You are on page 1of 10

ทฤษฏีบทปิ ทาโกรัส

ปีทาโกรัส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกค้นพบว่า ด้านตรงข้าม


มุมฉากของสามเหลี่ยมมุมฉากนั้นหากวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
จัตุรัสแล้ว พื้นที่จะเท่ากับด้านประกอบมุมฉาก ซึ่งวาดเป็น
รูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัส ทั้ง 2 ด้านรวมกัน

จากรูป abc เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก มี a เป็นด้านตรงข้ามมุม


A มี b เป็นด้านตรงข้ามมุม B และมี c เป็นด้านตรงข้ามมุม C
จากทฤษฏีบทปิ ทาโกรัสจะสรุปได้ว่า
c2 = a2+b2
แต่ถ้าหากไม่ใช่ละก็ ให้ดูว่า c มากหรือน้อย หาก c2 น้อยกว่า
a2+b2 แสดงว่าเป็นมุมแหลม หากมากกว่า เป็นมุมป้ าน แต่ถ้า
c=a+b เป็นเส้นตรง

ทฤษฎีบท
ให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และ a,b,c เป็นความ
ยาวของด้านแต่ละด้าน ดังรูป

ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านของรูป
สามเหลี่ยมมุมฉาก คือ a2 + b2 = c2
ตัวอย่างการนำความรู้มาใช้แก้ปัญหา
จากรูปสามเหลี่ยมมุมฉากในแต่ละรูปที่กำหนดต่อไปนี้
จงหาความยาวของด้านที่เหลือ
จากทฤษฎีบทปี ทาโกรัส x2 + 52 = 13
x2 = 169 - 25 = 144
x = 12
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีบทปี ทาโกรัสกับพื้นที่
พิจารณารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ABC ซึ่งมีมุม B เป็น
มุมฉาก และให้ความยาวด้านเป็น 3 , 4 และ 5 ดังรูป

ถ้าสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขึ้นมาโดยมีด้านเป็นความยาว
ของด้านรูปสามเหลี่ยมมุมฉากทั้ง 3 ด้าน จะได้รูปดังนี้
จากรูปจะเห็นว่า
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส y รูปที่มีความยาวด้านเท่ากับ
5 พื้นที่เท่ากับ 5 x 5 = 5 2 ตารางหน่วย
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส z รูปที่มีความยาวด้านเท่ากับ
3 พื้นที่เท่ากับ 3 x 3 = 3 2 ตารางหน่วย
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส x รูปที่มีความยาวด้านเท่ากับ
4 พื้นที่เท่ากับ 4 x 4 = 4 2 ตารางหน่วย
เนื่องจาก ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
จากทฤษฎีบทปี ทาโกรัส จะได้ว่า
32 + 42 = 52
นั้นก็คือพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปที่ความยาวด้านเท่ากับ 5
มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับ
3 รวมกับพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับ 4
สรุป
ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
บนด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับ ผลบวกของพื้นที่ของรูป
สี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านประกอบมุมฉาก
บทกลับของทฤษฎีบทปี ทาโกรัส
ให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีความยาวของด้านแต่ละ
ด้านเท่ากับ a , b และ c หน่วย และ a2 + b2 = c2 จะได้ว่า
รูปสามเหลี่ยม ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากและมีด้านที่
ยาว c หน่วยเป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก
ข้อความที่เป็นเหตุ คือ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยม มีด้าน
ยาว a , b และ c หน่วย และ c2 = a2 + b2
ข้อความที่เป็นผล คือ รูปสามเหลี่ยม ABC เป็นรูป
สามเหลี่ยมมุมฉาก และมีด้านที่ยาว c หน่วยเป็นด้านตรง
ข้ามมุมฉาก

ตัวอย่างที่ 1 ให้ a , b และ c เป็นความยาวของด้าน


แต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมโดยที่ a = 3 หน่วย b = 4 หน่วย
และ c = 5 หน่วย จงแสดงว่า รูปสามเหลี่ยมดังกล่าวเป็น
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
วิธีทำ จากโจทย์กำหนด a = 3 หน่วย b = 4 หน่วย
c = 5 หน่วย
จะพบว่า a2 = 9 , b2 = 16 และ c2 = 25
จะพบว่า 25 = 16 + 9
ซึ่งอยู่ในรูป c 2 = a2 + b2
ดังนั้น จากบทกลับของทฤษฎีบทปี ท่โกรัส
สรุปได้ว่า รูปสามเหลี่ยมดังกล่าว เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
ซึ่งมี c เป็นความยาวของด้านตรงข้าม
มุมฉาก
ตัวอย่างที่ 2 ให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีความ
ยาวของแต่ละด้าน ดังรูป

จงแสดงว่า สามเหลี่ยม ABC เป็นรูป


สามเหลี่ยมมุมฉาก
วิธีทำ เนื่องจาก สามเหลี่ยม ABD เป็นรูปสาม
เหลี่มมุมฉาก จากทฤษฎีบทปี ทาโกรัส จะได้

(AB) 2 = (AD)2 + (BD)2


(AB) 2 = 122 + 16 2 = 400 .................(1)

เนื่องจากสามเหลี่ยม ADC เป็นรูปแสามเหลี่ยมมุมฉาก


จากทฤษฎีบทปี ทาโกรัส จะได้
(AC) 2 = (AD)2 + (CD)2
(AC) 2 = 122 + 92 = 225 .................(2)

เนื่องจาก ด้าน BC ยาวเท่ากับ 16 + 9 = 25


ดังนั้น (BC)2 = 252 = 625
จาก (1) , (2) และ จาก (BC)2 = 625 จะได้ว่า (AC) 2 =
(AD)2 + (CD)2
จากบทกลับปี ทาโกรัส เรา สรุปได้ว่า สามเหลี่ยม ABC เป็น
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
การนำไปใช้
1. ถ้าต้องการหาความยาวของด้านใดด้านหนึ่งของรูป
สามเหลี่ยมมุมฉาก เมื่อทราบความยาวของด้าน 2 ด้าน
เราจะใช้ “ ทฤษฎีบทปี ทาโกรัส ”
2. ถ้าต้องการทราบว่า สามเหลี่ยมที่กำหนดให้เป็น
สามเหลี่ยมมุมฉากหรือไม่ เมื่อทราบความยาวของด้าน
3 ด้าน
3. “ เราจะใช้บทกลับของทฤษฎีบทปี ทาโกรัส ”

ความสัมพันธ์คล้ายสามเหลี่ยมปาสคาล
จำนวนที่อยู่ในกลุ่ม Shot Leg ทางด้านซ้ายมือ เป็น
จำนวนคี่ที่เรียงกันจากบนลงล่าง จากน้อยไปหามาก สำหรับ
กลุ่ม ที่อยู่ทางด้านขวา Long Leg จำนวนถัดไปเท่ากับ
ผลต่างของจำนวนที่อยู่ด้านหน้า (12-4 = 8 ,12-8 = 4 ,16-12 =
4 , ... ) นอกจากนั้นแล้ว มีลักษณะที่แสดงความสัมพันธ์
ของตัวเลขที่มีรูปแบบอื่นๆ เช่น ผลบวกทะแยงไปแถวอื่นๆ
คุณสมบัติคล้ายสามเหลี่ยมปาสคาล (0+4, 4+16 = 20 , 20+40
= 60 , ... )
จำนวน 3 ที่สัมพันธ์กันที่สามารถนำไปใช้ในสามเหลี่ยม
มุมฉาก เช่น 3-4-5 , 2-12-13 , 7-24-25 , 9-40-41 , 11-60-61
เป็นต้น จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ได้มีการค้นพบ
สูตรสำเร็จในการหาด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก ดังนี้

You might also like