You are on page 1of 60

79

แผนการสอนสัปดาห์ที่ ๖ - ๘

ชื่อบทเรียน อาวุธศึกษา (ปลย.เอ็ม ๑๖, ปพ.๘๖) จำนวน ๑๒ ชั่วโมง


จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป)
๑. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับอาวุธศึกษา ปลย.เอ็ม ๑๖
๒. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับอาวุธศึกษา ปพ.๘๖
๓. เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักและให้ความสำคัญเรื่องอาวุธศึกษา
๔. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะเกี่ยวกับการใช้อาวุธประจำกาย
ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ)
๑. อธิบายคุณลักษณะทั่วไปและขีดความสามารถของ ปลย.เอ็ม ๑๖ และ ปพ.๘๖ ถูกต้อง
๒. มีทักษะการถอดและประกอบชิ้นส่วนของปืน
๓. อธิบายการทำงานของเครื่องกลไกปืน
๔. บอกวิธีการปรนนิบัติบำรุงและการทำความสะอาด
๕. บอกสาเหตุติดขัดของอาวุธและการแก้ไขทันที
๖. ระบุประเภทของกระสุนได้ถูกต้อง
๗. มีทักษะการฝึกยิงปืนเบื้องต้น
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
๑. การบรรยาย
๒. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
๓. การสาธิต
๔. การฝึกปฏิบัติ
สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน
๑. Power point
๒. เอกสารประกอบการสอน
๓. อาวุธปืน
การวัดผล
๑. การสอบความรู้
๒. ผลการฝึกปฏิบัติ
๓. จิตพิสัย
80

หัวข้อการบรรยาย
อาวุธประจำกาย ปืนเล็กยาว เอ็ม 16 เอ 1
ความมุ่งหมาย
๑. คุณลักษณะทั่วไปและขีดความสามารถของปืน
๒. การถอดและประกอบชิ้นส่วนของปืน
๓. การทำงานของเครื่องกลไกปืน
๔. การปรนนิบัติบำรุงและการทำความสะอาด
๕. เหตุติดขัดและการแก้ไขทันที
๖. ประเภทของกระสุน
๗. การฝึกยิงปืนเบื้องต้น
ส่วนประกอบ

ศูนย์หลัง ฝาประกับลำกล้อง ศูนย์หน้า ลำกล้อง

พานท้าย

ปลอกลดแสง
สายสะพาย หูกระวินบน
หูกระวินล่าง
ที่ปลดซองกระสุน ซองกระสุน

หูหิ้ว คันรั้งลูกเลื่อน

คันบังคับลูกเลื่อน
คันบังคับการยิง
81

คุณลักษณะและความมุ่งหมาย
รายการทั่วไป
- ปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑ มีขนาดกว้างปากลำกล้อง ๕.๕๖ มม. ( ๐.๒๒๓ นิ้ว )
- ป้อนกระสุนด้วยซองกระสุน ๒๐ นัด และ ๓๐ นัด
- ทำงานด้วยแก๊ส ระบายความร้อนด้วยอากาศ
- เป็นอาวุธที่ยิงด้วยการประทับบ่า
- สามารถทำการยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ และยิงแบบอัตโนมัติ โดยใช้คันบังคับการยิงให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
- มีปลอกลดแสงที่ปากลำกล้อง เพื่อช่วยลดแสงสว่างให้น้อยลงขณะที่ทำการยิง
- ลำกล้องทำด้วยโลหะผสมอลูมิเนียม
- ฝาประกับลำกล้องชนิดกันความร้อนแบบแก้วไฟเบอร์ ๒ อัน มีช่องระบายความร้อนด้านบน ๑๐ ช่อง ด้านล่าง ๖
ช่อง เพื่อให้อากาศเข้าหมุนเวียนรอบบริเวณลำกล้องได้ และเป็นการป้องกันท่อแก๊สไม่ให้ชำรุดได้ง่าย
- มีแผ่นยางรองพานท้ายปืน เพื่อรับแรงสะท้อนถอยหลังของปืนให้ลดน้อยลงในขณะยิง
- เครื่องช่วยส่งลูกเลื่อนให้กลับเข้าไปข้างหน้า อยู่ทางขวาของห้องลูกเลื่อนตอนบน ช่วยส่งลูกเลื่อนกลับเข้าไป
ข้างหน้าและเข้าขัดกลอนได้ในเมื่อแหนบรับแรงถอย ส่งลูกเลื่อนไม่เข้าขัดกลอน
- ขาทรายเป็นรูปไม้หนีบผ้า การใช้ขาทรายติดปากลำกล้องปืนบริเวณใต้ศูนย์หน้า ใช้ขาทรายเพื่อให้เกิดความ
แม่นยำสำหรับการยิงแบบอัตโนมัติในท่านอนยิง ท่ายิงในหลุมบุคคล
- ฝาปิดป้องกันฝุ่น มีไว้เพื่อป้องกันฝุ่นเมื่อไม่ได้ใช้ปืนทำการยิง
รายการขนาดน้ำหนักและขีปนวิถี
น้ำหนัก
- ปืน ( ไม่รวมซองกระสุนและสายสะพาย ) หนัก ๖.๕ ปอนด์
- ซองกระสุนเปล่า ( ชนิดบรรจุ ๒๐ นัด ) หนัก ๒ ปอนด์
- ซองกระสุนบรรจุ ๒๐ นัด หนัก ๗ ปอนด์
- สายสะพาย เอ็ม.๑ หนัก .๔ ปอนด์
- น้ำหนักปืนพร้อมทำการยิง(บรรจุกระสุน ๒๐ นัดและสายสะพาย) หนัก ๗.๖ ปอนด์
- ขาทราย เอ็ม. ๓ หนัก .๖ ปอนด์
- ซองขาทราย หนัก .๒ ปอนด์
- ดาบปลายปืน เอ็ม.๒ หนัก .๖ ปอนด์
- ฝักดาบปลายปืน เอ็ม ๘ เอ ๑ หนัก .๓ ปอนด์
ความยาว
- ปืนติดดาบปลายปืน เอ็ม. ๗ ยาว ๔๔.๒๕ นิ้ว
- ปืนทั้งกระบอกพร้อมด้วยปลอกลดแสง ยาว ๓๙ นิ้ว
- ลำกล้องพร้อมปลอกลดแสง ยาว ๒๑ นิ้ว
82

- ลำกล้อง (ไม่รวมปลอกลดแสง) ยาว ๒๐ นิ้ว


- อาการเวียนขวาของเกลียว ๑ รอบเกลียว ยาว ๑๒ นิว้
- ภายในลำกล้องมีเกลียว ๖ เกลียวเวียนขวา

เครื่องเล็ง
ศูนย์หน้า
- เป็นแบบศูนย์นั่งแท่น
- มีคลิกปรับได้ แต่ละคลิกจะมีค่าเท่ากับ ๒.๘ ซม. ทุกระยะ ๑๐๐ เมตร
ศูนย์หลัง
- เป็นแบบศูนย์กระดก มีช่องเล็ง ๒ ช่อง
๑. ระยะยิงตั้งแต่ ๐ – ๓๐๐ เมตร ให้ตั้งศูนย์ปกติ คือ ที่ช่องเล็งช่องเล็ก
๒. ระยะยิงตั้งแต่ ๓๐๐ – ๕๐๐ เมตร ให้ใช้ศูนย์ช่องเล็งใหญ่ และที่ฐานของศูนย์จะมีอักษรตัว L
กำกับไว้
จานมุมทิศ
อยู่ทางด้านขวาของศูนย์หลัง รอยบากแต่ละช่องของจานมุมทิศ มีค่าเท่ากับ ๒.๘ ซม.ต่อระยะ ๑๐๐ ม.

กระสุน
กระสุนที่ใช้กับปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑ ขนาด ๕.๕๖ x ๔๕ มม. มีอยู่ ๔ ชนิด คือ
๑. กระสุนธรรมดา M 193
๒. กระสุนส่องวิถี M 196
๓. กระสุนซ้อมรบ M 200
๔. กระสุนฝึกหัดบรรจุ M 199

ลักษณะทางขีปนวิธี
- ความเร็วต้น ๓,๒๕๐ ฟุต/วินาที
- ความเร็วในการยิง ๗๐๐ – ๘๐๐ นัด/นาที
- อัตราในการการยิงสูงสุด
83

ก. กึ่งอัตโนมัติ ๔๕ – ๖๕ นัด/นาที
ข. อัตโนมัติ ๑๕๐ – ๒๐๐ นัด/นาที
- อัตราการยิงต่อเนื่อง ๑๒ – ๑๕ นัด/นาที
- ระยะยิงไกลสุด ๒,๖๕๓ เมตร
- ระยะยิงหวังผล ๔๖๐ เมตร (ลงมา)
- ศูนย์รบ ๒๕๐ เมตร
การตรวจปืน
- ถอดซองกระสุนออกจากปืน
- เปิดลูกเลื่อนค้างไว้
- เลื่อนคันบังคับการยิงไว้ที่ตำแหน่งห้ามไก
- ตรวจรังเพลิง
หมายเหตุ :
ปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑ ถ้าปืนไม่ได้ขึ้นนก จะดันคันบังคับการยิงให้อยู่ในตำแหน่งห้ามไกไม่ได้
การถอด-ประกอบปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑
การถอด-ประกอบปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑ แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. การถอด-ประกอบปกติ
๒. การถอด-ประกอบพิเศษ
๑. การถอด-ประกอบปกติ ลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
๑. การถอดสายสะพายและวางปืนหันปากลำกล้องไปทางซ้าย
๒. ถอดสลักยึดโครงปืนอันหลังและอันหน้า (อย่าให้สลักโครงปืนทั้ง ๒ อันหลุดจากโครงปืนส่วนล่าง
๓. แยกโครงปืนส่วนบนและส่วนล่างออกจากกัน
๔. หยิบโครงปืนส่วนบนให้ปากลำกล้องหันไปทางซ้าย ดึงคันรั้งโครงนำลูกเลื่อนมาข้างหลังครึ่งหนึ่ง และ
ถอดโครงนำลูกเลื่อนออกมา และถอดคันรั้งโครงนำลูกเลื่อนออกมา
การถอดชุดโครงนำลูกเลื่อน
- ถอดสลักเข็มแทงชนวน
- ถอดเข็มแทงชนวน (เทออกทางด้านหลัง)
- ถอดสลักลูกเบี้ยว (หมุน ๙๐ องศาหรือ ๑/๔ รอบ )
- ถอดลูกเลื่อนออกมาทางด้านหน้า
- ถอดแหนบและแกนแหนบรับแรงถอย
- ชิ้นส่วนสุดท้ายที่จะถอด คือ ฝาประกับลำกล้องปืน
84

การประกอบ ให้ทำตรงข้ามกับการถอด ชิ้นส่วนที่ถอดออกหลังสุดให้ประกอบเข้าไปก่อน


๒. การถอด-ประกอบพิเศษ การถอดชิ้นส่วนโครงปืนส่วนล่าง มีลำดับการถอดดังนี้
๑. ถอดสลักนกปืน
๒. นกปืนและแหนบนกปืน
๓. สลักกระเดื่องไกอัตโนมัติ
๔. กระเดื่องไกอัตโนมัติและแหนบ
๕. คันบังคับการยิง
๖. สลักไก
๗. กระเดื่องตัดจังหวะการยิง
การประกอบ ให้กระทำตรงกันข้ามกับการถอด ชิ้นส่วนสุดท้ายให้ประกอบเข้าไปก่อน
การถอดและการประกอบ ปลย.เอ็ม.16
ก. จุดประสงค์ในการถอดและประกอบ
1) เพื่อทหารได้รู้จักชิ้นส่วนต่างๆ ของ ปลย.เอ็ม. 16
2) การถอดประกอบกระทำได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรือใช้กำลังมาก
3) เมื่อถอดปืนออกมา ควรวางชิ้นส่วนเรียงจากซ้ายไปขวา เพื่อง่ายในการประกอบ
ข. การตรวจปืน ก่อนจะทำการถอดประกอบปืนนั้น ควรตรวจปืนเสียก่อนเพื่อความปลอดภัยดังนี้
1) ตั้งคันบังคับการยิงไว้ที่ ห้ามไก
2) ถอดซองกระสุนออก (ถ้ามี)
3) ดึงคันรั้งลูกเลื่อนมาข้างหลังให้สุด ใช้หัวแม่มือซ้ายกดเหล็กหยุดลูกเลื่อน
4) ตรวจดูในรังเพลิงว่ามีกระสุนอยู่หรือไม่
5) กดเหล็กหยุดลูกเลื่อนให้ลูกเลื่อนเคลื่อนไปข้างหน้า พร้อมกับดันคันรั้งไปข้างหน้า
ข้อควรระมัดระวัง : คันบังคับการยิงต้องอยู่ในท่าห้ามไก เพื่อป้องกันมิให้กระเดื่องไกอัตโนมัติชำรุดเสียหาย
1. การถอดและการประกอบ ปลย.เอ็ม.16 มีอยู่ 2 วิธี
1 การถอดปกติและการประกอบ
2 การถอดพิเศษและการประกอบ
การถอดปกติและการประกอบ
1) การถอดชิ้นส่วนสำคัญ
ก. ถอดสายสะพายออก
ข. กดสลักยึดโครงปืนส่วนบน และส่วนล่างให้หลุดออกจากกัน
ค. ถอดชุดโครงนำลูกเลื่อนออกจากชุดโครงปืนส่วนบน
85

2) การถอดแยกชุดโครงนำลูกเลื่อน
ก. ดันสลักเข็มแทงชนวนจากขวาไปซ้ายออก
86

ข. ดึงเข็มแทงชนวนออกทางด้านหลังของโครงนำลูกเลื่อน
ค. ดันลูกเลื่อนให้ติดกับโครงนำลูกเลื่อนแล้วหมุนสลักลูกเบี้ยวไปทางขวาหรือซ้าย 90 องศา ยกสลักลูกเบี้ยวออก
ง. ถอดลูกเลื่อนออกจากโครงนำลูกเลื่อน
ข้อควรระวัง : อย่าให้แหวนประคองลูกเลื่อนชำรุด

3) การถอดฝาคลอบลำกล้อง
ก. กดเหล็กยึดฝาคลอบลงให้สุด
ข. นำฝาคลอบลำกล้องออกทั้งสองข้าง
87

4) การถอดเครื่องรับแรงถอยออกจากชุดโครงปืนส่วนล่าง
ก. ใช้นิ้วมือขวากดแกนแหนบรับแรงถอยเข้าไปข้างใน
ข. ใช้ตาปูกดสลักรับแรงถอยให้ยุบตัวลง
ค. ดึงแกนแหนบรับแรงถอยออกมา
88

ก. การถอดปกติ

- การประกอบ
1. การประกอบ กระทำตรงข้ามกับการถอด ชิ้นส่วนใดถอดก่อนประกอบทีหลัง ชิ้นส่วนใดถอดทีหลังประกอบก่อน
ก. ประกอบเครื่องรับแรงถอยเข้ากับชุดโครงปืนส่วนล่าง
1) นำแกนแหนบใส่ไว้กับแหนบรับแรงถอย
2) ใช้ตาปูกดแป้นรับแรงถอยให้ยุบตัวลง

1.

2.
89

ข. การประกอบฝาครอบลำกล้อง
1) กดเหล็กยึดฝาครอบลำกล้องลงให้สุด
2) นำฝาครอบลำกล้องใส่กลับเข้าทั้งสองข้าง

ค. ประกอบชุดโครงนำลูกเลื่อน
1) นำลูกเลื่อนใส่เข้ากับโครงนำลูกเลื่อน
2) ใส่สลักลูกเบี้ยวตรงช่องสลักลูกเบี้ยวหมุนลูกเบี้ยวไปทางขวาหรือทางซ้าย 90 องศา
3) ใส่เข็มแทงชนวนทางด้านหลังโครงนำลูกเลื่อนเข้าให้สุด
4) ใส่สลักเข็มเข็มแทงชนวนทางซ้ายไปทางขวา

ง. ประกอบชุดโครงนำลูกเลื่อนกับชุดโครงปืนส่วนบน
1) ใสคันรั้งลูกเลื่อนเข้ากับชุดโครงปืนส่วนบน โดยใสให้ตรงกับช่องด้านบนของชุดโครงปืนส่วนบนแล้วดันเข้า
ไปพอประมาณ
90

2) ใสชุดโครงนำลูกเลื่อนเข้ากับชุดโครงปืนส่วนบน
3) ดันโครงนำลูกเลื่อนเข้าไปให้สุดระยะ กลอนยึดคันรั้งจะยึดอยู่เหมือนเดิม

จ) ประกอบชุดโครงปืนส่วนบนกับชุดโครงปืนส่วนล่าง
1) ประกอบชุดโครงปืนส่วนบนเข้ากับส่วนล่างแล้วกดสลักยึดโครงปืนให้เข้าที
2) ประกอบสายสะพายเข้าตัวปืน

หมายเหตุ : เป็นการสิ้นสุดการประกอบ
91

การปฏิบัติและการทำงานของเครื่องกลไก
การปฏิบัติ
๑. การบรรจุกระสุนเข้ากับซองกระสุน
๒. การบรรจุซองกระสุนเข้ากับปืน
๓. การเลิกบรรจุ
การทำงานของเครื่องกลไกปืน เอ็ม ๑๖ เอ ๑ แบ่งออกเป็น ๗ ขั้นตอน คือ
๑. การยิง
๒. การคัดปลอก
๓. การรั้งปลอกกระสุน
๔. การคัดปลอกกระสุน
๕. การขึ้นนก
๖. การป้อนกระสุน
๗. การนำเข้ารังเพลิง
๘. การขัดกลอน
การยิง
สามารถทำการยิงได้ทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติ ด้วยการใช้คันบังคับการยิง จะมีอยู่ ๓ ตำแหน่ง ดังนี้

- ตำแหน่ง SAVE
- ตำแหน่ง SEMI
- ตำแหน่ง AUTO
๑. การยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ
เริ่มตันโดยกระสุน ๑ นัดอยู่ในรังเพลิง นกปืนอยู่ในท่าขึ้นนกและคันบังคับการยิงอยู่ในตำแหน่งกึ่งอัตโนมัติ
เมื่อผู้ยิงเหนี่ยวไก ไกจะหมุนด้วยสลักไก ทำให้หน้าไกต่ำลงและหลุดออกจากปากแง่งล่างของนกปืน นกปืนจะฟาดตัวไป
ข้างหน้าด้วยแรงขยายของแหนบของปืน นกปืนจะตีเข้ากั บเข็มแทงชนวนและขับให้เข็มแทงชนวนวิ่งผ่านลูกเลื่อน เข้าแทง
ขอบกระทบแตกของจานท้ายปลอกกระสุน การทำงานของปืนจะมีความเร็วกว่าการปฏิบัติของมนุษย์มาก ทำให้ผู้ยิงไม่
สามารถปล่อยไกได้ทัน เพื่อมิให้ปืนลั่นติดต่อกันเพราะฉะนั้นเราจึงต้องติดตั้งกลไกอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปในปืน เพื่อให้ผู้ยิง
สามารถทำการยิงได้ทีละนัด กระเดื่องไกที่ติดตั้งจะถูกใช้เพื่อความมุ่งหมายนี้ กระเดื่องไกที่ติดอยู่กับไก จะพลิกไปทาง
ด้านหน้าด้วยแรงดันของแหนบกระเดื่องไกเมื่อขึ้นนกปืน เนื่องจากการถอยมาข้างหลังของโครงนำลูกเลื่อน กระเดื่องไกก็จะ
92

เกี่ยวเข้ากับแง่งล่างของปืนและจะยึดนกปืนไว้ จนกว่าไกจะถูกปล่อย เมื่อไกถูกปล่อยแล้วกระเดื่องก็จะพลิกตัวลงด้านล่างเป็น


การปลดนกปืน และปล่อยให้นกปืนหมุนไปทางด้านหน้า จนกระทั่งนกปืนถูกปลายหน้าของไกเหนี่ยวไว้
การทำงานดังกล่าวนี้เป็นการป้องกันมิให้นกปืนฟาดตัวตามโครงนำลูกเลื่อนในทางด้านหน้า ซึ่งจะทำให้ปืน
ยิงอัตโนมัติได้
การทำงานของแก๊ส
เมื่อจอบกระทบแตกเผาไหม้ดินส่งกระสุน ลูกกระสุนก็ถูกบังคับให้วิ่งผ่านไปในลำกล้อง ในเวลาเดียวกัน
นั้น แก๊สจะเคลื่อนผ่านลำกล้องไปจนกระทั่งผ่านช่องแก๊ส ซึ่งอยู่ผนังด้านบนของลำกล้อง(ใต้ศูนย์หน้า) แก๊สส่วนน้อยจะวิ่งผ่าน
เข้าไปในช่องแก๊สและวิ่งไปในท่อแก๊ส จนกระทั่งถึงหน้าโครงนำลูกเลื่อน ซึ่งสร้างเป็นท่อรับแก๊สไว้ดันให้โครงนำลูกเลื่อนวิ่งไป
ทางหลัง
การปลดกลอน
เมื่อโครงนำลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปด้านหลังร่องบังคับลู กเบี้ยว ซึ่งอยู่ที่ผนังตอนบนของลูกเลื่อน จะบังคับต่อ
สลักลูกเบี้ยว สลักลูกเบี้ยวจะบังคับต่อลูกเลื่อนให้หมุนตัว จนกระทั่งครีบขัดกลอนของลูกเลื่อนไม่อยู่ตรงกับครีบขัดกลอนของ
โครงปืน ซึ่งอยู่ตอนหน้าของรังเพลิง ในอาการเช่นนี้เราเรียกว่า “การปลดกลอน”
การรั้งปลอกกระสุน
โครงนำลูกเลื่อนยังเคลื่อนที่ไปทางด้านหลัง พร้อมกันกับลูกเลื่อนด้วยการทำงานของขอรั้งปลอกกระสุนซึ่ง
ติดอยู่ที่ลูกเลื่อน ก็จะนำปลอกกระสุนเปล่าออกมาจากรังเพลิง ขอรั้งปลอกกระสุนซึ่งฝังอยู่ในขอบจานท้ายปลอกกระสุน จะ
ยึดจานท้ายปลอกกระสุนให้ติดมากับหน้าลูกเลื่อนด้วย
การคัดปลอกกระสุน
เมื่อจานท้ายปลอกกระสุนสัมผัสกับหน้าลูกเลื่อน เหล็กคัดปลอกกระสุนก็จะถูกกดให้จมเข้าไปในช่องของ
เหล็กคัดปลอกกระสุน เมื่อโครงนำลูกเลื่อนเคลื่อนที่ผ่านช่องคัดปลอกกระสุน ปลอกกระสุนเปล่าก็จะถูกเหวี่ยงออกจากช่อง
คัดปลอกกระสุนด้วยแรงดันของเหล็กคัดปลอกกระสุนและแหนบ
การขึ้นนก
การเคลื่อนที่มาทางข้างหลังของโครงนำลูกเลื่อน จะชนเข้ากับนกปืนและบังคับให้นกปืนพลิกตัวต่ำลงไปใน
ห้องลูกเลื่อน ทำให้เกิดการอัดแหนบนกปืน แง่อันล่างของนกปืนจะถูกกระเดื่องไปยึดไว้ เมื่อไปถูกปล่อยนกปืนจะหลุดออก
จากกระเดื่องไก และถูกปลายหน้าของไกเกี่ยวไว้ก่อนที่จะทำการยิงการยิงกระสุนนัดต่อไปได้จะต้องเหนี่ยวไกอีก
การป้อนกระสุน
เมื่อโครงนำลูกเลื่อนที่ด้านบนของซองกระสุนเคลื่อนที่ไปแล้ว เหล็กรองกระสุนและแหนบซองกระสุนซึ่ง
อยู่ในซองกระสุนก็จะดันกระสุนนัดใหม่ขึ้นข้าง บนมาอยู่ในช่องทางเดินของลูกเลื่อน
การทำงานของเครื่องรับแรงถอย
เมื่อโครงนำลูกเลื่อนที่ไปทางด้านหลังของหัวแป้นรับแรงถอย ถอยหลังเข้าไปในเดือยท้ายห้องลูกเลื่อน
แรงขยายตัวของแหนบรับแรงถอยเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้าด้วยแรงดัน ซึ่งมากพอที่จะดันโครงนำลูกเลื่อนให้เคลื่อนที่ไป
ทางด้านหน้าเข้าสู่รังเพลิงได้ เครื่องรับแรงถอยทำข้นเพื่อลดการสะท้อนถอยหลังของปืน
93

การขัดกลอน
เมื่อโครงลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปทางด้านหลัง เหลือระยะอีก ๑/๒ นิ้ว ก็จะเข้าที่สุด สลักลูกเบี้ยวก็จะถูกบังคับ
จากร่องลาดลูกเบี้ยวในห้องลูกเลื่อนส่วนบน และเคลื่อนที่ไปตามแนวร่องลาดลูกเบี้ยว ทำให้ลูกเลื่อนหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา
ไปอยู่ในท่าขัดกลอนอีกครั้ง ปืนก็พร้อมที่จะทำการยิงต่อไปได้และวงรอบการทำงานของปืนก็จะเริ่มขึ้นอีก
๒. การยิงแบบอัตโนมัติ
- เมื่อตั้งคันบังคับการยิงไปอยู่ที่ตำแหน่งอัตโนมัติ (AUTO) แล้วปืนก็จะทำการยิงติดต่อกันเรื่อยไปตราบ
เท่าที่เรายังเหนี่ยวไกไว้และยังมีกระสุนอยู่ในซองกระสุน การทำงานของชิ้นส่วนบางชิ้นของปืนจะเปลี่ยนไปบ้างเมื่อทำการยิง
เป็นอัตโนมัติ
- เมื่อเหนี่ยวไก วงรอบการทำงานก็จะเริ่มขึ้นเมื่อโครงลูกเลื่อนถอยไปข้างหลัง นกปืนก็จะขึ้นนกแต่ลูก
เบี้ยวตัวกลางของคันบังคับการยิง จะป้องกันมิให้กระเดื่องไกเกี่ยวกับนกปืนได้
- ด้วยการทำงานของกระเดื่องไกอัตโนมัติ ซึ่งจะเกี่ยวเข้ากับแง่บนของนกปืนและจะยึดนกปืนไว้ จนกระทั่ง
โครงนำลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และส่วนล่างของโครงนำลูกเลื่อนชนเข้ากับกระเดื่องไกอัตโนมัติ จะเป็นผลให้เกิดการ
ปลดนกปืน ปืนก็จะทำการยิงเป็นอัตโนมัติ
- ถ้าได้ถูกปล่อย นกปืนจะเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้าและถูกปลายหน้าของไกเกี่ยวไว้ นี้เป็นการสิ้นสุดวงรอบ
ของของการยิงปืนอัตโนมัติจนกว่าจะเหนี่ยวไกปืนอีก
- สำหรับขั้นตอนของการทำงานอื่นๆ ทั้งหมดที่เหลือ ยังคงเป็นเช่นเดียวกับการยิงอัตโนมัติทุกประการ
การทำงานของปืน
ตามวงรอบการทำงานและหยุดลงต่อเมื่อไกถูกปล่อยหรือกระสุนหมดซองแล้ว สำหรับในกรณีหลังจะมีการ
ทำงานของกลไกภายในปืนจะแสดงให้ผู้ยิงทราบว่าจะต้องเลี่ยนซองกระสุนใหม่ดังนี้
- เมื่อกระสุนนัดสุดท้ายจากซองกระสุนเข้าสู่รังเพลิงแล้ว เหล็กรองกระสุนก็จะรอยตัวขึ้นไปทางด้านบน
ของซองกระสุนสัมผัสเข้ากับขากลอนยึดลูกเลื่อน เมื่อโครงลูกเลื่อนถอยมาทางด้านหลังภายหลังจากที่กระสุนนัดสุดท้ายได้ยิง
ออกไปแล้ว กลอนยึดลูกเลื่อนก็จะถูกดันเข้าไปอยู่ในร่องทางเดินของลูกเลื่อนด้วยแรงดันของแหนบซองกระสุน เป็นการขัด
โครงลูกเลื่อนไว้ทางด้านหลัง
๒. การถอดซองกระสุนออก จะไม่เป็นการปลดโครงนำลูกเลื่อนแต่อย่างใด เพราะแรงดันของแหนบรับแรง
ถอย จะทำให้หน้าลูกเลื่อนขัดแง่เข้ากับกลอนกระเดื่องหยุดโครงนำลูกเลื่อน การปลดโครงนำลูกเลื่อนทำโดยผู้ยิงจะต้องหยุด
โครงนำลูกเลื่อน ซึ่งอยู่ที่ผนังด้านซ้ายของห้องลูกเลื่อน
ข้อควรระวัง ถ้าสอดกระสุนใหม่ให้เข้าในช่องและปลดโครงนำลูกเลื่อน ให้โครงนำลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไป
ข้างหน้าแล้ว ปืนก็จะอยู่ในท่าบรรจุและพร้อมที่จะทำการยิงได้ทันที
๓. การแขวนโครงนำลูกเลื่อนไว้ทางด้านหลัง เพื่อที่จะทำให้ปืนอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัยนั้น ทำโดยให้ผู้ยิง
ดึงคันรั้งลูกเลื่อนไปข้างหลัง แล้วกดตอนล่างของกลอนยึดโครงนำลูกเลื่อนแล้วดันคันรั้งลูกเลื่อนกลับไปข้างหน้า แล้วเลื่อนคัน
บังคับการยิงไปที่ตำแหน่งห้ามไก ลักษณะนี้ลูกเลื่อนจะเปิดรังเพลิงจะว่างสำหรับการตรวจสอบและอาวุธจะอยู่ในลักษณะ
ปลอดภัย แต่การที่จะให้ปลอดภัยที่แท้จริงนั้น จะต้องถอดซองกระสุนออกไปด้วย
94

การบำรุงรักษาและทำความสะอาด
การใช้อาวุธประจำกายนั้น ผู้ใช้เมื่อนำไปใช้งานมีความประสงค์อยู่ ๒ ประการคือ
๑. ในขณะที่ทำการยิงอย่าได้ติดขัด
๒. เมื่อทำการยิงขอให้ถูกเป้าหมาย
สำหรับความประสงค์ของผู้ในปืนข้อ ๑ จะตอบสนองต่อผู้ใช้ได้นั้น ผู้ใช้ต้องรู้จักการทำความสะอาด การปรนนิบัติ
บำรุงรักษาอาวุธอย่างเหมาะสม อาวุธจึงจะมีการทำงานให้เป็นไปตามเทคนิคของอาวุธนั้น สำหรับปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑
มีส่วนสำคัญที่จะต้องทำความสะอาดดังต่อไปนี้ คือ
๑. ภายในลำกล้องปืนและรังเพลิง
๒. ชุดโครงนำลูกเลื่อน
๓. ชุดโครงปืนส่วนล่าง
วัสดุที่ใช้ทำความสะอาดและหล่อลื่น มีดังนี้
๑. น้ำมันชำระล้างลำกล้อง
๒. น้ำ สบู่
๓. น้ำมันใส
๔. น้ำมันใสพิเศษ
๕. ไขทาปืน
๖. น้ำมันเครื่องเกรดต่างๆ
๗. แส้ทำความสะอาดลำกล้อง
๘. ผ้าสำหรับทำความสะอาด
เหตุติดขัดและวิธีแก้ไข
เหตุติดขัด หมายถึง การที่ปืนหยุดชะงักการยิงโดยไม่เจตนา การแก้ไขเหตุติดขัดทันทีทันใดนั้นทำได้ดังนี้
- ตบ = ตบซองกระสุนขึ้นข้างบน
- ดึง = ดึงคันรั้งโครงนำลูกเลื่อนมาข้างหลัง แล้วปล่อยไปข้างหน้า
- ดัน = ดันเครื่องช่วยส่งลูกเลื่อนให้กลับไปข้างหน้าสุดเพื่อให้ลูกเลื่อนเข้าขัดกลอน
- เล็งและยิงต่อไป
การฝึกยิงปืน แบ่งออกเป็น ๒ ขั้น คือ
๑. การฝึกยิงเบื้องต้น
๒. การฝึกยิงในสนาม
การฝึกเบื้องต้น แบ่งออกเป็น ๖ ขั้น คือ
๑. การใช้ศูนย์และการเล็ง
๒. การฝึกท่ายิง
๓. การฝึกการลั่นไก
95

๔. การฝึกยิงต่อเนื่อง
๕. การปรับศูนย์
๖. การตรวจสอบก่อนไปทำการยิงปืนในสนาม
การฝึกขั้นที่ ๑ การใช้ศูนย์และการเล็งนั้น
- การจัดภาพศูนย์พอดี
- การฝึกวางเป้าหมายอย่างถูกต้อง
การฝึกขั้นที่ ๒ คือ การฝึกท่ายิง มีอยู่ ๕ ท่า คือ
๑. ท่านอนยิง
๒. ท่านั่งราบ
- ท่านั่งราบไขว้ข้อเท้า
- ท่านั่งราบไขว้ขา
๓. ท่านั่งสูง
๔. ท่านั่งคุกเข่า
๕. ท่ายืนยิง
ท่าสำหรับใช้ยิงอัตโนมัติ มี ๓ ท่า คือ
๑. ท่านอนยิงใช้ขาทราย
๒. ท่านยิงในหลุมบุคคลใช้ขาทราย
๓. ท่ายิงใต้แขน
การฝึกขั้นที่ ๓ คือ การฝึกการลั่นไก เพื่อให้ทหารรู้จักการบีบไกหรือค่อยๆ ลากไกไม่ใช่กระตุกไก
การฝึกขั้นที่ ๔ คือ การฝึกยิงต่อเนื่อง โดยการฝึกให้ทหารยิงกระสุน ๑ นัดภายใน ๔ วินาที และ ๑๐ นัดภายใน
๕๐ วินาที
การฝึกขั้นที่ ๕ คือ การฝึกปรับศูนย์ ให้ทหารรู้จักการแก้ศูนย์ เมื่อเวลาทำการยิงปืนได้ถูกต้อง
การฝึกขั้นที่ ๖ เป็นขั้นการตรวจสอบทั้ง ๕ ขั้น
การปรับศูนย์และการตั้งศูนย์รบ
- ศูนย์ของปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑ สามารถปรับได้ทั้งทางทิศและทางระยะ
- ศูนย์หลังประกอบด้วยช่องเล็ง ๒ ช่อง
- ช่องศูนย์หลัง ที่มีเครื่องหมายตัว L ใช้สำหรับยิงระยะ ตั้งแต่ ๓๐๐ ถึง ๕๐๐ เมตร
- ช่องเล็งที่ไม่มีไม่มีเครื่องหมาย ใช้สำหรับการยิงในระยะตั้งแต่ ๐ ถึง ๓๐๐ เมตร
- ศูนย์หน้า ประกอบด้วยแท่นศูนย์หน้า การปรับระยะทางปืนในระยะ ๑,๐๐๐ นิ้ว ให้หมุนศูนย์หน้าลงต่ำสุด แล้ว
หมุนขึ้น ๒๔ คลิก (แต่ควรจะปรับทางปืนโดยการตั้งศูนย์หน้าโดยประมาณ)
- กฎควงมุมทิศและมุมสูง
ก. ๑ คลิก ของควงมุมสูงและควงมุมทิศ ในระยะ ๒๕ เมตร จะเลื่อนรอยกระสุนถูก เท่ากับ ๑๗ ซม.
96

ข. ถ้าระยะยิงเกินกว่า ๑๐๐ เมตร ๑ คลิก จะมีค่าเท่ากับระยะ (ในหน่วย ๑๐๐ ม. X ๓ )


เช่น จะทำการยิงในระยะ ๒๐๐ เมตร จะได้ว่า ๑ คลิก เท่ากับ ๒ X ๓ = ๖ ซม.
การปรับปืนตั้งศูนย์รบ
ก. การปรับปืนตั้งศูนย์รบระยะ ๒๕๐ เมตร คือ เราทำการยิงในระยะ ๒๕ เมตรดูกลุ่มกระสุนให้กระสุน ๓–๔ กลุ่ม
ข. ใช้เป้า ปลย. แบบ ข
- ๑ ช่องสี่เหลี่ยมเป้าตาราง ตารางมาตรฐาน เท่ากับ ๑.๔ ซม.
- กากบาทด้านล่าง เป็นตำบลที่ต้องการให้รอยกระสุนถูกห่างจากตำบลเล็ง ๒.๔ ซม.
- เมื่อทำการปรับในระยะ ๒๕ ม. ได้แล้ว ก็เหมือนกับการปรับปืนตั้งศูนย์รบในระยะ ๒๕ ม. นั่นเอง
ปืนพก แบบ 86 ขนาด 11 มม. ( ปพ.86 )

ปืนพก แบบ 86 ขนาด 11 มม. (.45 นิ้ว) M1911/ M1911A1


1. กล่าวนำ
ปพ.แบบ 86 เป็นอาวุธประจำกายสำหรับใช้ป้องกันตัวในระยะประชิดเป็นอาวุธที่มีลำกล้องสั้น จึงทำให้เกิดอุบติเหตุ
ได้ง่าย ฉะนั้นผู้มีหน้าที่ต้องใช้อาวุธจำเป็นต้องรู้ถึงลักษณะการทำงาน ตลอดจนการปรนนิบัติบำรุงเป็นอย่างดี

2. คุณลักษณะทั่วไป
2.1 เป็นอาวุธที่ใช้ถือยิงด้วยมือ
2.2 ทำงานด้วยแรงถอย
2.3 ป้อนกระสุนด้วยซองกระสุน (บรรจุกระสุน 7 นัด เรียงแถวเดียว)
2.4 เป็นอาวุธยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ (กระสุนจะลั่นหนึ่งนัด เมื่อเหนี่ยวไกแต่ละครั้ง)
หมายเหตุ : อัตรากระสุนมูลฐานเป็นอัตราเบิกจ่ายจำนวนกระสุน ซึ่งอนุมัติไว้ให้มีที่หน่วยใช้ตลอดเวลาเพื่อเผชิญ
สถานการณ์รบในขั้นต้น จนกว่าการส่งกำลังเพิ่มเติมตามปกติจะดำเนินการได้ อัตรามูลฐานดังกล่าวหน่วยจะต้องสามารถ
นำไปด้วยกำลังพลและยานพาหนะในอัตราของหน่วย
3. มาตรฐาน
- ขนาดกว้างปากลำกล้อง 0.45 นิ้ว ( 11 มม.)
- ระยะยิงหวังผลไกลสุด 50 เมตร
97

- ระยะยิงไกลสุด 1,500 เมตร


- ปืนทั้งกระบอกยาว 8 5/8 นิ้ว
- ลำกล้องยาว 5.03 นิ้ว
- เกลียวเวียนซ้าย 6 เกลียว เพื่อชดเชยทางขีปนะ
- ปืนทั้งกระบอกพร้อมซองกระสุนบรรจุเต็มหนักประมาณ 3 ปอนด์
- ปืนทั้งกระบอกพร้อมซองกระสุนเปล่าหนักประมาณ 2.4 ปอนด์
- ความเร็วต้น ณ ปากลำกล้อง 830 ฟุต/วินาที

4. เครื่องเล็งเป็นศูนย์แบบตายตัว ทั้งศูนย์หน้าและศูนย์หลังเป็นศูนย์ครึ่งวงกลม ส่วนศูนย์หลังเป็นศูนย์บากรูปตัววี (V)

ศูนย์บากรูปตัววี (V)

5. ในขณะที่ยิงกระสุนนัดสุดท้าย เลื่อนปืนอยู่ในตำแหน่งเพื่อแสดงว่ากระสุนหมดซองและช่วยให้การบรรจุกระสุนรวดเร็ว
ยิ่งขึ้น

6. ลักษณะแตกต่างระหว่าง ปพ. แบบ 86 M1911 และ M1911A1


98

6.1 หางห้ามไกช่วยของ M1911A1 ดัดแปลงให้ยาวกว่า M1911 ทั้งนี้เพื่อให้รับกับมือยิ่งขึ้น


6.2 ด้านซ้ายของโครงปืนตอนหลังโกร่งไกของ M1911A1 ทำให้เว้ามากขึ้นเพื่อให้เป็นที่พักของนิ้วมือขวา
(หรือนิ้วเหนี่ยวไก) และสามารถสวมถุงมือยิงได้
6.3 ด้านหน้าของไก M1911A1 ทำให้เว้าและสั้นกว่าเดิม มีลายกันลื่นไว้เพื่อให้เหนี่ยวไกได้ถนัดและประณีตยิ่งขึ้น
6.4 เหล็กปิดท้ายโครงปืนของ M1911A1 ตอนล่างทำให้โค้งมากขึ้นและมีลายกันลื่นไว้เพื่อให้กระชับกับอุ้งมือใน
เวลากำปืน
6.5 ส่วนบนของศูนย์หน้า M1911A1 ได้ดัดแปลงให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เล็งได้สะดวกและรวดเร็ว
7. การถอดแบบปกติ

7.1 ตรวจความปลอดภัยของปืน
7.2 ถอดซองกระสุน
7.3 คลายปลอกบังคับครอบแหนบรับแรงถอย
99

7.4 ถอดครอบแหนบรับแรงถอย และแหนบ


7.5 ถอดปลอกบังคับครอบแหนบรับแรงถอย
7.6 ดึงนกปืนมาข้างหลังเพื่อขึ้นนก
7.7 จัดเลื่อนปืนให้แผ่นหยุดเลื่อนปืนตรงกับบากเล็กที่ด้านซ้ายของเลื่อนปืน (บากอันหลัง)
7.8 ถอดสลักลำกล้องปืนและแผ่นหยุดเลื่อนปืน (ดันสลักจากขวาไปซ้าย)
7.9 หงายโครงปืนขึ้น แยกหมู่เลื่อนปืนออกจากโครงปืน
7.10 ถอดแกนแหนบรับแรงถอย
7.11 ถอดลำกล้องและห่วงข้อต่อลำกล้อง

หมายเหตุ : การถอดแบบปกติ ปพ.แบบ 86 ประกอบด้วยหมู่ใหญ่ ๆ 3 หมู่ คือ


1) หมู่เลื่อนปืน
2) หมู่โครงปืน
3) หมู่ซองกระสุน
** ไม่ควรลั่นไกในขณะถอดปืนแล้ว ถ้าจะลั่นไกต้องค่อย ๆ ปล่อยนกปืนไปข้างหน้า

8. การประกอบ ให้กระทำย้อนกันกับการถอดและให้ตรวจสอบปืนว่าได้ประกอบไวถูกต้องหรือไม่

9. การตรวจสภาพของเครื่องกลไก
ในการรักษาความปลอดภัย จำเป็นจะต้องหมั่นตรวจสภาพของปืนอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นโดย
ให้ปฏิบัติดังนี้
9.1 ตรวจห้ามไก ปลดซองกระสุนตรวจความปลอดภัยของปืนแล้วขึ้นนกผลักห้ามไกขึ้นข้างบนบีบห้ามไกช่วยให้จม
ลงไปในโครงปืน พร้อมกับเหนี่ยวไกอย่างแรง 3-4 ครั้ง นกปืนจะต้องไม่ฟาดปืนลงไป
100

9.2 การตรวจห้ามไกช่วย ปลดซองกระสุนตรวจความปลอดภัยของปืนแล้วขึ้นนกหน้าปากลำกล้องไปในทิศทางที่


ปลอดภัย เหนี่ยวไก 3-4 ครั้ง แต่อย่ากดห้ามไกช่วยนกปืนจะต้องไม่ฟาดตัวลงไป
9.3 การตรวจตำแหน่งกึ่งขึ้นนก ปลดซองกระสุนตรวจความปลอดภัยของปืน ดึงนกปืนให้อยู่ในท่ากึ่งขึ้นนกแล้ว
เหนี่ยวไกนกปืนจะต้องไม่ฟาดตัว ลงไป (ถ้านกปืนฟาดตัวแสดงว่านกปืนและกระเดื่องนกปืนชำรุด) ดึงนกปืนมาข้างหลัง อีก
จนเกือบถึงท่าขึ้นนก ห้ามเหนี่ยวไก ปล่อยให้นกปืนผละกลบมาข้างหน้านกปืนจะต้องไม่ฟาดตัวเลยท่ากึ่งขึ้นนก (ถ้านกปืน
ฟาดตัวเลยไปตีท้ายเข็มแทงชนวน แสดงว่านกปืนชำรุด)
9.4 การตรวจเหล็กปลดสะพานไก
หมายเหตุ : เหล็กปลดสะพานไกมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้นกปืนฟาดตัว ลงตีท้ายเข็มแทงชนวนในเมื่อเลื่อนปืน ยังไม่
ปิดท้ายรังเพลิงสนิท และป้องกันไม่ให้ทำการยิงเป็นชุดอีกด้วย

การตรวจให้ปฏิบัติดังนี้
- ปลดซองกระสุน ตรวจความปลอดภัยของปืนแล้วขึ้นนกดึงเลื่อนปืนมาข้างหลังประมาณ 1/4 นิ้ว และให้ยึดเลื่อน
ปืนไว้ ณ ตำแหน่งนี้ พร้อมๆ กันนั้นให้เหนี่ยวไกค้างไว้ ปล่อยเลื่อนปืนกลับไปข้างหน้าแต่ยังคงเหนี่ยวไกอยู่ตลอดเวลา นกปืน
จะต้องไม่ฟาดตัวตามเลื่อนปืนลงไปตีท้ายเข็มแทงชนวน (ถ้านกปืนฟาดตัวแสดงว่าปลายบนหรือหัวของเหล็กปลดสะพานไก
ชำรุด)
- ให้ตรวจต่อไปโดยดึงเลื่อนปืนมาข้างหลัง และยึดเลื่อนปืนค้างไว้ เหนี่ยวไกแล้ว ปล่อยให้เลื่อนปืนกลับไปข้างหน้า
นกปืนจะต้องไม่ฟาดตัวลงไปทั้งๆ ที่ทำการเหนี่ยวไกอยู่ (ถ้านกปืนฟาดตัว แสดงว่าเหล็กปลดสะพานไกชำรุด)
- ให้ปล่อยไกแล้วเหนี่ยวใหม่ นกปืนจะต้องฟาดตัวลงไปตีท้ายเข็มแทงชนวน (ถ้านกปืนไม่ฟาดตัวแสดงว่าแหนบ
กระเดื่องนกปืน หรือเหล็กปลดสะพานไกชำรุด)
10. การทำงานของ ปพ. แบบ 86 มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่
1. การขึ้นนก
2. การป้อนกระสุน
3. การบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิง
4. การขัดกลอน
5. การลั่นกระสุน
6. การปลดกลอน
7. การรั้งปลอกกระสุน
8. การคัดปลอกกระสุน
11. การแก้ไขเหตุติดขัดทันทีทันใด
คือ การปฏิบัติทันทีทันใดของผู้ยิงเมื่อปืนเกิดการติดขัดขึ้น โดยยังไม่ต้องค้นหาสาเหตุการติดขัดในเวลานั้นมี
อยู่ 2 กรณี คือ
11.1 เมื่อเลื่อนปืนอยู่หน้าสุดนกปืนฟาดตัวลงตีท้ายเข็มแทงชนวน และปืนไม่ลั่นกระสุนให้ปฏิบัติดังนี้.
- ดึงนกปืนมาข้างหลังเพื่อขึ้นนกเหนี่ยวไกหนึ่งครั้ง ถ้าปืนไม่ลั่น ให้คอย 10 วินาที หันปากลำกล้องชี้ไปยัง
101

เป้าหมาย หลังจากนั้น ดึงเลื่อนปืนมาข้างหลัง ให้สุดแล้ว ปล่อยกลับไปข้างหน้า


- ทำการเล็งและยิงต่อไป
11.2 เมื่อเลื่อนปืนไม่เข้าที่ (ไม่อยู่หน้าสุด) ให้ดันเลื่อนปืนไปหน้าสุด ถ้าเลื่อนปืนไม่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าให้ปฏิบัติดังนี้.
ถ้าปืนยังไม่ลั่นกระสุนหลังจากได้ทำการแก้ไขเหตุติดขัดทันทีทันใดแล้ว ให้ทำการค้นหาสาเหตุการติดขัดของปืนต่อไป12. การ
ระวังรักษาและการทำความสะอาดอาวุธ

12.1 ก่อนทำการยิง ชิ้นส่วนภายในของปืนทั้งหมดให้ชโลมด้วยน้ำมันบางๆ ยกเว้นรูหลอดลำกล้องและชิ้นส่วนภายใน


ที่สัมผัสกับกระสุนให้เช็ดแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้หยอดน้ำมันตามชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เคลื่อนที่และชิ้นส่วนที่ได้รับการขัดสีอยู่
เสมอ เช่น ช่องทางเดินของเลื่อนปืน (บริเวณเลื่อนปืนและโครงปืน) การหยอดน้ำมันนี้ต้องระวังไม่ให้มากเกินไปด้วยหลัง จาก
ประกอบปืนแล้วใช้ผ้าชุบน้ำมันหมาด ๆ เช็ดภายนอกของปืนแต่ระวังชิ้นส่วนบริเวณที่เรากำปืนเวลาทำการยิงอย่าให้มีน้ำมัน
มากเกินไปเพราะจะทำให้ลื่น จับถือปืนลำบาก
ข้อควรระวัง อย่าปล่อยให้เศษผ้าที่ใช้ทำความสะอาดหรือสิ่งอื่น ๆ ค้างอยในลำกล้องและรังเพลิง หรืออุดปากลำกล้องไว้
12.2 ภายหลังการยิง เมื่อทำการยิงเสร็จแล้วให้รีบทำความสะอาดภายในลำกล้องและรังเพลิงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ข้าง
ม้วนต่อจากนั้นทำความสะอาดและชโลมน้ำมันทุกวันอย่างน้อยเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

13. กระสุน ปพ.แบบ 86 (M1911A1) ขนาด 11 มม. (0.45 นิ้ว) (TM 43-0001-27 ฉบับ APRIL 1994)

13.1 กระสุนธรรมดา (BALL, M1911) หัวไม่ทาสี ใช้สังหารบุคคลและเป้าหมายที่ไม่แข็งแรง


102

13.2 กระสุนซ้อมรบ (BLANK, M9) ไม่มีหัวกระสุน ปากปลอกสอบ ใช้ยิงแทนกระสุนจริงในการฝึกทางยุทธวิธีและใช้


ยิงสลุต
13.3 กระสุนฝึกบรรจุ (DUMMY, M1931) ไม่มีชนวนท้ายและปลอก กระสุนเจาะรู 2 รู ใช้ฝึกบรรจุและใช้ตรวจ
สภาพ/ทดสอบกลไกของอาวุธ
13.4 กระสุนส่องวิถี (TRACER, M26) ปลายหัวกระสุนทาสีแดงความมุ่งหมายหลักใช้สำหรับตรวจตำบลกระสุนตก
ความมุ่งหมายรอง ใช้สำหรับผลในการลุกไหม้และใช้เป็นอาณัติสัญญาณ
13.5 กระสุน WAD CUTTER ลูกกระสุนเป็นรูปกรวย
14. สิ่งชี้สอบในการตรวจสภาพ ปพ.แบบ 86
ชิ้นส่วนสำคัญที่ต้องตรวจสภาพก็คือ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืน ซึ่งรับแรงกระทำของแก๊สอยู่เสมอได้แก่ ผิวภายในของ
ลำกล้องและรังเพลิง, ส่วนบนของซองกระสุน, ผนัง

อ้างอิงจาก คู่มือการปรนิบัติปืน ปพ. 86

แบบฝึกท่าอาวุธ

แบบฝึกบุคคลท่าอาวุธฉบับนี้เป็นตาราเอกสารหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามแบบธรรมเนียมของทหาร
รักษาพระองค์ ดังนั้นผู้ฝึกและครูฝึกทหารทุกระดับชั้น จะต้องหมั่นศึกษา ฝึกทบทวน ด้วยตนเอง จนสามารถปฏิบัติให้ได้
เสียก่อน มิใช่แต่เพียงการท่องจาเพื่อนาไปสอนทหารเท่านั้น ผู้ฝึกและครูฝึกจะต้องสามารถแสดงตัวอย่างที่ถูกต้อง ปฏิบัติได้
อย่างแข็งแรง และสง่างาม สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาให้แก่ผู้รับการฝึก อย่างแท้จริง
การออกคำสั่งหรือการใช้คำบอกเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติท่าต่างๆ แต่ละท่ามีการใช้คำบอกที่แตกต่างกัน ซึ่ง
ประเภทของคำบอกที่กำหนดไว้ในคู่มือเล่มนี้แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑. คำบอกแบ่ง
๒. คำบอกเป็นคำๆ
๓. คำบอกรวด
๔. คำบอกผสม
คำบอกแบ่ง (ภาพที่หนึ่ง) เป็นคำบอกที่ใช้เพื่อออกคำสั่ง สาหรับท่าฝึกที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะกำหนดไว้ให้ ปฏิบัติได้
เป็นจังหวะเดียวหรือแบ่งเป็นจังหวะๆ ได้ คำบอกแบ่งนี้ผู้ให้คำบอกจะต้องเปล่งเสียงบอกในคำแรกด้วยการลากเสียงค่อนข้าง
ยาวแล้วเว้นจังหวะไว้เล็กน้อยก่อนที่จะเปล่งเสียงบอกในคำหลังด้ว ยการเน้นเสียงให้หนักและ สั้นการเขียนคำบอกชนิดนี้จะ
แสดงไว้ให้เห็นด้วยการใช้เครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) ขั้นกลางไว้ระหว่างคำบอกคำหน้าและคำหลัง ตัวอย่างเช่น “ขวา - หัน”
เป็นต้น
103

คำบอกเป็นคำๆ (ภาพที่สอง) เป็นคำบอกที่ใช้เพื่อออกคำสั่ง สำหรับท่าฝึกที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่กำหนดให้ปฏิบัติ


แบ่งเป็นจังหวะๆ ไว้ (แต่สามารถแบ่งการฝึกออกเป็นตอนๆ ได้) และไม่จำเป็นต้องใช้คำบอกยืดยาว ซึ่งอาจจะมีหลายพยางค์ก็
ได้ จึงจำเป็นต้องเว้นจังหวะการบอกไว้เป็นตอนๆ หรือคำๆ คำบอกเป็นคำๆ นี้ผู้ให้คำบอก จะต้องเปล่งเสียงบอกทั้งในคำแรก
และคำหลัง ด้วยการวางน้ำหนักเสียงไว้เท่าๆ กัน โดยเว้นจังหวะระหว่างคำไว้ เล็กน้อย ไม่ต้องลากเสียงยาวในคำแรก และ
เน้นหนักในคำหลัง เหมือนคำบอกแบ่ง การเขียนคำบอกชนิดนี้จะแสดงไว้ให้เห็นโดยการใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) ขั้นกลาง
ไว้ระหว่างคำบอกคำหน้าและคำหลัง ตัวอย่างเช่น “ตามระเบียบ, พัก” เป็นต้น

คำบอกรวด (ภาพที่สาม) เป็นคำบอกที่ใช้เพื่อออกคำสั่งสำหรับท่าฝึกที่ส่วนใหญ่แล้ว มักจะไม่กำหนดให้ ปฏิบัติ


แบ่งเป็นจังหวะๆ ไว้ (แต่สามารถแบ่งการฝึกออกเป็นตอนๆ ได้) และเป็นคำสั่งที่ไม่ยืดยาวหรือมีหลายพยางค์ จึงไม่มีความ
จำเป็นต้องแบ่งจังหวะการสั่งไว้เป็นตอนๆ หรือคำๆ คำบอกรวดนี้ไม่ว่าจะมีกี่พยางค์ก็ตาม ผู้ให้คำบอก จะต้องบอกรวดเดียว
จบโดยวางน้ำหนักเสียงเป็นระดับเดียว การเขียนคำบอกชนิดนี้จะแสดงไว้ให้เห็นโดยเขียนเป็น คำติดต่อกันทั้งหมดไม่ใช้
เครื่องหมายใดๆ ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น “ถอดหมวก” เป็นต้น

คำบอกผสม (ภาพที่สี่) เป็นคำบอกที่มีลักษณะคล้ายคำบอกเป็นคำๆ จะต่างก็ตรงที่คำบอกในคำหลัง จะเป็นคำ


บอกแบ่ง เพราะฉะนั้นคำบอกประเภทนี้จึงเป็นคำบอกที่ใช้เพื่อออกคำสั่งสำหรับท่าฝึกที่ส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้ปฏิบัติ
แบ่งเป็นจังหวะๆ ได้ตามลักษณะของคำบอกแบ่งที่ผสมอยู่ในคำหลังของคำบอกผสมนี้เป็นหลัก คำบอกผสมนี้ผู้ให้คำบอก
104

จะต้องเปล่งเสียงบอกในคำแรกเช่นเดียวกับคำบอกเป็นคำๆ คือ วางน้ำหนัก เสียงไว้ เท่าๆ กัน ส่วนการเปล่งเสียงในคำบอก


ห้วงหลังก็คงเปล่งเสียงในลักษณะเดียวกันกับคำบอกแบ่ง คือเปล่งเสียงบอกในคำแรกด้วยการลากเสียงค่อนข้างยาว แล้วเว้น
จังหวะไว้เล็กน้อยก่อนที่จะเปล่งเสียงบอกในคำหลังด้วยการเน้นเสียงให้หนักและสั้น การเขียนคำบอกชนิดนี้จะแสดงไว้ให้เห็น
โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) ขั้นกลางไว้ระหว่างคำบอกห้วงแรกและห้วงหลัง ส่วนคำบอกในห้วงหลังคงใช้เครื่องหมาย
ยัติภังค์ ( -) ขั้นกลางไว้ระหว่างคำบอกคำหน้าและคำหลัง ตัวอย่างเช่น “วิ่ง, หน้า -วิ่ง” เป็นต้น

ลำดับขั้นตอนในการฝึก สมควรฝึกแบบปิดขั้นตอนจนทหารปฏิบัติได้คล่องแคล่วพอสมควรแล้ว จึงค่อยฝึกแบบเปิด


ขั้นตอน ซึ่งการใช้คำบอกในการปฏิบัติแบบปิดขั้นตอนนั้นจะใช้คำบอกที่แตกต่างกับการใช้ คำบอกข้างต้น ควรศึกษาให้
ละเอียดเพื่อความถูกต้องและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน
ท่าพัก
แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑. ท่าพักในแถว ประกอบด้วย
๑.๑ ท่าพักตามปกติ
๑.๒ ท่าพักตามระเบียบ
๑.๓ ท่าพักตามสบาย
๒. ท่าพักนอกแถว ประกอบด้วย
๒.๑ ท่าพักแถว
๒.๒ ท่าเลิกแถวท่าพัก
ท่าพักตามปกติ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าพักตามปกติ”
๒. ความมุ่ง หมาย: เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์: เพื่อให้ผู้ปฏิบัติผ่อนคลายอิริยาบถจากการปฏิบัติในบุคคลท่าอาวุธ
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “พัก”
๕. การปฏิบัติ : เมื่อได้ยินคำบอก “พัก” ให้ผู้ปฏิบัติหย่อนเข่าขวาลงเล็กน้อย โดยส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อยู่ใน
ลักษณะท่าเรียบอาวุธ
105

ท่าพักตามปกติ
หมายเหตุ :
- เมื่อได้ยินคำบอก “แถว” ให้ผู้ปฏิบัติสูดลมหายใจเข้าปอด เมื่อได้ยินคำบอก “ตรง” ให้กระตุกเข่าขวากลับไปอยู่
ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก
- ท่าพักตามปกตินี้สามารถเปลี่ยนเข่าได้ ห้ามพูดคุยกัน และเปลี่ยนที่ยืนของเท้าทั้งสองข้างเป็นอันขาด

ท่าพักตามระเบียบ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าพักตามระเบียบ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : เป็นท่าที่ใช้ในโอกาสรอรับคำสั่งหรือฟังคำชี้แจงในลักษณะรูปแถว
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “ตามระเบียบ, พัก”
๕. การปฏิบัติ : เมื่อได้ยินคำบอก “ตามระเบียบ, พัก” ให้ผู้ปฏิบัติแยกเท้าซ้ายออกไปด้านซ้ายประมาณ ๓๐
เซนติเมตร หรือประมาณครึ่งก้าวอย่างแข็งแรง ในขณะเดียวกันนั้นเลื่อนมือขวาขึ้นมาจับคีบ เหนือโคร่งศูนย์หน้าแล้วผลักปืน
เฉียงไปทางด้านหน้าตามแนวของปลายเท้าขวาหรือทำมุมกับลาตัว ๔๕ องศา แขนขวาเหยียดตึงพร้อมกับนำมือซ้ายไปวางไว้
ด้านหลังหันหลังมือแตะไว้ใต้แนวเข็มขัด นิ้วทั้งห้าเหยียดตรง เรียงชิดติดกันแบะข้อศอกออกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ตึง ขา
ทั้งสองข้างเหยียดตึงน้ำหนักตัวอยู่บนเท้าทั้งสองข้าง ยกอกให้สง่าผ่าเผย ไหล่ทั้งสองข้างเสมอกัน ลำคอตั้งตรงสายตามองไป
ด้านหน้าในระดับสายตา จับจุดใดจุดหนึ่งของภูมิประเทศไว้
106

ท่าพักตามระเบียบ
หมายเหตุ : - เมื่อผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติในท่าพักตามระเบียบแล้ว ให้ปฏิบัติท่ายกอก
- เมื่อได้ยินคำบอก “แถว” ให้สูดลมหายใจเข้าสั้นๆ ยกอก และเมื่อได้ยินคำบอก “ตรง” ให้นำเท้าซ้าย มาชิดเท้า
ขวาอย่างแข็งแรง พร้อมกับใช้มือขวาวาดปืนไปข้างลำตัว แขนขวาเหยียดตึง โดยพานท้ายปืนอยู่ตำแหน่งเดิม ปลายเท้าทั้ง
สองแบะออกไปทางข้างห่างกันประมาณหนึ่งคืบ หรือประมาณ ๔๕ องศา พร้อมกับนำปืนมาชิดข้างขาขวาในลักษณะการ
กระชับปืน ในขณะเดียวกันลดมือซ้ายลงมาอยู่ข้างขาซ้าย จากนั้นเลื่อนมือขวาลงมาจับคีบใต้โครงศูนย์หน้าในลักษณะท่าเรียบ
อาวุธ
ท่าพักตามสบาย
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าพักตามสบาย”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : เป็นท่าที่ใช้ในการผ่อนคลายอิริยาบถเมื่ออยู่ในแถวสามารถจัดระเบียบเครื่องแต่งกายได้
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “ตามสบาย, พัก”
๕. การปฏิบัติ : เมื่อได้ยินคำบอก “ตามสบาย, พัก” ให้ผู้ปฏิบัติหย่อนเข่าขวาลงเล็กน้อยโดยพยายามไม่ให้ส่วนอื่นๆ
ของร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน เช่นเดียวกับการปฏิบัติท่าพักตามปกติในขั้นตอนแรก จากนั้นอนุญาตให้ผู้ปฏิบัติ
เคลื่อนไหวอิริยาบถ ห้ามพูดคุยกันถ้าไม่ได้รับอนุญาต ปืนและเท้าข้างใดข้างหนึ่งจะต้องอยู่กับที่ ห้ามผู้ปฏิบัติออกนอกแถว

หมายเหตุ : - เมื่อได้ยินคำบอก “แถว” ไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามให้รีบกลับมายืนในท่าเรียบอาวุธ หย่อนเข่าขวา


เล็กน้อย พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าและยกอกให้ผึ่งผาย เมื่อได้ยินคำบอก “ตรง” ให้ผู้ปฏิบัติ กระตุกเข่าขวาเข้ามาอยู่ใน
ลักษณะของท่าเรียบอาวุธอย่างรวดเร็วและแข็งแรง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก
- หากมีคำสั่งให้จัดเครื่องแต่งกาย (คำบอก “จัดเครื่องแต่งกาย”) ให้ปฏิบัติในท่าถอดหมวก (บุคคลท่าอาวุธ) ตอน
ที่หนึ่ง หลังจากนั้นจึงจัดเครื่องแต่งกาย เมื่อจัดเรียบร้อยแล้ว ให้ปฏิบัติท่าสวมหมวก (บุคคลท่าอาวุธ) ตอนที่สาม
107

ท่าพักตามสบาย

ท่าพักแถวและท่าเลิกแถว

๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าพักแถว , ท่าเลิกแถว”


๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : - ใช้ในโอกาสการผ่อนคลายอิริยาบถโดยไม่อยู่ในรูปแบบแถวในระยะเวลาไม่นานแต่ยังคง อยู่บริเวณ
ใกล้ที่รวมพลพร้อมเรียกแถว
- ใช้ในโอกาสเลิกจากการฝึกหรือภารกิจ
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “พักแถว , เลิกแถว”
๕. การปฏิบัติ : - เมื่อได้ยินคำบอก “พักแถว” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าเฉียงอาวุธ จากนั้นปฏิบัติท่ากึ่งขวาหัน โดยไม่
ต้องชิดเท้าแล้วตบเท้าซ้ายไปข้างหน้าหนึ่งก้าวพร้อมเปล่งเสียง “เฮ้” วิ่งออกจากแถวอย่างรวดเร็ว และพักอยู่บริเวณใกล้เคียง
หรือพื้นที่ที่กำหนด
- เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกแถว” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าเฉียงอาวุธ จากนั้นกึ่งขวาหันโดยไม่ต้องชิดเท้า
แล้วตบเท้าซ้ายไปข้างหน้าหนึ่งก้าวพร้อมเปล่งเสียง “เฮ้” วิ่งออกจากแถวอย่างรวดเร็ว
108

ท่าพักแถวและท่าเลิกแถว

หมายเหตุ : (ท่าพักแถว) เมื่อได้ยินคำบอก “แถว” ให้ผู้ปฏิบัติเปล่งเสียง “เฮ้” และรีบกลับมาเข้าแถวที่เดิมโดยเร็ว


ในรูปแถวเดิม เมื่อจัดแถวเป็นรูปแถวเรียบร้อยแล้ว ให้อยู่ในท่าเรียบอาวุธ
หมายเหตุ : (ท่าเลิกแถว) เมื่อต้องการให้กลับมาอยู่ในรูปแถว ผู้ควบคุมแถวต้องทำการเรียกแถวใหม่โดยสามารถ
เปลี่ยนรูปแถวได้
ท่าหันอยู่กับที่
ท่าหันอยู่กับที่ แบ่งออกเป็น ๕ ท่า
๑. ท่าซ้ายหัน ๔. ท่ากึ่งซ้ายหัน
๒. ท่าขวาหัน ๕. ท่ากึ่งขวาหัน
๓. ท่ากลับหลังหัน
ท่าซ้ายหัน
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าซ้ายหัน”
๒. ความมุ่งหมาย:เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหารมหาดเล็ก
ราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้เปลี่ยนทิศทางของแถวจากทิศทางตรงหน้าไปยังทิศทางด้านซ้าย
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “ซ้าย - หัน”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ จังหวะ
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “ซ้ายหันจังหวะ -หนึ่ง”ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติในท่ายกปืน บังคับให้ปืนแนบชิดอยู่กับขา
ข้างขวาในลักษณะแนวปืนตั้งตรง วางมือซ้ายให้อยู่ในลักษณะของท่าเรียบอาวุธตลอดเวลา เปิดปลายเท้าซ้ายสูงขึ้นจากพื้น
เล็กน้อยโดยพยายามกดส้นเท้าให้ตรึงอยู่กับที่ แล้วหมุนตัวไปทางซ้ายจนได้ ๙๐ องศา ด้วยการใช้ส้นเท้าซ้ายเป็นจุดหมุน ใน
ขณะเดียวกันนั้นให้ใช้ปลายเท้าขวากดแน่นไว้กับพื้นเพื่อช่วยให้มีการทรงตัวได้ดีในระหว่างหมุนตัว แล้วเปิดส้นเท้าหมุนตาม
ไปด้วย โดยพยายามกดปลายเท้าไว้ ณ ที่เดิม ในลักษณะให้ขาเหยียดตึง ส้นเท้าบิดออกด้านนอก ในขณะที่หมุนตัวไปนั้น
จะต้องพยายามรักษาทรวดทรงของลำตัว
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “ซ้ายหันจังหวะ -สอง”ให้ผู้ปฏิบัตินำเท้าขวามาชิดเท้าซ้ายอย่างแข็งแรง และปฏิบัติ
ในท่าปืนลง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก
หมายเหตุ : เมื่อปฏิบัติในรูปแถว การอัดส้นเท้าต้องปฏิบัติให้เกิดความแข็งแรง พร้อมเพรียง เสียงชิดเท้าต้องเป็น
เสียงเดียวกัน
109

ท่าซ้ายหัน
ท่าขวาหัน
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าขวาหัน”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้เปลี่ยนทิศทางของแถวจากทิศทางตรงหน้าไปยังทิศทางด้านขวา
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “ขวา -หัน”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ จังหวะ
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “ขวาหันจังหวะ -หนึ่ง”ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติในท่ายกปืน บังคับให้ปืนแนบชิด อยู่กับ
ขาข้างขวา พยายามให้แนวปืนตั้งตรง วางมือซ้ายให้อยู่ในลักษณะของท่าเรียบอาวุธตลอดเวลา เปิดปลายเท้าขวาสูงขึ้นจาก
พื้นเล็กน้อยโดยพยายามกดส้นเท้าให้ตรึงอยู่กับที่ แล้วหมุนตัวไปทางขวาจนได้ ๙๐ องศา ด้วยการใช้ส้นเท้าขวาเป็นจุดหมุน
ในขณะเดียวกันนั้นให้ใช้ปลายเท้าซ้ายกดแน่นไว้กับพื้นเพื่อช่วยให้มีการทรงตัวได้ดีในระหว่างหมุนตัว แล้วเปิดส้นเท้าหมุน
ตามไปด้วย โดยพยายามกดปลายเท้าไว้ ณ ที่เดิม ในลักษณะให้ขาเหยียดตึง ส้นเท้าบิดออกด้านนอก ในขณะที่หมุนตัวไปนั้น
จะต้องพยายามรักษาทรวดทรง ของลำตัว
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “ขวาหันจังหวะ -สอง” ให้ผู้ปฏิบัตินำเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาอย่างแข็งแรง และ
ปฏิบัติในท่าปืนลง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก
หมายเหตุ : เมื่อปฏิบัติในรูปแถว การอัดส้นเท้าต้องปฏิบัติให้เกิดความแข็งแรง พร้อมเพรียง เสียงชิดเท้าต้องเป็น
เสียงเดียวกัน
110

ท่าขวาหัน
ท่ากลับหลังหัน
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าหลับหลังหัน”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้เปลี่ยนทิศทางของแถวจากทิศทางตรงหน้าไปยังทิศทางด้านหลัง
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “กลับหลัง -หัน”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ จังหวะ
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “กลับหลังหันจังหวะ -หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติในท่ายกปืน บังคับให้ปืนแนบชิดอยู่
กับขาข้างขวา พยายามให้แนวปืนตั้งตรง วางมือซ้ายให้อยู่ในลักษณะของท่าเรียบอาวุธตลอดเวลา เปิดปลายเท้าขวาสูงขึ้น
จากพื้นเล็กน้อยโดยพยายามกดส้นเท้าให้ตรึงอยู่กับที่ แล้วหมุนตัวไปทางขวาจนได้ ๑๘๐ องศา ด้วยการใช้ส้นเท้าขวาเป็นจุด
หมุน ขณะเดียวกันนั้นให้เหวี่ยงเท้าซ้ายไปทางซ้ายตามจังหวะการหมุนตัวและเมื่อหมุนไปได้ ๑๘๐ องศา แล้วให้นำปลายเท้า
ซ้ายไปแตะพื้นไว้ทางด้านหลังในทิศเฉียงไปข้างหลังทางซ้าย ส้นเท้าเปิด ขาเหยียดตึง ในขณะที่หมุนตัวไปนั้นจะต้องพยายาม
รักษาทรวดทรงของลำตัว เมื่อหมุนตัวไปได้ที่แล้วน้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “กลับหลังหันจังหวะ -สอง”ให้ผู้ปฏิบัตินำเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาอย่างแข็งแรง และ
ปฏิบัติในท่าปืนลง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก
หมายเหตุ : เมื่อปฏิบัติในรูปแถว การอัดส้นเท้าต้องปฏิบัติให้เกิดความแข็งแรง พร้อมเพรียง เสียงชิดเท้าต้องเป็น
เสียงเดียวกัน

ท่ากลับหลังหัน
ท่ากึ่งซ้ายหัน
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่ากึ่งซ้ายหัน”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้เปลี่ยนทิศทางของแถวจากทิศทางตรงหน้าไปยังทิศด้านซ้าย ๔๕ องศา
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “กึ่งซ้าย -หัน”
111

๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ จังหวะ


จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “กึ่งซ้ายหันจังหวะ -หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติในท่ายกปืน บังคับให้ปืนแนบชิดอยู่
กับขาข้างขวาในลักษณะแนวปืนตั้งตรง วางมือซ้ายให้อยู่ในลักษณะของท่าเรียบอาวุธตลอดเวลา เปิดปลายเท้าซ้ายสูงขึ้นจาก
พื้นเล็กน้อยโดยพยายามกดส้นเท้าให้ตรึงอยู่กับที่ แล้วหมุนตัวไปทางซ้ายจนได้ ๔๕ องศา ด้วยการใช้ส้นเท้าซ้ายเป็นจุดหมุน
ในขณะเดียวกันนั้นให้ใช้ปลายเท้าขวากดแน่นไว้กับพื้นเพื่อช่วยให้มีการทรงตัวได้ดี ในระหว่างหมุนตัว แล้วเปิดส้นเท้าหมุน
ตามไปด้วย โดยพยายามกดปลายเท้าไว้ ณ ที่เดิมในลักษณะให้ขาเหยียดตึง ส้นเท้าบิดออกด้านนอก ในขณะที่หมุนตัวไปนั้น
จะต้องพยายามรักษาทรวดทรงของลำตัว
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “กึ่งซ้ายหันจังหวะ - สอง” ให้ผู้ปฏิบัตินำเท้าขวามาชิดเท้าซ้ายอย่างแข็งแรง และ
ปฏิบัติในท่าปืนลง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก
หมายเหตุ : เมื่อปฏิบัติในรูปแถว การอัดส้นเท้าต้องปฏิบัติให้เกิดความแข็งแรง พร้อมเพรียง เสียงชิดเท้าต้องเป็น
เสียงเดียวกัน

ท่ากึ่งซ้ายหัน

ท่ากึ่งขวาหัน
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่ากึ่งขวาหัน”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้เปลี่ยนทิศทางของแถวจากทิศทางตรงหน้าไปยังทิศด้านขวา ๔๕ องศา
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “กึ่งขวา -หัน”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ จังหวะ
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “กึ่งขวาหันจังหวะ - หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติในท่ายกปืน บังคับให้ปืนแนบชิดอยู่
กับขาข้างขวา พยายามให้แนวปืนตั้งตรง วางมือซ้ายให้อยู่ในลักษณะของท่าเรียบอาวุธตลอดเวลา เปิดปลายเท้าขวาสูงขึ้น
จากพื้นเล็กน้อยโดยพยายามกดส้นเท้าให้ตรึงอยู่กับที่ แล้วหมุนตัวไปทางขวาจนได้ ๔๕ องศา ด้วยการใช้ส้นเท้าขวาเป็นจุด
112

หมุน ในขณะเดียวกันนั้นให้ใช้ปลายเท้าซ้ายกดแน่นไว้กับพื้นเพื่อช่วยให้มีการ ทรงตัวได้ดีในระหว่างหมุนตัว แล้วเปิดส้นเท้า


หมุนตามไปด้วย โดยพยายามกดปลายเท้าไว้ ณ ที่เดิมในลักษณะให้ขาเหยียดตึง ส้นเท้าบิดออกด้านนอก ในขณะที่หมุนตัวไป
นั้นจะต้องพยายามรักษาทรวดทรงของลำตัว
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “กึ่งขวาหันจังหวะ - สอง” ให้ผู้ปฏิบัตินาเท้าขวามาชิดเท้าซ้ายอย่างแข็งแรง และ
ปฏิบัติในท่าปืนลง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก
หมายเหตุ : เมื่อปฏิบัติในรูปแถว การอัดส้นเท้าต้องปฏิบัติให้เกิดความแข็งแรง พร้อมเพรียง เสียงชิดเท้าต้องเป็น
เสียงเดียวกัน

ท่ากึ่งขวาหัน
ท่าวันทยาวุธ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าวันทยาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้แสดงการเคารพนายทหารชั้นสัญญาบัตร
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “วันทยา -วุธ”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ จังหวะ
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “วันทยาวุธจังหวะ -หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวายกปืนในลักษณะคีบขึ้นมาตรงหน้า
จากนั้นเปลี่ยนเป็นกำรอบฝาครอบลำกล้องปืน หันฝ่ามือไปทางซ้าย นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันอยู่ใต้โครงศูนย์หน้าโดยให้ปืนทั้ง
กระบอกตั้งตรงตลอดเวลามาอยู่ที่กึ่งกลางลาตัว ปืนห่างจากลาตัวประมาณหนึ่งฝ่ามือ ด้ามปืนหันชี้ออกไป ในทิศทางตรงหน้า
ปลอกลดแสงอยู่แนวระดับสายตา แขนขวาท่อนบนแนบชิดติดลำตัว พร้อมกันนั้นให้ยกมือซ้ายขึ้นมาเป็นรูปครึ่งวงกลม นิ้วทั้ง
สี่เรียงชิดติดกัน พร้อมตบจับหันฝ่ามือไปทางขวา ตบกระชับฝาครอบลำกล้องปืน (กำสายสะพายปืนไว้ด้วย) โดยพยายามไม่ให้
กระบอกปืนมีการเคลื่อนไหวใดๆ นิ้วหัวแม่มือของมือซ้ายอยู่ตรง รูที่หกของฝาครอบลากล้องปืน นับจากล่างขึ้นบน
นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อยู่แนวระดับเดียวกัน แขนซ้ายท่อนบน แนบชิดติดลำตัว น้ำหนักปืนทั้งกระบอกอยู่ที่มือซ้าย ส่วนอื่นๆ
ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะของท่าตรง สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “วันทยาวุธจังหวะ - สอง” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือซ้ายจับถือปืนไว้ให้มั่นคงในลักษณะเดิม
ปล่อยมือขวาจากการจับปืนแล้วสะบัดมือลง (ในลักษณะการฟันมือ) อย่างแข็งแรง โดยให้ปลายนิ้วชี้มือขวาสัมผัสกับลาดพาน
113

ท้ายปืน นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ทำมุมประมาณ ๔๕ องศา กับพานท้ายปืน นิ้วหัวแม่มืองอ และทาบไปกับสันพานท้ายปืน


แขนขวาเหยียดตึง

หมายเหตุ :
- ท่าทางขวา, ทางซ้ายวันทยาวุธ ยังคงปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าตรงหน้าวันทยาวุธ แต่เพิ่มเติมการปฏิบัติในขณะลดมือ
ขวาลงให้สะบัดหน้าไปทางขวา หรือทางซ้าย ลักษณะท่าแลขวา หรือแลซ้าย อย่างแข็งแรง
- ในการฝึกไม่ต้องสั่ง “ระวัง” แต่กรณีแสดงความเคารพให้มีคำว่า “ระวัง” เมื่อได้ยินคำบอก “ระวัง” ให้ปฏิบัติท่า
ยกอก
- กรณีอยู่เพียงลำพัง ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่ายกอก และสะบัดหน้าหลังจากปฏิบัติท่าวันทยาวุธเรียบร้อยแล้ว ทั้ง
ทิศทางตรงหน้า ทางขวา และทางซ้าย
- กรณีอยู่เป็นหมู่คณะ (ตั้งแต่ ๒ นายขึ้นไป) หรือรูปแถว ให้ผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดหรือผู้ควบคุมแถวเป็นผู้สั่ง “ยกอก –
อึ๊บ” ให้ผู้ปฏิบัติท่ายกอก หลังจากได้ยินคำบอก “ยกอก”และสะบัดหน้าไปทางผู้รับการเคารพ หลังจากได้ยินคำบอก “ อึ๊บ”
ท่าเรียบอาวุธจากท่าวันทยาวุธ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเรียบอาวุธจากท่าวันทยาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสเลิกแสดงความเคารพนายทหารชั้นสัญญาบัตร
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “เรียบ -อาวุธ”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ จังหวะ
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธจังหวะ -หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติยกมือขวาขึ้นมาเป็นรูปครึ่งวงกลม นิ้วทั้งสี่
เรียงชิดติดกันพร้อมตบจับ หันฝ่ามือไปทางซ้าย ตบกระชับฝาครอบลำกล้องปืน (กำสายสะพายปืนไว้ด้วย) บริเวณใต้หูกระวิน
บน นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อยู่แนวระดับเดียวกัน โดยพยายามไม่ให้กระบอกปืนมีการเคลื่อนไหวใดๆ แขนขวาท่อนบนแนบชิด
ติดลำตัว ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะของท่าตรง สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
114

จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธจังหวะ -สอง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือซ้ายที่จับฝาครอบลำกล้องปืนมาจับที่


ปลอกลดแสงในลักษณะจับคีบด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน นิ้วทั้งห้าชี้ไปทางด้านขวา ข้อศอกซ้ายเปิดขนานกับ
พื้น ในขณะเดียวกันใช้มือขวาดึงปืนอัดเข้าร่องไหล่ขวาอย่างแข็งแรง จนกระทั่งปืนมาอยู่แนบชิดข้างลำตัวทางด้า นขวา
กระบอกปืนตั้งดิ่งตั้งฉากกับพื้นดิน ด้ามปืนชี้ไปทางด้านหน้า พร้อมกับเปลี่ยนท่าการจับปืนจากการกำรอบเป็นการจับด้วยนิ้ว
ทั้งสี่เรียงชิดติดกันอยู่ด้านนอกและนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านใน นิ้วทั้งห้าชี้ลงด้านล่าง แบะข้อศอกขวาไปด้านหลังจนรู้สึกว่าไหล่ขวา
ตึง ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะของท่าตรง สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
จังหวะที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธจังหวะ - สาม” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวาลดปืนลงจนกว่าพานท้ายปืนจะ
วางลงบนพื้นตามลักษณะของท่าเรียบอาวุธ โดยไม่ให้กระแทกกับพื้น พร้อมกับสะบัดมือซ้าย (ในลักษณะการฟันมือ) กลับไป
อยู่ในท่าเรียบอาวุธอย่างแข็งแรง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก

ท่าเรียบอาวุธจากท่าวันทยาวุธ

ท่าเฉียงอาวุธ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเฉียงอาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสที่ต้องการเคลื่อนที่ในระยะไกล
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “เฉียง, อาวุธ”

ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เฉียงอาวุธ, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวายกปืนขึ้นเฉียงผ่านหน้าลำตัว เปลี่ยน


ท่าการจับถือเป็นการกำรอบนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน หันหลังมือออกนอกลำตัว จนมือขวาอยู่เสมอแนวระดับไหล่ซ้าย ข้อศอก
ขวาเปิดขนานกับพื้น บังคับให้กระบอกปืนอยู่ในลักษณะทแยงกับลำตัว ๔๕ องศา และอยู่ห่างจากลำตัวประมาณหนึ่งฝ่ามือ
ด้ามปืนชี้ไปด้านหน้า พร้อมกันนั้นยกมือซ้ายขึ้นมาเป็นรูปครึ่งวงกลม นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันพร้อมตบจับ หันหลังมือออกด้าน
นอก ตบกระชับฝาครอบลำกล้องปืน (กำสายสะพายปืนไว้ด้วย) บริเวณกึ่งกลางฝาครอบลำกล้องปืน ข้อศอกซ้ายกางออก
เล็กน้อย โดยพยายามไม่ให้กระบอกปืนมีการเคลื่อนไหวใดๆ
115

ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เฉียงอาวุธ, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาจากฝาครอบลำกล้องไปกำคอปืน ใน


ลักษณะคว่ำฝ่ามือลงข้างล่างอย่างแข็งแรง โดยพยายามไม่ให้กระบอกปืนมีการเคลื่อนไหวใดๆ ข้อศอกขวา กางเล็กน้อย หรือ
ให้แนวแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแนวปืน

ท่าเฉียงอาวุธ
ท่าเรียบอาวุธจากท่าเฉียงอาวุธ
๑. เรื่องที่จะทาการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเรียบอาวุธจากท่าเฉียงอาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติท่าเรียบอาวุธเมื่ออยู่ในท่าเฉียงอาวุธ
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “เรียบ, อาวุธ”
๕.การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๒ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธ, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาทำมือลักษณะรูปครึ่งวงกลม นิ้วทั้งสี่
เรียงชิดติดกันพร้อมตบจับ หันหลังมือออกด้านนอก ตบกระชับฝาครอบลำกล้องปืน (กำสายสะพายปืน ไว้ด้วย) เหนือมือซ้าย
ในลักษณะกำรอบ ข้อศอกขวาเปิดขนานกับพื้น โดยพยายามไม่ให้กระบอกปืนมีการเคลื่อนไหวใดๆ
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธ, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือซ้ายที่จับฝาครอบลำกล้องปืนมาจับที่
ปลอกลดแสงในลักษณะจับคีบด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน นิ้วทั้งห้าชี้ไปทางด้านขวา ข้อศอกซ้ายเปิดขนานกับ
พื้น ในขณะเดียวกันใช้มือขวาดึงปืนอัดเข้าร่องไหล่ขวาอย่างแข็งแรง จนกระทั่งปืนมาอยู่แนบชิดข้างลำตัวทางด้า นขวา
กระบอกปืนตั้งดิ่งตั้งฉากกับพื้นดิน ด้ามปืนชี้ไปทางด้านหน้า พร้อมกับเปลี่ยนท่าการจับปืนจาก การกำรอบเป็นการจับด้วยนิ้ว
ทั้งสี่เรียงชิดติดกันอยู่ด้านนอกและนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านใน นิ้วทั้งห้าชี้ลงด้านล่าง แบะข้อศอกขวาไปด้านหลังจนรู้สึกว่าไหล่ขวา
ตึง ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะของท่าตรง สายตา มองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธ, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวาลดปืนลงจนกว่าพานท้ายปืนจะวางลง
บนพื้นตามลักษณะของท่าเรียบอาวุธ โดยไม่ให้กระแทกกับพื้น พร้อมกับสะบัดมือซ้าย (ในลักษณะการฟันมือ) กลับไปอยู่ใน
ท่าเรียบอาวุธอย่างแข็งแรงจากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก
116

ท่าเรียบอาวุธจากท่าเฉียงอาวุธ

ท่าคอนอาวุธและท่าเรียบอาวุธจากท่าคอนอาวุธ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าคอนอาวุธ”, “ท่าเรียบอาวุธจากท่าคอนอาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : - ใช้ในโอกาสการเคลื่อนที่ระยะใกล้
- ใช้ในโอกาสปฏิบัติท่าเรียบอาวุธเมื่ออยู่ในท่าคอนอาวุธ
๔. คำบอก :เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “คอน, อาวุธ”, “เรียบ, อาวุธ”
๕. การปฏิบัติ : เมื่อได้ยินคำบอก “คอน,อาวุธ” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวาที่จับถือปืนอยู่ในท่าเรียบอาวุธนั้นมากำรอบ
บริเวณใต้โครงศูนย์หน้าในลั กษณะหันฝ่ามือเข้าหาลำตัวพร้อมกับยกปืนให้สูงขึ้นจากพื้นในแนวดิ่งมากดแนบไว้กับสะโพก
ประมาณใต้เข็มขัดเล็กน้อย โดยข้อศอกขวากางออกตามธรรมชาติ แล้วผลักปากลำกล้องปืนเฉียงออกไปข้างหน้า และพาน
ท้ายปืนชี้เฉียงไปทางด้านหลังให้แนวตัวปืนทามุมกับลำตัว ประมาณ ๑๕ องศา ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะท่า
เรียบอาวุธ
เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบ,อาวุธ” ให้ผู้ปฏิบัติเลื่อนมือขวาที่กำปืนอยู่ในท่าคอนอาวุธลดปืนต่ำลงไปในแนวดิ่งอย่าง
แข็งแรง ในขณะเดียวกันนั้นก็ให้เปลี่ยนมือจากท่ากำปืนใต้โครงศูนย์หน้าไปเป็นการจับปืนในท่าเรียบอาวุธ พยายามรักษาแนว
ปืนให้ตั้งตรงในแนวดิ่ง จากนั้นลดปืนลงจนกว่าพานท้ายปืนจะวางอยู่บนพื้น ในลักษณะท่าเรียบอาวุธโดยไม่กระแทก จากนั้น
ให้ปฏิบัติท่ายกอก
117

ท่าคอนอาวุธและท่าเรียบอาวุธจากท่าคอนอาวุธ

ท่าแบกอาวุธ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าแบกอาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในการเดินสวนสนามพิธีต่างๆ การเดินเปลี่ยนยาม หรือการเคลื่อนที่ระยะไกล
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “แบก -อาวุธ”
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “แบกอาวุธจังหวะ -หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวาที่จับปืนอยู่ในท่าเรียบอาวุธเปลี่ยน
มากำปืนบริเวณใต้โครงศูนย์หน้า และยกปืนขึ้นให้เฉียงผ่านหน้าลำตัวในลักษณะม้วนข้อมือให้บิดเข้าหาลำตัว โกร่งไกปืนชี้ไป
ด้านหลัง แล้วนำพานท้ายปืนมาชิดกับตะเข็บกางเกงทางด้านข้างของโคนขาซ้าย โดยให้มือขวานำลำกล้องปืนเข้าไปในร่อง
ไหล่ซ้าย ข้อศอกขวาเปิดให้ขนานกับพื้น พร้อมกันนั้นใช้ฝ่ามือซ้ายมาตบจับพานท้ายปืน แขนซ้ายเหยียดตึง และกระชับไว้ที่
ข้างโคนขาซ้ายตรงแนวตะเข็บขากางเกง พร้อมกับใช้อุ้งมือรองจับฐานพานท้าย และจับไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกด
สันพานท้ายปืนไว้เหนือฐานสันพานท้ายปืนเล็กน้อย นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ปลายนิ้วทาบไปตามพานท้ายปืนด้านใน จากนั้น
เลื่อนมือขวาที่กำรอบฝาครอบลำกล้อง ลงมาอยู่แนวระดับหัวไหล่ซ้าย ข้อศอกยังคงเปิดขนานพื้น
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “แบกอาวุธจังหวะ - สอง” ให้ผู้ปฏิบัติยกมือซ้ายที่กำพานท้ายปืนอยู่นั้น ขึ้นไป
ข้างหน้าให้แขนท่อนล่างตั้งฉากกับลำตัวในแนวระดับและขนานกับพื้น ยกปืนขึ้นข้างบนให้ช่องใส่ซองกระสุนอยู่ประมาณบน
บ่าซ้าย แขนซ้ายท่อนบนแนบชิดติดลำตัวเสมอกับแนวแผ่นหลัง พร้อมกันนั้น สะบัดมือขวา (ในลักษณะการฟันมือ) กลับไปอยู่
ในท่าตรงอย่างแข็งแรง
118

ท่าแบกอาวุธ

ท่าเรียบอาวุธจากท่าแบกอาวุธ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเรียบอาวุธจากท่าแบกอาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในการเดินสวนสนามพิธีต่างๆ การเดินเปลี่ยนยาม หรือการเคลื่อนที่ระยะไกล
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “เรียบ -อาวุธ”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ จังหวะ
จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธจังหวะ - หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติลดแขนซ้ายท่อนล่างให้ต่ำลงมาทางด้านข้าง
ซ้ายของลำตัวจนพานท้ายปืนมาวางแนบชิดข้างโคนขาซ้าย แขนซ้ายเหยียดตึง พร้อมกันนั้นให้ยกมือขวามาจับกำรอบฝา
ครอบลำกล้องในลักษณะม้วนข้อ หันหลังมือออกนอกลำตัว ในแนวระดับไหล่ซ้าย ข้อศอกขวาเปิดขนานกับพื้น บังคับให้ปืน
ตั้งตรงในแนวดิ่งตั้งฉากกับพื้น
จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธจังหวะ - สอง” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวายกปืนผ่านหน้าลำตัวจากทางซ้าย
มาทางขวาพร้อมกับบิดข้อมือไปทางขวาเล็กน้อยเพื่อบังคับให้ด้ามปืนชี้ไปในทิศทางตรงหน้า พร้อมกันนั้นละมือซ้ายที่จับพาน
ท้ายปืนมาจับที่ปลอกลดแสง ในลักษณะจับคีบด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน นิ้วทั้งห้าชี้ไปทางด้านขวา ข้อศอก
ซ้ายเปิดขนานกับพื้น จากนั้นใช้มือขวาดึงปืนอัดเข้าร่องไหล่ขวาอย่างแข็งแรง จนกระทั่งปืนมาอยู่แนบชิดข้างลำตัวทาง
ด้านขวา กระบอกปืนตั้งดิ่งตั้งฉากกับพื้นดิน พร้อมกับเปลี่ยนท่าการจับปืนจากการกำรอบเป็นการจับด้วยนิ้วทั้งสี่เรียงชิด
119

ติดกันอยู่ด้านนอกและนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านใน นิ้วทั้งห้าชี้ลงด้านล่าง แบะข้อศอกขวาไปด้านหลังจนรู้สึกว่าไหล่ขวาตึง ส่วน


อื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะของท่าตรง สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
จังหวะสาม : เมื่อได้ยินคำบอก “เรียบอาวุธจังหวะ - สาม” ให้ผู้ปฏิบตั ิใช้มือขวาลดปืนลงจนกว่าพานท้ายปืนจะวาง
ลงบนพื้นตามลักษณะของท่าเรียบอาวุธ โดยไม่ให้กระแทกกับพื้น พร้อมกับสะบัดมือซ้าย (ในลักษณะการฟันมือ) กลับไปอยู่
ในท่าเรียบอาวุธอย่างแข็งแรง จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก

ท่าเรียบอาวุธจากท่าแบกอาวุธ

ท่ารวมอาวุธ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่ารวมอาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสพักแถว เพื่อป้องกันการชารุดของอาวุธ
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “รวมอาวุธ”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง
เมื่อได้ยินคำบอก “รวมอาวุธ, ตอนที่หนึ่ง”
การปฏิบัติของคนที่ ๑
ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติในท่าเฉียงอาวุธ จากนั้นใช้มือทั้งสองผลักปืนไปข้างล่างจนแขนทั้งสองข้างเหยียดตึง พลิกปืนให้
แบนราบหันด้ามปืนไปด้านหน้า มือซ้ายจับฝาครอบลากล้องปืนด้วยการหงายฝ่ามือ มือขวาจับคอปืนด้วยการคว่ำฝ่ามือ พร้อม
กันนั้นตบเท้าซ้ายเฉียงไปด้านหน้าทางซ้ายประมาณครึ่งก้าว ส้นเท้าขวาไม่เปิด สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
การปฏิบัติของคนที่ ๒
ให้ผู้ปฏิบัติเลื่อนมือขวาขึ้นมาจับเหนือโครงศูนย์หน้าในลักษณะคีบ ยกปืนมาข้างหน้าวางพานท้ายปืนลงบนพื้นให้
ปืนตั้งตรง และอยู่กึ่งกลางเท้าทั้งสองอยู่ห่างจากปลายเท้าประมาณหนึ่งคืบ แขนขวาเหยียดตึง หันหลังมือไปทางขวา มือซ้าย
อยู่ในลักษณะของท่าตรง สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
120

การปฏิบัติของคนที่ ๓
ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวายกปืนขึ้นมาพร้อมกับเหวี่ยงพานท้ายปืนไปทางด้านซ้ายของตัวสูงประมาณ เหนือเข็มขัด
เล็กน้อย หันด้ามปืนไปด้านหน้า ใช้มือซ้ายตบจับที่คอปืนในลักษณะการคว่ำมือ จากนั้น ใช้มือทั้งสองผลักปืนไปข้างล่างจน
แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง พร้อมกันนั้นตบเท้าขวาเฉียงไปด้านหน้าทางขวาประมาณครึ่งก้าว ส้นเท้าซ้ายไม่เปิด สายตามอง
ตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ

ท่ารวมอาวุธตอนที่หนึ่ง
ตอนที่สอง
เมื่อได้ยินคำบอก “รวมอาวุธ, ตอนที่สอง”
การปฏิบัติของคนที่ ๑
ให้ผู้ปฏิบัติก้มตัวลงนำลำกล้องปืนสอดเข้าไปในช่องด้ามหูหิ้ว วางพานท้ายปืนวางจรดพื้นเฉียงไปด้านหลังเล็กน้อย
แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง มือทั้งสองยังคงจับปืนในลักษณะเดิม (ลำกล้องปืนคนที่ ๑ อยู่เหนือลำกล้องปืนคนที่ ๓) ขาทั้งสอง
ข้างเหยียดตึง
การปฏิบัติของคนที่ ๒
ให้ผู้ปฏิบัติคงอยู่ในลักษณะเดิม
การปฏิบัติของคนที่ ๓
ให้ผู้ปฏิบัติก้มตัวลงนำลำกล้องปืนสอดเข้าไปในช่องด้ามหูหิ้ว วางพานท้ายปืนวางจรดพื้นเฉียงไปด้านหลังเล็กน้อย
แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง มือทั้งสองยังคงจับปืนในลักษณะเดิม (ลำกล้องปืนคนที่ ๑ อยู่เหนือลำกล้องปืนคนที่ ๓) ขาทั้งสอง
ข้างเหยียดตึง
121

ท่ารวมอาวุธตอนที่สอง

ตอนที่สาม
เมื่อได้ยินคำบอก “รวมอาวุธ, ตอนที่สาม”
การปฏิบัติของคนที่ ๑ และ ๓
ให้ผู้ปฏิบัติยืดตัวขึ้นมาพร้อมกับนำเท้าที่อยู่ข้างหน้ามาชิดเท้าที่อยู่ข้างหลัง กลับมาอยู่ในลักษณะท่าตรงอย่างรวดเร็ว
และแข็งแรง
การปฏิบัติของคนที่ ๒
ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาลงมาอยู่ข้างขาขวาอยู่ในลักษณะท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง

ท่ารวมอาวุธตอนที่สาม
ท่าขยายอาวุธ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ขยายอาวุธ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสพักแถว เพื่อป้องกันการชำรุดของอาวุธ
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “ขยายอาวุธ”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “ขยายอาวุธ, ตอนที่หนึ่ง”
การปฏิบัติของคนที่ ๑ : ให้ผู้ปฏิบัติตบเท้าซ้ายเฉียงไปด้านหน้าทางซ้ายประมาณครึ่งก้าวส้นเท้าขวาไม่เปิด พร้อม
กันนั้นก้มตัวลงไปจับปืน มือซ้ายจับฝาครอบลำกล้องปืนด้วยการหงายฝ่ามือ มือขวาจับคอปืน ด้วยการคว่ำฝ่ามือ จากนั้นใช้
122

มือขวายกพานท้ายปืนขึ้นให้ขนานกับพื้น แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง ปากลำกล้องปืนยังคงอยู่ในช่องด้ามหิ้วปืน ขาทั้งสองข้าง


เหยียดตึง
การปฏิบัติของคนที่ ๒ : ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวามาจับเหนือโครงศูนย์หน้าในลักษณะคีบ แขนขวา เหยียดตึง หันหลัง
มือไปทางด้านขวา สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ
การปฏิบัติของคนที่ ๓ : ให้ผู้ปฏิบัติตบเท้าขวาเฉียงไปด้านหน้าทางขวาประมาณครึ่งก้าว ส้นเท้าซ้ายไม่เปิด พร้อม
กันนั้นก้มตัวลงไปจับปืน มือซ้ายจับคอปืนด้วยการคว่ำฝ่ามือ มือขวาจับฝาครอบลำกล้องปืน ด้วยการหงายฝ่ามือ จากนั้นใช้
มือขวายกพานท้ายปืนขึ้นให้ขนานกับพื้น แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง ปากลำกล้องปืนยังคงอยู่ในช่องด้ามหิ้ว ขาทั้งสองข้าง
เหยียดตึง
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “ขยายอาวุธ, ตอนที่สอง”
การปฏิบัติของคนที่ ๑ : ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือทั้งสองข้างยกปืนขึ้นมา ยืดลำตัวขึ้นมาให้ลำตัวตรง ปืนแบนราบอยู่บริเวณ
หน้าขาซ้ายขนานกับพื้น หันด้ามปืนไปด้านหน้า แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง พร้อมกันนั้น นำเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะ
อัดส้นเท้าอย่างแข็งแรง
การปฏิบัติของคนที่ ๒ : ให้ผู้ปฏิบัติคงอยู่ในลักษณะเดิม
การปฏิบัติของคนที่ ๓ : ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือทั้งสองข้างยกปืนขึ้นมา ยืดลำตัวขึ้นมาให้ลำตัวตรง ปืนแบนราบอยู่บริเวณ
หน้าขาขวาขนานกับพื้น หันด้ามปืนไปด้านหน้า แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง พร้อมกันนั้นนำเท้าขวามาชิดเท้าซ้ายในลักษณะอัด
ส้นเท้า

ท่าขยายอาวุธตอนที่หนึ่งและตอนที่สอง
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “ขยายอาวุธ, ตอนที่สาม”
การปฏิบัติของคนที่ ๑ : ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือซ้ายผลักปืนไปทางข้างทางขวา แนวปืนชี้เฉียงขึ้นทามุมกับลำตัวประมาณ
๔๕ องศา พร้อมกันนั้นใช้มือขวาดึงปืนให้พานท้ายแนบชิดข้างต้นขาขวา จากนั้นละมือขวาที่จับคอปืนมาตบจับ ฝาครอบลำ
กล้องปืนใต้โครงศูนย์หน้าในลักษณะกำรอบ นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง จากนั้นสะบัดมือซ้ายมาอยู่ข้าง
ขาซ้าย (ในลักษณะการฟันมือ) ในลักษณะท่าตรง พร้อมกันนั้นใช้มือลดปืนลงมา อยู่ข้างขาขวาในลักษณะท่าเรียบอาวุธอย่าง
แข็งแรง
การปฏิบัติของคนที่ ๒ : ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวายกปืนมาอยู่ข้างขาขวาในลักษณะท่าเรียบอาวุธอย่างแข็งแรง
123

การปฏิบัติของคนที่ ๓ : ให้ผู้ปฏิบัติละมือซ้ายจากคอปืนแล้วสะบัดมือ (ในลักษณะการฟันมือ) ลงมาอยู่ข้างขาซ้าย


ใช้มือขวานำปืนมาวางข้างขาขวา ในลักษณะท่าเรียบอาวุธ จากนั้นให้ปฏิบัติท่ายกอก

ท่าขยายอาวุธตอนที่สาม
ท่ายิง
ท่ายิง แบ่งเป็น ๕ ท่า
๑. ท่ายืนยิง ๒. ท่านั่งสูงยิง ๓.ท่านั่งราบยิง
๔. ท่านั่งคุกเข่ายิง ๕. ท่านอนยิง
ท่ายืนยิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่ายืนยิง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “ยืน, เตรียมยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “ยืนเตรียมยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าขวาหันจังหวะหนึ่ง จากนั้นก้าวเท้า
ซ้ายไปทางซ้าย เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณหนึ่งช่วงไหล่ ปลายเท้าซ้ายชี้ไปที่เป้าหมาย มือทั้งสองข้างถือปืนอยู่ในท่า
เตรียมใช้อาวุธ สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “ยืนเตรียมยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวานำพานท้ายปืนเข้าร่องไหล่ขวา
ยังคงจับพานท้ายในลักษณะคีบคล้ายกับการจับปืนในท่าเตรียมใช้อาวุธ ข้อศอกขวาเปิดขนานกับพื้น มือซ้ายกำรอบฝาครอบ
ลำกล้องปืนในลักษณะหงายฝ่ามือ ใบหน้ายังไม่แนบชิดติดพานท้ายปืน สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “ยืนเตรียมยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวามาจับด้ามปืนในลักษณะกำรอบโดย
ให้นิ้วชี้พาดไปตามโกร่งไกปืน ข้อศอกขวาเปิดตามธรรมชาติ มือซ้ายกำรอบฝาครอบลำกล้องปืนในลักษณะหงายฝ่ามือ ก้ม
ศีรษะให้บริเวณแก้มแนบชิดติดพานท้ายหลังโครงศูนย์หลัง โน้มน้าหนักตัวไปด้านหน้าน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย หย่อนเข่าซ้าย
เล็กน้อย ขาขวาเหยียดตึง สายตาเล็งที่เป้าหมายผ่านศูนย์หลังและศูนย์หน้า
124

ท่ายืนยิง
ท่าเลิกยิงจากท่ายืนยิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเลิกยิงจากท่ายืนยิง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “เลิกยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาจากด้ามปืนมาตบจับที่ สันพานท้ายปืน
ในลักษณะคีบด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันอยู่ด้านนอก นิ้วก้อยเสมอแผ่นยางรองพานท้าย ข้อศอกขวาเปิดขนาน
กับพื้น พร้อมกันนั้นให้เงยศีรษะขึ้ น สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย ขาทั้งสองข้างเหยียดตึง ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ใน
ลักษณะเดิม
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติใช้มือขวาลดปืนลง ยังคงจับพานท้ายในลักษณะคีบ
มือซ้ายการอบฝาครอบลำกล้องปืนในลักษณะหงายฝ่ามือ สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติบิดลำตัวมาทางซ้าย ๙๐ องศา โดยใช้ส้นเท้าขวา
เป็นจุดหมุน จากนั้นนำเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะการวาดเท้าไปด้านข้าง ขาเหยียดตึง แล้วอัดส้นเท้าอย่างแข็งแรง
กลับมาอยู่ในท่าเตรียมใช้อาวุธ
125

ท่าเลิกยิงจากท่ายืนยิง

ท่านั่งสูงยิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่านั่งสูงยิง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “นั่งสูงนั่ง, เตรียมยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งสูงนั่งเตรียมยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่ากึ่งขวาหัน จังหวะหนึ่ง
จากนั้นก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้าย เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณหนึ่งช่วงไหล่ แนวเท้าทั้งสองข้างขนานกัน มือทั้งสองข้างถือปืน
อยู่ในท่าเตรียมใช้อาวุธ สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งสูงนั่งเตรียมยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติทรุดตัวลงนั่งโดยไม่ให้มีส่วนใดของ
ร่างกายสัมผัสพื้น นอกเหนือจากเท้าทั้งสองข้าง ส้นเท้าทั้งสองข้างติดกับพื้น มือขวานำพานท้ายปืนเข้าร่องไหล่ ยังคงจับพาน
ท้ายในลักษณะคีบคล้ายกับการจับปืนในท่าเตรียมใช้อาวุธ ข้อศอกขวาเปิดขนานกับพื้น มือซ้ายกำรอบฝาครอบลำกล้องปืนใน
ลักษณะหงายฝ่ามือ แขนซ้ายท่อนบนทาบบริเวณหัวเข่าซ้ายด้านใน ใบหน้ายังไม่แนบชิดติดพานท้ายปืน สายตามองตรงไปที่
เป้าหมาย
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งสูงนั่งเตรียมยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวามาจับด้ามปืน ในลักษณะกำ
รอบโดยให้นิ้วชี้พาดไปตามโกร่งไกปืน แขนขวาท่อนบนทาบบริเวณหัวเข่าขวาด้านใน ก้มศีรษะ ให้บริเวณแก้มแนบชิดติดพาน
ท้ายหลังโครงศูนย์หลัง สายตาเล็งที่เป้าหมายผ่านศูนย์หลังและศูนย์หน้า

ท่านั่งสูงยิง
ท่าเลิกยิงจากท่านั่งสูงยิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเลิกยิงจากท่านั่งสูงยิง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
126

๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “เลิกยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาจากด้ามปืนมาตบจับที่สันพานท้ายปืนใน
ลักษณะคีบด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันอยู่ด้านนอก นิ้วก้อยเสมอแผ่นยางรองพานท้าย ข้อศอกขวาเปิดขนานกับ
พื้น พร้อมกันนั้นให้เงยศีรษะขึ้น สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะเดิม
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว จากนั้นใช้มือขวา ลดพาน
ท้ายปืนลงอยู่ในลักษณะของท่าเตรียมใช้อาวุธอย่างแข็งแรง
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติบิดลำตัวมาทางซ้าย ๔๕ องศา โดยใช้ส้นเท้าขวา
เป็นจุดหมุน จากนั้นนำเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะการวาดเท้าไปด้านข้าง ขาเหยียดตึง แล้วอัดส้นเท้าอย่างแข็งแรง
กลับมาอยู่ในท่าเตรียมใช้อาวุธ

ท่าเลิกยิงจากท่านั่งสูงยิง
ท่านั่งราบยิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่านั่งราบยิง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “นั่งราบนั่ง, เตรียมยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งราบนั่งเตรียมยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่ากึ่งขวาหันจังหวะหนึ่ง
จากนั้นก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้าย เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณหนึ่งช่วงไหล่ แนวเท้าทั้งสองข้างขนานกัน มือทั้งสองข้างถือปืน
อยู่ในท่าเตรียมใช้อาวุธ สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งราบนั่งเตรียมยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติทรุดตัวลงนั่ง จากนั้นให้ละมือขวาที่จับ
พานท้ายปืนมาค้ำยันพื้นด้านหลังทางขวาแล้วนั่งลงบนพื้น มือซ้ายกำรอบฝาครอบลำกล้องปืนในลักษณะ หงายฝ่ามือรักษา
127

สมดุลของปืนให้แนวลำกล้องปืน ชี้ไปยังเป้าหมาย จากนั้นละมือขวาจากพื้นมาตบจับพานท้ายปืน ในลักษณะคีบสันพานท้าย


แล้วนำพานท้ายปืนเข้าร่องไหล่ขวา ข้อศอกขวาเปิดขนานกับพื้น แขนซ้ายท่อนบนทาบบริเวณหัวเข่าซ้ายด้านในใบหน้ายังไม่
แนบชิดติดพานท้ายปืน สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งราบนั่งเตรียมยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวามาจับด้ามปืนในลักษณะกำ
รอบโดยให้นิ้วชี้พาดไปตามโกร่งไกปืน แขนขวาท่อนบนทาบบริเวณหัวเข่าขวาด้านใน ก้มศีรษะให้บริเวณแก้ม แนบชิดติดพาน
ท้ายหลังโครงศูนย์หลัง สายตาเล็งที่เป้าหมายผ่านศูนย์หลังและศูนย์หน้า

ท่านั่งราบยิง

ท่าเลิกยิงจากท่านั่งราบยิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเลิกยิงจากท่านั่งราบยิง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “เลิกยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาจากด้ามปืนมาตบจับที่สันพานท้ายปืนใน
ลักษณะคีบด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันอยู่ด้านนอก นิ้วก้อยเสมอแผ่นยางรองพานท้าย ข้อศอกขวาเปิดขนานกับ
พื้น พร้อมกันนั้นให้เงยศีรษะขึ้น สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะเดิม
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาจากพานท้ายปืนไปตบพื้นด้า นหลัง
ทางขวาแล้วดันตัวให้ลุกขึ้นยืน โดยไม่ให้เท้าทั้งสองข้างเคลื่อนที่ จากนั้นใช้มือขวามาตบจับที่พานท้ายปืน ในลักษณะคีบ แล้ว
ลดพานท้ายปืนลงอยู่ในลักษณะของท่าเตรียมใช้อาวุธอย่างแข็งแรง
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติบิดลำตัวมาทางซ้าย ๔๕ องศา โดยใช้ส้นเท้าขวา
เป็นจุดหมุน จากนั้นนำเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะการวาดเท้าไปด้านข้าง ขาเหยียดตึง แล้วอัดส้นเท้าอย่างแข็งแรง
กลับมาอยู่ในท่าเตรียมใช้อาวุธ
128

ท่าเลิกยิงจากท่านั่งราบยิง
ท่านั่งคุกเข่ายิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่านั่งคุกเข่ายิง”
๒. ความมุ่ง หมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “นั่งคุกเข่านั่ง, เตรียมยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งคุกเข่านั่งเตรียมยิง , ตอนที่หนึ่ง”ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าขวาหัน จังหวะหนึ่ง
จากนั้นก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้าย เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณหนึ่งช่วงไหล่ ปลายเท้าซ้ายชี้ไปที่เป้าหมาย มือทั้งสองข้างถือ
ปืนอยู่ในท่าเตรียมใช้อาวุธ สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งคุกเข่านั่งเตรียมยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติยกเท้าขวาไปด้านหลังประมาณหนึ่ง
ก้าว แล้วทรุดตัวลง วางหัวเข่าขวาลงบนพื้นอยู่แนวเดียวกันกับส้นเท้าซ้าย จากนั้นใช้มือขวา นาพานท้ายปืนเข้าร่องไหล่ขวา
ลำตัวตั้งตรง สายตามองไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “นั่งคุกเข่านั่งเตรียมยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวามาจับด้ามปืนในลักษณะ
กำรอบโดยให้นิ้วชี้พาดไปตามโกร่งไกปืน แขนซ้ายท่อนบนพาดไปกับหัวเข่าซ้าย จากนั้นก้มศีรษะให้บริเวณแก้มแนบชิดติด
พานท้ายหลังโครงศูนย์หลัง โน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย สายตาเล็งที่เป้าหมาย ผ่านศูนย์หลังและศูนย์หน้า

ท่านั่งคุกเข่ายิง
129

ท่าเลิกยิงจากท่านั่งคุกเข่ายิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเลิกยิงจากท่านั่งคุกเข่ายิง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “เลิกยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาจากด้ามปืนมาตบจับที่สันพานท้ายปืนใน
ลักษณะคีบด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันอยู่ด้านนอก นิ้วก้อยเสมอแผ่นยางรองพานท้าย ข้อศอกขวาเปิดขนานกับ
พื้น พร้อมกันนั้นให้เงยศีรษะขึ้น สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย ยืดลำตัวขึ้นให้ตั้งตรง ส่วนอื่นๆ ของร่างกายยังคงอยู่ในลักษณะ
เดิม
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติลุกขึ้นยืนแล้วยกเท้าขวากลับมายืนตาแหน่งเดิม
แล้วลดพานท้ายปืนลงอยู่ในลักษณะของท่าเตรียมใช้อาวุธอย่างแข็งแรง
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติบิดลำตัวมาทางซ้าย ๙๐ องศา โดยใช้ส้นเท้าขวา
เป็นจุดหมุน จากนั้นนำเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะการวาดเท้าไปด้านข้าง ขาเหยียดตึงแล้วอัดส้นเท้าอย่างแข็งแรง
กลับมาอยู่ในท่าเตรียมใช้อาวุธ

ท่าเลิกยิงจากท่านั่งคุกเข่ายิง
ท่านอนยิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่านอนยิง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอก : เป็นคำบอก “เป็นคำๆ” ใช้คำบอก “นอน, เตรียมยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
130

ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “นอนเตรียมยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่ากึ่งขวาหันจังหวะหนึ่ง จากนั้น


ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้าย เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณหนึ่งช่วงไหล่ แนวเท้าทั้งสองข้างขนานกัน มือทั้งสองข้างถือปืนอยู่ใน
ท่าเตรียมใช้อาวุธ สายตามองตรงไปที่เป้าหมาย
ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “นอนเตรียมยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติคุกเข่าทั้งสองข้างพร้อมกัน โดยให้ปฏิบัติใน
ท่านั่งสูงก่อนแล้วจึงคุกเข่าทั้งสองข้างลงบนพื้น หัวเข่าทั้งสองข้างห่างกันตามธรรมชาติ ยืดลำตัวให้ตั้งตรงอยู่บนหัวเข่าทั้งสอง
ข้าง จากนั้นละมือขวาจากพานท้ายปืนไปตบลงบนพื้นด้านหน้า พร้อมโน้มตัวไปด้านหน้า ใช้มือขวาค้ำยันพื้นไว้ แล้วจึงทรุดตัว
ลงนอนบนพื้น โดยใช้ศอกซ้ายวางลงบนพื้นและบิดลำตัวขึ้นไปทางซ้ายเล็กน้อย มือซ้ายกำรอบฝาครอบลำกล้องปืนในลักษณะ
หงายฝ่ามือรักษาสมดุลของปืนให้แนวลำกล้องปืนชี้ ไปยังเป้าหมาย จากนั้นละมือขวาจากพื้นมาตบจับที่พานท้ายปืนใน
ลักษณะคีบ นำพานท้ายปืนเข้าร่องไหล่ขวา ข้อศอกขวาเปิดขนานกับพื้น
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “นอนเตรียมยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวามาจับด้ามปืนในลักษณะกำรอบ
โดยให้นิ้วชี้พาดไปตามโกร่งไกปืน จากนั้นบิดลำตัวลงทางขวา ตั้งข้อศอกขวาลงบนพื้น แล้วก้มศีรษะให้บริเวณแก้มแนบชิดติด
พานท้ายหลังโครงศูนย์หลัง ยกหัวเข่าขวาออกจากลำตัวพอสมควรเพื่อจัดท่ายิงให้มั่นคง สายตาเล็งที่เป้าหมายผ่านศูนย์หลัง
และศูนย์หน้า

ท่านอนยิง
ท่าเลิกยิงจากท่านอนยิง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : บุคคลท่าอาวุธ “ท่าเลิกยิงจากท่านอนยิง”
๒. ความมุ่ง หมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : ใช้ในโอกาสปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๔. คำบอกใช้ : เป็นคำบอก “รวด” ใช้คำบอก “เลิกยิง”
๕. การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาจากด้ามปืนมาตบจับที่พานท้ายปืนใน
ลักษณะคีบสันพานท้ายปืนด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน นิ้วก้อยเสมอแผ่นยาง รองพานท้าย ข้อศอกขวาเปิด
ขนานกับพื้น พร้อมกับบิดลำตัวขึ้นทางซ้ายเล็กน้อย
131

ตอนที่สอง : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สอง” ให้ผู้ปฏิบัติละมือขวาที่จับสันพานท้ายปืนมาตบลงบนพื้น


ประมาณแนวหน้าอก แล้วดันตัวขึ้นพร้อมกับคุกเข่าทั้งสองข้าง จากนั้นลุกขึ้นยืนแล้วใช้มือขวามาตบจับที่พานท้ายปืนใน
ลักษณะคีบ และลดพานท้ายปืนลงอยู่ในลักษณะของท่าเตรียมใช้อาวุธอย่างแข็งแรง
ตอนที่สาม : เมื่อได้ยินคำบอก “เลิกยิง, ตอนที่สาม” ให้ผู้ปฏิบัติบิดลำตัวมาทางซ้าย ๔๕ องศา โดยใช้ส้นเท้าขวา
เป็นจุดหมุน จากนั้นนำเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาในลักษณะการวาดเท้าไปด้านข้าง ขาเหยียดตึง แล้วอัดส้นเท้าอย่างแข็งแรง
กลับมาอยู่ในท่าเตรียมใช้อาวุธ

ท่าเลิกยิงจากท่านอนยิง
การฝึกแถวชิด
การฝึกแถวชิด แบ่งออกเป็น ๒ รูปแถว
๑. รูปแถวหน้ากระดาน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ
๑.๑ รูปแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยว แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑.๑.๑ รูปแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวปิดระยะ
๑.๑.๒ รูปแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวเปิดระยะ
๑.๒ รูปแถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑.๒.๑ รูปแถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไปปิดระยะ
๑.๒.๒ รูปแถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไปเปิดระยะ
๒. รูปแถวตอน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ
๒.๑ รูปแถวตอนเรียงหนึ่ง
๒.๒ รูปแถวตอนเรียงสองขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๑ ประเภท
๒.๒.๑ รูปแถวตอนเรียงสองขึ้นไปปิดระยะ
รูปแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยว
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : การฝึกแถวชิด “แถวหน้ากระดานแถวเดี่ยว”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : - ใช้ในโอกาสที่จะทำการตรวจแถว
132

- ใช้ในการจัดลำดับความสูงของผู้ปฏิบัติเพื่อใช้ในการจัดแถวในรูปแถวต่างๆ
๔. คำบอก : ใช้คำบอก “หน้ากระดานแถวเดี่ยว, มาหาข้าพเจ้า”
๕.การปฏิบัติ
เมื่อได้ยินคำบอก “หน้ากระดานแถวเดี่ยว, มาหาข้าพเจ้า” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าเฉียงอาวุธ จากนั้นปฏิบัติท่ากึ่งขวา
หันโดยไม่ต้องชิดเท้าแล้วตบเท้าซ้ายออกวิ่งมาเข้าแถวตามลำดับไหล่ข้างหน้าผู้เรียกแถวโดยเร็ว คนสูงที่สุดของแถวเป็นคน
หลัก (คนหัวแถว) ยืนตรงหน้าผู้เรียกแถว และห่างจากผู้เรียกแถวประมาณหกก้าว จากนั้นให้ผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ วิ่งมาเข้าแถว
เรียงตามลำดับไหล่ต่อไปทางซ้ายของคนหลัก โดยผู้ปฏิบัติทุกนายกระโดดอยู่กับที่ (ในลักษณะกระโดดสองเท้าพร้อมกัน) มือ
ทั้งสองบังคับปืนให้อยู่ในท่าเฉียงอาวุธ
คนหัวแถวหันมองดูผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ ว่าจัดแถวเป็นรูปแถวเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นรูปแถวแล้ว ให้คนหัวแถว
นับ “หนึ่ง” เมื่อสิ้นเสียงคนหัวแถวนับ “หนึ่ง” แล้วให้คนที่เหลือนับ “หนึ่ง” ให้เสียงดังและพร้อมเพรียงกัน

หลังจากนั้นรอฟังสัญญาณ “อึ๊บ” ให้ทุกนายหยุดกระโดดกลับมาอยู่ในท่าเฉียงอาวุธ ฟังสัญญาณ “อึ๊บ” ให้ทุกนาย


ปฏิบัติท่าเรียบอาวุธจากท่าเฉียงอาวุธและฟังสัญญาณ “อึ๊บ” อีกหนึ่งครั้ง ให้ทุกนายยกมือซ้ายขึ้นมาตบที่สะเอวซ้ายประมาณ
แนวเข็มขัด นิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกันและให้ปลายนิ้วชี้ลงทางเบื้องล่าง นิ้วกลาง อยู่ประมาณแนวตะเข็บกางเกง ศอกซ้ายกาง
ออกเสมอแนวลำตัว แล้วเปล่งเสียง “เฮ้” ให้คนที่อยู่ถัดไปทางซ้ายจากหัวแถวนำแขนขวา (อยู่ลักษณะท่าเรียบอาวุธ) ของตน
ไปแตะจดกับปลายศอกซ้ายของคนที่อยู่ถัดไปทางหัวแถว (คนทางขวาของตนเอง) สะบัดหน้ามองไปทางขวาหรือคนหัวแถว
พร้อมกับก้มมองดูแนวปลายเท้า ให้เสมอกัน แล้วสะบัดหน้ากลับไปมองทางขวาหรือคนหัวแถวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้ยินคาบอก
“นิ่ง” ให้ทุกนายสะบัดหน้ากลับมองตรงไปข้างหน้า พร้อมกับลดศอกซ้ายกลับไปอยู่ในลักษณะท่าเรียบอาวุธอย่างรวดเร็วและ
แข็งแรง
133

รูปแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยว

รูปแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวเปิดระยะ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : การฝึกแถวชิด “แถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวเปิดระยะ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็ก ราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : - ใช้ในโอกาสที่จะทำการตรวจแถว
- ใช้ในการจัดลำดับความสูงของผู้ปฏิบัติเพื่อใช้ในการจัดแถวในรูปแถวต่างๆ
๔. คำบอก : ใช้คำบอก “หน้ากระดานแถวเดี่ยว, เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า”
๕. การปฏิบัติ : เมื่อได้ยินคำบอก “หน้ากระดานแถวเดี่ยว, เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าเฉียง
อาวุธ จากนัน้ ปฏิบัติท่ากึ่งขวาหันโดยไม่ต้องชิดเท้าแล้วตบเท้าซ้ายออกวิ่งมาเข้าแถวตามลาดับไหล่ข้างหน้าผู้เรียกแถวโดยเร็ว
คนสูงที่สุดของแถวเป็นคนหลัก (คนหัวแถว) ยืนตรงหน้าผู้เรียกแถว และห่างจากผู้เรียกแถวประมาณหกก้าว จากนั้นให้ผู้
ปฏิบัติคนอื่นๆ วิ่งมาเข้าแถวเรียงตามลาดับ ไหล่ต่อไปทางซ้ายของคนหลัก โดยผู้ปฏิบัติทุกนายกระโดดอยู่กับที่ (ในลักษณะ
กระโดดสองเท้าพร้อมกัน) มือทั้งสองบังคับปืนให้อยู่ในท่าเฉียงอาวุธ
คนหัวแถวหันมองดูผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ ว่าจัดแถวเป็นรูปแถวเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นรูปแถวแล้วให้คนหัวแถว
นับ “หนึ่ง” เมื่อสิ้นเสียงคนหัวแถวนับ “หนึ่ง” แล้วให้คนที่เหลือนับ “หนึ่ง” ให้เสียงดังและพร้อมเพรียงกัน
หลังจากนั้นรอฟังสัญญาณ “อึ๊บ” ให้ทุกนายหยุดกระโดดกลับมาอยู่ในท่าเฉียงอาวุธ ฟังสัญญาณ “อึ๊บ”ให้ทุกนาย
ปฏิบัติท่าเรียบอาวุธจากท่าเฉียงอาวุธ และฟังสัญญาณ “อึ๊บ” อีกหนึง่ ครั้งให้ทุกนายยกมือซ้ายขึ้นมาตบที่สะโพกซ้ายประมาณ
แนวเข็มขัด นิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกันและให้ปลายนิ้วชี้ลงทางเบื้องล่าง นิ้วกลางอยู่ประมาณแนวตะเข็บกางเกง ศอกซ้ายกาง
ออกเสมอแนวลำตัว แล้วเปล่งเสียง “เฮ้” จากนั้นให้ทุกนายยกแขนซ้ายเหยียดออกไปทางข้างในระดับสูงเสมอแนวไหล่
(ยกเว้นคนท้ายแถวสุดไม่ต้องยกแขนซ้ายขึ้น) คว่ำฝ่ามือนิ้วมือทั้งห้าเหยียดตึงและเรียงชิดติดกัน โดยให้คนที่อยู่ถัดไปทางซ้าย
จากหัวแถว นำไหล่ขวาของตนเองไปแตะจดกับปลายนิ้วมือซ้ายของคนที่อยู่ถัดไปทางหัวแถว (คนทางขวาของตนเอง) สะบัด
หน้ามองไปทางขวาหรือคนหัวแถว พร้อมกับ ก้มมองดูแนวปลายเท้าให้เสมอกัน แล้วสะบัดหน้ากลับไปมองทางขวาหรือคนหัว
134

แถวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้ยินคำบอก “นิ่ง” ให้ทุกนายสะบัดหน้ากลับมองตรงไปข้างหน้า พร้อมกับลดแขนซ้ายกลับไปอยู่ใน


ลักษณะท่าเรียบอาวุธ อย่างรวดเร็วและแข็งแรง
หมายเหตุ : ตามแบบฝึกของ รร.ทม.รอ. นิยมเรียกแถวปิดระยะก่อน และเมื่อต้องการจะเปิดระยะ จะสั่งว่า “เปิด
ระยะ, จัดแถว”

รูปแถวหน้ากระดานแถวเดี่ยวเปิดระยะ

รูปแถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไป
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : การฝึกแถวชิด “แถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไป”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : - ใช้ในโอกาสที่จะทำการตรวจแถว
- ใช้ในการฝึก หรือรับฟังคำชี้แจง
๔. คำบอก : ใช้คำบอก “หน้ากระดานสองแถว (ขึ้นไป), มาหาข้าพเจ้า”
135

๕. การปฏิบัติ : เมื่อได้ยินคำบอก “หน้ากระดานสองแถว (ขึ้นไป), มาหาข้าพเจ้า” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าเฉียงอาวุธ


จากนั้นปฏิบัติท่ากึ่งขวาหันโดยไม่ต้องชิดเท้า แล้วตบเท้าซ้ายออกวิ่งมาเข้าแถวและจัดแถวเช่นเดียวกับการเข้าแถวและจัดแถว
แบบหน้ากระดานแถวเดี่ยวปิดระยะ จะต่างกันที่จะต้องจัดแถวซ้อนหลังกันลงไปตามทางลึกให้มีจานวนแถวครบตามที่ผู้เรียก
แถวสั่งโดยยึดถือแถวหน้าเป็นหลัก ผู้ปฏิบัติที่อยู่แถวหลังยืนตรงคอคนที่อยู่แถวหน้ าระยะต่อระหว่างแถวประมาณหนึ่งเมตร
ให้กระโดดอยู่กับที่ด้วยปลายเท้าทั้งสองข้าง มือทั้งสองบังคับปืนให้อยู่ในท่าเฉียงอาวุธ
คนหัวแถวหันมองดูผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ ว่าจัดแถวเป็นรูปแถวเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นรูปแถวแล้วให้คนหัวแถว
นับ “หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติในแถวนับตามจานวนแถวที่ผู้เรียกแถวกำหนด เมื่อจะนับจำนวนสุดท้ายตามที่ผู้เรียกแถวกำหนดให้ผู้
ปฏิบัติทั้งแถวเปล่งเสียงนับจำนวนสุดท้ายนั้นอย่างพร้อมเพรียงกัน
หลังจากนั้นรอฟังสัญญาณ “อึ๊บ” ให้ทุกนายหยุดกระโดดกลับมาอยู่ในท่าเฉียงอาวุธ ฟังสัญญาณ “อึ๊บ” ให้ทุกนาย
ปฏิบัติท่าเรียบอาวุธจากท่าเฉียงอาวุธ และฟังสัญญาณ “อึ๊บ” อีกหนึ่งครั้ง ให้ทุกนายยกมือซ้ายขึ้นมาตบที่สะเอวซ้าย
ประมาณแนวเข็มขัด นิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกันและให้ปลายนิ้วชี้ลง ทางเบื้องล่าง นิ้วกลางอยู่ประมาณแนวตะเข็บกางเกง ศอก
ซ้ายกางออกเสมอแนวลำตัว แล้วเปล่งเสียง “เฮ้” ให้คนที่อยู่ถัดไปทางซ้ายจากหัวแถวนำแขนขวา (อยู่ลักษณะท่าเรียบอาวุธ)
ของตนไปแตะจดกับปลายศอกซ้ายของคนที่อยู่ถัดไปทางหัวแถว (คนทางขวาของตนเอง) สะบัดหน้ามองไปทางขวาหรือคน
หัวแถว พร้อมกับ ก้มมองดูแนวปลายเท้าให้เสมอกัน แล้วสะบัดหน้ากลับไปมองทางขวาหรือคนหัวแถวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้ยิน
คำบอก “นิ่ง” ให้ทุกนายสะบัดหน้ากลับมองตรงไปข้างหน้า พร้อมกับลดศอกซ้ายกลับไปอยู่ในลักษณะ ท่าเรียบอย่างรวดเร็ว
และแข็งแรง
หมายเหตุ : การเข้าแถวของแถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไปนั้น ให้ยึดถือเอาความตรงของแถวทางลึกเป็นหลัก
เนื่องจากระยะของศอกแต่ละคนไม่เท่ากัน

รูปแถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไปเปิดระยะ
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : การฝึกแถวชิด “แถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไปเปิดระยะ”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
๓. ประโยชน์ : - ใช้ในโอกาสที่จะทำการตรวจแถว
- ใช้ในการฝึกหรือรับฟังคำชี้แจง
๔. คำบอก : ใช้คำบอก “หน้ากระดานสองแถว (ขึ้นไป), เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า”
136

๕. การปฏิบัติ : เมื่อได้ยินคำบอก “หน้ากระดานสองแถว (ขึ้นไป), เปิดระยะ, มาหาข้าพเจ้า” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่า


เฉียงอาวุธ จากนั้นปฏิบัติท่ากึ่งขวาหันโดยไม่ต้องชิดเท้า แล้วตบเท้าซ้ายออกวิ่งมาเข้าแถวและจัดแถวเช่นเดียวกับการเข้าแถว
และจัดแถวแบบหน้ากระดานแถวเดี่ยวเปิดระยะ จะต่างกันที่จะต้องจัดแถวซ้อนหลังกันลงไปตามทางลึกให้มีจำนวนแถวครบ
ตามที่ผู้เรียกแถวสั่งโดยยึดถือแถวหน้าเป็นหลัก ผู้ปฏิบัติที่อยู่แถวหลังยืนตรงคอคนที่อยู่แถวหน้าระยะต่อระหว่างแถว
ประมาณหนึ่งเมตร ให้กระโดดอยู่กับที่ด้วยปลายเท้าทั้งสองข้าง มือทั้งสองบังคับปืนให้อยู่ในท่าเฉียงอาวุธ
คนหัวแถวหันมองดูผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ ว่าจัดแถวเป็นรูปแถวเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นรูปแถวแล้วให้คนหัวแถว
นับ “หนึ่ง” ให้ผู้ปฏิบัติในแถวนับตามจำนวนแถวที่ผู้เรียกแถวกำหนด เมื่อจะนับจำนวนสุดท้ายตามที่ผู้เรียกแถวกำหนดให้ผู้
ปฏิบัติทั้งแถวเปล่งเสียงนับจำนวนสุดท้ายนั้นอย่างพร้อมเพรียงกัน
หลังจากนั้นรอฟังสัญญาณ “อึ๊บ” ให้ทุกนายหยุดกระโดดกลับมาอยู่ในท่าเฉียงอาวุธ ฟังสัญญาณ “อึ๊บ”ให้ทุกนาย
ปฏิบัติท่าเรียบอาวุธจากท่าเฉียงอาวุธ และฟังสัญญาณ “อึ๊บ” อีกหนึ่งครั้ง ให้ทุกนายยกมือซ้ายขึ้นมาตบที่สะเอวซ้าย
ประมาณแนวเข็มขัด นิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกันและให้ปลายนิ้วชี้ลงทางเบื้องล่าง นิ้วกลางอยู่ประมาณแนวตะเข็บกางเกง ศอก
ซ้ายกางออกเสมอแนวลาตัว แล้วเปล่งเสียง “เฮ้” จากนั้นให้ทุกนาย ยกแขนซ้ายเหยียดออกไปทางข้างในระดับสูงเสมอแนว
ไหล่ (ยกเว้นคนท้ายแถวสุดไม่ต้องยกแขนซ้ายขึ้น ) คว่ำฝ่ามือ นิ้วมือทั้งห้าเหยียดตึงและเรียงชิดติดกัน โดยให้คนที่อยู่ถัด ไป
ทางซ้ายจากหัวแถว นำไหล่ขวา ของตนเองไปแตะจดกับปลายนิ้วมือซ้ายของคนที่อยู่ถัดไปทางหัวแถว (คนทางขวาของ
ตนเอง) สะบัดหน้ามองไปทางขวาหรือคนหัวแถว พร้อมกับก้มมองดูแนวปลายเท้าให้เสมอกัน แล้วสะบัดหน้ากลับไปมอง
ทางขวาหรือ คนหัวแถวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้ยินคำบอก “นิ่ง” ให้ทุกนายสะบัดหน้ากลับมองตรงไปข้างหน้า พร้อมกับ ลดมือ
ซ้ายกลับไปอยู่ในลักษณะท่าเรียบอาวุธอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
หมายเหตุ : การเข้าแถวของแถวหน้ากระดานสองแถวขึ้นไปนั้น ให้ยึดถือเอาความตรงของแถวหน้าเป็นหลัก
เนื่องจากความยาวของแขนแต่ละคนไม่เท่ากัน (ตามแบบฝึกของ รร.ทม.รอ. นิยมเรียกแถวปิดระยะก่อน และเมื่อต้องการจะ
เปิดระยะ จะสั่งว่า “เปิดระยะ, จัดแถว”)

รูปแถวตอนเรียงหนึ่ง
๑. เรื่องที่จะทำการฝึก : การฝึกแถวชิด “แถวตอนเรียงหนึ่ง”
๒. ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของหน่วยทหาร
มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
137

๓. ประโยชน์ : ใช้ในการจัดลำดับความสูงของผู้ปฏิบัติเพื่อใช้ในการจัดแถวในรูปแถวต่างๆ
๔. คำบอก : ใช้คำบอก “ตอนเรียงหนึ่ง, มาหาข้าพเจ้า”
๕. การปฏิบัติ : เมื่อได้ยินคำบอก “ตอนเรียงหนึ่ง, มาหาข้าพเจ้า” ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติท่าเฉียงอาวุธ จากนั้นปฏิบัติ
ท่ากึ่งขวาหันโดยไม่ต้องชิดเท้าแล้วตบเท้าซ้ายออกวิ่งมาเข้าแถวตามลำดับไหล่ข้างหน้าผู้เรียกแถวโดยเร็ว คนสูงที่สุดของแถว
เป็นคนหลัก (คนหัวแถว) ยืนตรงหน้าผู้เรียกแถว และห่างจากผู้เรียกแถวประมาณหกก้าว จากนั้นให้ผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ วิ่งมาเข้า
แถวเรียงตามลำดับไหล่ซ้อนกันลงไปทางข้างหลังคนหัวแถว (ทางลึก) ให้ตรงคอกับคนข้างหน้าจนถึงคนท้ายแถว ในลักษณะ
กระโดดอยู่กับที่ด้วยปลายเท้าทั้งสองข้าง มือทั้งสองบังคับปืนให้อยู่ในท่าเฉียงอาวุธ
คนหัวแถว หันมองดูผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ ว่าจัดแถวเป็นรูปแถวเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นรูปแถวแล้วให้คนหัวแถว
นับ “หนึ่ง” เมื่อสิ้นเสียงคนหัวแถวนับ “หนึ่ง” แล้วให้คนที่เหลือนับ “หนึ่ง” ให้เสียงดังและ พร้อมเพรียงกัน
หลังจากนั้นรอฟังสัญญาณ “อึ๊บ” ให้ทุกนายหยุดกระโดดกลับมาอยู่ในท่าเฉียงอาวุธ ฟังสัญญาณ “อึ๊บ” ให้ทุกนาย
ปฏิบัติท่าเรียบอาวุธจากท่าเฉียงอาวุธ และฟังสัญญาณ “อึ๊บ” อีกหนึ่งครั้ง ให้ทุกนายยกมือซ้ายขึ้นมาตบที่สะเอวซ้าย
ประมาณแนวเข็มขัด นิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกันและให้ปลายนิ้วชี้ลงทางเบื้องล่าง นิ้วกลางอยู่ประมาณแนวตะเข็บกางเกง ศอก
ซ้ายกางออกเสมอแนวลาตัว แล้วเปล่งเสียง “เฮ้” จากนั้นให้ยกมือซ้ายขึ้นมาข้างหน้าเหยียดแขนซ้ายไปแต่ไหล่คนข้างหน้า ฝ่า
มือคว่ำและขนานกับพื้นนิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกัน ให้ห่างจาก คนข้างหน้าประมาณหนึ่งช่วงแขน (ประมาณหนึ่งเมตร) โดยอยู่ใน
แนวไหล่ซ้ายของคนข้างหน้าและให้ยกแขนค้างไว้ เมื่อได้ยินคำบอก “นิ่ง” ให้ลดมือซ้ายลงมาอยู่ที่ข้างขากลับมาอยู่ในลักษณะ
ท่าเรียบอย่างรวดเร็วและแข็งแรง

รูปแถวตอนเรียงหนึ่ง

..............................................................................
138

แบบฝึกหัด/งานที่มอบหมาย
๑. ปลย.เอ็ม ๑๖ มีขนาดกว้างปากลำกล้องเท่าไร
๒. การถอดและการประกอบ ปลย.เอ็ม.16 มีอยูก่ วี่ ิธี
๓. ปพ.แบบ 86 ระยะยิงหวังผลไกลสุด เท่าไร

เฉลย
๑. ขนาด ๕.๕๖ มม. ( ๐.๒๒๓ นิว้ )
๒. มี ๒ วิธี ได้แก่
๑. การถอดปกติและการประกอบ
๒. การถอดพิเศษและการประกอบ
๓. ระยะ ๕๐ เมตร

You might also like