
7. สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนอย่างยิ่งในการส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ตั้งแต่มี
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ 2475 องค์ พระมหากษัตริย์และสมาชิกของราชวงศ์ทุก ๆ พระองค์ก็
กระทาตนเปรียบเสมือนทูตประจาประเทศในทางอ้อม เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีกับนานาอารยประเทศเป็นที่
ประจั ก ษ์ ในปั จ จุ บั น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว และสมาชิ ก ของราชวงศ์ ทุ ก ๆ พระองค์ ก็ ยั ง
ทรงดาเนินการเพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การเสด็จ
พระราชด าเนิ น เป็ น ทู ต สั น ถวไมตรี ไ ปยั ง ต่ า งประเทศตามความหมาะสม การเสด็ จ ออกเพื่ อ มี
พระราชปฏิ สั น ถารกับ ทู ตของประเทศต่าง ๆ ที่ เดิ นทางเข้ ามาท างานประจ าอยู่ ในประเทศไทย หรือ
การออกพระราชสาส์ น แสดงความยิ น ดี แ ละแสดงความเสี ย พระทั ยเนื่ อ งในโอกาสอั น เป็ น มงคลและ
อวมงคลของประเทศต่าง ๆ อย่างสม่าเสมอ เป็นต้น การระทาเช่นนี้ของสถาบันพระมหากษัตริย์ทาให้การ
ดาเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลดาเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น
8. สถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นผู้นาในการพัฒนาและปฏิรูปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
การพั ฒ นาและการปฏิ รู ป ที่ ส าคั ญ ๆ ของประเทศส่ ว นใหญ่ ตั้ งแต่ ป ระมาณ พ.ศ. 2430 เป็ น ต้ น มา
มีจ านวนมากที่ส ถาบั น พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นผู้ ริเริ่มและส่ งเสริม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ า
เจ้ า อยู่ หั ว ทรงวางรากฐานการปกครองสมั ย ใหม่ โ ดยการจั ด ตั้ ง กระทรวงต่ า ง ๆ แบบตะวั น ตก
ทรงปฏิรูปการคลัง การศึกษา และสังคมโดยการยกเลิกระบบไพร่ระบบทาส โดยเฉพาะตั้งแต่ พ.ศ. 2500
เป็ น ต้ น มาจนถึ งปั จ จุ บั น สถาบั น พระมหากษั ต ริย์ ท รงเกื้ อ หนุ น วิท ยาการสาขาต่ า ง ๆ ทรงสนั บ สนุ น
การศึกษาและศิลปวัฒ นธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสั งคม เช่น
ปัญหาเรื่องน้า เรื่องดิน และด้านการแพทย์ที่ล้าหลัง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าในช่วงระยะเวลานี้มีโครงการตาม
แนวพระราชด าริ เกิ ด ขึ้ น จ านวนหลายพั น โครงการ ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ มุ่ ง แก้ ปั ญ หาหลั ก ทางเกษตรกร รม
เพื่ อ ชาวนา ชาวไร่ และราษฎรผู้ ย ากไร้ แ ละด้ อ ยโอกาส อั น เป็ น ราษฎรส่ ว นใหญ่ ข องประเทศ เช่ น
โครงการฝนหลวง โครงการแกล้ งดิน และโครงการหลวงเพื่ อพั ฒ นาอาชีพ ให้ กั บชาวเขาบนพื้ น ที่ สู ง
เป็นต้น
9. สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนสาคัญในการสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็ นประมุข บทบาทของพระมหากษัตริย์และสมาชิกของราชวงศ์ทุก ๆ พระองค์
มี ส่ ว นส าคั ญ เป็ น อย่ า งมากที่ ท าให้ ร ะบอบประชาธิ ป ไตยในสั งคมไทยมี ค วามมั่ งคงยั่ งยื น ตราบใดที่
สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ ยั ง คงแสดงให้ เ ห็ น อย่ า งชั ด เจนว่ า ทรงยึ ด มั่ น ในระบอบการปกครอง
93

แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ราษฎรส่วนใหญ่ย่อมมีความเคารพและเทิดทูนใน
สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งดารงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศก็ย่อมมีการพั ฒนาไปอย่างราบรื่น ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่าน
มาสถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงมี พ ระราชด ารัส ให้ สั งคมได้ ป ระจั ก ษ์ ถึงการสนั บ สนุ น การปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่เป็นเนืองนิจ เช่น ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรี
เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ หรือในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เป็นต้น (ไทยโพสต์, 2562)

ภาพที่ 5.5 รัชกาลที่ 10 ทรงสืบสานโครงการพระราชดาริต่อจากพระราชบิดา


ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2562

สิทธิและอานาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
แม้ อ งค์ พ ระมหากษั ต ริ ย์ จ ะมิ ไ ด้ ท รงเป็ น ผู้ ป กครองป ระเทศโดยตรงเห มื อ นในอดี ต
แต่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ให้สิทธิและอานาจบาง
ประการแก่พระมหากษัตริย์ที่จะทรงทาได้ทั้งที่บัญญัติและไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สิทธิ และอานาจ
ขององค์พระมหากษัตริย์ ตามหลั กประชาธิปไตย ได้แก่ (วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ และสุ ขุม นวลสกุล , 2542,
หน้า 155-157)

1. สิทธิที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
1.1 สิทธิที่จะให้คาตักเตือน
พระมหากษัตริย์อาจจะทรงให้คาตักเตือนในบางกรณี ในบางเรื่อง แก่รัฐบาล รัฐสภา ศาล
หรื อองค์ ก รอื่น ๆ ที่ ท รงเห็ น ว่าถ้ารั ฐ บาล รัฐ สภา ศาล หรือองค์ ก รอื่น ๆ ได้ ท าสิ่ งนี้ ล งไปแล้ ว จะเกิ ด
94

ผลเสี ย หายแก่ ป ระเทศชาติ แ ละสั งคมโดยรวม การเตือ นนี้ ถื อเป็ น สิ ท ธิของพระมหากษั ต ริย์โดยชอบ
ในทุกประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีอานาจจากัด ทั้งนี้ ฝ่ายบริหารก็ดี รัฐสภาก็ดี ศาลก็ดี
ที่ได้รับคาตักเตือนจะเชื่อหรือไม่ก็ได้ จะนาเอาคาที่ทรงตักเตือนไปปรับใช้หรือไม่ก็ได้ ถ้ารัฐบาล รัฐสภา
หรือศาลมีความแน่ใจว่าสิ่งที่กระทานั้นเกิดผลดีต่อสังคมหรือประเทศชาติ ก็อาจตัดสินใจที่ จะกระทาสิ่งนั้น
ไปแม้ว่าจะได้รับการตักเตือนจากพระมหากษัตริย์แล้ว
1.2 สิทธิที่จะได้ทรงรับทราบถึงเรื่องราวต่าง ๆ
ในฐานะที่ทรงดารงตาแหน่งประมุขของประเทศ จึงถือว่าเป็นสิทธิของพระมหากษัตริย์อีก
ประการหนึ่งที่จะได้รับรายงานให้ทราบถึงสถานการณ์หรือเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสาคัญของบ้านเมือง
เสมอ การที่ พ ระองค์ จ าเป็ น ต้ อ งทราบถึ ง เรื่ อ งราวส าคั ญ นี้ นั้ น ก็ เพื่ อ ที่ จ ะทรงสามารถให้ ค าแนะน า
ให้ ค าตั ก เตื อ น หรื อ แสดงความคิ ด เห็ น เพื่ อ ประกอบการพิ จ ารณาโดยรั ฐ บาลหรื อ ผู้ ที่ รั บ ผิ ด ชอบได้
ซึ่ ง เมื่ อ ได้ รั บ พระราชทานค าแนะน าหรื อ ค าตั ก เตื อ นแล้ ว นั้ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบจะด าเนิ น การตามที่
พระมหากษัตริย์ทรงแนะนาและตักเตือนหรือไม่ก็เป็นสิทธิของผู้รับผิดชอบ
1.3 สิทธิที่จะพระราชทานให้คาปรึกษา
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการเป็นดิน อาจนาปัญหานั้นขึ้น
ทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระราชทานคาปรึกษาได้ หรือในเรื่องกิจการสาคัญคณะรัฐมนตรีอาจจะไม่ดาเนินการ
โดยพลการ แต่ขอให้ทรงแสดงความคิดเห็นหรือทรงให้คาปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเสียก่อน ในฐานะที่ทรง
เป็นประมุขและทรงรับทราบเรื่องราวของบ้านเมืองติดต่อกันมาโดยตลอด เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีวาระ
หรื อสมัย ในการดารงตาแหน่ งเหมื อนกับ คณะรัฐมนตรี ดั งนั้ น ในบางเรื่องพระมหากษั ตริย์อ าจทราบ
เรื่องราวต่อเนื่องได้ดีกว่า แต่เมื่อพระมหากษัตริย์พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว คณะรัฐมนตรี
จะต้องน้ อมเกล้าน าพระบรมราชวินิ จ ฉัย มาพิจารณาด้วยความเคารพ แต่คณะรัฐ มนตรีจะปฏิบั ติตาม
พระบรมราชวินิจฉัยเพียงใดอยู่ในความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีเอง
1.4 สิทธิในการสนับสนุน
พระมหากษัตริย์อาจจะทรงให้การสนับสนุนการกระทาหรือกิจการใด ๆ ของรัฐหรือของ
เอกชนได้ หากพระองค์ทรงเห็ น ว่ากิจการนั้น ๆ เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ปัจจุบันนี้มีโครงการตาม
พระราชดาริหลายประการที่ยังประโยชน์แก่ประเทศเป็นอย่างยิ่ง เช่น โครงการฝนหลวง โครงการพัฒนา
ความเป็น อยู่ของชาวไทยภูเขา โครงการแกล้งดิน และโครงการแก้มลิง เป็นต้น การที่พระองค์ทรงให้
การสนั บ สนุ น ย่ อ มเป็ น ขวั ญ และก าลั งใจส าหรั บ ผู้ ที่ ด าเนิ น กิ จ การนั้ น ๆ ให้ มี ค วามมานะและตั้ ง ใจ
กระทากิจการนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
95

ภาพที่ 5.6 รัชกาลที่ 9 ทรงถวายคาตักเตือนผู้ก่อการในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535


ที่มา: คมชัดลึก, 2560

2. สิทธิและอานาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.1 พระราชอานาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาแล้ว และนายกรัฐมนตรีได้
น าขึ้ น ทู ล เกล้ า ฯ เพื่ อ ลงพระปรมาภิ ไธยพระมหากษั ต ริ ย์ อ าจยั บ ยั้ ง ได้ หากส่ ง ไม่ เห็ น ด้ ว ยกั บ ร่ า ง
พระราชบั ญ ญั ตินั้ น การยั บ ยั้ งท าได้ 2 วิธี คื อ พระราชทานคืน มาให้ ส ภาพิ จารณาใหม่ภ ายในเวลาที่
รัฐธรรมนูญกาหมดไว้ ปกติรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่กาหนดไว้ 90 วัน หรือพระมหากษัตริย์ทรงเก็บไว้จนครบ
กาหนดซึ่งเท่ากับว่าทรงไม่เห็นชอบด้วย พระราชอานาจของพระมหากษัตริย์จากัดอยู่แค่การยับยั้งเท่านั้น
ถ้าสภาพิจารณาใหม่และมีมติยื นยันตามจานวนที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยปกติแล้วมั กจะกาหนด
จ านวน 2 ใน 3 ของจ านวนสมาชิ ก สภาทั้ ง หมด ร่ า งกฎหมายที่ ส ภายื น ยั น และทู ล เกล้ า ฯ อี ก ครั้ ง
ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อถึงกาหนดก็จะมีผลบังคับใช้ แม้จะไม่มีพระปรมาภิไธย
ของพระมหากษัตริย์ก็ตาม
2.2 พระราชอานาจในการขอให้ลงประชามติเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ
ในกรณี ที่ ร่ างแก้ ไขรั ฐ ธรรมนู ญ ผ่ านการเห็ น ชอบของสภา และนายกรั ฐ มนตรี น าขึ้ น
ทูล เกล้ าฯเพื่ อลงพระปรมาภิไธย ในรัฐธรรมนูญ บางฉบับ เช่น ธรรมนู ญ ฉบั บ 2492 และรัฐ ธรรมนู ญ
ฉบั บ 2517 ก าหนดว่ า ถ้ า พระมหากษั ต ริ ย์ พิ จ ารณาเห็ น ว่ า ร่ า งแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ นั้ น
กระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียสาคัญของประเทศ หรือประชาชน และทรงเห็นว่าควรให้ประชาชนวินิจฉัย
พระมหากษัตริย์ย่อมทรงไว้ซึ่งพระราชอานาจที่จะให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศออกเสียงเป็น
ประชามติ ว่าเห็ น ชอบหรื อไม่ เห็ น ชอบในการรับ รองรัฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ นั้ น ได้ ถ้าประชามติ ป รากฏว่ า
ประชาชนเห็นชอบด้วย พระมหากษัตริย์ก็จะลงพระปรมาภิไธย ถ้าไม่เห็นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
นั้ น ก็มี อั น ต้อ งตกไป ในกรณี ที่ รัฐ ธรรมนู ญ มิได้ กาหนดราชอ านาจนี้ ไว้ การยั บ ยั้งร่างรัฐ ธรรมนู ญ โดย
พระมหากษัตริย์ก็อาจทาได้ด้วยวิธีเดียวกับการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ
96

2.3 พระราชอานาจในการแต่งตั้งผู้สาเร็จราชการแผ่นดิน
ในกรณีที่พระมหากษัตริย์เสด็จต่างประเทศหรือไม่อาจที่จะส่งบริหารพระราชภารกิจด้วย
เหตุ ใดก็ ต าม พระองค์ มี พ ระราชอ านาจที่ จ ะแต่ งตั้ งผู้ ห นึ่ งผู้ ใดเป็ น ผู้ ส าเร็ จ ราชการแทนพระองค์ ได้
แต่ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อนการแต่งตั้ง
ผู้สาเร็จราชการแผ่นดินประธานสภาจะทาหน้าที่เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ เช่น เมื่อพระองค์ทรงออก
ผนวชใน พ.ศ. 2499 ได้ทรงแต่งตั้ งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในขณะนั้นให้ดารงตาแหน่ง
ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่าง วันที่ 22 ตุลาคม-5 พฤศจิกายน 2499 เป็นระยะเวลา 15 วัน
(ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2562)
นอกจากนี้ยังมีเพระราชอานาจอื่น ๆ อีกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือการปกครองประเทศ
เท่าไหร่นั ก หรืออาจถือเป็ นการส่วนพระองค์ เช่น การมี พระราชอานาจในการสถาปนาฐานันดรศักดิ์
และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น

ภาพที่ 5.7 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณในฐานะผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์


ที่มา: วิกพิ ีเดีย สารานุกรมเสรี, 2565

พระราชกรณียของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ในฐานะประมุขของประเทศพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชภารกิจที่ทรงปฏิบัติมากมายเพราะ
พระองค์เท่ากับเป็นตัวแทนหรือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ ทรงเป็นทั้งผู้นาและทรงเป็นแบบอย่างของ
ราษฎ ร โดยสามารจ าแนกพระราชกรณี ยกิ จ ของพระมหากษั ต ริ ย์ อ อกได้ เ ป็ น 4 ด้ า น ดั ง นี้
(ไพบูลย์ ช่างเรียน, 2513, หน้า 12-13)
97

1. พิธีการและศาสนา
สถาบั น พระมหากษั ตริ ย์ ท รงเป็ น องค์ ป ระธานในพิ ธีการต่ าง ๆ ที่ ส าคั ญ ของชาติ ม ากมาย
ได้แก่ การเปิดและปิดสมัยประชุมรัฐสภา ทรงเป็นผู้แทนทางการทูตของประเทศในการเจริญสัมพันธไตรี
กับต่างประเทศ และทรงต้อนรับแขกเมือง พระราชทานปริญญาบัตรและพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิตของ
มหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ในทางศาสนาพระองค์ท รงเป็นพุทธมามกะและองค์อัครศาสนูปถัมภกให้ แก่ทุ ก
ศาสนา พระองค์ ท รงเสด็ จ ไปเป็ น ประธานในกิ จ การทางศาสนาเพื่ อ สร้า งขวัญ ก าลั งใจให้ ป ก่ ร าษฎร
เช่น การเสด็จเพื่อเปลี่ย นเครื่องทรงตามฤดูกาลให้ แก่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
และการเสร็จไปเป็นประธานในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

2. สงเคราะห์ประชาชน
สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นาในด้านการบาเพ็ญสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ด้วยการ
พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อกิจการสาธารณกุศลอยู่เป็นนิจ ได้แก่ พระราชทานทุนการศึกษา
แก้ผู้เรีย นดีแต่ขาดแคลนทุน ทรัพย์ ทรงสงเคราะห์ คนยากจน พิการ เจ็บป่วย และคนชรา เมื่อราษฎร
ประสบภั ย ธรรมชาติ หรื อ โรคระบาด สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงพระราชทานความช่ ว ยเหลื อ
เช่น ทรงพระทานอาหาร เครื่องยังชีพ และยารักษาโรคหรือวัคซีนป้องกัน กล่าวได้ว่าองค์พระมหากษัตริย์
และสมาชิกของราชวงศ์ทุก ๆ พระองค์ทรงเป็นผู้นาด้านสังคมสงเคราะห์อย่างแท้จริง

3. พัฒนาสังคม
พระมหากษัตริย์ทรงบาเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์และความเจริญแก่
สังคม เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงริเริ่ม
โครงการต่ า งท าให้ เกิ ด การพั ฒ นาขึ้ น ทั้ ง ในด้ า นเศรษฐกิ จ และสั ง คม พระราชด าริ แ ล ะโครงการใน
พระราชดาริที่ทรงริเริ่มต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนาชาติทั้งสิ้น เช่น โครงการศูนย์ศิลปาชีพ
โครงการอี ส านเขี ย ว โครงการฝนหลวง โครงการปลู ก ป่ าโดยไม่ ต้ อ งปลู ก โครงการปลู ก ป่ า 2 อย่ า ง
ได้ประโยชน์ 3 อย่าง โครงการแกล้งดิน โครงการชั่งหัวมัน โครงการกังหันน้าชัยพัฒนาเพื่อการบาบัดน้า
เสียในกรุงเทพฯ และเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น ทรงชี้แนะแนวทาง อย่างเช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อให้ราษฎรทุกภาคส่วนน้อมนาไปปรับใช้ในการดารงชีวิต ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการพัฒนาสังคมทั้ง
ในระดับชุมชน ระดับประเทศ จนกระทั่งถึ งระดับนานาประเทศขึ้น จนทรงได้รับการยกย่องจากองค์การ
ระดับโลกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ยกย่องให้พระองค์ทรงเป็นผู้นาด้านสันติภาพ
และทรงเป็ นแบบอย่างในการผลักดัน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะนี้องค์การสหประชาชาติ
(UN) ได้นาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปบรรจุในแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ชาติสมาชิกนาไปปฏิบัติภายใน
ปี 2573 (ไทยพีบีเอส, 2560)
98

4. การปกครอง
ในประเทศหรือในสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม อย่างเช่นประเทศ
ไทยรัฐบาลย่อมมีอุปสรรคและมีการกระทบกระทั่งกับราษฎรบนพื้นฐานความแต่งต่ างอยู่โดยตลอด ดังนั้น
บทบาทของพระมหากษัตริย์จึงมีส่วนช่วยสร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดแก่ประเทศและส่งเสริมให้รัฐบาล
สามารถปกครองได้อย่างราบรื่นขึ้น ทั้งนี้ เพราะคนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใด มีขนบธรรมเนียมประเพณี
แตกต่างกันอย่างไร ก็มีความรู้สึกร่วมกันในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การที่พระองค์ทรงเสด็จ
พระราชดาเนินออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดารหรือมากด้วยภยันอันตรายต่าง ๆ
ทาให้ราษฎรทั่วทุกพื้นที่ของประเทศมีขวัญและกาลังใจที่มั่นคงเข้มแข็ง อีกทั้ง ยังมีความรู้สึกว่าตนเองมิได้
ถูกทอดทิ้งจนกลายเป็นความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับราษฎร จึงอาจกล่าวได้ว่าพระราช
กรณียกิจลักษณะเช่นนี้ของพระมหากษัตริย์มีส่วนช่วยรัฐบาลในการปกครองเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ พ ระองค์ ยั งทรงยั บ ยั้ งวิกฤติท างการเมื องการปกครองของประเทศได้ ในขณะที่
ประเทศเกิดวิกฤติที่ร้ายแรงหากไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกทางก็จะเกิดผลร้ายแรงอย่างยิ่ง จนนาไปสู่ความ
แตกแยกภายในชาติจนถึงขั้นประหัตประหารกันซึ่งเป็นผลเร็วร้ายต่อชาติ อนึ่ง ประเทศใดที่ไม่มีกลไกที่จะ
ระงับ ยั บ ยั้ งวิกฤตการณ์ ได้โอกาสที่ป ระเทศนั้น จะแตกแยกกัน ก็มีมาก แต่ส าหรับประเทศไทยที่มีองค์
พระมหากษัตริย์อันทรงเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งประชาชน รัฐบาล ข้าราชการ ตลอดจนพ่อค้า ฯลฯ
ดังนั้น เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองภายในประเทศ เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
หรือเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535 ก็ทรงสามารถยับยั้งแก้ไขวิกฤตการณ์นั้นให้กลับสู่ความสงบได้ด้วย
ความเรียบร้อยและราบรื่นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาราษฎรชาวไทยและชาวโลก (สมพงศ์ เกษมสิน, 2519,
หน้า 383-384)

ภาพที่ 5.8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเป็นประธานในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ


ที่มา: มติชนออนไลน์, 2562
99

หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
ทรงดารงเป็นแบบอย่างที่ดีในการดาเนินชีวิตและการทางานให้ประสบความสาเร็จแก่สังคมไทยมาโดย
ตลอดเป็ น ที่ รั บ รู้ กั น อย่ างทั่ ว ไปในสั งคมไทยและสั ง คมโลก ซึ่ งแนวคิ ด หรื อ หลั ก ในการทรงงานของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นี้ควรค่าอย่างยิ่งที่สังคมไทยจะนามาศึกษา ทดลองปฏิบั ติตาม
หรื อ น ามาประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการการท างานของตนเอง โดยเราสามารถสรุ ป หลั ก การทรงงานของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ดังนี้ (สานักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2560)

1. จะทาอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ
ศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะจากข้อมูลพื้นฐาน เช่น เอกสาร เจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบ นักวิชาการ และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยา สามารถนาข้อมูลเหล่านั้นไปใช้
ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

2. ระเบิดจากภายใน
จะทาการใด ๆ ต้องเริ่ม ภายในก่อนเป็นลาดับแรก ต้องสร้างความรู้ อารมณ์ ความรู้สึกของ
ตนเองให้อยากรู้อยากทาไม่ใช่การสั่งหรือถูกสั่งให้ทา เมื่อข้างในพร้อมที่จะทาแล้วจึงค่อยขยายออกไปสู่ง
ภายนอก เช่ น การประชุ ม หารื อ กั บ เพื่ อ นร่ ว มงานหรือ คนในที ม ให้ มี ค วามรู้ อารมณ์ และความรู้ สึ ก
เช่นเดียวกับตนเอง จากนั้นจึงค่อยกาหนดเป้าหมายและกลยุทธ์

3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
ควรมองปั ญ หาภาพรวมแต่ ต้ องเริ่ม แก้ปั ญ หาจากจุ ด เล็ ก ๆ เมื่ อ แก้ปั ญ หาในจุ ด เล็ ก ๆ ที่
ละเอีย ดอ่อนได้ ส าเร็จ จึงค่อย ๆ ขยั บ เพื่อแก้ปัญ หาที่ใหญ่ ขึ้น ไปเรื่อย ๆ ทีละจุด เช่นในการทางานเรา
สามารถเริ่มลงมือทาจากจุดเล็ก ๆ ก่อน โดยค่อย ๆ ทาค่อย ๆ แก้ไปทีละจุด งานแต่ละชิ้นก็จะลุลวงไปได้
ตามเป้าหมายที่วางไว้

4. ทาตามลาดับขั้น
เริ่มต้นจากการลงมือทาในสิ่งที่จาเป็นก่อน เมื่อสาเร็จแล้วก็เริ่มลงมือสิ่งที่จาเป็นลาดับต่อไป
ตามหลักวิชาการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง เปรียบเสมือนการสร้างบ้านของวิศวกรที่ต้องเริ่มจาก
รากฐานการวางเสาเอกของบ้านก่อน ถ้าทาตามหลักนี้ได้งานทุกสิ่งก็จะสาเร็จได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อทรงขึ้น ครองราชย์พระองค์ทรงพยายามมุ่งแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ และการสาธารณสุขก่อนเป็น
อันดับแรก จากนั้นจึงเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจาเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน
แหล่งน้าเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ตามลาดับ
100

5. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์


การพั ฒ นาใด ๆ ต้ องคานึ งถึง บริบ ทแวดล้ อมของพื้ นที่ และผู้ คนทั้งหมดนั้น ว่าเป็น อย่างไร
เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน การพัฒนา
พื้นที่แต่ละพื้นที่จึงต้องอาศัยการบูรณาการศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน เราไม่สามารถไปบังคับให้
คนในพื้ น ที่ ต่ าง ๆ คิ ด หรื อ ท าเหมื อ นเราได้ สิ่ งที่ เราสามารถท าได้ คื อ การแนะน า สนั บ สนุ น ส่ งเสริ ม
ในสิ่งที่คนในพื้นที่ต้องการ

6. ทางานแบบองค์รวม
ใช้วิธีคิดเพื่อการทางาน โดยวิธีคิดอย่างองค์รวม คือการมองสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดอย่างเป็นระบบ
ครบวงจร ทุกสิ่งทุกอย่างมีมิติเชื่อมต่อกัน มองสิ่งที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง

7. ไม่ติดตารา
กล่ าวได้ ว่า การท างานโดยยึ ดติ ดอยู่ กับ ทฤษฎี ในต าราวิช าการหรือหนั งสื อมากจนเกิน ไป
อาจไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์งานได้สาเร็จตามเป้าหมาย เพราะทาให้ผู้ปฏิบัติงานขาดวิสัยทัศน์
มองเห็นจุดสาคัญจริง ๆ หน้างานไม่ออก งานที่ได้จึงไม่โดดเด่นหรือไม่สร้างสรรค์ การทางานในบางครั้ง
ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การพลิกแพลงจากประสบการณ์ และการบูรณาการความรู้ด้วย

8. รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด


ทรงใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด เป็นที่ตั้ง ทาให้ประชาชนสามารถ
นาหลักการนี้ไปประยุกต์กับตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้สิ่งของหรือทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน
ท้องถิ่นของตนเองมาแก้ไขปัญหา ซึ่งใช้การลงทุนน้อยชาวบ้านสามารถลงมือทาด้วยตนเองไม่ต้ องรอความ
ช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ เช่น โครงการฝ้ายแม้วที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมาสร้างฝ้ายใน
ราคาประหยัดหรือโครงการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก เป็นต้น

9. ทาให้ง่าย
การทางานให้ประสบความสาเร็จบางครั้งไม่ควรทาหรือคิดให้สลับซับซ้อนจนเกินไป แต่ควร
พยายามท าให้ ง่ า ย ไม่ ยุ่ ง ยากซั บ ซ้ อ น ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านจึ ง จะเข้ า ใจและสามารถท างานนั้ น ได้ อ ย่ า งมี
ประสิ ท ธิภ าพ และที่ ส าคั ญ อย่ างยิ่ ง คือ การท าให้ ง่ายควรต้ องสอดคล้ องกับ สภาพความเป็ น อยู่ข อง
ประชาชนและระบบนิเวศโดยรวมด้วย

10. การมีส่วนร่วม
การท างานต้ อ งท างานอย่ า งนั ก ประชาธิ ป ไตยไม่ ใช่ นั ก เผด็ จ การ คื อ ต้ อ งเปิ ด โอกาสให้
ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีส่วนร่วมทั้งการแสดงความคิดและการทางาน หั วหน้างานต้องทาใจให้ กว้างขวาง
101

หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่น กล่าวง่าย ๆ การมีส่วนร่วมก็คือกลยุทธ์


หนึ่งซึ่งเป็นการระดมสมองเพื่อให้งานประสบผลสาเร็จตามเป้าหมายนั่นเอง

11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม
ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสาคัญ ดังพระราชดารัสตอนหนึ่งว่า “…ใครต่อใคร
บอกว่า ขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจราคาญด้วยซ้าว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่า
ขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่าให้ ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้
เป็ น เพื่ อ ส่ ว นรวมนั้ น มิ ได้ ให้ ส่ ว นรวมแต่ อ ย่ า งเดี ย ว เป็ น การให้ เพื่ อ ตั ว เองสามารถที่ จ ะมี ส่ ว นรวม
ที่จะอาศัยได้…”

12. บริการที่จุดเดียว
ทรงมีพระราชดาริมากว่า 20 ปีแล้ว ให้บริหารศูนย์ศึกษาการพัฒนาหลายแห่งทั่วประเทศ
โดยใช้ ห ลั ก การ “การบริ ก ารรวมที่ จุ ด เดี ย ว : One Stop Service” โดยทรงเน้ น เรื่ อ งรู้ รั ก สามั ค คี
และการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันด้วยการปรับลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ ป ระชาชนใกล้ ชิดกับทรัพ ยากรธรรมชาติ ทรงมอง
ปัญหาธรรมชาติอย่างละเอียด โดยหากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือเราด้วย

14. ใช้อธรรมปราบอธรรม
ทรงนาความจริงในเรื่องธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวทางปฏิบัติ
ในการแก้ไขปั ญ หาและปรั บ ปรุ งสภาวะที่ ไม่ป กติเข้าสู่ ระบบที่ ป กติ เช่น การบ าบั ด น้ าเน่ าเสี ย โดยให้
ผักตบชวา ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้า

15. ปลูกป่าในใจคน
การจะทาการใดสาเร็จต้องปลูกจิตสานึกของคนเสียก่อน ต้องให้เห็นคุณค่า เห็นประโยชน์กับ
สิ่งที่จะทา “เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้
ลงบนแผ่นดินและจะรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง”

16. ขาดทุนคือกาไร
หลั ก การในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว รั ช กาลที่ 9 ที่ มี ต่ อ พสกนิ ก รไทย “การให้ ”
และ “การเสียสละ” เป็นการกระทาอันมีผลเป็นกาไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร
102

17. การพึ่งพาตนเอง
การพั ฒ นาตามแนวพระราชด าริ เพื่ อ การแก้ ไขปั ญ หาในเบื้ อ งต้ น ด้ ว ยการแก้ ไขปั ญ หา
เฉพาะหน้า เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดารงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชน
สามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถ พึ่งตนเองได้ในที่สุด

18. พออยู่พอกิน
ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีด
สมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป

19. เศรษฐกิจพอเพียง
ความพอเพียง คือ ความพอเหมาะ พอดี และพอใจ ใช้ชีวิตเดินตามแนวทางสายกลางไม่ตึง
หรื อ หย่ อ นจนเกิ น ไปทั้ งในเรื่ อ งงานและชี วิ ต ส่ ว นตั ว หากประชาชนสามารถน าเอาหลั ก ดั งกล่ าวไป
ประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมสังคมย่อมพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง

20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน


ความสุจริตและความจริงใจถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ คนที่แม้จะขาดประสบการณ์
ความรู้ความสารถยังสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มากกว่าผู้ที่มีประสบการณ์สูงมีความรู้ความสารมารถ
มากแต่ขาดซึ่งคุณธรรม เพราะประสบการณ์ความรู้ความสามารถนั้นสามารถสร้างหรือสั่งสมง่ายกว่าการ
สร้างหรือสั่งสมคุณธรรมในตัวของแต่ละคน

21. ทางานอย่างมีความสุข
ต้องสร้างแนวคิดว่างาน คือ เพื่อน การทางานไม่ใช่ภาระแต่คือการพัฒนาตนเอง เมื่อคิดได้
เช่ น นี้ ก ารท างานถึ งจะมี ค วามสุ ข ถ้ าเราท างานด้ ว ยความรู้สึ ก ไม่ มี ค วามสุ ข ผู้ ป ฏิ บั ติ งานย่ อ มไม่ รู้สึ ก
ภาคภูมิใจกับผลสัมฤทธิ์ของงาน ดังนั้น หากเราทางานโดยคานึงถึงความสุขที่จะเกิดจากการได้ทางานที่จะ
ส่งผลประโยชน์ ให้ กับ เพื่อนของเรา องค์กรของเรา ชุมชนของเรา หรือประเทศของเรา เราก็สามารถ
ทางานอย่างมีความสุขขึ้นได้

22. ความเพียร
การเริ่ ม ต้ น ท างานหรื อ ท าสิ่ ง ใดนั้ น อาจจะไม่ ไ ด้ มี ค วามพร้ อ ม ต้ อ งอาศั ย คว ามอดทน
และความมุ่งมั่น ดังเช่นพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” กษัตริย์ผู้เพียรพยายามแม้จะไม่เห็นฝั่งก็จะว่ายน้า
ต่อไป เพราะถ้าไม่เพียรว่ายก็จะตกเป็นอาหารปู ปลาและไม่ได้พบกับเทวดาที่ช่วยเหลือมิให้จมน้า
103

23. รู้ รัก สามัคคี


รู้ คื อ รู้ ปั ญ หาและรู้ วิ ธีแ ก้ ปั ญ หานั้ น รัก คื อ เมื่ อ เรารู้ถึงปั ญ หาและวิธีแ ก้ แ ล้ ว เราต้ อ งมี
ความรัก ที่จะลงมือทา ลงมือแก้ไขปัญหานั้น และสามัคคี คือ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่สามารถลงมือทา
คนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน

ภาพที่ 5.9 หลักการทรงงาน 23 ข้อ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9


ที่มา: มูลนิธิมั่นพัฒนา, 2561

แนวทางการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย
นายกรัฐ มนตรี พลเอกประยุ ท ธ์ จัน ทร์โอชา (2557, หน้ า 3-4) กล่ าวถึงแนวทางการเทิ ด ทู น
สถาบันพระมหากษัตริย์ของรัฐบาลไว้ในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2557 ไว้ ดังนี้
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบสาคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตาม
ประเพณีการปกครองของไทย รัฐบาลจึงถือเป็นหน้าที่สาคัญยิ่งยวดในอันที่จะเชิดชูและเทิดทูนสถาบันนี้ไว้
ด้ ว ยความจงรั ก ภั ก ดี โดยจะมุ่ ง เผยแพร่ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งและเป็ น จริ ง เกี่ ย วกั บ สถาบั น
พระมหากษัตริย์ และพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน ทั้งจะสนับสนุนโครงการทั้งหลายอันเนื่องมาจาก
พระราชดาริ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานทั้งหลายของรัฐเรียนรู้เข้าใจหลักการ
ทรงงาน สามารถนาหลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการและการพัฒนา ตลอดจนเร่งขยายผล
104

ตามโครงการและแบบอย่างที่ทรงวางรากฐานไว้ให้แพร่หลายเป็นที่ประจักษ์และเกิดประโยชน์ในวงกว้าง
อันจะช่วยสร้างความสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนในที่สุด
ส่ ว นประชาชนทั่ ว ไป นั ก เรี ย น และนั ก ศึ ก ษา พอจะมี แ นวทางในการเทิ ด ทู น สถาบั น
พระมหากษัตริย์ซึ่งผู้เขียนพอจะสรุปได้ ดังนี้
1. พยายามเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อเป็น
การศึ ก ษาถึงพระราชกรณี ย กิจ ของพระมหากษั ต ริย์ ที่ มี ต่ อ สั งคมไทย และพยายามน้ อ มน าเอาแนว
พระราชดาริ เช่น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงาน มาเป็นแนวทางในการดารงชีวิต
และการทางาน เพื่อพัฒนาชีวิตทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทางานให้มั่นคงขึ้น
2. พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามความ
เหมาะสม เช่น การให้ความร่วมมือหรือการเข้าร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของ
พระมหากษัตริย์ให้กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น หรือ สถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสื่อประเภทต่าง ๆ
อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวีดีทัศน์ หรือสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือการจัดงานนิทรรศการ เนื่องในโอกาสหรือวัน
พิเศษต่าง ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนม์พรรษา เป็นต้น
3. ชื่ น ชมและร่ ว มกัน เผยแพร่ ค วามรู้เกี่ ยวกั บ พระราชกรณี ย กิ จ และพระปรีช าสามารถของ
พระมหากษัตริย์และสมาชิกของราชวงศ์ ทุก ๆ พระองค์ที่ทรงปฏิบัติเพื่อราษฎรอย่างไม่ทรงเห็นแก่ความ
เหน็ ด เหนื่ อ ยพระวรกาย ให้ แ ก่ สั งคมทั้ งภายในและภายนอกประเทศ อี ก ทั้ ง พยายามศึ กษาติ ด ตาม
โครงการตามแนวพระราชดาริต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ที่สังคมได้รับ
จากการดารงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย

บทสรุป
สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสาคัญต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับได้ระบุ
ว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการย้าถึง
เจตนารมณ์ของราษฎรชาวไทยว่า ต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ควบคู่กับประเทศไทยในระบอบ
การปกครองแบบประชาธิปไตยตลอดไป แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงมีพระราชอานาจโดยตรงอย่าง
แท้ จ ริ งในกิจ การบ้ านเมื อ งเหมื อ นดั งเช่ น อดีต แต่ค วามส าคั ญ ของสถาบั น พระมหากษั ต ริย์ ต ลอดจน
ประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ จากการมี ส ถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ มี นั บ เป็ น อเนกอนั น ต์ องค์ พ ระมหากษั ต ริ ย์
เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศ แผ่พระบารมีให้ความร่มเย็นแก่อาณาประชาราษฎร์และชนต่างชาติ
ที่เข้ามาเป็นพระบรมโพธิสมภาร ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจและความศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศ
การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของราษฎรชาวไทยแทบทุกคนมาเป็น
เวลายาวนาน ก็เพราะว่าพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ที่ขึ้นของราชย์มาในอดีตจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่
ทรงมีสร้างคุณูปการให้เกิดแก่ราษฎรและสังคมมาโดยตลอด ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของราษฎรชาวไทยทุก
คนที่เลื่ อมใสศรัทธาในสถาบั น พระมหากษัตริย์ ต้องช่ว ยกันสนับสนุนและอานวยให้ พระราชดาริที่จะ
ทรงประกอบกิ จ การที่ เป็ น ประโยชน์ ต่ อ ประเทศชาติ แ ละราษฎรของพระองค์ ป ระสบความส าเร็ จ
และต้องละเว้น การอ้างเอาพระราชดาริและการงานต่าง ๆ ของพระองค์เป็นเครื่องมือในการแสวงหา
105

ผลประโยชน์ แ ก่ ต นเองและพวกพ้ อ งโดยเด็ ด ขาด ไม่ จ าบจ้ ว งล่ ว งละเมิ ด ปฏิ บั ติ ต่ อ พระมหากษั ต ริ ย์
และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ด้วยความเคารพเป็นที่ตั้ง

คาถามท้ายบท
จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงบอกความหมายและความสาคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์มาพอสังเขป
2. จงบอกคุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทยมาพอสังเขป
3. จงยกตัวอย่างโครงการในพระราชดาริที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคมมา 2 โครงการพร้อมทั้งบอก
รายละเอียดของโครงการมาพอสังเขป
4. จงยกตัวอย่างหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่นักศึกษาคิดว่า
สามารถนาไปประยุกต์ใช้กับการเรียนในมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล
5. จงบอกแนวทางการมีส่วนร่วมในการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ตามบทบาทของการเป็น
นักศึกษามาคนละ 3 แนวทาง
106
107

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 6
จิตอาสา สานึกสาธารณะ และบุคคลตัวอย่างด้านงานจิตอาสาในสังคมไทย
หัวข้อเนื้อหา
1. ความหมายและความสาคัญของจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
2. ประวัติความเป็นมาของแนวคิดจิตอาสาและสานึกสาธารณะในสังคมไทย
3. แนวคิดและกระบวนการสร้างจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
4. คุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
5. ความหมาย คุณสมบัติ และบทบาทของอาสาสมัคร
6. บุคคลตัวอย่างด้านงานจิตอาสาในสังคมไทย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนบทเรียนนี้แล้วสามารถ
1. บอกความหมายและความสาคัญของจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
2. นาแนวคิดและกระบวนการสร้างจิตอาสาไปปรับใช้ในชีวิตประจาวันได้
3. บอกบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครต่อสังคมได้
4. นาแนวคิดของบุคคลที่ทางานด้านจิตอาสาไปปรับใช้กับตนเองได้

วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. วิธีสอน
1.1 บรรยาย
1.2 อภิปราย
1.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรม
1.4 เรียนรู้ด้วยตนเอง

2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 ผู้เรียนศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตารา ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสรุปด้วย
ตนเองก่อนเรียน
2.2 บรรยายและอภิ ป รายโดยใช้ สื่ อ การเรีย น คื อ เอกสารประกอบการสอนประจ าวิช า
และPowerPoint
108

2.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรมสัมภาษณ์บุคคลที่ทางานด้านจิตอาสาในชุมชนตนเอง
2.4 ผู้สอนบรรยายสรุปเนือ้ หา จากนั้นให้ผู้เรียนทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. PowerPoint
3. แบบฝึกหัด
4. วีดีโอใน YouTube

การวัดและการประเมินผล
1. สังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
2. การทากิจกรรม
3. การทาแบบฝึกหัดท้ายบท
109

บทที่ 6
จิตอาสา สานึกสาธารณะ และบุคคลตัวอย่างด้านงานจิตอาสาในสังคมไทย
ค าว่ า “จิ ต อาสา” และ “ส านึ ก สาธารณะ”เป็ น ค าที่ อ าจยั ง ไม่ คุ้ น ชิ น นั ก ในสั ง คมไทยใน
ช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา เพราะเป็นคาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้กับการทางานและเสียสละเพื่อสังคม
ส่วนรวมในระยะเวลาไม่นานมานี้เอง แต่นับจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเสด็จขึ้น
ครองราชย์ ได้ทรงเล็งเห็นความสาคัญของงานจิตอาสา ทรงจัดตั้งโครงการจิตอาสา “ทาความดีด้วยหัวใจ”
ได้ดาเนินงานจิตอาสาในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทาให้งานจิตอาสาขยายตัวออกไปในพื้นที่น้อยใหญ่ต่าง ๆ
จนเป็ น ที่ รู้ จั ก และดึ งดู ด ให้ มี ป ระชาชนเข้ า ร่ว มอย่ า งกว้ า งขวาง งานจิ ต อาสาเป็ น การปลู ก จิ ต ส านึ ก
สาธารณะให้แก่คนในสังคม ที่ควรต้องมองเห็นผลประโยชน์ของส่วนรวม และละความเห็นแก่ผลประโยชน์
ส่วนตนเองลง เชื่อแน่ว่าหากทุกคนในสังคมเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนรวม และปฏิบัติตนโดยยึดหลักการทา
เพื่ อ คนคนอื่ น โดยไม่ ห วั งผลตอบแทนเป็ น ที่ ตั้ ง สั ง คมไทยจะสามารถพั ฒ นาก้ า วหน้ า อย่ า งสง่า งาม
มั่นคง แข็งแรง และเกื้อกูลกัน โดยการไม่ทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง

ความหมายและความสาคัญของจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
1. ความหมายของจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน่วยงาน และนักวิชาการต่าง ๆ ได้ให้ความหมายของจิตอาสา
ไว้ ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 (2549) (อ้างถึงใน
ณัฏฐ์ชุดา สุภาพจน์, 2561, หน้า 80) ทรงมีพระราชดารัสในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ 9 มิถุนายน 2549 ถึงความหมายของจิตอาสาไว้ว่า คือ คุณลักษณะหนึ่ง
ของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ต้องการของสังคม เป็นบุคคลซึ่งมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ และเสียสละให้กับ
ชุมชนและสังคมด้วยความเต็มใจสมัครใจ บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นทางทุนสังคมที่มีความจาเป็นต่อประเทศ
และต่อโลกใบนี้ กล่าวได้ว่าสังคมใดมีบุคคลที่มีจิตอาสาสังคมนั้นสามารถดารงได้อย่างปกติสุข
ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน (พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน, 2554) ได้ ให้ ค วามหมายของ
“จิตอาสา” ดังนี้ 1) “จิ ต” เป็ น คานิ ย าม หมายถึง “ใจ” สิ่งที่ มีห น้าที่ รู้ คิด และนึก 2) “อาสา” เป็ น
คากริยา หมายถึง เสนอตัวเข้ารับทา ดังนั้น “จิตอาสา” จึงหมายถึง จิตแห่งการให้ด้วยความเต็มใจสมัคร
ใจ เป็นจิตที่พร้อมจะเสนอตัวเพื่อช่วยเหลือบุคคลอื่น และพร้อมที่จะเสียสละเวลาเพื่อลงแรงทั้งแรงกาย
และแรงความคิดทาสาธารณประโยชน์ ต่าง ๆ หรือทาสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
บุคคลที่มีจิตอาสาจะมีความสุข ความสบายใจที่ได้ทาเพื่อบุคคลอื่น
พระไพศาล วิสาโล (2544) (อ้างถึงใน ปิยาภรณ์ กันเกตุ, 2554, หน้า 9) ได้ให้ความหมายของ
“จิตอาสา” ว่าคือ คือความรู้สึกที่จะทางานเพื่อผู้อื่นและสังคม รักที่จะเป็นนักบาเพ็ญประโยชน์ เป็นผู้เป็น
110

จิตสูงเมื่อเห็นผู้อื่นเกิดความทุกข์ก็เสนอตัวเข้าไปเพื่อช่วยดับทุกข์นั้น จิตอาสา คือ เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อ


ได้สร้างกุศล เป็นจิตที่เปี่ยมด้วยการให้
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์ (2550, หน้า 14) ให้ความหมายว่า “จิตอาสา” คือ จิตของบุคคลที่มี
ต่อผู้ อื่น เป็ น จิ ตที่ ต้องการจะมอบความช่ว ยเหลื อโดยไม่ห วังผลประโยชน์ใด ๆ บุคคลที่มีจิตเช่นนี้ จะมี
ลักษณะหรือมีพฤติกรรมที่เสนอตัวเพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชนหรือสังคมส่วนใหญ่ เช่น การบริจาคทรัพย์
การสละเวลา แรงกาย แรงความคิด เพื่อผู้อื่นด้วยความรักความปรารถนาดี
กรรณิ กา มาโน (2553, หน้ า 7) กล่ าวถึงจิตอาสาว่า หมายถึง จิต ของผู้ ที่เสนอตั วบ าเพ็ ญ
สาธารณประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งการกระทานี้เป็นการกระทาด้วยความเต็มใจ ความพอใจ ไม่มีใครมาสั่ง
หรือบังคับให้ทา และจะลงมือทาโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน
กล่ า วโดยสรุ ป จิ ต อาสา (volunteer spirit) หมายถึ ง จิ ต แห่ งการให้ โ ดยเต็ ม ใจเพื่ อ ผู้ อื่ น
โดยไม่ ห วั ง สิ่ ง ตอบแทน มี ที่ ม าจากการรวมกั น ของค าสองค า คื อ ค าว่ า “จิ ต ” และค าว่ า “อาสา”
จิต หมายถึง จิตใจหรือความรู้สึกนึกคิด ส่วน อาสา นั้น หมายถึงการทาสิ่งใดด้วยความสมัครใจโดยไม่มี
ผู้ใดบังคับ
ส่วนคาว่า “สานึกสาธารณะ” นั้นอันที่จริงแล้วแทบจะมีความหมายเหมือนกับคาว่าจิตอาสา
ต่างกันตรงที่จิตอาสานั้นเป็นการทาตามความมุ่งหวังของตนเอง ในขณะที่สานึกสาธารณะเป็นการกระทา
ที่เกิดจากสานึกที่ดีในสังคม โดยพอจะให้ความหมายของคาว่าสานึกสาธารณะ (public consciousness)
ว่ า คื อ คุ ณ ลั ก ษณะทางจิ ต ใจของบุ ค คลที่ มี ค วามพร้ อ ม มี ค วามความปรารถนาที่ จ ะช่ ว ยแก้ ปั ญ หา
อุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการรู้จักหวงแหนและรักษาสิ่งของที่เป็นส่วนรวมด้วย บุคคลที่มี
สานึกสาธารณะจึงเป็ นบุ คคลที่มีความเสีย สละ ในการทาประโยชน์เพื่ อส่วนรวม (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ ,
2562, หน้า 194)
กล่าวโดยสรุป สานึกสาธารณะ คือ จิตสานึก (conscious) ของผู้ที่มีสติ รู้ว่าตนเองต้องทา
อะไรทาแล้ ว จะส่ งผลอย่ างไร เป็ น จิ ตที่ ระลึ ก รู้อยู่ เสมอ ส่ ว นคาว่า สาธารณะ (public) คือ ความเป็ น
องค์รวม หรือเป็นส่วนรวม ในที่ นี้อาจหมายถึงสังคมส่วนรวมก็ได้ ดังนั้น เมื่อนาคาทั้ง 2 คา มารวมกัน
“สานึกสาธารณะ” จึงมีความหมายว่า การระลึกรู้หรือการมีสติรู้ตัวเพื่อที่จะบาเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ

ภาพที่ 6.1 โครงการทาความดีด้วยหัวใจ เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10


ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2561
111

2. ความสาคัญของจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
การมีจิตอาสาและสานึกสาธารณะ เปรียบเสมือนเป็นการทาจิตใจของเราให้เบิกบานอย่าให้จิต
ของเราขุ่นข้น ทางานร่วมกันระหว่างกาย (ภายนอก) และจิต (ภายใน) การทางานจิตอาสาเป็นการทางาน
ที่ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ ทาให้การทางานเป็นไปอย่างเบิกบานสนุกสนาน จิตเสมือนน้าใสที่หล่อเลี้ยงชีวิต
จึ งเป็ น สิ่ งที่ ก่ อ ให้ เกิ ด ประโยชน์ ม ากมายทั้ ง ต่ อ บุ ค คล สั งคม และประเทศชาติ หากท างานโดยหวั ง
ผลตอบแทนแล้วไม่ได้รับผลตามที่คาดหวัง จิตจะขุ่นข้นด้วยอารมณ์ท้อแท้ เหมือนน้าใสขุ่นข้นด้วยตะกอน
จิ ต ใจจะเกิ ด การอุ ด ตั น ) จากข้ อ ความข้ างต้ น ท าให้ เห็ น ถึ งความส าคั ญ ของการมี จิ ต อาสาและส านึ ก
สาธารณะว่ านอกจากจะเป็ น สิ่ งที่ ท าให้ ค นท างานหรือ ท ากิ จ กรรมเพื่ อ สั งคมได้ อ ย่ างมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
เป็ น ประโยชน์ ต่ อสั งคม และประเทศชาติแล้ ว ก็ยังมีผ ลให้ บุคคลที่มีจิตอาสาและส านึ กสาธารณะนั้ น
มีความสุข ดังเช่น คากล่าวของพระครูโชติธรรมมหาภิรมย์ที่ว่าจิตอาสาเป็นการทาจิตของเราให้เบิกบาน
(ปิยะนาถ สรวิสูตร, 2552, หน้า 36)
จากการศึ ก ษาความส าคั ญ และประโยชน์ ข องการให้ โดยไม่ ห วังผลตอบแทนจากหนั งสื อ
GIVE & VOLUNTEER GUIDE ซึ่งคู่มือจิตอาสาของเครือข่ายจิตอาสา จะเห็นว่าจิตอาสามีประโยชน์ทั้งต่อ
ตั ว เอง คื อ บุ ค คลที่ มี จิ ต อาสาและส านึ ก สาธารณะจะได้ รั บ ความสุ ข จากการให้ ด้ ว ยใจ และไม่ ห วั ง
ผลตอบแทนเมื่อมีความสุขฮอร์โมน Endorphin จะหลั่งมาโดยอัตโนมัติส่งผลให้ สุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้
จิตอาสาและสานึกสาธารณะยังมีประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ คือ ทาให้บุคคลในสังคมมีชีวิตที่
ปลอดภัย เนื่องจากทุกคนร่วมใจกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่หวังผลตอบแทน ส่งผลให้สังคมเข้มแข็ง
ปัญหาสังคมก็จะลดลงนั่นหมายความว่าชีวิตของทุกคนจะปลอดภัยมั่นคงยิ่งขึ้น
จิ ต อาสาและส านึ ก สาธารณะมี ป ระโยชน์ ต่ อ บุ ค คลที่ ทั้ ง 2 สิ่ งอยู่ ภ ายในจิ ต ใจของตนเอง
กล่าวคือ มีความสุขความภูมิใจในตนเองเมื่อได้ทาประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ เมื่อบุคคลเหล่านั้น
ทางานหรือกิจกรรมเพื่อสังคมโดยในใจไม่หวังผลผลตอบแทน โดยเฉพาะงานงานอาสาสมัครที่ต้องปฏิบัติ
ด้วยใจ ด้วยความต้องการที่จะช่วยเหลือสังคมโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ย่อมส่งผลให้เกิดความยั่งยืน
และช่วยยกระดับจิตใจของกลุ่มคนที่ทางานเพื่อสังคมให้ สูงส่งขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป (ปิยะนาถ สรวิสูตร,
2552, หน้า 36-37)
โดยเราพอจะยกความสาคัญของการมีจิตอาสาและสานึกสาธารณะได้ ดังนี้ (มหาวิทยาลัย
ราชพฤกษ์ สานักงานพัฒนานิสิต, 2557)
2.1 ทาให้บุคคลมีความคิดขั้นสูงช่วยยกระดับจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา เพราะการทางาน
จิตอาสาหรือการมีสานึกสาธารณะมุ่งเน้นการให้มากกว่าการรับ ทาให้ ได้พบความสุ ขที่เกิดจากการให้
ซึ่งเป็นความสุขที่มีคุณค่ากว่าความสุขที่เกิดจากการได้รับ
2.2 บุคคลที่มีจิตอาสาและสานึกสาธารณะย่อมเป็นที่รักใคร่ของบุคคลรอบข้าง เพราะมองเห็น
คุณค่าในความดีที่มีอยู่ในบุคคลนั้น มากกว่ามูลค่าของทรัพย์สินใด ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการผูกมิตรแท้ได้
อย่างยั่งยืน
2.3 ทาให้สังคมมีการแบ่งปัน การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันดูแลรักษาสิ่งของ
สาธารณะเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันรวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัว
112

2.4 ทาให้สังคมน่าอยู่และเป็นสังคมคุณภาพที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกัน
และกัน

ประวัติความเป็นมาของแนวคิดจิตอาสาและสานึกสาธารณะในสังคมไทย
ในสังคมไทยจิตอาสาและสานึกสาธารณะเกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ
ในวัน ที่ 26 ธันวาคม 2547 หลั งจากเกิดเหตุการณ์ ปรากฏว่าได้มีอาสาสมัครหลั่ งไหลจากทั่วประเทศ
และทั่ ว โลกเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป ระสบภั ย ด้ ว ยการเข้ า มาสนั บ สนุ น การท างานของภาครั ฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาสังคมต่าง ๆ อาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ดาเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
กู้ศพ และทาความสะอาดบริเวณชายทะเล 4 จังหวัดภาคใต้ อย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยสร้างความ
ประทับ ใจให้ แก่ผู้พบเห็ น เป็ น อย่ างมาก จากเสี ยงชื่นชมเชิดชูอาสาสมัครจากเหตุการณ์ ในครั้งนี้ ทาให้
สั ง คมไทยตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า และความส าคั ญ ของการช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล กั น ของคนสั ง คมโดยไม่ ห วั ง
ผลประโยชน์ใด ๆ ตอบแทน (กรรณิกา มาโน, 2553, หน้า 5-6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบั บ ที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ให้ ค วามส าคั ญ กั บ การ กระจายอ านาจการเมื อ งการปกครองท้ อ งถิ่ น
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยกล่าวว่า กลไกที่จะทาให้คนพัฒนา คือ ระบบการศึกษา ฉะนั้นจึงมี
การกล่าวถึง “จิตสาธารณะ” หรือ “จิตสานึกสาธารณะ” มากขึ้น โดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติได้
ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ แล้วกาหนดให้ พ.ศ. 2544 เป็นปีอาสาสมัครสากล (international year of
volunteer) หรือที่รู้จักว่า “IYV 2001” จึงก่อให้เกิดการตื่นตัวไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย
แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั งคมแห่ งชาติ ฉบั บ ที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้ กล่ าวถึง จิต ส านึ ก
สาธารณะว่าเป็นคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ซึ่งจะพาประเทศไปสู่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง จากนั้น ในแผนพัฒ นาเศรษฐกิจและสังคมแห่ งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2549-2554)
ได้มีการนาเอาหลักคุณธรรมมาตัวเป็นขับเคลื่อนการ กาหนดทิศทาง แนวทาง และกลยุทธ์เพื่อการพัฒนา
ประเทศในทุ ก ขั้ น ตอน โดยระบุ ไว้ วิ สั ย ทั ศ น์ ป ระเทศไทยว่ า “สั งคมอยู่ เย็ น เป็ น สุ ข ร่ ว มกั น คนไทยมี
คุณ ธรรมน าความรู้ เท่ าทั น โลก ครอบครั ว อบอุ่ น ชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง สั งคมสั น ติสุ ข เศรษฐกิ จมี คุ ณ ภาพ
เสถียรภาพ และเป็นธรรม” นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (มาตราที่ 6)
กาหนดลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ไว้ ว่าการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ ง ร่ายกาย จิตใจ สติปัญญา ควรมี
พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีวินัย ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าที่ ชื่อสัตย์ขยัน ประหยัด มีจิตใจ
ประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น เสียสละ รักษาสิ่งแวดล้อม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง
สันติสุข (สานักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา, 2549, หน้า 63)
113

ภาพที่ 6.2 ความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิ พ.ศ. 2547


ที่มา: มติชนออนไลน์, 2563

จะเห็นได้ว่าในระดับรัฐได้มีการสอดแทรกแนวคิดจิตอาสาและสานึกสาธารณะเอาไว้ในหน่วยงาน
หลาย ๆ ส่วน เพื่อบูรณาการลงสู่ระดับประชาชนมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี แล้ว แต่กลับไม่สามารถทา
ให้ ป รากฏเป็ น รู ป ธรรมที่ ชั ด เจนได้ จนกระทั่ งเกิ ด เหตุ ก ารณ์ สึ น ามิ ใน พ.ศ. 2547 แนวคิ ด จิ ต อาสา
สานึกสาธารณะ และคาว่าอาสาสมัคร จึงเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้นในสังคมไทย อย่างไรก็ตาม
ภายหลัง พ.ศ. 2547 แนวคิดดังกล่าวก็ค่อย ๆ เลือนหายและลดบทบาทที่มีต่อสังคมลงไป จนกระทั่งเมื่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณฯ รัชกาลที่ 10 ได้ทรงส่งเสริมและสนับสนุนแนวคิดจิตอาสา
และสานึกสาธารณะให้กลับมามีบทบาทต่อประชาชนในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง จนสร้างความตื่นตัวให้คน
ในสังคมไทยก้าวออกมาทางานด้านจิตอาสากัน อย่างกว้างขวางในระยะเวลา 5-6 ปี ที่ผ่านมา เห็นได้จาก
อาสาสมัครจากทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศจานวนมหาศาลที่สมัครใจเดินทางมาเพื่อช่วยเหลือเยาวชนทีม
ฟุตบอล หมูป่ า อคาเดมี่ ทั้ง 13 ชีวิต ซึ่งผลัดหลงติดอยู่ในถ้าของ วนอุทยานถ้าหลวง-ขุนน้านางนอน
ตาบลโป่งผา อาเภอแม่สาย จั งหวัดเชียงรายใน พ.ศ. 2561 โดยไม่หวังผลตอบแทน (ทศเทพ บุญทอง,
2563, หน้า 1)

ภาพที่ 6.3 อาสาสมัครทั้งไทยและต่างชาติในเหตุการณ์ที่ถ้าหลวง พ.ศ. 2561


ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 2561
114

ส าหรั บ ประเทศไทยได้ถือเอาวัน ที่ 27 ธัน วาคม ของทุกปี เป็น วัน “จิตอาสา” หลั งจากความ
สูญเสีย เมื่อ 26 ธันวาคม 2547 จากเหตุการณ์ “สึนามิ” แม้ด้านมืดของเหตุการณ์จะสร้างความเสียหาย
แก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนอย่างมหาศาล แต่ด้านสว่างของเหตุการณ์ดังกล่าวกลับเผยให้หลายคนมี
โอกาสได้รู้จักคาว่า “จิตอาสา” อันเกิดจากการไม่อาจทนเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ เมื่อน้าทะเลลดสิ่งที่ไหลมา
แทนที่คือน้าใจ อาสาสมัคร จานวนมากต่างสละกาลังกาย กาลังใจ กาลังทรัพย์ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
อย่างแข็งขัน แม้จะต่างถิ่นฐาน ต่างเชื้อชาติ ต่าง ภาษา ทว่าได้ก่อเกิดคลื่น “จิตอาสา” หลังไหลลงพื้นที่
ประสบภัย จากช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ในครั้งนั้น จึงได้ถือเอาวันถัดจาก วันที่ 26 ธันวาคม เป็นวัน
“จิตอาสา” นั่นเอง (เครือข่ายจิตอาสา, 2559)

แนวคิดและกระบวนการสร้างจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
1. แนวคิดจิตอาสาและสานึกจิตสาธารณะ
สาหรับประเทศไทยเรื่องของจิตอาสาหรือการให้เพื่อสังคมมีมาหลายร้อยปีแล้ว ยิ่งเมื่อเข้าสู่
ยุคที่ศาสนาพุทธเข้ามาเป็นแกนหลักของความศรัทธาในสังคม ในแนวคิดของศาสนาพุทธการให้เพื่อสังคม
ก็คือ สิ่ งที่ เราเรี ย กกั น ว่า “ทาน” นั่ น เอง ในการให้ ท านในศาสนาพุ ท ธประกอบไปด้ว ยอามิส ทาน คื อ
การให้ข้าวของเงินทอง และธรรมทานซึ่งเป็นทานชั้นเลิศ เพราะเป็นการให้ความรู้ ปัญญา และการแนะนา
สั่งสอน ซึ่งในศาสนาพระพุทธการให้หรือทานจะต้องประกอบด้วยอามิสทานและธรรมทาน จึงจะเป็นการ
ให้ ที่สมบู รณ์ เกิดประโยชน์ สูงสุ ด นอกจากด้านศาสนาแล้ วการให้ ในเมืองไทยครั้งโบราณในด้านอื่น ๆ
ก็มีอยู่ในวิถีชีวิตและพฤติกรรมของคนไทยตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นการที่จะมีโอ่งน้าเตรียมพร้อมไว้หน้าบ้าน
สาหรับ ผู้ ค นที่ ผ่ านไปผ่ านมา หรื อ การที่ เรามีค าว่า “ลงแขก” ที่ เป็ น การแสดงให้ เห็ น ถึงความมี น้ าใจ
ความรักใคร่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันของสังคมชนบทในสมัยก่อน โดยมีความเกี่ยวพันกับอาชีพด้านเกษตรกรรม
ไม่ว่าจะเป็นการทานา ทาไร่ ทาสวน กล่าวคือ มีการแลกเปลี่ยนแรงงานเพื่อช่วยเหลือกัน ไม่มีค่าจ้างตอบ
แทน มีเพียงน้าใจเลี้ยงอาหารข้าวปลาตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่ นหมุนเวียนกันไป จากครอบครัวหนึ่งสู่อีก
ครอบครัวหนึ่งทาให้กิจการงานสาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นมีสิ่งที่เรียกว่าเข้าข่าย
โดยทั่วไปของการให้ ภายใต้กรอบของการให้เพื่อสังคมอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบการให้เพื่อที่จะหวัง
ให้ชีวิตผู้อื่นดีขนึ้ และการให้เพื่อที่หวังว่าจะได้สิ่งนั้นคืนมาอย่างเงียบ ๆ (ปิยาภรณ์ กันเกตุ, 2554, หน้า 8)
โดยแนวคิดจิตอาสาและสานึกสาธารณะนั้นเกิดจากสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้ (ปิยะนาถ สรวิสูตร,
2552, หน้า 37)
1.1 เกิดจากความรู้สึกสงสาร เนื่องจากพบเห็นผู้ที่มีความเดือดร้อนมากกว่าตนเองและอยากที่
จะหาทางช่วยเหลือผู้อื่นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ความรู้สึกสงสารเมื่อเห็นเด็กขอทานและอยากบริจาคเงิน
เมื่อรู้ข่าวน้าท่วมในภาคอีสานและอยากบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ เป็นต้น
1.2 เกิดจากประสบการณ์ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยตนเอง และได้รับความสุขจึงอยากช่วยเหลือ
ผู้อื่นอีก
1.3 เป็ น ความรู้สึ กต่อเนื่ อง เมื่อบุ คคลได้รับการช่ว ยเหลื อและรู้สึ กประทั บใจ จึงอยากท า
สิ่งดี ๆ เพื่อผู้อื่นบ้าง
115

2. กระบวนการสร้างจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
นิศารัตน์ แก้วนิยมชัยศรี ได้เสนอกระบวนการในการสร้างจิตอาสาและสานึกสาธารณะให้
เกิดขึ้นได้ ดังนี้ (ปิยาภรณ์ กันเกตุ, 2554, หน้า 9-10)
2.1 ผู้ ป กครองและครู ต้องเข้ามามี บทบาทส าคั ญ ในการหล่ อหลอมกล่ อมเกลาให้ เยาวชน
ตระหนั ก ถึ งความส าคั ญ ของการมี จิ ต อาสา เช่ น การที่ ผู้ ป กครองท าตั ว เป็ น แบบอย่ างในการท างาน
เพื่อสังคมสอนให้บุตรหลานช่วยเหลือผู้อื่นจนเป็นนิสัย ในณะที่ในโรงเรียน ครู ต้องจัดกิจกรรมหรือสร้าง
หลั กสู ตรที่ส่ งเสริมให้ ผู้ เรีย นเกิด จิ ต ที่จ ะอาสาอย่างต่อเนื่ อง เช่น การออกค่ายเพื่ อไปบูรณะซ่อมแซม
โรงเรียนในชนบท การบาเพ็ญสาธารณะประโยชน์ในชุมชนที่โณงเรียนตั้งอยู่ เป็นต้น
2.2 การทางานจิตอาสาเป็นงานที่หนักและต้องใช้ความรู้หลายแขนง อีกทั้งยังต้องสื่อสารเกี่ยว
ของกับผู้อื่นตลอดเวลา การเตรียมตนเองให้มีความพร้อมทั้งด้านจิตใจและด้านร่างกาย ศึกษาหาความรู้ใน
ศาสตร์ที่จ าเป็ น สร้างทักษะในการเข้าสั งคมเพื่ อสร้างสั มพั นธภาพอัน ดีกับผู้ อื่นอย่างสม่าเสมอจึงเป็น
สิ่งจาเป็น หากขาดซึ่งจิตใจและร่างกายที่แข็งแรง ตลอดจนไม่มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและไม่มที ั้งทักษะใน
การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น การทางานด้านจิตอาสาย่อมไม่สัมฤทธิ์ผล
2.3 การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองที่จะเกิดจิตอาสาและ
สานึกสาธารณะ ควรมีกิจกรรมที่เป็นการช่วยเหลือและทาสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
2.4 การเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดจิตอาสาและสานึกสาธารณะอย่างต่อเนื่อง

ภาพที่ 6.4 ควรปลูกฝังจิตอาสาและสานึกสาธารณะตั้งแต่เยาวชน


ที่มา: นรรัชต์ ฝันเชียร, 2562

คุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
ณั ฐ นิ ช ากร ศรี บ ริ บู ร ณ์ (2550) (อ้ า งถึ ง ใน กรรณิ ก า มาโน, 2553, หน้ า 7-8) ได้ ก ล่ า วถึ ง
คุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตอาสาและสานึกสาธารณะไว้ว่าต้องมีพฤติกรรมสาคัญอยู่ 3 ประการ คือ
116

1. การช่ ว ยเหลื อ ผู้ อื่ น หมายถึ ง พฤติ ก รรมของบุ ค คลที่ แ สดงออกต่ อ ผู้ อื่ น ในสั ง คม
โดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทน ได้ แ ก่ การช่ ว ยแนะน าสิ่ ง ที่ ถู ก ที่ ค วรแก่ ผู้ อื่ น การให้ บ ริ ก าร และอ านวย
ความสะดวก การมีน้าใจแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น
2. การเสียสละต่อสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกต่อผู้อื่นในสังคมโดยการใช้เวลา
ว่างให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม การเสียสละเงิน เวลาและแรงกายเพื่อผู้อื่นและสังคมด้วยความเต็มใจ
3. ความมุ่ ง มั่ น พั ฒ นา หมายถึ ง พฤติ ก รรมที่ บุ ค คลแสดงถึ ง ความตั้ ง ใจอย่ า งแน่ ว แน่
ในการเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น ได้แก่ การที่บุคคลให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลง หรือปัญหาที่เกิดขึ้น
ในสังคม ชุมชน หรือโรงเรียน มีการเสนอแนวคิดในการพัฒนาสังคม ชุมชน และโรงเรียน ของตนตลอดจน
ร่วมทากิจกรรมการส่งเสริมสร้างจิตอาสาและสานึกสาธารณะ เพื่อพัฒนาสังคม ชุมชน และโรงเรีย นอย่าง
สร้างสรรค์และหลากหลายได้เหมาะสมตามวัยของตนเอง
ในขณะที่ ยุ ท ธนา วรุ ณ ปิ ติ กุ ล (2542, หน้ า 181–183) ได้ ก ล่ า วถึ ง บุ ค คลที่ มี จิ ต อาสา
และสานึกสาธารณะว่าต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. เป็ น ผู้ เสี ย สละ ทุ่ ม เทอุ ทิ ศ ตนเพื่ อ บุ ค คลอื่ น และมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม กล่ า วคื อ
บุคคลไม่ได้ดาเนินชีวิตโดยคานึงถึง สิทธิ เสรีภาพ เท่านั้น แต่ควรคานึงถึงการมีหน้าที่ในการเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคมด้วย และหน้าที่ซึ่งสาคัญประการหนึ่งของสมาชิกในสังคมก็คือการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคม
อาทิ การเห็นความสนใจเสียสละเวลาติดตาม ตรวจสอบ การทางานของรัฐ ไม่เพิกเฉยละเลยและอุทิศตน
เพื่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมตามความรู้ความสามารถ
2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล ในปัจจุบันสังคมไทยของเราเกิดการแพร่หลายของกระแส
ปัจเจกชนนิยมและแนวคิดต้อต้านพหุวัฒนธรรม ทาให้ผู้คนแยกตัวออกจากสังคม เกิดการแตกแยกจาก
การแบ่กฝักแบ่งฝ่ายเป็นกลุ่มก้อน ละเลยการบาเพ็ญ ประโยชน์เพื่อส่วนรวม ดังนั้น ผู้มีจิตสานึกสาธารณะ
ต้องวางตนเองอยู่บ นพื้นฐานแนวคิดความเป็นพลเมืองแห่ งโลก มองมนุษย์ทุกคนที่แตกต่างด้วยความ
เคารพและยอมรับ สนับสนุนที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยแนวทางที่สงบและสันติ สื่อสารแลกเปลี่ยน
ความคิ ด กั บ ผู้ ที่ แ ตกต่ างจากเราด้ ว ยเหตุ และผล การจ าแนกปั ญ หาออกจากตั ว บุ ค คล เพื่ อ หาข้ อ ยุ ติ
และเพื่อและเพื่อให้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่ายสังคมถึงจะก้าวไปข้างหน้าไป
3. ตระหนั ก ถึ งคุ ณ ค่ าหรื อ ความส าคัญ ของการท าผลประโยชน์ เพื่ อ ส่ ว นรวม หากเราเห็ น แต่
ประโยชน์ ส่ ว นตน มองประโยชน์ ข องผู้ อื่ น หรื อ ของสั งคมว่า เป็ น สิ่ งที่ ไม่ ส าคั ญ สุ ด ท้ า ยจะกลายเป็ น
ความเห็นแก่ตัว ซึ่งขัดกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนในสังคมยุคใหม่ที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
การทาเพื่อส่วนรวมเป็นการฝึกจิตใจของตนเองให้เป็นผู้รู้จักให้
4. การลงมื อ กระท า ผู้ มี จิ ต อาสาถื อ เป็ น นั ก ปฏิ บั ติ ไม่ ใช่ นั ก ตี ฝี ป ากหรือ นั ก โต้ ว าที กล่ า วคื อ
การวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาเป็นเรื่องง่าย แต่การลงมือทาเพื่อแก้ไขปัญหานั้นเป็นเรื่องยาก เพราะการลงมือ
ทานั้นเหนื่อยและยากกว่าการพูดเสมอ ดังนั้น เราจึงพบว่าคนเรามัก ชอบวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาต่าง ๆ
ที่ตนเองพบเจอในชีวิตทั้งปัญหาส่วนตัวและปัญหาสังคม โดยเพิกเฉยที่จะลงมือแก้ปัญหาทั้งหลายเพื่อให้
ตนเองหรือสังคมก้าวหน้าขึ้น ดังนั้น เราจึงยกย่องว่าผู้มีจิตอาสาถือเป็นบุคลากรที่มีส่วนสาคัญในการแก้ไข
ปัญหาของสังคมเสมอ เพราะผู้มี จิตอาสาถือผู้ที่เสนอตัวเข้าไปลงไม้ลงมือกับทาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
อยู่เป็น นิจ และผู้มีจิตอาสาจะไม่วอกแวกหรือเกิดความคลางแคลงใจในการลงมือปฏิบัติการเพื่อแก้ไข
ปัญหาให้บุคคล ชุนชน หรือสังคมส่วนใหญ่ของตนเองแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ตาม
117

ความหมาย คุณสมบัติ และบทบาทของอาสาสมัคร


1. ความหมายของอาสาสมัคร
สุรัสวดี หุ่นพยนต์ และภูมิธรรม เวชยชัย (2527, หน้า 2) กล่าวว่า อาสาสมัคร คือ การทางาน
ด้วยความสมัครใจและความเสียสละ โดยมีความประสงค์ที่จะทาประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวม มากกว่า
การสร้างประโยชน์แก่ตนเอง
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2534, หน้า 6) ได้ให้ความหมายของอาสาสมัครว่า หมายถึง ผู้ที่รักจะ
ทางานซึ่งมี เป้าหมายหรือวัตถุป ระสงค์ของงานก็เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมแก่ผู้ประสบความทุกข์ยาก
เดือดร้อนเป็ นการทางานที่ตั้งอยู่ บนพื้นฐานของสถานภาพ เวลา และความรู้ที่ตนเองมีอยู่ โดยไม่ห วัง
ผลประโยชน์ ซึ่งจะได้ ตอบแทน งานที่ ทาเพื่อ ประโยชน์ แก่ส่ วนรวมนี้ ไม่ ใช่งานประจาที่มีค่ าตอบแทน
แต่เป็ น การปฏิ บั ติงานบริ การในลั กษณะให้ เปล่ า ทั้ งทางตรง (direct service) หรือทางอ้อม (indirect
service)
สมพร เทพสิทธา (2541, หน้า 1) ได้กล่าวว่า อาสาสมัคร คือ บุคคลที่สมัครใจหรือเต็มใจที่จะ
สละเวลาอันมีค่าทางานเพื่อสังคมโดยไม่หวังผลกาไรตอบแทน คาว่าอาสาสมัครนอกจากหมายถึงบุคคลที่
เป็นรูปธรรมแล้วยังหมายถึงจิตอาสาสมัครที่เป็นนามธรรมด้วย
ศุภรัตย์ รัตนมุขย์ (2551, หน้า 11) กล่าวว่า “อาสาสมัคร” เป็นคาที่เทียบเคียงความหมายกับ
ศัพท์ภ าษาอังกฤษว่า “volunteer” โดยที่คาว่า volunteer นี้มีใช้ครั้งแรกในช่วงคริส ต์ศตวรรษที่ 17
ซึ่งหมายถึ งผู้ ที่ ส มั ครเข้ าเป็ น ทหารโดยไม่ ได้ ถูกบั งคับ ให้ เป็น ตามปกติ กล่ าวคือ สมั ครใจที่ จะเป็ น เอง
และความหมายนี้ ยังใช้รวมไปถึงการสมัครใจทางานใด ๆ โดยไม่รับค่าตอบแทน
ปิยากร หวังมหาพร (2556, หน้า 16-17) ได้ให้ความหมายของอาสาสมัคร คือ บุคคลที่สมัคร
ใจทางาน เพื่อประโยชนแกส่วนรวม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อาสาสมัครก่อให้เกิดการกระจายเศรษฐกิจ
ไปสู่ สังคม เนื่ องจากกิจกรรมที่อาสาสมัครดาเนินการได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือหน่วยงานเอกชน
อาสาสมั ค รจึ ง เป็ น การลดภาระค่ า ใช้ จ่ า ยของภาครั ฐ อาสาสมั ค รช่ ว ยสร้ า งความเหนี ย วแน่ น
และความเข้มแข็งของชุมชนเป็ นการส่ งเสริมความไว้วางใจระหว่างประชาชน ช่วยพัฒ นาค่านิยมของ
ความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน และอาสาสมัครทาให้ได้พบเพื่อนใหม่ เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ก่อให้เกิดความ
มั่นใจและการยอมรับ
ชาญณรงค์ วงศ์วิชัย (2559, หน้า 21-22) กล่าวว่าอาสาสมัคร หมายถึง ผู้สมัครใจทางานให้
ส่วนร่วมหรือสังคมโดยไม่หวัง ผลตอบแทนที่เป็นวัตถุหรือเงิน ที่เป็นรูปธรรมแต่ผลตอนแทนอาสาสมัครจะ
ได้รับ คือความสุ ขทาง จิ ตใจ และความเคารพของชุมชนการเป็ นแบบอย่าง ซึ่งเป็นนามธรรมการเป็ น
อาสาสมัครต้องมี ความเป็นอิสระพร้อมทั้งภาระหน้าที่ของอาสาสมัครต้องไม่งานในหน้าที่ที่เป็นงานประจา
ผู้ที่สมัครใจ ทางานเพื่อประโยชน์แห่งประชาชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินและจิตที่พร้อม
จะสละ เวลา แรงกายสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทาความดี
กล่าวโดยสรุป อาสาสมัคร คือ บุคคลที่สมัครใจที่จะเสียสละความสบายส่วนตนเพื่อทางาน
ให้แก่สังคม มีความตั้งใจที่จะบาเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน มีความห่วงใย
ในเพื่อนมนุษย์โดยมีความรักและความต้องการที่จะเกื้อกูลเป็นที่ตั้ง
118

2. คุณสมบัติของอาสาสมัคร
วัฒนา นวลสุวรรณ์ ได้เสนอคุณสมบัติของอาสาสมัครไว้ 8 ประการ ดังนี้ (ศศิพัฒน์ ยอดเพชร,
2534, หน้า 19-20)
1. มีความรู้พอสมควรใน 3 มิติ คือ
1.1 ความรู้ในวิชาการสังคมสงเคราะห์โดยทั่วไป รู้เทคนิคในการดาเนินงานตาม หลักการ
สังคมสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคในการสังคมสงเคราะห์เฉพาะรายหรือเรียกอีกในหนึ่งว่าการ
สังเคราะห์ผู้เดือดร้อนเป็นรายบุคคล
1.2 มีความรู้ในหน้าที่ขององค์การที่ตนอาสาสมัครเข้าไปช่วย คือ รู้ว่าองค์การดังกล่าวมี
หน้ าที่การงานอะไรบ้ าง มีบ ริการส าหรับ ประชาชนอย่างไร มี ระเบียบ และข้อบังคับ รวมทั้งแผนงาน
อย่างไร
1.3 มีความรู้รอบตัว เช่น ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ ดิน ฟ้า อากาศ อาชีพ ราคาสินค้าใน
ท้ อ งตลาด การปฐมพยาบาล กฎข้ อ บั งคั บ ทั่ ว ไปที่ พ ลเมื อ งควรรู้ และความรู้เกี่ ย วกั บ องค์ ก ารสั งคม
สงเคราะห์ต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมในชุมชน
2. มีศรัทธาในงานอาสาสมัครเก้าคือรักในงานเชื่อมั่นในวิธีการดาเนินงานและผลงานอีกทั้งมี
ความสนใจในการฝึกฝนปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมกับงาน
3. มี บุ ค ลิ ก ลั ก ษณะเหมาะสมรู้ จั ก วางตนดี เป็ น ที่ รั ก ใคร่ ข องผู้ ร่ ว มงานพื้ น ที่ นั บ ถื อ ของ
ผู้รับบริการกระทาตนเป็นตัวอย่างที่ดีกับผู้อื่น
4. มีความอดทนและตั้งใจจริง อดทนทั้งในการปฏิบัติงานและอดทนต่อระเบียบแบบแผน
ต่าง ๆ ประกอบกับต้องมีการตั้งใจทางานจริง ๆ
5. ต้องมีสุขภาพทั้งกายและสุขภาพจิตดีพอสมควร
6. ต้องรู้จักหลักมนุษย์สัมพันธ์สามารถร่วมมือประสานกับบรรดาผู้ร่วมงานได้ดี
7. ต้องมีความเคารพและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ
8. ต้องมีความเสียสละเพื่องานและเพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้
ขณะที่ จารุพ งศ์ พลเดช ได้กล่ าวถึงสิ่ งที่ อาสาสมั ครพึงมีไว้ 5 ประการ ดังนี้ (ชาญณรงค์
วงศ์วิชัย, 2559, หน้า 26)
1. การเป็นอาสาสมัครนั้น ต้อง “เต็มใจ” การทางานอาสาสมัครไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญให้ทา
แต่เป็นการเต็มใจทางานที่ตนรัก มีความปรารถนาดีต่อคนอื่น อยากเห็นเขามีความสุข
2. การเป็ น อาสาสมัครนั้ น ต้อง “ตั้งใจ” คนเรานั้นเมื่อมีความเต็มใจใน การท างานแล้ วจะ
ทางานด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่น ตั้งใจทาให้เกิดผลสาเร็จของงานเป็นสาคัญ ไม่ย่อท้อ กับอุปสรรคหรืองาน
ลาบากใด ๆ มีความเต็มใจในการทางาน ตั้งใจทางานจนสุดความสามารถโดยมิต้องให้ใครมาบังคับ
3. การเป็นอาสาสมัครนั้น ต้อง “พอใจ” พอใจในงานที่ทาด้วยความเต็มใจและ ตั้งใจผลงานที่
ออกมานั้ น ก็ เป็ น ความพอใจของคนท างานที่ ท าให้ ค นอื่น เขาเข้ าใจ ท าให้ เขามีค วามสุ ข ความส าเร็จ
ความสมหวังเกิดความพอใจในการทางานอย่างมีความสุข
119

4. การเป็นอาสาสมัครนั้นต้อง “ดีใจ” ดีใจที่ได้ทางานที่ตนนั้นมีความเต็มใจ ตั้งใจและพอใจ ที่


ได้ทางาน เมื่อทางานแล้วก็เกิดความดีใจจากผลงานที่ได้ทาไว้ให้ปรากฏแก่สาธารณชนเป็นที่ประจักษ์ตาม
ความต้องการของตน
5. การเป็นอาสาสมัครนั้น ต้อง “ภาคภูมิใจ” ในงานที่ตนทาไม่ว่าจะเป็นงานใด ๆ ที่ได้ทาลงไป
เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ คนเราเกิดมาไม่มีใครนาอะไรติดตัวมา แต่เมื่อเกิดเป็นคนแล้วก็ทาแต่ความดี มี
ผลงานเมื่อจากโลกใบนี้ไปแล้ว สิ่งที่เหลือคือความภาคภูมิใจของตนเองครอบครัวและชุมชน

3. บทบาทของอาสาสมัคร
สมพร เทพสิทธา (2541, หน้า 3-4) ได้กล่าวถึงบทบาทของอาสาสมัครไว้ 5 ด้าน ดังนี้
1. บทบาทของอาสาสมัครด้านสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการด้านสังคม
สงเคราะห์ โดยเฉพาะในสังคมไทยที่ยังมีผู้ประสบปัญหาต่าง ๆ ในเชิงสังคมที่รอการเข้าไปช่วยเหลืออยู่
เป็นจานวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เช่น ผู้พิการ คนไร้บ้าน ผู้ประสบสาธารณภัย ผู้ด้อยโอกาสทางทารศึกษา
ผู้ สู งอายุ หรื อ เหยื่ อ ของคดี อ าชญากรรม ปั ญ หาในเชิ งสั งคมสงเคราะห์ เหล่ านี้ อ าสาสมั ค รจะช่ ว ยใน
การรั ก ษาพยาบาล ช่ ว ยเป็ น เพื่ อ น ช่ ว ยให้ ค าปรึ ก ษาและก าลั ง ใจ ช่ ว ยให้ บุ ค คลเหล่ า นี้ มี ค วามสุ ข
และความหวังในชีวิต
2. บทบาทของอาสาสมัครในการแก้ไขปัญหาสังคม อาสาสมัคร คือ ผู้ที่เป็นห่วงเป็นใยความ
เป็ น ไปของสั งคมเสมอ จากความรู้สึกดังกล่ าวย่อมส่ งผลให้ อาสาสมัครมี บทบาทส าคัญ ในการป้องกัน
และแก้ไขปั ญหาสังคม เช่น การเป็นหู เป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่รัฐในการป้องปรามสิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ
หรือการชี้ให้เห็นถึงปัญหาและลงมือกระทาเพื่อแก้ไขปัญหานั้นโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่
หรือหน่วยงานของรัฐ
3. บทบาทของอาสาสมั ค รด้ า นการพั ฒ นาสั ง คม อาสาสมั ค รคื อ ผู้ ที่ ต้ อ งการให้ ผู้ อื่ น มี
ความสุขและมีความมั่น คงในชีวิต ดังนั้น อาสาสมัค รจึงมีหน้าที่ส าคัญในการพัฒ นาคุณภาพชีวิตให้แก่
หน่ วยต่าง ๆ ในสั งคม เช่น การมีส่วนช่วยพัฒ นาสถาบันครอบครัวซึ่งถือเป็นหน่วยทางสั งคมที่สาคัญ
รวมไปจนถึงการช่วยพัฒนากลุ่มคนต่าง ๆ ที่ยังขาดโอกาสในสังคมไม่ว่าจะเป็น เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ รวมทั้ง
คนพิ การให้ มีคุณ ภาพชี วิต ที่ดี ขึ้น ทั้งนี้ ก็เพื่ อให้ สั งคมเป็ น สุ ข มั่ นคง ครอบครัว ชุม ชนมี ความเข้มแข็ ง
มีความเจริญมั่นคง ก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืน
4. บทบาทของอาสาสมัครด้านการพัฒนาองค์การ อาสาสมัครมีบทบาทที่สาคัญในการพัฒนา
องค์การสาธารณะประโยชน์ หรือองค์กรเอกชน (Non Governmental Organization หรือ NGO) ร่วม
บริหารงานขององค์กรเอกชน เช่น สมาคม และมูลนิธิด้วยความรู้ความสามารถ และความเสียสละทาให้
องค์การเอกชนมีบทบาทสาคัญในการทาประโยชน์ให้แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ
5. บทบาทของอาสาสมัครในด้านการส่งเสริมความมั่นคงของชาติ อาสาสมัครจะดารงตนเป็น
พลเมืองที่ดีภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้น อาสาสมัครจึงเป็นผู้ที่
ตระหนักถึงความสาคัญในสถาบันหลักของชาติซึ่งดารงอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน ดังนั้น อาสาสมัคร
จึงมี บทบาทสาคัญในการที่จ ะรักษาและส่ งเสริมความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
อยู่เสมอ
120

กล่ า วได้ ว่ า “อาสาสมั ค ร” เป็ น เป็ น บทบาทหรื อ หน้ า ที่ อั น เกิ ด จากการมี จิ ต อาสา
และสานึกสาธารณะเป็นแรงขับเคลื่อน ซึ่งมีความหมายอย่างมากกับสังคมส่วนรวม อาสาสมัครเป็นผู้ที่
เอื้อเฟื้อ เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือสังคมให้เกิดประโยชน์และความสุขมากขึ้น
การเป็น "อาสาสมัคร" ไม่ว่าจะเป็นงานใด ๆ ก็แล้วแต่ที่ทาให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่
อาสาสมัครเต็มใจทั้งสิ้น คนที่จะเป็นอาสาสมัครได้นั้น ไม่ได้จากัดที่ วัย การศึกษา เพศ อาชีพ และฐานะ
หากแต่ ต้ อ งมี จิ ต เป็ น "อาสา" และมี “ส านึ ก ” เป็ น สาธารณะ ที่ อ ยากจะช่ ว ยเหลื อ ผู้ อื่ น หรื อ สั ง คม
กิจ กรรมของอาสาสมัครเป็ น กระบวนการของการฝึ ก "การให้ " ที่ดีเพื่อขัดเกลาจิตใจ ลดความเห็ นแก่
ประโยชน์ส่วนตน และบ่มเพาะความรักความเมตตาต่อผู้อื่นโดยไม่มีเงื่อนไข (วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, 2562
หน้า, 195)

รูปที่ 6.5 งานอาสาสมัครในบางครั้งต้องเสี่ยงอันตราย


ที่มา: ข่าวสดออนไลน์, 2564

บุคคลตัวอย่างด้านงานจิตอาสาในสังคมไทย
สั ง คมของเราจะน่ า อยู่ ไ ด้ ถ้ า หากคนในสั ง คมส่ ว นใหญ่ มี จิ ต อาสาและส านึ ก สาธารณะ
เป็นผู้รู้จัก "ให้" แก่ผู้อื่น มากกว่าเป็นผู้ "รับ" ซึ่งก็ยังมีคนอีกจานวนมากที่พร้อมจะเป็น "ผู้ให้" และรังสรรค์
สิ่งดี ๆ เพื่อสร้างสังคมและประเทศชาติให้ดีขึ้น โดยช่วงระยะเวลา 3-4 ปี ที่ผ่านมามีบุคคลมากมายจาก
ทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสังคมในผลงานด้านงานจิตอาสาของพวกเขา
จนสร้างความความรู้สึ กซาบซึ้ง ประทับ ใจ และผลั กดันให้ ผู้ อื่นที่รับรู้เกิดส านึกสาธารณะ จนมีความ
ต้องการที่จะทางานด้านจิตอาสาให้แก่สังคมบ้าง โดย เราพอจะยกตัวอย่างบุคคลที่ทางานด้านจิตอาสาที่
ได้รับการยกย่องจากสังคมในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาได้ ดังนี้
121

1. นาวาตรี สมาน กุนัน (จ่าแซม)


อดี ต นั ก ท าลายใต้ น้ าจู่ โ จม (SEAL) ซึ่ ง เป็ น ผู้ มี จิ ต อาสา มาช่ ว ยเหลื อ 13 ชี วิ ต ที ม หมู ป่ า
จนหมดสติและเสียชีวิตลง นับว่าเป็นผู้กล้า ผู้เสียสละ เป็นวีรบุรุษแห่งถ้าหลวงขุนน้านางนอน สมาน กุนัน
เกิดเมื่อวัน ที่ 23 ธัน วาคม พ.ศ. 2523 ที่อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด สาเร็จการศึกษาจาก
โรงเรียนชุมพลทหารเรือ และสาเร็จหลักสูตรนักเรียนทาลายใต้น้าจู่โจม รุ่น 30 เข้ารับราชการที่หน่วย
บั ญ ชาการสงครามพิ เศษทางเรื อ กองเรือยุทธการจนถึงยศ “จ่าเอก” ก่อนจะลาออกจากราชการมา
ปฏิ บั ติ งานเป็ น เจ้ า หน้ า ที่ ต ระเวนระงับ เหตุ ฝ่ า ยรั ก ษาความปลอดภั ย (รปภ.) ท่ า อากาศสุ ว รรณภู มิ
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จากัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2549 (บริษัทท่าอากาศยานไทย จากัด, 2561)
วลีพร กุนัน ภรรยาของสมาน กุนัน กล่าวถึงลักษณะนิสัยของสามีว่า “...พี่เขาเป็นคนที่จิตกุศล
ใจบุญชอบช่วยเหลื อคนอื่น ๆ พี่แซมเขาเป็นนักกิจกรรม เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ในกลุ่มปั่นจักรยานก็ดี
กลุ่ มวิ่งก็ดี กลุ่ มหน่ ว ยซีลจะรู้ต รงนี้ ดี พี่เขาไปทุ กงานถ้าประสานมา เป็ นคนที่ จะอาสาคนแรกในเรื่อง
ช่วยเหลือไม่ว่าเรื่องอะไร เดิมแอบคิดค้านเขาที่ไม่ได้อยู่กับเราออกไปเป็นจิตอาสา ต่อมาเราก็เข้าใจเขา
และเข้ าใจคนที่ รั ก เขา ทุ ก วั น นี้ เวลาใครพบเจอเราก็ จ ะทั ก และให้ ก าลั ง ใจ ยิ่ งถ้ า ไปจั งหวั ด เขี ย งราย
จังหวัดร้อยเอ็ดบ้านเกิดพี่เขาจะมีเข้ามาตลอด ไม่มีใครลืมพี่เขา...”(โพสต์ทูเดย์, 2562)
ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย ถ้าหลวงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สมาน กุนัน มีหน้าที่
นาถังบรรจุออกซิเจนจากบริเวณโถงถ้าหมายเลข 3 ไปวางประจาตามต่าง ๆ ที่เป็นจุดพักของนักประดาน้า
ณ บริเวณ 3 แยกภายในถ้า โดยเริ่มปฏิบัติภารกิจตั้งแต่เวลา 20.37 นาฬิกา หลังจากปฏิบัติภารกิจเสร็จได้
ดาน้ากลับออกไปทางปากถ้าแต่กลับแต่หมดสติและไร้สัญญาณชีพระหว่างทาง ทาให้คู่ดาน้าที่ไปด้วยกันได้
ทาการปฐมพยาบาลกระตุ้นหัวใจ (CPR) แต่ไม่สามารถกู้สัญญาณชีพของ สมาน กุนัน ได้ เขาได้เสียชีวิต
ณ เวลาประมาณ 01.00 นาฬิกา ของวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 การเสียชีวิตจากการทางานจิตอาสาในครั้ง
นี้ทาให้มีผู้คนยกย่อง สมาน กุนัน เป็นจานวนมาก และให้สมญานามเขาว่า “จ่าแซม วีรบุรุษถ้าหลวง”
(ข่าวสดออนไลน์ , 2561) สมาน กุนั น ยังได้รับ การไว้อาลั ยในระดับ นานาประเทศ ทั้ งสื่ อ เดลี เมล์ ของ
ประเทศอังกฤษที่แสดงความขอบคุณและระบุว่าเขาจะได้รับการจดจาตลอดไป ในขณะที่ประเทศอินเดีย
ได้มีการสร้างงานศิลปะด้วยกองทรายเป็นรูปของเขาเพื่อเป็นการไว้อาลัยอีกด้วย (โพสต์ทูเดย์, 2561)

ภาพที่ 6.6 นาวาตรี สมาน กุนัน


ที่มา: โพสต์ทูเดย์, 2562
122

2. อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม)


อาทิวราห์ คงมาลัย หรือ ตูน บอดี้สแลม เป็นชาว อาเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นศิลปิน
เพลงร็ อ ก ที่ โ ด่ ง ดั งและได้ รั บ ความนิ ย มเป็ น อั น ดั บ ต้ น ๆ ของประเทศไทยมายาวนานเกื อ บ 20 ปี
(ไทยรัฐออนไลน์, ม.ป.ป.) ตูนเป็นคนชอบออกกาลังกายและเล่นกีฬาหลายประเภท เมื่อเขาได้รับเชิญจาก
โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ร่วมวิ่งการกุศลเพื่อหาเงินจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์
70 ล้านบาท ในโครงการก้าวคนละก้าว 10 วัน 400 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ถึงโรงพยาบาลบางสะพาน
ตั้งแต่วัน ที่ 1-10 ธัน วาคม 2559 เขาจึงยิ นดีตอบรับที่จะเข้าร่วมโครงการ จนกระทั่งโครงการประสบ
ผลส าเร็ จ ด้ ว ยดี จากการเริ่ ม ท างานด้ า นจิ ต อาสาดั งกล่ าว ตู น จึงได้ ต่ อยอดงานด้ านจิ ต อาสาของเขา
เนื่องจากได้พบเห็นถึงสภาพของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลของรัฐที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะ
โรงพยาบาลประจ าอ าเภอ หรื อ ประจ าจั งหวั ด ที่ มี ผู้ ป่ ว ย คนไข้ รวมถึ งญาติ ที่ ต้ อ งไปรอพบแพทย์
และพยาบาลในการรั กษาความเจ็ บ ป่ ว ยของตนโดยใช้ เวลาที่ ย าวนาน ขณะการพบแพทย์เพื่ อ ตรวจ
วินิจฉัยโรคกลับใช้เวลาเพียงเล็กน้อย บางรายที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลก็มีความแออัด อีกทั้ง
อุป กรณ์ เครื่องมือแพทย์ ที่จะช่วยในการรักษาของบางแห่ งมีความไม่พร้อมอันเนื่องมาจากการบริห าร
จัดการในภาพรวม (เฉลิมพล พลมุข, 2560)
ตู น และเพื่ อ น ๆ จึ ง ได้ จั ด โครงการ “ก้ า วคนละก้ า ว” เพื่ อ ซื้ อ อุ ป กรณ์ ก ารแพทย์ ใ ห้
11 โรงพยาบาล โดยวิ่งจาก อาเภอเบตง จังหวัดยะลา ถึง อาเภอแม่ส าย จังหวัดเชียงราย ระยะทาง
2,191 กิ โ ลเมตร 55 วั น โดยเริ่ ม วิ่ งในวั น ที่ 1 พฤศจิ ก ายน 2560 ในการวิ่ งในครั้ ง นี้ ตู น ได้ ก ล่ า วว่ า
“...ผมอยากได้เงิน 10 บาท จากคนไทยทุกคน 10 บาท อาจซื้ออะไรไม่ได้ม าก แต่ถ้าเอากองรวมกัน
เงิน 10 บาท จะสามารถช่วยได้เป็นพันเป็นหมื่นชีวิต…” (เฉลิมพล พลมุข, 2560) โดยเมืองจบสิ้นการวิ่งที่
อาเภอแม่ ส าย จั งหวัด เชีย งราย โครงการก้ าวคนละก้าวได้ย อดบริจาคทั้ งหมดอยู่ ที่ 1,300 ล้ านบาท
(ไทยพีบีเอส, 2561) การมีสานึกสาธารณะ (public consciousness) ทาให้ตูนและเพื่อน ๆ ทาในสิ่งที่
ตนเองและคนอื่น ๆ คิดว่าทาไม่ได้จนประสบผลสาเร็จ
ตูนกล่าวภายหลังจากที่วิ่งถึงจุดหมายว่า “...เป็นอีกวันหนึ่งของชีวิตที่มีความสุขมาก เห็นได้
จากแสงแห่งความสุขที่ฉายอออกมาจากแววตาและรอยยิ้ม เป็นความสุขในการทาความดีให้ผู้อื่น คงไม่ผิด
ที่จะบอกว่ามีเงินเท่าไหร่ก็หาซื้อความสุขแบบนี้ไม่ได้...” (ลงทุนแมน, 2560) อย่างไรก็ตามหากถามว่างาน
ด้านจิตอาสาของตูนได้แก้ปัญหาถาวรให้กับโรงพยาบาลได้หรือไม่ หรือเพียงสร้างเหตุการณ์ขึ้นมาครั้งเดียว
ให้ อ ยู่ ใ นความทรงจ าและลื ม เลื อ นไป คงมี เพี ย งคนในสั ง คมไทยที่ จ ะร่ ว มกั น ตอบคาถามข้ อ นี้ ไ ด้
ถ้าสังคมไทยสามารถทาให้โครงการก้าวคนละก้าวเป็นก้าวเล็ก ๆ ที่เดินไปหาทางออก หรือกลายเป็นก้าวที่
ใหญ่ขึ้น งานด้านจิตอาสาของตูนครั้งเดียวนี้ก็อาจเป็นครั้งเดียวที่มากจนเกินพอก็ได้
123

ภาพที่ 6.7 อาทิวราห์ คงมาลัย


ที่มา: เอ็มไทย, 2560

3. มลฤดี แสนมี่
“สาวอาสากู้ภัย” ที่หัวใจเปี่ยมไปด้วยความเสียสละ ผู้ช่วยเหลือผู้คนมานานกว่า 10 ปี จนรถ
ตนเองต้องเครื่องพังไปถึง 2 คัน มลฤดี เป็นชาว ตาบลนาสัก อาเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยเธอเป็นหัวหน้า
หน่วยกู้ภัยทุ่งตะโก เธอเล่าถึงที่มาที่ไปของหน่วยกู้ภัยและเส้นทางการเข้ามาทาด้า นจิตอาสาของเธอว่า
“... หน่ ว ยกู้ ภั ย ทุ่ งตะโกได้ ท าหน้ าที่ กู้ ชี พ กู้ ภั ย มานานกว่ า 20 ปี จากคนรุ่น ก่ อตั้ งจนถึ งรุ่น ปั จจุ บั น
มีอาสาสมัครกู้ภั ย 10 คน หมุน เวีย นเปลี่ ยนไปตามเวลารวม จนมาถึงรุ่น ของตนเองที่ มีอาชีพ ค้าขาย
ร่วมกับสามี ได้มาทางานเป็นอาสาสมัครกู้ภัยนานกว่า 10 ปี เธอได้ใช้เงินของตนเองซื้อรถตู้และรถกระบะ
มือสอง มาเพื่อทาเป็นรถกู้ชีพ กู้ภัย เพื่อความสะดวกในการทางาน ที่ผ่านมาได้ทาหน้าที่อาสาสมัครกู้ชีพ
กู้ภัย มาโดยตลอด โดยไม่คิดเงิน นอกจากมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้บ้างเล็กน้อย ถือว่าเป็นการสร้างกุศล
และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน...” (เดลินิวส์, 2564,)
การแพร่ร ะบาดของโควิด -19 ในช่วง 1 ปีที่ ผ่ านมา ต้ องออกไปช่วยเหลื อชาวบ้านมากขึ้น
ในขณะที่เธอและสามีที่ทาอาชีพค้าขายกลับไม่ค่อยมีรายได้เพราะผลกระทบจากโรคระบาด ส่งผลให้ไม่มี
ทุนทรัพย์ในการนารถยนต์ทั้ง 2 คัน ที่เธอมีอยู่ในสภาพเก่าตามอายุไปซ่อมแซม จนในช่วงนี้ที่เครื่องยนต์
พังเสียหายหนักมาก รถกระบะไม่สามารถขับได้ ส่วนรถตู้พอจะขับได้ในระยะทางใกล้ ๆ เท่านั้น และไม่
สามารถใช้ค วามเร็ ว ได้ อีก ทั้ ง วิท ยุ สื่ อ สาร อุป กรณ์ สื่ อ สารต่าง ๆ ก็ช ารุด เสี ย หายใช้การไม่ได้ ไปตาม
กาลเวลา เธอจึงจาเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากสังคมหรือกลุ่มอาสาสมัครหน่วยกู้ภัยอื่น ๆ ทั่วประเทศ
ให้ช่วยกันบริจาคเพื่อนารถทั้ง 2 คัน ของเธอไปซ่อมแซม และซื้ออุปกรณ์สื่อสารใหม่ จะได้มีกาลังในการ
ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ผู้เดือดร้อนได้อย่างต่อเนื่อง ถามมลฤดีว่าเธอไม่จาเป็น ต้องสละความสุขส่วนตนมา
ลงทั้งทุน ลงทั้งแรง เพื่อทางานด้านจิตอาสาอย่างนี้ก็ได้ใช่หรือไม่ เธอตอบ “ใช่” แต่ที่มาทางานจิตอาสาก็
ด้วยต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ จึงนับว่าเธอเป็นหญิงสาวที่หัวใจเปี่ยมไปด้วยสานึกสาธารณะอย่าง
แท้จริง (เดลินิวส์, 2564)
124

ภาพที่ 6.8 มลฤดี แสนมี่


ที่มา: เดลินิวส์, 2564

4. กรีฑา อ่อนลายอง
“กรีฑา อ่อนลายอง” หรือ ก๊อต วัย 35 ปี อดีตนักโทษผู้มีรูปร่างสูงใหญ่พร้อมรอยสักเต็มตัว
เขาเป็นอีกหนึ่งผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงได้ผันตัวจากพ่อค้าเสื้อผ้า
มือสองและพ่อค้าขายยาตามตลาดนัดแถวคลองเตย มาขับรถซาเล้งหรือรถพ่วงข้างตะเวนขายข้าวไข่เจียว
ในพื้ น ที่ ก รุ ง เทพฯ แทน (คนค้ น ฅน, 2564) โดยก๊ อ ตเป็ น ที่ รู้ จั ก ของหลาย ๆ คนจากการเห็ น เขาใน
คลิ ป วีดิโอผ่ านทางโซเชีย ลมีเดีย พร้อมกับ ซาเล้ ง หรือรถพ่ วงคู่ใจบรรทุกกล่องข้าวตระเวนแจกอาหาร
คนชรา คนท้อง คนเก็บขยะ และคนไร้บ้าน ไปจนถึงคนเดินถนน จนใครหลายคนอดชื่นชมไม่ได้ ส่งผลให้
เขามีผู้ติดตามใน “Tiktok” “ทาใจให้ชิล” ถึง 256,000 คน และมียอดกดถูกใจกว่า 6.4 ล้านครั้ง ก๊อตเล่า
ว่าหลังจากขายข้าวไข่เจียวได้ไม่นานก็เริ่มทาป้าย "คนท้อง คนชรา คนไร้บ้าน กินฟรี" เพราะคิดว่าช่วงนี้มี
คนลาบากจ านวนมากพร้ อ ม ๆ กั บ คิ ด ว่าอยากจะส่ งต่ อ เรื่อ งราวที่ พ บให้ ค นอื่ น ๆ ได้เห็ น ด้ ว ยจึงเริ่ ม
อั ป โหลดวิ ดี โอผ่ านแอปพลิ เคชั น “Tiktok” เพราะรู้ สึ ก ว่าเป็ น การเล่ าเรื่ อ งจริ งที่ ใส่ เพลงประกอบได้
เมื่อมีกระแสบนสื่อสังคมออนไลน์ ก็เริ่มมีคนติดต่อมาทาบุญด้วย ซึ่งก๊อตกล่าวยืนยันว่าตนเองไม่รับเงิน
บริจาคเป็นเงิน “...ผมเอาเงินมา ผมก็เป็นทุกข์ เลยบอกให้ทุกคนส่งเป็นสิ่งของอาหารมาแทน แล้วผมจะ
เป็นสะพานบุญส่งต่อให้เอง...” (ไทยพีบีเอส, 2563) เมื่อมีร่วมผู้บริจาคสิ่งของ และเหมาข้าวไข่เจียวของ
เขาเพื่อนาไปแจกคนที่เดือดร้อน เขาจึงเริ่มผันตัวจากการขายข้าวไข่เจียวมาแจกข้าวกล่องเพียงอย่างเดียว
การออกไปแจกข้าวและสิ่ งของแต่ล ะวันของก๊อตนั้น จะไม่ได้กาหนดจุดหมายปลายทางที่
แน่นอน เมื่อออกจากบ้านก็ขับรถคู่ใจไปเรื่อย ๆ นั บตั้งแต่ช่วง COVID-19 แพร่ระบาดใหม่ ๆ ที่เริ่มแจก
จนถึ งวั น นี้ เขาได้ ต ะเวนแจกข้ าวกล่ อ งมาเกื อ บทั่ ว กรุงเทพฯ แล้ ว โดยเขาได้ ตั้ งปณิ ธ านกั บ ตนเองว่ า
“ข้าวไม่หมด ไม่กลับบ้าน" เขามองว่าข้าว 1 กล่อง สาหรับคนริมทางนั้นมีค่ามาก บางคนไม่มีเงิน ทั้งวันไม่
มีอาหารตกถึงท้อง เข้าจึงต้องทาเพื่อให้คนเหล่านั้นอิ่มท้อง และมีเรี่ยวแรงที่จะสู้ชีวิตต่อไป (ไทยพีบีเอส,
2563) โดยก๊อตกล่าวถึงสาเหตุและผลลัพธ์จากการที่ตนเองหันมาทางานด้านจิตอาสาว่า “...ผมเห็นคนที่
เดือดร้อน เห็ น บางคนต้องเก็บของในถังขยะกินเป็นประจารู้สึ กสะเทือนใจมากในขณะที่เรามีข้าวเป็น
125

หม้ อ ๆ แต่ค นบางคนกลั บ ต้องคุ้ย ของในถังขยะเพื่ อให้ ต นเองมีชี วิต รอด แล้ ว ท าไมเราจะแบ่ งปัน เขา
ไม่ ได้ น ะ สิ่ งที่ ได้ รั บ กลั บ มาคื อ ความสุ ข ล้ ว น ๆ เลยครั บ มั น เกิ ด ขึ้ น ข้ างใน มั น สั ม ผั ส ได้ ผมรู้สึ ก เป็ น
เกียรติมาก มันเป็นกาลังใจให้ผมมีแรงทาวันนี้ให้ดีที่สุด ผมบอกไม่ได้หรอกว่าจะแจกข้าวหรือทาแบบนี้ไป
ถึงเมื่อไหร่ แต่ผมจะทาวันนี้ให้ดีที่สุด...” (วูดดี้ โชว์, 2563) แม้รูปลักษณ์ภายนอกของก๊อตจะดูแข็งกร้าว
แต่ภายในจิตใจและการกระทากลับเปี่ยมไปด้วยสานึกสาธารณะที่จะแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่นอย่างน้อยแค่
ให้ผู้อื่นอิ่มท้องก็ยังดี

ภาพที่ 6.9 กรีฑา อ่อนลายอง


ที่มา: ไทยพีบีเอส, 2563

5. สุวรรณฉัตร พรหมชาติ
“สุ ว รรณ ฉั ต ร พรหมชาติ ” หรื อ เดี่ ย ว แท็ ก ซี่ ใ จบุ ญ ชาวอ าเภอช้ า งกลาง จั ง หวั ด
นครศรีธรรมราช ที่แม้จะมีอาชีพขับแท็กซี่ แต่เลิกเก็บค่าโดยสารมานาน 20 กว่าปีแล้ว แรกเริ่มเดิมทีเดี่ยว
ประกอบอาชีพทางานก่อสร้างเชื่อมเหล็กจากนั้นพออายุ 18 ปี ก็ผันตัวมาขับรถแท็กซี่ ต่อมาจึงเลิกเก็บเงิน
ค่าบริการและหันมาทาการขับรถ รับ-ส่ง ผู้ป่วย ผู้พิการ ไปโรงพยาบาลโดยไม่คิดเงิน นอกจากนั้นในยามที่
เขาไม่ ได้ ขั บ รถ ยั ง แบ่ ง เวลาไปเชื่ อ มเหล็ ก ท าโต๊ ะ และเก้ า อี้ เพื่ อ บริ จ าคให้ โ รงเรี ย นที่ ย ากจนอี ก ด้ ว ย
เดี่ยวกล่าวว่าในวัยเด็กครอบครัวตนเองมีความยากจนมาก ตนเองจึงต้องบวชเป็นเณรเพื่อหนีความจน
ตั้งแต่เรี ยนอยู่ ชั้น ประถมศึกษา ครูมาตามให้ ตนเองสึ กเพื่อจะได้กลับ มาเรียนต่อ แต่ตนเองไม่ยอมสึ ก
เพราะคิดว่าหากตนเองสึกครอบครัวจะลาบาก โดยตั้งใจไว้ว่าจะบวชตลอดชีวิต ซึ่งการบวชเรียนตั้งเด็กวัย
เด็กเป็นส่วนสาคัญที่บ่มเพาะตัวตนของเขาให้มีนิสัยชอบช่วยเหลือสังคมรักที่จะเป็นผู้ รู้จักให้มากกว่าเป็น
ผู้รับ ต่อมาเดี่ยวเปลี่ยนใจสึกออกมาทางานเป็นร่วมกับพ่อที่เป็นกรรมกรก่อสร้าง จากการเป็นกรรมกรได้มี
โอกาสทางานอีกหลายรูป แบบ จากนั้นจึงผั นตัวมาขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ เพราะมองว่าเป็นอาชีพที่
ค่อนข้างจะอิสระและได้เงินทุกวัน (พระอาทิตย์ LIVE, 2560)
เดี่ยวกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทางานด้านจิตอาสาของตนเองว่า “...วันหนึ่งไปเจอลุงพิการ
เรียกรถหลายคันไม่มีใครรับ พอเรารับแกพูดช้า ๆ หลายครั้งอยากฆ่าตัวตายคนเดี๋ยวนี้ใจดาจริง ๆ ก็ทาให้
ผมแปล๊บในใจ ผมตอนอายุ 15 ถูกหลอกไปออกเรือ โดนซ้อม โดนตี โดนทุบทาร้าย เงินไม่ได้ พอเข้าฝั่งมา
126

ได้ก็ห นี ไปนอนอยู่สถานี รถไฟชุมพร คนเดินผ่านไปมาทั้งวัน ก็ไม่ได้คิดว่าใครจะช่วย ปรากฏมีคนช่วย


ซื้อข้าว ซื้อตั๋วรถไฟ ซื้อน้ า รวบรวมเงิน อีกเกือบ 300 บาท ให้ เรากลั บบ้านนั่งกินข้าว น้าตาไหล ผมก็
ซาบซึ้งว่าเขาเหมือนเทวดามาโปรด เราก็ไม่ได้คิดว่าใครจะมาช่วย คาพูดลุงแทงใจผม คนเดี๋ยวนี้ใจดา
จริง ๆ มันนึกถึงตรงนั้น ทาให้เราอยากแบ่งปันน้าใจให้สังคมเหมือนคนอื่นแบ่งปันให้เรา เลยทามาเรื่อย ๆ
พอทาเข้า ๆ ก็ไม่ได้ส นใจเรื่ องเงิน แล้ ว ...” (ผู้ จัดการออนไลน์ , 2562) เดี่ยวไม่เพียงช่วยขับ รถ รับ - ส่ ง
ผู้ป่ วยติดเตีย งไปโรงพยาบาลโดยไม่คิดค่าตอบแทนเท่านั้น แต่เขายังขับรถ รับ -ส่ ง พระสงฆ์ สามเณร
และแม่ชี โดยไม่คิดค่าตอบแทนอีกด้วย ซึ่งการรับส่งผู้ป่วยแต่ละรายไม่ใช่ช่วยแค่เพียงครั้งเดียว แต่เขา
ตั้งใจจะช่วยผู้ป่วยรายนั้นไปตลอดชีวิต เดี่ยวกล่าวถึงงานการทางานด้านจิตอาสาของตนเองว่า “...งานแต่
ละงาน คือ งานจิตอาสาล้วน ๆ ลมหายใจทุกวันนี้อยู่เพื่อคนอื่น ไม่ได้อยู่เพื่อตนเอง ไม่ได้หากินมาหลายปี
แล้ว ช่วยคนอย่างเดียว...” (ผู้จัดการออนไลน์, 2562)
ผลจากการมุ่งมั่นทาความดีช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ คนชรา และบุคคลที่เดือนร้อน
เท่าที่ตนเองจะช่วยได้มาอย่างต่อเนื่องเกือบ 23 ปี ทาให้เดี่ยวได้รับพระราชทานพระราชกระแสชมเชยใน
การท างานด้ านจิ ต อาสา จากพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ าอยู่ หั ว รัช กาลที่ 10 ณ พระที่ นั่ ง อั ม พรสถาน
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 (ผู้จัดการออนไลน์, 2561) ยังความปลาบปลื้มมาสู่เดี่ยวและครอบครัวอย่าง
หาที่สุดมิได้ เดี่ยวสัญญาว่าจะตั้งใจทาความดีต่อไปเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินจนกว่าชีวิตจะหาไม่

ภาพที่ 6.10 สุวรรณฉัตร พรหมชาติ


ที่มา: ธนดิษ ศรียานงค์ และพัทธมน วงษ์รัตนะ, 2561
127

บทสรุป
จิ ต อาสาหรื อ ส านึ ก สาธารณะ “เป็ น การระลึ ก รู้ ” รู้ ว่ า ตนท าอะไร อยู่ ที่ ไหน และเพื่ อ อะไร
เป็นจิตที่ไม่เพิกเฉยต่อผู้ต้องการความช่วยเหลือ ความที่จะปรารถนาเข้าไปช่วยนี้ไม่ใช่เพียงแค่การให้ทาน
หรือบริจาคทรัพย์ แต่เป็นการสละเวลา แรงกาย และแรงใจ เข้าไปช่วย ด้วยจิตที่ เป็นกุศลที่ได้ช่วยเหลือ
ผู้อื่น โดยไม่ใช่แค่ทาประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างเดียวแต่เป็นการพัฒนา “จิตวิญญาณ” ของตนเองอีกด้วย
จิตอาสาและสานึกสาธารณะ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น จากภายใจจนกลายเป็นแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดเป็น
การกระทาที่มาจากใจบริสุทธิ์ การกระทาเริ่มจากการ คิดดี ทาดี เพื่อสังคมที่น่าอยู่
จิตอาสาและสานึกสาธารณะ เป็นจิตที่มุ่งขจัดการพฤติกรรมอันจะส่งผลเสียหายผู้อื่น ตระหนักถึง
ความสาคัญในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ใช้ชีวิตเป็นผู้ “ให้” มากกว่าเป็นผู้ “รับ” คานึงถึงสาธารณะ
มากกว่ า ความเป็ น ส่ ว นตั ว ท าความดี โดยอยู่ บ นหลั ก คิ ด ว่ า ทุ ก คนควรมี ส่ ว นร่ ว มเผื่ อ แผ่ ดู แ ลสั ง คม
สิ่ งแวดล้ อม ชุ ม ชน ตลอดจนการมี ส่ ว นรวมในการแก้ไขปั ญ หาต่ าง ๆ ที่ เกิ ด ขึ้ น รอบตั ว และร่ว มกั น
สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ที่เป็นรูปธรรม ไม่เพียงแค่ เฝ้ามอง วิพากษ์วิจารณ์ และเรียกร้องความรับผิดชอบจาก
ผู้อื่น แต่ต้องกล้าที่จะก้าวออกมามีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วยกันกับคนอื่น และลงมือทา อนึ่ง การจะทางาน
ด้านจิตอาสาด้วยการเป็นอาสาสมัครนั้นไร้ข้อจากัด สิ่งที่สาคัญที่สุดสาหรับการทางานเป็นจิตอาสาก็คือ
“ใจ” หากเพียงแต่มีใจที่จะ“อาสา” เท่านั้นประเทศชาติย่อมมั่นคงเข้มแข็งและมีความสุข

แบบฝึกหัดท้ายบท
จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงบอกความหมายและความสาคัญของจิตอาสาและสานึกสาธารณะ
2. จงยกตัวอย่างการนากระบวนการสร้างจิตอาสาและสานึกสาธารณะไปปรับใช้ในชีวิตประจาวัน
ของนักศึกษา
3. จงบอกคุณสมบัติและบทบาทของอาสาสมัครที่มีต่อการทางานด้านจิตอาสามาพอสังเขป
4. จงบอกความสาคัญและประโยชน์ของการทางานด้านจิตอาสาที่มีต่อสังคมมาพอสังเขป
5. จงยกตัวอย่างบุคคลที่ทางานด้านจิตอาสาที่นักศึกษาประทับใจ พร้อมทั้งบอกแนวคิดของ
บุคคลตัวอย่างที่นักศึกษาเห็นว่าจะสามารถนามาปรับใช้ในชีวิตได้
128
129

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 7
โครงงานวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง
หัวข้อเนื้อหา
1. ความหมายของโครงงาน
2. ประเภทและขัน้ ตอนการทาโครงงาน
3. ความสาคัญและประโยชน์ของโครงงาน
4. องค์ประกอบของโครงงานวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง
5. การประเมินโครงงานวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง
6. วิธีและช่องทางการส่งชิ้นงานและเล่มรายงานผลโครงงานรายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนบทเรียนนี้แล้วสามารถ
1. บอกความหมาย ประเภท และขั้นตอนการทาโครงงานได้
2. บอกองค์ประกอบของโครงงานได้
3. บอกประโยชน์และความสาคัญ ของการทาโครงงานเพื่อส่งเริมความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งได้

วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. วิธีสอน
1.1 บรรยาย
1.2 อภิปราย
1.3 แบ่งกลุ่มทากิจกรรม
1.4 เรียนรู้ด้วยตนเอง

2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 ผู้เรียนศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตารา ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสรุปด้วย
ตนเองก่อนเรียน
2.2 บรรยายและอภิ ป รายโดยใช้ สื่ อ การเรี ย น คื อ เอกสารประกอบการสอนประจ าวิ ช า
และ PowerPoint
2.3 นาเสนอโครงงานส่งเสริมความเป็นพลเมืองเป็นรายกลุ่ม
130

2.4 ผู้สอนบรรยายสรุปเนื้อหา จากนั้นให้ผู้เรียนทาแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. PowerPoint
3. แบบฝึกหัด
4. ตัวอย่างเล่มโครงงานพลเมืองเข้มแข็ง

การวัดและการประเมินผล
1. สังเกตจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
2. ชิ้นงาน เล่มโครงงาน และการนาเสนอโครงงาน
3. การทาแบบฝึกหัดท้ายบท
131

บทที่ 7
โครงงานพลเมืองที่เข้มแข็ง
วิช าพลเมื อ งที่ เข้ ม แข็งมี ข้ อ ก าหนดให้ ผู้ เรีย นน าองค์ ค วามรู้ที่ ได้ จ ากการเรีย นในรายวิช า ไป
บูรณาการเพื่อจัดทาโครงงานส่งเสริมความเป็นพลเมือง ดังนั้น จึงมีความจาเป็นที่นักศึกษาและอาจารย์
ผู้สอนต้องมีเข้าใจและรับทราบถึง ความหมาย องค์ประกอบ แนวทางการ และประเมินโครงการที่ชัดเจน
ตรงกัน สาหรับเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในประเมินโครงงานให้ส อดคล้องของกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาโดย
มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ความหมายของโครงงาน
นักวิชาการได้ให้ความหมายของโครงงานไว้พอจะกล่าวได้ ดังนี้
ธีระชัย ปูรณโชติ (2531, หน้า 1) กล่าวว่า โครงงานเป็นการศึกษาที่เน้นกิจกรรม โดยผู้เรียนลง
มือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยอาศัยหลักการทางวิชาการต่าง ๆ ภายใต้คาแนะนาปรึกษา
และการดูแลของครูหรือผู้เชี่ยวชาญ
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (2542, หน้า 18) กล่าวว่า โครงงานกระบวนการสร้างองค์ความรู้ประเภท
หนึ่งที่ผู้เรียนต้องอาศัยการเข้าถึงข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ซึ่งการศึกษาค้นคว้านี้อาจทาเป็นรายบุคคลหรือเป็น
รายกลุ่มก็ได้ ลักษณะที่สาคัญของโครงงานคือการศึกษาที่มุ่งเน้นการหาคาตอบในข้อสงสัยอย่างเป็นระบบ
ด้วยตนเองหรือด้วยการทางานเป็นกลุ่ ม เป้าหมายที่สาคัญของการใช้โรงงานเป็นฐานในการจัดการเรียน
การสอนคือกระบวนการแสวงหาคาตอบจากโจทย์ที่ตนเองตั้งขึ้น มากกว่าการแสวงหาคาตอบเพื่อตอบ
คาถามของผู้สอน
จิราภรณ์ ศิริทวี ( 2552, หน้า 34) กล่าวว่า โครงงานเป็นการสอนให้ ผู้เรียนเกิดประสบการณ์
ในการศึกษาค้นคว้าที่ผู้เรียนจะได้ลงมือทาเพื่อพัฒนาตนเองอย่างเป็นกระบวนการ จุดประสงค์ที่สาคัญ
ของการใช้โครงงานเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน คือ การกระตุ้นให้นักเรียนรู้จัก คิด รู้จักการ
วิเคราะห์ รู้จักการสังเคราะห์ และรู้จักการตั้งสมมติฐาน เพื่อแสวงหาคาตอบด้วยตนเอง
ลัดดา ภู่เกียรติ (2544, หน้า 19) ได้ให้ความหมายว่า โครงงานคือกระบวนการหาคาตอบที่เกิด
จากการตั้งโจทย์โดยผู้เรียน ซึ่งสนใจใคร่รู้ที่จะค้นคว้าเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับโจทย์ที่
ผู้เรียนตั้งเอาไว้ให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้มีวิธีการศึกษาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง มีที่มาที่ไป เช่น
การวางกลุ่มเป้าหมาย การกาหนดระยะเวลาในการทางานต่าง ๆ ก่อนลงมือปฏิบัติจนสุดท้ายได้ข้อสรุป
หรือผลการศึกษาหรือคาตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
สุวิทย์ มูลคา และอรทัย มูลคา (2551, หน้า 84) ได้ให้ความหมายของโครงการว่าเป็นกลยุทธ์การ
จัดการเรียนรู้ที่เปิดช่องทางให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าในประเด็นปัญหาหรือโจทย์ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสงสัยและอยาก
หาคาตอบความถนัดของตนเอง โดยอาศัย การศึกษาอย่างเป็นระบบมีวิธีการที่ชัดเจน โดยมีครูผู้สอนหรือ
132

ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือโจทย์ที่ผู้เรียนตั้งไว้ค่อยให้การสนับสนุนและให้คาปรึกษาตลอด
กระบวนการ โดยเริ่มตั้งแต่ การเลือกประเด็นหรือการตั้งโจทย์ การวางแผนการดาเนินงานตามขั้นตอน
ตลอดจนการน าเสนอผลการศึ ก ษา ซึ่ งในการจั ด ท าโครงงานนั้ น สามารถท าได้ทุ กระดั บ ชั้ น อาจเป็ น
รายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม จะในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้
บูรชัย ศิ ริมหาสาคร (2546, หน้ า 16-17) ได้กล่าวถึงความหมายของโครงงานว่า คือ ผลงาน
การวิจัยชิ้นเล็ก ๆ ของผู้เรียนที่ใช้กระบวนการวิจัยในการแสวงหาความรู้หรือความจริงเกี่ยวกับเรื่องใด
เรื่องหนึ่งตามสาระการเรียนรู้อย่างแท้จริงทั้งเป็นผู้กาหนดปัญหาซึ่งเป็นหัวข้อโครงงานและวิธีการได้มาซึ่ง
คาตอบนั้นด้วยตนเองครูเป็นเพียงที่ปรึกษาคอยให้คาแนะนาตามความจาเป็น
สรุปได้ว่า โครงงานเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจของผู้เรียนที่อยากจะศึกษาค้นคว้าและ
ลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลาย ๆ สิ่ง โดยใช้ทักษะกระบวนการศึกษาในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
อย่างเหมาะสม เป็นระบบ และมีขั้นตอนต่อเนื่อง มีการวางแผนดาเนินการในการศึกษาแล้วลงมือปฏิบัติ
ตามแผนงานที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลการศึกษาหรือคาตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ โดยโครงงานจะไม่
ค านึ งถึ งผลการศึ ก ษาเป็ น หลั ก แต่ จ ะมุ่ งให้ ค วามส าคั ญ กั บ ที่ ที่ ผู้ เรี ย นได้ เรี ย นรู้ ผ่ า นการท าโครงงาน
ซึง่ การจัดทาโครงงานสามารถจัดทาเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้

ประเภทและขั้นตอนการทาโครงงาน
1. ประเภทของโครงงาน
สุวิทย์ มูลคา และอรทัย มูลคา (2551, หน้า 85) ได้จัดประเภทของโครงงานตามลักษณะของ
กิจกรรม ได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน ดังนี้
1.1 โครงงานประเภทสารวจและรวบรวมข้อมูล โครงงานประเภทนี้ผู้ทาโครงงานเพียงต้องการ
สารวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนาข้อมูลเหล่านั้นมาจาแนกหมวดหมู่และนาเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้
เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน การสารวจและรวบรวมข้อมูลอาจทาได้
หลายรูปแบบแล้วแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆ เช่น
1.1.1 การสารวจคาราชาศัพท์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
1.1.2 การสารวจชื่อพืชเศรษฐกิจของจังหวัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
1.1.3 การสารวจคาศัพท์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
1.1.4 การสารวจชนิดของกีฬาท้องถิ่นในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
1.1.5 การสารวจวิธีบวกเลขที่ชาวบ้านนิยมใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ในการทาโครงงานประเภทสารวจข้อมูลไม่จาเป็นต้องมีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้เรียนเพียงแต่
สารวจรวบรวมข้อมูลที่ได้แล้วน าข้อมูลที่ได้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่และนาเสนอ ก็ถือว่าเป็นการสารวจ
รวบรวมข้อมูลแล้ว
1.2 โครงงานประเภททดลอง โครงงานประเภทนี้ ต้องมีการจัดการกับตัวแปรที่จะมีผลต่อ
การทดลอง ซึ่งมี 4 ชนิด คือ
1.2.1 ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ หมายถึง เหตุของการทดลองนั้น ๆ
133

1.2.2 ตัวแปรตาม ซึ่งจะเป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้น


1.2.3 ตัวแปรควบคุม หมายถึง สิ่งที่ต้องควบคุมให้เหมือนๆ กัน มิฉะนั้นจะมีผลทาให้ตัว
แปรตามเปลี่ยนไป
1.2.4 ตั ว แปรแทรกซ้อน ซึ่ งจริง ๆ แล้ วก็ คือตั ว แปรควบคุม นั่ นเอง แต่บ างครั้งเราจะ
ควบคุมไม่ได้ ซึ่งจะมีผลแทรกซ้อน ทาให้ผลการทดลองผิดไป แต่ก็แก้ไขได้ โดยการตัดข้อมูลที่ผิดพลาด
ทิ้งไป ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนต้องการศึกษาว่า กระดาษชนิดใดสามารถพับเครื่องร่อนและร่อนได้ไกลที่สุด
ตัว แปรต้น หรือ ตัว แปรอิส ระ คื อ ชนิด ของกระดาษ ตัว แปรตาม คื อ ระยะทางที่ กระดาษ
เคลื่ อ นที่ ได้ ตั ว แปรควบคุ ม คื อ แรงที่ ใช้ ร่อ นกระดาษ ความสู งของระยะที่ ร่อ น ตั ว แปรแทรกซ้ อ น
คือ บางครั้งในขณะร่อนมีลมพัดเข้ามา ซึ่งจะทาให้ข้อมูลผิดพลาด
1.3 โครงงานประเภทสิ่ งประดิษฐ์ โครงงานประเภทนี้ เป็นการนาความรู้ที่มีอยู่มาประดิษฐ์
หรื อสร้ างสิ่ งใหม่ ๆ ขึ้น มา ซึ่งจะเป็ น ประโยชน์ อ ย่างมากมาย อาจจัด ว่า การเขี ยนหนั งสื อ แต่งเพลง
สร้างบทละคร สื่อการเรียน และอื่น ๆ ไว้ในโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้วย เช่น การประดิษฐ์ไม้ปิงปอง
แบบใหม่ การหาวัสดุ มาติดไม้ปิงปองแล้วตีได้ดีขึ้น การแต่งบทประพันธ์ การสร้างสื่อประกอบการเรียน
แทนหนั งสื อ เรี ย นที่ ใช้ กั น อยู่ การออกข้ อ สอบเพื่ อ ให้ เพื่ อ น ๆ ใช้ ส อบแทนข้ อ สอบที่ ค รู อ อกข้ อ สอบ
การออกแบบนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น
1.4. โครงงานประเภททฤษฎี โครงงานประเภทนี้ เป็นการใช้จินตนาการของตนเองมาอธิบาย
หลักการหรือแนวความคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอธิบายในรูปของสูตรหรือสมการ หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่
เกิดขึ้นและไม่สามารถอธิบ ายได้โดยหลักการเดิม ๆ การทาโครงงานประเภทนี้ ผู้ทาโครงงานจะต้องมี
ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดีจึงสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ จึงเหมาะสมที่จะทาใน
ระดับอุดมศึกษามากกว่าระดับมัธยมศึกษา

2. ขั้นตอนการทาโครงงาน
สาหรับขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(2550, หน้า 4) ได้เสนอแนะไว้ตามลาดับ ดังนี้
1. ขั้นตั้งโจทย์ หมายถึง ขั้นที่ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาในประเด็นที่ผู้เรียนมีความสนใจในเบื้องต้น
จากนั้นให้ผู้เรียนลองตั้งโจทย์หรือตั้งประเด็นที่ต้องการจะศึกษาในสิ่งที่ผู้เรียนมีความสนใจอย่างเป็นระบบ
2. ขั้นวางแผน หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนร่วมกันวางแผน โดยการระดมความคิด อภิปรายหารือ
ข้อสรุปของกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
3. ขั้นปฏิบัติ หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ อย่างเป็นขั้นตอน
4. ขั้นประเมินผล หมายถึง ขั้นการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยให้บรรลุจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่กาหนด
สาหรับสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้เสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
แบบโครงงานไว้ ดังนี้ (สุวิทย์ มูลคา และอรทัย มูลคา 2551, หน้า 86)
1. การเลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
2. การวางแผน ประกอบด้วย
2.1 การกาหนดจุดประสงค์
134

2.2 การตั้งสมมติฐาน
2.3 การกาหนดวิธีการศึกษา
3. การลงมือปฏิบัติ
4. การเขียนรายงาน
5. การนาเสนอผลงาน

ความสาคัญและประโยชน์ของโครงงาน
ธี ร ะชั ย ปู ร ณโชติ (2531, หน้ า , 3-4) ได้ ก ล่ า วถึ ง ความส าคั ญ และประโยชน์ ข องโครงงาน
วิทยาศาสตร์ ไว้ดังต่อไปนี้
1. ช่วยส่งเสริมจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการเรียนให้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ยิ่งขั้น
2. ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3. ช่ วยพั ฒ นาทักษะกระบวนการในศาสตร์นั้ น ๆ ได้ครบถ้ว นสมบู รณ์ ยิ่งขึ้น กว่าการเรียนใน
กิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะบางทักษะซึ่งไม่ใคร่มีโอกาสในกิจกรรมการ
เรีย นการสอนตามปกติ เช่น ทั กษะการตั้งสมมติ ฐาน ทั กษะประดิษ ฐ์ ชิ้น งาน และทัก ษะการลงพื้ น ที่
เป็นต้น
4. ช่วยพัฒนาเจตคติและความสนใจในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทาโครงงาน
5. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของศาสตร์นั้น ๆ ดียิ่งขึ้น เช่น เข้าใจว่าศาสตร์ทาง
สั ง คมศึ ก ษาไม่ ได้ ห มายถึ ง แต่ ตั ว ความรู้ ในเนื้ อ หาสาระที่ เกี่ ย วคน หรื อ สั ง คมเท่ า นั้ น แต่ ห มายถึ ง
กระบวนการแสวงหาความรู้เหล่านั้น ด้วย
6. ช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเป็นผู้มีวิจารณญาณ
7. ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่คิดเป็น ทาเป็น และมีความสามารถในการแก้ปัญหา
9. ช่วยพัฒนาความรับผิดชอบ และสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
10. ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และมีคุณค่า

องค์ประกอบของโครงงานวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง
1. องค์ประกอบเพื่อการเสนออนุมัติหัวข้อหรือเค้าโครงของโครงงาน
1.1 ชื่อโครงงาน (ควรให้ กะทั ดรัด ชั ดเจน และชี้ชั ด ในเรื่องที่ จะทา ว่า จะทาอะไร กับ ใคร
อย่างไร
1.2 ชื่อผู้ทาหรือคณะผู้ทาโครงงาน
1.3 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
1.4 ระยะเวลาดาเนินงาน ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นประกวนการ
1.5 หลักการและเหตุผล (ที่มา ความสาคัญของปัญหา และแนวทางแก้ไข)
1.6 วัตถุประสงค์
135

1.7 ขอบเขต
1.8 วิธีการศึกษา
1.9 แผนการดาเนินงาน
1.10 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.11 บรรณานุกรม แหล่งข้อมูล บุคคลผู้ให้ข้อมูล

ลาดับ รายการกิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม กาหนดเวลา

ตารางที่ 7.1 ตัวอย่างตารางแผนดาเนินงานโครงงาน

2. องค์ประกอบเพื่อการนาเสนอรายงานผลโครงงาน
2.1 ชื่อโครงงาน
2.2 ชื่อผู้ทาหรือคณะผู้ทาโครงงาน
2.3 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
2.4 ระยะเวลาดาเนินงาน ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นประกวนการ
2.5 หลักการและเหตุผล
2.6 วัตถุประสงค์
2.7 ขอบเขต
2.8 วิธีการศึกษา
2.9 แผนการดาเนินงาน
2.10 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
2.11 ผลการศึกษา
2.12 อภิปรายผล สรุป และข้อเสนอแนะ
2.13 บรรณานุกรม บุคคลอ้างอิง
2.14 ภาคผนวก (เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ)

การประเมินโครงงานวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง
โครงงานรายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง มีรายละเอียดการประเมิน ดังนี้

1. การรายงานผลความก้าวหน้า ชิ้นงาน และเล่มรายงานผลโครงงาน


โครงงานในรายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง มีคะแนนทั้งสิ้ น 15 คะแนน โดยมีรายละเอียดการ
ประเมิน ดังนี้
136

1.1 การรายงานความก้าวหน้าของการทาโครงงานตามแผนการดาเนินงานที่นักศึกษาระบุไว้
5 คะแนน
1.2 ชิ้นงานที่เกิดจากโครงงาน (ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความประหยัดของชิ้นงาน)
5 คะแนน
1.3 เล่มรายงานผลโครงงาน (องค์ประกอบ เนื้อหา รูปแบบ และภาษา) 5 คะแนน

2. ระยะเวลาในการประเมิน (ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม)
2.1 สัปดาห์ในการรายงานความก้าวหน้า คือ สัปดาห์ที่ 2-13
2.1 สัปดาห์ที่ส่งชิ้นงานและรายงานโครงงานฉบับสมบูรณ์ คือ สัปดาห์ที่ 14
2.3 สัปดาห์ที่นาเสนอผลการเรียนรู้จากโครงงาน คือ สัปดาห์ที่ 15-16
วิธีและช่องทางการส่งชิ้นงานและเล่มรายงานผลโครงงานรายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง
1. ส่ งไฟล์ ชิ้ น งาน (กรณี เป็ น ไฟล์ ค อมพิ ว เตอร์ ) และไฟล์ เล่ ม รายงานผลที่ Facebook/Line
/Email ที่อาจารย์ได้แจ้งไว้ในห้องเรียน ทั้งนี้ นักศึกษาต้องได้รับอีเมล์ หรือข้อความตอบกลับจากอาจารย์
ที่ปรึกษาเพื่อเป็นการยืนยันสถานะการส่งโครงงาน หากนักศึกษาไม่ได้รับอีเมล์หรือข้อความตอบกลับจาก
อาจารย์ที่ปรึกษา ให้ถือว่านักศึกษายังไม่ได้ทาการส่งโครงงาน
2. ส่งชิ้นงาน (กรณีไม่ใช่ไฟล์คอมพิวเตอร์) และรูปเล่มรายงานผลโครงการ 1 เล่ม ต่อ 1 โครงงาน
โดยนักศึกษาต้องส่งในช่องทางการรับเอกสารที่เป็นทางการของอาจารย์ผู้สอน ได้แก่
2.1 กล่องรับเอกสาร ห้องสโมสรอาจารย์ ชั้น 1 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดยแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาล่วงหน้าก่อนส่งงาน พร้อมถ่ายรูปการส่งไว้เป็นหลักฐานยืนยัน
2.2 บนโต๊ ะ รั บ เอกสารหน้ า ห้ อ งสั ง คมศึ ก ษา ห้ อ ง 308 ชั้ น 3 อาคารคณะมนุ ษ ยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ โดยแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาล่วงหน้าก่อนส่งงาน พร้อมถ่ายรูปการส่งไว้เป็นหลักฐานยืนยัน
ในกรณี ที่ นั กศึกษายื น ยัน ว่าได้มีการส่ งชิ้น งานและเล่ มรายงานผลโครงงานตามช่องทางใน
ข้อที่ 2 แต่ปรากฏว่าชิ้นงานหรือเล่มรายงานผลโครงงานเกิดสูญหาย โดยที่นักศึกษาไม่มีหลักฐานยืนยัน
การส่งมายื่นต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ให้ถือว่านักศึกษาไม่ได้ส่งโครงงาน

บทสรุป
โครงงานถือเป็น กระบวนการหนึ่งที่สามารถประเมินองค์ความรู้ ที่นักศึกษามีต่อรายวิชานั้น ๆ
ได้เป็ น อย่ างดี อีกทั้ง ยั ง ส่ งเสริมให้ นั กศึกษาฝึ กฝนอุปนิสั ยในการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์
นอกจากนี้ยังสามารถฝึกฝนให้นักศึกษาเรียนรู้การจัดการกับข้อมูลอย่างเป็นระบบอีกด้วย โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในรายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง นี้ โครงงานย่อมเป็นประโยชน์ แก่ตัวนักศึกษาในการที่จะได้นาเอาองค์
ความรู้ที่เรียนในรายวิชามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ด้ วยการ
บู ร ณาการองค์ ความรู้ เข้ากับ การท าโครงงานเพื่ อส่ งเสริมความเป็ น พลเมือ งในระบอบประชาธิป ไตย
นอกจากนี้โครงงานยังมีความสาคัญและก่อประโยชน์โดยตรงในด้านการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง
137

กันของนักศึกษา รู้จักทางานร่วมกันในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อีก


ด้วย
แบบฝึกหัดท้ายบท
จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงบอกความหมายของโครงงานมาพอสังเขป
2. จงบอกประเภทของโครงงานมาพอสังเขป
3. จงบอกขั้นตอนของการทาโครงงานให้ถูกต้อง
4. จงบอกองค์ประกอบของโครงงานให้ถูกต้อง
5. จงบอกความสาคัญและประโยชน์ของการจัดทาโครงงานที่มีต่อตัวนักศึกษา
138
139

บรรณานุกรม

กรกฎ ทองขะโชค. การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้. ค้นเมื่อ


8 พฤษภาคม 2564 <https://www.matichon.co.th/article/news_1326494>.
กรรณิกา มาโน. ความหมายของชีวิตกับจิตอาสา. วิทยานิพนธ์วิทยศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยา
การปรึกษา คณะมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
กระทรวงต่างประเทศ กรมองค์กรระหว่างประเทศ. ปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน.
กรุงเทพฯ: กรมองค์กรระหว่างประเทศ, 2551.
กระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย
สุจริต จิตอาสา สร้างคนดีสู่สังคม. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน), 2561.
. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564
<https://www.nmpc.go.th/site/index>.
. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ 2559-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม, 2559.
กฤษฎา บุญชัย และคณะ. รายงานการศึกษาบทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิ พลเมือง
และสิทธิทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สานักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2556.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. ความเสมอภาคเป็นหลักการสาคัญของระบอบประชาธิปไตย.
ค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2564 <https://www.eef.or.th/>.
กุญชรี ค้าขาย. การบริหารความขัดแย้ง. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564
<http://www.oocities.org/vinaip/articles/conflict.htm>.
กุลพล พลวัน. สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2547.
ขจรจิต บุนนาค. “ความขัดแย้ง VS ความรุนแรง”. วารสารนักบริหาร 3, 31 (กรกฎาคม-กันยายน
2554): 136-144.
ข่าวภาคใต้ชายแดน. ประเพณีการแข่งขันนกเขาชวาถือเป็นประเพณีสาคัญของภาคใต้. ค้นเมื่อ
6 พฤษภาคม 2564 <https://www.paaktai.com/news_economy/detail/383>.
ข่าวสดออนไลน์. งานอาสาสมัครในบางครั้งต้องเสี่ยงอันตราย. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564
<https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_5964842>.
140

ข่าวสดออนไลน์. ผบ.ซีลเล่านาที “จ่าแซม” วูบหมดสติ หลังดาน้าหฤโหด 12 ชม. ปั๊มหัวใจสุดยื้อชีวิต.


ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564 <https://www.khaosod.co.th/breaking-news/
news_1307195>.
. พระเจ้าหลุยส์ที่ 14. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564
<https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_899757>.
คณะทางานหยุดการพัฒนาสงขลา-สตูลสู่การเป็นจังหวัดอุตสาหกรรมหนัก. สงขลา-สตูลก้าวสู่จังหวัด
อุตสาหกรรมหนักข้อมูลที่ยังไม่เคยมีการเปิดเผยอย่างเป็นระบบฤาหายนะจะมาเยือนเหมือน
มาบตาพุด. สงขลา: คณะทางานหยุดการพัฒนาสงขลา-สตูลสู่การเป็นจังหวัดอุตสาหกรรม
หนัก, 2554.
คนค้นฅน. คนค้นฅน: พ่อค้าส่ง (ความ) สุข. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564
<https://www.youtube.com/watch?v=P5wnqES55D0>.
คมชัดลึก. นโยบายปราบปรามยาเสพติดของ ทักษิณ ชินวัตร. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564
<https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/360964>.
. รัชกาลที่ 9 ทรงถวายคาตักเตือนผู้ก่อการในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535. ค้นเมื่อ
15 พฤษภาคม 2564 <https://www.komchadluek.net/news/today-in-
history/372252>.
คอลัฟ ต่วนบูละ และคณะ. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2559.
เครือข่ายจิตอาสา. วันจิตอาสา. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564
<http://www.volunteerspirit.org/?p=22588>.
จรัญ โฆษณานันท์. สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน: ปรัชญา กฎหมาย และความเป็นจริงทางสังคม.
กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2545.
จันจิรา สมบัติพูนศิริ. ยีน ชาร์ป กับ “สันติวิธีของคนดื้อ”. ค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564
<https://www.the101.world/gene-sharp/>.
จินตนา ศรีนุกูล. ศูนย์เรียนรู้การเมืองและการเลือกตั้งอาเซียน: แนวทางการให้การศึกษาเพื่อสร้าง
พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ
กระทรวงการต่างประเทศ, 2557.
จิราภรณ์ ศิริทวี. “โครงงาน: ทางเลือกใหม่ของการสร้างปัญญาชน”. วารสารวิชาการ. 2, 8 (สิงหาคม
2552): 33-38.
141

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การเคารพกติกาถือเป็นรากฐานสาคัญของสังคมประชาธิปไตย. ค้นเมื่อ


6 พฤษภาคม 2564 <https://www.chula.ac.th/clipping/10623/>.
เฉลิมพล พลมุข. จิตสาธารณะกรณี ตูน บอดี้สแลม. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564
<https://www.matichon.co.th/columnists/news_734467>.
ชวรัตน์ มารุ่งเรือง. สิทธิมนุษยชน: ความเหมือนที่แตกต่าง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สานักงาน
ศาลรัฐธรรมนูญ, ม.ป.ป..
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. สันติทฤษฎี/วิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: เรือนแกวการพิมพ์, 2539.
ชาญชัย ฤทธิร่วม. “วิเคราะห์ความเหลื่อมล้าทางสังคมด้านการศึกษาของพลเมืองชายขอบ”
วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ 2, 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2562): 49-60.
ชาญณรงค์ วงค์วิชัย. คุณลักษณะอาสาสมัครที่มีผลต่อบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสังคม คณะสังคมสงเคราะห์.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
ชาตรี ชุมเสน. เอกสารประกอบการสอน รายวิชาจริยธรรมกับชีวิต. อุดรธานี: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุดรธานี, 2556.
ฐานข้อมูลศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน. หนึ่งในผลการศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนาพุทธกับ
สิทธิมนุษยชน. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564 <http://library.nhrc.or.th/ulib/dublin.
php?ID=4>.
ฐาศุกร์ จันทร์ประเสริฐ และคณะ. “โครงสร้างทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ ความรุนแรงที่เด็กและเยาวชนถูก
กระทาในโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง” วารสารพฤติกรรมศาสตร์.
1, 17 (มกราคม-มิถุนายน 2554): 93-108.
ณรงค เหล่าธีระเชาวน์. สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สานักงานศาลรัฐธรรมนูญ,
2546.
ณัฏฐ์ชุดา สุภาพจน์. “จิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสาร
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 13, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561): 80.
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสา ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
เดลินิวส์. “มลฤดี” อาสาผู้เสียสละ สู้ช่วยเหลือคนนาน 10 ปี รถพัง 2 คัน.ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564
<https://www.dailynews.co.th/article/841897>.
142

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริม


และพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม), 2554.
ทศเทพ บุญทอง. “รูปแบบ CAVE ในกรณีปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า ณ วนอุทยานถ้าหลวง-ขุนน้า
นางนอน ตาบลโป่งผา อาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย” .เชียงรายเวชสาร. 12, 3 (กันยายน-
ธันวาคม 2563): 1.
ทิพรัตน์ เติมเพ็ชร. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์: ศึกษากรณีการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศและ
กฎหมายภายใน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ
คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
ทีนิวส์. การอยู่ร่วมกันต้องมีความเข้าใจในหลักศาสนาหรือความเชื่อซึ่งกันและกัน. ค้นเมื่อ
8 พฤษภาคม 2564 <https://www.tnews.co.th/>.
ไทยพีบีเอส. “ตูน บอดี้สแลม” มอบเงินบริจาคโครงการ "ก้าวคนละก้าว" ให้ 11 โรงพยาบาล. ค้นเมื่อ
21 พฤษภาคม 2564 <https://news.thaipbs.or.th/content/270552>.
. “ทาใจให้ชิล” แอค tiktok พ่อค้าไข่เจียว แจกข้าวฟรีช่วยคนริมทาง. ค้นเมื่อ
21 พฤษภาคม 2564 <https://news.thaipbs.or.th/content/294964>.
. ยูเอ็นเชิดชู "ศาสตร์พระราชา"ในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่พิมพ์เขียวพัฒนาโลก. ค้นเมื่อ
15 พฤษภาคม 2564 <https://news.thaipbs.or.th/content/266430>.
ไทยโพสต์. พระบรมราโชวาท พระราชดารัส ในหลวง ร.9 เกี่ยวกับการบริหารประเทศ. ค้นเมื่อ
24 พฤษภาคม 2565 <https://www.thaipost.net/main/detail/29040>.
ไทยรัฐออนไลน์. ความรุนแรงในครอบครัวถือเป็นปัญหาสังคมที่ต้องรีบแก้ไข. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม
2564 <https://www.thairath.co.th/news/local/1593806>.
. ประวัติ ตูน บอดี้สแลม. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564
<https://www.thairath.co.th/person/8162>.
. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564
<https://www.thairath.co.th/news/royal/1562513>.
. พลเมืองดีในระดับชุมชนและท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564
<https://www.thairath.co.th/news/local/south/2057393>.
. อาสาสมัครทั้งไทยและต่างชาติในเหตุการณ์ที่ถ้าหลวง พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ
16 พฤษภาคม 2564 <https://www.thairath.co.th/news/society/1332519>.
ธนดิษ ศรียานงค์ และพัทธมน วงษ์รัตนะ. สุวรรณฉัตร พรหมชาติ. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2564
<https://adaybulletin.com/talk-guest-taxi-driver>.
143

ธีระชัย ปูรณโชติ. กรณีศึกษาการทาโครงงานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย, 2531.


นภัทร มะลิกุล. Replicas: ศีลธรรมของการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการดารงอยู่ของ “จิต”.
ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564 <https://themomentum.co/replicas-movie-2019/>.
นรรัชต์ ฝันเชียร. ควรปลูกฝังจิตอาสาและสานึกสาธารณะตั้งแต่เยาวชน. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564
<https://www.trueplookpanya.com/blog/content/72058
/-blog-teaartedu-teaart->.
บรรเจิด สิงคะเนติ. หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2558.
บริษัทท่าอากาศยานไทย จากัด. ทอท.ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของจ่าเอก สมาน กุนัน
พนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จากัด (มหาชน) อดีตนักทาลายใต้น้าจู่โจมที่ปฏิบัติ
ภารกิจ ณ ถ้าหลวงขุนน้านางนอน. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564
<https://www.airportthai.co.th/en/ทอท-ขอแสดงความเสียใจต่อ/>.
บีบีซีไทย. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564
<https://www.bbc.com/thai/thailand-44155231>.
บุญมี แท่นแก้ว. จริยธรรมกับชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2541.
บุญวดี เพชรรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยมีพฤติกรรมรุนแรง การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.
ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
2543.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ.“บทสรุปงานวิจัย หลักการใช้อานาจขององศ์กรที่คานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิ
เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ”.บทบัณฑิตย์. 3, 61 (กรกฎาคม-กันยายน 2548): 9.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ. “สันติวิธี: การจัดการความขัดแย้งตามแนวทาง
สันติวิธี”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560): 1-16.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. การออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน.
กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์, 2546.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. “สมเด็จรีเยนต์-สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” 2 ราชินี ผู้สาเร็จราชการ
แผ่นดิน. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565
<https://www.prachachat.net/prachachat-top-story/news-366252>.
. โครงการทาความดีด้วยหัวใจ เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564
<https://www.prachachat.net/columns/news-195874>.
144

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. รัชกาลที่ 10 ทรงสืบสานโครงการพระราชดาริต่อจากพระราชบิดา. ค้นเมื่อ


15 พฤษภาคม 2564 <https://www.prachachat.net/royal-house/news-354484>.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.อ.. คาแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:
สานักนายกรัฐมนตรี, 2557.
ปิยะนาถ สรวิสูตร. แรงจูงใจของผู้นาเยาวชนที่มีจิตอาสาในการทากิจกรรมเพื่อสังคม: กรณีศึกษา
สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.
ปิยากร หวังมหาพร. “พัฒนาการเชิงนโยบายอาสาสมัครไทย: จากความมั่นคงสู่การพัฒนาสังคม”.
วารสารวิชาการมหาวิยาลัยศรีปทุม. 10, 2 (ตุลาคม-ธันวาคม 2556): 16-17.
ปิยาภรณ์ กันเกตุ. ความสุข การเห็นคุณค่าในตนเองและทักษะทางสังคมของเยาวชนในจังหวัด
เชียงใหม่ที่มีระดับจิตอาสาแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา
จิตวิทยาการปรึกษา คณะมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.
ผู้จัดการออนไลน์. “สุวรรณฉัตร พรหมชาติ” แท็กซี่หัวใจเทวดาทุกวันนี้ลมหายใจอยู่เพื่อคนอื่น.
ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2564 <https://mgronline.com/news1/detail/
9620000005933>.
. ปลื้มปีติ ในหลวงทรงมีพระราชกระแสชมเชยแท็กซี่ใจบุญ รับส่งผู้พิการ-คนชราฟรีตลอด
22 ปี. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2564 <https://mgronline.com/onlinesection/
detail/9610000123651>.
. หนังสือ The clash of civilizations ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565
<https://mgronline.com/daily/detail/9620000068499>.
พระมหานภดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนเขต
บางรัก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). พุทธสันติวิธี: การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการ
ความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่, 2554.
พระโสภา ธมฺมทีโป. “สันติวิธีกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม”วารสารวิชาการสถาบันพัฒนา
พระวิทยากร 3, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563): 25-33.
พระอาทิตย์ LIVE. “ถนนแห่งชีวิต สุวรรณฉัตร พรหมชาติ แท็กซี่ใจบุญ”. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2564
<https://www.youtube.com/watch?v=-oe-sqOCQg4>.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. ความเป็นพลเมือง. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564
<https://www.matichon.co.th/columnists/news_1491921>.
145

พีพีทีวีออนไลน์. เหตุการณ์ 911 นามาซึ่งกระแสต่อต้านคนต่างวัฒนธรรมไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา.


ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564 <https://www.pptvhd36.com/>.
พุทธพล มงคลวรวรรณ. “โสรงรัฐนิยมและความเปนมาของโปสเตอรแผนหนึ่ง”. วารสารรูสมิแล. 35, 3
(กรกฎาคม-กันยายน 2557): 87.
แพร ศิริศักดิ์ดาเกิง. แนวคิดพหุวัฒนธรรม (Multiculturalism). กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการ
วิจัยแห่งชาติ, 2549.
โพสต์ทูเดย์. จากแต่ตัว หัวใจยังอยู่ “จ่าแซม” วีรบุรุษถ้าหลวง: 1 ปี ฮีโร่โลกไม่ลืม. ค้นเมื่อ
20 พฤษภาคม 2564 <https://www.posttoday.com/social/general/594163>.
. ศีลธรรมที่ศาสดาบัญญัติถือเป็นความถูกต้องอันสมบูรณ์. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565
<https://www.posttoday.com/dhamma/5086952560>.
. สื่อนอกไว้อาลัย “จ่าสมาน” หลังภารกิจถ้าหลวงสาเร็จ. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564
<https://www.posttoday.com/world/557218>.
มติชนออนไลน์. การเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่สาคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. ค้นเมื่อ
7 พฤษภาคม 2564 <https://www.matichon.co.th/politics/news_1012453>.
. ความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิ พ.ศ. 2547. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564
<https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_43257>.
. ผลสารวจชี้ครอบครัวไทย 1 ใน 3 ประสบปัญหา “ความรุนแรง” พบภาคใต้เกิดเหตุมาก
สุด. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564 <https://www.matichon.co.th/
lifestyle/news_1212899>.
. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเป็นประธานในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรก
นาขวัญ ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564 <https://www.matichon.co.th/court-
news/news_1487055>.
มนตรี วิวาห์สุข. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาศาสนากับสันติภาพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม, 2555.
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ สานักงานพัฒนานิสิต. ความสาคัญของการมีจิตอาสา. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม
2564 <http://kijakran.rpu.ac.th/template2/article_inside.php?article_id=141>.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชามนุษย์กับอารยธรรม หน่วยที่ 1-7.
พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
146

มูลนิธิมั่นพัฒนา. หลักการทรงงาน 23 ข้อ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9. ค้นเมื่อ


15 พฤษภาคม 2564 <https://www.sdperspectives.com/next-gen/king-bhumibol-
adulyadej-5-december-2018/>.
ยุทธนา ภาระนันท์. อหิงสา. ค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564
<http://oknation.nationtv.tv/blog/YOUTHANA/2009/05/06/entry-1>.
ยุทธนา วรุณปิติกุล. สานึกพลเมือง: ความเรียงว่าด้วยประชาชนบนเส้นทางประชาคม. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาคม, 2542.
รัฐพล เย็นใจมา และสุรพล สุยะพรหม. “ความขัดแย้งในสังคม: ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข”. วารสาร มจร
สังคมศาสตร์ปริทรรศน. 2, 7 (เมษายน-มิถุนายน 2561): 224.
ราชบัณฑิตสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5
ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.
. ระบบค้นหาคาศัพท์ “จิต” และ “อาสา”.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ
พ.ศ. 2554. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564 <https://dictionary.orst.go.th/>.
โรม บุนนาค. พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564
<https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000034122>.
ลงทุนแมน. ทาไป ได้อะไร. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564 <https://www.longtunman.com/2622>.
ลัดดา ภู่เกียรติ. โครงงานเพื่อการเรียนรู้หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2544.
ลาพอง กลมกูล. “พหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยูรวมกันของจีนและมลายู: กรณีศึกษา
ประเทศบรูไน”. วารสารโพธิวิจัย. 2, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561): 81.
ลิขิต ธีรเวคิน. ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564
<https://mgronline.com/daily/detail/9500000006120>.
วนัส ปิยะกุลชัยเดช. “สิทธิมนุษยชน: ปัญหาในมโนทัศน์ และการนาเข้ามาในประเทศไทย”. วารสาร
สุโขทัยธรรมาธิราช. 31, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561): 16.
วรากรณ์ พูลสวัสดิ์. เอกสารคาสอน รายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครปฐม, 2562.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณในฐานะผู้สาเร็จราชการ
แทนพระองค์. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565 <https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้สาเร็จ
ราชการแทนพระองค์_(ประเทศไทย)>.
147

วิทย์ วิศทเวทย์. จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: อักษร


เจริญทัศน์, 2535.
วินิจ ผาเจริญ. “การพัฒนาพลเมืองสู่โมเดลพลเมืองที่ตื่นตัว ในสังคมประชาธิปไตยของไทย”. วารสาร
พุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 5, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563): 54-65.
วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง,
2536.
วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ และสุขุม นวลสกุล. การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคาแหง, 2542.
วูดดี้ โชว์. แจกใหญ่!! เซอร์ไพรส์ให้รถ “หนุ่มซาเล้ง” จาก TikTok WOODY SHOW. ค้นเมื่อ
21 พฤษภาคม 2564 <https://www.youtube.com/watch?v=bMokf66lag4>.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. รายงานการวิจัยเรื่องอาสาสมัครกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ:
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534.
ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. จักรพรรดิราช. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564
<https://www.silpa-mag.com/history/article_5481>.
ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. ระบบบริหารจัดการอาสาสมัคร: กรณีศึกษา: มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน. พิมพ์ครั้งที่ 25.
กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สานักงานบริหาร
และพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน), 2551.
ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.).
ความหมายของสันติวิธี. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564
<http://dsrd.pn.psu.ac.th/webnew/index.php/2010-12-24-05-40-49/76-
database.html>.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. พหุวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564
<https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/90>.
สดานุ สุขเกษม. เรียนรู้จากการซ่อมสร้างชุมชนกระเหรี่ยงบางกลอย. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กร
ชุมชน (มหาชน), 2562.
สถาบันเอเชียศึกษา ศูนย์มุสลิมศึกษา. พหุวัฒนธรรมกับการพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้:
กรณีศึกษาปอเนาะ. กรุงเทพฯ: ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์-การพิมพ์, 2549.
สมชาย แสวงการ. สร้างความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ
สานักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2558.
สมพงศ์ เกษมสิน. ลิทธิการเมือง. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2519.
148

สมพร เทพสิทธา. อุดมการณ์และบทบาทอาสาสมัคร แนวคิด และทิศทางการพัฒนางาน อาสาสมัคร


ในไทย. กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์, 2541.
สมศักดิ์ สินธุรเวชญ์. มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
สานักข่าวประชาไท. เมื่อพหุวัฒนธรรม .......ไม่ใช่คนกับคนอีกต่อไป. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564
<https://prachatai.com/journal/2018/09/78531>.
สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ. การพึ่งพาตนเองถือ
เป็นทางออกที่สาคัญในช่วงวิกฤต. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564
<http://www.rdpb.go.th/th>.
สานักงานปลัดกระทรวงหมาดไทย สถาบันดารงราชานุภาพ. การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี.
กรุงเทพฯ: สถาบันดารงราชานุภาพ, 2551.
สานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานสถานการณ์และความสูญเสีย ปสุขภาวะจาก
ความรุนแรงในประเทศไทย ปพ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: สานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพ
ระหว่างประเทศ, 2550.
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการ
อ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ.
กรุงเทพฯ : สานักงานฯ, 2550.
สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สานักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555.
สานักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา. รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ : สานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549.
สานักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 23 หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาล
ที่ 9. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564 <http://www.ops.moe.go.th/ops2017/สาระน่ารู้/
1863-23-หลักการทรงงาน-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-ในหลวง-รัชกาลที่-9>.
สิวลี ศิริไล. จริยศาสตร์สาหรับพยาบาล. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564
<https://sites.google.com/site/websitpheuxkarreiynru234/10-thvsdi-criysastr>.
สุจิตรา รณรื่น. ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์, 2540.
สุรัสวดี หุ่นพยนต์ และภูมิธรรม เวชยชัย. ปัญหาการดาเนินงานของหน่วยงานอาสาสมัครในประเทศ
ไทย. กรุงเทพฯ: สานักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527.
149

สุวิชา เป้าอารีย์. ความขัดแย้งที่มีสาเหตุมาจากอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงรุนแรงในสังคมไทย.


ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564 <https://www.nationweekend.com/
columnist/11/2341>.
สุวิทย์ มูลคา และอรทัย มูลคา. วิธีการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์, 2551.
เสน่ห์ จามริก. สิทธิมนุษยชนไทยในสถานการณ์สากล กรุงเทพฯ: สานักวิจัยและพัฒนาสถาบันชุมชน
ท้องถิ่นพัฒนา, 2546.
อดิเทพ พันธ์ทอง. คนไทยโบราณเชื่อว่าแมวดานาทรัพย์มาสู่ผู้เป็นเจ้าของ. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564
<https://www.silpa-mag.com/history/article_699>.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. "พระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย" จิตวิญญาณของชาติที่มิอาจหลงลืม.
ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564 <https://www.thaipost.net/main/detail/90222>.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมใน “พหุวัฒนธรรมนิยม”. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม
2564 <https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643745>.
อรอนงค อินทรจิตร และนรินทร กรินชัย. ผู้หญิงและเด็ก: เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว. กรุงเทพฯ :
สถาบันจิตวิทยาฮอทไลน์, 2542.
อาทิตย์ชัย เกรียงไกรวงศ์. การใช้หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย
ของการกระทาทางปกครองโดยศาลปกครอง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
เอกภูมิ เจียมวิทยานุกูล และคณะ. “การศึกษาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของเยาวชน
ไทยตามกรอบสมรรถนะความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21” วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม
18, 1 (มกราคม–เมษายน 2562): 95.
เอ็มไทย. อาทิวราห์ คงมาลัย. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564
<https://teen.mthai.com/the_boy/138635.html>.
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย. สิทธิมนุษยชนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ:
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, 2560.
Cranston, M. What are Human Rights?. New York: Taplinger, 1973.
Galtung, j. “Cultural Violence,” Journal of Peace Research 27, 3 (Aug 1990): 291-305.
Gortner, H.F.. Administration in the Public sector. 2nd ed. New York: Wiley, 1981.
Higgins, R. Human Rights. In A. Kuper & J. Kuper (Eds.). The Social Science Encyclopedia
(2nd ed.). New York: Routledge, 2003.
150

Huntington, S.. The Clash of Civilizations. New York: Simon & Schuster, 1996.
Keane, j. Reflections on Violence. London and New York: Verso, 1996.
Merriam-Webster. Webster dictionary. ค้นเมื่อวันที่ 22 May 2022
<https://Merriam-webster.com/dictionary/conflict>.
Schmidt, W.H.. “Conflict: A Power Process for (Good or Bad) Change”.
Manager Review 18, 12 (December 1974): 6-8.
Stanford University. The Stanford Encyclopedia of Philosophy, 2020.
<https://plato.stanford.edu/entries/relativism/>.
THE STANDARD. มหาตมะ คานธี. ค้นเมือ่ 20 พฤษภาคม 2565
<https://thestandard.co/onthisday30011948/>.
Thomas, K.W.. Organizational Behavior, ed. Steven Kerr. Ohio: Grid Publishing, 1979.
United Nations Non-Governmental Liaison Service. The United Nations Human
RightsSystem: How To Make It Work For Yo. Geneva: United Nations
Non-GovernmentalLiaison Service, 2008.
World Health Organization [WHO]. World report on violence and health.
Geneva: World Health Organization, 2002

You might also like