You are on page 1of 8

หน้า |ก

คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ศท013 สุขภาพเพื่อการดำรงชีวิต จัดทำขึ้นเพื่อให้ได้ศึกษา
ค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm COVID-19 Vaccine) โดยมีเนื้อหาในเรื่อง
ข้อมูลของวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ประสิทธิภาพ ข้อบ่งใช้ ข้อดี -ข้อสีย และอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโค
วิดซิโนฟาร์ม
คณะผู้จัดทำได้ค้นคว้าและจัดทำรายงานฉบับนี้ทำให้พวกเราเองได้มีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด
ซิโนฟาร์มเพิ่มมากขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะมีประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องนี้ต่อไป

คณะผู้จัดทำ
หน้า |ข

สารบัญ

เนื้อหา
คำนำ ............................................................................................................................................................. ก
สารบัญ ......................................................................................................................................................... ข
วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มคือ ............................................................................................................................... 1
ประสิทธิภาพ ................................................................................................................................................ 3
ข้อบ่งใช้......................................................................................................................................................... 3
ข้อดี – ข้อเสีย ............................................................................................................................................... 4
อาการข้างเคียงหลังฉีด ................................................................................................................................. 5
แหล่งที่มาข้อมูล............................................................................................................................................ 6
หน้า |1

วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มคือ
วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm COVID-19 Vaccine) เป็นวัคซีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นตัวที่ 5 ในประเทศไทย
จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เป็นผู้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนและ
จะเป็นผู้นำเข้า ซึ่งวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มนั้น ได้รับการจดทะเบียนให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน รายที่ 6 โดยองค์การอนามัยโลก
(WHO) แล้ว ถือเป็นวัคซีนโควิดที่ผลิตจากชาติตะวันออกยี่ห้อแรกที่ได้รับการยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก
วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม หรือ BBIBP-CorV ผลิตโดยบริษัท China National Pharmaceutical Group (CNBG)
ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทลูกของบริษัท Sinopharm หนึ่งในรัฐวิสาหกิจของจีน นั่นจึงเป็นที่มา
ของการนิยมเรียกวัคซีนนี้ว่า วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม นั่นเอง
โดยวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) ผลิตโดยการนำเชื้อไวรัสสายพันธุ์
WIV04 และ HB02 มาเลี้ยงขยายจำนวนมากในเซลล์เพาะเลี้ยง (Vero Cell) แล้วนำมาฆ่าด้วยสารเคมี เช่น เบตาโพรพิ
โอแล็กโทน (Betapropiolactone) ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) หรือความร้อน ทำให้เชื้อตายจนไม่สามารถ
แบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวนได้อีก โดยซากไวรัสจะเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ตอบสนองและผลิตสารแอนติ
บอดี้ขึ้นมา โดยไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย เพื่อเตรียมให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อที่จะเข้ามาในร่างกายในอนาคต

การทำงานของวัคซีนเชื้อตาย
หน้า |2

ปัจจุบันมีการนำวัคซีนซิโนฟาร์มมาใช้งานไปแล้วกว่า 65 ล้านโดส ในประเทศจีน และอีกกว่า 41 ประเทศทั่ว


โลก เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปากีสถาน และฮังการี อย่างไรก็ตาม วัคซีนซิโนฟาร์มนั้นได้รับการพัฒนาและผลิตจาก
โรงงานลูกทั้งสองแห่งด้วยกันได้แก่
• บริษัท Beijing Institute of Biological Product (BIBP) จดทะเบียนในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง EUL (Emergency use listing) และมีการฉีดใน 41 ประเทศทั่วโลก
• บริษัท Wuhan Institute of Biological Product (WIBP) ข้อมูลจาก COVID19 Vaccine Tracker ระบุว่า
องค์การอนามัยโลกยังไม่ให้การรับรอง EUL และมีการฉีดเพียงสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น
ส่วนในไทยนั้น วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มจัดว่าเป็นวัคซีนทางเลือก ปัจจุบันมีการนำวัคซีนซิโนฟาร์มเข้ามาแล้ว
7,000,000 โดสและรอนำเข้าอีก 3,000,000 โดส (ข้อมูล ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2564) ซึ่งใน 10,000,000 โดสนี้มีการ
จัดสรรดังรูป

การจัดสรรวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม

ปัจจุบันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้มีการเปิดลงทะเบียนวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มสำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว 3 รอบ
คือ รอบแรกสำหรับประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี
ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 จำนวน 60,000
ราย รอบที่สองวันที่ 4 สิงหาคม 2564 จำนวน 75,000 ราย และรอบที่สามวันที่ 11 สิงหาคม 2564 จำนวน 100,000
ราย โดยลงทะเบียนผ่านทางแอปพลิเคชัน CRA SINOP หรือจองทางเว็บไซต์ https://sinopharm.cra.ac.th ราคา
โดสละ 777 บาท และค่าบริการ 500 บาท / เข็ม
หน้า |3

ประสิทธิภาพ
จากการทดลองระยะที่ 3 ในหลายประเทศ พบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ครบ 2 โดส หลังผ่านไป 14
วัน จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการป่วยและเสียชีวิตจากโควิด 19 ได้มากถึง ร้อยละ 79 (ระยะเวลาติดตามผล
การทดลอง 112 วัน) อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้ไม่ได้ถูกออกแบบให้นำไปใช้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย ผู้ที่มี
อายุ 60 ปีขึ้นไป และหญิงตั้งครรภ์ จึงไม่สามารถนำข้อมูลการทดลองมาใช้อ้างอิงในคนกลุ่มนี้ได้ (ข้อมูล ณ วันที่ 14
พฤษภาคม 2564)
จากการทดลองในห้องปฏิบัติการยังพบอีกว่า วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มมีประสิทธิภาพในการยับยั้งโควิดสายพันธุ์
อัลฟ่า (อังกฤษ) ได้ ส่วนโควิดสายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) มีความสามารถในการยับยั้งลดลง 60% เมื่อเทียบกับสาย
พันธุ์เดิม
ผลการศึกษาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีชยวรรธนปุระ ประเทศศรีลังกา ที่ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
ออกซ์ฟอร์ดจากอังกฤษชี้ว่า วัคซีน โควิดซิโนฟาร์ม มีประสิทธิภาพสูงมากในการป้องกันไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา
(อินเดีย) จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 95 ของผู้ที่ได้ฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มครบ 2 โดสแล้ว ร่างกายได้สร้างแอนติบอดี
ในระดับที่คล้ายคลึงกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 นอกจากนี้ ร้อยละ 81.25 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส ร่างกายยังผลิต
แอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ และระดับของแอนติบอดีก็คล้ายกับระดับที่พบในผู้ที่หายจากอาการติดเชื้อโควิด 19 ด้วย
ในวันที่ 14 สิงหาคม 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า งานวิจัยในประเทศเปรูเปิดเผยประสิทธิภาพ
วัคซีนซิโนฟาร์มที่ใช้กับบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศเกือบ 400,000 คนในช่วงตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ – มิถุนายน
ที่ผ่านมาปรากฎว่า วัคซีนซิโนฟาร์มมีประสิทธิภาพเหลือ ร้อยละ 50.4 ซึ่งผ่านเกณฑ์องค์การอนามัยโลกเพียงเล็กน้อย
แต่ยังคงมีประสิทธิภาพป้องกันการเสียชีวิตได้สูงถึง ร้อยละ 94 ซึ่งการเก็บข้อมูลในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่เปรูมีการ
ระบาดของไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์แลมบ์ดา (เปรู) และแกมมา (บราซิล) นอกจากนี้กลุ่มที่เก็บข้อมูลเป็น
บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการรับเชื้อโควิด 19 มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นทีมวิจัยในเปรูจึงเสนอว่า
รัฐบาลเปรูอาจต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นให้กับบุคลากรสาธารณสุขด่านหน้าเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายเพิ่มต่อไป

ข้อบ่งใช้
วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มจะฉีดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยวัคซีนนี้มีลักษณะเป็นวัคซีนพร้อมใช้ มีจำนวน 2
เข็มด้วยกัน โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั้ งสองเข็ม ทั้งนี้วัคซีนเข็มที่ 2 ต้องฉีดห่างจากวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นเวลา 3 – 4
สัปดาห์ หากฉีดเข็มที่ 2 เร็วกว่าระยะห่าง 3 สัปดาห์ไม่ต้องฉีดซ้ำอีก หากเลย 4 สัปดาห์ออกไปแล้วยังไม่ได้รับเข็มที่ 2
ให้มาฉีดโดยเร็วที่สุด และแนะนำให้รับวัคซีนครบทั้ง 2 เข็มจึงจะมี ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและลดความรุนแรง
ของโรคได้
หน้า |4

สำหรั บ ผู ้ ท ี ่ ต ิ ด เชื ้ อ โควิ ด -19 และต้ อ งรั ก ษาโดยการใช้ Monoclonal Antibodies หรื อ Convalescent
Plasma ให้ร ออย่า งน้ อย 90 วัน หลังการรัก ษาจึ งรับวั คซี น ได้ ส่ว นผู้ที่ไม่ไ ด้ รั บ Monoclonal Antibodies หรือ
Convalescent Plasma ให้ฉีดวัคซีนได้หลังผลตรวจเป็น Not Detected แล้วอย่างน้อย 1 เดือน และฉีดเพียง 1 เข็ม

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Monoclonal Antibodies และ Convalescent Plasma

ส่วนข้อห้ามในการฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ได้แก่
• ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มในครั้งก่อน ๆ
• ผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
• ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
• ไม่แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงที่ ตั้งครรภ์ เว้นแต่แพทย์ประเมินแล้วว่า ประโยชน์ของการรับวัคซีนมีมากกว่าความ
เสี่ยง
• ผู้ที่มีไข้หรืออุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
• ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง

ข้อดี – ข้อเสีย
ข้อดี
1. วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนเชื้อตาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้มานานตั้งแต่อดีต วัคซีนที่ ใช้หลักการนี้
เช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอ วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และอื่น ๆ อีกหลายชนิด ดังนั้นข้อดี
ของวัคซีนนี้ก็คือในเรื่องของความปลอดภัย สามารถใช้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันต่ำได้ เพราะเชื้อไม่ไป
เพิ่มจำนวนในร่างกาย
2. สามารถจัดเก็บได้ง่ายที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ไม่ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ต่ำมากเหมือนกับวัคซีน
ชนิดอื่นๆ จึงเหมาะสำหรับประเทศที่ไม่มีอุปกรณ์พิเศษ หรือรถแช่เย็นอุณหภูมิต่ำมากๆ สำหรับการขนส่งวัคซีน
หน้า |5

3. วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มมีแถบตรวจสอบบนขวด ซึ่งจะเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิของความร้อน ทำให้แพทย์สามารถ


สังเกตได้ง่ายว่า วัคซีนมีความปลอดภัยและพร้อมสำหรับใช้งานหรือไม่
ข้อเสีย
1. การกระตุ้นภูมิต้านทานจะได้ในระดับต่ำกว่าวัคซีน mRNA หรือวัคซีน ไวรัส Vector
2. การผลิตจำนวนมากจะทำได้ยาก เพราะไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสก่อโรคจะต้องเพาะเลี้ยงในห้องชีวนิรภัยระดับสูง
และส่งผลให้มีการใช้ต้นทุนในการผลิตสูง ดังนั้นวัคซีนจึงมีราคาแพงและผลิตได้ในจำนวนจำกัด

อาการข้างเคียงหลังฉีด
ผู้ที่ได้รับวัคซีน โควิดซิโนฟาร์มอาจพบผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน 1-2 วัน หรือมากกว่านั้น ซึ่งปกติอาการ
ข้างเคียงจะหายไปเองภายในระยะเวลาไม่กี่วัน โดยอาจมีอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้ เช่น
• อาการปวด บวม แดง หรือคัน บริเวณที่ฉีด สามารถใช้การประคบเย็นได้
• มีไข้และหนาวสั่น สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้หากไม่มีประวัติแพ้ยา
• ปวดศีรษะ สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้หากไม่มีประวัติแพ้ยา
• ปวดกล้ามเนือ้
• เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
• คลื่นไส้
วั น ที ่ 13 สิ ง หาคม 2564 ทางราชวิ ท ยาลั ย จุ ฬ าภรณ์ ไ ด้ ร ายงาน
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน โควิดซิโนฟาร์ม โดยมีจำนวนผู้รับวัคซีนสะสม
1,903,994 โดส (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ส.ค. 2564) มีรายละเอียดดังในภาพ
หลังได้รับวัคซีนแล้วควรสังเกตุอาการตนเองและบันทึกระบุอาการที่
เกิดขึ้นว่าเป็นยาวนานแค่ไหน เพื่อตรวจสอบว่าตนเองมีอาการแพ้วัคซีนขั้น
รุนแรงหรือไม่ หากผู้ที่ได้รับวัคซีนอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแพ้รุนแรง เช่น ผื่น
แดงตามผิวหนัง ลมพิษ หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องเสีย ควรรีบไปพบแพทย์ให้
ไวที่สุด เพื่อความปลอดภัยและการดูแลได้อย่างทันท่วงที

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม
ในไทย
หน้า |6

แหล่งที่มาข้อมูล
HDmall. วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://hdmall.co.th/c/ covid-
vaccine-sinopharm (21 สิงหาคม 2564)

โรงพยาบาลกรุงเทพ. ถาม - ตอบเรื่อง Sinopharm COVID-19 Vaccine. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://ww


w.bangkokhospital.com/content/questions-about-sinopharm-covid-19-vaccine (21 สิงหาคม
2564)

HDmall. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจองวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm) สำหรับประชาชนทั่วไป ใน 10


จังหวัดสีแดงเข้ม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://hdmall.co.th/c/register-covid-vaccine-sinophar
m (21 สิงหาคม 2564)
ประชาชาติธุรกิจ. ซิโนฟาร์ม ประชาชนจองผ่าน 2 ช่องทาง 18 ก.ค. ราคา 1,554 บาท. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.prachachat.net/general/news-714315 (21 สิงหาคม 2564)

TNN ONLINE. ลงทะเบียนที่นี่! เปิดจองวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" รอบสองวันนี้ 10.10 น.. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : htt
ps://www.tnnthailand.com/news/covid19/87141/ (21 สิงหาคม 2564)
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. เปิดลงทะเบียนขอรับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์ม สำหรับบุคคลธรรมดา รอบ ๓ พุธที่ ๑๑
ส.ค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.cra.ac.th/th/news_activities/view/AllocationofSinop
harmVaccine_population2 (21 สิงหาคม 2564)
workpointTODAY. ผลการใช้จริงในเปรู ประสิทธิภาพ ‘ซิโนฟาร์ม’ ลดลง เมื่อเจอโควิดกลายพันธุ์. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://workpointtoday.com/covid-sinopharm-peru/ (21 สิงหาคม 2564)
ไทยโพสต์. ข่าวดีมาก วัคซีนซิโนฟาร์มมีประสิทธิภาพสูงกับสายพันธุ์เดลตา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://wor
kpointtoday.com/covid-sinopharm-peru/ (21 สิงหาคม 2564)

ประชาชาติธุรกิจ. “วัคซีนโควิด” 3 ชนิด หมอยง เผย “ข้อดี-ข้อเสีย” เป็นอย่างไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http
s://www.prachachat.net/general/news-588454 (21 สิงหาคม 2564)
เดลินิวส์. รู้จัก'ซิโนฟาร์ม' เตรียมตัวก่อนฉีด-รวมถึงผลข้างเคียง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dailyne
ws.co.th/regional/851667/ (21 สิงหาคม 2564)
workpointTODAY. ราชวิทยาลัยฯ เปิดผลข้างเคียงหลังฉีด ‘ซิโนฟาร์ม’ ปวดศีรษะ-เหนื่อย-ปวดเมื่อย มากสุด.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://workpointtoday.com/sinopharm-11/ (21 สิงหาคม 2564)

You might also like