You are on page 1of 34

การศึกษาและออกแบบอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง

Study and Design of Automatic Voltage Regulator Devices by


Switching Methods

นายภีรศักดิ์ เผ่าผาง
นายทวีทรัพย์ หัสสิม
นายเนติพงศ์ แมลงภู่

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์นนทบุรี
งบประมาณแผ่นดิน ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ทุนกองทุนส่งเสริมวิจัย ประจาปี พ.ศ. 2563
กันยายน 2563
2

การศึกษาและออกแบบอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง
Study and Design of Automatic Voltage Regulator Devices by
Switching Methods

นายภีรศักดิ์ เผ่าผาง
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
นายทวีทรัพย์ หัสสิม
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
นายเนติพงศ์ แมลงภู่
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์นนทบุรี
งบประมาณแผ่นดิน ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ทุนกองทุนส่งเสริมวิจัย ประจาปี พ.ศ. 2563
กันยายน 2563
3

ชื่อเรื่อง การศึกษาและออกแบบอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง
ผู้วิจัย นายภีรศักดิ์ เผ่าผาง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
นายทวีทรัพย์ หัสสิม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
นายเนติพงศ์ แมลงภู่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
แหล่งทุน ทุนกองทุนส่งเสริมวิจัย ประจาปี พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2563

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุ ประสงค์ เพื่ อศึ กษาการทางาน ของอุ ปกรณ์ ปรั บแรงดันไฟฟ้า อัตโนมัติโดย
วิธีการสวิตซ์ชิ่ง ซึ่งใช้วิธีการควบคุมแรงดันทางด้าน Output โดยนาหลักการของอิเล็กทรอนิกส์กาลังมา
ประยุกต์ คือรับไฟฟ้ากระแสสลับจากการไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 190V ถึง 250V ความถี่
50Hz แล้วแปลงเป็นกระแสตรง ที่มีแรงดันประมาณ 320V – 430V วงจรอินเวอร์เตอร์จะเปลี่ยนไฟฟ้า
กระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับอีกครั้งโดยกาหนดให้มีแรงดัน Output 220V ความถี่ 50Hz จากผล
การทดลองแสดงให้เห็นว่า ขณะที่อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติยังไม่จ่ายโหลดนั้น สามารถรักษา
ระดับแรงดันไฟฟ้าทางด้าน Output ที่ 220V ได้ในช่วงตั้งแต่แรงดัน Input 190V - 250V และเมื่อทา
การต่อโหลดโดยใช้หลอดไส้พบว่า ที่แรงดัน Input 190V อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติสามารถจ่าย
กาลังไฟฟ้าต่าสุดคือ 40W และให้ประสิทธิภาพต่าสุดคือ 51.1% และที่แรงดัน Input ตั้งแต่ 230V ไป
จนถึง 250V อุ ปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้ าอัตโนมัติสามารถจ่ายกาลังไฟฟ้าสูงสุดคื อ 700W และมี
ประสิทธิภาพสูงสุดคือ 74.5% ประสิทธิภาพจะสูงขึ้นถ้าแรงดัน Input มีค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นแสดงให้เห็นว่า
อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ สามารถรักษาระดับแรงดัน Output ให้คงที่ได้ตั้งแต่ Input 190V -
250V คิดเป็นเปอร์เซ็นต์คืออยู่ในช่วง 13.64% อุปกรณ์สามารถทางานได้ครอบคลุมมาตรฐานของ
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 2559 ซึ่งกาหนด
ไว้ว่าแรงดันที่ออกจากการไฟฟ้าจะอยู่ในช่วง 200V - 240V ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คาสาคัญ : อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ, สวิตซ์ชิ่ง, คุณภาพไฟฟ้า

Title Study and Design of Automatic Voltage Regulator Devices by Switching


Methods
4

Researcher Mr. Peerasak Phaophang Department of Electrical Engineering Faculty of


Technical Education.
Mr. Taweesap Hassim Department of Electrical Engineering Faculty of
Technical Education.
Mr. Natiphong Malangpu Department of Electrical Engineering Faculty of
Technical Education.
Source of Fund Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi
Year 2020

Abstract
The objective of this research is to Study work Of automatic voltage regulating
devices by the switching method Which uses output voltage control by applying the
principles of power electronics to apply Is to accept the alternating current from the
electricity that has changed in the range of 190V to 250V 50Hz frequency and then
convert it into DC Which has the voltage around 320V - 430V inverter circuit Will change
the direct current to alternating current, again by specifying to have Output Voltage 220V
50Hz frequency. From the experimental results show that While the automatic voltage
stabilizer still does not supply that load The output voltage can be maintained at 220V
in the range from Input Voltage 190V - 250V. When connecting to the load using
incandescent lamps, it is found that at the Input Voltage 190V, the automatic voltage
regulation device can supply the minimum power which is 40W and the lowest
efficiency is 51.1% and at the input voltage from 230V to 250V, the automatic voltage
regulation device can supply the maximum power of 700W and the highest efficiency
74.5% If the image is higher Input voltage is increased. Therefore, it shows that the
device of automatic voltage regulation The output voltage can be maintained to be
stable from Input 190V - 250V as a percentage, which is in the range of 13.64%. The
device can operate covering the standards of the Provincial Electricity Authority regarding
the grid connection system B.E. 2559 which It is stipulated that the output voltage of the
power supply will be in the 200V - 240V range efficiently.
5

Keywords: Business problems, need help, the manufacturing industry, casting metal of
Thailand
6

กิตติกรรมประกาศ

รายงานการวิจัยสมบูรณ์เล่มนี้สาเร็จลุล่วงได้ด้วยการสนับสนุนจากทุนกองทุนส่งเสริมวิจัย
ประจาปี พ.ศ. 2563 ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ สุดท้ายคุณความดีและประโยชน์
ใดๆ ก็ตาม อันเกิดจากการทารายงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยขอน้อมบูชาคุณบิดาและมารดา ครูบาอาจารย์
ผู้ให้ทั้งชีวิต สติปัญญา และช่วยสนับสนุนในทุกๆ ด้าน ทั้งนี้ความผิดพลาดใดที่มีในงานวิจัยครั้งนี้
ผู้วิจัยขอน้อมรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
คณะผู้วิจัย
ภีรศักดิ์ เผ่าผาง
ทวีทรัพย์ หัสสิม
เนติพงศ์ แมลงภู่
7

สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ข
กิตติกรรมประกาศ ง
สารบัญ จ
สารบัญตาราง ช
สารบัญภาพประกอบ ฌ
บทที่ 1 บทนา 1
1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3
1.3 ขอบเขตการวิจัย 3
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
2.1 เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ 4
2.2 การเลือกใช้งานเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ 5
2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศ 5
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ 7
บทที่ 3 วิธีดาเนินงานวิจัย 8
3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการทาวิจัย 8
3.2 ขั้นตอนดาเนินการวิจัย 8
3.3 สถานที่ทาการทดลอง / เก็บข้อมูล 15
บทที่ 4 ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย / ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 16
4.1 ผลการวิจัย / ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 16
4.2 อภิปรายผล 17
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย 20
5.1 สรุปผลการวิจัย 20
5.2 ข้อเสนอแนะ 20
บรรณานุกรม 21
8

ภาคผนวก 22
ภาคผนวก ก เอกสารตอบรับการนาเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการ 22
ประวัติคณะผู้วิจัย 23
9

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
1 แสดงผลการทดสอบการวัดค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 10
2 แสดงผลการทดสอบการวัดค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจากอินเวอร์เตอร์ 13
3 ผลการทดลองแบบไม่ต่อโหลด (No Load Test) 16
4 ผลการทดลองแบบต่อโหลด (On Load Test) 17
10

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
1 บล๊อกไดอะแกรมการทางานของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยใช้วิธีการ 2
สวิตซ์ชิ่ง
2 บล็อกไดอะแกรมการแปลงผันพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้า 8
อัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง
3 วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ (Bridge Rectifier) 9
4 อินเวอร์เตอร์แบบฟลูบริดจ์ (Full-Bridge Inverter) 11
5 ลักษณะของสัญญาณ PWM 11
6 บล็อกไดอะแกรมการทางานของวงจรอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในงานวิจัย 12
7 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน VDC กับแรงดัน VAC ของอินเวอร์เตอร์ 13
8 การทดสอบการทางาน ก, ข, ค, ง 14
8 การทดสอบการทางาน จ, ฉ 15
9 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน Input และ Output 17
10 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน Input กับค่าของ Load ที่อุปกรณ์จ่าย 18
ได้
11 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน Input กับประสิทธิภาพในการทางาน 19
11

บทที่ 1
บทนา

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจาเป็นต้องการระดับแรงดันไฟฟ้าที่คงที่จากแหล่งกาเนิดไฟฟ้าซึ่ง
เป็นพลังงานที่ทาให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นสามารถทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากเกิดสภาวะ
แรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติ อันเนื่องมาจากสาเหตุของการแปรผันของระดับแรงดันไฟฟ้าไม่คงที่ เช่น
แรงดันตก (Voltage Drop) หรือแรงดันเกิน (Over Voltage) ซึ่งอาจจะมีผลทาให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิด
การชารุดเสียหาย ทางานผิดพลาด หรืออาจจะทาให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องนั้นเสื่อมประสิทธิภาพภาพ
เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อ่อนไหวต่อระดับแรงดันไฟฟ้าได้ง่าย เช่น เครื่องมือสือสาร
โทรคมนาคม เครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เครื่องมือแพทย์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้นจึง
จาเป็นต้องหาวิธีการควบคุมรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ได้รับความเสียหาย
จากระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ.
2559 ได้กาหนดมาตรฐานระดับแรงดันสูงสุดและต่าสุดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในสภาวะปกติไว้ที่
220 โวลท์ ค่าต่าสุดอยู่ที่ 200 โวลท์ และค่าสูงสุดอยู่ที่ 240 โวลท์ ดังนั้นผู้ จัดทาโครงการจึงได้มี
แนวคิดในการสร้างเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาแรงดันไฟฟ้าไม่คงที่ดังกล่าว
โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติที่มีขายแบบสาเร็จรูปจะมีลักษณะการทางานโดย
อาศัยการปรับแท็ปขดลวดของหม้อแปลงเพื่อให้ได้แรงดันทางด้านทุติยะภูมิตามที่ต้องการ และจะใช้
วงจรควบคุมทาการการปรับแท็ปขดลวดหม้อแปลงแบบอัตโนมัติ ตามระดับแรงดันที่เปลี่ยนไป ซึ่ง
วิธีการนี้มีข้อเสียคือจะทาให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ มีน้าหนักมาก เพราะเป็นผลมาจากขนาดของหม้อ
แปลงที่ใส่เข้าไปภายในเครื่อง และวิธีการปรับแท็ปขดลวดของหม้อแปลงอาจจะรองรับย่านแรงดัน
(Voltage Range) ไม่เพียงพอ ถ้ามีการออกแบบแท็ปของหม้อแปลงที่น้อยเกินไป
ในยุคปัจจุบันอุปกรณ์สวิตซ์ชิ่ง (Switching) ได้เข้ามามีบทบาทสาคัญต่อการแปลงผันพลังงานไฟฟ้า
เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภทได้เปลี่ยนมาใช้แหล่งจ่ายไฟแบบสวิตซ์ชิ่ง
(Switching Mode Power Supply) ที่มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูง แทนการใช้แหล่งจ่ายไฟ
แบบเช่งเส้น (Linear Power Supply) ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพที่ต่ากว่า อุปกรณ์ชาร์ตไฟ
ต่างๆ เช่น เครื่องชาร์ตโทรศัพท์มือถือ เครื่องชาร์ตคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค และ อะแดปเตอร์ (Adapter)
สาหรับจ่ายไฟต่างๆ ล้วนเปลี่ยนมาใช้แหล่งจ่ายไฟแบบสวิตซ์ชิ่งแล้วทั้งสิ้น และในส่วนของพลังงาน
ทดแทน อุปกรณ์สวิตซ์ชิ่ง ยังถูกนามาใช้ประโยชน์อีกด้วย เช่น พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (Solar
Cell) จะใช้ อิ น เวอร์ เ ตอร์ (Inverter) ในการแปลงผั น พลั ง งานไฟฟ้ า กระแสตรงให้ เ ป็ น ไฟฟ้ า
12

กระแสสลับ ซึ่งอุปกรณ์สวิตซ์ชิ่งจะใช้วิธีการที่เรียกว่า PWM (Pulse Width Modulation) โดยการ


นาเอาสัญญาณไซน์ (Sine Wave) มาเปรียบเทียบกับสัญญาณสามเหลี่ยมเพื่อสร้างเป็นสัญญาณ
PWM วิธีการเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการควบคุมแรงดันไฟฟ้าและความถี่ทางด้านขาออก (Out
Put) ได้ง่ายและมีเสถียรภาพสูงในการควบคุมแรงดันไฟฟ้า
เนื่องจากผู้จัดทาโครงการเป็นอาจารย์สอนประจาวิชาอิเล็กทรอนิกส์กาลัง รหัสวิชา 103-32-
10 ภาคทฤษฎี และ 103-32-11 ภาคปฎิบัติ จึงมีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องปรับแรงดัน อัตโนมัติโดย
อาศัยหลักการทางานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์กาลังขึ้นมา เพื่อนาไปใช้ในการบูรณาการการงานวิจัยใน
ชั้นเรียน ให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงการประยุกต์ใช้งานอิเล็กทรอนิกส์กาลังในด้านการปรับปรุงคุณภาพ
ไฟฟ้า จากปัญหาและหลักการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมา ผู้จัดทาโครงการได้พิจารณาแล้วมีความเป็นไปได้
ที่จะสร้างเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยอาศัยหลักการทางานของอุปกรณ์สวิตซ์ชิ่ง ซึ่งใช้วิธีการ
ที่แตกต่างจากอุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่มีขายทั่วไป โดยมีข้อได้เปรียบตรงที่มีขนาดที่เล็กกว่า แต่มี
ประสิทธิภาพการทางานที่ดีเช่นกัน โดยมีหลักการทางานตามบล๊อกไดอะแกรมใน รูปที่ 1.

AC AC
200-250Vrms VDC High Voltage 220Vrms
Bridge Rectifier
50Hz
300-430V Inverter 50Hz

รูปที่ 1. บล๊อกไดอะแกรมการทางานของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยใช้วิธีการสวิตซ์ชิ่ง

ผู้วิจัยได้แนวคิดในการออกแบบเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้านี้มาจากหลักการการทางานของ
ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง High Voltage Direct Current Transmission System
(HVDC) ซึ่ ง เป็ น วิ ธี ก ารส่ ง จ่ า ยก าลั ง ไฟฟ้ า แบบกระแสตรงเพื่ อ ตั ด ปั ญ หาในกรณี ที่ ส ถานี รั บ -ส่ ง
กระแสไฟฟ้ามีแรงดันและความถี่ที่แตกต่างกันให้สามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันได้ โดยการแปลงไฟฟ้า
ให้ เ ป็ น กระแสตรงก่ อ นและจะแปลงเป็ น กระแสสลั บ อี ก ครั้ ง โดยอาศั ย อุ ป กรณ์ ส วิ ต ซ์ ชิ่ ง โดย
แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ได้จะมีแรงดันและความถี่คงที่เสมอ ในรูปที่ 1 เป็นบล็อกไดอะแกรมแสดง
การทางานของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยใช้วิธีการสวิตซ์ชิ่งคือแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจาก
การไฟฟ้าที่เข้ามาจะอยู่ในช่วง 200-250 โวลท์ ความถี่ 50เฮิรตซ์ จะถูกแปลงให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง
(VDC) โดยวงจรเรียงกระแส Rectifier ที่มีแรงดันประมาณ 300-430 โวลท์ แรงดันไฟฟ้าที่ได้จะส่งไป
ยังวงจร PWM Inverter แบบแรงดันสูงที่ออกแบบมาเพื่อรับไฟฟ้ากระแสตรงในช่วง 300- 430 โวลท์
ซึ่งแตกต่างจากอินเวอร์เตอร์แบบทั่วไปที่รับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่อยู่ในช่วง 12V, 24V และ 48V
เท่านั้น และแรงดันไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับอีกครั้ง โดยที่มีแรงดันคงที่ 220
โวลท์ ความถี่ 50เฮิรตซ์ วิธีการนี้มีข้อดีคือเป็นการสร้างไฟฟ้ากระแสสลับขึ้นมาใหม่จากไฟฟ้า
กระแสตรง ดังนั้นแรงดันและความถี่ที่ได้จะมีค่าคงที่เสมอ
13

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการทางานของวงจรสวิตซ์ชิ่งที่ใช้วิธีการ PWM
2. เพื่อประยุกต์ใช้งานวงจรสวิตซ์ชิ่งไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาด้านคุณภาพไฟฟ้าได้
3. เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่งได้
4. เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน

ขอบเขตการวิจัย
1. เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอันโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่งมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1.1 ขนาดพิกัด 800VA 1 เฟส
1.2 สามารถรักษาระดับแรงดัน Input ที่เปลี่ยนแปลง 200V - 240V ได้
1.3 รักษาระดับแรงดันคงที่ 220V ± 3%
2. นาระบบที่ออกแบบและพัฒนาไปประยุกต์ใช้ได้
3. เผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการของ มทร.สุวรรณภูมิ หรือ กลุ่มมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคล อย่างน้อย 1 เรื่อง
4. บูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวรสารระดับชาติ ฉบับปกติที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI
2. ใช้เป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอตาแหน่งทางวิชาการในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
3. มีการบูรณาการงานวิจัยไปใช้กับการเรียนการสอน วิชาอิเล็กทรอนิกส์กาลัง
4. เป็นแหล่งขอมูลสาหรับผู้ที่สนใจทาเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติไว้ใช้งาน

นิยามศัพท์เฉพาะ
อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง (Automatic Voltage Regulator
Devices by Switching Methods) หมายถึง อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่มีหลักการทางาน
โดยใช้อุปกรณ์สวิตซ์ซิ่งควบคุมแรงดันไฟฟ้าทางด้านขาออก
14

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจั ยครั้งนี้ ผู้ วิจัยได้มีการรวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ


อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความรู้เบื้องต้นที่สาคัญต่อการ
วิจัยและเป็นการเอื้ออานวยต่อผลการวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับการจัดทาบทต่อไป ซึ่งประกอบไปด้วย
เนื้อหาต่าง ๆ ดังนี้

เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
AVR (Automatic Voltage Regulator) คือเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เป็น
อุปกรณ์สาหรับควบคุมแรงดัน ไฟฟ้าให้ อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงทาการปรับคุณภาพไฟฟ้าให้ดีขึ้น จึงสามารถปรับสภาพแรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติให้
คงทีด่ ้วยการเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้าด้านขาเข้าให้สูงขึ้นหรือต่ากว่าระดับที่เครื่องสามารถควบคุมได้
ดังนั้นสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ต้องการปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่โดยอุปกรณ์ไฟฟ้า
เหล่านั้นจะต้องไม่เกิดผลกระทบหรือเกิดความเสียหายในกรณีที่เกิดไฟฟ้าดับ มักจะไม่นิยมนาเครื่อง
ปรับแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติหรือเครื่องรักษาระดับแรงดันและปรับคุณภาพไฟฟ้าอัตโนมัติ ไปใช้กับ
ระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากไม่สามารถสารองไฟฟ้าได้เหมือนกับ UPS จึงนาเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า
แบบอัตโนมัติหรือเครื่องรักษาระดับแรงดันและปรับคุณภาพไฟฟ้าอัตโนมัติ ไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
มากกว่า โดยปกติแล้วการควบคุมแรงดันไฟฟ้าจะพยายามให้เป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้ใช้งานมี
ประสิทธิภาพ เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า มีแนวทางการออกแบบเป็น 6 วิธีดังนี้
1. ชนิดหม้อแปลงแปรค่าได้ด้วยมอเตอร์ (Motor Operated Variable Transformer)
2. ชนิดควบคุมการเหนี่ยวนา (Rototrol or Induction Regulator)
3. ชนิดหม้อแปลงเฟอร์โรเรโซแนนซ์ (Ferro resonant Transformer)
4. ชนิดควบคุมด้วยการเชื่อมต่อแบบแม่เหล็ก (Magnetic Coupling Controlled Voltage
Regulators)
5. ชนิดควบุมด้วยแทปสวิตชิง (Tap Switching Regulators)
6. ชนิดควบคุมด้วยคาปาซิเตอร์สวิตชิ่ง (Capacitor Switching For Voltage Control)
15

การเลือกใช้งานเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
1. ระบบงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องการความเสถียรภาพทางไฟฟ้า
เหมาะสาหรับใช้ป้องกันอุปกรณ์อิเ ล็กทรกนิคส์ต่างๆ ที่ต้องการความเสถียรภาพทางไฟฟ้า
เช่น PABX, ระบบสื่อสารข้อมูล, เครื่องมือสื่อสาร, เครื่องถ่ายเอกสาร, โฮมเธียเตอร์, เครื่องขยายเสียง
, เครื่องชั่ง, เครื่องมือวัด, เครื่องมือวิเคราะห์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
2. ระบบงานอุตสาหกรรม
เหมาะสาหรับใช้ป้องกันเครื่องจักรอุตสาหกรรมและใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
ต่างๆ ที่ต้องการความเสถียรภาพทางไฟฟ้าสูง เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรม
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมเครื่องประดับ, อุตสาหกรรมสิ่งทอ, อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ,
อุตสาหกรรมยาและเครื่องสาอางค์ เป็นต้น

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศ
นิวัติ ณ ระนอง และ สมเกียรติ วิเชียรโรจน์ . ได้สร้างชุดสาธิตเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า โดย
อาศัยหลักการของการปรับแทปข้อมหม้อแปลงโดยมีพิกัด 1kVA ควบคุมโดยใช้วงจรควบคุมการ
ทางานแบบไมโครโปรคอนโทรลเลอร์ตระกูล MCS-51 สามารถทางานได้ 2 แบบ คือแบบอัตโนมัติ
สามารถทางานได้ตั้งแต่แรงดัน 175V – 250V 50Hz และแบบควบคุมด้วยคีร์ป้อนข้อมูล โดยควบคุม
ได้ตั้งแต่แรงดัน 175V – 250V 50Hz โดยประบแรงดันทางด้าน Output .shwfh 220V 50Hz ±3%
บุญชัด เนติศักดิ์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการส่งกาลังไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูงเพื่อระบบพลังงาน
ที่ยั่งยืน การส่งกาลังไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปยังโครงข่ายผู้ใช้งาน โดยทั่วไปใช้การส่งแบบ HVACหรือ
แบบกระแสไฟสลับแรงดันสูง แต่ก็มีปัญหา มีข้อจากัดและมีการสูญเสียในระบบสูง จึงมีการพัฒนา
เทคโนโลยีการส่งกาลังไฟฟ้าแบบ HVDC ซึ่งใช้การส่งด้วยกระแสตรงแรงดันสูงที่เอาชนะข้อจากัด
ต่างๆ ได้เหนือกว่า HVAC สามารถนาระบบ HVDC มาใช้แก้ปัญหาการส่งพลังงานไฟฟ้าและการ
เชื่อมต่อ โดยเฉพาะใช้ส่งกาลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนเข้าโครงข่ายต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้
โครงข่ายไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง มีเสถียรภาพ และเป็นระบบพลังงานที่ยั่งยืน
ปฏิวัติ บุญมา และ สยามรัฐ เพิกอาภรณ์ . ได้ศึกษาเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้วงจรอินเวอร์เตอร์
โดยโครงงานวิจัยฉบับนี้ได้ทาการสร้างอินเวอร์เตอร์ขนาด 300 วัตต์ 1 เฟส 50 เฮิรต์ โดยทาการ
ออกแบบอินเวอร์เตอร์ดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยวงจรกาลังและระบบควบคุมการทางานต่างๆ ในการ
กาเนิดแรงดันของอินเวอร์เตอร์อาศัยหลักการสร้างสัญญาณไซน์พลัส์วิดมอดูเลชั่น (SinusoinalPulse
Width Modulation : SPWM) ในการควบคุมการสร้างแรงดันไฟฟ้าเพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้า
กระแสตรงเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ผ่านวงจรกรองความถี่ต่าผ่านแล้วจึงนาไปยกระดับแรงดันให้
สูงขึ้นเป็น 220 โวลต์ โดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้า จากผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่าอินเวอร์เตอร์ที่
16

ออกแบบได้นั้นมีประสิทธิภาพการทางานได้ มากกว่า 75 % และผลรวมความผิดเพี้ยนฮาร์มอนิกส์


น้อยกว่า 5 %
พรชัย สวัสดิวงค์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาการควบคุมแรงดันไฟฟ้าส่วนเกิน
โดยโครงงานวิจัยฉบับนี้ได้ทาการสร้างอินเวอร์เตอร์ขนาด 300 วัตต์ 1 เฟส 50 เฮิรต์ โดยทาการ
ออกแบบอินเวอร์เตอร์ดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยวงจรกาลังและระบบควบคุมการทางานต่างๆ ในการ
กาเนิดแรงดันของอินเวอร์เตอร์อาศัยหลักการสร้างสัญญาณไซน์พลัส์วิดมอดูเลชั่น (SinusoinalPulse
Width Modulation : SPWM) ในการควบคุมการสร้างแรงดันไฟฟ้าเพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้า
กระแสตรงเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ผ่านวงจรกรองความถี่ต่าผ่านแล้วจึงนาไปยกระดับแรงดันให้
สูงขึ้นเป็น 220 โวลต์ โดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้า จากผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่าอินเวอร์เตอร์ที่
ออกแบบได้นั้นมีประสิทธิภาพการทางานได้ มากกว่า 75 % และผลรวมความผิดเพี้ยนฮาร์มอนิกส์
น้อยกว่า 5 %
พีรพล วังหล้า, ประพันธ์ สืบรักษ์ และ ทศพล จอมเล็ก ได้ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบชุด
ควบคุมสาหรับเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ โดยโครงงานนี้เป็นการนาเสนอ การออกแบบ
และพัฒนาวงจรควบคุมสาหรับเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ขนาด 1 กิโลโวลต์แอมแปร์
แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ความผิดพลาด ± 1 % รับแรงดันไฟฟ้าอินพุตขนาด 140
– 240 โวลต์ โดยใช้ออปแอมป์ในการลดขนาดของแรงดันไฟฟ้าและแปลงสัญญาณ เพื่อส่งให้
ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC 16F716 ในการประมวลผล ทาการเปรียบเทียบสัญญาณระหว่าง
แรงดันไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าหลักและแรงดันที่จ่ายให้กับโหลด ในโครงงานนี้ผู้จัดทาได้ใช้ วงจรขยาย
สัญญาณแบบเปรียบเทียบสัญญาณในการเปรียบเทียบผลต่างของทั้งสองอินพุต และใช้วงจรขยาย
สัญญาณแบบตามแรงดันเพื่อทาการยกระดับแรงดันขึ้นให้สามารถส่งค่าไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ได้
โดยแรงดันไฟฟ้าอินพุตที่รับเข้ามาจะถูกลดอัตราส่วนขนาด 1 : 100 โดยอัตราส่วนดังกล่าวเป็น
แรงดันที่ปลอดภัยสาหรับใช้ในวงจรและเป็นค่าที่สามารถตรวจเช็คได้ง่าย ในการทดลอง ได้ทาการ
ปรับแรงดันอินพุตในมีขนาดตั้งแต่ 140 – 240 โวลต์ เพื่อสังเกตแรงดันทางด้านเอาต์พุต โดยในผล
การทดลองดังแสดงในตารางที่ 4.3 วงจรสามารถควบคุมแรงดันทางด้านเอาต์ให้มีขนาดคงที่ ที่ 220
โวลต์ ได้ตามขอบเขตของโครงงาน
มนฑล นาวงษ์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับ การสร้างวงจรอินเวอร์เตอร์แบบอิสระชนิดหนึ่งเฟสที่ใช้
พลั งงานจากแผงเซลล์ แสงอาทิตย์ โดยโครงงานนี้เป็นการนาเสนอการออกแบบและพัฒ นาวงจร
ควบคุมสาหรับเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ขนาด 1 กิโลโวลต์แอมแปร์แรงดันไฟฟ้า 220
โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ความผิดพลาด ± 1 % รับแรงดันไฟฟ้าอินพุตขนาด 140 – 240 โวลต์ โดย
ใช้ออปแอมป์ในการลดขนาดของแรงดันไฟฟ้าและแปลงสัญญาณ เพื่อส่งให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC
16F716 ในการประมวลผล ทาการเปรียบเทียบสัญญาณระหว่างแรงดันไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าหลัก
17

และแรงดันที่จ่ายให้กับโหลด ในโครงงานนี้ผู้จัดทาได้ใช้ วงจรขยายสัญญาณแบบเปรียบเทียบ


สัญญาณในการเปรียบเทียบผลต่างของทั้งสองอินพุต และใช้วงจรขยายสัญญาณแบบตามแรงดันเพื่อ
ทาการยกระดับแรงดันขึ้นให้สามารถส่งค่าไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ โดยแรงดันไฟฟ้าอินพุตที่
รับเข้ามาจะถูกลดอัตราส่วนขนาด 1 : 100 โดยอัตราส่วนดังกล่าวเป็นแรงดันที่ปลอดภัยสาหรับใช้ใน
วงจรและเป็นค่าที่สามารถตรวจเช็คได้ง่าย ในการทดลอง ได้ทาการปรับแรงดันอินพุตในมีขนาดตั้งแต่
140 – 240 โวลต์ เพื่อสังเกตแรงดันทางด้านเอาต์พุต โดยในผลการทดลองดังแสดงในตารางที่ 4.3
วงจรสามารถควบคุมแรงดันทางด้านเอาต์ให้มีขนาดคงที่ ที่ 220 โวลต์ ได้ตามขอบเขตของโครงงาน
ยุทธนา กันทะพะเยา และ เฉลิมพล เรืองพัฒนาวิวัฒน์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์และ
ออกแบบอินเวอร์เตอร์หนึ่งเฟสสาหรับเชื่อมโครงข่ายไฟฟ้า โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการวิเคราะห์และ
ออกแบบอินเวอร์เตอร์แบบ 1 เฟส เริ่มจากการสร้างแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อจาลองการ
ทางานบนโปรแกรม MATLAB/Simulink สาหรับระบบควบคุมได้ป้อนกลับแรงดันเอาต์พุตมาควบคุม
ระบบ เพื่อให้อินเวอร์เตอร์สามารถจ่ายแรงดันด้านออกได้คงที่ ผลการจาลองพบว่า ตัวควบคุม
สามารถควบคุมให้แรงดันและกระแสด้านออกเป็นรูปคลื่ นไซน์ เมื่อวิเคราะห์ความผิดเพี้ยนของ
รูปคลื่นแรงดันและกระแสมีค่าความผิดเพี้ยนต่ารวมถึงกรณีระบบมีสัญญาณรบกวนเข้ามาในระบบ
ทดสอบโดยการเปลี่ยนแปลงโหลดอย่างทันทีทันใดจาก 50% เป็น 100% แล้วกลับมาที่ 50% ผลการ
ทดสอบพบว่าระบบมีผลการตอบสนองเร็วสามารถจ่ายแรงดันด้านออกได้คงที่

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ
-
18

บทที่ 3
วิธีดาเนินงานวิจัย

ในการศึกษาข้อมูลและหลักการทางานของอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการ
สวิตซ์ชิ่งนั้นมีลาดับขั้นตอนและวิธีการดาเนินงาน และองค์ความรู้ดังต่อไปนี้

วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการทาวิจัย


อุปกรณ์ที่ใช้ในกงาวิจัยมีดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง จานวน 1 เครื่อง
2. หลอดไฟเพื่อใช้เป็นโหลดในการทดลอง
3. ออสซิลโลสโคป แบบ 4 แชนแนล
4. มัลติมิเตอร์
ขั้นตอนดาเนินการวิจัย
1. ขั้นตอนและวิธีการดาเนินงาน
1.1 ศึกษาเนื้อหาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
1.2 ออกแบบสร้างชุดอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง
1.3 จัดทาชุดอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง
1.4 ทดสอบการทางานของชุดอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง
2. หลักการทางาน ผู้วิจัยได้ออกแบบการทางานของอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดย
วิธีการสวิตซ์ชิ่งไว้ดังต่อไปนี้ แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจากการไฟฟ้าในช่วง 190V – 250V จะถูก
ยกระดับแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นโดยหม้อแปลง (Step Up Transformer) ที่มีอัตราส่วน 1:1.2 จนได้
ค่าแรงดันประมาณ 230V – 300V จากนั้นแรงดันไฟฟ้าที่ได้จะเข้าสู่วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์
(Bridge Rectifiers) เพื่อแปลงจากไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง 320V – 430V ไฟฟ้า
กระแสตรงที่ได้จะส่งไปยังอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับอีกครั้ ง ซึ่งแรงดันไฟฟ้าจะ
ถูกกาหนดให้มีค่า 220V 50Hz ดังในรูปที่ 2 แสดงบล็อกไดอะแกรมการแปลงผันพลังงานไฟฟ้าของ
อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของ
แรงดันไฟฟ้า
AC 190-250V AC 230-300V
DC 320-430V AC 220V 50Hz Load
50Hz 50Hz
รูปที่ 2 บล็อกไดอะแกรมการแปลงผันพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการ
สวิตซ์ชิ่ง
19

3. วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ (Bridge Rectifiers) คือวงจรที่แปลงผันพลังงานจากไฟฟ้า


กระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้ไดโอดเป็นตัวเรียงกระแส (วีระเชษฐ์ ขันเงิน และ วุฒิพ ล
ธาราธีรเศรษฐ์ , 2551) จากวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ใน รูปที่ 3 แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับในช่วง
190V – 250V 50Hz จะถูกยกระดับแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นโดยหม้อแปลงที่มีอัตราส่วน 1:1.2 หรือ
220V : 265V 3A โดยในงานวิจัยนี้เลือกใช้ห ม้อแปลงขนาดประมาณ 800VA และไฟฟ้า
กระแสสลับ จะถูกแปลงเป็น ไฟฟ้ากระแสตรงโดยวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ โดยแรงดันที่ได้จะ
ส่งไปยังวงจรอินเวอร์เตอร์ต่อไป ค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงสามารถคานวณหาได้จากสมการ
2VM
VDC 

เมื่อ VDC: แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (V)
VM : แรงดันค่ายอด (V)
1 : 1.2

AC AC
190-250Vrms 230-300Vrms 
50Hz 50Hz
C DC

รูปที่ 3 วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ (Bridge Rectifier)

จากวงจรในรูป ที่ 3 ได้ทาการทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงด้าน Output ของ


วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ โดยทดสอบตั้งแต่แรงดัน 150V – 250V ผลที่ได้ดังตารางที่ 1 จากผล
การทดสอบแสดงให้เห็น ว่าวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ สามารถแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็น
ไฟฟ้ากระแสตรงได้แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงตั้งแต่ 260.8V – 430.1V
20

ตารางที่ 1 แสดงผลการทดสอบการวัดค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง
แรงดันปฐมภูมิ (V) แรงดันทุติยภูมิ (V) แรงดันกระแสตรง (V)
150 188.6 260.8

160 200.7 278.4

170 212.6 294.9

180 225.6 313.3

190 238.5 331.2

200 250.5 347.9


210 262.6 362.1
220 274.9 379.1
230 288.1 397.5
240 300.3 414.1
250 313.4 430.1

4. อิ น เวอร์ เ ตอร์ (Inverter) คื อ วงจรแปลงผั น ก าลั ง ไฟฟ้ า กระแสตรงให้ เ ป็ น กระแสสลั บ


อินเวอร์เตอร์โดยทั่วไป (ปฏิวัติ บุญมา และ สยามรัฐ เพิกอาภรณ์ , 2555) จะรับแรงดันในช่วง 12V,
24V และ 48V แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับทางด้าน Output ของวงจรอินเวอร์เตอร์จะถูกกาหนดให้มีค่า
220V 50Hz โดยลักษณะรูปคลื่นของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับด้าน Output ของวงจรอินเวอร์เตอร์
แรงดันสูงจะเป็นแบบ เพียวซายน์เวฟ (Pure Sine Wave) ซึ่งเป็นรูปคลื่นไฟฟ้าฟ้ากระแสสลับที่
สมบูรณ์แบบ สามารถนาไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุกชนิด งานวิจัยนี้อินเวอร์เตอร์ทางานในแบบฟลู
บริดจ์ (Full-Bridge Inverter) เงื่อนไขสาคัญของอินเวอร์เตอร์แบบฟลูบริดจ์คือการทางานของสวิตช์
TA  และ TA  ต้องไม่ทางานพร้อมกันในทุกช่วงเวลามิฉะนั้นแล้ว จะเกิดการลัดวงจรระหว่างบั ส
บวกกับบัสลบ ในอุดมคติเวลาการสวิตชิ่งของ TA  และ TA  จะตรงข้ามกัน แต่ในทางปฏิบัติจะ
ต้องการช่วงเวลาที่สวิตช์ทั้งคู่ไม่นากระแส ซึ่งเรียกว่าเดดไทม์ (Dead time) โดยเดดไทม์จะอยู่ใน
ช่วงเวลาก่อนจะเปลี่ยนสถานการณ์สวิตช์ จากนากระแสเป็นไม่นากระแสหรือจากไม่นากระแสเป็น
นากระแส วงจรพื้นฐานของอินเวอร์เตอร์แบบฟลูบริดจ์เป็นไปดังรูปที่ 4
21

รูปที่ 4 อินเวอร์เตอร์แบบฟลูบริดจ์ (Full-Bridge Inverter)

แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับของวงจรอินเวอร์เตอร์แบบฟลูบริดจ์สามารถคานวณหาได้จาก
สมการ
Vrms  VS
มื่อ Vrms : แรงดันไฟฟ้ากระสลับทางด้าน Output (V)
VS : แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงทางด้าน Input (V)
พีดับบิวเอ็ม PWM (Pulse Width Modulation) เป็นวิธีการที่นาเอาสัญญาณคลื่นซายด์
(Sine Wave) และสัญญาณคลื่นสามเหลี่ยม มาทาการมอดูเลชั่น (Modulation) เพื่อให้เกิดสัญญาณ
ที่เอาไปใช้ควบคุมการเปิด -ปิดของอุปกรณ์สวิตชิ่ง (วีระเชษฐ์ ขันเงิน และ วุฒิพล ธาราธีรเศรษฐ์ ,
2551) ซึ่งการมอดูเลชั่นแบบนี้จะเรียกว่าการมอดูเลชั่นรูปคลื่นซายด์ (Sinusoidal Pulse Width
Modulation) หรือ SPWM ซึ่งมีหลักการทางานดัง รูปที่ 5

รูปที่ 5 ลักษณะของสัญญาณ PWM

สัญญาณอ้างอิง vref มีความถี่เท่ากับ f sin (Hz) และสัญญาณพาหะ vcar มีความถี่เท่ากับ f c


(Hz) จะถูกเปรียบเทียบกันเพื่อหาค่าความแตกต่าง ค่าความถี่ f sin จะเป็นตัวกาหนดค่าความถี่ของ
แรงดันกระแสสลับที่อินเวอร์เตอร์สร้างขึ้น และค่าความถี่ของสัญญาณพาหะ f c จะเป็นค่าความถี่ใน
22

การสวิตชิ่ง อัตราส่วนระหว่างขนาดของสัญญาณ v ref และ vcar นั้นจะเรียกว่า ดัชนีการมอดูเลชั่น


(Modulation Index) ดังสมการ

v ref
M 
vcar

อินเวอร์เตอร์แบบเพียวซายน์เวฟ (Pure Sine Wave inverter) เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ผลิต


แรงดันไฟฟ้าที่มีรูปคลื่นแบบซานย์เวฟ ซึ่งมีข้อดีคือรองรับการนาไปใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุก
ชนิด โดยไม่ทาให้เ กิด ปัญ หา และมีรูป ร่า งของคลื ่น เหมือ นกับ รูป คลื ่น ไฟฟ้า จากการไ ฟฟ้า ทุก
ประการ การนาแรงดัน ไฟฟ้า ของอิน เวอร์เ ตอร์ซ ายน์เ วฟนี้ไ ปใช้ใ ห้กับ อุป กรณ์ที่มีม อเตอร์ก็จ ะ
ทางานปกติไม่เกิดเสียงฮัมในขณะใช้งาน
วงจรอิ น เวอร์ เ ตอร์ ใ นงานวิ จั ย นี้ ถื อ เป็ น ส่ ว นที่ ส าคั ญ ที่ สุ ด หลั ก การท างานตาม
บล็อกไดอะแกรมรูปที่ 6 โดยวงจรอินเวอร์เตอร์จะออกแบบให้สามารถรับแรงดันไฟฟ้าฟ้ากระแสตรง
ทางด้าน Input ที่มีแรงดันสูงอยู่ในช่วง 320V – 430V ซึ่งแตกต่างจากอินเวอร์เตอร์แบบทั่วไปที่รับ
แรงดัน 12V, 24V และ 48V เท่านั้น แรงดัน Input จะถูกนาไปใช้ 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะแปลงเป็น
ไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันต่าซึ่งมีค่า 5V และ 12V เพื่อจ่ายไฟเลี้ยงวงจรให้กับบอร์ด EGS002 ซึ่งเป็น
Sinusoid Inverter Driver ให้กับ IGBT ไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูงอีกส่วนหนึ่งจะนาไปจ่าย
ไฟเลี้ยงวงจรให้กับ IGBT เพื่อผลิตเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยค่าของแรงดัน Output กาหนดให้มีค่า
220V 50Hz โดยจะมีการป้อนกลับสัญญาณของกระแสและแรงดันทางด้าน Output กลับมาที่บอร์ด
EGS002 เพื่อควบคุมให้แรงดันและความถี่ออกมาคงที่ตามที่กาหนดไว้ จากนั้นแรงดัน Output ที่ได้
จากอินเวอร์เตอร์จะผ่านวงจร Low Pass Filter เพื่อกรองความถี่สัญญาณรบกวนออกไป ซึ่ง
สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะเป็นรูปคลื่น Sine Wave ที่สมบูรณ์

Output Current and Voltage Feedback

AC 220Vrms
DC 320-430V Low Voltage EGS002 Sinusoid 50Hz
IGBT Low Pass Filter
Power Supply Inverter Driver

รูปที่ 6 บล็อกไดอะแกรมการทางานของวงจรอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในงานวิจัย
23

จากการทดสอบวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับด้าน Output ของวงจรอินเวอร์เตอร์ได้ผลการ


ทดสอบ ตั้งแต่แรงดัน 260V – 420V โดยเพิ่มครั้งละ 20V ได้ผลดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงผลการทดสอบการวัดค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจากอินเวอร์เตอร์
Input DC (V) Output AC (V)
260 0
280 198
300 211
320 220
340 220
360 220
380 220
400 220
420 220

จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า อินเวอร์เตอร์สามารถสร้างแรงดัน Output ไฟฟ้ากระแสสลับ


220V ได้ที่ Input ตั้งแต่ 320V เป็นต้นไป และเมื่อเพิ่มแรงดัน Input ไปจนถึง 420V ค่าของแรงดัน
Output ก็ยังมีค่า 220V คงที่ แสดงให้เห็นว่าอินเวอร์เตอร์สามารถทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูป
ที่ 7 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน VDC กับแรงดัน VAC ของอินเวอร์เตอร์

รูปที่ 7 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน VDC กับแรงดัน VAC ของอินเวอร์เตอร์


24

5. การทดสอบการทางานของอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่ง จาก
หลักการทางานของวงจรต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ จึงได้ทดสอบการ
ทางานดังรูปที่ 8 โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 กรณีคือ
1. การทดลองแบบไม่ต่อโหลด (No Load Test) จะเป็นการทดสอบการทางานของอุปกรณ์
ปรับแรงดันไฟฟ้าโดยไม่ต่อโหลดทางไฟฟ้า เริ่มทดลองที่ แรงดัน Input ตั้งแต่ 160V ไปจนถึง 250V โดย
เพิ่มค่าแรงดันครั้งละ 10V
2. การทดลองแบบต่อโหลด (On Load Test) จะเป็นการทดสอบการทางานของอุปกรณ์
ปรับแรงดันไฟฟ้า ซึ่งจะใช้หลอดไส้ขนาด 40W, 60W, 100W ต่อขนานกันที่ Output เพื่อหาโหลด
สูงสุดที่อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติสามารถจ่ายได้ และทดสอบหาประสิทธิภาพ (Efficiency)
ของอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ เริ่มทดลองที่แรงดัน Input ตั้งแต่ 190V ไปจนถึง 250V โดยเพิ่ม
แรงดันครั้งละ 10V

ก. การต่ออุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ข. Bridge Rectifiers และ High


Voltage Inverter

ค. รูปคลื่นสัญญาณ Input และ Output ง. โหลดของการทดลอง


25

จ. ประกอบลงแท่นเครื่อง ฉ. ด้านหน้าเครื่อง
รูปที่ 8 การทดสอบการทางาน

สถานที่ทาการทดลอง / เก็บข้อมูล
สถานที่ในการทดลองและเก็บข้อมูลคือ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคดนดลยีราช
มงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี
26

บทที่ 4
ผลการวิจัย และอภิปรายผล / การวิจัยผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล / ผลการวิจัย
ผลการทดสอบการทางานของอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์ชิ่งมีดังนี้
1. การทดสอบแบบไม่ต่อโหลด (No Load Test) ได้ผลการทดลองดังตารางที่ 3 จากผลการ
ทดลองแสดงให้เห็นได้ว่าอุปกรณ์ปรับแรงดัน ไฟฟ้าอัตโนมัติสามารถควบคุมแรงดัน Output ที่ 220V
ได้ตั้งแต่ Input 190V ขึ้นไปจนถึง 250V

ตารางที่ 3 ผลการทดลองแบบไม่ต่อโหลด (No Load Test)


Input (V) VTransformer (V) VDC (V) Output (V)
160 200.3 274.7 193.5
170 212.9 292.6 206.2
180 225.6 310.1 218.6
190 237.8 327.2 220.0
200 250.6 345.2 220.0
210 262.6 362.1 220.0
220 274.9 379.1 220.0
230 288.1 397.5 220.0
240 300.3 414.1 220.0
250 314.3 430.1 220.0

2. ผลการทดลองแบบต่อโหลด (On Load Test) ได้ผลการทดลองดังตารางที่ 4 จากผลการ


ทดลองแสดงให้เห็นถึงโหลดสูงสุดที่อุปกรณ์สามารถจ่ายโหลดได้และประสิทธิภาพในการทางานของ
อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติตั้งแต่แรงดัน Input 190V – 250V
27

ตารางที่ 4 ผลการทดลองแบบต่อโหลด (On Load Test)


Input IIN (A) PIN (W) Output IOUT (A) POUT (W) Load (W)  (%)*

(V) (V)
190 0.34 64.6 220 0.15 33 40 51.1
200 0.96 192 220 0.58 127.6 180 66.5
210 1.92 403.2 220 1.23 270.6 400 67.1
220 2.58 567.6 220 1.92 422.4 560 74.4
230 3.12 717.6 220 2.43 534.6 700 74.5
240 2.99 717.6 220 2.43 534.6 700 74.5
250 2.87 717.5 220 2.43 534.6 700 74.5

POut
  100
* PIn

อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการทดลองแบบไม่ต่อโหลดทางไฟฟ้า (No Load Test) ในตารางที่ 3 โดยทดสอบที่
แรงดัน Input 160V – 250V จากกราฟใน รูปที่ 9 เมื่อพิจารณาในช่วงแรงดัน Input ในช่วง 160V –
180V จะเห็นว่าค่าของแรงดัน VDC มีค่าไม่ถึง 320V ทาให้อินเวอร์เตอร์ไม่สามารถสร้างแรงดัน
Output ให้ถึง 220V ได้ เมื่อแรงดัน Input มีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 190V ไปจนถึง 250V อุปกรณ์สามารถ
รักษาระดับแรงดันไฟฟ้าทางด้าน Output ให้มีค่า 220V ได้ จากผลการทดลองนี้อาจกล่าวได้ว่ า
อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ สามารถรักษาระดับแรงดันทางด้าน Output ในขณะที่ไม่ต่อโหลด
ทางไฟฟ้าได้ในช่วงแรงดัน Input 190V – 250V ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์  13.64%

รูปที่ 9 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน Input และ Output


28

จากผลการทดลองแบบต่อโหลดทางไฟฟ้า (On Load Test) ในตารางที่ 4 จะเห็นได้ว่า


ที่แรงดัน Input 190V จ่ายโหลดสูงสุดได้ 40W ประสิทธิภาพ 51.1%
ที่แรงดัน Input 200V จ่ายโหลดสูงสุดได้ 180W ประสิทธิภาพ 66.5%
ที่แรงดัน Input 210V จ่ายโหลดสูงสุดได้ 400W ประสิทธิภาพ 67.1%
ที่แรงดัน Input 220V จ่ายโหลดสูงสุดได้ 560W ประสิทธิภาพ 74.4%
ที่แรงดัน Input 230V จ่ายโหลดสูงสุดได้ 700W ประสิทธิภาพ 74.5%
ที่แรงดัน Input 240V จ่ายโหลดสูงสุดได้ 700W ประสิทธิภาพ 74.5%
ที่แรงดัน Input 250V จ่ายโหลดสูงสุดได้ 700W ประสิทธิภาพ 74.5%
ที่แรงดัน Input 190V โหลดต่าสุดที่อุปกรณ์จ่ายได้คือ 40W ให้ประสิทธิภาพต่าสุด 51.1%
ที่แรงดัน Input 230V ขึ้นไปโหลดสูงสุดที่อุปกรณ์จ่ายได้คือ 700W ให้ประสิทธิภาพสูงสุด 74.5%
จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพจะสูงขึ้นถ้าแรงดัน Input มีค่าเพิ่มขึ้น จึงอาจกล่าวได้
ว่าอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติสามารถรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าทางด้าน Output ในขณะที่จ่าย
โหลดได้ในช่วง 190V – 250V ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์  13.64% รูปที่ 10 กราฟแสดงความสัมพันธ์
ระหว่างแรงดัน Input กับค่าของ Load ที่อุปกรณ์จ่ายได้ และรูปที่ 11 กราฟแสดงความสัมพันธ์
ระหว่างแรงดัน Input กับประสิทธิภาพในการทางาน

รูปที่ 10 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน Input กับค่าของ Load ที่อุปกรณ์จ่ายได้


29

รูปที่ 11 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน Input กับประสิทธิภาพในการทางาน


30

บทที่ 5
สรุปผล

สรุปผลการวิจัย
จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่อุปกรณ์ ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการ
สวิตซ์ชิ่งยังไม่จ่ายโหลดนั้นสามารถรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าทางด้าน Output ให้คงที่ 220V ได้ในช่วง
แรงดันตั้งแต่แรงดัน Input 190V - 250V และเมื่อทาการต่อโหลดโดยใช้หลอดไส้เป็นโหลดให้กับ
อุป กรณ์ พบว่ าก าลั ง ไฟฟ้ า ต่าสุ ดที่ อุ ปกรณ์ป รั บแรงดั น ไฟฟ้ าอั ต โนมั ติจ่ า ยได้ คือ 40W และมี
ประสิทธิภาพต่าสุด 51.1% ที่แรงดัน Input 190V และกาลังไฟฟ้าสูงสุดที่จ่ายได้คือ 700W และมี
ประสิทธิภาพสูงสุด 74.5% ที่แรงดัน Input ตั้งแต่ 230V ไปจนถึง 250V ประสิทธิภาพจะสูงขึ้นถ้า
แรงดัน Input มีค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ สามารถรักษา
ระดับ แรงดัน Output ให้คงที่ได้ตั้งแต่ Input 190V - 250V คิดเป็นเปอร์เซ็นต์คืออยู่
ในช่วง  13.64% อุปกรณ์สามารถทางานได้ครอบคลุมมาตรฐานของระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่า
ด้วยข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 2559 ซึ่งกาหนดไว้ว่าแรงดันที่ออกจากการ
ไฟฟ้าจะในช่วง 200V - 240V ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะ
เนื่องจากข้อจากัดของเครื่องมือวัดจึงทาให้งานวิจัยนี้ยั งขาดผลการทดลองในแง่ของ การ
ตอบสนองชั่วขณะ (Transient response) ซึ่งจะบอกได้ว่าอุปกรณ์ ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดย
วิธีการสวิตซ์ชิ่ง สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงแรงดันได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ ขนาดหม้อ
แปลงที่ใช้ในการทดลองนั้นมีขนาดเพียง 800VA จึงทาให้ไม่สามารถทดสอบการจ่ายโหลดที่สูงขึ้นได้
31

บรรณานุกรม

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่าย
ไฟฟ้า พ.ศ. 2559. 2559
ทรงกลด ศรีปรางค์, วันชัย ทรัพย์สิงห์ และ ชาญวิทย์ บุญช่วย. การพัฒนาอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็ก
แบบเชื่อมต่อพลังงานแสงอาทิตย์. นครปฐม: การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 1, 2559
นิวัติ ณ ระนอง และ สมเกียรติ วิเชียรโรจน์. ชุดสาธิตเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า. ปริญญานิพนธ์.
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี, 2542
บุญชัด เนติศักดิ์. เทคโนโลยีการส่งกาลังไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูงเพื่อระบบพลังงานที่ยั่งยืน. ลาปาง:
วรสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลาปาง ปีที่ 4 ฉบับที่ 2
ตุลาคม 2554 – มีนาคม 2555, 2555
ปฏิวัติ บุญมา และ สยามรัฐ เพิกอาภรณ์. สื่อการเรียนรู้วงจรอินเวอร์เตอร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี, 2555
พรชัย สวัสดิวงค์. การออกแบบและพัฒนาการควบคุมแรงดันไฟฟ้าส่วนเกิน. ปริญญานิพนธ์.
กรุงเทพมหานครฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2559
พีรพล วังหล้า, ประพันธ์ สืบรักษ์ และ ทศพล จอมเล็ก. การออกแบบชุดควบคุมสาหรับเครื่องควบคุม
แรงดันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ. ปริญญานิพนธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2556
มนฑล นาวงษ์. การสร้างวงจรอินเวอร์เตอร์แบบอิสระชนิดหนึ่งเฟสที่ใช้พลังงานจากแผงเซลล์
แสงอาทิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2559
ยุทธนา กันทะพะเยา และ เฉลิมพล เรืองพัฒนาวิวัฒน์. การวิเคราะห์และออกแบบอินเวอร์เตอร์หนึ่ง
เฟสสาหรับเชื่อมโครงข่ายไฟฟ้า. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์
นนทบุรี, 2556
วีระเชษฐ์ ขันเงิน และ วุฒิพล ธาราธีรเศรษฐ์. 2551. อิเล็กทรอนิกส์กาลัง. พิมพ์ครั้งที่ 8. คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
32

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก. เอกสารตอบรับการนาเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการ
33

ประวัติคณะผู้วิจัย

ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย) นายภีรศักดิ์ เผ่าผาง


ชื่อ – นามสกุล (ภาษอังกฤษ) Mr.Peerasak Phaophang
ตาแหน่งปัจจุบัน อาจารย์
หน่วยงานและสถานที่อยู่ที่ ติ ด ต่ อได้ สาขาวิช าวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี เลขที่ 7/1 ถ. นนทบุรี 1 ต.สวนใหญ่ อ.
เมือง จ.นนทบุรี รหัสไปรษณี 11000
ประวัติการศึกษา
ปีที่จบ ระดับ อักษรย่อ สาขา ชื่อสถาบันสถานศึกษา ประเทศ
การศึกษา ปริญญา ปริญญา วิชาเอก
2552 ปริญญาโท วศ.ม. วิศวกรรมไ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไทย
ฟฟ้า
2546 ปริญญาตรี วศ.บ. วิ ศ วกรรม สถาบันเทคโนโลยี ไทย
การวัดคุม พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง
สาขาวิชาการที่มีความชานาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา) ระบุสาขาวิชาการ
-
ผลงาน บทความวิจัยที่ได้รับเผยแพร่
ภีรศักดิ์ เผ่าผาง, 2563, “การศึกษาและออกแบบอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยวิธีการสวิตซ์
ชิ่ง”,
การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 4, 15-16 กรกฎาคม
2563.
ภีรศักดิ์ เผ่าผาง และ พีรพล จันทร์หอม, “การพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยลูกหมุนระบายอากาศ,”
สักทอง:
วรสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร
, ฉบับที่ ๒, กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙, หน้า ๑๕ – ๒๔.
34

ผู้ร่วมวิจัย (นักศึกษา)
ชื่อ-นามสกุล นาย ทวีทรัพย์ หัสสิม
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปี 4
สาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า คณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
ชื่อ-นามสกุล นาย เนติพงศ์ แมลงภู่
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ชั้นปี 4
สาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า คณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม

You might also like